ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนิคมอุตสาหกรรมแนวดิ่ง พ.ศ. 2566
ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนิคมอุตสาหกรรมแนวดิ่ง พ.ศ. 2566
ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนิคมอุตสาหกรรมแนวดิ่ง พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนิคมอุตสาหกรรมแนวดิ่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 (1) แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ข้อ 2 และข้อ 3 ของกฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 ออกตามความในพระราชบัญญัติการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ประกอบกับมติคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 3/2 565 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 และในการประชุม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนิคมอุตสาหกรรมแนวดิ่ง พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ “ กนอ. ” หมายความว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย “ นิคมอุตสาหกรรม ” ห มายความว่า นิคมอุตสาหกรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นนิคมอุตสาหกรรม แนวดิ่ง “ พื้นที่โครงการ ” หมายความว่า พื้นที่ที่จะใช้สาหรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยมีขนาดพื้นที่ ไม่เกิน 100 ไร่ “ พื้นที่ส่วนกลาง ” หมายความว่า พื้นที่ในระบบสาธารณูปโภคและอาคารซึ่ งมีไว้ใช้ประโยชน์ ร่วมกันสาหรับผู้ประกอบกิจการภายในนิคมอุตสาหกรรม เช่น ถนน ทางเท้า สวน สนามเด็กเล่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบประปา ท่อระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ตั้งนิติบุคคล และระบบกำจัดขยะ “ การประกอบกิจการ ” หมายความว่า ประเภทของกิจการหรือกิจกร รมที่สามารถดาเนินการ ได้ภายในนิคมอุตสาหกรรม เช่น การประกอบอุตสาหกรรมเบา พาณิชยกรรม การบริการหรือกิจการอื่น ที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมเบา พาณิชยกรรมหรือการบริการ “ ระบบสาธารณูปโภค ” หมายความว่า ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยควา มสะดวก และบริการอื่นที่จัดให้มีขึ้นตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 และให้หมายความรวมถึงงานภูมิสถาปัตย์ พื้นที่สีเขียว แนวกันชนอาคาร ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
สานักงาน โรงอาหาร บ้านพักพนักงาน พื้นที่สันทนาการ พื้นที่จ อดรถส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม และระบบที่เกี่ยวข้องหรือที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับระบบสาธารณูปโภค สิ่งอานวยความสะดวก และบริการดังกล่าว ตลอดจนเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์และส่วนควบของระบบสาธารณูปโภค หรือที่ใช้ในการบารุงรักษาระบบสาธารณูปโภคนั้นด้วย “ อาคาร ” หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ โดยมีความสูงไม่เกิน 23 เมตร หรือมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในอาคารหลังเดียวกันไม่เกิน 10 , 000 ตารางเมตร ข้อ 4 ให้ผู้ว่าการรักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบหรื อประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 5 หลักเกณฑ์การเลือกพื้นที่โครงการ มีดังต่อไปนี้ (1) ต้องตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพที่จะดำเนินการให้เป็น นิคมอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) ในระหว่างการเลือกพื้นที่โครงการ หาก กนอ. ตรวจสอบพบว่าพื้นที่โครงการตั้งอยู่ ในบริเวณที่ได้มีการวางและจัดทาผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเ มืองแล้วและได้มีข้อกาหนดการใช้ ประโยชน์ที่ดินที่ไม่อาจจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมได้หรือพื้นที่โครงการนั้นได้มีการวางและจัดทำผังเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วและได้มีข้อกาหนดการใช้ ประโยชน์ที่ดินที่ไม่อาจจัดตั้งเป็นนิคมอุ ตสาหกรรมได้ กนอ. จะไม่พิจารณาพื้นที่โครงการนั้น (3) ประเภทและขนาดของการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามที่ กนอ. กำหนดหรือให้ความเห็นชอบโดยคำนึงถึงความสอดคล้องและความเหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีปัญหาว่าประเภทและขนาด ของกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นกิจการที่พึงอนุญาตให้ประกอบ ในนิคมอุตสาหกรรมได้หรือไม่ ให้ กนอ. เสนอคณะกรรมการ กนอ. พิจารณา ข้อ 6 ให้ผู้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเสนอแผนผังและแบบก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งแผนผังการจัดพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมตามหลักเกณฑ์แล ะมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ การดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ผู้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา สถาปนิกผู้ออกแบบ วิศวกรผู้คานวณ เป็นผู้รับรองแผนผังและแบบก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมและมาตรฐานระบบสาธารณูปโภคที่กาหน ดไว้ในข้อบังคับนี้ และมีวิศวกร ควบคุมงานเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงานก่อสร้าง แล้วแต่กรณี สำหรับกรณีการออกแบบระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของ นิคมอุตสาหกรรมแตกต่างไปจากที่กาหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะทางานขึ้นมาชุดหนึ่ง ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
