Tue Aug 08 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า (เล่มที่ 3)


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า (เล่มที่ 3)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทากับลูกค้า อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมกา รกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่ อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 46/2562 เรื่อง มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทากับลูกค้า ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 20 (เล่มที่ 3) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า คํานํา มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IFRS 15: Revenue from Contracts with Customers (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทย เท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่ มเติมย่อหน้าที่ 5 และเพิ่ ม ย่อหน้าที่ ค 1 ค มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 97 ข 66 ข 70 และ ค 1 ก และแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สามารถสรุปภาพรวม เหตุผลสําหรับการออกมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน และลักษณะที่สําคัญของหลักการของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ข ภาพรวม 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า กําหนด หลักการสําหรับการรายงานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน เกี่ยวกับ ลักษณะ จํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอนของรายได้ และกระแสเงินสดที่เกิดจากสัญญาของกิจการที่ทํา กับลูกค้า 2 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ให้ถือปฏิบัติกับ งบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อนุญาตให้นําไปใช้ก่อนวันถือปฏิบัติ 3 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ใช้แทน 3.1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง 3.2 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ 3.3 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง โปรแกรม สิทธิพิเศษแก่ลูกค้า 3.4 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง สัญญา สําหรับการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ 3.5 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 18 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง การโอน สินทรัพย์จากลูกค้า และ 3.6 การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ - รายการ แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา เหตุผลสําหรับการออกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 4 รายได้เป็นตัวเลขที่สําคัญสําหรับผู้ใช้งบการเงินในการประเมินผลการดําเนินงานทางการเงิน และฐานะทางการเงินของกิจการ อย่างไรก็ตาม ข้อกําหนดการรับรู้รายได้ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินระหว่างประเทศแตกต่างจากข้อกําหนดตามหลักการบัญชีที่รับรอง ทั่วไปของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินทั้งสองชุดต้องได้รับ การปรับปรุง โดยข้อกําหนดการรับรู้รายได้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับเดิมให้ แนวทางปฏิบัติไว้อย่างจํากัด ซึ่งทําให้เป็นการยากในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน หลัก 2 ฉบับที่เกี่ยวกับการรับรู้รายได้ ได้แก่ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง กับ รายการที่ซับซ้อน นอกจากนี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ ได้ให้แนวทางปฏิบัติไว้อย่างจํากัดเกี่ยวกับเรื่องสําคัญของรายได้หลายเรื่อง เช่น การบัญชี สําหรับข้อตกลงที่มีส่วนประกอบหลายๆ อย่าง ในทางตรงกันข้ามกับหลักการบัญชีที่รับรอง ทั่วไปของประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยแนวคิดการรับรู้รายได้กว้างๆ พร้อมทั้งข้อกําหนด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ค การรับรู้รายได้ต่างๆ เฉพาะอุตสาหกรรมหรือรายการ ซึ่งบางครั้งจะส่งผลให้รายการบัญชี แตกต่างกันแม้จะเป็นรายการที่มีความคล้ายกันในเชิงเศรษฐกิจ 5 ดังนั้นคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) และคณะกรรมการมาตรฐาน การบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกา (FASB) จึงได้ริเริ่มโครงการเพื่อที่จะขยายความให้ชัดเจน ในหลักการสําหรับการรับรู้รายได้ และพัฒนามาตรฐานการรับรู้รายได้ให้เป็นแบบแผนเดียวกัน สําหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ และหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของ ประเทศสหรัฐอเมริกา 5.1 ลดความไม่สอดคล้องและข้อด้อยของข้อกําหนดเดิมของการรับรู้รายได้ 5.2 กําหนดกรอบที่ประยุกต์ได้ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันสําหรับการพิจารณาประเด็นที่ เกี่ยวกับรายได้ 5.3 ปรับปรุงความสามารถเปรียบเทียบได้ของแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ ระหว่าง กิจการ อุตสาหกรรม ประเทศ และตลาดทุน 5.4 ปรับปรุงข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์ มากขึ้น และ 5.5 ลดจํานวนข้อกําหนดที่กิจการต้องอ้างอิงเพื่อทําให้การจัดทํางบการเงินง่ายยิ่งขึ้น 6 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า พร้อมทั้ง หัวข้อ 606 ( Topic 606 ) ที่บรรจุอยู่ใน ประมวลมาตรฐานการบัญชี คณะกรรมการมาตรฐาน การบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกา หมวด มาตรฐานการบัญชี Update 2014-09 เรื่อง รายได้ จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ( หัวข้อ 606) (Accounting Standards Update 2014 - 09 Revenue from Contracts with Customers (Topic 606)) เป็ น ค วาม สําเร็จจากการร่วม มื อของ คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ และคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการบรรลุวัตถุประสงค์และปรับปรุงการรายงานทางการเงิน โดยการกําหนดมาตรฐานการรับรู้รายได้ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ และหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของประเทศสหรัฐอเมริกาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลักษณะที่สําคัญ 7 หลักการสําคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํา กับลูกค้า คือ กิจการรับรู้รายได้เพื่อแสดงการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่สัญญาให้ลูกค้า ในจํานวนเงินที่สะท้อนถึงสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะมีสิทธิได้รับจากการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบริการนั้นๆ กิจการรับรู้รายได้ตามหลักการสําคัญตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 7.1 ขั้นตอนแรก : ระบุสัญญาที่ทํากับลูกค้า - สัญญาเป็นข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตั้งแต่ สองฝ่ายหรือมากกว่าสองฝ่ายที่ทําให้เกิดสิทธิที่สามารถบังคับได้และภาระผูกพันขึ้น ข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญา ที่ทํากับลูกค้า ใช้กับสัญญาแต่ละสัญญาที่ทํากับลูกค้าและเป็นไปตามเกณฑ์ที่ระบุใน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ง มาตรฐาน ในบางกรณีมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จาก สัญญาที่ทํากับลูกค้า กําหนดให้กิจการรวมสัญญาต่างๆ และบันทึกเป็นสัญญาเดียว มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ยังให้ ข้อกําหนดสําหรับวิธีการบัญชีสําหรับการเปลี่ยนแปลงสัญญา (contract modifications) 7.2 ขั้นที่สอง : ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา – สัญญาประกอบด้วยคําสัญญาในการ ส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า หากสินค้าหรือบริการนั้นมีความแตกต่างกัน คําสัญญาต่างๆ นั้นถือเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติที่ต้องบันทึกบัญชีแยกกัน สินค้าหรือ บริการแตกต่างกันหากลูกค้าได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการนั้น หรือต้องใช้ ควบคู่กับทรัพยากรอื่นที่มีพร้อมต่อลูกค้านั้น และคําสัญญาของกิจการในการส่งมอบ สินค้าและบริการนั้นสามารถระบุแยกได้จากข้อตกลงอื่นๆ ในสัญญา 7.3 ขั้นที่สาม : กําหนดราคาของรายการ - ราคาของรายการคือจํานวนเงินของสิ่งตอบแทน ในสัญญาที่กิจการคาดว่าจะมีสิทธิได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนกับการส่งมอบสินค้าหรือ บริการตามคําสัญญาให้ลูกค้า ราคาของรายการสามารถเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนของ สิ่งตอบแทนที่ได้จากลูกค้า แต่บางครั้งราคาของรายการหมายรวมถึงสิ่งตอบแทน ผันแปร หรือสิ่งตอบแทนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในรูปของเงินสด ราคาของรายการได้รวมการ ปรับปรุงผลกระทบของค่าของเงินตามเวลาหากสัญญามีองค์ประกอบการจัดหาเงินที่มี นัยสําคัญ และสิ่งตอบแทนที่ต้องจ่ายให้ลูกค้า ในกรณีที่สิ่งตอบแทนผันแปรได้ กิจการ ต้องประมาณจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่กิจการจะมีสิทธิที่จะได้รับเป็นการ แลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการตามคําสัญญา ประมาณการจํานวนเงินของสิ่งตอบแทน ผันแปรจะรวมเป็นส่วนหนึ่งของราคาของรายการ เฉพาะในกรณีที่มีความเป็นไปได้ ค่อนข้างแน่สูงว่าจะไม่มีการกลับรายการที่มีนัยสําคัญของจํานวนเงินของรายได้ที่รับรู้ สะสม เมื่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสิ่งตอบแทนผันแปรได้หมดไปในภายหลัง 7.4 ขั้นที่สี่ : ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา - ปกติกิจการปันส่วนราคาของรายการไปยังภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญาโดยใช้เกณฑ์ของ ราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกันตามคําสัญญาในสัญญา ถ้าราคาขายแบบเอกเทศไม่สามารถสังเกตได้ กิจการต้องประมาณราคานั้นได้ บางครั้ง ราคาของรายการได้รวมส่วนลด หรือ จํานวนเงินที่ผันแปรได้ของสิ่งตอบแทนโดย ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับส่วนหนึ่งของสัญญา นอกจากนี้ มีข้อกําหนดที่ระบุเมื่อกิจการ ปันส่วนส่วนลด หรือสิ่งตอบแทนผันแปรไปยังภาระที่ต้องปฏิบัติ ( หรือสินค้าหรือ บริการที่แตกต่างกัน ) ตั้งแต่หนึ่งรายการหรือมากกว่าหนึ่งรายการในสัญญาแต่ไม่ใช่ ภาระที่ต้องปฏิบัติทุกรายการ 7.5 ขั้นที่ห้า : รับรู้รายได้เมื่อ ( หรือขณะที่ ) กิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น - กิจการรับรู้รายได้เมื่อกิจการได้ปฏิบัติ ( หรือขณะปฏิบัติ ) ตามภาระที่ต้องปฏิบัติตาม สัญญาแล้วโดยการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่สัญญาให้ลูกค้า ( ซึ่งเป็นเวลาที่ลูกค้าได้ การควบคุมสินค้าหรือบริการนั้น ) จํานวนเงินรายได้ที่รับรู้คือจํานวนเงินที่ปันส่วนให้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 จ ภาระที่ต้องปฏิบัติที่เสร็จสิ้นนั้น ภาระที่ต้องปฏิบัติอาจเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (point in time) ( สําหรับกรณีคําสัญญาการส่งมอบสินค้าทั่วๆ ไปให้ลูกค้า ) หรือ ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง (over time) ( สําหรับกรณีคําสัญญาการส่งมอบบริการทั่วๆ ไปให้ ลูกค้า ) สําหรับกรณีภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง กิจการรับรู้รายได้ ตลอดช่วงเวลาหนึ่งดังกล่าวโดยการเลือกวิธีที่เหมาะสมสําหรับการวัดความก้าวหน้า ของภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ 8 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ได้รวม ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่ทําให้กิจการเปิดเผยข้อมูลที่ครบสมบูรณ์เกี่ยวกับ ลักษณะ จํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอนของรายได้และกระแสเงินสดที่เกิดจาก สัญญาที่ทํากับลูกค้าของกิจการให้แก่ผู้ใช้งบการเงิน กล่าวคือ มาตรฐานการรายงานทาการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า กําหนดให้กิจการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ 8.1 รายได้ที่รับรู้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า รวมถึงการจําแนกรายได้ตามประเภทอย่าง เหมาะสม 8.2 ยอดคงเหลือของสัญญา รวมถึงยอดต้นงวด และปลายงวดของลูกหนี้ สินทรัพย์ตาม สัญญาและหนี้สินตามสัญญา 8.3 ภาระที่ต้องปฏิบัติ รวมถึงโดยปกติเมื่อใดที่กิจการถือว่าได้ปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติ เสร็จสิ้น และราคาของรายการที่ปันส่วนไปยังภาระที่ต้องปฏิบัติที่คงเหลืออยู่ตาม สัญญา 8.4 ดุลยพินิจที่สําคัญ และการเปลี่ยนแปลงดุลยพินิจที่ใช้ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดของ มาตรฐานกับสัญญา และ 8.5 สินทรัพย์ที่รับรู้จากต้นทุนที่ทําให้ได้มาซึ่งสัญญาหรือต้นทุนการปฏิบัติตามสัญญาที่ทํา กับลูกค้า 9 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ และคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของ ประเทศสหรัฐอเมริกาบรรลุเป้าหมายในการมีข้อสรุปตรงกันสําหรับข้อกําหนดทั้งหมดของ การบัญชีสําหรับรายการรายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ดังนั้น มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า และ Topic 606 ของมาตรฐานการบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกามีเนื้อหาสาระเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง เล็กน้อยบางประการ ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ **

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 การบรรลุวัตถุประสงค์ 2 ขอบเขต 5 การรับรู้รายการ 9 การระบุสัญญา 9 การรวมสัญญา 17 การเปลี่ยนแปลงสัญญา 18 การระบุภาระที่ต้องปฏิบัติ 22 การเสร็จสิ้นของภาระที่ต้องปฏิบัติ 31 การวัดมูลค่า 46 การกําหนดราคาของรายการ 47 การปันส่วนของราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติ 73 การเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการ 87 ต้นทุนของสัญญา 91 ต้นทุนส่วนเพิ่มในการได้มาซึ่งสัญญา 91 ต้นทุนการทําให้เสร็จสิ้นตามสัญญา 95 การตัดจําหน่ายและการด้อยค่า 99 การแสดงรายการ 105 การเปิดเผยข้อมูล 110 สัญญาที่ทํากับลูกค้า 113 วิจารณญาณที่มีนัยสําคัญในการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 123 สินทรัพย์ที่รับรู้มาจากต้นทุนที่ทําให้ได้มาซึ่งสัญญาหรือต้นทุนในการทําให้เสร็จสิ้นตาม สัญญาที่ทํากับลูกค้า 127 การผ่อนปรนในทางปฏิบัติ 129 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ข แนวทางปฏิบัติ ค วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า นี้ประกอบด้วย ย่อหน้าที่ 1 ถึง 129 และภาคผนวก ก ถึง ค ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน ข้อความที่พิมพ์ด้วย ตัวอักษรหนา ถือเป็นหลักการสําคัญ คํานิยามในภาคผนวก ก ที่ปรากฏเป็นครั้งแรกในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้จะเป็น ตัวอักษรเอน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องอ่าน โดยคํานึงถึงหลักการสําคัญของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนว ปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชีให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า วัตถุประสงค์ 1 วัตถุประสงค์ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ คือ การกําหนดหลักการที่กิจการ ต้องปฏิบัติเพื่อรายงานข้อมูลที่มีประโยชน์ให้ผู้ใช้งบการเงิน เกี่ยวกับธรรมชาติ จํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอนของ รายได้ และกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจาก สัญญา ที่ทํากับ ลูกค้า การบรรลุวัตถุประสงค์ 2 หลักการสําคัญเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในย่อหน้าที่ 1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้คือกิจการต้องรับรู้รายได้เพื่อแสดงการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่สัญญาให้ลูกค้า ในจํานวนเงินที่สะท้อนถึงสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะมีสิทธิจากการแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือ บริการนั้นๆ 3 กิจการต้องคํานึงถึงเงื่อนไขของสัญญาและข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเมื่อ นํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ไปปฏิบัติ กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับนี้รวมถึงการใช้วิธีปฏิบัติที่ผ่อนปรนที่เหมาะสมในทางปฏิบัติอย่าง สมํ่าเสมอกับสัญญาที่มีลักษณะคล้ายกันและในสภาพแวดล้อมที่คล้ายกัน 4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ระบุวิธีการบัญชีสําหรับสัญญาแต่ละสัญญาที่ทํากับลูกค้า อย่างไรก็ตาม การผ่อนปรนในทางปฏิบัติ กิจการอาจนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ไปใช้กับพอร์ตโฟลิโอของสัญญา ( หรือพอร์ตโฟลิโอ ภาระที่ต้องปฏิบัติ ) ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกัน หากกิจการคาดได้อย่างสมเหตุสมผลว่า ผลกระทบต่องบการเงินของการใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้กับพอร์ตโฟลิโอของสัญญาไม่แตกต่างอย่างเป็นสาระสําคัญจากการใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับสัญญาแต่ละสัญญาที่ทํากับลูกค้า ( หรือภาระที่ต้อง ปฏิบัติแต่ละภาระ ) ในพอร์ตโฟลิโอของสัญญานั้น เมื่อกิจการบันทึกรายการตามพอร์ตโฟลิโอ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 ของสัญญา กิจการต้องใช้การประมาณการและข้อสมมติที่สะท้อนถึงขนาดและส่วนประกอบของ พอร์ตโฟลิโอของสัญญานี้ ขอบเขต 5 กิจการต้องใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับสัญญาที่ทํากับลูกค้าทุกฉบับ ยกเว้น 5.1 สัญญาเช่าที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า 5.2 สัญญาที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย อย่างไรก็ตาม กิจการอาจเลือกถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้กับสัญญาประกันภัยที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการ โดยมีค่าธรรมเนียมคงที่ตามย่อหน้าที่ 8 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 5.3 เครื่องมือทางการเงินและสิทธิหรือภาระผูกพันตามสัญญาอื่นที่อยู่ในขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน มาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 เรื่อง การร่วมการงาน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงิน เฉพาะกิจการ และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและ การร่วมค้า และ 5.4 การแลกเปลี่ยนรายการที่ไม่เป็นตัวเงินระหว่างกิจการที่อยู่ในสายธุรกิจเดียวกันเพื่อ สนับสนุนรายการขายให้กับลูกค้าหรือลูกค้าในอนาคต ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้จะไม่ใช้กับสัญญาระหว่างบริษัทนํ้ามันสองบริษัทที่ตกลง แลกเปลี่ยนนํ้ามันกัน เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าตามความต้องการให้ทันเวลาในสถานที่ ที่แตกต่างกันที่ระบุไว้ 6 กิจการต้องใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับสัญญา ( นอกเหนือจากสัญญาที่ กล่าวถึงในย่อหน้าที่ 5) เฉพาะที่คู่สัญญาในสัญญาเป็นลูกค้าเท่านั้น ลูกค้าคือฝ่ายที่ทําสัญญากับ กิจการเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เป็นผลจากกิจกรรมตามปกติธุรกิจของกิจการ โดยแลกเปลี่ยนกับสิ่งตอบแทนที่กิจการได้รับ คู่สัญญาในสัญญาจะไม่ถือเป็นลูกค้า ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าคู่สัญญาได้ทําสัญญากับกิจการที่จะร่วมในกิจกรรมหรือกระบวนการซึ่งคู่สัญญาร่วมรับ ความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจกรรมหรือกระบวนการนั้นๆ ( เช่น การพัฒนาสินทรัพย์ ในข้อตกลงการร่วมการจัดการ ) แทนการได้รับผลผลิตจากกิจกรรมตามปกติของกิจการ 7 สัญญาที่ทํากับลูกค้าอาจมีบางส่วนที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ และบางส่วนที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 5 7.1 ถ้ามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นระบุวิธีแยกและ / หรือวิธีวัดมูลค่าเริ่มแรก ของส่วนต่างๆ ตั้งแต่หนึ่งส่วนหรือมากกว่าหนึ่งส่วนในสัญญาไว้ กิจการต้องใช้ ข้อกําหนดการแยกและ / หรือการวัดมูลค่าครั้งแรกตามมาตรฐานการรายงาน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 ทางการเงินเหล่านั้นก่อนได้ กิจการต้องแยกจํานวนเงินของส่วน ( หรือส่วนต่างๆ ) ของ สัญญาที่วัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นตั้งแต่เริ่มแรกออกจาก ราคาของรายการ และต้องใช้ย่อหน้าที่ 73 ถึง 86 ในการปันส่วนจํานวนเงินของราคา ของรายการที่เหลืออยู่ ( ถ้ามี ) ให้แก่ภาระที่ต้องปฏิบัติแต่ละภาระที่อยู่ในขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้และให้แก่ส่วนอื่นของสัญญาที่ระบุไว้ ในย่อหน้าที่ 7.2 7.2 ถ้ามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นไม่ระบุวิธีแยกและ / หรือวิธีวัดมูลค่า เริ่มแรกของส่วนต่างๆ ตั้งแต่หนึ่งส่วนหรือมากกว่าหนึ่งส่วนในสัญญาไว้ กิจการต้องใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในการแยกและ / หรือวัดมูลค่าเริ่มแรกของ ส่วน ( หรือส่วนต่างๆ ) ในสัญญา 8 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ระบุวิธีการบัญชีสําหรับต้นทุนส่วนเพิ่มของการได้มาซึ่ง สัญญาที่ทํากับลูกค้า และต้นทุนที่เกิดขึ้นในการทําให้เสร็จสิ้นตามสัญญาที่ทํากับลูกค้า ถ้าต้นทุน เหล่านั้นไม่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ( ดูย่อหน้าที่ 91 ถึง 104) กิจการต้องใช้ย่อหน้าเหล่านั้นกับต้นทุนที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับสัญญาที่ทํากับลูกค้า ( หรือ ส่วนของสัญญานั้น ) เฉพาะที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ การรับรู้รายการ การระบุสัญญา 9 กิจการต้องปฏิบัติกับสัญญาที่ทํากับลูกค้าที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้เฉพาะเมื่อรายการเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ทุกข้อ 9.1 คู่สัญญาได้อนุมัติสัญญาแล้ว ( เป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยวาจาหรือประเพณีปฏิบัติ อื่นทางธุรกิจ ) และมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต้องทําตามภาระผูกพันในสัญญา 9.2 กิจการสามารถระบุสิทธิของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ที่จะส่งมอบ 9.3 กิจการสามารถระบุเงื่อนไขการชําระสิ่งตอบแทนสําหรับสินค้าหรือบริการที่จะ ส่งมอบ 9.4 สัญญามีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ ( กล่าวคือ ความเสี่ยง จังหวะเวลา และจํานวนเงินของ กระแสเงินสดในอนาคตของกิจการที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงเนื่องจากผลของ สัญญา ) และ 9.5 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะเรียกเก็บสิ่งตอบแทนที่กิจการมีสิทธิที่จะ ได้รับเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการที่จะส่งมอบให้ลูกค้า ในการประเมินว่ากิจการมีความสามารถในการเรียกเก็บจํานวนเงินของสิ่งตอบแทน ว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่หรือไม่ กิจการต้องพิจารณาเฉพาะความสามารถ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 และความตั้งใจของลูกค้าในการจ่ายจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนเมื่อครบกําหนดชําระ จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่กิจการมีสิทธิจะได้รับอาจน้อยกว่าราคาที่ระบุใน สัญญาได้ หากสิ่งตอบแทนมีความผันแปรได้เพราะกิจการอาจจะเสนอการลดราคา ให้กับลูกค้า ( ดูย่อหน้าที่ 52) 10 สัญญาคือข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปที่ก่อให้เกิดสิทธิและภาระผูกพันที่ใช้ บังคับได้ ความสามารถในการใช้บังคับได้ของสิทธิและภาระผูกพันเป็นประเด็นเชิงกฎหมาย สัญญาอาจเป็นลายลักษณ์อักษร วาจา หรือประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจ วิธีปฏิบัติและกระบวนการ สําหรับการทําสัญญาที่ทํากับลูกค้ามีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่ละอุตสาหกรรม และ ในแต่ละกิจการ หรือ อาจแตกต่างกันแม้ภายในกิจการเดียวกัน ( ตัวอย่างเช่น สัญญาอาจจะ ขึ้นอยู่กับประเภทของลูกค้า หรือ ธรรมชาติของสินค้าหรือบริการที่ได้ตกลงกัน ) กิจการต้อง พิจารณาวิธีปฏิบัติและกระบวนการต่างๆ ในการทําสัญญากับลูกค้า เพื่อกําหนดว่าข้อตกลงกับ ลูกค้าจะก่อให้เกิดสิทธิและภาระผูกพันที่ใช้บังคับได้หรือไม่และเมื่อใด 11 สัญญาที่ทํากับลูกค้าบางสัญญาอาจไม่มีกําหนดระยะเวลาที่แน่นอน และคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สามารถยุติหรือแก้ไขสัญญาได้ตลอดเวลา บางสัญญาอาจจะต่อสัญญารอบใหม่ออกไปได้โดย อัตโนมัติตามรอบระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา กิจการต้องใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้เฉพาะกับรอบเวลาของสัญญาที่คู่สัญญามีสิทธิและภาระผูกพันที่สามารถบังคับได้ ณ ปัจจุบัน 12 เพื่อวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ สัญญาจะไม่เกิดขึ้น ถ้าคู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีสิทธิที่บังคับได้ฝ่ายเดียวในการยุติสัญญาที่ยังไม่ได้ดําเนินการใดๆ ได้โดย ไม่ต้องมีการจ่ายค่าชดเชยให้กับคู่สัญญาอีกฝ่าย ( หรือหลายฝ่าย ) สัญญาที่ยังไม่ได้ดําเนินการ ใดๆ ต้องมีลักษณะตามเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อต่อไปนี้ 12.1 