ประกาศเทศบาลตำบลคอกกระบือ เรื่อง โครงสร้างและการจัดการองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตำบลคอกกระบือ
ประกาศเทศบาลตำบลคอกกระบือ เรื่อง โครงสร้างและการจัดการองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตำบลคอกกระบือ
ประกาศเทศบาลตําบลคอกกระบือ เรื่อง โครงสร้างและการจัดการองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่สําคัญและวิธีการดําเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตําบลคอกกระบือ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 เทศบาลจึงประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่สําคัญ และวิธีการดําเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตําบลคอกกระบือไว้ ดังต่อไปนี้ ก . โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน เทศบาลตําบลคอกกระบือมีโครงสร้าง และการจัดองค์กรในการดําเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1 . ฝ่ายบริหาร นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี นายกเทศมนตรีมีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ และนโยบาย ( 2 ) สั่ง อนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล ( 3 ) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก เท ศมนตรี ที่ ป รึกษำเท ศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี ( 4 ) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ( 5 ) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ ( 6 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายเทศบาลและกฎหมายอื่นบัญญัติไว้ 2 . ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล 12 คน โดยมีประธานสภา และรองประธานสภา และเลขานุการสภา 3 . สํานักงานเทศบาลตําบลคอกกระบือ แบ่งส่วนงานราชการ จํานวน 6 ส่วนราชการ ได้แก่ สํานักปลัด กองคลัง กองช่าง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองการศึกษา และกองสวัสดิการสังคม โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล พนักงานจ้าง และลูกจ้าง รองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจําของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย และมีอํานาจหน้าที่อื่น ตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ดังนี้ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 1 ) สํานักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้ ( 1 . 1 ) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ( 1 . 2 ) ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ ( 1 . 3 ) ฝ่ายนิติการ ( 1 . 4 ) ฝ่ายปกครอง ( 1 . 5 ) ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 2 ) กองคลัง มีหน้าที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้ ( 2 . 1 ) ฝ่ายการเงินและบัญชี ( 2 . 2 ) ฝ่ายบริหารงานคลัง ( 2 . 3 ) ฝ่ายพัฒนารายได้ ( 2 . 4 ) ฝ่ายพัสดุและทรัพย์สิน ( 3 ) กองช่าง มีหน้าที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้ ( 3 . 1 ) ฝ่ายวิศวกรรมโยธา ( 3 . 2 ) ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง ( 3 . 3 ) ฝ่ายการโยธา ( 3 . 4 ) ฝ่ายผังเมือง ( 4 ) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้ ( 4 . 1 ) ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ( 4 . 2 ) ฝ่ายบริการสาธารณสุข ( 5 ) กองการศึกษา มีหน้าที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้ ( 5 . 1 ) ฝ่ายบริหารการศึกษา ( 5 . 2 ) ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ( 6 ) กองสวัสดิการสังคม มีหน้าที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้ ( 6 . 1 ) ฝ่ายพัฒนาชุมชน ( 6 . 2 ) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 7 ) หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ภายในเทศบาลที่สังกัดในด้านงบประมาณ บัญชีและพัสดุ รวมทั้งตรวจสอบหลักฐานเอกสารทางการบัญชี การเงิน ยอดเงิน การทําสัญญา การจัดซื้อพัสดุและเบิกจ่าย การลงบัญชี การจัดเก็บพัสดุในคลังพัสดุ และเป็นการติดตามการควบคุมภายในของเทศบาลตําบลคอกกระบือ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ข . อํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีการดําเนินงาน ( 1 ) อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลต้องทํา ได้แก่ ( 1 . 1 ) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ( 1 . 2 ) ให้มีและบํารุงรักษาทางบกและทางน้ํา ( 1 . 3 ) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัด ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ( 1 . 4 ) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ( 1 . 5 ) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ( 1 . 6 ) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม ( 1 . 7 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( 1 . 8 ) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 1 . 9 ) หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล ( 2 ) อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลอาจจัดกิจกรรมใด ๆ ในเขตเทศบาลได้ ดังต่อไปนี้ ( 2 . 1 ) ให้มีน้ําสะอาดหรือการประปา ( 2 . 2 ) ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ( 2 . 3 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม ( 2 . 4 ) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน ( 2 . 5 ) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 2 . 6 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ ( 2 . 7 ) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 2 . 8 ) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ํา ( 2 . 9 ) เทศพาณิชย์ การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทํา แผนพัฒนาเทศบาล การจัดทํางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด นอกจากอํานาจหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เทศบาลตําบลคอกกระบือมีอํานาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 ดังนี้ ( 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 2 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา ( 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ ( 4 ) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ ( 5 ) การสาธารณูปการ ( 6 ) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ ( 7 ) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 9 ) การจัดการศึกษา ( 10 ) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ( 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 13 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
( 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 17 ) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( 20 ) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน ( 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 22 ) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และการสาธารณสถานอื่น ๆ ( 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( 25 ) การผังเมือง ( 26 ) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ( 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 28 ) การควบคุมอาคาร ( 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( 31 ) กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด ( 3 ) วิธีการดําเนินงาน ประชาชนสามารถรับบริการได้ที่สํานักงานเทศบาลตําบลคอกกระบือ เลขที่ 40 หมู่ 3 ถนนเอกชัย - บางบอน ตําบลคอกกระบือ อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000 ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566
ค . สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตําบลคอกกระบือ สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อส่วนราชการ ภายในเทศบาลตําบลคอกกกระบือ สามารถติดต่อได้ตามช่องทาง ดังนี้ ( 1 ) ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการเทศบาลตําบลคอกกระบือ ตั้งอยู่ที่ทําการสํานักงาน เทศบาลตําบลคอกกระบือ ที่อยู่ 40 หมู่ 3 ถนนเอกชัย - บางบอน ตําบลคอกกระบือ อําเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ( 2 ) ทางโทรศัพท์ หมายเลข 034 - 494 - 025 ต่อ 11 ( 3 ) ทางเว็บไซต์ เทศบาลตําบลคอกกระบือ www.khokkrabue.go.th ( 4 ) ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ saraban_ 05740114 .dla.go.th จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ . ศ . 2566 เผชิญ ม่วงกลม นายกเทศมนตรีตําบลคอกกระบือ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 191 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 สิงหาคม 2566