เพื่อทำการตรวจสอบว่าระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการนั้นอยู่ในวิสัย ที่จะดาเนินการได้ และได้ดาเนินการถูกต้องตามมาตรฐานทางวิศวกรรมหรือตามมาตรฐานวิชาการ และสามารถรองรับการดาเนินงานของผู้ประกอบกิจการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการ การควบคุ มดูแล และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยตามลักษณะของกลุ่มกิจกรรม ในเขตพื้นที่นั้น ซึ่ง กนอ. พิจารณาแล้วเห็นสมควรดาเนินการให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นนิคมอุตสาหกรรม ให้ กนอ. เสนอรายละเอียดพื้นที่โครงการ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและผลการพิจารณาต่อคณะกร รมการ กนอ. เพื่อพิจารณา และให้นาความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีนี้โดยอนุโลม ข้อ 7 กรณีที่โครงการนิคมอุตสาหกรรมเป็นโครงการหรือกิจการหรือการดาเนินการใด ที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสาคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ให้ผู้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจัดทารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ข้อ 8 กรณีที่อาคารเข้าข่ายอาคารประเภทที่ต้องจัดทารายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมแล ะรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้ผู้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจัดทารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของอาคารโครงการเป็นการเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ออกตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หมวด 2 การอ อกแบบแผนผังพื้นที่โครงการ ข้อ 9 ให้แสดงแผนผังที่ตั้งพื้นที่โครงการและพื้นที่ในรัศมีอย่างน้อย 1 กิโลเมตร จากขอบเขตพื้นที่โครงการ โดยมีข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่โครงการ หากผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการนั้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ประโย ชน์ที่ดินหรือการใช้ประโยชน์อื่น ให้ผู้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมกำหนดมาตรการเพิ่มเติมทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดาเนินการด้วย ข้อ 10 การออกแบบแผนผังพื้นที่โครงการจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งพื้นที่ โครงการ โดยต้องคานึงถึงการใช้ประโยชน์กิจกรรมต่าง ๆ ของพื้นที่โครงการที่ไม่กระทบต่อลักษณะ ทางนิเวศและสิ่งแวดล้อม มีความเหมาะสมด้านทัศนียภาพ รวมทั้งต้องจัดภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโครงการ ข้อ 11 การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และต้องจัดให้มีพื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและพื้นที่ส่วนกลางรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ โครงการทั้งหมด ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
ข้อ 12 ต้องจัดให้มีพื้นที่แนวกันชน ( Buffer zone ) รอบพื้นที่โครงการไม่น้อยกว่า 7 เมตร และมีระยะความกว้างที่ให้รถยนต์สัญจรในกรณีฉุกเฉินได้ ข้ อ 13 พื้นที่โครงการต้องมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 3 ของพื้นที่โครงการ ข้อ 14 การปรับระดับความลาดชันและความสูงต่าพื้นที่โครงการต้องรักษาและคงสภาพ ภูมิประเทศเดิมให้มากที่สุด เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็นด้านวิศวกรรม ข้อ 15 การวางผังพื้นที่โครงการเพื่อการประกอบกิจการจะต้องจาแนกพื้นที่การประกอบกิจการ ออกเป็นแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน และผู้ประกอบกิจการในแต่ละพื้นที่ต้องสามารถร่วมกันใช้ประโยชน์ จากระบบสาธารณูปโภคภายในนิคมอุตสาหกรรมได้ หมวด 3 ระบบถนน ข้อ 16 การออกแบบระบบถนนในพื้ นที่โครงการต้องเป็นไปตามมาตรฐานหลักวิชาวิศวกรรม การทางและจราจร มาตรฐานกรมทางหลวง มาตรฐานความปลอดภัยด้านการจราจร และมาตรฐาน วิชาการกาหนด โดยให้มีแบบถนน ตลอดจนขนาดของเขตทางและผิวจราจรเป็นสัดส่วนเหมาะสม กับขนาดของการประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องจัดใ ห้มีทางเข้า - ออกพื้นที่โครงการอย่างน้อย 1 ทาง เชื่อมกับถนนสายประธาน