กิจการยังไม่ส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่ตกลงให้ลูกค้า และ 12.2 กิจการยังไม่ได้รับ และยังไม่มีสิทธิที่จะได้รับสิ่งตอบแทนใดๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน กับสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ 13 หากสัญญาที่ทํากับลูกค้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในย่อหน้าที่ 9 ณ วันเริ่มต้นของสัญญา กิจการต้องไม่ประเมินเกณฑ์เหล่านั้นซํ้าหากไม่มีข้อบ่งชี้ของการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญของ ข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากความสามารถของลูกค้าในการจ่ายชําระสิ่ง ตอบแทนลดลงอย่างมีนัยสําคัญ กิจการต้องประเมินอีกครั้งถึงความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ใน การได้รับสิ่งตอบแทนที่กิจการมีสิทธิเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการส่วนที่เหลือ ที่จะส่งมอบให้ลูกค้า 14 หากสัญญาที่ทํากับลูกค้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 9 กิจการต้องประเมินสัญญา อย่างต่อเนื่องในภายหลังเพื่อกําหนดว่าสัญญาดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 9 หรือไม่ 15 หากสัญญาที่ทํากับลูกค้าไม่เป็นตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 9 และกิจการได้รับสิ่งตอบแทนจาก ลูกค้า กิจการต้องรับรู้สิ่งตอบแทนที่ได้รับเป็นรายได้ ก็ต่อเมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ต่อไปนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 15.1 กิจการไม่มีภาระผูกพันคงค้างที่จะต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า และกิจการ ได้รับสิ่งตอบแทนที่ลูกค้าสัญญาทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด และลูกค้าไม่มีสิทธิเรียกคืน สิ่งตอบแทนดังกล่าวได้ หรือ 15.2 สัญญาได้ยุติลงและลูกค้าไม่สามารถเรียกคืนสิ่งตอบแทนที่กิจการได้รับมาแล้วได้ 16 กิจการต้องรับรู้สิ่งตอบแทนที่ได้รับจากลูกค้าเป็นหนี้สินจนกว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ในย่อหน้าที่ 15 เกิดขึ้น หรือจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 9 ในภายหลัง ( ดูย่อหน้าที่ 14) หนี้สินที่รับรู้แสดงภาระผูกพันของกิจการในการส่งมอบสินค้าหรือบริการในอนาคต หรือภาระผูกพัน ในการคืนสิ่งตอบแทนที่เคยได้รับมา ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ สัญญา แต่ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม หนี้สินต้องวัดมูลค่าด้วยจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจาก ลูกค้า การรวมสัญญา 17 กิจการต้องรวมสัญญาตั้งแต่สองสัญญาขึ้นไปที่ทํากับลูกค้ารายเดียวกัน ( หรือกับบุคคลหรือ กิจการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ) ในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และปฏิบัติกับสัญญาเหล่านั้น เสมือนเป็นสัญญาเดียวกันหากเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างน้อยหนึ่งข้อต่อไปนี้ 17.1 สัญญาดังกล่าวได้ถูกต่อรองร่วมกันด้วยวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์วัตถุประสงค์เดียวกัน 17.2 จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่จะจ่ายในสัญ ญำฉบับหนึ่งขึ้นอยู่กับราคาหรือ ผลการดําเนินงานของสัญญาอื่น หรือ 17.3 สินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ในสัญญาเหล่านั้น ( หรือสินค้าหรือบริการบาง รายการที่ตกลงในสัญญาแต่ละฉบับ ) เป็นภาระเดียวกันที่ต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 22 ถึง 30 การเปลี่ยนแปลงสัญญา 18 การเปลี่ยนแปลงสัญญา คือการเปลี่ยนแปลงขอบเขตหรือราคา ( หรือทั้งขอบเขตและราคา ) ของ สัญญาที่คู่สัญญาตกลงกัน ในบางอุตสาหกรรมและบางประเทศ การเปลี่ยนแปลงสัญญาอาจถูก เรียกว่า คําสั่งให้มีการเปลี่ยนแปลง การแก้ไข หรือ การแก้ไขเพิ่มเติม การเปลี่ยนแปลงสัญญา เกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาในสัญญาตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดสิทธิและภาระผูกพันใหม่ที่ สามารถบังคับได้ หรือเปลี่ยนแปลงสิทธิและภาระผูกพันที่สามารถบังคับได้ที่มีอยู่เดิม การตกลง ยินยอมเพื่อเปลี่ยนแปลงสัญญาอาจจะจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยวาจาหรือโดยนัยด้วย ประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจ หากคู่สัญญาไม่ได้มีการตกลงที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญา กิจการยังต้อง ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับสัญญาที่มีอยู่เดิมต่อไปจนกว่าการเปลี่ยนแปลง สัญญาได้รับการยินยอม 19 การเปลี่ยนแปลงสัญญาอาจเกิดขึ้นแล้วแม้ว่าคู่สัญญายังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ขอบเขตหรือราคาตามสัญญา ( หรือทั้งขอบเขตและราคา ) หรือคู่สัญญาได้ตกลงเปลี่ยนแปลง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 ขอบเขตของสัญญาแล้วแต่ยังไม่มีการกําหนดราคาที่จะเปลี่ยนแปลงไป ในการพิจารณาว่าสิทธิ และภาระผูกพันใดที่เกิดขึ้นใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปนั้นสามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ กิจการต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมทั้งหมด รวมถึงเงื่อนไขของสัญญา และ หลักฐานอื่น หากคู่สัญญาได้ตกลงเปลี่ยนแปลงขอบเขตของสัญญา แต่ยังไม่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงราคาที่เกี่ยวข้อง กิจการต้องประมาณการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการที่ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสัญญาของประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปร ตามย่อหน้าที่ 50 ถึง 54 และการจํากัดการประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปรตามย่อหน้าที่ 56 ถึง 58 20 กิจการต้องปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงสัญญาเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาเดิม หาก เป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 20.1 ขอบเขตของสัญญาเพิ่มขึ้นเพราะมีสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ที่ต่างพวกเพิ่มขึ้น ( ตามย่อหน้าที่ 26 ถึง 30) และ 20.2 ราคาตามสัญญาเพิ่มขึ้นตามจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่สะท้อนถึง ราคาขายแบบ เอกเทศ (stand-alone selling prices) ของสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ที่เพิ่ม ขึ้นมา และการปรับราคาที่เหมาะสมได้สะท้อนสภาพแวดล้อมของสัญญานั้น ตัวอย่างเช่น กิจการอาจปรับราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นนั้น เพื่อเป็นการให้ส่วนลดกับลูกค้า เพราะกิจการไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการขายเพิ่มขึ้น ซึ่ง อาจจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการขายสินค้าหรือบริการที่คล้ายกันให้กับลูกค้ารายใหม่ 21 ถ้าการเปลี่ยนแปลงสัญญาไม่ได้ปฏิบัติเป็นสัญญาที่แยกต่างหากตามย่อหน้าที่ 20 กิจการต้อง ปฏิบัติกับสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ที่ยังไม่ส่งมอบ ณ วันเปลี่ยนแปลงสัญญา ( เรียกว่า สินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้คงค้าง ) ตามวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้ที่สามารถนํามาใช้ได้ 21.1 กิจการต้องปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงสัญญาเสมือนว่ามีการยุติสัญญาปัจจุบัน และมี สัญญาใหม่เกิดขึ้น หากสินค้าหรือบริการที่เหลืออยู่ต่างพวกจากสินค้าหรือบริการที่ได้ ส่งมอบก่อนหรือในวันเปลี่ยนแปลงสัญญา จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ปันส่วนไปยัง ภาระที่ต้องปฏิบัติที่คงค้าง ( หรือไปยังสินค้าหรือบริการต่างพวกที่คงค้างในภาระที่ ต้องปฏิบัติเดียวกันตามย่อหน้าที่ 22.2) คือผลรวมของ 21.1.1 สิ่งตอบแทนที่ลูกค้าตกลงไว้ ( รวมไปถึงจํานวนเงินที่ได้รับจากลูกค้าแล้ว ) ที่รวมในประมาณการราคาของรายการที่ยังไม่ได้รับรู้เป็นรายได้ และ 21.1.2 สิ่งตอบแทนที่ตกลงตามที่มีการเปลี่ยนแปลงสัญญา 21.2 กิจการต้องปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงสัญญา เสมือนการเปลี่ยนแปลงสัญญาเป็นส่วน หนึ่งของสัญญาปัจจุบันหากสินค้าหรือบริการที่เหลืออยู่ไม่ต่างพวก โดยให้ถือเป็นส่วน หนึ่งของภาระที่ต้องปฏิบัติเดียวกันที่เสร็จสิ้นเพียงบางส่วน ณ วันเปลี่ยนแปลงสัญญา นั้น ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสัญญาต่อราคาของรายการและการวัด ความก้าวหน้าของความสําเร็จของภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ ให้รับรู้เป็น รายการการปรับปรุงรายได้ ( การเพิ่มขึ้นหรือการลดลงของรายได้ ) ณ วันเปลี่ยนแปลง สัญญา ( กล่าวคือ การปรับปรุงรายได้ด้วยผลกระทบสะสมถึงปัจจุบัน )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 21.3 หากสินค้าหรือบริการที่คงค้าง เป็นผลรวมของรายการในย่อหน้าที่ 21.1 และ 21.2 กิจการต้องปฏิบัติกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังไม่เสร็จ สิ้น ( รวมถึงภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังไม่เสร็จสิ้นเป็นบางส่วน ) ในสัญญาที่เปลี่ยนแปลง ไปในลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของย่อหน้านี้ การระบุภาระที่ต้องปฏิบัติ 22 ณ วันเริ่มต้นของสัญญา กิจการต้องประเมินสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ในสัญญาที่ทํา กับลูกค้าและต้องระบุเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงแต่ละข้อที่จะส่งมอบให้ลูกค้าด้วย ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 22.1 สินค้าหรือบริการ ( หรือสินค้าหรือบริการที่ขายแบบรวมกันไป ) ต่างพวก หรือ 22.2 ชุดของสินค้าหรือบริการต่างพวกแต่มีลักษณะเชิงเนื้อหาโดยส่วนใหญ่เหมือนกัน และมีรูปแบบการส่งมอบให้ลูกค้าเหมือนกัน ( ดูย่อหน้าที่ 23) 23 ชุดของสินค้าหรือบริการต่างพวกแต่มีรูปแบบการส่งมอบให้ลูกค้าเหมือนกันเมื่อเป็นไปตาม เงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 23.1 สินค้าหรือบริการต่างพวกแต่ละรายการในชุดของสินค้าหรือบริการที่กิจการตกลงจะส่ง มอบให้ลูกค้าเป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 35 ที่ถือเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จ สิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง และ 23.2 วิธีที่ใช้วัดความก้าวหน้าของความสําเร็จของภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ ของกิจการในการส่งมอบสินค้าหรือบริการต่างพวกแต่ละรายการตามย่อหน้าที่ 39 ถึง 40 ในชุดของสินค้าหรือบริการต่างพวกนั้นเป็นวิธีการเดียวกัน ข้อตกลงในสัญญาที่ทํากับลูกค้า 24 สัญญาที่ทํากับลูกค้าโดยทั่วไปจะระบุชัดเจนถึงสินค้าหรือบริการที่กิจการตกลงจะส่งมอบให้แก่ ลูกค้า อย่างไรก็ตาม ภาระที่ต้องปฏิบัติที่ระบุในสัญญาที่ทํากับลูกค้าอาจไม่จํากัดเพียงสินค้าหรือ บริการที่ระบุชัดเจนไว้ตามสัญญา ทั้งนี้ เพราะสัญญาที่ทํากับลูกค้าอาจรวมถึงข้อตกลงโดยนัยที่ เป็นไปตามประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจของกิจการ นโยบายหรือคําแถลงที่เผยแพร่ หาก ณ เวลาที่ ทําสัญญา ข้อตกลงเหล่านั้นสร้างความคาดหวังที่ผูกพันให้กับลูกค้าว่ากิจการจะส่งมอบสินค้า หรือบริการนั้นให้แก่ลูกค้า 25 ภาระที่ต้องปฏิบัติไม่รวมกิจกรรมที่กิจการต้องทําให้เสร็จสิ้นตามสัญญา เว้นแต่กิจกรรมเหล่านั้น เป็นการส่งมอบสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้า ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการอาจจําเป็นต้องปฏิบัติงานที่ เกี่ยวกับการจัดการเพื่อการจัดทําสัญญา การปฏิบัติงานเหล่านั้นไม่ใช่การส่งมอบบริการให้ลูกค้า เมื่อกิจการทํางานเหล่านั้น ดังนั้น กิจกรรมเหล่านั้นไม่ใช่ภาระที่ต้องปฏิบัติ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 สินค้าหรือบริการต่างพวก 26 สินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ขึ้นอยู่กับสัญญา อาจรวมถึง ( แต่ไม่จํากัดเพียง ) รายการ ต่อไปนี้ 26.1 การขายสินค้าที่กิจการผลิต ( ตัวอย่างเช่น สินค้าของผู้ผลิต ) 26.2 การขายต่อสินค้าที่กิจการซื้อมา ( ตัวอย่างเช่น สินค้าของผู้ค้าปลีก ) 26.3 การขายต่อสิทธิต่อสินค้าหรือบริการที่กิจการซื้อมา ( ตัวอย่างเช่น การนําตั๋วไปขายต่อ โดยกิจการที่กระทําการเป็นตัวการ ตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ ข 34 ถึง ข 38) 26.4 การปฏิบัติงานตามที่ตกลงในสัญญาให้กับลูกค้า 26.5 การให้บริการในลักษณะการแสดงความพร้อมในการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ( ตัวอย่างเช่น การบริการปรับปรุงซอฟต์แวร์ ที่ยังไม่ระบุเวลาและเมื่อซอฟต์แวร์ ดังกล่าวได้รับการพัฒนาไป ) หรือผลิตสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าพร้อมใช้เมื่อลูกค้า ตัดสินใจจะใช้สินค้าหรือบริการ 26.6 การให้บริการโดยการจัดการให้บุคคลอื่นเป็นผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้า ( ตัวอย่างเช่น การกระทําการเป็นตัวแทนให้กับบุคคลอื่น ตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ ข 34 ถึง ข 38) 26.7 การให้สิทธิต่อสินค้าหรือบริการที่จะได้จัดหาในอนาคต ซึ่งลูกค้าสามารถนําไปขายต่อ หรือมอบให้ลูกค้าของลูกค้าได้ ( ตัวอย่างเช่น กิจการที่ขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ค้าปลีก โดยตกลงที่จะส่งมอบสินค้าหรือบริการเพิ่มเติมให้แก่บุคคลที่ซื้อผลิตภัณฑ์จาก ผู้ค้าปลีกนั้น ) 26.8 การสร้าง การผลิต หรือ การพัฒนาสินทรัพย์ ในนามของลูกค้า 26.9 การให้ใบอนุญาต ( ดูย่อหน้าที่ ข 52 ถึง ข 63 ข ) และ 26.10 การให้สิทธิที่จะซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม ( เมื่อสิทธิเหล่านั้นทําให้ลูกค้ามีสิทธิที่มี สาระสําคัญตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ ข 39 ถึง ข 43) 27 สินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้กับลูกค้าถือว่าต่างพวก หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 27.1 ลูกค้าได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการด้วยสินค้าหรือบริการนั้นๆ หรือได้ ประโยชน์โดยใช้ควบคู่ไปกับทรัพยากรอื่นที่มีพร้อมทุกเมื่อต่อลูกค้านั้น ( กล่าวคือ สินค้าหรือบริการนั้นมีความต่างพวก ) และ 27.2 ข้อตกลงของกิจการที่จะส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าสามารถระบุได้ว่าแยกจาก ข้อตกลงอื่นในสัญญา ( กล่าวคือ ข้อตกลงที่จะส่งมอบสินค้าหรือบริการนั้นมี ความต่างพวกตามเนื้อหาของสัญญา ) 28 ลูกค้าสามารถได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการตามย่อหน้าที่ 27.1 หากสินค้าหรือบริการนั้น สามารถนําไปใช้ บริโภค ขายในจํานวนเงินที่มากกว่ามูลค่าเศษซาก หรือถือไว้เพื่อให้เกิดประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจอื่น สินค้าหรือบริการบางอย่างลูกค้าอาจจะได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการ รายการนั้นได้ ในขณะที่สินค้าหรือบริการบางอย่างลูกค้าอาจจะได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 บริการนั้นได้ก็ต่อเมื่อต้องใช้ควบคู่กับทรัพยากรอื่นที่มีพร้อมทุกเมื่อ ทรัพยากรอื่นที่มีพร้อม ทุกเมื่อคือสินค้าหรือบริการที่ถูกขายแยก ( โดยกิจการหรือกิจการอื่น ) หรือทรัพยากรที่ลูกค้า ได้รับจากกิจการแล้ว ( รวมถึงสินค้าหรือบริการที่กิจการจะได้ส่งมอบให้ลูกค้าในอนาคตตาม สัญญา ) หรือได้รับจากรายการหรือเหตุการณ์อื่น ปัจจัยต่างๆ อาจแสดงถึงหลักฐานที่ลูกค้า สามารถได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการไม่ว่าจากสินค้าหรือบริการนั้นหรือควบคู่กับ ทรัพยากรอื่นที่มีพร้อมทุกเมื่อ ตัวอย่างเช่น ข้อเท็จจริงที่ว่า กิจการขายสินค้าหรือบริการแยกเป็น ปกติเป็นข้อบ่งชี้ว่าลูกค้าสามารถได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการรายการนั้นหรือควบคู่กับ ทรัพยากรอื่นที่มีพร้อมทุกเมื่อ 29 ในการประเมินว่าข้อตกลงของกิจการที่จะส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าสามารถระบุแยกได้ ตามย่อหน้าที่ 27.2 หรือไม่ วัตถุประสงค์คือเพื่อกําหนดว่าธรรมชาติของข้อตกลงตามเนื้อหา ของสัญญาเป็นการส่งมอบแต่ละรายการของสินค้าหรือบริการเหล่านั้นทีละรายการหรือไม่ หรือ เป็นการส่งมอบแบบรวมรายการโดยมีสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะส่งมอบเป็นปัจจัยการผลิต ปัจจัยที่บ่งชี้ว่าข้อตกลงตั้งแต่สองข้อหรือมากกว่าที่จะส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้านั้นไม่ สามารถระบุแยกได้ รวมถึงแต่ไม่จํากัดเพียงรายการดังต่อไปนี้ 29.1 กิจการให้บริการที่มีนัยสําคัญในการบูรณาการสินค้าหรือบริการนั้นกับสินค้าหรือ บริการอื่นที่ตกลงในสัญญาเข้าเป็นกลุ่มสินค้าหรือบริการที่ขายแบบรวมกันไปตามที่ ลูกค้าทําสัญญาไว้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจการใช้สินค้าหรือบริการนั้นเป็นปัจจัยการผลิต หรือส่งมอบผลผลิตร่วมตามที่ลูกค้าระบุ ผลผลิตร่วมอาจรวมขั้นตอน ส่วนประกอบ หรือหน่วยมากกว่าหนึ่งรายการ 29.2 สินค้าหรือบริการรายการใดรายการหนึ่งหรือมากกว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับแต่ง หรือถูกเปลี่ยนแปลงหรือปรับแต่งอย่างมีนัยสําคัญ โดยสินค้าหรือบริการอื่นรายการใด รายการหนึ่งหรือมากกว่าที่ตกลงในสัญญา 29.3 สินค้าหรือบริการมีการพึ่งพากันหรือเกี่ยวข้องกันอย่างมาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง สินค้า หรือบริการแต่ละรายการได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญจากสินค้าหรือบริการอื่น รายการใดรายการหนึ่งหรือมากกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญา ตัวอย่างเช่น ในบางกรณี สินค้าหรือบริการตั้งแต่สองรายการหรือมากกว่า มีผลกระทบต่อกันและกันอย่างมี นัยสําคัญ เนื่องจากกิจการอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงที่จะส่งมอบสินค้าหรือ บริการแต่ละรายการได้อย่างเป็นอิสระจากกัน 30 หากสินค้าหรือบริการตามที่ตกลงไม่ต่างพวก กิจการต้องรวมสินค้าหรือบริการนั้นกับสินค้าหรือ บริการอื่นที่ตกลงจนกว่ากิจการจะระบุกลุ่มสินค้าหรือบริการที่ขายแบบรวมกันไปที่ต่างพวกได้ ในบางกรณี กิจการรับรู้สินค้าหรือบริการทั้งหมดที่ตกลงในสัญญาเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติภาระ เดียว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 การเสร็จสิ้นของภาระที่ต้องปฏิบัติ 31 กิจการต้องรับรู้รายได้เมื่อกิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น โดยการส่งมอบ สินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ ( เช่น สินทรัพย์ ) ให้ลูกค้า จะถือว่ามีการส่งมอบสินทรัพย์ ก็ต่อเมื่อลูกค้ามีอํานาจควบคุมสินทรัพย์นั้น 32 สําหรับภาระที่ต้องปฏิบัติแต่ละรายการที่ระบุตามย่อหน้าที่ 22 ถึง 30 กิจการต้องกําหนด ณ วันเริ่มต้นของสัญญาว่าภาระที่ต้องปฏิบัติดังกล่าวเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตลอด ช่วงเวลาหนึ่ง ( ตามย่อหน้าที่ 35 ถึง 37) หรือ เป็นภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลา หนึ่ง ( ตามย่อหน้าที่ 38) โดยหากภาระที่ต้องปฏิบัตินั้นไม่ใช่ภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตลอด ช่วงเวลาหนึ่ง ภาระที่ต้องปฏิบัตินั้นจะเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง 33 สินค้าและบริการคือสินทรัพย์แม้ในขณะช่วงเวลาหนึ่งเมื่อสินค้าและบริการนั้นได้รับและใช้ ( เช่นเดียวกับในกรณีของบริการต่างๆ ) อํานาจควบคุมสินทรัพย์ หมายถึง ความสามารถในการ สั่งการการใช้งาน และการได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่จากสินทรัพย์ อํานาจควบคุมรวมถึง ความสามารถในการกีดกันกิจการอื่นจากการสั่งการการใช้งานและการได้รับประโยชน์จาก สินทรัพย์นั้น ประโยชน์ของสินทรัพย์คือกระแสเงินสด ( กระแสรับหรือการประหยัดกระแสจ่าย ) ที่สามารถได้รับทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะต่างๆ เช่น 33.1 การใช้สินทรัพย์เพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการ ( รวมถึงบริการสาธารณะ ) 33.2 การใช้สินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์อื่น 33.3 การใช้สินทรัพย์เพื่อชําระหนี้สิน หรือลดค่าใช้จ่าย 33.4 การขายหรือการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ 33.5 การใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกันเงินกู้ และ 33.6 การถือครองสินทรัพย์ 34 ในการประเมินว่าลูกค้าได้รับอํานาจควบคุมสินทรัพย์หรือไม่ กิจการต้องพิจารณาข้อตกลงใดๆ ที่จะซื้อคืนสินทรัพย์ ( ดูย่อหน้าที่ ข 64 ถึง ข 76) ภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง 35 กิจการส่งมอบอํานาจการควบคุมสินค้าหรือบริการตลอดช่วงเวลาหนึ่ง และถือว่าภาระที่ต้อง ปฏิบัติเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะรับรู้รายได้ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ หากเป็นไปตาม เงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 35.1 ลูกค้าได้รับและใช้ประโยชน์จากการปฏิบัติงานพร้อมกันของกิจการทันทีที่กิจการได้ ปฏิบัติงาน ( ดูย่อหน้าที่ ข 3 ถึง ข 4) 35.2 การปฏิบัติงานของกิจการสร้างหรือทําให้สินทรัพย์ของลูกค้าเพิ่มขึ้น ( ตัวอย่างเช่น งานระหว่างทํา ) ที่ลูกค้ามีอํานาจควบคุมเมื่อสินทรัพย์เกิดขึ้นหรือเพิ่มขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ ข 5) หรือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 35.3 การปฏิบัติงานของกิจการไม่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ที่กิจการมีทางเลือกอื่นในการนําไปใช้ ( ดูย่อหน้าที่ 36) และกิจการมีสิทธิที่สามารถบังคับให้จ่ายชําระสําหรับการปฏิบัติงาน ที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบัน ( ดูย่อหน้าที่ 37) 36 สินทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของกิจการไม่มีทางเลือกการใช้ประโยชน์แก่กิจการหากกิจการ นั้นได้ถูกจํากัดการสั่งการใช้สินทรัพย์ตามสัญญาจากการใช้สินทรัพย์เพื่อประโยชน์อื่น ระหว่าง การสร้างหรือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์นั้น หรือจํากัดในทางปฏิบัติจากการสั่งการลักษณะการใช้อื่น ของสินทรัพย์ที่เสร็จ การประเมินว่ากิจการมีทางเลือกอื่นในการใช้สินทรัพย์ทํา ณ วันเริ่มต้นของ สัญญา หลังจากวันเริ่มต้นของสัญญา กิจการต้องไม่ปรับปรุงการประเมินทางเลือกอื่นในการใช้ สินทรัพย์หากคู่สัญญาในสัญญาไม่ยินยอมการเปลี่ยนแปลงสัญญาที่เปลี่ยนแปลงภาระที่ต้อง ปฏิบัติไปอย่างมาก ย่อหน้าที่ ข 6 ถึง ข 8 ให้แนวทางสําหรับการประเมินว่ากิจการมีทางเลือกอื่น ในการใช้สินทรัพย์นั้นหรือไม่ 37 กิจการต้องพิจารณาเงื่อนไขของสัญญาและกฎหมายต่างๆ ที่ใช้กับสัญญานั้นในการประเมินว่า กิจการมีสิทธิที่สามารถบังคับให้ได้รับการจ่ายชําระสําหรับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบัน ตามย่อหน้าที่ 35.3 หรือไม่ สิทธิที่ได้รับการจ่ายชําระการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบัน ไม่จําเป็นต้องเป็นจํานวนเงินที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาของสัญญากิจการต้องมี สิทธิต่อจํานวนเงินที่อย่างน้อยที่สุดจะชดเชยให้กิจการสําหรับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบัน หากลูกค้าหรือคู่สัญญายุติสัญญาด้วยเหตุผลอื่นนอกจากการที่กิจการไม่ปฏิบัติงานตามที่ตกลง ย่อหน้าที่ ข 9 ถึง ข 13 เป็นแนวทางสําหรับการประเมินความมีอยู่และความสามารถบังคับใช้ของ สิทธิที่ให้จ่ายชําระ และสิทธิดังกล่าวจะทําให้กิจการได้รับการชําระเงินสําหรับการปฏิบัติงานที่ เสร็จสิ้นถึงปัจจุบันหรือไม่ ภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง 38 หากภาระที่ต้องปฏิบัติไม่ใช่ภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง ตามย่อหน้าที่ 35 ถึง 37 ภาระที่ต้องปฏิบัติดังกล่าวเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ในการ ระบุว่า ณ เวลาใดลูกค้าได้รับอํานาจควบคุมสินทรัพย์ที่ตกลงกัน และภาระที่ต้องปฏิบัติได้ เสร็จสิ้นลง กิจการต้องพิจารณาข้อกําหนดสําหรับอํานาจการควบคุมในย่อหน้าที่ 31 ถึง 34 นอกจากนี้ กิจการต้องพิจารณาข้อบ่งชี้ของการโอนอํานาจการควบคุมซึ่งรวมถึง ( แต่ไม่จํากัด เพียง ) รายการต่อไปนี้ 38.1 กิจการมีสิทธิในปัจจุบันที่จะได้รับการชําระเงินสําหรับสินทรัพย์ หากลูกค้ามีภาระ ผูกพันในปัจจุบันในการจ่ายชําระเงินสําหรับสินทรัพย์ ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจแสดงว่า ลูกค้าได้รับความสามารถสั่งการการใช้ และได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดส่วนใหญ่ จากสินทรัพย์เป็นการแลกเปลี่ยน 38.2 ลูกค้ามีกรรมสิทธิ์ทางกฎหมายในสินทรัพย์ กรรมสิทธิ์ทางกฎหมายอาจบ่งชี้ว่าคู่สัญญา ฝ่ายใดสามารถสั่งการการใช้และได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดส่วนใหญ่จาก

