Tue Aug 08 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (เล่มที่ 2)


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (เล่มที่ 2)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมกา รกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 39/2565 เรื่อง มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 19 (เล่มที่ 2) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน คํานํา มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (IFRS 9 : Financial Instruments) ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IFRS 9 : Financial Instruments (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทย เท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยเพิ่มแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 2.1 ข 2.1 ข 2.4 ข 2.5 และ ข 4.1.30 และเพิ่มย่อหน้าที่ 3.3.5 7.1.6 และ 7.2.36 ถึง 7.2.42 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 7.1.9 7.2.35 และ ข 3.3.6 ก และแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ ข 3.3.6 และแก้ไข เพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7.2.1 7.2.3 7.2.8 ถึง 7.2.11 7.2.17 ถึง 7.2.18 7.2.24  การปรับปรุงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินระหว่าง ป ร ะ เ ท ศ ป ร ะ จํำ ปี 2561- 2563 และ  การตั ดการปฏิบัติในช่วง เปลี่ยนผ่านที่เป็นทางเลือก สําหรับประเทศไทยออก 2564 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 5.4.5 ถึง 5.4.9 6.8.13 ส่วนที่ 6.9 ย่อหน้าที่ 7.1.9 และย่อหน้าที่ 7.2.43 ถึง 7.2.46 การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ระยะที่ 2 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7.2.26 และเพิ่ม ย่อหน้าที่ 6.8.1 ถึง 6.8.12 หัวข้อและหัวข้อ ย่อย และ 7.1.8 การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 2.1 5.5.15 7.1.5 ข 4.1.11.2 ข 4.1.12.2 ข 4.3.8 ข 5.5.34 และ ข 5.5.46 และเพิ่มย่อหน้าที่ 7.1.7 7.2.29  การชําระเงินก่อนครบกําหนด ที่ก่อให้เกิดการชดเชยติดลบ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ข ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก ถึง 7.2.34 และ ข 4.1.12 ก และแก้ไขเพิ่มเติม การอ้างอิงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับอื่น  มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สามารถสรุปเหตุผลสําหรับการออกมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน แนวทางของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศในการออกมาตรฐานใหม่ แทนที่มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน และลักษณะ สําคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เช่น การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า วิธีการคํานวณ การด้อยค่า การบัญชีป้องกันความเสี่ยง และข้อกําหนดอื่นๆ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ เหตุผลในการออกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน กําหนดวิธีปฏิบัติ ทางบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงิน และสัญญาซื้อหรือขายรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินบางประเภท 2 ผู้ใช้งบการเงินและผู้สนใจหลายกลุ่มได้เสนอกับคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศว่าข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่า เครื่องมือทางการเงิน นั้นยากที่จะเข้าใจในการนําไปปฏิบัติและตีความ ผู้ใช้งบการเงินและ ผู้สนใจหลายกลุ่มได้ผลักดันให้คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศปรับปรุง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่ใช้หลักการเป็นหลัก และมีความซับซ้อนที่น้อยลง แม้ว่าคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้ปรับปรุง มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 มาหลายครั้งเพื่อชี้แจงข้อกําหนดเพิ่มเติม เพิ่มแนวปฏิบัติและยกเลิกส่วนที่ไม่สอดคล้องกันภายในมาตรฐานแล้วก็ตาม คณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศยังไม่เคยนําหลักการพื้นฐานของการจัดทํารายงานทางการเงิน สําหรับเครื่องมือทางการเงินมาพิจารณาใหม่ 3 ตั้งแต่ พ . ศ . 2548 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศและคณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกาได้มีวัตถุประสงค์ระยะยาวในการพัฒนาและ ลดความยุ่งยากในการจัดทํารายงานทางการเงินสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งทําให้เกิด การจัดทําร่างเพื่อหารือ เรื่อง การลดความซับซ้อนในการจัดทํารายงานทางการเงินสําหรับ เครื่องมือทางการเงิน ในเดือนมีนาคม พ . ศ . 2551 โดยร่างเพื่อหารือดังกล่าวเน้นถึงเรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินและการบัญชีป้องกันความเสี่ยงโดยระบุถึงทางเลือกที่ เป็นไปได้ในการปรับปรุงและลดความยุ่งยากในการทําบัญชีสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ผลตอบรับต่อร่างเพื่อหารือดังกล่าวสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสําคัญของ ข้อกําหนดในการจัดทํารายงานทางการเงินสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ในเดือนพฤศจิกายน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ค พ . ศ . 2551 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้เพิ่มโครงการนี้เข้าไปใน แผนงานปัจจุบัน 4 ในเดือนเมษายน พ . ศ . 2552 เพื่อตอบสนองต่อความเห็นที่ได้รับจากงานของคณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่มีต่อวิกฤตทางการเงินและเพื่อปฏิบัติตามข้อสรุปของ กลุ่มผู้นํา G20 และข้อแนะนําของคณะกรรมการระหว่างประเทศต่างๆ เช่น คณะกรรมการ เสถียรภาพทางการเงิน (the Financial Stability Board) คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศได้ประกาศเวลาที่เร็วขึ้นเพื่อมานํามาใช้แทนมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน แนวทางของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศในการออกมาตรฐานใหม่ แทนที่มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน 5 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศตั้งใจที่จะให้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน มาแทนที่มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน ทั้งฉบับ อย่างไรก็ตาม เพื่อตอบรับต่อ ความต้องการของผู้สนใจการบัญชีสําหรับเครื่องมือทางการเงินว่าควรมีการปรับปรุงให้รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศจึงมีการแบ่งแผนงานเปลี่ยนแทน มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 นี้ออกเป็นสามส่วน โดยเมื่อคณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศทํางานในแต่ละส่วนเสร็จก็จะออกข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ขึ้นแทนข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศ ฉบับที่ 39 6 แผนงานหลักสามส่วนที่คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศกําหนดขึ้นที่จะใช้ แทนมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ ก ส่วนที่ 1 การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สิน ทางการเงิน ในเดือนพฤศจิกายน พ . ศ . 2552 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศได้ออกข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือ ทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ ทางการเงิน ซึ่งกําหนดให้จัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงินตามโมเดลธุรกิจที่มีการถือครอง สินทรัพย์ทางการเงิน และตามลักษณะของกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ ทางการเงิน ในเดือนตุลาคม พ . ศ . 2553 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศได้เพิ่มข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าของหนี้สิน ทางการเงินในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ซึ่งข้อกําหนดนี้มีการอธิบาย เพิ่มเติมอยู่ในข้อ 7 ในเดือนกรกฎาคม พ . ศ . 2557 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศได้มีการปรับปรุงข้อกําหนดบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดประเภทรายการ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ง และการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ทางการเงินในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งมีคําอธิบายเพิ่มเติมอยู่ในข้อ 8 ข ส่วนที่ 2 วิธีการคํานวณการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน ในเดือนกรกฎาคม พ . ศ . 2557 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้เพิ่มข้อกําหนดเกี่ยวกับ การด้อยค่าในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 ที่เกี่ยวกับการบัญชีสําหรับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของสินทรัพย์ทางการเงินและภาระผูกพัน ในการขยายสินเชื่อ ข้อกําหนดดังกล่าวได้อธิบายเพิ่มเติมอยู่ในข้อ 9 ค ส่วนที่ 3 การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง ในเดือนพฤศจิกายน พ . ศ . 2556 คณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้เพิ่มข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีป้องกันความเสี่ยง ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข้อกําหนดเพิ่มเติมเหล่านั้นได้อธิบาย เพิ่มเติมอยู่ในข้อ 10 ต่อไป การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า 7 ในเดือนพฤศจิกายน พ . ศ . 2552 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้ออก ข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินโดยกําหนดให้ จัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงินตามโมเดลธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ในการถือครอง สินทรัพย์ทางการเงินนั้น และตามลักษณะของกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ ทางการเงิน ในเดือนตุลาคม พ . ศ . 2553 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้ เพิ่มข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าของหนี้สินทางการเงิน โดยข้อกําหนดส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ข้อกําหนดเกี่ยวกับหนี้สินทางการเงิน ที่กําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมเปลี่ยนแปลงไปในส่วนที่เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิต ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ การปรับปรุงนี้เป็นการตอบรับคําแนะนําจากผู้ใช้งบการเงินและกลุ่มอื่นๆ ที่ว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินไม่ควรมีผลกระทบต่อ กําไรหรือขาดทุนถ้าหนี้สินนั้นไม่ได้ถือไว้เพื่อค้า ในเดือนพฤศจิกายน พ . ศ . 2556 คณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้ปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เพื่ออนุญาตให้กิจการสามารถนําข้อกําหนดเหล่านี้ไปใช้ได้ก่อนโดยไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม ข้อกําหนดอื่นๆ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ไปพร้อมกันด้วย 8 ในเดือนกรกฎาคม พ . ศ . 2557 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้จํากัด ขอบเขตการปรับปรุงข้อกําหนดบางส่วนในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ ทางการเงิน การปรับปรุงนั้นเป็นการสนองตอบต่อคําถามในเรื่องการนําไปถือปฏิบัติบางส่วน และนําเสนอวิธีการวัดมูลค่าแบบ “ มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ” เพื่อใช้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 จ สําหรับตราสารหนี้บางประเภทที่ไม่มีความซับซ้อน โดยการวัดมูลค่าดังกล่าวเป็นการตอบสนอง ต่อคําแนะนําจากผู้สนใจหลายกลุ่ม รวมถึงบริษัทประกันหลายแห่ง ที่มีความเห็นว่าวิธีนี้เป็นวิธี ที่เหมาะสมที่สุดในการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่ถือไว้ตามโมเดลธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรับเงินทั้งจากกระแสเงินสดตามสัญญาและจากการขายสินทรัพย์ทางการเงิน วิธีการคํานวณการด้อยค่า 9 ในเดือนกรกฎาคม พ . ศ . 2557 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้เพิ่ม ข้อกําหนดการด้อยค่าที่เกี่ยวกับการบัญชีสําหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อ สินทรัพย์ทางการเงิน และภาระผูกพันในการขยายวงเงินสินเชื่อที่ไม่สามารถยกเลิกได้ไว้ใน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ข้อกําหนดดังกล่าว ยกเลิกหลักเกณฑ์ในมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือ ทางการเงิน สําหรับการรับรู้รายการผลขาดทุนด้านเครดิต โดยตามข้อกําหนดเรื่องการด้อยค่า ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 การรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตไม่จําเป็นต้อง รอให้เกิดเหตุการณ์ด้านเครดิตขึ้นก่อน แต่กิจการจะบันทึกผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะ เกิดขึ้น และบันทึกการเปลี่ยนแปลงในผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างสมํ่าเสมอ โดยจํานวนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจะถูกวัดมูลค่าใหม่ทุกวันที่รายงานเพื่อให้ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตจากที่เคยรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก เพื่อนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างทันเวลามากขึ้น การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง 10 ในเดือนพฤศจิกายน พ . ศ . 2556 คณะกรรมการมาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศได้เพิ่ม ข้อกําหนดของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ข้อกําหนดดังกล่าวปรับปรุงการบัญชีป้องกันความเสี่ยงให้ สอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ให้เป็นมาตรฐานที่เป็นหลักการมากขึ้น และแก้ไขใน เรื่องความไม่สอดคล้องกันและจุดอ่อนที่พบในรูปแบบการบัญชีป้องกันความเสี่ยงในมาตรฐาน การบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน แต่ในการพิจารณา ข้อกําหนดทั่วไปสําหรับการบัญชีป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศไม่ได้กําหนดวิธีการบัญชีที่เฉพาะเจาะจงสําหรับการบริหารความเสี่ยงของ กลุ่มสินทรัพย์ทางการเงินที่ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือการป้องกัน ความเสี่ยงในระดับมหภาค แต่คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศจะพิจารณา เรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อที่จะหารือกันต่อไป และในเดือนเมษายน พ . ศ . 2557 ได้มีการเผยแพร่ร่างเพื่อหารือ เรื่อง การบัญชีสําหรับการบริหารความเสี่ยงแบบพลวัต โดยให้ แนวทางในการประเมินมูลค่าพอร์ตโฟลิโอสําหรับการป้องกันความเสี่ยงในระดับมหภาค ดังนั้น ข้อยกเว้นในมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 สําหรับการป้องกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ฉ ความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมสําหรับความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของกลุ่มสินทรัพย์ทางการเงิน หรือหนี้สินทางการเงินจึงยังคงถือปฏิบัติต่อไป คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศได้ให้ทางเลือกในการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงจาก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือยังคงถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของการบัญชี ป้องกันความเสี่ยงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 สําหรับ การบัญชีป้องกันความเสี่ยงทั้งหมด เนื่องจากข้อกําหนดสําหรับการบัญชีป้องกันความเสี่ยง ในระดับมหภาคยังไม่แล้วเสร็จ ข้อกําหนดอื่นๆ 11 นอกจากแผนงานทั้งสามส่วนดังกล่าวนั้น ในเดือนมีนาคม พ . ศ . 2552 คณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้เผยแพร่ร่างมาตรฐาน เรื่อง การตัดรายการ ( ข้อเสนอ การปรับปรุง มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือ ทางการเงิน และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือ ทางการเงิน ) อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน พ . ศ . 2553 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศได้ปรับปรุงกลยุทธ์และแผนการทํางานและตัดสินใจที่จะคงข้อกําหนด การเลิกรับรู้รายการสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ไว้ในมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 แต่ยังคงดําเนินการให้แล้วเสร็จในส่วนของการปรับปรุงข้อกําหนด ของการเปิดเผยข้อมูล ข้อกําหนดของการเปิดเผยข้อมูลฉบับใหม่ออกในเดือนตุลาคม พ . ศ . 2553 โดยเป็นการปรับปรุงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม พ . ศ . 2554 ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคม พ . ศ . 2553 ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเลิก รับรู้รายการสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินในมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศ ฉบับที่ 39 ได้ถูกยกไปไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือ ทางการเงิน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง 12 ผลจากการเพิ่มข้อกําหนดตามที่ระบุในข้อ 7 และ 11 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน และบทอธิบายเหตุผลของข้อกําหนดได้ถูกปรับเปลี่ยนใน พ . ศ . 2553 มีการจัดลําดับและจัดเรียงหลายๆ ย่อหน้าใหม่ และได้เพิ่มย่อหน้าใหม่ๆ เพิ่มเติม สําหรับแนวทางในการนํามาปฏิบัติที่ยกมาจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 เรื่อง การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน นอกจากนี้ยังเพิ่มเนื้อหาส่วนใหม่ๆ ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงข้อกําหนด ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 นอกจากนี้บทอธิบายเหตุผลของข้อกําหนด สําหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มีการขยายเพิ่มเติมใน พ . ศ . 2553 เพื่อรวมบทอธิบายเหตุผลของข้อกําหนดจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 ที่อธิบายแนวปฏิบัติที่ยกมาใช้โดยไม่ได้มีการพิจารณาใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงการใช้ ถ้อยคําอีกเล็กน้อย

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ช 13 ใน พ . ศ . 2557 การเพิ่มข้อกําหนดตามที่ระบุในข้อ 9 ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงการเรียงย่อหน้า เล็กน้อยในแนวปฏิบัติการนําไปใช้ในบทที่ 5 ( การวัดมูลค่า ) ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน โดยเฉพาะในย่อหน้าที่เกี่ยวกับการวัดมูลค่า เงินลงทุนในตราสารทุนและสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนดังกล่าวมีการเปลี่ยนหมายเลข อ้างอิงเป็นภาคผนวกย่อหน้าที่ ข 5.2.3 ถึง ข 5.2.6 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของ ข้อกําหนด ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงหมายเลขอ้างอิงเกิดขึ้นจากการเพิ่มข้อกําหนดสําหรับราคาทุน ตัดจําหน่ายและการด้อยค่าในหมวดที่ 5.4 และ 5.5 ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ **

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ บทที่ 1 วัตถุประสงค์ 1.1 2 ขอบเขต 2.1 3 การรับรู้รายการและการเลิกรับรู้รายการ 3.1.1 3.1 การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก 3.1.1 3.2 การเลิกรับรู้รายการของสินทรัพย์ทางการเงิน 3.2.1 3.3 การเลิกรับรู้รายการของหนี้สินทางการเงิน 3.3.1 4 การจัดประเภทรายการ 4.1.1 4.1 การจัดประเภทรายการของสินทรัพย์ทางการเงิน 4.1.1 4.2 การจัดประเภทรายการของหนี้สินทางการเงิน 4.2.1 4.3 อนุพันธ์แฝง 4.3.1 4.4 การจัดประเภทรายการใหม่ 4.4.1 5 การวัดมูลค่า 5.1.1 5.1 การวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก 5.1.1 5.2 การวัดมูลค่าภายหลังของสินทรัพย์ทางการเงิน 5.2.1 5.3 การวัดมูลค่าภายหลังของหนี้สินทางการเงิน 5.3.1 5.4 การวัดมูลค่าราคาทุนตัดจําหน่าย 5.4.1 5.5 การด้อยค่า 5.5.1 5.6 การจัดประเภทรายการใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน 5.6.1 5.7 ผลกําไรและขาดทุน 5.7.1 6 การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง 6.1.1 6.1 วัตถุประสงค์และขอบเขตของการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง 6.1.1 6.2 เครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง 6.2.1 6.3 รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง 6.3.1 6.4 การเข้าเงื่อนไขการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง 6.4.1 6.5 การบัญชีสําหรับความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไข 6.5.1 6.6 การป ้ องกันความเสี่ยงของกลุ่มของรายการ 6.6.1 6.7 ทางเลือกในการเลือกกําหนดฐานะเปิดด้านเครดิตวัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 6.7.1

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 6.8 การยกเว้นสําหรับการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะ เป็นการชั่วคราว 6.8.1 7 วันถือปฏิบัติ และการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 7.1.1 7.1 วันถือปฏิบัติ 7.1.1 7.2 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 7.2.1 7.3 ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ภาคผนวก ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ภาคผนวก ข แนวปฏิบัติ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน บทที่ 1 วัตถุประสงค์ 1.1 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดหลักการสําหรับการรายงาน ทางการเงินสําหรับ สินทรัพย์ทางการเงิน และ หนี้สินทางการเงิน เพื่อเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการประเมินถึงจํานวนเงิน จังหวะเวลา และ ความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ บทที่ 2 ขอบเขต 2.1 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับทุกกิจการสําหรับเครื่องมือ ทางการเงินทุกประเภท ยกเว้นรายการต่อไปนี้ 2.1.1 ส่วนได้เสียในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และการร่วมค้า ตามที่กําหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 หรือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 กําหนดหรืออนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติกับ ส่วนได้เสียในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ตามข้อกําหนดบางส่วนหรือ ทั้งหมดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้องนํามาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้มาถือปฏิบัติกับอนุพันธ์ที่เชื่อมโยงกับส่วนได้เสีย ในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า เว้นแต่อนุพันธ์นั้นเป็นไปตามคํานิยาม ของตราสารทุนของกิจการตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน 2.1.2 สิทธิและภาระผูกพันภายใต้สัญญาเช่าที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า อย่างไรก็ตาม 2.1.2.1 ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุน ( กล่าวคือ เงินลงทุนสุทธิในสัญญาเช่า เงินทุน ) และลูกหนี้ตามสัญญาเช่าดําเนินงานที่รับรู้โดยผู้ให้เช่า ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้ในเรื่องการเลิกรับรู้รายการและการด้อยค่า 2.1.2.2 เจ้าหนี้สัญญาเช่าที่รับรู้โดยผู้เช่า ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ในเรื่องการเลิกรับรู้รายการ ตามที่ระบุไว้ ในย่อหน้าที่ 3.3.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 และ 2.1.2.3 อนุพันธ์ที่แฝงในสัญญาเช่า ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ในเรื่องอนุพันธ์แฝง 2.1.3 สิทธิและภาระผูกพันของนายจ้างที่เกิดจากแผนสิทธิประโยชน์ของพนักงาน ที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน 2.1.4 เครื่องมือทางการเงินที่ออกโดยกิจการที่เป็นไปตามคํานิยามของตราสารทุน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ( ซึ่งรวมถึง สิทธิเลือกและใบสําคัญแสดง สิทธิ ) หรือรายการที่ต้องจัดประเภทเป็นตราสารทุนตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือตราสารทุนดังกล่าว ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้กับเครื่องมือทางการเงินเหล่านั้น เว้นแต่จะเป็นไปตาม ข้อยกเว้นในย่อหน้าที่ 2.1.1 ดังกล่าวข้างต้น 2.1.5 สิทธิและภาระผูกพันที่เกิดขึ้นภายใต้สัญญาประกันภัยตามที่กําหนดใน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย หรือ สัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ตามดุลพินิจภายใต้ขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ถือปฏิบัติกับ 2.1.5.1 อนุพันธ์ที่แฝงอยู่ในสัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 หากอนุพันธ์แฝงดังกล่าวด้วย ตัวของอนุพันธ์เองไม่เป็นสัญญาภายใต้ขอบเขตของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 2.1.5.2 องค์ประกอบการลงทุนที่ถูกแยกออกจากสัญญาภายในขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 หากมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 กําหนดให้มีการแยกรายการนั้น เว้นแต่องค์ประกอบการลงทุนที่ได้แยกออกมาเป็นสัญญาลงทุนที่มี ลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ตามดุลพินิจภายใต้ขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 2.1.5.3 สิทธิและภาระผูกพันของผู้ออกภายใต้สัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไป ตามนิยามของสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน อย่างไรก็ตาม หากผู้ออกสัญญาคํ้าประกันทางการเงินเคยแสดงอย่างชัดแจ้งว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประกันภัย และได้ใช้วิธีการบัญชีสําหรับ สัญญาประกันภัย ผู้ออกสัญญาอาจเลือกที่จะถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้หรือมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 กับสัญญาคํ้าประกันทางการเงินดังกล่าว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 ( ดูย่อหน้าที่ ข 2.5 ถึง ข 2.6) โดยผู้ออกสัญญาอาจเลือกถือปฏิบัติ ได้เป็นรายสัญญา แต่เมื่อเลือกแล้วไม่สามารถยกเลิกได้ 2.1.5.4 สิทธิและภาระผูกพันของกิจการซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ เกิดขึ้นภายใต้สัญญาบัตรเครดิตหรือสัญญาที่คล้ายคลึงกันซึ่งให้ เครดิตหรือการจัดการการชําระเงิน ซึ่งกิจการเป็นผู้ออกที่เป็นไป ตามนิยามของสัญญาประกันภัยแต่ด้วยย่อหน้าที่ 7.8 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ไม่ได้รวมอยู่ใน ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 อย่างไรก็ตาม เฉพาะเมื่อความคุ้มครองประกันภัยเป็นข้อกําหนดตามสัญญาของ เครื่องมือทางการเงินนั้น กิจการต้องแยกองค์ประกอบและถือ ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 กับ องค์ประกอบนั้น ( ดูย่อหน้าที่ 7.8 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17) 2.1.5.5 สิทธิและภาระผูกพันของกิจการซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ เกิดขึ้นภายใต้สัญญาประกันภัยซึ่งกิจการเป็นผู้ออก โดยจํากัด เงินชดเชยสําหรับเหตุการณ์ที่เอาประกันภัยไว้เท่ากับจํานวนเงิน ที่ต้องชําระภาระผูกพันของผู้ถือกรมธรรม์ที่เกิดขึ้นตามสัญญา หากกิจการเลือกที่จะถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 แทนมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 กับ สัญญาเหล่านั้น ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 8 ก ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 2.1.6 สัญญาฟอร์เวิร์ดใดๆ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะขายหุ้น เพื่อซื้อหรือ ขายกิจการที่ถูกซื้อซึ่งนําไปสู่การรวมธุรกิจ ณ วันที่ซื้อในอนาคต ภายใต้ ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ โดยระยะเวลาของสัญญาฟอร์เวิร์ดต้องไม่เกินระยะเวลาที่สมเหตุสมผล ซึ่งตามปกติจําเป็นต้องใช้เพื่อได้รับการอนุมัติและการทํารายการให้แล้วเสร็จ 2.1.7 ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อนอกเหนือจากข้อผูกมัดที่อธิบายในย่อหน้าที่ 2.3 อย่างไรก็ตาม ผู้ออกข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดเรื่อง การด้อยค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับข้อผูกมัดวงเงิน สินเชื่อซึ่งไม่ได้ถูกกําหนดเป็นอย่างอื่นภายใต้ขอบเขตของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ นอกจากนี้ ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อทั้งหมดให้ ปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในเรื่อง การเลิกรับรู้รายการ 2.1.8 เครื่องมือทางการเงิน สัญญา และภาระผูกพันภายใต้รายการการจ่ายโดยใช้หุ้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 เป็นเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ยกเว้นสัญญาภายใต้ขอบเขตของย่อหน้าที่ 2.4 ถึง 2.7 ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 2.1.9 สิทธิที่จะได้รับชําระเงินเพื่อชดเชยกิจการสําหรับรายจ่ายที่กิจการต้องจ่ายเพื่อ ชําระหนี้สินซึ่งกิจการรับรู้เป็นประมาณการหนี้สินตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจ เกิดขึ้น หรือหนี้สินซึ่งกิจการได้รับรู้เป็นประมาณการหนี้สินในรอบระยะเวลา รายงานก่อนหน้า ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 2.1.10 สิทธิและภาระผูกพันภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ที่เป็นเครื่องมือทางการเงิน เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 กําหนดให้ปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 2.2 ข้อกําหนดเกี่ยวกับการด้อยค่าของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติ กับสิทธิซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ระบุให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรับรู้ผลกําไรหรือ ขาดทุนจากการด้อยค่า 2.3 ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อต่อไปนี้อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 2.3.1 ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อที่กิจการเลือกกําหนดให้เป็นหนี้สินทางการเงินซึ่ง วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 4.2.2) กิจการที่ มีวิธีปฏิบัติในอดีตที่ขายสินทรัพย์ที่เกิดจากข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อภายใน ระยะเวลาอันสั้นหลังจากที่เกิดข้อผูกมัดแล้ว ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้สําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อทั้งหมดของกิจการ ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน 2.3.2 ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อที่สามารถชําระสุทธิเป็นเงินสดหรือโดยการส่งมอบ หรือ ออกเครื่องมือทางการเงินอื่น ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อดังกล่าวเป็นอนุพันธ์ ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อไม่ถือว่าเป็นการชําระสุทธิเพียงแค่เพราะสินเชื่อนั้น มีการจ่ายชําระเป็นงวด ( เช่น สินเชื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่มีการจ่ายชําระเป็นงวด ตามความก้าวหน้าของการก่อสร้าง ) 2.3.3 ข้อผูกมัดที่จะให้กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยตํ่ากว่าอัตราดอกเบี้ยตลาด ( ดูย่อ หน้าที่ 4.2.1.4) 2.4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับสัญญาที่จะซื้อหรือจะขายรายการ ที่ไม่ใช่รายการทางการเงินซึ่งสามารถชําระสุทธิเป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน เสมือนว่าสัญญาดังกล่าวเป็นเครื่องมือ ทางการเงิน ยกเว้นสัญญาซึ่งทําขึ้นและถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับหรือส่งมอบรายการ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 ที่ไม่ใช่รายการทางการเงินตามข้อกําหนดการใช้ การขาย หรือการซื้อที่คาดการณ์ของ กิจการ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับสัญญา ซึ่งกิจการเลือกกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่กล่าวไว้ใน ย่อหน้าที่ 2.5 2.5 สัญญาจะซื้อหรือสัญญาจะขายรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ซึ่งสามารถชําระสุทธิ เป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน เสมือนหนึ่งว่าสัญญาดังกล่าวเป็นเครื่องมือทางการเงิน กิจการอาจเลือกกําหนดให้สัญญา ดังกล่าววัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ทั้งนี้ เมื่อกําหนดแล้วจะ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แม้ว่าสัญญานั้นจะทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับหรือส่งมอบรายการ ที่ไม่ใช่รายการทางการเงินเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดการใช้ การขาย หรือการซื้อ ที่คาดการณ์ของกิจการ การเลือกกําหนดวิธีการวัดมูลค่านี้ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อเริ่มต้น สัญญาและเพื่อเป็นการขจัดหรือลดความไม่สอดคล้องของการรับรู้รายการอย่างมีนัยสําคัญ ( บางครั้งเรียกว่า การจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี (accounting mismatch)) ซึ่งการ จับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชีจะเกิดขึ้นจากการไม่รับรู้สัญญานั้นเนื่องจากสัญญา ดังกล่าวไม่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ดูย่อหน้าที่ 2.4) 2.6 สัญญาจะซื้อหรือสัญญาจะขายรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินสามารถชําระสุทธิเป็นเงินสด หรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงินได้หลายวิธี ซึ่งรวมถึง กรณีต่อไปนี้ 2.6.1 เมื่อเงื่อนไขในสัญญายอมให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชําระสุทธิเป็นเงินสดหรือ เครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน 2.6.2 เมื่อไม่ได้มีการระบุวิธีชําระไว้ชัดเจนในสัญญาว่าจะชําระสุทธิด้วยเงินสดหรือ เครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน แต่กิจการมี วิธีปฏิบัติสําหรับสัญญาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยชําระสุทธิเป็นเงินสดหรือ เครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน ( ไม่ว่าจะ ด้วยการเข้าทํารายการกับคู่สัญญาโดยการทําสัญญาหักกลบหรือโดยการขายสัญญา ก่อนที่จะมีการใช้สิทธิตามสัญญานั้นหรือก่อนสัญญาหมดอายุ ) 2.6.3 เมื่อกิจการมีวิธีปฏิบัติสําหรับสัญญาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในการรับมอบรายการ อ้างอิงและขายรายการดังกล่าวภายในระยะเวลาอันสั้นหลังการรับมอบเพื่อ วัตถุประสงค์ในการทํากําไรจากความผันผวนในระยะสั้นของราคาหรือส่วนต่างของ ผู้ค้า และ 2.6.4 เมื่อรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินเป็นสาระของสัญญาซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น เงินสดได้ทันที สัญญาซึ่งเป็นไปตามย่อหน้าที่ 2.6.2 หรือ 2.6.3 ที่ไม่ได้จัดทําขึ้นเพื่อรับหรือส่งมอบรายการ ที่ไม่ใช่รายการทางการเงินตามข้อกําหนดการใช้ การขาย หรือการซื้อที่คาดการณ์ของกิจการอยู่ ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ให้กิจการประเมินสัญญาอื่นๆ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 ตามย่อหน้าที่ 2.4 เพื่อพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวจัดทําขึ้นและถือไว้เพื่อรับหรือส่งมอบรายการ ที่ไม่ใช่รายการทางการเงินตามข้อกําหนดการใช้ การขาย หรือการซื้อที่คาดการณ์ของกิจการ หรือไม่ และเพื่อพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวอยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้หรือไม่ 2.7 การออกสิทธิเลือกที่จะซื้อหรือจะขายรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ซึ่งสามารถชําระสุทธิเป็น เงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน ตามย่อหน้าที่ 2.6.1 หรือ 2.6.4 อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ สัญญา ดังกล่าวต้องไม่เป็นสัญญาที่จัดทําขึ้นเพื่อรับหรือส่งมอบรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ตามข้อกําหนดการใช้ การขาย หรือการซื้อที่คาดการณ์ของกิจการ บทที่ 3 การรับรู้รายการและการเลิกรับรู้รายการ 3.1 การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก 3.1.1 กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินในงบฐานะการเงินเฉพาะเมื่อ กิจการเป็นคู่สัญญาตามข้อกําหนดของสัญญาของเครื่องมือทางการเงินนั้น ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.1.1 และ ข 3.1.2) เมื่อกิจการรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินใดๆ เป็นครั้งแรก กิจการต้อง จัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวตามย่อหน้าที่ 4.1.1 ถึง 4.1.5 และวัดมูลค่า ตามย่อหน้าที่ 5.1.1 ถึง 5.1.3 เมื่อกิจการรับรู้หนี้สินทางการเงินใดๆ เป็นครั้งแรก กิจการ ต้องจัดประเภทหนี้สินทางการเงินดังกล่าวตามย่อหน้าที่ 4.2.1 และ 4.2.2 และวัดมูลค่า ตามย่อหน้าที่ 5.1.1 การซื้อหรือการขายสินทรัพย์ทางการเงินตามวิธีปกติ 3.1.2 การซื้อหรือการขาย สินทรัพย์ทางการเงิน ตามวิธีปกติ ต้องรับรู้รายการหรือเลิกรับรู้รายการ โดยใช้การบัญชีวันซื้อขายหรือการบัญชีวันชําระตามความเหมาะสม ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.1.3 ถึง ข 3.1.6) 3.2 การเลิกรับรู้รายการของสินทรัพย์ทางการเงิน 3.2.1 สําหรับงบการเงินรวม ย่อหน้าที่ 3.2.2 ถึง 3.2.9 และย่อหน้าที่ ข 3.1.1 ข 3.1.2 และ ข 3.2.1 ถึง ข 3.2.17 ให้ถือปฏิบัติในระดับงบการเงินรวม ดังนั้น ให้กิจการรวมบริษัทย่อยทั้งหมดให้เป็นกลุ่ม กิจการก่อนตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 แล้วจึงถือปฏิบัติตามย่อหน้า ดังกล่าวกับกลุ่มกิจการนั้น 3.2.2 กิจการต้องพิจารณาว่าย่อหน้าที่ 3.2.3 ถึง 3.2.9 ต้องถือปฏิบัติกับบางส่วนของสินทรัพย์ ทางการเงิน ( หรือส่วนหนึ่งของกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 หรือสินทรัพย์ทางการเงินทั้งจํานวน ( หรือกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกันทั้งจํานวน ) หรือไม่ แล้วจึงประเมินว่า การเลิกรับรู้รายการ มีความเหมาะสม ตามข้อกําหนดที่ระบุในย่อหน้าดังกล่าวหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด โดยมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้ 3.2.2.1 ให้ถือปฏิบัติย่อหน้าที่ 3.2.3 ถึง 3.2.9 กับบางส่วนของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือส่วนหนึ่งของกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ) ก็ต่อเมื่อส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ทางการเงินที่กิจการกําลังพิจารณาเลิกรับรู้ รายการเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 3.2.2.1.1 ส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวประกอบด้วยเพียงแค่ กระแสเงินสดที่ระบุไว้อย่างเฉพาะเจาะจงจากสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน ) เช่น เมื่อกิจการ ขายแยกส่วนอัตราดอกเบี้ย (interest rate strip) ของสินทรัพย์ ทางการเงิน ซึ่งทําให้อีกฝ่ายได้รับสิทธิในกระแสเงินสดส่วนที่เป็น ดอกเบี้ย แต่ไม่มีสิทธิในกระแสเงินสดส่วนที่เป็นเงินต้นของ ตราสารหนี้นั้น ให้กิจการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 3.2.3 ถึง 3.2.9 สําหรับกระแสเงินสดส่วนที่เป็นดอกเบี้ย 3.2.2.1.2 ส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวประกอบด้วยเพียงแค่ ส่วนแบ่งตามสัดส่วนอย่างเต็มที่ (fully proportionate (pro rata) share) ของกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือกลุ่มของ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ) เช่น เมื่อกิจการทํา ข้อตกลงที่ให้อีกฝ่ายได้สิทธิในส่วนแบ่งร้อยละ 90 ของกระแสเงินสด ทั้งหมดจากตราสารหนี้ ให้กิจการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 3.2.3 ถึง 3.2.9 กับร้อยละ 90 ของกระแสเงินสดนั้น หากมีคู่สัญญาหลายฝ่าย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายไม่จําเป็นต้องมีส่วนแบ่งตามสัดส่วนของ กระแสเงินสด ถ้ากิจการผู้โอนมีสิทธิในส่วนแบ่งตามสัดส่วนอย่าง เต็มที่ 3.2.2.1.3 ส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวประกอบด้วยเพียงแค่ ส่วนแบ่งตามสัดส่วนอย่างเต็มที่ ของกระแสเงินสดที่ระบุไว้อย่าง เฉพาะเจาะจงจากสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือกลุ่มของสินทรัพย์ ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ) ตัวอย่างเช่น เมื่อกิจการ ทําข้อตกลงที่ให้อีกฝ่ายได้สิทธิในส่วนแบ่งร้อยละ 90 ของ กระแสเงินสดส่วนที่เป็นดอกเบี้ยจากสินทรัพย์ทางการเงิน ให้กิจการ ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 3.2.3 ถึง 3.2.9 กับร้อยละ 90 ของ กระแสเงินสดส่วนที่เป็นดอกเบี้ยดังกล่าว หากมีคู่สัญญาหลายฝ่าย

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายไม่จําเป็นต้องมีส่วนแบ่งตามสัดส่วนของ กระแสเงินสดที่ระบุไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ถ้ากิจการผู้โอนมีสิทธิใน ส่วนแบ่งตามสัดส่วนอย่างเต็มที่ 3.2.2.2 ในกรณีอื่นทั้งหมดให้กิจการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 3.2.3 ถึง 3.2.9 กับสินทรัพย์ ทางการเงินทั้งจํานวน ( หรือกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึง กันทั้งจํานวน ) เช่น เมื่อกิจการโอน (1) สิทธิในร้อยละ 90 แรกสุดหรือหลังสุด ของเงินสดที่ได้รับจากสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงิน ) หรือ (2) สิทธิในร้อยละ 90 ของกระแสเงินสดจากกลุ่มลูกหนี้ แต่กิจการให้การ คํ้าประกันเพื่อชดเชยผลขาดทุนด้านเครดิตให้แก่ผู้ซื้อไม่เกินร้อยละ 8 ของ จํานวนเงินต้นของลูกหนี้ ให้กิจการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 3.2.3 ถึง 3.2.9 กับ สินทรัพย์ทางการเงินทั้งจํานวน ( หรือกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกันทั้งจํานวน ) ในย่อหน้าที่ 3.2.3 ถึง 3.2.12 คําว่า “ สินทรัพย์ทางการเงิน ” หมายถึง บางส่วนของ สินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือส่วนหนึ่งของกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ) ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 3.2.2.1 หรือหมายถึงสินทรัพย์ทางการเงินทั้งจํานวน ( หรือกลุ่มของ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั้งจํานวน ) 3.2.3 กิจการต้องเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงิน เฉพาะเมื่อ 3.2.3.1 สิทธิตามสัญญาที่จะได้รับกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ทางการเงินหมดอายุ หรือ 3.2.3.2 กิจการโอนสินทรัพย์ทางการเงินตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 3.2.4 และ 3.2.5 และ การโอนนั้นเข้าเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการตามย่อหน้าที่ 3.2.6 ( ดูย่อหน้าที่ 3.1.2 สําหรับการขายสินทรัพย์ทางการเงินตามวิธีปกติ ) 3.2.4 กิจการโอนสินทรัพย์ทางการเงิน ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 3.2.4.1 กิจการโอนสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ทางการเงินนั้น หรือ 3.2.4.2 กิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ทางการเงิน แต่รับภาระผูกพันตามสัญญาที่จะจ่ายกระแสเงินสดนั้นให้กับผู้รับรายใดรายหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งรายตามข้อตกลงที่เป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 3.2.5 3.2.5 เมื่อกิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ทางการเงิน (“ สินทรัพย์เดิม ”) แต่รับภาระผูกพันตามสัญญาที่จะจ่ายกระแสเงินสดนั้นให้กับกิจการใด กิจการหนึ่งหรือหลายกิจการ (“ ผู้รับคนสุดท้าย ”) ให้กิจการถือว่ารายการดังกล่าวเป็น การโอนสินทรัพย์ทางการเงิน ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทั้งสามข้อดังต่อไปนี้ 3.2.5.1 กิจการไม่มีภาระผูกพันที่จะจ่ายเงินจํานวนหนึ่งให้กับผู้รับคนสุดท้าย หากกิจการ ไม่ได้รับชําระเงินจํานวนเดียวกันจากสินทรัพย์เดิม เงินล่วงหน้าระยะสั้นที่กิจการ ให้ไปโดยที่กิจการมีสิทธิที่จะได้รับเงินต้นคืนเต็มจํานวนรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 ตามอัตราดอกเบี้ยตลาด ไม่ถือเป็นการผิดเงื่อนไขนี้ 3.2.5.2 กิจการมีเงื่อนไขตามสัญญาที่ห้ามมิให้กิจการขายสินทรัพย์เดิมหรือวางสินทรัพย์ เดิมเป็นหลักประกัน นอกจากใช้เป็นหลักประกันสําหรับภาระผูกพันที่จะจ่าย กระแสเงินสดให้แก่ผู้รับคนสุดท้าย 3.2.5.3 กิจการมีภาระผูกพันที่จะส่งมอบกระแสเงินสดใดๆ ที่กิจการรับชําระแทนผู้รับ คนสุดท้ายโดยไม่ล่าช้าอย่างมีสาระสําคัญ นอกจากนั้น กิจการไม่มีสิทธิที่จะ นํากระแสเงินสดดังกล่าวไปลงทุนใหม่ เว้นแต่เป็นเงินลงทุนในเงินสดหรือ รายการเทียบเท่าเงินสด ( ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด ) ในช่วงระยะเวลาชําระสั้นๆ จากวันที่รับชําระถึงวันที่ กําหนดให้ส่งมอบกระแสเงินสดให้ผู้รับคนสุดท้าย และดอกเบี้ยที่เกิดจาก การลงทุนนั้นให้ส่งผ่านไปยังผู้รับคนสุดท้ายด้วย 3.2.6 เมื่อกิจการโอนสินทรัพย์ทางการเงิน ( ดูย่อหน้าที่ 3.2.4) กิจการต้องประเมินว่ากิจการยัง คงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์ทางการเงินไว้มาก น้อยเพียงใด 3.2.6.1 หากกิจการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด ของสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินนั้น และรับรู้สิทธิและภาระผูกพันใดๆ ที่เกิดขึ้นหรือที่ยังคงไว้จากการโอนเป็น สินทรัพย์หรือหนี้สินแยกจากกัน 3.2.6.2 หากกิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของ เกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินนั้น ต่อไป 3.2.6.3 หากกิจการไม่ได้โอนหรือไม่ได้คงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของ ความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องพิจารณาว่า กิจการยังคงมีการควบคุมสินทรัพย์ทางการเงินนั้นอยู่หรือไม่ 3.2.6.3.1 หากกิจการไม่คงไว้ซึ่งการควบคุม กิจการต้องเลิกรับรู้รายการ สินทรัพย์ทางการเงินนั้น และรับรู้สิทธิและภาระผูกพันใดๆ ที่เกิดขึ้น หรือที่ยังคงไว้จากการโอนเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินแยกจากกัน 3.2.6.3.2 หากกิจการยังคงไว้ซึ่งการควบคุม กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ ทางการเงินนั้นต่อไปตราบเท่าที่กิจการยังคงมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ในสินทรัพย์ทางการเงินนั้น ( ดูย่อหน้าที่ 3.2.16) 3.2.7 การประเมินการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทน ( ดูย่อหน้าที่ 3.2.6) ให้เปรียบเทียบฐานะเปิด ของกิจการทั้งก่อนและหลังการโอนกับความผันผวนของจํานวนเงินและจังหวะเวลาของ กระแสเงินสดสุทธิของสินทรัพย์ที่โอน กิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็น เจ้าของเกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงิน หากฐานะเปิดต่อความผันผวนในมูลค่าปัจจุบัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 ของกระแสเงินสดสุทธิในอนาคตจากสินทรัพย์ทางการเงินนั้นไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ อันเป็นผลมาจากการโอน ( เช่น เนื่องจากกิจการขายสินทรัพย์ทางการเงินโดยมีข้อตกลงที่จะ ซื้อคืนในราคาที่คงที่ หรือราคาขายบวกผลตอบแทนของผู้ให้กู้ยืม ) กิจการโอนความเสี่ยงและ ผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงินแล้ว หากฐานะเปิดต่อ ความผันผวนดังกล่าวไม่มีนัยสําคัญอีกต่อไปเมื่อเปรียบเทียบกับความผันผวนทั้งหมดในมูลค่า ปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิในอนาคตที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ทางการเงิน ( เช่น เนื่องจากกิจการ ขายสินทรัพย์ทางการเงินโดยมีสิทธิเลือกที่จะซื้อคืนด้วย มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อคืน หรือกิจการ โอนส่วนแบ่งตามสัดส่วนอย่างเต็มที่ ของกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ทางการเงินที่ใหญ่กว่า ในข้อตกลงแล้ว เช่น การโอนขายต่อเงินให้กู้ยืม ( loan sub-participation ) ซึ่งเข้าเงื่อนไขตามที่ระบุ ในย่อหน้าที่ 3.2.5) 3.2.8 บ่อยครั้งที่เป็นที่ชัดเจนว่ากิจการโอนหรือยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็น เจ้าของเกือบทั้งหมดจึงไม่มีความจําเป็นต้องทําการคํานวณใดๆ ในกรณีอื่น กิจการจําเป็นต้อง คํานวณและเปรียบเทียบฐานะเปิดต่อความผันผวนในมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ ในอนาคตของกิจการทั้งก่อนและหลังการโอน ให้กิจการใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดปัจจุบัน ที่เหมาะสมเป็นอัตราคิดลดในการคํานวณและการเปรียบเทียบดังกล่าว ให้กิจการพิจารณา ความผันผวนในกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นไปได้อย่างมีเหตุผลทั้งหมดโดยให้นํ้าหนักมากกับ ผลลัพธ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง 3.2.9 การพิจารณาว่ากิจการยังคงไว้ซึ่งการควบคุม ( ดูย่อหน้าที่ 3.2.6.3) สินทรัพย์ที่โอนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รับโอนในการขายสินทรัพย์นั้น หากผู้รับโอนมีความสามารถ ในทางปฏิบัติที่จะขายสินทรัพย์นั้นทั้งจํานวนให้กับบุคคลที่สามซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และ สามารถทําได้เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จําเป็นต้องกําหนดข้อจํากัดเพิ่มเติมในการโอน ให้ถือว่า กิจการไม่คงไว้ซึ่งการควบคุม ในกรณีอื่นทั้งหมดให้ถือว่ากิจการยังคงไว้ซึ่งการควบคุม การโอนที่เป็นไปตามเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ 3.2.10 หากกิจการโอนสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งการโอนนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ สินทรัพย์ทางการเงินทั้งจํานวน และกิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการให้บริการสินทรัพย์ทางการเงิน โดยได้รับค่าธรรมเนียม กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์หรือหนี้สินที่เกิดจากการให้บริการสําหรับ สัญญาบริการนั้น หากกิจการคาดว่าค่าธรรมเนียมที่จะได้รับชดเชยไม่เพียงพอสําหรับ การให้บริการของกิจการ กิจการต้องรับรู้หนี้สินที่เกิดจากการให้บริการสําหรับภาระผูกพัน การให้บริการด้วยมูลค่ายุติธรรม หากกิจการคาดว่าค่าธรรมเนียมที่จะได้รับมากกว่าที่จะ ชดเชยการให้บริการ กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้บริการสําหรับสิทธิ ในการให้บริการด้วยจํานวนเงินที่กําหนดจากการปันส่วนมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ทางการเงินที่ใหญ่กว่า ตามข้อกําหนดที่ระบุในย่อหน้าที่ 3.2.13 3.2.11 ในกรณีที่การโอนทําให้กิจการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินทั้งจํานวน แต่กิจการ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 ได้รับสินทรัพย์ทางการเงินใหม่ หรือรับหนี้สินทางการเงินใหม่หรือหนี้สินที่เกิดจาก การให้บริการ กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินใหม่ หนี้สินทางการเงินใหม่ หรือหนี้สิน ที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม 3.2.12 ในการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินทั้งจํานวน กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่า ต่อไปนี้ในกําไรหรือขาดทุน 3.2.12.1 มูลค่าตามบัญชี ( วัดมูลค่า ณ วันที่เลิกรับรู้รายการ ) และ 3.2.12.2 สิ่งตอบแทนที่ได้รับ ( รวมถึงสินทรัพย์ใหม่ใดๆ ที่ได้มาหักด้วยหนี้สินใหม่ใดๆ ที่รับมา ) 3.2.13 หากสินทรัพย์ที่โอนเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ทางการเงินที่ใหญ่กว่า ( เช่น เมื่อกิจการโอน กระแสเงินสดส่วนที่เป็นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตราสารหนี้ ดูย่อหน้าที่ 3.2.2.1) และ ส่วนที่โอนนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการทั้งจํานวน มูลค่าตามบัญชีเดิมของ สินทรัพย์ทางการเงินที่ใหญ่กว่าต้องปันส่วนระหว่างส่วนที่ยังคงรับรู้ต่อไป และส่วนที่เลิกรับรู้ รายการโดยใช้เกณฑ์มูลค่ายุติธรรมเปรียบเทียบของส่วนต่างๆ ดังกล่าว ณ วันที่โอน เพื่อวัตถุประสงค์นี้ กิจการต้องถือว่าสินทรัพย์ที่เกิดจากการให้บริการที่ยังคงอยู่ เป็นส่วนที่ รับรู้ต่อไป กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่าต่อไปนี้ในกําไรหรือขาดทุน 3.2.13.1 มูลค่าตามบัญชี ( วัดมูลค่า ณ วันที่เลิกรับรู้รายการ ) ที่ปันส่วนให้กับส่วนที่เลิกรับรู้ รายการ และ 3.2.13.2 สิ่งตอบแทนที่ได้รับสําหรับส่วนที่เลิกรับรู้รายการ ( รวมถึงสินทรัพย์ใหม่ใดๆ ที่ได้มาหักด้วยหนี้สินใหม่ใดๆ ที่รับมา ) 3.2.14 เมื่อกิจการปันส่วนมูลค่าตามบัญชีก่อนหน้าของสินทรัพย์ทางการเงินที่ใหญ่กว่า ให้กับส่วนที่รับรู้ต่อไป และส่วนที่เลิกรับรู้รายการให้กิจการวัดมูลค่ายุติธรรมของส่วนที่รับรู้ต่อไป ในกรณีที่กิจการเคยขาย รายการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับส่วนที่รับรู้ต่อไปหรือในกรณีที่มีรายการซื้อขายอื่นสําหรับรายการ ดังกล่าว ให้กิจการใช้ราคาล่าสุดของธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริงเป็นประมาณการที่ดีที่สุดของมูลค่า ยุติธรรม ในกรณีที่ไม่มีราคาซื้อขายหรือไม่มีรายการซื้อขายล่าสุดที่จะสนับสนุนมูลค่ายุติธรรม ของส่วนที่รับรู้ต่อไป ให้กิจการใช้ผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินที่ใหญ่กว่า โดยรวมและสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากผู้รับโอนสําหรับส่วนที่เลิกรับรู้รายการเป็นประมาณการที่ดีที่สุด ของมูลค่ายุติธรรม การโอนที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ 3.2.15 หากการโอนไม่ทําให้เกิดการเลิกรับรู้รายการ เนื่องจากกิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและ ผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ที่โอน กิจการต้องรับรู้รายการ สินทรัพย์ที่โอนทั้งจํานวนต่อไป และต้องรับรู้หนี้สินทางการเงินสําหรับสิ่งตอบแทนที่ได้รับ และในรอบระยะเวลารายงานหลังจากนั้น กิจการต้องรับรู้รายได้ใดๆ จากสินทรัพย์ที่โอน และค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากหนี้สินทางการเงินดังกล่าว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ที่โอน 3.2.16 หากกิจการไม่ได้โอนหรือไม่ได้คงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของ เกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ที่โอน และยังคงไว้ซึ่งการควบคุมสินทรัพย์ที่โอน กิจการยังคง รับรู้สินทรัพย์ที่โอนต่อไปตามขอบเขตของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการ ขอบเขตของ ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการในสินทรัพย์ที่โอน คือ ขอบเขตของที่กิจการมีฐานะเปิดต่อ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินทรัพย์ที่โอน เช่น 3.2.16.1 เมื่อความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการอยู่ในรูปของการคํ้าประกันของสินทรัพย์ ที่โอน ขอบเขตของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการ คือ จํานวนเงินที่ตํ่ากว่า ระหว่าง (1) จํานวนเงินของสินทรัพย์ และ (2) จํานวนเงินสูงสุดของสิ่งตอบแทน ที่ได้รับซึ่งกิจการอาจถูกเรียกให้ชําระคืน ( จํานวนเงินที่คํ้าประกัน ) 3.2.16.2 เมื่อความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการอยู่ในรูปของสิทธิเลือกที่กิจการออก หรือ สิทธิเลือกที่กิจการซื้อ ( หรือทั้งสองอย่าง ) บนสินทรัพย์ที่โอน ขอบเขตของความ เกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการ คือ จํานวนเงินของสินทรัพย์ที่โอนซึ่งกิจการอาจซื้อคืน อย่างไรก็ตาม ในกรณีของสิทธิเลือกขายสินทรัพย์ที่กิจการออกซึ่งวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรม ขอบเขตของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการจะจํากัดเพียง จํานวนเงินที่ตํ่ากว่าระหว่างมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอน และราคาใช้สิทธิ เลือก ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.2.13) 3.2.16.3 เมื่อความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการอยู่ในรูปของสิทธิเลือกที่ชําระด้วยเงินสด หรือข้อกําหนดที่คล้ายคลึงกันของสินทรัพย์ที่โอน ขอบเขตของความเกี่ยวข้อง ที่คงอยู่ของกิจการ จะวัดมูลค่าด้วยวิธีเดียวกันอันเป็นผลมาจากสิทธิเลือก ที่ไม่ได้ชําระด้วยเงินสด ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 3.2.16.2 ข้างต้น 3.2.17 เมื่อกิจการยังคงรับรู้สินทรัพย์ต่อไปตามขอบเขตของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ให้กิจการรับรู้ หนี้สินที่เกี่ยวข้องด้วย แม้ว่าจะมีข้อกําหนดในการวัดมูลค่าอื่นๆ ในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ สินทรัพย์ที่โอนและหนี้สินที่เกี่ยวข้องจะวัดมูลค่าตามเกณฑ์ที่สะท้อนถึง สิทธิและภาระผูกพันที่กิจการยังคงไว้ หนี้สินที่เกี่ยวข้องจะวัดมูลค่าด้วยวิธีที่ทําให้มูลค่า ตามบัญชีสุทธิของสินทรัพย์ที่โอนและหนี้สินที่เกี่ยวข้อง คือ 3.2.17.1 ราคาทุนตัดจําหน่ายของสิทธิและภาระผูกพันที่กิจการยังคงไว้ หากสินทรัพย์ ที่โอนนั้นวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย หรือ 3.2.17.2 มูลค่าที่เท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสิทธิและภาระผูกพันที่กิจการยังคงไว้ เมื่อมี การวัดมูลค่าแบบแยกเป็นเอกเทศ หากสินทรัพย์ที่โอนนั้นวัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรม 3.2.18 กิจการต้องรับรู้รายได้ใดๆ ที่เกิดขึ้นจากสินทรัพย์ที่โอนตามขอบเขตของความเกี่ยวข้อง ที่คงอยู่ของกิจการ และต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากหนี้สินที่เกี่ยวข้อง 3.2.19 เพื่อวัตถุประสงค์ในการวัดมูลค่าภายหลัง การรับรู้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 สินทรัพย์ที่โอนและหนี้สินที่เกี่ยวข้อง ให้ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.1 อย่างสมํ่าเสมอในแต่ละข้อกําหนด โดยต้องไม่หักกลบ 3.2.20 หากขอบเขตของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ ทางการเงิน ( เช่น เมื่อกิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิเลือกที่จะซื้อคืนสินทรัพย์ที่โอนบางส่วน หรือ ยังคงไว้ซึ่งส่วนได้เสียคงเหลือที่ไม่ส่งผลให้กิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทน ของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดและกิจการยังคงไว้ซึ่งการควบคุม ) ให้กิจการปันส่วน มูลค่าตามบัญชีก่อนหน้านี้ของสินทรัพย์ทางการเงินระหว่างส่วนที่กิจการยังคงรับรู้ต่อไป ภายใต้ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ และส่วนที่กิจการไม่รับรู้อีกต่อไปโดยใช้เกณฑ์ของมูลค่า ยุติธรรมเปรียบเทียบของส่วนต่างๆ เหล่านั้น ณ วันที่โอน เพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้กิจการถือ ปฏิบัติตามข้อกําหนดที่ระบุในย่อหน้าที่ 3.2.14 กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่า ต่อไปนี้ในกําไรหรือขาดทุน 3.2.20.1 มูลค่าตามบัญชี ( วัดมูลค่า ณ วันที่เลิกรับรู้รายการ ) ที่ปันส่วนให้กับส่วน ที่ไม่รับรู้อีกต่อไป และ 3.2.20.2 สิ่งตอบแทนที่ได้รับสําหรับส่วนที่ไม่รับรู้อีกต่อไป 3.2.21 หากสินทรัพย์ที่โอนวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย หนี้สินที่เกี่ยวข้องไม่สามารถใช้ทางเลือก ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ที่อนุญาตให้กิจการเลือกกําหนดหนี้สินทางการเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน การโอนทุกประเภท 3.2.22 ถ้าสินทรัพย์ที่โอนยังคงรับรู้ต่อไป สินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องต้องไม่หักกลบ ในทํานอง เดียวกันกิจการต้องไม่หักกลบรายได้ใดๆ ที่เกิดขึ้นจากสินทรัพย์ที่โอนกับค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากหนี้สินที่เกี่ยวข้อง ( ดูย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32) 3.2.23 หากผู้โอนมอบหลักประกันที่ไม่ใช่เงินสด ( เช่น ตราสารหนี้หรือตราสารทุน ) ให้กับผู้รับโอน การบัญชีสําหรับหลักประกันของผู้โอนและผู้รับโอนขึ้นอยู่กับผู้รับโอนมีสิทธิที่จะนํา หลักประกันนั้นไปขายหรือวางเป็นประกันอีกทอดหนึ่งหรือไม่ และผู้โอนได้ปฏิบัติผิดสัญญา แล้วหรือไม่ ผู้โอนและผู้รับโอนต้องถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 3.2.23.1 หากผู้รับโอนมีสิทธิตามสัญญาหรือตามธรรมเนียมปฏิบัติที่จะนําหลักประกัน ไปขายหรือวางเป็นประกันอีกทอดหนึ่ง เช่นนี้ ผู้โอนต้องจัดประเภทรายการใหม่ สําหรับสินทรัพย์นั้นในงบฐานะการเงินของกิจการ ( เช่น ให้เป็นสินทรัพย์ที่ให้ยืม ตราสารทุนที่วางเป็นประกัน หรือลูกหนี้ซื้อคืน ) โดยแสดงแยกต่างหากจาก สินทรัพย์อื่น 3.2.23.2 หากผู้รับโอนขายหลักประกันที่ได้รับมา ผู้รับโอนต้องรับรู้สิ่งที่ตอบแทนที่ได้รับ จากการขาย และรับรู้หนี้สินจากภาระผูกพันที่ต้องส่งคืนหลักประกันด้วยมูลค่า