ของพื้นที่โครงการ และต่อเชื่อมกับถนนสาธารณะโดยสามารถรองรับการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมได้ (2) ถนนสายประธานภายในพื้นที่โครงการต้องมีความกว้างของเขตทางขนาดไม่น้อยกว่า 18 เมตร และผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า 7 เมตร โดยมีจานวนช่องจราจรไม่น้อยกว่า 2 ช่องทาง และแต่ละช่องทางกว้างไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.50 เมตร (3) ชนิดผิวจราจรต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แอสฟัลต์ติกคอนกรีตหรือผิวทางชนิดอื่น ที่ดีกว่าหรื อเทียบเท่า และมีความแข็งแรง บำรุงรักษาง่าย มีสภาพพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา (4) การออกแบบสัญญาณไฟจราจร เส้นจราจร ป้ายจราจร และไฟฟ้าส่องสว่างของถนน ให้คำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกต่อผู้ใช้ทางเป็นหลัก (5) การออกแบบและก่อสร้างระบบถนนนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในหมวดนี้แล้ว ให้ดาเนินการ เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรมหรือตามมาตรฐานวิชาการกาหนดด้วย หมวด 4 ระบบระบายน้าฝนและระบบป้องกันน้ำท่วม ส่วนที่ 1 ระบบระบายน้าฝน ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
ข้อ 17 ในส่วนนี้ “ อัตราน้ำฝนไหลนอง ” ( Stormwater Runoff Rate ) หมายความว่า อัตราที่น้ำไหล เข้าท่อระบายหรือรางระบายน้ามีค่าเท่ากับส่วนของฝนที่ตกลงมาบนพื้นดินและไหลนองไปตามพื้น ในช่วงระหว่างที่ฝนกำลังตก รวมทั้งหลังฝนหยุดตกอีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง ข้อ 18 ระบบระบายน้าฝนจะต้องแยกจากระบบระบายน้าเสี ยอย่างเด็ดขาด ข้อ 19 การคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลนองเพื่อใช้ในการออกแบบระบบระบายน้ำฝนให้เป็นไป ตามหลักวิชาการ โดยให้ใช้ค่าความเข้มสูงสุดของฝนตกในพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียงในรอบเวลา 10 ปี โดยวิธีเรชั่นแนล ( Rational Method ) เป็นเกณฑ์ในการคานวณ ข้อ 20 ระบบร ะบายน้ำฝนให้ใช้แบบรางเปิดหรือท่อปิดพร้อมบ่อพักก็ได้ โดยให้เป็นไป ตามความเหมาะสมของพื้นที่โครงการ การเลือกใช้วัสดุของระบบน้ำฝนต้องไม่เป็นพิษต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม และให้การไหลของน้าต้องมีความเร็วไม่น้อยกว่า 0.60 เมตรต่อวินาทีเพื่อป้องกัน การตกตะกอน ข้ อ 21 การระบายน้ำออกจากพื้นที่โครงการต้องคำนึงถึงความสามารถในการรับน้าของพื้นที่ ภายนอกโครงการ และควรจัดให้มีระบบหน่วงน้ำ ( Retention system ) ภายในพื้นที่โครงการ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบายน้ำออกสู่ภายนอกโครงการด้วย ข้อ 22 การระบายน้ำออกจากพื้นที่โครง การต้องระบายในพื้นที่ส่วนกลางให้ได้ทั้งหมด ของปริมาณน้าที่คานวณได้ภายในเวลาไม่เกินสองชั่วโมงเพื่อไปลงในระบบหน่วงน้า ( Retention system ) ตามที่กาหนดไว้ในข้อ 21 ข้อ 23 กรณีที่มีความจำเป็นต้องระบายน้ำออกนอกพื้นที่โครงการด้วยเครื่องสูบน้ำ ให้ดาเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้าที่เดินด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นระบบหลัก และเครื่องสูบน้าซึ่งเดินด้วย เครื่องยนต์เป็นระบบสำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินบริเวณระบบหน่วงน้า ( Retention System ) เพื่อทา การสูบน้าออกจากระบบหน่วงน้ำดังกล่าวและระบายลงสู่ระบบระบายน้าฝนภายนอ กพื้นที่โครงการต่อไป ข้อ 24 การออกแบบบ่อรับน้าฝน ( Retention Pond ) ต้องออกแบบให้สัมพันธ์กับปริมาณน้าฝน ในพื้นที่โครงการและความสามารถในการรองรับน้าฝนของระบบรับน้าฝนภายนอกพื้นที่โครงการ ตลอดจนมีความเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ สะดวกในการบารุงรักษาและมีความ พร้อมสามารถใช้งาน ได้ตลอดเวลา ข้อ 25 หลักเกณฑ์การออกแบบระบบระบายน้ำฝนนอกจากที่กำหนดไว้ในส่วนนี้แล้ว ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรมหรือมาตรฐานวิชาการกาหนดด้วย ส่วนที่ 2 ระบบป้องกันน้ำท่วม ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
ข้อ 26 ถ้าพื้นที่โครงการมีลักษณะเป็นที่ลุ่มและมีน้าท่วมขัง ต้องดาเนินการก่อสร้างคันกั้นน้า ล้อมรอบพื้นที่โครงการ เพื่อป้องกันน้าท่วมและป้องกันน้าจากบริเวณรอบนอกไหลเข้าสู่พื้นที่โครงการ ภายในนิคมอุตสาหกรรม ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) คันกั้นน้าต้องออกแบบโครงสร้างให้มีความแข็งแรงเพียงพอในการต้านทานแรงดันน้ำ จาก ภายนอกโครงการ โดยให้คานึงถึงสภาพน้ำไหลและหรือน้ำซึมผ่านฐานใต้คันกั้นน้ำด้วย (2) คันกั้นน้าต้องออกแบบให้มีความสูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร จากระดับน้าสูงสุด ในรอบ 10 ปี กรณีเป็นพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ให้ใช้ค่าระดับน้าสูงสุดในรอบ 70 ปี โดยเทียบกับ ระดั บน้าทะเลปานกลาง ( MSL ) ข้อ 27 ในกรณีที่มีความจำเป็น