ระเบียบคณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติว่าด้วย การตรวจสอบภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อให้การตรวจสอบภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ สอดคล้องกับมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และเป็นไป ตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกําหนด อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 28 (6) แห่งพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 โดยมติคณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2566 คณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบี ยบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติว่าด้วย การตรวจสอบภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบ ภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ สถาบัน ” หมายความว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติ “ คณะกรรมการบริหารสถาบัน ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ “ ประธานกรรมการ ” หมายความว่า ประธานกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ “ กรรมการตรวจสอบ ” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบของสถาบันวัคซีน แห่งชาติ “ ผู้อํานวยการ ” หมายความว่า ผู้อํานวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ “ คณะกรรมการตรวจสอบ ” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ที่คณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติแต่งตั้ง “ การตรวจสอบภายใน ” หมายความว่า กิจกรรมให้ความเชื่อมั่นและการให้คําปรึกษา อย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของ สถาบันวัคซีน แห่งชาติให้ดีขึ้น และจะช่วยให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ด้วย การประเมิน และปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกํากับ ดูแลอย่างเป็นระบบ “ หน่วยงานตรวจสอบภายใน ” หมายความว่า ส่วนงานที่ รับผิดชอบงานตรวจสอบภายใน ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
“ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ” หมายความว่า ผู้ดํารงตําแหน่งสูงสุดในหน่วยงาน ตรวจสอบภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ “ ผู้ตรวจสอบภายใน ” หมายความว่า ผู้ดํารงตําแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ “ หน่วยรั บตรวจ ” หมายความว่า ส่วนงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดําเนินการตามระเบียบนี้ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คําวินิจฉัยของประธานกรรมการให้ถือเป็นที่สุด หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 6 ในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ให้สถาบันจัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายใน ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริหารสถาบัน ข้อ 7 การบริหารงานทั่วไปของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ให้หน่วยงานตรวจสอบ ภายใน ขึ้นตรงต่อผู้อํานวยการ สําหรับการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่ง และประเมินผลงานของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในของสถาบัน ให้เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการตรวจสอบตามข้อ 16 (7) ผู้อํานวยการต้องจัดสรรบุคลากรและทรัพยากร เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบ ภายในเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณงานและความซับซ้อนของภารกิจของสถาบัน ข้อ 8 หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบภายในต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ( 1) มีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จําเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ( 2) มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี ประกาศ และคําสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันและหน่วยงานของรัฐ (3) มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การกํากับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุม ภายในของสถาบันและหน่วยงานของรัฐ ข้อ 9 ผู้อํานวยการจะแต่งตั้งให้ผู้ตรวจสอบภายในรักษาการในตําแหน่งอื่นหรือแต่งตั้ง ให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นมารักษาการในตําแหน่งผู้ตรวจสอบภายในได้เฉพาะกรณีที่การปฏิบัติงานของบุคคลดังกล่าว ได้ขาดจากกำรปฏิบัติงานในหน้าที่เดิม ในกรณีที่สถาบันอยู่ระหว่างการสรรหาบุคลากรมาดํารงตําแหน่งเป็นผู้ตรวจสอบภายใน สถาบันอาจพิจารณามอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันมาปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในเป็นการ ชั่วคราวและยังคงปฏิบัติงานในตําแหน่งหน้าที่เดิมได้ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่ำวควรมีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน และต้องไม่เป็นผู้ที่รับผิดชอบ ด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ หรือปฏิบัติงานในภารกิจหลักของสถาบัน ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
