ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง
ประกาศองค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ วิธีการดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ . ศ . 2540 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และหน่วยงานของรัฐ องค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้งในฐานะหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ วิธีการดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหาร ส่วนตําบลทับผึ้ง ดังต่อไปนี้ 1 . โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินการ อํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหาร ส่วนตําบลทับผึ้ง เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตําและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2 . องค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง จัดโครงสร้างและองค์กรในการดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) สํานักปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานราชการทั่วไป ขององค์การบริหารส่วนตําบล งานเลขานุการของนายกองค์การบริหารส่วนตําบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบล งานกิจการสภาองค์การบริหารส่วนตําบล งานบริหาร งานบุคคลของพนักงานส่วนตําบล ลูกจ้างประจํา และพนักงานจ้าง งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานการพาณิชย์ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานเทศกิจ งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานจราจร งานวิเทศสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานนิติการ งานการเลือกตั้ง และราชการ ที่มิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง สํานัก หรือส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกํากับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไป ตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล งานบริการข้อมูล ้ หนา 61 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 2 กลุ่มงาน ดังนี้ ( 1 . 1 ) กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย ( 1 . 1 . 1 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 1 . 1 . 2 ) งานการเจ้าหน้าที่ ( 1 . 1 . 3 ) งานนิติการ ( 1 . 2 ) กลุ่มงานอํานวยการ ประกอบด้วย ( 1 . 2 . 1 ) งานวิเคราะห์นโยบายและแผน ( 1 . 2 . 2 ) งานประชาสัมพันธ์ ( 1 . 2 . 3 ) งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 1 . 2 . 4 ) งานกิจการสภา ( 2 ) กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่ายเงิน การรับเงิน การจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และพัฒนารายได้ งานสรุปผล สถิติการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม งานนําส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน งานตรวจสอบใบสําคัญ ฎีกาทุกประเภท งานการจัดทําบัญชี งานตรวจสอบบัญชีทุกประเภท งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบําเหน็จ บํานาญ และเงินอื่น ๆ งานจัดทําหรือช่วยจัดทํางบประมาณและเงินนอกงบประมาณ งานเกี่ยวกับสถานะ การเงินการคลัง งานการจัดสรรเงินต่าง ๆ งานทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ งานควบคุม การเบิกจ่ายเงิน งานทํางบทดลองประจําเดือนและประจําปี งานเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหา งานทะเบียนคุม งานการจําหน่าย พัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินต่าง ๆ งานเกี่ยวกับเงินประกันสัญญา ทุกประเภท งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการด้านการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุและทรัพย์สิน งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 4 งาน ได้แก่ ( 2 . 1 ) งานการเงินและบัญชี ( 2 . 2 ) งานพัฒนารายได้ ( 2 . 3 ) งานพัสดุและทรัพย์สิน ( 2 . 4 ) งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ้ หนา 62 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 3 ) กองช่าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสํารวจ งานออกแบบและเขียนแบบ งานประมาณราคา งานจัดทําราคากลาง งานจัดทําข้อมูลทางด้านวิศวกรรมต่าง ๆ งานจัดเก็บและทดสอบ คุณภาพวัสดุ งานจัดทําทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ํา งานติดตั้ง ซ่อมบํารุงระบบไฟส่องสว่างและไฟสัญญาจราจร งานปรับปรุงภูมิทัศน์ งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติผังเมือง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานจัดทําแผนปฏิบัติงานการก่อสร้าง และซ่อมบํารุงประจําปี งานควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบํารุง งานจัดทําประวัติ ติดตาม ควบคุม การปฏิบัติงานเครื่องจักรกล งานจัดทําทะเบียนประวัติการใช้เครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานแผนการบํารุงรักษา เครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับการประปา งานเกี่ยวกับการช่างสุขาภิบาล งานช่วยเหลือ สนับสนุนเครื่องจักรกล งานช่วยเหลือสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานช่วยเหลือ สนับสนุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานจัดทําทะเบียนควบคุมการจัดซื้อ เก็บรักษา การเบิกจ่ายพัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ํามันเชื้อเพลิง งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนํา ทางวิชาการด้านวิศวกรรมต่าง ๆ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 5 งาน ดังนี้ ( 3 . 