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 ยุติธรรม 3.2.23.3 หากผู้โอนปฏิบัติผิดสัญญาภายใต้ข้อกําหนดของสัญญา และไม่มีสิทธิที่จะ ไถ่ถอนหลักประกันคืนอีกต่อไป ผู้โอนต้องเลิกรับรู้รายการหลักประกันนั้น และ ผู้รับโอนต้องรับรู้หลักประกันเป็นสินทรัพย์โดยวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่า ยุติธรรม หรือ ในกรณีที่ผู้รับโอนได้ขายหลักประกันดังกล่าวไปแล้ว ผู้รับโอน ต้องเลิกรับรู้รายการภาระผูกพันที่ต้องส่งคืนหลักประกัน 3.2.23.4 ทั้งนี้ ยกเว้นที่ได้กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 3.2.23.3 ผู้โอนยังคงต้องยกยอด หลักประกันเป็นสินทรัพย์ และผู้รับโอนต้องไม่รับรู้หลักประกันเป็นสินทรัพย์ 3.3 การเลิกรับรู้รายการของหนี้สินทางการเงิน 3.3.1 กิจการต้องตัดรายการหนี้สินทางการเงิน ( หรือบางส่วนของหนี้สินทางการเงิน ) ออกจาก งบฐานะการเงิน เฉพาะเมื่อหนี้สินทางการเงินนั้นสิ้นสุดลง เช่น เมื่อภาระผูกพันที่ระบุใน สัญญาได้มีการปฏิบัติตามแล้ว ได้มีการยกเลิก หรือสิ้นสุด 3.3.2 การแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ที่มีความแตกต่างอย่างมากในข้อกําหนดระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ ต้องถือเป็นการสิ้นสุดของหนี้สินทางการเงินเดิม และถือเป็นการรับรู้รายการของหนี้สิน ทางการเงินใหม่ ในทํานองเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในข้อกําหนดของหนี้สิน ทางการเงินที่มีอยู่หรือบางส่วนของหนี้สินนั้น ( ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะปัญหาทางการเงินของ ลูกหนี้หรือไม่ก็ตาม ) ต้องถือปฏิบัติเป็นการสิ้นสุดของหนี้สินทางการเงินเดิม และถือเป็น การรับรู้รายการของหนี้สินทางการเงินใหม่ 3.3.3 กิจการต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนสําหรับผลแตกต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของหนี้สิน ทางการเงิน ( หรือบางส่วนของหนี้สินทางการเงิน ) ที่สิ้นสุดลงหรือที่ได้โอนให้กับกิจการอื่น และสิ่งตอบแทนที่จ่ายซึ่งรวมถึงสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสดที่ได้โอนไปหรือหนี้สินที่รับมา 3.3.4 หากกิจการซื้อคืนหนี้สินทางการเงินบางส่วน กิจการต้องปันส่วนมูลค่าตามบัญชีก่อนหน้านี้ของ หนี้สินทางการเงินระหว่างส่วนที่กิจการยังคงรับรู้ต่อไปและส่วนที่มีการเลิกรับรู้รายการ โดยใช้ เกณฑ์ของมูลค่ายุติธรรมเปรียบเทียบของส่วนต่างๆ เหล่านั้น ณ วันที่ซื้อคืน ผลแตกต่างระหว่าง (1) มูลค่าตามบัญชีที่ปันส่วนให้กับส่วนที่มีการเลิกรับรู้รายการ และ (2) สิ่งตอบแทนที่จ่าย ซึ่งรวมถึงสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสดที่ได้โอนไปหรือหนี้สินที่รับมาสําหรับส่วนที่เลิกรับรู้รายการ ต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 3.3.5 บางกิจการบริหารกองทุนเพื่อการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการภายในหรือภายนอก ที่ให้ผลประโยชน์ กับนักลงทุนตามหน่วยลงทุนในกองทุน และรับรู้หนี้สินทางการเงินสําหรับจํานวนเงินที่จะจ่ายให้ นักลงทุน ในทํานองเดียวกัน บางกิจการออกกลุ่มของสัญญาประกันภัยที่มีลักษณะร่วมรับ ผลประโยชน์โดยตรงและกิจการเหล่านั้นถือครองรายการอ้างอิง บางกองทุนหรือรายการอ้างอิง เหล่านั้นรวมหนี้สินทางการเงินของกิจการ ( เช่น หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ออก ) ถึงแม้จะมีข้อกําหนดอื่น ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สําหรับการเลิกรับรู้รายการหนี้สินทางการเงิน กิจการ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 อาจเลือกไม่เลิกรับรู้รายการหนี้สินทางการเงินนั้นซึ่งรวมกองทุนหรือรายการอ้างอิงเฉพาะเมื่อ กิจการซื้อคืนหนี้สินทางการเงินสําหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ตามกิจการอาจเลือกถือ ปฏิบัติกับเครื่องมือทางการเงินนั้นเป็นหนี้สินทางการเงินต่อไป และถือปฏิบัติกับตราสารซื้อคืน เสมือนตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ทางการเงินและวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุนตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ โดยเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถยกเลิกได้ และให้เลือกเป็นรายตราสาร เพื่อวัตถุประสงค์ของการเลือกข้างต้นนี้ สัญญาประกันภัยให้รวม สัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ตามดุลยพินิจ ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 สําหรับคําศัพท์ที่ใช้ในย่อหน้านี้ตามที่นิยามไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับดังกล่าว ) บทที่ 4 การจัดประเภทรายการ 4.1 การจัดประเภทรายการของสินทรัพย์ทางการเงิน 4.1.1 ในกรณีที่ไม่ได้นําย่อหน้าที่ 4.1.5 มาถือปฏิบัติ กิจการต้องจัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงิน เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าภายหลังด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย ด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ตามเกณฑ์ ทั้งสองข้อดังต่อไปนี้ 4.1.1.1 ตามโมเดลธุรกิจ (business model) ของกิจการในการจัดการสินทรัพย์ทางการเงิน และ 4.1.1.2 ตามลักษณะของกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน 4.1.2 สินทรัพย์ทางการเงินต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายเมื่อเข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อดังต่อไปนี้ 4.1.2.1 กิจการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินนั้นตามโมเดลธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ การถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา และ 4.1.2.2 ข้อกําหนดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งทําให้เกิดกระแสเงินสด ซึ่งเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นในวันที่ กําหนดไว้ ย่อหน้าที่ ข 4.1.1 ถึง ข 4.1.26 ให้แนวทางในการปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้ 4.1.2 ก สินทรัพย์ทางการเงินต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเมื่อเข้า เงื่อนไขทั้งสองข้อดังต่อไปนี้ 4.1.2 ก .1 กิจการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินนั้นตามโมเดลธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญาและเพื่อขายสินทรัพย์ทางการเงิน และ 4.1.2 ก .2 ข้อกําหนดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งทําให้เกิดกระแสเงินสด ซึ่งเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นในวันที่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 กําหนดไว้ ย่อหน้าที่ ข 4.1.1 ถึง ข 4.1.26 ให้แนวทางในการปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้ 4.1.3 เพื่อวัตถุประสงค์ของการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 4.1.3.1 เงินต้นคือมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ย่อหน้าที่ ข 4.1.7 ข ให้แนวปฎิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของเงินต้น 4.1.3.2 ดอกเบี้ยประกอบด้วยสิ่งตอบแทนสําหรับมูลค่าเงินตามเวลา สําหรับความเสี่ยง ด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องกับยอดคงเหลือของเงินต้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และ สําหรับความเสี่ยงในการกู้ยืมอื่นและต้นทุน รวมถึงส่วนต่างกําไร ย่อหน้าที่ ข 4.1.7 ก และ ข 4.1.9 ก ถึง ข 4.1.9 จ ให้แนวปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมาย ของดอกเบี้ย รวมถึงความหมายของมูลค่าเงินตามเวลา 4.1.4 สินทรัพย์ทางการเงินต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน เว้นแต่สินทรัพย์ ทางการเงินนั้นวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายตามย่อหน้าที่ 4.1.2 หรือวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก อย่างไรก็ตาม ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการอาจเลือกให้เงินลงทุนใน ตราสารทุน บางรายการที่ไม่เช่นนั้น แล้วจะวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ให้แสดงการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายหลังในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ทั้งนี้เมื่อเลือกแล้วไม่สามารถยกเลิกได้ ( ดูย่อหน้าที่ 5.7.5 ถึง 5.7.6) ทางเลือกในการเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน 4.1.5 ถึงแม้จะมีข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 4.1.1 ถึง 4.1.4 ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการ อาจเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ทั้งนี้เมื่อกําหนดแล้วไม่สามารถยกเลิกได้ หากการกําหนดดังกล่าวช่วยขจัดหรือ ลดความไม่สอดคล้องของการวัดมูลค่าหรือการรับรู้รายการอย่างมีนัยสําคัญ ( บางครั้ง เรียกว่า การจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการวัดมูลค่าสินทรัพย์ หรือหนี้สิน หรือการรับรู้ผลกําไรและขาดทุนจากรายการดังกล่าวด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.29 ถึง ข 4.1.32) 4.2 การจัดประเภทรายการของหนี้สินทางการเงิน 4.2.1 กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินทางการเงินทั้งหมดเป็นหนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าภายหลัง ด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย ยกเว้น 4.2.1.1 หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน หนี้สิน ดังกล่าวรวมถึงหนี้สิน อนุพันธ์ ต้องวัดมูลค่าภายหลังด้วยมูลค่ายุติธรรม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 4.2.1.2 หนี้สินทางการเงินที่เกิดขึ้นจากการโอนสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่เข้าเงื่อนไข การเลิกรับรู้รายการหรือเมื่อถือปฏิบัติตามเกณฑ์ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ให้กิจการนําย่อหน้าที่ 3.2.15 และ 3.2.17 มาถือปฏิบัติในการวัดมูลค่าของ หนี้สินทางการเงินดังกล่าว 4.2.1.3 สัญญาคํ้าประกันทางการเงิน ภายหลังการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ผู้ออก สัญญาดังกล่าวต้อง ( ยกเว้นเมื่อถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 4.2.1.1 หรือ 4.2.1.2) วัดมูลค่าภายหลังของสัญญาดังกล่าวด้วยมูลค่าที่สูงกว่าระหว่าง 4.2.1.3.1 จํานวนเงินของ ค่าเผื่อผลขาดทุน ที่กําหนดในหมวดที่ 5.5 และ 4.2.1.3.2 จํานวนเงินที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก ( ดูย่อหน้าที่ 5.1.1) หักจํานวนเงิน สะสมของรายได้ ( เมื่อเหมาะสม ) ที่รับรู้ตามหลักการของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 4.2.1.4 ข้อผูกมัดที่จะให้สินเชื่อที่อัตราดอกเบี้ยตํ่ากว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดผู้ให้สินเชื่อ ดังกล่าวต้อง ( ยกเว้นเมื่อปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 4.2.1.1) วัดมูลค่าภายหลังของ ข้อผูกมัดดังกล่าวด้วยมูลค่าที่สูงกว่าระหว่าง 4.2.1.4.1 จํานวนเงินของค่าเผื่อผลขาดทุนที่กําหนดในหมวดที่ 5.5 และ 4.2.1.4.2 จํานวนเงินที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก ( ดูย่อหน้าที่ 5.1.1) หักจํานวนเงิน สะสมของรายได้ ( เมื่อเหมาะสม ) ที่รับรู้ตามหลักการของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 4.2.1.5 สิ่งตอบแทนที่คาดว่าจะต้องจ่ายที่รับรู้โดยผู้ซื้อในการรวมธุรกิจที่ถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 สิ่งตอบแทนที่คาดว่าจะต้องจ่าย ดังกล่าวต้องวัดมูลค่าภายหลังด้วยมูลค่ายุติธรรมโดยรับรู้การเปลี่ยนแปลงของ มูลค่ายุติธรรมในกําไรหรือขาดทุน ทางเลือกในการเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน 4.2.2 ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการอาจเลือกกําหนด ( ไม่สามารถยกเลิกได้ ) ให้หนี้สิน ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน เมื่อข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 4.3.5 อนุญาตให้ทําได้ หรือเมื่อการกําหนดดังกล่าวส่งผลให้ข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจมากขึ้นเนื่องจาก 4.2.2.1 การกําหนดดังกล่าวช่วยขจัดหรือลดความไม่สอดคล้องในการวัดมูลค่าหรือ การรับรู้รายการอย่างมีนัยสําคัญ ( บางครั้งอาจเรียกว่าการจับคู่อย่างไม่เหมาะสม ทางการบัญชีที่จะเกิดจากการวัดมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สินหรือการรับรู้ผลกําไร และขาดทุนจากรายการดังกล่าวด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.29 ถึง ข 4.1.32) หรือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 4.2.2.2 กลุ่มของหนี้สินทางการเงินหรือสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ที่มีการบริหารและประเมินผลการดําเนินงานด้วยเกณฑ์มูลค่ายุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง หรือกลยุทธ์การลงทุนที่เป็น ลายลักษณ์อักษร และข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มดังกล่าวมีการนําเสนอเป็นการภายใน ต่อผู้บริหารสําคัญของกิจการ ( ตามคําจํากัดความในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง ) เช่น คณะกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกิจการ ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.33 ถึง ข 4.1.36) 4.3 อนุพันธ์แฝง 4.3.1 อนุพันธ์แฝง คือ องค์ประกอบของสัญญาแบบผสมที่ประกอบด้วยสัญญาหลักที่ไม่ใช่ อนุพันธ์ โดยกระแสเงินสดบางส่วนของเครื่องมือทางการเงินแบบผสมนี้จะเปลี่ยนแปลงใน ทิศทางที่คล้ายคลึงกับอนุพันธ์เดี่ยว อนุพันธ์แฝงทําให้กระแสเงินสดตามสัญญาบางส่วนหรือ ทั้งหมดเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ยที่กําหนด ราคาของเครื่องมือทางการเงิน ราคาสินค้า โภคภัณฑ์ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดัชนีราคาหรือดัชนีอัตรา อันดับความน่าเชื่อถือ ด้านเครดิต หรือดัชนีความน่าเชื่อถือด้านเครดิต หรือตัวแปรอื่นที่กําหนดไว้ในกรณีของตัวแปร ที่ไม่ใช่ตัวแปรทางการเงินที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับคู่สัญญาเท่านั้น อนุพันธ์ที่ผูกติดกับ เครื่องมือ ทางการเงิน แต่สามารถโอนได้ตามสัญญาอย่างอิสระจากเครื่องมือทางการเงินนั้น หรือมีคู่สัญญา ที่ต่างไปไม่ถือเป็นอนุพันธ์แฝง แต่เป็นเครื่องมือทางการเงินที่แยกต่างหาก สัญญาแบบผสมที่มีสินทรัพย์ทางการเงินเป็นสัญญาหลัก 4.3.2 ถ้าสัญญาแบบผสมประกอบด้วยสัญญาหลักซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 4.1.1 ถึง 4.1.5 สําหรับสัญญาแบบผสมทั้งสัญญา สัญญาแบบผสมอื่น 4.3.3 หากสัญญาแบบผสมประกอบด้วยสัญญาหลักซึ่งไม่ใช่สินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ อนุพันธ์แฝงต้องแยกออกจากสัญญาหลัก และ ถือเป็นอนุพันธ์ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ทุกข้อดังต่อไปนี้ 4.3.3.1 ลักษณะเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงของอนุพันธ์แฝงไม่มีความสัมพันธ์อย่าง ใกล้ชิดกับลักษณะเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงของสัญญาหลัก ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.3.5 และ ข 4.3.8) 4.3.3.2 เครื่องมือทางการเงินที่แยกต่างหากซึ่งมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับอนุพันธ์แฝง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 มีลักษณะตรงตามคํานิยามของอนุพันธ์ และ 4.3.3.3 สัญญาแบบผสมนี้ไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมที่การเปลี่ยนแปลงของ มูลค่ายุติธรรมรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ( เช่น อนุพันธ์ที่แฝงในหนี้สินทางการเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนไม่แยกออกจากสัญญาหลัก ) 4.3.4 ในกรณีที่อนุพันธ์แฝงแยกออกจากสัญญาหลัก กิจการต้องถือปฏิบัติกับสัญญาหลักตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เหมาะสม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ไม่ได้ กําหนดว่าอนุพันธ์แฝงต้องแสดงรายการแยกต่างหากในงบฐานะทางการเงินหรือไม่ 4.3.5 ถึงแม้จะมีข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 4.3.3 และ 4.3.4 หากสัญญาประกอบด้วยอนุพันธ์แฝง หนึ่งรายการหรือมากกว่า และสัญญาหลักไม่ใช่สินทรัพย์ตามขอบเขตของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการอาจเลือกกําหนดให้สัญญาแบบผสมทั้งสัญญา วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน เว้นแต่ 4.3.5.1 อนุพันธ์แฝงไม่ได้เปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดตามสัญญาอย่างมีนัยสําคัญ หรือ 4.3.5.2 มีความชัดเจนโดยอาศัยการวิเคราะห์เพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องวิเคราะห์เมื่อ พิจารณาตั้งแต่แรกเริ่มว่าการแยกอนุพันธ์แฝงสําหรับเครื่องมือทางการเงิน แบบผสมที่คล้ายคลึงนั้นเป็นเรื่องต้องห้าม เช่น สิทธิเลือกที่จะจ่ายชําระเงินก่อน ครบกําหนดที่แฝงอยู่กับเงินกู้ยืมซึ่งอนุญาตให้จ่ายชําระคืนก่อนครบกําหนด ด้วยมูลค่าที่ใกล้เคียงกับราคาทุนตัดจําหน่าย 4.3.6 หากกิจการต้องแยกอนุพันธ์แฝงออกจากสัญญาหลักตามข้อกําหนดของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ แต่ไม่สามารถวัดมูลค่าอนุพันธ์แฝงแยกต่างหากได้ ทั้ง ณ วันที่ได้มา หรือ ณ วันที่สิ้นรอบระยะเวลารายงานในภายหลัง กิจการต้องเลือกกําหนดให้ สัญญาแบบผสมทั้งสัญญาวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 4.3.7 หากกิจการไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์แฝงได้อย่างน่าเชื่อถือจากเงื่อนไขและ ข้อกําหนดของอนุพันธ์แฝงนั้น ให้กิจการวัดมูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์แฝงด้วยผลต่างระหว่าง มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแบบผสมกับมูลค่ายุติธรรมของสัญญาหลัก หากกิจการไม่สามารถ วัดมูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์แฝงตามวิธีดังกล่าว ให้กิจการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 4.3.6 และ เลือกกําหนดให้สัญญาแบบผสมดังกล่าววัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 4.4 การจัดประเภทรายการใหม่ 4.4.1 เฉพาะเมื่อกิจการเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจในการบริหารสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้อง จัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดให้เป็นตาม ที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.1 ถึง 4.1.4 ดูย่อหน้าที่ 5.6.1 ถึง 5.6.7 ย่อหน้าที่ ข 4.4.1 ถึง ข 4.4.3 และ ข 5.6.1 ถึง ข 5.6.2 สําหรับแนวปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดประเภทรายการใหม่ ของสินทรัพย์ทางการเงิน 4.4.2 กิจการต้องไม่จัดประเภทรายการใหม่สําหรับหนี้สินทางการเงินใดๆ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 4.4.3 การเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการจัดประเภทรายการใหม่ตามวัตถุประสงค์ ของย่อหน้าที่ 4.4.1 ถึง 4.4.2 4.4.3.1 รายการซึ่งในอดีตเลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่มี ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดหรือการป้องกันความเสี่ยงใน เงินลงทุนสุทธิ ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขการป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป 4.4.3.2 รายการที่เลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลใน การป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดหรือการป้องกันความเสี่ยงในเงินลงทุนสุทธิ และ 4.4.3.3 การเปลี่ยนแปลงการวัดมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในหมวดที่ 6.7 บทที่ 5 การวัดมูลค่า 5.1 การวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก 5.1.1 ยกเว้นลูกหนี้การค้าภายใต้ขอบเขตของย่อหน้าที่ 5.1.3 ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่ไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนด้วยมูลค่ายุติธรรม บวกหรือหักด้วย ต้นทุนการทํารายการ ซึ่ง เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาหรือการออกสินทรัพย์ทางการเงิน หรือหนี้สินทางการเงินนั้น 5.1.1 ก อย่างไรก็ตาม หากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่รับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรกแตกต่างจากราคาของรายการ กิจการต้องถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ข 5.1.2 ก 5.1.2 ในกรณีที่กิจการใช้การบัญชีวันชําระ สําหรับสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าภายหลังด้วยราคาทุน ตัดจําหน่าย สินทรัพย์ดังกล่าวให้รับรู้เมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันซื้อขาย ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.1.3 ถึง ข 3.1.6) 5.1.3 แม้จะมีข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 5.1.1 ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการต้องวัดมูลค่า ลูกหนี้การค้าด้วยราคาของรายการ ( ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15) ในกรณีที่ลูกค้าการค้าไม่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดใน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ( หรือเมื่อกิจการใช้วิธีผ่อนปรนในทางปฏิบัติตามที่ กําหนดในย่อหน้าที่ 63 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15) 5.2 การวัดมูลค่าภายหลังของสินทรัพย์ทางการเงิน 5.2.1 ภายหลังการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินตาม ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.1 ถึง 4.1.5 ด้วย 5.2.1.1 ราคาทุนตัดจําหน่าย 5.2.1.2 มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 5.2.1.3 มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 5.2.2 กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดเรื่องการด้อยค่าในหมวดที่ 5.5 สําหรับสินทรัพย์ ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายตามย่อหน้าที่ 4.1.2 และสินทรัพย์ทางการเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก 5.2.3 กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดเรื่องการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงตามย่อหน้าที่ 6.5.8 ถึง 6.5.14 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่กําหนดให้เป็นรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง และหากกิจการมีการป ้ องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย แบบเป็นพอร์ตโฟลิโอ (fair value hedge for a portfolio hedge of interest rate risk) กิจการ สามารถเลือกถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ต่อไป และให้เปิดเผยเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ดังกล่าว 5.3 การวัดมูลค่าภายหลังของหนี้สินทางการเงิน 5.3.1 ภายหลังการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการต้องวัดมูลค่าหนี้สินทางการเงินตามย่อหน้าที่ 4.2.1 ถึง 4.2.2 5.3.2 กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดเรื่องการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.5.8 ถึง 6.5.14 สําหรับหนี้สินทางการเงินที่เลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มีการป ้ องกัน ความเสี่ยง และหากกิจการมีการป ้ องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของความเสี่ยงอัตรา ดอกเบี้ยแบบเป็นพอร์ตโฟลิโอ (fair value hedge for a portfolio hedge of interest rate risk ) กิจการสามารถเลือกถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ต่อไป 5.4 การวัดมูลค่าราคาทุนตัดจําหน่าย สินทรัพย์ทางการเงิน วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.4.1 ดอกเบี้ยรับต้องคํานวณโดยใช้ วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง ( ดูภาคผนวก ก และย่อหน้าที่ ข 5.4.1 ถึง ข 5.4.7) การคํานวณนี้ให้ใช้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง กับ มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหัก ของสินทรัพย์ทางการเงิน ยกเว้น 5.4.1.1 สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด สําหรับ สินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้ กิจการต้องใช้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับด้วย ความเสี่ยงด้านเครดิต กับ ราคาทุนตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงิน ตั้งแต่ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก 5.4.1.2 สินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต เมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด แต่กลายเป็น สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่า ด้านเครดิต ในภายหลัง สําหรับสินทรัพย์เหล่านี้ กิจการต้องใช้อัตราดอกเบี้ย

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 ที่แท้จริงกับราคาทุนตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น สําหรับรอบะยะเวลา รายงานภายหลัง 5.4.2 กิจการที่คํานวณดอกเบี้ยรับโดยใช้วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริงกับราคาทุนตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ ทางการเงินตามย่อหน้าที่ 5.4.1.2 ในรอบระยะเวลาที่รายงาน ต้องคํานวณดอกเบี้ยรับโดยใช้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงกับมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักในรอบระยะเวลารายงานภายหลัง หากความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นจนทําให้สินทรัพย์ ทางการเงินดังกล่าวไม่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอีกต่อไป และความเสี่ยงด้านเครดิตที่ดีขึ้นนี้ มีความเกี่ยวพันอย่างเป็นรูปธรรมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการที่กิจการถือปฏิบัติตาม ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.4.1.2 ( เช่น อันดับความน่าเชื่อถือของผู้กู้ดีขึ้น ) การเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดตามสัญญา 5.4.3 เมื่อกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินมีการเจรจาต่อรองใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขเป็นอย่างอื่น และการเจรจาต่อรองใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ส่งผลให้มีการเลิกรับรู้ รายการสินทรัพย์ทางการเงินนั้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้องคํานวณ มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน และต้องรับรู้ ผลกําไรหรือขาดทุน จากการเปลี่ยนแปลง ในกําไรหรือขาดทุน มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ ทางการเงินต้องคํานวณใหม่ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดตามสัญญาที่มีการเจรจาต่อรอง ใหม่หรือเปลี่ยนแปลง ที่คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเดิมของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือใช้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่า ด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด ) หรือเมื่อสามารถใช้ได้ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ปรับใหม่ ที่คํานวณตามย่อหน้าที่ 6.5.10 ต้นทุนหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เกิดขึ้นให้นําไปปรับปรุงกับ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง และให้ตัดจําหน่ายตลอดอายุที่เหลืออยู่ ของสินทรัพย์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง การตัดออกจากบัญชี 5.4.4 กิจการต้องลดมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ทางการเงินโดยตรง เมื่อกิจการ ไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่าจะได้รับคืนสินทรัพย์ทางการเงินทั้งจํานวน หรือบางส่วน การตัดออกจากบัญชีถือเป็นสถานการณ์หนึ่งของการเลิกรับรู้รายการ ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.2.16.18)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาอันเป็นผลจากการปฏิรูป อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 5.4.5 กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 5.4.6 ถึง 5.4.9 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สิน ทางการเงิน ก็ต่อเมื่อเกณฑ์ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน หรือหนี้สินทางการเงินเปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อวัตถุประสงค์นี้ คําศัพท์ “ การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ” หมายถึง การปฏิรูปอัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิงที่มีผลกระทบต่อตลาดในวงกว้าง ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 6.8.2 5.4.6 เกณฑ์ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 5.4.6.1 โดยการปรับปรุงเงื่อนไขตามสัญญาที่กําหนดไว้เมื่อมีการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ของเครื่องมือทางการเงิน ( ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขตามสัญญาถูกปรับปรุงจากการใช้ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นแทนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่กําหนดไว้เดิม ) 5.4.6.2 โดยไม่ได้ปรับปรุงเงื่อนไขตามสัญญาที่กําหนดไว้เมื่อมีการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ของเครื่องมือทางการเงิน ( ตัวอย่างเช่น วิธีการคํานวณอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงถูก เปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการปรับปรุงเงื่อนไขตามสัญญา ) และ / หรือ 5.4.6.3 เนื่องจากเงื่อนไขตามสัญญาที่มีอยู่มีผลบังคับใช้ ( ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับ การนําอัตราดอกเบี้ยทดแทนมาใช้แทนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเดิมที่ถูกยกเลิกไป ) 5.4.7 เพื่อการผ่อนปรนในทางปฏิบัติ กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ข 5.4.5 สําหรับการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ที่เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง การผ่อนปรนในทางปฏิบัตินี้ให้ถือปฏิบัติกับ การเปลี่ยนแปลงข้างต้นเท่านั้นและขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยการปฏิรูปอัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิงเท่านั้น ( ดูย่อหน้าที่ 5.4.9) ในการนี้ การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการกําหนด กระแสเงินสดตามสัญญาเกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ก็ต่อเมื่อเข้าทั้งสองเงื่อนไข ต่อไปนี้ 5.4.7.1 การเปลี่ยนแปลงเป็นผลโดยตรงจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง และ 5.4.7.2 เกณฑ์ใหม่ที่ใช้ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาเทียบเท่ากับเกณฑ์เดิมใน เชิงเศรษฐกิจ ( เกณฑ์ใหม่ใช้ทดแทนเกณฑ์เดิมทันที ) 5.4.8 ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่ใช้เกณฑ์ใหม่ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาเทียบเท่ากับ เกณฑ์เดิมในเชิงเศรษฐกิจ ( เกณฑ์ก่อนการเปลี่ยนแปลง ) ได้แก่ 5.4.8.1 การเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงปัจจุบันเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น สําหรับ การกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน หรือการนําการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมาใช้โดยเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงด้วยการบวกเพิ่มส่วนต่างคงที่เพื่อชดเชยความแตกต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเดิมกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 5.4.8.2 การเปลี่ยนแปลงระยะเวลาที่ปรับอัตราดอกเบี้ย วันที่ที่ปรับอัตราดอกเบี้ย หรือ จํานวนวันระหว่างวันที่กําหนดจ่ายดอกเบี้ย เพื่อจะนําการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ย อ้างอิงมาใช้ และ 5.4.8.3 การเพิ่มข้อกําหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทดแทน (fallback) ในเงื่อนไข ตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน อันจะทําให้เกิด การเปลี่ยนแปลงตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 5.4.8.1 และ 5.4.8.2 เพื่อนําไปปฏิบัติ 5.4.9 หากมีการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินเพิ่มเติมจากการ เปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาที่เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ย อ้างอิง กิจการต้องปฏิบัติตามการผ่อนปรนในทางปฏิบัติในย่อหน้าที่ 5.4.7 สําหรับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเป็นอันดับแรก แล้วจึงปฏิบัติตาม ข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมซึ่งการผ่อนปรน ในทางปฏิบัติไม่ได้นํามาใช้ ในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมไม่ทําให้เกิดการเลิกรับรู้รายการ สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 5.4.3 หรือ ย่อหน้าที่ ข 5.4.6 ตามความเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมดังกล่าว ทั้งนี้ หากการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมทําให้เกิดการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน กิจการต้อง ปฏิบัติตามข้อกําหนดของการเลิกรับรู้รายการ 5.5 การด้อยค่า การรับรู้รายการสําหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น วิธีการทั่วไป 5.5.1 กิจการต้องรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุนสําหรับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ของ สินทรัพย์ทางการเงินซึ่งวัดมูลค่าตามย่อหน้าที่ 4.1.2 หรือ 4.1.2 ก ลูกหนี้ตามสัญญาเช่า สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา หรือข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อ และสัญญาคํ้าประกันทางการเงินที่ เป็นไปตามข้อกําหนดเรื่องการด้อยค่าตามย่อหน้าที่ 2.1.7 4.2.1.3 หรือ 4.2.1.4 5.5.2 กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดเรื่องการด้อยค่าสําหรับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของ ค่าเผื่อผลขาดทุนของสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก อย่างไรก็ตาม กิจการต้องรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุน ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและต้องไม่ลดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินใน งบฐานะการเงิน 5.5.3 ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 5.5.13 ถึง 5.5.16 ในแต่ละวันที่รายงาน กิจการต้องวัดมูลค่าของ ค่าเผื่อผลขาดทุนของเครื่องมือทางการเงินด้วยจํานวนเงินที่เท่ากับ ผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ หากความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 5.5.4 วัตถุประสงค์ของข้อกําหนดการด้อยค่าเพื่อรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ของเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ไม่ว่าการประเมินดังกล่าวจะเป็นรายสัญญาหรือเป็นรายกลุ่ม โดยให้ พิจารณาข้อมูลสนับสนุนที่มีความสมเหตุสมผลทั้งหมดซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มีการคาดการณ์ไปใน อนาคต 5.5.5 ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 5.5.13 ถึง 5.5.16 ณ วันที่รายงาน หากความเสี่ยงด้านเครดิตของ เครื่องมือทางการเงินไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการต้องวัดมูลค่าของค่าเผื่อผลขาดทุนของเครื่องมือทางการเงินด้วยจํานวนเงินที่เท่ากับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า 5.5.6 สําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อ และสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน ให้ถือว่าวันที่กิจการเริ่มเป็น คู่สัญญาในข้อผูกมัดที่ไม่สามารถยกเลิกได้เป็นวันที่มีการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกตาม วัตถุประสงค์ของการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการด้อยค่า 5.5.7 หากกิจการวัดมูลค่าของค่าเผื่อผลขาดทุนของเครื่องมือทางการเงินด้วยจํานวนเงินที่เท่ากับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุในรอบระยะเวลารายงานก่อน แต่ ณ วันที่ รายงานปัจจุบัน กิจการพิจารณาแล้วเห็นว่ากิจการไม่ต้องถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 5.5.3 กิจการ ต้องวัดมูลค่าของค่าเผื่อผลขาดทุนด้วยจํานวนเงินที่เท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า ณ วันที่รายงานปัจจุบัน 5.5.8 กิจการต้องรับรู้จํานวนเงินของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ( หรือกลับรายการ ผลขาดทุน ) เพื่อปรับปรุงค่าเผื่อผลขาดทุน ณ วันที่รายงาน ให้เป็นจํานวนเงินที่ต้องรับรู้ตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ เป็น ผลกําไรหรือขาดทุนจากการด้อยค่า ในกําไรหรือ ขาดทุน การพิจารณาการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต 5.5.9 ณ แต่ละวันที่รายงาน กิจการต้องประเมินว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงิน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ ในการประเมินดังกล่าว กิจการต้องใช้การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการผิดสัญญาที่จะเกิดขึ้นตลอดอายุของ เครื่องมือทางการเงินที่คาดไว้ แทนการใช้การเปลี่ยนแปลงของจํานวนเงินของผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประเมินดังกล่าว กิจการต้องเปรียบเทียบความเสี่ยงของ การผิดสัญญาที่จะเกิดขึ้นของเครื่องมือทางการเงิน ณ วันที่รายงาน กับความเสี่ยงของ การผิดสัญญาที่จะเกิดขึ้นของเครื่องมือทางการเงิน ณ วันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก และพิจารณา ข้อมูลสนับสนุนและสมเหตุสมผลที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตนับตั้งแต่การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรก 5.5.10 กิจการอาจสันนิษฐานว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินไม่เพิ่มขึ้นอย่างมี

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 นัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก หากพิจารณาแล้วว่าเครื่องมือทางการเงินนั้น มีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่า ณ วันที่รายงาน ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.5.22 ถึง ข 5.5.24) 5.5.11 ในการพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกหรือไม่ กิจการไม่สามารถใช้เพียงข้อมูล การค้างชําระเกินกําหนด เพียงอย่างเดียว ในการพิจารณา หากกิจการสามารถหาข้อมูลคาดการณ์อนาคตที่สนับสนุนและสมเหตุสมผล โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม หากกิจการไม่สามารถหาข้อมูล คาดการณ์อนาคตนอกเหนือจากสถานะการค้างชําระเกินกําหนด ( ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาเป็น รายสัญญาหรือเป็นกลุ่ม ) โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป กิจการอาจใช้ข้อมูล การค้างชําระเกินกําหนดเพื่อพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ ไม่ว่ากิจการจะใช้วิธีใดในการประเมินการเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต ให้มีข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งได้ว่าความเสี่ยง ด้านเครดิตของสินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก เมื่อมีการค้างชําระการจ่ายเงินตามสัญญาเกินกว่า 30 วัน กิจการสามารถโต้แย้งข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวหากกิจการมีข้อมูลสนับสนุนและสมเหตุสมผลโดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่ มากเกินไปที่แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงด้านเครดิตไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก แม้ว่าจะมีการค้างชําระการจ่ายเงินตามสัญญาเกินกว่า 30 วัน ในกรณีที่ กิจการประเมินว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญก่อนมีการค้างชําระการจ่ายเงิน ตามสัญญาเกินกว่า 30 วัน กิจการไม่สามารถใช้ข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข 5.5.12 หากมีการเจรจาต่อรองใหม่หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ ทางการเงินและไม่มีการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินนั้น กิจการต้องประเมินว่า ความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 5.5.3 หรือไม่ โดยเปรียบเทียบ 5.5.12.1 ความเสี่ยงของการผิดสัญญาที่จะเกิดขึ้น ณ วันที่รายงาน ( อ้างอิงจากเงื่อนไข ตามสัญญาที่มีการเปลี่ยนแปลง ) และ 5.5.12.2 ความเสี่ยงของการผิดสัญญาที่จะเกิดขึ้น ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ( อ้างอิง จากเงื่อนไขตามสัญญาเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ) สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด 5.5.13 ถึงแม้จะมีข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 5.5.3 และ 5.5.5 ณ วันที่รายงาน กิจการต้องรับรู้ ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อ หรือเมื่อกําเนิด ด้วยผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงในผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นตลอดอายุนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกเท่านั้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 5.5.14 ณ แต่ละวันที่รายงาน กิจการต้องรับรู้จํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงของผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ เป็นผลกําไรหรือขาดทุนจากการด้อยค่าในกําไรหรือขาดทุน กิจการ ต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ เป็นผลกําไรจากการด้อยค่า แม้ว่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุดังกล่าว เป็นจํานวนเงินน้อยกว่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นซึ่งเคยรวมอยู่ในกระแสเงินสด ที่ประมาณการ ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก วิธีการอย่างง่าย สําหรับลูกหนี้การค้า สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา และลูกหนี้ตามสัญญาเช่า 5.5.15 ถึงแม้จะมีข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 5.5.3 และ 5.5.5 กิจการต้องวัดมูลค่าของค่าเผื่อ ผลขาดทุนด้วยจํานวนเงินที่เท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุเสมอ สําหรับ 5.5.15.1 ลูกหนี้การค้าหรือสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาซึ่งเป็นผลมาจากรายการที่อยู่ภายใต้ ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ซึ่ง 5.5.15.1.1 ไม่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ( หรือ เมื่อกิจการใช้วิธีผ่อนปรน ในทางปฏิบัติตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 63 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15) หรือ 5.5.15.1.2 มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสําคัญตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ถ้ากิจการเลือกใช้นโยบายการ บัญชีในการวัดมูลค่าของค่าเผื่อผลขาดทุนด้วยจํานวนเงินที่เท่ากับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ นโยบายการ บัญชีดังกล่าวต้องถือปฏิบัติกับลูกหนี้การค้าหรือสินทรัพย์ที่เกิดจาก สัญญาทั้งหมด แต่อาจถือปฏิบัติแยกกันระหว่างลูกหนี้การค้ากับ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา 5.5.15.2 ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าที่เกิดจากรายการที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 หากกิจการเลือกใช้นโยบายการบัญชีใน การวัดมูลค่าของค่าเผื่อผลขาดทุนด้วยจํานวนเงินที่เท่ากับผลขาดทุนด้าน เครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ นโยบายการบัญชีดังกล่าวต้องถือปฏิบัติกับ ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าทั้งหมด แต่อาจถือปฏิบัติแยกกันระหว่างลูกหนี้ตามสัญญา เช่าการเงินและลูกหนี้ตามสัญญาเช่าดําเนินงาน 5.5.16 กิจการอาจเลือกนโยบายการบัญชีสําหรับลูกหนี้การค้า ลูกหนี้ตามสัญญาเช่า และสินทรัพย์ที่เกิด จากสัญญา โดยอิสระจากกันได้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 31 การวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 5.5.17 กิจการต้องวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของเครื่องมือทางการเงิน โดยวิธีการที่สะท้อนถึงเรื่องต่อไปนี้ 5.5.17.1 จํานวนเงินที่คํานึงถึงความน่าจะเป็นถ่วงนํ้าหนักและปราศจากอคติ ซึ่งพิจารณา จากการประเมินช่วงของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ 5.5.17.2 มูลค่าเงินตามเวลา และ 5.5.17.3 ข้อมูลสนับสนุนและสมเหตุสมผลที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความ พยายามที่มากเกินไป ณ วันที่รายงาน เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต สภาพการณ์ ปัจจุบัน และการพยากรณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต 5.5.18 ในการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจการไม่จําเป็นต้องระบุสถานการณ์ ที่เป็นไปได้ทุกฉากทัศน์ อย่างไรก็ตาม กิจการต้องพิจารณาความเสี่ยงหรือความน่าจะเป็น ที่ผลขาดทุนด้านเครดิตจะเกิดขึ้น โดยสะท้อนทั้งความน่าจะเป็นที่ผลขาดทุนด้านเครดิตจะ เกิดขึ้น และความน่าจะเป็นที่ผลขาดทุนด้านเครดิตจะไม่เกิดขึ้น แม้ว่าความน่าจะเป็น ที่ผลขาดทุนด้านเครดิตจะเกิดขึ้นอยู่ในระดับตํ่ามาก 5.5.19 ช่วงระยะเวลาที่ยาวที่สุดที่ใช้ในการพิจารณาในการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น คือระยะเวลาที่ยาวที่สุดตามสัญญา ( รวมถึงสิทธิเลือกที่จะขยายระยะเวลา ) ซึ่งกิจการ มีฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต และไม่มีระยะเวลาที่ยาวนานกว่านั้น แม้ว่าระยะเวลาที่ ยาวนานกว่านั้นจะสอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในการดําเนินธุรกิจก็ตาม 5.5.20 อย่างไรก็ตาม เครื่องมือทางการเงินบางประเภทประกอบด้วยเงินให้กู้ยืมและข้อผูกมัดที่ยังไม่ใช้ และความสามารถตามสัญญาของกิจการในการเรียกร้องให้จ่ายชําระและยกเลิกข้อผูกมัดที่ยังไม่ใช้ นั้นไม่ได้จํากัดฐานะเปิดต่อผลขาดทุนด้านเครดิตของกิจการในระยะเวลาที่ทวงถามตามสัญญา สําหรับเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวเท่านั้นที่กิจการต้องวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่กิจการมีฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตและผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้จะไม่ลดลงด้วยมาตรการในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต แม้ว่าระยะเวลา ดังกล่าวขยายเกินกว่าระยะเวลาที่ยาวที่สุดตามสัญญา 5.6 การจัดประเภทรายการใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน 5.6.1 หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินตามย่อหน้าที่ 4.4.1 กิจการต้องถือปฏิบัติการจัดประเภทรายการใหม่โดยทันทีเป็นต้นไปนับจาก วันที่จัดประเภท รายการใหม่ กิจการต้องไม่ปรับย้อนหลังผลกําไร ผลขาดทุน ( รวมถึงผลกําไรหรือขาดทุน จากการด้อยค่า ) หรือดอกเบี้ยที่เคยรับรู้ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดประเภทรายการใหม่ กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 5.6.2 ถึง 5.6.7 5.6.2 หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน จากประเภทที่วัดมูลค่า ด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่จัดประเภท รายการใหม่ ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างราคาทุนตัดจําหน่าย ก่อนหน้าของสินทรัพย์ทางการเงินและมูลค่ายุติธรรมให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 5.6.3 หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน จากประเภทที่วัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย มูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ดังกล่าว ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่จะกลายเป็นมูลค่าตามบัญชี ก่อนรายการหักใหม่ ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.6.2 สําหรับแนวปฏิบัติในการกําหนดอัตราดอกเบี้ยที่ แท้จริง และค่าเผื่อผลขาดทุน ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ ) 5.6.4 หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน จากประเภทที่วัดมูลค่าด้วย ราคาทุนตัดจําหน่ายเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กิจการต้องวัดมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้น จากความแตกต่างระหว่างราคาทุนตัดจําหน่ายก่อนหน้าของสินทรัพย์ทางการเงินและ มูลค่ายุติธรรมนั้นให้รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น การจัดประเภทรายการใหม่นี้ ไม่ก่อให้เกิดการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและการวัดมูลค่าของผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.6.1) 5.6.5 หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน จากประเภทที่วัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย สินทรัพย์ทางการเงินที่จะจัดประเภทรายการใหม่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ จัดประเภทรายการใหม่ อย่างไรก็ตาม ผลสะสมของผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ไว้ก่อนหน้า ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจะโอนออกจากส่วนของเจ้าของและปรับปรุงกับมูลค่ายุติธรรม ของสินทรัพย์ทางการเงิน ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ ดังนั้นสินทรัพย์ทางการเงิน ดังกล่าวจึงวัดมูลค่า ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ เสมือนหนึ่งว่าวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัด จําหน่ายมาโดยตลอด การปรับปรุงนี้กระทบต่อกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นแต่ไม่กระทบต่อ กําไรหรือขาดทุน ดังนั้น การปรับปรุงดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภท รายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน ) การจัดประเภท รายการใหม่นี้ไม่ก่อให้เกิดการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและการวัดมูลค่าของ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.6.1) 5.6.6 หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน จากประเภทที่วัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่าน กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น สินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวยังคงวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ต่อไป ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.6.2 สําหรับแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกําหนดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง และค่าเผื่อผลขาดทุน ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ ) 5.6.7 หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน จากประเภทที่วัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 ผ่านกําไรหรือขาดทุน สินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวยังคงวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมต่อไป และให้โอนผลสะสมของผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ไว้ก่อนหน้าในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ออกจากส่วนของเจ้าของไปยังกําไรหรือขาดทุนซึ่งถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภท รายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ 5.7 ผลกําไรและขาดทุน 5.7.1 ผลกําไรหรือขาดทุนจากสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน เว้นแต่ 5.7.1.1 เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.8 ถึง 6.5.14 และหากกิจการมีการป ้ องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของ ความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยแบบเป็นพอร์ตโฟลิโอ (fair value hedge for a portfolio hedge of interest rate risk) กิจการสามารถเลือกถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ ต่อไป ) 5.7.1.2 เป็นการลงทุนในตราสารทุนและกิจการเลือกที่จะแสดงผลกําไรหรือขาดทุนจาก เงินลงทุนในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.5 5.7.1.3 เป็นหนี้สินทางการเงินที่กิจการเลือกกําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่าน กําไรหรือขาดทุน และกิจการต้องแสดงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงใน ความเสี่ยงด้านเครดิต ของหนี้สินในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.7 หรือ 5.7.1.4 เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก และกิจการต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงใน มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.10 5.7.1 ก เงินปันผล ให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนก็ต่อเมื่อ 5.7.1 ก .1 กิจการมีสิทธิที่จะได้รับเงินปันผล 5.7.1 ก .2 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของเงินปันผลนั้น และ 5.7.1 ก .3 กิจการสามารถวัดมูลค่าจํานวนเงินของเงินปันผลได้อย่างน่าเชื่อถือ 5.7.2 ผลกําไรหรือขาดทุนจากสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและไม่เป็น ส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.8 ถึง 6.5.14 และ หากกิจการมีการป ้ องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยแบบเป็น พอร์ตโฟลิโอ (fair value hedge for a portfolio hedge of interest rate risk) กิจการสามารถ เลือกถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ต่อไป ) ต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน เมื่อสินทรัพย์ ทางการเงินนั้นมีการเลิกรับรู้รายการหรือมีการจัดประเภทรายการใหม่ตามย่อหน้าที่ 5.6.2 หรือผ่านกระบวนการตัดจําหน่าย หรือเพื่อรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนจากการด้อยค่า ถ้ากิจการ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 จัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินออกจากประเภทที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุน ตัดจําหน่าย กิจการต้องถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 5.6.2 และ 5.6.4 ผลกําไรหรือขาดทุนจาก หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ ของการป ้ องกันความเสี่ยงต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อหนี้สินทางการเงินนั้นมีการเลิก รับรู้รายการและผ่านกระบวนการตัดจําหน่าย ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.7.2 สําหรับแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับกําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ) 5.7.3 ผลกําไรหรือขาดทุนจากสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่เป็นรายการที่มี การป ้ องกันความเสี่ยงในความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงต้องรับรู้ตามย่อหน้าที่ 6.5.8 ถึง 6.5.14 และหากกิจการมีการป ้ องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของความเสี่ยง อัตราดอกเบี้ยแบบเป็นพอร์ตโฟลิโอ (fair value hedge for a portfolio hedge of interest rate risk) กิจการสามารถเลือกถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ต่อไป 5.7.4 หากกิจการรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินโดยใช้การบัญชีวันชําระ ( ดูย่อหน้าที่ 3.1.2 ข 3.1.3 และ ข 3.1.6) สําหรับสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายไม่ให้รับรู้การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่จะได้รับระหว่างช่วงเวลาตั้งแต่วันซื้อขายและวันจ่ายชําระ อย่างไรก็ตาม สําหรับสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนหรือในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 5.7.1 วันซื้อขายถือเป็นวันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกเพื่อวัตถุประสงค์ ในการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการด้อยค่า เงินลงทุนในตราสารทุน 5.7.5 เงินลงทุนในตราสารทุนที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ซึ่งไม่ใช่เงินลงทุนที่ ถือไว้เพื่อค้า หรือไม่เป็นสิ่งตอบแทนที่คาดว่าจะต้องจ่ายซึ่งเกิดจาก การรวมธุรกิจตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.7.3 สําหรับ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับกําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ) ณ การรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการอาจเลือกแสดงการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมในภายหลังของ เงินลงทุนในตราสารทุนในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น โดยเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถยกเลิกได้ 5.7.6 ในกรณีที่กิจการเลือกปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 5.7.5 กิจการต้องรับรู้เงินปันผลจากเงินลงทุน ดังกล่าวในกําไรหรือขาดทุน ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.1 ก หนี้สินที่เลือกกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 5.7.7 กิจการต้องแสดงผลกําไรหรือขาดทุนจากหนี้สินทางการเงินที่เลือกกําหนดให้วัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 4.2.2 หรือย่อหน้าที่ 4.3.5 ดังต่อไปนี้ 5.7.7.1 จํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงินที่เป็น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 ผลจากการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินนั้นต้องแสดงในกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.7.13 ถึง ข 5.7.20) และ 5.7.7.2 จํานวนเงินคงเหลือจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินดังกล่าวต้อง แสดงในกําไรหรือขาดทุน เว้นแต่การปฏิบัติต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สิน ตามที่อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ 5.7.7.1 จะก่อให้เกิดหรือขยายการจับคู่อย่างไม่เหมาะสม ทางการบัญชี ในกําไรหรือขาดทุน ( ในกรณีดังกล่าวให้ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 5.7.8) ย่อหน้าที่ ข 5.7.5 ถึง ข 5.7.7 และ ข 5.7.10 ถึง ข 5.7.12 ให้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ การพิจารณาว่ามีการก่อให้เกิดหรือขยายการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชีหรือไม่ 5.7.8 หากข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.7 ก่อให้เกิดหรือขยายการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี ในกําไรหรือขาดทุน กิจการต้องแสดงผลกําไรหรือขาดทุนทั้งหมดของหนี้สิน ( รวมถึง ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินนั้น ) ในกําไรหรือ ขาดทุน 5.7.9 ถึงแม้จะมีข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.7 และ 5.7.8 กิจการต้องแสดงผลกําไรและขาดทุน ทั้งหมดที่เกิดจากข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อและสัญญาคํ้าประกันทางการเงินที่เลือกกําหนดให้วัด มูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนในกําไรหรือขาดทุน สินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 5.7.10 ผลกําไรหรือขาดทุนของสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ต้องรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ยกเว้นผลกําไรหรือ ขาดทุนจากการด้อยค่า ( ดูหมวดที่ 5.5) และผลกําไรและขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.7.2 ถึง ข 5.7.2 ก ) จนกระทั่งมีการเลิกรับรู้รายการ หรือจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินนั้น เมื่อมีการเลิกรับรู้รายการ สินทรัพย์ทางการเงิน ผลสะสมของผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ไว้ก่อนหน้าในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นให้จัดประเภทรายการใหม่จากส่วนของเจ้าของไปยังกําไรหรือขาดทุนซึ่งถือเป็น การปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) หากมีการจัด ประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินออกจากประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กิจการต้องถือปฏิบัติกับผลสะสมของผลกําไรหรือ ขาดทุนที่รับรู้ไว้ก่อนหน้าในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.6.5 และ 5.6.7 ดอกเบี้ยที่คํานวณโดยใช้วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริงให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 5.7.11 ตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 5.7.10 หากสินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก จํานวนเงินที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน เป็นจํานวนเงินเดียวกับจํานวนเงินที่จะรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเสมือนว่าสินทรัพย์ ทางการเงินดังกล่าววัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 บทที่ 6 การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง 6.1 วัตถุประสงค์และขอบเขตของการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง 6.1.1 การบัญชีป้องกันความเสี่ยงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลกระทบในงบการเงิน ซึ่งเกิดจาก กิจกรรมการบริหารความเสี่ยงของกิจการที่ใช้เครื่องมือทางการเงินในการจัดการฐานะเปิด ที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงนั้นๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ( หรือกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ในกรณีของเงินลงทุนในตราสารทุนที่กิจการเลือกแสดงการเปลี่ยนแปลง มูลค่ายุติธรรมในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.5) วิธีการดังกล่าวมีเป้าหมาย ในการแสดงถึงบริบทของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงภายใต้การบัญชีป้องกันความเสี่ยง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และผลกระทบที่เกิดขึ้น 6.1.2 กิจการอาจเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงระหว่างเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยง และรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงตามย่อหน้าที่ 6.2.1 ถึง 6.3.7 และย่อหน้าที่ ข 6.2.1 ถึง ข 6.3.25 สําหรับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไข กิจการต้อง ถือปฏิบัติกับผลกําไรหรือขาดทุนจากเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงตามย่อหน้าที่ 6.5.1 ถึง 6.5.14 และย่อหน้าที่ ข 6.5.1 ถึง ข 6.5.28 สําหรับรายการ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เป็นกลุ่มรายการ กิจการต้องถือปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติม ตามย่อหน้าที่ 6.6.1 ถึง 6.6.6 และ ย่อหน้าที่ ข 6.6.1 ถึง ข 6.6.16 6.1.3 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมต่อฐานะเปิดต่อความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยของ พอร์ตโฟลิโอสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ( และเพียงแค่การป้องกันความเสี่ยงนี้ เท่านั้น ) กิจการสามารถเลือกถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ต่อไป ทั้งนี้ให้กิจการเปิดเผย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว 6.2 เครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง เครื่องมือที่เข้าเงื่อนไข 6.2.1 กิจการอาจเลือกกําหนดให้อนุพันธ์ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน เป็นเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง ยกเว้นสิทธิเลือกซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรบางประเภท ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.2.4) 6.2.2 กิจการอาจเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์หรือหนี้สินทางการเงินที่ไม่ใช่ อนุพันธ์ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนเป็นเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกัน ความเสี่ยง ยกเว้นหนี้สินทางการเงินที่เลือกกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุนที่การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง ในความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินดังกล่าวแสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.7 สําหรับการป ้ องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 องค์ประกอบของความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์ หรือหนี้สินทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์อาจเลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกัน ความเสี่ยงถ้าไม่ใช่เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งกิจการเลือกแสดงการเปลี่ยนแปลง มูลค่ายุติธรรมในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.5 6.2.3 เพื่อวัตถุประสงค์ของการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง เฉพาะสัญญากับคู่สัญญาภายนอกกิจการ ที่เสนอรายงานเท่านั้น ( เช่น ภายนอกกลุ่มกิจการหรือกิจการที่รายงาน ) ที่สามารถเลือก กําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง การเลือกกําหนดเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง 6.2 . 4 เครื่องมือที่เข้าเงื่อนไขต้องเลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงทั้งจํานวน ยกเว้น กรณีดังต่อไปนี้ 6.2.4.1 กิจการแยกมูลค่าที่แท้จริงและมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกออกจากกัน และกิจการ เลือกกําหนดให้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าที่แท้จริงของสิทธิเลือกเท่านั้น โดยไม่รวม การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าตามเวลาเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.15 และย่อหน้าที่ ข 6.5.29 ถึง ข 6.5.33) 6.2.4.2 กิจการแยกองค์ประกอบราคาล่วงหน้าและองค์ประกอบราคาปัจจุบันของสัญญา ฟอร์เวิร์ดออกจากกัน และกิจการเลือกกําหนดให้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของ องค์ประกอบราคาปัจจุบันของสัญญาฟอร์เวิร์ดเท่านั้น โดยไม่รวมองค์ประกอบ ราคาล่วงหน้า เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ในทํานองเดียวกัน ส่วนต่าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอาจแยกจากและไม่รวมในการเลือกกําหนด เครื่องมือทางการเงินให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.16 และย่อหน้าที่ ข 6.5.34 ถึง ข 6.5.39) และ 6.2.4.3 กิจการอาจเลือกกําหนดให้สัดส่วนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( เช่น ร้อยละ 50 ของจํานวนเงินที่กําหนดไว้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม กิจการไม่อาจเลือกกําหนดให้ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมที่เกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งของระยะเวลา ระหว่างที่เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงยังมีผลอยู่เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยง 6.2.5 กลุ่มของรายการต่อไปนี้ กิจการอาจพิจารณารวมกันและเลือกกําหนดร่วมกันให้เป็นเครื่องมือ ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ความเสี่ยงที่เกิดจากเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง บางรายการหักกลบกับความเสี่ยงที่เกิดจากเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงอื่น ) 6.2.5.1 อนุพันธ์หรือสัดส่วนของอนุพันธ์ และ 6.2.5.2 รายการที่ไม่ใช่อนุพันธ์หรือสัดส่วนของรายการที่ไม่ใช่อนุพันธ์ 6.2.6 อย่างไรก็ตาม ตราสารอนุพันธ์ซึ่งรวมสิทธิเลือกที่เป็นลายลักษณ์อักษรและสิทธิเลือกที่กิจการซื้อ ( ตัวอย่างเช่น สิทธิเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคอลล่าร์ ) ไม่เข้าเงื่อนไขในการเป็นเครื่องมือที่ใช้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 38 ป้องกันความเสี่ยง หากรายการดังกล่าวให้ผลเหมือนสิทธิเลือกที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่หักกลบได้ ณ วันที่เลือกกําหนด ( เว้นแต่เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ ข 6.2.4) ในทํานองเดียวกัน เครื่องมือ ทางการเงินตั้งแต่สองรายการขึ้นไป ( หรือสัดส่วนของเครื่องมือทางการเงินนั้น ) อาจเลือก กําหนดแบบร่วมกันให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเฉพาะเมื่อการรวมกันแล้วให้ผล ไม่เหมือนสิทธิเลือกที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่หักกลบได้ ณ วันที่เลือกกําหนด ( เว้นแต่เข้าเงื่อนไข ตามย่อหน้าที่ ข 6.2.4) 6.3 รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง รายการที่เข้าเงื่อนไข 6.3.1 รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงสามารถเป็นได้ทั้งสินทรัพย์หรือหนี้สินที่ได้รับรู้รายการแล้ว ข้อผูกมัดที่แน่นหนา ที่ยังไม่ได้รับรู้รายการ รายการที่คาดการณ์ หรือเงินลงทุนสุทธิใน หน่วยงานต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ 6.3.1.1 รายการเดี่ยว หรือ 6.3.1.2 กลุ่มของรายการ ( ให้ปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.6.1 ถึง 6.6.6 และย่อหน้าที่ ข 6.6.1 ถึง ข 6.6.16) รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงสามารถเป็นส่วนประกอบของรายการหรือกลุ่มของ รายการดังกล่าวได้ ( ดูย่อหน้าที่ 6.3.7 และย่อหน้าที่ ข 6.3.7 ถึง ข 6.3.25) 6.3.2 รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงต้องวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ 6.3.3 หากรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงเป็นรายการที่คาดการณ์ ( หรือส่วนประกอบของ รายการที่คาดการณ์ ) รายการนั้นต้องมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก 6.3.4 ฐานะเปิดโดยรวมซึ่งเป็นการรวมกันของฐานะเปิดที่เข้าเงื่อนไขของรายการที่มีการป ้ องกัน ความเสี่ยงตามย่อหน้าที่ 6.3.1 และอนุพันธ์อาจเลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มีการป ้ องกัน ความเสี่ยงได้ ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.3.3 ถึง ข 6.3.4) นอกจากนี้รายการที่คาดการณ์ของฐานะ เปิดโดยรวม ( กล่าวคือ รายการที่ไม่มีข้อผูกมัดแต่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะ ก่อให้เกิดฐานะเปิดและอนุพันธ์ ) ถือเป็นรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง ถ้าฐานะเปิด โดยรวมมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก และเมื่อรายการดังกล่าวเกิดขึ้นก็จะ ไม่เป็นรายการคาดการณ์อีกต่อไป 6.3.5 ตามวัตถุประสงค์ของการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง สินทรัพย์ หนี้สิน ข้อผูกมัดที่แน่นหนา หรือรายการที่คาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากกับคู่สัญญาภายนอก กิจการที่เสนอรายงานเท่านั้น สามารถเลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงสามารถถือปฏิบัติกับรายการระหว่างกิจการในกลุ่มกิจการ เดียวกันได้เฉพาะงบการเงินแต่ละกิจการหรืองบการเงินเฉพาะของกิจการเหล่านั้นเท่านั้น โดยไม่สามารถนําไปถือปฏิบัติกับงบการเงินรวมของกลุ่มกิจการ ยกเว้นงบการเงินรวมของ กิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุนตามที่กําหนดในมาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 39 ซึ่งรายการระหว่างกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุนและบริษัทย่อยที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน จะไม่มีการตัดรายการระหว่างกันในการจัดทํางบการเงินรวม 6.3.6 อย่างไรก็ตาม ย่อหน้าที่ 6.3.5 ไม่ใช้สําหรับรายการต่อไปนี้ ความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของ รายการที่เป็นตัวเงินระหว่างกันในกลุ่มกิจการ ( เช่น เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ระหว่างบริษัทย่อย สองบริษัท ) อาจเข้าเงื่อนไขถือเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในงบการเงินรวมได้ หากรายการดังกล่าวก่อให้เกิดฐานะเปิดต่อกําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศที่ไม่มีการตัดรายการระหว่างกันได้อย่างครบทั้งหมดในการจัดทํางบการเงินรวม ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 กําไรหรือขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของรายการที่เป็นตัวเงินระหว่างกันในกลุ่มกิจการไม่ถือว่ามีการ ตัดรายการระหว่างกันได้อย่างครบทั้งหมดในการจัดทํางบการเงินรวม เมื่อรายการที่เป็นตัวเงิน ระหว่างกันในกลุ่มกิจการนั้นเป็นรายการซึ่งเกิดขึ้นระหว่างสองกิจการในกลุ่มกิจการที่มีสกุลเงินที่ ใช้ในการดําเนินงานแตกต่างกัน นอกจากนั้น ความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของรายการระหว่าง กันในกลุ่มกิจการที่คาดการณ์ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก อาจเข้าเงื่อนไขเป็น รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในงบการเงินรวมได้ หากรายการดังกล่าวเป็นรายการที่กําหนด ด้วยสกุลเงินอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของกิจการที่เข้าทํารายการ และความเสี่ยง เงินตราต่างประเทศนี้จะส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุนรวม การเลือกกําหนดรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง 6.3.7 กิจการอาจเลือกกําหนดรายการทั้งจํานวนหรือส่วนประกอบของรายการเป็นรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงในความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง รายการทั้งจํานวน ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในกระแสเงินสดหรือมูลค่ายุติธรรมของรายการนั้น ส่วนประกอบของรายการประกอบด้วยเพียงบางส่วนของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ทั้งจํานวนหรือความผันผวนของกระแสเงินสดทั้งจํานวนของรายการ ในกรณีดังกล่าว กิจการอาจ เลือกกําหนดให้ประเภทของส่วนประกอบ ( รวมถึงการรวมส่วนประกอบ ) ดังต่อไปนี้เท่านั้นเป็น รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง 6.3.7.1 เฉพาะการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดหรือมูลค่ายุติธรรมของรายการ อันเนื่องมาจากความเสี่ยงหนึ่งหรือหลายความเสี่ยงที่เฉพาะเจาะจง ( ส่วนประกอบ ความเสี่ยง ) หากส่วนประกอบความเสี่ยงดังกล่าวสามารถระบุแยกต่างหากได้และ วัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยอาศัยการประเมินภายใต้บริบทของโครงสร้างตลาดใด โครงสร้างหนึ่ง ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.3.8 ถึง ข 6.3.15) ส่วนประกอบความเสี่ยงนั้นให้ รวมถึงการเลือกกําหนดเฉพาะแค่การเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดหรือมูลค่า ยุติธรรมของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่สูงกว่าหรือตํ่ากว่าเมื่อเทียบกับราคา ที่กําหนดหรือตัวแปรอื่นๆ ( ความเสี่ยงด้านเดียว ) 6.3.7.2 กระแสเงินสดตามสัญญาที่เลือกไว้หนึ่งรายการหรือมากกว่า