ผู้อํานวยการและหรือคณะกรรมการตรวจสอบจะพิจารณาสั่งการให้ผู้ตรวจสอบภายใน ปฏิบั ติงานอื่นได้ตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่สถาบันจะได้รับและผลกระทบ ต่อความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมในการปฏิบัติงานตรวจสอบ ข้อ 10 ให้ผู้ตรวจสอบภายในดํารงไว้ซึ่งความเป็นอิสระและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกิจกรรมที่ตรวจสอบ และปราศจากการแทรกแซงในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นในการ ตรวจสอบของฝ่ายบริหารหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด รวมทั้งต้องไม่ตรวจสอบงานที่ตนเคยทําหน้าที่ บริหารหรือปฏิบัติงานภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบภายในไม่ควรเป็นกรรมการในคณะกรรมการใด ๆ ของหน่ว ยงานของรัฐ หรือสถาบัน อันมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นในการตรวจสอบ ข้อ 11 ให้ผู้ตรวจสอบภายในมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล บุคคล เ อกสารหลักฐาน และทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อรับทราบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ข้อ 12 ในกรณีที่สถาบันไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสําหรับ หน่วยงานของรัฐที่กระทรวงการคลังกําหนดได้ ให้ขอทําความตกลงกับกระทรวงการคลัง หมวด 2 คณะกรรมการตรวจสอบ ข้อ 13 ให้คณะกรรมการบริหารสถาบันเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย ประธานกรรมการตรวจสอบหนึ่งคน กรรมการตรวจสอบไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสี่คน และให้ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นเลขานุการ กรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบัน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารสถาบัน วาระการดํารงตําแหน่งของคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามวาระของคณะกรรมการ ที่แต่งตั้ง ในกรณีที่ประธานกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการตรวจสอบพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะกรรมการบริหารสถาบันแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการ ตรวจสอบซึ่งแต่งตั้งไว้ แล้วยังมีวาระการดํารงตําแหน่งเหลืออยู่ ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง หรือเป็นกรรมการตรวจสอบเพิ่มขึ้นอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการตรวจสอบที่แต่งตั้ง ไว้แล้ว เมื่อครบวาระการดํารงตําแหน่งตามวรรคสาม หากยังมิได้มีการแต่งตั้งประธานกรร มการ ตรวจสอบหรือกรรมการตรวจสอบแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้ประธานกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการ ตรวจสอบซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไป จนกว่าประธานกรรมการ ตรวจสอบหรือกรรมการตรวจสอบซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ ข้อ 14 คุณสมบัติของคณะกร รมการตรวจสอบ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
(1) เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์เพียงพอที่จะทําหน้าที่ในฐานะกรรมการ ตรวจสอบด้วยความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม โดยคณะกรรมการตรวจสอบองค์รวมควรมีความรู้ ที่เพียงพอเกี่ยวกับ (1.1) ลักษณะการดําเนินงานของสถาบัน (1.2) การเงินและการบัญชี (1.3) การบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน (1.4) การตรวจสอบภายใน (1.5) กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน (2) กรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ ด้านการเงินการบัญชีหรือด้านการตรวจสอบภายใน ( 3) เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ โดยคณะกรรมการบริหารสถาบันอาจพิจารณา ความเหมาะสมของจํานวนกรรมการตรวจสอบที่ดํารงตําแหน่งในคณะกรรมการตรวจสอบของหน่วยงานอื่นได้ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของ กรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ข้อ 15 คณะกรรมการตรวจสอบต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (2) ไม่เป็นลูกจ้าง ที่ปรึกษา ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่ำจ้างหรือค่าตอบแทนประจํา หรือผู้มีส่วนร่วม ในการบริหารงานของสถาบัน ( 3) ไม่เป็นผู้มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับสถาบัน ทั้งนี้ ไม่ว่าในขณะดํารงตําแหน่งหรือ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ ( 4) ไม่เป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ของคณะกรรมการบริหารสถาบัน ผู้อํานวยการ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือผู้ตรวจสอบภายในของสถาบัน กรณี (1) และ (2) ให้รวมถึงผู้ที่โอนย้าย ลาออก หรือพ้นสภาพการเป็นเจ้าหน้าที่ ภายใน ระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รั บการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบด้วย ข้อ 16 คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) จัดทํากฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบ ในการดําเนินงานของสถาบัน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสถาบัน และมีการ สอบทำนความเหมาะสมของกฎบัตรดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (2) สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการบริหาร ความเสี่ยงและกระบวนการกํากับดูแลที่ดี รวมถึงระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของสถาบัน และระบบการรับแจ้งเบาะแส (3) สอบทานให้สถาบันมีการรายงานการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