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 สินทรัพย์ หรือกีดกันกิจการอื่นในการเข้าถึงประโยชน์เหล่านั้น ดังนั้น การโอน กรรมสิทธิ์ทางกฎหมายในสินทรัพย์อาจจะแสดงว่าลูกค้าได้รับอํานาจควบคุม สินทรัพย์นั้น หากกิจการยังคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ทางกฎหมายในสินทรัพย์เพียงเพื่อ ป้องกันความล้มเหลวที่ลูกค้าจะไม่จ่ายเงิน สิทธิเหล่านั้นของกิจการไม่สามารถทําให้ ลูกค้าไม่มีอํานาจควบคุมสินทรัพย์ 38.3 กิจการได้ส่งมอบการครอบครองทางกายภาพของสินทรัพย์ การที่ลูกค้าครอบครอง ทางกายภาพของสินทรัพย์ อาจแสดงว่า ลูกค้าสามารถสั่งการการใช้และได้รับ ประโยชน์ที่เหลืออยู่เกือบทั้งหมดจากสินทรัพย์ หรือกีดกันกิจการอื่นในการเข้าถึง ประโยชน์เหล่านั้น อย่างไรก็ตาม การครอบครองทางกายภาพของสินทรัพย์อาจจะไม่ เกิดขึ้นพร้อมกับอํานาจควบคุมสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น ในข้อตกลงการซื้อคืนหรือ ข้อตกลงฝากขายบางข้อตกลง ลูกค้าหรือผู้รับฝากขายอาจครอบครองทางกายภาพของ สินทรัพย์โดยที่กิจการมีอํานาจควบคุมสินทรัพย์นั้น ในทางตรงกันข้าม ในสัญญาที่มี การขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า กิจการอาจครอบครองทางกายภาพของ สินทรัพย์ในขณะที่ลูกค้ามีอํานาจควบคุมสินทรัพย์นั้น ย่อหน้าที่ ข 64 ถึง ข 76 ข 77 ถึง ข 78 และ ข 79 ถึง ข 82 ให้แนวทางการบัญชีสําหรับข้อตกลงการซื้อคืน ข้อตกลงฝาก ขายและข้อตกลงที่มีการขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า ตามลําดับ 38.4 ลูกค้ามีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสําคัญของความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ การโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสําคัญของความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้ ลูกค้าอาจแสดงว่าลูกค้าสามารถสั่งการการใช้และได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ทั้งหมด ส่วนใหญ่จากสินทรัพย์ หรือกีดกันกิจการอื่นในการเข้าถึงประโยชน์เหล่านั้น อย่างไรก็ตาม ในการประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสําคัญของความเป็น เจ้าของในสินทรัพย์ที่ตกลง กิจการต้องไม่รวมความเสี่ยงใดก็ตามที่เกิดขึ้นกับภาระที่ ต้องปฏิบัติที่แยกจาก ภาระที่ต้องปฏิบัติในการส่งมอบสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น กิจการ อาจได้โอนอํานาจควบคุมสินทรัพย์ไปยังลูกค้า แต่ยังไม่ปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติ เพิ่มเติมเพื่อให้บริการการบํารุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่ส่งมอบ 38.5 ลูกค้าได้ยอมรับสินทรัพย์แล้ว กรณีลูกค้ายอมรับสินทรัพย์อาจแสดงว่าลูกค้าสามารถ สั่งการการใช้และได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดส่วนใหญ่จากสินทรัพย์ ในการ ประเมินผลกระทบของการที่ลูกค้าได้ยอมรับสินทรัพย์ตามสัญญาเพื่อพิจารณาว่า เมื่อใดอํานาจควบคุมสินทรัพย์ได้ถูกโอนไป กิจการต้องพิจารณาแนวทางในย่อหน้าที่ ข 83 ถึง ข 86 การวัดระดับความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ 39 กิจการต้องรับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลาหนึ่งสําหรับภาระแต่ละรายการที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้น ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง ตามย่อหน้าที่ 35 ถึง 37 โดยต้องมีการวัดระดับความก้าวหน้าการปฏิบัติ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 ตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ วัตถุประสงค์ของการวัดระดับความก้าวหน้าของ การปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นคือการแสดงภาพผลการปฏิบัติงานของกิจการใน การส่งมอบอํานาจควบคุมสินค้าหรือบริการตามที่ตกลงให้ลูกค้า ( กล่าวคือ ภาระที่ต้องปฏิบัติ ของกิจการเสร็จสิ้น ) 40 กิจการต้องใช้วิธีเดียวในการวัดระดับความก้าวหน้าของภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้นตลอด ช่วงเวลาหนึ่งแต่ละรายการ และกิจการต้องใช้วิธีนั้นอย่างสมํ่าเสมอกับภาระที่ต้องปฏิบัติที่ คล้ายกันและในสภาพแวดล้อมที่คล้ายกัน ณ สิ้นรอบระยะเวลารายงานแต่ละรอบ กิจการต้องวัด ระดับความก้าวหน้าของภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง วิธีวัดระดับความก้าวหน้า 41 วิธีที่เหมาะสมของการวัดระดับความก้าวหน้ารวมวิธีผลลัพธ์และวิธีปัจจัยนําเข้า ย่อหน้าที่ ข 14 ถึง ข 19 ให้แนวทางสําหรับการใช้วิธีผลลัพธ์และวิธีปัจจัยนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของ การปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ ในการกําหนดวิธีที่เหมาะสมในการวัด ความก้าวหน้า กิจการต้องพิจารณาธรรมชาติของสินค้าหรือบริการที่กิจการสัญญาจะส่งมอบให้ ลูกค้า 42 ในการใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในการวัดความก้าวหน้า กิจการต้องไม่รวมการวัดความก้าวหน้าจากสินค้า หรือบริการใดก็ตามที่กิจการไม่ได้โอนอํานาจการควบคุมให้ลูกค้า ในทางตรงกันข้าม กิจการต้อง รวมการวัดความก้าวหน้าสินค้าหรือบริการใดก็ตามที่กิจการส่งมอบอํานาจการควบคุมให้ลูกค้า เมื่อปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น 43 เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปตลอดช่วงเวลาหนึ่ง กิจการต้องปรับปรุงการวัดค่า ความก้าวหน้าให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ของภาระที่ต้องปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงค่า วัดความก้าวหน้าต้องปฏิบัติเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ค่าวัดความก้าวหน้าที่สมเหตุสมผล 44 กิจการต้องรับรู้รายได้สําหรับภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง เฉพาะเมื่อกิจการ สามารถวัดความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ได้อย่าง สมเหตุสมผล กิจการจะไม่สามารถวัดความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติ ให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลหากกิจการไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่จําเป็นต้องใช้กับ วิธีที่เหมาะสมของการวัดความก้าวหน้า 45 ในบางสภาพแวดล้อม ( ตัวอย่างเช่น ในช่วงเริ่มต้นสัญญา ) กิจการอาจไม่สามารถวัดผลลัพธ์ของ ภาระที่ต้องปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม แต่กิจการคาดว่าจะได้รับคืนต้นทุนที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ ตามภาระที่ต้องปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว กิจการต้องรับรู้รายได้เพียงต้นทุนที่เกิดขึ้น จนกว่ากิจการจะสามารถวัดผลลัพธ์ของภาระที่ต้องปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 การวัดมูลค่า 46 เมื่อภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น กิจการต้องรับรู้รายได้ตามจํานวนเงินที่เป็นราคาของรายการ ( ซึ่งไม่รวมประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปรที่ยังต้องไม่รับรู้ตามย่อหน้าที่ 56 ถึง 58) ตามส่วนที่ได้ปันให้กับภาระที่ต้องปฏิบัตินั้น การกําหนดราคาของรายการ 47 กิจการต้องคํานึงถึงข้อกําหนดในสัญญาและธรรมเนียมปฏิบัติของธุรกิจในการกําหนดราคา ของรายการ โดยราคาของรายการคือจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนซึ่งกิจการคาดว่าจะมีสิทธิ ได้รับเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการโอนสินค้าหรือบริการตามที่ได้ตกลงกันให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ไม่รวมถึงจํานวนเงินที่เรียกเก็บแทนบุคคลที่สาม ( ตัวอย่างเช่น ภาษีขาย ) สิ่งตอบแทน ที่ระบุในสัญญาที่ทํากับลูกค้าอาจเป็นจํานวนเงินที่แน่นอน จํานวนผันแปร หรือทั้งสองแบบ 48 ธรรมชาติ ระยะเวลา และจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ลูกค้าตกลงไว้กระทบต่อการประมาณการ ราคาของรายการ โดยในการกําหนดราคาของรายการกิจการต้องคํานึงถึงผลของทุกข้อดังต่อไปนี้ 48.1 สิ่งตอบแทนผันแปร ( ดูย่อหน้าที่ 50 ถึง 55 และ 59) 48.2 การจํากัดประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปร ( ดูย่อหน้าที่ 56 ถึง 58) 48 . 3 การมีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญในสัญญา ( ดูย่อหน้าที่ 60 ถึง 65) 48.4 สิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสด ( ดูย่อหน้าที่ 66 ถึง 69) และ 48.5 สิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้กับลูกค้า ( ดูย่อหน้าที่ 70 ถึง 72) 49 เพื่อวัตถุประสงค์ในการกําหนดราคาของรายการ กิจการต้องสมมติว่าจะมีการโอนสินค้าหรือ บริการเป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกับลูกค้า และสัญญาดังกล่าวจะไม่ถูกยกเลิก จัดทําใหม่ หรือมี การเปลี่ยนแปลงสัญญา สิ่งตอบแทนผันแปร 50 หากสิ่งตอบแทนตามที่ตกลงไว้ในสัญญาได้รวมสิ่งตอบแทนที่มีจํานวนเงินผันแปร กิจการต้อง ประมาณการจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่กิจการจะมีสิทธิได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนกับการโอน สินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้กับลูกค้าตามที่ได้ตกลงกัน 51 จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนอาจผันแปรเนื่องจาก การให้ส่วนลด การให้ส่วนลดภายหลัง เงินคืน การหักหนี้ การลดราคา เงินจูงใจ เงินตอบแทนพิเศษที่กําหนดจากผลการปฏิบัติงาน ค่าปรับ หรือรายการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ สิ่งตอบแทนผันแปรที่สัญญาไว้สามารถ เกิดขึ้นในกรณีที่กิจการมีสิทธิที่จะได้รับสิ่งตอบแทนโดยจํานวนเงินขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเช่น จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนจะผันแปรไปในกรณีที่ มีการขายผลิตภัณฑ์ไปแต่ลูกค้ามีสิทธิที่จะคืนผลิตภัณฑ์ หรือในกรณีที่มีการตกลงที่จะจ่าย

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 สิ่งตอบแทนที่กําหนดเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนที่สัญญาไว้เพื่อเป็นเงินตอบแทนพิเศษสําหรับ การปฏิบัติงานได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด 52 การผันแปรของสิ่งตอบแทนที่ลูกค้าสัญญาจะจ่ายอาจไม่ได้ระบุในสัญญาไว้อย่างชัดแจ้ง ถึงแม้จะ ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา กรณีต่างๆ เหล่านี้อาจทําให้สิ่งตอบแทนมีส่วนที่ผันแปรได้ 52.1 ลูกค้ามีมูลเหตุให้คาดได้ว่ากิจการจะยอมรับจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนน้อยกว่าราคา ที่ระบุในสัญญา จากการที่กิจการมีธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจเช่นนั้น หรือนโยบาย หรือแถลงการณ์ที่ประกาศออกไปเช่นนั้นว่ากิจการจะลดราคา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบังคับ ด้านกฎหมาย แนวปฏิบัติในอุตสาหกรรม หรือลูกค้าในการที่จะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า ส่วนลด การให้ส่วนลดภายหลัง เงินคืน หรือ การหักหนี้ 52.2 ข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมอื่นที่บ่งชี้ว่าความตั้งใจของกิจการเมื่อเข้าทําสัญญาว่าจะ มีการเสนอการลดราคาให้กับลูกค้า 53 กิจการต้องประมาณจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนผันแปรโดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้ โดยขึ้นอยู่กับว่า วิธีใดที่กิจการคาดว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าในการประมาณการจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ กิจการจะมีสิทธิได้รับ 53.1 มูลค่าที่คาดหวัง – มูลค่าที่คาดหวังคือผลรวมของจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนในช่วง ของจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่เป็นไปได้ถ่วงนํ้าหนักด้วยความน่าจะเป็น มูลค่าที่ คาดหวังอาจเป็นประมาณการที่เหมาะสมของจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนผันแปร หาก กิจการมีสัญญาจํานวนมากที่มีคุณลักษณะเหมือนกัน 53.2 จํานวนเงินที่มีความเป็นไปได้สูงสุด – จํานวนเงินที่มีความเป็นไปได้สูงสุดคือ จํานวนเงินที่มีความเป็นไปได้สูงสุดเพียงจํานวนเดียวในช่วงของจํานวนเงินของ สิ่งตอบแทนที่เป็นไปได้ ( กล่าวคือ ผลลัพธ์ของสิ่งตอบแทนที่เป็นไปได้มากที่สุด จํานวนเดียวภายใต้สัญญานั้น ) มูลค่าที่มีความเป็นไปได้สูงสุดอาจเป็นประมาณการที่ เหมาะสมของจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนผันแปร หากสัญญาดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ เป็นไปได้เพียงสองกรณี ( ตัวอย่างเช่น กรณีที่กิจการจะได้รับหรือไม่ได้รับเงิน ตอบแทนพิเศษที่กําหนดจากผลการปฏิบัติงาน ) 54 กิจการต้องเลือกใช้วิธีการประมาณการผลกระทบของความไม่แน่นอนของจํานวนเงินของ สิ่งตอบแทนผันแปรที่กิจการจะมีสิทธิได้รับเพียงวิธีเดียวอย่างสมํ่าเสมอตลอดอายุของสัญญา นอกจากนี้ กิจการต้องพิจารณาข้อมูลที่กิจการมีอยู่ทั้งหมดอย่างสมเหตุสมผล ( ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลในอดีต ปัจจุบันและการคาดการณ์ในอนาคต ) และต้องระบุจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ เป็นไปได้ขึ้นมาอย่างสมเหตุสมผล ข้อมูลดังกล่าวที่กิจการใช้ในการประมาณการจํานวนเงินของ สิ่งตอบแทนผันแปรโดยทั่วไปจะเหมือนกับข้อมูลที่ฝ่ายบริหารของกิจการใช้ในช่วงการนําเสนอ ราคาต่อลูกค้า และข้อมูลที่ใช้ในการคํานวณราคาของสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 หนี้สินที่เกิดจากการจะจ่ายชําระคืน 55 กิจการต้องรับรู้หนี้สินที่เกิดจากการจะจ่ายชําระคืนค่าตอบแทน หากกิจการได้รับสิ่งตอบแทน จากลูกค้าและคาดได้ว่ากิจการจะจ่ายชําระคืนสิ่งตอบแทนนั้นบางส่วนหรือทั้งหมดให้แก่ลูกค้า โดยหนี้สินดังกล่าวจะวัดมูลค่าจากจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ได้รับแล้ว ( หรือค้างรับ ) ที่กิจการคาดได้ว่าจะไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของสิ่งตอบแทนนั้น ( กล่าวคือ จํานวนเงินที่ไม่ได้รวมอยู่ใน ราคาของรายการ ) ในกรณีที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องปรับปรุงหนี้สินที่เกิดจากการจะจ่ายชําระคืน ( รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในราคาของ รายการ และ หนี้สินที่เกิดจากสัญญา ) ในการปฏิบัติกับหนี้สินที่เกิดจากการจะจ่ายชําระคืนที่ เกี่ยวข้องกับรายการขายที่ลูกค้ามีสิทธิคืนสินค้าหรือบริการ กิจการต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติใน ย่อหน้าที่ ข 20 ถึง ข 27 การจํากัดประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปร 56 กิจการต้องรวมประมาณการจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนผันแปรบางส่วนหรือทั้งหมดตามที่กล่าว ในย่อหน้าที่ 53 เป็นส่วนหนึ่งของราคาของรายการ เฉพาะในกรณีที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ในระดับสูงมากว่าจะไม่มีการกลับรายการที่มีนัยสําคัญของจํานวนเงินของรายได้ที่รับรู้สะสม เมื่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสิ่งตอบแทนผันแปรได้หมดไปในภายหลัง 57 ในการประเมินว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากหรือไม่ที่จะไม่มีการกลับรายการที่ มีนัยสําคัญของจํานวนเงินของรายได้ที่รับรู้สะสม เมื่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสิ่งตอบแทน ผันแปรได้หมดไปในภายหลัง กิจการต้องพิจารณาทั้งโอกาสและจํานวนที่จะต้องกลับรายการ ปัจจัยที่จะทําให้โอกาสในการเกิดการกลับรายการหรือจํานวนที่จะต้องกลับรายการสูงขึ้น อาจรวมถึงแต่ไม่จํากัดเพียงกรณีดังต่อไปนี้ 57.1 จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนนั้นอ่อนไหวสูงกับปัจจัยที่อยู่นอกเหนืออิทธิพลของกิจการ ปัจจัยเหล่านั้นอาจรวมปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับความผันผวนของตลาด การใช้วิจารณญาณ หรือการดําเนินการของบุคคลที่สาม สภาพอากาศ และความเสี่ยงสูงของความล้าสมัย ของสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ 57.2 ความไม่แน่นอนของจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนอาจต้องใช้ระยะเวลานานกว่า ความไม่แน่นอนนั้นจะหมดไป 57.3 กิจการมีประสบการณ์ ( หรือหลักฐานอื่น ) อย่างจํากัดสําหรับสัญญาที่มีลักษณะ คล้ายกัน หรือจากประสบการณ์ดังกล่าว ( หรือหลักฐานอื่น ) ยังไม่เพียงพอที่จะใช้ใน การประมาณการมูลค่า 57.4 กิจการมีธรรมเนียมปฏิบัติในการเสนอให้ส่วนลดราคาที่อยู่ในช่วงกว้างหรือ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระเงินสําหรับสัญญาที่คล้ายกันหรือในสภาพแวดล้อมที่ คล้ายกัน 57.5 สัญญามีจํานวนมาก และจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่เป็นไปได้ที่อยู่ในช่วงกว้าง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 58 กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ข 63 ในการปฏิบัติกับจํานวนสิ่งตอบแทนที่อยู่ในรูปเงินค่าสิทธิ ที่กําหนดจากยอดขาย หรือจํานวนการใช้งาน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการให้สิทธิที่เกี่ยวข้อง กับทรัพย์สินทางปัญญา การนําสิ่งตอบแทนผันแปรมาประเมินใหม่ 59 ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องทําการประมาณการราคาของรายการใหม่ ( รวมทั้ง การประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปรที่ติดข้อจํากัดและไม่ควรรับรู้ ) เพื่อให้เป็นตัวแทนอัน เที่ยงธรรมกับสภาพแวดล้อม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมในระหว่างรอบระยะเวลารายงาน ในการปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงราคาของ รายการกิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 87 ถึง 90 การมีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญในสัญญา 60 ในการกําหนดราคาของรายการ กิจการต้องปรับปรุงจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่สัญญาไว้ด้วย ผลกระทบของมูลค่าของเงินตามเวลาหากระยะเวลาในการจ่ายชําระที่ตกลงกันระหว่างคู่สัญญา ( โดยชัดแจ้งหรือโดยนัย ) ทําให้เกิดประโยชน์ที่สําคัญในรูปแบบของการจัดหาเงินให้กับลูกค้า หรือกิจการในการโอนสินค้าหรือบริการ หากเป็นเช่นว่าแล้ว สัญญาดังกล่าวมีองค์ประกอบของ การจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญรวมอยู่ด้วย โดยการจัดหาเงินดังกล่าวอาจไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งใน สัญญา หรือต้องตีความตามนัยจากข้อกําหนดการจ่ายชําระที่ตกลงกันระหว่างคู่สัญญา 61 วัตถุประสงค์ในการที่กิจการต้องปรับปรุงจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่สัญญาไว้ด้วยผลกระทบ ขององค์ประกอบการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญ คือเพื่อให้กิจการรับรู้รายได้ที่จํานวนเงินซึ่งสะท้อน ราคาเฉพาะส่วนที่เทียบเท่ากรณีลูกค้าต้องจ่ายชําระค่าสินค้าหรือบริการเป็นเงินสด ( กล่าวคือ ราคาขายเงินสด ) กิจการต้องคํานึงถึงข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาว่า สัญญาดังกล่าวมีองค์ประกอบของการจัดหาเงิน และองค์ประกอบดังกล่าวมีนัยสําคัญต่อสัญญา หรือไม่ ดังนี้ 61.1 มีความแตกต่างกันหรือไม่ ( ถ้ามี ) ระหว่างจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่สัญญาไว้และ ราคาขายเงินสดของสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ และ 61.2 ผลกระทบรวมจากสองปัจจัยนี้ 61.2.1 ประมาณการระยะเวลานับตั้งแต่วันที่กิจการได้โอนสินค้าหรือบริการที่ได้ ตกลงไว้ให้แก่ลูกค้าและวันที่ลูกค้าจ่ายชําระสําหรับสินค้าหรือบริการนั้น และ 61.2.2 อัตราดอกเบี้ยในตลาดที่เกี่ยวข้อง 62 อย่างไรก็ตาม ในการประเมินว่าสัญญาที่ทํากับลูกค้ามีองค์ประกอบการจัดหาเงินตามย่อหน้าที่ 61 สัญญาจะไม่มีองค์ประกอบการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญเมื่อรายการมีลักษณะดังนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 62.1 ลูกค้าได้จ่ายชําระค่าสินค้าหรือบริการล่วงหน้าแล้ว และจังหวะเวลาในการโอนสินค้า หรือบริการดังกล่าวขึ้นอยู่กับดุลพินิจของลูกค้า 62.2 จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่มีสาระสําคัญที่ลูกค้าสัญญาว่าจะจ่ายเป็นจํานวนที่ผันแปร โดยที่จํานวนเงินของหรือจังหวะเวลาในการจ่ายชําระสิ่งตอบแทนดังกล่าวขึ้นอยู่กับการ เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์บางอย่างในอนาคตที่นอกเหนือการควบคุมของ ลูกค้าหรือของกิจการ ( ตัวอย่างเช่น สิ่งตอบแทนนั้นอยู่ในรูปของเงินค่าสิทธิที่กําหนด จากยอดขาย ) 62.3 ความแตกต่าง ระหว่างสิ่งตอบแทนที่สัญญาไว้และราคาขายเงินสดของสินค้าหรือ บริการ ( ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 61) เกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การจัดหาเงินให้กับ ลูกค้าหรือกิจการ และความแตกต่างของจํานวนเงินดังกล่าวเป็นสัดส่วนตามสาเหตุที่ ทําให้เกิดความแตกต่างนั้น ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขการชําระเงินอาจให้ความคุ้มครอง กิจการหรือลูกค้าจากกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันภายใต้ สัญญาได้ 63 เพื่อเป็นการผ่อนปรนในทางปฏิบัติ กิจการไม่จําเป็นต้องปรับปรุงจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ สัญญาไว้สําหรับผลกระทบของการมีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญที่รวมอยู่ ด้วย หาก ณ วันที่เริ่มต้นสัญญา กิจการคาดได้ว่าระยะเวลานับตั้งแต่วันที่กิจการได้โอนสินค้า หรือบริการที่ได้ตกลงไว้ให้แก่ลูกค้าและวันที่ลูกค้าจ่ายชําระสินค้าหรือบริการคือหนึ่งปีหรือ ภายในหนึ่งปี 64 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 61 ในการปรับปรุงจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ สัญญาไว้สําหรับส่วนขององค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญ กิจการต้องใช้อัตรา คิดลดที่สะท้อนรายการการกู้ยืมเงินระหว่างกิจการและลูกค้าเป็นรายการต่างหาก ณ วันที่เริ่มต้น สัญญา อัตราคิดลดดังกล่าวต้องสะท้อนลักษณะความเสี่ยงด้านสินเชื่อของฝ่ายที่ได้รับการจัดหา เงินให้ รวมทั้งหลักประกันหรือหลักทรัพย์ที่ใช้คํ้าประกันโดยลูกค้าหรือกิจการ รวมทั้งสินทรัพย์ที่ โอนภายใต้สัญญา กิจการอาจสามารถระบุอัตราคิดลดโดยใช้อัตราที่ใช้คิดลดจํานวนเงินตามที่ ระบุในสัญญาของสิ่งตอบแทนที่สัญญาไว้ให้ได้เท่ากับราคาในกรณีที่ลูกค้าจ่ายชําระค่าสินค้าและ บริการเป็นเงินสดเมื่อมีการโอนสินค้าหรือบริการ ภายหลังจากวันที่ทําสัญญาแล้ว กิจการต้องไม่ ปรับปรุงอัตราคิดลดเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด หรือสภาพแวดล้อม ภายหลังวันที่เริ่มต้นสัญญา ( เช่น การเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงด้านสินเชื่อของลูกค้าเนื่องจากการ ประเมินใหม่ ) 65 กิจการต้องนําเสนอผลกระทบของการจัดหาเงิน ( ดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยจ่าย ) แยกต่างหาก จากรายได้ที่รับรู้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้าในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ย จ่ายดังกล่าวให้รับรู้ได้เท่ากับจํานวนที่อนุญาตให้บันทึกเป็น สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา ( หรือ ลูกหนี้ ) หรือหนี้สินที่เกิดจากสัญญา