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 40 6.3.7.3 ส่วนประกอบของจํานวนเงินที่กําหนดไว้ กล่าวคือ ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ระบุไว้ของ จํานวนเงินของรายการ ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.3.16 ถึง ข 6.3.20) 6.4 การเข้าเงื่อนไขการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง 6.4.1 ความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงเข้าเงื่อนไขการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงเมื่อเป็น ไปตามเกณฑ์ทุกข้อดังต่อไปนี้ 6.4.1.1 ความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงประกอบด้วยเพียงเครื่องมือที่ใช้ ป ้ องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงที่สามารถนํามาใช้ได้ใน ความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงเท่านั้น 6.4.1.2 ณ การเริ่มต้นของความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยง กิจการมีการเลือก กําหนดและการจัดทําเอกสารที่เป็นทางการซึ่งระบุถึงความสัมพันธ์ของ การป ้ องกันความเสี่ยง และวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง ของกิจการในการป ้ องกันความเสี่ยง เอกสารดังกล่าวต้องระบุถึงเครื่องมือที่ใช้ ป ้ องกันความเสี่ยง รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง ธรรมชาติของความเสี่ยง ที่ป ้ องกัน และวิธีการที่กิจการใช้ในการประเมินว่าความสัมพันธ์ของการป ้ องกัน ความเสี่ยงเป็นไปตามข้อกําหนดความมีประสิทธิผลในการป ้ องกันความเสี่ยง ( รวมถึงการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความไม่มีประสิทธิผลและวิธีการใน การกําหนด อัตราส่วนการป ้ องกันความเสี่ยง ) 6.4.1.3 ความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงเป็นไปตามข้อกําหนดของความมี ประสิทธิผลในการป ้ องกันความเสี่ยงทุกข้อดังต่อไปนี้ 6.4.1.3.1 มีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง และเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.4.4 ถึง ข 6.4.6) 6.4.1.3.2 ผลกระทบของความเสี่ยงด้านเครดิตไม่เหนือกว่าการเปลี่ยนแปลง มูลค่าอันเกิดจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.4.7 ถึง ข 6.4.8) และ 6.4.1.3.3 อัตราส่วนการป ้ องกันความเสี่ยงของความสัมพันธ์ของการป ้ องกัน ความเสี่ยงเท่ากับอัตราส่วนของปริมาณของรายการที่มีการป ้ องกัน ความเสี่ยงซึ่งกิจการได้ป ้ องกันความเสี่ยงต่อปริมาณของเครื่องมือ ที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงซึ่งกิจการได้ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงสําหรับ ปริมาณของรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงต้อง ไม่สะท้อนความไม่สมดุลระหว่างค่านํ้าหนักของรายการที่มีการ ป ้ องกันความเสี่ยงกับเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 41 ความไม่มีประสิทธิผลของการป ้ องกันความเสี่ยง ( ไม่ว่าจะรับรู้ รายการแล้วหรือไม่ ) ซึ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางบัญชีที่จะไม่สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.4.9 ถึง ข 6.4.11) 6.5 การบัญชีสําหรับความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไข 6.5.1 กิจการถือปฏิบัติตามการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงกับความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยง ที่เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 6.4.1 ( ซึ่งรวมถึงการที่กิจการตัดสินใจเลือกกําหนดความสัมพันธ์ ของการป ้ องกันความเสี่ยง ) 6.5.2 ความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ 6.5.2.1 การป ้ องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม คือ การป ้ องกันความเสี่ยงของ ฐานะเปิดต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้ รายการแล้ว หรือข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่ยังไม่ได้รับรู้รายการ หรือส่วนประกอบ ของรายการดังกล่าวข้างต้น อันเนื่องมาจากความเสี่ยงใดความเสี่ยงหนึ่งและ มีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน 6.5.2.2 การป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด คือ การป ้ องกันความเสี่ยงของฐานะ เปิดต่อความผันผวนของกระแสเงินสด อันเนื่องมาจากความเสี่ยงใดความเสี่ยงหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้รายการแล้ว ( เช่น การจ่ายชําระดอกเบี้ย ในอนาคตทั้งหมดหรือบางส่วนของหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ) หรือรายการ ที่คาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก หรือส่วนประกอบ ของรายการดังกล่าวข้างต้น และมีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน 6.5.2.3 การป ้ องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศตามที่นิยาม ไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 6.5.3 หากรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเป็นตราสารทุนที่กิจการเลือกที่จะแสดงการเปลี่ยนแปลง มูลค่ายุติธรรมในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.5 ฐานะเปิดที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงตามที่อ้างอิงในย่อหน้าที่ 6.5.2.1 ต้องเป็นรายการที่ส่งผลกระทบต่อกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น เฉพาะในกรณีนี้เท่านั้นให้แสดงความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง ที่รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 6.5.4 การป้องกันความเสี่ยงของความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของข้อผูกมัดที่แน่นหนา อาจถือปฏิบัติ ตามการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมหรือการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด 6.5.5 หากความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงยุติการเป็นไปตามข้อกําหนดของความมี ประสิทธิผลในการป ้ องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราส่วนการป ้ องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.4.1.3.3) แต่วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงสําหรับความสัมพันธ์ของการป ้ องกัน ความเสี่ยงที่เลือกกําหนดไว้ยังคงเป็นเช่นเดิม กิจการต้องปรับอัตราส่วนการป ้ องกันความ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 42 เสี่ยงของความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงนั้นเพื่อให้กลับมาเป็นไปตามข้อกําหนด ของความมีประสิทธิผลในการป ้ องกันความเสี่ยง ( หรือสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า การปรับสมดุล (rebalancing) ดูย่อหน้าที่ ข 6.5.7 ถึง ข 6.5.21) 6.5.6 กิจการต้องยกเลิกการใช้การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงโดยทันทีเป็นต้นไป เฉพาะเมื่อ ความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยง ( หรือบางส่วนของความสัมพันธ์ของการป ้ องกัน ความเสี่ยง ) ยุติการเป็นไปตามข้อกําหนดของความมีประสิทธิผลในการป ้ องกันความเสี่ยง ( หลังจากการพิจารณาการปรับสมดุลของความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยง ถ้าสามารถปฏิบัติได้ ) ทั้งนี้ให้รวมถึงเหตุการณ์ที่เครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงหมดอายุ หรือขาย ยกเลิกหรือใช้สิทธิ ในการนี้การทดแทนหรือการต่ออายุเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกัน ความเสี่ยงหนึ่งให้เป็นอีกเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นการหมดอายุ หรือยกเลิก หากการทําสัญญาใหม่ทดแทนหรือการต่ออายุเป็นส่วนหนึ่งและสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงที่บันทึกไว้ นอกจากนี้ในการนี้ เครื่องมือที่ใช้ป ้ องกัน ความเสี่ยงไม่ถือว่าหมดอายุหรือยกเลิก หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ 6.5.6.1 ผลทางกฎหมายหรือข้อบังคับ หรือผลจากการออกกฎหมายหรือข้อบังคับทําให้ คู่สัญญาของเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงตกลงกันให้คู่สัญญาหักบัญชีไม่ว่า จะหนึ่งรายหรือหลายรายเข้ามาเป็นคู่สัญญาใหม่ของแต่ละฝ่ายแทนที่ คู่สัญญาเดิม ในการนี้ คู่สัญญาหักบัญชี หมายถึง คู่สัญญากลาง ( บางครั้ง เรียกว่า องค์กรหักบัญชี หรือ ตัวแทนหักบัญชี ) หรือกิจการหนึ่งหรือหลายกิจการ เช่น สมาชิกหักบัญชีขององค์กรหักบัญชี หรือลูกค้าของสมาชิกหักบัญชีของ องค์กรหักบัญชี ที่ทําหน้าที่ในฐานะคู่สัญญาที่ทําให้มีการหักบัญชีโดย คู่สัญญากลาง อย่างไรก็ตาม เมื่อคู่สัญญาของเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง ทดแทนคู่สัญญาเดิมด้วยคู่สัญญาที่ต่างไป และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีการหัก บัญชีโดยใช้คู่สัญญากลางรายเดียวกันให้ถือว่าเป็นไปตามข้อกําหนดตาม ย่อหน้าย่อยนี้ 6.5.6.2 การเปลี่ยนแปลงอื่น ( ถ้ามี ) ในเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงให้จํากัด เพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อทําให้เกิดการทดแทนคู่สัญญาดังกล่าว การเปลี่ยนแปลง ข้างต้นให้จํากัดเพียงเท่าที่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่อาจจะมีขึ้นได้ หากเครื่องมือ ที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงดังกล่าวได้หักบัญชีตั้งแต่แรกโดยคู่สัญญาหักบัญชี การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกัน สิทธิในการหักกลบยอดคงค้างของลูกหนี้และเจ้าหนี้ และค่าธรรมเนียมตาม กฎหมาย การยกเลิกการใช้การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงสามารถส่งผลต่อความสัมพันธ์ของการป ้ องกัน ความเสี่ยงทั้งจํานวนหรือเพียงบางส่วนก็ได้ ( ซึ่งหากเป็นกรณีหลังให้ใช้การบัญชีป ้ องกัน ความเสี่ยงต่อไปกับความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงส่วนที่เหลือ )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 43 6.5.7 กิจการต้องถือปฏิบัติตาม 6.5.7.1 ย่อหน้าที่ 6.5.10 เมื่อกิจการยกเลิกการใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงสําหรับการป้องกัน ความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมซึ่งรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเป็น ( หรือเป็น ส่วนประกอบของ ) เครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย และ 6.5.7.2 ย่อหน้าที่ 6.5.12 เมื่อยกเลิกการใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงสําหรับป้องกัน ความเสี่ยงในกระแสเงินสด การป ้ องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม 6.5.8 ตราบที่การป ้ องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมยังคงเข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 6.4.1 ให้กิจการถือปฏิบัติกับความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยง ดังต่อไปนี้ 6.5.8.1 ผลกําไรหรือขาดทุนจากเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงต้องรับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุน ( หรือในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หากใช้เครื่องมือที่ใช้ป ้ องกัน ความเสี่ยงในการป ้ องกันความเสี่ยงตราสารทุนที่กิจการนั้นเลือกที่จะแสดงการ เปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.5) 6.5.8.2 ผลกําไรหรือขาดทุนจากการป ้ องกันความเสี่ยงของรายการที่ มี การป ้ องกัน ความเสี่ยงต้องนําไปปรับปรุงกับมูลค่าตามบัญชีของรายการที่มีการป ้ องกัน ความเสี่ยงนั้น ( ถ้าสามารถปฏิบัติได้ ) และต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ในกรณี ที่รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือเป็น ส่วนประกอบของสินทรัพย์ทางการเงิน ) ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ให้รับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนจาก การป ้ องกันความเสี่ยงของรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงในกําไรหรือขาดทุน อย่างไรก็ตาม หากรายการที่ มี การป ้ องกันความเสี่ยงเป็นตราสารทุนที่กิจการ เลือกที่จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามย่อหน้าที่ 5.7.5 ผลกําไรหรือขาดทุนจากการป ้ องกันความเสี่ยงดังกล่าวต้อง คงไว้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ในกรณีที่รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงนั้น เป็นข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่ยังไม่ได้รับรู้รายการ ( หรือส่วนประกอบของข้อผูกมัด ที่แน่นหนา ) ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของรายการที่มีการ ป ้ องกันความเสี่ยงนับตั้งแต่การเลือกกําหนดให้เป็นรายการที่การป ้ องกันความ เสี่ยงให้รับรู้เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สิน พร้อมกับรับรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็น ผลกําไรหรือขาดทุนในกําไรหรือขาดทุน 6.5.9 เมื่อรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมเป็นข้อผูกมัดที่แน่นหนา ( หรือเป็น ส่วนประกอบของข้อผูกมัดที่แน่นหนา ) เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือก่อให้เกิดหนี้สิน ให้กิจการ ปรับมูลค่าตามบัญชีเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์หรือหนี้สินซึ่งเป็นผลจากการที่กิจการได้ปฏิบัติ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 44 ตามข้อผูกมัดที่แน่นหนา ด้วยผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของรายการที่ มีการป้องกันความเสี่ยงที่เคยรับรู้ไว้ในงบฐานะการเงิน 6.5.10 การปรับปรุงใดๆ ที่เกิดขึ้นตามย่อหน้าที่ 6.5.8.2 ต้องตัดจําหน่ายไปยังกําไรหรือขาดทุน หากรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเป็นเครื่องมือทางการเงิน ( หรือเป็นส่วนประกอบของ เครื่องมือทางการเงิน ) ที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย การตัดจําหน่ายอาจเริ่มต้นทันที ที่มีการปรับปรุงเกิดขึ้น และต้องเริ่มก่อนที่รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงนั้นยุติที่จะมีการปรับปรุง ผลกําไรหรือขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงนั้น การตัดจําหน่ายดังกล่าวคํานวณโดยใช้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่คํานวณใหม่ ณ วันที่เริ่มการตัดจําหน่าย ในกรณีของสินทรัพย์ ทางการเงิน ( หรือเป็นส่วนประกอบของสินทรัพย์ทางการเงิน ) ที่เป็นรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงและวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ให้ตัดจําหน่ายในลักษณะเดียวกัน แต่ใช้จํานวนเงินซึ่งเป็นผลสะสมของผลกําไรหรือขาดทุนที่เคย รับรู้ก่อนหน้าตามย่อหน้าที่ 6.5.8.2 โดยไม่ปรับปรุงกับมูลค่าตามบัญชี การป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด 6.5.11 ตราบที่การป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดเป็นไปตามเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 6.4.1 ความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ 6.5.11.1 ให้ปรับปรุงส่วนประกอบแยกต่างหากของส่วนของเจ้าของซึ่งเกี่ยวข้องกับ รายการที่ มี การป ้ องกันความเสี่ยง ( สํารองการป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ) จะปรับปรุงด้วยจํานวนที่ตํ่ากว่าของรายการใดรายการหนึ่งต่อไปนี้ ( เป็นจํานวน เงินค่าสัมบูรณ์ ) 6.5.11.1.1 ผลสะสมของผลกําไรหรือขาดทุนจากเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกัน ความเสี่ยงนับจากการเริ่มต้นของการป ้ องกันความเสี่ยง และ 6.5.11.1.2 ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ( มูลค่าปัจจุบัน ) ของรายการที่ มี การป ้ องกันความเสี่ยง ( กล่าวคือ มูลค่าปัจจุบัน ของผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดอนาคตที่ คาดการณ์ที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง ) โดยนับจากการเริ่มต้นของ การป ้ องกันความเสี่ยง 6.5.11.2 ผลกําไรหรือขาดทุนในส่วนที่มีประสิทธิผลของเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง ( กล่าวคือ ส่วนที่หักกลบกับการเปลี่ยนแปลงในสํารองการป ้ องกันความเสี่ยงใน กระแสเงินสดที่คํานวณตามย่อหน้าที่ 6.5.11.1) ต้องรับรู้ในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น 6.5.11.3 ผลกําไรหรือขาดทุนส่วนที่เหลือของเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง ( หรือ ผลกําไรหรือขาดทุนที่คงเหลือของการเปลี่ยนแปลงของสํารองการป ้ องกันความเสี่ยง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 45 ในกระแสเงินสดที่คํานวณตามย่อหน้าที่ 6.5.11.1) ถือเป็นส่วนของการป ้ องกัน ความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิผลที่ต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 6.5.11.4 จํานวนเงินสะสมในสํารองการป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ตามย่อหน้าที่ 6.5.11.1 ต้องถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 6.5.11.4.1 หากรายการที่คาดการณ์ที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงทําให้เกิดการ รับรู้รายการของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินที่ ไม่ใช่หนี้สินทางการเงินในภายหลัง หรือรายการที่คาดการณ์ที่มี การป ้ องกันความเสี่ยงสําหรับสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ ทางการเงินหรือหนี้สินที่ไม่ใช่หนี้สินทางการเงินกลายเป็น ข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่ต้องถือปฏิบัติตามการบัญชีป ้ องกัน ความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องโอนจํานวนเงินของ สํารองการป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดตรงไปรวมอยู่ใน ราคาทุนเริ่มแรกหรือมูลค่าตามบัญชีอื่นของสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้น รายการดังกล่าวไม่ไม่ถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการ ใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ดังนั้น จึงไม่กระทบกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 6.5.11.4.2 สําหรับการป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดนอกเหนือจาก รายการที่กล่าวถึงในย่อหน้าที่ 6.5.11.4.1 จํานวนเงินข้างต้น ต้องจัดประเภทรายการใหม่จากสํารองการป ้ องกันความเสี่ยงใน กระแสเงินสดไปเป็นกําไรหรือขาดทุนโดยถือเป็นการปรับปรุง การจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ในรอบระยะเวลารายงานเดียวกันหรือในรอบระยะเวลารายงานที่ กระแสเงินสดอนาคตที่คาดการณ์ที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงส่งผล กระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ( เช่น ในรอบระยะเวลารายงานที่มี การรับรู้ดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยจ่าย หรือเมื่อยอดขายที่คาดการณ์ ได้เกิดขึ้น ) 6.5.11.4.3 อย่างไรก็ตาม หากจํานวนเงินข้างต้นเป็นผลขาดทุน และกิจการ คาดว่าผลขาดทุนทั้งหมดหรือบางส่วนนั้นจะไม่ได้รับคืนภายใน หนึ่งรอบระยะเวลาในอนาคตหรือนานกว่านั้น กิจการต้อง จัดประเภทรายการใหม่สําหรับจํานวนเงินที่ไม่คาดว่าจะได้รับคืน เข้ากําไรหรือขาดทุนในทันที โดยถือเป็นการปรับปรุง การจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 46 6.5.12 เมื่อกิจการยกเลิกการบัญชีป้องกันความเสี่ยงสําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.6 และ 6.5.7.2) กิจการต้องถือปฏิบัติกับจํานวนเงินที่สะสมไว้ในสํารอง การป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ตามย่อหน้าที่ 6.5.11.1 ดังต่อไปนี้ 6.5.12.1 หากกระแสเงินสดอนาคตที่มีการป้องกันความเสี่ยงยังคงคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น จํานวนเงินดังกล่าวต้องคงอยู่ในสํารองการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด จนกระทั่งกระแสเงินสดอนาคตนั้นได้เกิดขึ้นหรือจนกระทั่งมีการถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 6.5.11.4.3 เมื่อกระแสเงินสดอนาคตเกิดขึ้น ให้กิจการถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 6.5.11.4 6.5.12.2 หากกระแสเงินสดอนาคตที่มีการป้องกันความเสี่ยงไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นอีกต่อไป จํานวนดังกล่าวต้องจัดประเภทรายการใหม่ในทันทีจากสํารองการป้องกันความเสี่ยง ในกระแสเงินสดไปกําไรหรือขาดทุนโดยถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการ ใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) กระแสเงินสดอนาคตที่มีการป้องกันความเสี่ยง ที่ไม่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากอาจจะยังคงคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ การป ้ องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ 6.5.13 การป ้ องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ ซึ่งรวมการป ้ องกัน ความเสี่ยงของรายการที่เป็นตัวเงินที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนสุทธิ ( ดูมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 21) ต้องถือปฏิบัติในทํานองคล้ายกันกับการป ้ องกันความเสี่ยงในกระแส เงินสด 6.5.13.1 ส่วนหนึ่งของผลกําไรหรือขาดทุนของเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงในส่วนที่มี ประสิทธิผลต้องรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.11) และ 6.5.13.2 ส่วนที่ไม่มีประสิทธิผลต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 6.5.14 ผลสะสมของผลกําไรหรือขาดทุนของเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยงในส่วนที่มีประสิทธิผล ที่สะสมไว้ในสํารองการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศต้องจัดประเภทรายการใหม่จาก ส่วนของเจ้าของไปยังกําไรหรือขาดทุน โดยถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ตามย่อหน้าที่ 48 ถึง 49 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เกี่ยวกับการจําหน่ายหน่วยงานต่างประเทศทั้งหมดหรือบางส่วน การบัญชีสําหรับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือก 6.5.15 เมื่อกิจการแยกมูลค่าที่แท้จริงและมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกและเลือกกําหนดให้ เฉพาะการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าที่แท้จริงของสิทธิเลือกเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.2.4.1) กิจการต้องถือปฏิบัติกับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกดังต่อไปนี้ ( ดูย่อหน้าที่ข 6.5.29 ถึง ข 6.5.33)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 47 6.5.15.1 กิจการต้องแยกความแตกต่างของมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกตามประเภทของ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งใช้สิทธิเลือกในการป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.5.29) ดังนี้ 6.5.15.1.1 รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงแบบธุรกรรมสัมพันธ์ 6.5.15.1.2 รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงแบบช่วงเวลาสัมพันธ์ 6.5.15.2 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงแบบธุรกรรมสัมพันธ์ต้องรับรู้ในกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงนั้น และ จํานวนเงินดังกล่าวต้องสะสมไว้ในส่วนประกอบแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมที่เกิดขึ้นจากมูลค่าตามเวลาของ สิทธิเลือกที่สะสมไว้ในส่วนประกอบแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของ (“ จํานวนเงิน ” นั้น ) ต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ 6.5.15.2.1 หากรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในภายหลังก่อให้เกิดการรับรู้ รายการของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินที่ไม่ใช่ หนี้สินทางการเงิน หรือ ข้อผูกมัดที่แน่นหนาสําหรับสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินที่ไม่ใช่หนี้สินทางการเงินซึ่งถือ ปฏิบัติตามการบัญชีป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม กิจการต้อง โอน “ จํานวนเงิน ” นั้นจากส่วนประกอบแยกต่างหากในส่วนของ เจ้าของตรงไปราคาทุนเริ่มแรกหรือมูลค่าตามบัญชีอื่นของสินทรัพย์ หรือหนี้สินนั้น โดยไม่ถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ดังนั้นจึงไม่กระทบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น 6.5.15.2.2 สําหรับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนอกเหนือจาก ที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 6.5.15.2.1 จํานวนเงินนั้นต้องจัดประเภท รายการใหม่จากส่วนประกอบแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของไปกําไร หรือขาดทุน โดยถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ภายในรอบระยะเวลารายงาน เดียวกันหรือในรอบระยะเวลารายงานซึ่งกระแสเงินสดอนาคตที่ คาดการณ์ที่มีการป้องกันความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ( เช่น เมื่อยอดขายที่คาดการณ์เกิดขึ้น ) 6.5.15.2.3 อย่างไรก็ตาม หากจํานวนเงินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนนั้นไม่คาดว่า จะได้รับคืนภายในหนึ่งรอบระยะเวลารายงานในอนาคตหรือนานกว่านั้น จํานวนเงินนั้นที่ไม่คาดว่าจะได้รับคืนต้องจัดประเภทรายการใหม่ ในทันทีไปกําไรหรือขาดทุน โดยถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภท รายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 48 6.5.15.3 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงแบบช่วงเวลาสัมพันธ์ต้องรับรู้ในกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงนั้น และ ต้องสะสมในส่วนประกอบแยกต่างหากของส่วนของเจ้าของ มูลค่าตามเวลา ณ วันที่ มีการเลือกกําหนดให้สิทธิเลือกเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในส่วนที่กับ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงต้องตัดจําหน่ายอย่างเป็นระบบและสมเหตุสมผล ตลอดระยะเวลาที่การปรับปรุงการป้องกันความเสี่ยงสําหรับมูลค่าที่แท้จริงของ สิทธิเลือกส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ( หรือกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หากรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงนั้นเป็นตราสารทุนที่กิจการเลือกที่จะแสดงการ เปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.5) ดังนั้น ในแต่ละรอบระยะเวลารายงาน จํานวนเงินที่ตัดจําหน่ายส่วนต้องจัดประเภท รายการใหม่จากส่วนประกอบแยกต่างหากของส่วนของเจ้าของไปกําไรหรือขาดทุน โดยถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) อย่างไรก็ตาม หากมีการยกเลิกการบัญชีป้องกันความเสี่ยงสําหรับความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงที่มีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าที่แท้จริงของสิทธิเลือก เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องจัดประเภทรายการใหม่ในทันที สําหรับจํานวนเงินสุทธิ ( กล่าวคือ รวมการตัดจําหน่ายสะสม ) ที่สะสมไว้ใน ส่วนประกอบแยกต่างหากของส่วนของเจ้าของต้องไปยังกําไรหรือขาดทุน โดยถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) การบัญชีสําหรับองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดและส่วนต่างอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงิน 6.5.16 เมื่อกิจการแยกองค์ประกอบราคาล่วงหน้าและองค์ประกอบราคาปัจจุบันของสัญญาฟอร์เวิร์ด และเลือกกําหนดให้เฉพาะการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าขององค์ประกอบราคาปัจจุบันของสัญญา ฟอร์เวิร์ดเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง หรือเมื่อกิจการแยกส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศออกจากเครื่องมือทางการเงินและไม่รวมรายการดังกล่าวในการเลือก กําหนดให้เครื่องมือทางการเงินนั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.2.4.2) กิจการอาจถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.5.15 กับองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ด หรือส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในลักษณะเดียวกันกับการถือปฏิบัติต่อมูลค่า ตามเวลาของสิทธิเลือกในกรณีดังกล่าว กิจการต้องถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ข 6.5.34 ถึง ข 6.5.39

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 49 6.6 การป ้ องกันความเสี่ยงของกลุ่มของรายการ การที่กลุ่มของรายการสามารถถือเป็นรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง 6.6.1 กลุ่มของรายการ ( รวมถึงกลุ่มของรายการที่รวมกันเป็นฐานะสุทธิ ดูย่อหน้าที่ ข 6.6.1 ถึง ข 6.6.8) สามารถเป็นรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงได้เฉพาะเมื่อ 6.6.1.1 กลุ่มของรายการประกอบไปด้วยรายการ ( รวมถึงส่วนประกอบของรายการ ) ที่แต่ละรายการสามารถเป็นรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงได้ 6.6.1.2 รายการต่างๆ ในกลุ่มมีการบริหารรวมกันแบบกลุ่มเพื่อวัตถุประสงค์ของ การบริหารความเสี่ยง และ 6.6.1.3 ในกรณีของการป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดของกลุ่มของรายการที่มี ความผันผวนในกระแสเงินสดที่ไม่คาดว่าจะเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับ ความผันผวนโดยรวมในกระแสเงินสดของกลุ่มของรายการ จนทําให้เกิด การหักกลบฐานะความเสี่ยง 6.6.1.3.1 ให้ถือเป็นการป ้ องกันความเสี่ยงของความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ และ 6.6.1.3.2 การเลือกกําหนดฐานะสุทธิดังกล่าวระบุรอบระยะเวลารายงาน ที่รายการที่คาดการณ์คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน รวมถึงธรรมชาติและปริมาณด้วย ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.6.7 ถึง ข 6.6.8) การเลือกกําหนดของส่วนประกอบของจํานวนเงินที่กําหนดไว้ 6.6.2 ส่วนประกอบที่เป็นสัดส่วนของกลุ่มของรายการที่เป็นไปตามเกณฑ์ถือเป็นรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงที่เป็นไปตามเกณฑ์ หากการเลือกกําหนดนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการบริหาร ความเสี่ยงของกิจการ 6.6.3 ส่วนประกอบลําดับชั้นในกลุ่มรายการโดยรวม ( เช่น ลําดับชั้นล่างสุด ) สามารถถือปฏิบัติตาม การบัญชีป้องกันความเสี่ยงได้เฉพาะเมื่อ 6.6.3.1 ส่วนประกอบลําดับชั้นดังกล่าวสามารถระบุแยกต่างหากได้และวัดมูลค่าได้อย่าง น่าเชื่อถือ 6.6.3.2 วัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงคือการป้องกันความเสี่ยงส่วนประกอบลําดับชั้น 6.6.3.3 รายการในกลุ่มของรายการโดยรวมที่ซึ่งมีลําดับชั้นระบุไว้ในกลุ่มนั้น มีฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงที่มีการป้องกันความเสี่ยงประเภทเดียวกัน ( เพื่อให้การวัดมูลค่าของ ลําดับขั้นที่มีการป้องกันความเสี่ยงไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญจากรายการใด รายการหนึ่งในกลุ่มของรายการโดยรวมซึ่งรวมกันขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของลําดับขั้น ที่มีการป้องกันความเสี่ยง )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 50 6.6.3.4 ในการป้องกันความเสี่ยงของรายการที่มีอยู่ ( เช่น ข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่ยังไม่ได้ รับรู้รายการ หรือสินทรัพย์ที่รับรู้รายการ ) กิจการสามารถระบุและติดตามกลุ่มของ รายการโดยรวมที่มีการระบุลําดับชั้นที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( เพื่อให้กิจการ สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดของการบัญชีสําหรับความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไข ) และ 6.6.3.5 รายการใดๆ ในกลุ่มของรายการที่มีสิทธิเลือกที่จะจ่ายชําระก่อนครบกําหนดให้ถือ ว่าเข้าเงื่อนไขของข้อกําหนดสําหรับส่วนประกอบของจํานวนเงินที่กําหนดไว้ ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.3.20) การแสดงรายการ 6.6.4 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มของรายการที่มีฐานะความเสี่ยงที่หักกลบ ( กล่าวคือ ในการป้องกันความเสี่ยงฐานะสุทธิ ) ซึ่งความเสี่ยงที่ได้รับการป้องกันเสี่ยงของกลุ่มของรายการ ส่งผลกระทบต่อรายการรายบรรทัดที่หลากหลายในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ให้แสดงผลกําไรหรือขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงในงบการเงินดังกล่าวเป็นรายการ รายบรรทัดแยกต่างหากจากรายการที่ได้รับผลกระทบจากรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น ในงบการเงินดังกล่าว จํานวนเงินในรายการรายบรรทัดที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง ( เช่น รายได้ หรือ ต้นทุนขาย ) ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ 6.6.5 สําหรับสินทรัพย์และหนี้สินที่มีการป้องกันความเสี่ยงร่วมกันเป็นกลุ่มในการป้องกันความเสี่ยง ในมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนของสินทรัพย์และหนี้สินแต่ละรายการใน งบฐานะการเงินโดยเป็นรายการปรับปรุงของมูลค่าตามบัญชีของรายการแต่ละรายการดังกล่าว ซึ่งรวมกันเป็นกลุ่มของรายการตามย่อหน้าที่ 6.5.8.2 ฐานะสุทธิเป็นศูนย์ 6.6.6 เมื่อรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเป็นกลุ่มซึ่งเป็นฐานะสุทธิเป็นศูนย์ ( กล่าวคือ รายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงหักกลบอย่างสมบูรณ์ด้วยกันเองกับความเสี่ยงที่มีการบริหารแบบกลุ่ม ) กิจการสามารถเลือกกําหนดให้รายการดังกล่าวอยู่ในความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง โดยไม่มีเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ 6.6.6.1 การป้องกันความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงของ ความเสี่ยงสุทธิที่มีความต่อเนื่อง โดยที่กิจการป้องกันความเสี่ยงฐานะประเภทเดิม ที่ทําขึ้นใหม่อย่างเป็นประจําเมื่อเวลาผ่านไป ( เช่น เมื่อรายการนั้นเข้าใกล้ช่วงเวลา ที่กิจการป้องกันความเสี่ยง ) 6.6.6.2 ขนาดของฐานะสุทธิที่มีการป้องกันความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไปตลอดอายุของกลยุทธ์ การป้องกันความเสี่ยงของความเสี่ยงสุทธิที่มีความต่อเนื่อง และกิจการใช้เครื่องมือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 51 ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสี่ยงของความเสี่ยงสุทธินั้น ( กล่าวคือ เมื่อฐานะสุทธิไม่เป็นศูนย์ ) 6.6.6.3 ตามปกติแล้วการบัญชีการป้องกันความเสี่ยงสามารถถือปฏิบัติสําหรับฐานะสุทธิ ดังกล่าวเมื่อฐานะสุทธิไม่เป็นศูนย์และเมื่อมีการป้องกันความเสี่ยงด้วยเครื่องมือ ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไข และ 6.6.6.4 การไม่ถือปฏิบัติตามการบัญชีการป้องกันความเสี่ยงสําหรับรายการฐานะสุทธิที่ เป็นศูนย์จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางบัญชีที่ไม่สมํ่าเสมอ เนื่องจากการบัญชีป้องกัน ความเสี่ยงจะไม่รับรู้ฐานะความเสี่ยงที่หักกลบ ซึ่งหากเป็นอย่างอื่นจะมีการรับรู้ ในการป้องกันความเสี่ยงของฐานะสุทธิ 6.7 ทางเลือกในการเลือกกําหนดฐานะเปิดด้านเครดิตวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุน การที่ฐานะเปิดด้านเครดิตสามารถเลือกกําหนดที่มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 6.7.1 หากกิจการใช้อนุพันธ์ด้านเครดิตที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนใน การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดหรือบางส่วน ( ฐานะเปิด ด้านเครดิต ) กิจการอาจเลือกกําหนดให้เครื่องมือทางการเงินในส่วนที่กิจการบริหาร วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ( กล่าวคือ เครื่องมือทางการเงินทั้งหมด หรือตามสัดส่วน ) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ 6.7.1.1 ชื่อของฐานะเปิดด้านเครดิต ( เช่น ผู้กู้ยืม หรือผู้ครอบครองข้อผูกมัดวงเงิน สินเชื่อ ) ตรงกันกับชื่อของกิจการที่อ้างไว้ในในอนุพันธ์ด้านเครดิต ( การมีชื่อ ตรงกัน ) และ 6.7.1.2 ระดับของสิทธิเรียกร้องของเครื่องมือทางการเงินตรงกันกับระดับของ สิทธิเรียกร้องของเครื่องมือที่สามารถส่งมอบได้ซึ่งเป็นไปตามสัญญาอนุพันธ์ ด้านเครดิต ในการเลือกกําหนดดังกล่าว กิจการอาจไม่ต้องคํานึงถึงว่าเครื่องมือทางการเงินที่มีการบริหาร ความเสี่ยงด้านเครดิตอยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ หรือไม่ ( เช่น กิจการอาจเลือกกําหนดดังกล่าวสําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อซึ่งไม่อยู่ภายใต้ ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ) กิจการอาจเลือกกําหนดดังกล่าว สําหรับเครื่องมือทางการเงินเมื่อมีการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก หรือในภายหลัง หรือขณะที่ เครื่องมือทางการเงินยังไม่ได้รับรู้รายการ กิจการต้องจัดทําเอกสารเกี่ยวกับการเลือก กําหนดดังกล่าวไปพร้อมกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 52 การบัญชีสําหรับฐานะเปิดด้านเครดิตที่เลือกกําหนดที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุน 6.7.2 หากกิจการเลือกกําหนดให้วัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุนตามย่อหน้าที่ 6.7.1 หลังจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก หรือยังไม่มีการรับรู้รายการ มาก่อน กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชี ( ถ้ามี ) กับมูลค่ายุติธรรม ณ เวลาที่มีการ เลือกกําหนดดังกล่าวในกําไรหรือขาดทุนโดยทันที สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก กิจการต้องจัดประเภท รายการใหม่สําหรับผลสะสมของผลกําไรหรือขาดทุนที่เคยรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น โดยทันทีจากส่วนของเจ้าของไปกําไรหรือขาดทุน โดยถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภท รายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) 6.7.3 กิจการต้องยกเลิกการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินหรือสัดส่วนของเครื่องมือทางการเงิน ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน เมื่อเป็นไปตาม เงื่อนไขต่อไปนี้ 6.7.3.1 ไม่เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 6.7.1 อีกต่อไป เช่น 6.7.3.1.1 อนุพันธ์ด้านเครดิตหรือเครื่องมือทางการเงินที่เกี่ยวข้องที่ก่อให้เกิด ความเสี่ยงด้านเครดิตนั้นหมดอายุหรือขาย ยกเลิก หรือชําระ หรือ 6.7.3.1.2 ไม่ได้บริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินโดยใช้ อนุพันธ์ด้านเครดิตอีกต่อไป เช่น กรณีดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากคุณภาพเครดิตของผู้กู้ยืมหรือผู้ครอบครองข้อผูกมัดวงเงิน สินเชื่อดีขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดด้านเงินทุนของกิจการ และ 6.7.3.2 เครื่องมือทางการเงินที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเครดิตไม่ได้กําหนดให้วัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนหากไม่มีการเลือกกําหนดดังกล่าว ( กล่าวคือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจของกิจการในขณะนี้ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดประเภท รายการใหม่ตามย่อหน้าที่ 4.4.1) 6.7.4 เมื่อกิจการยกเลิกการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน หรือสัดส่วนของเครื่องมือทางการเงิน ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ให้ถือว่ามูลค่า ยุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน ณ วันที่มีการยกเลิกดังกล่าวเป็นมูลค่าตามบัญชีใหม่ของ เครื่องมือทางการเงินนั้น หลังจากนั้น ให้วัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินด้วยการวัดมูลค่าที่เคยใช้ ก่อนที่จะมีการเลือกกําหนดให้เครื่องมือทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน ( รวมถึงการตัดจําหน่ายอันเป็นผลมาจากมูลค่าตามบัญชีใหม่ ) เช่น สินทรัพย์ ทางการเงินเคยจัดประเภทตั้งแต่เริ่มแรกให้วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย ให้กลับไป วัดมูลค่าตามเดิม และให้คํานวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงใหม่จากมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักใหม่ ณ วันที่มีการยกเลิกการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 53 6.8 การยกเว้นสําหรับการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงโดยเฉพาะ เป็นการชั่วคราว 6.8.1 กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.8.4 – 6.8.12 และย่อหน้าที่ 7.1.8 และย่อหน้าที่ 7.2.26.4 สําหรับทุกความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปฏิรูปอัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิง ย่อหน้าเหล่านี้ถือปฏิบัติต่อความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว เท่านั้น ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้นจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปฏิรูป อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงก็ต่อเมื่อการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทําให้เกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ 6.8.1.1 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ( ทั้งที่กําหนดหรือไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญา ) ที่เลือก กําหนดให้เป็นความเสี่ยงที่ป้องกัน และ / หรือ 6.8.1.2 เวลาหรือจํานวนเงินของกระแสเงินสดที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของรายการ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงหรือของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง 6.8.2 เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.8.4 ถึง 6.8.12 คําศัพท์ “ การปฏิรูปอัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิง ” หมายถึง การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่มีผลกระทบต่อตลาดในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการแทนที่อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงด้วยอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยอื่น ที่มาจากคําแนะนําที่ระบุไว้ในรายงานของคณะกรรมการเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Board) ประจําเดือนกรกฎาคม 2557 เรื่อง “ การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหลัก ” “Reforming Major Interest Rate Benchmark”) 1 6.8.3 ย่อหน้าที่ 6.8.4 ถึง 6.8.12 ให้ข้อยกเว้นเพียงข้อกําหนดที่ระบุในย่อหน้าเหล่านี้เท่านั้น กิจการ ต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดอื่นของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดต่อความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข้อกําหนดเรื่องความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากสําหรับการป ้ องกันความเสี่ยง ในกระแสเงินสด 6.8.4 เพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาว่ารายการที่คาดการณ์ ( หรือส่วนประกอบของรายการที่ คาดการณ์ ) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 6.3.3 หรือไม่ กิจการต้องสันนิษฐานว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของกระแสเงินสดที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( ทั้งที่กําหนดหรือไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญา ) จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ย อ้างอิง 1 รายงานเรื่อง “ การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหลัก ” (“Reforming Major Interest Rate Benchmarks”) ศึกษาได้ที่ http://www.fsb.org/wp-content/uploads/r_140722.pdf.

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 54 การจัดประเภทรายการใหม่จํานวนเงินที่สะสมไว้อยู่ในบัญชีสํารองสําหรับการป ้ องกันความเสี่ยง ในกระแสเงินสด 6 . 8 . 5 เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6 . 5 . 12 ในการพิจารณาว่า กระแสเงินสดในอนาคตที่มีการป้องกันความเสี่ยงคาดว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ กิจการต้องสันนิษฐาน ว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของกระแสเงินสดที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( ทั้งที่กําหนดหรือไม่ได้ กําหนดอยู่ในสัญญา ) จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง การประเมินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงและ เครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง 6.8.6 เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.4.1.3.1 และ ข 6.4.4 – ข 6.4.6 กิจการต้องสันนิษฐานว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของกระแสเงินสดที่มีการป้องกันความเสี่ยง และ / หรือความเสี่ยงที่ป้องกัน ( ทั้งที่กําหนดหรือไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญา ) หรืออัตราดอกเบี้ย อ้างอิงของกระแสเงินสดของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงจาก การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง การเลือกกําหนดส่วนประกอบของรายการเป็นรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง 6.8.7 เว้นแต่จะถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.8.8 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงของส่วนประกอบของ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญา กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.3.7.1 และ ข 6.3.8 ซึ่งส่วนประกอบความเสี่ยงนั้นต้องระบุแยกต่างหากได้ – เฉพาะ ณ การเริ่มต้น ของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง 6.8.8 โดยที่เป็นไปตามเอกสารการป้องกันความเสี่ยง เมื่อกิจการมีการปรับ ( นั่นคือ การยกเลิกหรือ เริ่มต้นใหม่ ) ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงอันเนื่องมาจากทั้งเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ( นั่นคือ กิจการมี การใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องซึ่งทําให้ทั้งรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง และเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่ใช้ในการบริหารฐานะเปิดไม่คงอยู่เหมือนเดิมเป็น เวลานาน ) กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.3.7.1 และ ข 6.3.8 ส่วนประกอบ ความเสี่ยงนั้นสามารถระบุแยกต่างหากได้ เมื่อกิจการเลือกกําหนดเมื่อเริ่มแรกสําหรับรายการที่ มีการป้องกันความเสี่ยงในความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้นแล้วเท่านั้น รายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงที่ได้รับการประเมินเมื่อวันเลือกกําหนดเมื่อเริ่มแรกของความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น ณ วันเริ่มต้นความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงหรือ วันต่อมาจะไม่ถูกประเมินใหม่ ณ การเลือกกําหนดใหม่ในภายหลังใดๆ ในความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงเดิม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 55 การหยุดการถือปฏิบัติ 6 . 8 . 9 กิจการต้องยุติการถือปฏิบัติย่อหน้าที่ 6 . 8 . 4 อย่างทันทีต่อรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อน ดังนี้ 6.8.9.1 เมื่อความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่เกี่ยวกับเวลาและ จํานวนเงินของกระแสเงินสดที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงไม่มีอยู่แล้ว และ 6.8.9.2 เมื่อความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง เป็นส่วนหนึ่งได้สิ้นสุดลง 6 . 8 . 10 กิจการต้องยุติการถือปฏิบัติย่อหน้าที่ 6 . 8 . 5 อย่างทันที เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ก่อน ดังนี้ 6.8.10.1 เมื่อความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่เกี่ยวกับเวลาและ จํานวนเงินของกระแสเงินสดที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงไม่มีอยู่แล้ว และ 6.8.10.2 เมื่อจํานวนเงินทั้งหมดที่สะสมอยู่ในบัญชีสํารองสําหรับการป้องกันความเสี่ยงใน กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่สิ้นสุดลงได้ ถูกจัดประเภทรายการใหม่ไปกําไรหรือขาดทุน 6 . 8 . 11 กิจการต้องยุติการถือปฏิบัติย่อหน้าที่ 6 . 8 . 6 อย่างทันที 6.8.11.1 ต่อรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง เมื่อความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูป อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ป้องกันหรือเวลาและจํานวนเงินของ กระแสเงินสดที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ไม่มีอยู่แล้ว และ 6.8.11.2 ต่อเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง เมื่อความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูป อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่เกี่ยวกับเวลาและจํานวนเงินของกระแสเงินสดที่อ้างอิงกับ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงไม่มีอยู่แล้ว ถ้าความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงซึ่งรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงและเครื่องมือ ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งได้ถูกยกเลิกก่อนวันที่ที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 6.8.11.1 หรือ วันที่ที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 6.8.11.2 กิจการต้องยุติการถือปฏิบัติย่อหน้าที่ 6.8.6 อย่างทันทีต่อ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง ณ วันที่มีการยกเลิกความสัมพันธ์ป้องกันความเสี่ยง 6 . 8 . 12 เมื่อมีการเลือกกําหนดกลุ่มของรายการเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง หรือการรวมกลุ่ม ของเครื่องมือทางการเงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องยุติการถือปฏิบัติ ย่อหน้าที่ 6 . 8 . 4 ถึง 6 . 8 . 6 อย่างทันทีต่อรายการแต่ละรายการหรือเครื่องมือทางการเงินตาม ย่อหน้าที่ 6 . 8 . 9 6 . 8 . 10 หรือ 6 . 8 . 11 ตามที่เกี่ยวข้อง เมื่อความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจาก การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ป้องกันและ / หรือระยะเวลาและจํานวนเงิน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 56 ของกระแสเงินสดที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของรายการดังกล่าวหรือของเครื่องมือทาง การเงินดังกล่าวไม่มีอยู่แล้ว 6.8.13 กิจการต้องยุติการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.8.7 และ 6.8.8 เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เกิดขึ้นก่อน 6.8.13.1 เมื่อการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับส่วนประกอบ ความเสี่ยงที่ไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญาซึ่งถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.9.1 หรือ 6.8.13.2 เมื่อความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงซึ่งส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้ กําหนดอยู่ในสัญญาที่ถูกเลือกกําหนดได้สิ้นสุดลง 6.9 การยกเว้นเป็นการชั่วคราวเพิ่มเติมที่เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 6.9.1 ในขณะที่หรือเมื่อข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.8.4 ถึง 6.8.8 ยุติการถือปฏิบัติสําหรับความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.8.9 ถึง 6.8.13) กิจการต้องปรับปรุงการเลือก กําหนดที่เป็นทางการของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงตามที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ ในเอกสาร เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงมีความสอดคล้องกับข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.4.6 ถึง 5.4.8 ในบริบทนี้ การเลือกกําหนดการป้องกันความเสี่ยงต้องถูกปรับปรุง เพียงเพื่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในหนึ่งอย่างหรือมากกว่า ดังนี้ 6.9.1.1 การกําหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น ( ทั้งที่กําหนดหรือไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญา ) เป็นความเสี่ยงที่มีการป้องกัน 6.9.1.2 การปรับปรุงคําอธิบายของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง รวมถึงคําอธิบายของ ส่วนของกระแสเงินสดที่ถูกเลือกกําหนดหรือมูลค่ายุติธรรมที่มีการป้องกัน ความเสี่ยง หรือ 6.9.1.3 การปรับปรุงคําอธิบายของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง 6.9.2 กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.9.1.3 ในกรณีที่เข้าเงื่อนไขทั้งสามข้อ ดังต่อไปนี้ 6.9.2.1 กิจการทําการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยใช้วิธีอื่น ที่นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาของ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 5.4.6) 6.9.2.2 เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเดิมไม่ได้ถูกเลิกรับรู้รายการ และ 6.9.2.3 วิธีการที่เลือกมีความเทียบเท่าในเชิงเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ ในการกําหนดกระแสเงินสดตามสัญญาของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเดิม ( ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 5.4.7 และ 5.4.8) 6.9.3 ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.8.4 ถึง 6.8.8 อาจยุติการถือปฏิบัติในเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.9.1 กิจการอาจปรับปรุงการเลือกกําหนดที่เป็นทางการของ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงในเวลาที่แตกต่างกันหรืออาจปรับปรุงการเลือกกําหนด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 57 ที่เป็นทางการของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงมากกว่าหนึ่งครั้ง โดยเมื่อมี การเปลี่ยนแปลงในการเลือกกําหนดของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้อง ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.9.7 ถึง 6.9.12 ตามความเหมาะสม กิจการต้องถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 6.5.8 ( สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม ) หรือย่อหน้าที่ 6.5.11 ( สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ) สําหรับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงหรือเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง 6.9.4 กิจการต้องปรับปรุงความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.9.1 ภายในวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานที่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เกิดขึ้นกับความเสี่ยงที่มีการป้องกัน รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง หรือเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน การแก้ไขเพิ่มเติมการเลือกกําหนดที่เป็นทางการใน ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยงหรือการเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงใหม่ 6.9.5 หากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ย อ้างอิงในสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่ถูกเลือกกําหนดในความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยง ( ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 5.4.6 ถึง 5.4.8) หรือในการเลือกกําหนด ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง ( ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 6.9.1) กิจการต้องปฏิบัติตาม ข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นอันดับแรกตามความเหมาะสมในการ พิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมส่งผลทําให้เกิดการยกเลิกการใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยง หรือไม่ โดยหากการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมดังกล่าวไม่ส่งผลทําให้เกิดการยกเลิกการใช้การบัญชี ป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องปรับปรุงการเลือกกําหนดที่เป็นทางการของความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 6.9.1 6.9.6 ย่อหน้าที่ 6.9.7 ถึง 6.9.13 ให้ข้อยกเว้นสําหรับข้อกําหนดที่ระบุในย่อหน้าเหล่านี้เท่านั้น กิจการ ต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดอื่นของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ รวมถึงการเข้าเงื่อนไขการบัญชีป้องกันความเสี่ยงในย่อหน้าที่ 6.4.1 ต่อความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปฏิรูปอัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิง การบัญชีสําหรับความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไข การป ้ องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด 6.9.7 เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.5.11 เมื่อกิจการปรับปรุงคําอธิบายของ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.9.1.2 จํานวนเงินที่สะสมไว้อยู่ใน สํารองการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดต้องถือว่าอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นซึ่งใช้ ในการพิจารณากระแสเงินสดในอนาคตที่มีการป้องกันความเสี่ยง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 58 6.9.8 สําหรับการสิ้นสุดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง เมื่ออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของ กระแสเงินสดในอนาคตที่มีการป้องกันความเสี่ยงซึ่งเคยถูกพิจารณามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.5.12 ในการพิจารณาว่ากระแสเงินสดในอนาคตที่มีการป้องกันความเสี่ยงคาดว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ จํานวนเงินที่สะสมไว้อยู่ในสํารองการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดสําหรับความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงต้องถือว่าอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นซึ่งจะใช้ในการพิจารณา กระแสเงินสดในอนาคตที่มีการป้องกันความเสี่ยง กลุ่มของรายการ 6.9.9 เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.9.1 สําหรับกลุ่มของรายการที่ถูกเลือกกําหนดให้เป็น รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในการป้องกันความเสี่ยงมูลค่ายุติธรรมหรือกระแสเงินสด กิจการต้องปันส่วนรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง เป็นกลุ่มย่อยโดยใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ มีการป้องกันความเสี่ยง และต้องกําหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเป็นความเสี่ยงที่มีการป้องกัน สําหรับแต่ละกลุ่มย่อย ตัวอย่างเช่น ในความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่กลุ่มของ รายการได้รับการป้องกันความเสี่ยงสําหรับการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ตามการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง กระแสเงินสดหรือมูลค่ายุติธรรมที่ได้รับการป้องกัน ของบางรายการในกลุ่ม สามารถเปลี่ยนแปลงไปอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นก่อนที่รายการอื่น ในกลุ่มจะเปลี่ยนแปลง ตามตัวอย่างนี้ ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.9.1 กิจการจะเลือก กําหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นเป็นความเสี่ยงที่มีการป้องกันสําหรับกลุ่มย่อยของรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กิจการยังคงเลือกกําหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงปัจจุบันเป็น ความเสี่ยงที่มีการป้องกันสําหรับกลุ่มย่อยอื่นของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง จนกว่า กระแสเงินสดหรือมูลค่ายุติธรรมที่มีการป้องกันความเสี่ยงของรายการเหล่านั้นมีการ เปลี่ยนแปลงไปอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น หรือรายการหมดอายุและได้รับการแทนที่โดย รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงซึ่งอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น 6.9.10 กิจการต้องประเมินแยกต่างหากว่าแต่ละกลุ่มย่อยเข้าข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 6.6.1 ที่สามารถ ถือเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงได้หรือไม่ ในกรณีที่กลุ่มย่อยกลุ่มใดไม่เข้าข้อกําหนด ตามย่อหน้าที่ 6.6.1 กิจการต้องยกเลิกการใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงโดยทันทีเป็นต้นไป สําหรับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงโดยรวมทั้งหมด กิจการต้องถือปฏิบัติตาม ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.5.8 และ 6.5.11 สําหรับความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกัน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงโดยรวมทั้งหมด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 59 การเลือกกําหนดส่วนประกอบความเสี่ยง 6.9.11 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นซึ่งถูกเลือกกําหนดเป็นส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้กําหนดอยู่ ในสัญญาซึ่งไม่สามารถระบุแยกต่างหากได้ ( ดูย่อหน้าที่ 6.3.7.1 และ ข 6.3.8) ณ วันที่ที่เลือก กําหนดจะถือว่าเข้าข้อกําหนดในวันนั้น ก็ต่อเมื่อกิจการคาดได้อย่างสมเหตุสมผลว่าอัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นจะสามารถระบุแยกต่างหากได้ภายใน 24 เดือน โดยระยะเวลา 24 เดือน จะถือปฏิบัติกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นแต่ละอัตราแยกต่างหาก และเริ่มต้นจากวันที่ที่กิจการ เลือกกําหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นเป็นส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญา เป็นครั้งแรก ( นั่นคือ ระยะเวลา 24 เดือนจะถือปฏิบัติกับแต่ละอัตรา ) 6.9.12 หากในภายหลัง กิจการคาดได้อย่างสมเหตุสมผลว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นไม่สามารถระบุแยก ต่างหากได้ภายใน 24 เดือนนับจากวันที่ที่กิจการเลือกกําหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น เป็นส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญาเป็นครั้งแรก กิจการต้องยุติ การถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.9.11 สําหรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นนั้นและยกเลิก การใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงโดยทันทีเป็นต้นไป นับจากวันที่มีการประเมินใหม่สําหรับ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดซึ่งอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นถูกเลือกกําหนดเป็น ส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญา 6.9.13 นอกเหนือจากความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่ระบุในย่อหน้าที่ 6.9.1 กิจการต้อง ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.9.11 และ 6.9.12 สําหรับความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยงใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นถูกเลือกกําหนดเป็นส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้ กําหนดอยู่ในสัญญา ( ดูย่อหน้าที่ 6.3.7.1 และ ข 6.3.8) เมื่อส่วนประกอบความเสี่ยงดังกล่าว ไม่สามารถระบุแยกต่างหากได้ ณ วันที่ที่เลือกกําหนด เนื่องจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บทที่ 7 วันถือปฏิบัติ และการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 7.1 วันถือปฏิบัติ 7.1.1 กิจการต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับ รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาต ให้ถือปฏิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้สําหรับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือ หลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไปเท่านั้น หากกิจการเลือกถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงและ ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดทั้งหมดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในเวลาเดียวกัน ( ดูย่อหน้าที่ 7.1.2 7.2.21 และ 7.3.2) หากกิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มาถือปฏิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้กับ งบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 60 กิจการต้องถือปฏิบัติพร้อมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผย ข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือ ทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง การป้องกันความเสี่ยง ของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 19 เรื่อง การชําระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน 7.1.2 นอกจากข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 7.1.1 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 กิจการอาจเลือกถือปฏิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้เฉพาะข้อกําหนดสําหรับการนําเสนอ ผลกําไรและขาดทุนจากหนี้สินทางการเงินที่เลือกกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุน ตามย่อหน้าที่ 5.7.1.3 5.7.7 ถึง 5.7.9 7.2.14 และย่อหน้าที่ ข 5.7.5 ถึง ข 5.7.20 โดยไม่ต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดอื่นๆ ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ หากกิจการเลือกที่จะปฏิบัติเฉพาะย่อหน้าเหล่านั้น กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงและ ให้การเปิดเผยที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 10 ถึง 11 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน ( ดูย่อหน้าที่ 7.2.2 และ 7.2.15) อย่างต่อเนื่อง 7.1.3 กิจการต้องถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 4.2.1 และ 5.7.5 กับการรวมธุรกิจตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 โดยทันที เป็นต้นไป 7.1.4 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 7.1.5 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อย่อหน้าที่ 2.1 5.5.15 ข 4.3.8 ข 5.5.34 และ ข 5.5.46 กิจการต้องปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 7.1.6 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 2.1 ข 2.1 ข 2.4 ข 2.5 และ ข 4.1.30 และเพิ่มย่อหน้าที่ 3.3.5 7.2.36 ถึง 7.2.42 กิจการต้องปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 7.1.7 การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การชําระเงินก่อนครบกําหนดที่ก่อให้เกิดการชดเชยติดลบ ทําให้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ย่อหน้าที่ 7.2.29 ถึง 7.2.34 และ ข 4.1.12 ก และแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกย่อหน้าที่ ข 4.1.11.2 และ ข 4.1.12.2 กิจการต้อง ปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติก่อนวันบังคับใช้ได้ หากกิจการถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง ดังกล่าว 7.1.8 การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงาน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 61 ทางการเงินฉบับนี้ โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 6.8 และแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7.2.26 กิจการต้องปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติก่อนวันบังคับใช้ได้ หากกิจการถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง ดังกล่าวด้วย 7.1.9 การปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินหลายฉบับ ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับนี้ โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 7.2.35 และ ข 3.3.6 ก และแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ ข 3.3.6 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลารายงาน ประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2566 ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวัน บังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับ ใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว 7.1.10 การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ระยะที่ 2 มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 5.4.5 ถึง 5.4.9 6.8.13 ส่วนที่ 6.9 และย่อหน้าที่ 7.2.43 ถึง 7.2.46 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้สําหรับรอบระยะเวลาประจําปี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติก่อนวัน บังคับใช้ได้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวัน บังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 7.2 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 7.2.1 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้แบบปรับปรุงย้อนหลังตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด เว้นแต่ที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 7.2.4 ถึง 7.2.26 และ 7.2.28 และต้องไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้กับรายการที่ได้มีการเลิกรับรู้รายการแล้ว ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติ ตามมาตรฐาน 7.2.2 ตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านตามย่อหน้าที่ 7.2.1 7.2.3 ถึง 7.2.28 และ 7.3.2 วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน คือ วันที่กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นครั้งแรก และต้องเป็นวันแรกของรอบระยะเวลา รายงานภายหลังการประกาศถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ การปฏิบัติ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสามารถเกี่ยวข้องกับวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐานหนึ่งวันหรือ มากกว่าหนึ่งวันสําหรับข้อกําหนดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการที่กิจการเลือกถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 62 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านสําหรับการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า ( บทที่ 4 และ 5) 7.2.3 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการต้องประเมินว่าสินทรัพย์ทางการเงินเป็นไปตาม เงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.1.2.1 หรือ 4.1.2 ก .1 หรือไม่ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและ สภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันนั้น การจัดประเภทรายการที่เกิดขึ้นต้องถือปฏิบัติย้อนหลังโดยไม่ คํานึงถึงโมเดลธุรกิจของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้า 7.2.4 หาก ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ( ดังที่กําหนดไว้ใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8) เพื่อประเมินปรับปรุงองค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาตามย่อ หน้าที่ ข 4.1.9 ข ถึง ข 4.1.9 ง ตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ในการรับรู้รายการเมื่อ เริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องประเมินลักษณะกระแสเงินสดตามสัญญาของ สินทรัพย์ทางการเงินตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของ สินทรัพย์ทางการเงิน โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของมูลค่าเงินตามเวลาตามอหน้าที่ ข 4.1.9 ข ถึง ข 4.1.9 ง ( ดูย่อหน้าที่ 42 ต ของมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7) 7.2.5 หาก ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ( ดังที่กําหนดไว้ใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8) เพื่อประเมินมูลค่ายุติธรรมของการชําระเงินก่อนครบกําหนดว่ามี นัยสําคัญหรือไม่ตามย่อหน้าที่ ข 4.1.12.3 ตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ในการรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องประเมินลักษณะกระแสเงินสดตาม สัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ในการรับรู้รายการเมื่อ เริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงิน โดยไม่ต้องคํานึงถึงการชําระเงินก่อนครบกําหนดตามย่อหน้าที่ ข 4.1.12 ( ดูเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 42 ถ ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7) 7.2.6 หากกิจการวัดมูลค่าสัญญาแบบผสมด้วยมูลค่ายุติธรรมตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก 4.1.4 หรือ 4.1.5 แต่มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแบบผสมนั้นไม่สามารถวัดมูลค่าได้ในรอบระยะเวลา รายงานที่นํามาเปรียบเทียบ ต้องถือว่ามูลค่ายุติธรรมของสัญญาแบบผสมสําหรับรอบระยะเวลา รายงานที่นํามาเปรียบเทียบเท่ากับผลรวมของมูลค่ายุติธรรมของส่วนประกอบ ( เช่น สัญญาหลัก ที่ไม่ใช่อนุพันธ์และอนุพันธ์แฝง ) ณ วันสิ้นรอบของแต่ละรอบระยะเวลารายงานที่นํามาเปรียบเทียบ หากกิจการปรับข้อมูลรอบระยะเวลาก่อน ( ดูย่อหน้าที่ 7.2.15) 7.2.7 หากกิจการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 7.2.6 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการต้องรับรู้ ผลต่างของมูลค่ายุติธรรมทั้งหมดของสัญญาแบบผสม ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน และผลรวมของมูลค่ายุติธรรมของส่วนประกอบของสัญญาแบบผสม ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานในกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ ตามความ เหมาะสม ) ของรอบระยะเวลารายงานที่รวมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน 7.2.8 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการอาจเลือกกําหนดให้ 7.2.8.1 สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 4.1.5 หรือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 63 7.2.8.2 เงินลงทุนในตราสารทุนวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.5 การเลือกกําหนดดังกล่าวต้องมาจากพื้นฐานข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เริ่มต้น ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การจัดประเภทรายการต้องมีการปรับย้อนหลัง 7.2.9 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการ 7.2.9.1 ต้องยกเลิกการเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุนที่ได้เคยกําหนดไว้ในอดีต หากสินทรัพย์ทางการเงินนั้น ไม่เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.1.5 7.2.9.2 อาจเลือกที่จะยกเลิกการเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนที่ได้เคยกําหนดไว้ในอดีต แม้ว่าสินทรัพย์ทางการเงินนั้น เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.1.5 การยกเลิกการกําหนดการแสดงรายการดังกล่าวต้องมาจากพื้นฐานข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อม ที่มีอยู่ ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การจัดประเภทรายการต้องมีการปรับย้อนหลัง 7.2.10 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการ 7.2.10.1 อาจเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.2.2.1 7.2.10.2 ต้องยกเลิกการเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุนหากเคยเลือกกําหนดให้การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกเข้า เงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.2.2.1 และการเลือกกําหนดนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน 7.2.10.3 อาจเลือกที่จะยกเลิกการเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนหากเคยเลือกกําหนดให้การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.2.2.1 และการเลือกกําหนดนั้นเป็นไปตามเงื่อนไข ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การเลือกกําหนดและการยกเลิกต้องมาจากพื้นฐานข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่ เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การจัดประเภทรายการต้องมีการปรับย้อนหลัง 7.2.11 หากกิจการไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ในการปรับย้อนหลังตามวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง ( ตามที่ได้ นิยามไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8) กิจการต้องปฏิบัติดังนี้ 7.2.11.1 ให้ใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน หรือหนี้สินทางการเงิน ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลารายงานแต่ละรอบที่นํามาเปรียบเทียบเป็นมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหัก ของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น หรือเป็นราคาทุนตัดจําหน่ายของหนี้สินทางการเงิน ถ้ากิจการปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อน และ 7.2.11.2 ให้ใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่เริ่มต้น ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน เป็นมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักใหม่ของสินทรัพย์

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 64 ทางการเงินหรือเป็นราคาทุนตัดจําหน่ายใหม่ของหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่เริ่มต้น ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน 7.2.12 หากกิจการวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารทุนด้วยราคาทุนก่อนที่จะถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( เดิมถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ) สําหรับเงินลงทุนในตราสารทุนที่ ไม่มีราคาเสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องสําหรับตราสารที่เหมือนกัน ( กล่าวคือ ข้อมูล ระดับ 1) หรือสําหรับสินทรัพย์อนุพันธ์ และสินทรัพย์อนุพันธ์ที่มีความสัมพันธ์กับตราสารทุน และต้องมีการชําระหรือรับชําระโดยการส่งมอบตราสารทุนดังกล่าวที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุน หรือ วิธีใดนอกเหนือจากมูลค่ายุติธรรม หรือไม่เคยบันทึกบัญชี สําหรับอนุพันธ์ดังกล่าวที่มีอยู่ ณ วันแรกที่ถือปฎิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้องวัดมูลค่าเงินลงทุน หรือตราสารดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน ผลต่างระหว่าง มูลค่าตามบัญชีเดิมและมูลค่ายุติธรรมต้องรับรู้ในกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของ ส่วนของเจ้าของ ( ตามความเหมาะสม )) ของรอบระยะเวลารายงานที่รวมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติ ตามมาตรฐาน 7.2.13 หากกิจการวัดมูลค่าหนี้สินอนุพันธ์ หรือหนี้สินอนุพันธ์ที่มีความสัมพันธ์กับตราสารทุนและต้องมี การชําระโดยการส่งมอบตราสารทุนดังกล่าวที่ไม่มีราคาเสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่อง สําหรับตราสารที่เหมือนกัน ( กล่าวคือ ข้อมูลระดับ 1) ด้วยราคาทุน หรือวิธีใดนอกเหนือจาก มูลค่ายุติธรรม หรือไม่เคยบันทึกบัญชี สําหรับอนุพันธ์ดังกล่าวที่มีอยู่ ณ วันแรกที่ถือปฎิบัติ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้องวัดมูลค่าหนี้สินอนุพันธ์ดังกล่าวด้วย มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีเดิมและ มูลค่ายุติธรรมต้องรับรู้ในกําไรสะสมยกมาในรอบระยะเวลารายงานที่รวมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติ ตามมาตรฐาน 7.2.14 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อม ที่มีอยู่ ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐานครั้งแรกว่าวิธีการตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 5.7.7 จะก่อให้เกิดหรือขยายการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี ในกําไรหรือขาดทุนหรือไม่ หากทําให้เกิดหรือขยายการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี กิจการต้องนํามาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้มาถือปฏิบัติย้อนหลัง 7.2.14 ก ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการอาจเลือกกําหนดให้สัญญาที่มีอยู่ ณ วันดังกล่าว ตามย่อหน้าที่ 2.5 เฉพาะเมื่อกิจการเลือกกําหนดให้สัญญาที่คล้ายคลึงกันทุกสัญญา การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์สุทธิที่เกิดขึ้นจากการเลือกกําหนดดังกล่าวให้รับรู้ในกําไรสะสม ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน 7.2.15 ถึงแม้ว่าจะมีข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 7.2.1 กิจการที่ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดประเภทรายการ และการวัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ซึ่งรวมถึงข้อกําหนดที่เกี่ยวกับ การวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินและการด้อยค่าตามที่กล่าว ในหมวดที่ 5.4 และ 5.5) ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ฏ ถึง 42 ฒ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 65 ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 แต่ไม่จําเป็นต้องปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลา ก่อนย้อนหลัง กิจการอาจปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อนย้อนหลัง ก็ต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ โดยไม่ใช้ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว หากกิจการไม่ปรับปรุงรายการในรอบ ระยะเวลาก่อนย้อนหลัง กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีเดิมและมูลค่าตามบัญชี ณ ต้นงวดของรอบปีบัญชีที่รวมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน ในกําไรสะสมยกมา ( หรือ องค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ ( ตามความเหมาะสม )) ของรอบระยะเวลารายงานประจําปี ที่รวมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม หากกิจการปรับปรุงรายการในรอบ ระยะเวลาก่อนย้อนหลัง งบการเงินที่ปรับปรุงต้องสะท้อนข้อกําหนดทั้งหมดของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ หากวิธีการที่กิจการเลือกใช้ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ทําให้มีวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐานหลายวันสําหรับข้อกําหนดที่แตกต่างกัน ย่อหน้านี้ให้ถือปฏิบัติกับแต่ละวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน ( ดูย่อหน้าที่ 7.2.2) เช่น หากกิจการเลือกที่จะใช้เฉพาะข้อกําหนดสําหรับการแสดงผลกําไรและขาดทุนที่เกิดจาก หนี้สินทางการเงินที่เลือกกําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ตามย่อหน้าที่ 7.1.2 ก่อนที่จะใช้ข้อกําหนดอื่นๆ ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 7.2.16 หากกิจการจัดทํารายงานทางการเงินระหว่างกาลตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล กิจการไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับรอบระยะเวลาระหว่างกาลก่อนวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติ ตามมาตรฐาน หากกิจการไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ( ดังที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8) การด้อยค่า ( หมวดที่ 5.5) 7.2.17 กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการด้อยค่าในหมวดที่ 5.5 โดยปรับปรุงย้อนหลัง ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามย่อหน้าที่ 7.2.15 และ 7.2.18 ถึง 7.2.20 7.2.18 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน กิจการต้องใช้ข้อมูลสนับสนุนและสมเหตุสมผลที่สามารถ หาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไปที่จะกําหนดความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันที่ เครื่องมือทางการเงินมีการรับรู้เมื่อเริ่มแรก ( หรือ ณ วันที่กิจการเป็นคู่สัญญาที่ไม่สามารถ ยกเลิกสัญญาได้ สําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อและสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน ตามย่อหน้าที่ 5.5.6) และเปรียบเทียบความเสี่ยงข้างต้นกับความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติ ตามมาตรฐาน 7.2.19 เมื่อพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับจากวันที่รับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกหรือไม่ กิจการที่อาจปฏิบัติดังนี้ 7.2.19.1 ปฎิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.10 และย่อหน้าที่ ข 5.5.22 ถึง ข 5.5.24 และ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 66 7.2.19.2 ปฎิบัติตามข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งได้ตามย่อหน้าที่ 5.5.11 สําหรับ การค้างชําระการจ่ายเงินตามสัญญาเกินกว่า 30 วัน หากกิจการจะนําข้อกําหนด เกี่ยวกับการด้อยค่ามาถือปฏิบัติ โดยระบุว่ามีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิต อย่างมีนัยสําคัญตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของเครื่องมือทางการเงิน โดยอาศัยข้อมูลการค้างชําระเกินกําหนดเป็นเกณฑ์ 7.2.20 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐาน หากการพิจารณาว่ามีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยง ด้านเครดิตอย่างมีนัยสําคัญตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ จะใช้ต้นทุนหรือ ความพยายามที่มากเกินไป กิจการต้องรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุนด้วยจํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ณ แต่ละวันที่รายงานจนกว่าเครื่องมือทางการเงิน ดังกล่าวถูกเลิกรับรู้รายการ ( เว้นแต่เครื่องมือทางการเงินนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่า ณ วันที่ รายงาน ให้ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 7.2.19.1) การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านสําหรับการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง ( บทที่ 6) 7.2.21 เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นครั้งแรก สําหรับการบริหาร ความเสี่ยงแบบพลวัต (dynamic risk management) กิจการอาจถือปฏิบัติตามแนวทางที่ปฏิบัติ อยู่ต่อไปหรือแนวทางปฏิบัติอื่นแทนข้อกําหนดในบทที่ 6 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้ โดยต้องปฏิบัติกับความสัมพันธ์ของการบริหารความเสี่ยงแบบพลวัตทั้งหมด โดยทั่วไป การบริหารความเสี่ยงแบบพลวัตได้ (dynamic risk management) จะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 7.2.21.1 เป็นการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ทางการเงินที่ฐานะเปิดต่อความเสี่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (open portfolio) โดยมีการเพิ่มขึ้นของฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงใหม่ๆ อย่างสมํ่าเสมอ และฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่มีอยู่นั้นได้หมดไป และ 7.2.21.2 เมื่อรูปแบบของความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ทางการเงินนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป การบริหารความเสี่ยงก็จะถูกปรับเปลี่ยนอย่างสมํ่าเสมอเพื่อตอบสนองต่อฐานะ ความเสี่ยงสุทธิที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ การบริหารความเสี่ยงแบบพลวัต (dynamic risk management) อาจมีลักษณะ บางประการดังต่อไปนี้ 7.2.21.3 สําหรับการบริหารความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษารายได้ ดอกเบี้ยสุทธิจากกลุ่มสินทรัพย์ทางการเงินที่ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงมีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (open portfolio) ให้อยู่ในช่วงเป้าหมายที่กําหนดไว้ ซึ่งผันแปรไปตามอัตราดอกเบี้ยตลาด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 67 7.2.21.4 การบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่อาจนํามาใช้กับกลุ่มสินทรัพย์ทางการเงิน ที่ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (open portfolio) ที่มีฐานะ เปิดต่อความเสี่ยงที่อ้างอิงจากประมาณการของปริมาณ และ / หรือ ช่วงเวลาของ กระแสเงินสด ( ตัวอย่างเช่น ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่อ้างอิงกับพฤติกรรม ) 7.2.21.5 กลุ่มสินทรัพย์ทางการเงินที่บริหารจัดการนั้นมีเพียงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากฐานะ เปิดต่อความเสี่ยงจากแหล่งภายนอกกิจการเท่านั้น 7.2.22 กิจการต้องถือปฏิบัติข้อกําหนดของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้แบบเปลี่ยนทันที เว้นแต่ที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 7.2.26 7.2.23 ในการถือปฏิบัติตามการบัญชีป้องกันความเสี่ยงนับจากวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐานตาม ข้อกําหนดของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ เงื่อนไข ทั้งหมดต้องเข้าเงื่อนไขการบัญชีป้องกันความเสี่ยง ณ วันดังกล่าว 7.2.24 ในกรณีที่กิจการมีการป้องกันความเสี่ยงก่อนวันที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้เป็นครั้งแรก และการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขของ การบัญชีป้องกันความเสี่ยงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ดูย่อหน้าที่ 6.4.1) หลังจากที่คํานึงถึงการปรับสมดุลของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงในช่วง การเปลี่ยนผ่านแล้ว ( ดูย่อหน้าที่ 7.2.25.2) กิจการสามารถใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยง ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต่อไปได้ 7.2.25 ณ วันแรกที่ถือปฏิบัติตามการบัญชีป้องกันความเสี่ยงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 7.2.25.1 กิจการอาจเริ่มใช้ข้อกําหนดของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ในเวลาเดียวกับที่กิจการยุติการปฏิบัติตามข้อกําหนด การบัญชีป้องกันความเสี่ยงที่ใช้อยู่เดิม และ 7.2.25.2 กิจการต้องพิจารณาอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงตามข้อกําหนดการบัญชี ป้องกันความเสี่ยงที่ใช้อยู่เดิมเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับสมดุลอัตราส่วนการป้องกัน ความเสี่ยงของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ ( ถ้าสามารถ ปฏิบัติได้ ) ผลกําไรหรือขาดทุนจากการปรับสมดุลดังกล่าวต้องรับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุน 7.2.26 นอกเหนือจากการถือปฏิบัติแบบเปลี่ยนทันทีเกี่ยวกับการบัญชีป้องกันความเสี่ยงตามที่กําหนด ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 7.2.26.1 กิจการต้องนําการบัญชีสําหรับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกย่อหน้าที่ 6.5.15 มาถือปฏิบัติแบบปรับย้อนหลัง หากตามแนวทางที่ใช้อยู่เดิม เฉพาะเมื่อการเปลี่ยนแปลง ของมูลค่าที่แท้จริงของสิทธิเลือกมีการเลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงในความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง การปรับย้อนหลังให้ ถือปฏิบัติเฉพาะกับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่มีอยู่ ณ วันเริ่มต้นของ รอบระยะเวลาบัญชีที่นํามาเปรียบเทียบแรกสุดหรือเมื่อมีการเลือกกําหนดภายหลัง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 68 7.2.26.2 กิจการอาจนําการบัญชีสําหรับองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ด ตามย่อหน้าที่ 6.5.16 มาถือปฏิบัติแบบปรับย้อนหลัง หากตามแนวทางที่ใช้อยู่เดิม เฉพาะเมื่อการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบราคาปัจจุบันของสัญญาฟอร์เวิร์ด มีการเลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยง การปรับย้อนหลังให้ถือปฏิบัติเฉพาะกับความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงที่มีอยู่ ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาบัญชีที่นํามา เปรียบเทียบแรกสุดหรือเมื่อมีการเลือกกําหนดภายหลัง นอกจากนี้ หากกิจการเลือก ปรับย้อนหลังสําหรับการบัญชีดังกล่าว การปรับย้อนหลังนี้ต้องถือปฏิบัติกับ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการเลือก ดังกล่าว ( เช่น การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ไม่มีทางเลือกข้างต้นสําหรับปฏิบัติเป็น รายความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงได้ การบัญชีสําหรับส่วนต่างอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.16) อาจถือปฏิบัติโดยปรับย้อนหลัง สําหรับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงซึ่งมีอยู่ ณ วันเริ่มต้นของ รอบระยะเวลาบัญชีที่นํามาเปรียบเทียบแรกสุดหรือเมื่อมีการเลือกกําหนดภายหลัง 7.2.26.3 กิจการต้องถือปฏิบัติแบบย้อนหลังสําหรับข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 6.5.6 ที่ว่า เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงไม่ถือว่าหมดอายุหรือยกเลิก หาก มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 7.2.26.3.1 ผลทางกฎหมายหรือข้อบังคับ หรือผลจากการออกกฎหมายหรือ ข้อบังคับทําให้คู่สัญญาของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงตกลงกัน ให้คู่สัญญาหักบัญชีไม่ว่าจะหนึ่งรายหรือหลายรายเข้ามาเป็นคู่สัญญา ใหม่ของแต่ละฝ่ายแทนที่คู่สัญญาเดิม และ 7.2.26.3.2 การเปลี่ยนแปลงอื่น ( ถ้ามี ) ในเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ให้จํากัดเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อทําให้เกิดการทดแทนคู่สัญญาดังกล่าว 7.2.26.4 กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในส่วนที่ 6.8 แบบปรับย้อนหลัง การปรับ ย้อนหลังให้ปฏิบัติเมื่อความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้นคงอยู่ ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานที่กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวเป็น ครั้งแรกหรือเมื่อมีการเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง หลังจากนั้น และถือปฏิบัติกับจํานวนเงินที่สะสมอยู่ในบัญชีสํารองสําหรับ การป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดที่คงอยู่ ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลา รายงานที่กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวเป็นครั้งแรก 7.2.27 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 7.2.28 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 69 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านสําหรับการจ่ายชําระก่อนครบกําหนดที่ก่อให้เกิดการชดเชย ติดลบ 7.2.29 กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระเงินก่อนครบกําหนดที่ก่อให้เกิดการชดเชย ติดลบ ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) โดยการปรับปรุงย้อนหลัง ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ยกเว้นที่มีการระบุไว้ในย่อหน้าที่ 7.2.30 ถึง 7.2.34 7.2.30 กิจการที่ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวในวันเดียวกันกับวันที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นครั้งแรก กิจการต้องถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 7.2.1 ถึง 7.2.28 แทนย่อหน้าที่ 7.2.31 ถึง 7.2.34 7.2.31 กิจการที่ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวภายหลังวันที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นครั้งแรก ต้องถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 7.2.32 ถึง 7.2.34 รวมถึงปฏิบัติตามข้อกําหนดสําหรับการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านข้ออื่นที่จําเป็นเพื่อการปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตาม มาตรฐานควรเป็นวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานที่กิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวเป็นครั้งแรก ( วันที่เริ่มต้นใช้การแก้ไขเพิ่มเติม ) 7.2.32 ในการกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุน กิจการ 7.2.32.1 ต้องยกเลิกการกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุนหากกิจการเคยกําหนดให้จัดประเภทเช่นนั้นในอดีตตามเงื่อนไขตาม ย่อหน้าที่ 4.1.5 แต่การถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ส่งผลให้ไม่เป็นไปตาม เงื่อนไขดังกล่าวอีกต่อไป 7.2.32.2 อาจเลือกที่จะกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุนหากในอดีตไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการรับรู้ตามย่อหน้าที่ 4.1.5 แต่การถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ส่งผลให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว 7.2.32.3 ต้องยกเลิกการกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุนหากกิจการเคยกําหนดให้จัดประเภทเช่นนั้นในอดีตตามเงื่อนไข ตามย่อหน้าที่ 4.2.2.1 แต่การถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ส่งผลให้ไม่เป็นไป ตามเงื่อนไขดังกล่าวอีกต่อไป 7.2.32.4 อาจเลือกที่จะกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุนหากในอดีตไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการรับรู้ตามย่อหน้าที่ 4.2.2.1 แต่การถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ส่งผลให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว การกําหนดหรือการยกเลิกการกําหนดการจัดประเภทดังกล่าวต้องยึดข้อเท็จจริงและ สภาพแวดล้อมที่มีอยู่จริง ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ การจัดประเภท ดังกล่าวจะต้องทําการปรับปรุงย้อนหลัง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 70 7.2.33 กิจการไม่ถูกกําหนดให้ต้องปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อนเพื่อให้สะท้อนการปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว กิจการอาจปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อนเฉพาะเมื่อมี ความเป็นไปได้โดยไม่ใช้ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว และงบการเงินรอบระยะเวลา ก่อนที่ปรับปรุงแล้วสะท้อนข้อกําหนดทั้งหมดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ หากกิจการไม่ปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อน กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่าตาม บัญชีเดิมและมูลค่าตามบัญชี ณ เริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่ครอบคลุมวันที่ เริ่มต้นใช้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวในกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของ เจ้าของ ( ตามความเหมาะสม )) ของรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่ครอบคลุมวันที่เริ่มต้น ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ 7.2.34 ในรอบระยะเวลารายงานที่ครอบคลุมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สิน ทางการเงินแต่ละประเภทที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว 7.2.34.1 ประเภทของการวัดมูลค่าที่เคยจัดไว้ในอดีต และมูลค่าตามบัญชีที่กําหนดทันที ก่อนการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม 7.2.34.2 ประเภทของการวัดมูลค่าใหม่ และมูลค่าตามบัญชีที่กําหนดหลังจากการถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติม 7.2.34.3 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงิน และหนี้สินทางการเงินในงบฐานะทาง การเงินที่เคยกําหนดให้วัดมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนในอดีต แต่ไม่ได้ กําหนดตามเดิมอีกต่อไป และ 7.2.34.4 เหตุผลของการกําหนด หรือยกเลิกการกําหนดสินทรัพย์ทางการเงิน หรือหนี้สิน ทางการเงินให้วัดมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านสําหรับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้ในปี 2565 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามการปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ระหว่างประเทศประจําปี 2561 ถึง 2563 7.2.35 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับหนี้สิน ทางการเงินที่มีการปรับแต่งหรือมีการแลกเปลี่ยนในหรือหลังวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลา รายงานประจําปีที่กิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นครั้งแรก การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านสําหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 7.2.36 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ซึ่งเกิดจากการมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 โดยวิธีปรับย้อนหลังตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8 เว้นแต่ที่ได้ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 7.2.37 ถึง 7.2.42

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 71 7.2.37 กิจการที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เป็นครั้งแรกในเวลาเดียวกัน กับการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นครั้งแรก กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามย่อหน้าที่ 7.2.1 ถึง 7.2.28 แทนย่อหน้าที่ 7.2.38 ถึง 7.2.42 7.2.38 กิจการที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เป็นครั้งแรกภายหลังการถือ ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นครั้งแรก กิจการต้องถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 7.2.39 ถึง 7.2.42 นอกจากนี้ กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการปฏิบัติในช่วง เปลี่ยนผ่านอื่นของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ที่จําเป็นสําหรับการถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวด้วย เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว การอ้างถึงวันที่เริ่มต้น ถือปฏิบัติตามมาตรฐานนั้นต้องหมายถึงวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาบัญชีที่กิจการถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นครั้งแรก ( วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าว ) 7.2.39 ในการเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน กิจการ 7.2.39.1 ต้องยกเลิกการเลือกกําหนดที่ได้เลือกไว้ก่อนหน้าของหนี้สินทางการเงินวัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน หากการเลือกกําหนดที่ได้เลือกไว้ก่อนหน้านั้น รับรู้ตามเงื่อนไขของย่อหน้าที่ 4.2.2.1 แต่การถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ส่งผลให้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวอีกต่อไป 7.2.39.2 อาจเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน หากการเลือกกําหนดก่อนหน้านั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการรับรู้ตาม ย่อหน้าที่ 4.2.2.1 แต่การถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ส่งผลให้เป็นไปตาม เงื่อนไขดังกล่าว การเลือกกําหนดหรือการยกเลิกการเลือกกําหนดดังกล่าวต้องยึดข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อม ที่มีอยู่จริง ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว การจัดประเภทดังกล่าวต้อง ถือปฏิบัติโดยวิธีปรับย้อนหลัง 7.2.40 กิจการไม่ถูกกําหนดให้ปรับย้อนหลังสําหรับรอบระยะเวลาก่อนๆ เพื่อสะท้อนการปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว กิจการอาจปรับย้อนหลังสําหรับรอบระยะเวลาก่อนๆ ก็ต่อเมื่อ สามารถทําได้โดยไม่ใช้ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว หากกิจการปรับย้อนหลังสําหรับ รอบระยะเวลาก่อนๆ งบการเงินที่ปรับย้อนหลังต้องสะท้อนข้อกําหนดทุกประการของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่ได้รับผลกระทบ กรณีที่กิจการ ไม่ปรับย้อนหลังสําหรับรอบระยะเวลาก่อนๆ กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีก่อน หน้าและมูลค่าตามบัญชี ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปีซึ่งรวมวันที่เริ่มต้นถือ ปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวในกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของ เจ้าของ ตามความเหมาะสม ) ของรอบระยะเวลารายงานประจําปีซึ่งรวมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 72 7.2.41 ในรอบระยะเวลารายงานซึ่งรวมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว กิจการ ไม่ถูกกําหนดให้แสดงข้อมูลเชิงปริมาณตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 28.6 ของมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8 7.2.42 ในรอบระยะเวลารายงานซึ่งรวมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐานสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินและ หนี้สินทางการเงินแต่ละประเภทที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว 7.2.42.1 การจัดประเภทรายการก่อนหน้า รวมถึงประเภทของการวัดมูลค่าก่อนหน้า เมื่อเข้าเกณฑ์ และมูลค่าตามบัญชีที่กําหนดทันทีก่อนการถือปฏิบัติตามการแก้ไข เพิ่มเติมดังกล่าว 7.2.42.2 ประเภทของการวัดมูลค่าแบบใหม่ และมูลค่าตามบัญชีที่กําหนดหลังจากการถือ ปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว 7.2.42.3 มูลค่าตามบัญชีของหนี้สินทางการเงินใดๆ ในงบฐานะการเงินที่ได้เลือกกําหนดไว้ ก่อนหน้าให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ซึ่งไม่ได้เลือก กําหนดให้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป และ 7.2.42.4 เหตุผลในการเลือกกําหนดหรือการเลิกการเลือกกําหนดของหนี้สินทางการเงินที่ได้ วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านสําหรับการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ระยะที่ 2 7.2.43 กิจการต้องปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ระยะที่ 2 แบบปรับปรุงย้อนหลังตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 8 ยกเว้นที่มีการระบุไว้ในย่อหน้าที่ 7.2.44 ถึง 7.2.46 7.2.44 กิจการต้องเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงใหม่ ( ตัวอย่างเช่น ตามที่ระบุ ในย่อหน้าที่ 6.9.13) โดยทันทีเป็นต้นไปเท่านั้น ( นั่นคือ ไม่ให้กิจการเลือกกําหนดความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงใหม่ในรอบระยะเวลาก่อน ) อย่างไรก็ตาม กิจการต้องคืนสถานะ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่สิ้นสุดไปแล้ว ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขครบทุกข้อ ดังต่อไปนี้ 7.2.44.1 กิจการได้ยุติความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง และกิจการจะไม่ถูกกําหนดให้ต้องยุติ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง ถ้าการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ถือปฏิบัติในเวลานั้น และ 7.2.44.2 ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานซึ่งกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นครั้งแรก ( วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ) ความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงที่สิ้นสุดลงนั้น เข้าเงื่อนไขการบัญชีป้องกันความเสี่ยง ( หลังจากพิจารณารวมการแก้ไขเพิ่มเติมนี้แล้ว )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 73 7.2.45 ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 7.2.44 หากกิจการคืนสถานะความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยงที่สิ้นสุดไปแล้ว กิจการต้องอ้างอิงตามย่อหน้าที่ 6.9.11 และ 6.9.12 จนถึงวันที่ อัตราอ้างอิงอื่นถูกเลือกกําหนดให้เป็นส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้กําหนดอยู่ในสัญญา เป็นครั้งแรกตามที่ได้อ้างอิงกับวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ( เช่น ระยะเวลา 24 เดือนสําหรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นที่ถูกเลือกกําหนดเป็นส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้ กําหนดอยู่ในสัญญาเริ่มต้นจากวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ) 7.2.46 กิจการไม่ถูกกําหนดให้ต้องปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อน เพื่อสะท้อนการปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว กิจการอาจปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อนก็ต่อเมื่อมี ความเป็นไปได้โดยไม่ใช้ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว หากกิจการไม่ปรับปรุงรายการ ในรอบระยะเวลาก่อน กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีเดิมและมูลค่าตามบัญชี ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่ครอบคลุมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไข เพิ่มเติมดังกล่าว ในกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ ตามความเหมาะสม ) ของรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่ครอบคลุมวันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าว 7.3 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 7.3.1 ( ย่อหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง ) 7.3.2 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 74 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผลขาดทุนด้านเครดิตที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า สัดส่วนของ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ซึ่งเป็น ผลขาดทุนด้านเครดิต จากเหตุการณ์ปฏิบัติผิดสัญญาของเครื่องมือทางการเงิน ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นภายใน 12 เดือนหลังจากวันที่รายงาน ราคาทุนตัดจําหน่าย ของสินทรัพย์ทาง การเงินหรือหนี้สิน ทางการเงิน มูลค่าของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่รับรู้รายการเมื่อ เริ่มแรก หักด้วยการจ่ายชําระคืนเงินต้น บวกหรือหักค่าตัดจําหน่ายสะสมที่ คํานวณโดยใช้ วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง ซึ่งเกิดจากผลต่างระหว่างมูลค่าที่รับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรกและมูลค่า ณ วันที่ครบกําหนด และปรับปรุงด้วย ค่าเผื่อ ผลขาดทุน สําหรับกรณีของสินทรัพย์ทางการเงิน สินทรัพย์ที่เกิดจาก สัญญา สิทธิเรียกร้องที่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จาก สัญญาที่ทํากับลูกค้า กําหนดให้ปฏิบัติตามเกณฑ์การรับรู้และการวัดมูลค่า ผลกําไรหรือขาดทุนจากการด้อยค่าของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ สินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีการด้อยค่าด้าน เครดิต สินทรัพย์ทางการเงินมีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์ หนึ่งหรือหลายเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดผลกระทบต่อประมาณการกระแสเงินสด ในอนาคตของสินทรัพย์ทางการเงิน โดยหลักฐานที่แสดงว่าสินทรัพย์ทางการเงิน มีการด้อยค่าด้านเครดิตครอบคลุมถึงข้อมูลที่สังเกตได้จากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ( ก ) การประสบปัญหาทางการเงินอย่างมีนัยสําคัญของผู้ออกหรือผู้กู้ ( ข ) การละเมิดสัญญา เช่น การปฏิบัติผิดสัญญาหรือ การค้างชําระเกิน กําหนด ( ค ) ผู้ให้กู้ผ่อนปรนเงื่อนไขแก่ผู้กู้ที่มีปัญหาทางการเงินเนื่องจากเศรษฐกิจ หรือเงื่อนไขตามสัญญา ซึ่งผู้ให้กู้จะไม่พิจารณาผ่อนปรนให้ในกรณีอื่นๆ ( ง ) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ผู้กู้จะล้มละลายหรือปรับโครงสร้าง ทางการเงิน ( จ ) การล่มสลายของตลาดซื้อขายคล่องของสินทรัพย์ทางการเงินเนื่องจาก ประสบปัญหาทางการเงิน หรือ ( ฉ ) การซื้อหรือการได้มาซึ่งสินทรัพย์ทางการเงินด้วยราคาที่มีส่วนลด จํานวนมากซึ่งสะท้อนถึง ผลขาดทุนด้านเครดิต ที่เกิดขึ้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 75 ใ นบางครั้งอาจไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นผลจากเหตุการณ์ใดที่ส่งผลให้ สินทรัพย์มีการด้อยค่าด้านเครดิต แต่อาจเกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์ หลายเหตุการณ์รวมกัน ผลขาดทุนด้านเครดิต ผลต่างระหว่างกระแสเงินสดตามสัญญาทั้งหมดซึ่งกิจการต้องได้รับและ กระแสเงินสดทั้งหมดซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับ ( นั่นคือ จํานวนเงินที่คาดว่า จะไม่ได้รับทั้งหมด ) คิดลดด้วย อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เมื่อเริ่มแรก ( หรือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต สําหรับ สินทรัพย์ ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด ) กิจการต้อง ประมาณกระแสเงินสดโดยพิจารณาถึงเงื่อนไขตามสัญญาทั้งหมดของ เครื่องมือทางการเงิน ( ตัวอย่างเช่น การชําระเงินก่อนครบกําหนด การขยาย ระยะเวลา สิทธิเลือกที่จะซื้อ และสิทธิเลือกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ) ตลอดอายุของเครื่องมือทางการเงินที่คาดไว้นั้น กระแสเงินสดที่พิจารณาต้อง รวมถึงกระแสเงินสดที่ได้มาจากการขายหลักประกันที่ถือไว้หรือส่วนปรับปรุง ด้านเครดิตอื่นๆ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขตามสัญญา โดยมีข้อสันนิษฐาน ว่าอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือทางการเงินสามารถประมาณการได้อย่างน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่สามารถประมาณการอายุของเครื่องมือทางการเงิน ได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องใช้อายุคงเหลือตามสัญญาของเครื่องมือ ทางการเงิน ซึ่งกรณีดังกล่าวยากที่จะเกิดขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ปรับด้วยความเสี่ยง ด้านเครดิต อัตราที่ใช้ในการคิดลดประมาณการเงินสดจ่ายหรือรับในอนาคตตลอดอายุ ของสินทรัพย์ทางการเงินที่คาดไว้ เพื่อให้ได้ ราคาทุนตัดจําหน่ายของ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด ในการคํานวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต กิจการ ต้องประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับโดยพิจารณาเงื่อนไขของ สัญญาทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงิน ( ตัวอย่างเช่น การชําระเงินก่อนครบ กําหนด การขยายระยะเวลา สิทธิเลือกที่จะซื้อ และสิทธิเลือกที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน ) และ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยการคํานวณ ให้รวมถึงค่าธรรมเนียมและต้นทุนในการรับและจ่ายทั้งหมดระหว่างคู่สัญญา ตามสัญญา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.4.1 ถึง ข 5.4.3) ต้นทุนการทํารายการ และส่วนเกินมูลค่าหรือส่วนลดมูลค่าอื่นๆ ทั้งหมด โดยมีข้อสันนิษฐานว่ากระแสเงินสดและอายุที่คาดไว้ของกลุ่มของ เครื่องมือทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันสามารถประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่สามารถประมาณกระแสเงินสดหรืออายุคงเหลือของ เครื่องมือทางการเงิน ( หรือกลุ่มของเครื่องมือทางการเงิน ) ได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องใช้กระแสเงินสดตามสัญญาตลอดอายุสัญญาของเครื่องมือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 76 ทางการเงินนั้น ( หรือกลุ่มของเครื่องมือทางการเงินนั้น ) ซึ่งกรณีดังกล่าวยาก จะเกิดขึ้น การเลิกรับรู้รายการ การตัดรายการสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่ได้เคยรับรู้ ออกจากงบฐานะการเงินของกิจการ อนุพันธ์ เครื่องมือทางการเงินหรือสัญญาอื่นภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ ที่มีลักษณะทั้งสามข้อดังต่อไปนี้ ( ก ) มูลค่าของเครื่องมือทางการเงินเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของ ตัวแปรที่ระบุไว้ เช่น อัตราดอกเบี้ย ราคาของเครื่องมือทางการเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดัชนีราคา หรือดัชนีอัตรา อันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตหรือดัชนีความน่าเชื่อถือ ด้านเครดิต หรือตัวแปรอื่น โดยมีเงื่อนไขว่ากรณีของตัวแปรที่ไม่ใช่ ตัวแปรทางการเงิน ตัวแปรนั้นไม่ใช่ตัวแปรที่เฉพาะเจาะจงกับคู่สัญญา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ( บางครั้งเรียกว่า รายการอ้างอิง ) ( ข ) ไม่มีการจ่ายเงินลงทุนสุทธิเมื่อเริ่มแรก หรือจ่ายด้วยจํานวนเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัญญาประเภทอื่นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของมูลค่า ในลักษณะเดียวกันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยตลาด ( ค ) การรับหรือจ่ายชําระจะกระทําในอนาคต เงินปันผล การจัดสรรกําไรให้กับผู้ถือตราสารทุนตามสัดส่วนการถือครองเงินทุนใน แต่ละประเภท วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง วิธีที่ใช้ในการคํานวณ ราคาทุนตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงินหรือ หนี้สินทางการเงิน และมีการปันส่วนและรับรู้ดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยจ่ายใน กําไรหรือขาดทุนตลอดช่วงระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง อัตราที่ใช้ในการคิดลดประมาณการเงินสดจ่ายหรือรับในอนาคตตลอดอายุ ที่คาดไว้ของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินเพื่อให้ได้ มูลค่าตาม บัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ทางการเงิน หรือ ราคาทุนตัดจําหน่าย ของหนี้สินทางการเงิน ในการคํานวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง กิจการต้อง ประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับโดยพิจารณาเงื่อนไขของสัญญา ทั้งหมดของเครื่องมือทางการเงินนั้น ( ตัวอย่างเช่น การชําระเงินก่อนครบกําหนด การขยายระยะเวลา สิทธิเลือกที่จะซื้อ และสิทธิเลือกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ) แต่ต้องไม่พิจารณา ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยการคํานวณนี้ ให้รวมถึงค่าธรรมเนียมและต้นทุนในการรับและจ่ายทั้งหมดระหว่างคู่สัญญา ตามสัญญา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.4.1 ถึง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 77 ข 5.4.3) ต้นทุนการทํารายการ และส่วนเกินหรือส่วนลดมูลค่าอื่นๆ ทั้งหมด โดยมีข้อสันนิษฐานว่ากระแสเงินสดและอายุที่คาดไว้ของกลุ่มของเครื่องมือ ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันสามารถประมาณการได้อย่างน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่สามารถประมาณการกระแสเงินสดหรืออายุที่คาดไว้ ของเครื่องมือทางการเงิน ( หรือกลุ่มของเครื่องมือทางการเงิน ) ได้อย่าง น่าเชื่อถือ กิจการต้องใช้กระแสเงินสดตามสัญญาตลอดอายุสัญญาของ เครื่องมือทางการเงินนั้น ( หรือกลุ่มของเครื่องมือทางการเงินนั้น ) ซึ่งกรณี ดังกล่าวยากยิ่งที่จะเกิดขึ้น ผลขาดทุนด้านเครดิตที่ คาดว่าจะเกิดขึ้น ผลขาดทุนด้านเครดิต ที่ถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักจากความเสี่ยงของการปฏิบัติ ผิดสัญญาที่อาจจะเกิดขึ้น สัญญาคํ้าประกันทาง การเงิน สัญญาที่กําหนดให้ผู้คํ้าประกันตามสัญญาต้องจ่ายชดเชยให้แก่ผู้ที่ได้รับ การคํ้าประกันสําหรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากลูกหนี้ที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่สามารถจ่ายชําระเงินเมื่อครบกําหนดตามเงื่อนไขเมื่อเริ่มแรกหรือเงื่อนไข ที่เปลี่ยนแปลงของตราสารหนี้ หนี้สินทางการเงินที่ วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน หนี้สินทางการเงินที่เข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ( ก ) มีลักษณะตรงตามคํานิยามของ การถือไว้เพื่อค้า ( ข ) ณ วันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก หรือวันที่เกิดรายการ กิจการได้เลือก กําหนดให้หนี้สินทางการเงินนั้นวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุนตามที่ได้กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 4.2.2 หรือ 4.3.5 ( ค ) เป็นการเลือกกําหนดให้รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือในภายหลังด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามย่อหน้าที่ 6.7.1 ข้อผูกมัดที่แน่นหนา ข้อตกลงผูกมัดที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากรตามจํานวนและราคาที่กําหนดไว้ ณ วันใดวันหนึ่งหรือหลายวันที่กําหนดไว้ในอนาคต รายการที่คาดการณ์ รายการที่ไม่มีข้อผูกมัดแต่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าตามบัญชีก่อน รายการหักของ สินทรัพย์ทางการเงิน ราคาทุนตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงิน ก่อนที่จะมีการปรับปรุง ค่าเผื่อผลขาดทุน อัตราส่วนการป ้ องกัน ความเสี่ยง ความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและจํานวน ของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของการถ่วงนํ้าหนักเปรียบเทียบ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 78 การถือไว้เพื่อค้า สินทรัพย์หรือหนี้สินทางการเงินที่ ( ก ) ได้มาหรือก่อให้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขายหรือซื้อกลับคืน ในอนาคตอันใกล้ ( ข ) ถูกกําหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตโฟลิโอเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งถูกบริหารเป็นกลุ่ม ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก และมีหลักฐาน ที่แสดงถึงรูปแบบของการทํากําไรระยะสั้นที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน หรือ ( ค ) เป็น อนุพันธ์ ( ยกเว้นอนุพันธ์ที่เป็นสัญญาคํ้าประกันทางการเงินหรือ เลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในส่วนที่มีประสิทธิผล ) ผลกําไรหรือขาดทุน จากการด้อยค่า ผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.8 และกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติตามข้อกําหนด เกี่ยวกับการด้อยค่าที่กําหนดไว้ในหมวดที่ 5.5 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอด อายุ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากเหตุการณ์ปฏิบัติผิดสัญญาที่มี ความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุของเครื่องมือทางการเงินที่คาดไว้ ค่าเผื่อผลขาดทุน ค่าเผื่อสําหรับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ของสินทรัพย์ ทางการเงินที่วัดมูลค่าตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.2 ลูกหนี้ตามสัญญาเช่า และ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา มูลค่าการด้อยค่าสะสมสําหรับสินทรัพย์ ทางการเงินที่วัดมูลค่าตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก และประมาณการ หนี้สินสําหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากข้อผูกมัดวงเงิน สินเชื่อ และ สัญญาคํ้าประกันทางการเงิน ผลกําไรหรือขาดทุน จากการเปลี่ยนแปลง จํานวนที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุง มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของ สินทรัพย์ทางการเงิน เพื่อให้สะท้อนกระแสเงินสดตามสัญญาที่ตกลงกันใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ โดยกิจการคํานวณมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการ หักของสินทรัพย์ทางการเงินใหม่จากมูลค่าปัจจุบันของประมาณการเงินสดรับ หรือจ่ายชําระในอนาคตตลอดอายุที่คาดไว้ของสินทรัพย์ทางการเงินที่มี การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ ซึ่งถูกคิดลดด้วย อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เมื่อ เริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับด้วย ความเสี่ยงด้านเครดิต เมื่อเริ่มแรกสําหรับ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อย ค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด ) หรือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ที่ ปรับปรุงใหม่ เมื่อเข้าเงื่อนไขตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.5.10 ในการประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับของสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องพิจารณาเงื่อนไขตามสัญญาทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงิน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 79 ( ตัวอย่างเช่น การชําระเงินก่อนครบกําหนด สิทธิเลือกที่จะซื้อ หรือสิทธิเลือก ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ) แต่ต้องไม่พิจารณา ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น ยกเว้น สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อ หรือเมื่อกําเนิด กิจการต้องพิจารณาผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อเริ่มแรกที่ถูกพิจารณารวมในการคํานวณ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับด้วย ความเสี่ยงด้านเครดิต เมื่อเริ่มแรก การค้างชําระเกิน กําหนด สินทรัพย์ทางการเงินจะถือว่าค้างชําระเกินกําหนดเมื่อคู่สัญญาไม่จ่ายชําระ เมื่อถึงกําหนดชําระตามที่กําหนดไว้ในสัญญา สินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีการด้อยค่า ด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือ เมื่อกําเนิด สินทรัพย์ทางการเงินที่ ด้อยค่าด้านเครดิต เมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด ณ การรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก วันที่จัดประเภทรายการ ใหม่ วันแรกของรอบระยะเวลารายงานแรกหลังจากการเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจ ซึ่งทําให้กิจการต้องจัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงินใหม่ การซื้อหรือการขายตาม วิธีปกติ การซื้อหรือการขายสินทรัพย์ทางการเงินภายใต้สัญญาที่มีเงื่อนไขการส่งมอบ สินทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กําหนดขึ้นจากหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติโดยทั่วไป ของตลาดซื้อขายที่พิจารณา ต้นทุนการทํารายการ ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อ การออกตราสาร หรือการจําหน่าย สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.4.8) โดยต้นทุน ส่วนเพิ่มนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้ากิจการไม่ซื้อ ไม่ออกตราสาร หรือไม่จําหน่ายเครื่องมือ ทางการเงิน คํานิยามของคําศัพท์ต่อไปนี้ได้กําหนดอยู่ในย่อหน้าที่ 11 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 หรือภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 และได้นํามาใช้ใน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้โดยมีความหมายเช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ภาคผนวก ก ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 หรือภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ( ก ) ความเสี่ยงด้านเครดิต 2 2 คําศัพท์นี้ ( ตามที่กําหนดอยู่ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7) ใช้สําหรับข้อกําหนดในการแสดงผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินที่เลือกกําหนดให้แสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 5.7.7)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 80 ( ข ) ตราสารทุน ( ค ) มูลค่ายุติธรรม ( ง ) สินทรัพย์ทางการเงิน ( จ ) เครื่องมือทางการเงิน ( ฉ ) หนี้สินทางการเงิน ( ช ) ราคาของรายการ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 81 ภาคผนวก ข แนวปฏิบัติ ภาคผนวกนี้ถือเป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ขอบเขต ( บทที่ 2) ข 2.1 สัญญาบางสัญญากําหนดให้มีการจ่ายชําระที่อิงกับตัวแปรทางภูมิอากาศ ทางธรณีวิทยา หรือ ทางกายภาพอื่น ( สัญญาที่อิงกับตัวแปรทางภูมิอากาศในบางครั้งเรียกว่า “ อนุพันธ์สภาพอากาศ ”) ถ้าสัญญาดังกล่าวไม่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย สัญญานั้นจะอยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ข 2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ผลประโยชน์ของพนักงานซึ่งถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและ การรายงานสําหรับโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน และข้อตกลงค่าสิทธิที่อิงกับปริมาณ การขายและรายได้จากการให้บริการซึ่งถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ข 2.3 ในบางครั้ง กิจการดําเนินการที่มองได้ว่าเป็น “ การลงทุนเชิงกลยุทธ์ ” ในตราสารทุนที่ออกโดย กิจการอื่นที่มีเจตจํานงในการสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ด้านการดําเนินงานในระยะยาวกับ กิจการที่ลงทุน ให้กิจการที่เป็นผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมค้าถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ในการกําหนดว่าวิธีการบัญชีแบบส่วนได้เสีย ต้องถือปฏิบัติกับเงินลงทุนดังกล่าวหรือไม่ ข 2.4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สิน ทางการเงินของผู้รับประกันภัยที่นอกเหนือจากสิทธิและภาระผูกพันที่ได้รับการยกเว้น ตามย่อหน้าที่ 2.1.5 เนื่องจากเกิดขึ้นภายใต้สัญญาที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ข 2.5 สัญญาคํ้าประกันทางการเงินอาจมีรูปแบบทางกฎหมายที่หลากหลาย เช่น การคํ้าประกัน เลตเตอร์ออฟเครดิตบางประเภท สัญญารับประกันการผิดนัดชําระหนี้ หรือสัญญาประกันภัย วิธีปฏิบัติทางการบัญชีไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบทางกฎหมาย ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นวิธีปฏิบัติ ที่เหมาะสม ( ดูย่อหน้าที่ 2.1.5) ข 2.5.1 แม้ว่า สัญญาคํ้าประกันทางการเงินจะเป็นไปตามคํานิยามของสัญญาประกันภัย ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ( ดูย่อหน้าที่ 7.5 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17) แต่หากความเสี่ยงที่ถูกโอนไปมีนัยสําคัญ ให้ผู้ออกสัญญาถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ออกสัญญาได้เคยแสดงอย่างเปิดเผยและชัดแจ้งว่าสัญญาดังกล่าวถือเป็น สัญญาประกันภัยและได้ใช้การบัญชีที่ถือปฏิบัติกับสัญญาประกันภัยมาแล้ว ผู้ออกสัญญาอาจเลือกที่จะถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 82 หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 กับสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน ก็ได้ หากถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ย่อหน้าที่ 5.1.1 กําหนดให้ผู้ออกสัญญารับรู้เมื่อเริ่มแรกสําหรับสัญญาคํ้าประกันทางการเงินด้วย มูลค่ายุติธรรม ถ้าสัญญาคํ้าประกันทางการเงินออกให้กับบุคคลหรือกิจการ ที่ไม่เกี่ยวข้องกันในรายการตามปกติธุรกิจที่เป็นเอกเทศ มูลค่ายุติธรรมเมื่อ เริ่มต้นน่าจะเท่ากับค่าธรรมเนียมที่ได้รับ เว้นแต่จะมีหลักฐานบ่งบอกเป็นอย่างอื่น ในภายหลัง หากสัญญาคํ้าประกันทางการเงินไม่ได้เลือกกําหนดเมื่อเริ่มต้น ให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน หรือไม่ได้ถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 3.2.15 ถึง 3.2.23 และย่อหน้าที่ ข 3.2.12 ถึง ข 3.2.17 ( กรณีที่ การโอนสินทรัพย์ทางการเงินไม่เข้าเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ หรือถือปฏิบัติตาม วิธีการความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ) ให้ผู้ออกสัญญาวัดมูลค่าด้วยมูลค่าที่สูงกว่าระหว่าง ข 2.5.1.1 จํานวนเงินที่กําหนดที่เป็นไปตามหมวดที่ 5.5 และ ข 2.5.1.2 จํานวนเงินที่รับรู้เมื่อเริ่มแรกและเมื่อเหมาะสมให้หักด้วยจํานวนเงิน สะสมของรายได้ที่รับรู้ที่เป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 15 ( ดูย่อหน้าที่ 4.2.1.3) ข 2.5.2 การคํ้าประกันที่เกี่ยวเนื่องกับความน่าเชื่อถือบางอย่างไม่ได้กําหนดให้เป็นเงื่อนไข เบื้องต้นสําหรับการจ่ายชําระที่ผู้ถือต้องเผชิญต่อและมีผลขาดทุนที่เกิดจากการที่ ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชําระสินทรัพย์คํ้าประกันเมื่อครบกําหนด ตัวอย่างของการคํ้า ประกันดังกล่าวคือ การคํ้าประกันที่กําหนดให้การจ่ายชําระขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ของอันดับความน่าเชื่อถือหรือดัชนีความน่าเชื่อถือที่ระบุไว้ การคํ้าประกันดังกล่าว ไม่ถือเป็นสัญญาคํ้าประกันทางการเงินตามที่นิยามไว้ในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ และไม่ถือเป็นสัญญาประกันภัยตามที่นิยามไว้ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 การคํ้าประกันดังกล่าวถือเป็นอนุพันธ์และ ให้ผู้ออกสัญญาถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ข 2.5.3 หากการออกสัญญาคํ้าประกันทางการเงินเกี่ยวข้องกับการขายสินค้า ให้ผู้ออก สัญญาถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ในการกําหนดว่า เมื่อใดจะรับรู้รายได้จากการคํ้าประกันและจากการขายสินค้า ข 2.6 การแสดงอย่างเปิดเผยว่าผู้ออกสัญญาถือว่าสัญญาเป็นสัญญาประกันภัยมักจะพบใน การสื่อสารระหว่างผู้ออกสัญญากับลูกค้าและหน่วยงานกํากับดูแล สัญญา เอกสารทางธุรกิจ และงบการเงิน นอกจากนี้สัญญาประกันภัยมักจะขึ้นอยู่กับข้อกําหนดทางบัญชีที่ต่างพวกจาก ข้อกําหนดสําหรับรายการประเภทอื่น เช่น สัญญาที่ออกโดยธนาคารหรือบริษัทการค้า ในกรณี ดังกล่าวงบการเงินของผู้ออกสัญญามักจะมีข้อความว่าผู้ออกสัญญาได้ปฏิบัติตามข้อกําหนด ทางบัญชีดังกล่าว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 83 การรับรู้รายการและการเลิกรับรู้รายการ ( บทที่ 3) การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ( หมวดที่ 3.1) ข 3.1.1 จากหลักการในย่อหน้าที่ 3.1.1 ให้กิจการรับรู้สิทธิและภาระผูกพันตามสัญญาทั้งหมดภายใต้ อนุพันธ์ในงบฐานะการเงินเป็นสินทรัพย์และหนี้สินตามลําดับ ยกเว้นอนุพันธ์ที่ทําให้ การโอนสินทรัพย์ทางการเงินไม่ถือเป็นการขาย ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.2.14) ทั้งนี้ หากการโอน สินทรัพย์ทางการเงินไม่เข้าเงื่อนไขของการเลิกรับรู้รายการ ผู้รับโอนจะไม่รับรู้สินทรัพย์ที่ รับโอนนั้นเป็นสินทรัพย์ของตน ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.2.15) ข 3.1.2 ต่อไปนี้คือตัวอย่างของการถือปฏิบัติตามหลักการในย่อหน้าที่ 3.1.1 ข 3.1.2.1 ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ที่ไม่มีเงื่อนไขให้รับรู้เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินเมื่อกิจการ กลายเป็นคู่สัญญาและส่งผลให้กิจการมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเงินสดหรือมี ภาระผูกพันตามกฎหมายที่จะจ่ายเงินสด ข 3.1.2.2 สินทรัพย์ที่จะได้มาและหนี้สินที่จะเกิดขึ้นอันเป็นผลจากข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่จะ ซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการโดยทั่วไปจะไม่มีการรับรู้จนกระทั่งมีคู่สัญญาอย่าง น้อยหนึ่งรายปฏิบัติตามข้อตกลง เช่น กิจการที่ได้รับคําสั่งซื้อที่แน่นหนาโดยทั่วไป จะไม่รับรู้สินทรัพย์ ( และกิจการที่ออกคําสั่งซื้อดังกล่าวจะไม่รับรู้หนี้สิน ) ณ เวลา ที่เกิดการผูกมัด แต่จะชะลอการรับรู้รายการออกไปจนกว่าสินค้าหรือบริการนั้นจะ มีการขนส่ง ส่งมอบ หรือให้บริการ หากข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่จะซื้อหรือขาย รายการที่ไม่ใช่ทางการเงินอยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้ในย่อหน้าที่ 2.4 ถึง 2.7 ให้รับรู้มูลค่ายุติธรรมสุทธิของข้อผูกมัดเป็น สินทรัพย์หรือหนี้สิน ณ วันที่เกิดการผูกมัด ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.30.3) นอกจากนั้น หากข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่ยังไม่ได้รับรู้มาก่อนได้เลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงในการป้องกันความเสี่ยงมูลค่ายุติธรรม ให้รับรู้การ เปลี่ยนแปลงใดๆ ในมูลค่ายุติธรรมสุทธิที่เป็นของความเสี่ยงที่มีการป้องกันเป็น สินทรัพย์หรือหนี้สินหลังจากการเริ่มต้นการป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.8.2 และ 6.5.9) ข 3.1.2.3 สัญญาฟอร์เวิร์ดซึ่งอยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ดูย่อหน้าที่ 2.1) ให้รับรู้เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินในวันที่เกิดการผูกมัดแทนที่จะ เป็นวันที่มีการชําระ เมื่อกิจการกลายเป็นคู่สัญญาของสัญญาฟอร์เวิร์ด มูลค่า ยุติธรรมของสิทธิและภาระผูกพันมักจะเท่ากันเพื่อที่ว่ามูลค่ายุติธรรมสุทธิของ สัญญาฟอร์เวิร์ดเท่ากับศูนย์ หากมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสัญญาฟอร์เวิร์ด ไม่เท่ากับศูนย์ ให้รับรู้สัญญาดังกล่าวเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สิน ข 3.1.2.4 สัญญาสิทธิเลือกซึ่งอยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ดูย่อหน้าที่ 2.1) ให้รับรู้เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินเมื่อผู้ถือหรือผู้ออกกลายเป็น คู่สัญญา