(4) สอบทานการดําเนินงานของสถาบันให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงา น รวมทั้งข้อกําหนดอื่นของสถาบัน (5) กํากับดูแลระบบงานตรวจสอบภายในของสถาบันให้ มีความเป็นอิสระ เพื่อพัฒนา การปฏิบัติงานในหน้าที่ (6) พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีโอกาสเกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสถาบัน ( 7) ให้ข้อเสนอแนะการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่ง และประเมินผลงานของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการบริหารสถาบัน และให้ ผู้อํานวยการมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย ( 8) ประชุมหารือร่วมกับสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้สอบบั ญชีที่สํานักงาน การตรวจเงินแผ่นดินเห็นชอบเกี่ยวกับผลการตรวจสอบและเรื่องอื่น ๆ และอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือ ตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่าจําเป็น รวมถึงเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการบริหารสถาบัน ( 9) รายงานผลการดําเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ต่อคณะกรรมการบริหารสถาบันและบุคคลภายนอก ทั้งนี้ การรายงานต่อบุคคลภายนอกให้รายงาน ในรายงานประจําปีของสถาบันหรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสถาบัน โดยประธานกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้ลงนามในรายงานดังกล่าว และมีเนื้อหาอย่างน้อย ดังนี้ (9.1) ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของสถาบัน (9.2) ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในด้านการเงิน (9.3) จํานวนครั้งในการจัดประชุ มของคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุม ของกรรมการตรวจสอบแต่ละราย (10) ประเมินผลการดําเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้ง เสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในและศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายใน อย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้งต่อคณะกรรมการบริ หารสถาบัน (11) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดหรือที่คณะกรรมการบริหารสถาบันมอบหมาย ทั้งนี้ สถาบันสามารถกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบเพิ่มเติม จากวรรคหนึ่งได้ ข้อ 17 นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ให้ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการ ตร วจสอบพ้นจากตําแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 14 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 15 ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
( 4) คณะกรรมการบริหารสถาบันมีมติให้พ้นจากตําแหน่ง เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ ข้อ 18 ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมและการประเมินผล ดังนี้ (1) การประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบกําหนดไม่น้อยกว่าสี่ครั้งต่อปี โดยองค์ประชุม และการลงมติที่ประชุม ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบที่ผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสถาบัน และคณ ะกรรมการตรวจสอบควรมีการประชุม ร่วมกับผู้บริหารของสถาบัน ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอก อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (2) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบต้องดําเนินการอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง ประกอบด้วย การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมกา รตรวจสอบในภาพรวม และการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการตรวจสอบรายบุคคล ข้อ 19 ให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นในอัตราเดียวกัน กับคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการบริหารสถาบันแต่งตั้ง หมวด 3 หน่วยงานตรวจสอบภายใน ข้อ 20 ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในรับผิดชอบตรวจสอบการปฏิบัติงานของสถาบัน ข้อ 21 ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) กําหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใ น เพื่อสนับสนุนการบริหารงาน และ การดําเนินงานด้านต่าง ๆ ของสถาบัน โดยให้สอดคล้องกับ นโยบายของสถาบัน คณะกรรมการ บริหารสถาบัน และคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการอื่นใดที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน โดยคํานึงถึงการกํากับดูแลที่ดี ความมีประสิทธิภาพของกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง และความเพียงพอ ของการควบคุมภายในของสถาบันด้วย ( 2) กําหนดกฎบัตรไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอผู้อํานวยการก่อนเสนอคณะกรรมการ ตรวจสอบ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและเผยแพร่ให้หน่วยรับตรวจทราบ รวมทั้งมีการสอบทาน ความเหมาะสมของกฎบัตรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (3) จัดให้มีการประกันและปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายใน ทั้งภำยในและภายนอก ตามรูปแบบและวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด (4) จัดทําและเสนอแผนการตรวจสอบประจําปีต่อผู้อํานวยการ ก่อนเสนอคณะกรรมการ ตรวจสอบเพื่อพิจารณาอนุมัติ ภายในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณหรือปีปฏิทินแล้วแต่กรณี ในกรณีที่หน่วยงานตรวจสอบภายในวางแผนการตรวจสอบที่มีระยะเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ให้นํามาใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบประจําปีด้วย (5) ปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบประจําปีที่ได้รับอนุมัติตาม (4) ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
