Sun Jan 29 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 18/2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ


ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 18/2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 18/2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ อนุสนธิประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 8/2565 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์ การส่งเสริมการลงทุน และประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/2565 เรื่อง มาตรการ ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เกิดการลงทุนในคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ มากยิ่งขึ้นและกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาศัยอานาจตามความในมาตรา 16 มาตรา 18 มาตรา 31 มาตรา 31/1 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการ ส่งเสริ มการลงทุน จึงออกประกาศ ดังนี้ ข้อ 1 กำหนดให้พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ พื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ในระเบียง เศรษฐกิจพิเศษที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษกำหนด เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน ดังนี้ (1) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ( Northern Economic Corridor : NEC - Creative LANNA ) ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง (2) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( Northeastern Economic Corridor : NeEC – Bioeconomy ) ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย (3) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก ( Central - Western Economic Corridor : CWEC ) ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี (4) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ( Southern Economic Corridor : SEC ) ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ข้อ 2 กำหนดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ดังนี้ (1) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเห นือ: อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (2) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: อุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร และอุตสาหกรรมชีวภาพ (3) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก: อุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566

(4) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้: อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ข้อ 3 กาหนดประเภทกิจการเป้าหมายในคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายสาหรับพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ กิจการในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแล ะท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม A 1 + A 1 A 2 A 3 และ A 4 ยกเว้น ประเภทกิจการที่มีนโยบายเฉพาะที่จะไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการนี้ ตามที่สานักงาน กำหนด เช่น กิจการที่ไม่มีที่ตั้งสถานประกอบการชัดเจน กิจการที่มีเงื่อนไขบังคับเรื่องที่ตั้ง สถานประกอบการซึ่งไม่อยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น ตามบัญชีประเภทกิจการ แนบท้าย ข้อ 4 กำหนดการให้สิทธิและประโยชน์และเงื่อนไขสำหรับกิจการเป้าหมายตามข้อ 3 ดังนี้ 4.1 กรณีโครงการดำเนินการตามข้อ 4.1.1 และ 4.1.2 ให้ได้รับสิทธิ แ ละประโยชน์เพิ่มเติมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 4.1.1 กรณีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิและประโยชน์ (1) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี สำหรับกิจการในกลุ่ม A 1 + (2) ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับกาไรสุทธิที่ได้จาก การลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 3 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลา การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการในกลุ่ม A 1 A 2 A 3 และ A 4 เงื่อนไข ต้องมีความร่วม มือกับสถาบันการศึกษาตามรูปแบบที่กาหนด ได้แก่ ความร่วมมือในโครงการ Work - integrated Learning ( WiL ) โครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โครงการสหกิจศึกษา หรือความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากรไทยตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยจะต้องยื่นแผนความร่วมมือในการรับนักเรียนหรือนักศึกษาเข้าฝึกอาชีพ โดยมีจานวนนักเรียนหรือ นักศึกษาที่จะรับเข้าฝึกอาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในโครงการที่ยื่นขอรับ การส่งเสริมการลงทุน หรือไม่น้อยกว่า 40 คน แล้วแต่จำนวนใดต่ากว่า 4.1.2 กรณีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สิทธิและประโยชน์ (1) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี สำหรับกิจการในกลุ่ม A 1 + ้ หนา 53 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566

(2) ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับกาไรสุทธิที่ได้จาก การลงทุนในอั ตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 3 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลา การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการในกลุ่ม A 1 A 2 A 3 และ A 4 เงื่อนไข ต้องมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ทั้งการดาเนินการเอง หรือการว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ หรือการร่วมวิจัยและพัฒนากับองค์กร ในต่างประเทศ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท แล้วแต่มูลค่าใดต่ากว่า ทั้งนี้ ไม่สามารถนาจานวนนักเรียนหรือนักศึกษาที่จะรับเข้าฝึกอาชีพ หรือการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามมาตรการนี้ ไปขอรับสิทธิและประโยชน์ซ้าซ้อนกับมาตรการอื่นได้ 4.2 กรณีที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ตามข้อ 4.2.1 และ 4.2.2 ให้ ได้รับสิทธิ และประโยชน์เพิ่มเติมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 4.2.1 กรณีตั้งโครงการในเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริม หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการ ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4.2.2 กรณีตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับ การส่งเสริม ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม 4.3 ให้โครงการที่ดาเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในข้อ 4.1 และ 4.2 สามารถได้รับสิทธิแล ะประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมควบคู่กันได้ ข้อ 5 กรณีโครงการใดได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมแล้วเกิน 8 ปี จะไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 35 (1) เพิ่มเติมอีก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุน ้ หนา 54 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566

บัญชีประเภทกิจการ กิจการเป้าหมายในคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข ( 1 ) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 1 . 1 . 1 . 1 กิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ 1 . ต้องมีพื้นที่ติดกันไม่น้อยกว่า 50 ไร่ 2 . ต้องได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า จากกรมป่าไม้หรือหน่วยงานที่กรมป่าไม้มอบหมาย ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับหนังสือรับรองก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ 3 . ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการป่าไม้ที่ เหมาะสม เช่น Forest Stewardship Council (FSC), Programme for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 1 . 1 . 2 กิจการปลูกพืชพลังงาน 1 . ต้องมีพื้นที่ติดกันไม่น้อยกว่า 50 ไร่ 2 . ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการการปลูกที่ เหมาะสม เช่น Forest Stewardship Council (FSC), Programme for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 1 . 2 กิจการขยายพันธุ์สัตว์หรือเลี้ยงสัตว์ 1 . ต้องมีการขยายพันธุ์สัตว์ในโครงการ 2 . ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โรงเรือนระบบปิด ระบบ ระบายอากาศ ระบบการให้น้ําและอาหารอัตโนมัติ ระบบ ป้องกันพาหะนําโรคเข้าสู่ฟาร์ม และระบบป้องกันและลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 3 . ต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) หรือระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่เทียบเท่า ตามที่ คณะกรรมการเห็นชอบ

2 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 4 . ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการการเลี้ยงสัตว์ เช่น Good Agricultural Practice (GAP) หรือมาตรฐาน อื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 1 . 3 กิจการฆ่าและชําแหละสัตว์ 1 . ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย เช่น มีระบบทําให้สัตว์ สลบ ราวแขวนสัตว์ ห้องเย็น ระบบลดอุณหภูมิ การ ตรวจสอบคุณภาพเนื้อสัตว์ และการตรวจสอบสิ่ง ปลอมปน เป็นต้น 2 . ต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) หรือ ระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่เทียบเท่า ตามที่ คณะกรรมการเห็นชอบ 3 . ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสําหรับโรงฆ่าสัตว์ เช่น Good Manufacturing Practice (GMP) หรือมาตรฐาน อื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 1 . 4 กิจการประมงน้ําลึก ต้องได้รับใบอนุญาตทําการประมงนอกน่านน้ําไทยจาก กรมประมง ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ 1 . 2 . 1 . 1 กิจการผลิตแป้งอินทรีย์ (Organic Starch or Organic Flour) ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เช่น International Federation of Organic Agriculture Movements ( IFOAM) , Canada Organic Regime ( COR) , The National Organic Program (NOP) หรือมาตรฐานอื่นที่ เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 2 . 1 . 2 กิจการผลิตแป้งแปรรูป (Modified Starch) หรือแป้งจากพืชที่มีคุณสมบัติพิเศษ 1 . 2 . 1 . 3 กิจการผลิตแป้งดิบ (Native Starch or Native Flour) 1 . ต้องใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การนําน้ํา กลับมาใช้ใหม่ การควบคุมมลภาวะทางอากาศ เป็นต้น 2 . ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 14000 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบ เปิดดําเนินการ 1 . 2 . 2 กิจการผลิตน้ํามันหรือไขมันจากพืชหรือสัตว์