กนอ. อาจพิจารณาให้ดำเนินการถมพื้นที่บางส่วน หรือทั้งหมดเพื่อป้องกันเหตุอุทกภัยก็ได้ โดยให้ถมดินสูงกว่าระดับน้าท่วมสูงสุดแต่ต้องไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้ อง ข้อ 28 ต้องจัดให้มีระบบการติดตามสถานการณ์น้าท่วม และการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทันต่อสภาพการณ์ ข้อ 29 หลักเกณฑ์การออกแบบระบบป้องกันน้าท่วม นอกจากที่กาหนดไว้ในหมวดนี้แล้ว ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรมหรือมาตรฐานวิชาการกา หนดด้วย หมวด 5 ระบบน้าประปา ข้อ 30 การคิดคำนวณปริมาณความต้องการน้ำใช้ต่อพื้นที่การใช้สอยในพื้นที่โครงการ ให้ประมาณการจากประเภทของการประกอบกิจการเป็นหลัก รวมถึงคานึงถึงการผลิตอย่างเต็มกาลัง ตลอดจนการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่น ๆ ในอนาคตด้วย ข้อ 31 คุณภาพของน้าประปาที่ใช้ในพื้นที่โครงการต้องได้ค่ามาตรฐานของการประปานครหลวง หรือการประปาส่วนภูมิภาค แล้วแต่กรณี หรือเหมาะสมกับคุณภาพน้าใช้สำหรับกิจกรรมในโครงการนั้น ข้อ 32 นิคมอุตสาหกรรมต้องจัดหาน้าประปาให้เพียงพอต่อการใช้น้าในพื้นที่โ ครงการได้ ตลอดทั้งปี ข้อ 33 การออกแบบระบบจ่ายน้ำประปาให้ดำเนินการให้เหมาะสมกับพื้นที่โครงการ โดยมีแรงดันน้าให้เหมาะสมกับการใช้น้ำ และให้คำนึงถึงการซ่อมบารุงด้วย หมวด 6 ระบบบาบัดน้ำเสีย ข้อ 34 การออกแบบระบบบาบัดน้าเสีย ( Wastewater Treatment Plant ) ของพื้นที่ โครงการให้ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
(1) การคำนวณปริมาณน้ำเสีย ( Designed Flow ) เพื่อการออกแบบให้คำนวณโดยใช้ ค่าร้อยละ 80 ของผลรวมปริมาณน้าใช้และปริมาณน้ำรั่วซึมเข้าเส้นท่อ หรือในกรณีที่มีข้อมูลปริมาณ น้าเสียที่เกิดขึ้นจริง ก็สามารถคานวณจากข้ อมูลดังกล่าวตามความเหมาะสมกับประเภทของกิจการ ในนิคมอุตสาหกรรมนั้นได้ (2) ต้องมีความเหมาะสมตามลักษณะสมบัติของน้าเสียของแต่ละโครงการ และเป็นไป ตามมาตรฐานน้าทิ้งตามที่กฎหมายกาหนด โดยให้มีบ่อเก็บน้าทิ้งหลังการบาบัด ( Holding Pond ) เพื่อเป็นจุดติดตามและตร วจสอบคุณภาพน้าทิ้งก่อนที่จะระบายลงสู่แหล่งน้าสาธารณะ หรือจะนา กลับไปใช้เพื่อประโยชน์อื่นใด และหากจะระบายน้าทิ้งดังกล่าวลงสู่แหล่งน้าสาธารณะจะต้องพิจารณา ศักยภาพการรองรับของแหล่งน้ำสาธารณะนั้นด้วย (3) การบาบัดและกาจัดกากตะกอน ( Sludge Treatment and Dispo sal ) ที่ออกจาก ระบบบาบัดน้าเสียต้องดาเนินการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม หรืออาจส่งกากตะกอนให้แก่ผู้รับบริการ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการถูกต้องตามกฎหมายรับไป ดาเนินการบาบัดและกาจัดก็ได้ ทั้งนี้ การบาบัดและกาจัดดังกล่าวต้ องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อม หมวด 7 ระบบระบายน้าเสีย ข้อ 35 ระบบระบายน้ำเสีย ( Sewerage System ) ต้องดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด โดยให้ระบาย ลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียโดยตร ง (2) น้ำเสียที่เกิดขึ้นในพื้นที่โครงการให้ระบายลงสู่ระบบระบายน้าเสียของนิคมอุตสาหกรรม (3) ท่อระบายน้าเสียต้องเป็นระบบท่อปิด วัสดุท่อต้องเหมาะสมกับประเภทน้าเสีย มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางท่อที่เพียงพอต่อการระบายน้าเสีย ความเร็วการไหล และการตกตะกอน ทั้งนี้ การออกแบบการระบายน้ำเสียให้คานึงถึงหลักเกณฑ์มาตรฐานวิศวกรรมและมาตรฐานความปลอดภัยด้วย (4) ติดตั้งระบบตรวจติดตามวัดผลคุณภาพน้ำต่อเนื่องแบบอัตโนมัติ ( Water Quality Monitoring System ) ณ จุดระบายน้าทิ้งที่ผ่านการบาบัดแล้ว ( Effluent ) ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งรับน้า หรือจุดที่ กนอ. เห็นชอบ โดยจะต้องตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ตามที่ กนอ. กำหนด และ ต้อง สามารถส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไปยัง กนอ. ได้ตลอดเวลา และต้องบันทึก ข้อมูลนั้นได้ในช่วงเวลาที่ กนอ. กำหนดด้วย (5) สามารถพิจารณาปรับปรุงกระบวนการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้มีการนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบาบัด ไปใช้ซ้ำ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ กนอ. กำหนด ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
