Fri Aug 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ ธพด. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลัง (Average Monthly Active Users: AMAU)


ประกาศสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ ธพด. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลัง (Average Monthly Active Users: AMAU)

ประกาศสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ ธพด. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การคานวณจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลัง ( Average Monthly Active Users : AMAU ) โดยที่พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ การคานวณจานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลัง ( Average Monthly A ctive Users : AMAU ) เพื่อกำหนดลักษณะบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน การประกอบธุรกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ผู้ซึ่งประสงค์จะประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้สานักงานทราบ ก่อนการประกอบธุรกิจและการแจ้งข้อมูลรายปี ตลอดจนการแจ้งการเลิกประกอบธุรกิจบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล อาศัยอานาจตามความในมาตรา 8 (2) มาตรา 12 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และมาตรา 18 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกร รมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ ธพด. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลัง ( Average Monthly Active Users : AMAU )” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ ผู้ประกอบธุรกิจ ” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้ง ให้ทราบ “ ผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งไม่มีลักษณะตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง หรือได้รับการยกเว้นตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่งพระราชกฤษฎีกา การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 “ ผู้ประกอบการ ” หมายความว่า บุคคลซึ่งเสนอสินค้าหรือบริการต่อผู้บริโภค ผ่านบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล “ ผู้บริโภค ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับสินค้าหรือบริการ หรือได้รับการเสนอ หรือ การชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้รับสินค้าหรือบริการ และให้หมายความ รวมถึงผู้ใช้ สินค้าหรือผู้ได้รับบริการโดยชอบ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ประกอบการ “ ผู้ใช้บริการ ” หมายความว่า บุคคลซึ่งใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบการและผู้บริโภคด้วย ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 197 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566

“ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 4 ประกาศนี้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ ข้อ 5 ให้ผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ คานวณจานวน ผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( AMAU ) ด้วยการหาจำนวนผู้ใช้บริการ ในราชอาณาจักรที่ ใช้งานต่อเดือน ( MAU ) และนามาเฉลี่ยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ หมวด 1 หลักเกณฑ์การหาจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) ข้อ 6 ให้ผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ หาจำนวนผู้ใช้บริการ ในราชอาณาจักรที่ใช้งานต่อเดือน ( MAU ) โดยให้นับจานวนผู้ใช้บริการที่ไม่ซ้ากัน ( unique user ) ซึ่งเข้าใช้บริการ ( active ) ในรอบเดือนนั้น ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้ใช้บริการรายใดรายหนึ่งมีการเข้าใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้นมากกว่า หนึ่งครั้งใน รอบเดือน หรือผู้ใช้บริการรายใดรายหนึ่งเข้าถึงบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลได้หลายช่องทาง เช่น ยูอาร์แอล ( URL ) แอปพลิเคชัน หรือเข้าถึงได้หลายชื่อโดเมน อาจนับผู้ใช้บริการดังกล่าว เป็นรายเดียวก็ได้ ด้วยวิธีการที่สามารถแยกผู้ใช้บริการเป็นรายเดียว โดยอาจประกอ บด้วยวิธีการ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) กรณีบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีบัญชีของผู้ใช้บริการ เช่น signed - in หรือ logged - in ให้นับจานวนผู้ใช้บริการที่ไม่ซ้ากัน ( unique user ) จากการลงชื่อเข้าใช้บริการดังกล่าวเป็นผู้ใช้บริการ หนึ่งราย (2) กรณีบริ การแพลตฟอร์มดิจิทัลไม่มีบัญชีของผู้ใช้บริการ อาจนับจำนวนผู้ใช้บริการ ที่ไม่ซ้ากัน ( unique user ) โดยใช้ตัวบ่งชี้อื่นที่สามารถอธิบายวิธีการได้มาซึ่งจานวนผู้ใช้บริการที่ไม่ซ้ากัน ( unique user ) ได้ อาทิ (ก) หมายเลขไอพีแอดเดรส ( IP address ) (ข) Cookies identifier ( ค) Radio Frequency Identification tags ( RFID ) ( ง) Device Identification ทั้งนี้ ไม่เป็นการจำกัดว่าไม่มีวิธีการหรือตัวบ่งชี้อื่นใดที่สามารถนับจานวนผู้ใช้บริการที่ไม่ซ้ากัน ( unique user ) ได้ ข้อ 8 การนับจานวนผู้ใช้บริการ ที่เข้าใช้บริการ ( active ) ในรอบเดือนนั้น ให้นับจาก กิจกรรมที่บ่งบอกถึงการเข้ามาใช้บริการจริงโดยผู้ใช้บริการ ตามลักษณะหรือประเภทของบริการ ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 197 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566