3 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 1 . 2 . 3 กิจการฟอกหนังสัตว์ หรือแต่งสําเร็จหนังสัตว์ 1 . ต้องใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลด การใช้ สารเคมี หรือนําเอนไซม์ หรือตัวเร่งชีวภาพ (Biological Catalyst) มาใช้ทดแทนการใช้สารเคมี เป็นต้น 2 . เฉพาะกิจการฟอกหนังสัตว์ ต้องตั้งในนิคมหรือเขต อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมหรือในเขตประกอบการ อุตสาหกรรมฟอกหนัง ซึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรม ตามมาตรา 30 ของกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และในกรณี ขยายกิจการหรือการขอรับการส่งเสริม ตามมาตรการ ยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) จะอนุญาตให้ตั้งในพื้นที่สถานประกอบการเดิมได้ โดย จะต้องมีมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 1 . 2 . 4 . 1 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ 1 . ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตยางรัดของ ลูกโป่ง และแหวนยาง 2 . ต้องมีปริมาณการใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบไม่น้อยกว่า ร้อยละ 51 ของปริมาณการใช้วัตถุดิบในโครงการ 1 . 2 . 4 . 2 กิจการแปรรูปยางขั้นต้น 1 . 2 . 5 กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม วัตถุเจือ ปนอาหาร (Food Additive) สิ่งปรุงแต่งอาหาร (Food Ingredient) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement) ที่ใช้เทคโนโลยีที่ ทันสมัย ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ําตาลทราย น้ําผลไม้เจือจาง เครื่องดื่ม เกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ําบริโภค น้ําโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและไม่แต่งกลิ่นรส น้ําอัดลม น้ําดื่มผสมวิตามิน และน้ําดื่มที่มีส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ 1 . 2 . 6 . 1 กิจการผลิตอาหารที่มีคํากล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) 1 . ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ําตาลทราย น้ําผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ น้ําบริโภค น้ําโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและ ไม่แต่งกลิ่นรส น้ําอัดลม น้ําดื่มผสมวิตามิน และน้ําดื่มที่มี ส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ 2 . ต้องได้รับการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพจาก สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่น ที่เทียบเท่าก่อนวันครบเปิดดําเนินการ

4 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 1 . 2 . 6 . 2 กิจการผลิตอาหารใหม่ (Novel Food) 1 . ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ําตาลทราย น้ําผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ น้ําบริโภค น้ําโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและ ไม่แต่งกลิ่นรส น้ําอัดลม น้ําดื่มผสมวิตามิน และน้ําดื่มที่มี ส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ 2 . ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอาหารใหม่จากสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยาหรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 2 . 6 . 3 กิจการผลิตอาหารอินทรีย์ (Organic Food) 1 . ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ําตาลทราย น้ําผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ น้ําบริโภค น้ําโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและ ไม่แต่งกลิ่นรส น้ําอัดลม น้ําดื่มผสมวิตามิน และน้ําดื่มที่มี ส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ 2 . ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เช่น International Federation of Organic Agriculture Movements ( IFOAM) , Canada Organic Regime (COR), The National Organic Program (NOP) หรือ มาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ 1 . 2 . 6 . 4 กิจการผลิตอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) 1 . ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ําตาลทราย น้ําผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ น้ําบริโภค น้ําโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและ ไม่แต่งกลิ่นรส น้ําอัดลม น้ําดื่มผสมวิตามิน และน้ําดื่มที่มี ส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ 2 . ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอาหารทางการแพทย์จาก สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่น ที่เทียบเท่า ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ

5 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 1 . 2 . 8 . 1 กิจการผลิตอาหารประกอบการรักษาโรค สําหรับสัตว์เลี้ยง 1 . ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ประเภทอาหารสัตว์เลี้ยง ชนิดอาหารประกอบการรักษา โรคสําหรับสัตว์เลี้ยง หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 2 . ต้องได้รับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัย ของอาหาร เช่น ISO 22000 หรือมาตรฐานที่ Global Food Safety Initiative (GFSI) ยอมรับ เป็นต้น ก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ 1 . 2 . 8 . 2 กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหาร สัตว์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความ ปลอดภัยทางอาหาร ต้องได้รับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของ อาหาร เช่น ISO 22000 หรือมาตรฐานที่ Global Food Safety Initiative (GFSI) ยอมรับ เป็นต้น ก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ 1 . 2 . 8 . 3 กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหาร สัตว์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ต้องได้รับรองมาตรฐานสากล เช่น Hazard Analysis and Critical Control Points (HACCP) หรือ Good Manufacturing Practice (GMP) เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 2 . 11 . 1 กิจการผลิตสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ ที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดขั้นสูงหรือการผลิต ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทาง ธรรมชาติที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดขั้นสูง ที่ต่อเนื่องในโครงการเดียวกัน การผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ต่อเนื่อง ในโครงการ ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือ เทียบเท่าตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยาหรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนการ ใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้อง ได้รับการขึ้นทะเบียนก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 2 . 11 . 2 กิจการผลิตสารสกัดจากวัตถุดิบทาง ธรรมชาติหรือการผลิตผลิตภัณฑ์จากสาร สกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ต่อเนื่องใน โครงการเดียวกัน การผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ ต่อเนื่องในโครงการ ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ สมุนไพรหรือเทียบเท่าตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่น ที่เทียบเท่า ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ

6 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 1 . 2 . 11 . 3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจาก วัตถุดิบทางธรรมชาติหรือผลิตภัณฑ์ สมุนไพร ที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตสารสกัด จากวัตถุดิบทางธรรมชาติ 1 . ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือเทียบเท่า ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ 2 . ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสําหรับสถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น Good Manufacturing Practice (GMP) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบ เปิดดําเนินการ 1 . 3 . 1 กิจการปรับปรุงพันธุ์พืช หรือสัตว์ ( ที่ไม่เข้าข่าย กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ ) สําหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีความอ่อนไหวตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน 1 . 3 . 2 . 1 กิจการผลิตหรือให้บริการเครื่องจักรกล อุปกรณ์ทางการเกษตรสมัยใหม่และระบบ เกษตรสมัยใหม่ ที่มีการออกแบบระบบ หรือ ซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์ม และผลิต เครื่องจักรกล อุปกรณ์ในโครงการ 1 . ต้องผลิตระบบเกษตรสมัยใหม่ เช่น ระบบตรวจจับหรือติดตาม สภาพต่าง ๆ ระบบควบคุมการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ( น้ํา ปุ๋ย เวชภัณฑ์ และระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ) เป็นต้น 2 . ต้องมีขั้นตอนการออกแบบระบบ หรือซอฟต์แวร์ หรือ แพลตฟอร์ม ที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะ System Integration ที่ดําเนินการเอง โดย จะต้องมีการเก็บข้อมูล แปลผล และวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ หากไม่มีการดําเนินการเอง จะต้องเป็นการว่าจ้างผู้พัฒนา ระบบในประเทศโดยจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างไม่น้อย กว่า 10 ล้านบาท ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 3 . ต้องผลิตเครื่องจักรกล อุปกรณ์สําหรับระบบเกษตรสมัยใหม่ โดยมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน การประกอบ และ / หรือการ ออกแบบทางวิศวกรรม ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ 4 . ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมไม่น้อยกว่า 1 , 500 , 000 บาทต่อปีโดยต้องเป็นการจ้างงานใหม่ หรือ มีเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดิน ทุนหมุนเวียน และ ค่ายานพาหนะ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท

7 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 1 . 3 . 2 . 2 กิจการผลิตหรือให้บริการเครื่องจักรกล อุปกรณ์ ทางการเกษตรสมัยใหม่และระบบ เกษตรสมัยใหม่ที่มีการออกแบบระบบ หรือซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์ม แต่ไม่มีการ ผลิตเครื่องจักรกล อุปกรณ์ในโครงการ 1 . ต้องผลิตระบบเกษตรสมัยใหม่ เช่น ระบบตรวจจับหรือ ติดตามสภาพต่าง ๆ ระบบควบคุมการใช้ทรัพยากร ที่เกี่ยวข้อง ( น้ํา ปุ๋ย เวชภัณฑ์ และ ระบบโรงเรือน อัจฉริยะ ) เป็นต้น 2 . ต้องมีขั้นตอนการออกแบบระบบ หรือซอฟต์แวร์ หรือ แพลตฟอร์ม ที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากร ที่เกี่ยวข้องในลักษณะ System Integration ที่ดําเนินการ เอง โดยจะต้องมีการเก็บข้อมูล แปลผล และวิเคราะห์ ข้อมูล ทั้งนี้ หากไม่มีการดําเนินการเอง จะต้องเป็นการ ว่าจ้างผู้พัฒนาระบบในประเทศ โดยจะต้องมีค่าใช้จ่าย ในการว่าจ้างไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ โดยค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้พัฒนาระบบใน ประเทศให้นับรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ 3 . ต้องมีการจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์จากผู้ประกอบการ รายอื่น หรือว่าจ้างผู้ประกอบการรายอื่นผลิต แล้วนํามา ประกอบในลักษณะ System Integration เป็นระบบ เกษตรสมัยใหม่ 4 . ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมไม่น้อยกว่า 1 , 500 , 000 บาทต่อปี โดยต้องเป็นการจ้างงานใหม่ หรือมีเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดิน ทุนหมุนเวียน และ ค่ายานพาหนะ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท 1 . 3 . 2 . 3 กิจการให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่ ต้องเป็นการให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่ เช่น ระบบ ตรวจจับหรือติดตามสภาพต่าง ๆ ระบบควบคุมการใช้ ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ( น้ํา ปุ๋ย เวชภัณฑ์ และระบบโรงเรือน อัจฉริยะ ) เป็นต้น ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ 1 . 3 . 3 กิจการโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ต้องมีการปลูกพืชภายในอาคารที่ออกแบบมาเฉพาะในระบบ ปิด และต้องมีการติดตั้งระบบควบคุมสภาพแวดล้อมในการ ปลูกพืชทั้งทางกายภาพและการควบคุมสภาพแวดล้อมทาง ชีวภาพ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ

8 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 1 . 4 . 1 กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ เคมีนาโน และสารชีวภัณฑ์ป้องกันกําจัดศัตรูพืช 1 . ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี นาโน ต้องดําเนินการให้ได้รับการขึ้นทะเบียนและ ใบอนุญาตผลิตปุ๋ยเพื่อการค้าจากกรมวิชาการเกษตร ก่อน การใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียน และใบอนุญาตก่อนวันครบ เปิดดําเนินการ 2 . ผลิตภัณฑ์สารชีวภัณฑ์ป้องกันกําจัดศัตรูพืช ต้อง ดําเนินการให้ได้รับการขึ้นทะเบียน และใบรับแจ้งการ ดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 จากกรมวิชาการ เกษตร ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียน และใบรับ แจ้งก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 4 . 3 . 1 กิจการคัดคุณภาพ และเก็บรักษาผลิตผล และ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การใช้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจสอบ เนื้อในผลไม้ การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการกําจัดแมลง การใช้ Nuclear Magnetic Resonance และการใช้ระบบเอกซเรย์ เป็นต้น 1 . 4 . 3 . 2 กิจการคัดคุณภาพ และเก็บรักษาผลิตผลและ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่ใช้เทคโนโลยี ทันสมัย 1 . ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การใช้เครื่องคัดแยกสี เมล็ดพืช การอบไอน้ําฆ่าไข่แมลงวันผลไม้ การเคลือบผิว เมล็ดพืช การบรรจุในบรรยากาศดัดแปลง (Modified Atmosphere Packaging: MAP) การบรรจุในบรรยากาศ ค ว บ คุ ม ( Controlled Atmosphere Packaging: CAP) การเก็บรักษาในห้องเย็น (Cold Storage) และการแช่เยือกแข็ง (Freezing) เป็นต้น 2 . ไม่ให้การส่งเสริมการคัดคุณภาพข้าว 1 . 4 . 4 . 1 กิจการห้องเย็น หรือกิจการห้องเย็นและขนส่ง ห้องเย็น กรณีใช้สารทําความเย็นธรรมชาติ (Natural Refrigerants) ต้องใช้สารทําความเย็นธรรมชาติ โดยอนุญาตให้ใช้แอมโมเนีย ได้ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 49 ของปริมาณการใช้ สารทําความเย็นในระบบ 1 . 4 . 5 กิจการศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร 1 . ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 50 ไร่ 2 . ต้องมีพื้นที่สําหรับประกอบกิจการ และบริการเกี่ยวกับ สินค้าเกษตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด โดย

9 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข ต้องจัดให้มีพื้นที่สําหรับแสดง หรือซื้อขายสินค้าเกษตร ศูนย์ประมูลสินค้า ห้องเย็น และคลังสินค้า 3 . ต้องมีการให้บริการตรวจสอบ คัดคุณภาพ และตรวจ สารพิษตกค้าง 1 . 4 . 6 กิจการศูนย์การค้าผลิตผลทางการเกษตรระบบ ดิจิทัล 1 . ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของ ทุนจดทะเบียน 2 . ต้องมีแพลตฟอร์มสําหรับให้บริการเกษตรกรและ ผู้ประกอบการ รวมทั้งมีระบบการติดตามและควบคุม คุ ณ ภำ พ ผ ล ผ ลิ ต ทำ ง กำ ร เ ก ษ ต ร โ ด ย ต้ อ ง มี กระบวนการพัฒนาหรือว่าจ้างผู้อื่นในประเทศเพื่อพัฒนา ซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มที่ใช้ในโครงการ 3 . ต้องเป็นการจําหน่ายผลิตผลทางการเกษตรในรูปแบบ B2B (Business-to-Business) เท่านั้น 4 . ต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) หรือ ระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่เทียบเท่ำ ตำ ม ที่ คณะกรรมการเห็นชอบ และมีกระบวนการตรวจคุณภาพ เช่น ห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบคุณภาพ เป็นต้น 7 . 2 . 3 . 6 กิจการนิคมหรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม เกษตรและอาหาร 1 . ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของ ทุนจดทะเบียน 2 . ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ โดยพื้นที่สําหรับ การประกอบอุตสาหกรรมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด 3 . ต้องมีพื้นที่เป็นสถานประกอบการในอุตสาหกรรมเกษตร เกษตรแปรรูปอาหาร กิจการที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตร ผลพลอยได้ เศษหรือของเสียจากการเกษตรเป็นวัตถุดิบ หลัก รวมทั้งบริการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากร ในสัดส่วนพื้นที่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ที่เป็นสถานประกอบการ ทั้งหมด

10 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 4 . ต้องมีบริการและสิ่งอํานวยความสะดวกภายในโครงการ ดังนี้ - ห้องปฏิบัติการ / ทดสอบ - สถาบันฝึกอบรมหรือพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตร หรืออาหาร - ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน หรือรายละเอียดตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ( 2 ) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมชีวภาพ 1 . 2 . 9 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ จาก ผลผลิตทางการเกษตร ผลพลอยได้หรือเศษวัสดุ ทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่มา จากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุ หรือของเสียจาก การเกษตร 1 . 2 . 10 . 1 กิจการผลิตเชื้อเพลิงหรือแอลกอฮอล์ทาง เภสัชกรรม (Pharmaceutical Grade) จาก ผลผลิตทางการเกษตร 1 . 2 . 10 . 2 กิจการผลิตเชื้อเพลิงจากเศษวัสดุหรือ ของเสียที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร ต้องเป็นการผลิตเชื้อเพลิงจากเศษวัสดุหรือของเสียที่ได้จาก ผลผลิตทางการเกษตร เช่น Biomass to Liquid (BtL) ก๊าซชีวภาพจากน้ําเสีย ไบโอดีเซลจากน้ํามันพืชใช้แล้ว เป็นต้น 1 . 2 . 10 . 3 กิจการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัด 1 . 5 . 1 . 1 กิจการผลิตพลาสติกชีวภาพหรือการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่ขึ้นรูปต่อเนื่องใน โครงการเดียวกัน ต้องได้การรับรองมาตรฐานพลาสติกฐานชีวภาพ เช่น มอก . 2734 , ISO 16620 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 5 . 1 . 2 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ 1 . ต้องได้การรับรองมาตรฐานพลาสติกฐานชีวภาพ เช่น มอก . 2734 , ISO 16620 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่ เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 2 . ต้องมีกระบวนการขึ้นรูปจากพลาสติกชีวภาพ 1 . 5 . 2 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemicals) 1 . ต้องใช้วัตถุดิบที่มาจากผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากการเกษตร วัสดุชีวมวล เศษหรือผลพลอยได้ จากอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 โดยน้ําหนัก

