ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 37 (3) และ (12) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติ วินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 24 มิถุนำยน พ.ศ. 2565 และครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 25 61 ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ บริษัท ” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย และให้ หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกัน วินาศ ภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย “ คณะกรรมการบริษัท ” หมายความว่า คณะกรรมการของบริษัทตามกฎหมายว่าด้วย การประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการบริหารสาขาของบริษัทประกันวินาศภัย ต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วย การประกันวินาศภัยซึ่งต้องมีผู้จัดการสาขาเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย “ ผู้จัดการ ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแล รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงำนของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม “ ผู้บริหาร ” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดารงตาแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจาก ผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดารงตาแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดารงตาแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความ รวมถึงผู้ดำรงตาแห น่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “ ผู้รับประกันภัยต่อที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัยและให้หมายความรวมถึง สาขาของบริ ษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วย การ ประกันวินาศภัย ้ หนา 65 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
“ ผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ ” หมายความว่า ผู้รับประกันภัยต่อที่ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจประกันภัยจากหน่วยงานกากับดูแลในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่สามารถรับ ประกันภัยต่อได้ตามกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วย การ ประกันชีวิต และกฎหมายว่าด้วย การ ประกันวินาศภัย “ ประกาศ คปภ. ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และควบคุมภายใน ” หมายความว่า ป ระกาศคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัท ประกันวินาศภัย และแนวทางที่สำนักงานกำหนดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ “ นายทะเบียน ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “ นักคณิตศาสตร์ปร ะกันภัย ” หมายความว่า นักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วย การประกันวินาศภัย ข้อ 5 สำนักงานอาจกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ ตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามประกาศนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ข้อ 6 คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดนโยบาย และให้ความเห็นชอบกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ (2) กากับดูแลให้การจัดทาการประกันภัยต่อเป็นไปตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ของบริษัท และหลักเกณฑ์ข้อกาหนดของสำนักงาน (3) กาหนดให้มีการควบคุมภายในเพื่อควบคุมการนากรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม ข้อ 7 ผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกันภัยต่อของบริษัทต้องมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) กากับ ดูแ ล ติดตามให้การดาเนินงานเกี่ยวกับการประกันภัยต่อให้เป็นไปตามกรอบ การบริหารการประกันภัยต่อที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท (2) จัดให้มีกระบวนการปฏิบัติงาน และคู่มือการปฏิบัติงานด้านการประกันภัยต่อให้เป็นไป ตาม กรอบการบริหารการประกันภัยต่อเป็นลายลักษณ์อักษร (3) พิจารณาผลการดาเนินงานของการประกันภัยต่ออย่างสม่าเสมอ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ้ หนา 66 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
(4) จัดให้มีระบบการควบคุมภายใน ระบบกา รรายงานผลเพื่อติดตามประเมินผลเกี่ยวกับ การประกันภัยต่อ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ข้อ 8 บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบดูแลกิจกรรมการประกันภัยต่อ ข้อ 9 บริษัทต้องจัดให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัททาหน้าที่ติดตามและควบคุม กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันภัยต่อว่าเป็นไปตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อและหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ตามประกาศนี้ และประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานตรวจสอบภายในตามวรรคหนึ่ง ให้หมายค วามถึง หน่วยงานตรวจสอบภายใน ตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และควบคุมภายใน ข้อ 10 ให้บริษัทจัดทากรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ( reinsurance management framework ) เป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษั ท โดยกรอบ การบริหารการประกันภัยต่อ ให้ประกอบด้วย (1) โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการประกันภัยต่อ รวมถึงให้ระบุตาแหน่ง หรือรายชื่อผู้บริหารตามข้อ 7 และหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบตามข้อ 8 (2) นโยบายการประกันภัยต่อโดยให้คานึงถึงกรอบการบริหารความเสี่ยงและการบริหารเงินทุน ของบริษัท รวมถึงระดับความเสี่ยงที่บริษัทต้องการรับเสี่ยงภัยไว้เอง และส่วนที่โอนความเสี่ยง ซึ่งสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเป้าหมายเงินกองทุนของบริษัท (3) แนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทต้องมีการทบทวนกรอบการบริหารการประกันภัยต่อเป็นประจำทุกปี ข้อ 1 1 ในกรณีที่บริษัทจะเอาประกันภัยต่อ ( outward reinsurance ) หรือรับประกันภัยต่อ ( inward reinsurance ) บริษัทต้องจัดทำสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญา ( treaty reinsurance ) และ สัญญา ประกันภัยต่อเฉพาะราย ( facultative reinsurance ) ที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท สอดคล้องกับกรอบการบริหารการประกันภัยต่อที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความเสี่ยง และเงินกองทุนของบริษัท ข้อ 1 2 การเอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามกฎหมาย ว่าด้วยประกันวินาศภัย ให้เป็นไปตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อในสัดส่วนที่เหมาะสม การเอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญา ( treaty reinsurance ) บริษัทสามารถเอาประกันภัย ต่อกับผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กาหนดไว้ในตาราง ตามสัดส่วน ที่กำหนดไว้ในตาราง ดังต่อไปนี้ ้ หนา 67 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
ระดับความเสี่ยง อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ สัดส่วนเบี้ยเอาประกันภัยต่อ กับผู้รับประกันภัยต่อ ต่างประเทศ ทุกรายที่ระดับ ความเสี่ยงเดียวกัน ต่อ เบี้ยเอา ประกันภัยต่อของผู้รับ ประกันภัยต่อต่ำงประเทศของ สัญญาประกันภัยต่อตาม สัญญาทั้งหมด Standard & Poor ’ s Moody ’ s AM Best Fitch 1 AAA Aaa A ++ AAA ไม่จำกัด 2 AA + AA AA - Aa 1 Aa 2 Aa 3 A + AA + AA AA - 3 A + A A - A 1 A 2 A 3 A A - A + A A - 4 BBB + BBB BBB - Baa 1 Baa 2 Baa 3 B ++ B + BBB + BBB BBB - ไม่เกินร้อยละห้าสิบ (2) กรณีสัญญาประกันภัยต่อเฉพาะราย ( facultative reinsurance ) บริษัทสามารถเอาประกันภัย ต่อกับผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กาหนดไว้ในตารางตาม (1) ได้ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม ตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ในกรณีผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าหนึ่งอันดับ ให้ใช้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสองอันดับที่แตกต่างกัน ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ต่ากว่า (2) กรณีที่ผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าสองอันดับ ที่แตกต่างกัน ให้นาอันดับความน่าเชื่อถือสูงที่สุดสองอันดับแรกมาเปรียบเทียบ และใช้อันดับความน่าเชื่อถือ ที่ต่ำกว่า ในกรณีที่อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศปรับลดลงจนทาให้การเอา ประกันภัยต่อไม่เป็นไปตามสัดส่วนที่กาหนดไว้ในวรรคสอง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ให้บริษัท ดาเนินการเปลี่ยนผู้รับประกันภัยต่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ในโอ กาสแรก ที่กระทำได้ ข้อ 1 3 ให้บริษัทสามารถทำสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญา และสัญญาประกันภัยต่อเฉพาะราย ประเภทสัญญาประกันภัยต่อทางการเงิน ( financial reinsurance ) หรือสัญญาประกันภัยต่อแบบจากัด ( finite reinsurance ) ได้ตามเงื่อนไข ต่อไปนี้ (1) ต้องได้รับการแสดงความเห็น ( advice ) เกี่ยวกับความเหมาะสมของสัญญาประกันภัยต่อ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จากนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท ้ หนา 68 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