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 สิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสด 66 ในการกําหนดราคาของรายการสําหรับสัญญาที่ลูกค้าตกลงจะจ่ายชําระเป็นสิ่งตอบแทนที่ไม่เป็น ตัวเงิน กิจการต้องวัดมูลค่าสิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสดที่โอนให้ ( หรือที่สัญญาว่าจะโอนให้ ) ดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม 67 หากกิจการไม่สามารถประมาณการมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสดได้อย่าง สมเหตุสมผล กิจการต้องวัดมูลค่าสิ่งตอบแทนดังกล่าวโดยอ้างอิงถึงราคาขายแบบเอกเทศของ สินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้กับลูกค้านั้น ( หรือกลุ่มของลูกค้าประเภทเดียวกันนั้น ) 68 มูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสดอาจมีความผันแปร เพราะรูปแบบและลักษณะของ สิ่งตอบแทนดังกล่าว ( ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของราคาของหุ้นที่กิจการมีสิทธิจะได้รับจาก ลูกค้า ) ในกรณีที่มูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสดมีการผันแปรที่เกิดจากปัจจัยอื่นที่ ไม่ใช่เพราะรูปแบบและลักษณะของสิ่งตอบแทนดังกล่าว ( ตัวอย่างเช่น มูลค่ายุติธรรมผันแปร เพราะผลการปฏิบัติงานของกิจการ ) กิจการต้องปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 56 ถึง 58 69 หากลูกค้านําสินค้าหรือบริการ ( ตัวอย่างเช่น วัสดุ อุปกรณ์ หรือ แรงงาน ) มาใช้หรือให้ใช้เพื่อ สนับสนุนให้กิจการปฏิบัติงานตามสัญญา กิจการต้องประเมินว่ากิจการได้ควบคุมสินค้าหรือ บริการที่ลูกค้านํามาหรือไม่ หากกิจการเป็นผู้ควบคุมสินค้าหรือบริการนั้น กิจการต้องปฏิบัติกับ สินค้าหรือบริการที่ลูกค้านํามาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสด สิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้กับลูกค้า 70 สิ่งตอบแทนที่กิจการจะจ่ายให้กับลูกค้ารวมถึงจํานวนเงินสดที่กิจการจ่ายหรือคาดว่าต้องจ่าย ให้แก่ลูกค้า ( หรือจ่ายให้กับกิจการอื่นที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจากลูกค้าของกิจการ ) สิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้ลูกค้ารวมถึงจํานวนเครดิตหรือสิทธิอื่น ( ตัวอย่างเช่น คูปองหรือเอกสาร ส่วนลด ) ที่ลูกค้าสามารถนํามาใช้หักกับจํานวนเงินที่ลูกค้าค้างชําระให้กับกิจการ ( หรือกิจการอื่น ที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจากลูกค้าของกิจการ ) กิจการต้องปฏิบัติกับสิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้กับ ลูกค้าหักจากราคาของรายการ และรายได้ที่รับรู้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า เว้นแต่ การจ่ายชําระ ให้กับลูกค้าดังกล่าวนั้นเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการโอนสินค้าหรือบริการต่างพวกที่ลูกค้าได้ โอนให้แก่กิจการ ( ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 26 ถึง 30) หากสิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้กับลูกค้า รวมจํานวนเงินผันแปร กิจการต้องประมาณการราคาของรายการ ( รวมทั้งประเมินด้วยว่ามี ข้อจํากัดที่ยังไม่อนุญาตให้รับรู้หรือไม่ ) ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 50 ถึง 58 71 ถ้าสิ่งตอบแทนที่กิจการจะจ่ายให้กับลูกค้าเป็นการจ่ายเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการต่าง พวกที่ลูกค้าได้โอนให้แก่กิจการ กิจการต้องปฏิบัติกับการซื้อสินค้าหรือบริการดังกล่าวใน ลักษณะเช่นเดียวกับรายการซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายรายอื่น โดยถ้าจํานวนเงินของสิ่งตอบ แทนที่กิจการจะจ่ายให้กับลูกค้ามีมูลค่าสูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินค้าหรือบริการต่างพวกที่ กิจการได้รับจากลูกค้า กิจการต้องนําส่วนเกินดังกล่าวหักจากราคาของรายการ ถ้ากิจการไม่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 สามารถประมาณการมูลค่ายุติธรรมของสินค้าหรือบริการที่ได้รับจากลูกค้าได้อย่างสมเหตุสมผล กิจการต้องคํานวณสิ่งตอบแทนทั้งหมดที่จะจ่ายให้กับลูกค้าเป็นส่วนหักกับราคาของรายการ 72 ทั้งนี้ หากกิจการถือว่าสิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้กับลูกค้าเป็นส่วนหักกับราคาของรายการ กิจการ ต้องรับรู้ส่วนหักดังกล่าวกับรายได้ที่รับรู้เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้น แล้วแต่ว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นช้ากว่า 72.1 กิจการรับรู้รายได้จากการโอนสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า และ 72.2 กิจการจ่ายชําระหรือให้สัญญาว่าจะชําระสิ่งตอบแทน ( ถึงแม้ว่าการจ่ายจะขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์ในอนาคต ) ทั้งนี้ คําสัญญาว่าจะจ่ายอาจเป็นไปโดยนัยตามธรรมเนียม ปฏิบัติของธุรกิจ การปันส่วนของราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติ 73 วัตถุประสงค์ของการปันส่วนราคาของรายการคือการให้กิจการต้องปันส่วนราคาของ รายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติ ( หรือสินค้าหรือบริการต่างพวก ) ด้วยจํานวนเงินที่ แสดงให้เห็นถึงจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะมีสิทธิได้รับเพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนกับการโอนสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้แก่ลูกค้า 74 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กิจการต้องปันส่วนราคาของรายการกับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติ ที่ระบุได้จากสัญญา โดยให้มีความสัมพันธ์กับราคาขายแบบเอกเทศตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 76 ถึง 80 เว้นแต่กรณีที่กล่าวในย่อหน้าที่ 81 ถึง 83 ( สําหรับการปันส่วนส่วนลด ) และกรณีที่ กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 84 ถึง 86 ( สําหรับการปันส่วนสิ่งตอบแทนที่รวมจํานวนเงินสิ่งตอบแทน ผันแปร ) 75 ย่อหน้าที่ 76 ถึง 86 จะไม่บังคับใช้กับกรณีที่สัญญามีภาระที่ต้องปฏิบัติเพียงภาระเดียว อย่างไรก็ตาม ย่อหน้าที่ 84 ถึง 86 อาจใช้กับกรณีที่กิจการให้คําสัญญาว่าจะโอนกลุ่มของสินค้า หรือบริการต่างพวกที่ระบุได้โดยถือว่าเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติเพียงภาระเดียวตามย่อหน้าที่ 22.2 และสิ่งตอบแทนที่สัญญาไว้ได้รวมจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนผันแปรด้วย การปันส่วนโดยใช้เกณฑ์ราคาขายแบบเอกเทศ 76 การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติโดยใช้ราคาขายแบบเอกเทศเป็นเกณฑ์ กิจการต้องระบุราคาขายแบบเอกเทศ ณ วันเริ่มต้นของสัญญาสําหรับสินค้าหรือบริการต่างพวกที่ เกี่ยวข้องกับภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาและต้องปันส่วนราคาของรายการตามสัดส่วนของราคา ขายแบบเอกเทศเหล่านั้น 77 ราคาขายแบบเอกเทศ คือราคาของสินค้าหรือบริการที่กิจการขายแยกต่างหากจากกันให้กับ ลูกค้าโดยทั่วไป หลักฐานที่ดีที่สุดของราคาขายแบบเอกเทศคือราคาที่สังเกตได้ที่ปกติกิจการขาย สินค้าหรือบริการแยกต่างหากในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันหรือกลุ่มลูกค้าที่คล้ายคลึงกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 ราคาตามสัญญาที่ใช้ผูกพันกิจการได้ หรือราคาที่ได้ประกาศออกไปสําหรับสินค้านั้นหรือบริการ นั้นอาจถือได้ว่าเป็นราคาขายแบบเอกเทศ ( ทั้งนี้ต้องไม่สมมติเช่นนั้นในทุกกรณี ) 78 ในกรณีราคาขายแบบเอกเทศไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง กิจการต้องประมาณการราคาขาย แบบเอกเทศเพื่อนําจํานวนเงินประมาณการนั้นมาใช้ในปันส่วนราคาของรายการเพื่อให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 73 เมื่อกิจการต้องประมาณการราคาขายแบบเอกเทศ กิจการต้องคํานึงถึงข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด ( รวมถึง สภาวการณ์ตลาด ปัจจัยเฉพาะของกิจการ ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าหรือกลุ่มลูกค้า ) ที่มีมูลเหตุให้เชื่อว่ากิจการมีข้อมูลดังกล่าว ในการ ประมาณการดังกล่าวกิจการต้องใช้ข้อมูลที่สังเกตได้ให้มากที่สุด และใช้วิธีการประมาณการที่ สมํ่าเสมอกับสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน 79 วิธีการที่เหมาะสมในการประมาณราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการอาจรวมถึงแต่ไม่ จํากัดเพียงแต่วิธีการดังต่อไปนี้ 79.1 วิธีปรับปรุงจากการสํารวจตลาด กิจการอาจสามารถประเมินและสํารวจตลาดที่กิจการ ขายสินค้าหรือบริการ และประมาณการราคาขายสินค้าที่ลูกค้ารายใดๆ ในตลาดจะมี ความเต็มใจจ่ายชําระเพื่อสินค้าหรือบริการนั้น วิธีการนี้อาจรวมถึงการอ้างอิงราคาขาย ของคู่แข่งของกิจการสําหรับสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกัน และปรับปรุงราคาขาย ต่างๆ เหล่านี้ตามความจําเป็นเพื่อสะท้อนต้นทุนและอัตรากําไรของกิจการ 79.2 วิธีต้นทุนที่คาดไว้บวกด้วยอัตรากําไร กิจการอาจสามารถประมาณการจํานวนต้นทุนที่ คาดไว้ในการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้สําเร็จ และนําจํานวนต้นทุนประมาณการ ดังกล่าวมาบวกด้วยอัตรากําไรที่เหมาะสมสําหรับสินค้าหรือบริการดังกล่าว 79.3 วิธีส่วนของราคาที่เหลือ กิจการอาจสามารถประมาณการราคาขายแบบเอกเทศของ สินค้าหรือบริการหนึ่งๆ โดยการหักราคาขายแบบเอกเทศที่สังเกตได้ของสินค้าหรือ บริการอื่นๆ ที่ตกลงตามสัญญาจากยอดรวมของราคาของรายการ อย่างไรก็ตาม กิจการจะสามารถใช้วิธีส่วนของราคาที่เหลือเพื่อประมาณการราคาขายแบบเอกเทศ ของสินค้าหรือบริการตามย่อหน้าที่ 78 ได้ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 79.3.1 กิจการขายสินค้าหรือบริการเดียวกันนี้ให้แก่ลูกค้ารายอื่นๆ ( ในจังหวะเวลา เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ) ในจํานวนเงินที่อยู่ในช่วงกว้าง ( กล่าวคือ ราคาขาย มีความแตกต่างสูงมากเพราะในการกําหนดราคาขายแบบเอกเทศ ไม่สามารถอ้างอิงถึงรายการในอดีต รวมทั้งไม่มีข้อมูลที่ใช้เป็นหลักฐานใน การอ้างอิงเพื่อกําหนดราคาได้ ) หรือ 79.3.2 กิจการยังไม่เคยกําหนดราคาสําหรับสินค้าหรือบริการนั้น และสินค้าหรือ บริการนั้นยังไม่เคยถูกขายในลักษณะที่แยกต่างหากเป็นเอกเทศมาก่อน ( กล่าวคือ ราคาขายยังไม่แน่นอน ) 80 ในการประมาณการราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการที่ต้องส่งมอบตามสัญญา กิจการ อาจใช้วิธีการประมาณการแบบผสมผสานได้ในกรณีที่สินค้าหรือบริการตั้งแต่สองรายการขึ้นไป มีราคาขายที่แปรผันสูง หรือราคาขายแบบเอกเทศมีความไม่แน่นอนสูง ตัวอย่างเช่น กิจการอาจ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 ใช้วิธีส่วนของราคาที่เหลือเพื่อประมาณการราคาขายแบบเอกเทศรวมของกลุ่มสินค้าหรือบริการ ที่ราคามีความผันแปรสูง หรือมีความไม่แน่นอนสูง และใช้วิธีอื่นในการประมาณการราคาขาย แบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการแต่ละชิ้นโดยใช้วิธีเทียบเป็นสัดส่วนกับประมาณการราคาขาย แบบเอกเทศรวมที่ประมาณการนั้นที่ใช้วิธีส่วนของราคาที่เหลือ เมื่อกิจการใช้วิธีการประมาณ การแบบผสมผสานในการประมาณราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการใน สัญญา กิจการยังต้องประเมินต่อไปว่าการปันส่วนราคาของรายการโดยใช้ประมาณการราคาขาย แบบเอกเทศนี้ จะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการปันส่วนราคาตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 73 และเป็นไปตามข้อกําหนดในการประมาณการราคาขายแบบเอกเทศตามย่อหน้าที่ 78 การปันส่วนส่วนลด 81 ลูกค้าได้รับส่วนลดในการซื้อกลุ่มสินค้าหรือบริการที่ขายแบบรวมกันไป หากผลรวมของราคาขาย แบบเอกเทศดังกล่าวสูงกว่ามูลค่าสิ่งตอบแทนที่สัญญาไว้ในสัญญา กิจการต้องปันส่วนส่วนลด ตามสัดส่วนของราคาแยกขายที่เป็นเอกเทศให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติทุกภาระในสัญญา ยกเว้น กรณีที่กิจการมีหลักฐานที่สนับสนุนตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 82 ว่าส่วนลดทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้อง กับภาระที่ต้องปฏิบัติหนึ่งหรือบางภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งไม่ใช่ภาระปฏิบัติทุกภาระในสัญญา ในการปันส่วนส่วนลดตามสัดส่วนนั้นเป็นผลมาจากการที่กิจการปันส่วนราคาของรายการให้กับ แต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติโดยใช้ราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการต่างพวกที่เกี่ยวข้อง นั้นเป็นเกณฑ์ 82 กิจการต้องปันส่วนส่วนลดทั้งหมดให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติภาระใดภาระหนึ่งหรือมากกว่า แต่ไม่ใช่ให้กับทุกภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมดดังต่อไปนี้ 82.1 ปกติกิจการขายสินค้าหรือบริการแต่ละรายการต่างพวกในสัญญานั้น ( หรือกลุ่มสินค้า หรือบริการที่ขายแบบรวมกันไปที่ต่างพวก ) แบบแยกขาย 82.2 กิจการมีการขายกลุ่มสินค้าหรือบริการต่างพวกที่ขายแบบรวมกันไปนั้น ( หรือหลายๆ กลุ่ม ) ในราคาที่มีส่วนลดจากราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการต่างพวกที่ รวมอยู่ในกลุ่มสินค้าหรือบริการนั้นอยู่เป็นปกติ 82.3 ส่วนลดที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสินค้าหรือบริการที่ขายแบบรวมกันไปตามที่กล่าวใน ย่อหน้าที่ 82.2 เหมือนกับส่วนลดที่อยู่ในสัญญา และเมื่อพิจารณาสินค้าหรือบริการที่ รวมอยู่ในแต่ละกลุ่มสินค้าหรือบริการก็ได้หลักฐานเพิ่มเติมว่าส่วนลดดังกล่าวใน สัญญาทั้งหมดเป็นส่วนลดของภาระที่ต้องปฏิบัติภาระใดภาระหนึ่งหรือหลายภาระที่ ต้องปฏิบัติ 83 หากส่วนลดทั้งหมดได้ถูกปันส่วนให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาภาระใดภาระหนึ่งหรือ มากกว่าตามย่อหน้าที่ 82 กิจการต้องปันส่วนส่วนลดก่อนใช้วิธีส่วนของราคาที่เหลือใน การประมาณการราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการตามย่อหน้าที่ 79.3

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 การปันส่วนสิ่งตอบแทนผันแปร 84 สิ่งตอบแทนผันแปรที่ตกลงตามสัญญาอาจเกี่ยวข้องกับสัญญาทั้งหมด หรือเฉพาะบางส่วนของ สัญญาเช่นตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 84.1 ภาระที่ต้องปฏิบัติภาระใดภาระหนึ่งหรือมากกว่า แต่ไม่ใช่ภาระที่ต้องปฏิบัติทั้งหมดใน สัญญา ( ตัวอย่างเช่น เงินตอบแทนพิเศษที่อาจเกิดขึ้น ถ้ากิจการส่งมอบสินค้าหรือ บริการในระยะเวลาที่กําหนด ) หรือ 84.2 สินค้าหรือบริการต่างพวกรายการใดรายการหนึ่งหรือมากกว่า แต่ไม่ใช่ทั้งหมดในชุด ของสินค้าหรือบริการต่างพวกที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาระที่ต้องปฏิบัติหนึ่งๆ ตามย่อ หน้าที่ 22.2 ( ตัวอย่างเช่น ภายใต้สัญญาบริการทําความสะอาดที่มีอายุสัญญาสองปี สิ่งตอบแทนที่สัญญาไว้ในสัญญาปีที่สองจะเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีเงิน เฟ้อที่ระบุไว้ ) 85 กิจการต้องปันส่วนจํานวนเงินที่ผันแปร ( และการเปลี่ยนแปลงในภายหลังของจํานวนเงินที่ ผันแปรนั้น ) ทั้งหมดให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติภาระใดภาระหนึ่ง หรือปันให้กับสินค้าหรือบริการ ต่างพวกรายการใดรายการหนึ่งที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาระที่ต้องปฏิบัติใดภาระหนึ่งตามที่กล่าว ในย่อหน้าที่ 22.2 ถ้าเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ 85.1 เงื่อนไขของการจ่ายสิ่งตอบแทนผันแปรเกี่ยวพันโดยเฉพาะเจาะจงกับการปฏิบัติตาม ภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น หรือการโอนสินค้าหรือบริการต่างพวก ( หรือเกี่ยวพัน โดยเฉพาะกับผลงานในการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นหรือการโอนสินค้า หรือบริการต่างพวก ) และ 85.2 การปันส่วนจํานวนเงินที่ผันแปรทั้งหมดของสิ่งตอบแทนให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติใด ภาระหนึ่งหรือสินค้าหรือบริการต่างพวกรายการใดรายการหนึ่งนั้นสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ในการปันส่วนตามย่อหน้าที่ 73 เมื่อได้พิจารณาภาระที่ต้องปฏิบัติทุก รายการและข้อกําหนดในการจ่ายชําระสิ่งตอบแทนตามสัญญา 86 การปันส่วนจํานวนเงินของราคาของรายการที่เหลือที่ไม่เข้าเงื่อนไขตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 85 ต้องใช้การปันส่วนตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 73 ถึง 83 การเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการ 87 ภายหลังจากวันที่สัญญาเริ่มมีผลบังคับแล้ว ราคาของรายการอาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วยสาเหตุ หลายประการ รวมทั้งเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนได้หมดไปหรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใน สภาพแวดล้อมที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะมี สิทธิได้รับเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ 88 กิจการควรปันส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา หนึ่งๆ โดยใช้เกณฑ์เช่นเดียวกับ ณ วันที่เริ่มต้นสัญญา ซึ่งทําให้กิจการต้องไม่ปันส่วนของราคา ของรายการใหม่เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาขายแบบเอกเทศภายหลังจากวันที่สัญญา

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 เริ่มมีผลบังคับแล้ว จํานวนเงินการเปลี่ยนแปลงที่ปันส่วนให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น จะต้องรับรู้เป็นรายได้หรือส่วนหักกับรายได้ในรอบระยะเวลาที่ราคาของรายการมีการ เปลี่ยนแปลง 89 กิจการต้องปันส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการทั้งหมดให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติ รายการใดรายการหนึ่งหรือมากกว่า แต่ไม่ใช่ภาระที่ต้องปฏิบัติทั้งหมดในสัญญานั้น หรือสินค้า หรือบริการต่างพวกที่กําหนดเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติภาระหนึ่งในของชุดสินค้าหรือบริการตามย่อ หน้าที่ 22.2 ถ้าเข้าตามเงื่อนไขของการปันส่วนสิ่งตอบแทนผันแปรตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 85 90 กิจการต้องปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสัญญา ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 18 ถึง 21 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการที่ เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงสัญญา กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 87 ถึง 89 ในการปันส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการดังแนวทางใดแนวทางหนึ่งต่อไปนี้ 90.1 กิจการต้องปันส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่ ระบุได้ที่มีอยู่ในสัญญาก่อนการเปลี่ยนแปลงสัญญานั้น ได้เฉพาะการเปลี่ยนแปลงของ ราคาของรายการที่เกี่ยวกับจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนผันแปรที่สัญญาไว้ก่อน การเปลี่ยนแปลงสัญญา และการเปลี่ยนแปลงสัญญานั้นได้รับการปรับปรุงตาม ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 21.1 90.2 ในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงอื่นของสัญญาไม่ถือว่าเป็นสัญญาที่แยกออกไปได้ต่างหาก ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 20 กิจการต้องปันส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาของ รายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญาที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ( กล่าวคือ ภาระที่ ต้องปฏิบัติที่ยังไม่สําเร็จ หรือสําเร็จแต่เพียงบางส่วนที่คงเหลืออยู่ทันทีหลังจาการ เปลี่ยนแปลงสัญญา ) ต้นทุนของสัญญา ต้นทุนส่วนเพิ่มในการได้มาซึ่งสัญญา 91 กิจการต้องบันทึกต้นทุนส่วนเพิ่มในการได้มาซึ่งสัญญาที่ทํากับลูกค้าเป็นสินทรัพย์หาก กิจการคาดว่ากิจการสามารถได้รับคืนต้นทุนดังกล่าว 92 ต้นทุนส่วนเพิ่มในการได้มาซึ่งสัญญาเป็นต้นทุนของกิจการเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญาที่ทํากับลูกค้า โดยต้นทุนดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นหากกิจการไม่ได้ทําสัญญากับลูกค้า ( ตัวอย่างเช่น ค่านายหน้า ในการขาย ) 93 ต้นทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญาที่เกิดขึ้นไม่ว่ากิจการจะได้ทําสัญญากับลูกค้าหรือไม่ ให้กิจการรับรู้ เป็นรายการค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการ เว้นแต่ กรณีที่กิจการสามารถเรียกเก็บต้นทุนดังกล่าวจาก ลูกค้าได้ไม่ว่ากิจการจะทําสัญญากับลูกค้าหรือไม่ 94 เพื่อเป็นการผ่อนปรนในทางปฏิบัติ กิจการอาจรับรู้ต้นทุนส่วนเพิ่มในการได้มาซึ่งสัญญาเป็น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 ค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น หากระยะเวลาในการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ในกรณีที่กิจการต้องรับรู้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นสินทรัพย์มีระยะเวลาหนึ่งปีหรือสั้นกว่า ต้นทุนการทําให้เสร็จสิ้นตามสัญญา 95 ถ้าต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อให้กิจการปฏิบัติตามสัญญาที่ทํากับลูกค้าไม่อยู่ในขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ( ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หรือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ) กิจการจะบันทึกต้นทุนดังกล่าว เป็นสินทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขทั้งหมดดังต่อไปนี้ 95.1 ต้นทุนมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาที่เกิดขึ้นแล้วหรือสัญญาที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นโดยกิจการสามารถระบุต้นทุนว่ามีความเกี่ยวข้องกับสัญญาได้อย่าง เฉพาะเจาะจง ( ตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานบริการที่จะได้จัดหาภายใต้ สัญญาที่ต่อระยะเวลาออกไปจากสัญญาที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือ ต้นทุนในการ ออกแบบสินทรัพย์ที่รอการโอนภายใต้สัญญาที่เกี่ยวข้อง แต่กระบวนการอนุมัติ สัญญายังไม่เสร็จสิ้น ) 95.2 ต้นทุนที่ใช้เพื่อสร้างทรัพยากรหรือใช้ในการปรับปรุงทรัพยากรของกิจการเพื่อ นําไปใช้ในการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้สําเร็จในอนาคต ( หรือเพื่อให้สําเร็จ อย่างต่อเนื่องไป ) และ 95.3 กิจการคาดได้ว่าจะได้รับคืนต้นทุนดังกล่าว 96 ต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อให้กิจการปฏิบัติตามสัญญาที่ทํากับลูกค้าที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น กิจการต้องปฏิบัติกับต้นทุนดังกล่าวตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินเหล่านั้น 97 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว ( หรือสัญญาที่คาดได้ว่าจะเกิดขึ้น ) รวมถึง ต้นทุนต่างๆ เหล่านี้ 97.1 ค่าแรงงานทางตรง ( ตัวอย่างเช่น เงินเดือน และค่าแรงของพนักงานที่ให้บริการโดยตรง ให้กับลูกค้าตามที่ตกลงกัน ) 97.2 วัตถุดิบทางตรง ( ตัวอย่างเช่น วัสดุที่ใช้เพื่อการให้บริการกับลูกค้าตามที่ตกลงกัน ) 97.3 ต้นทุนปันส่วนซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาหรือกิจกรรมในสัญญา ( ตัวอย่างเช่น ต้นทุนในการจัดการสัญญาและการดูแล การประกันภัย และค่าเสื่อม ราคาของเครื่องมืออุปกรณ์ และสินทรัพย์สิทธิการใช้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เป็นไป ตามสัญญา ) 97.4 ต้นทุนที่มีการระบุในสัญญาอย่างชัดแจ้งว่าสามารถเรียกคืนจากลูกค้าได้ และ 97.5 ต้นทุนอื่นที่เกิดขึ้นเพียงเพราะกิจการได้ทําสัญญาที่ทํากับลูกค้า ( ตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่ จ่ายให้กับผู้รับเหมาช่วงต่อ )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 98 กิจการต้องรับรู้รายการเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการ 98.1 ค่าใช้จ่ายทั่วไป และค่าใช้จ่ายบริหารจัดการ ( เว้นแต่ ต้นทุนที่มีการระบุในสัญญาอย่าง ชัดแจ้งว่าสามารถเรียกคืนจากลูกค้าได้ ซึ่งกิจการต้องประเมินต้นทุนนี้ตามข้อกําหนด ในย่อหน้าที่ 97) 98.2 ต้นทุนที่เกี่ยวกับวัสดุ ค่าแรงหรือทรัพยากรอื่นที่สูญเสียไปเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา แต่ไม่ได้สะท้อนอยู่ในราคาตามสัญญา 98.3 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาที่สําเร็จแล้ว ( หรือ ภาระที่ต้อง ปฏิบัติที่สําเร็จไปบางส่วน ) ( กล่าวคือ ต้นทุนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ผ่านมาแล้ว ) และ 98.4 ต้นทุนที่กิจการไม่สามารถแยกได้ว่าเกี่ยวข้องกับภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังไม่สําเร็จหรือ ภาระที่ต้องปฏิบัติที่สําเร็จไปแล้ว ( หรือ ภาระที่ต้องปฏิบัติที่สําเร็จไปบางส่วนแล้ว ) การตัดจําหน่ายและการด้อยค่า 99 สินทรัพย์ที่รับรู้ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 91 หรือ 95 จะต้องมีการตัดจําหน่ายอย่างเป็นระบบ โดยต้องสอดคล้องกับรูปแบบในการโอนสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่สินทรัพย์นั้นมีความ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้รวมถึงกรณีสินทรัพย์ที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่จะโอน ภายใต้สัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ( ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 95.1) 100 กิจการต้องปรับปรุงการตัดจําหน่ายสินทรัพย์เพื่อให้สะท้อนระยะเวลาในการโอนสินค้าหรือ บริการให้กับลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสาระสําคัญ กิจการต้องปฏิบัติกับการ เปลี่ยนแปลงนี้ตามข้อกําหนดเรื่องการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีตามมาตรฐานการ บัญชี ฉบับที่ 8 101 กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าในกําไรหรือขาดทุน หากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ที่รับรู้ตามย่อหน้าที่ 91 หรือ 95 สูงกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ 101.1 จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่เหลือที่กิจการคาดว่าจะได้รับเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับ สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดังกล่าว หักด้วย 101.2 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่กิจการยังไม่รับรู้เป็น ค่าใช้จ่าย ( ดูย่อหน้าที่ 97) 102 ในการกําหนดจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะได้รับตามย่อหน้าที่ 101 กิจการต้อง ใช้หลักการเช่นเดียวกับการกําหนดราคาของรายการ ( ยกเว้นข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 56 ถึง 58 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อจํากัดของประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปร ) และปรับปรุงจํานวนเงินนั้น ด้วยผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้า 103 ก่อนที่กิจการจะรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่รับรู้ตามย่อหน้าที่ 91 หรือ 95 กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาที่เป็นไปตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นๆ ก่อน ( ตัวอย่างเช่น ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38) และเมื่อได้ทดสอบการด้อย ค่าตามย่อหน้าที่ 101 แล้ว กิจการต้องรวมมูลค่าตามบัญชีที่เหลือของสินทรัพย์ที่รับรู้ตามย่อ หน้าที่ 91 หรือ 95 เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดของ สินทรัพย์ดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การ ด้อยค่าของสินทรัพย์ ของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดนั้น 104 กิจการต้องรับรู้การกลับรายการของการด้อยค่าบางส่วนหรือทั้งหมดที่เคยรับรู้ตามย่อหน้าที่ 101 ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อการด้อยค่าดังกล่าวลดลงหรือหมดไป โดยมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นต้องไม่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีที่ควรเป็น ( สุทธิจากค่าตัดจําหน่าย ) หากกิจการไม่เคยรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์นั้นในงวดก่อน การแสดงรายการ 105 เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ปฏิบัติตามสัญญา กิจการต้องแสดงรายการดังกล่าวในงบฐานะการเงิน เป็นสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาหรือหนี้สินที่เกิดจากสัญญา โดยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ระหว่างการปฏิบัติงานตามสัญญาของกิจการและการชําระเงินของลูกค้า กิจการต้องแสดง สิ่งตอบแทนที่กิจการมีสิทธิในการได้รับโดยไม่มีเงื่อนไขต่างหากเป็นรายการลูกหนี้ 106 หากลูกค้าได้จ่ายสิ่งตอบแทน