ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2566
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2566
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนาเข้าผลสาลี่สดจากราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2566 กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลสาลี่สดนำเข้าเพื่อการค้า จากราชอาณาจักรสเปนเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (2) และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร โดยคาแนะนาของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อ นไขการนำเข้าผลสาลี่สดจากราชอาณาจักรสเปน ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนาเข้าผลสาลี่สด จากราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ชนิดพืชที่อนุญาต ผลสาลี่สด ( pear, Pyrus communis ) ข้อ 4 ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลสาลี่สดจากราชอาณาจักรสเปน ปรากฏตามเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ 5.1 ราชอาณาจักรไทย คื อ กรมวิชาการเกษตร 5.2 ราชอาณาจักรสเปน คือ Ministry of Agriculture, Fisheries and Food ( Ministerio de Agricultura, Pesca y Alimentación ) ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กร อารักขาพืชแห่งชาติ ( National Plant Protection Organization ) อย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรสเปน ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “ NPPO ” ข้อ 6 การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ 7 วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลสาลี่สดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในราชอาณาจักรสเปนไปยังเมืองท่าปลายทาง ในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้าหรือทางอากาศ ข้อ 8 พื้นที่ผลิตที่อนุญาต ผลสาลี่สดต้องผลิตในราชอาณาจักรสเปน และผลสาลี่สดจากทุกพื้นที่ผลิต ในราชอาณาจักรสเปนได้รับอนุญาตให้นำเข้ามายังราชอาณาจักรไทย ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 20 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มกราคม 2566
ข้อ 9 ข้อกาหนดสำหรับสวน 9.1 สวนในพื้นที่ผลิ ตที่ได้รับอนุญาตซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งออกผลสาลี่สดไปยัง ราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกสาลี่เป็นการค้าและได้รับการขึ้นทะเบียนจาก NPPO (รหัสหรือ หมายเลขทะเบียนหน่วยผลิต) หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การอนุมัติ สาเนาของบันทึกการขึ้นทะเบียน ต้องมีพร้อมไว้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ NPPO ต้องดาเนินการขึ้นทะเบียนสวน ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มส่งออก 9.2 เกษตรกรเจ้าของสวนที่ขึ้นทะเบียนต้องนาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีมาใช้ โดยสิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย การรักษาความสะอาดสวน และการนำการบ ริหารจัดการศัตรูพืช แบบผสมผสานหรือมีมาตรการควบคุมศัตรูพืชอื่น ๆ มาใช้ปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันของ ราชอาณาจักรไทยได้รับการจัดการอย่างเพียงพอ 9.3 เกษตรกรต้องเก็บบันทึกกิจกรรมการบริหารจัดการ การติดตาม และ การควบคุมที่ดาเนินการในสวนที่ขึ้นทะเบียนตลอดฤดูกาลปลูก บันทึกเหล่านี้ต้องมีพร้อมไว้ให้แก่ NPPO และกรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ 10 ข้อกาหนดสำหรับโรงคัดบรรจุ 10.1 NPPO ต้องขึ้นทะเบียน (รหัสหรือหมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุ) และ ติดตามโรงคัดบรรจุที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกผลสาลี่สดไปยังราชอาณาจักรไทย สำเนาของบันทึกการขึ้นทะเบียน ต้องมีพร้อมไว้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ NPPO ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียน โรงคัดบรรจุให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มส่งออก 10.2 โรงคัดบรรจุต้องนาผลสา ลี่สดมาจากสวนที่ปลูกสาลี่เป็นการค้าที่ขึ้นทะเบียน ในพื้นที่ผลิตที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เพื่ออานวยความสะดวกให้กับการตรวจสอบย้อนกลับผลสาลี่สด ส่งออก โรงคัดบรรจุต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกรซึ่งจัดหาผลสาลี่สดสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมีพร้อมไว้ให้ แก่ NPPO และกรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ 10.3 โรงคัดบรรจุต้องมีเอกสารที่ดีเกี่ยวกับมาตรฐานวิธีการปฏิบัติ ซึ่งอธิบาย ในรายละเอียดของกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการคัดเลือก การจัดการ และการบรรจุ 10.4 NPPO ต้องดาเนินการตรวจประเมินก่อนกำรขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุ และ ต้องดาเนินการอย่างน้อยทุกปี โรงคัดบรรจุต้องรับผิดชอบในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 10.5 การปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็นเพื่อการกาจัดแมลงศัตรูพืชกักกัน ก่อนส่งออกต้องดาเนินการภายในโรงคัดบรรจุที่ขึ้นทะเบียน 10.6 การตรวจสอบผลสาลี่สดว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดาเนินการภายใน โรงคัดบรรจุที่ขึ้นทะเบียน ข้อ 11 ข้อกาหนดสำหรับศัตรูพืชกักกัน ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 20 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มกราคม 2566