11 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 2 . ไม่ให้การส่งเสริมโครงการที่มีเฉพาะการผสมหรือเจือจาง 3 . ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานหรือการทดสอบคุณสมบัติ การย่อยสลายทางชีวภาพได้ (Ready Biodegradability) ตามมาตรฐานสากล เช่น OECD Guidelines for the Testing of Chemical, Test No. 301: Ready Biodegradability เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 1 . 5 . 3 . 1 กิจการการปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ และ จุลินทรีย์ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ 1 . 5 . 3 . 2 กิจการผลิตสารเวชภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ 1 . 5 . 3 . 3 กิจการผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อมที่ใช้ เทคโนโลยีชีวภาพ 1 . 5 . 3 . 4 กิจการผลิตสารชีวโมเลกุล และสารออกฤทธิ์ ชีวภาพที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์ เซลล์พืช และ เซลล์สัตว์ในการผลิต 1 . 5 . 3 . 5 กิจการผลิตวัตถุดิบและ / หรือวัสดุจําเป็นที่ใช้ เพื่อการวิจัยและพัฒนา การทดลอง การทดสอบ การควบคุมคุณภาพ สําหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ ชีวภาพ 1 . 6 กิจการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) 1 . ต้องมีขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายที่ใช้เป็นฐาน ในกระบวนการผลิตหรือให้บริการในอุตสาหกรรม เป้าหมาย ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ 2 . ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัยตามรูปแบบที่คณะกรรมการกําหนด เช่น Technology Research Consortium เป็นต้น ( 3 ) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4 . 1 กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Microelectronics, Optoelectronic หรือ Embedded System 1 . ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านออกแบบทาง อิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า 1 , 500 , 000 บาท ต่อปี โดยต้องเป็นการจ้างงานใหม่ หรือมีเงินลงทุน โดยไม่รวม ค่าที่ดิน ทุนหมุนเวียนและค่ายานพาหนะ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท

12 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 2 . ในการยื่นแบบขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากการจําหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการซึ่งเป็น ผลงานที่เกี่ยวกับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมโดยตรง ต้องมี หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ - สิทธิบัตร สําหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการซึ่งเป็นผลงานที่ เกี่ยวกับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมโดยตรง - หนังสือรับรองผลิตภัณฑ์หรือบริการ ว่าเป็นการ ออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ของโครงการ จาก สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือสถาบันที่เกี่ยวข้องสําหรับแต่ละผลิตภัณฑ์หรือ บริการ 4 . 2 . 2 . 1 กิจการผลิตหรือทดสอบอุปกรณ์สารกึ่งตัวนํา และวงจรรวม ที่เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ 1 . ต้องเป็นการผลิตหรือทดสอบชิ้นส่วนสําหรับอุปกรณ์สาร กึ่งตัวนําและวงจรรวม และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง หรือต่อเนื่องจากขั้นตอนการผลิต เช่น Wafer Grinding, Sawed Dice, Wafer Testing, IC Testing แ ล ะ IC Module เป็นต้น 2 . สําหรับการผลิตและทดสอบวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) การลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรเดิมให้เป็นส่วน หนึ่งของโครงการที่จะได้รับส่งเสริมด้วยโดยไม่ให้นับ มูลค่าเครื่องจักรเดิมมารวมเป็นเงินลงทุนที่จะได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 . ต้องมีเงินลงทุนค่าเครื่องจักร ( รวมค่าติดตั้งและ ค่าทดลองเครื่อง ) ที่ใช้ในการผลิตหรือทดสอบไม่น้อยกว่า 1 , 500 ล้านบาท 4 . 2 . 2 . 2 กิจการผลิตหรือทดสอบอุปกรณ์สารกึ่งตัวนํา และวงจรรวม 1 . ต้องเป็นการผลิตหรือทดสอบชิ้นส่วนสําหรับอุปกรณ์สาร กึ่งตัวนําและวงจรรวม และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นระหว่างหรือ ต่อเนื่องจากขั้นตอนการผลิต เช่น Wafer Grinding, Sawed Dice, Wafer Testing, IC Testing แ ล ะ IC Module เป็นต้น

13 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 2 . สําหรับการผลิตและทดสอบวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) การลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรเดิมให้เป็นส่วน หนึ่งของโครงการที่จะได้รับส่งเสริมด้วยโดยไม่ให้นับมูลค่า เครื่องจักรเดิมมารวมเป็นเงินลงทุนที่จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล 4 . 2 . 3 . 1 กิจการผลิต Electronic Passive Component ชนิด Surface Mount Device ที่เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ต้องมีเงินลงทุนค่าเครื่องจักร ( รวมค่าติดตั้งและค่าทดลอง เครื่อง ) ที่ใช้ในการผลิตไม่น้อยกว่า 1 , 500 ล้านบาท 4 . 2 . 3 . 2 กิจการผลิต Electronic Passive Component ชนิด Surface Mount Device 4 . 2 . 3 . 3 กิจการผลิต Electronic Passive Component ชนิด Through Hole Device 4 . 2 . 4 . 1 กิจการผลิต Printed Circuit Board ชนิด High Density Interconnect ต้องมีการลงทุนเครื่องจักรและกรรมวิธีการผลิตตามที่ คณะกรรมการเห็นชอบ 4 . 2 . 4 . 2 กิจการผลิต Flexible Printed Circuit Board, Multilayer Printed Circuit Board หรือชิ้นส่วน ที่เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ต้องมีเงินลงทุนค่าเครื่องจักร ( รวมค่าติดตั้งและค่าทดลอง เครื่อง ) ที่ใช้ในการผลิตไม่น้อยกว่า 1 , 500 ล้านบาท 4 . 2 . 4 . 3 กิจการผลิต Flexible Printed Circuit Board, Multilayer Printed Circuit Board หรือชิ้นส่วน 4 . 2 . 5 . 1 กิจการผลิต Printed Circuit Board Assembly (PCBA) หรือผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง จากการผลิต PCBA ในโครงการเดียวกัน ที่เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ 1 . ต้องมีขั้นตอนการประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 2 . ต้องมีเงินลงทุนค่าเครื่องจักร ( รวมค่าติดตั้งและค่าทดลอง เครื่อง ) ที่ใช้ในการผลิตไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท 4 . 2 . 5 . 2 กิจการผลิต Printed Circuit Board Assembly (PCBA) หรือผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง จากการผลิต PCBA ในโครงการเดียวกันที่ใช้ เทคโนโลยี Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิต ต้องมีขั้นตอนการประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 4 . 2 . 6 . 1 กิจการผลิต Printed Electronics ที่ใช้สาร สําหรับการพิมพ์มากกว่า 1 ชนิด

