ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 8/2565 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 8/2565 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 8/2565 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงเห็นสมควรให้ปรับปรุงนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต รวมทั้งสอดคล้องกับทิศทาง การ พัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายการพัฒนาภาคเกษตร ภาคอุตสาหก รรม และภาคบริการของประเทศ เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ในระยะยาว อาศัยอานาจตามความในมาตรา 16 มาตรา 18 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงกาหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ การส่งเสริมการลงทุน ดังนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศ ดังนี้ 1.1 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 2/2557 ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน และที่แก้ ไขเพิ่มเติม 1.2 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 6/2549 ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2549 เรื่อง การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้อ 2 บรรดาประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือของสำนักงานคณะกรรมกา ร ส่งเสริมการลงทุน ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ข้อ 3 วิสัยทัศน์ของการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการส่งเสริมการลงทุน ดังนี้ “ ส่งเสริมการลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ” โดยมี เป้าหมายหลักที่ต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้บรรลุผล 3 ประการ ประกอบด้วย 3.1 Innovative : เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ 3.2 Competitive : เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตั วได้เร็ว และสร้างการเติบโตสูง 3.3 Inclusive : เป็นเศรษฐกิจที่คานึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งการสร้างโอกาส และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
ข้อ 4 นโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กาหนดไว้ คณะกรรมการจึงได้กาหนด 7 หมุดหมาย ของการส่งเสริมการลงทุน ดังนี้ 4.1 การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโดยยกระดับอุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีความโดดเด่น ควบคู่กับการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ที่ไทยมีศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทาน ( Supply Chain ) 4.2 การเร่งเปลี่ยนผ่าน ไปสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะและยั่งยืน ( Smart and Sustainable Industry ) ทั้งการลงทุนใหม่ และการยกระดับผู้ประกอบการรายเดิม 4.3 การผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ และประตูการค้า การลงทุนของภูมิภาค 4.4 การส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs ) และ วิสาหกิจเริ่มต้น ( Startup ) ให้มีความเข้มแข็งและเชื่อมต่อกับโลก 4.5 การส่งเสริมการลงทุนตามศักยภาพของพื้นที่เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง 4.6 การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมดาเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมช น และสังคม 4.7 การส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและ เพิ่มบทบาทไทยในเวทีโลก ข้อ 5 หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ คณะกรรมการมีหลักเกณฑ์ในการอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน ดังนี้ 5.1 การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคบริการ 5.1.1 ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นกิจการ เกษตรและอาหาร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของราย ได้ 5.1.2 ต้องมีกรรมวิธีการผลิตหรือขั้นตอนการให้บริการที่ทันสมัย และเป็นไป ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ 5.1.3 ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ กรณีการใช้เครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ กรณีทั่วไป (1) เครื่องจักรใช้แล้วที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในโครงการ และให้ นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ต้องมีอายุไม่เกิน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
5 ปี นับตั้งแต่ปีที่ผลิตถึงปีที่นำเข้า โดยต้องได้รับใบรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ในด้านปร ะสิทธิภาพ ของเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงาน รวมทั้งการประเมินราคาที่เหมาะสม (2) สาหรับเครื่องจักรใช้แล้วที่มีอายุเกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่ปีที่ผลิตถึงปีที่นาเข้า จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในโครงการ แต่ไม่ให้นับเป็นเงิน ลงทุนสาหรับ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า โดยต้องได้รับใบรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ในด้านประสิทธิภาพของเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงาน กรณีการย้ายฐานการผลิต (1) เครื่องจักรใช้แล้วที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในโครงการ และ ให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่ปีที่ผลิตถึงปีที่นำเข้า โดยต้องได้รับใบรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ในด้าน ประสิทธิภาพ ของเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงาน รวมทั้งการประเมินราคาที่เหมาะสม (2) สาหรับเครื่องจักรใช้แล้วที่มีอายุเกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่ปีที่ผลิตถึงปีที่นาเข้า จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในโครงการ และให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าเครื่องจักรตามบัญชี แต่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า