ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต ตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต ตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต ตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ เกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับองค์ประกอบของ คณะกรรมการและคณะกรรมการประจำจังหวัด การประชุมรับฟังความคิดเห็นของราษฎรในพื้นที่ หลักเกณฑ์ การพิจารณาอนุญาต และการออกใบอนุญาต เพื่อให้มีค วามเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความรวดเร็ว เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบดังกล่าว ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ น ” ต่อท้ายคำว่า “ แหล่งดินลูกรัง ” ในข้อ 4 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 ดังต่อไปนี้ “ “ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ” หมายถึง เทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และให้หมายความรวมถึงราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น แต่ไม่รวมถึงองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีกำรเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน “ ข้อ 6 คณะกรรมการประกอบด้วย ( 1 ) อธิบดีกรมที่ดิน เป็นประธานกรรมการ ( 2 ) ผู้แทนกองทัพไทย เป็นกรรมการ ( 3 ) ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ ( 4 ) ผู้แทนกรมการปกครอง เป็นกรรมการ ( 5 ) ผู้แทนกรมโยธาธิ การและผังเมือง เป็นกรรมการ ( 6 ) ผู้แ ทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นกรรมการ ( 7 ) ผู้แทนสำนักงานตารวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ ( 8 ) ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี เป็นกรรมการ ( 9 ) ผู้แทนกรมป่าไม้ เป็นกรรมการ ( 10 ) ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน เป็นกร รมการ ( 11 ) ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นกรรมการ ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566
( 12 ) ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผน เป็นกรรมการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 13 ) ผู้อำ นวยการสำนักจัดการที่ดินของรัฐ เป็นกรรมการ กรมที่ดิน และเลขานุการ ( 14 ) ผู้ อำนวยการส่วนจัดการที่ดินของรัฐ เป็นกรรมการ สำนักจัดการที่ดินของรัฐ กรมที่ดิน และผู้ช่วยเลขานุการ ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 และให้ ใช้ความ ต่อไปนี้แทน “ ข้อ 8 คณะกรรมการประจำจังหวัด ประกอบด้วย ( 1 ) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ( 2 ) ปลัดจังหวัด เป็นกรรมการ ( 3 ) โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด เป็นกรรมการ ( 4 ) ท้องถิ่นจังหวัด เป็นกรรมการ ( 5 ) ปฏิรูปที่ดินจังหวัด เป็นกรรมการ ( 6 ) อุตสาหกรรมจังหวัด เป็นกรรมการ ( 7 ) ผู้บังคับการตารวจภูธรจังหวัด เป็นกรรมการ ( 8 ) ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด เป็นกรรมการ ( 9 ) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและ เป็นกรรมการ สิ่งแวดล้อมจังหวัด ( 10 ) ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค เป็ นกรรมการ ( 11 ) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต เป็นกรรมการ ( 12 ) ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ เป็นกรรมการ ( 13 ) ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้พื้นที่ เป็นกรรมการ ( 14 ) ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรทางทะเลและ เป็นกรรมการ ชายฝั่งพื้นที่ ( 15 ) ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรพื้นที่ เป็นกรรมการ ( 16 ) ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงพื้นที่ เป็นกรรมการ ( 17 ) ผู้แทนหน่วยงานทหารพื้นที่ เป็นกรรมการ ( 18 ) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ ในพื้นที่ที่ขออนุญาตใช้ประโยชน์ ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566
( 19 ) นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ เป็นกรรมการ กิ่งอำเภอ ในพื้นที่ที่ขออนุญาตใช้ประโยชน์ ( 20 ) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด เป็นกรรมการ และเลขานุการ ( 21 ) หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการที่ดิน เป็นกรรมการ สำนักงานที่ดินจังหวัด และผู้ช่วยเลขานุการ ” ในกรณีที่ยื่นขอใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงใด การขอใช้ประโยชน์อาจกระทบประชาชน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น คณะกรรมการอาจตั้งผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ร่วมเป็น กรรมการด้วยก็ได้ ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น หมวด 2/1 การขอใช้ประโยชน์ในที่ดินตาม กฎหมายว่าด้วย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และข้อ 21/1 ข้อ 21/2 ข้อ 21/3 และข้อ 21/4 ของระเบียบ กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 “ หมวด 2/1 การขอใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ข้อ 21/1 การขอใช้ประโยชน์ในที่ดินสาหรับโครงการตามกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และมีการดาเนินการตามข้อ 21/2 ข้อ 21/3 แล้ว ให้ผู้มีอานาจออกใบอนุญาตตามข้อ 25 วรรคหนึ่ง ออกใบอนุญาตได้ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้ดาเนินโครงการนั้น การยื่นคาขอ และการดาเนินการ ให้นาความในข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 14 และข้อ 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 21/2 ในกรณีที่การขอใช้ ประโยชน์ในที่ดินตามข้อ 21/1 ได้มีการรับฟังความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้อง หรือมีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดทารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชนหรือชุมชนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว ให้ถือว่าเป็นการรับฟังความคิดเห็น ตามระเบียบนี้แล้ว ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นตามวรรคหนึ่ง ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีการรับฟัง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องต่อไป ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566
ข้อ 21/3 ในกรณีที่การขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินต้องได้รับความเห็นชอบจากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นตามข้อ 20 (1) ง. หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เสนอความเห็นกลับมาภายใน สี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้ถือว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่มีข้อขัด ข้องในการให้ใช้ประโยชน์ ในที่ดินแปลงนั้น ข้อ 21/4 เมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุ ยกเลิกใบอนุญาต หรือใบอนุญาตถูกเพิกถอน ให้ผู้ได้รับ ใบอนุญาตรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด รวมทั้งทรัพย์อย่างอื่นอันติดอยู่กับที่ดินแปลงนั้น ภายในกาหนด ระยะเวลาที่ผู้ออกใบอนุญาตกาหนด หากไม่ดาเนินการภายในกาหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกใบอนุญาต มีอานาจเข้าดาเนินการรื้อถอนโดยผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย รวมทั้งค่าขาดประโยชน์ เว้นแต่ ผู้ออกใบอนุญาตประสงค์จะใช้สิ่งปลูกสร้าง หรือทรัพย์นั้นต่อไป ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 ของระเบี ยบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน “ ข้อ 22 ที่ดินที่จะอนุญาตต้องเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้ ( 1 ) ที่ดินซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครอง ( 2 ) ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน หากการอนุญาต ไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันของราษฎร และได้ผ่านที่ประชุมการรับฟังความคิดเห็นจากราษฎรในพื้นที่ สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย ( 3 ) ที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนสิทธิในที่ดินให้แก่รัฐ หรือทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็น ที่รกร้างว่างเปล่าจนตกเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน ” ข้อ 6 บรรดาคาขออนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างดาเนินการและขั้นตอนการปฏิบัติที่ได้ดาเนินการ ไปแล้วก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับยังมีผลสมบูรณ์เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 24 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2566