ผลสาลี่สดซึ่งมีจุดมุ่งหมายสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องมีมาตรการ บริหารจัดการความเสี่ยงสาหรับแมลงวันผลไม้ Mediterranean fru it fly ( Ceratitis capitata ) โดยผลสาลี่สดต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็นตามที่ระบุไว้ ข้อ 12 มาตรการบริหารจัดการสำหรับแมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata ผลสาลี่สดต้องอยู่ภายใต้ตารางการปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็นเพื่อควบคุม แมลงวันผ ลไม้ Ceratitis capitata ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล ระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) 1.11 องศาเซลเซียส (34 องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า 14 วัน หรือมากกว่า 1.67 องศาเซลเซียส (35 องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า 16 วัน หรือมากกว่า 2.22 องศาเซลเซียส (36 องศาฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่า 18 วัน หรือมากกว่า ข้อ 13 ข้อกาหนดสำหรับการปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็น 13.1 ในระหว่างการปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็นก่อนส่งออกและระหว่าง ขนส่ง สามารถดาเนินการได้เฉพาะผลไม้ชนิดพันธุ์ ( species ) เดียวกันในหีบห่อแบบเดียวกันเท่านั้น 13.2 การปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็นสามารถดาเนินการได้ทั้งก่อนส่งออก หรือระหว่างขนส่ง ทั้งนี้ การปฏิบัติหรือการบำบัดระหว่างขนส่งอาจดาเนินการเป็นบางส่วนก่อนส่งออก โดยเริ่มต้นในราชอาณาจักรสเปนและเสร็จสิ้นระหว่างขนส่ง ในเหตุการณ์ที่การปฏิบัติหรือการบาบัด เกิดล้มเหลวอาจจะดาเนินการปฏิบัติหรือการบาบัดให้เสร็จสิ้นที่ปลายทางได้ 13.3 การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็นก่อนส่งออกและระหว่างขนส่ง จะประเมินผลด้วยการวัดอุณหภูมิของผลไม้เท่านั้น 13.4 การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยค วามเย็นก่อนส่งออก 13.4.1 โรงงานปฏิบัติหรือบาบัดด้วยความเย็นที่ใช้ดาเนินการปฏิบัติหรือ การบาบัดด้วยความเย็นก่อนส่งออกต้องได้รับอนุมัติโดย NPPO และกรมวิชาการเกษตร การปฏิบัติ หรือการบาบัดที่ดาเนินการก่อนส่งออกต้องอยู่ภายใต้การกากับดูแลโดย NPPO ในโรงงานปฏิบัติหรือ บาบัดด้วยความเย็นที่ได้รับอนุมัติโดย NPPO และกรมวิชาการเกษตร ผลสาลี่สดซึ่งมีจุดมุ่งหมาย สาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยอาจได้รับการปฏิบัติหรือบาบัดพร้อมกับผลสาลี่สดที่จะส่งออก ไปยังประเทศอื่นได้ 13.4.2 ถ้าสินค้าที่ส่งมอบเป็นผลสาลี่ สดที่จะได้รับการปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็นก่อนส่งออก NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามข้อกาหนดที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ 13.5 การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 20 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มกราคม 2566
13.5.1 การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง หมายถึง การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็นที่ดำเนินการระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า 13.5.2 การปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็นระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า อาจเริ่มต้นในประเทศผู้ส่งออกและเสร็จสิ้นระหว่างขนส่งหรือเสร็จสิ้นที่ปลายทาง 13.5.3 ผลสาลี่สดซึ่งมีจุดมุ่งหมายสาหรับการปฏิบัติหรือการบาบัดด้วย ความเย็นระหว่างขนส่งต้องได้รับการทาความเย็นล่วงหน้าจนกระทั่งอุณหภูมิตรงบริเวณกึ่งกลางผล เท่ากับหรือต่ากว่าอุณหภูมิเป้าหมายของการปฏิบัติหรือการบาบัดก่อนขนเข้าตู้ขนส่งสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่า ผลไม้ถู กทาให้เย็นถึงระดับที่เหมาะสมก่อนที่จะเริ่มต้นเกี่ยวกับข้อบังคับการปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็น และต้องรักษาระดับอุณหภูมิผลไม้ให้คงที่ติดต่อกันตลอดไป 13.5.4 ถ้าสินค้าที่ส่งมอบเป็นผลสาลี่สดที่จะได้รับการปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามข้อกาหนดที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศนี้ นอกจากนี้ต้องแนบใบรับรองการสอบเทียบแท่งวัดอุณหภูมิสาหรับการปฏิบัติหรือ การบาบัดด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง สาหรับราชอาณาจักรไทย ตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายปร ะกาศนี้ มาพร้อมกับสินค้าที่ส่งมอบ ข้อ 14 ข้อกาหนดสำหรับการบรรจุและฉลาก 14.1 วัสดุบรรจุภัณฑ์ต้องสะอาดและใหม่ 14.2 ต้องบรรจุผลสาลี่สดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งปราศจากแมลงที่มีชีวิต ดิน ทราย และไม่มีการปะปนของชิ้นส่วนของพืชอื่น เช่น ใบ กิ่งก้าน เมล็ด เศษซา กพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใด ที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ 14.3 ต้องบรรจุผลสาลี่สดที่อยู่ภายใต้การปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็น ก่อนส่งออกและส่งออกโดยการขนส่งทางน้าหรือทางอากาศในหีบห่อที่ไม่มีรู ถ้ามีรูหรือช่องเปิดต้องปิดด้วย ตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน 1.6 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันการเข้าไป ของแมลงศัตรูพืชกักกัน 14.4 ผลสาลี่สดที่อยู่ภายใต้การปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง ในตู้ขนส่งสินค้าที่มีระบบการทำความเย็นภายในตัวตู้จะได้รับการยกเว้นจำกข้อกำหนดที่ระบุไว้ในข้อ 14.3 14.5 ต้องแสดงข้อมูลที่จาเป็นบนหีบห่อเพื่ออานวยความสะดวกให้กับการตามสอบ อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละหีบห่อ ได้แก่ - ผลผลิต หรือ ผลิตผลของราชอาณาจักรสเปน - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ) - รหัสหรือหมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุ - รหัสหรือหมายเลขทะเบียนหน่วยผลิต ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 20 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มกราคม 2566