หมวด 8 ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ข้อ 36 ต้องจัดให้มีระบบสื่อสารโทรคมนาคมภายในพื้นที่โครงการเพื่ออานวยความสะดวก ในการดาเนินงานของผู้ประกอบกิจการหรือผู้ใช้พื้นที่โครงการได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพ ข้อ 37 ต้องจัดให้มีระบบสื่อสารและเครือข่ายที่รองรับระบบ Video Conference และเชื่อมต่อข้อมูลกับ กนอ. ได้ตลอดเวลา หมวด 9 ระบบไฟฟ้า ข้อ 38 การออกแบบระบบไฟฟ้าจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวงหรือตามมาตรฐานวิศวกรรมกำหนด แล้ วแต่กรณี ข้อ 39 สายไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าทุกชนิดที่ใช้กับระบบไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวง กำหนด แล้วแต่กรณี และควรเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดประหยัดพลังงาน ข้อ 40 ให้นำระบบจัดการพลังงานมาใช้สาหรับระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง รวมทั้ง พิจารณาใช้พลังงานทดแทน ( Renewable Energy ) เป็นพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนหรือเสริม ระบบไฟฟ้าที่ใช้เป็นพลังงานหลัก ข้อ 41 ให้ประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่โครงการตามประเภทการประกอบกิจ การ ที่จะมาใช้ไฟฟ้าในพื้นที่โครงการ หมวด 10 ระบบดับเพลิงและระบบป้องกันอุบัติภัย ข้อ 42 การออกแบบระบบท่อน้ำดับเพลิง ตลอดจนอุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้สาหรับการดับเพลิง รวมถึงน้าสารองสาหรับดับเพลิงต้องมีความเหมาะสมตามลักษณะ ประเภท และขนาดของการประกอบกิจการ ในพื้นที่โครงการและต้องได้มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยหรือมาตรฐานทางราชการกาหนด ข้อ 43 จัดให้มีหัวดับเพลิง Hydrant ชนิด Wet Barrel ขนาดไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร โดยมีขนาดของท่อต่อทางน้าเข้าหัวดับเพลิงกับระบบท่อน้าไม่น้อยกว่า 150 มิลลิเมตร และหัวน้ำออก ขนาด 65 มิลลิเมตร พร้อมประตูน้าจานวนสองทาง หัวต่อสายฉีดน้าดับเพลิงต้องเป็นหัวต่อแบบสวมเร็ว ชนิดตัวเมีย พร้อมฝาครอบและโซ่ โดยมีระยะห่างระหว่างท่อดับเพลิงแต่ล ะหัวต้องไม่เกิน 150 เมตร ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
ข้อ 44 ระบบส่งน้าดับเพลิงต้องมีความเหมาะสมและมีแรงดันน้าปลายท่อดับเพลิงที่จุดไกลสุด ไม่น้อยกว่า 1.50 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยใช้ระบบเครื่องสูบน้าเพิ่มแรงดันน้าด้วยก็ได้ ข้อ 45 จัดให้มีรถดับเพลิงที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน NFPA 1901 Standard for Automotive Fire Apparatus และสอดคล้องตามลักษณะ ประเภท และขนาดของการประกอบกิจการ ในนิคมอุตสาหกรรม หากนิคมอุตสาหกรรมใดตั้งอยู่ในท้องที่ที่มีหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่ให้บริการเกี่ยวกับการดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย ให้นิคมอุตสาหกรรมนั้นใช้บริการจากหน่วยงาน ดังกล่าวได้ ข้อ 46 ให้มีมาตรการป้องกันอุบัติภัยและแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ อุบัติเหตุหรือ เหตุฉุกเฉินอื่น โดยให้เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนบุคลากรอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีกำรฝึกซ้อมตามมาตรการดังกล่าวเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หมวด 11 ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ข้อ 47 ในหมวดนี้ “ กากอุตสาหกรรม ” หมายความว่า ขยะหรือของเ สียที่เกิดจากการประกอบกิจการ ใน นิคมอุตสาหกรรมโดยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กากอุตสาหกรรมไ ม่อันตรายซึ่งหมายความถึงขยะ หรือ ของเสียที่ไม่ปนเปื้อน ผสม หรือปะปนกับสารอันตรายตามที่กฎหมายกำหนด และ กากอุตสาหกรรมอันตราย ซึ่งหมายความถึงขยะหรือของเสียที่ปนเปื้อน ผสม หรือปะปนกับ สารอันตรายหรือมีคุณสมบัติที่เป็นอันตรายตามที่กฎหมายกำหนด “ มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ” หมายความว่า ขยะหรือของเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ในนิคมอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกากอุตสาหกรรม ข้อ 48 การคานวณปริมาณกากอุตสาหกรรม มูลฝอย และสิ่งปฏิกูลในนิคมอุตสาหกรรม ให้ใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ให้คำนวณอัตราการเกิดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในพื้นที่พาณิชยกรรมและที่พักอาศัย จำนวนอัตรา 0.80 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน อัตราความหนาแน่นของมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเท่ากับ 0.30 กิโลกรัมต่อลิตร (2) ให้คานวณอัตราการเกิดกากอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมจานวน 18.00 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อวัน อัตราความหนาแน่นของกากอุตสาหกรรมเท่ากับ 0.15 กิโลกรัมต่อลิตร (3) ให้คานวณการเกิดกากอุตสาหกรรมอันตรายเป็นร้อยละห้าของปริมาณกากอุตสาหกรรม ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อุตสาหกรร ม ข้อ 49 ในกรณีที่มีข้อมูลปริมาณกากอุตสาหกรรม มูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นจริง สามารถคานวณจากข้อมูลดังกล่าวให้เหมาะสมกับประเภทของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมนั้นได้ ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