หรือเมื่อกิจการมีสิทธิได้รับจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนโดยไม่มี เงื่อนไข ( กล่าวคือ มูลค่าที่เรียกเก็บได้ ) ก่อนที่กิจการจะโอนสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า กิจการต้องแสดงรายการดังกล่าวเป็นหนี้สินที่เกิดจากสัญญาเมื่อการจ่ายดังกล่าวเกิดขึ้นหรือ เมื่อถึงกําหนดที่ต้องจ่าย ( แล้วแต่เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน ) หนี้สินที่เกิดจากสัญญาดังกล่าว แสดงถึงภาระผูกพันที่กิจการต้องโอนสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าเนื่องจากกิจการได้รับชําระ สิ่งตอบแทนดังกล่าว ( หรือเมื่อถึงกําหนดการจ่ายชําระจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนดังกล่าว ) จากลูกค้า 107 หากกิจการได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยการโอนสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะจ่าย ชําระสิ่งตอบแทนหรือก่อนที่สิ่งตอบแทนจะถึงกําหนดชําระ กิจการต้องแสดงรายการดังกล่าว เป็นสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา โดยไม่รวมถึงจํานวนเงินที่กิจการต้องแสดงเป็นลูกหนี้ สินทรัพย์ที่ เกิดจากสัญญาแสดงถึงสิทธิของกิจการในการได้รับสิ่งตอบแทนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับ สินค้าหรือบริการที่กิจการได้โอนให้กับลูกค้าแล้ว กิจการต้องประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ เกิดจากสัญญาตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 การวัดมูลค่า การ นําเสนอและการเปิดเผยข้อมูลการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาให้เป็นไปในเกณฑ์ เดียวกับข้อกําหนดในเรื่องดังกล่าวของสินทรัพย์ทางการเงินที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ( ดูย่อหน้าที่ 113.2) 108 ลูกหนี้คือสิทธิของกิจการโดยปราศจากเงื่อนไขที่มีต่อสิ่งตอบแทน โดยหากเงื่อนไขการจ่ายชําระ สิ่งตอบแทนคือเป็นไปตามกําหนดเวลาที่ผ่านไปแต่เพียงอย่างเดียว สิทธิต่อสิ่งตอบแทนนั้น ถือเป็นสิทธิที่ปราศจากเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น กิจการจะรับรู้รายการเป็นลูกหนี้ หากกิจการมีสิทธิ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 ที่จะได้รับชําระถึงแม้ว่าจํานวนเงินดังกล่าวอาจจะต้องจ่ายคืนในอนาคต กิจการต้องปฏิบัติกับ ลูกหนี้ดังกล่าวตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ของมูลค่าลูกหนี้ตามสัญญาจากลูกค้า ความแตกต่างของจํานวนที่วัดมูลค่าตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กับจํานวนเงินของรายได้ที่รับรู้ต้องแสดงเป็นรายการ ค่าใช้จ่าย ( ตัวอย่างเช่น ผลขาดทุนจากการด้อยค่า ) 109 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ใช้ชื่อคํานิยามว่า “ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา ” และ “ หนี้สินที่เกิดจากสัญญา ” แต่มิได้เป็นข้อห้ามสําหรับกิจการในการใช้คํานิยามอื่นในการแสดง รายการดังกล่าวในงบฐานะการเงิน ทั้งนี้ หากกิจการใช้คํานิยามอื่นสําหรับสินทรัพย์ที่เกิดจาก สัญญา กิจการต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมอย่างเพียงพอแก่ผู้ใช้งบการเงินเพื่อที่ผู้ใช้งบการเงินสามารถ แยกระหว่างรายการลูกหนี้และสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาได้ การเปิดเผยข้อมูล 110 วัตถุประสงค์ของข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลคือ เพื่อต้องการให้กิจการเปิดเผย ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะทําให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจธรรมชาติ จํานวนเงิน จังหวะเวลาและ ความไม่แน่นอนของรายได้ และกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากสัญญาที่ทํากับลูกค้า เพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ดังกล่าว กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของรายการ ดังต่อไปนี้ 110.1 รายการสัญญาของกิจการที่ทํากับลูกค้า ( ดูย่อหน้าที่ 113 ถึง 122) 110.2 วิจารณญาณสําคัญที่ใช้ในการพิจารณารายการสัญญาที่กิจการทํากับลูกค้า เพื่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ รวมทั้งวิจารณญาณที่ เปลี่ยนแปลงไป ( ดูย่อหน้าที่ 123 ถึง 126) และ 110.3 สินทรัพย์ที่รับรู้มาจากต้นทุนที่ทําให้ได้มาซึ่งสัญญาหรือต้นทุนในการทําให้เสร็จสิ้น ตามสัญญาที่ทํากับลูกค้าที่รับรู้ตามย่อหน้าที่ 91 หรือ 95 ( ดูย่อหน้าที่ 127 ถึง 128) 111 กิจการต้องพิจารณาระดับของรายละเอียดของข้อมูลที่จําเป็นต้องเปิดเผยเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่กล่าวไว้ และต้องพิจารณาว่าควรให้ความสําคัญกับข้อกําหนดแต่ละข้อใน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ กิจการต้องรวมหรือแยกการ เปิดเผยข้อมูลเพื่อทําให้ข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ไม่ถูกบดบังด้วยรายละเอียดที่ไม่มีนัยสําคัญที่มี จํานวนเงินมากหรือจากการนํารายการที่มีลักษณะที่แตกต่างกันไปรวมไว้ด้วยกัน 112 กิจการไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการรายทางการเงินฉบับนี้หากข้อมูลนี้ได้มีการเปิดเผย ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นแล้ว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 31 สัญญาที่ทํากับลูกค้า 113 กิจการต้องเปิดเผยจํานวนเงินของรายการที่รับรู้สําหรับรอบระยะเวลารายงาน ดังต่อไปนี้ ยกเว้น กรณีที่จํานวนเงินเหล่านั้นได้แสดงเป็นรายการแยกต่างหากในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น 113.1 รายได้ที่รับรู้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า โดยกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลแยกต่างหากจาก รายได้ที่กิจการได้รับจากแหล่งของรายได้อื่น 113.2 ผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่รับรู้ของลูกหนี้หรือสินทรัพย์ตามสัญญาที่เกิดจากสัญญา ของกิจการที่ทํากับลูกค้า ( ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) โดยกิจการ ต้องเปิดเผยข้อมูลแยกต่างหากจากผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่เกิดจากสัญญา ประเภทอื่น การจําแนกรายได้ 114 กิจการต้องแสดงจํานวนรายได้ที่รับรู้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้าโดยจําแนกเป็นประเภทต่างๆ โดยแสดงให้เห็นธรรมชาติ จํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอนของรายได้และ กระแสเงินสดที่ถูกกระทบโดยปัจจัยเชิงเศรษฐกิจต่างๆ โดยให้กิจการปฏิบัติตามแนวทางตาม ย่อหน้าที่ ข 87 ถึง ข 89 ในการเลือกประเภทของรายได้ที่จะแสดงการจําแนกข้อมูลรายได้ 115 นอกจากนี้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอเพื่อทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจถึง ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลการจําแนกรายได้ ( ตามย่อหน้าที่ 114) และข้อมูล รายได้ที่เปิดเผยตามส่วนงานที่รายงาน หากกิจการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 8 เรื่อง ส่วนงานดําเนินงาน ยอดคงเหลือของสัญญา 116 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 116.1 ยอดยกมาและยอดยกไปของลูกหนี้ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาและหนี้สินที่เกิดจาก สัญญาที่ทํากับลูกค้า หากมูลค่าดังกล่าวไม่ได้นําเสนอหรือเปิดเผยไว้แล้ว 116.2 จํานวนรายได้ที่รับรู้ในรอบระยะเวลารายงานที่ได้เคยรวมอยู่ในหนี้สินที่เกิดจาก สัญญาณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลา และ 116.3 จํานวนรายได้ที่รับรู้ในรอบระยะเวลารายงานที่เกี่ยวเนื่องกับภาระที่ต้องปฏิบัติที่ได้ ปฏิบัติสําเร็จแล้ว ( หรือสําเร็จแล้วบางส่วน ) ในรอบระยะเวลาก่อนๆ ( ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ ) 117 กิจการต้องอธิบายว่า ลักษณะของจังหวะเวลาในการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น ( ดูย่อหน้าที่ 119.1) สัมพันธ์กับจังหวะเวลาในการชําระเงิน ( ดูย่อหน้าที่ 119.2) และ ผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อยอดคงเหลือของสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาและหนี้สินที่เกิด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 จากสัญญาอย่างไร การอธิบายดังกล่าวอาจแสดงโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ 118 กิจการต้องอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญของยอดคงเหลือของสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา และหนี้สินที่เกิดจากสัญญาที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลารายงาน โดยคําอธิบายต้องให้ ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ตัวอย่างของรายการ การเปลี่ยนแปลงของยอดคงเหลือของสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาและหนี้สินที่เกิดจากสัญญามี ดังนี้ 118.1 การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการรวมธุรกิจ 118.2 การปรับปรุงผลสะสมของรายได้ที่กระทบสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาหรือหนี้สินที่เกิด จากสัญญา รวมถึงการปรับปรุงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการวัดความก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงประมาณการของราคาของรายการ ( รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลง การประเมินข้อจํากัดของประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปรที่ยังไม่ให้รับรู้เป็นรายได้ ) หรือการเปลี่ยนแปลงสัญญา 118.3 การด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา 118.4 การเปลี่ยนแปลงของกรอบระยะเวลาของการที่สิทธิของกิจการต่อสิ่งตอบแทนรายการ จะกลายเป็นสิทธิที่ปราศจากเงื่อนไข ( กล่าวคือ เมื่อสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาถูก จัดประเภทเป็นลูกหนี้ ) และ 118.5 การเปลี่ยนแปลงของกรอบระยะเวลาที่ภาระที่ต้องปฏิบัติได้เสร็จสิ้นลง ( กล่าวคือ เมื่อมีการรับรู้รายได้จากหนี้สินที่เกิดจากสัญญา ) ภาระที่ต้องปฏิบัติ 119 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญาที่ทํากับลูกค้า ซึ่งรวมถึงคําอธิบาย ทั้งหมดต่อไปนี้ 119.1 กิจการถือว่าภาระที่ต้องปฏิบัติได้เสร็จสิ้นลงเมื่อใด ( ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการส่งมอบ เมื่อมีการขนส่ง หรือเมื่อกําลังให้บริการ หรือเมื่อบริการเสร็จสิ้น ) รวมทั้งเมื่อใดที่ ถือว่าภาระที่ต้องปฏิบัติได้เสร็จสิ้นในกรณีการขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า (bill-and-hold arrangement) 119.2 เงื่อนไขการจ่ายชําระที่สําคัญ ( ตัวอย่างเช่น เมื่อใดที่ถึงกําหนดการจ่ายชําระ สัญญามี องค์ประกอบที่ถือเป็นการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญหรือไม่ หรือจํานวนเงินของสิ่งตอบแทน เป็นจํานวนผันแปร และประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปรมีข้อจํากัดสําหรับส่วนที่ยัง ไม่ให้รับรู้เป็นรายได้ตามย่อหน้าที่ 56 ถึง 58 หรือไม่ ) 119.3 ธรรมชาติของสินค้าหรือบริการที่กิจการได้ให้สัญญาว่าจะโอน และให้เปิดเผยข้อมูล หากว่าการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติในการโอนสินค้าหรือบริการเป็นการกระทํา การแทนผู้อื่น ( กล่าวคือ กรณีที่กิจการทําหน้าที่เป็นตัวแทน ) 119.4 ภาระผูกพันในการรับคืน การคืนเงิน และภาระผูกพันอื่นในลักษณะคล้ายกัน และ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 119.5 ประเภทของการรับประกันและภาระผูกพันที่เกี่ยวข้อง ราคาของรายการที่ปันส่วนให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังคงเหลืออยู่ 120 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังคงเหลืออยู่ดังนี้ 120.1 จํานวนเงินรวมของราคาของรายการที่ได้ปันส่วนให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังไม่เสร็จสิ้นลง ( หรือบางส่วนที่ยังไม่เสร็จสิ้น ) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และ 120.2 คําอธิบายว่ากิจการคาดว่าจํานวนเงินดังกล่าวที่เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 120.1 จะรับรู้ เป็นรายได้เมื่อใด กิจการอาจเปิดเผยข้อมูลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 120.2.1 ข้อมูลเชิงปริมาณแจกแจงตามช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ระยะเวลาที่กิจการจะปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังคงเหลืออยู่ให้เสร็จสิ้น หรือ 120.2.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพของภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังคงเหลืออยู่ 121 เพื่อเป็นการผ่อนปรนในทางปฏิบัติ กิจการอาจไม่จําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้าที่ 120 สําหรับภาระที่ต้องปฏิบัติ หากภาระดังกล่าวเข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งต่อไปนี้ 121.1 ภาระที่ต้องปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่ตามความคาดการณ์เริ่มแรกว่าจะมีอายุ สัญญาหนึ่งปีหรือน้อยกว่า หรือ 121.2 กิจการรับรู้รายได้จากการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นลงตามข้อกําหนด ในย่อหน้าที่ ข 16 122 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในเชิงคุณภาพว่ากิจการได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ผ่อนปรนในทางปฏิบัติ ตามย่อหน้าที่ 121 หรือไม่ รวมทั้งสิ่งตอบแทนจากสัญญาที่ทํากับลูกค้าที่ไม่ได้รวมคํานวณเป็น ส่วนหนึ่งของราคาของรายการ ดังนั้นจึงไม่ได้รวมอยู่ในข้อมูลที่เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 120 ตัวอย่างเช่น กรณีที่ประมาณการราคาของรายการไม่รวมประมาณการจํานวนเงินของสิ่งตอบแทน ผันแปรที่ติดข้อจํากัดที่ยังไม่ให้รับรู้เป็นรายได้ ( ดูย่อหน้าที่ 56 ถึง 58) วิจารณญาณที่มีนัยสําคัญในการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 123 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้วิจารณญาณและการเปลี่ยนแปลงของการใช้วิจารณญาณ สําหรับการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ที่มีผลกระทบที่สําคัญต่อการกําหนด จํานวนเงินรายได้และจังหวะเวลาในการรับรู้รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า โดยเฉพาะในกรณีที่ กิจการใช้วิจารณญาณในการกําหนดรายการดังต่อไปนี้ 123.1 จังหวะเวลาของการเสร็จสิ้นของภาระที่ต้องปฏิบัติ ( ดูย่อหน้าที่ 124 ถึง 125) และ 123.2 ราคาของรายการและจํานวนเงินที่ได้ปันส่วนให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติ ( ดูย่อหน้าที่ 126)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 การกําหนดจังหวะเวลาของการเสร็จสิ้นของภาระที่ต้องปฏิบัติ 124 สําหรับภาระที่ต้องปฏิบัติที่กิจการปฏิบัติให้สําเร็จตลอดช่วงเวลาหนึ่ง กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล ดังต่อไปนี้ 124.1 วิธีการที่ใช้ในการรับรู้รายได้ ( ตัวอย่างเช่น คําอธิบายว่ากิจการใช้วิธีการวัดผลจาก ผลลัพธ์ หรือวัดผลจากปัจจัยการผลิต และมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ) และ 124.2 คําอธิบายว่าเหตุใดวิธีการที่ใช้เป็นวิธีที่เหมาะสมในการสะท้อนภาพการโอนสินค้าหรือ บริการ 125 สําหรับภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง กิจการต้องเปิดเผยวิจารณญาณที่ สําคัญที่กิจการใช้เพื่อประเมินว่าเมื่อไหร่ลูกค้าได้ควบคุมสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว การกําหนดราคาของรายการและจํานวนเงินที่ปันส่วนให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติ 126 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวิธี ข้อมูลและข้อสมมติที่ใช้ในการกําหนดรายการดังต่อไปนี้ 126.1 การกําหนดราคาของรายการ ซึ่งรวมถึง ( แต่ไม่จํากัดเพียง ) จํานวนประมาณการ สิ่งตอบแทนผันแปร การปรับปรุงสิ่งตอบแทนเนื่องจากผลกระทบของมูลค่าของ เงินตามเวลา และการวัดมูลค่าของรายการสิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสด 126.2 การประเมินว่าประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปรมีข้อจํากัดที่ทําให้ยังไม่สามารถรับรู้ เป็นรายได้ได้หรือไม่ 126.3 การปันส่วนราคาของรายการ รวมทั้งการประมาณการราคาขายแบบเอกเทศของสินค้า หรือบริการที่สัญญาว่าจะให้ และการปันส่วนส่วนลดและสิ่งตอบแทนผันแปรให้กับ ส่วนของสัญญาที่ระบุ ( ถ้ามี ) และ 126.4 การวัดมูลค่าภาระผูกพันเนื่องจากการรับคืนสินค้า หรือจ่ายคืนเงิน หรือภาระผูกพัน ประเภทอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน สินทรัพย์ที่รับรู้มาจากต้นทุนที่ทําให้ได้มาซึ่งสัญญาหรือต้นทุนในการทําให้เสร็จสิ้นตามสัญญา ที่ทํากับลูกค้า 127 กิจการต้องอธิบายข้อมูลดังต่อไปนี้ 127.1 การใช้วิจารณญาณในการกําหนดจํานวนเงินของต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญา หรือต้นทุนในการทําให้เสร็จสิ้นตามสัญญาที่ทํากับลูกค้า ( ตามย่อหน้าที่ 91 หรือ 95) และ 127.2 วิธีที่กิจการใช้ในการตัดจําหน่ายต้นทุนดังกล่าวสําหรับแต่ละรอบระยะเวลารายงาน 128 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 128.1 ยอดคงเหลือสิ้นงวดของต้นทุนที่ทําให้ได้มาซึ่งสัญญาหรือต้นทุนในการทําให้เสร็จสิ้น ตามสัญญาที่ทํากับลูกค้าที่รับรู้เป็นสินทรัพย์ ( ตามย่อหน้าที่ 91 หรือ 95) ตามกลุ่ม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 ของประเภทของสินทรัพย์ ( ตัวอย่างเช่น ต้นทุนทําให้ได้มาซึ่งสัญญาที่ทํากับลูกค้า ต้นทุนที่เกิดขึ้นก่อนการทําสัญญา และต้นทุนในการเริ่มสัญญา ) และ 128.2 จํานวนเงินที่ตัดจําหน่ายและผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่รับรู้ในรอบระยะเวลารายงาน การผ่อนปรนในทางปฏิบัติ 129 หากกิจการเลือกปฏิบัติตามการผ่อนปรนในทางปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 63 ( เกี่ยวกับการมี องค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญในสัญญา ) หรือย่อหน้าที่ 94 ( เกี่ยวกับต้นทุน ส่วนเพิ่มในการได้มาซึ่งสัญญา ) กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สัญญา ข้อตกลงตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ซึ่งทําให้เกิดสิทธิและภาระผูกพัน ที่ใช้บังคับได้ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา สิทธิที่กิจการจะได้รับค่าตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินค้า หรือบริการซึ่งกิจการได้โอนให้กับ ลูกค้า แล้ว โดยสิทธิดังกล่าว จะเกิดขึ้นตามเงื่อนไขบางประการที่ไม่ใช่เรื่องของระยะเวลาที่ ผ่านไป ( ตัวอย่างเช่น ผลการปฏิบัติงานของกิจการในอนาคต ) หนี้สินที่เกิดจากสัญญา ภาระผูกพันของกิจการในการโอนสินค้าหรือบริการให้กับ ลูกค้า ซึ่งกิจการได้รับ ( หรือจํานวนเงินที่มีสิทธิเรียกรับ ) ค่าตอบแทน จากลูกค้าแล้ว ลูกค้า ฝ่ายที่ทําสัญญากับกิจการเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่ เป็นผลจากกิจกรรมตามปกติธุรกิจของกิจการ โดยแลกเปลี่ยน กับสิ่งตอบแทนที่กิจการได้รับ รายได้ (income) การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชี ในรูปของกระแสรับเข้าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของ สินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น โดยไม่รวมถึงส่วนทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมใน ส่วนของเจ้าของ ภาระที่ต้องปฏิบัติ ข้อตกลงใน สัญญา ที่ทํากับ ลูกค้า เพื่อโอนรายการอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ไปให้กับลูกค้า (1) สินค้าหรือบริการ ( หรือ กลุ่มสินค้าหรือบริการที่ขาย แบบรวมกันไป ) ต่างพวก หรือ (2) ชุดของสินค้าและบริการต่างพวกแต่มีลักษณะเชิงเนื้อหา เหมือนกันและมีรูปแบบการโอนไปยังลูกค้าแบบ เดียวกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 รายได้หลัก ( ที่เกิดจากสัญญาที่ทํา กับลูกค้า ) (Revenue) ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้จะ เรียกว่า รายได้ รายได้ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมตามปกติธุรกิจของกิจการ ราคาขายแบบเอกเทศ ราคาซึ่งกิจการจะขายสินค้าหรือบริการตามที่ตกลงไว้ให้แก่ ลูกค้า ในกรณีที่แยกขายต่างหาก ราคาของรายการ ( สําหรับสินค้าและบริการภายใต้ สัญญากับลูกค้า ) จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนซึ่งกิจการคาดว่าจะมีสิทธิได้รับ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการโอนสินค้าหรือบริการตามที่ได้ ตกลงกันให้แก่ ลูกค้า ทั้งนี้ไม่รวมถึงจํานวนเงินที่เรียกเก็บแทน บุคคลที่สาม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 38 ภาคผนวก ข แนวทางปฏิบัติ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ซึ่งอธิบายแนวทางปฏิบัติของย่อหน้าที่ 1 ถึง 129 และมีผลบังคับเช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ข 1 แนวทางปฏิบัตินี้ถูกแสดงเป็นหมวดหมู่ ดังนี้ ข 1 . 1 ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง ( ย่อหน้าที่ ข 2 ถึง ข 13) ข 1.2 วิธีวัดระดับความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ ( ย่อหน้าที่ ข 14 ถึง ข 19) ข 1.3 การขายที่ให้สิทธิในการคืน ( ย่อหน้าที่ ข 20 ถึง ข 27) ข 1.4 การรับประกัน ( ย่อหน้าที่ ข 28 ถึง ข 33) ข 1.5 การพิจารณาว่าเป็นตัวการหรือตัวแทน ( ย่อหน้าที่ ข 34 ถึง ข 38) ข 1.6 สิทธิที่มอบให้ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่ม ( ย่อหน้าที่ ข 39 ถึง ข 43) ข 1.7 สิทธิที่ลูกค้าไม่ใช้ ( ย่อหน้าที่ ข 44 ถึง ข 47) ข 1.8 ค่าธรรมเนียมเริ่มแรกที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ ( และต้นทุนที่เกี่ยวข้องบาง ประการ ) ( ย่อหน้าที่ ข 48 ถึง ข 51) ข 1.9 การให้สิทธิ ( ย่อหน้าที่ ข 52 ถึง ข 63 ข ) ข 1.10 ข้อตกลงการซื้อคืน ( ย่อหน้าที่ ข 64 ถึง ข 76) ข 1.11 ข้อตกลงฝากขาย ( ย่อหน้าที่ ข 77 ถึง ข 78) ข 1.12 การขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า ( ย่อหน้าที่ ข 79 ถึง ข 82) ข 1.13 การยอมรับของลูกค้า ( ย่อหน้าที่ ข 83 ถึง ข 86) และ ข 1.14 การเปิดเผยข้อมูลการจําแนกรายได้ ( ย่อหน้าที่ ข 87 ถึง ข 89) ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง ข 2 ตามย่อหน้าที่ 35 ภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ข 2.1 ลูกค้าได้รับและได้ใช้ประโยชน์จากผลของการปฏิบัติงานของกิจการในขณะที่กิจการ ปฏิบัติงาน ( ดูย่อหน้าที่ ข 3 ถึง ข 4) ข 2.2 การปฏิบัติงานของกิจการได้สร้างสินทรัพย์ หรือทําให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ( ตัวอย่างเช่น งานระหว่างทํา ) โดยลูกค้าเป็นผู้ควบคุมสินทรัพย์ดังกล่าวในขณะที่สินทรัพย์เกิดขึ้น หรือเพิ่มขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ ข 5) หรือ ข 2.3 การปฏิบัติงานของกิจการไม่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ที่กิจการมีทางเลือกอื่นในการนําไปใช้ ( ดูย่อหน้า ข 6 ถึง ข 8) และกิจการมีสิทธิที่สามารถบังคับให้จ่ายชําระสําหรับ การปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบัน ( ดูย่อหน้าที่ ข 9 ถึง ข 13)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 39 ลูกค้าได้รับและได้ใช้ประโยชน์จากผลของการปฏิบัติงานของกิจการในขณะที่กิจการ ปฏิบัติงาน ( ย่อหน้าที่ 35.1) ข 3 สําหรับภาระที่ต้องปฏิบัติบางประเภท การประเมินว่าลูกค้าได้รับและได้ใช้ประโยชน์จาก ผลของการปฏิบัติงานของกิจการในขณะที่กิจการปฏิบัติงานอาจจะไม่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น การบริการที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจํา ( เช่น บริการทําความสะอาด ) สามารถประเมินได้ง่ายว่า ลูกค้าได้รับและได้ใช้ประโยชน์จากผลของการปฏิบัติงานของกิจการในขณะที่กิจการ ปฏิบัติงาน ข 4 สําหรับภาระที่ต้องปฏิบัติประเภทอื่น กิจการอาจจะไม่สามารถระบุได้ทันทีว่าลูกค้าได้รับและ ได้ใช้ประโยชน์จากผลของการปฏิบัติงานของกิจการในขณะที่กิจการปฏิบัติงานหรือไม่ ใน สภาพแวดล้อมเหล่านั้น ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง ถ้ากิจการสามารถ ประเมินได้ว่า หากเกิดกรณีที่กิจการอื่นต้องเข้ามาปฏิบัติงานต่อจากกิจการสําหรับส่วนที่ กิจการยังไม่ได้ปฏิบัติ กิจการอื่นไม่จําเป็นต้องปฏิบัติงานซํ้าอย่างมีนัยสําคัญกับส่วนที่กิจการ ได้ปฏิบัติไปแล้วอีก ในการพิจารณาว่ากิจการอื่นไม่จําเป็นต้องปฏิบัติงานซํ้าอย่างมีนัยสําคัญ กับส่วนที่กิจการได้ปฏิบัติไปแล้วอีก ให้กิจการมีข้อสมมติสองข้อต่อไปนี้ ข 4.1 กิจการไม่ต้องคํานึงถึงข้อจํากัดตามสัญญาหรือข้อจํากัดในทางปฏิบัติ ที่อาจจะจํากัด ไม่ให้กิจการสามารถโอนภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังคงเหลืออยู่ไปยังกิจการอื่นได้ และ ข 4.2 กิจการต้องมีข้อสมมติว่ากิจการอื่นที่จะปฏิบัติงานตามภาระที่ต้องปฏิบัติที่ยังคง เหลืออยู่ ไม่ได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ใดๆ ที่กิจการควบคุมอยู่ในปัจจุบัน และ สินทรัพย์จะยังคงถูกควบคุมโดยกิจการถ้าภาระที่ต้องปฏิบัตินั้นถูกโอนไปไปกิจการอื่น ลูกค้าควบคุมสินทรัพย์ที่สร้างขึ้นหรือเพิ่มขึ้น ( ย่อหน้าที่ 35 . 