แพลตฟอร์มดิจิทัล โดยอาจพิจารณาจากตัวอย่างกิจกรรมตามคู่มือที่กำหนดในภาคผนวก ก ท้ายประกาศฉบับนี้ ข้อ 9 เพื่อประโยชน์ในการนับจานวนผู้ใช้บริการที่เข้าใช้บริการ ( active ) ตามข้อ 8 อาจคำนึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้ ( 1) ไม่ควรรวมผู้ใช้บริการที่ดาเนินการสืบค้นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจ ผ่านบริการสืบค้นแหล่งที่ตั้งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ( search engine ) และยังไม่มีกิจกรรมที่บ่งบอกถึง การใช้บริการจริงบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ( 2) ไม่ควรรวมผู้ใช้บริการของบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นที่ถูกเผยแพร่ลิงก์ ( linking ) เพื่อเข้าถึงบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลดังกล่าว ผ่านบริการแพลตฟอร์ มดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจ และยังไม่มีกิจกรรมที่บ่งบอกถึงการใช้บริการจริงบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลดังกล่าว ( 3) ไม่ควรรวมการเข้าใช้บริการทางอ้อมโดยผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจ ดังกล่าว เช่น ผู้ขนส่งสินค้า ผู้ให้บริการคลังสินค้า เว้นแต่เ ป็นกรณีที่ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เป็นผู้ใช้บริการหลักของบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น ( 4) หากผู้ประกอบธุรกิจมีวิธีการทางเทคนิคในการระบุผู้ใช้บริการที่ไม่ใช่ผู้ใช้บริการจริง ( inauthentic user ) เช่น การโต้ตอบ การคานวณ หรือการสแกนข้อมูลอัตโนมั ติโดยผู้ที่ไม่ใช่มนุษย์ หรือบอต ผู้ประกอบธุรกิจอาจจะไม่นาจำนวนผู้ใช้บริการดังกล่าวมารวมก็ได้ ( 5) กรณีบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทบริการรับฝากข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ ของผู้อื่น ต้องไม่รวมถึงผู้ใช้บริการอีกทอดหนึ่งของผู้ใช้บริการที่มีการฝากข้อมูลไว้กั บผู้ประกอบธุรกิจ ประเภทดังกล่าว ( 6) กรณีบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทบริการสืบค้นแหล่งที่ตั้งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ( search engine ) ต้องไม่รวมถึงเจ้าของเว็บไซต์ซึ่งปรากฏในรายการค้นหาของบริการสืบค้นแหล่งที่ตั้ง ของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ( search engine ) ดังกล่าว ข้อ 10 การนับจานวนผู้ใช้บริการที่ไม่ซ้ากัน ( unique user ) ซึ่งเข้าใช้บริการ ( active ) ตามประกาศนี้ ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบธุรกิจในการเก็บข้อมูลพฤติกรรม ( profile ) หรือติดตาม การใช้งาน ( tracking ) ของผู้ใช้บริการนอกเหนือจากการให้บริการโดยปกติสำหรับการให้บริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น และไม่ได้เป็นเหตุหรือฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ใช้บริการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแต่อย่างใด ข้อ 11 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิ จหรือผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ ให้บริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลแก่ผู้ใช้บริการมากกว่าหนึ่งประเภท ให้นับจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักร ที่ใช้งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) แยกตามประเภทผู้ใช้บริการ ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 197 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566