1 ) งานแบบแผนและก่อสร้าง ( 3 . 2 ) งานสํารวจและออกแบบ ( 3 . 3 ) งานควบคุมอาคาร ( 3 . 4 ) งานสาธารณูปโภค ( 3 . 5 ) งานผังเมือง ( 4 ) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์และจัดทําแผนงานด้านสาธารณสุข งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันเฝ้าระวัง และควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ งานสุขาภิบาลในสถานประกอบการ งานสุขาภิบาลชุมชน งานอนามัยสิ่งแวดล้อม งานคุ้มครองผู้บริโภค งานให้บริการด้านสาธารณสุข งานเภสัชกรรม งานพยาธิวิทยา งานรังสีวิทยางานวิชาการทางการแพทย์ งานวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ งานการแพทย์ งานการแพทย์ฉุกเฉิน งานรักษาพยาบาล งานศูนย์บริการสาธารณสุข งานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล งานบริหารสาธารณสุข งานส่งเสริมป้องกันควบคุมโรค งานเวชปฏิบัติครอบครัว งานหลักประกันสุขภาพ งานมาตรฐาน ้ หนา 63 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
และคุณภาพหน่วยบริการ งานยุทธศาสตร์สาธารณสุข งานกฎหมายสาธารณสุข งานแพทย์แผนไทย งานส่งเสริมสนับสนุนการแพทย์แผนไทย งานกายภาพและอาชีวบําบัด งานฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจผู้ป่วย งานทันตสาธารณสุข งานบริการรักษาความสะอาด งานบริการและพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย งานบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส งานอาสาสมัครสาธารณสุข งานป้องกันและบําบัดการติดสารเสพติด งานสัตวแพทย์ งานศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ กําหนดมาตรการและแผนดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การประเมิน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม งานส่งเสริมสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม งานจัดทําและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม งานรณรงค์และการฝึกอบรมสร้างจิตสํานึก ด้านสิ่งแวดล้อม งานวางแผนและจัดทําแผนดําเนินงานด้านการเฝ้าระวัง ควบคุมมลพิษทางน้ํา อากาศ และเสียง งานเฝ้าระวัง บําบัด ตรวจสอบคุณภาพน้ํา อากาศ ของเสียและสารอันตรายต่าง ๆ งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 6 งาน ดังนี้ ( 4 . 1 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 4 . 2 ) งานส่งเสริมสาธารณสุข ( 4 . 3 ) งานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ( 4 . 4 ) งานป้องกันและควบคุมโรค ( 4 . 5 ) งานบริการสาธารณสุข ( 4 . 6 ) งานรักษาความสะอาด ( 5 ) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหาร การศึกษา งานพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา งานบริหารวิชาการด้านการศึกษา งานโรงเรียน งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด งานพิพิธภัณฑ์ งานเครือข่าย ทางการศึกษา งานศึกษานิเทศ งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร งานพัฒนาสื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา งานการศาสนา งานบํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ้ หนา 64 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น งานการกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชน และการศึกษา นอกโรงเรียน งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานส่งเสริมสวัสดิการสวัสดิภาพและกองทุนเพื่อการศึกษา งานบริหารงานบุคคลของพนักงานครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้าง และพนักงานจ้างสังกัดสถานศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกรณียังไม่จัดตั้งกองการเจ้าหน้าที่งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนํา ทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 5 งาน ดังนี้ ( 5 . 1 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 5 . 2 ) โรงเรียน ( 5 . 3 ) งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( 5 . 4 ) งานส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ ( 5 . 5 ) งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ( 6 ) กองสวัสดิการสังคม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดทําแผนด้านการพัฒนาสังคม ด้านสวัสดิการสังคม และด้านสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาระบบ รูปแบบ มาตรการ และวิธีการพัฒนาสังคม การจัดสวัสดิการสังคม และการสังคมสงเคราะห์ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน งานพัฒนาชุมชน งานสํารวจและจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน งานจัดระเบียบชุมชน งานส่งเสริมสนับสนุน การจัดสวัสดิการสังคมแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส งานฝึกอบรมและเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน งานสังคมสงเคราะห์เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้ที่พึ่ง ผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ งานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ผู้พิการทางร่างกายและสมอง งานสงเคราะห์เด็กและเยาวชนผู้ถูกทอดทิ้ง เร่ร่อน ไร้ที่พึ่ง ถูกทําร้ายร่างกาย งานส่งเสริมสวัสดิภาพ เด็กและเยาวชนที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่วัย งานสงเคราะห์ครอบครัวที่ประสบความเดือดร้อน และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดําเนินชีวิตในครอบครัว งานด้านจิตวิทยา งานจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ฯลฯ งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 3 งาน ได้แก่ ( 6 . 1 ) งานสังคมสงเคราะห์ ( 6 . 