ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนโรคและการรายงานการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนโรคและการรายงานการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนโรคและการรายงานการสอบสวนโรค จากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบสวนโรคและการรายงาน การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 33 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาร ณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนโรคและการรายงาน การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในกรณีที่พบลูกจ้างซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบอาชีพ หรือพบประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษตามมาตรา 28 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมโรค จากกา รประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค จากสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ และโรคจากสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่นั้นดาเนินการสอบสวนโรคภายในสามวันนับแต่พบผู้ ซึ่งเป็นหรือมีเหตุ อันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม เว้นแต่กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือ มีเหตุจาเป็นเร่งด่วนซึ่งหากปล่อยไว้อาจเกิดหรือก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือ สุขภาพอนามัยของประชาชน ให้ดาเนินการสอบสวนโรคโดย เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งวัน นับแต่พบผู้ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม ข้อ 4 ในกรณีที่อธิบดีกรมควบคุมโรคหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมควบคุมโรคมอบหมายโดยคำแนะนา ของคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชี พและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัดหรือคณะกรรมการ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ได้ใช้อานาจ ตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ประกาศให้เขตพื้นที่ใดเป็นเขตพื้นที่ที่จาเป็นต้องเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคจาก การประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจาก การประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่นั้นดาเนินการสอบสวนโรคโดยเร็วที่สุดเท่ำที่จะทาได้ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งวันนับแต่พบผู้ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบอาชีพหรือ โรคจากสิ่งแวดล้อม ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566
ข้อ 5 ในการดาเนินการสอบสวนโรคของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค จากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ให้ดาเนินการสอบสวนโรคตามแนวทางปฏิบัติที่แนบท้าย ประกาศนี้ ข้อ 6 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและ โรคจากสิ่งแวดล้อมซึ่งรับผิดชอบในการสอบสวนโรค จัดทารายงานผลการสอบสวนโรคเบื้องต้นและ แจ้งไปยังคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอ บอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัดหรือ คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เพื่อรายงานให้แก่กรมควบคุมโรคทราบ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เริ่มดาเนินการสอบสวนโรค และ เมื่อดาเนินการสอบสวนโรคเสร็จสิ้นแล้ว ให้จัดทารำยงานผลการสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์ โดยแจ้งไป ยังคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัดหรือคณะกรรมการ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เพื่อรายงาน ให้แก่กรมควบคุมโรคทราบ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ สอบสวนโรคเสร็จสิ้น ข้อ 7 การแจ้งต่อคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม จังหวัดหรือคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร และการรายงานให้แก่กรมควบคุมโรคตามข้อ 6 ให้ดาเนินการโดยวิธีการหนึ่งวิธีการใด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เป็นหนังสือ ( 2 ) ทางโทรสาร ( 3 ) ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( 4 ) วิธีการอื่นใดที่กรมควบคุมโรคกำหนดเพิ่มเติม ข้อ 8 การแจ้งและการรายงานตามข้อ 7 ให้แจ้งและรายงานไปยังที่อยู่หรือสถานที่ทำงาน หมายเลขโทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานสาธำรณสุขจังหวัด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร หรือกรมควบคุมโรค แล้วแต่กรณี หรือวิธีการอื่นใดในกรณีที่กรมควบคุมโรคกำหนดเพิ่มเติม ทั้งนี้ ที่อยู่หรือสถานที่ทางาน หมายเลขโทรสาร และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ที่กรมควบคุมโรคกำหนดเพิ่มเติม ทั้ งของสานักงานสาธารณสุขจังหวัด สานักอนามัย กรุงเทพมหานคร หรือกรมควบคุมโรค รวมถึงแบบการแจ้งและการรายงาน (ถ้ามี) ให้เป็นไปตามที่กรมควบคุมโรค ประกาศกาหนด ข้อ 9 ให้อธิบดีกรมควบคุมโรครักษาการตามประกาศนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดาเนินการ ตามประกาศนี้ ให้อธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และให้คาสั่งหรือข้อวินิจฉัยของอธิบดี กรมควบคุมโรคถือเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 25 6 5 อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566
