ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรการควบคุมการขนมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรการควบคุมการขนมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรการควบคุมการขนมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดมาตรการควบคุมการขนมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน การแตกหักของมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน และการรั่วไหลของสารเคมีที่ออกมาจากมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน อาศัยอานาจตามความในข้อ 16 (2) แห่งกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรื อ อันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคาแนะนาของคณะกรรมการ สาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรการควบคุมการขนมูลฝอย ที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ มูลฝอย ” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ เอกสารกำกับการขนมูลฝอย ” หมายความว่า เอกสารที่ผู้ขนมูลฝอยออกให้ราชการ ส่วนท้องถิ่ นที่เป็นผู้เก็บรวบรวมมูลฝอย ผู้ขนมูลฝอย และผู้กำจัดมูลฝอย เพื่อเป็นหลักฐาน ในการมอบหมายให้ขนส่งมูลฝอยในความครอบครองของตนจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง ข้อ 4 ในการขนมูลฝอยจากภาชนะรองรับมูลฝอยหรือจุดแยกทิ้งมูลฝอย ไปยังสถานที่ พักรวมมูลฝอย หรือจาก สถานที่พักรวมมูลฝอยที่หนึ่งไปยังสถานที่พักรวมมูลฝอยอีกที่หนึ่ง ผู้ขนมูลฝอย ต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมกำกับการขนมูลฝอย เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้ง การแตกหัก และ การรั่วไหลของสารเคมีที่ออกมาจากมูลฝอย ดังนี้ ( 1 ) บันทึกปริมาณหรือน้ำหนักแยกตามประเภทมูลฝอยทุกครั้ งที่ทาการขนไปยังสถานที่ พักรวมมูลฝอย ( 2 ) ควบคุมดูแลสุขลักษณะการเก็บและขนมูลฝอย ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วย การจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ข้อ 5 ในการขนมูลฝอยจากภาชนะรองรับมูลฝอย จุดแยกทิ้งมูลฝอย หรือสถานที่พักรวม มูลฝอย ไปยังสถานที่กาจัดมูลฝอย ผู้ขนมูลฝอยต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมกากับการขนมูลฝอย เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้ง การแตกหักและการรั่วไหลของสารเคมีที่ออกมาจากมูลฝอย ดังนี้ (1) บันทึกปริมาณหรือน้ำหนักแยกตามประเภทมูลฝอยทุกครั้งที่ทำการขนไปยังสถานที่ กำจัดมู ลฝอย ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566
( 2 ) ควบคุมดูแลสุขลักษณะการเก็บและขนมูลฝอย ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วย การจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ( 3 ) จัดให้มีระบบป้องกันการรั่วไหล กระจัดกระจาย หรือตกหล่นของมูลฝอยในระหว่าง การขนส่ง เช่น ยานพาหนะต้องมีหลังคาหรือผ้ายางคลุม ( 4 ) จัดเตรียมยานพาหนะและภาชนะบรรจุมูลฝอยให้เหมาะสม แยกตามประเภทมูลฝอย และมีปริมาณหรือขนาดที่เพียงพอต่อการขนมูลฝอยในแต่ละครั้ง และต้องตรวจสอบความเรียบร้อย ของยานพาหนะและภาชนะบรรจุก่อนทาการขนมูลฝอยทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการแตกหักและ การรั่วไหลของสารเคมีที่ออกมาจากมูลฝอยในระหว่างการขนส่ง ( 5 ) ผู้ขนมูลฝอย มีหน้าที่จะต้องขนส่งมูลฝอยที่ได้รับมาไปยังสถานที่กาจัดมูลฝอยทันที แต่ในกรณีที่มีความจาเป็นที่จะต้องเก็บกักมูลฝอยไว้ ต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมดูแลและป้องกัน ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภา พอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ( 6 ) จัดให้มีมาตรการควบคุมและติดตามเส้นทางการขนมูลฝอยด้วยระบบ GPS ( Global Positioning System ) หรือระบบอื่นตามที่กรมอนามัยกาหนดหรือเห็นชอบ ทั้งนี้ ต้องให้ราชการ ส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้อนุญาตหรือมอบหมายให้ขนมูลฝอย สามา รถเข้าถึงข้อมูลได้ ( 7 ) จัดให้มีมาตรการควบคุมกากับการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้ขับขี่ยานพาหนะ ขนมูลฝอย เพื่อป้องกันการแตกหักของมูลฝอยและการรั่วไหลของสารเคมีที่ออกมาจากมูลฝอยระหว่าง