โดยต้องได้รับใบรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ในด้านประสิทธิภาพของเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงาน รวมทั้งการประเมินราคาที่เหมาะสม (3) สาหรับเครื่องจักรใช้แล้วที่มีอายุเกิน 10 ปี นับตั้งแต่ปีที่ผลิต ถึงปีที่นาเข้าจะได้รับอนุญาตให้ใช้ในโครงการ แต่ไม่ให้นับเป็นเงินลงทุนสาหรับการยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า โดยต้องได้รั บใบรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ในด้าน ประสิทธิภาพของเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงาน กรณีอื่น ๆ สาหรับกิจการขนส่งทางเรือ กิจการขนส่งทางอากาศ และแม่พิมพ์ จะอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วที่มีอายุเกิน 10 ปี ในโครงการได้ตามความเหมาะสม โดยให้ได้รับ ยกเว้นอากรขาเข้า และให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ รายละเอียดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด 5.1.4 โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ตั้งแต่ 1 0 ล้านบาทขึ้นไป ต้องดาเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดาเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี 5.2 การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
5.2.1 ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ สาหรับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องสถา นที่ตั้งและวิธีจัดการมลพิษ 5.2.2 กรณีกิจการใดที่มีรายละเอียดโครงการ หรือกิจกรรมต่อเนื่อง ที่อยู่ในข่าย ตามประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้โครงการหรือ กิจการนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม หรือตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ ด้วย 5.2.3 โครงการที่ตั้งในจังหวัดระยอง ต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. 1/2554 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เรื่อง นโยบาย ส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง 5.3 เงิ นลงทุนขั้นต่า และความเป็นไปได้ของโครงการ 5.3.1 ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่าของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน เว้นแต่กรณีที่กาหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีประเภทกิจการ ที่ให้การส่งเสริมการลงทุนตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด ทั้งนี้ สำหรับประเภทกิจการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการ ดาเนินธุรกิจ ให้พิจารณาเงินลงทุนขั้นต่าจากเงินเดือนบุคลากรต่อปี ซึ่งจะกาหนดไว้เป็นการเฉพาะ ในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด 5.3.2 ต้องมีอัตราส่วนห นี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สาหรับ โครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยาย จะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี 5.3.3 โครงการที่มีเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน เกิน 2 , 000 ล้านบาท ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณ ะกรรมการกำหนด ข้อ 6 หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสัมปทาน สำหรับกิจการที่ได้รับสัมปทาน และกิจการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการ จะใช้แนวทางการพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ดังนี้ (1) โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 จะไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการส่งเสริม (2) โครงการที่ได้รับสัมปทานที่เอกชนดาเนินการ โดยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐ ( Build Transfer Operate หรือ Build Operate Transfer ) หน่วยงำนของรัฐที่เป็นเจ้าของ โครงการดังกล่าวที่ประสงค์จะให้ผู้ได้รับสัมปทานได้รับสิทธิและประโยชน์การส่งเสริมการลงทุน ต้องเสนอโครงการให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนออกประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูล และ ในขั้นการประมูลต้องมีประกาศระบุโดยชัดเจนว่าเอกชนจะได้รับสิทธิและ ประโยชน์ใดบ้าง ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
โดยในหลักการคณะกรรมการจะไม่ให้การส่งเสริมกรณีเอกชนต้องจ่ายผลตอบแทนให้แก่รัฐในการรับสัมปทาน เว้นแต่เป็นผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลกับการลงทุนที่รัฐใช้ไปในโครงการนั้น ทั้งนี้ โครงการที่ต้องเสนอให้คณะกรรมการอนุมัติหลักการนั้น ต้องปฏิบัติ ตาม แนวทางปฏิบัติที่สำนักงานประกาศกาหนด และต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้ (1) เป็นโครงการสัมปทานที่เอกชนดาเนินการ โดยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ ให้แก่รัฐ ( Build Transfer Operate หรือ Build Operate Transfer ) (2) เป็นการคัดเลือกเอกชนด้วยวิธีการประมูล และ (3) เป็นกิจการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ และอยู่ใน บัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง คณะกรรมการจะพิจารณาให้การส่งเสริม ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป โดยไม่ต้องขออนุมัติหลักการก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม (3) โครงการของรัฐที่ให้เอกชนลงทุนและเป็นเจ้าของ ( Build Own Operate ) รวมทั้งให้เอกชนเช่าหรือบริหาร โดยจ่ายผลตอบแทนให้รัฐในลักษณะค่าเช่า คณะกรรมการ จะพิจารณาให้การส่งเสริมตามหลักเกณฑ์ทั่วไป (4) กำรแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจากัดตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 หากต้องการขยายงาน จะขอรับการส่งเสริมได้เฉพาะส่วนที่ลงทุนเพิ่ม โดยจะได้รับสิทธิ และประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป ข้อ 7 หลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติ คณะกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์ การถือหุ้นของต่างชาติสาหรับโครงการที่ขอรับ การส่งเสริมการลงทุน ดังนี้ 7.1 โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีหนึ่ง ท้ายพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน 7.2 โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีสอง และบัญชีสาม ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมาก หรือทั้งสิ้นได้ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกาหนดไว้เป็นการเฉพาะ 7.3 เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมกา รอาจกำหนดสัดส่วนการถือหุ้น ของต่างชาติเป็นการเฉพาะสำหรับกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนบางประเภท ข้อ 8 สิทธิและประโยชน์ตามประเภทกิจการ คณะกรรมการกาหนดสิทธิและประโยชน์ตามลาดับความสาคัญของประเภทกิจการ ตามที่กาหนดในประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/ 2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริม การลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดังนี้ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