14 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 4 . 2 . 6 . 2 กิจการผลิต Printed Electronics ที่ใช้สาร สําหรับการพิมพ์ 1 ชนิด 4 . 2 . 7 . 1 กิจการผลิต Solid State Drive 1 . ต้องมีขั้นตอนการประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 2 . การลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรเดิมให้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการที่จะได้รับส่งเสริมด้วย โดยไม่ให้นับมูลค่า เครื่องจักรเดิมมารวมเป็นเงินลงทุนที่จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล 4 . 2 . 7 . 2 กิจการผลิต Advanced Technology Hard Disk Drive และ / หรือชิ้นส่วนสําคัญ 1 . ต้องเป็นการผลิต Hard Disk Drive ที่มีความหนาแน่นของ ข้อมูล (Areal Density) ไม่น้อยกว่า 2 , 000 กิกะบิต ต่อตารางนิ้ว 2 . ไม่ให้การส่งเสริมการผลิต Top Cover หรือ Base Plate หรือ Peripheral 3 . การลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรเดิมให้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการที่จะได้รับส่งเสริมด้วย โดยไม่ให้นับมูลค่า เครื่องจักรเดิมมารวมเป็นเงินลงทุนที่จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล 4 . 2 . 7 . 3 กิจการผลิต Hard Disk Drive และ / หรือ ชิ้นส่วนสําคัญ 1 . ต้องเป็นการผลิต Hard Disk Drive และ / หรือชิ้นส่วน สํำ คั ญ เ ช่ น Spindle Motor, Suspension, Head Gimbal Assembly และ Voice Coil Motor เป็นต้น 2 . ไม่ให้การส่งเสริมการผลิต Top Cover หรือ Base Plate หรือ Peripheral 3 . การลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรเดิมให้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการที่จะได้รับส่งเสริมด้วย โดยไม่ให้นับมูลค่า เครื่องจักรเดิมมารวมเป็นเงินลงทุนที่จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล 4 . 2 . 7 . 4 กิจการผลิตชิ้นส่วนอื่น ๆ ของ Hard Disk Drive เช่น Top Cover, Base Plate, Pin และ Filter เป็นต้น

15 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 4 . 2 . 7 . 5 กิจการผลิต External Hard Disk Drive และ อุปกรณ์หน่วยความจําอื่น ๆ เช่น Flash Drive เป็นต้น ต้องมีขั้นตอนการประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 4 . 2 . 8 . 1 กิจการผลิตแบตเตอรี่ความจุสูง (High Density Battery) กรณีมีขั้นตอนการผลิต Cell 1 . ต้องเป็นการผลิต High Density Battery ที่มีคุณสมบัติ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ดังนี้ 1 ) มีค่า Specific Energy Density ไม่น้อยกว่า 150 Wh/kg 2 ) มีจํานวนรอบการอัดประจุ (Cycle) ไม่น้อยกว่า 500 รอบ 2 . ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบ และวัสดุจําเป็นตามมาตรา 30 ในอัตราร้อยละ 90 สําหรับชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่ไม่มีการผลิตในประเทศ เป็น ระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ จะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี นับจาก วันที่นําเข้าวัตถุดิบครั้งแรก 4 . 2 . 8 . 2 กิจการผลิตแบตเตอรี่ความจุสูง (High Density Battery) กรณีนํา Cell มาเริ่มผลิต เช่น ผลิตเป็น Module หรือ Battery Pack เป็นต้น 1 . ต้องเป็นการผลิต High Density Battery ที่มีคุณสมบัติ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ดังนี้ 1 ) มีค่า Specific Energy Density ไม่น้อยกว่า 150 Wh/kg 2 ) มีจํานวนรอบการอัดประจุ (Cycle) ไม่น้อยกว่า 500 รอบ 2 . ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบ และวัสดุจําเป็นตามมาตรา 30 ในอัตราร้อยละ 90 สําหรับชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่ไม่มีการผลิตในประเทศ เป็น ระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ จะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี นับจาก วันที่นําเข้าวัตถุดิบครั้งแรก 4 . 2 . 8 . 3 กิจการผลิตแบตเตอรี่ความจุสูง (High Density Battery) กรณีนํา Module มาผลิต เป็น Battery Pack ต้องเป็นการผลิต High Density Battery ที่มีคุณสมบัติตามที่ คณะกรรมการเห็นชอบ ดังนี้ 1 ) มีค่า Specific Energy Density ไม่น้อยกว่า 150 Wh/kg 2 ) มีจํานวนรอบการอัดประจุ (Cycle) ไม่น้อยกว่า 500 รอบ

16 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 4 . 2 . 8 . 4 กิจการผลิต Supercapacitor ต้องเป็นการผลิต Supercapacitor ที่มีคุณสมบัติตามที่ คณะกรรมการเห็นชอบ ดังนี้ 1 ) มีค่า Specific Power Density ไม่น้อยกว่า 10 , 000 W/kg 2 ) มีจํานวนรอบการอัดประจุ (Cycle) ไม่น้อยกว่า 10 , 000 รอบ 4 . 2 . 9 . 1 กิจการผลิต Flat Panel Display หรือ ชิ้นส่วนสําคัญ 1 . ต้องเป็นการผลิต Flat Panel Display หรือชิ้นส่วนสําคัญ เช่น Backlight Panel, Diffuser, LCD Film, Electrode และ Polarizing Film เป็นต้น 2 . ต้องมีกรรมวิธีการผลิตตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ 4 . 2 . 10 กิจการผลิต Electro-magnetic Product และชิ้นส่วน 4 . 2 . 11 . 1 กิจการผลิตสายใยแก้วนําแสง (Optical Fiber) ต้องมีกรรมวิธีการผลิตตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ 4 . 2 . 11 . 2 กิจการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ Optical Fiber, Optical Device และ Electro-optical Device ต้องมีกรรมวิธีการผลิตตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ 4 . 2 . 11 . 3 กิจการผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่อพ่วง และ สายสัญญาณอื่น ๆ ที่มีขั้นตอนการผลิต ต่อเนื่องจากการขึ้นรูปโลหะ หรือวัสดุ นําไฟฟ้าในโครงการเดียวกัน 4 . 2 . 12 . 1 กิจการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ และ / หรือ วัตถุดิบสําหรับเซลล์แสงอาทิตย์ ต้ อ ง มี ก ร ร ม วิ ธี กำ ร ผ ลิ ต แ ล ะ Energy Yield ตำ ม ที่ คณะกรรมการเห็นชอบ 4 . 2 . 12 . 2 กิจการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากเซลล์ แสงอาทิตย์ที่ผลิตในโครงการเดียวกัน ต้ อ ง มี ก ร ร ม วิ ธี กำ ร ผ ลิ ต แ ล ะ Energy Yield ตำ ม ที่ คณะกรรมการเห็นชอบ 4 . 2 . 13 . 1 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electrical Appliance and Smart Electronics) ที่เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ 1 . ต้องเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ และ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electrical Appliance and Smart Electronics) ที่มีคุณสมบัติดังนี้ - ต้องมีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตรวจจับและรับ ข้อมูลได้เป็นองค์ประกอบหลัก

17 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข - ต้องสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่น หรือ โครงข่ายผ่านระบบไร้สาย - ต้องมีระบบปฏิบัติการหรือประมวลผลฝังตัวอยู่ใน ตัวอุปกรณ์ หรือเครื่องมือนั้น ๆ 2 . ไม่ให้การส่งเสริมการผลิตปลั๊กไฟฟ้า อุปกรณ์ส่องสว่าง และหลอดไฟ 3 . ต้องมีเงินลงทุนค่าเครื่องจักร ( รวมค่าติดตั้งและทดลอง เครื่อง ) ไม่ต่ํากว่า 1 , 500 ล้านบาท 4 . ต้องมีขั้นตอนการประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 4 . 2 . 13 . 2 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electrical Appliance and Smart Electronics) 1 . ต้องเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ และ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electrical Appliance and Smart Electronics) ที่มีคุณสมบัติดังนี้ - ต้องมีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตรวจจับและรับ ข้อมูลได้เป็นองค์ประกอบหลัก - ต้องสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่น หรือ โครงข่ายผ่านระบบไร้สาย - ต้องมีระบบปฏิบัติการหรือประมวลผลฝังตัวอยู่ใน ตัวอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้น ๆ 2 . ไม่ให้การส่งเสริมการผลิตปลั๊กไฟฟ้า อุปกรณ์ส่องสว่าง และหลอดไฟ 3 . สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม กรณีมีขั้นตอนการประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน ให้ ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี 4 . 2 . 14 . 1 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนกลุ่มภาพ และเสียง (Audio Visual Product) จาก PCBA ที่ผลิตในโครงการเดียวกัน ต้องมีขั้นตอนการประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 4 . 2 . 14 . 2 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนกลุ่มภาพ และเสียง (Audio Visual Product)