การขนส่ง ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ต้องขั บขี่ยานพาหนะ ตามเส้นทางและระยะเวลาที่ราชการส่วนท้องถิ่นกาหนด ขับขี่ยานพาหนะขนด้วยความระมัดระวังและ ใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ( 8 ) จัดให้มีมาตรการป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติภัยหรือเหตุฉุกเฉินขณะเก็บรวบรวม และขนส่งมูลฝอย ในกรณีมีอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุก เฉิน เป็นเหตุให้มูลฝอยรั่วไหลระหว่างการขนส่ง ให้ผู้ขนมูลฝอย ดำเนินการเพื่อแก้ไขเหตุดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และสิ่งแวดล้อม และแจ้งอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินให้ราชการส่วนท้องถิ่นที่เกิดเหตุหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทราบทันที และให้ผู้ขนมูลฝอยเก็บสำเนารายงานดังกล่าวไว้เพื่อการตรวจสอบอย่างน้อย 3 ปี ข้อ 6 ในการขนมูลฝอย ให้ราชการส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้เก็บรวบรวมมูลฝอย ผู้ขนมูลฝอย และผู้กำจัดมูลฝอย ต้องจัดทำเอกสารกำกับการขนมูลฝอยหรือระบบอื่นตามที่กฎหมายเกี่ยวกับ การขนส่งวัตถุอันตรายกาหนด ในกรณีใช้เอกสารกากับการขนมูลฝอยนั้นให้ใช้ และจัดเก็บเอกสาร เพื่อการตรวจสอบ ดังนี้ ( 1 ) ให้ราชการส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้เก็บรวบรวมมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน กรอกเอกสารกากับการขนมูลฝอย และลงนามให้ครบถ้วนทุกฉบับ ประกอ บด้วย ต้นฉบับและสาเนา ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566
รวม 4 ฉบับ พร้อมส่งมอบเอกสารกากับการขนมูลฝอยให้ผู้ขนมูลฝอย ทั้งนี้ ให้เก็บรักษาเอกสาร กากับการขนมูลฝอย ฉบับที่ 2 ไว้อย่างน้อย 3 ปี กรณีเก็บรักษาเอกสารในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้เก็บรักษาไว้อย่างน้อย 10 ปี ( 2 ) ให้ ผู้ขนมูลฝอยตรวจสอบความถูกต้องและลงนามรับมูลฝอย ทั้งนี้ ให้นาเอกสารกากับ การขนมูลฝอย จานวน 3 ฉบับ ประกอบด้วยฉบับที่ 1 ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 ติดไปพร้อมกับ ยานพาหนะที่ใช้ขนมูลฝอยทุกครั้ง ในกรณีผู้ขนมูลฝอย ซึ่งรับมูลฝอยจากผู้ขนมูลฝอยอื่นอีกทอดหนึ่ ง ต้องตรวจรับเอกสารกำกับ การขนมูลฝอย จานวน 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4) จากผู้ขนมูลฝอยรายก่อน โดยให้ลงวันที่ที่ได้รับขนส่งต่อและลงนามในเอกสารกำกับการขนมูลฝอยให้ครบถ้วนทั้ง 3 ฉบับ ( 3 ) ผู้ขนมูลฝอยต้องทาการขนส่งมูลฝอยทั้งหมดที่ได้รับ มาไปยังสถานที่กาจัดมูลฝอยตามที่ ได้รับมอบหมาย และส่งเอกสารกากับการขนมูลฝอยที่นามาทั้งหมดให้ผู้กาจัดมูลฝอย ลงลายมือชื่อ และรายละเอียดการรับกาจัดและเก็บเอกสารฉบับที่ 3 อย่างน้อย 3 ปี กรณีเก็บรักษาเอกสาร ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้เก็บรักษาอย่างน้อย 10 ปี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่น ที่กรมอนามัยกำหนดหรือเห็นชอบ หากการขนส่งมูลฝอย ไม่สามารถดาเนินการให้แล้วเสร็จ ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในเอกสาร กากับการขนมูลฝอย หรือมีอุบัติเหตุหรือเหตุรั่วไหล ผู้ขนมูลฝอย ต้องแจ้งให้ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้อ นุญาตหรือมอบหมายให้ขน ทราบโดยทันที ( 4 ) ให้ผู้กาจัดมูลฝอยดาเนินการตรวจสอบความถูกต้องและลงนามรับมูลฝอยเรียบร้อยแล้ว ให้คืนเอกสารกากับการขนมูลฝอย ฉบับที่ 3 แก่ผู้ขนมูลฝอย และเก็บรักษาเอกสารกากับการขนมูลฝอย ฉบับที่ 4 ไว้กับตนเอง อย่างน้อย 3 ปี นับจากวันที่ลงนามรับมูลฝอย กรณีเก็บรักษาเอกสาร ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้เก็บรักษาไว้อย่างน้อย 10 ปี ส่วนเอกสารกากับการขนมูลฝอย ฉบับที่ 1 (ต้นฉบับ) ให้ส่งคืนราชการส่วนท้องถิ่นผู้อนุญาตหรือมอบหมายให้ขน พร้อมสาเนาแจ้งให้ กรมอนามัยทราบผ่านระบบจ ดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการที่กรมอนามัยกำหนดหรือเห็นชอบ ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาค ม พ.ศ. 25 6 5 สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566