ข้อ 50 การจัดการกากอุตสาหกรรม มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในนิคมอุตสาหกรรมให้ใช้บริการ จากผู้รับบริการกำจัดที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการได้ กรณีจะสร้างระบบกาจัดกากอุตสาหกรรม มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขึ้นเอง ต้องใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับประเภทของกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมำยกำหนด ข้อ 51 ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอื่นใดนอกจากที่กาหนดไว้แล้ว ในหมวดนี้ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรมหรือตามมาตรฐานวิชาการ หรือหน่วยงานราชการกำหนดด้วย หมวด 12 ระบบติดตามตรวจสอบมลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ข้อ 5 2 ให้ดาเนินการติดตามตรวจสอบมลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้ (1) ติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชานาญการของสานักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการว่าจ้างบุคคลที่สามหรือหน่วยงานกลาง ( Third Party ) ที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดาเนินการติดตามผลการปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ให้จัดทารายงานผลการปฏิบัติตา มมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมตาม (1) ตามแนวทาง ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด (3) ติดตามตรวจสอบมลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามกฎหมายหรือมาตรฐานอื่น ที่เกี่ยวข้อง (4) จัดให้มีศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ( Environm ental Monitoring and Control Center : EMCC ) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลด้านมลพิษและคุณภาพ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการอย่างต่อเนื่องเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยศูนย์เฝ้าระวังและควบคุม คุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวต่อ กนอ. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กนอ. กาหนด หมวด 13 ระบบรักษาความปลอดภัย ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
ข้อ 53 จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยในนิคมอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม โดยอย่างน้อย ต้องจัดให้มีมาตรการการรักษาความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดขอบเขตพื้นที่รักษาความปลอดภัยให้ชัดเจนว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ควบคุม เพื่อความสะดวกในการควบคุม ดูแลการเข้า - ออกของบุคคลและยานพาหนะ (2) แสดงแนวเขตโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนประตูรั้ ว หรือประตูเข้า - ออก และต้องจัดให้มีการดูแลสิ่งแสดงแนวเขต และประตูดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ (3) ให้มีแสงสว่างที่เพียงพอในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เช่น บริเวณถนน ทางเข้า - ออก และบริเวณอื่นที่มีความเสี่ยงภัย (4) ให้ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ( CCTV ) ที่ควบคุมได้จากระยะไกล สามารถบันทึกภาพ ได้ตลอดเ วลา และเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ไม่น้อยกว่า 30 วัน ตลอดจนมีระบบการแจ้งเตือนภัย ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยครอบคลุมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เช่น บริเวณถนน ทางเข้า - ออก และ บริเวณอื่นที่มีความเสี่ยงภัย ทั้งนี้ ควรจัดให้มีผู้รับผิดชอบในการควบคุม ดูแลและตรวจสอบ ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดและระบบการแจ้งเตือนภัยดังกล่าวให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลาด้วย (5) ให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อทาหน้าที่ตรวจตราและดูแลรักษาความปลอดภัย ภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม หมวด 14 การออกแบ บอาคารโครงการ ข้อ 54 การออกแบบสถาปัตยกรรม มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การกาหนดขนาดอาคารควรพิจารณาให้สอดคล้องกับกิจกรรม ประเภทอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประเภทอุตสาหกรรมที่สามารถดาเนินการได้ในอาคารโครงการ และไม่ขัดกับกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง (2) การวางตาแหน่ งอาคารควรพิจารณาให้เหมาะสมกับทิศทางเพื่อให้รับแสงธรรมชาติ และลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่าย (3) สัดส่วนอาคารที่ใช้ในการออกแบบควรมีขนาด ดังนี้ (3.1) พื้นที่ ความสูงอาคาร และระยะร่นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (3.2) ความสูงระหว่างชั้นจากพื้นถึงระดับฝ้าเพดาน ( Floor to Ceiling ) ไม่ต่ากว่า 2.50 เมตร เว้นแต่มีความจำเป็นในด้านในวิศวกรรมหรือความปลอดภัย แล้วแต่กรณี (3.3) พื้นที่การประกอบกิจการคว รมีขนา ดที่เหมาะสมกับกิจการนั้น ๆ (3.4) ความกว้างของทางเดินส่วนกลางกว้างไม่น้อยกว่า 2.50 - 3.00 เมตร ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