18 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 4 . 2 . 15 . 1 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์สําหรับสํานักงาน จาก PCBA ที่ผลิตในโครงการเดียวกัน ต้องมีขั้นตอนการประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 4 . 2 . 15 . 2 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์สําหรับสํานักงาน 4 . 2 . 16 . 1 กิจการผลิต Optical Module, Optical Device, Electro-optical Module หรือ Electro-optical Device ต้องมีขั้นตอนการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1 . การประกอบ PCBA ที่ใช้ Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 2 . การเชื่อมประกอบ Optical Chip 4 . 2 . 16 . 2 กิจการผลิต Network Device for Office and Home Use เช่น Router, Access Point, Network Switch, Repeater, Extender และ Gateway เป็นต้น จาก PBCA ที่ผลิตในโครงการเดียวกันหรือมี ขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน ต้องมีขั้นตอนการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1 . การประกอบ PCBA ที่ใช้เทคโนโลยี Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 2 . การขึ้นรูปชิ้นส่วน 4 . 2 . 16 . 3 กิจการผลิต Network Device for Office and Home Use เ ช่ น Router, Access Point, Network Switch, Repeater, Extender และ Gateway เป็นต้น 4 . 2 . 17 . 1 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วน Electronic Measuring Instrument จาก PBCA ที่ผลิตในโครงการเดียวกัน หรือมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน ต้องมีขั้นตอนการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1 . การประกอบ PCBA ที่ใช้เทคโนโลยี Surface Mount Technology ครบทั้งสายการผลิตในโครงการเดียวกัน 2 . การขึ้นรูปชิ้นส่วน 4 . 2 . 17 . 2 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วน Electronic Measuring Instrument 4 . 2 . 18 . 1 กิจการผลิต Power Supply, Converter, Inverter หรือ Charger ที่มีโปรแกรมควบคุม การทํางาน ต้องมีกรรมวิธีการผลิต ดังนี้ 1 . ออกแบบลายวงจรของแผงวงจรไฟฟ้า (PCB Design) 2 . การบรรจุโปรแกรมควบคุมในโครงการเดียวกัน 4 . 2 . 18 . 2 กิจการผลิต Power Supply, Converter, Inverter หรือ Charger ต้องมีกรรมวิธีการผลิตตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ

19 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 4 . 2 . 19 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไมโครเทคโนโลยี ในการผลิต ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1 . ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Microfabrication Technology ในการผลิต เช่น ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (Microelectromechanical Systems: MEMS), Microelectronics และ Microsensor เป็นต้น หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Microtechnology ในการผลิต เช่น Micro Coil, Micro Magnet, Micro Components, Micro Rotor, Micro Ceramic และ Brushless Motor เป็นต้น 2 . เครื่องจักรหลักที่ใช้ในโครงการต้องสามารถผลิตชิ้นงานที่มี ค่าความคลาดเคลื่อน ตามค่า International Tolerance Grades (IT) ไม่เกิน IT5 4 . 3 . 1 กิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า (Electrical Appliance) 1 . ต้องเป็นการผลิต เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องซักผ้า หรือเครื่องอบผ้า 2 . ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานประสิทธิภาพสูงในระดับ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของกระทรวงพลังงาน หรือมี ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่เทียบเท่า 4 . 3 . 2 . 1 กิจการผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่อพ่วงและ สายไฟฟ้า มีขั้นตอนการผลิตต่อเนื่องจากการ ขึ้นรูปโลหะ หรือวัสดุนําไฟฟ้าในโครงการ เดียวกัน 4 . 3 . 3 กิจการผลิต Transformer ต้องมีขั้นตอนการพันขดลวด 4 . 3 . 4 . 1 กิจการผลิต Circuit Breaker ที่มีขั้นตอนการ ขึ้นรูปชิ้นส่วน ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน 4 . 3 . 5 กิจการผลิต Compressor และ / หรือ Motor สําหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องมีขั้นตอนการพันขดลวด หรือมีการผลิต Stator หรือ Rotor ในโครงการ ( 4 ) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมดิจิทัล 8 . 1 กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการ ดิจิทัล หรือดิจิทัลคอนเทนต์ 1 . ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ําของโครงการ ซึ่งคํานวณจาก ค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เป็นการจ้างงานเพิ่มภายหลังยื่นขอรับการส่งเสริม ไม่น้อยกว่า 1 , 500 , 000 บาทต่อปี

20 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 2 . ต้องมีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อ ให้บริการดิจิทัล หรือดิจิทัลคอนเทนต์ในประเทศไทย ตามที่สํานักงานกําหนด 3 . อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรที่มีอยู่เดิมหรือใช้แล้ว 4 . ไม่ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่การค้าปลีกและค้าส่งสินค้า ทุกประเภท 5 . กําหนดวงเงินสําหรับการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคลในแต่ละปีจากรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จริงในปีที่ขอใช้สิทธิและประโยชน์ โดยคํานวณเป็นวงเงิน ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยี สารสนเทศที่เป็นการจ้างงานเพิ่ม โดยคิดจากการจ้าง งานบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างงานบุคลากรไทยด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศก่อนวันยื่นขอรับการส่งเสริม - ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของ บุคลากรไทยในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ - ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใบรับรองระบบคุณภาพตาม มาตรฐาน ISO 29110 หรือ CMMI ตั้งแต่ Level 2 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า 8 . 2 . 1 กิจการ Data Center 1 . ต้องจัดให้มีบริการ เช่น บริการรับฝากวางคอมพิวเตอร์ แม่ข่าย (Server Co-location) บริการดูแลระบบ (Managed Service) บริ การ Backup เครื่ อง Server ของลู กค้ำ บริการ Disaster Recovery Services (DRS) การให้บริการ เช่าเครื่องแม่ข่ายสําหรับฝากวางข้อมูล (Data Hosting) เป็นต้น 2 . ต้องมีพื้นที่สําหรับให้บริการ Data Center ไม่น้อยกว่า 3 , 000 ตารางเมตร

21 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 3 . ต้องมีระบบโทรคมนาคมหลักที่มีการวางสายสื่อสารแบบ ความเร็วสูงไปยังศูนย์กลาง สื่อสารโทรคมนาคมทั้งใน ประเทศ และระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า 4 วงจร ทั้งนี้ ต้องเป็นวงจรในประเทศที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 10 Gbps ไม่น้อยกว่า 3 วงจร และมีความเร็วรวมของทุก วงจรไม่น้อยกว่า 60 Gbps 4 . ต้องสามารถให้บริการได้ในขณะที่มีการซ่อมบํารุงหรือมี การเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ (Concurrently Maintainable) 5 . ต้องมีระบบ Engine Generator ที่เป็น Continuous Rating ที่รองรับปริมาณการใช้ไฟทั้งหมดของ Data Center พร้อมระบบสํารองกรณี Engine Generator ตัวหนึ่งตัวใดชํารุดหรือหยุดทํางาน 6 . ต้องมีอุปกรณ์หรือระบบสํารองในอุปกรณ์ UPS, IT Cooling และ UPS Cooling โดยต้องทํางานในทันทีที่ อุปกรณ์หลักหยุดทํางาน และไม่กระทบต่อการให้บริการ 7 . ต้องมีเส้นทางสํารองในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าที่ไม่ขึ้นต่อกัน (Independent Distribution Paths) 8 . ต้องมีระบบป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากความเสียหายกรณี ที่อุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดชํารุด หรือหยุดทํางาน 9 . ต้องมีระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงพร้อมระบบ สํารอง 10 . ต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยทั่วพื้นที่ 11 . ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง 12 . ต้องได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ด้าน Data Center ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานก่อนวันครบเปิด ดําเนินการ