2) ข 5 ในการพิจารณาว่าลูกค้าเป็นผู้ควบคุมสินทรัพย์ที่สร้างขึ้นหรือเพิ่มขึ้นตามย่อหน้าที่ 35.2 หรือไม่ กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 31 ถึง 34 และ 38 โดยสินทรัพย์ที่สร้างขึ้นหรือ เพิ่มขึ้น ( เช่น สินทรัพย์ที่เป็นงานระหว่างทํา ) สามารถเป็นได้ทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตน และไม่มี ตัวตน การปฏิบัติงานของกิจการไม่ได้สร้างสินทรัพย์ที่กิจการมีทางเลือกในการไปใช้ประโยชน์อื่นได้ ( ย่อหน้า ที่ 35.3) ข 6 การประเมินว่าสินทรัพย์นั้นกิจการมีทางเลือกในการไปใช้ประโยชน์อื่นได้หรือไม่ตามย่อหน้าที่ 36 กิจการจะต้องพิจารณาข้อจํากัดตามสัญญาและข้อจํากัดในทางปฏิบัติเกี่ยวกับความสามารถของ กิจการในการนําสินทรัพย์ไปใช้ประโยชน์อื่นได้ทันที เช่น การขายให้กับลูกค้ารายอื่น โดยความเป็นไปได้ของการยกเลิกสัญญาที่ทํากับลูกค้าถือว่าไม่มีความเกี่ยวข้องในการประเมิน ว่ากิจการสามารถนําสินทรัพย์ไปใช้ประโยชน์อื่นได้ทันทีหรือไม่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 40 ข 7 ข้อจํากัดตามสัญญาสําหรับความสามารถของกิจการที่จะนําสินทรัพย์ไปใช้ประโยชน์อื่นได้ จะต้องมีเนื้อหาการจํากัดการใช้สินทรัพย์ซึ่งทําให้กิจการไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์อื่นได้ ข้อจํากัดทางสัญญาจะถือว่ามีเนื้อหาก็ต่อเมื่อลูกค้าสามารถบังคับใช้สิทธิต่อสินทรัพย์ภายใต้ สัญญาได้ เมื่อกิจการจะนําสินทรัพย์ไปใช้ประโยชน์ในทางอื่น ในทางตรงกันข้าม ข้อจํากัดทาง สัญญาจะไม่มีเนื้อหา หากสินทรัพย์นั้นสามารถเปลี่ยนกับสินทรัพย์อื่นที่กิจการสามารถใช้ ส่งมอบให้กับลูกค้ารายอื่นได้โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสัญญา และกิจการไม่ต้องมีต้นทุน ที่มีนัยสําคัญเกิดขึ้น โดยต้นทุนดังกล่าวเป็นต้นทุนที่ไม่คาดว่าจะเกิดเนื่องจากสัญญานั้น ข 8 ข้อจํากัดในทางปฏิบัติเกี่ยวกับความสามารถของกิจการที่จะนําสินทรัพย์ไปใช้ประโยชน์อื่น เกิดขึ้น ถ้ากิจการมีความเสียหายเชิงเศรษฐกิจที่มีนัยสําคัญที่เกิดจากนําสินทรัพย์ไปใช้ ประโยชน์อื่น ความเสียหายเชิงเศรษฐกิจที่มีนัยสําคัญอาจเกิดจากต้นทุนที่มีนัยสําคัญใน การทํางานซํ้าของสินทรัพย์ หรือเกิดจากการที่กิจการขายสินทรัพย์ได้ในราคาที่ขาดทุนอย่างมี นัยสําคัญ ตัวอย่างเช่น กิจการมีข้อจํากัดในทางปฏิบัติเนื่องจากสินทรัพย์นั้นได้รับการออกแบบ ให้มีลักษณะเฉพาะสําหรับลูกค้ารายหนึ่งเท่านั้น หรือ สินทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่ห่างไกล สิทธิในการรับชําระสําหรับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบัน ( ย่อหน้าที่ 35.3) ข 9 ตามย่อหน้าที่ 37 กิจการมีสิทธิในการรับชําระสําหรับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบัน ถ้ากิจการมีสิทธิได้รับจํานวนเงินไม่น้อยกว่าค่าตอบแทนสําหรับงานที่กิจการทําแล้วจนถึง ปัจจุบันในกรณีซึ่งลูกค้าหรือบุคคลอื่นยกเลิกสัญญาด้วยเหตุผลอื่นที่นอกเหนือจากความผิด ของกิจการที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา จํานวนเงินค่าตอบแทนสําหรับงานที่กิจการทําแล้วจนถึง ปัจจุบันเป็นจํานวนเงินที่ใกล้เคียงกับราคาขายสินค้าหรือบริการที่ได้โอนแล้วจนถึงปัจจุบัน ( ตัวอย่างเช่น การชดเชยต้นทุนการทําให้ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นตามสัญญาของกิจการ ที่เกิดขึ้นโดยบวกกับกําไรส่วนเพิ่มอย่างสมเหตุสมผล ) โดยมิใช่จํานวนเงินชดเชยสําหรับ การสูญเสียของกําไรที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการยกเลิกสัญญา ทั้งนี้ การชดเชยกําไรส่วนเพิ่มที่ สมเหตุสมผลสําหรับต้นทุนที่เกิดแล้วไม่จําเป็นต้องเท่ากับกําไรส่วนเพิ่มที่คาดการณ์ไว้ใน กรณีที่มีการปฏิบัติงานตามสัญญาที่ทํากับลูกค้า แต่ทั้งนี้กิจการควรมีสิทธิที่จะได้รับการ ชดเชยสําหรับจํานวนเงินต่อไปนี้ ข 9.1 สัดส่วนของกําไรส่วนเพิ่มที่คาดการณ์ไว้ในสัญญาซึ่งสะท้อนถึงขอบเขตของการ ปฏิบัติงานของกิจการภายใต้สัญญาก่อนลูกค้า ( หรือบุคคลอื่น ) ยกเลิกสัญญาอย่าง สมเหตุสมผล หรือ ข 9.2 ผลตอบแทนอย่างสมเหตุสมผลต่อต้นทุนของเงินทุนของกิจการสําหรับสัญญาที่ คล้ายคลึงกัน ( หรือส่วนเพิ่มจากการดําเนินงานตามปกติของกิจการสําหรับสัญญาที่ คล้ายคลึงกัน ) ในกรณีที่ส่วนเพิ่มของสัญญาที่เฉพาะเจาะจงนี้สูงกว่าผลตอบแทนที่ มักจะได้จากสัญญาที่คล้ายคลึงกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 41 ข 10 สิทธิในการรับชําระของกิจการสําหรับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบันไม่จําเป็นต้องเป็นสิทธิ ในการรับชําระที่ปราศจากเงื่อนไข ในหลายๆ กรณี กิจการจะมีสิทธิในการรับชําระที่ปราศจาก เงื่อนไขตามขั้นของงานตามที่ตกลงกันไว้ หรือเมื่อภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ ในการประเมินว่ากิจการมีสิทธิในการรับชําระของกิจการสําหรับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึง ปัจจุบันหรือไม่ กิจการจะต้องพิจารณาว่ากิจการมีสิทธิที่ใช้บังคับได้ในการเรียกร้องหรือเก็บเงิน สําหรับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบันถ้าสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนจะเสร็จสิ้นตามสัญญา ด้วยเหตุผลอื่นนอกเหนือจากความผิดพลาดของกิจการในการปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ตกลงไว้ ข 11 ในบางสัญญาลูกค้าอาจมีสิทธิยกเลิกสัญญาเมื่อเป็นไปตามเวลาที่ระบุไว้ในช่วงอายุของสัญญา หรือลูกค้าอาจไม่มีสิทธิยกเลิกสัญญา หากลูกค้ายกเลิกสัญญาโดยที่ไม่มีสิทธิยกเลิกสัญญา ในเวลาดังกล่าว ( รวมถึงกรณีที่ลูกค้าไม่สามารถปฏิบัติตามภาระที่สัญญาไว้ ) สัญญา ( หรือ กฎหมายอื่น ) อาจให้สิทธิกิจการยังคงโอนสินค้าหรือบริการภายใต้สัญญาไปยังลูกค้าต่อไปได้ และกําหนดให้ลูกค้าต้องจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการที่ ได้รับ ในสภาพแวดล้อมข้างต้น กิจการมีสิทธิในการรับชําระของกิจการสําหรับการปฏิบัติงานที่ เสร็จสิ้นถึงปัจจุบัน เนื่องจากกิจการยังคงมีสิทธิปฏิบัติตามภาระที่ระบุไว้ในสัญญา และลูกค้ามี ภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา ( ซึ่งรวมถึงการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญา ) ข 12 ในการประเมินว่าสิทธิในการรับชําระสําหรับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นถึงปัจจุบันมีอยู่จริงและ สามารถบังคับใช้ได้ กิจการจะต้องคํานึงถึงเงื่อนไขตามสัญญา รวมถึงกฎหมาย หรือการบังคับใช้ กฎหมายในกรณีก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถนํามาสนับสนุนหรือหักล้างข้อกําหนดในสัญญา โดยต้อง รวมถึงการประเมินถึง ข 12.1 กฎหมาย การดําเนินการด้านกฎหมาย หรือการบังคับใช้กฎหมายในกรณีก่อนหน้านี้ที่ เกี่ยวข้องกับสิทธิในการรับชําระของกิจการสําหรับงานที่ทําแล้ว แม้ว่าสิทธิดังกล่าว ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญากับลูกค้า ข 12.2 หลักฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าสิทธิที่จะได้รับชําระเงินสําหรับ งานที่ทําแล้วที่มีความคล้ายคลึงกันไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย หรือ ข 12.3 แนวทางการดําเนินธุรกิจของกิจการของการเลือกที่จะไม่บังคับใช้สิทธิในการรับชําระ สําหรับงานที่ทําแล้วซึ่งส่งผลให้สิทธิดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ในสภาพแวดล้อมทาง กฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากิจการเลือกสละสิทธิในการรับชําระในสัญญาที่ คล้ายคลึงกัน กิจการจะยังคงมีสิทธิในการรับชําระสําหรับงานที่ทําแล้ว ถ้าสัญญาที่ทํา กับลูกค้ายังกําหนดให้สิทธิดังกล่าวยังคงอยู่และใช้บังคับได้ ข 13 กําหนดการชําระเงินที่ระบุไว้ในสัญญาไม่จําเป็นต้องบ่งชี้ว่ากิจการมีสิทธิที่บังคับใช้ได้ในการรับ ชําระเงินสําหรับงานที่ทําแล้ว แม้ว่ากําหนดการชําระเงินในสัญญาระบุถึงจังหวะเวลา และจํานวน เงินของสิ่งตอบแทนที่ลูกค้าต้องจ่ายชําระ กําหนดการชําระเงินอาจไม่เป็นหลักฐานว่ากิจการมี สิทธิได้รับชําระเงินสําหรับงานที่ทําแล้ว เพราะในบางกรณี ยกตัวอย่างเช่น สัญญาอาจจะระบุว่า สิ่งตอบแทนที่ได้รับจากลูกค้า เป็นจํานวนเงินที่กิจการต้องคืนด้วยเหตุผลอื่นนอกเหนือการที่ กิจการไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 42 วิธีวัดระดับความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ ข 14 วิธีที่สามารถใช้วัดระดับความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้ สมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง ตามย่อหน้าที่ 35 ถึง 37 รวมถึงวิธีดังต่อไปนี้ ข 14.1 วิธีผลผลิต ( ดูย่อหน้าที่ ข 15 ถึง ข 17) และ ข 14.2 วิธีปัจจัยนําเข้า ( ดูย่อหน้าที่ ข 18 ถึง ข 19) วิธีผลผลิต ข 15 วิธีผลผลิตจะรับรู้รายได้โดยอ้างอิงจากการวัดมูลค่าที่ให้กับลูกค้าจากสินค้าหรือบริการที่ได้ โอนให้กับลูกค้าแล้วเทียบกับสินค้าหรือบริการที่ยังคงเหลืออยู่ภายใต้สัญญา วิธีผลผลิต หมายรวมถึงการสํารวจผลการปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้วจนถึงปัจจุบัน การประเมินผล ความสําเร็จ ความคืบหน้า ระยะเวลาที่ใช้ จํานวนหน่วยของผลผลิต และจํานวนหน่วยของ งานที่ส่งมอบ เมื่อกิจการประเมินว่าจะใช้วิธีผลผลิตในการวัดความก้าวหน้า กิจการจะต้อง พิจารณาว่าผลลัพธ์ที่เลือกจะเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมที่แสดงถึงผลการปฏิบัติตามภาระที่ ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ วิธีผลผลิตจะไม่เป็นวิธีอันเที่ยงธรรมในการแสดงผล การปฏิบัติงานของกิจการ ถ้าผลผลิตที่เลือกไม่ได้เป็นตัววัดสินค้าหรือบริการบางส่วนที่ การควบคุมได้โอนไปยังลูกค้า ตัวอย่างเช่น วิธีผลผลิตที่คํานวณตามหน่วยของผลผลิตหรือ หน่วยของงานที่ส่งมอบ แต่ไม่ได้สะท้อนผลการปฏิบัติงานของกิจการที่จะทําให้ภาระที่ต้อง ปฏิบัติเสร็จสิ้น โดยวิธีนี้ หาก ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน การปฏิบัติงานของกิจการได้ ทําให้เกิดงานระหว่างทํา หรือสินค้าสําเร็จรูปที่ควบคุมโดยลูกค้า แต่ไม่ได้รวมอยู่ในการวัดผลผลิต ข 16 ในแนวทางปฏิบัติที่ผ่อนปรนให้ ถ้ากิจการมีสิทธิในการได้รับสิ่งตอบแทนจากลูกค้าในจํานวนเงิน ซึ่งสอดคล้องโดยตรงกับมูลค่าที่ให้กับลูกค้า ณ วันที่การดําเนินงานของกิจการนั้นเสร็จสิ้น ( ตัวอย่างเช่น สัญญาการให้บริการที่กิจการเรียกเก็บเงินด้วยจํานวนเงินที่แน่นอนตามชั่วโมง ที่ให้บริการ ) กิจการจะรับรู้รายได้ในจํานวนเงินซึ่งกิจการมีสิทธิออกใบแจ้งหนี้ ข 17 ข้อเสียของวิธีผลผลิต คือ การที่ผลผลิตที่ใช้ในการวัดความก้าวหน้าอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็น ได้โดยตรง และข้อมูลที่ต้องการใช้ กิจการอาจไม่สามารถหาได้โดยปราศจากต้นทุนที่สูงเกิน สมควร ดังนั้นกิจการอาจมีความจําเป็นต้องใช้วิธีปัจจัยนําเข้า วิธีปัจจัยนําเข้า ข 18 วิธีปัจจัยนําเข้าจะรับรู้รายได้โดยอ้างอิงถึงความพยายามของกิจการหรือปัจจัยนําเข้าที่ใช้ใน การปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น ( ตัวอย่างเช่น ทรัพยากรที่ใช้ จํานวนชั่วโมงแรงงาน ที่ใช้ไป ต้นทุนที่เกิดขึ้น ระยะเวลาที่ใช้ หรือชั่วโมงเครื่องจักรที่ใช้ ) โดยเทียบปัจจัยนําเข้า ที่คาดว่าจะใช้ทั้งหมดเพื่อปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น หากความพยายามของกิจการ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 43 หรือปัจจัยนําเข้าได้ใช้อย่างเท่าๆ กันตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน การรับรู้รายได้โดยวิธี เส้นตรงจึงอาจเป็นวิธีที่เหมาะสมสําหรับกิจการ ข 19 ข้อเสียของวิธีปัจจัยนําเข้า คือ ปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไปของกิจการอาจไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรง กับการโอนการควบคุมของสินค้าและบริการไปยังลูกค้า ดังนั้น กิจการต้องไม่นําปัจจัยนําเข้า บางปัจจัยที่ไม่ได้สะท้อนภาพการปฏิบัติงานของกิจการในการโอนการควบคุมสินค้าหรือ บริการไปให้กับลูกค้า เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการวัดความก้าวหน้าตามย่อหน้าที่ 39 ตัวอย่างเช่น ในการวัดโดยใช้ต้นทุนของปัจจัยนําเข้ามาเป็นเกณฑ์ การปรับปรุงการวัด ความก้าวหน้าดังกล่าวอาจต้องปรับปรุงในสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้ ข 19.1 เมื่อต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ได้ทําให้เกิดความก้าวหน้าในการทําให้ภาระที่ต้องปฏิบัติ เสร็จสิ้น ในกรณีตัวอย่างนี้ กิจการจะไม่รับรู้รายได้ตามต้นทุนที่เกิดขึ้นที่เกิดจากความ ไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกิจการซึ่งต้นทุนส่วนนี้ไม่ได้รวมอยู่ในราคา ตามสัญญา ( ตัวอย่างเช่น จํานวนเงินต้นทุนวัสดุที่สิ้นเปลือง ต้นทุนแรงงาน หรือ ทรัพยากรอื่นๆ ที่ไม่ได้คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้ เสร็จสิ้น ) ข 19.2 ในกรณีที่ต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นสัดส่วนเดียวกับความก้าวหน้าของการเสร็จสิ้นของ ภาระที่ต้องปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมเหล่านั้น การสะท้อนภาพการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด คือ กิจการอาจจะต้องปรับปรุงวิธีปัจจัยนําเข้าเพื่อให้กิจการรับรู้รายได้ไม่เกินต้นทุนที่ เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เพื่อสะท้อนภาพการปฏิบัติงานของกิจการอย่างเที่ยงธรรมในการ ปฏิบัติงาน กิจการจะรับรู้รายได้เป็นจํานวนเงินเท่ากับต้นทุนสินค้าที่ใช้ไปในการ ปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น ถ้ากิจการคาดได้ว่า ณ วันเริ่มต้นสัญญา รายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ ข 19.2.1 สินค้าที่ใช้ไม่มีความต่างพวก ข 19.2.2 คาดได้ว่าลูกค้าได้ควบคุมสินค้าอย่างมีนัยสําคัญ ก่อนที่ลูกค้าจะได้รับบริการ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ข 19.2.3 ต้นทุนของสินค้าที่โอนไปมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งหมดเพื่อให้ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น ข 19.2.4 กิจการซื้อสินค้าจากบุคคลที่สามซึ่งกิจการไม่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ และการผลิตสินค้าอย่างมีนัยสําคัญ ( แต่กิจการเป็นตัวการตามหลักการของ ย่อหน้าที่ ข 34 ถึง ข 38) การขายที่ให้สิทธิในการคืน ข 20 ในบางสัญญากิจการจะโอนการควบคุมผลิตภัณฑ์ไปให้ลูกค้า และให้สิทธิลูกค้าในการคืน ผลิตภัณฑ์ได้ด้วยเหตุผลต่างๆ ( เช่น ความไม่พึงพอใจผลิตภัณฑ์ ) และได้รับสิทธิอื่นๆ รวมกัน ดังต่อไปนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 44 ข 20.1 การคืนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนของสิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้ ข 20.2 จํานวนเงินที่สามารถใช้ลดหนี้ที่ค้างชําระ หรือจํานวนเงินที่จะค้างชําระต่อกิจการ และ ข 20.3 ให้ผลิตภัณฑ์อื่นเป็นการแลกเปลี่ยน ข 21 ในการปฏิบัติกับรายการโอนผลิตภัณฑ์ที่ให้สิทธิในการคืน ( และสําหรับการให้บริการที่ได้ให้ไป แล้ว แต่มีสิทธิให้เงินคืน ) กิจการจะรับรู้รายการดังนี้ ข 21.1 รายได้จากการโอนผลิตภัณฑ์ในจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะได้รับ ( ดังนั้น จะไม่มีการรับรู้รายได้จากผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะได้รับคืน ) ข 21.2 หนี้สินเงินคืน และ ข 21.3 สินทรัพย์ ( และรายการที่ปรับต้นทุนขายที่เกี่ยวข้อง ) สําหรับมูลค่าได้รับคืนจาก ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคืนจากลูกค้า เพื่อชําระหนี้สินเงินคืน ข 22 ข้อตกลงที่กิจการจะมีความพร้อมในการรับคืนผลิตภัณฑ์ได้ในระยะเวลาที่ให้คืนได้จะไม่ปฏิบัติ เป็นภาระที่ต้องปฏิบัติ แต่จะบันทึกเป็นภาระผูกพันที่จะต้องทําการคืนเงิน ข 23 กิจการจะใช้ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 47 ถึง 72 ( รวมถึงข้อกําหนดเรื่องข้อจํากัดของประมาณการ สิ่งตอบแทนผันแปรในย่อหน้าที่ 56 ถึง 58) เพื่อกําหนดจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนซึ่งกิจการ คาดว่าจะได้รับ ( กล่าวคือ ไม่รวมผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะได้รับคืน ) สําหรับจํานวนเงินที่ได้รับ ( หรือค้างรับ ) ที่กิจการไม่คาดว่าจะได้รับ กิจการต้องไม่รับรู้รายได้เมื่อผลิตภัณฑ์ได้รับการโอน ไปให้ลูกค้า แต่จะรับรู้จํานวนเงินที่ได้รับ ( หรือค้างรับ ) ดังกล่าวเป็นหนี้สินเงินคืน ต่อจากนั้น ณ วันสิ้นแต่ละรอบระยะเวลารายงาน กิจการจะต้องปรับปรุงประมาณการจํานวนเงินที่กิจการ คาดว่าจะได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนสําหรับผลิตภัณฑ์ที่โอน และปรับปรุงราคาของรายการ ให้สอดคล้องกัน และจํานวนเงินที่รับรู้เป็นรายได้ ข 24 กิจการต้องปรับปรุงการวัดมูลค่าของหนี้สินเงินคืน ณ วันสิ้นแต่ละรอบระยะเวลารายงาน สําหรับการเปลี่ยนแปลงประมาณการจํานวนเงินที่จะได้รับการขอคืน กิจการต้องรับรู้ การปรับปรุงรายการดังกล่าวกับรายได้ ( หรือ ส่วนที่หักจากรายได้ ) ข 25 สินทรัพย์ที่รับรู้สําหรับสิทธิในการได้รับผลิตภัณฑ์คืนจากลูกค้าในการชําระหนี้สินเงินคืน จะวัดมูลค่าเริ่มแรกโดยอ้างอิงกับมูลค่าตามบัญชีเดิมของผลิตภัณฑ์ ( ตัวอย่างเช่น สินค้า คงเหลือ ) หักด้วยต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการรับคืนผลิตภัณฑ์ ( รวมถึงการลดลงที่อาจจะ เกิดขึ้นกับกิจการในมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่รับคืน ) ณ วันสิ้นแต่ละรอบระยะเวลารายงาน กิจการจะต้องปรับปรุงสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการในการรับคืน ผลิตภัณฑ์ กิจการจะต้องแสดงสินทรัพย์แยกจากหนี้สินเงินคืน ข 26 การแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะ คุณภาพ สภาพ และราคาเหมือนกันโดยลูกค้า ( ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนสี หรือ เปลี่ยนขนาด ) จะไม่ถือเป็นการคืนผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ ข 27 สัญญาซึ่งลูกค้าอาจจะส่งคืนผลิตภัณฑ์ที่ชํารุดเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้ ให้ประเมินตามแนวทางในเรื่องการรับประกัน ตามย่อหน้าที่ ข 28 ถึง ข 33

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 45 การรับประกัน ข 28 ตามปกติ กิจการอาจจะมีการรับประกันผลิตภัณฑ์ที่ขายไป ( ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ ) ( ตามข้อกําหนดในสัญญา กฎหมาย หรือหลักปฏิบัติทางธุรกิจของกิจการ ) ธรรมชาติของการ รับประกันอาจมีความแตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรมและสัญญาอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งการรับประกันบางประเภทเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์นั้น จะสามารถใช้งานได้อย่างที่ทั้งสองฝ่ายตั้งใจตามคุณลักษณะที่ตกลงกัน การรับประกัน บางประเภทจะถือว่ามีการให้บริการแก่ลูกค้าเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการสร้างความเชื่อมั่น ให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์จะใช้งานได้ตามคุณลักษณะที่ตกลงกัน ข 29 หากลูกค้ามีสิทธิที่จะซื้อการรับประกันแยกต่างหาก ( ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการตั้งราคา การรับประกัน หรือมีการต่อรองแยกจากกัน ) การรับประกันนั้นถือเป็นการบริการที่ต่างพวก เนื่องจากกิจการสัญญาว่าจะให้บริการเพิ่มเติมจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้อย่างที่ระบุตามสัญญา ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว กิจการต้องปฏิบัติกับการรับประกันนั้นเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติอีก ประการหนึ่งตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 22 ถึง 30 และต้องปันส่วนราคาของรายการไปยังภาระ ที่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 73 ถึง 86 ข 30 หากว่าลูกค้าไม่มีสิทธิที่จะเลือกซื้อการรับประกันแยกต่างหาก กิจการต้องปฏิบัติกับการรับประกัน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ ที่อาจเกิดขึ้น เว้นแต่ การรับประกันนั้นหรือส่วนหนึ่งของการรับประกันนั้นเป็นการให้บริการ เพิ่มเติมแก่ลูกค้านอกเหนือไปจากการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์จะใช้งานได้ ตามคุณลักษณะที่ตกลงกัน ข 31 ในการประเมินว่าการรับประกันเป็นการให้บริการแก่ลูกค้าที่นอกเหนือไปจากการสร้างความ เชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์จะใช้งานได้ตามคุณลักษณะที่ตกลงกัน กิจการจะต้องพิจารณา ปัจจัยต่างๆ เช่น ข 31.1 การรับประกันนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดหรือไม่ - ถ้ากฎหมายกําหนดให้ กิจการต้องมีการรับประกัน การมีข้อกําหนดทางกฎหมายในการให้กิจการต้อง รับประกันบ่งชี้ว่าการรับประกันไม่ใช่ภาระที่ต้องปฏิบัติ เนื่องจากโดยปกติแล้ว ข้อกําหนดดังกล่าวได้รับการกําหนดขึ้นเพื่อปกป้องลูกค้าจากความเสี่ยงของการซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่บกพร่อง ข 31.2 ระยะเวลาการรับประกัน – ช่วงเวลาที่ให้การรับประกันยิ่งมีความยาวนาน มีความ เป็นไปได้มากขึ้นที่การรับประกันดังกล่าวจะเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติ เนื่องจากมีความ เป็นไปได้มากที่การรับประกันดังกล่าวจะเป็นการให้บริการเพิ่มเติมนอกเหนือไปจาก การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์จะใช้งานได้ตามคุณลักษณะที่ตกลงกัน ข 31.3 ธรรมชาติของงานที่กิจการให้สัญญาว่าจะดําเนินการ – ถ้ากิจการจําเป็นจะต้อง ปฏิบัติงานใดงานหนึ่งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์จะใช้งานได้ตาม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 46 คุณลักษณะที่ตกลงกัน ( ตัวอย่างเช่น บริการจัดส่งคืนผลิตภัณฑ์ที่ชํารุด ) งานใน ลักษณะดังกล่าวมีความเป็นไปได้ว่าไม่ใช่ภาระที่ต้องปฏิบัติ ข 32 หากการรับประกัน หรือบางส่วนของการรับประกัน กิจการได้ให้บริการกับลูกค้าเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์จะใช้งานได้ตามคุณลักษณะ ที่ตกลงกัน การบริการตามสัญญานี้ถือเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติ ดังนั้น กิจการจะปันส่วนราคาของ รายการไปให้ผลิตภัณฑ์และบริการ ถ้ากิจการมีสัญญารับประกันทั้งประเภทที่ให้ความเชื่อมั่น และการรับประกันประเภทการให้บริการ แต่ไม่สามารถแยกออกจากกันอย่างสมเหตุสมผลได้ ให้กิจการปฏิบัติกับการรับประกันทั้งสองแบบร่วมกันโดยถือว่าเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติภาระ เดียวกัน ข 33 กฎหมายที่กําหนดให้กิจการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ของกิจการก่อให้เกิดอันตราย หรือ ความเสียหาย ไม่ถือว่าข้อกําหนดดังกล่าวทําให้เกิดภาระที่ต้องปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตอาจจะ ขายผลิตภัณฑ์ในประเทศที่กฎหมายกําหนดให้ผู้ผลิตเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ( ตัวอย่างเช่น ต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล ) ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์ตาม วัตถุประสงค์ ในทํานองเดียวกัน หากกิจการให้สัญญาว่าจะชดเชยค่าเสียหายให้กับลูกค้าสําหรับ หนี้สินและค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเรียกร้องด้านสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือ การละเมิดต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ของกิจการ ไม่ถือว่าทําให้เกิดภาระที่ต้องปฏิบัติ กิจการต้อง ปฏิบัติกับภาระผูกพันดังกล่าวตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 การพิจารณาว่าเป็นตัวการหรือตัวแทน ข 34 เมื่อบุคคลอื่นมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดหาสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า กิจการจะต้องกําหนด ว่าตามธรรมชาติของสัญญา สัญญานั้นเป็นภาระที่กิจการต้องปฏิบัติในการจัดหาสินค้าหรือ บริการที่ระบุด้วยตัวเอง ( กิจการเป็นตัวการ ) หรือเพื่อจัดการให้สินค้าหรือบริการเหล่านั้น ได้รับการจัดหาโดยบุคคลอื่น ( กิจการเป็นตัวแทน ) กิจการกําหนดว่ากิจการเป็นตัวการหรือ ตัวแทนสําหรับแต่ละรายการของสินค้าหรือบริการที่ระบุซึ่งสัญญาว่าจะให้กับลูกค้ารายนั้น สินค้าหรือบริการที่ระบุ คือ สินค้าหรือบริการต่างพวก ( หรือกลุ่มสินค้าหรือบริการต่างพวก ) ที่ให้กับลูกค้า ( ดูย่อหน้าที่ 27 ถึง 30) หากสัญญาที่ทํากับลูกค้าประกอบด้วยสินค้าหรือ บริการที่แตกต่างกันมากกว่าหนึ่งรายการ กิจการสามารถเป็นตัวการสําหรับสินค้าหรือบริการ ที่ระบุบางรายการ และเป็นตัวแทนสําหรับรายการอื่นๆ ข 34 ก การกําหนดธรรมชาติของสัญญา ( ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ ข 34) กิจการต้อง ข 34 ก .1 ระบุสินค้าหรือบริการที่สัญญาว่าจะให้กับลูกค้า ( ตัวอย่างเช่น สามารถเป็นสิทธิต่อ สินค้าหรือบริการที่จะได้จัดหาโดยบุคคลอื่น ( ดูย่อหน้าที่ 26)) และ ข 34 ก .2 ประเมินว่ากิจการควบคุม ( ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 33) สินค้าหรือบริการที่ระบุแต่ละ รายการหรือไม่ ก่อนที่สินค้าหรือบริการนั้นจะโอนไปให้กับลูกค้า