14.6 ถ้าส่งออกผลสาลี่สดไปยังราชอาณาจักรไทยในหีบห่อที่ไม่ได้มัดรวมกันต้องมี ข้อความต่อไปนี้ “ EXPORT TO THAILAND ” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละหีบห่อ อย่างไรก็ตาม ถ้าส่งออกผลสาลี่สดไปยังราชอาณาจักรไทยในหีบห่อที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มี ข้อความต่อไปนี้ “ EXPORT TO THAILAND ” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ 14.7 สินค้าที่ส่งมอบทั้งหมดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้วัสดุ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ 15 การตรวจสอบขาออก NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งกาหนดโดยกรมวิชาการเกษตรแล้ว ก่อนให้การรับรองผลสาลี่สดเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้ 15.1 ได้ดาเนินการตรวจสอบผลสาลี่สดตามวิธีการอย่างเป็นทางการที่เหมาะสม และพบว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันใด ๆ ที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ ถ้าตรวจพบ ศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ สินค้าที่ส่งมอบต้องได้รับการปฏิบัติ หรือบำบัดที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือนำออกจากการส่งออก 15.2 ผลสาลี่สดได้รับการดาเนินการปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็นตามที่ ระบุไว้ในข้อ 12 เพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata ข้อ 16 การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช 16.1 ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO ต้นฉบับใบรับรอง สุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าที่ส่งมอบที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมีการแจ้งเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “ This consignment of pear fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of pear fruit from Spain to Thailand .” 16.2 การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็น 16.2.1 ถ้าสินค้าที่ส่งมอบได้รับการปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็น ก่อนส่งออก ต้องระบุรายละเอียดของโรงงานปฏิบัติหรือบาบัดด้วยความเย็น อุณหภูมิการปฏิบัติหรือ การบำบัด และระยะเวลา (จำนวนวันติดต่อกัน) ในส่วนที่เหมาะสมของใบรับรองสุขอนามัยพืช 16.2.2 ถ้าสินค้าที่ ส่งมอบได้รับการปฏิบัติหรือการบาบัดด้วยความเย็น ระหว่างขนส่ง ต้องแนบใบรับรองการสอบเทียบแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับการปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็นระหว่างขนส่ง สำหรับราชอาณาจักรไทย ตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 4 แนบท้าย ประกาศนี้ มาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามั ยพืช 16.3 สาหรับการขนส่งทางน้า ต้องระบุหมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลข ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าในใบรับรองสุขอนามัยพืช ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 20 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มกราคม 2566
ข้อ 17 การตรวจสอบขาเข้า 17.1 เมื่อสินค้าที่ส่งมอบมาถึงด่านตรวจพืช (จุดการเข้ามา) ในราชอาณาจักรไทย การตรวจสอบขาเข้าจะดาเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ยืนยันแต่ละเอกสารที่แนบมาพร้อมกับ สินค้าที่ส่งมอบที่เกี่ยวข้อง 17.2 สินค้าที่ส่งมอบทั้งหมดต้องปราศจากแมลงมีชีวิต อาการของโรคพืช เมล็ดพืชที่ปนเปื้อน ดิน ขยะ และเศษซากอื่น ๆ เมื่อมาถึงราชอาณาจักร ไทย 17.3 พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มเก็บตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของสินค้าที่ส่งมอบ ตามดุลพินิจ และตรวจตราเพื่อลงความเห็นว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิต โดยปกติ จะส่งตัวอย่างไปทำการจำแนกชนิดในห้องปฏิบัติการ และต้องกักสินค้าที่ส่งมอบไว้จนกว่าจะ ทราบผล 17.4 สาหรับสินค้าที่ส่งมอบที่มีผลสาลี่สดจานวนน้อยกว่า 1 , 000 ผล ต้องเก็บ ตัวอย่างจานวน 450 ผล หรือทั้งหมด สาหรับสินค้าที่ส่งมอบที่มีผลสาลี่สดจานวนมากกว่าหรือ เท่ากับ 1 , 000 ผล ต้องเก็บตัวอย่างจำนวน 600 ผล 17.5 ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่กำหนดไว้ ในเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ ระหว่างการตรวจสอบขาเข้า ต้องดาเนินมาตรการ ดังต่อไปนี้ 17.5.1 แมลงวันผลไม้ (1) ถ้าพบระยะที่มีชีวิตของแมลงวันผลไม้ ต้องส่งสินค้าที่ส่งมอบ ที่มีการเข้าทา ความเสียหายออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทาลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเจ้าของ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะระงับการนำเข้าโดยทันทีและแจ้ง NPPO โดยทันที ถึงผลการตรวจพบ (2) NPPO ต้องตรวจสอบหาความจริงโดยทันทีถึงสาเหตุของ เหตุการณ์ดังกล่าวและเสนอการปฏิบัติการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกการระงับการนาเข้า เมื่อมีคาอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามและมีการนำการปฏิบัติการแก้ไขมาใช้จนเป็นที่พอใจ ของกรมวิชาการเกษตร 17.5.2 ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันมีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ สินค้าที่ส่งมอบต้องได้รับการปฏิบัติหรือการบาบัดที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย 17.6 ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข 1 แนบท้าย ประกาศนี้ หรือสิ่งปนเปื้อน ที่มีศักยภาพก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขอนามัยพืชต่อราชอาณาจักรไทย ต้องจัดการสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งปนเปื้อนด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนาเข้าผลสาลี่สด จากเส้นทางที่ระบุเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการลงความเห็นการประเมินความเสี่ยงสิ่งมีชีวิตที่ตรวจพบ ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 20 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มกราคม 2566