2 ) งานพัฒนาชุมชน ( 6 . 3 ) งานสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน ้ หนา 65 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 7 ) กองส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิชาการเกษตรกรรม การศึกษา ค้นคว้าทดลอง และวิเคราะห์วิจัยทางการเกษตร การวิเคราะห์ดิน งานส่งเสริมการเกษตร การเพาะปลูก การปรับปรุงวิธีการผลิต การเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร พืชไร่ พืชสวน สาธิตการปลูกพืช การปราบศัตรูพืช การใช้ปุ๋ย งานวิเคราะห์วิจัยเพื่อควบคุมพันธ์พืช การจัดและรักษามาตรฐานพันธุ์พืช การปรับปรุงบํารุงพันธุ์พืช การคัดพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช งานจัดหาแหล่งน้ําและพัฒนาระบบชลประทาน เพื่อการเกษตร งานส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางเกษตร งานบรรจุภัณฑ์ และร้านสินค้าเกษตรกรรม งานส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์การเกษตร งานวิชาการปศุสัตว์ การศึกษา ค้นคว้าทดลอง และวิเคราะห์วิจัยทางการปศุสัตว์ งานตรวจสอบควบคุมการเลี้ยงสัตว์ทั้งด้านสุขภาพ งานป้องกัน เฝ้าระวัง และการบําบัดรักษาโรคระบาดสัตว์ จัดหาชีวภัณฑ์และเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันและกําจัดโรคระบาดสัตว์ การกักสัตว์ การปรับปรุงบํารุงพันธุ์ ขยายพันธุ์สัตว์ เพาะพันธุ์สัตว์ การผลิตและจัดหาน้ําเชื้อเพื่อใช้ ในการผสมเทียม การอนุบาลสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ งานตรวจสอบควบคุมการฆ่าสัตว์ การแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ งานส่งเสริมให้เกษตรกรทําการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การกํากับตรวจสอบการลักลอบขนส่ง การค้า การจําหน่ายเนื้อสัตว์ป่าสงวน งานส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ดิน แหล่งน้ําธรรมชาติ ป่าไม้ งานตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วย การบํารุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง งานส่งเสริมสนับสนุนวิชาการเกษตร และเทคโนโลยีทางการเกษตร งานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร งานฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้ แก่เกษตรกร งานบริการข้อมูล สถิติช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน ได้แก่ ( 7 . 1 ) งานส่งเสริมการเกษตร ( 7 . 2 ) งานส่งเสริมปศุสัตว์ ( 7 . 3 ) งานป้องกันโรคพืชและสัตว์ ( 7 . 4 ) งานวิจัยและพัฒนาการเกษตร ้ หนา 66 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 8 ) หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดทําแผนการตรวจสอบ ภายในประจําปี งานตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสารการรับ การจ่ายเงินทุกประเภท ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การบัญชี งานตรวจสอบการสรรหา พัสดุและทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานตรวจสอบการทําประโยชน์จากทรัพย์สิน ขององค์การบริหารส่วนตําบล งานตรวจสอบ ติดตามและการประเมินผลการดําเนินงานตามแผนงาน โครงการให้เป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กําหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด งานวิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัด คุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร ของส่วนราชการต่าง ๆ งานประเมินการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ งานรายงานผลการตรวจสอบภายใน งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําแนวทางแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจ และผู้ที่เกี่ยวข้อง งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 1 งาน ดังนี้ ( 8 . 1 ) งานตรวจสอบภายใน 3 . สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง ประกอบด้วย ( 1 ) หน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง ตามพระราชบัญญัติสภาตําบล และองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ( 1 . 1 ) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ําและทางบก รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ( 1 . 2 ) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้ง กําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ( 1 . 3 ) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ( 1 . 4 ) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 1 . 5 ) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะ จากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( 1 . 6 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ ้ หนา 67 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 1 . 7 ) คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 1 . 8 ) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 1 . 9 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจําเป็นและสมควร ( 2 ) หน้าที่อาจจัดทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ตามพระราชบัญญัติสภาตําบล และองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ( 2 . 1 ) ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ( 2 . 2 ) ให้มีการบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 2 . 3 ) ให้มีการบํารุงรักษาทางระบายน้ํา ( 2 . 4 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ ( 2 . 5 ) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ ( 2 . 6 ) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว ( 2 . 