22 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 8 . 2 . 2 กิจการ Cloud Service 1 . ต้องตั้งอยู่ใน Data Center ที่ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ด้าน Data Center ไม่น้อยกว่า 2 ศูนย์ที่อยู่ใน ประเทศ 2 . ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ Data Center ทุกศูนย์เข้า ด้วยกัน ด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 10 Gbps ในทุก เส้นทาง พร้อมมีวงจรสํารองที่มีขนาดเท่ากัน 3 . ต้อ ง ไ ด้รั บ มำ ต ร ฐำ น ISO/ IEC 27001 ด้าน Cloud Security และมาตรฐาน ISO/IEC 20000-1 ด้าน Cloud Service ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานก่อน วันครบเปิดดําเนินการ 8 . 2 . 3 กิจการบริการวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูง ระหว่างประเทศภาคพื้นน้ํา ต้องได้รับใบอนุญาตการบริการวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูง ระหว่างประเทศจากสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม 8 . 3 . 1 กิจการ Innovation Park 1 . ต้องลงทุนหรือจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ระบบสื่อสารหลักแบบใยแก้วความเร็วสูง ระบบไฟฟ้า สํารองจ่ายแบบต่อเนื่อง ระบบปรับอากาศ ระบบดับเพลิง และป้องกันอุบัติภัย เป็นต้น 2 . ต้องมีแผนการบ่มเพาะเพื่อการพัฒนานวัตกรรมตามที่ คณะกรรมการเห็นชอบ 3 . ต้องมีแผนการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) หรือการ สร้างชุมชนเทคโนโลยี รวมทั้งต้องจัดให้มีพื้นที่และ เครื่องมือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) 4 . ต้องมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญในการให้คําปรึกษาการดําเนิน ธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรม (Mentor) ประจําโครงการ 5 . ต้องมีพื้นที่ให้บริการไม่น้อยกว่า 1 , 000 ตารางเมตร

23 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 8 . 3 . 2 กิจการ Maker Space หรือ Fabrication Laboratory 1 . ต้องจัดให้มีพื้นที่สําหรับเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในงาน สร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 2 . ต้องจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์พื้นฐานเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เช่น CNC Machine, 3D Printer, Water Jet, Tooling, Software Tools สําหรับพัฒนา งานด้านปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์เพาะเชื้อ อุปกรณ์ผสม สารเคมี เป็นต้น 3 . ต้องจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คําปรึกษาเพื่อการพัฒนา นวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 4 . ต้องจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในโครงการ เช่น ระบบสื่อสารหลักแบบใยแก้วความเร็วสูง ระบบไฟฟ้า สํารองจ่ายแบบต่อเนื่อง ระบบปรับอากาศ ระบบดับเพลิง และป้องกันอุบัติภัย เป็นต้น 8 . 4 . 1 กิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ 1 . ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุน จดทะเบียน 2 . ต้องจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่พร้อม รองรับระบบอัจฉริยะด้านต่าง ๆ เช่น Fiber Optic, Public Wifi เป็นต้น 3 . ต้องจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะ Smart Environment และจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่น ๆ อย่างน้อยอีก 1 ด้านจาก 6 ด้าน ดังนี้ Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance และ Smart Energy 4 . ต้องจัดให้มีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลโดยมีการ เชื่อมโยงหรือการให้ใช้งานข้อมูลในการบริหารจัดการและ ให้บริการในพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Open Data Platform) 5 . ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะก่อนยื่นขอรับการ ส่งเสริมการลงทุน 6 . ต้องกําหนดและดําเนินการตามเป้าหมายด้านต่าง ๆ ที่ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่

24 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 7 . ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในพื้นที่ และต้องเสนอแผนการมีส่วนร่วมของประชาชนใน พื้นที่ 8 . 4 . 2 กิจการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ 1 . ต้องมีการพัฒนา ติดตั้ง และให้บริการระบบเมืองอัจฉริยะ ที่เหมาะสมในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านตามที่ คณะกรรมการกําหนด เช่น Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance, Smart Energy และ Smart Environment เป็นต้น 2 . ต้องเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเท่านั้น ( 5 ) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 9 . 1 กิจการบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิง สร้างสรรค์ 1 . ต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 2 ข้อ ดังนี้ 1 . 1 ระบบข้อมูลเพื่อการออกแบบ 1 . 2 ระบบการออกแบบแนวคิด และการสร้างต้นแบบ แนวคิด 2 . ต้องจัดให้มีระบบในข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 2 . 1 ระบบการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2 . 2 ระบบการสร้างต้นแบบ และทดสอบสมรรถนะการใช้งาน 2 . 3 ระบบการทดสอบมาตรฐานของต้นแบบและการ ยอมรับของผู้ใช้ 3 . ต้องใช้บุคลากรไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบุคลากร ทั้งหมด 4 . ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรไทยด้านออกแบบ และ พัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ไม่น้อยกว่า 1 , 500 , 000 บาทต่อปี โดยเป็นการจ้างงานใหม่ หรือ มีเงินลงทุนขั้นต่ํา ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดิน ทุนหมุนเวียนและค่ายานพาหนะ

25 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 9 . 2 กิจการผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Technical Fiber หรือ Functional Fiber) ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบัน พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( องค์การมหาชน ) เป็นต้น 9 . 3 กิจการผลิตด้ายหรือผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Functional Yarn หรือ Functional Fabric) ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบัน พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( องค์การมหาชน ) เป็นต้น 9 . 4 กิจการผลิตเส้นใยรีไซเคิล (Recycled Fiber) ต้องใช้เศษวัสดุของเสียที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น 9 . 6 กิจการฟอกย้อมและแต่งสําเร็จ หรือ พิมพ์และ แต่งสําเร็จ หรือพิมพ์ 1 . ต้องตั้งหรือขยายโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขต อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน หรือเขต ประกอบการอุตสาหกรรมตามมาตรา 30 ของกระทรวง อุตสาหกรรมที่มีระบบการกําจัดของเสียและการควบคุม รักษาสิ่งแวดล้อมตามประกาศที่กระทรวงอุตสาหกรรม กําหนด 2 . ในกรณีที่ไม่อยู่ในพื้นที่ตามข้อ 1 . จะอนุญาตให้เฉพาะ กรณีการขยายโรงงานเดิม โดยต้องมีมาตรการลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3 . กรณีพิมพ์ผ้าด้วย Digital Printing สําหรับอุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่มหรือเคหะสิ่งทอ ให้ตั้งโรงงานได้ในทุกพื้นที่ 4 . หากขอรับการส่งเสริมการลงทุน ตามมาตรการยกระดับ อุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ด้านการ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้ตั้งในพื้นที่สถานประกอบการ เดิมได้ ไม่ว่าจะอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือเขตประกอบการ อุตสาหกรรม ตามมาตรา 30 ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือไม่ก็ตาม 5 . ต้องใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกรณี 9 . 9 กิจการผลิตอัญมณี และเครื่องประดับ หรือ ชิ้นส่วน รวมถึงวัตถุดิบและต้นแบบ 9 . 15 กิจการสร้างภาพยนตร์ไทย ต้องเป็นการสร้างภาพยนตร์ไทย ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง สารคดี รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ แอนิเมชัน แต่ไม่รวมถึง ภาพยนตร์โฆษณา