17.7 กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิ์สั่งให้ส่งสินค้าที่ส่งมอบออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่า ย ถ้าพบกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ 17.7.1 การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็นไม่ประสบผลสำเร็จ 17.7.2 ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท หรือตู้ขนส่งสินค้าหมายเลขไม่ตรง ตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช 17.7.3 ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทาลาย หรือถูกสั บเปลี่ยน หรือหมายเลข ไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช 17.7.4 เสียบแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้เลยออกนอกผล หรือแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ ไม่อยู่ในตาแหน่งที่ระบุไว้ หรือผลไม้ที่ถูกเสียบด้วยแท่งวัดอุณหภูมิเป็นแผลแตกหรือเกิดรอยเปิด 17.7.5 ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไ ม่มี หรือไม่ถูกต้อง 17.7.6 บรรจุภัณฑ์ชำรุด และไม่เป็นไปตามข้อกำหนดสำหรับการป้องกันแมลง ข้อ 18 การตรวจประเมินวิธีการส่งออก 18.1 การส่งออกผลสาลี่สดจากราชอาณาจักรสเปนไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มหลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจประเมินวิธีการรับรองส่งออกของราชอาณาจักรสเปนแล้วเท่านั้น โดยราชอาณาจักรสเปนต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของการตรวจประเมินดังกล่าว 18.2 ในเหตุการณ์ระงับการนาเข้าหรือเหตุผิดปกติใด ๆ โดยที่กรมวิชาการเกษตร ลงความเห็นว่าการตรวจประเมินวิธีการรับรองส่งออกดังกล่าวมีความจาเป็น กรมวิชาการเกษตร อาจตรวจประเมินวิธีการรับรองส่งออกในราชอาณาจักรสเปนก่อนตัดสินใจให้มีการเริ่มต้นนาเข้าใหม่ โดยราชอาณาจักรสเปนต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการตรวจประเมิ นเหล่านี้ ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 25 6 6 ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 20 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มกราคม 2566
เอกสาร หมายเลข 1 รายชื่อศัตรูพืชกักกันของ ผล สาลี่ สด จาก ราชอาณาจักรสเปน แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้า ผล สาลี่ สด จาก ราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 256 6 ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ แมลง Order Diptera Family Tephritidae Ceratitis capitata Mediterranean fruit fly Order Hemiptera Family Aphididae Eriosoma lanigerum woolly aphid Family Coccidae Parthenolecanium corni European fruit lecanium Family Diaspididae Aspidiotus nerii aucuba scale Diaspidiotus ostreaeformis pear oyster scale Epidiaspis leperii European pear scale Hemiberlesia rapax greedy scale Lepidosaphes conchiformis fig scale Lepidosaphes ulmi oystershell scale Parlatoria oleae olive scale Pseudaulacaspis pentagona mulberry scale Family Pseudococcidae Pseudococcus calceolariae scarlet mealybug Pseudococcus viburni obscure mealybug Order Lepidoptera Family Lyonetiidae Leucoptera malifoliella pear leaf blister moth Family Pyralidae Euzophera bigella quince moth Family Tortricidae
-
2 - ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ Adoxophyes orana summer fruit tortrix Cydia pomonella codling moth Grapholita molesta Oriental fruit moth Spilonota ocellana eyespotted bud moth Order Thysanoptera Family Thripidae Taeniothrips inconsequens pear thrips ไร Family Eriophyidae Eriophyes pyri pearleaf blister mite Family Tetranychidae Amphitetranychus viennensis hawthorn spider mite Panonychus ulmi European red spider mite เชื้อสาเหตุโรคพืช แบคทีเรีย Erwinia amylovora fireblight Pseudomonas viridiflava bacterial leaf blight of tomato รา Monilinia fructicola brown rot Monilinia fructigena brown rot Monilinia laxa blossom blight Neonectria ditissima Nectria canker Venturia inaequalis apple scab Venturia pyrina black spot of pear
-
3 - เอกสาร หมายเลข 2 ข้อกาหนดสาหรับ การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น ก่ อน ส่งออก แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้า ผล สาลี่ สด จาก ราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 256 6 ข้อ 1 ข้อกำหนดสำหรับ โรงงานปฏิบัติหรือบำบัด ด้วยความเย็น 1.1 การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็น ก่อนส่งออ กจะได้รับอนุญาต ให้ดำเนินการได้ เมื่อ NPPO และกรมวิชาการเกษตร ได้ให้การอนุมัติโรงงานปฏิบัติหรือบาบัดด้วยความเย็นแล้ว เท่านั้น 8 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร และ อนุมัติ โรงงานปฏิบัติหรือบำบัด ด้วยความเย็น ราชอาณาจักรสเปน ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย 1.2 NPPO มีหน้าที่ รับผิดชอบ ในการ ให้ ความ มั่นใจว่า โรงงาน ปฏิบัติหรือบาบัด ด้วยความเย็น ที่ผู้ส่งออกใช้นั้น มี มาตรฐาน อย่าง เหมาะสม มีอุปกรณ์ การ ทาความเย็นที่สามารถ ทาอุณหภูมิ และ รักษาอุณหภูมิของผลไม้ ได้ ตามอุณหภูมิที่กาหนด และห้องเย็นต้องปิดประตูใส่กุญแจได้ เพื่อให้มั่นใจ ในการ รักษาความปลอดภัยและความครบถ้วนสมบูรณ์ของ ผลไม้ ที่กาลังได้รับกา รปฏิบัติหรือบำบัด 1.3 NPPO 8 ต้องเก็บ เอกสาร การ ขึ้น ทะเบียน โรงงานปฏิบัติหรือบำบัด ด้วย ความเย็นที่ ได้รับการ อนุมัติ เพื่อ การปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็น การ ขึ้น ทะเบียน นี้จะประกอบด้วย เอกสารที่ครอบคลุม ดังนี้ 1.3.1 สถานที่ตั้งและแผนผังการก่อสร้างโรงงาน ทั้งหมด รวมทั้ง รายละเอียดของเจ้าของหรือผู้ดำเนิน กิจ การ 1.3.2 ขนาด ของโรงงาน และความจุห้องเย็น 1.3.3 ชนิด หรือประเภทของ ฉนวน กันความร้อนที่ใช้ ในผนัง เพดาน และ พื้นห้องเย็น 1.3.4 ผู้ผลิต รุ่น ชนิด หรือแบบ และ สมรรถนะของ เครื่องควบแน่น ( condenser ) และ การ ไหล เวียนอากาศ ผ่าน เครื่องระเหย ( evaporator ) ใน การ ทำความเย็น 1.3.5 ช่วงอุณหภูมิของ อุปกรณ์ การ ควบคุม รอบ การละลายน้าแข็ง และ ข้อมูลจำเพาะ และรายละเอียดของ อุปกรณ์ ใด ๆ ที่ ร่วม อยู่ใน ระบบ การ บันทึกอุณหภูมิ 1.4 NPPO 8 จะ ส่ง ต่อ ชื่อและที่อยู่ของ โรงงานปฏิบัติหรือบำบัด ด้วยความเย็น ที่ขึ้นทะเบียน ที่เป็นปัจจุบัน ให้ แก่ กรมวิชาการเกษตรก่อนเริ่มฤดูกาลการส่งออกในแต่ละปี ข้อ 2 ข้อกาหนด …
-
4 - ข้อ 2 ข้อกำหนดสำหรับระบบการบันทึกอุณหภูมิ NPPO 8 ต้องมั่นใจว่าระบบการบันทึกอุณหภูมิ การรวมของ เครื่องบันทึก ข้อมูล การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น และแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ต้อง เป็นไปตามเกณฑ์ กำหนด ดังต่อไปนี้ 2.1 ต้องเหมาะสมสาหรับ การปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็น ความแม่นยา ของระบบต้อง อยู่ภายใน ± 0.3 องศาเซลเซียส ของอุณหภูมิจริง ในช่วง ± 3 องศาเซลเซียส 2.2 ต้องสามารถทำงาน ได้โดย อัตโนมัติ และ สามารถรองรับแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ ได้ จำนวนขั้นต่ำ 4 แท่ง 2.3 ต้องสามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ต่อไปนี้ ได้ อย่างต่อเนื่อง วัน เวลา หมายเลข แท่งวัดอุณหภูมิ และ อุณหภูมิระหว่างดาเนินการ สอบเทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ และอุณหภูมิช่วงระยะเวลา ระหว่าง การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น 2.4 ต้องสามารถบันทึกอุณหภูมิของแท่งวัดอุณ ห ภูมิ ทั้งหมด อย่างน้อยทุก ๆ ชั่วโมง โดยมีค่าความละเอียด การแสดงผลที่ 0.1 องศาเซลเซียส และสามารถเก็บ บั นทึก ไว้จนกระทั่งข้อมูล สามารถ ได้รับการ ตรวจตรา โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจ 2.5 ต้องสามารถ พิมพ์ สิ่ง พิมพ์ ออก ซึ่งบ่งชี้ แท่งวัดอุณหภูมิแต่ละแท่ง เวลา และ อุ ณหภูมิ ตลอดจน หมายเลข โรงงานปฏิบัติหรือบำบัด ด้วยความเย็น ข้อ 3 ข้อกำหนดสำหรับแท่งวัดอุณหภูมิ 3.1 ชนิด ของ แท่งวัดอุณหภูมิต้องมี ความแม่นยำ เหมาะสมที่ สุด สำหรับ ช่วง อุณหภูมิ ของการปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น นี้ 3.2 แท่งวัดอุณหภูมิต้องมีแผ่นหุ้มด้านนอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.4 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า หน่วยรับรู้ ( sensing 8 unit ) 8 ต้องอยู่ที่ตาแหน่งภายในระยะ 25 มิลลิเมตรแรกหรือ น้อยกว่าห่างจากส่วนปลายสุดของแท่งวัดอุณหภูมิ แท่งวัดอุณหภูมิ ต้องมี ความแม่นยา อยู่ภายใน ± 0.3 องศา เซลเซียส ในช่วง ของอุณหภูมิ ± 3 องศาเซลเซียส 3.3 ต้องติดป้ายระบุ แท่งวัดอุณหภูมิ แต่ละแท่งด้วย หมายเลข ที่เหมือนกันกับ หมายเลขแท่งวัดอุณหภูมิ ที่อ่านได้จาก สิ่ง พิมพ์ ออก โดย ระบบการบันทึกอุณหภูมิ ข้อ 4 การ สอบ เทียบแท่งวัดอุณหภูมิ 4.1 ต้อง ดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO 4.2 ต้องดาเนิน การ สอบ เทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ โดยใช้น้าแข็งเกล็ดผสมกับน้ากลั่น ในภาชนะบรรจุที่ สะอาดและ ผนังเป็ นฉนวนกันความร้อน ก่อนนำไปใช้สาหรับวัดอุณหภูมิผลไม้ 4.3 ต้อง ใส่ น้าแข็ง ให้เต็มภาชนะบรรจุ เติมน้าในปริมาณที่เพียงพอ ต่อการ กวน ให้ เข้ากัน โดยมี น้ำแข็ง ประมาณร้อยละ 80 ถึง 85 ขณะที่มีน้ำไปแทนที่ช่อง ว่าง อากาศ (ร้อยละ 15 ถึง 20) 4.4 ต้อง กวน …
-
5 - 4.4 ต้อง กวน ให้ เข้ากัน อย่างทั่วถึง เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำ เย็นลงอย่างทั่วถึงและ เกิดการผสมเข้ากันอย่างดี โดยใช้ระยะเวลา การปรับอุณหภูมิของน้า นานไม่น้อยกว่า 10 นาที เพื่อให้ อุณหภูมิ ลดลงคงที่ที่ 0 องศาเซลเซีย ส 4.5 ระหว่าง การ สอบ เทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ ต้องจุ่มแท่งวัดอุณหภูมิ ทั้งหมด และ เทอร์มอมิเตอร์มาตรฐาน ลงในส่วนผสมของน้าแข็งและน้าโดยไม่สัมผัสกับด้านข้างหรือด้านล่างของ ภาชนะบรรจุ ทั้งนี้ ต้องกวนส่วนผสมของน้าแข็งและน้าอย่างต่อเนื่องในขณะที่ทาการทดสอบ การอ่านค่า การสอบเทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ จะสามารถดาเนินการได้ หลังจากการอ่านค่าอุณ ห ภูมิมี ความเสถียรที่อุณ ห ภูมิ คงที่ต่ำสุดแล้วเท่านั้น 4.6 ต้องบันทึก การ อ่าน ค่า อุณหภูมิ 2 ครั้ง ติดต่อกัน สำหรับแท่งวัดอุณหภูมิ แต่ละแท่งที่อุณหภูมิต่าสุด ที่หาได้ ทั้งนี้ ต้องมีช่วงเวลาอย่างน้อย 60 วินาที ระหว่างการอ่าน 2 ครั้ง สาหรับ แท่งวั ด อุณหภูมิแท่งหนึ่ง แท่งใด อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลา ต้อง ไม่เกิน 5 นาที โดย ค่าความแปรปรวนหรือ ผลต่างจากการอ่านค่าอุณหภูมิทั้ง 2 ครั้ง ต้องไม่เกิน 0.1 องศาเซลเซียส 4.7 ต้อง เปลี่ยนและปฏิเสธไม่ให้นำ แท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใดซึ่งค่าการ อ่าน อุณหภูมิ แสดงการ เบี่ยงเบน มากกว่า ± 0.3 องศาเซลเซียส 8 จาก มาตรฐานที่ 0 องศาเซลเซียส 8 มาใช้สาหรับ การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น ข้อ 5 การวาง ตำแหน่งแท่งวัดอุณหภูมิ 5.1 การวางตาแหน่ง แท่งวัดอุณหภูมิ และการเชื่อมต่อ แท่งวัดอุณหภูมิ เข้ากับ ตัวลงบันทึกข้อมูล ( data logger ) ต้อง ดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO 5.2 ต้องขนผลไม้ที่ วาง รวมกัน บนแท่นวาง เข้าสู่ห้องเย็น ภายใต้การกากับดูแลของ NPPO และ ผลไม้อาจได้รับ การทำความเย็นล่วงหน้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ผู้ส่งออก 5.3 ต้องบันทึก อุณหภูมิสำหรับ การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น จาก แท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ อย่างน้อย 4 แท่ง เพื่อ ติดตาม อุณหภูมิของผลไม้ภายในห้องเย็น 5.4 ต้องเสียบแท่งวัดอุณหภูมิ ที่ ใช้วัดอุณหภูมิผลไม้อย่างระมัดระวังให้เข้าไปถึง กึ่งกลางของผลไม้ ทดสอบ ต้อง คัดเลือกผลไม้ ทดสอบจากผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในรุ่น ( lot ) 8 หรือสินค้า แบบเดียวกัน กรณีผลไม้มีขนาดเล็ก ต้องเสียบ แท่งวัดอุณหภูมิผ่านผล ไม้สองผลหรือมากกว่า ส่วนปลายของ แท่งวัดอุณหภูมิต้องไม่ทะลุเลยออกไปจากผล ตลอดจน การเสียบแท่งวัดอุณหภูมิต้องไม่ทาให้ผลไม้ เป็นแผล แตกหรือเกิดรอยเปิด เพื่อ ป้องกัน การวัดอุณหภูมิอากาศแทนการวัดอุณห ภูมิผลไม้ ใน กรณี เหล่า นี้ 8 การปฏิบัติ หรือการบำบัด ด้วยความเย็น จะถูกปฏิเสธ 5.5 ต้อง วางตำแหน่งแท่งวัดอุณหภูมิ ภายในห้องเย็นที่ตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 5.5.1 ต้อง มี แท่งวัด จำนวนขั้นต่ำ 2 แท่ง ที่ ทาง เข้า (ลมกลับ) และ ที่ ทางออก (ลม จ่าย ) ของจุด การ ไหล เวียนอากาศ เพื่อใช้ในการ วัดอุณหภูมิ ห้อง 5.5.2 ต้องมีแท่งวัด …