ข้อ 12 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ปร ะกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ ให้บริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลมากกว่าหนึ่งประเภท ให้นับจานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) แยกตามประเภทบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ในกรณีที่ไม่สามารถนับจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใ ช้งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) แยกตามประเภทบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลได้ ให้ถือว่าจานวนผู้ใช้บริการ ในราชอาณาจักรที่ใช้งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) ทั้งหมดของบริการแพลตฟอร์ม ดิจิทัลทุกประเภทเป็นจานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใ ช้งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) ของแต่ละประเภทบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล หมวด 2 หลักเกณฑ์การคานวณจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Active Users : AMAU ) ข้อ 13 การคานวณจานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Active Users : AMAU ) ให้คานวณจากจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) ที่ดาเนินการตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 เฉลี่ยด้วยจานวนเดือน ตามห ลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ( 1) การแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจรายปีสาหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้แจ้งการประกอบธุรกิจ กับสำนักงานแล้ว และผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ ให้นับจำนวนเดือนเริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคมหรือเดือนที่ได้แจ้งให้สานักงานทราบก่อนการประกอบธุรกิจในปี นั้น จนถึงเดือนธันวาคม ของปีนั้น ( 2) การแจ้งการเลิกประกอบธุรกิจสาหรับผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ ให้นับจานวนเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมหรือเดือนที่ได้แจ้งให้สานักงานทราบก่อนการประกอบธุรกิจ ในปีนั้น จนถึงเดือนสุดท้ายที่ได้แจ้งเลิกการประกอบธุรกิจให้สำนักงานทราบ ( 3) การแจ้งข้อมูลตามมาตรา 12 ของผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ตามมาตรา 43 แห่งพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ให้นับจำนวนเ ดือนโดยเริ่มตั้งแต่เดือนแรกที่ให้บริการในปี 2566 จนถึงเดือนที่ได้แจ้งให้ สำนักงานทราบก่อนการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ กรณีที่เดือนใดไม่ครบหนึ่งเดือนเต็ม ไม่ต้องนาจานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักร ที่ใช้งานในเดือนนั้นมาคำนวณตามข้อนี้ ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 197 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566

ข้อ 14 ในการหาจำนวนผู้ใช้ บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Active Users : AMAU ) หากผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ พบว่าจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) ในเดือนใดอยู่เกินขอบเขตขอ งจำนวนปกติและเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดหมายได้ ( unforeseeable ) เช่น เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ( cybersecurity incident ) หรือเหตุการณ์อื่นในทำนองเดียวกัน ให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวไม่ต้องนำจำนวนผู้ใช้บริการ ในราชอาณาจักรที่ใช้ งานต่อเดือน ( Monthly Active Users : MAU ) ของเดือนนั้นมาใช้ในการ คำนวณหาค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ จำนวนเดือนที่จะนำมาพิจารณาตามข้อนี้ต้องรวมกันแล้วไม่เกินสามเดือน กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งจานวนผู้ใช้บริการ ที่อยู่เกินข อบเขตของจำนวนปกติ พร้อมทั้งรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดหมายได้ ( unforeseeable ) ดังกล่าวให้สำนักงานทราบด้วย หมวด 3 การแจ้งจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Active Users : AMAU ) ก่อนการประกอบธุรกิจ ข้อ 15 เมื่อได้ดาเนินการคานวณจานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Active Users : AMAU ) แล้ว หากบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลใดมีจานวนผู้ใช้บริการ ในราชอาณาจักรเกินห้าพันรายต่อเดือน ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งการประกอบธุรกิจบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ดังกล่าวให้สำนักงานทราบ ตามแบบที่กำหนดในประกาศสำนักงานเกี่ยวกับแบบการแจ้งก่อน การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พร้อมทั้งอธิบายวิธีการได้มาซึ่งจานวน ผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Active Users : AMAU ) หากบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลใดมีจานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรน้อยกว่าหรือเท่ากับ ห้าพันรายต่อเดือน ให้ผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 8 วรรคสี่ ซึ่งให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลดังกล่าว แจ้งให้สำนักงานทราบก่อนการประกอบธุรกิจถึงรายการโ ดยย่อ ตามแบบที่กำหนดในประกาศสำนักงาน เกี่ยวกับแบบการแจ้งก่อนการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ ข้อ 16 เมื่อได้ดำเนินการหาจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Active Users : AMAU ) แล้ว หากผู้ประ กอบธุรกิจพบว่าบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล มีจำนวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรเกินร้อยละสิบของจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามที่ กาหนดไว้ในมาตรา 18 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 197 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566

ที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ผู้ประกอบธุรกิจอาจแจ้งให้สา นักงานทราบถึงข้อมูลจานวนรวม ของผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรก่อนระยะเวลาที่กำหนดในมาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกา การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ก็ได้ ตามแบบที่กำหนด ในประกาศสานักงานเกี่ยวกับแบบการแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจบริ การแพลตฟอร์มดิจิทัลรายปี และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล พร้อมทั้งอธิบายวิธีการได้มาซึ่งจานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักร ที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Active Users : AMAU ) ประกาศ ณ วันที่ 22 มิ ถุนายน พ.ศ. 25 6 6 ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 197 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566

ภาคผนวก ก แนบท้ายประกาศสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ ธพด . 1 / 2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณจํานวนผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรที่ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลัง (Average Monthly Active Users: AMAU) ----------------------------------- คู่มือ ตัวอย่างกิจกรรมที่บ่งบอกถึงการเข้ามาใช้บริการบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ภาคผนวก ก ประเภทบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ประเภทย่อยบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ตัวอย่างกิจกรรมบ่งบอกถึงการมีปฏิสัมพันธ์ ในบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Marketplace [Online intermediation services] Marketplace (Goods)  กดเข้าสู่ระบบ  กดค้นหาสินค้า หรือร้านค้า  มีรายการสินค้าวางขายอยู่บนบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการ  Scroll รายการสินค้า หรือรายการร้านค้า  กดเพื่อแชทหรือสื่อสารกับผู้ใช้บริการรายอื่น  กดเลือกรายการสินค้า  กดใส่สินค้าลงตะกร้า  กดซื้อสินค้า  ชําระเงินสําเร็จ Marketplace (Services) Sharing Economy Platform Ride/ Car sharing  กดเข้าสู่ระบบ  กดค้นหาบริการ หรือประเภทยานพาหนะ  มียานพาหนะวางให้เช่าอยู่บนบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการ ( กรณี Car Sharing) หรือกดเปิดให้บริการ ( กรณี Ride Sharing)  กดเลือกสถานที่รับส่ง  Scroll รายการยานพาหนะ  กดเพื่อแชทหรือสื่อสารกับผู้ใช้งานรายอื่น  กดเลือกบริการ  กดซื้อบริการ  ชําระเงินสําเร็จ

  • 2 - ภาคผนวก ก ประเภทบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ประเภทย่อยบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ตัวอย่างกิจกรรมบ่งบอกถึงการมีปฏิสัมพันธ์ ในบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Knowledge sharing  กดเข้าสู่ระบบ  กดค้นหาสื่อออนไลน์ด้านการศึกษา และความบันเทิง  มีรายการสื่อออนไลน์ด้านการศึกษา และความบันเทิง วางขายอยู่บนบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการ  กดเลือกสื่อออนไลน์ด้านการศึกษา และความบันเทิง  Scroll รายการสื่อออนไลน์ด้านการศึกษา และความบันเทิง หรือรายการผู้ให้บริการ  กดเพื่อแชทหรือสื่อสารกับผู้ใช้งานรายอื่น  กดเลือกสื่อออนไลน์ด้านการศึกษา และความบันเทิง  กดซื้อสื่อออนไลน์ด้านการศึกษา และความบันเทิง  กดเล่นสื่อออนไลน์ด้านการศึกษา และความบันเทิง  ชําระเงินสําเร็จ Space sharing  กดเข้าสู่ระบบ  กดค้นหาพื้นที่สําหรับเช่า  มีรายการพื้นที่วางให้เช่าอยู่บนบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการ  กดเลือกพื้นที่สําหรับเช่า  Scroll รายการพื้นที่สําหรับเช่า หรือรายการ เจ้าของพื้นที่  กดเพื่อแชทหรือสื่อสารกับผู้ใช้งานรายอื่น  กดเลือกพื้นที่สําหรับเช่า  กดเช่าพื้นที่สําหรับเช่า  ชําระเงินสําเร็จ

  • 3 - ภาคผนวก ก ประเภทบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ประเภทย่อยบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ตัวอย่างกิจกรรมบ่งบอกถึงการมีปฏิสัมพันธ์ ในบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Labor sharing  กดเข้าสู่ระบบ  กดค้นหาบริการ  มีรายการบริการวางขายอยู่บนบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการ  กดเลือกบริการ  Scroll รายการบริการ หรือรายการผู้ให้บริการ  กดเพื่อแชทหรือสื่อสารกับผู้ใช้งานรายอื่น  กดซื้อบริการ  ชําระเงินสําเร็จ Communication Platform [Number-independent interpersonal communication services] General  กดเริ่มต้น หรือเข้าร่วมการสื่อสารผ่านบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล  กดเพิ่มเพื่อนหรือสร้างแชท  กดส่งข้อความ C-commerce Social media [Online social networking services] General  กดเข้าสู่ระบบ  กดดูโพสต์ เพจ หรือเนื้อหาอื่น ๆ  เลื่อน Timeline  กดไลค์ หรือแสดงความรู้สึกอื่น ๆ  กดคอมเมนท์  กดอัปโหลดเนื้อหา S-commerce Ads Service [Online advertising services] -  พบเห็นโฆษณา  ลงโฆษณา  รับบริการจากผู้ให้บริการสื่อกลางโฆษณา  กดเข้าสู่ระบบ  กดดูโพสต์ เพจ หรือเนื้อหาอื่น ๆ  เลื่อน Timeline

  • 4 - ภาคผนวก ก ประเภทบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ประเภทย่อยบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ตัวอย่างกิจกรรมบ่งบอกถึงการมีปฏิสัมพันธ์ ในบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Streaming Platform [Video-sharing platform services] Audiovisual music sharing  กดเข้าสู่ระบบ  กดดูโพสต์ เพจ หรือเนื้อหาอื่น ๆ ( รวมกดเล่นเพลงหรือวีดีโอ )  เลื่อน Timeline  กดไลค์ หรือแสดงความรู้สึกอื่น ๆ  กดอัปโหลดเนื้อหา  กดคอมเมนท์  กดเพื่อแชทหรือสื่อสารกับผู้ใช้บริการรายอื่น  กดเลือกรายการบริการ  กดซื้อบริการ  ชําระเงินสําเร็จ Searching Tools Online Search Engines  กดค้นหา  กดดูข้อมูลที่แสดงผลจากการค้นหา Specialized Search Tools  กดค้นหา  กดดูข้อมูลที่แสดงผลจากการค้นหา News Aggregator -  กดเข้าสู่ระบบ  กดดูโพสต์ เพจ หรือเนื้อหาอื่น ๆ  เลื่อน Timeline  ชําระเงินสําเร็จ Map -  กดค้นหาสถานที่  กดดูรายละเอียดสถานที่  กดนําทาง Payment System -  กดเข้าสู่ระบบ  กดชําระเงิน  กดโอนเงิน System support Web Browser  ใส่ข้อความ หรือที่อยู่เว็บในช่อง URL  กดไปสู่เว็บไซต์  ใช้งานเว็บไซต์ เช่น เลื่อนดูข้อมูล กดเข้าสู่ เมนูต่าง ๆ ในเว็บไซต์

  • 5 - ภาคผนวก ก ประเภทบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ประเภทย่อยบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ตัวอย่างกิจกรรมบ่งบอกถึงการมีปฏิสัมพันธ์ ในบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Operating System  เริ่มต้นใช้งาน ใช้งาน หรืออัปเดตอุปกรณ์ที่มี ระบบปฏิบัติการดังกล่าว  เผยแพร่ อัปเดต หรือนําเสนอ ซอฟท์แวร์ อย่างน้อยหนึ่งรายการ โดยใช้ภาษาโปรแกรม ห รื อ อุ ป ก ร ณ์ พั ฒ นำ ซ อ ฟ ท์ แ ว ร์ ข อ ง Operating System ดังกล่าว หรือโดยให้ ซอฟท์แวร์ทํางานบน Operating System ดังกล่าว Hosting Service  อัปโหลดเว็บไซต์ลงบนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ ให้บริการ  Host เว็บไซต์ผ่านบริการ Hosting Internet Service Provider  เชื่อมต่อกับระบบ  อินเทอร์เน็ต  รับหรือส่งข้อมูลจากระบบอินเทอร์เน็ต Virtual Assistants  เริ่มต้นใช้บริการ ถามคําถาม หรือเข้าถึง บริการผ่านคําสั่ง หรือผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ  นําเสนอซอฟท์แวร์ สําหรับ Virtual Assistant ดังกล่าว อย่างน้อยหนึ่งรายการ หรือนําเสนอฟังก์ชั่นที่ทําให้ซอฟท์แวร์ ที่มีอยู่แล้ว สามารถเข้าถึงได้ผ่าน Virtual Assistant ดังกล่าว อย่างน้อยหนึ่งรายการ Cloud services  ใช้งานจากผู้ใช้บริการ Cloud Services โดย มีการคิดค่าบริการ ไม่ว่าค่าบริการดังกล่าว จะเกิดขึ้นในเดือนเดียวกันหรือไม่ก็ตาม และ จากผู้ใช้งานที่เสนอบริการที่ถูก host บน Cloud Service

  • 6 - ภาคผนวก ก ประเภทบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ประเภทย่อยบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ตัวอย่างกิจกรรมบ่งบอกถึงการมีปฏิสัมพันธ์ ในบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล อื่น ๆ Investment Marketplace  กดเข้าสู่ระบบ  กดค้นหาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน  มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินเสนออยู่บนบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการ  Scroll รายการผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือ รายการผู้เสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงิน  กดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน  กดระบุจํานวนหน่วยหรือมูลค่าการซื้อขาย  กดซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน  ชําระเงินสําเร็จ Insurance Marketplace Peer to Peer Lending /Crowdfunding Platform  กดเข้าสู่ระบบ  กดค้นหาสินเชื่อ หรือธุรกิจ โครงการ ที่ต้องการลงทุน  มีรายการขอสินเชื่อหรือเงินทุนอยู่บนบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการ  กดยื่นขอสินเชื่อหรือเงินทุน  Scroll รายการสินเชื่อ หรือธุรกิจ โครงการ ที่ต้องการลงทุน  กดให้สินเชื่อหรือลงทุน Health Platform  กดเข้าสู่ระบบ  กดค้นหาบริการ  มีรายการบริการวางขายอยู่บนบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการ  กดเลือกบริการ  Scroll รายการบริการ หรือรายการผู้ให้บริการ  กดเพื่อแชทหรือสื่อสารกับผู้ใช้งานรายอื่น  กดเลือกบริการ  กดซื้อบริการ  ชําระเงินสําเร็จ Specialized Search Tools (Medical)  กดค้นหา  กดดูข้อมูลที่แสดงผลจากการค้นหา