แนวทางปฏิบัติในการดำเนินการสอบสวนโรค แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนโรคและการรายงานการสอบสวนโรค จากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 โดยที่ข้อ 5 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนโรคและการรายงานการ สอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ หน่วย ปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ และโรคจากสิ่งแวดล้อม ดาเนิน การสอบสวนโรค ตามแนวทางปฏิบัติ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ดังนั้น จึงเห็นควรกาหนดแนวทางปฏิบัติในการดาเนินการสอบสวนโรค โดย กาหนด แนวทาง การดำเนินการ 3 ระยะ ดังนี้ ขั้นที่ 1 ระยะเตรียมการ เมื่ อพนักงานเจ้าหน้าที่ พบลูกจ้างซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบ อาชีพ หรือพบประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษตามมาตรา 28 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมโรค จากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค จากสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ใด ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือ หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจาก การประกอบอาชีพ และโรคจากสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่นั้นดำเนิน การสอบสวนโรค ดังนี้ 1.1 ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบ อาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบข้อมูลหรือสถานการณ์เบื้องต้น รวมถึง เตรียมความพร้อมและ มอบหมายหน้าที่ในการจัดเตรียม ข้อมูล เอกสาร เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ หรือ อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอด ภัย ส่วนบุคคล ตลอดจน สิ่งอื่นใดที่จำเป็นต้องใช้ในการสอบสวนโรค 1.2 กรณีมีความจาเป็น อาจ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล สถานพยาบาล สานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สานักงานแรงงานจังหวัด สานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือ ศูนย์ความปลอดภัยในการ ทางานเขต หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายจ้างหรือผู้ครอบครอง ดูแล สถานประ กอบกิจการของนายจ้าง เจ้าของ หรื อ ผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดมลพิษ ยานพาหนะ หรือสถานที่ใด ๆ หรือผู้แทน หรือตัวแทนชุมชน เพื่อร่วม ดำเนินการตามอานาจหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ หรือดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ขั้นที่ 2 ระยะดำเนินการสอบสวนโรค การดำ เนินการระหว่างสอบสวนโรคให้ดา เนินการ ดังนี้ 2.1 รวบรวมข้อมูลหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับสถานประกอบ กิจ การ แหล่งกาเนิดมลพิษ ยานพำห นะ สถานที่ใด ๆ หรือชุมชน หรือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ นายจ้าง เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดมลพิษ หรือผู้แทน รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อตั้งสมมติฐานเบื้องต้น ดังนี้ 2.2.1 ข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบกิจการ แหล่งกำเนิดมลพิษ ยานพำ หนะ หรือสถานที่ใด ๆ หรือชุมชน 2.2.2 ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อม ใน การทางาน หรือ ผล การ ตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2.2.3 ผลการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงหรือผลการตรวจสุขภาพที่ผ่านมา 2.2.4 สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคหรือ อาการ ที่เป็นหรือ มีเหตุอันควร สงสัยว่าเป็นโรค 2.2.5 ข้อมูล การดาเนินการ หรือมาตรการ ใด ๆ ที่ ใช้ใน การ เฝ้าระวัง การ ป้องกัน หรือ การ ควบคุม โรค 2.2 สำรวจสถานที่ทำงาน ( Walk through survey ) หรือสำรวจชุมชน เพื่อค้นหา สิ่งคุกคามสุขภาพ หรือ ทำการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพเบื้องต้น 2.3 สอบถาม …
- 2 - 2.3 สอบถามอาการและอาการแสดง ประวัติ การเจ็บป่วย ประวัติ การทำงาน และประวัติการ สัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องของ ผู้ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัย ว่า เป็นโรค 2.4 สัมภาษณ์ หรือสอบถามข้อมูลจาก ผู้ ที่ เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น ผู้ร่วมงาน หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทางาน แพทย์หรือพยาบาลประจาสถานประกอบกิจการ หรือ บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด 2.5 ค้นหาผู้ ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัย ว่าเป็น โรค ที่ มีโอกาสสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพหรือ มีโอกาสเจ็บป่วยคล้ายกันในสถานประกอบกิจการ หรือชุมชนเพิ่มเติม โดยการซักประวัติ การ ตรวจร่างกาย การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ หรือ การ ตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น การตรวจดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ 2.6 กรณีมีความจาเป็นต้องตรวจยืนยันระดับการรับสัมผัสในสภาพแวดล้อมในการทางาน หรือระดับมลพิษ ใน สิ่งแวดล้อมในชุมชน ให้ ดาเนินการตรวจวัดและอาจวิเคราะห์ทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม หรือทางสิ่ งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยคานึงถึงความพร้อมของ หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบ อาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม หรืออาจประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วยก็ได้ 2.7 เมื่อ พบความเสี่ยง หรือความผิดปกติที่ เกิดหรือ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ของ ประชาชน ให้ ดาเนินการ แจ้ง นายจ้าง เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดมลพิษ รวมทั้งตัวแทน ของ ชุมชน โดยด่ วนที่สุด เพื่อ ให้ ดาเนินการ แก้ไขหรือ ปรับปรุง สถานประกอบ กิจ การ แหล่งกาเนิดมลพิษ หรือสภาพแวดล้อม ของชุมชนทันที รวมถึงให้ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตาม อานาจหน้าที่ ของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ขั้นที่ 3 ระยะหลังการสอบสวนโรค การดำเนินการหลังจากสอบสวนโรคเสร็จสิ้นแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้ 3 . 1 ติดตาม การดาเนินการหรือ มาตรการ ในการ เ ฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการ ควบคุมโรค และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 3 . 2 วิเคราะห์ สรุปผล รวมถึง จัดทารายงาน ผลการ สอบสวนโรค และดาเนินการตามที่กาหนดไว้ ในข้อ 6 แห่ง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนโรคและการรายงานการสอบสวนโรคจากการ ประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ต่อไป 3 . 3 กรณีที่ไม่สามำรถค้นหาสาเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยงได้ อย่าง ชัดเจน ให้ทาการศึกษาทางวิทยา การระบาด เพิ่มเติมต่อไป __________________