-
6 - 5.5.2 ต้องมีแท่งวัด จำนวนขั้นต่ำ 4 แท่ง เพื่อใช้ในการ วัดอุณหภูมิ ตรงบริเวณกึ่งกลางผล ไม้ ใน ตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งที่ตรง กึ่งกลางของกองที่อยู่ตรงกลางห้องเย็น (2) หนึ่งที่ตรง มุมบนสุดของกองที่อยู่ตรงกลางห้องเย็น (3) หนึ่งที่ตรง กลางของกองที่อยู่ใกล้จุดลม จ่าย และ (4) หนึ่งที่ตรง มุมบนสุดของกองที่อยู่ใกล้จุดลม จ่าย 5.6 ตัวลงบันทึกข้อมูล อาจเริ่มการบันทึกเมื่อใดก็ได้ อย่างไรก็ ตาม เวลาของ การปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็น จะถือว่าเริ่มต้นหลังจาก แท่งวัดอุณหภูมิ ผลไม้ทั้งหมดมีอุณหภูมิถึงระดับ การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น ที่เลื อก แล้วเท่านั้น 5.7 เมื่อมีการ ใช้แท่งวัด จานวนขั้นต่า และ ในเหตุการณ์ นั้น แท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ แท่งหนึ่งแท่งใดไม่สามารถบันทึกอุณหภูมิในช่วงระยะเวลานานมากกว่า 4 ชั่วโมงติดต่อกัน ต้องถือว่า การปฏิบัติหรือการบำบัดเป็นโมฆะและต้องเริ่มต้นอีกครั้ง ข้อ 6 การยืนยัน การปฏิบัติหรือการบำบัด 6.1 ให้ พิจารณาว่าการปฏิบัติหรือการบาบัดได้ ประสบผลสาเร็จ เสร็จสิ้นแล้ว ถ้าบันทึกของการปฏิบัติหรือการบำบัดระบุว่าเป็นไปตามตัวแปรเสริม ( parameter ) ของ การปฏิบัติหรือ การบาบัด และแท่งวัดได้ผ่านการสอบเทียบ ซ้า ซึ่งการสอบเทียบซ้าจะใช้วิธีการใน ข้อ 4 ต้องเก็บบันทึกต่าง ๆ ไว้สำหรับกรมวิชาการเกษตรตรวจประเมิน 6.2 ถ้าแท่งวัด แท่งหนึ่งแท่งใด แสดง ปัจจัยหรือค่าตรวจแก้การสอบเทียบ เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติหรือการบาบัดสูงกว่าการตั้งค่าการสอบเทียบในขณะเริ่มต้น จะต้องปรับค่าที่บันทึกได้ จากแท่งวัดนั้น ๆ ให้สอดคล้อง ถ้าการปรับค่านี้แสดงให้เห็นว่าไม่เป็นไปตามตารางการปฏิบัติหรือการบาบัดที่เลือก ต้องถือว่าการปฏิบัติหรือการบาบัดล้มเหลว ทั้งนี้ มีทางเลือก ใน การ ดาเนินการ ปฏิบัติหรือบาบัดผลไม้นี้ ซ้า ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ NPPO และผู้ส่งออก 6.3 สิ่ง พิมพ์ ออกของบันทึกอุณ ห ภูมิ จะต้องมาพร้อมกับข้อมูลสรุปที่เหมาะสม ที่ระบุว่าการปฏิบัติหรือการบำบัดตามที่กาหนดกับผลผลิต ได้รับความ สำเร็จ 6.4 NPPO 8 ต้อง ให้การรับรองบันทึกและสรุปเหล่านี้อย่างเป็นทางการ ก่อนยืนยันว่าการปฏิบัติหรือการบาบัดได้ประสบผลสาเร็จ สิ่งเหล่านี้ ต้อง มีพร้อมไว้ให้แก่กรมวิชาการเกษตร ตรวจประเมิน เมื่อ ต้องการ 6.5 ถ้าการปฏิบัติหรือการบาบัดตามที่กาหนดกับผลผลิตไม่ได้รับความ สำเร็จ อาจเชื่อมต่อตัวลงบันทึกข้อมูล อีกครั้งและการปฏิบัติหรือการบำบัดยังคงดำเนินการต่อไป โดย มีเงื่อนไขว่า 6.5.1 NPPO 8 ต้องยืนยันการ บำรุงรักษาของ เงื่อนไขที่กำหนด ไว้ ใน ข้อ 6.3 หรือ 6.5.2 ช่วงระยะเวลาตั้งแต่หยุด การปฏิบัติหรือการบาบัด และกลับมา เริ่มต้นใหม่ต้องน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ทั้ง 2 กรณี …
-
7 - ทั้ง 2 กรณีดังกล่าวข้างต้น ข้อมูลจะถูกรวบรวมต่อไปจากเวลาที่ เชื่อมต่อ ตัวลงบันทึกข้อมูลอีกครั้ง ข้อ 7 การขนผลไม้เข้าตู้ขนส่งสินค้า 7.1 NPPO ต้องตรวจสอบตู้ขนส่งสินค้าก่อน การ ขนผลไม้เข้าตู้ขนส่งสินค้าเพื่อให้ มั่นใจว่าปราศจากศัตรูพืชและต้องปิดช่องระบายอากาศต่าง ๆ ให้สนิทเพื่อป้องกัน การเข้าไปของ ศัตรูพืช ยกเว้นกรณีที่ช่องระบา ยอากาศถูกปิดแล้ว 7.2 ต้องขนผลไม้เข้าตู้ขนส่งสินค้าภายในอาคารที่สามารถป้องกันแมลงได้ หรือใช้วัสดุ ที่ป้องกัน แมลง ได้ ปิด กั้น ช่องว่าง ระหว่างทางเข้าห้องเย็นและตู้ขนส่งสินค้า ข้อ 8 การปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้า 8.1 หลังจาก ขนผลไม้เข้าตู้ขนส่งสินค้า เสร็จสิ้นแล้ว ต้องปิดประตูตู้ขนส่งสินค้า ให้สนิทพร้อมทั้งปิดผนึก ด้วยผนึกโลหะที่ มีหมายเลขกากับภายใต้การกากับดูแลของ NPPO ผนึกปิดตู้ขนส่ง สินค้า ต้องไม่ได้รับความเสียหายจนกระทั่งมาถึง ยัง ด่าน ตรวจพืช (จุดการเข้ามา) ในราชอาณาจักรไทย โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิ ชาการเกษตรเป็นผู้มีอานาจแต่ผู้เดียวในการสั่งให้เปิดตู้ขนส่งสินค้า ต้องปฏิเสธ ตู้ขนส่งสินค้าที่ ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย เสียหาย 8.2 ต้องบันทึก หมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ 9 การเก็บรักษาผลไม้ ถ้า ยังไม่ขนเข้าตู้ขนส่งสินค้า โดย ทันที ผลไม้ซึ่ง ได้รับการปฏิบัติหรือบาบัด แล้ว แต่ยังไม่ มีจุดมุ่งหมาย ที่จะ ขนเข้าตู้ขนส่ง สินค้าโดยทันที อาจเก็บรักษาไว้เพื่อทาการขน ส่ง ในภายหลังได้ โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการจัดการรักษา ความปลอดภัยจากศัตรูพืชซึ่งกำหนดโดย NPPO ดังต่อไปนี้ 9.1 ถ้าเก็บรักษาผลไม้ไว้ในห้อง ปฏิบัติหรือบำบัด ต้องปิดผนึกประตูห้อง 9.2 ถ้าเคลื่อนย้ายผลไม้ไปเก็บรักษาไว้ในห้องอื่น ต้อง เคลื่อนย้าย ผลไม้ ในลักษณะที่ปลอดภัยซึ่ง ได้รับอนุมัติ โดย NPPO และต้องไม่มีผลไม้อื่นเก็บไว้ในห้องนั้น และ 9.3 เมื่อมีการขนย้ายผลไม้ต่อมาในภายหลัง ต้องดาเนินการภายใต้การกากับ ดูแลของ NPPO ตาม ข้อ 7
-