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 47 ข 35 กิจการเป็นตัวการ ถ้ากิจการควบคุมสินค้าหรือบริการที่ระบุก่อนที่สินค้าหรือบริการจะโอนไปให้ ลูกค้า อย่างไรก็ตาม การที่กิจการมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในสินค้านั้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายจะโอนไปให้กับลูกค้า ไม่ได้จําเป็นว่ากิจการควบคุมสินค้าที่ระบุได้ กิจการที่เป็นตัวการจะปฏิบัติงานเพื่อให้ภาระที่ต้องปฏิบัติในการจัดหาสินค้าหรือบริการที่ระบุให้ เสร็จสิ้นโดยกิจการนั้น หรือจะว่าจ้างให้บุคคลอื่น ( ตัวอย่างเช่น ผู้รับเหมาช่วง ) ปฏิบัติงานภาระ ที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นบางส่วนหรือทั้งหมดแทนกิจการ ข 35 ก เมื่อบุคคลอื่นมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดหาสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า กิจการซึ่งเป็นตัวการมี อํานาจควบคุมสิ่งใดสิ่งหนึ่งดังนี้ ข 35 ก .1 สินค้าหรือสินทรัพย์อื่นจากบุคคลอื่นที่จะโอนให้กับลูกค้า ข 35 ก .2 สิทธิในการบริการที่จะดําเนินการโดยบุคคลอื่น ซึ่งทําให้กิจการสามารถกําหนดให้ บุคคลนั้นให้บริการดังกล่าวกับลูกค้าแทนกิจการ ข 35 ก .3 สินค้าหรือบริการจากบุคคลอื่นที่รวมกับสินค้าหรือบริการอื่นในการจัดหาสินค้าหรือ บริการที่ระบุให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น หากกิจการให้บริการที่มีนัยสําคัญในการบูรณาการ สินค้าหรือบริการ ( ดูย่อหน้าที่ 29.1) โดยบุคคลอื่นจัดหาสินค้าหรือบริการที่ระบุ สําหรับลูกค้าที่ทําสัญญาไว้ กิจการมีการควบคุมสินค้าหรือบริการที่ระบุก่อนที่สินค้า หรือบริการนั้นจะโอนให้กับลูกค้า เนื่องจาก เริ่มแรกกิจการมีการควบคุมในปัจจัย นําเข้าของสินค้าหรือบริการที่ระบุ ( รวมถึงสินค้าหรือบริการจากบุคคลอื่น ) และ สามารถกําหนดการใช้งานในการก่อให้เกิดผลผลิตร่วม นั่นคือ สินค้าหรือบริการที่ระบุ ดังกล่าว ข 35 ข เมื่อ ( หรือในขณะที่ ) กิจการซึ่งเป็นตัวการดําเนินการให้ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น กิจการ ต้องรับรู้รายได้ด้วยจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนขั้นต้นที่คาดว่าจะได้รับเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน กับสินค้าหรือบริการที่ระบุที่โอนไป ข 36 กิจการเป็นตัวแทน เมื่อกิจการมีภาระที่ต้องปฏิบัติคือการจัดการให้มีการจัดหาสินค้าหรือ บริการที่ระบุจากบุคคลอื่น กิจการที่เป็นตัวแทนไม่ได้ควบคุมสินค้าหรือบริการที่ระบุที่จัดหา โดยบุคคลอื่นก่อนที่จะโอนให้กับลูกค้า ดังนั้น เมื่อ ( หรือในขณะที่ ) กิจการซึ่งเป็นตัวแทน ปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น กิจการต้องรับรู้รายได้ด้วยจํานวนเงินค่าธรรมเนียม หรือค่านายหน้าซึ่งคาดว่าจะได้รับจากการจัดการให้มีการจัดหาสินค้าและบริการที่ระบุโดย บุคคลอื่น ค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าของกิจการอาจจะเท่ากับจํานวนเงินของสิ่งตอบแทน สุทธิ ซึ่งกิจการเก็บไว้หลังจากการจ่ายสิ่งตอบแทนที่ได้รับเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินค้า หรือบริการที่โอนให้กับบุคคลอื่นแล้ว ข 37 ข้อบ่งชี้ว่ากิจการควบคุมสินค้าหรือบริการที่ระบุก่อนโอนไปยังลูกค้า ( ซึ่งหมายความว่ากิจการ เป็นตัวการ ( ดูย่อหน้าที่ ข 35)) รวมถึงแต่ไม่จํากัดเพียงรายการดังต่อไปนี้ ข 37.1 กิจการเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการปฏิบัติตามข้อตกลงที่จะจัดหาสินค้าหรือบริการ ที่ระบุ ซึ่งปกติจะรวมถึงความรับผิดชอบต่อการยอมรับสินค้าหรือบริการที่ระบุ ( ตัวอย่างเช่น ความรับผิดชอบหลักต่อการที่สินค้าหรือบริการมีคุณลักษณะตาม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 48 ข้อกําหนดของลูกค้า ) หากกิจการมีความรับผิดชอบหลักในการปฏิบัติตามข้อตกลง ที่จะจัดหาสินค้าหรือบริการที่ระบุ อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการ จัดหาสินค้าหรือบริการที่ระบุทําหน้าที่แทนกิจการ ข 37.2 กิจการมีความเสี่ยงจากสินค้าคงเหลือก่อนที่สินค้าหรือบริการที่ระบุจะโอนให้ลูกค้า หรือหลังจากโอนการควบคุมให้ลูกค้า ( ตัวอย่างเช่น กรณีลูกค้ามีสิทธิคืนสินค้าหรือ บริการ ) ตัวอย่างเช่น หากกิจการได้มาหรือมีข้อผูกพันในการได้มาซึ่งสินค้าหรือ บริการที่ระบุก่อนการได้มาซึ่งสัญญาที่ทํากับลูกค้า อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่ากิจการมี ความสามารถในการสั่งการการใช้ และได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดส่วนใหญ่ จากสินค้าหรือบริการก่อนที่จะโอนให้ลูกค้า ข 37.3 กิจการเป็นผู้มีสิทธิในการกําหนดราคาสินค้าหรือบริการที่ระบุ การกําหนดราคาซึ่ง ลูกค้าจ่ายชําระสําหรับสินค้าหรือบริการที่ระบุ อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่ากิจการมีความสามารถ สั่งการการใช้ และได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดส่วนใหญ่จากสินค้าหรือบริการ แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีตัวแทนสามารถเป็นผู้มีสิทธิในการกําหนดราคาได้ ตัวอย่างเช่น ตัวแทนอาจมีความยืดหยุ่นในการกําหนดราคา เพื่อสร้างรายได้ เพิ่มเติมจากการจัดการให้มีการจัดหาสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าโดยบุคคลอื่น ข 37 ก ข้อบ่งชี้ในย่อหน้าที่ ข 37 อาจเกี่ยวข้องต่อการประเมินการควบคุมมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ธรรมชาติของสินค้าหรือบริการที่ระบุ และข้อกําหนดและเงื่อนไขของสัญญา นอกจากนี้ ข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกันอาจนํามาซึ่งหลักฐานเพิ่มเติมที่มีนํ้าหนักในสัญญาที่แตกต่างกัน ข 38 ถ้ากิจการอื่นสันนิษฐานว่าได้โอนภาระที่ต้องปฏิบัติของกิจการและสิทธิตามสัญญา จนทําให้ กิจการไม่มีหน้าที่ในการโอนสินค้าหรือบริการที่ระบุไปยังลูกค้าอีกต่อไป ( กล่าวคือ กิจการ ไม่ได้เป็นตัวการอีกต่อไป ) กิจการต้องไม่รับรู้รายได้สําหรับภาระที่ต้องปฏิบัตินั้น แต่กิจการต้อง ประเมินว่ากิจการต้องรับรู้รายได้จากการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติในการทําให้เกิดสัญญาแก่ บุคคลอื่น ( กล่าวคือ ประเมินว่ากิจการเป็นตัวแทนหรือไม่ ) สิทธิที่มอบให้กับลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่ม ข 39 สิทธิที่มอบให้กับลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่มโดยให้ฟรี หรือมีส่วนลดให้มีหลาย รูปแบบ เช่น เงินจูงใจการซื้อสินค้า คะแนนสะสมกับลูกค้า ( หรือ “ คะแนน ”) สิทธิในการเลือก ต่อสัญญา หรือการให้ส่วนลดสําหรับการซื้อสินค้าหรือบริการในอนาคต ข 40 หากสัญญาระบุว่ากิจการให้สิทธิในการเลือกซื้อแก่ลูกค้าในการได้รับสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม สิทธิในการเลือกซื้อที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวจะทําให้เกิดภาระที่ต้องปฏิบัติ ก็ต่อเมื่อสิทธิใน การเลือกซื้อนั้นทําให้เกิดสิทธิที่มีสาระสําคัญที่จะทําให้ลูกค้าได้รับสิทธิบางอย่างที่ลูกค้าจะไม่ได้รับ หากไม่ได้เข้าทําสัญญาดังกล่าว ( ตัวอย่างเช่น ส่วนลดเพิ่มเติมมากไปกว่าส่วนลดที่ปกติกิจการได้ ให้แก่ลูกค้าในกลุ่มที่อยู่ในเขตภูมิศาสตร์หรือตลาดเดียวกันสําหรับสินค้าหรือบริการเหล่านั้น ) ถ้าสิทธิในการเลือกซื้อดังกล่าวทําให้เกิดสิทธิที่มีสาระสําคัญแก่ลูกค้า จะถือว่าลูกค้าได้จ่ายเงิน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 49 ล่วงหน้าสําหรับสินค้าหรือบริการในอนาคต กิจการจึงต้องรับรู้รายได้เมื่อโอนสินค้าหรือบริการ ในอนาคตให้ลูกค้า หรือรับรู้เมื่อสิทธิในการเลือกหมดอายุ ข 41 หากลูกค้ามีสิทธิในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่มในราคาเช่นเดียวกับราคาขายแบบเอกเทศ ของสินค้าหรือบริการนั้น สิทธิในการเลือกซื้อดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นสิทธิที่มีสาระสําคัญ ถึงแม้ว่า สิทธิในการเลือกซื้อดังกล่าวจะมีได้ก็ต่อเมื่อลูกค้าต้องเข้าทําสัญญาดังกล่าว ในกรณีเหล่านี้ มักเป็นกิจการยื่นข้อเสนอทางการตลาดซึ่งกิจการต้องปฏิบัติกับรายการตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้เมื่อลูกค้าใช้สิทธิในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม ข 42 ย่อหน้าที่ 74 กําหนดให้กิจการต้องปันส่วนราคาของรายการให้แก่ภาระที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ ราคาขายแบบเอกเทศ ถ้าราคาขายแบบเอกเทศสําหรับสิทธิของลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าหรือ บริการเพิ่มเติมไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง กิจการต้องประมาณราคาดังกล่าว การประมาณการ ดังกล่าวให้คํานึงถึงส่วนลดที่ให้แก่ลูกค้าเมื่อลูกค้าใช้สิทธิในการเลือก โดยปรับปรุงด้วยข้อมูล ดังต่อไปนี้ ข 42.1 ส่วนลดซึ่งลูกค้าสามารถได้รับโดยปราศจากการใช้สิทธิในการเลือก และ ข 42.2 ความน่าจะเป็นที่ลูกค้าจะใช้สิทธิในการเลือก ข 43 ถ้าลูกค้ามีสิทธิที่มีสาระสําคัญในการซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่มในอนาคต และสินค้าหรือบริการ นั้นมีความคล้ายคลึงกับสินค้าหรือบริการในสัญญาดั้งเดิมและเป็นไปตามที่ระบุในเงื่อนไขของ สัญญาดั้งเดิม กิจการอาจเลือกใช้วิธีปฏิบัติอื่นในการประมาณการราคาขายแบบเอกเทศของสิทธิ ในการเลือก โดยการปันส่วนราคาของรายการให้กับสินค้าหรือบริการที่ลูกค้ามีสิทธิเลือกซื้อโดย อ้างอิงกับสินค้าหรือบริการที่คาดว่าจะจัดส่งให้กับลูกค้าและสิ่งตอบแทนที่คาดว่าจะได้จัดหาที่ เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการนั้น โดยปกติสิทธิในการเลือกดังกล่าวจะใช้ในกรณีสิทธิเลือกใน การต่อสัญญา สิทธิที่ลูกค้าไม่ใช้ ข 44 ตามย่อหน้าที่ 106 กิจการต้องรับรู้รายการเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าเป็นหนี้สินที่เกิดจากสัญญา ทั้งจํานวนของเงินรับล่วงหน้าสําหรับภาระที่ต้องปฏิบัติในการโอนหรือมีความพร้อมในการโอน สินค้าหรือบริการในอนาคต และกิจการต้องเลิกรับรู้หนี้สินที่เกิดจากสัญญาดังกล่าว ( และรับรู้ เป็นรายได้ ) เมื่อมีการโอนสินค้าหรือบริการ และถือว่าภาระที่ต้องปฏิบัติดังกล่าวเสร็จสิ้นลง ข 45 เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าของกิจการที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ แสดงถึงสิทธิที่ลูกค้าจะได้รับสินค้า หรือบริการในอนาคต ( และมีผลผูกพันให้กิจการต้องมีความพร้อมในการโอนสินค้าหรือบริการ ) อย่างไรก็ตาม ลูกค้าอาจไม่ใช้สิทธิตามสัญญาทั้งหมด สิทธิตามสัญญาส่วนที่ลูกค้าไม่ได้ใช้มักจะ เรียกว่าเป็นการสละสิทธิ (Breakage) ข 46 หากกิจการคาดได้ว่าจะมีสิทธิรับจํานวนเงินที่สละสิทธิที่แสดงเป็นหนี้สินที่เกิดจากสัญญา กิจการ ต้องรับรู้จํานวนเงินที่คาดได้ว่าจะมีการสละสิทธิเป็นรายได้ตามสัดส่วนของรูปแบบการใช้สิทธิ โดยลูกค้า หากกิจการไม่คาดว่าจะมีสิทธิรับจํานวนเงินที่สละสิทธิ กิจการต้องรับรู้จํานวนเงินที่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 50 คาดได้ว่าจะมีการสละสิทธิเป็นรายได้เมื่อมีความเป็นไปได้ยากยิ่งที่ลูกค้าจะใช้สิทธิที่เหลือ ในการกําหนดว่ากิจการคาดได้หรือไม่ว่ากิจการจะได้รับจํานวนเงินที่สละสิทธิ กิจการต้อง พิจารณาข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 56 ถึง 58 เรื่องประมาณการสิ่งตอบแทนผันแปรที่ยังไม่ให้รับรู้ เป็นรายได้ ข 47 กิจการต้องรับรู้หนี้สิน ( ไม่ใช่รายได้ ) สําหรับสิ่งตอบแทนที่ได้รับสําหรับส่วนที่ลูกค้าไม่ได้ใช้สิทธิ ซึ่งกิจการจะต้องนําส่งสิ่งตอบแทนดังกล่าวให้กับบุคคลอื่น ตัวอย่างเช่น หน่วยงานรัฐบาลตาม กฎหมายเรื่องทรัพย์สินที่ไม่มีผู้ใดแสดงความเป็นเจ้าของ ค่าธรรมเนียมเริ่มแรกที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ ( และต้นทุนที่เกี่ยวข้องบางประการ ) ข 48 ในบางสัญญา กิจการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเริ่มแรกที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ ณ วันที่เริ่มต้น ของสัญญา หรือใกล้วันที่เริ่มต้นของสัญญา ยกตัวอย่างเช่น ค่าธรรมเนียมการเข้าเป็นสมาชิก ของศูนย์สุขภาพ ค่าแรกเข้าในสัญญาบริการโทรคมนาคม ค่าธรรมเนียมการติดตั้งในสัญญา ให้บริการ หรือค่าธรรมเนียมแรกเริ่มในสัญญาจัดหาวัตถุดิบ ข 49 ในการระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา กิจการต้องประเมินว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าว เกี่ยวข้องกับการโอนสินค้าหรือบริการตามสัญญาหรือไม่ ในหลายกรณี แม้ว่าค่าธรรมเนียม เริ่มแรกที่ไม่สามารถเรียกคืนได้มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่กิจการต้องทํา ณ วันที่หรือ ใกล้วันที่เริ่มต้นของสัญญาเพื่อบรรลุข้อตกลงในสัญญา แต่กิจกรรมดังกล่าวไม่ได้ส่งผลให้ เกิดการโอนสินค้าหรือบริการตามสัญญาให้แก่ลูกค้า ( ดูย่อหน้าที่ 25) ในทางกลับกัน ในกรณีที่ค่าธรรมเนียมเริ่มแรกเป็นเงินจ่ายล่วงหน้าสําหรับสินค้าหรือบริการที่จะโอนใน อนาคต ในกรณีเช่นว่า ให้รับรู้ค่าธรรมเนียมเริ่มแรกดังกล่าวเป็นรายได้เมื่อมีการโอนสินค้า หรือบริการในอนาคต ระยะเวลาในการรับรู้รายได้อาจขยายออกไปนอกเหนือจาก ระยะเวลาตามสัญญาฉบับแรก หากกิจการให้สิทธิแก่ลูกค้าในการทําสัญญาใหม่และสิทธิที่ ให้แก่ลูกค้าดังกล่าวมีสาระสําคัญตามคําอธิบายในย่อหน้าที่ ข 40 ข 50 หากค่าธรรมเนียมเริ่มแรกมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ กิจการต้องประเมินว่า สินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติแยกต่างหากตามย่อหน้าที่ 22 ถึง 30 หรือไม่ ข 51 กิจการอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่เรียกคืนไม่ได้ เพื่อบางส่วนจะเป็นการชดเชยต้นทุนที่ เกิดขึ้นจากดําเนินการเพื่อการทําสัญญา ( หรืองานการบริหารจัดการอื่นตามย่อหน้าที่ 25) โดยหากการดําเนินการเพื่อการทําสัญญาไม่ได้ทําให้ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น กิจการต้อง ไม่รวมการดําเนินการดังกล่าว ( รวมทั้งต้นทุนที่เกี่ยวข้อง ) ในการประเมินความก้าวหน้า ตามย่อหน้าที่ ข 19 เนื่องจากต้นทุนการดําเนินการเพื่อทําสัญญานั้นไม่ได้สะท้อนการโอน บริการให้แก่ลูกค้า กิจการต้องประเมินว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นในการดําเนินการเพื่อทําสัญญา ทําให้เกิดสินทรัพย์ที่กิจการสามารถบันทึกได้ตามย่อหน้าที่ 95 หรือไม่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 51 การให้สิทธิ ข 52 การให้สิทธิทําให้ลูกค้ามีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของกิจการ การให้สิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาอาจรวมถึงแต่ไม่จํากัดเพียงการให้สิทธิในรายการดังต่อไปนี้ ข 52.1 ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยี ข 52.2 ภาพยนตร์ เพลงและสื่อบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ข 52.3 แฟรนไชส์ และ ข 52.4 สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ ข 53 กิจการอาจตกลงที่จะส่งมอบสินค้าหรือบริการอื่นให้แก่ลูกค้านอกเหนือจากข้อตกลงในการ ให้สิทธิแก่ลูกค้า ข้อตกลงดังกล่าวอาจระบุไว้ชัดเจนในสัญญา หรือ อาจเป็นข้อตกลงโดยนัยที่ เป็นไปตามประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจของกิจการ นโยบายหรือคําแถลงที่เผยแพร่ของกิจการใน เรื่องดังกล่าว ( ดูย่อหน้าที่ 24) กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 22 ถึง 30 ในการระบุภาระ ที่ต้องปฏิบัติในแต่ละสัญญาสําหรับการให้สิทธิเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อตกลงที่จะโอนสินค้า หรือบริการอื่นตามสัญญา เช่นเดียวกับสัญญาประเภทอื่น ข 54 ถ้าข้อตกลงในการให้สิทธิไม่ต่างพวกจากข้อตกลงในการโอนสินค้าหรือบริการอื่นตามสัญญา ตามย่อหน้าที่ 26 ถึง 30 กิจการต้องปฏิบัติกับข้อตกลงในการให้สิทธิและข้อตกลงในการ โอนสินค้าหรือบริการอื่นตามสัญญาเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติเดียวกัน ตัวอย่างการให้สิทธิที่ไม่ ต่างพวกจากข้อตกลงในการโอนสินค้าหรือบริการอื่นตามสัญญามีดังนี้ ข 54.1 การให้สิทธินั้นถือว่าเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสินค้าที่มีตัวตน และสิทธิดังกล่าวถือว่า เป็นส่วนหนึ่งในการที่ทําให้สินค้าจะใช้งานได้ และ ข 54.2 การให้สิทธิที่ทําให้ลูกค้าได้รับประโยชน์ก็ต่อเมื่อใช้สิทธิดังกล่าว พร้อมกับบริการที่ เกี่ยวข้องเท่านั้น ( เช่น บริการออนไลน์ที่กิจการจัดให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลโดยการทํา การให้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ) ข 55 กรณีการให้สิทธิไม่ต่างพวก กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 31 ถึง 38 เพื่อกําหนดว่าภาระที่ ต้องปฏิบัติ ( ซึ่งรวมถึงข้อตกลงตามการให้สิทธิ ) เป็นภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้นตลอด ช่วงเวลาหนึ่งหรือเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ข 56 ถ้าข้อตกลงตามการให้สิทธิต่างพวกจากข้อตกลงในการโอนสินค้าหรือบริการอื่นตามสัญญา ข้อตกลงในการให้สิทธิเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติที่แยกต่างหาก กิจการต้องกําหนดว่าการให้สิทธิ ดังกล่าวแก่ลูกค้าเป็นการโอน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง โดยในการกําหนด จังหวะเวลานี้กิจการต้องพิจารณาว่าข้อตกลงตามการให้สิทธิแก่ลูกค้ามีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ ข 56.1 สิทธิในการเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาของกิจการที่มีอยู่ตลอดอายุของการให้สิทธิ หรือ ข 56.2 สิทธิในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของกิจการที่มีอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในการให้สิทธิ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 52 การกําหนดธรรมชาติสัญญาของกิจการ ข 57 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ข 58 ธรรมชาติของข้อตกลงที่กิจการให้สิทธิเป็นการให้สิทธิในการเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาของ กิจการ ถ้าหากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ ข 58.1 สัญญากําหนด หรือลูกค้ามีความคาดหวังอย่างสมเหตุสมผลว่ากิจการจะต้องดําเนิน กิจกรรมที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อทรัพย์สินทางปัญญาที่ลูกค้ามีสิทธิ ( ดูย่อหน้าที่ ข 59 และ ข 59 ก ) ข 58.2 สิทธิที่เกิดจากการให้สิทธินั้นทําให้ลูกค้าเป็นผู้มีฐานะเปิดโดยตรงต่อผลกระทบ แง่บวกหรือลบที่เกิดจากกิจกรรมของกิจการที่ระบุในย่อหน้าที่ ข 58.1 และ ข 58.3 กิจกรรมเหล่านั้นไม่ได้ทําให้เกิดการโอนสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าในขณะที่ กิจกรรมเหล่านั้นกําลังดําเนินไป ( ดูย่อหน้าที่ 25) ข 59 ปัจจัยที่อาจระบุว่าลูกค้าเกิดความคาดหวังอย่างสมเหตุสมผลว่ากิจการจะรับผิดชอบกิจกรรมที่ ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อทรัพย์สินทางปัญญา รวมไปถึงตามประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจ ของกิจการ นโยบายหรือคําแถลงที่เผยแพร่ของกิจการ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการกําหนดไว้ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ( ตัวอย่างเช่น ค่าสิทธิที่กําหนดตามยอดขาย (a sales-based royalty)) ระหว่างกิจการและลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งลูกค้ามีสิทธิอาจจะระบุ ว่าลูกค้าสามารถคาดหวังได้ว่ากิจการจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อกิจกรรมดังกล่าว ข 59 ก กิจการมีกิจกรรมที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อทรัพย์สินทางปัญญาที่ลูกค้าได้รับสิทธิ ก็ต่อเมื่อเข้าข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ข 59 ก .1 กิจกรรมเหล่านั้นคาดว่าจะเปลี่ยนรูปแบบ ( ตัวอย่างเช่น การออกแบบหรือเนื้อหา ) หรือการใช้งานอย่างมีนัยสําคัญ ( ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการดําเนินการตาม หน้าที่หรือปฏิบัติงาน ) ของทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ข 59 ก .2 ความสามารถของลูกค้าที่จะได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาเกือบทั้งหมดที่ ได้มาจากหรือขึ้นอยู่กับกิจกรรมเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น การได้รับประโยชน์จาก ตราสินค้า ส่วนใหญ่ได้มาจากหรือขึ้นอยู่กับการดําเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของ กิจการ ซึ่งสนับสนุนหรือรักษามูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น หากทรัพย์สินทางปัญญาที่ลูกค้าได้รับสิทธิ มีการใช้งานที่สําคัญเป็นเอกเทศ โดยประโยชน์ส่วนใหญ่จากทรัพย์สินทางปัญญาได้มาจากการใช้งานดังกล่าว ดังนั้น ความสามารถของลูกค้าที่จะได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาอาจไม่ได้เป็นผลมาจาก กิจกรรมของกิจการอย่างมีนัยสําคัญ เว้นแต่ว่า กิจกรรมดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และการใช้งานของทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีนัยสําคัญ ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาที่ ส่วนมากมีการใช้งานที่สําคัญเป็นเอกเทศ รวมถึง ซอฟต์แวร์ สารประกอบชีวภาพหรือสูตรยา และเนื้อหาสื่อที่เสร็จสมบูรณ์ ( ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และเพลงที่บันทึกแล้ว )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 53 ข 60 หากเข้าเงื่อนไขที่ระบุในย่อหน้าที่ ข 58 กิจการต้องปฏิบัติกับข้อตกลงตามการให้สิทธิเป็นภาระที่ ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตลอดอายุของใบอนุญาต เนื่องจากลูกค้าจะได้รับและใช้ประโยชน์พร้อมๆ กันจากการที่กิจการให้สิทธิการเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาของกิจการดังที่เกิดขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ 35.1) กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 39 ถึง 45 เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมในการวัดระดับ ความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นให้สมบูรณ์ในการเข้าถึง ข 61 หากรายการไม่เข้าเงื่อนไขที่ระบุในย่อหน้าที่ ข 58 ธรรมชาติของข้อตกลงที่กิจการให้สิทธิในการ ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของกิจการในสภาพที่เป็นอยู่ ( ทั้งในแง่รูปแบบและการใช้งาน ) ณ จุดที่มี การให้สิทธิกับลูกค้า ลักษณะเช่นว่าทําให้ลูกค้าสามารถกําหนดการใช้งานและได้รับผลประโยชน์ ที่เหลืออยู่เกือบทั้งหมดจากการให้สิทธิ ณ จุดที่มีการโอน กิจการต้องปฏิบัติกับข้อตกลงที่จะให้ สิทธิในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของกิจการตามภาระที่ต้องปฏิบัติซึ่งเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลา หนึ่ง กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 38 เพื่อการกําหนดจุดเวลาที่กิจการได้โอนการให้สิทธิแก่ ลูกค้า อย่างไรก็ตาม กิจการไม่สามารถรับรู้รายได้จากการให้สิทธิที่เป็นสิทธิในการให้ใช้ ทรัพย์สินทางปัญญาก่อนที่ลูกค้าจะสามารถใช้และได้รับประโยชน์จากการให้สิทธิ ตัวอย่างเช่น ถ้าระยะเวลาในการให้สิทธิให้ใช้ซอฟต์แวร์เริ่มก่อนที่กิจการจะให้ ( หรือเมื่อจัดให้มี ) รหัสที่ทําให้ลูกค้าสามารถใช้ซอฟต์แวร์นั้นได้ทันที กิจการจะต้องไม่รับรู้รายได้นั้นก่อนที่จะให้ รหัสดังกล่าว หรือจัดให้มีรหัสดังกล่าว ข 62 กิจการต้องไม่คํานึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ เมื่อพิจารณาว่าการให้สิทธิได้มีการให้สิทธิในการเข้าถึง ทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของกิจการ ข 62.1 ข้อจํากัดของเวลา ลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือการใช้ – ข้อจํากัดเหล่านี้ได้กําหนด คุณลักษณะของการให้สิทธิ แต่ไม่ได้กําหนดว่ากิจการได้ปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นภาระที่เสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง ข 62.2 กิจการได้รับประกันว่ากิจการมีสิทธิบัตรต่อทรัพย์สินทางปัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อที่จะปกป้องการใช้สิทธิบัตรที่ไม่ได้รับอนุญาต สัญญาที่จะปกป้องสิทธิตาม สิทธิบัตรไม่ถือว่าเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติ เพราะการปกป้องสิทธิบัตรเป็นการปกป้อง มูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาของกิจการเอง และเป็นการให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าว่า การให้สิทธิที่ได้มอบให้ดังกล่าวเป็นการให้สิทธิที่มีคุณลักษณะตามข้อกําหนดในสัญญา ค่าสิทธิที่กําหนดจากยอดขายหรือจํานวนการใช้งาน ข 63 กิจการต้องรับรู้รายได้จากค่าสิทธิที่กําหนดจากยอดขายหรือจํานวนการใช้งานที่ได้รับเพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนกับการให้สิทธิที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อทุกเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ได้ เกิดขึ้นแล้ว โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 56 ถึง 59 ข 63.1 รายการขายที่หรือการใช้งานได้เกิดขึ้นในเวลาต่อมา และ ข 63.2 ภาระที่ต้องปฏิบัติที่ได้มีการปันส่วนค่าสิทธิที่กําหนดจากยอดขายหรือจํานวน การใช้งานบางส่วนหรือทั้งหมดมาให้ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ( หรือเสร็จสิ้นบางส่วน )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 54 ข 63 ก ข้อกําหนดสําหรับค่าสิทธิที่กําหนดจากยอดขายหรือจํานวนการใช้งานในย่อหน้าที่ ข 63 ใช้เมื่อ ค่าสิทธิเกี่ยวข้องกับการให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น หรือเมื่อการให้สิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญามีความสําคัญที่เกี่ยวข้องกับค่าสิทธิมากกว่ารายการอื่น ( ตัวอย่างเช่น การให้สิทธิใน ทรัพย์สินทางปัญญาอาจมีความสําคัญที่เกี่ยวข้องกับค่าสิทธิมากกว่ารายการอื่นเมื่อกิจการมี ความคาดหวังที่สมเหตุสมผลที่ลูกค้าจะพิจารณาว่ามูลค่าของการให้สิทธิมีมากกว่าสินค้าหรือ บริการอื่นที่ค่าสิทธิเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสําคัญ ) ข 63 ข เมื่อเป็นไปตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ ข 63 ก รายได้จากค่าสิทธิที่กําหนดจากยอดขายหรือ จํานวนการใช้งานต้องรับรู้ทั้งจํานวนตามย่อหน้าที่ ข 63 แต่หากไม่เป็นไปตามข้อกําหนดใน ย่อหน้าที่ ข 63 ก ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับสิ่งตอบแทนผันแปรในย่อหน้าที่ 50 ถึง 59 มาใช้กับ ค่าสิทธิที่กําหนดจากยอดขายหรือจํานวนการใช้งาน ข้อตกลงการซื้อคืน ข 64 ข้อตกลงการซื้อคืน คือ สัญญาซึ่งกิจการที่ได้ขายสินทรัพย์ และมีการตกลงหรือสัญญาได้ให้ ทางเลือก ( ในสัญญาเดียวกันหรือเป็นสัญญาอื่นแยกกัน ) แก่กิจการในการซื้อคืนสินทรัพย์ การซื้อคืนสินทรัพย์อาจเป็นสินทรัพย์ดั้งเดิมที่ขายให้แก่ลูกค้า