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 84 ข 3.1.2.5 รายการอนาคตที่วางแผนไว้ซึ่งไม่ว่าจะมีความน่าจะเป็นมากเพียงใดก็ตาม ไม่ถือเป็น สินทรัพย์หรือหนี้สินเนื่องจากกิจการยังไม่ได้กลายเป็นคู่สัญญา การซื้อหรือการขายสินทรัพย์ทางการเงินตามวิธีปกติ ข 3.1.3 การซื้อหรือการขายสินทรัพย์ทางการเงินตามวิธีปกติ ให้รับรู้โดยใช้การบัญชีวันซื้อขายหรือ การบัญชีวันชําระตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ ข 3.1.5 และ ข 3.1.6 กิจการต้องถือปฏิบัติด้วยวิธี เดียวกันอย่างสมํ่าเสมอสําหรับการซื้อและการขายสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมดที่จัดประเภท ด้วยวิธีเดียวกันซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ในการนี้ สินทรัพย์ที่มี การบังคับให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนทําให้เกิดการจัดประเภทแยก ต่างหากจากสินทรัพย์ที่เลือกกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน นอกจากนี้ เงินลงทุนในตราสารทุนที่ใช้ทางเลือกตามที่ให้ไว้ในย่อหน้าที่ 5.7.5 ทําให้เกิดการ จัดประเภทแยกต่างหาก ข 3.1.4 สัญญาซึ่งกําหนดหรืออนุญาตให้มีการชําระสุทธิสําหรับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสัญญา ไม่ถือเป็นสัญญาตามวิธีปกติ สัญญาดังกล่าวถือเป็นอนุพันธ์ในระหว่างวันซื้อขายและวันชําระ ข 3.1.5 วันซื้อขาย คือ วันที่กิจการผูกมัดตนเองที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์ การบัญชีวันซื้อขายหมายถึง (1) การรับรู้รายการสําหรับสินทรัพย์ที่จะได้รับและหนี้สินที่จะจ่ายในวันซื้อขาย และ (2) การเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ที่ขาย การรับรู้รายการสําหรับผลกําไรหรือผลขาดทุนใดๆ จากการจําหน่าย และการรับรู้รายการสําหรับลูกหนี้จากผู้ซื้อสําหรับการจ่ายชําระในวันซื้อขาย โดยทั่วไปดอกเบี้ยจะยังไม่เริ่มพอกพูนสินทรัพย์นั้นและหนี้สินที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะถึงวันชําระ เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ ข 3.1.6 วันชําระ คือ วันที่สินทรัพย์มีการส่งมอบให้แก่หรือโดยกิจการ การบัญชีวันชําระ หมายถึง (1) การรับรู้รายการสําหรับสินทรัพย์ในวันที่กิจการได้รับสินทรัพย์นั้น และ (2) การเลิกรับรู้ รายการสําหรับสินทรัพย์และการรับรู้รายการสําหรับผลกําไรหรือผลขาดทุนใดๆ จากการจําหน่ายในวันที่กิจการส่งมอบสินทรัพย์ เมื่อมีการถือปฏิบัติตามการบัญชีวันชําระ ให้กิจการถือปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่จะได้รับระหว่าง วันซื้อขายและวันชําระด้วยวิธีเดียวกันกับสินทรัพย์ที่ได้มา อีกนัยหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงใน มูลค่าไม่ให้รับรู้สําหรับสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย แต่ให้รับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุนสําหรับสินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุน และให้รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่เป็นไปตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก และ เงินลงทุนในตราสารทุนที่เป็นไปตามย่อหน้าที่ 5.7.5

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 85 การเลิกรับรู้รายการของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หมวดที่ 3.2) ข 3.2.1 แผนภูมิต่อไปนี้เป็นภาพประกอบในการประเมินว่าจะเลิกรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินหรือไม่และ มากน้อยเพียงใด ข้อตกลงที่กิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ ทางการเงิน แต่ก็รับภาระผูกพันตามสัญญาที่จะจ่ายกระแสเงินสดนั้นให้กับผู้รับรายหนึ่งหรือ มากกว่า ( ย่อหน้าที่ 3.2.4.2) ประเมินว่าหลักการเลิกรับรู้รายการด้านล่างจะใช้สําหรับสินทรัพย์บางส่วนหรือทั้งหมด ( หรือกลุ่มของสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน ) ( ย่อหน้าที่ 3.2.2) สิทธิในกระแสเงินสดจากสินทรัพย์หมดอายุแล้วหรือไม่ ( ย่อหน้าที่ 3.2.3.1) ใช่ รวมบริษัทย่อยทั้งหมด ( ย่อหน้าที่ 3.2.1) เลิกรับรู้สินทรัพย์ ยังคงรับรู้สินทรัพย์ต่อไปตราบเท่าที่กิจการมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ยังคงรับรู้สินทรัพย์ต่อไป ไม่ใช่ กิจการได้ยอมรับภาระผูกพันที่จะจ่ายกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ที่ เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 3.2.5 แล้วหรือไม่ ( ย่อหน้าที่ 3.2.4.2) กิจการได้โอนสิทธิที่จะได้รับกระแสเงินสดจาก สินทรัพย์แล้วหรือไม่ ( ย่อหน้าที่ 3.2.4.1) กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนเกือบทั้งหมดแล้วหรือไม่ ( ย่อหน้าที่ 3.2.6.1) ไม่ใช่ ไม่ใช่ ใช่ ไม่ใช่ ใช่ ไม่ใช่ ใช่ กิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนเกือบทั้งหมดหรือไม่ ( ย่อหน้าที่ 3.2.6.2) กิจการยังคงไว้ซึ่งการควบคุมสินทรัพย์หรือไม่ ( ย่อหน้าที่ 3.2.6.3) เลิกรับรู้สินทรัพย์ ยังคงรับรู้สินทรัพย์ต่อไป เลิกรับรู้สินทรัพย์ ไม่ใช่ ใช่ ใช่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 86 ข 3.2.2 สถานการณ์ตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 3.2.4.2 ( เมื่อกิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิตามสัญญาที่จะ ได้รับกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ทางการเงิน แต่ก็รับภาระผูกพันตามสัญญาที่จะจ่าย กระแสเงินสดนั้นให้กับผู้รับรายหนึ่งหรือมากกว่า ) ถือว่าเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่กิจการ เป็นทรัสต์และให้สิทธิในผลประโยชน์จากสินทรัพย์ทางการเงินอ้างอิงซึ่งกิจการเป็นเจ้าของและ ให้บริการสินทรัพย์ทางการเงินนั้นแก่ผู้ลงทุน ในกรณีดังกล่าว สินทรัพย์ทางการเงินนั้นถือว่า เข้าเงื่อนไขสําหรับการเลิกรับรู้รายการหากเป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 3.2.5 และ 3.2.6 ข 3.2.3 ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 3.2.5 ตัวอย่างเช่น กิจการอาจเป็นผู้ริเริ่มสินทรัพย์ทางการเงิน หรืออาจเป็นกลุ่มที่รวมบริษัทย่อยที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์ทางการเงินมาและส่งผ่านกระแสเงินสด ให้กับผู้ลงทุนซึ่งเป็นบุคคลที่สามซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกัน การประเมินการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของ ( ย่อหน้าที่ 3.2.6) ข 3.2.4 ตัวอย่างที่กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด คือ ข 3.2.4.1 การขายสินทรัพย์ทางการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไข ข 3.2.4.2 การขายสินทรัพย์ทางการเงินพร้อมสิทธิเลือกที่จะซื้อคืนสินทรัพย์ทางการเงิน ดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ เวลาที่ซื้อคืน และ ข 3.2.4.3 การขายสินทรัพย์ทางการเงินพร้อมสิทธิเลือกที่จะซื้อหรือสิทธิเลือกที่จะขาย ซึ่งอยู่ในสถานะสูญเงินอย่างมาก ( กล่าวคือ สิทธิเลือกซึ่งอยู่ในสถานะสูญเงินอย่าง มากจนเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสถานะทําเงินก่อนหมดอายุ ) ข 3.2.5 ตัวอย่างที่กิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด คือ ข 3.2.5.1 รายการขายและซื้อคืนซึ่งราคาที่ซื้อคืนเป็นราคาคงที่หรือราคาขายบวกด้วย ผลตอบแทนของผู้ให้กู้ยืม ข 3.2.5.2 ข้อตกลงการให้ยืมหลักทรัพย์ ข 3.2.5.3 การขายสินทรัพย์ทางการเงินพร้อมสัญญาแลกเปลี่ยนผลตอบแทนรวม ซึ่งโอนฐานะเปิดความเสี่ยงด้านตลาดกลับมาที่กิจการ ข 3.2.5.4 การขายสินทรัพย์ทางการเงินพร้อมสิทธิเลือกที่จะซื้อหรือขายซึ่งอยู่ในสถานะ ทําเงินอย่างมาก ( กล่าวคือ สิทธิเลือกซึ่งอยู่ในสถานะทําเงินอย่างมากจนเกือบ เป็นไปไม่ได้ที่จะมีสถานะสูญเงินก่อนหมดอายุ ) และ ข 3.2.5.5 การขายลูกหนี้ระยะสั้นที่กิจการคํ้าประกันที่จะชดเชยให้แก่ผู้รับโอนสําหรับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่น่าจะเกิดขึ้น ข 3.2.6 หากกิจการพิจารณาว่าผลจากการโอนทําให้กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของ ความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ที่โอน ไม่ให้กิจการรับรู้สินทรัพย์ที่โอนอีก ในรอบระยะเวลาอนาคต ยกเว้นกรณีที่กิจการได้สินทรัพย์ที่โอนกลับคืนมาจากรายการใหม่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 87 การประเมินการโอนการควบคุม ข 3.2.7 กิจการไม่คงไว้ซึ่งการควบคุมในสินทรัพย์ที่โอนหากผู้รับโอนมีความสามารถในทางปฏิบัติ ที่จะขายสินทรัพย์ที่โอน กิจการยังคงมีการควบคุมในสินทรัพย์ที่โอนหากผู้รับโอนไม่มี ความสามารถในทางปฏิบัติที่จะขายสินทรัพย์ที่โอน ผู้รับโอนมีความสามารถในทางปฏิบัติที่จะ ขายสินทรัพย์ที่โอนหากมีการซื้อขายในตลาดซื้อขายคล่อง เนื่องจากผู้รับโอนสามารถซื้อคืน สินทรัพย์ที่โอนในตลาดนั้นหากผู้รับโอนจําเป็นต้องส่งคืนสินทรัพย์ให้กับกิจการ เช่น ผู้รับโอน อาจมีความสามารถในทางปฏิบัติที่จะขายสินทรัพย์ที่โอนหากสินทรัพย์ที่โอนอยู่ภายใต้สิทธิ เลือกที่อนุญาตให้กิจการซื้อคืนได้ แต่ผู้รับโอนสามารถหาสินทรัพย์ที่โอนได้ทันทีจากตลาด หากมีการใช้สิทธิเลือก ผู้รับโอนไม่มีความสามารถในทางปฏิบัติที่จะขายสินทรัพย์ที่โอน หากกิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิเลือกนั้นและผู้รับโอนไม่สามารถหาสินทรัพย์ที่โอนได้ทันทีจากตลาด หากมีการใช้สิทธิเลือก ข 3.2.8 ผู้รับโอนมีความสามารถในทางปฏิบัติที่จะขายสินทรัพย์ที่โอนเฉพาะเมื่อผู้รับโอนสามารถ ขายสินทรัพย์ที่โอนทั้งจํานวนให้กับบุคคลที่สามซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และสามารถใช้ ความสามารถนั้นได้เพียงฝ่ายเดียวและไม่มีการวางข้อจํากัดเพิ่มเติมในการโอน คําถามที่สําคัญ คือผู้รับโอนสามารถทําอะไรได้บ้างในทางปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าสิทธิตามสัญญาอะไรบ้างที่ผู้รับโอนมี ความกังวลว่าสามารถทําอะไรได้บ้างกับสินทรัพย์ที่โอน หรือข้อห้ามตามสัญญาอะไรบ้างที่มีอยู่ กล่าวคือ ข 3.2.8.1 สิทธิตามสัญญาที่จะจําหน่ายสินทรัพย์ที่โอนมีผลกระทบในทางปฏิบัติเพียงเล็กน้อย หากไม่มีตลาดสําหรับสินทรัพย์ที่โอน และ ข 3.2.8.2 ความสามารถที่จะจําหน่ายสินทรัพย์ที่โอนมีผลกระทบในทางปฏิบัติเพียงเล็กน้อย หากไม่สามารถใช้สิทธิได้อย่างเสรี ด้วยเหตุนี้ ข 3.2.8.2.1 ความสามารถของผู้รับโอนที่จะจําหน่ายสินทรัพย์ที่โอนต้องเป็น อิสระจากการกระทําของบุคคลอื่น ( กล่าวคือ ต้องเป็นความสามารถ เพียงฝ่ายเดียว ) และ ข 3.2.8.2.2 ผู้รับโอนต้องสามารถที่จะจําหน่ายสินทรัพย์ที่โอนโดยไม่จําเป็นต้อง พ่วงเงื่อนไขที่เป็นข้อจํากัดในการโอน ( เช่น เงื่อนไขว่าจะให้บริการ สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้ยืมอย่างไร หรือสิทธิเลือกที่ให้ผู้รับโอน สําหรับสิทธิที่จะซื้อคืนสินทรัพย์ ) ข 3.2.9 การที่ผู้รับโอนไม่น่าจะขายสินทรัพย์ที่โอน เพียงเท่านี้ไม่ได้หมายความว่าผู้โอนยังคงไว้ซึ่ง การควบคุมในสินทรัพย์ที่โอน อย่างไรก็ตาม หากสิทธิเลือกที่จะขายหรือการคํ้าประกันสร้าง ข้อจํากัดให้ผู้รับโอนจากการขายสินทรัพย์ที่โอน ดังนั้นผู้โอนยังคงไว้ซึ่งการควบคุมสินทรัพย์ ที่โอน เช่น หากสิทธิเลือกที่จะขายหรือการคํ้าประกันมีค่ามากเพียงพอที่จะสร้างข้อจํากัดให้ ผู้รับโอนจากการไม่ขายสินทรัพย์ที่โอน เนื่องจากในทางปฏิบัติผู้รับโอนจะไม่ขายสินทรัพย์ ที่โอนให้กับบุคคลที่สามโดยไม่พ่วงสิทธิเลือกที่คล้ายคลึงกันหรือเงื่อนไขที่เป็นข้อจํากัดอื่น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 88 แต่ผู้รับโอนจะถือสินทรัพย์ที่โอนไว้เพื่อที่จะรับการจ่ายชําระภายใต้การคํ้าประกันหรือสิทธิ เลือกที่จะขาย ภายใต้สภาพแวดล้อมนี้ผู้โอนยังคงไว้ซึ่งการควบคุมในสินทรัพย์ที่โอน การโอนที่เป็นไปตามเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ ข 3.2.10 กิจการอาจยังคงไว้ซึ่งสิทธิในบางส่วนของการจ่ายชําระดอกเบี้ยของสินทรัพย์ที่โอนในฐานะของ ค่าตอบแทนการให้บริการสินทรัพย์นั้น การจ่ายชําระดอกเบี้ยบางส่วนที่กิจการจะไม่ได้รับ เมื่อเลิกสัญญาหรือเมื่อโอนสัญญาการให้บริการ จะปันส่วนให้สินทรัพย์จากการให้บริการหรือ หนี้สินจากการให้บริการ การจ่ายชําระดอกเบี้ยบางส่วนที่กิจการยังคงได้รับเมื่อมีการยุติหรือ โอนสัญญาการให้บริการคือลูกหนี้เฉพาะส่วนของดอกเบี้ย เช่น หากกิจการยังคงได้รับดอกเบี้ย ใดๆ เมื่อเลิกสัญญาหรือโอนสัญญาการให้บริการ ส่วนต่างของดอกเบี้ยทั้งหมดคือลูกหนี้ เฉพาะส่วนของดอกเบี้ย ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 3.2.13 ให้ใช้มูลค่ายุติธรรมของ สินทรัพย์จากการให้บริการและลูกหนี้เฉพาะส่วนของดอกเบี้ย ในการปันส่วนมูลค่าตามบัญชี ของลูกหนี้ระหว่างส่วนของสินทรัพย์ที่เลิกรับรู้และส่วนที่ยังคงรับรู้ต่อไป หากไม่มี ค่าธรรมเนียมในการให้บริการที่ระบุไว้ หรือหากค่าธรรมเนียมที่จะได้รับไม่คาดว่าจะตอบแทน กิจการอย่างเพียงพอสําหรับการให้บริการให้รับรู้หนี้สินสําหรับภาระผูกพันจากการให้บริการ ด้วยมูลค่ายุติธรรม ข 3.2.11 เมื่อวัดมูลค่ายุติธรรมของส่วนที่ยังคงรับรู้ต่อไปและส่วนที่เลิกรับรู้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติ ตามย่อหน้าที่ 3.2.13 ให้กิจการใช้ข้อกําหนดเกี่ยวกับการวัดมูลค่ายุติธรรมในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม มาปฏิบัติเพิ่มเติมจากย่อหน้าที่ 3.2.14 การโอนที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ ข 3.2.12 ต่อไปนี้เป็นการนําหลักการตามย่อหน้าที่ 3.2.15 มาถือปฏิบัติ หากการคํ้าประกันของกิจการ สําหรับผลขาดทุนจากการผิดนัดชําระหนี้จากสินทรัพย์ที่โอน ทําให้ไม่สามารถเลิกรับรู้สินทรัพย์ ที่โอนได้ เนื่องจากกิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของ เกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ที่โอน ให้ยังคงรับรู้สินทรัพย์ที่โอนต่อไปทั้งจํานวนและให้รับรู้ สิ่งตอบแทนที่ได้รับเป็นหนี้สิน ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ที่โอน ข 3.2.13 ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างว่ากิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่โอนและหนี้สินที่เกี่ยวข้องภายใต้ย่อหน้าที่ 3.2.16 อย่างไร

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 89 สินทรัพย์ทุกประเภท ข 3.2.13.1 หากการคํ้าประกันของกิจการที่จะจ่ายชําระผลขาดทุนจากการผิดนัดชําระหนี้ จากสินทรัพย์ที่โอน ทําให้ไม่สามารถเลิกรับรู้สินทรัพย์ที่โอนได้ตราบเท่าที่มี ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ให้วัดมูลค่าสินทรัพย์ที่โอน ณ วันที่มีการโอน ด้วยจํานวน เงินที่ตํ่ากว่าระหว่าง (1) มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น และ (2) จํานวนเงิน สูงสุดของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการโอนซึ่งกิจการอาจถูกเรียกให้ชําระคืน (“ จํานวนเงินที่คํ้าประกัน ”) ให้วัดมูลเมื่อเริ่มแรกของหนี้สินที่เกี่ยวข้องด้วย จํานวนเงินที่คํ้าประกันบวกด้วยมูลค่ายุติธรรมของการคํ้าประกัน ( ซึ่งโดยทั่วไปคือ สิ่งตอบแทนที่ได้รับสําหรับการคํ้าประกัน ) หลังจากนั้น ให้รับรู้มูลค่ายุติธรรม เมื่อเริ่มแรกของการคํ้าประกันในกําไรหรือขาดทุนเมื่อ ( หรือในขณะที่ ) ภาระผูกพัน จบสิ้นลง ( เป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15) และให้ลดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ด้วยค่าเผื่อผลขาดทุน สินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย ข 3.2.13.2 หากภาระผูกพันจากสิทธิเลือกที่จะขายที่ออกโดยกิจการ หรือสิทธิจากสิทธิเลือกที่ จะซื้อที่ถือโดยกิจการทําให้ไม่สามารถเลิกรับรู้สินทรัพย์ที่โอนและกิจการวัดมูลค่า สินทรัพย์ที่โอนด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย ให้วัดมูลค่าหนี้สินที่เกี่ยวข้องด้วย ราคาทุน ( กล่าวคือ สิ่งตอบแทนที่ได้รับ ) ปรับปรุงด้วยการตัดจําหน่ายผลต่างใดๆ ระหว่างราคาทุนและมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ที่โอน ณ วันที่ สิทธิเลือกหมดอายุ เช่น สมมุติว่ามูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ ณ วันที่มีการโอนเท่ากับ 98 บาท และสิ่งตอบแทนที่ได้รับเท่ากับ 95 บาท มูลค่า ตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ ณ วันที่ใช้สิทธิเลือกเท่ากับ 100 บาท มูลค่าตามบัญชีเมื่อเริ่มแรกของหนี้สินที่เกี่ยวข้องเท่ากับ 95 บาท และให้รับรู้ ผลต่างระหว่างมูลค่า 95 บาท และ 100 บาท ในกําไรหรือขาดทุนโดยใช้วิธี ดอกเบี้ยที่แท้จริง หากมีการใช้สิทธิเลือก ให้รับรู้ผลต่างใดๆ ระหว่างมูลค่าตามบัญชี ของหนี้สินที่เกี่ยวข้องและราคาใช้สิทธิในกําไรหรือขาดทุน สินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ข 3.2.13.3 หากสิทธิจากสิทธิเลือกที่จะซื้อที่ยังคงอยู่กับกิจการทําให้ไม่สามารถเลิกรับรู้ สินทรัพย์ที่โอนและกิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่โอนด้วยมูลค่ายุติธรรม ให้ยังคง วัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรมต่อไป ให้วัดมูลค่าหนี้สินที่เกี่ยวข้องด้วย (1) ราคาใช้สิทธิเลือกหักด้วยมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกหากสิทธิเลือกอยู่ใน สถานะทําเงินหรือเสมอตัว หรือ (2) มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอนหักด้วย

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 90 มูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือก หากสิทธิเลือกอยู่ในสถานะสูญเงิน การปรับปรุง การวัดมูลค่าของหนี้สินที่เกี่ยวข้องทําให้มั่นใจว่ามูลค่าตามบัญชีสุทธิของสินทรัพย์ และหนี้สินที่เกี่ยวข้องคือมูลค่ายุติธรรมของสิทธิจากสิทธิเลือกที่จะซื้อ เช่น หากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์อ้างอิงเท่ากับ 80 บาท ราคาใช้สิทธิของสิทธิเลือก เท่ากับ 95 บาท และมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกเท่ากับ 5 บาท มูลค่าตามบัญชี ของหนี้สินที่เกี่ยวข้องจึงเท่ากับ 75 บาท (80 บาท – 5 บาท ) และมูลค่าตามบัญชี ของสินทรัพย์ที่โอนจึงเท่ากับ 80 บาท ( ซึ่งคือมูลค่ายุติธรรม ) ข 3.2.13.4 หากสิทธิเลือกที่จะขายซึ่งออกโดยกิจการทําให้ไม่สามารถเลิกรับรู้สินทรัพย์ที่โอน และกิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่โอนด้วยมูลค่ายุติธรรม ให้วัดมูลค่าหนี้สินที่เกี่ยวข้อง ด้วยราคาใช้สิทธิของสิทธิเลือกบวกด้วยมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกการวัดมูลค่า สินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรมจะไม่เกินมูลค่ายุติธรรมและราคาใช้สิทธิของสิทธิเลือก แล้วแต่ว่าราคาใดจะตํ่ากว่า เนื่องจากกิจการไม่มีสิทธิในการเพิ่มขึ้นของมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอนที่สูงกว่าราคาใช้สิทธิเลือก วิธีการดังกล่าวทําให้มั่นใจ ว่ามูลค่าตามบัญชีสุทธิของสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องเท่ากับมูลค่ายุติธรรม ของภาระผูกพันจากสิทธิเลือกที่จะขาย เช่น หากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์อ้างอิง เท่ากับ 120 บาท ราคาใช้สิทธิของสิทธิเลือกเท่ากับ 100 บาท และมูลค่าตามเวลา ของสิทธิเลือกเท่ากับ 5 บาท มูลค่าตามบัญชีของหนี้สินที่เกี่ยวข้องจึงเท่ากับ 105 บาท (100 บาท +5 บาท ) และมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์จึงเท่ากับ 100 บาท ( ในกรณีนี้คือราคาใช้สิทธิของสิทธิเลือก ) ข 3.2.13.5 หากคอลล่าร์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของการซื้อสิทธิเลือกที่จะซื้อและการขายสิทธิเลือก ที่จะขาย ทําให้ไม่สามารถเลิกรับรู้สินทรัพย์ที่โอนและกิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์ ที่โอนด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการยังคงวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรมต่อไป ให้วัดมูลค่าหนี้สินที่เกี่ยวข้องด้วย (1) ผลรวมของราคาใช้สิทธิของสิทธิเลือกที่จะซื้อ และมูลค่ายุติธรรมของสิทธิเลือกที่จะขายหักด้วยมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกที่จะ ซื้อหากสิทธิเลือกที่จะซื้ออยู่ในสถานะทําเงินหรือเสมอตัว หรือ (2) ผลรวมของ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และมูลค่ายุติธรรมของสิทธิเลือกที่จะขายหักด้วย มูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกที่จะซื้อหากสิทธิเลือกที่จะซื้ออยู่ในสถานะสูญเงิน การปรับปรุงหนี้สินที่เกี่ยวข้องทําให้มั่นใจว่ามูลค่าตามบัญชีสุทธิของสินทรัพย์และ หนี้สินที่เกี่ยวข้องเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสิทธิเลือกที่ถือหรือออกโดยกิจการ เช่น สมมติว่ากิจการโอนสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม พร้อมกันกับการซื้อสิทธิเลือกที่จะซื้อที่มีราคาใช้สิทธิ 120 บาท และขายสิทธิเลือก ที่จะขายที่มีราคาใช้สิทธิ 80 บาท สมมติอีกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ เท่ากับ 100 บาท ณ วันที่มีการโอน มูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกที่จะขายและที่จะ ซื้อเท่ากับ 1 บาท และ 5 บาท ตามลําดับ ในกรณีนี้ให้กิจการรับรู้สินทรัพย์เท่ากับ 100 บาท ( มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ) และรับรู้หนี้สินเท่ากับ 96 บาท

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 91 ((100 บาท + 1 บาท ) – 5 บาท ) จึงทําให้มูลค่าของสินทรัพย์สุทธิเท่ากับ 4 บาท ซึ่งเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสิทธิเลือกที่ถือและที่ออกโดยกิจการ การโอนทุกประเภท ข 3.2.14 ตราบใดที่การโอนสินทรัพย์ทางการเงินไม่เข้าเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ สิทธิหรือภาระผูกพัน ตามสัญญาของผู้โอนที่เกี่ยวข้องกับการโอนจะไม่ถือปฏิบัติแยกต่างหากเป็นอนุพันธ์ หากการรับรู้ ทั้งอนุพันธ์และไม่ว่าสินทรัพย์ที่โอนหรือหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการโอนจะส่งผลให้มีการรับรู้สิทธิ หรือภาระผูกพันที่เหมือนกันซํ้าสองครั้ง เช่น สิทธิเลือกที่จะซื้อที่ยังคงอยู่กับผู้โอนทําให้ ไม่สามารถรับรู้การโอนสินทรัพย์เป็นการขาย ในกรณีดังกล่าวไม่ให้รับรู้สิทธิเลือกที่จะซื้อ แยกต่างหากเป็นสินทรัพย์อนุพันธ์ ข 3.2.15 ตราบใดที่การโอนสินทรัพย์ทางการเงินไม่เข้าเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ ผู้รับโอนไม่รับรู้ สินทรัพย์ที่โอนเป็นสินทรัพย์ของตน ให้ผู้รับโอนเลิกรับรู้เงินสดหรือสิ่งตอบแทนอื่นที่จ่าย และ รับรู้ลูกหนี้ที่เกิดจากผู้โอน หากผู้โอนมีทั้งสิทธิและภาระผูกพันที่ได้กลับคืนมาซึ่งการควบคุม ของสินทรัพย์ที่โอนทั้งจํานวนด้วยจํานวนเงินที่คงที่ ( เช่น ภายใต้ข้อตกลงการซื้อคืน ) ผู้รับโอน อาจวัดมูลค่าลูกหนี้ด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย ถ้าเข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2 ตัวอย่าง ข 3.2.16 ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงถึงการถือปฏิบัติตามหลักการเลิกรับรู้รายการของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ ข 3.2.16.1 ข้อตกลงการซื้อคืนและการให้ยืมหลักทรัพย์ หากมีการขายสินทรัพย์ทางการเงิน ภายใต้ข้อตกลงที่จะซื้อคืนด้วยราคาที่คงที่หรือด้วยราคาขายบวกผลตอบแทน ของผู้ให้ยืม หรือหากมีการให้ยืมสินทรัพย์ทางการเงินภายใต้ข้อตกลงที่จะส่งคืน ให้แก่ผู้โอน ไม่ให้เลิกรับรู้รายการ เนื่องจากผู้โอนยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและ ผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด หากผู้รับโอนได้รับสิทธิที่จะขาย สินทรัพย์หรือวางเป็นหลักประกัน ให้ผู้โอนจัดประเภทรายการใหม่สําหรับ สินทรัพย์ในงบฐานะการเงิน เช่น เป็นสินทรัพย์ที่ให้ยืมหรือลูกหนี้ซื้อคืน ข 3.2.16.2 ข้อตกลงการซื้อคืนและการให้ยืมหลักทรัพย์ - สินทรัพย์ที่เกือบเหมือนกัน หากมี การขายสินทรัพย์ทางการเงินภายใต้ข้อตกลงที่จะซื้อคืนสินทรัพย์ที่เหมือนกัน หรือเกือบเหมือนกันด้วยราคาคงที่หรือด้วยราคาขายบวกผลตอบแทนของ ผู้ให้ยืม หรือหากมีการยืมหรือให้ยืมสินทรัพย์ทางการเงินภายใต้ข้อตกลงที่จะ ส่งคืนสินทรัพย์ที่มีลักษณะเหมือนกันหรือเกือบเหมือนกันให้แก่ผู้โอน ไม่ให้เลิก รับรู้รายการเนื่องจากผู้โอนยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็น เจ้าของเกือบทั้งหมด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 92 ข 3.2.16.3 ข้อตกลงการซื้อคืนและการให้ยืมหลักทรัพย์ - สิทธิในการทดแทน หากข้อตกลง ที่จะซื้อคืนด้วยราคาซื้อคืนที่คงที่หรือด้วยราคาที่เท่ากับราคาขายบวกด้วย ผลตอบแทนของผู้ให้ยืม หรือรายการให้ยืมหลักทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งให้สิทธิผู้รับโอนในการทดแทนด้วยสินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันและ มีมูลค่ายุติธรรมเท่ากันกับสินทรัพย์ที่โอน ณ วันที่ซื้อคืน ไม่ให้เลิกรับรู้สินทรัพย์ ที่ขายหรือให้ยืมภายใต้รายการซื้อคืนหรือให้ยืมหลักทรัพย์ เนื่องจากผู้โอน ยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด ข 3.2.16.4 สิทธิในการปฏิเสธการซื้อคืนก่อนด้วยมูลค่ายุติธรรม หากกิจการขายสินทรัพย์ ทางการเงินและยังคงไว้เพียงสิทธิในการปฏิเสธก่อนในการซื้อคืนสินทรัพย์ ที่โอนด้วยมูลค่ายุติธรรมหากผู้รับโอนขายสินทรัพย์ดังกล่าวให้ในภายหลัง ให้กิจการเลิกรับรู้สินทรัพย์ได้เนื่องจากกิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทน ของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดแล้ว ข 3.2.16.5 รายการขายแบบจับคู่กัน การซื้อคืนสินทรัพย์ทางการเงินในระยะเวลาอันสั้น ภายหลังจากการขาย บางทีถือว่าเป็นการขายแบบจับคู่กัน การซื้อคืนดังกล่าว ไม่ได้ขัดขวางการเลิกรับรู้รายการ ถ้าหากว่ารายการขายเดิมเป็นไปตามเงื่อนไข ของการเลิกรับรู้รายการ อย่างไรก็ตาม หากข้อตกลงที่จะขายสินทรัพย์ ทางการเงินทําขึ้นพร้อมกับข้อตกลงที่จะซื้อคืนสินทรัพย์เดียวกันด้วยราคาที่คงที่ หรือด้วยราคาขายบวกผลตอบแทนของผู้ให้ยืม ดังนั้นไม่ให้เลิกรับรู้สินทรัพย์ ดังกล่าว ข 3.2.16.6 สิทธิเลือกที่จะขายและสิทธิเลือกที่จะซื้อซึ่งมีสถานะทําเงินอย่างมาก หากสินทรัพย์ ทางการเงินที่โอนสามารถใช้สิทธิซื้อคืนโดยผู้โอน และสิทธิเลือกที่จะซื้อมีสถานะ ทําเงินอย่างมาก การโอนถือว่าไม่เข้าเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ เนื่องจากผู้โอน ยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด ในทํานองเดียวกัน หากสินทรัพย์ทางการเงินสามารถใช้สิทธิขายคืนโดยผู้รับโอน และสิทธิเลือกที่จะขายมีสถานะทําเงินอย่างมาก การโอนถือว่าไม่เข้าเงื่อนไข การเลิกรับรู้รายการ เนื่องจากผู้โอนยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของ ความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด ข 3.2.16.7 สิทธิเลือกที่จะขายและสิทธิเลือกที่จะซื้อซึ่งมีสถานะสูญเงินอย่างมาก ให้เลิกรับรู้ สินทรัพย์ทางการเงินซึ่งโอนภายใต้สิทธิเลือกที่จะขายซึ่งมีสถานะสูญเงินอย่างมาก ที่ถือโดยผู้รับโอนหรือสิทธิเลือกที่จะซื้อซึ่งมีสถานะสูญเงินอย่างมากที่ถือโดยผู้โอน เนื่องจากผู้โอนได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบ ทั้งหมดแล้ว ข 3.2.16.8 สินทรัพย์ที่พร้อมหาได้ภายใต้สิทธิเลือกที่จะซื้อที่ไม่มีสถานะทําเงินอย่างมาก หรือสถานะสูญเงินอย่างมาก หากกิจการถือสิทธิเลือกที่จะซื้อสินทรัพย์ซึ่งพร้อม หาได้ในตลาดและสิทธิเลือกที่จะซื้อที่ไม่มีสถานะทําเงินอย่างมากหรือสถานะ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 93 สูญเงินอย่างมาก ให้เลิกรับรู้สินทรัพย์นั้น เนื่องจากกิจการ (1) ไม่ได้คงไว้ซึ่ง หรือไม่ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด และ (2) ไม่ได้คงไว้ซึ่งการควบคุม อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์ไม่พร้อมหาได้ ในตลาด ไม่ให้เลิกรับรู้รายการสําหรับจํานวนเงินของสินทรัพย์ภายใต้สิทธิเลือก ที่จะซื้อ เนื่องจากกิจการยังคงไว้ซึ่งการควบคุมในสินทรัพย์ ข 3.2.16.9 สินทรัพย์ที่ไม่พร้อมหาได้ภายใต้สิทธิเลือกที่จะขายที่ออกโดยกิจการซึ่งไม่มี สถานะทําเงินอย่างมากหรือสถานะสูญเงินอย่างมาก หากกิจการโอนสินทรัพย์ ทางการเงินซึ่งไม่พร้อมหาได้ในตลาด และออกสิทธิเลือกที่จะขายซึ่งไม่มีสถานะ สูญเงินอย่างมาก กิจการไม่คงไว้ซึ่งหรือไม่ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทน ของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดเนื่องมาจากสิทธิเลือกที่จะขายที่ออก กิจการ ยังคงไว้ซึ่งการควบคุมสินทรัพย์หากสิทธิเลือกที่จะขายมีมูลค่าสูงมากพอที่จะ ป้องกันการขายสินทรัพย์ออกไปโดยผู้รับโอน ในกรณีดังกล่าวให้ยังคงรับรู้ สินทรัพย์นี้ต่อไปตราบเท่าที่มีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของผู้โอน ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.2.9) กิจการโอนการควบคุมสินทรัพย์หากสิทธิเลือกที่จะขายไม่มีมูลค่าสูงมาก พอที่จะป้องกันการขายสินทรัพย์ออกไปโดยผู้รับโอน ในกรณีดังกล่าวให้เลิกรับรู้ สินทรัพย์นั้น ข 3.2.16.10 สินทรัพย์ภายใต้สิทธิเลือกที่จะซื้อหรือที่จะขายด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือข้อตกลง การซื้อคืนล่วงหน้า การโอนสินทรัพย์ทางการเงินที่อยู่ภายใต้สิทธิเลือกที่จะขาย หรือที่จะซื้อ หรือข้อตกลงการซื้อคืนล่วงหน้าที่มีราคาใช้สิทธิหรือราคาซื้อคืน เท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ณ วันที่มีการซื้อคืนส่งผลให้มี การเลิกรับรู้รายการ เป็นเพราะการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของ เกือบทั้งหมด ข 3.2.16.11 สิทธิเลือกที่จะซื้อหรือที่จะขายซึ่งจ่ายชําระเป็นเงินสด กิจการประเมินการโอน สินทรัพย์ทางการเงินที่อยู่ภายใต้สิทธิเลือกที่จะขายหรือจะซื้อหรือข้อตกลง การซื้อคืนล่วงหน้าที่จะจ่ายชําระสุทธิด้วยเงินสดเพื่อพิจารณาว่ากิจการยังคงไว้ ซึ่งหรือได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดแล้ว หรือไม่ หากกิจการไม่ได้คงไว้ซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็น เจ้าของเกือบทั้งหมดในสินทรัพย์ที่โอน ให้พิจารณาว่ายังคงไว้ซึ่งการควบคุม สินทรัพย์ที่โอนหรือไม่ การที่สิทธิเลือกที่จะขายหรือที่จะซื้อหรือข้อตกลงการซื้อคืน ล่วงหน้ามีการชําระสุทธิด้วยเงินสดไม่ได้หมายความโดยอัตโนมัติว่ากิจการได้ โอนการควบคุมไปแล้ว ( ดูย่อหน้าที่ ข 3.2.9 และ ข 3.2.16.7 ถึง ข 3.2.16.9 ข้างต้น ) ข 3.2.16.12 การยกเลิกการสํารองรายการ การยกเลิกการสํารองรายการคือ สิทธิเลือกที่จะ ( ซื้อ ) ซื้อคืนอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งให้สิทธิกิจการในการเรียกคืนสินทรัพย์ที่โอน โดยขึ้นอยู่กับข้อจํากัดบางอย่าง การที่สิทธิเลือกดังกล่าวส่งผลให้กิจการไม่คงไว้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 94 ซึ่งและไม่ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมด จึงทําให้ไม่สามารถเลิกรับรู้รายการเฉพาะจํานวนเงินซึ่งอยู่ภายใต้การซื้อคืน ( สมมติว่าผู้รับโอนไม่สามารถขายสินทรัพย์ ) เช่น หากมูลค่าตามบัญชีและ จํานวนเงินที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์จากการให้กู้ยืมเท่ากับ 100,000 บาท และเงินให้กู้ยืมรายการใดรายการหนึ่งสามารถเรียกซื้อคืนได้ แต่จํานวนเงิน รวบยอดของเงินให้กู้ยืมที่สามารถซื้อคืนได้ มีจํานวนไม่เกิน 10,000 บาท เงินให้กู้ยืมจํานวน 90,000 บาทจะเข้าข่ายการเลิกรับรู้รายการ ข 3.2.16.13 สิทธิเลือกที่จะล้างหนี้ กิจการซึ่งอาจจะเป็นผู้โอนซึ่งให้บริการแก่สินทรัพย์ที่โอน อาจถือสิทธิเลือกที่จะล้างหนี้เพื่อที่จะซื้อสินทรัพย์ที่โอนคงเหลือเมื่อจํานวนเงิน ของสินทรัพย์คงเหลือตกอยู่ในระดับที่ระบุไว้ซึ่งต้นทุนการให้บริการดังกล่าว กลายเป็นภาระเมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์จากการให้บริการ การที่สิทธิเลือก ที่จะล้างหนี้ดังกล่าวส่งผลให้กิจการไม่คงไว้ซึ่งและไม่ได้โอนความเสี่ยงและ ผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดและผู้รับโอนไม่สามารถขาย สินทรัพย์ได้ จึงทําให้ไม่สามารถเลิกรับรู้รายการได้เฉพาะจํานวนเงินของสินทรัพย์ ซึ่งอยู่ภายใต้สิทธิเลือกที่จะซื้อ ข 3.2.16.14 ส่วนได้เสียที่คงไว้แบบด้อยสิทธิและการคํ้าประกันด้านเครดิต กิจการอาจเสริม ความเชื่อมั่นด้านเครดิตให้ผู้รับโอนด้วยการลดสิทธิทั้งหมดหรือบางส่วนในส่วน ได้เสียที่มีอยู่ในสินทรัพย์ที่โอน หรืออีกทางหนึ่ง กิจการอาจเสริมความเชื่อมั่น ด้านเครดิตให้ผู้รับโอนในรูปแบบของการคํ้าประกันด้านเครดิตซึ่งอาจไม่จํากัด จํานวนหรือจํากัดจํานวนเงินที่ระบุไว้ หากกิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและ ผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของเกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ที่โอน ให้ยังคง รับรู้สินทรัพย์นั้นทั้งจํานวนต่อไป หากกิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและ ผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของบางส่วนแต่ไม่ใช่เกือบทั้งหมดและยังคงไว้ซึ่ง การควบคุม การเลิกรับรู้รายการไม่สามารถทําได้สําหรับจํานวนเงินสดหรือ สินทรัพย์อื่นที่กิจการจะต้องจ่ายชําระ ข 3.2.16.15 สัญญาแลกเปลี่ยนผลตอบแทนทั้งหมด กิจการอาจขายสินทรัพย์ทางการเงิน ให้แก่ผู้รับโอนและเข้าทําสัญญาแลกเปลี่ยนผลตอบแทนทั้งหมดกับผู้รับโอน โดยที่กระแสเงินสดจากดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมดของสินทรัพย์อ้างอิงจะส่งให้แก่ กิจการเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการจ่ายชําระด้วยจํานวนเงินคงที่หรือการจ่าย ชําระด้วยอัตราผันแปร และการเพิ่มขึ้นหรือการลดลงใดๆ ในมูลค่ายุติธรรม ของสินทรัพย์อ้างอิงรับผิดชอบโดยกิจการ ในกรณีดังกล่าวห้ามเลิกรับรู้รายการ สําหรับสินทรัพย์ทั้งหมด ข 3.2.16.16 สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย กิจการอาจโอนสินทรัพย์ทางการเงินที่มีอัตรา ดอกเบี้ยคงที่ให้แก่ผู้รับโอนและเข้าทําสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับ ผู้รับโอนเพื่อที่จะรับอัตราดอกเบี้ยคงที่และจ่ายอัตราดอกเบี้ยผันแปรโดยอิงกับ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 95 จํานวนเงินที่ตราไว้ซึ่งเท่ากับจํานวนเงินต้นของสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ห้ามการเลิกรับรู้รายการสําหรับสินทรัพย์ ที่โอนหากการจ่ายชําระของสัญญาแลกเปลี่ยนไม่ได้ขึ้นอยู่กับการจ่ายชําระ สินทรัพย์ที่โอน ข 3.2.16.17 สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยแบบตัดจําหน่าย กิจการอาจโอนสินทรัพย์ ทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งมีการทยอยลดเงินต้นตลอดช่วงระยะเวลา หนึ่งให้แก่ผู้รับโอนและเข้าทําสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยแบบตัดจําหน่าย กับผู้รับโอนเพื่อรับอัตราดอกเบี้ยคงที่และจ่ายอัตราดอกเบี้ยผันแปรโดยอิงกับ จํานวนเงินที่ตราไว้ ถ้าจํานวนเงินที่ตราไว้มีการตัดจําหน่ายเพื่อทําให้เท่ากับ จํานวนเงินต้นของสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนคงเหลือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง การแลกเปลี่ยนโดยทั่วไปจะส่งผลให้กิจการยังคงมีความเสี่ยงจากการชําระคืน ก่อนกําหนดที่เป็นส่วนสําคัญ ในกรณีดังกล่าวกิจการยังคงรับรู้สินทรัพย์ที่โอน ทั้งหมดต่อไปหรือยังคงรับรู้สินทรัพย์ที่โอนเฉพาะส่วนของความเกี่ยวข้อง ที่คงอยู่ ในทางกลับกัน หากการตัดจําหน่ายจํานวนเงินที่ตราไว้ของสัญญาแลกเปลี่ยน ไม่สัมพันธ์กับยอดคงเหลือของเงินต้นของสินทรัพย์ที่โอน สัญญาแลกเปลี่ยน ดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้กิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงจากการชําระคืนก่อนกําหนด จากสินทรัพย์ ดังนั้น จึงไม่ห้ามการเลิกรับรู้รายการสําหรับสินทรัพย์ที่โอนได้ หากการจ่ายชําระจากสัญญาแลกเปลี่ยนไม่ได้ขึ้นอยู่กับการจ่ายชําระดอกเบี้ยจาก สินทรัพย์ที่โอน และสัญญาแลกเปลี่ยนไม่ส่งผลให้กิจการยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงและ ผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของที่มีนัยสําคัญอื่นใดๆ ในสินทรัพย์ที่โอน ข 3.2.16.18 การตัดบัญชี กิจการไม่มีความคาดหวังอย่างสมเหตุสมผลในการได้รับคืนกระแส เงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินทั้งจํานวนหรือบางส่วน ข 3.2.17 ย่อหน้านี้เป็นตัวอย่างการนําวิธีการความเกี่ยวข้องที่คงอยู่มาใช้เมื่อความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของ กิจการเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ทางการเงิน สมมติว่ากิจการมีพอร์ตโฟลิโอของเงินให้กู้ยืมที่สามารถชําระคืนก่อนครบกําหนดได้โดยมีอัตรา ดอกเบี้ยตามสัญญาและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 10 และมีเงินต้นและราคาทุน ตัดจําหน่ายเท่ากับ 10,000 บาท กิจการได้เข้าทํารายการโอนสินทรัพย์โดยได้รับเงินจํานวน 9,115 บาท และผู้รับโอนได้รับสิทธิในการได้รับสิทธิในเงินต้นที่เรียกชําระเท่ากับ 9,000 บาท บวกดอกเบี้ยร้อยละ 9.5 ของเงินต้นดังกล่าว กิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิในเงินต้นที่เรียกชําระ เท่ากับ 1,000 บาท บวกดอกเบี้ยร้อยละ 10 ของเงินต้นดังกล่าว และบวกส่วนต่างอัตรา ดอกเบี้ย ร้อยละ 0.5 ของเงินต้นส่วนที่เหลือ 9,000 บาท เงินที่ได้รับจากการชําระคืน ก่อนครบกําหนดให้ปันส่วนระหว่างกิจการและผู้รับโอนตามสัดส่วน 1 ต่อ 9 แต่ส่วนของ การผิดนัดชําระหนี้ให้หักออกจากส่วนได้เสียของกิจการ 1,000 บาท จนกว่าส่วนนี้จะหมดไป