8 - เอกสาร หมายเลข 3 ข้อกาหนดสาหรับ การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น ระหว่างขนส่ง แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้า ผล สาลี่ สด จาก ราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 256 6 ข้อ 1 ข้อกำหนดสำหรับตู้ขนส่งสินค้า 1.1 ตู้ขนส่งสินค้าต้องเป็นประเภทและรุ่น ที่ เหมาะสมสาหรับ การปฏิบัติหรือ การบำบัด ด้วยความเย็น ระหว่างขนส่ง 1.2 ตู้ขนส่งสินค้าต้อง มีระบบการทาความเย็นภายในตัวตู้ และต้องติดตั้งอุปกรณ์ บันทึกอุณหภูมิ โดย NPPO มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้ความ มั่นใจว่า ผู้ส่งออกใช้ตู้ขนส่งสินค้าประเภท ที่เหมาะสมและมีอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพและสามารถรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ ได้ตามข้อกำหนด ข้อ 2 ข้อกำหนดสำหรับระบบการบันทึ กอุณหภูมิ NPPO ต้องมั่นใจว่าระบบการบันทึกอุณหภูมิ การรวมของ เครื่องบันทึก ข้อมูล การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น และแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ต้อง เป็นไปตามเกณฑ์ กำหนด ดังต่อไปนี้ 2.1 ต้องเหมาะสมสาหรับ การปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็น ความแม่นยา ของระบบต้องอยู่ภายใน ± 0.3 องศาเซลเซียส ของอุณหภูมิจริง ในช่วง ± 3 องศาเซลเซียส 2.2 ต้องสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ และ สามารถรองรับแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ ได้ จำนวนขั้นต่ำ 3 แท่ง 2.3 ต้องสามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ต่อไปนี้ ได้ อย่างต่อเนื่อง วัน เ วลา หมายเลข แท่งวัดอุณหภูมิ และ อุณหภูมิระหว่างดาเนินการ สอบเทียบ แท่งวัดอุณหภูมิและอุณหภูมิช่วงระยะเวลา ระหว่าง การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็น 2.4 ต้องสามารถบันทึกอุณหภูมิของแท่งวัดอุณ ห ภูมิ ทั้งหมด อย่างน้อยทุก ๆ ชั่วโมง โดยมีค่าความละเอียด การแสดงผลที่ 0.1 องศาเซลเซียส และสามารถเก็บ บันทึก ไว้จนกระทั่งข้อมูล สามารถ ได้รับการ ตรวจตรา โดย พนักงาน เจ้าหน้าที่ กรมวิชาการเกษตร 2.5 ต้องสามารถ พิมพ์สิ่ง พิมพ์ ออกซึ่งบ่งชี้ แท่งวัดอุณหภูมิแต่ละแท่ง เวลา และ อุ ณหภูมิ ตลอดจน หมายเลข เครื่องบันทึกข้อมูล และตู้ขนส่งสินค้า ข้อ 3 ข้อกำหนดสำหรับแท่งวัดอุณหภูมิ 3.1 ชนิด ของ แท่งวัดอุณหภูมิต้องมี ความแม่นยำเหมาะสมที่ สุด สำหรับ ช่วง อุณหภูมิ ของการปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น นี้ 3.2 แท่งวัดอุณหภูมิ …
-
9 - 3.2 แท่งวัดอุณหภูมิต้องมีแผ่นหุ้มด้านนอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.4 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า หน่วยรับรู้ ต้องอยู่ที่ตาแหน่งภายในระยะ 25 มิลลิเมตรแรกหรือน้อยกว่าห่างจาก ส่วนปลายสุดของแท่งวัดอุณหภูมิ แท่งวัดอุณหภูมิ ต้องมีความแม่นยำอยู่ภายใน ± 0.3 องศาเซลเซียส ในช่วง ข องอุณหภูมิ ± 3 องศาเซลเซียส 3.3 ต้องติดป้ายระบุ แท่งวัดอุณหภูมิ แต่ละแท่งด้วย หมายเลข ที่เหมือนกันกับ หมายเลขแท่งวัดอุณหภูมิ ที่อ่านได้จากสิ่ง พิมพ์ ออกซึ่งผลิตโดย ระบบการบันทึกอุณหภูมิ ข้อ 4 การ สอบ เทียบแท่งวัดอุณหภูมิ 4.1 ต้อง ดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO 4.2 ต้องดาเนิน การ สอบ เทียบแท่งวัดอุณหภูมิ โดยใช้น้าแข็งเกล็ดผสมกับน้ากลั่น ในภาชนะบรรจุที่สะอาดและผนังเป็นฉนวนกันความร้อน ก่อนนำไปใช้สาหรับวัดอุณหภูมิผลไม้ 4.3 ต้อง ใส่ น้าแข็ง ให้เต็มภาชนะบรรจุ เติมน้าในปริมาณที่เพียงพอ ต่อการ กวน ให้ เข้ากัน โดยมี น้ำแข็ง ประมาณร้อยละ 80 ถึง 85 ขณะที่มีน้ำไปแทนที่ช่อง ว่าง อากาศ (ร้อยละ 15 ถึง 20) 4.4 ต้อง กวน ให้ เข้ากัน อย่างทั่วถึง เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำเย็นลงอย่างทั่วถึงและ เกิดการผสมเข้ากันอย่างดี โดยใช้ระยะเวลาการปรับอุณหภูมิของน้านานไม่น้อยกว่า 10 นาที เพื่อให้ อุณหภูมิ ลดลงคงที่ที่ 0 องศาเซลเซียส 4.5 ระหว่างการ สอบ เทียบแท่งวัดอุณหภูมิ ต้องจุ่มแท่งวัดอุณหภูมิ ทั้งหมด และ เทอร์มอมิเตอร์มาตรฐานลงในส่วนผสมของน้าแข็งและน้าโดยไม่สัมผัสกับด้านข้างหรือด้านล่างของ ภาชนะบรรจุ ทั้งนี้ ต้องกวนส่วนผสมของน้าแ ข็งและน้าอย่างต่อเนื่องในขณะที่ทาการทดสอบ การอ่านค่า การสอบเทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ จะสามารถดาเนินการได้ หลังจากการอ่านค่าอุณ ห ภูมิมีความเสถียรที่อุณ ห ภูมิ คงที่ต่ำสุดแล้วเท่านั้น 4.6 ต้องบันทึก การ อ่าน ค่า อุณหภูมิ 2 ครั้ง ติดต่อกัน สำหรับแท่งวัดอุณหภูมิ แต่ละแท่ งที่อุณหภูมิต่าสุด ที่หาได้ ทั้งนี้ ต้องมีช่วงเวลาอย่างน้อย 60 วินาที ระหว่างการอ่าน 2 ครั้ง สาหรับ แท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใด อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาต้องไม่เกิน 5 นาที โดยค่าความแปรปรวนหรือ ผลต่างจากการอ่านค่าอุณหภูมิทั้ง 2 ครั้ง ต้องไม่เกิน 0.1 องศาเซลเซี ยส 4.7 ต้อง เปลี่ยนและปฏิเสธไม่ให้นำ แท่งวัดอุณหภูมิแท่งหนึ่งแท่งใดซึ่งค่าการ อ่าน อุณหภูมิ แสดงการ เบี่ยงเบน มากกว่า ± 0.3 องศาเซลเซียส จาก มาตรฐานที่ 0 องศาเซลเซียส มาใช้สาหรับ การปฏิบัติหรือการบำบัดด้วยความเย็น 4.8 เจ้าหน้าที่ของ NPPO 8 ต้องจัดเตรียมเอกสาร “ ใบรับรองการ สอบ เทียบ แท่งวัดอุณหภูมิสำหรับ การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น ระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับ ราชอาณาจักรไทย ” สาหรับตู้ขนส่งสินค้าแต่ละตู้ตามเอกสารหมายเลข 4 ต้นฉบับใบรับรองดังกล่าวต้องแนบ มากับใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งมาพร้อมกับสินค้า ที่ส่งมอบ ข้อ 5 การวาง …
-