หรือสินทรัพย์นั้นมีความคล้ายคลึง มากกับสินทรัพย์ดั้งเดิม หรือสินทรัพย์อื่นที่สินทรัพย์ดั้งเดิมที่ขายไปเป็นส่วนประกอบของ สินทรัพย์นั้น ข 65 ข้อตกลงการซื้อคืนโดยทั่วไปมี 3 รูปแบบ ข 65.1 กิจการมีภาระผูกพันที่ต้องซื้อคืนสินทรัพย์ ( สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ) ข 65.2 กิจการมีสิทธิในการซื้อคืนสินทรัพย์ ( สัญญาที่ให้สิทธิในการเลือกแบบไม่ผูกมัดแก่ ผู้ถือในการซื้อสินทรัพย์ ) และ ข 65.3 กิจการมีภาระผูกพันในการซื้อคืนสินทรัพย์ตามที่ลูกค้าร้องขอ ( สัญญาที่ให้สิทธิใน การเลือกแบบไม่ผูกมัดแก่ผู้ถือในการขายสินทรัพย์ ) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสัญญาที่ให้สิทธิในการเลือกแบบไม่ผูกมัดแก่ผู้ถือในการซื้อ สินทรัพย์ ข 66 หากกิจการมีภาระผูกพันหรือมีสิทธิในการซื้อคืนสินทรัพย์ ( สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสัญญาที่ ให้สิทธิในการเลือกแบบไม่ผูกมัดแก่ผู้ถือในการซื้อสินทรัพย์ ) จะถือว่าลูกค้าไม่สามารถควบคุม สินทรัพย์นั้นได้ เพราะลูกค้ามีข้อจํากัดในการกําหนดการใช้งานและการได้รับประโยชน์คงเหลือ เกือบทั้งหมดของสินทรัพย์นั้น แม้ว่าลูกค้าจะถือครองทางกายภาพของสินทรัพย์ก็ตาม ดังนั้น กิจการต้องปฏิบัติกับสัญญาตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ข 66.1 บันทึกเป็นสัญญาเช่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ถ้ากิจการสามารถซื้อคืนสินทรัพย์ด้วยมูลค่าที่ตํ่ากว่าราคาขายดั้งเดิมของสินทรัพย์ เว้นแต่สัญญานั้นเป็นส่วนหนึ่งของรายการขายและเช่ากลับคืน หากสัญญาดังกล่าวเป็น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 55 ส่วนหนึ่งของรายการขายและเช่ากลับคืน กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ต่อไปและต้องรับรู้ หนี้สินทางการเงินสําหรับจํานวนสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากลูกค้าใดๆ กิจการต้องปฏิบัติ ต่อหนี้สินทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือ ข 66.2 บันทึกเป็นสัญญาการจัดหาเงินตามย่อหน้าที่ ข 68 ถ้ากิจการสามารถหรือต้องซื้อคืน สินทรัพย์ด้วยมูลค่าที่มากกว่าหรือเท่ากับราคาขายดั้งเดิมของสินทรัพย์ ข 67 ในการเปรียบเทียบราคาซื้อคืนกับราคาขาย กิจการต้องพิจารณาเรื่องมูลค่าของเงินตามเวลา ข 68 ถ้าข้อตกลงการซื้อคืนเป็นข้อตกลงการจัดหาเงิน กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์เดิมนั้นต่อไป และต้อง รับรู้จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากลูกค้าเป็นหนี้สินทางการเงิน กิจการจะรับรู้ส่วนต่าง ระหว่างจํานวนสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากลูกค้าและจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่จะจ่ายไปให้ลูกค้า เป็นดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เป็นไปได้ เช่น ค่าดําเนินการ หรือค่าการถือสินทรัพย์ ( ตัวอย่างเช่น การประกัน ) ข 69 ถ้าสิทธิในการเลือกไม่ได้รับการใช้และหมดอายุลง กิจการต้องเลิกรับรู้หนี้สินออกไปและรับรู้ เป็นรายได้ สัญญาที่ให้สิทธิในการเลือกแบบไม่ผูกมัดแก่ผู้ถือในการขายสินทรัพย์ ข 70 หากกิจการมีภาระผูกพันในการซื้อคืนสินทรัพย์ตามคําขอจากลูกค้า ( สัญญาที่ให้สิทธิในการ เลือกแบบไม่ผูกมัดแก่ผู้ถือในการขายสินทรัพย์ ) ในราคาที่ตํ่ากว่าราคาขายเดิมของสินทรัพย์ กิจการต้องพิจารณา ณ วันเริ่มต้นสัญญาว่าลูกค้ามีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่มีนัยสําคัญ ในการใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ การใช้สิทธิของลูกค้าส่งผลให้จํานวนเงินที่ลูกค้าจ่ายชําระมาเป็น การจ่ายสิ่งตอบแทนให้กับกิจการสําหรับสิทธิในการใช้สินทรัพย์ดังกล่าวสําหรับระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น ถ้าลูกค้ามีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่มีนัยสําคัญในการใช้สิทธิดังกล่าวกิจการต้องปฏิบัติกับ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เว้นแต่สัญญานั้น เป็นส่วนหนึ่งของรายการขายและเช่ากลับคืน หากสัญญาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายการขาย และเช่ากลับคืน กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ต่อไปและรับรู้หนี้สินทางการเงินสําหรับจํานวน สิ่งตอบแทนที่ได้รับจากลูกค้าใดๆ กิจการต้องปฏิบัติต่อหนี้สินทางการเงินตามมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข 71 เพื่อประเมินว่าลูกค้ามีแรงจูงใจเชิงเศรษฐกิจที่มีนัยสําคัญในการใช้สิทธิหรือไม่ กิจการต้อง พิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์ของราคาซื้อคืนและราคาตลาดที่คาดไว้ของสินทรัพย์ ณ วันที่ซื้อคืนสินทรัพย์ และจํานวนเงินของจังหวะเวลาจนกระทั่งสิทธิหมดอายุ ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาซื้อคืนคาดว่าจะเกินกว่ามูลค่าตลาดของสินทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งอาจจะบ่งชี้ว่าลูกค้า มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจในการใช้สิทธิในการเลือกแบบไม่ผูกมัดแก่ผู้ถือในการขายสินทรัพย์ ข 72 หากลูกค้าไม่มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่มีนัยสําคัญในการใช้สิทธิ ณ ราคาที่ตํ่ากว่าราคาขายเดิม ของสินทรัพย์ กิจการต้องปฏิบัติกับข้อตกลงประหนึ่งว่าเป็นการขายผลิตภัณฑ์ที่ให้สิทธิ ในการคืนได้ ตามย่อหน้าที่ ข 20 ถึง ข 27

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 56 ข 73 หากราคาซื้อคืนของสินทรัพย์เท่ากับหรือมากกว่าราคาขายเดิม และมีมูลค่ามากกว่าราคาตลาดที่ คาดไว้ของสินทรัพย์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจัดหาเงิน ดังนั้น กิจการต้องบันทึกสัญญา ดังกล่าวตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ ข 68 ข 74 หากราคาซื้อคืนสินทรัพย์มีค่าเท่ากับหรือมากกว่าราคาขายเดิม และน้อยกว่าหรือเท่ากับมูลค่า ตลาดที่คาดไว้ของสินทรัพย์ และลูกค้าไม่มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่มีนัยสําคัญที่จะใช้สิทธินั้น กิจการต้องปฏิบัติกับข้อตกลงนั้นประหนึ่งว่ากิจการได้ขายผลิตภัณฑ์ที่ให้สิทธิในการคืนตามที่ อธิบายในย่อหน้าที่ ข 20 ถึง ข 27 ข 75 ในการเปรียบเทียบราคาซื้อคืนกับราคาขาย กิจการต้องพิจารณาเรื่องมูลค่าของเงินตามเวลา ข 76 ถ้าสิทธิในการเลือกไม่ได้รับการใช้และหมดอายุลง กิจการต้องเลิกรับรู้หนี้สินออกไปและรับรู้ เป็นรายได้ สัญญาฝากขาย ข 77 เมื่อกิจการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังบุคคลอื่น ( เช่นผู้แทนจําหน่ายหรือผู้จัดจําหน่าย ) เพื่อขาย ให้กับผู้บริโภค กิจการต้องพิจารณาว่าบุคคลอื่นดังกล่าวได้ควบคุมผลิตภัณฑ์ ณ จุดที่มีการส่งมอบ หรือไม่ ผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบไปยังบุคคลอื่นถือว่าได้รับการถือไว้ตามสัญญาฝากขายถ้าหาก บุคคลอื่นไม่มีสิทธิในการควบคุมผลิตภัณฑ์นั้น ดังนั้น กิจการต้องไม่รับรู้รายได้ ณ จุดการส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ไปยังบุคคลอื่น ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการถือไว้ตามการฝากขาย ข 78 ข้อบ่งชี้ว่ารายการใดเป็นรายการฝากขาย รวมถึงแต่ไม่จํากัดเพียงรายการดังต่อไปนี้ ข 78.1 ผลิตภัณฑ์อยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ จนกระทั่งเหตุการณ์ที่ระบุไว้เกิดขึ้น เช่น การขายผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าของผู้แทนจําหน่าย หรือจนครบตามกําหนดระยะเวลา ข 78.2 กิจการสามารถร้องขอผลิตภัณฑ์คืนหรือกําหนดให้ส่งมอบต่อไปยังบุคคลที่สาม ( อาทิ ผู้แทนจําหน่ายรายอื่น ) และ ข 78.3 ผู้แทนจําหน่ายไม่มีภาระผูกพันที่ปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายชําระสําหรับผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ( แม้ว่าอาจมีการกําหนดให้จ่ายเงินมัดจําก็ตาม ) การขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า ข 79 การขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า คือสัญญาที่กําหนดให้กิจการออกใบแจ้งหนี้แก่ ลูกค้าสําหรับผลิตภัณฑ์ที่กิจการจะยังถือครองทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ไปจนกว่าจะมีการโอน ไปยังลูกค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต ตัวอย่างเช่น กรณีลูกค้าอาจมีคําขอให้กิจการตกลงทํา สัญญาลักษณะนี้ เนื่องจากลูกค้าอาจขาดพื้นที่ในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์หรือการเกิดความล่าช้า ของกําหนดการการผลิตของลูกค้า ข 80 กิจการจะต้องกําหนดว่าเมื่อใดที่กิจการได้ปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติในการโอนผลิตภัณฑ์ เสร็จสิ้น โดยกิจการต้องประเมินว่าลูกค้าได้ควบคุมผลิตภัณฑ์เมื่อใด ( ดูย่อหน้าที่ 38) สําหรับ บางสัญญาการควบคุมจะโอนเมื่อผลิตภัณฑ์ส่งไปถึงสถานที่ของลูกค้า หรือเมื่อมีการจัดส่ง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 57 ผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสัญญา ( รวมถึงเงื่อนไขของการส่งมอบและจัดส่ง ) อย่างไรก็ตาม ในบางสัญญาลูกค้าอาจได้การควบคุมในตัวผลิตภัณฑ์ถึงแม้ว่าการครอบครองทางกายภาพของ ผลิตภัณฑ์จะยังอยู่กับกิจการ ซึ่งในกรณีนั้น ลูกค้าจะต้องมีความสามารถในการกําหนด ทิศทางการใช้ประโยชน์ และลูกค้าได้รับผลประโยชน์ที่มีนัยสําคัญที่คงเหลือของผลิตภัณฑ์นั้น แม้ว่าลูกค้าได้ตัดสินใจที่จะยังไม่ใช้สิทธิในการครอบครองทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น กิจการไม่ได้ควบคุมผลิตภัณฑ์นั้น โดยมีหน้าที่แต่เพียงให้บริการการดูแลสินทรัพย์ของลูกค้า ข 81 นอกจากข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 38 กรณีที่ถือว่าลูกค้าได้ควบคุมผลิตภัณฑ์ตามข้อตกลงการขาย ที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า จะต้องเป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ ข 81.1 เหตุผลในการทําข้อตกลงการขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า จะต้องมีเนื้อหา ( ตัวอย่างเช่น ลูกค้ามีการร้องขอให้ทําสัญญา ) ข 81.2 ผลิตภัณฑ์จะต้องระบุแยกออกมาว่าเป็นของลูกค้า ข 81.3 ผลิตภัณฑ์จะต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมจะส่งมอบให้แก่ลูกค้า และ ข 81.4 กิจการต้องไม่สามารถใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์นั้นหรือให้ลูกค้าอื่นใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์นั้นได้ ข 82 หากกิจการรับรู้รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ตามข้อตกลงการขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบ สินค้า กิจการจะต้องพิจารณาว่ายังมีภาระที่ต้องปฏิบัติคงเหลืออีกหรือไม่ ( ตัวอย่างเช่น การให้บริการดูแลผลิตภัณฑ์ ) ตามย่อหน้าที่ 22 ถึง 30 ซึ่งจะทําให้กิจการต้องปันส่วนราคาของ รายการตามย่อหน้าที่ 73 ถึง 86 การยอมรับของลูกค้า ข 83 ตามที่ได้กล่าวในย่อหน้าที่ 38.5 การที่ลูกค้ายอมรับสินทรัพย์อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าลูกค้าได้รับ การควบคุมเหนือสินทรัพย์นั้น เงื่อนไขในสัญญาเกี่ยวกับการยอมรับของลูกค้ากําหนดให้ลูกค้า สามารถยกเลิกสัญญาหรือกําหนดให้กิจการต้องดําเนินการบางอย่างหากสินค้าหรือบริการ ไม่เป็นไปตามคุณลักษณะที่ตกลงกัน กิจการต้องพิจารณาเงื่อนไขดังกล่าวในการประเมินว่าลูกค้า ได้รับการควบคุมสินค้าหรือบริการเมื่อใด ข 84 หากกิจการสามารถกําหนดได้ชัดเจนว่า การควบคุมสินค้าหรือบริการได้โอนไปยังลูกค้าโดย เป็นไปตามคุณลักษณะที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตามสัญญา การยอมรับของลูกค้าดังกล่าวจึงเกิดขึ้น อย่างเป็นทางการ โดยไม่มีผลกระทบต่อการกําหนดของกิจการเกี่ยวกับการได้รับการควบคุม สินค้าหรือบริการของลูกค้า ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขในสัญญาเกี่ยวกับการยอมรับของลูกค้าขึ้นอยู่ กับการกําหนดขนาดหรือนํ้าหนักเฉพาะ กิจการสามารถกําหนดได้ว่าเมื่อใดที่จะยอมรับเงื่อนไข ดังกล่าวก่อนการได้รับเอกสารยืนยันเกี่ยวกับการได้รับการควบคุมสินค้าหรือบริการของลูกค้า ประสบการณ์ของกิจการเกี่ยวกับสัญญาในสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะคล้ายกันอาจนํามาซึ่ง หลักฐานที่สินค้าหรือบริการที่ให้กับลูกค้าเป็นไปตามคุณลักษณะที่ตกลงกันตามสัญญา หากการรับรู้รายได้เกิดก่อนการยอมรับของลูกค้า กิจการจะต้องพิจารณาว่ากิจการมีภาระที่ต้อง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 58 ปฏิบัติที่ยังคงเหลือ ( ตัวอย่างเช่น การติดตั้งอุปกรณ์ ) และทําการประเมินถึงการปฏิบัติกับ รายการแยกจากกัน ข 85 อย่างไรก็ตาม ถ้ากิจการไม่สามารถกําหนดได้ชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่ให้กับลูกค้าเป็นไปตาม คุณลักษณะที่ตกลงกันไว้แล้วหรือไม่ กิจการจะไม่สามารถสรุปได้ว่าลูกค้าได้รับการควบคุม จนกว่ากิจการจะได้รับการยอมรับของลูกค้า เนื่องจากในสภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้ กิจการ ไม่สามารถระบุได้ว่าลูกค้าสามารถกําหนดการใช้งานและได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่เกือบทั้งหมด ของสินค้าหรือบริการ ข 86 ถ้ากิจการส่งผลิตภัณฑ์ไปให้กับลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการทดลองใช้หรือเพื่อประเมิน ผลิตภัณฑ์ และลูกค้าไม่ได้มีข้อผูกพันที่ต้องจ่ายสิ่งตอบแทนใดๆ จนกว่าจะพ้นช่วงเวลาทดลองใช้ การควบคุมผลิตภัณฑ์จะไม่โอนไปยังลูกค้าจนกว่าลูกค้าจะยอมรับผลิตภัณฑ์หรือผ่านพ้น ช่วงเวลาทดลองใช้ การเปิดเผยข้อมูลการจําแนกรายได้ ข 87 ย่อหน้าที่ 114 กําหนดให้กิจการต้องจําแนกรายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้าเป็นหมวดหมู่ที่แสดง ถึงธรรมชาติการประกอบธุรกิจ จํานวนเงิน จังหวะเวลาและความไม่แน่นอนของรายได้และ กระแสเงินสดที่มีผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายปัจจัย ดังนั้น ระดับในการจําแนก รายได้ของกิจการเพื่อวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและภาพแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญญาที่ทํากับลูกค้า กิจการบางรายอาจจําเป็นต้องมีหมวดหมู่มากกว่าหนึ่ง ประเภทเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการจําแนกรายได้ตามย่อหน้าที่ 114 ในขณะที่กิจการอื่น อาจจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้โดยจําแนกรายได้เป็นหมวดหมู่เพียงหนึ่งประเภท ข 88 ในการเลือกประเภทหมวดหมู่เพียงหมวดหมู่เดียว ( หรือหลายหมวดหมู่ ) เพื่อการจําแนกรายได้ กิจการต้องพิจารณาว่าข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของกิจการได้นําเสนออย่างไรในการแสดงข้อมูลเพื่อ วัตถุประสงค์อื่นๆ ดังต่อไปนี้ ข 88.1 การเปิดเผยข้อมูลนอกงบการเงิน ( ตัวอย่างเช่น รายงานกําไร รายงานประจําปี หรือ รายงานที่นําเสนอต่อนักลงทุน ) ข 88.2 ข้อมูลได้รับการสอบทานอย่างสมํ่าเสมอโดยผู้มีอํานาจตัดสินใจสูงสุดด้านการดําเนินงาน เพื่อประเมินผลการดําเนินงานการเงินของส่วนงานดําเนินงาน และ ข 88.3 ข้อมูลอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับประเภทของข้อมูลที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ ข 88.1 และ ข 88.2 และข้อมูลที่ใช้โดยกิจการหรือผู้ใช้งบการเงินของกิจการเพื่อประเมิน ผลการดําเนินงานการเงินของกิจการหรือการตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากร ข 89 ตัวอย่างของหมวดหมู่ที่อาจเหมาะสมเพื่อใช้จําแนกประเภทรายได้รวมถึงแต่ไม่จํากัดเพียง รายการทั้งหมดดังต่อไปนี้ ข 89.1 ประเภทของสินค้าหรือบริการ ( ตัวอย่างเช่น สายการผลิตภัณฑ์หลัก ) ข 89.2 เขตทางภูมิศาสตร์ ( ตัวอย่างเช่น ประเทศ หรือ ภูมิภาค )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 59 ข 89.3 ตลาดหรือประเภทของลูกค้า ( ตัวอย่างเช่น ลูกค้าที่เป็นหน่วยงานรัฐบาล หรือลูกค้าที่ ไม่ได้เป็นหน่วยงานรัฐบาล ) ข 89.4 ประเภทของสัญญา ( ตัวอย่างเช่น สัญญาที่ราคาคงที่ หรือสัญญาที่กําหนดราคาจาก จํานวนชั่วโมงแรงงานและต้นทุนวัสดุ ) ข 89.5 ระยะเวลาของสัญญา ( ตัวอย่างเช่น สัญญาระยะสั้น หรือสัญญาระยะยาว ) ข 89.6 จังหวะเวลาการโอนสินค้าหรือบริการ ( ตัวอย่างเช่น รายได้จากการโอนสินค้าหรือ บริการให้ลูกค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ รายได้จากการโอนสินค้าหรือบริการตลอด ช่วงเวลาหนึ่ง ) และ ข 89.7 ช่องทางการขาย ( ตัวอย่างเช่น ขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และสินค้าที่ขายผ่าน คนกลาง )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 60 ภาคผนวก ค วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงินและมีผลบังคับเช่นเดียวกับส่วน อื่นๆ ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ วันถือปฏิบัติ ค 1 กิจการต้องใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยอนุญาตให้ถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ โดยหากกิจการถือปฏิบัติมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว ค 1 ก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ที่ออกโดยคณะกรรมการ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 97 ข 66 และ ข 70 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ค 1 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) ค 1 ค มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน ค 2 เพื่อวัตถุประสงค์ของข้อกําหนดการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านในย่อหน้าที่ ค 3 ถึง ค 8 ก ค 2.1 วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน คือ วันเริ่มต้นของระยะเวลารายงานซึ่งกิจการเริ่มใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ครั้งแรก และ ค 2.2 สัญญาที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว คือ สัญญาที่กิจการได้โอนสินค้าหรือบริการทั้งหมดตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง มาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 18 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ และการตีความมาตรฐาน การรายงานทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 61 ค 3 กิจการต้องปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ ค 3.1 ปรับปรุงโดยการแสดงรายการย้อนหลังตามมาตรฐานการบัญ ชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด โดยมี ข้ออนุโลมตามย่อหน้าที่ ค 5 หรือ ค 3.2 ปรับปรุงโดยการรับรู้ผลกระทบสะสมย้อนหลังจากการปรับใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน ตามย่อหน้าที่ ค 7 ถึง ค 8 ค 4 เมื่อกิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มาใช้ครั้งแรก กิจการไม่ต้องปฏิบัติตาม ข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 28 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ยกเว้น กิจการต้องนําเสนอข้อมูล เชิงปริมาณที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 28.6 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าว สําหรับ รอบระยะเวลาประจําปีล่าสุดก่อนรอบระยะเวลาประจําปีแรกที่มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ (“ รอบระยะเวลาก่อนหน้ารอบระยะเวลาที่มีการนํามาใช้ครั้ง แรก ”) และเฉพาะในกรณีที่กิจการปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ย้อนหลังตาม ย่อหน้าที่ ค 3.1 ทั้งนี้กิจการอาจเลือกนําเสนอข้อมูลนี้สําหรับรอบระยะเวลาปัจจุบันหรือ รอบระยะเวลาเปรียบเทียบก่อนหน้าถ้ามีการแสดงเปรียบเทียบก็ได้แต่ไม่ได้เป็นการบังคับ ค 5 กิจการอาจใช้วิธีปฏิบัติที่ผ่อนปรนข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อต่อไปนี้ในการใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ย้อนหลังตามย่อหน้าที่ ค 3.1 ค 5.1 สําหรับสัญญาที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว กิจการไม่จําเป็นต้องปรับปรุงย้อนหลังการแสดง รายการของสัญญาที่ ค 5.1.1 เริ่มต้นและเสร็จสมบูรณ์ภายในรอบระยะเวลารายงานประจําปีเดียวกัน หรือ ค 5.1.2 เสร็จสมบูรณ์ ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาแรกสุดที่นําเสนอ ค 5.2 สําหรับสัญญาที่เสร็จสมบูรณ์แล้วที่มีสิ่งตอบแทนผันแปร กิจการอาจใช้ราคาของ รายการ ณ วันที่สัญญาเสร็จสิ้นลง แทนการประมาณการจํานวนเงินสิ่งตอบแทน ผันแปรในรอบระยะเวลารายงานที่นํามาเปรียบเทียบ ค 5.3 สําหรับสัญญาที่มีการเปลี่ยนแปลงก่อนวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาแรกสุดที่นําเสนอ กิจการไม่จําเป็นต้องปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวย้อนหลังตามย่อหน้าที่ 20 ถึง 21 แต่กิจการต้องสะท้อนผลกระทบรวมของการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาแรกสุดที่นําเสนอ เมื่อ ค 5.3.1 ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติที่สําเร็จไปแล้วหรือที่ยังไม่สําเร็จ ค 5.3.2 กําหนดราคาของรายการ และ ค 5.3.3 ปันส่วนของราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่สําเร็จไปแล้วหรือ ที่ยังไม่สําเร็จ ค 5.4 สําหรับรอบระยะเวลารายงานที่นําเสนอก่อนวันที่เริ่มต้นใช้ กิจการไม่จําเป็นต้อง เปิดเผยจํานวนเงินของราคาของรายการที่ปันส่วนให้ภาระที่ต้องปฏิบัติที่เหลือ รวมทั้ง คําอธิบายว่ากิจการคาดว่าจะรับรู้จํานวนเงินเป็นรายได้เมื่อใด ( ดูย่อหน้าที่ 120)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 62 ค 6 สําหรับวิธีปฏิบัติที่ผ่อนปรนในย่อหน้าที่ ค 5 ที่กิจการใช้ กิจการต้องใช้อย่างสมํ่าเสมอกับสัญญา ทั้งหมดในทุกๆ รอบระยะเวลารายงานที่นําเสนอ นอกจากนี้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ค 6.1 วิธีปฏิบัติที่ผ่อนปรนที่นําไปใช้ และ ค 6.2 ข้อมูลการประเมินเชิงคุณภาพของประมาณการผลกระทบจากวิธีปฏิบัติที่ผ่อนปรน แต่ละข้อในระดับเท่าที่เป็นไปได้ตามสมควร ค 7 หากกิจการเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้โดยการแสดงรายการ ย้อนหลังตามย่อหน้าที่ ค 3.2 กิจการต้องรับรู้ผลกระทบสะสมของการเริ่มใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นรายการปรับปรุงกับกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบ อื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น ตามความเหมาะสม ) ของรอบระยะเวลารายงานประจําปีซึ่งรวมถึง วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ภายใต้วิธีปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ กิจการอาจเลือกใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ย้อนหลังกับสัญญาที่ยังไม่เสร็จสิ้น ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน ( ตัวอย่างเช่น 1 มกราคม 2562 สําหรับกิจการที่วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงานคือวันที่ 31 ธันวาคม ) ค 7 ก กิจการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้โดยการปรับปรุงย้อนหลังตาม ย่อหน้าที่ ค 3.2 กิจการอาจใช้วิธีผ่อนปรนในทางปฏิบัติตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ ค 5.3 วิธีใด วิธีหนึ่งดังนี้ ค 7 ก .1 สําหรับสัญ ญำที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกสัญ ญำซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันเริ่มต้นของ รอบระยะเวลาแรกสุดที่นําเสนอ หรือ ค 7 ก .2 สําหรับสัญญาที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน หากกิจการใช้วิธีผ่อนปรนในทางปฏิบัติดังกล่าว กิจการต้องใช้การผ่อนปรนอย่างสมํ่าเสมอ กับสัญญาทั้งหมด และเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ ค 6 ค 8 สําหรับรอบระยะเวลารายงาน รวมถึงวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน หากกิจการเลือกปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้โดยการแสดงรายการย้อนหลังตามย่อหน้าที่ ค 3.2 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมต่อไปนี้ ค 8.1 จํานวนเงินผลกระทบของรายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินในรอบระยะเวลารายงาน ปัจจุบันจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้โดยเทียบกับมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 11 ( ปรับปรุง 2560) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 ( ปรับปรุง 2560) และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องที่มีผลบังคับใช้ ก่อนการเปลี่ยนแปลง และ ค 8.2 คําอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ ค 8.1 ค 8 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) การอ้างอิงถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ค 9 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 63 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น ค 10 ให้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้แทนมาตรฐานต่อไปนี้ ค 10.1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง ค 10.2 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ ค 10.3 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า ค 10.4 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง สัญญาสําหรับการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ ค 10.5 การตี ความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบั บที่ 18 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง การโอนสินทรัพย์จากลูกค้า และ ค 10.6 การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 ( ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ - รายการ แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา