Wed Feb 01 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 431) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ


ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 431) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 431) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 1 และข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 386 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการ ยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สาหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ สาหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท ผู้มีเงินได้ต้องมี หลักฐานเป็นใบกากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อย ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อและนำมสกุลของผู้มีเงินได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ ( 1 ) การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต้องได้รับ ใบกากับภาษีหรือใบรับที่ได้จัดทาในรูปแบบกระดาษหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 3 โสฬส แห่งประ มวลรัษฎากรก็ได้ ( 2 ) การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในส่วนที่เกิน 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ต้องได้รับใบกากับภาษีหรือใบรับที่ได้จัดทาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้น ใบกำกับภาษีหรือใบ รับตามวรรคหนึ่งที่ได้จัดทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องจัดทำโดย ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศรายชื่อ ตามข้อ 12 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 384 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการดาเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสือด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 2 การยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธร รมดา ต้องมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท ( 2 ) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็น ผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ( 3 ) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566

(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการ และเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือ เป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษี เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท (ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมิน ของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือ ภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 40,000 บาท และให้ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท ข้อ 3 ผู้มีเงินได้ ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ ในราชอาณาจักร และชาระค่าสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กรณีการจ่ายค่ำซื้อสินค้าหรือค่าบริการ นอกจากกรณีตาม (2) และ (3) ต้องเป็น การจ่ายให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับ ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้า หรือค่าบ ริการที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นการซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะที่ต้องรวมคำนวณ เป็นมูลค่าฐานภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้น ( 2 ) กรณีการจ่ายค่าซื้อหนังสือหรือค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แต่ไม่รวมถึงหนั งสือพิมพ์และนิตยสาร ให้แก่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ แล้วแต่กรณี ต้องได้รับใบกากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อและนามสกุลของผู้มีเงินได้ ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( 3 ) กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้าดังกล่าวต้องเป็นสินค้าที่ได้ ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว แ ละได้รับใบกากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวล รัษฎากร จากผู้ขายในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับใบรับ ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อและนามสกุลของ ผู้มีเงินได้กรณีที่ผู้ขายไม่ได้เป็ นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยในการจัดทารายการชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าในใบกากับภาษีตามมาตรา 86/4 (5) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ ในใบรับนั้น ผู้ขายจะต้องปฏิบัติ ดังนี้ (ก) ต้องระบุข้อความที่แสดงว่าสินค้านั้น เป็นสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิ ตภัณฑ์ในแต่ละ รายการสินค้า หรือจัดทาเครื่องหมายแสดงในแต่ละรายการสินค้าที่เป็นสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ้ หนา 53 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566

และมีข้อความที่แสดงว่าเครื่องหมายนั้น หมายถึงสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไว้ในใบกากับภาษีหรือ ใบรับ เช่น “ OTOP ” “ โอทอป ” หรือ “ One Tambon On e Product ” เป็นต้น (ข) กรณีที่สินค้าทุกรายการในใบกำกับภาษีหรือใบรับนั้นเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จะไม่ระบุข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงว่า สินค้าแต่ละรายการเป็นสินค้า หนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ตาม (ก) ก็ได้ โดยให้ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ออกใบกากับภาษีหรือใบรับประทับตรายาง ที่มีชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ขายสินค้านั้น และให้ระบุข้อความว่า “ สินค้าทุกรายการ เป็นสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ” หรือข้อความอื่นในลักษณะทานองเดียวกันในใบกากับภาษีหรือ ใบรั บฉบับนั้นด้วย ข้อ 4 กรณีที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นาภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามใบกากับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวล รัษฎากรแล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินาค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกากับภา ษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้น ภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ข้อ 5 การได้รับยกเว้นภาษีเงินตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินาเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปคานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 ลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร ้ หนา 54 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566