10 - ข้อ 5 การวางตำแหน่งแท่งวัดอุณหภูมิ 5.1 การขนผลไม้เข้าไปในตู้ขนส่งสินค้าและ การวางตาแหน่งแท่งวัดอุณหภูมิ ต้อง ดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO 5.2 ต้องจัดเรีย งหีบห่อ ในตู้ขนส่งสินค้าอย่างเหมาะสมเพื่อให้ มั่นใจว่า อากาศ ไหลเวียนได้อย่างทั่วถึงและสม่าเสมอทั้งด้านล่างและโดยรอบ หีบห่อ ซึ่ง วาง รวมกัน บนแท่นวาง และ หีบห่อ ที่ วางซ้อนทับกันบนพื้นตู้ 5.3 ต้องบันทึก อุณหภูมิสาหรับ การปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็น ระหว่าง ขนส่ง จากแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ อย่างน้อย 3 แท่ง เพื่อ ติดตาม อุณหภูมิของผลไม้ภายในตู้ขนส่งสินค้า โดยวางแท่งวัดเหล่านี้ให้กระจายตามแนวตัดขวางของตู้ขนส่งสินค้า ซึ่งจะทาให้สามารถ ติดตาม อุณหภูมิ ได้อย่าง เพียงพอ 5.4 ต้องเสียบแท่งวัดอุณหภูมิ ที่ ใช้วัดอุณหภูมิผลไม้อย่างระมัดระวังให้เข้าไปถึง กึ่งกลางของผลไม้ ทดสอบ ต้อง คัดเลือกผลไม้ ทดสอบจากผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในรุ่นหรือสินค้าแบบเดียวกัน กรณีผลไม้มีขนาดเล็ก ต้องเสียบ แท่งวัดอุณหภูมิผ่านผล ไม้สองผลหรือมากกว่า ส่วนปลายของแท่งวัดอุณหภูมิ ต้องไม่ทะลุเลยออกไ ปจากผล ตลอดจน การเสียบแท่งวัดอุณหภูมิต้องไม่ทำให้ผลไม้เป็นแผลแตกหรือ เกิดรอยเปิดเพื่อ ป้องกัน การวัดอุณหภูมิอากาศแทนการวัดอุณหภูมิผลไม้ ใน กรณี เหล่า นี้ 8 การปฏิบัติหรือ การบำบัดด้วยความเย็นจะถูกปฏิเสธ 5.5 ต้องวางตำแหน่งแท่งวัดอุณหภูมิ ผลไม้ในตู้ขนส่งสินค้าขนาดความยาว 6 เมตร (20 ฟุต) และขนาดความยาว 12 เมตร (40 ฟุต) ที่ตาแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ตามที่แสดงไว้ใน ภาพที่ 1 5.5.1 ต้องวางแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้จานวน 2 แท่ง ในหีบห่อ ในลักษณะ เ ป็นเส้น ทแยง มุม ตรงข้าม กัน ที่ ห่างจากท้ายสุด ของกองสินค้า ประมาณ 8 1 เมตร สาหรับตู้ขนส่งสินค้าขนาด 6 เมตร และ ห่างจากท้ายสุด ของกองสินค้า ประมาณ 1.5 เมตร สำหรับตู้ขนส่งสินค้าขนาด 12 เมตร 5.5.2 ต้องวางแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ อีก จานวน 1 แท่ง ใน หีบห่อ ซึ่งวางอยู่ ตรงตำแหน่งกึ่งกลางของ กองสินค้า 5.5.3 ทั้งนี้ แท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ทั้ง หมด 3 แท่ง ต้องวางอยู่ ใน หีบห่อ ที่ตำแหน่ง ความสูงครึ่งหนึ่ง ของกอง สินค้า ข้อ 6 การปิดผนึกตู้ขนส่งสินค้า 6.1 หลังจากขนผลไม้เข้าตู้ขนส่งสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว ต้องปิดประตูตู้ขนส่งสินค้า ให้สนิทพร้อมทั้งปิดผนึก ด้วยผนึกโลหะที่ มีหมายเลขกากับภายใต้การกากับดูแลของ NPPO ผนึกปิดตู้ขนส่ง สินค้าต้องไม่ได้รับความเสียหายจนกระทั่งมาถึง ยัง ด่าน ตรวจพืช (จุดการเข้ามา) ในราชอาณาจักรไทย โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้มีอานาจแต่ผู้เดียวในการสั่งให้เปิดตู้ขนส่งสินค้า ต้องปฏิเสธ ตู้ ขนส่งสินค้าที่ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย เสียหาย 6.2 ต้องบันทึกหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ 7 การยืนยัน …
-
11 - ข้อ 7 การยืนยัน การปฏิบัติหรือการบำบัด 7.1 การจัดเตรียมในการปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น ระหว่างขนส่ง จะเสร็จสิ้นใน ช่วงการเดินทางระหว่างประเทศผู้ส่งออกและ ท่า ขนถ่ายสินค้า ใน ราชอาณาจักรไทย บริษัทขนส่ง สินค้าต้อง ดาวน์โหลดบันทึกของการปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็น จากคอมพิวเตอร์และส่งต่อบันทึก เหล่านี้ ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ด่าน ตรวจพืช (จุดการเข้ามา) 7.2 หน่ วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่กรุงเทพฯ จะดาเนินการพิสูจน์ ยืนยัน บันทึก การปฏิบัติหรือการบาบัด ว่าเป็นไปตามข้อกาหนดหรือไม่ และแจ้งให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ด่าน ตรวจพืช ที่นำเข้า ทราบว่า การปฏิบัติหรือการบำบัดเสร็จสิ้น แล้ว โดยขึ้นอยู่กับผล การสอบเทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ 7.3 เมื่อสินค้า ที่ส่งมอบ มาถึง ด่าน ตรวจพืช (จุดการเข้ามา) กรมวิชาการเกษตร ต้องดาเนิน การสอบเทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ ผลไม้ โดย ใช้วิธีการใน ข้อ 4 และพิสูจน์ ยืนยัน ว่า บันทึก การปฏิบัติ หรือการบำบัด เป็นไปตามข้อกำหนด 7.4 การสอบเทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ ผลไม้ อีกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติ หรือการบำบัดสูงกว่าการตั้งค่าการสอบเทียบในขณะเริ่มต้น จะต้องปรับค่าที่บันทึกได้จากแท่งวัดนั้น ๆ ให้สอดคล้อง 7.5 ถ้าการปรับค่านี้แสดงให้เห็นว่าไม่เป็นไปตามตารางการปฏิบัติหรือการบาบัด ที่เลือก ต้องถือว่าการปฏิบัติหรือการบำบัดล้มเ หลว ต้องส่ง สินค้าที่ส่งมอบส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
-
12 - มุมมองด้านข้าง แท่งวัดอุณหภูมิ แท่งวัดอุณหภูมิ แท่งวัดอุณหภู มิ หมายเลข 3 หมายเลข 2 หมายเลข 1 มุมมองด้านประตู แท่งวัดอุณหภูมิ หมายเลข 1 2 3 1 2 3 มุมมองด้านบน ตู้ขนส่งสินค้า ขนาด 6 เมตร (20 ฟุต) แท่งวัดอุณหภูมิ หมายเลข 1 แท่งวัดอุณหภูมิ หมายเลข 2 1 เมตร แท่งวัดอุณหภูมิ หมายเลข 3 มุมมองด้านบน ตู้ขนส่งสินค้า ขนาด 12 เมตร (40 ฟุต) แท่งวัดอุณหภูมิ หมายเลข 1 แท่งวัดอุณหภูมิ หมายเลข 2 1.5 เมตร แท่งวัดอุณหภูมิ หมายเลข 3 ภาพที่ 1 ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิผลไม้ภายในตู้ขนส่งสินค้าสำหรับ การปฏิบัติหรือการบาบัด ด้วยความเย็น ระหว่างขนส่ง
-
13 - เอกสาร หมายเลข 4 ใบรับรองการ สอบ เทียบแท่งวัดอุณหภูมิสำหรับ การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้วยความเย็น ระหว่างขนส่งในตู้ขนส่งสินค้า สำหรับราชอาณาจักรไทย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้า ผล สาลี่ สด จาก ราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 256 6 ชื่อผู้ส่งออก หมายเลขใบรับรองสุขอนามัยพืช หมายเลขตู้ขนส่งสินค้า หมายเลขผนึก ปิด ตู้ขนส่งสินค้า หมายเลขเครื่องบันทึกอุณหภูมิ นาฬิกาของตู้ขนส่งสินค้าซึ่งตั้งตามเวลา GMT วันที่ดำเนินการเทียบมาตรฐานของแท่งวัดอุณหภูมิ (วัน เดือน ปี) 1. การ สอบเทียบ แท่งวัดอุณหภูมิ (ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส) หมายเลข แท่งวัดอุณหภูมิ กำรอ่านค่าอุณหภูมิ ครั้งที่ 1 การอ่านค่าอุณหภูมิ ครั้งที่ 2 ค่าตรวจแก้ 1 2 3 2. ตำแหน่งการวางแท่งวัดอุณหภูมิ ตำแหน่งของแท่งวัดอุณหภูมิ อุณหภูมิผลไม้ (องศาเซลเซียส) 1 2 3 3. วันที่ปิดตู้ขนส่งสินค้า เวลาท้องถิ่น วันที่ (วัน เดือน ปี) ชื่อเจ้าหน้าที่ ลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ ตราประทับ