กลุ่ม A ได้แก่ กลุ่มกิจการที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล เครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากร แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม A 1 + ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเว ลา 10 - 13 ปี โดยไม่กาหนดวงเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้น - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น สาหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาขยา ยเวลาให้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม - สิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากร กลุ่ม A 1 ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี โดยไม่กาหนดวงเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้น - ยกเว้นอำกรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น สาหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาขยายเวลาให้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม - สิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากร กลุ่ม A 2 ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น สาหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาขยายเวลาให้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม - สิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากร กลุ่ม A 3 ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นสัดส่วน ร้อยละ 100 ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น สาหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาขยายเวลาให้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม - สิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากร กลุ่ม A 4 ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี เป็นสัดส่วน ร้อยละ 100 ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น สาหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาขยายเวลาให้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม - สิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากร กลุ่ม B ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ - ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าสาหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจาเป็น สาหรับส่วนที่ผลิต เพื่ อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจาเป็น และเหมาะสม - สิทธิและประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากร ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่ได้ระบุสิทธิและประโยชน์ไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีประเภทกิจการ ที่ให้การส่งเสริมการลงทุนตามที่คณะกร รมการประกาศกาหนด ข้อ 9 เขตส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการกาหนดเขตส่งเสริมการลงทุน ดังนี้ 9.1 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 9.2 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 9.3 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่โครงการเมืองต้นแบบในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ 9.4 พื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่า ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ พัทลุง แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ 9.5 เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( Science and Technology Park ) รวมถึงพื้นที่ย่านนวัตกรรม ที่ได้รับการส่งเสริมหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
ข้อ 10 สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมในพื้นที่เป้าหมาย 10.1 สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม หากตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับ การส่งเสริม ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี ทั้งนี้ ไม่รวมถึงประเภทกิจการที่มีเงื่อนไขบังคับว่าต้อ งตั้งในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม 10.2 สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค หากตั้งสถานประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุนตามข้อ 9.4 ให้ได้รับสิทธิ และประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้ (1) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเ พิ่มเติมอีก 3 ปี ทั้งนี้ หากเป็นกิจการ ในกลุ่ม A 1 หรือ A 2 จะให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกาไรสุทธิที่ได้จากการลงทุน ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่กาหนดระยะเวลาการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง (2) อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม (3) อนุญาตให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอานวยความสะดวกจากกาไรสุทธิ ร้อยละ 25 ข องเงินที่ลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยผู้ได้รับการส่งเสริมจะเลือกหักจากกาไรสุทธิ ของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ ทั้งนี้ สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับพื้นที่เป้าหมายอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศ ที่เกี่ยวข้อง ข้อ 11 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการให้สิทธิและประโยชน์ (1) กรณีที่ผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในโครงการเดียวกัน จะพิจารณาให้ได้รับสิทธิ และประโยชน์ขั้นสูงตามประเภทกิจการผลิตวัต ถุดิบต้นน้าตามความเหมาะสม (2) ระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับจากมาตรการที่ให้สิทธิ และ ประ โยชน์เพิ่มเติม เมื่อรวมกับสิทธิและประโยชน์ตามประเภทกิจการและมาตรการอื่น ๆ แล้ว จะให้ได้รับไม่เกิน 8 ปี เว้นแต่กรณีกิจการกลุ่ม A 1 + และกรณีซึ่งมาตรการหรือเงื่อนไขของประเภท กิจการที่ให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมนั้นได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น แต่ไม่ว่ากรณีใด ๆ จะให้ได้รับไม่เกิน 13 ปี ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
(3) โครงการจะสามารถได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 35 (1) ต่อเมื่อโครง การนั้นได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมกันแล้ว ไม่เกิน 8 ปี (4) ระยะเวลาการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 35 (1) ที่จะได้รับจาก มาตรการที่ให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม เมื่อรวมกับมาตรการอื่น ๆ แล้ว จะให้ได้รับไม่เกิน 5 ปี (5) การลงทุน ค่าใช้จ่าย และการดาเนินการใด ที่จะต้องกระทาเพื่อให้ได้รับ การส่งเสริมตามประเภทกิจการ หรือเพื่อให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการใดแล้ว การลงทุน ค่าใช้จ่าย หรือการดาเนินการเดียวกันนั้น ไม่สามารถนามาใช้เพื่อรับสิทธิและประโยชน์ เพิ่มเติมอื่น ๆ ได้อีก ข้อ 12 สิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน คณะกรรมการ จึงอนุญาตให้โครงการที่ได้รับการส่งเสริมสามารถนาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้ รับการส่งเสริม โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ในกรณีดังต่อไปนี้ 12.1 เครื่องจักรที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา 12.2 เครื่องจักรที่ใช้ในการป้องกันหรือกาจัดมลพิษ 12.3 เครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกาลังการผลิตในโครงการเดิม ไม่ว่าจะได้รับอนุญาต ให้เปิดดาเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม ข้อ 13 สิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัย และพัฒนา เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ค ณะกรรมการจึงให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ที่มีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้า สาหรับของที่นาเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง โดยจะอนุมัติให้ คราวละ 1 ปี ซึ่งขอ งนำเข้าที่จะได้รับการยกเว้นอากร จะต้องไม่ใช่เครื่องจักรหรือวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ที่สามารถนาเข้าโดยได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสาหรับเครื่องจักรหรือวัตถุดิบและวัสดุจาเป็น ทั้งนี้ ตามชนิด ปริมาณ ระยะเวลา เงื่อนไข และวิธีการที่ประกาศกาหนด ข้อ 14 การส นับสนุนการขยายกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโยบายส่งเสริมการลงทุน และสนับสนุนให้มีการขยายกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม คณะกรรมการจึงอนุญาตให้โครงการ ที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิมที่ไม่อยู่ในประ เภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนได้ตามประกาศฉบับนี้ สามารถเพิ่มกาลังผลิตตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมในที่ตั้งเดิมได้ โดยส่วนที่เพิ่มกาลังการผลิต ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566
ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมเดิมเท่าที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ผู้ได้รับการส่งเสริม จะต้ องยื่นคาขอแก้ไขโครงการตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด ข้อ 15 การขอใช้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากการให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรต้องดาเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบได้ว่าการใช้สิทธิและประโยชน์มีความถูกต้องและสอดคล้องกับเงื่อนไขการให้การส่งเสริม และสามารถประเมินความคุ้มค่าของการส่งเสริมการลงทุนได้อย่างชัดเจน จึงกำหนดให้ผู้ได้รับ การส่งเสริมต้องรายงานผลการดาเนินงานของโครงการต่อสำนักงาน เพื่อให้สำนักงาน ได้มีการตรวจสอบ ก่อนการพิจารณาอนุญาตให้ใช้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีนั้น ๆ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่สำนักงานกำหนด ข้อ 16 หลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะถือเป็น แนวทางในการพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมการ ลงทุนและการให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร ข้อ 17 โครงการที่ยื่นคาขอรับการส่งเสริม หรือได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม หรือเป็นผู้ได้รับ การส่งเสริม ภายใต้นโยบายให้การส่งเสริมการลงทุนตามประกาศฉบับเดิมก่อนประกาศฉบับนี้ มีผล ใช้บังคับ ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในประกาศฉบับดังกล่าว ข้อ 18 โครงการที่ยื่นคาขอรับการส่งเสริม หรือได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมหรือเป็นผู้ได้รับ การส่งเสริมก่อนวันที่ 3 มกราคม พ.ศ . 2566 หากยังไม่ได้ใช้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร จะขอรับสิทธิและประโยชน์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนดตามประกาศฉบับนี้ก็ได้ โดยให้ยื่นขอ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ข้อ 19 ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับกับคาขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุน ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 21 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2566