7 ) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ( 2 . 8 ) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ( 2 . 9 ) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 2 . 10 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม ( 2 . 11 ) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ( 2 . 12 ) การท่องเที่ยว ( 2 . 13 ) การผังเมือง ทั้งนี้ อาจทํากิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตําบล หรือร่วมกับสภาตําบล องค์การบริหาร ส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อกระทํากิจการร่วมกันได้ ( 3 ) อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจและหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังต่อไปนี้ ( 3 . 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 3 . 2 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา ้ หนา 68 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 3 . 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ( 3 . 4 ) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ ( 3 . 5 ) การสาธารณูปการ ( 3 . 6 ) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ ( 3 . 7 ) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน ( 3 . 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 3 . 9 ) การจัดการศึกษา ( 3 . 10 ) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ( 3 . 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น ( 3 . 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 3 . 13 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 3 . 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 3 . 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 3 . 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 3 . 17 ) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 3 . 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 3 . 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( 3 . 20 ) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน ( 3 . 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 3 . 22 ) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 3 . 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ( 3 . 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ้ หนา 69 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 3 . 25 ) การผังเมือง ( 3 . 26 ) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ( 3 . 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 3 . 28 ) การควบคุมอาคาร ( 3 . 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 3 . 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน และรักษา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( 3 . 31 ) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด 4 . วิธีดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนในท้องถิ่นเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามภารกิจอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอํานวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้สอดคล้อง กับแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอําเภอ แผนพัฒนาตําบล นโยบายรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหาร โดยเน้นให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นทุก ๆ ด้าน สร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยมี ผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง ต้องใช้วิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ และให้เป็นไปตามกฎหมายที่กําหนด 5 . สถานที่และช่องทางติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนํา สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับส่วนราชการภายใน องค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการองค์การบริหาร ส่วนตําบลทับผึ้ง เลขที่ 144 หมู่ที่ 3 ตําบลทับผึ้ง อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย 64120 โทรศัพท์ 0 5591 2062 โทรสาร 0 5591 2062 ้ หนา 70 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
6 . สถานที่ติดต่อ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ขององค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง ( 1 ) ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง เลขที่ 144 หมู่ที่ 3 ตําบลทับผึ้ง อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย รหัสไปรษณีย์ 64120 ( 2 ) โทรศัพท์และโทรสาร : 0 5591 2062 ( 3 ) เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ ttp://www.oic.go.th/INFOCENTER 92 / 9219 / ( 4 ) เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง https://www.tubpeung.go.th ( 5 ) เฟสบุ๊คองค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง : องค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง ( 6 ) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : saraban_ 06640605 @dla.go.th ( 7 ) Line องค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง @ 894 trhzx จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ . ศ . 2566 สนอง อินทิม นายกองค์การบริหารส่วนตําบลทับผึ้ง ้ หนา 71 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566