26 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 9 . 16 กิจการบริการแก่ธุรกิจสร้างภาพยนตร์ การบริการแก่ธุรกิจสร้างภาพยนตร์ ให้รวมถึง ภาพยนตร์เรื่อง สารคดี รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์แอนิเมชัน และภาพยนตร์ โฆษณา โดยมีขอบข่ายการให้บริการ อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1 . บริการให้เช่าอุปกรณ์ถ่ายทํา และ / หรือประกอบการถ่าย ทําภาพยนตร์ โดยมีอุปกรณ์หลัก เช่น กล้องถ่ายทํา ภาพยนตร์ อุปกรณ์เสริมความเคลื่อนไหวของกล้อง อุปกรณ์ไฟถ่ายทําภาพยนตร์ เป็นต้น 2 . บริการล้างและพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์ หรือสําเนาไฟล์ ภาพยนตร์ โดยมีอุปกรณ์หลัก เช่น เครื่องล้างฟิล์ม เครื่องพิมพ์ฟิล์ม อุปกรณ์สําเนาไฟล์ ภาพยนตร์ระบบ ดิจิทัล เป็นต้น 3 . บริการบันทึกเสียงภาพยนตร์ โดยมีอุปกรณ์หลัก เช่น ชุดบันทึกเสียงระบบดิจิทัล ชุดตัดต่อเสียง ระบบดิจิทัล ชุดผสมเสียงระบบดิจิทัล เป็นต้น 4 . บริการทําเทคนิคด้านภาพ ต้องมีเครื่องจักรและอุปกรณ์ สร้างภาพพิเศษ ซึ่งไม่สามารถทําได้สําเร็จในตัวกล้อง เช่น เครื่องตัดต่อและลําดับภาพ เครื่องประกอบสร้างเทคนิค พิเศษและภาพระบบดิจิทัล เป็นต้น 5 . บริการประสานงานภาพยนตร์จากต่างประเทศที่มาถ่ายทํา ในประเทศไทย โดยมีขอบข่ายการให้บริการครอบคลุมถึง การติดต่อขออนุญาตจากทางราชการ การติดต่อหา สถานที่ถ่ายทําภาพยนตร์ การติดต่อหาบุคลากร และการ ติดต่อหาอุปกรณ์สร้างภาพยนตร์ 6 . บริการให้เช่าโรงถ่ายทําภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ที่ ได้มาตรฐาน ทั้งในและนอกสถานที่ (Indoor Studio and Outdoor Studio) 9 . 17 เขตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ (Movie Town) ต้องจัดให้มีสิ่งอํานวยความสะดวกในเขตอุตสาหกรรฒ ภาพยนตร์ ดังนี้ 1 . โรงถ่ายภาพยนตร์ และ / หรือรายการโทรทัศน์ที่ได้ มาตรฐานทั้งในและนอกสถานที่ (Indoor Studio and Outdoor Studio)

27 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 2 . พื้นที่สําหรับให้บริการหลังการถ่ายทําสําหรับธุรกิจ ภาพยนตร์ เช่น บริการทําเทคนิคภาพพิเศษและภาพ แอนิเมชันด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และบริการห้อง บันทึกเสียงสําหรับภาพยนตร์ เป็นต้น ( 6 ) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2 . 2 . 1 . 3 กิจการศูนย์การแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ 1 . ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลก่อน การใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนวันครบเปิดดําเนินการ 2 . ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการประกอบ วิชาชีพหรือมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 10 . 8 . 1 กิจการเรือเฟอร์รี่ หรือเดินเรือท่องเที่ยว หรือ ให้บริการเรือท่องเที่ยว ไม่ให้การส่งเสริมการให้เช่าเรือเพื่อให้ผู้อื่นนําไปใช้เพื่อให้ บริการต่อ 10 . 8 . 2 กิจการบริการที่จอดเรือท่องเที่ยว ต้องมีสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ยกเรือ ที่จอดเรือบนบก โรงจอดเรือสําหรับซ่อมบํารุงเรือ เป็นต้น 10 . 8 . 3 กิจการสวนสนุก 1 . ต้องมีเงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท 2 . ส่วนประกอบของโครงการต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ 10 . 8 . 4 กิจการศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมไทยหรือศูนย์ ศิลปหัตถกรรมไทย 1 . ต้องมีเงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อย กว่า 30 ล้านบาท 2 . รูปแบบการแสดงต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ 3 . ต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน 10 . 8 . 5 กิจการสวนสัตว์เปิด 1 . ต้องมีเงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อย กว่า 500 ล้านบาท 2 . ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 500 ไร่ 3 . ส่วนประกอบของโครงการต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ

28 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 4 . ต้องจัดที่ดินเป็นพื้นที่สีเขียวและที่จอดรถ อย่างละไม่น้อย กว่าร้อยละ 15 ของที่ดินทั้งหมด 10 . 8 . 6 กิจการพิพิธภัณฑ์ 1 . ต้องมีเงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อย กว่า 30 ล้านบาท 2 . รายละเอียดของโครงการจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ 10 . 8 . 7 กิจการสนามแข่งขันยานยนต์ 1 . ต้องมีเงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อย กว่า 1 , 000 ล้านบาท 2 . ต้องได้รับมาตรฐานจาก Fédération Internationale de L’Automobile (FIA) หรือ Fédération Internationale de Motocyclisme (FIM) สําหรับ สนามแข่งขันทางเรียบ (Circuit) 3 . กรณีมีสนามแข่งขันอื่น เช่น สนามแข่งขันทางตรง ทางโค้ง และทางวิบาก จะต้องก่อสร้างตามแนวทางหรือหลักการที่ เทียบเคียงได้หรือที่เป็นสากล 4 . ต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมมิให้เกิดอันตรายหรือ ความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง 10 . 8 . 8 กิจการกระเช้าไฟฟ้าหรือรถรางไฟฟ้าเพื่อ การท่องเที่ยว ต้องมีเงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท 10 . 8 . 9 กิจการท่าเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) 1 . ต้องมีเงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท 2 . ต้องมีสิ่งอํานวยความสะดวกและสาธารณูปโภคที่จําเป็น ในการรองรับเรือสําราญ (Cruise) และนักท่องเที่ยว เช่น อาคารผู้โดยสาร พื้นที่สําหรับอํานวยความสะดวกในการ ผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น 10 . 8 . 10 กิจการสร้างแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่มี คุณภาพ 1 . ต้องมีเงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท 2 . ประเภทและองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง 3 . ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นหลักในการให้บริการ

29 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย / ประเภทกิจการเป้าหมาย เงื่อนไข 10 . 9 . 1 กิจการโรงแรม 1 . ต้องมีจํานวนห้องพักและเงินลงทุน ดังนี้ 1 . 1 กรณีมีจํานวนห้องพักไม่น้อยกว่า 100 ห้อง ต้องมี เงินลงทุนต่อห้อง ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท 1 . 2 กรณีมีจํานวนห้องพักน้อยกว่า 100 ห้อง ต้องมี เงินลงทุน ( ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ) ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท 1 . 3 กรณีที่ได้รับการส่งเสริมตามมาตรการส่งเสริมการ ลงทุนสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องมีจํานวนห้องพักไม่น้อยกว่า 20 ห้อง แต่ไม่เกิน 99 ห้อง และต้องมีเงินลงทุนต่อห้อง โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท 2 . ต้องเป็นโรงแรมที่ได้มาตรฐานตามที่สํานักงานกําหนด 3 . ต้องตั้งสถานประกอบการในจังหวัดเชียงราย ลําพูน ลําปาง ชุมพร ระนอง และนครศรีธรรมราช 10 . 9 . 2 กิจการหอประชุมขนาดใหญ่ 1 . ต้องมีพื้นที่ส่วนที่ใช้เพื่อการประชุมไม่น้อยกว่า 4 , 000 ตารางเมตร โดยห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่ น้อยกว่า 3 , 000 ตารางเมตร 2 . ต้องมีเครื่องมือและสิ่งอํานวยความสะดวกที่เหมาะสมกับ โครงการ 3 . แบบแปลนแผนผังต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ 10 . 9 . 3 กิจการศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ 1 . ต้องมีพื้นที่แสดงสินค้าภายในอาคารไม่น้อยกว่า 25 , 000 ตารางเมตร 2 . ต้องมีห้องสําหรับเจรจาธุรกิจทุกห้องแสดงสินค้า