(3.5) กรณีมีทางเชื่อมระหว่างอาคารที่ไม่อยู่ที่ระดับดิน ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร แต่ไม่เกิน 6.00 เมตร และสูงจากพื้นด้านล่างหรือพื้นถนน จนถึง จุดต่าสุดของโครงสร้าง ทางเดินเชื่อมไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร และโครงสร้างของทางเดินเชื่อมต้องมีความแข็งแรงสามารถ ทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง (3.6) พื้นที่ส่วนกลางของอาคารต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ใช้สอยอาคาร ทั้งหมด (3.7) การออกแบบช่องทางหนีไฟ บันไดหนีไฟหรือช่องทางอพยพของผู้ใช้อาคาร ให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง (3.8) การออกแบบที่จอดรถต้องจัดให้มีที่จอดรถประเภทต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อกิจกรรม ในอาคาร โดยให้พิจารณาถึงทิศทางการจราจร ขนาดและรูปแบบช่องจราจร ความเร็วยานพาหนะ เครื่อง หมายและป้ายต่าง ๆ และต้องสอดคล้องกับกฎหมายและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง (3.9) การออกแบบห้องน้ำ - ห้องส้วมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้อง (4) วัสดุที่นามาใช้ก่อสร้างพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน หรือส่วนประกอบอาคาร ต้องมีความแข็งแรง ป้องกันเสียงดัง ทนไฟ รวมถึงไม่เป็นพิษทั้งในสภาพปกติหรือติดไฟ (5) ให้พิจารณานำแนวคิดอาคารประหยัดพลังงาน อาคารอัจฉริยะ ( Smart Building ) และการออกแบบอารยสถาปัตย์ ( Universal Design ) มาใช้ในการออกแบบอาคาร (6) กรณีที่มีการขนส่งหรือขน ถ่ายสินค้าต้องจัดให้มีสถานที่เฉพาะขนถ่ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้พื้นที่หลักของอาคาร (7) การออกแบบด้านสถาปัตยกรรมอื่นนอกจาก (1) - (6) ให้เป็นไปตามกฎหมายและ หลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ข้อ 55 การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การกาหนดน้าหนักบรรทุกในการออกแบบ ให้เป็นไปตามกิจกรรมการใช้ประโยชน์พื้นที่ ในอาคารตามข้อมูลการประกอบกิจการของผู้ประกอบการหรือตามกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนด ทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง (2) ระบบฐานรากต้องออกแบบให้มีเสถียรภาพในขั้นตอนการก่อส ร้างต้องลดผลกระทบ ต่อสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงให้น้อยที่สุด (3) การออกแบบระบบโครงสร้างหลักอาคารต้องมีความแข็งแรง มีเสถียรภาพที่ดี วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างหาได้ง่ายและสามารถทางานได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ และต้องรองรับกับ ระบบต่าง ๆ ของอาคารได้ดี เหมาะสมกับส ภาพพื้นที่ และใช้งานได้อย่างทนทานตลอดอายุการใช้งาน (4) การออกแบบโครงสร้างต้องต้านทานภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ตามภูมิประเทศ ที่นิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ให้เป็นไปตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 44 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
(5) โครงสร้างหลักต้องมีความสามารถ ในการทนไฟ กรณีเกิดเพลิงไหม้ได้ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตามหลักเกณฑ์มาตรฐานป้องกันอัคคีภัย ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กำหนด ข้อ 56 การออกแบบวิศวกรรมประปาและสุขาภิบาล มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องมีระบบระบายน้ำเสียอุตสาหกรรม ท่อน้ำโสโครก และท่อระบายน้ำฝน โดยต้องแยกจากกันโดยเด็ดขาด (2) ต้องมีถังเก็บน้ำประปาสำรองไว้สำหรับการใช้น้ำ 1 วัน กรณีบำรุงรักษาระบบ และต้องเผื่อปริมาณน้าสำหรับดับเพลิงด้วย (3) ปริมาณการจ่ายน้ำและแรงดันน้าต้องมี ความเหมาะสมกับประเภทกิจกรรมการใช้น้ำ (4) ระบบสุขาภิบาล (4.1) ออกแบบระบบท่อแยกสำหรับท่อน้ำโสโครกและท่อน้ำเสียอุตสาหกรรม เพื่อเข้าสู่ระบบบาบัดน้ำเสียขั้นต้นโดยตรง (4.2) ระบบท่อรวบรวมน้ำเสียจากส่วน Pantry ต้องเข้าสู่ถังดักไขมันก่อนเข้าสู่ ระบบบำบัดน้ำ เสียขั้นต้น (4.3) น้ำที่ออกจากระบบบาบัดน้ำเสียขั้นต้น ให้รวบรวมเข้าสู่ระบบบำบัดน้าเสีย ส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรม (4.4) น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดสู่สาธารณะต้องผ่านเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด (5) ระบบระบายน้าฝน (5.1) ระบบท่อระบายน้ำฝนให้ใช้แบบโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงเป็นหลัก กรณีจาเป็น อาจใช้เครื่องสูบน้าได้ (5.2) ให้ระบายน้าฝนลงสู่ระบบระบายน้าฝนของนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้สัมพันธ์ กับความสามารถในการรับน้ำภายนอกนิคมอุตสาหกรรม การออกแบบระบบดังกล่าวนอกจากที่กาหนดไว้ในวรรค หนึ่งแล้ว ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ ที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ 57 การออกแบบวิศวกรรมไฟฟ้าและสื่อสาร มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟฟ้า การติดตั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ เครื่องไฟฟ้าอื่นต้องเป็นไปตามหลักวิชาการหรือมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กำหนด แล้วแต่กรณี (2) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์เพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรที่ใช้พลังงำนไฟฟ้าตามมาตรฐาน ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง (3) พิจารณาใช้แนวทางการออกแบบอาคารเขียวตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืน ทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย ( TREES ) รวมทั้งแนวคิดอาคาร Smart Building ้ หนา 45 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
(4) ให้ใช้หลอดไฟฟ้าชนิดประหยัดพลังงาน เช่น หลอด LED เป็นต้น (5) การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร ให้ใช้ตามเกณฑ์สมาคมไฟฟ้าแสงสว่าง แห่งประเทศไทย ( TIEA ) และกฎกระทรวงด้านความปลอดภัย ชีวอนามัยและสภาวะแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับแสงสว่าง (6) การออกแบบไฟฟ้าแสงสว่างนอกอาคารต้องมีความเหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน ปลอดภัย และช่วยส่งเสริมภูมิทัศน์โดยรอบอาคาร (7) ต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการใช้งานในนิคมอุตสาหกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการพัฒนาระบบเครือข่ายได้ในอนาคต การออกแบบระบบดังกล่าวนอกจากที่กาหนดไว้ในวรรคหนึ่งแล้ว ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ ที่ เกี่ยวข้องด้วย ข้อ 58 การออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกันอัคคีภัย มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) นาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการออกแบบระบบควบคุมการเข้า - ออกอาคาร ( Access Control System ) และระบบโทรทัศน์วงจรปิด ( CCTV System ) ซึ่งระบบที่มี ความสามา รถในการ จัดการข้อมูลวีดิ โอปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดูย้อนหลังได้ โดยระบบนี้ ต้องครอบคลุมเส้นทางเข้า - ออกอาคารทั้งหมด รวมถึงจุดเสี่ยงต่าง ๆ อย่างเหมาะสม (2) จัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ( Fire Alarm System ) โดยส่งสัญญาณเตือน จากระบบตรวจจับควันหรือระบบตรวจจับความร้อน ต้องตรวจจับจุดต้นกำเนิดของเพลิงไหม้ได้ แบ่งพื้นที่ในการตรวจจับอย่างชัดเจนและต้องเป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐาน NFPA - 72 และ หลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง (3) ระบบดับเพลิงให้ออกแบบตามกฎหมายและมาตรฐานที่ เกี่ยวข้อง โดยอย่างน้อย ต้องออกแบบให้ระบบท่อน้ำประปามีอัตราไหลและแรงดันเพียงพอสำหรับใช้ดับเพลิงเบื้องต้น ด้วยสายฉีดน้ำดับเพลิงและจัดเตรียมหัวจ่ายน้ำดับเพลิงจากท่อน้ำหลักต่อผ่านเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเคลื่อนที่ด้วย (4) จัดให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่า ( Lighting Protection ) (5) จัดให้มีเครื่องกาเนิดไฟฟ้าสำรอง ( Generator ) ภายในอาคาร ต้องรองรับและสนับสนุน ระบบป้องกันอัคคีภัย รวมถึงการอพยพในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้ตามกฎหมายกาหนดและหลักวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง ข้อ 59 การออกแบบระบบปรับอากาศและระบายอากาศต้องประเมินคุณภาพอากาศ ที่จะเกิดขึ้นในนิคมอุตสาหกรรม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ข้อ 60 จัดให้มีระบบจัดการกากอุตสาหกรรมและขยะภายในอาคารตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ 61 การออกแบบระบบลิฟต์ มีหลักเกณฑ์ ดั งต่อไปนี้ (1) ต้องกาหนดน้าหนักบรรทุกให้เหมาะสมกับกิจกรรมในนิคมอุตสาหกรรม ควรคานึงถึง การขนส่งวัสดุอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก และลิฟต์ขนส่งต้องแยกออกจากลิฟต์โดยสาร ้ หนา 46 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566
(2) ต้องกาหนดขนาดห้องลิฟต์และขนาดประตูลิฟต์ให้เหมาะสมกับกิจกรรมภายในอาคาร (3) จัดให้มีลิฟต์ดั บเพลิง ( Fire Man Lift ) โดยเฉพาะ (4) การออกแบบระบบลิฟต์ต้องสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (5) จัดให้มีการบารุงรักษาลิฟต์อย่างสม่าเสมอตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กำหนด ประกาศ ณ วันที่ 21 มิ ถุนายน พ.ศ. 25 6 6 นรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 190 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม 2566