(6) รายงานผลการตรวจสอบต่อผู้อํานวยการแ ละคณะกรรมการตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ (6.1) รายงานผลการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบ ภายในเวลาอันสมควร และไม่เกินสองเดือนนับจากวันที่ดําเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ กรณีเรื่องที่ตรวจพบเป็นเรื่องที่จะมีผลเสียหาย ทางราชการให้รายงานผลการตรวจสอบทันที (6.2) รายงานเกี่ยวกับกำรบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน อย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง ประกอบด้วย (6.2.1) ความเสี่ยงที่สําคัญเกี่ยวกับการดําเนินงานของสถาบัน (6.2.2) ความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านทุจริต รวมถึง ระบบการร้องเรียน ( Whistleblowing ) ของสถาบัน (6.2.3) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอและเหมาะสมของการควบคุมภายใน ด้านการเงิน และกระบวนการอื่นที่พิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการทุจริต (6.2.4) สรุปภาพรวมของการฟ้องร้องต่อสถาบัน คดีความต่าง ๆ และความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในทางแพ่ง โดยวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง ( Root - cause analysis ) และ เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ( 7) ติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจ เพื่อให้การปรับปรุง แก้ไขของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามข้อ เสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบ ( 8) ในกรณีมีความจําเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาร่วมปฏิบัติงานตรวจสอบ ให้เสนอขอบเขต และรายละเอียดของงาน คุณสมบัติของผู้รับจ้าง ระยะเวลาดําเนินการ และผลงานที่คาดหวัง จากผู้รับจ้าง รวมทั้งข้อเสนอโครงการของผู้รับจ้าง ให้ผู้อํานวยกำรพิจารณาอนุมัติให้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญต่อไป ( 9) ปฏิบัติงานในการให้คําปรึกษาแก่ผู้อํานวยการ หน่วยรับตรวจ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ( 10) ประสานงานกับผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการอื่นที่ปฏิบัติงาน เช่นเดียวกันและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าขอบเขตของงานตรวจสอบ ครอบคลุม เรื่องที่สําคัญอย่างเหมาะสม และลดการปฏิบัติงานที่ซ้ําซ้อนกัน (11) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ตรวจสอบและผู้อํานวยการ ข้อ 22 ขอบเขตงานของการตรวจสอบภายในให้ครอบคลุมถึง การตรวจสอบ วิเคราะห์ รวมทั้งการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน และการบริหาร ความเสี่ยงของสถาบัน ซึ่งรวมถึง ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
( 1) ประเมินความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินงานในหน้าที่ของหน่วยรับตรวจ เสนอแนะการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกํากับดูแลอย่างต่อเนื่อง (2) สอบทานการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับหรือมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน รวมทั้งข้อกําหนดอื่นของสถาบัน ( 3) สอบทานความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมู ลการดําเนินงานและการเงินการคลัง ( 4) ตรวจสอบระบบการดูแลรักษา และความปลอดภัยของทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจ ให้มีความเหมาะสมกับประเภทของทรัพย์สินนั้น (5) วิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัด และคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร ข้อ 23 ให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน สําหรับหน่วยงานของรัฐ กรณีที่ไม่ได้กําหนดไว้ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ข้อ 24 ให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติตนให้เป็นไปตามจรรยาบรรณตรวจสอบภายในสําหรับ หน่วยงานของรัฐตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่ำด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบ ภายในสําหรับหน่วยงานของรัฐ หมวด 4 หน่วยรับตรวจ ข้อ 25 ให้หน่วยรับตรวจ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) อํานวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจสอบภายใน (2) จัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการดําเนินงาน รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน สมบูรณ์ พร้อมที่จะตรวจสอบได้ (3) จัดทําบัญชีและจัดเก็บเอกสารประกอบรายการบัญชีพร้อมที่จะให้ผู้ตรวจสอบภายใน ตรวจสอบได้ (4) จัดให้มีระบบการเก็บเอกสารในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและครบถ้วน (5) ชี้แจงและตอบข้อซักถามต่าง ๆ พร้อมทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ตรวจสอบภายใน (6) ปฏิบัติตามข้อทักท้วงและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายใน ในเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้อํานวยการ สั่งให้ปฏิบัติ กรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยรับตรวจกระทําการโดยจงใจไม่ปฏิบัติ หรือละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามวรรคหนึ่ง ใ ห้ผู้ตรวจสอบภายในรายงานผู้อํานวยการเพื่อพิจารณาสั่งการตามควรแก่กรณี ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566
บทเฉพาะกาล ข้อ 26 ระเบียบนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้ดําเนินการไปแล้วโดยชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งของสถาบัน ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ การปฏิบัติการใดที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ และอยู่ในระหว่างการดําเนินการที่ยังไม่แล้วเสร็จ ในวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งของสถาบัน ที่ใช้อยู่เดิม ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 มานิต ธีระตันติกานนท์ ประธานกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 193 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 สิงหาคม 2566