(2) ต้องทาการทดสอบการโอนความเสี่ยงด้านการประกันภัยอย่างมีนัยสาคัญ โดยวิธีการ ที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานทางบัญชี และผ่านการรับรองโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) ต้องสามารถแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อกับการแสดงความเห็นตาม (1) และผลการทดสอบ การโอนความเสี่ยงด้านการประกันภัยตาม ( 2) ต่อนายทะเบียนได้ตลอดเวลา เมื่อนายทะเบียนร้องขอ ข้อ 14 สัญญาประกันภัยต่อทางการเงิน หรือสัญญาประกันภัยต่อแบบจากัดตามข้อ 13 ซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยต่อที่ไม่มีการโอนความเสี่ยงด้านประกันภัยอย่างมีนัยสาคัญ อาจมีลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้ความคุ้มครองสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ( retrospective provisions ) ( 2 ) ผู้รับประกันภัยต่อได้โอนทรัพย์สินให้แก่บริษัท โดยบริษัทมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินนั้น หรือทรัพย์สินอื่นตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ หรือ (3) ในสั ญญาประกันภัยต่อมีข้อสัญญาจำกัดความเสี่ยงของผู้รับประกันภัยต่อ เช่น ข้อสัญญา ปรับเปลี่ยนความคุ้มครอง ( adjustments to coverage clause ) ข้อสัญญาที่บริษัทต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายของผู้รับประกันภัยต่อ หรือข้อสัญญาจากัดจานวนเงินค่าสินไหมทดแทนสูงสุดที่ผู้รับประกันภัยต่อ ต้องชดใช้ ( loss corridor ) ข้อ 1 5 ในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทแก้ไขการทาสัญญาประกันภัยต่อ ตามสัญญาหรือ สัญญา ประกันภัยต่อเฉพาะรายได้ ข้อ 1 6 บริษัทจะต้องจัดให้มีการควบคุมค วามเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันภัยต่อ เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย (1) การควบคุมความเสี่ยงด้านเครดิต (ก) การคัดเลือกผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับ ประกันภัยต่อ โดยควรคานึงถึงอันดับความน่าเชื่อถือขั้นต่าที่บริษัทยอมรับได้ การกากับดูแลของ หน่วยงานกากับที่กากับดูแลผู้รับประกันภัยต่อ ฐานะความมั่นคง ความรู้ความเชี่ยวชาญ ระยะเวลา การจ่ายเงิน การให้บริการอื่น ๆ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ (ข) การ ลดความเสี่ยงด้านเครดิต บริษัทควรมีเครื่องมือเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต อาทิเช่น การกาหนดให้มีการวางหลักทรัพย์ประกันของ ผู้รับ ประกันภัยต่อ หรือเงินถือไว้จากการ ประกันภัยต่อ การกาหนดเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงหรือการยกเลิกสัญญากับผู้รับประกันภัยต่อ ในกรณีที่ผู้รับประกันภัยต่อถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (ค) การติดตามความมั่นคงและความเหมาะสมของผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดให้มี กระบวนการในการติดตามอันดับความน่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงิน ความเพียงพอของเงินกองทุน ของผู้รับประกันภัยต่อ และความสามาร ถในการปฏิบัติตามภาระผูกพัน ้ หนา 69 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
(ง) การรับและจ่ายเงินจากการประกันภัยต่อ บริษัทต้องกาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การรับและจ่ายเงินจากการประกันภัยต่อ การรายงานเงินค้างรับและเงินค้างจ่ายจากผู้รับประกันภัยต่อ การเรียกเก็บค่าสินไหมทดแทนจากการเอาประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทจะต้องปฏิบัติตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และควบคุมภายใน เป็นอย่างน้อย (จ) การคัดเลือกนายหน้าประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือก นายหน้าประกันภัยต่อ โดยควรคานึงถึงประสบการณ์ การกากับดูแลของหน่วยงานกากับที่กากับดูแล นายหน้าประกันภัยต่อ ความเชี่ยวชาญ และการให้บริการ เป็นต้น (ฉ) การรับและจ่ายเงินของนายหน้าประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดทำกระบวนการติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการรับและจ่ายเงินของนายหน้าประกันภัยต่อ หรืออื่น ๆ ที่บ ริษัทมอบหมายให้ กระทาการแทน (ถ้ามีการใช้บริการ) ทั้งนี้ บริษัทจะต้องปฏิบัติตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และควบคุมภายใน เป็นอย่างน้อย (2) การควบคุมความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว (ก) ระดับการกระจุกตัวของผู้รับประกันภัยต่อรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง บริษัทต้องจัดให้มีการทาประกันภัยต่อ โดยยึดหลักการให้มีการกระจายความเสี่ยง และคานึงถึง ความเสี่ยงที่มีต่อผู้รับประกันภัยต่อรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหลั กเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ หรือประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง (ข) ระดับความเสี่ยงภัยสะสม บริษัทต้องจัดให้มีการจัดการให้ระดับการรับเสี่ยงภัยไว้เอง สูงสุดต่อเหตุการณ์ ( maximum event retention : MER ) เป็นไปตามที่บริษัทกาหนดไว้ในกรอบ การบริหารการประกันภัยต่อ และในกรณีที่มีความแตกต่างจากที่กำหนดไว้ จะต้องมีกระบวนการแก้ไข เพื่อให้กลับสู่ขีดจำกัด (3) การควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (ก) การทาเอกสารสัญญาประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดทาเอกสารสัญญาประกันภัยต่อ ให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยต้องมั่นใจว่า ข้อกาหนด เงื่อนไข ความคุ้มครองของสัญญาประกันภัยต่อมีความชัดเจน ครบถ้วน เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบริษัท ในการทำประกันภัยต่อ และจัดให้มีกระบวนการควบคุมและติดตามการจัดทำสัญญาประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มี หลักฐานใด ๆ เพื่อยืนยันการตกลงรับประกันภัยต่อจากผู้รับ ประกันภัยต่อ หรือสลิปประกันภัยต่อ ก่อนวันที่สัญญาประกันภัยต่อนั้นจะมีผลบังคับ (ข) การจัดทาสัญญาประกันภัยต่อเฉพาะราย บริษัทต้องกาหนดหลักเกณฑ์การจัดทา สัญญาประกันภัยต่อเฉพาะราย และกาหนดผู้มีอานาจอนุ มัติ รวมถึงจัดให้มีกระบวนการติดตาม และยืนยันการทำ สัญญา ประกันภัยต่อเฉพาะราย กรณีที่บริษัทรับความเสี่ยงภัยซึ่งมีความจาเป็นต้องทาสัญญาประกันภัยต่อเฉพาะราย ให้บริษัทจัดหาการเอาประกันภัยต่อเฉพาะรายให้แล้วเสร็จก่อนที่จะรับความเสี่ยงภัยนั้น ้ หนา 70 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
(ค) การจัดเก็บข้อมูลและการจัดทารายงานธุรกรรมการประกันภัยต่อและนายหน้า ประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดเก็บข้อมูลและจัดทารายงานธุรกรรมการประกันภัยต่อ และต้องสามารถ แสดงรายละเอียดของเจ้าหนี้และลูกหนี้จากการประกันภัยต่อได้ (4) การควบคุมความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง บริษัท ต้องจัดให้มีกระบวนการและวิธีการ รวมถึง การติดตามและเร่งรัดการเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในสัญญาประกันภัยต่อ โดยเฉพาะกรณีเหตุการณ์ความเสียหายขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ในสัญญาประกันภัยต่อควรกาหนดให้มีเงื่อนไข เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเรียกคืนทันที ( cash call ) หลักประกัน ( collateral ) หรือเงินถือไว้จาก การประกันภัยต่อ ( deposit accounts ) ข้อ 1 7 บริษัทต้องจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเพื่อรองรับเหตุการณ์ความเสียหาย ขนาดใหญ่ หรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย การจัดหาเงินทุน การจัดการกระแสเงินสดระยะสั้น การเร่งรัดการเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัยต่อ และหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะต้องปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด ข้อ 1 8 นายทะเบียนอาจกำหนดให้บริษัทจัดทำการทดสอบภาวะวิกฤต ( stress test ) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการประกันภัยต่อตามสัญญาและการประกันภัยต่อเฉพาะราย ข้อ 1 9 ให้บริษัทนำส่งรายงานกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ( reinsurance management framework ) และการวิเคราะห์ประสิทธิผลของการทาประกันภัยต่อให้สานักงาน ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รอบระยะเวลาสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญา ( reinsurance treaty ) ที่เป็นรอบหลัก ซึ่งเป็นรอบที่มีเบี้ยประกันภัยต่อสูงสุด มีผลบังคับใช้ โดยรายงานจะต้องประกอบด้วย (1) โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการประกันภัยต่อ โดยให้ระบุตาแหน่ง หรือ รายชื่อผู้บริหารตามข้อ 7 และหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบตามข้อ 8 (2) ผลการวิเคราะห์ภาพรวมผลการดาเนินงานการจัดทาสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาและ สัญญา ประกันภัยต่อเฉพาะรายในปีที่ผ่านมา พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ (3) นโยบายการประกันภัยต่อ (4) สรุปการทำสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาของปีปัจจุบัน และผลการวิเคราะห์ความเหมาะสม ที่สอดคล้องกับการดาเนินธุรกิจของบริษัท ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเป้าหมายเงินกองทุนของบริษัท พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ (5) วิธีการควบคุมความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการประกันภัยต่อของบริษัท โดยให้อธิบายอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 16 ข้อ 20 ให้บริษัทนาส่งรายงานข้อมูลและสถิติที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยต่อตามแบบ รายการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่นายทะเบียนประ กาศกำหนด ข้อ 21 ให้บริษัทส่งสาเนาสัญญาประกันภัยต่อ รวมทั้งส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม และข้อตกลง เพิ่มเติม ( side letter ) (ถ้ามี) เมื่อนายทะเบียนร้องขอ ้ หนา 71 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
ข้อ 2 2 การนาส่งรายงานกรอบการบริหารการประกันภัยต่อและการวิเคราะห์ประสิทธิผล ของการทาประกันภัยต่อตามข้อ 19 และรายงานข้อมูลและสถิติที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อ ตามข้อ 20 ให้บริษัทนาส่งตามวิธีการทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สานักงานกาหนด ทั้งนี้ หากรายงาน ดังกล่าวไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสานักงานตามที่กาหนดไว้ ให้ถือว่าบริษัท ไม่ได้นำส่งรายงำนตามความในประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 256 6 กฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ้ หนา 72 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566