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 96 มูลค่ายุติธรรมของเงินให้กู้ยืม ณ วันที่ทํารายการเท่ากับ 10,100 บาท และมูลค่ายุติธรรมของ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 นั้นเท่ากับ 40 บาท กิจการพิจารณาว่ากิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของที่มีนัยสําคัญ บางส่วน ( เช่น ความเสี่ยงจากการชําระคืนก่อนครบกําหนดที่มีนัยสําคัญ ) แต่ยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยง และผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของที่มีนัยสําคัญบางส่วน ( เนื่องจากกิจการยังคงไว้ซึ่งส่วนได้เสีย แบบด้อยสิทธิ ) และยังคงไว้ซึ่งการควบคุม ดังนั้น กิจการจึงใช้วิธีการความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ในการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ให้กิจการวิเคราะห์ธุรกรรมเป็น ( ก ) การกันไว้ของส่วนได้เสียที่คงอยู่ตามสัดส่วนอย่างเต็มที่จํานวน 1,000 บาท บวกด้วย ( ข ) การด้อยสิทธิของส่วนได้เสียที่คงอยู่นั้นเพื่อเสริมความเชื่อมั่นด้านเครดิตให้แก่ผู้รับโอน สําหรับผลขาดทุนด้านเครดิต กิจการคํานวณว่าจํานวน 9,090 บาท (90% x 10,100 บาท ) ของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจํานวน 9,115 บาท คือสิ่งตอบแทนสําหรับส่วนแบ่งร้อยละ 90 ที่คิดตามสัดส่วนอย่างเต็มที่ ส่วนที่เหลือของสิ่งตอบแทนที่ได้รับ (25 บาท ) คือสิ่งตอบแทนที่ได้รับสําหรับการด้อยสิทธิ ส่วนได้เสียที่คงอยู่เพื่อเสริมความเชื่อมั่นด้านเครดิตให้แก่ผู้รับโอนสําหรับผลขาดทุน ด้านเครดิต นอกจากนั้น ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 คือสิ่งตอบแทนที่ได้รับสําหรับ การเสริมความเชื่อมั่นด้านเครดิต ดังนั้น สิ่งตอบแทนที่ได้รับทั้งหมดสําหรับการเสริม ความเชื่อมั่นด้านเครดิตเท่ากับ 65 บาท (25 บาท + 40 บาท ) กิจการคํานวณผลกําไรหรือผลขาดทุนจากการขายส่วนแบ่งร้อยละ 90 ของกระแสเงินสด สมมติว่าไม่สามารถหามูลค่ายุติธรรมที่แยกกันสําหรับส่วนของร้อยละ 10 ที่คงไว้ และร้อยละ 90 ที่โอน ณ วันที่โอน ให้กิจการปันส่วนมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 3.2.14 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ดังนี้ มูลค่ายุติธรรม ร้อยละ มูลค่าตามบัญชีที่ปันส่วน ส่วนที่โอน 9,090 90% 9,000 ส่วนที่คงไว้ 1,010 10% 1,000 รวม 10,100 10,000 กิจการคํานวณผลกําไรหรือผลขาดทุนจากการขายส่วนแบ่งร้อยละ 90 ของกระแสเงินสด โดยการหักมูลค่าตามบัญชีที่ปันส่วนของส่วนที่โอนจากสิ่งตอบแทนที่ได้รับ ซึ่งเท่ากับ 90 บาท (9,090 บาท – 9,000 บาท ) มูลค่าตามบัญชีของส่วนที่กิจการคงไว้คือ 1,000 บาท นอกจากนั้น ให้กิจการรับรู้ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ซึ่งเป็นผลมาจากการด้อยสิทธิของส่วนได้เสีย ที่คงไว้สําหรับผลขาดทุนด้านเครดิต ดังนั้น กิจการจึงรับรู้สินทรัพย์เท่ากับ 1,000 บาท

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 97 ( จํานวนเงินสูงสุดของกระแสเงินสดที่จะไม่ได้รับจากการด้อยสิทธิ ) และรับรู้หนี้สินที่เกี่ยวข้อง เท่ากับ 1,065 บาท ( ซึ่งคือจํานวนเงินสูงสุดของกระแสเงินสดที่จะไม่ได้รับจากการด้อยสิทธิ กล่าวคือ 1,000 บาท บวกด้วยมูลค่ายุติธรรมของการด้อยสิทธิ 65 บาท ) กิจการใช้ข้อมูลข้างต้นทั้งหมดในการบันทึกบัญชีดังนี้ เดบิต เครดิต สินทรัพย์เดิม - 9,000 สินทรัพย์ที่รับรู้สําหรับการด้อยสิทธิ หรือส่วนได้เสียคงเหลือ 1,000 - สินทรัพย์สําหรับสิ่งตอบแทนที่ได้รับ ในรูปแบบของส่วนต่างอัตรา ดอกเบี้ย 40 - กําไรหรือขาดทุน ( ผลกําไรจากการ โอน ) - 90 หนี้สิน - 1,065 เงินสดรับ 9,115 - รวม 10,155 10,155 ทันทีที่เกิดรายการ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์เท่ากับ 2,040 บาท ประกอบด้วย 1,000 บาทซึ่งคือต้นทุนที่ปันส่วนของส่วนที่คงไว้ และ 1,040 บาท ซึ่งคือความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ เพิ่มเติมของกิจการจากการด้อยสิทธิของส่วนได้เสียที่คงไว้สําหรับผลขาดทุนด้านเครดิต ( ซึ่งรวมส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 40 บาท ) ในรอบระยะเวลาต่อๆ มา กิจการรับรู้สิ่งตอบแทนที่ได้รับสําหรับการเสริมความเชื่อมั่น ด้านเครดิต (65 บาท ) ตามสัดส่วนของระยะเวลา และรับรู้ดอกเบี้ยจากสินทรัพย์ที่รับรู้โดย ใช้วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง และรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่รับรู้ เช่น สมมติว่า ในปีถัดมามีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินให้กู้ยืมอ้างอิง 300 บาท กิจการลดสินทรัพย์ ที่รับรู้ลง 600 บาท (300 บาทที่เกี่ยวข้องกับส่วนได้เสียที่คงไว้ และ 300 บาทที่เกี่ยวข้องกับ ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่เพิ่มเติมที่เกิดขึ้นจากการด้อยสิทธิของส่วนได้เสียที่คงไว้สําหรับ ผลขาดทุนจากการด้อยค่า ) และลดหนี้สินที่รับรู้ลง 300 บาท ผลลัพธ์สุทธิคือค่าใช้จ่ายในกําไร หรือขาดทุนสําหรับผลขาดทุนจากการด้อยค่า 300 บาท

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 98 การเลิกรับรู้รายการของหนี้สินทางการเงิน ( หมวดที่ 3.3) ข 3.3.1 หนี้สินทางการเงิน ( หรือบางส่วนของหนี้สินทางการเงิน ) สิ้นสุดลงเมื่อลูกหนี้มีลักษณะใด ลักษณะหนึ่งต่อไปนี้ ข 3.3.1.1 ยกเลิกหนี้สิน ( หรือบางส่วนของหนี้สิน ) โดยจ่ายชําระแก่เจ้าหนี้ ซึ่งโดยปกติเป็น เงินสด สินทรัพย์ทางการเงินอื่น สินค้าหรือบริการ หรือ ข 3.3.1.2 หลุดพ้นตามกฎหมายจากความรับผิดชอบหลักสําหรับหนี้สินนั้น ( หรือบางส่วน ของหนี้สิน ) โดยกระบวนการทางกฎหมายหรือโดยเจ้าหนี้ ( หากลูกหนี้ได้ให้การ คํ้าประกันไว้ ก็ยังอาจเข้าเงื่อนไขนี้ได้ ) ข 3.3.2 หากผู้ออกตราสารหนี้ซื้อคืนตราสารนั้น ให้ถือว่าหนี้สินนั้นสิ้นสุดลง ถึงแม้ว่าผู้ออกจะเป็น ผู้สร้างสภาพคล่องในตลาดของตราสารนั้นหรือมีเจตจํานงที่จะขายคืนในระยะเวลาอันใกล้ ข 3.3.3 การจ่ายชําระแก่บุคคลที่สามซึ่งรวมถึงทรัสต์ ( ในบางครั้งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘in- substance defeasance’) ด้วยตัวเองแล้วไม่ได้ปลดเปลื้องลูกหนี้จากภาระผูกพันหลักต่อเจ้าหนี้ หากปราศจากการปลดหนี้ตามกฎหมาย ข 3.3.4 หากลูกหนี้จ่ายชําระแก่บุคคลที่สามเพื่อให้รับภาระผูกพันและแจ้งเจ้าหนี้ว่าบุคคลที่สาม ได้รับภาระผูกพันในหนี้สินไว้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่สามารถเลิกรับรู้ภาระผูกพันในหนี้สินได้ เว้นแต่จะ เป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ ข 3.3.1.2 หากลูกหนี้จ่ายชําระแก่บุคคลที่สามเพื่อให้รับภาระ ผูกพันและได้รับการปลดหนี้ตามกฎหมายจากเจ้าหนี้ ให้ถือว่าลูกหนี้ทําให้หนี้สิ้นสุดลงแล้ว อย่างไรก็ตาม หากลูกหนี้ตกลงที่จะชําระหนี้ให้แก่บุคคลที่สามหรือชําระหนี้โดยตรงไปยังเจ้าหนี้ เดิม ให้ลูกหนี้รับรู้ภาระผูกพันในหนี้สินใหม่ที่มีต่อบุคคลที่สาม ข 3.3.5 ถึงแม้ว่าการปลดหนี้ตามกฎหมายไม่ว่าจะโดยกระบวนการทางกฎหมายหรือโดยเจ้าหนี้ ส่งผลให้มีการเลิกรับรู้รายการของหนี้สิน กิจการอาจรับรู้หนี้สินใหม่หากสินทรัพย์ทางการเงิน ที่โอนไม่เข้าเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการตามย่อหน้าที่ 3.2.1 ถึง 3.2.23 หากไม่เป็นไปตาม เงื่อนไขดังกล่าว จะไม่เลิกรับรู้สินทรัพย์ที่โอน และรับรู้หนี้สินใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่โอน ข 3.3.6 เพื่อวัตถุประสงค์ของย่อหน้าที่ 3.3.2 เงื่อนไขถือว่ามีความแตกต่างอย่างยิ่งหากมูลค่าปัจจุบัน คิดลดของกระแสเงินสดภายใต้เงื่อนไขใหมซึ่งรวมค่าธรรมเนียมจ่ายใดๆ สุทธิด้วย ค่าธรรมเนียมรับใดๆ และคิดลดโดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเดิม มีความแตกต่างอย่างน้อย ร้อยละ 10 จากมูลค่าปัจจุบันคิดลดของกระแสเงินสดคงเหลือของหนี้สินทางการเงินเดิม ในการพิจารณาค่าธรรมเนียมจ่ายสุทธิด้วยค่าธรรมเนียมรับ ให้ผู้กู้ยืมรวมเพียงค่าธรรมเนียม จ่ายหรือรับระหว่างผู้กู้ยืมและผู้ให้กู้ยืมเท่านั้นโดยรวมค่าธรรมเนียมจ่ายหรือรับที่ผู้กู้ยืมหรือ ผู้ให้กู้ยืมกระทําในนามของผู้อื่นด้วย ข 3.3.6 ก หากการแลกเปลี่ยนตราสารหนี้หรือการปรับแต่งเงื่อนไขได้ถือว่าเป็นการสิ้นสุดของหนี้สิน ให้รับรู้ต้นทุนหรือค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของผลกําไรหรือผลขาดทุนจากการสิ้นสุด ของหนี้สิน หากการแลกเปลี่ยนหรือการปรับแต่งเงื่อนไขไม่ถือว่าเป็นการสิ้นสุดของหนี้สิน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 99 ให้ปรับปรุงต้นทุนหรือค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นกับมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินและตัดจําหน่าย ตลอดระยะเวลาคงเหลือของหนี้สินที่มีการปรับแต่ง ข 3.3.7 ในบางกรณี เจ้าหนี้ปลดเปลื้องลูกหนี้จากภาระผูกพันปัจจุบันในการจ่ายชําระ แต่ลูกหนี้ รับภาระผูกพันจากการคํ้าประกันการจ่ายชําระหากคู่สัญญาที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักผิดนัดชําระหนี้ ในสภาพแวดล้อมดังกล่าวให้ลูกหนี้ ข 3.3.7.1 รับรู้หนี้สินทางการเงินใหม่ ด้วยมูลค่ายุติธรรมของภาระผูกพันสําหรับการคํ้าประกัน และ ข 3.3.7.2 รับรู้ผลกําไรหรือผลขาดทุนด้วยผลต่างระหว่าง (1) จํานวนเงินที่จ่ายใดๆ และ (2) มูลค่าตามบัญชีของหนี้สินทางการเงินเดิมหักด้วยมูลค่ายุติธรรมของหนี้สิน ทางการเงินใหม่ การจัดประเภทรายการ ( บทที่ 4) การจัดประเภทรายการของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หมวดที่ 4.1) โมเดลธุรกิจของกิจการในการจัดการสินทรัพย์ทางการเงิน ข 4.1.1 ย่อหน้าที่ 4.1.1.1 กําหนดให้กิจการจัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงินตามโมเดลธุรกิจของ กิจการในการจัดการสินทรัพย์ทางการเงิน เว้นแต่จะเป็นไปตามย่อหน้าที่ 4.1.5 ในการประเมินว่าสินทรัพย์ทางการเงินของกิจการมีลักษณะเป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.1 หรือย่อหน้าที่ 4.1.2 ก .1 หรือไม่ ให้กิจการพิจารณาจากโมเดลธุรกิจซึ่งกําหนดโดย ผู้บริหารสําคัญของกิจการ ( ตามคํานิยามในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 เรื่อง การเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ) ข 4.1.2 ให้พิจารณาโมเดลธุรกิจของกิจการในระดับที่สะท้อนว่ากลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงิน มีการบริหารร่วมกันอย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจนั้นๆ โมเดลธุรกิจของกิจการ ไม่ขึ้นอยู่กับเจตจํานงของผู้บริหารสําหรับเครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการ ดังนั้น เงื่อนไขนี้ จึงมิใช่วิธีการจัดประเภทรายการเป็นแบบทีละรายการ แต่ควรพิจารณาในระดับภาพรวม ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม กิจการแห่งหนึ่งอาจมีโมเดลธุรกิจในการบริหารเครื่องมือทางการเงิน มากกว่าหนึ่งโมเดลได้ ดังนั้น การจัดประเภทจึงไม่จําเป็นต้องพิจารณาในระดับกิจการที่เสนอ รายงาน เช่น กิจการอาจถือพอร์ตโฟลิโอของเงินลงทุนที่บริหารเพื่อรับกระแสเงินสด ตามสัญญาและอีกพอร์ตโฟลิโอของเงินลงทุนหนึ่งที่บริหารเพื่อซื้อขายและรับรู้การเปลี่ยนแปลง ของมูลค่ายุติธรรม ในทํานองเดียวกัน ในบางสภาพแวดล้อมอาจมีความเหมาะสมที่จะแยก พอร์ตโฟลิโอของสินทรัพย์ทางการเงินออกเป็นพอร์ตโฟลิโอย่อย เพื่อสะท้อนระดับที่กิจการ บริหารสินทรัพย์ทางการเงิน ตัวอย่างเช่น อาจมีกรณีที่กิจการเริ่มเองหรือซื้อพอร์ตโฟลิโอของเงิน ให้กู้ยืมแบบมีหลักประกันและบริหารเงินให้กู้ยืมบางส่วนด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรับกระแสเงินสด ตามสัญญาและบริหารเงินให้กู้ยืมส่วนที่เหลือด้วยวัตถุประสงค์เพื่อขายเงินให้กู้ยืมดังกล่าว

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 100 ข 4.1.2 ก โมเดลธุรกิจของกิจการหมายถึงวิธีที่กิจการบริหารสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อสร้างกระแสเงินสด กล่าวคือโมเดลธุรกิจของกิจการกําหนดว่ากระแสเงินสดจะมาจากการรับกระแสเงินสดตาม สัญญา การขายสินทรัพย์ทางการเงิน หรือทั้งสองอย่าง ดังนั้น การประเมินนี้จึงไม่ได้จัดทําขึ้น โดยอิงกับฉากทัศน์ที่กิจการไม่ได้คาดอย่างสมเหตุสมผลว่าจะเกิดขึ้น เช่น ที่เรียกกันว่า ฉากทัศน์ที่แย่ที่สุดหรือฉากทัศน์ที่กดดัน เช่น ถ้ากิจการคาดว่าจะขายพอร์ตโฟลิโอของ สินทรัพย์ทางการเงินนั้นๆ เฉพาะในฉากทัศน์ที่กดดัน ฉากทัศน์ดังกล่าวจะไม่กระทบ การประเมินโมเดลธุรกิจของกิจการสําหรับสินทรัพย์เหล่านั้น ถ้ากิจการคาดการณ์อย่าง สมเหตุสมผลว่าฉากทัศน์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น ถ้ากระแสเงินสดมีการรับรู้ในแนวทางที่แตกต่าง จากที่กิจการคาดการณ์ ณ วันที่กิจการประเมินโมเดลธุรกิจ ( ตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการขาย สินทรัพย์ทางการเงินมากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เมื่อมีการจัดประเภทสินทรัพย์ ) จะไม่ทําให้เกิดข้อผิดพลาดในงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาก่อน ( ดูมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ) หรือไม่ได้เปลี่ยนแปลงการจัดประเภทรายการของสินทรัพย์ทางการเงินคงเหลือที่อยู่ในโมเดล ธุรกิจเหล่านั้น ( กล่าวคือ สินทรัพย์เหล่านั้นที่กิจการรับรู้ในรอบระยะเวลาก่อนและยังคงถืออยู่ ) ตราบเท่าที่กิจการพิจารณาถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทั้งหมดที่สามารถหาได้ในเวลา ที่มีการประเมินโมเดลธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เมื่อกิจการประเมินโมเดลธุรกิจสําหรับสินทรัพย์ ทางการเงินที่เริ่มเองใหม่หรือซื้อใหม่ กิจการต้องพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรับรู้กระแสเงินสด ในอดีตควบคู่ไปกับข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทั้งหมด ข 4.1.2 ข โมเดลธุรกิจของกิจการในการบริหารสินทรัพย์ทางการเงินเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงไม่ใช่เพียง แค่คํากล่าว โดยปกติสามารถสังเกตได้จากกิจกรรมที่กิจการปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของ โมเดลธุรกิจ กิจการจําเป็นต้องใช้วิจารณญาณเมื่อประเมินโมเดลธุรกิจสําหรับการจัดการ สินทรัพย์ทางการเงิน และการประเมินนั้นไม่ได้ใช้เพียงปัจจัยเดียวหรือกิจกรรมเดียว แต่กิจการต้องใช้หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทั้งหมดที่สามารถหาได้ ณ วันประเมิน หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดังกล่าวรวมข้อมูลต่อไปนี้แต่ไม่จํากัดเพียงเท่านี้ ข 4.1.2 ข .1 ผลการดําเนินงานของโมเดลธุรกิจและสินทรัพย์ทางการเงินที่ถือไว้ตามโมเดล ธุรกิจจะประเมินและรายงานอย่างไรต่อผู้บริหารสําคัญของกิจการ ข 4.1.2 ข .2 ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อผลการดําเนินงานของโมเดลธุรกิจ ( และสินทรัพย์ ทางการเงินที่ถือตามโมเดลธุรกิจ ) และวิธีการบริหารความเสี่ยง และ ข 4.1.2 ข .3 ผู้จัดการของธุรกิจได้รับค่าตอบแทนอย่างไร ( เช่น ค่าตอบแทนอิงกับมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ที่บริหารหรือกระแสเงินสดตามสัญญาที่ได้รับ ) โมเดลธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา ข 4.1.2 ค สินทรัพย์ทางการเงินที่ถือตามโมเดลธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์เพื่อรับ กระแสเงินสดตามสัญญามีการบริหารเพื่อรับรู้กระแสเงินสดโดยรับกระแสเงินสดตามสัญญา ตลอดอายุของตราสาร นั่นคือกิจการบริหารสินทรัพย์ที่ถือภายใต้พอร์ตโฟลิโอเพื่อรับ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 101 กระแสเงินสดตามสัญญา ( แทนที่จะบริหารผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตโฟลิโอโดยทั้ง ถือครองและขายสินทรัพย์ ) ในการพิจารณาว่ากระแสเงินสดจะรับรู้โดยการรับกระแสเงินสด ตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน จําเป็นต้องพิจารณาความถี่ มูลค่า และจังหวะเวลาของ การขายในรอบระยะเวลาก่อนๆ เหตุผลสําหรับการขายและการคาดคะเนเกี่ยวกับการขายใน อนาคต อย่างไรก็ตาม การขายด้วยตัวของมันเองไม่ได้บ่งบอกโมเดลธุรกิจ ดังนั้นจึงไม่สามารถ พิจารณาอย่างเป็นอิสระจากกันได้ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับการขายในอดีตและการคาดคะเนการขาย ในอนาคตให้หลักฐานที่เกี่ยวข้องว่าวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ของกิจการในการบริหารสินทรัพย์ทาง การเงินว่าจะบรรลุได้อย่างไร หรือกล่าวให้ชัดเจนว่ากระแสเงินสดมีการรับรู้ได้อย่างไร กิจการ ต้องพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการขายในอดีตภายใต้บริบทของเหตุผลของการขายและเงื่อนไขที่ มีอยู่ ณ เวลานั้นเพื่อเปรียบเทียบกับเงื่อนไขในปัจจุบัน ข 4.1.3 ถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจของกิจการอาจเป็นเพื่อถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา กิจการไม่จําเป็นต้องถือตราสารทั้งหมดไว้จนครบกําหนดก็ได้ ดังนั้น โมเดลธุรกิจของกิจการยังสามารถเป็นการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับ กระแสเงินสดตามสัญญา แม้ว่าจะมีการขายสินทรัพย์ทางการเงินขณะนี้หรือคาดว่าจะมีการขาย ในอนาคตก็ตาม ข 4.1.3 ก โมเดลธุรกิจอาจเป็นการถือครองสินทรัพย์เพื่อรับเก็บกระแสเงินสดตามสัญญาแม้ว่ากิจการ ขายสินทรัพย์ทางการเงินเมื่อความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ในการพิจารณาว่า ความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นหรือไม่ ให้กิจการพิจารณาข้อมูลที่สนับสนุนและ สมเหตุสมผล รวมถึงข้อมูลที่มองไปข้างหน้า การขายเนื่องจากความเสี่ยงด้านเครดิตของ สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นโดยไม่คํานึงถึงความถี่และมูลค่าไม่ขัดแย้งกับโมเดลธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ ในการถือครองสินทรัพย์เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา เนื่องจากคุณภาพด้านเครดิตของ สินทรัพย์ทางการเงินมีความเกี่ยวข้องในการตัดสินใจต่อความสามารถของกิจการในการรับ กระแสเงินสดตามสัญญา กิจกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลด ผลขาดทุนด้านเครดิตที่เป็นไปได้ อันเนื่องมาจากเครดิตที่แย่ลงถือเป็นสิ่งที่จําเป็นต่อโมเดล ธุรกิจ การขายสินทรัพย์ทางการเงินเนื่องจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขด้านเครดิตที่ระบุไว้ใน นโยบายการลงทุนที่เป็นลายลักษณ์อักษรของกิจการอีกต่อไปเป็นตัวอย่างของการขายที่ได้ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่มีนโยบาย กําหนดไว้ กิจการอาจแสดงให้เห็นด้วยวิธีอื่นว่าการขายที่เกิดขึ้นเพราะความเสี่ยงด้านเครดิต เพิ่มขึ้น ข 4.1.3 ข การขายที่เกิดขึ้นจากเหตุผลอื่น เช่น การขายที่เกิดขึ้นเพื่อบริหารความเสี่ยงจากการกระจุกตัว ของสินเชื่อ ( โดยความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ไม่ได้เพิ่มขึ้น ) อาจสอดคล้องกับโมเดล ธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา การขายนั้นอาจจะสอดคล้องกับโมเดลธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ ทางการเงินเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา ถ้าการขายนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อย ( แม้ว่ามูลค่าจะ มีนัยสําคัญ ) หรือมูลค่าไม่มีนัยสําคัญทั้งยอดแต่ละรายการหรือยอดรวม ( แม้ว่าจะเกิดขึ้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 102 บ่อย ) ถ้าจํานวนครั้งของการขายออกจากพอร์ตโฟลิโอเกินกว่าระดับที่ถือว่าไม่บ่อยและ การขายนั้นมีมูลค่าที่เกินกว่ามูลค่าที่ไม่มีนัยสําคัญ ( เมื่อพิจารณายอดแต่ละรายการหรือ ยอดรวม ) กิจการจําเป็นต้องประเมินว่าการขายนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรับ กระแสเงินสดตามสัญญาหรือไม่และอย่างไร ไม่ว่าบุคคลที่สามจะสร้างข้อกําหนดในการขาย สินทรัพย์ทางการเงินหรือกิจกรรมนั้นเป็นดุลพินิจของกิจการไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินนี้ การเพิ่มขึ้นของความถี่หรือมูลค่าของการขายในรอบระยะเวลาหนึ่งไม่จําเป็นว่าจะขัดแย้งกับ วัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา ถ้ากิจการ สามารถอธิบายเหตุผลของการขายเหล่านั้นและแสดงให้เห็นว่าเหตุใดการขายเหล่านั้น จึงไม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของโมเดลธุรกิจของกิจการ นอกจากนี้การขายอาจสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา หากการขาย เกิดขึ้นใกล้วันครบกําหนดของสินทรัพย์ทางการเงินและเงินรับจากการขายนั้นมีจํานวน ใกล้เคียงกับการรับกระแสเงินสดที่คงเหลือตามสัญญา ข 4.1.4 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นกรณีที่โมเดลธุรกิจมีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา ตัวอย่างดังต่อไปนี้มิได้ครอบคลุมทุกกรณี นอกจากนี้ตัวอย่างนี้ ไม่ได้มุ่งหวังที่จะอภิปรายปัจจัยทั้งหมดที่อาจเกี่ยวข้องกับการประเมินโมเดลธุรกิจของกิจการ หรือระบุระดับของความสําคัญของปัจจัยเหล่านั้น ตัวอย่าง การวิเคราะห์ ตัวอย่าง 1 กิจการถือครองเงินลงทุนเพื่อรับกระแสเงินสด ตามสัญญา ความต้องการเงินทุนของกิจการ สามารถคาดการณ์ได้ และวันครบกําหนดของ สินทรัพย์ทางการเงินจับคู่ได้กับประมาณการ ความต้องการเงินทุนของกิจการ กิจการดําเนินกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง ด้านเครดิตด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการลดผล ขาดทุนด้านเครดิต ในอดีตการขายมักเกิดขึ้น เมื่อความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ทาง การเงินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งสินทรัพย์นั้นไม่ เป็นไปตามเงื่อนไขทางด้านเครดิตตามที่ระบุ ไว้ในนโยบายการลงทุนที่เป็นลายลักษณ์อักษร ของกิจการอีกต่อไป นอกจากนี้การขายที่ เกิดขึ้นไม่บ่อยเป็นผลมาจากความต้องการ เงินทุนที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ แม้ว่ากิจการจะพิจารณามูลค่ายุติธรรมของ สินทรัพย์ทางการเงินในมุมมองสภาพคล่อง ท่ามกลางข้อมูลอื่น ( กล่าวคือจํานวนเงินสดที่จะ รับรู้ถ้ากิจการจําเป็นต้องขายสินทรัพย์นั้น ) วัตถุประสงค์ของกิจการคือการถือครอง สินทรัพย์ทางการเงินไว้เพื่อรับกระแสเงินสด ตามสัญญา การขายจะไม่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ ดังกล่าว ถ้าเป็นการตอบสนองต่อความเสี่ยง ด้านเครดิตของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น เช่น ถ้าสินทรัพย์ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขด้านเครดิต ตามที่ระบุในนโยบายการลงทุนที่เป็นลายลักษณ์ อักษรของกิจการอีกต่อไป การขายที่เกิดขึ้น ไม่บ่อยเป็นผลมาจากการความต้องการเงินทุน ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ( เช่นในฉากทัศน์ที่กดดัน ) จะไม่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว แม้ว่า การขายจะมีมูลค่าที่มีนัยสําคัญ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 103 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ รายงานถึงผู้บริหารสําคัญของกิจการเน้น คุณภาพเครดิตของสินทรัพย์ทางการเงิน และ ผลตอบแทนตามสัญญา กิจการยังต้องติดตาม มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ท่ามกลางข้อมูลอื่น ตัวอย่าง การวิเคราะห์ ตัวอย่าง 2 โมเดลธุรกิจของกิจการ คือ การซื้อพอร์ตโฟลิโอ ของสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น เงินให้กู้ยืม พอร์ตโฟลิโอเหล่านั้นอาจรวมหรืออาจไม่รวม สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้าน เครดิตก็ได้ ถ้าการจ่ายชําระเงินให้กู้ยืมไม่ตรงตามเวลา กิจการจะพยายามใช้วิธีการต่างๆ เพื่อรับรู้ซึ่ง กระแสเงินสดตามสัญญานั้น เช่น โดยการติดต่อ กับลูกหนี้ผ่านทางจดหมายแจ้ง โทรศัพท์ หรือ โดยวิธีการอื่น วัตถุประสงค์ของกิจการคือเพื่อ รับกระแสเงินสดตามสัญญา และกิจการไม่ได้ บริหารเงินให้กู้ยืมในพอร์ฟโฟลิโอนี้ด้วย วัตถุประสงค์ที่จะรับรู้กระแสเงินสดจากการขาย ในบางกรณี กิจการอาจทําสัญญาแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยเพื่อเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของ สินทรัพย์ทางการเงินหนึ่งในพอร์ฟโฟลิโอจาก อัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจของกิจการคือการ ถือสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแสเงินสด ตามสัญญา สามารถใช้แนวทางการวิเคราะห์เดียวกัน แม้ว่า กิจการมิได้คาดว่าจะได้รับกระแสเงินสดตาม สัญญาทั้งหมด ( เช่น สินทรัพย์ทางการเงินบาง รายการมีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ การรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก ) นอกจากนี้ การที่กิจการเข้าทํารายการอนุพันธ์ เพื่อปรับกระแสเงินสดของพอร์ตโฟลิโอ ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของกิจการ ตัวอย่าง การวิเคราะห์ ตัวอย่างที่ 3 กิจการมีโมเดลธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการ ให้กู้ยืมกับลูกค้าเอง และในภายหลังขายเงิน ให้กู้ยืมนั้นให้กับตัวกลางที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแปลง ถือว่ากลุ่มกิจการให้กู้ยืมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ รับกระแสเงินสดตามสัญญา อย่างไรก็ตาม กิจการผู้ให้กู้ยืมมีวัตถุประสงค์ที่ จะรับรู้กระแสเงินสดจากพอร์ตโฟลิโอของเงิน ให้กู้ยืมโดยการขายเงินให้กู้ยืมแก่ตัวกลาง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 104 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตัวกลางนี้ออกตรา สารให้กับผู้ลงทุนต่อไป กิจการผู้ให้กู้ยืมควบคุมตัวกลางดังกล่าว จึง ต้องรวมตัวกลางไว้ในกลุ่มกิจการด้วย ตัวกลางนี้เป็นผู้รับกระแสเงินสดตามสัญญา จากเงินให้กู้ยืมและส่งต่อให้กับผู้ลงทุน ในตัวอย่างนี้ สมมติให้เงินให้กู้ยืมยังคง รับรู้ในงบฐานะการเงินรวมเนื่องจากตัวกลางยัง ไม่ได้เลิกรับรู้เงินให้กู้ยืมดังกล่าว ดังนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทํางบการเงิน เฉพาะกิจการจะไม่ถือว่าเป็นการบริหาร พอร์ตโฟลิโอเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา ตัวอย่าง การวิเคราะห์ ตัวอย่างที่ 4 สถาบันการเงินถือสินทรัพย์ทางการเงิน เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการด้านสภาพ คล่องภายใต้ฉากทัศน์ที่กดดัน ( เช่น การแห่ ถอนเงินฝากธนาคาร ) กิจการไม่ได้คาดการณ์ ว่าจะขายสินทรัพย์เหล่านี้ เว้นแต่อยู่ภายใต้ ฉากทัศน์นั้น กิจการติดตามคุณภาพเครดิตของสินทรัพย์ ทางการเงินและวัตถุประสงค์ในการบริหาร สินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแสเงินสด ตามสัญญา กิจการประเมินผลการดําเนินงาน ของสินทรัพย์บนพื้นฐานของดอกเบี้ยรับที่ เกิดขึ้นและผลขาดทุนด้านเครดิตที่รับรู้ อย่างไรก็ตาม กิจการต้องติดตามมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินจากมุมมอง สภาพคล่องด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าจํานวนเงินสด ที่จะรับรู้ถ้ากิจการจําเป็นต้องขายสินทรัพย์ ภายใต้ฉากทัศน์ที่กดดันจะมีความเพียงพอ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการด้านสภาพ คล่องของกิจการ กิจการทําการขายที่มูลค่าไม่ วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจของกิจการคือ การถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับ กระแสเงินสดตามสัญญา การวิเคราะห์จะไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าในระหว่าง ฉากทัศน์ที่กดดันก่อนหน้า กิจการมีการขายที่ มูลค่ามีนัยสําคัญเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ ด้านสภาพคล่อง ในทํานองเดียวกัน กิจกรรม การขายที่เกิดขึ้นซํ้าๆ ซึ่งมูลค่าไม่มีนัยสําคัญที่ ไม่ขัดแย้งกับการถือสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อ รับกระแสเงินสดตามสัญญา ในทางกลับกัน ถ้ากิจการถือสินทรัพย์ทาง การเงินเพื่อให้ให้เป็นไปตามความต้องการด้าน สภาพคล่องของทุกวัน และการเป็นไปตาม วัตถุประสงค์นั้นเกี่ยวพันกับการขายบ่อยครั้งที่ มูลค่ามีนัยสําคัญ วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจ ของกิจการคือไม่ได้ถือครองสินทรัพย์ทาง การเงินเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา ในทํานองเดียวกัน ถ้ากิจการโดนบังคับโดย หน่วยงานกํากับดูแลให้ขายสินทรัพย์ทางการเงิน เป็นประจําเพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์นั้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 105 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ มีนัยสําคัญเพื่อแสดงให้เห็นสภาพคล่องอยู่ เป็นระยะๆ มีสภาพคล่องและมูลค่าของสินทรัพย์ที่ขาย มีนัยสําคัญ โมเดลธุรกิจของกิจการคือไม่ถือ ครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแสเงินสด ตามสัญญา ไม่ว่าบุคคลที่สามจะสร้างข้อกําหนด ในการขายสินทรัพย์ทางการเงินหรือกิจกรรม นั้นเป็นดุลพินิจของกิจการไม่เกี่ยวข้องกับ การประเมินนี้ โมเดลธุรกิจที่บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยทั้งการรับกระแสเงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์ ทางการเงิน ข 4.1.4 ก กิจการอาจถือสินทรัพย์ทางการเงินตามโมเดลธุรกิจที่บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยทั้งการรับกระแส เงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์ทางการเงิน สําหรับโมเดลธุรกิจประเภทนี้ ผู้บริหาร สําคัญของกิจการได้ตัดสินใจว่าทั้งการรับกระแสเงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์ ทางการเงินเป็นสิ่งที่จําเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจ มีวัตถุประสงค์หลาย ประการที่อาจสอดคล้องกับโมเดลธุรกิจประเภทนี้ เช่น วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจอาจทํา เพื่อบริหารความต้องการด้านสภาพคล่องของทุกวัน เพื่อดํารงข้อมูลอัตราผลตอบแทน ด้านดอกเบี้ย หรือเพื่อจับคู่ระหว่างอายุที่เหลือของสินทรัพย์ทางการเงินกับอายุที่เหลือของ หนี้สินที่เป็นแหล่งเงินทุนของสินทรัพย์เหล่านั้น การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ กิจการจะ ทั้งรับกระแสเงินสดตามสัญญาและขายสินทรัพย์ทางการเงิน ข 4.1.4 ข เมื่อเปรียบเทียบกับโมเดลธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับ กระแสเงินสดตามสัญญา โมเดลธุรกิจนี้มักจะเกี่ยวพันกับการขายที่มีมูลค่ามากกว่าและที่มี ความถี่สูงกว่า เนื่องจากการขายสินทรัพย์ทางการเงินเป็นสิ่งที่จําเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์ ของโมเดลธุรกิจ ไม่ใช่การเกิดขึ้นโดยเหตุบังเอิญ อย่างไรก็ตามไม่มีการกําหนดระดับความถี่ หรือมูลค่าการขายที่ต้องเกิดขึ้นภายใต้โมเดลธุรกิจนี้ เพราะทั้งการรับกระแสเงินสดตามสัญญา และการขายสินทรัพย์ทางการเงินนั้นเป็นสิ่งที่จําเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ข 4.1.4 ค ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นกรณีที่บรรลุวัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจของกิจการได้ด้วยทั้งการรับ กระแสเงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์ทางการเงิน ตัวอย่างดังต่อไปนี้มิได้ครอบคลุม ทุกกรณี นอกจากนี้ตัวอย่างนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะอภิปรายปัจจัยทั้งหมดที่อาจเกี่ยวข้องกับ การประเมินโมเดลธุรกิจของกิจการหรือระบุระดับของความสําคัญของปัจจัยเหล่านั้น ตัวอย่าง การวิเคราะห์ ตัวอย่างที่ 5 วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจบรรลุได้ด้วยทั้งการ รับกระแสเงินสดตามสัญญาและการขาย

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 106 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ กิจการคาดการณ์ว่าจะมีรายจ่ายฝ่ายทุนในช่วง สองสามปีนี้ กิจการใช้เงินสดส่วนเกินลงทุนใน สินทรัพย์ทางการเงินระยะสั้นและระยะยาวเพื่อ เป็นแหล่งเงินทุนสําหรับรายจ่ายเมื่อมีความ จําเป็น สินทรัพย์ทางการเงินจํานวนมากมีอายุ ตามสัญญาที่เกินกว่าระยะเวลาลงทุนที่กิจการ คาดการณ์ไว้ กิจการจะถือสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแส เงินสดตามสัญญาและเมื่อมีโอกาสกิจการจะขาย สินทรัพย์ทางการเงินเพื่อนําเงินสดไปลงทุนใหม่ ในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีผลตอบแทนสูงกว่า ผู้จัดการที่รับผิดชอบพอร์ตโฟลิโอได้รับค่าตอบแทน โดยอิงกับผลตอบแทนโดยรวมที่เกิดจากพอร์ต โฟลิโอ สินทรัพย์ทางการเงิน กิจการจะตัดสินใจบน เกณฑ์ที่ใช้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าการรับกระแสเงิน สดตามสัญญาหรือการขายสินทรัพย์ทางการเงิน จะทําให้ผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอสูงสุด จนกว่าจะมีความต้องการใช้เงินสดที่ลงทุนไป ในทางกลับกัน ให้พิจารณากิจการที่คาดว่าจะมี กระแสเงินสดจ่ายใน 5 ปีข้างหน้าเพื่อเป็นแหล่ง เงินทุนสําหรับรายจ่ายฝ่ายทุนและนําเงินสด ส่วนเกินไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินระยะ สั้น เมื่อเงินลงทุนครบกําหนด กิจการนําเงินสด ไปลงทุนใหม่ในสินทรัพย์ทางการเงินระยะสั้น ใหม่ กิจการยังคงใช้กลยุทธ์นี้จนกระทั่งมีความ จําเป็นที่ต้องใช้แหล่งเงินทุน ซึ่งเป็นเวลาที่กิจการ ใช้เงินรับจากสินทรัพย์ทางการเงินที่จะครบ กําหนดเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสําหรับรายจ่ายฝ่าย ทุน เฉพาะการขายที่มูลค่าไม่มีนัยสําคัญเกิดขึ้น ก่อนครบกําหนด ( เว้นแต่ความเสี่ยงด้านเครดิต เพิ่มขึ้น ) วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจที่ตรงข้าม คือการถือสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับกระแส เงินสดตามสัญญา ตัวอย่าง การวิเคราะห์ ตัวอย่างที่ 6 สถาบันการเงินถือสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อให้ เป็นไปตามความต้องการด้านสภาพคล่องของทุก วัน กิจการมองหาการลดต้นทุนให้ตํ่าที่สุดในการ บริหารความต้องการด้านสภาพคล่อง และจึง บริหารผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโออย่างแข็ง ขัน ผลตอบแทนเหล่านั้นประกอบด้วยการรับ กระแสเงินสดตามสัญญาตลอดจนผลกําไรและ ผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ทางการเงิน ดังนั้นกิจการถือสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อรับ กระแสเงินสดตามสัญญาและขายสินทรัพย์ทาง วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจคือการสร้าง ผลตอบแทนสูงสุดของพอร์ตโฟลิโอเพื่อให้ เป็นไปตามความต้องการด้านสภาพคล่องของ ทุกวัน และกิจการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ด้วยทั้ง การรับกระแสเงินสดตามสัญญาและขาย สินทรัพย์ทางการเงิน อีกนัยหนึ่งทั้งการรับกระ แสเงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์ทาง การเงินเป็นสิ่งที่จําเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์ ของโมเดลธุรกิจ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 107 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ การเงินเพื่อลงทุนใหม่ในสินทรัพย์ทางการเงินที่ ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือเพื่อให้จับคู่ดีขึ้นกับ อายุที่เหลือของหนี้สิน ในอดีตกลยุทธ์นี้ส่งผลให้ มีกิจกรรมการขายบ่อยครั้ง และมีมูลค่าการขาย ที่มีนัยสําคัญ กิจกรรมนี้คาดว่าจะมีอยู่ต่อไปใน อนาคต ตัวอย่าง การวิเคราะห์ ตัวอย่างที่ 7 ผู้รับประกันภัยถือสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อเป็น แหล่งเงินทุนสําหรับหนี้สินจากสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยใช้เงินรับจากกระแสเงินสดตาม สัญญาจากสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อชําระหนี้สิน จากสัญญาประกันภัยเมื่อถึงกําหนดชําระ เพื่อให้ มั่นใจว่ากระแสเงินสดตามสัญญาจากสินทรัพย์ ทางการเงินเพียงพอที่จะชําระหนี้สินเหล่านั้น ผู้รับประกันภัยเข้าทํากิจกรรมการซื้อและการ ขายที่มีนัยสําคัญเป็นประจําเพื่อปรับสมดุล พอร์ตโฟลิโอของสินทรัพย์ และเพื่อให้เป็นไป ตามความต้องการกระแสเงินสดเมื่อมีความ จําเป็น วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจคือการเป็นแหล่ง เงินทุนสําหรับหนี้สินจากสัญญาประกันภัย เพื่อ บรรลุวัตถุประสงค์นี้ กิจการรับกระแสเงินสด ตามสัญญาเมื่อครบกําหนด และขายสินทรัพย์ ทางการเงินเพื่อคงไว้ซึ่งลักษณะที่ต้องการของ พอร์ตโฟลิโอของสินทรัพย์ ดังนั้นทั้งการรับ กระแสเงินสดตามสัญญา และการขายสินทรัพย์ ทางการเงินจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นในการบรรลุ วัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจ โมเดลธุรกิจแบบอื่น ข 4.1.5 ให้วัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนถ้าสินทรัพย์ ทางการเงินเหล่านั้นไม่ได้ถือไว้ภายใต้โมเดลธุรกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา หรือภายใต้โมเดลธุรกิจที่บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยทั้งการรับ กระแสเงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์ทางการเงิน ( ดูย่อหน้าที่ 5.7.5) โมเดลธุรกิจ หนึ่งที่ส่งผลให้มีการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนคือโมเดลธุรกิจที่กิจการ บริหารสินทรัพย์ทางการเงินด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้กระแสเงินสดผ่านการขายสินทรัพย์ การตัดสินใจของกิจการอิงกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และการบริหารสินทรัพย์เพื่อรับรู้ มูลค่ายุติธรรมนั้น ในกรณีนี้วัตถุประสงค์ของกิจการมักจะส่งผลให้มีการซื้อและขายตลอดเวลา แม้ว่ากิจการจะรับกระแสเงินสดตามสัญญาในขณะที่ถือสินทรัพย์ทางการเงิน วัตถุประสงค์ของ โมเดลธุรกิจนั้นมิได้บรรลุทั้งจากการรับกระแสเงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 108 ทางการเงิน เนื่องจากการรับกระแสเงินสดตามสัญญาไม่เป็นสิ่งที่สําคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ ของโมเดลธุรกิจ แต่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ข 4.1.6 พอร์ตโฟลิโอของสินทรัพย์ทางการเงินที่บริหารและประเมินผลการดําเนินงานด้วยเกณฑ์ มูลค่ายุติธรรม ( ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 4.2.2.2) ไม่ถูกจัดว่าเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่ถือไว้ เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา หรือถือไว้ทั้งเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญาและเพื่อขาย สินทรัพย์ทางการเงิน กิจการมุ่งเน้นเป็นหลักที่ข้อมูลมูลค่ายุติธรรมและใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อประเมินผลการดําเนินงานของสินทรัพย์และเพื่อการตัดสินใจ นอกจากนี้พอร์ตโฟลิโอของ สินทรัพย์ทางการเงินที่เข้านิยามถือไว้เพื่อค้าไม่ถือว่าเป็นการถือเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา หรือถือเพื่อทั้งรับกระแสเงินสดตามสัญญาและขายสินทรัพย์ทางการเงิน สําหรับพอร์ตโฟลิโอ เหล่านี้ การรับกระแสเงินสดตามสัญญาเป็นเพียงเหตุบังเอิญเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโมเดล ธุรกิจ ดังนั้นพอร์ตโฟลิโอของสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้ต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุน กระแสเงินสดตามสัญญาซึ่งเป็นการจ่ายชําระเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือ ของเงินต้นเท่านั้น ข 4.1.7 ย่อหน้าที่ 4.1.1.2 กําหนดให้กิจการจัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงินบนพื้นฐานของลักษณะ ของกระแสเงินสดตามสัญญา ถ้าสินทรัพย์ทางการเงินนั้นถือไว้ภายใต้โมเดลธุรกิจที่มี วัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา หรือภายใต้โมเดลธุรกิจ ที่บรรลุวัตถุประสงค์ได้ด้วยทั้งการรับกระแสเงินสดตามสัญญาและขายสินทรัพย์ทางการเงิน เว้นแต่จะถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 4.1.5 ในการนี้ เงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 กําหนดให้กิจการพิจารณาว่ากระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์เป็นการจ่ายชําระเพียงเงิน ต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นเท่านั้นหรือไม่ ข 4.1.7 ก กระแสเงินสดตามสัญญาที่เป็นการจ่ายชําระเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงิน ต้นเท่านั้นเป็นไปตามการให้กู้ยืมพื้นฐาน ในการให้กู้ยืมพื้นฐานนี้ สิ่งตอบแทนสําหรับมูลค่าเงิน ตามเวลา ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.9 ก ถึง ข 4.1.9 จ ) และความเสี่ยงด้านเครดิตมักจะเป็นองค์ประกอบ ที่มีนัยสําคัญมากที่สุดของดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ในการให้กู้ยืมนี้ ดอกเบี้ยสามารถรวมสิ่งตอบ แทนสําหรับความเสี่ยงในการให้กู้ยืมพื้นฐานด้านอื่นๆ ( เช่น ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ) และต้นทุน ( เช่น ต้นทุนการบริหาร ) ที่เกี่ยวข้องกับการถือสินทรัพย์ทางการเงินในช่วงระยะเวลา ใดระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ ดอกเบี้ยสามารถรวมกําไรขั้นต้นที่เป็นไปตามการให้กู้ยืมพื้นฐาน ในภาวะเศรษฐกิจสุดโต่ง ดอกเบี้ยสามารถติดลบได้ เช่น ถ้าผู้ถือสินทรัพย์ทางการเงินจ่ายเงิน ในการฝากเงินโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยสําหรับเงินฝากในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ( และค่าธรรมเนียม เหล่านั้นมากกว่าสิ่งตอบแทนที่ผู้ถือได้รับสําหรับมูลค่าเงินตามเวลา ความเสี่ยงด้านเครดิต และ ความเสี่ยงและต้นทุนของการให้กู้ยืมพื้นฐานด้านอื่น ) อย่างไรก็ตาม อายุสัญญาที่ทําให้เปิดรับ ความเสี่ยงหรือมีความผันผวนของกระแสเงินสดตามสัญญาที่ไม่สัมพันธ์กับการให้กู้ยืมพื้นฐาน เช่น การเปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาหุ้นสามัญหรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ได้ทําให้เกิด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 109 กระแสเงินสดตามสัญญาที่จ่ายชําระเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นเท่านั้น สินทรัพย์ทางการเงินที่เริ่มเองหรือซื้อมาสามารถเป็นการให้กู้ยืมพื้นฐานโดยไม่คํานึงว่าเป็นการ กู้ยืมในรูปแบบตามกฎหมายหรือไม่ ข 4.1.7 ข เพื่อให้เป็นไปตามย่อหน้าที่ 4.1.3.1 เงินต้นคือมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ณ การรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก อย่างไรก็ตามจํานวนเงินต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดอายุของสินทรัพย์ ทางการเงิน ( เช่น ถ้ามีการจ่ายชําระคืนเงินต้น ) ข 4.1.8 กิจการต้องประเมินว่ากระแสเงินสดตามสัญญาเป็นการจ่ายชําระเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจาก ยอดคงเหลือของเงินต้นเท่านั้นหรือไม่ ในสกุลเงินที่ตราไว้ของสินทรัพย์ทางการเงิน ข 4.1.9 เครื่องทุ่นแรงทางการเงินคือลักษณะของกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน บางประเภท เครื่องทุ่นแรงทางการเงินเพิ่มความแปรผันของกระแสเงินสดตามสัญญาที่ส่งผล ให้ไม่มีลักษณะเชิงเศรษฐกิจของดอกเบี้ย ตัวอย่างของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีเครื่องทุ่นแรง ทางการเงิน เช่น สิทธิเลือก สัญญาฟอร์เวิร์ด และสัญญาแลกเปลี่ยนที่เป็นเอกเทศ ดังนั้น สัญญาดังกล่าวจึงไม่เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 และไม่สามารถวัดมูลค่า ภายหลังด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายหรือมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น สิ่งตอบแทนสําหรับมูลค่าเงินตามเวลา ข 4.1.9 ก มูลค่าเงินตามเวลาเป็นองค์ประกอบของดอกเบี้ยที่ให้สิ่งตอบแทนสําหรับเวลาที่ผ่านไปเท่านั้น นั่นคือ องค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนสําหรับความเสี่ยงอื่นหรือ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการถือสินทรัพย์ทางการเงิน ในการประเมินว่าองค์ประกอบนั้นให้ สิ่งตอบแทนสําหรับเวลาที่ผ่านไปเท่านั้นหรือไม่ ให้กิจการใช้วิจารณญาณและพิจารณาปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เช่น สกุลเงินที่ใช้สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินและรอบระยะเวลาที่ ดอกเบี้ยถูกกําหนด ข 4.1.9 ข อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีองค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาอาจถูกปรับเปลี่ยน ( กล่าวคือ ไม่สมบูรณ์แบบ ) เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์ทางการเงินถูกกําหนดใหม่เป็นระยะๆ แต่ความถี่ของการกําหนดนั้นไม่สัมพันธ์กับช่วงเวลาของอัตราดอกเบี้ย ( เช่น มีการกําหนด อัตราดอกเบี้ยใหม่ทุกเดือนให้เป็นอัตราดอกเบี้ยรายปี ) หรือถ้าอัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์ ทางการเงินถูกกําหนดใหม่ให้เป็นค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว ในกรณีนี้ กิจการต้องประเมินการปรับเปลี่ยนดังกล่าวเพื่อตัดสินใจว่ากระแสเงินสดตามสัญญา เป็นการจ่ายชําระเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นเท่านั้นหรือไม่ ในบางสภาพแวดล้อม กิจการอาจทําการตัดสินใจข้างต้นโดยการประเมินเชิงคุณภาพของ องค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลา ในขณะที่ในสภาพแวดล้อมอื่นอาจมีความจําเป็นที่ต้องทํา การประเมินเชิงปริมาณ ข 4.1.9 ค เมื่อประเมินองค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาที่ปรับเปลี่ยน มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาว่า กระแสเงินสดตามสัญญา ( ไม่คิดลด ) แตกต่างอย่างไรจากกระแสเงินสด ( ไม่คิดลด ) ที่จะเกิดขึ้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 110 ถ้าองค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาไม่ได้ถูกปรับเปลี่ยน ( กระแสเงินสดเปรียบเทียบ ) เช่น ถ้าสินทรัพย์ทางการเงินที่ประเมินมีอัตราดอกเบี้ยผันแปรที่กําหนดใหม่ทุกเดือนให้เป็น อัตราดอกเบี้ยรายปี กิจการจะเปรียบเทียบสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวกับเครื่องมือทางการเงิน ที่มีอายุสัญญาเหมือนกันและความเสี่ยงด้านเครดิตเหมือนกัน ยกเว้นอัตราดอกเบี้ยผันแปรที่ กําหนดใหม่รายเดือนให้เป็นอัตราดอกเบี้ยหนึ่งเดือน ถ้าองค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาที่ ปรับเปลี่ยนส่งผลให้มีกระแสเงินสดตามสัญญา ( ไม่คิดลด ) ที่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจาก กระแสเงินสดเปรียบเทียบ ( ไม่คิดลด ) สินทรัพย์ทางการเงินไม่เข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 ในการนี้ กิจการต้องพิจารณาผลกระทบขององค์ประกอบของมูลค่า เงินตามเวลาที่ปรับเปลี่ยนในแต่ละรอบระยะเวลารายงานและผลกระทบสะสมตลอดอายุของ เครื่องมือทางการเงิน เหตุผลของการกําหนดอัตราดอกเบี้ยด้วยวิธีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ การวิเคราะห์ หากมีความชัดเจนจากการวิเคราะห์เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีการวิเคราะห์ว่า กระแสเงินสดตามสัญญา ( ไม่คิดลด ) ของสินทรัพย์ทางการเงินที่ประเมินอาจ ( หรืออาจไม่ ) แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกระแสเงินสดเปรียบเทียบ ( ไม่คิดลด ) กิจการไม่จําเป็นต้อง ประเมินในรายละเอียด ข 4.1.9 ง เมื่อประเมินองค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาที่ปรับปลี่ยน กิจการต้องพิจารณาปัจจัยที่อาจ กระทบกระแสเงินสดตามสัญญาในอนาคต เช่น ถ้ากิจการประเมินหุ้นกู้อายุ 5 ปี และอัตรา ดอกเบี้ยผันแปรกําหนดใหม่ทุก 6 เดือนให้เป็นอัตราดอกเบี้ย 5 ปี กิจการไม่สามารถสรุปได้ว่า กระแสเงินสดตามสัญญาเป็นการจ่ายชําระเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น เท่านั้น เพียงเพราะว่าเส้นอัตราดอกเบี้ย ณ เวลาที่ประเมินเป็นเส้นที่ความแตกต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ย 5 ปี และอัตราดอกเบี้ย 6 เดือนไม่มีนัยสําคัญ แต่กิจการต้องพิจารณาด้วยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย 5 ปี และอัตราดอกเบี้ย 6 เดือนสามารถเปลี่ยนแปลง ตลอดอายุของเครื่องมือหรือไม่ จนทําให้กระแสเงินสดตามสัญญา ( ไม่คิดลด ) ตลอดอายุ สัญญาของเครื่องมือทางการเงินอาจแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกระแสเงินสดเปรียบเทียบ ( ไม่คิดลด ) อย่างไรก็ตาม กิจการต้องพิจารณาเพียงเฉพาะฉากทัศน์ที่เป็นไปได้อย่าง สมเหตุสมผลแทนที่จะพิจารณาทุกฉากทัศน์ที่เป็นไปได้ ถ้ากิจการสรุปว่ากระแสเงินสดตาม สัญญา ( ไม่คิดลด ) อาจแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกระแสเงินสดเปรียบเทียบ ( ไม่คิดลด ) สินทรัพย์ทางการเงินไม่เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 และดังนั้น จึงไม่สามารถวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายหรือมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ข 4.1.9 จ ในบางประเทศ รัฐบาลหรือหน่วยงานกํากับดูแลกําหนดอัตราดอกเบี้ย เช่น หลักเกณฑ์ อัตราดอกเบี้ยของรัฐบาลอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค หรืออาจเพื่อส่งเสริม กิจการในการลงทุนโดยเฉพาะในภาคเศรษฐกิจ ในบางกรณีวัตถุประสงค์ขององค์ประกอบของ มูลค่าเงินตามเวลาไม่ได้เพื่อให้สิ่งตอบแทนสําหรับระยะเวลาที่ผ่านไปเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีย่อหน้าที่ ข 4.1.9 ก ถึง ข 4.1.9 ง อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกําหนดจะพิจารณา เฉพาะองค์ประกอบมูลค่าเงินตามเวลาสําหรับวัตถุประสงค์ในการใช้เงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 ถ้าอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกําหนดให้สิ่งตอบแทนที่สมํ่าเสมอกับระยะเวลา

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 111 ที่ผ่านไปและไม่ได้ทําให้เกิดความเสี่ยงหรือการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดตามสัญญา ที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดการให้กู้ยืมโดยทั่วไป เงื่อนไขในสัญญามีการเปลี่ยนแปลงระยะเวลา หรือจํานวนเงินของกระแสเงินสดตามสัญญา ข 4.1.10 ถ้าสินทรัพย์ทางการเงินประกอบด้วยเงื่อนไขในสัญญาที่สามารถเปลี่ยนแปลงระยะเวลา หรือ จํานวนเงินของกระแสเงินสดตามสัญญา เช่น ถ้าสินทรัพย์สามารถได้รับชําระก่อนวันครบกําหนด หรือสามารถขยายระยะเวลาได้ ) กิจการต้องพิจารณาว่ากระแสเงินสดตามสัญญาสามารถ เกิดขึ้นได้ตลอดอายุของตราสาร เนื่องจากเงื่อนไขในสัญญานั้นเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและ ดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ในการพิจารณากิจการต้องประเมินว่ากระแสเงินสด ตามสัญญาที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดตามสัญญา กิจการอาจต้องการประเมินธรรมชาติของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ( เช่น สิ่งกระตุ้น ) ที่อาจเปลี่ยน ระยะเวลาหรือจํานวนเงินของกระแสเงินสดตามสัญญา ในขณะที่ธรรมชาติของเหตุการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นปัจจัยที่กําหนดในการประเมินว่ากระแสเงินสดตามสัญญาเป็นการจ่าย เพียงเงินต้นและดอกเบี้ย แต่อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ได้ เช่น เปรียบเทียบระหว่างเครื่องมือ ทางการเงินที่อัตราดอกเบี้ยที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นอัตราที่สูงขึ้น ถ้าลูกค้าไม่จ่ายชําระเครื่องมือ ทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยที่กําหนดไว้ในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อดัชนีตราสารทุนที่ระบุถึงระดับที่ กําหนดไว้ กรณีนี้คล้ายกับกรณีที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่ากระแสเงินสดตามสัญญาตลอดอายุของ ตราสารจะถูกจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น เพราะความสัมพันธ์ ระหว่างการจ่ายชําระที่ไม่ตรงตามกําหนด และการเพิ่มขึ้นในความเสี่ยงด้านเครดิต ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.18) ข 4.1.11 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเงื่อนไขในสัญญาที่มีผลต่อกระแสเงินสดตามสัญญา ที่จ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ข 4.1.11.1 อัตราดอกเบี้ยผันแปรประกอบด้วยสิ่งตอบแทนสําหรับมูลค่าเงินตามเวลา ความเสี่ยงด้านเครดิตที่สัมพันธ์กับยอดคงเหลือของเงินต้น ระหว่างช่วงระยะเวลาหนึ่ง ( สิ่งตอบแทนสําหรับความเสี่ยงด้านเครดิตอาจพิจารณา ณ การรับรู้รายการเมื่อ เริ่มแรกเท่านั้น และอาจจะกําหนดไว้คงที่ ) และความเสี่ยงการกู้ยืมขั้นพื้นฐาน และต้นทุน ตลอดจนกําไรขั้นต้น ข 4.1.11.2 เงื่อนไขในสัญญาที่อนุญาตให้ผู้ออกตราสาร ( เช่น ลูกหนี้ ) จ่ายชําระตราสารหนี้ ก่อนครบกําหนด หรืออนุญาตให้ผู้ถือตราสาร ( เช่น เจ้าหนี้ ) คืนตราสารหนี้ให้แก่ ผู้ออกตราสารก่อนครบกําหนด และจํานวนเงินที่ชําระก่อนครบกําหนดเกือบ ทั้งหมดเป็นจํานวนเงินของเงินต้นและดอกเบี้ยที่ยังไม่ชําระจากยอดคงเหลือของ เงินต้น ซึ่งอาจรวมถึงการชดเชยในจํานวนเงินที่สมเหตุสมผลสําหรับการยกเลิก สัญญาก่อนกําหนด และ ข 4.1.11.3 เงื่อนไขในสัญญาที่อนุญาตให้ผู้ออกตราสารหรือผู้ถือตราสารขยายเงื่อนไข ในสัญญาของตราสารหนี้ ( เช่น สิทธิเลือกขยายระยะเวลา ) และเงื่อนไขของสิทธิ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 112 เลือกขยายระยะเวลามีผลให้กระแสเงินสดตามสัญญาในช่วงของการขยาย ระยะเวลาจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ซึ่งอาจรวมถึง เงินชดเชยเพิ่มเติมในจํานวนเงินที่สมเหตุสมผลสําหรับการขยายสัญญา ข 4.1.12 แม้ว่าพิจารณาตามย่อหน้าที่ ข 4.1.10 สินทรัพย์ทางการเงินอาจเข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 แต่ไม่ได้ทําเฉพาะที่มีผลในเงื่อนไขในสัญญาที่อนุญาต ( หรือกําหนด ) ผู้ออกตราสารจ่ายชําระคืนตราสารหนี้ล่วงหน้า หรืออนุญาต ( หรือกําหนด ) ผู้ถือตราสารคืน ตราสารหนี้กลับไปยังผู้ออกตราสารก่อนครบกําหนดได้ โดยให้วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย หรือมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( ต้องเข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.1 หรือ 4.1.2 ก .1) ถ้า ข 4.1.12.1 กิจการซื้อหรือออกสินทรัพย์ทางการเงินในราคาส่วนเกินหรือส่วนลดจากจํานวน เงินตามที่ปรากฎในสัญญา ข 4.1.12.2 จํานวนเงินที่ชําระเงินก่อนครบกําหนดเกือบทั้งหมดเป็นจํานวนเงินที่ปรากฎ ตามสัญญา และดอกเบี้ยค้างจ่ายตามสัญญา ( แต่ยังไม่ชําระ ) ซึ่งอาจรวมถึง การชดเชยในจํานวนเงินที่สมเหตุสมผลสําหรับการยกเลิกสัญญาก่อนกําหนด และ ข 4.1.12.3 เมื่อกิจการรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินเมื่อเริ่มแรก มูลค่ายุติธรรมของการชําระเงิน ก่อนครบกําหนดไม่มีนัยสําคัญ ข 4.1.12 ก เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ข 4.1.11.2 และ ข 4.1.12.2 โดยไม่คํานึงถึง เหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ทําให้เกิดการยกเลิกสัญญาก่อนกําหนด คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอาจ จ่ายหรือรับเงินชดเชยที่สมเหตุสมผลในการยกเลิกสัญญาก่อนกําหนด ตัวอย่างเช่น ฝ่ายหนึ่ง อาจจ่ายหรือรับการชดเชยที่สมเหตุสมผลเมื่อฝ่ายนั้นเลือกที่จะยกเลิกสัญญาก่อนกําหนด ( หรือกระทําการอื่นใดที่เป็นเหตุให้เกิดการยกเลิกสัญญาก่อนกําหนด ) ข 4.1.13 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกระแสเงินสดตามสัญญาที่จ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจาก ยอดคงเหลือของเงินต้น โดยตัวอย่างดังต่อไปนี้มิได้ครอบคลุมเหตุการณ์ในทุกกรณี ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร ก ตราสาร ก เป็นหุ้นกู้ที่มีวันครบกําหนดระบุไว้ การจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของ เงินต้น อ้างอิงกับดัชนีเงินเฟ้อบนสกุลเงินเดียวกับ สกุลเงินของตราสารที่ออก ทั้งนี้การอ้างอิงกับ เงินเฟ้อไม่มีลักษณะเป็นการปรับมูลค่าทางการเงิน และเงินต้นได้รับการคุ้มครอง กระแสเงินสดตามสัญญาเป็นการจ่ายเพียงเงินต้น และดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น การอ้างอิงการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอด คงเหลือของเงินต้น กับดัชนีเงินเฟ้อซึ่งไม่มี ลักษณะเป็นการปรับมูลค่าทางการเงินถือเป็น การปรับมูลค่าเงินตามเวลาให้เป็นปัจจุบัน หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การทําให้อัตราดอกเบี้ยของ ตราสารสะท้อนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดังนั้น ดอกเบี้ยที่จ่ายจึงเป็นผลตอบแทนสําหรับมูลค่า เงินตามเวลาของยอดคงเหลือของเงินต้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 113 ตราสาร การวิเคราะห์ อย่างไรก็ดี หากการจ่ายดอกเบี้ยสัมพันธ์กับ ตัวแปรอื่น เช่น ผลการดําเนินงานของลูกหนี้ ( เช่น รายได้สุทธิของลูกหนี้ ) หรือดัชนีตราสารทุน ให้ถือว่ากระแสเงินสดตามสัญญานั้นมิใช่การ จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของ เงินต้น ( ถ้าดัชนีชี้วัดของผลการดําเนินงานของ ลูกหนี้ไม่มีผลต่อการปรับปรุงเฉพาะการชดเชย ให้กับผู้ถือตราสารสําหรับการเปลี่ยนแปลงใน ความเสี่ยงด้านเครดิตของตราสาร ดังนั้นกระแส เงินสดตามสัญญาเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและ ดอกเบี้ย ) เนื่องจากกระแสเงินสดตามสัญญา สะท้อนให้เห็นผลตอบแทนที่ไม่เป็นไปตาม การกู้ยืมโดยทั่วไป ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.7 ก ) ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร ข ตราสาร ข เป็นตราสารที่มีการจ่ายอัตราดอกเบี้ย ผันแปรและมีวันครบกําหนดระบุไว้ โดยผู้กู้ สามารถเลือกอัตราดอกเบี้ยตลาดได้อย่าง ต่อเนื่อง เช่น ณ วันที่ปรับอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ผู้กู้สามารถเลือกจ่ายดอกเบี้ย LIBOR สําหรับ ระยะเวลา 3 เดือนในช่วงเวลา 3 เดือน หรือจ่าย ดอกเบี้ย LIBOR สําหรับระยะเวลา 1 เดือนในช่วง เวลา 1 เดือนได้ กระแสเงินสดตามสัญญาเป็นการจ่ายเพียงเงินต้น และดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น หาก ดอกเบี้ยที่จ่ายตลอดอายุสัญญาของตราสาร สะท้อนผลตอบแทนสําหรับมูลค่าเงินตาม ระยะเวลา สําหรับความเสี่ยงด้านเครดิตที่ สัมพันธ์กับตราสาร และสําหรับความเสี่ยงด้าน การกู้ยืมอื่นๆ และต้นทุน ตลอดจนกําไรขั้นต้น ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.7 ก ) การปรับอัตราดอกเบี้ย LIBOR ระหว่างอายุของตราสารจะไม่ส่งผลให้ ตราสารนั้นไม่เป็นไปตามข้อกําหนดข้างต้น อย่างไรก็ดี หากผู้กู้สามารถเลือกจ่ายดอกเบี้ย LIBOR สําหรับระยะเวลา 1 เดือนสําหรับ ช่วงเวลา 3 เดือน อัตราดอกเบี้ยถูกปรับความถี่ ที่ไม่สัมพันธ์กับระยะเวลาของอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นองค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาจะ ถูกเปลี่ยนแปลง ในทํานองเดียวกัน ถ้าตราสารมี อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่อ้างอิงจากช่วงเวลา ที่เกินกว่าระยะเวลาคงเหลือของตราสาร ( เช่น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 114 ตราสาร การวิเคราะห์ ถ้าตราสารที่มีระยะเวลาครบกําหนดภายใน 5 ปี จ่ายดอกเบี้ยผันแปรที่ถูกปรับตามช่วงเวลา แต่สะท้อนตามเวลาครบกําหนด 5 ปีเสมอ ) องค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาจะถูก เปลี่ยนแปลง เนื่องจากดอกเบี้ยค้างจ่ายในแต่ละ ช่วงเวลาไม่สัมพันธ์กับช่วงเวลาของอัตรา ดอกเบี้ย กรณีดังกล่าวกิจการต้องประเมินกระแสเงินสด ตามสัญญาในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเทียบ กับตราสารที่เหมือนกันเว้นแต่ระยะเวลาของ อัตราดอกเบี้ยสามารถจับคู่กับช่วงเวลาดอกเบี้ย ที่ต้องพิจารณาถ้ากระแสเงินสดเป็นการจ่าย เพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของ เงินต้น ( แต่ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.9 จ สําหรับ แนวทางการกําหนดอัตราดอกเบี้ย ) เช่น ในการประเมินหุ้นกู้อายุ 5 ปีที่จ่ายอัตรา ดอกเบี้ยผันแปรที่ปรับอัตราดอกเบี้ยทุก 6 เดือน แต่สะท้อนระยะเวลาครบกําหนด 5 ปี กิจการพิจารณากระแสเงินสดตามสัญญาของ ตราสารที่ปรับทุก 6 เดือนกับอัตราดอกเบี้ย สําหรับระยะเวลา 6 เดือน นอกจากนั้น เหมือนกันทั้งหมด การวิเคราะห์แบบเดียวกันนี้จะถูกใช้ ถ้าผู้กู้ สามารถเลือกอัตราดอกเบี้ยต่างๆ ที่ผู้ให้กู้ ประกาศ ( เช่น ผู้กู้สามารถเลือกจ่ายอัตรา ดอกเบี้ยผันแปรสําหรับระยะเวลา 1 เดือนตามที่ ผู้ให้กู้ประกาศ หรืออัตราดอกเบี้ยผันแปร สําหรับระยะเวลา 3 เดือนตามที่ผู้ให้กู้ประกาศ ) ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร ค กระแสเงินสดตามสัญญา ทั้งในกรณี ( ก ) ตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และ ( ข ) ตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยผันแปร

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 115 ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร ค เป็นหุ้นกู้ที่มีวันครบกําหนดระบุไว้ จ่ายดอกเบี้ยผันแปรตามอัตราตลาด และมีการ กําหนดเพดานของอัตราดอกเบี้ยผันแปรไว้ จะจัดเป็นการจ่ายพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจาก ยอดคงเหลือของเงินต้น หากดอกเบี้ยที่จ่าย สะท้อนถึงผลตอบแทนสําหรับมูลค่าเงินตาม ระยะเวลา สําหรับความเสี่ยงด้านเครดิตที่ สัมพันธ์กับตราสารในระหว่างช่วงระยะเวลาของ ตราสาร และสําหรับความเสี่ยงด้านการกู้ยืม โดยทั่วไป และต้นทุน ตลอดจนกําไรขั้นต้น ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.7 ก ) ดังนั้น ตราสารซึ่งมีลักษณะผสมระหว่างกรณี ( ก ) และ ( ข ) ( เช่น หุ้นกู้ที่มีการกําหนดเพดาน อัตราดอกเบี้ย ) สามารถมีกระแสเงินสดตาม สัญญาที่เป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ย จากยอดคงเหลือของเงินต้นได้ ทั้งนี้เงื่อนไขตาม สัญญาดังกล่าวอาจเป็นการลดความผันผวนของ กระแสเงินสดจากการจํากัดความผันผวนของ อัตราดอกเบี้ย ( เช่น กําหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด หรืออัตราดอกเบี้ยตํ่าสุด ) หรือเป็นการเพิ่ม ความผันผวนของกระแสเงินสดจากการเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยผันแปร ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร ง ตราสาร ง เป็นเงินให้สินเชื่อที่ผู้ให้กู้มีสิทธิไล่เบี้ย เต็มจํานวนและมีหลักประกันมาวางไว้เป็นประกัน การที่เงินให้สินเชื่อที่ผู้ให้กู้มีสิทธิไล่เบี้ยเต็ม จํานวนมีหลักประกันวางเป็นประกัน ไม่เป็นปัจจัย ที่กระทบต่อการวิเคราะห์ว่ากระแสเงินสดตาม สัญญาเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจาก ยอดคงเหลือของเงินต้นหรือไม่ ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร จ ตราสาร จ ออกโดยธนาคารที่อยู่ภายใต้การกํากับ ดูแล และมีการระบุระยะเวลาครบกําหนด ตราสาร ผู้ถือตราสารควรวิเคราะห์ เงื่อนไขในสัญญา ของ เครื่องมือทางการเงินในการตัดสินใจว่ากระแส เงินสดที่จ่ายเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 116 ตราสาร การวิเคราะห์ จ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ และกระแสเงินสดตาม สัญญาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ออกอยู่ภายใต้ข้อกําหนดซึ่ง อนุญาตหรือกําหนดให้องค์กรภาครัฐเรียกเก็บ ขาดทุนจากตราสารจากผู้ถือตราสารสําหรับตรา สารบางประเภทซึ่งรวมถึงตราสาร จ เมื่อเกิด สภาพแวดล้อมที่ระบุไว้เฉพาะ เช่น องค์กรภาครัฐ มีอํานาจที่จะลดมูลค่าของราคาที่ตราไว้ของตราสาร จ หรือแปลงตราสารเหล่านี้เป็นหุ้นสามัญของผู้ ออกในจํานวนที่ระบุไว้แน่นอน ถ้าองค์กรภาครัฐ พิจารณาว่าผู้ออกตราสารประสบปัญหาด้าน การเงินอย่างรุนแรง และต้องการเงินทุนสํารอง ตามข้อกําหนดกฎหมายเพิ่มขึ้น หรือล้มละลาย ดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น และเป็นไป ตามสัญญากู้ยืม การวิเคราะห์ดังกล่าวไม่ได้พิจารณาการจ่ายที่ เกิดขึ้นจากการกําหนดขององค์กรภาครัฐในการ เรียกเก็บขาดทุนจากผู้ถือตราสาร จ เนื่องจาก การบังคับและผลจากการจ่ายไม่อยู่ใน เงื่อนไข ในสัญญา ของเครื่องมือทางการเงิน ในทางกลับกัน กระแสเงินสดตามสัญญาที่ไม่ได้ จ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือ ของเงินต้น ถ้าเงื่อนไขในสัญญาของเครื่องมือ ทางการเงินอนุญาต หรือกําหนดให้ผู้ออกตรา สาร หรือกิจการอื่นให้เรียกเก็บผลขาดทุนจาก ผู้ถือตราสาร ( เช่น ลดมูลค่าของราคาที่ตราไว้ ของตราสาร จ หรือแปลงตราสารเหล่านี้เป็น หุ้นสามัญในกิจการผู้ออกในมูลค่าที่ระบุแน่นอน ) ตราบเท่าที่ เงื่อนไขในสัญญา เหล่านี้ยังคงเดิม แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้น้อยมากที่ต้องเรียก เก็บขาดทุนดังกล่าว ข 4.1.14 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกระแสเงินสดตามสัญญาที่ไม่ได้จ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ย จากยอดคงเหลือของเงินต้น ตัวอย่างดังต่อไปนี้มิได้ครอบคลุมเหตุการณ์ในทุกกรณี ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร ฉ ตราสาร ฉ เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพที่สามารถแปลงเป็น ตราสารทุนของผู้ออกตราสารในจํานวนที่ระบุไว้ ผู้ถือตราสารต้องพิจารณาหุ้นกู้แปลงสภาพทั้ง จํานวนโดยไม่แยกส่วน กระแสเงินสดตามสัญญาไม่จัดเป็นการจ่ายเงินต้น และดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น เนื่องจากกระแสเงินสดแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทน ที่ไม่สอดคล้องกับการให้กู้ยืมโดยทั่วไป ( ดูย่อ หน้าที่ ข 4.1.7 ก ) เช่นผลตอบแทนสัมพันธ์กับ มูลค่าของตราสารทุนของผู้ออกตราสาร

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 117 ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร ช ตราสาร ช เป็นเงินให้สินเชื่อซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยผัน แปรแบบผกผัน ( กล่าวคืออัตราดอกเบี้ยมี ความสัมพันธ์แบบผกผันกับอัตราดอกเบี้ยตลาด ) กระแสเงินสดตามสัญญาไม่เป็นการจ่ายเพียง เงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ดอกเบี้ยของตราสารมิใช่ผลตอบแทนสําหรับ มูลค่าเงินตามเวลาของยอดคงเหลือของเงินต้น ตราสาร การวิเคราะห์ ตราสาร ซ ตราสาร ซ เป็นตราสารที่ไม่มีวันครบกําหนด แต่ ผู้ออกตราสารอาจซื้อคืนตราสารได้ทุกเวลา โดยจะต้องจ่ายราคาตามราคาตราไว้บวกด้วย ดอกเบี้ยคงค้างที่ให้กับผู้ถือตราสาร ตราสาร ซ จ่ายดอกเบี้ยด้วยอัตราดอกเบี้ยตลาด แต่ผู้ออกตราสารไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ เว้นแต่ผู้ออกตราสารจะยังสามารถดําเนินธุรกิจ ต่อไปได้ ทันทีหลังจากการจ่ายดอกเบี้ย ดอกเบี้ยรอตัดจ่ายจะไม่ถูกสะสมเป็นดอกเบี้ยที่ เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดตามสัญญาไม่จัดเป็นการจ่าย เงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น เนื่องจากผู้ออกตราสารอาจถูกสั่งให้เลื่อน การจ่ายดอกเบี้ยได้ และดอกเบี้ยรอตัดจ่ายนั้น จะไม่ถูกสะสมเป็นดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ดอกเบี้ยของตราสารจึงไม่ถูกพิจารณาสําหรับ มูลค่าเงินตามเวลาของยอดคงเหลือของเงินต้น หากมีการคิดดอกเบี้ยสะสมบนดอกเบี้ยค้างจ่าย ในกรณีดังกล่าว กระแสเงินสดตามสัญญาอาจ จัดเป็นการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอด คงเหลือของเงินต้น การที่ตราสาร ซ เป็นตราสารที่ไม่มีวันครบ กําหนดมิได้หมายความว่ากระแสเงินสดตาม สัญญาจะไม่ใช่การจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ย จากยอดคงเหลือของเงินต้น กล่าวคือตราสารที่ ไม่มีวันครบกําหนดเป็นเสมือนการให้สิทธิเลือก ในการขยายระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง ( หรือใช้ สิทธิหลายครั้ง ) สิทธิดังกล่าวอาจทําให้กระแส เงินสดตามสัญญาของตราสารเป็นการจ่ายเงิน ต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ได้ หากมีข้อกําหนดให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกงวด และต้องจ่ายโดยไม่มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุด นอกจากนี้ การที่ตราสาร ซ เป็นตราสารที่ สามารถซื้อคืนได้ก่อนกําหนด มิได้หมายความ ว่ากระแสเงินสดตามสัญญาจะไม่จัดเป็นการ จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 118 ตราสาร การวิเคราะห์ เงินต้น เว้นแต่ในกรณีที่จํานวนเงินตามสิทธิที่ จะซื้อคืนมิได้สะท้อนถึงการจ่ายเงินต้นและ ดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ทั้งนี้ แม้ว่า จํานวนเงินตามสิทธิที่จะซื้อคืนจะได้รวม จํานวนเงินที่ชดเชยให้กับผู้ถือตราสารสําหรับ การยกเลิกสัญญาก่อนกําหนด กระแสเงินสด ตามสัญญาในกรณีดังกล่าวก็อาจจัดเป็นการ จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของ เงินต้นได้ ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.12) ข 4.1.15 ในบางกรณีสินทรัพย์ทางการเงินอาจมีกระแสเงินสดตามสัญญาซึ่งถูกระบุว่าเป็นเงินต้นและ ดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามกระแสเงินสดเหล่านั้นมิได้แสดงถึงการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอด คงเหลือของเงินต้นตามที่อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ 4.1.2.2 4.1.2 ก .2 และ 4.1.3 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ ข 4.1.16 ในบางกรณี สินทรัพย์ทางการเงินอาจแสดงถึงการลงทุนในสินทรัพย์ หรือกระแสเงินสด ซึ่งทําให้กระแสเงินสดตามสัญญามิได้เป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของ เงินต้น เช่น ถ้าระยะเวลาตามสัญญาระบุว่ากระแสเงินสดของสินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มขึ้น มากเท่ากับจํานวนรถยนต์ที่ใช้ทางด่วน กระแสเงินสดตามสัญญาเหล่านี้จะไม่สอดคล้องกับ การให้กู้ยืมโดยทั่วไป ดังนั้น ตราสารดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 เช่นเดียวกับในกรณีที่เมื่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ถูกจํากัดเฉพาะสินทรัพย์ของ ลูกหนี้ตามที่กําหนด หรือกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ที่กําหนด ( เช่น สินทรัพย์ทางการเงิน ที่ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิไล่เบี้ย ) ข 4.1.17 อย่างไรก็ดี การที่สินทรัพย์ทางการเงินเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีสิทธิไล่เบี้ย มิได้ทําให้สินทรัพย์ ทางการเงินนั้นไม่เข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 โดยในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ จะต้องประเมินสินทรัพย์อ้างอิงหรือกระแสเงินสด ( แบบ look through) เพื่อพิจารณาว่า กระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินนั้นจัดเป็นการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจาก ยอดคงเหลือของเงินต้นหรือไม่ หากสินทรัพย์ทางการเงินมีเงื่อนไขซึ่งก่อให้เกิดกระแสเงินสด หรือจํากัดกระแสเงินสดในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับการจ่ายเงินที่แสดงถึงเงินต้นและดอกเบี้ย ให้ถือว่าสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.2 และ 4.1.2 ก .2 ทั้งนี้ ไม่ว่าสินทรัพย์อ้างอิงจะจัดเป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือไม่ก็ตาม จะกระทบต่อ การประเมินดังกล่าว ข 4.1.18 ลักษณะของกระแสเงินสดตามสัญญาไม่ได้มีผลกระทบต่อการจัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงิน ถ้ามีเพียงผลกระทบขั้นต้นในกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน ในการ พิจารณา กิจการต้องพิจารณาผลกระทบที่เป็นไปได้ของลักษณะกระแสเงินสดตามสัญญา

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 119 ในแต่ละรอบระยะเวลาที่รายงานและสะสมตลอดอายุของเครื่องมือทางการเงิน นอกเหนือจากนั้น ถ้าลักษณะกระแสเงินสดตามสัญญาที่อาจเกิดผลกระทบต่อบนกระแสเงินสดตามสัญญามากกว่า เกณฑ์ขั้นต้น ( ไม่ว่าในช่วงเวลารายงานเดียวหรือสะสม ) แต่ลักษณะของกระแสเงินสดตามสัญญา ที่มิใช่ลักษณะของกระแสเงินสดที่แท้จริง ซึ่งจะไม่กระทบต่อการจัดประเภทของสินทรัพย์ ทางการเงิน ลักษณะของกระแสเงินสดจะมิใช่ลักษณะของกระแสเงินสดที่แท้จริง หากลักษณะของกระแสเงินสดนั้นมีผลกระทบต่อกระแสเงินสดตามสัญญาของเครื่องมือ ทางการเงินเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นได้ยาก มีความผิดปกติ และไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างมาก ข 4.1.19 ในการให้กู้ยืมเงินโดยส่วนใหญ่ ตราสารของผู้ให้กู้ยืมจะถูกจัดลําดับสิทธิเรียกร้องโดย เทียบเคียงกับสิทธิเรียกร้องในตราสารของเจ้าหนี้รายอื่นของลูกหนี้ ตราสารที่ด้อยสิทธิกว่า ตราสารอื่นๆ อาจจะมีกระแสเงินสดตามสัญญาที่จัดเป็นการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอด คงเหลือของเงินต้นได้ หากการไม่จ่ายชําระเงินของลูกหนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสัญญา และผู้ถือ ตราสารมีสิทธิตามสัญญาในเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นที่ยังไม่ได้จ่ายนั้น รวมถึงในสถานการณ์ที่ลูกหนี้ล้มละลาย เช่น ลูกหนี้การค้าที่ผู้ให้กู้ยืมถูกจัดลําดับสิทธิเรียกร้อง เป็นเจ้าหนี้ทั่วไป ก็อาจจัดว่าเป็นการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นได้ แม้ว่าลูกหนี้รายนั้นจะมีเงินกู้ยืมที่มีหลักประกันซึ่งเจ้าหนี้เงินกู้ยืมที่มีหลักประกันดังกล่าว ซึ่งได้รับสิทธิเรียกร้องเหนือกว่าเจ้าหนี้ทั่วไปในแง่ของหลักประกันในกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย อย่างไรก็ดี กรณีดังกล่าวจะไม่กระทบต่อสิทธิตามสัญญาของเจ้าหนี้ทั่วไปที่มีต่อเงินต้นส่วนที่ยัง ไม่ได้รับชําระและจํานวนเงินที่ครบกําหนดจ่ายชําระอื่นๆ ตราสารที่อ้างอิงตามสัญญา ข 4.1.20 สําหรับธุรกรรมบางประเภท ผู้ออกตราสารอาจจัดลําดับความสําคัญการจ่ายชําระเงินให้กับ ผู้ถือสินทรัพย์ทางการเงินโดยใช้ตราสารที่อ้างอิงตามสัญญาหลายประเภท ซึ่งจะทําให้เกิดการ กระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิต ( ระดับของตราสาร ) โดยในแต่ละระดับของตราสารจะมี การจัดอันดับสิทธิเรียกร้องซึ่งใช้กําหนดลําดับการจัดสรรกระแสเงินสดของผู้ออกตราสารให้กับ ตราสารแต่ละระดับ ในกรณีดังกล่าว ผู้ถือตราสารในแต่ละระดับจะมีสิทธิได้รับการจ่ายเงินต้น และดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นต่อเมื่อผู้ออกตราสารมีกระแสเงินสดเพียงพอ ที่จ่ายให้กับตราสารที่อยู่ระดับที่สูงกว่าก่อนเท่านั้น ข 4.1.21 สําหรับธุรกรรมประเภทดังกล่าว ระดับของตราสารที่กระแสเงินสดมีลักษณะเป็นการจ่าย เงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น เฉพาะในกรณีต่อไปนี้ ข 4.1.21.1 เงื่อนไขสัญญาสําหรับระดับของตราสารที่ใช้ในการประเมินเพื่อการจัดระดับ ( โดยไม่ได้พิจารณาถึงกลุ่มของเครื่องมือทางการเงินที่อ้างอิง ) ก่อให้เกิดกระแส เงินสดซึ่งเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ( เช่น อัตราดอกเบี้ยของตราสารในระดับนั้น ไม่ได้อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 120 ข 4.1.21.2 กลุ่มเครื่องมือทางการเงินอ้างอิงมีลักษณะของกระแสเงินสด ตามที่กําหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ ข 4.1.23 และ ข 4.1.24 และ ข 4.1.21.3 ความเสี่ยงด้านเครดิตจากกลุ่มเครื่องมือทางการเงินอ้างอิงในระดับของตราสาร เท่ากับหรือตํ่ากว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มเครื่องมือทางการเงินอ้างอิง ( เช่น อันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตที่ถูกประเมินเพื่อจัดชั้นเท่ากับหรือสูงกว่าอันดับ ความน่าเชื่อถือด้านเครดิตที่ถูกใช้กับตราสารที่ลงทุนภายใต้กลุ่มเครื่องมือ ทางการเงิน ) ข 4.1.22 กิจการจะต้องพิจารณาจนสามารถระบุถึงกลุ่มตราสารอ้างอิงที่ก่อให้เกิดแทนตราสารที่ส่งผ่าน กระแสเงินสดและให้กลุ่มของตราสารที่ระบุได้ดังกล่าวเป็นกลุ่มของเครื่องมือทางการเงิน อ้างอิง ข 4.1.23 กลุ่มตราสารอ้างอิงจะต้องประกอบด้วยตราสารหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งตราสารซึ่งมีกระแส เงินสดตามสัญญาเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ข 4.1.24 กลุ่มของตราสารอ้างอิง อาจประกอบด้วยตราสารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ข 4.1.24.1 ลดความผันผวนของกระแสเงินสดที่ได้รับจากตราสารตามย่อหน้าที่ ข 4.1.23 ซึ่งเมื่อรวมกับตราสารในย่อหน้าที่ ข 4.1.23 แล้วจะทําให้กระแสเงินสดตามสัญญา เป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น ( เช่น อัตรา ดอกเบี้ยสูงสุด หรืออัตราดอกเบี้ยตํ่าสุด หรือสัญญาที่ลดความเสี่ยงด้านเครดิตของ ตราสารในย่อหน้าที่ ข 4.1.23 ได้บางส่วนหรือทั้งหมด ) หรือ ข 4.1.24.2 ปรับกระแสเงินสดของตราสารในระดับให้สัมพันธ์กับกระแสเงินสดของกลุ่ม ตราสารอ้างอิงตามย่อหน้าที่ ข 4.1.23 อันเนื่องมาจากความแตกต่างเฉพาะใน ประเด็นต่อไปนี้ ข 4.1.24.2.1 อัตราดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่หรือลอยตัว ข 4.1.24.2.2 สกุลเงินของกระแสเงินสด รวมถึงเงินเฟ้อบนสกุลเงินดังกล่าว หรือ ข 4.1.24.2.3 ช่วงเวลาของกระแสเงินสด ข 4.1.25 ถ้าตราสารใดในกลุ่มไม่เข้าเงื่อนไขทั้งในย่อหน้าที่ ข 4.1.23 หรือย่อหน้าที่ ข 4.1.24 จะไม่เข้า เงื่อนไขตามย่อหน้าที่ ข 4.1.21.2 ในการประเมินนี้ รายละเอียดตราสารแต่ละตราสาร ในการวิเคราะห์ตราสารของกลุ่มอาจไม่จําเป็น อย่างไรก็ตาม กิจการต้องใช้วิจารณญาณและทํา การวิเคราะห์อย่างเพียงพอที่จะตัดสินใจว่าตราสารในกลุ่มเข้าตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ ข 4.1.23 ถึง ข 4.1.24 หรือไม่ ( ดูย่อหน้าที่ ข 4.1.18 สําหรับแนวทางทางปฏิบัติของลักษณะ กระแสเงินสดตามสัญญาที่มีเฉพาะผลกระทบขั้นต้น ) ข 4.1.26 ถ้าผู้ถือไม่สามารถประเมินเงื่อนไขในย่อหน้าที่ ข 4.1.21 ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกได้ ระดับของตราสารนั้นจะต้องถูกวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน หากกลุ่มของ ตราสารอ้างอิงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ในลักษณะที่กลุ่ม ตราสารดังกล่าว อาจไม่เข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ ข 4.1.23 ถึง ข 4.1.24 ระดับของตราสารนั้นจะ ไม่เข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ ข 4.1.21 และต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 121 อย่างไรก็ตาม ถ้ากลุ่มของตราสารอ้างอิงรวมตราสารหลักประกันเป็นสินทรัพย์ที่ไม่เข้าเงื่อนไข ในย่อหน้าที่ ข 4.1.23 ถึง ข 4.1.24 ความสามารถในการครอบครองสินทรัพย์เหล่านี้อาจจะ ไม่เข้าข่ายสําหรับบังคับใช้ตามย่อหน้านี้ ถ้ากิจการไม่ทําสัญญาโดยมีความตั้งใจที่จะควบคุม หลักประกัน ทางเลือกในการเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ( หมวดที่ 4.1 และ 4.2) ข 4.1.27 ตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.5 และ 4.2.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้อนุญาตให้ กิจการเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงินหรือกลุ่มของเครื่องมือ ทางการเงิน ( สินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงินหรือทั้งสองประเภท ) แสดงด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนโดยการการวัดมูลค่าด้วยวิธีนี้ส่งผลให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ข 4.1.28 การตัดสินใจของกิจการที่จะเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินแสดง ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนจะคล้ายกับการเลือกใช้นโยบายการบัญชี ( ถึงแม้จะ แตกต่างจากการเลือกนโยบายการบัญชีคือไม่จําเป็นต้องนํามาถือปฏิบัติกับธุรกรรมที่คล้ายกัน ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ) เมื่อกิจการมีทางเลือกตามย่อหน้าที่ 14.2 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กําหนดว่านโยบายการบัญชีที่เลือกใช้ทําให้งบการเงินให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้และ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากขึ้นสําหรับส่วนที่เกี่ยวกับผลกระทบของรายการ เหตุการณ์อื่น หรือสถานการณ์ที่มีต่อฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานการเงิน และกระแสเงินสดของกิจการ เช่น ในกรณีที่กิจการเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุน ย่อหน้าที่ 4.2.2 กล่าวถึงสองกรณีที่จะต้องให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มากขึ้น ดังนั้นในการเลือกดังกล่าวตามย่อหน้าที่ 4.2.2 กิจการจะต้องแสดงให้เห็นถึงการเลือกหรือไม่ เลือกตามสภาพแวดล้อมทั้งสองสภาพแวดล้อม การเลือกกําหนดเพื่อขจัดหรือลดการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชีอย่างมีนัยสําคัญ ข 4.1.29 การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน และการรับรู้การเปลี่ยนแปลงใน มูลค่าที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับการจัดประเภทของเครื่องมือทางการเงินและการพิจารณาว่า เครื่องมือทางการเงินนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงที่เลือก กําหนดขึ้นหรือไม่ ข้อกําหนดดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องในการวัดมูลค่าและ การรับรู้รายการ ( บางครั้งอาจอ้างอิงถึงการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี ) เช่น หากกิจการไม่เลือกกําหนดให้เครื่องมือทางการเงินแสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุน สินทรัพย์ทางการเงินรายการหนึ่งอาจจัดประเภท และวัดมูลค่าภายหลัง ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ในขณะที่หนี้สินอีกรายการหนึ่งที่กิจการพิจารณาว่า มีความเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดังกล่าวต้องวัดมูลค่าภายหลังด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย ( ซึ่งไม่มี การรับรู้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ) จากสภาพแวดล้อมดังกล่าว กิจการอาจได้ข้อสรุป

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 122 ว่างบการเงินของกิจการจะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้มากกว่าหากทั้งสินทรัพย์และ หนี้สินนั้นมีการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ข 4.1.30 ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงกรณีที่เข้าเงื่อนไขที่กําหนดข้างต้น ซึ่งในทุกกรณีกิจการ อาจใช้เงื่อนไขข้างต้นในการเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนได้หากเป็นไปตามหลักการในย่อหน้าที่ 4.1.5 หรือ 4.2.2.1 ข 4.1.30.1 กิจการมีสัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ( ซึ่งการวัดมูลค่านั้นได้นําข้อมูลปัจจุบันมาร่วมพิจารณา ) และมีสินทรัพย์ ทางการเงินที่กิจการถือว่ามีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งในกรณีดังกล่าวหากกิจการ ไม่กําหนดให้แสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนจะถูกวัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือราคาทุนตัดจําหน่าย ข 4.1.30.2 กิจการมีสินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงิน หรือทั้งสองประเภทซึ่งมีการร่วมรับ ความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน มูลค่ายุติธรรมในทิศทางตรงข้ามกันและมีแนวโน้มที่จะหักกลบกันในที่สุด อย่างไร ก็ตาม มีเพียงเครื่องมือทางการเงินบางประเภทเท่านั้นที่มีการวัดมูลค่าที่มูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ( ได้แก่ อนุพันธ์ หรือที่ถูกจัดประเภทเป็นถือไว้ เพื่อค้า ) นอกจากนี้ อาจรวมถึงกรณีที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดของการบัญชี ป้องกันความเสี่ยง เช่น ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดในเรื่องความมีประสิทธิผล ในการป้องกันความเสี่ยงตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.4.1 ข 4.1.30.3 กิจการมีสินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงิน หรือทั้งสองประเภทซึ่งมีการร่วมรับ ความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรมในทิศทางตรงข้ามกันและมีแนวโน้มที่จะหักกลบกันในที่สุด และ ไม่มีสินทรัพย์ทางการเงิน หรือหนี้สินทางการเงินที่จะเข้าเงื่อนไขเป็นเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยง เนื่องจากไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน นอกจากนี้ การไม่สามารถปฏิบัติตามการบัญชีป้องกันความเสี่ยงจะทําให้ เกิดความไม่สอดคล้องในการรับรู้รายการกําไรและขาดทุนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น กิจการซื้อกลุ่มของเงินให้สินเชื่อโดยการออกหุ้นกู้ที่มีการซื้อขายกันในตลาด โดยที่การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของทั้งสองรายการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะ หักกลบกันได้ นอกจากนี้ หากกิจการมีการซื้อขายหุ้นกู้เป็นประจํา แต่แทบจะไม่มี รายการซื้อขายเงินให้สินเชื่อ การรายงานทั้งเงินให้สินเชื่อและหุ้นกู้ด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนจะช่วยไม่ให้เกิดความไม่สอดคล้องในช่วงเวลาของ การรับรู้รายการกําไรและขาดทุนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการวัดมูลค่ารายการทั้งสองด้วย ราคาทุนตัดจําหน่ายและรับรู้กําไรและขาดทุนเมื่อมีการซื้อคืนหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ข 4.1.31 กรณีตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าก่อน ซึ่งมีการเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สิน ทางการเงินวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน จะช่วยขจัดหรือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 123 ลดความไม่สอดคล้องของการวัดมูลค่าหรือการรับรู้รายการได้อย่างมีนัยสําคัญ และให้ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว กิจการไม่จําเป็นต้อง วัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดหรือรับรู้รายการความไม่สอดคล้องในช่วงเวลาเดียวกัน การเหลื่อมเวลาที่สมเหตุสมผลอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากรายการที่เกิดขึ้นแต่ละรายการ ได้เลือกกําหนดให้รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน และในขณะที่มีการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกนั้นสามารถคาดการณ์ได้ว่ารายการอื่นๆ ที่เหลือจะ เกิดขึ้น ข 4.1.32 กิจการไม่ควรเลือกกําหนดให้บางส่วนของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่มี ความไม่สอดคล้องกันให้แสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน หากการกําหนด ดังกล่าวไม่ช่วยขจัดหรือลดความไม่สอดคล้องที่เกิดขึ้นได้อย่างมีนัยสําคัญ และไม่ทําให้เกิด ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้มากขึ้น แต่กิจการสามารถเลือกกําหนดให้แสดงมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนกับบางส่วนของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สิน ทางการเงินที่คล้ายคลึงกันจํานวนหนึ่งได้ หากการกําหนดดังกล่าวช่วยลดความไม่สอดคล้อง ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีนัยสําคัญ เช่น กิจการมีหนี้สินทางการเงินที่คล้ายคลึงกันจํานวนหนึ่งมูลค่า รวม 100 บาทและมีสินทรัพย์ทางการเงินที่คล้ายคลึงกันจํานวนหนึ่งมูลค่ารวม 50 บาท โดยที่สินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าววัดมูลค่าบนหลักการที่ต่างกัน กิจการอาจต้องการลดความ ไม่สอดคล้องในการวัดมูลค่าอย่างมีนัยสําคัญด้วยการเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทั้งหมด และ เพียงบางส่วนของหนี้สิน ( เช่น หนี้สินแต่ละรายการที่เมื่อรวมกันมีมูลค่ารวม 45 บาท ) ให้รับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน อย่างไรก็ตาม หากการเลือก กําหนดให้แสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนต้องนํามาถือปฏิบัติกับ เครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการทั้งจํานวน กิจการในตัวอย่างนี้ต้องเลือกกําหนดหนี้สิน รายการหนึ่งหรือหลายรายการให้แสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนทั้งจํานวน โดยไม่สามารถเลือกกําหนดการวัดมูลค่าดังกล่าวเฉพาะกับส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่ง ของหนี้สินแต่ละรายการนั้น ( เช่น การเปลี่ยนแปลงสําหรับมูลค่าเฉพาะที่เกิดจากความเสี่ยง ประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น การเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ) หรือเฉพาะกับสัดส่วน ใดสัดส่วนหนึ่ง ( ร้อยละ ) ของหนี้สินแต่ละรายการ กลุ่มของหนี้สินทางการเงิน หรือสินทรัพย์ทางการเงิน และหนี้สินทางการเงินถูกจัดการ และประเมินผลบนพื้นฐานของมูลค่ายุติธรรม ข 4.1.33 กิจการอาจบริหารจัดการกลุ่มหนี้สินทางการเงิน หรือทั้งสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สิน ทางการเงิน และประเมินผลการบริหารตามลักษณะของการวัดมูลค่ากลุ่มของเครื่องมือ ทางการเงินดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ซึ่งทําให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจมากขึ้น ประเด็นที่สําคัญคือการพิจารณาแนวทางที่กิจการใช้ในการบริหารและ ประเมินผลการบริหาร แทนการมุ่งเน้นการพิจารณาธรรมชาติของเครื่องมือทางการเงินนั้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 124 ข 4.1.34 ตัวอย่างเช่น กิจการอาจใช้เงื่อนไขข้างต้นในการเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินแสดงมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนได้หากเป็นไปตามหลักการในย่อหน้าที่ 4.2.2.2 และ กิจการมีสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ซึ่งมีการร่วมรับความเสี่ยงตั้งแต่หนึ่ง ประเภทขึ้นไป และความเสี่ยงดังกล่าวถูกบริหารและประเมินผลบนพื้นฐานของมูลค่ายุติธรรม ตามที่กําหนดไว้ในนโยบายการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินที่จัดทําขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น กิจการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ซับซ้อน ซึ่งประกอบไปด้วยอนุพันธ์แฝงหลายประเภท และมีการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นบนหลักการของมูลค่ายุติธรรมโดยใช้เครื่องมือทางการเงิน ทั้งที่เป็นอนุพันธ์และไม่ใช่อนุพันธ์ ข 4.1.35 ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น เงื่อนไขนี้ขึ้นอยู่กับแนวทางที่กิจการบริหารจัดการและประเมินมูลค่า กลุ่มของเครื่องมือทางการเงินที่กําลังพิจารณา ดังนั้น ( ขึ้นอยู่กับข้อกําหนดในเรื่องการเลือก กําหนดการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ) กิจการซึ่งเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินแสดงมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนภายใต้เงื่อนไขข้อนี้ ก็จะเลือกกําหนดหนี้สิน ทางการเงินทุกประเภทที่มีคุณสมบัติซึ่งมีการบริหารและประเมินมูลค่าร่วมกัน ข 4.1.36 เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับกลยุทธ์ของกิจการไม่จําเป็นต้องจัดทําอย่างครอบคลุม แต่ควรเพียงพอ สําหรับการแสดงให้เห็นว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.2.2.2 เอกสารดังกล่าว ไม่ต้องจัดทําสําหรับเครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการ โดยอาจจัดทําเป็นพอร์ตโฟลิโอได้ เช่น หากระบบในการบริหารแผนกงานหนึ่งๆ ได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสําคัญของกิจการแล้ว สามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการประเมินผลการบริหารแผนกงานอยู่บนหลักการนี้ กิจการไม่จําเป็นต้องจัดทําเอกสารใดเพิ่มเติมเพื่อแสดงว่าเป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.2.2.2 อีก อนุพันธ์แฝง ( หมวดที่ 4.3) ข 4.3.1 เมื่อกิจการเข้าเป็นคู่สัญญาของสัญญาแบบผสมที่สัญญาหลักไม่ได้เป็นสินทรัพย์ที่อยู่ใน ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ย่อหน้าที่ 4.3.3 กําหนดให้กิจการต้อง ระบุอนุพันธ์แฝงนั้น และประเมินว่าจําเป็นต้องแยกแสดงจากสัญญาหลักหรือไม่ ในกรณี ที่จําเป็นต้องแยกแสดงจากสัญญาหลัก กิจการต้องวัดมูลค่าอนุพันธ์ด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกและวัดมูลค่าภายหลังด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ข 4.3.2 หากสัญญาหลักไม่มีการระบุหรือกําหนดวันครบกําหนดไว้ล่วงหน้า และแสดงถึงส่วนได้เสีย คงเหลือในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ลักษณะเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยง ( ของสัญญาหลัก ) คือลักษณะของตราสารทุน และอนุพันธ์แฝงจําเป็นต้องมีลักษณะของส่วนได้เสียที่สัมพันธ์กับ กิจการเดียวกันจึงจะพิจารณาได้ว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด หากสัญญาหลักไม่ใช่ตราสารทุน และมีลักษณะตามคํานิยามของเครื่องมือทางการเงิน ดังนั้น ลักษณะเชิงเศรษฐกิจและ ความเสี่ยง ( ของสัญญาหลัก ) คือลักษณะของตราสารหนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 125 ข 4.3.3 อนุพันธ์แฝงประเภทที่ไม่ใช่สิทธิเลือก ( เช่น อนุพันธ์แฝงที่เป็นสัญญาฟอร์เวิร์ด หรือสัญญา แลกเปลี่ยน ) จะถูกแยกออกจากสัญญาหลักโดยพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ชัดเจนหรือ โดยนัย เพื่อที่จะส่งผลให้อนุพันธ์แฝงดังกล่าวมีมูลค่ายุติธรรมเท่ากับศูนย์ ณ การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรก ส่วนอนุพันธ์แฝงประเภทสิทธิเลือก ( เช่น อนุพันธ์แฝงที่เป็นสิทธิเลือกที่จะขาย สิทธิเลือกที่จะซื้อ มูลค่าสูงสุด มูลค่าตํ่าสุด หรือ สิทธิที่จะแลกเปลี่ยน ) จะถูกแยกออกจาก สัญญาหลักโดยพิจารณาจากเงื่อนไขของส่วนที่เป็นสิทธิเลือก มูลค่าของสัญญาหลักที่แสดง ในบัญชีเมื่อเริ่มแรก คือ ส่วนที่เหลือหลังจากแยกอนุพันธ์แฝงออกไปแล้ว ข 4.3.4 โดยทั่วไปอนุพันธ์แฝงหลายประเภทที่แฝงอยู่ในสัญญาแบบผสมรายการเดียวกัน จะถูกพิจารณาว่าเป็นอนุพันธ์แฝงแบบผสมหนึ่งรายการ อย่างไรก็ตาม อนุพันธ์แฝงที่ถูกจัดประเภท เป็นทุน ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ) จะถูกปฏิบัติโดยแยกต่างหากจากอนุพันธ์แฝงที่ถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สิน นอกจากนั้น หากสัญญาแบบผสมที่ประกอบด้วยอนุพันธ์แฝงมากกว่าหนึ่งประเภท และ อนุพันธ์แฝงเหล่านั้นสัมพันธ์กับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่แตกต่างกัน และสามารถแยกจากกัน ได้ทันที และเป็นอิสระต่อกัน อนุพันธ์แฝงเหล่านี้จะปฏิบัติโดยแยกจากกัน ข 4.3.5 ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงถึงลักษณะเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงของอนุพันธ์แฝงที่ไม่มี ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสัญญาหลัก ( ย่อหน้าที่ 4.3.3.1) ตามตัวอย่างต่อไปนี้สมมติว่า อนุพันธ์แฝงมีลักษณะตามข้อกําหนดที่ระบุในย่อหน้าที่ 4.3.3.2 และ 4.3.3.3 โดยกิจการ ปฏิบัติกับอนุพันธ์แฝงแยกต่างหากจากสัญญาหลัก ข 4.3.5.1 สัญญาสิทธิที่จะขาย ที่แฝงอยู่ในเครื่องมือทางการเงินที่ทําให้ผู้ถือมีสิทธิเรียกร้อง ให้ผู้ออกซื้อคืนเครื่องมือทางการเงินด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ที่ผันแปรตาม การเปลี่ยนแปลงในราคาหรือดัชนีของหุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์ จะถือว่าไม่มี ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับตราสารหนี้ที่เป็นสัญญาหลัก ข 4.3.5.2 สิทธิหรือข้อกําหนดโดยอัตโนมัติที่จะขยายระยะเวลาครบกําหนดที่เหลืออยู่ของ ตราสารหนี้ ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับตราสารหนี้ที่เป็นสัญญาหลัก เว้นแต่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นอัตราตลาดปัจจุบันในช่วงที่มีการขยาย ระยะเวลา หากกิจการออกตราสารหนี้และผู้ถือตราสารหนี้ดังกล่าวมีการขายสิทธิ เลือกที่จะซื้อตราสารหนี้ดังกล่าวให้กับบุคคลที่สาม ผู้ออกจะพิจารณาว่าสิทธิเลือกที่ จะซื้อดังกล่าวเป็นการขยายระยะเวลาครบกําหนดของตราสารหนี้ ถ้าผู้ออก มีส่วนร่วมหรืออํานวยความสะดวกในการขายตราสารหนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ สิทธิเลือกที่จะซื้อนั้น ข 4.3.5.3 ตราสารหนี้หรือสัญญาประกันภัยที่เป็นสัญญาหลัก ซึ่งการจ่ายเงินต้นหรือดอกเบี้ย สัมพันธ์กับดัชนีตราสารทุนที่แฝงอยู่ถือว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ สัญญาหลัก เนื่องจากความเสี่ยงของสัญญาหลักและอนุพันธ์แฝงไม่คล้ายคลึงกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 126 ข 4.3.5.4 ตราสารหนี้หรือสัญญาประกันภัยที่เป็นสัญญาหลัก ซึ่งการจ่ายเงินต้นหรือดอกเบี้ย สัมพันธ์กับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ที่แฝงอยู่ ถือว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ สัญญาหลัก เนื่องจากความเสี่ยงของสัญญาหลักและอนุพันธ์แฝงไม่คล้ายคลึงกัน ข 4.3.5.5 สัญญาสิทธิที่จะซื้อ สัญญาสิทธิที่จะขาย สิทธิชําระเงินก่อนครบกําหนด ที่แฝงอยู่ ในตราสารหนี้ที่เป็นสัญญาหลักหรือสัญญาประกันภัย ถือว่าไม่มีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับสัญญาหลัก เว้นแต่ ข 4.3.5.5.1 ราคาใช้สิทธิจะเท่ากับราคาทุนตัดจําหน่ายโดยประมาณของตราสาร หนี้ในวันที่มีการใช้สิทธิแต่ละครั้งหรือมูลค่าตามบัญชีของสัญญา ประกันภัยหลัก หรือ ข 4.3.5.5.2 ราคาใช้สิทธิของสิทธิชําระเงินก่อนครบกําหนดสามารถคืนเงิน ให้แก่ผู้ให้กู้เป็นจํานวนเงินเท่ากับมูลค่าปัจจุบันโดยประมาณของ ดอกเบี้ยที่สูญเสียไปจากระยะเวลาที่เหลือของสัญญาหลัก ดอกเบี้ย ที่สูญเสียไปเท่ากับเงินต้นที่จ่ายคืนก่อนครบกําหนดคูณด้วยความ แตกต่างของอัตราดอกเบี้ย ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยคือ ส่วนเกินของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของสัญญาหลักกับอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงที่กิจการจะได้รับ ณ วันที่ชําระเงินก่อนครบกําหนด ถ้านํากลับไปลงทุนใหม่ในสัญญาที่คล้ายคลึงกันสําหรับระยะเวลาที่ เหลือของสัญญาหลัก การประเมินว่าสัญญาสิทธิที่จะซื้อหรือสัญญาสิทธิที่จะขายมีความสัมพันธ์อย่าง ใกล้ชิดกับตราสารหนี้ที่เป็นสัญญาหลักหรือไม่ จะถูกพิจารณาก่อนที่จะมีการแยก องค์ประกอบที่เป็นทุน ภายใต้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ข 4.3.5.6 อนุพันธ์ด้านเครดิต ที่แฝงอยู่ในตราสารหนี้ที่เป็นสัญญาหลักและอนุญาตให้ คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง (“ ผู้รับผลประโยชน์ ”) โอนความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ อ้างอิงเฉพาะรายการ ซึ่งอาจไม่มีความเป็นเจ้าของไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (“ ผู้คํ้าประกัน ”) และถือว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับตราสารหนี้ที่เป็น สัญญาหลัก อนุพันธ์ด้านเครดิตดังกล่าวอนุญาตให้ผู้คํ้าประกันรับโอนความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์อ้างอิง โดยไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นโดยตรง ข 4.3.6 ตัวอย่างของสัญญาแบบผสม ได้แก่ เครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิผู้ถือในการขายเครื่องมือ ทางการเงินคืนให้แก่ผู้ออก โดยแลกกับเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นที่ผันแปรตาม การเปลี่ยนแปลงของดัชนีตราสารทุนหรือดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง (“ เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิขายคืน ”) เว้นแต่ผู้ออกจะเลือกกําหนดในการรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกให้เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิขายคืนเป็นหนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน โดยเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวจะถูกกําหนดให้แยกอนุพันธ์ แฝงออกมา ( เช่น การจ่ายเงินต้นตามดัชนี ) ตามย่อหน้าที่ 4.3.3 เนื่องจากสัญญาหลักคือ ตราสารหนี้ภายใต้ย่อหน้าที่ ข 4.3.2 และการจ่ายเงินต้นตามดัชนีไม่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 127 กับตราสารหนี้ที่เป็นสัญญาหลัก ภายใต้ย่อหน้าที่ ข 4.3.5.1 ทั้งนี้ เนื่องจากการจ่ายคืนเงินต้น สามารถเพิ่มขึ้นและลดลง จึงถือว่าอนุพันธ์แฝงเป็นอนุพันธ์ประเภทที่ไม่ให้สิทธิเลือกที่จะซื้อ หรือจะขาย โดยมูลค่าของอนุพันธ์แฝงดังกล่าวจะถูกกําหนดตามตัวแปรอ้างอิง ข 4.3.7 ในกรณีของเครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิขายคืน ซึ่งสามารถขายคืนได้ตลอดเวลา โดยได้รับ เงินสดในจํานวนเท่ากับสัดส่วนที่ถืออยู่ในมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ( เช่น หน่วยลงทุนใน กองทุนเปิด หรือ กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน ) การแยกอนุพันธ์แฝงและบันทึกบัญชี สําหรับแต่ละองค์ประกอบ ทําให้ทราบมูลค่าไถ่ถอนของสัญญาแบบผสม ซึ่งต้องชําระ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน หากผู้ถือใช้สิทธิในการขายเครื่องมือทางการเงินนั้นคืนให้กับผู้ออก ข 4.3.8 ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงถึงลักษณะเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงของอนุพันธ์แฝงที่มีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับลักษณะเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงของสัญญาหลัก ในตัวอย่างเหล่านี้ กิจการ ไม่ปฏิบัติกับอนุพันธ์แฝงแยกต่างหากจากสัญญาหลัก ข 4.3.8.1 อนุพันธ์แฝงซึ่งตัวแปรอ้างอิง คืออัตราดอกเบี้ยหรือดัชนีอัตราดอกเบี้ยซึ่งสามารถ เปลี่ยนแปลงจํานวนเงินของดอกเบี้ยที่จะมีการจ่ายหรือที่จะได้รับจากสัญญาหลักที่ เป็นสัญญาหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหรือสัญญาประกันภัย ถือว่ามีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับสัญญาหลัก เว้นแต่ สัญญาแบบผสมที่สามารถจ่ายชําระด้วยวิธีการ ที่ทําให้ผู้ถือไม่ได้รับเงินลงทุนเกือบทั้งหมดคืน หรืออนุพันธ์แฝงสามารถเพิ่ม อัตราผลตอบแทนเมื่อเริ่มต้นจากสัญญาหลักให้แก่ผู้ถือได้อย่างน้อยสองเท่า และ ส่งผลให้ได้รับอัตราผลตอบแทนอย่างน้อยสองเท่าจากอัตราผลตอบแทนตลาด สําหรับสัญญาที่มีเงื่อนไขเหมือนกับสัญญาหลัก ข 4.3.8.2 อัตราตํ่าสุดหรืออัตราสูงสุดที่แฝงอยู่ในอัตราดอกเบี้ยของสัญญาหนี้สินหรือสัญญา ประกันภัย ถือว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสัญญาหลัก หากอัตราสูงสุดที่ กําหนดไว้เท่ากับหรือสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาด และอัตราตํ่าสุดที่กําหนดไว้ เท่ากับหรือตํ่ากว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดในขณะที่มีการออกสัญญานั้น และอัตรา สูงสุดหรืออัตราตํ่าสุดนั้นไม่ได้เป็นการปรับมูลค่าทางการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับ สัญญาหลัก ในทํานองเดียวกัน เงื่อนไขที่ประกอบอยู่ในสัญญาซื้อหรือขาย สินทรัพย์ ( เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ ) ที่กําหนดอัตราสูงสุดและอัตราตํ่าสุดของราคา ที่จะจ่ายหรือได้รับสําหรับสินทรัพย์นั้น มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสัญญาหลัก หากทั้งอัตราสูงสุดและอัตราตํ่าสุดอยู่ในสถานะสูญเงิน ณ วันเริ่มต้นและไม่ได้มี ผลในการปรับมูลค่าทางการเงิน ข 4.3.8.3 อนุพันธ์แฝงประเภทอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งทําให้การจ่ายเงินต้น หรือดอกเบี้ยถูกกําหนดเป็นเงินตราต่างประเทศและแฝงอยู่ในตราสารหนี้ที่เป็น สัญญาหลัก ( เช่น หุ้นกู้ที่มีสองอัตราแลกเปลี่ยน (dual currency bond)) ถือว่ามี ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับตราสารหนี้ที่เป็นสัญญาหลัก อนุพันธ์ดังกล่าวไม่ถูก แยกออกจากสัญญาหลัก เนื่องจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่อง ผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กําหนดให้กําไร

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 128 และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของรายการที่เป็นตัวเงินต้อง ถูกรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ข 4.3.8.4 อนุพันธ์แฝงประเภทอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศซึ่งแฝงอยู่ในสัญญาหลัก ซึ่งเป็นสัญญาประกันภัย หรือไม่ใช่เครื่องมือทางการเงิน ( เช่น สัญญาซื้อหรือขาย รายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินซึ่งราคาของรายการถูกกําหนดเป็นเงินตรา ต่างประเทศ ) ถือว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสัญญาหลัก ถ้าไม่มีการปรับ มูลค่าทางการเงิน ไม่มีลักษณะของสิทธิเลือก และกําหนดให้การจ่ายเงินทําในสกุล เงินใดสกุลเงินหนึ่งต่อไปนี้ ข 4.3.8.4.1 สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของคู่สัญญาใดๆ ในสัญญานั้น ข 4.3.8.4.2 สกุลเงินซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการที่จะได้รับมาหรือที่จะต้อง ส่งมอบถูกกําหนดเป็นปกติในการค้าทั่วโลก ( เช่น สกุลเงินดอลลาร์ สหรัฐสําหรับรายการซื้อขายนํ้ามันดิบ ) ข 4.3.8.4.3 สกุลเงินซึ่งใช้โดยทั่วไปในสัญญาซื้อหรือขายรายการที่ไม่ใช่รายการ ทางการเงินในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งรายการนั้นเกิดขึ้น ( เช่น สกุลเงินที่มีความมั่นคงและมีสภาพคล่อง ซึ่งใช้โดยทั่วไปใน ธุรกิจของท้องถิ่นหรือการค้าทั่วโลก ) ข 4.3.8.5 สิทธิที่จะชําระเงินก่อนครบกําหนดที่แฝงอยู่ในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว หรือ ส่วนที่เป็นเงินต้นเพียงอย่างเดียว ถือว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ สัญญาหลัก ถ้าหากว่าสัญญาหลัก ข 4.3.8.5.1 แรกเริ่มเกิดขึ้นจากการแยกสิทธิที่จะรับกระแสเงินสดตามสัญญา ของสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งโดยตนเองไม่มีอนุพันธ์แฝง และ ข 4.3.8.5.2 ไม่มีเงื่อนไขใดที่ไม่ได้แสดงอยู่ในสัญญาหนี้สินเดิมที่เป็นสัญญา หลัก ข 4.3.8.6 อนุพันธ์แฝงในสัญญาเช่าที่เป็นสัญญาหลัก ถือว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ สัญญาหลัก หากอนุพันธ์แฝงคือ ข 4.3.8.6.1 ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อ เช่น ดัชนีการจ่ายค่าเช่าต่อดัชนีราคา ผู้บริโภค ( ถ้าหากว่าสัญญาเช่านั้นไม่มีการปรับมูลค่าทางการเงินและ ดัชนีมีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของ กิจการ ) ข 4.3.8.6.2 ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่มีเงื่อนไขอ้างอิงกับการขายที่เกี่ยวข้อง หรือ ข 4.3.8.6.3 ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่มีเงื่อนไขอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยผันแปร ข 4.3.8.7 กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน ที่แฝงอยู่ในเครื่องมือทางการเงินหลักหรือ สัญญาประกันภัยที่เป็นสัญญาหลักจะถือว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสัญญา หลักดังกล่าว หากการจ่ายเงินถูกกําหนดในรูปของหน่วยลงทุนที่สะท้อนมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ในกองทุน ลักษณะของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 129 เป็นเงื่อนไขตามสัญญาที่กําหนดการจ่ายเงินชําระเงินในรูปของหน่วยของเงินลงทุน ในกองทุนทั้งภายในและภายนอก ข 4.3.8.8 อนุพันธ์ที่แฝงอยู่ในสัญญาประกันภัยจะถือว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัญญา ประกันภัยซึ่งเป็นสัญญาหลัก หากอนุพันธ์แฝงและสัญญาประกันภัยที่เป็นสัญญา หลักมีความเกี่ยวข้องกันจนทําให้กิจการไม่สามารถวัดมูลค่าของอนุพันธ์แฝงแยก ต่างหากได้ ( กล่าวคือ ไม่สามารถวัดมูลค่า โดยไม่พิจารณาควบคู่ไปกับสัญญาหลักได้ ) ตราสารที่มีอนุพันธ์แฝง ข 4.3.9 ตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ ข 4.3.1 เมื่อกิจการเข้าเป็นคู่สัญญาของสัญญาแบบผสมที่สัญญาหลัก ไม่ได้เป็นสินทรัพย์ที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ และมีอนุพันธ์ แฝงหนึ่งรายการหรือมากกว่า ย่อหน้าที่ 4.3.3 กําหนดให้กิจการต้องระบุอนุพันธ์แฝงนั้น และ ประเมินว่าจําเป็นต้องแยกแสดงจากสัญญาหลักหรือไม่ ในกรณีที่จําเป็นต้องแยกแสดงจาก สัญญาหลัก กิจการต้องวัดมูลค่าอนุพันธ์ด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกและ วัดมูลค่าภายหลัง ข้อกําหนดนี้อาจจะทําให้การวัดมูลค่าซับซ้อนยิ่งขึ้นหรือมีความน่าเชื่อถือ น้อยลงกว่าการวัดมูลค่าตราสารทั้งหมดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ด้วยเหตุผล ดังกล่าว มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้จึงอนุญาตให้สามารถเลือกกําหนดให้สัญญา แบบผสมทั้งหมดวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ข 4.3.10 ข้อกําหนดดังกล่าวสามารถนําไปปฏิบัติได้ แม้ว่าย่อหน้าที่ 4.3.3 จะกําหนดให้ต้องแยก อนุพันธ์แฝงจากสัญญาหลัก หรือห้ามไม่ให้แยกจากสัญญาหลัก อย่างไรก็ตาม ย่อหน้าที่ 4.3.5 อาจไม่เหมาะสมที่จะนําไปใช้ในการเลือกกําหนดให้สัญญาแบบผสมแสดงมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.3.5.1 และ 4.3.5.2 เนื่องจาก ไม่ได้ลดความซับซ้อนหรือช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ การประเมินอนุพันธ์แฝงใหม่ ข 4.3.11 ตามย่อหน้าที่ 4.3.3 กิจการจะต้องประเมินว่าจําเป็นต้องแยกอนุพันธ์แฝงจากสัญญาหลัก หรือไม่และปฏิบัติเป็นอนุพันธ์เมื่อกิจการเข้าเป็นคู่สัญญาในครั้งแรก โดยห้ามประเมินใหม่ใน ภายหลังเว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาซึ่งทําให้กระแสเงินสดเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสําคัญ นอกเหนือจากที่สัญญากําหนดไว้ให้มีการประเมินใหม่ กิจการต้องกําหนดว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดอย่างมีนัยสําคัญหรือไม่ โดยพิจารณาจากกระแสเงินสดที่ คาดว่าจะได้ในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์แฝง สัญญาหลักหรือทั้งสัญญาหลักและอนุพันธ์ แฝงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตที่เคย กําหนดไว้ในสัญญาหรือไม่ ข 4.3.12 ย่อหน้าที่ ข 4.3.11 ไม่ใช้กับอนุพันธ์แฝงที่รวมอยู่ในสัญญาที่ได้มาจาก

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 130 ข 4.3.12.1 การรวมธุรกิจ ( ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ ) ข 4.3.12.2 การรวมกันของกิจการหรือการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกันตามที่อธิบาย ไว้ในย่อหน้าที่ ข 1 ถึง ข 4 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 หรือ ข 4.3.12.3 การก่อตั้งการร่วมค้าตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 เรื่อง การร่วมการงาน หรือการประเมินความเป็นไปได้ ณ วันที่ได้มาซึ่งกิจการ 3 การจัดประเภทรายการใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หมวดที่ 4.4) การจัดประเภทรายการใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน ข 4.4.1 ย่อหน้าที่ 4.4.1 กําหนดให้กิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน หากโมเดลธุรกิจในการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวคาดว่าจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ผู้บริหารระดับสูงของกิจการกําหนดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมีนัยสําคัญต่อการดําเนินงานของ กิจการและสามารถพิสูจน์แก่บุคคลภายนอกได้ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงในโมเดลธุรกิจของ กิจการจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกิจการเริ่มต้นหรือสิ้นสุดสภาพในการดําเนินกิจกรรมที่มีนัยสําคัญ ต่อการดําเนินงานของกิจการ เช่น เมื่อกิจการซื้อ จําหน่ายหรือยกเลิกกลุ่มธุรกิจ ตัวอย่างของ การเปลี่ยนแปลงในโมเดลธุรกิจรวมถึงรายการต่อไปนี้ ข 4.4.1.1 กิจการที่มีพอร์ตโฟลิโอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ที่ถือไว้เพื่อขายในระยะสั้น กิจการ ซื้อบริษัทที่บริหารสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และมีโมเดลธุรกิจที่ถือเงินให้สินเชื่อ เพื่อเก็บกระแสเงินสดตามสัญญา พอร์ตโฟลิโอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์จะไม่ใช่ การถือไว้เพื่อขายอีกต่อไป และต้องจัดการพอร์ตโฟลิโอสินเชื่อดังกล่าวรวมกับ การซื้อสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และถือทั้งหมดไว้เพื่อเก็บกระแสเงินสดตามสัญญา ข 4.4.1.2 บริษัทให้บริการทางการเงินตัดสินใจยกเลิกธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย ธุรกิจนั้นไม่นับเป็นธุรกิจใหม่อีกต่อไป และบริษัทให้บริการทางการเงินดังกล่าว เริ่มทําการตลาดสําหรับพอร์ตโฟลิโอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ข 4.4.2 การเปลี่ยนแปลงในวัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจของกิจการจะถูกกระทบก่อนวันที่จัดประเภท รายการใหม่ เช่น ถ้าบริษัทให้บริการทางการเงินแห่งหนึ่งตัดสินใจในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เพื่อยกเลิกธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย ดังนั้น จะต้องจัดประเภทรายการใหม่สําหรับ สินทรัพย์ทางการเงินที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ณ วันที่ 1 เมษายน ( ซึ่งคือวันแรกของ รอบระยะเวลาบัญชีถัดไปของกิจการ ) กิจการจะไม่ต้องรับธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยใหม่ หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจเดิมหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ข 4.4.3 ข้อต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจ 3 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ การได้มาซึ่งสัญญาที่มีอนุพันธ์แฝง อันเนื่องมาจากการรวมธุรกิจ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 131 ข 4.4.3.1 การเปลี่ยนแปลงความตั้งใจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงินโดยเฉพาะ ( แม้ใน สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาดอย่างมีนัยสําคัญ ) ข 4.4.3.2 ไม่มีตลาดเฉพาะเป็นการชั่วคราวสําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ข 4.4.3.3 การโอนสินทรัพย์ทางการเงินระหว่างส่วนต่างๆ ของกิจการที่มีโมเดลธุรกิจ แตกต่างกัน การวัดมูลค่า ( บทที่ 5) การวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก ( หมวดที่ 5.1) ข 5.1.1 มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก โดยทั่วไปคือราคาของ รายการ ( เช่น มูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ให้ไปหรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับ ดูย่อหน้าที่ ข 5.1.2 ก และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13) อย่างไรก็ตาม หากสิ่งตอบแทนที่ ให้ไปหรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับมีมากกว่าเครื่องมือทางการเงิน กิจการต้องวัดมูลค่ายุติธรรม ของเครื่องมือทางการเงิน ตัวอย่างเช่น มูลค่ายุติธรรมของเงินกู้ยืมระยะยาวหรือลูกหนี้ที่ไม่มี ดอกเบี้ยสามารถวัดมูลค่าโดยใช้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับในอนาคตทั้งหมดคิดลด ด้วยอัตราดอกเบี้ยตลาดของเครื่องมือทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน ( มีสกุลเงิน เงื่อนไขการกู้ยืม อัตราดอกเบี้ย และปัจจัยอื่นที่คล้ายคลึงกัน ) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตระดับ เดียวกัน เงินให้กู้ยืมส่วนที่เพิ่มขึ้น คือค่าใช้จ่ายหรือการลดลงของรายได้ เว้นแต่เงินให้กู้ยืมนั้น เข้าเงื่อนไขการรับรู้เป็นสินทรัพย์ประเภทอื่น ข 5.1.2 หากกิจการให้กู้ยืมเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามอัตราตลาด ( เช่น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดสําหรับเงินให้กู้ยืมที่คล้ายคลึงกันเป็นร้อยละ 8) และได้รับ ค่าธรรมเนียมเริ่มแรกเป็นการชดเชย กิจการต้องรับรู้เงินให้กู้ยืมดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม ซึ่งสุทธิจากค่าธรรมเนียมที่ได้รับ ข 5.1.2 ก หลักฐานที่ดีที่สุดสําหรับมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน ณ การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรก โดยทั่วไปคือราคาของรายการ ( เช่น มูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ให้ไป หรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับ ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13) หากกิจการกําหนดว่า มูลค่ายุติธรรม ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกแตกต่างจากราคาของรายการดังที่กล่าวไว้ในย่อ หน้าที่ 5.1.1 ก กิจการต้องปฏิบัติกับเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวตามวิธีต่อไปนี้ ข 5.1.2 ก .1 วัดมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 5.1.1 หากมูลค่ายุติธรรมได้มาจากราคา เสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องสําหรับสินทรัพย์หรือหนี้สินอย่างเดียวกัน ( เช่น ข้อมูลระดับ 1) หรือได้จากเทคนิคการประเมินมูลค่าที่ใช้ข้อมูลที่สังเกต ได้จากตลาด กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรม ณ การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรก และราคาของรายการเป็นผลกําไรหรือขาดทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 132 ข 5.1.2 ก .2 ในกรณีอื่นๆ ให้วัดมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 5.1.1 โดยปรับปรุงส่วนต่าง ระหว่างมูลค่ายุติธรรม ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก และราคาของรายการ ภายหลังการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการต้องรับรู้ผลต่างรอการตัดบัญชีเป็น กําไรหรือขาดทุนได้เฉพาะส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในปัจจัย ( รวมถึงปัจจัย ด้านเวลา ) ซึ่งผู้ร่วมตลาดนํามาพิจารณาในการกําหนดราคาสินทรัพย์หรือหนี้สิน การวัดมูลค่าภายหลัง ( หมวดที่ 5.2 และ 5.3) ข 5.2.1 หากเครื่องมือทางการเงินที่บันทึกเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุน แล้วมูลค่ายุติธรรมลดลงตํ่ากว่าศูนย์ เครื่องมือทางการเงินดังกล่าว ถือเป็นหนี้สินทางการเงินที่ต้องวัดมูลค่าตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.2.1 อย่างไรก็ตาม หากสัญญาแบบผสมซึ่งสัญญาหลักเป็นสินทรัพย์ตามขอบเขตของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ สัญญาแบบผสมดังกล่าวจะถูกวัดมูลค่าตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.3.2 ข 5.2.2 ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงการบันทึกบัญชีสําหรับต้นทุนการทํารายการสําหรับการวัดมูลค่า เมื่อเริ่มแรก และการวัดมูลค่าภายหลังของสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม โดยการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.5 หรือ 4.1.2 ก กิจการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่ราคา 100 บาท บวกด้วยค่านายหน้าในการซื้อ 2 บาท ณ วันที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก กิจการจะรับรู้สินทรัพย์ที่ 102 บาท วันถัดมาเป็นวันที่สิ้นรอบ ระยะเวลารายงาน ซึ่งราคาตลาดของสินทรัพย์เป็น 100 บาท หากมีการขายสินทรัพย์ต้อง จ่ายค่านายหน้า 3 บาท ณ วันดังกล่าว กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่ 100 บาท ( โดยไม่ต้อง คํานึงถึงค่านายหน้าในการขาย ) และรับรู้ขาดทุน 2 บาทในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หากสินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามที่ กําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ต้นทุนการทํารายการจะถูกตัดจําหน่ายไปยังกําไรหรือขาดทุน โดยใช้วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง ข 5.2.2 ก การวัดมูลค่าภายหลังของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน และการรับรู้ผลกําไรหรือ ขาดทุนในภายหลังตามที่อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ ข 5.1.2 ก จะต้องสอดคล้องกับข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ การลงทุนในตราสารทุนและสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุน ข 5.2.3 การลงทุนในตราสารทุนและสัญญาที่เกี่ยวข้องกับตราสารดังกล่าว ทั้งหมดต้องวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรม อย่างไรก็ดี ในสภาพแวดล้อมที่จํากัดราคาทุนอาจเป็นมูลค่าที่เหมาะสมในการ ประเมินมูลค่ายุติธรรม เช่นในกรณีที่ไม่มีข้อมูลปัจจุบันมากพอที่จะวัดมูลค่ายุติธรรม หรือใน กรณีที่มีช่วงข้อมูลของมูลค่ายุติธรรมที่กว้างและราคาทุนแสดงถึงมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณที่ ดีที่สุดของช่วงข้อมูลดังกล่าว ข 5.2.4 ข้อบ่งชี้ว่าราคาทุนอาจมิใช่มูลค่ายุติธรรมโดยประมาณ ได้แก่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 133 ข 5.2.4.1 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญในผลการดําเนินงานของกิจการที่ไปลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณ แผนงาน หรือเป้าหมายในการดําเนินงาน ข 5.2.4.2 การเปลี่ยนแปลงของการคาดการณ์ว่าเป้าหมายการดําเนินงานของผลิตภัณฑ์ เชิงเทคนิคของกิจการที่ไปลงทุนจะเป็นไปตามเป้าหมาย ข 5.2.4.3 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญในตลาดที่เกี่ยวกับเงินทุนของกิจการที่ไปลงทุน ผลิตภัณฑ์ หรือ ความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ของกิจการที่ไปลงทุน ข 5.2.4.4 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของเศรษฐกิจโลก หรือสภาพแวดล้อม ทางด้านเศรษฐกิจที่กิจการที่ลงทุนประกอบกิจการอยู่ ข 5.2.4.5 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญในผลการดําเนินงานของกิจการอื่นที่สามารถ เทียบเคียงกันได้ หรือการประเมินมูลค่าที่คาดการณ์จากตลาดโดยรวม ข 5.2.4.6 ปัจจัยภายในของกิจการที่ไปลงทุน เช่น การทุจริต ความขัดแย้งทางธุรกิจ การฟ้องร้องดําเนินคดี การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือกลยุทธ์ของกิจการ ข 5.2.4.7 หลักฐานการทําธุรกรรมกับภายนอกเกี่ยวกับเงินทุนของกิจการที่ลงทุน ทั้งจาก กิจการที่ลงทุนเอง ( เช่น การออกตราสารทุนใหม่ ) หรือจากการโอนตราสารทุน ระหว่างบุคคลที่สาม ข 5.2.5 เนื่องจากข้อบ่งชี้ในย่อหน้าที่ ข 5.2.4 มิได้ครอบคลุมข้อบ่งชี้ทุกกรณี ดังนั้น กิจการต้องใช้ ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดําเนินงานและการดําเนินการของกิจการที่ลงทุน ซึ่งได้รับหลังจากวันที่ รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก หากปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวบ่งชี้ว่าราคาทุนอาจมิใช่มูลค่ายุติธรรม โดยประมาณ กิจการต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ข 5.2.6 ราคาทุนไม่อาจเป็นมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณที่ดีที่สุด หากลงทุนในตราสารทุนที่มีราคาเสนอ ซื้อขาย ( หรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่มีราคาเสนอซื้อขาย ) การวัดมูลค่าราคาทุนตัดจําหน่าย ( หมวดที่ 5.4) วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง ข 5.4.1 ในการนําวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริงมาถือปฏิบัติ ให้กิจการระบุค่าธรรมเนียมที่เป็นองค์ประกอบของ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเครื่องมือทางการเงิน แม้ว่าคําที่ใช้เรียกค่าธรรมเนียมสําหรับ การให้บริการทางการเงินดังกล่าวอาจไม่ได้แสดงถึงธรรมชาติและเนื้อหาของการให้บริการ ค่าธรรมเนียมที่เป็นองค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเครื่องมือทางการเงินถือเป็น รายการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เว้นแต่ในกรณีที่เครื่องมือทางการเงินนั้นวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมโดยรับรู้การเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมในกําไรหรือขาดทุน ในกรณีเหล่านี้ ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจะรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย ของเครื่องมือทางการเงิน ณ วันที่รับรู้ เมื่อเริ่มแรก

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 134 ข 5.4.2 ค่าธรรมเนียมที่เป็นองค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเครื่องมือทางการเงิน ประกอบด้วย ข 5.4.2.1 ค่าธรรมเนียมในการทํารายการที่กิจการได้รับจากการก่อให้เกิดหรือการได้มาซึ่ง สินทรัพย์ทางการเงิน ค่าธรรมเนียมดังกล่าวอาจรวมถึงค่าตอบแทนในการดําเนินการ ต่างๆ เช่น การประเมินสถานะทางการเงินของผู้กู้ การประเมินและการบันทึก สัญญาการคํ้าประกัน การวางหลักประกัน และการจัดเตรียมหลักประกันอื่น ๆ การเจรจาต่อรองเงื่อนไขของเครื่องมือทางการเงิน การจัดเตรียมและดําเนินการ ทางเอกสาร และการปิดธุรกรรม ค่าธรรมเนียมเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องในการออกเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว ข 5.4.2.2 ค่าธรรมเนียมที่กิจการได้รับจากการให้สินเชื่อ เมื่อข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อดังกล่าว ไม่ได้ถูกวัดมูลค่าตามย่อหน้าที่ 4.2.1.1 และมีความเป็นไปได้ที่กิจการจะให้ สินเชื่อในที่สุด ค่าธรรมเนียมเหล่านี้เป็นค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือทางการเงิน ถ้าข้อผูกมัดสิ้นสุดลงโดยไม่มีการให้สินเชื่อ กิจการต้องรับรู้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นรายได้เมื่อข้อผูกมัดสิ้นสุด ข 5.4.2.3 ค่าธรรมเนียมที่กิจการจ่ายไปสําหรับการออกหนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคา ทุนตัดจําหน่าย ค่าธรรมเนียมเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการออก หนี้สินทางการเงิน ให้กิจการแยกค่าธรรมเนียมและต้นทุนที่เป็นองค์ประกอบของ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสําหรับหนี้สินทางการเงินออกจากค่าธรรมเนียมและต้นทุน การทํารายการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการให้บริการ เช่น การบริการจัดการการลงทุน ข 5.4.3 ค่าธรรมเนียมที่ไม่ถือเป็นองค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเครื่องมือทางการเงิน และถูกปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ประกอบด้วย ข 5.4.3.1 ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการสินเชื่อ ข 5.4.3.2 ค่าธรรมเนียมที่กิจการได้รับในการเข้าผูกมัดวงเงินสินเชื่อเมื่อข้อผูกมัดที่จะให้ สินเชื่อไม่ได้ถูกวัดมูลค่าตามย่อหน้าที่ 4.2.1.1 และไม่มีความเป็นไปได้ที่กิจการ จะเข้าทําสัญญาให้สินเชื่อแบบเฉพาะเจาะจง และ ข 5.4.3.3 ค่าธรรมเนียมการให้สินเชื่อร่วมที่กิจการได้รับจากการจัดการการให้สินเชื่อแต่กิจการ ไม่ได้ร่วมเป็นผู้ให้สินเชื่อในกลุ่มดังกล่าว ( หรือร่วมเป็นผู้ให้สินเชื่อที่มีอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงเหมือนกับผู้ให้สินเชื่อรายอื่น ๆ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงในลักษณะ เทียบเคียงกันได้ ) ข 5.4.4 เมื่อนําวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริงมาถือปฏิบัติ โดยทั่วไปกิจการจะตัดจําหน่ายค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมเพื่ออัตราลดดอกเบี้ย (points) ที่จ่ายไปหรือได้รับมา ต้นทุนการทํารายการ และ ส่วนเพิ่มหรือส่วนลดอื่นๆ ที่รวมอยู่ในการคํานวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุที่คาดไว้ของ เครื่องมือทางการเงินนั้น อย่างไรก็ตาม กิจการต้องใช้ระยะเวลาที่สั้นที่สุดหากระยะเวลา ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมเพื่ออัตราลดดอกเบี้ยที่จ่ายไปหรือได้รับมา ต้นทุนการทํารายการ และส่วนเพิ่มหรือส่วนลดอื่นๆ กรณีดังกล่าว ได้แก่ การที่ตัวแปร

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 135 ที่เกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมเพื่ออัตราลดดอกเบี้ยที่จ่ายไปหรือได้รับมา ต้นทุนการทํารายการ และส่วนเพิ่มหรือส่วนลดอื่นๆ ถูกปรับมูลค่าตามอัตราตลาดก่อนวันครบ กําหนดชําระที่คาดการณ์ของเครื่องมือทางการเงินนั้น ซึ่งระยะเวลาการตัดจําหน่ายที่เหมาะสม คือระยะเวลาที่จะถึงกําหนดปรับราคาครั้งต่อไป เช่น หากส่วนเพิ่มหรือส่วนลดของเครื่องมือ ทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสะท้อนถึงดอกเบี้ยคงค้างของเครื่องมือทางการเงินนั้น นับตั้งแต่การจ่ายดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายหรือการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาดเนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยลอยตัวจะถูกปรับตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด ดังนั้น มูลค่าดังกล่าวจะต้องถูก ตัดจําหน่ายไปจนถึงวันที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตามอัตราตลาดอีกครั้ง ทั้งนี้ เพราะ ส่วนเพิ่มหรือส่วนลดมูลค่ามีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป ซึ่ง ณ วันนั้น ตัวแปรซึ่งสัมพันธ์กับส่วนเพิ่มหรือส่วนลดมูลค่า ( เช่น อัตราดอกเบี้ย ) จะถูกปรับ ไปที่อัตราตลาด อย่างไรก็ตาม หากส่วนเพิ่มหรือส่วนลดมูลค่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงใน อัตราผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงด้านเครดิตบนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ระบุในเครื่องมือ ทางการเงิน หรือตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกปรับไปเป็นอัตราตลาด มูลค่าดังกล่าวจะถูกตัดจําหน่าย ตลอดอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือทางการเงินนั้น ข 5.4.5 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว การทบทวน การประมาณการกระแสเงินสดเป็นครั้งคราวเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยตลาด จะทําให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีการเปลี่ยนแปลง หากสินทรัพย์ทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ย ลอยตัวหรือหนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวถูกรับรู้เมื่อเริ่มแรกด้วยจํานวนเงิน ที่เท่ากับเงินต้นที่จะได้รับหรือที่จะจ่ายเมื่อครบกําหนด โดยปกติแล้วการทบทวนประมาณการ ดอกเบี้ยจ่ายในอนาคตจะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือ หนี้สิน ข 5.4.6 หากกิจการมีการปรับประมาณการจ่ายเงินหรือรับเงิน ( ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงตามย่อหน้าที่ 5.4.3 และการเปลี่ยนแปลงประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ) กิจการต้อง ปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ทางการเงินหรือราคาทุนตัดจําหน่ายของ หนี้สินทางการเงิน ( หรือกลุ่มของเครื่องมือทางการเงิน ) เพื่อให้สะท้อนจํานวนเงินที่เกิดขึ้นจริง หรือจํานวนเงินประมาณการของกระแสเงินสดตามสัญญาที่ถูกปรับ กิจการต้องคํานวณมูลค่า ตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ทางการเงินหรือราคาทุนตัดจําหน่ายของหนี้สิน ทางการเงินใหม่ตามมูลค่าปัจจุบันของประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่คิดลดด้วยอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงเดิมของเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว ( หรือใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับ ด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือ เมื่อกําเนิด ) หรือในกรณีที่เข้าเงื่อนไข ให้กิจการคํานวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงใหม่ ตามย่อหน้าที่ 6.5.10 โดยรายการปรับปรุงที่เกิดขึ้นจะถูกรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุน ข 5.4.7 ในบางกรณี สินทรัพย์ทางการเงินจะถูกพิจารณาว่ามีการด้อยค่าด้านเครดิตตั้งแต่รับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกเพราะมีความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงมาก และในกรณีที่ซื้อมา กิจการซื้อมาด้วย ส่วนลดจํานวนมาก กิจการต้องรวมผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรก

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 136 ในการประมาณกระแสเงินสดเพื่อคํานวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับด้วยความเสี่ยงด้าน เครดิตของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด ณ การรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่ากิจการต้องใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ปรับด้วยความเสี่ยงด้านเครดิตเพียงเพราะว่าสินทรัพย์ทางการเงินนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิต ในระดับสูง ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ต้นทุนการทํารายการ ข 5.4.8 ต้นทุนการทํารายการรวมถึงค่าธรรมเนียมและค่านายหน้าที่จ่ายให้กับตัวแทน ( รวมถึง พนักงานที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนขาย ) ที่ปรึกษา นายหน้า และตัวแทนจําหน่าย ภาษีหรือ ค่าธรรมเนียมที่หน่วยงานกํากับดูแลและตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บ และค่าภาษีอากรในการโอน ต้นทุนการทํารายการไม่รวมถึงส่วนเกินหรือส่วนลดมูลค่าของหุ้นกู้ ต้นทุนในการจัดหาเงินทุน หรือค่าใช้จ่ายในการบริหารเป็นการภายใน หรือต้นทุนในการถือครอง การตัดออกจากบัญชี ข 5.4.9 สินทรัพย์ทางการเงินสามารถตัดออกจากบัญชีได้ทั้งจํานวนหรือบางส่วน เช่น กิจการวางแผนที่ จะบังคับเอาหลักประกันของสินทรัพย์ทางการเงินและคาดว่าจะได้รับคืนจากหลักประกัน ไม่เกินร้อยละ 30 ของมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ถ้ากิจการคาดว่าจะไม่มีโอกาสได้รับคืน กระแสเงินสดใดๆ จากสินทรัพย์ทางการเงินอีกก็ควรตัดออกจากบัญชีส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ของมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน การด้อยค่า ( หมวดที่ 5.5) หลักเกณฑ์การประเมินการด้อยค่าแบบกลุ่มและแต่ละรายการ ข 5.5.1 กิจการอาจจําเป็นต้องประเมินการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างกลุ่ม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ เมื่อความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก อาจจําเป็นต้องประเมินการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตแบบเป็นกลุ่ม สินทรัพย์ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสําคัญ ตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มหรือกลุ่มย่อยของเครื่องมือทางการเงิน โดยการประเมินแบบกลุ่มทําให้แน่ใจว่ากิจการได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของการรับรู้ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุเมื่อความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสําคัญ แม้ว่าการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงิน แต่ละรายการจะยังไม่มีหลักฐานปรากฏก็ตาม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 137 ข 5.5.2 โดยปกติแล้วการรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุนั้นรับรู้ก่อน ที่เครื่องมือทางการเงินนั้นจะมีสถานะค้างชําระเกินกําหนด เนื่องจากความเสี่ยงด้านเครดิตจะ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญก่อนที่เครื่องมือทางการเงินจะมีสถานะค้างชําระเกินกําหนด หรือ มีปัจจัยอื่นของผู้กู้ที่แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ( เช่น การปรับปรุงเงื่อนไขของสัญญาใหม่หรือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ) ดังนั้น หากมีข้อมูล สนับสนุนและสมเหตุสมผลที่มีการคาดการณ์ไปในอนาคตได้ดีกว่าข้อมูลการค้างชําระเกิน กําหนด ที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป กิจการต้องนําข้อมูล ดังกล่าวมาใช้ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตด้วย ข 5.5.3 อย่างไรก็ตาม ด้วยธรรมชาติของเครื่องมือทางการเงินและข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิต ที่สามารถหาได้ของกลุ่มเครื่องมือทางการเงินบางประเภท กิจการอาจไม่สามารถระบุได้ว่า เครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการมีการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีนัยสําคัญ ก่อนที่เครื่องมือทางการเงินนั้นจะมีสถานะค้างชําระเกินกําหนด โดยอาจเป็นกรณีของเครื่องมือ ทางการเงินประเภทสินเชื่อรายย่อยซึ่งกิจการมีข้อมูลน้อยหรือไม่ได้รับ และไม่ได้ติดตามข้อมูล เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการอย่างสมํ่าเสมอจนกว่า ลูกค้าละเมิดตามเงื่อนไขในสัญญา หากกิจการไม่สามารถระบุการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยง ด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการก่อนที่เครื่องมือทางการเงินนั้นจะมีสถานะ ค้างชําระเกินกําหนด การวัดค่าเผื่อผลขาดทุนโดยพิจารณาจากเฉพาะข้อมูลด้านเครดิตของ เครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการจะไม่สามารถแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยง ด้านเครดิตนับจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกได้อย่างสมเหตุสมผล ข 5.5.4 ในบางสภาพแวดล้อมที่กิจการไม่สามารถหาข้อมูลสนับสนุนและสมเหตุสมผลของเครื่องมือทาง การเงินแต่ละรายการได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป เพื่อวัดมูลค่าผล ขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ในกรณีดังกล่าวให้กิจการรับรู้ผลขาดทุนด้าน เครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุตามเกณฑ์โดยการประเมินแบบกลุ่ม โดยพิจารณาจาก ข้อมูลความเสี่ยงด้านเครดิตที่ครอบคลุม ซึ่งต้องรวมไม่เพียงข้อมูลการค้างชําระเกินกําหนดแต่ รวมถึงข้อมูลด้านเครดิตทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาคที่มีการ คาดการณ์ในอนาคต เพื่อประมาณผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุเมื่อความ เสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับจากการรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก ข 5.5.5 ตามวัตถุประสงค์ของการพิจารณาการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตและ การรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุนตามเกณฑ์การประเมินแบบกลุ่ม กิจการสามารถจัดกลุ่มเครื่องมือ ทางการเงินตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีลักษณะร่วมกันเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์สามารถทํา ให้ระบุการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตในระยะเวลาที่เหมาะสม กิจการ ไม่ควรทําให้ข้อมูลดังกล่าวคลุมเครือโดยการจัดกลุ่มเครื่องมือทางการเงินที่มีลักษณะ ความเสี่ยงที่แตกต่างกันไว้ด้วยกัน ตัวอย่างของความเสี่ยงด้านเครดิตที่คล้ายคลึงกัน อาจรวมถึงแต่ไม่ได้จํากัดเฉพาะ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 138 ข 5.5.5.1 ประเภทของตราสาร ข 5.5.5.2 จัดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิต ข 5.5.5.3 ประเภทของหลักประกัน ข 5.5.5.4 วันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ข 5.5.5.5 ระยะเวลาคงเหลือจนถึงครบกําหนด ข 5.5.5.6 อุตสาหกรรม ข 5.5.5.7 สถานที่ตั้งของผู้กู้ยืม และ ข 5.5.5.8 มูลค่าของหลักประกันเทียบกับสินทรัพย์ทางการเงิน หากมีผลกระทบต่อความน่าจะเป็น ของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญา ( เช่น สินเชื่อที่มีการคํ้าประกัน แบบไม่มีสิทธิไล่เบี้ยในบางกิจการหรืออัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to value ratio) ข 5.5.6 ย่อหน้าที่ 5.5.4 กําหนดให้กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุของ เครื่องมือทางการเงินทั้งหมดที่ความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับจากการรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว หากกิจการไม่สามารถ จัดกลุ่มเครื่องมือทางการเงินตามความเสี่ยงด้านเครดิตมีลักษณะร่วมกัน เพื่อพิจารณา การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตนับจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกได้ กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุเฉพาะส่วนที่มีความเสี่ยง ด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ การจัดกลุ่มเครื่องมือทางการเงินเพื่อประเมินว่า มีการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตแบบกลุ่มหรือไม่ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีข้อมูล ใหม่เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มเครื่องมือทางการเงินหรือของเครื่องมือทางการเงิน แต่ละรายการ ระยะเวลาในการรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ข 5.5.7 ในการประเมินว่าควรจะรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความน่าจะเป็นหรือความเสี่ยงของการปฏิบัติ ผิดสัญญานับจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ( โดยไม่คํานึงว่าเครื่องมือทางการเงิน มีการกําหนดราคาใหม่เพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ) แทนการ พิจารณาจากหลักฐานที่แสดงว่าสินทรัพย์ทางการเงินมีการด้อยค่าด้านเครดิตแล้ว ณ วันที่ รายงานหรือ เมื่อการปฏิบัติผิดสัญญาเกิดขึ้น โดยทั่วไปแล้วความเสี่ยงด้านเครดิตจะเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญก่อนที่สินทรัพย์ทางการเงินนั้นจะเกิดการด้อยค่าด้านเครดิต หรือก่อนที่ จะมีการปฏิบัติผิดสัญญาเกิดขึ้น ข 5.5.8 สําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อ กิจการต้องพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการ ปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นของเงินให้สินเชื่อที่เกี่ยวกับกับข้อผูกมัดนั้น สําหรับสัญญาคํ้าประกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 139 ทางการเงิน กิจการต้องพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงที่ลูกหนี้จะปฏิบัติผิด สัญญา ข 5.5.9 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตนับจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก นั้นขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญา ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นของเครื่องมือทางการเงิน ที่มีความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรกตํ่ากว่า จะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสําคัญมากกว่าเครื่องมือทางการเงินที่มีความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้น เมื่อเริ่มแรกสูงกว่า ข 5.510 ความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ที่มีระดับความเสี่ยง ด้านเครดิตที่เทียบเท่ากัน เครื่องมือทางการเงินที่มีอายุที่คาดไว้มากกว่าจะมีความเสี่ยงของ การปฏิบัติผิดสัญญาสูงกว่า ตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นของหุ้นกู้ ระดับ AAA ที่มีอายุที่คาดไว้ 10 ปี จะสูงกว่าความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาของหุ้นกู้ ระดับ AAA ที่มีอายุที่คาดไว้ 5 ปี ข 5.5.11 เนื่องจากอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือทางการเงินกับความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตไม่สามารถประเมินโดย เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นตลอดอายุที่ คาดไว้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นของเครื่องมือ ทางการเงินที่มีอายุที่คาดไว้ 10 ปี ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก เท่ากับความเสี่ยงของการ ปฏิบัติผิดสัญญาของเครื่องมือทางการเงินที่มีอายุที่คาดไว้คงเหลือ 5 ปี แสดงว่าเครื่องมือ ทางการเงินที่มีอายุที่คาดไว้คงเหลือ 5 ปี มีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากโดยปกติ แล้วความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาในช่วงอายุที่คาดไว้จะลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป หากความเสี่ยงด้านเครดิตนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเครื่องมือทางการเงินนั้นใกล้จะครบ กําหนด อย่างไรก็ตาม สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่มีภาระผูกพันต้องจ่ายเงินจํานวนที่มี นัยสําคัญใกล้วันครบกําหนด ความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาอาจไม่ลดลงเมื่อระยะเวลา ผ่านไป โดยในกรณีดังกล่าว กิจการควรจะพิจารณาถึงปัจจัยเชิงคุณภาพอื่นๆ ที่จะแสดงให้เห็น ว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ข 5.5.12 กิจการอาจใช้วิธีการต่างๆในการประเมินว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเครื่องมือทางการเงินเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ หรือในการวัดผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันตามเครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่ไม่ได้นําความน่าจะเป็นของการปฏิบัติผิดสัญญาที่ชัดเจนมาใช้ในการประเมินหรือ การคํานวณ เช่น วิธีการที่ใช้อัตราผลขาดทุนด้านเครดิต ก็เป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ ซึ่งกําหนดว่ากิจการสามารถแยกการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยง ของการปฏิบัติผิดสัญญาออกจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอื่นๆ ของผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น หลักประกัน และในการประเมินนั้นให้กิจการพิจารณาถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 140 ข 5.5.12.1 การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ข 5.5.12.2 อายุที่คาดไว้ของเครื่องมือทางการเงิน และ ข 5.5.12.3 ข้อมูลสนับสนุนและสมเหตุสมผลที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความ พยายามที่มากเกินไป ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานซึ่งอาจกระทบต่อความเสี่ยง ด้านเครดิต ข 5.5.13 วิธีการที่ใช้ในการพิจารณาว่าเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ ควรพิจารณาจากลักษณะของเครื่องมือ ทางการเงิน ( หรือกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน ) และข้อมูลการปฏิบัติผิดสัญญาในอดีตของ เครื่องมือทางการเงินที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ แม้ว่าจะมีข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.9 แล้ว แต่สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่มีข้อมูลการปฏิบัติผิดสัญญาที่ไม่กระจุกตัวอยู่ในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่งของอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของ การปฏิบัติผิดสัญญาที่จะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า อาจเป็นประมาณการของการเปลี่ยนแปลง ของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาตลอดอายุของเครื่องมือทางการเงินอย่างสมเหตุสมผล ในกรณีนี้กิจการอาจใช้การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่จะเกิดขึ้น ใน 12 เดือนข้างหน้า ในการพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ นับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ เว้นแต่จะมีสภาพแวดล้อมใดสภาพแวดล้อมหนึ่ง บ่งชี้ว่ากิจการจําเป็นต้องประเมินการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่ เกิดขึ้นตลอดอายุเครื่องมือทางการเงิน ข 5.5.14 อย่างไรก็ตาม การใช้การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่จะเกิดขึ้น ใน 12 เดือนข้างหน้า ในการพิจารณาว่าควรรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอด อายุหรือไม่ อาจไม่เหมาะสมสําหรับเครื่องมือทางการเงินบางประเภท หรือในบาง สภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่จะ เกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า อาจไม่ใช่เกณฑ์ที่เหมาะสมที่จะประเมินว่า เครื่องมือทางการเงินที่ มีอายุสัญญามากกว่า 12 เดือน มีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นเมื่อ ข 5.5.14.1 เครื่องมือทางการเงินนั้นมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินจํานวนที่มีนัยสําคัญใน ช่วงเวลาที่มากกว่า 12 เดือนข้างหน้า ข 5.5.14.2 การเปลี่ยนแปลง ของปัจจัยเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เกี่ยวข้อง หรือปัจจัยอื่น ที่เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิตไม่สะท้อนถึงความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญา ที่จะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้าได้อย่างเหมาะสม หรือ ข 5.5.14.3 การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิตส่งผลกระทบต่อ ความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงิน ( หรือมีผลกระทบที่ชัดเจนขึ้น ) มากกว่า 12 เดือน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 141 การพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกหรือไม่ ข 5.5.15 ในการพิจารณาว่าต้องรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุหรือไม่ กิจการ ควรพิจารณาจากข้อมูลสนับสนุนสมเหตุสมผลที่สามารถหาได้โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนหรือความ พยายามที่มากเกินไป และอาจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงิน ตามย่อหน้าที่ 5.5.17.3 โดยกิจการไม่จําเป็นต้องหาข้อมูลโดยละเอียดเพื่อพิจารณาว่าความ เสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ ข 5.5.16 การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิตคือ การวิเคราะห์ปัจจัยหลายปัจจัยในภาพรวม โดยพิจารณา ว่ามีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้อง และนํ้าหนักของปัจจัยนั้นเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภท ของผลิตภัณฑ์ ลักษณะของเครื่องมือทางการเงินและผู้กู้ยืม ตลอดจนเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ โดยกิจการต้องพิจารณาข้อมูลสนับสนุนและสมเหตุสมผลที่สามารถหาได้โดยไม่ต้องใช้ต้นทุน หรือความพยายามที่มากเกินไป และเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินที่ประเมิน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหรือข้อบ่งชี้อาจไม่สามารถระบุได้ในระดับของเครื่องมือทางการเงินแต่ละ รายการ โดยในกรณีนี้กิจการควรประเมินปัจจัยหรือข้อบ่งชี้เป็นพอร์ตโฟลิโอ กลุ่มของพอร์ตโฟ ลิโอ หรือบางส่วนของพอร์ตโฟลิโอเครื่องมือทางการเงิน เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามข้อกําหนด ในย่อหน้าที่ 5.5.3 ที่ต้องรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุหรือไม่ ข 5.5.17 รายการต่อไปนี้อาจต้องใช้ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิต ทั้งนี้ รายการดังกล่าวไม่ครอบคลุมรายการทั้งหมด ข 5.5.17.1 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของตัวชี้วัดราคาภายในของความเสี่ยง ด้านเครดิต ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิต นับตั้งแต่วันที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก ซึ่งรวมถึง ( แต่ไม่จํากัดเฉพาะ ) ส่วนต่างอัตรา ดอกเบี้ยที่อาจเปลี่ยนแปลง หากมีการออกเครื่องมือทางการเงินหรือเครื่องมือ ทางการเงินที่คล้ายคลึงกันที่มีเงื่อนไขและคู่สัญญาเหมือนกัน ณ วันที่รายงาน ข 5.5.17.2 การเปลี่ยนแปลงของอัตราหรือเงื่อนไขของเครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ซึ่งอาจ แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยสําคัญ หากมีการออกเครื่องมือทางการเงินนั้นใหม่ ณ วันที่รายงาน ( เช่น ข้อตกลงทางการเงินที่มีความเข้มงวดมากขึ้น หลักประกัน หรือสัญญาคํ้าประกันที่มีจํานวนสูงขึ้น หรือสัดส่วนรายได้ต่อหนี้ที่สูงขึ้น ) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงิน นับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ข 5.5.17.3 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของบ่งชี้จากตลาดภายนอกที่เกี่ยวกับ ความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินหรือเครื่องมือทางการเงิน ที่คล้ายคลึงกันที่มีอายุที่คาดไว้เท่ากัน การเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดจากตลาด ภายนอกของความเสี่ยงด้านเครดิตรวมถึง ( แต่ไม่ครอบคุมทั้งหมด ) ข 5.5.17.3.1 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 142 ข 5.5.17.3.2 ราคาของสัญญาการรับประกันด้านเครดิต (credit default swap) สําหรับผู้กู้ยืม ข 5.5.17.3.3 ระยะเวลา หรือสัดส่วนของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ที่ตํ่ากว่าราคาทุนตัดจําหน่าย ข 5.5.17.3.4 ข้อมูลตลาดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้กู้ยืม เช่น การเปลี่ยนแปลง ราคาของตราสารหนี้และตราสารทุนของผู้กู้ยืม ข 5.5.17.4 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญที่เกิดขึ้นจริงหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินโดย บุคคลภายนอก ข 5.5.17.5 การลดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของผู้กู้ยืมภายในกิจการ หรือการลดลง ของคะแนนพฤติกรรมที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตภายในกิจการที่ เกิดขึ้นจริงหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิต ภายในกิจการหรือการให้คะแนนพฤติกรรมภายในกิจการจะมีความน่าเชื่อถือ มากขึ้น เมื่อมีนําข้อมูลดังกล่าวไปเทียบกับข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ด้านเครดิตโดยบุคคลภายนอก หรือมีข้อมูลสนับสนุนจากกรณีศึกษาเกี่ยวกับ การปฏิบัติผิดสัญญา ข 5.5.17.6 การเปลี่ยนแปลงในทางลบของสภาพทางธุรกิจ ทางการเงิน หรือทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทําให้ความสามารถของผู้กู้ยืมในการ ปฏิบัติตามภาระผูกพันหนี้สินเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เช่น อัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มขึ้นหรือคาดว่าจะเพิ่มขึ้น หรืออัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นหรือที่คาดว่าจะ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ข 5.5.17.7 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของผลการดําเนินการของผู้กู้ยืมที่เกิดขึ้นหรือ คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น รายได้หรือกําไรที่ลดลงหรือคาดว่าจะลดลง ความเสี่ยง จากการดําเนินงานที่เพิ่มขึ้น การขาดเงินทุนหมุนเวียน คุณภาพของสินทรัพย์ที่ ลดลง การก่อภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น สภาพคล่อง ปัญหาด้านการบริหารจัดการ หรือการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของธุรกิจ หรือโครงสร้างองค์กร ( เช่น การยกเลิก ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งของกิจการ ) ซึ่งทําให้ความสามารถของผู้กู้ยืมในการปฏิบัติ ตามภาระผูกพันหนี้สินของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ข 5.5.17.8 การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินอื่น ของผู้กู้ยืมรายนั้น ข 5.5.17.9 การเปลี่ยนแปลงในทางลบอย่างมีนัยสําคัญของสภาพแวดล้อมทั้งทางกฎหมาย เศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยีของผู้กู้ยืม ที่เกิดขึ้นหรือตามที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งทําให้ของความสามารถของผู้กู้ยืมในการปฏิบัติตามภาระผูกพันหนี้สินของ กิจการ เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เช่น ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้กู้ยืม ที่ลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 143 ข 5.5.17.10 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญในมูลค่าของหลักประกัน หรือคุณภาพของ การคํ้าประกันโดยบุคคลที่สาม หรือการรับประกันด้านเครดิต ซึ่งคาดว่าจะลด แรงจูงใจของผู้กู้ยืมในการจ่ายชําระตามสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความน่าจะ เป็นในการปฏิบัติผิดสัญญา ตัวอย่างเช่น หากมูลค่าหลักประกันลดลง เนื่องจาก ราคาบ้านลดลง ผู้กู้ยืมบางรายอาจมีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติผิดสัญญาเงินกู้ซื้อบ้าน มากขึ้น ข 5.5.17.11 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของคุณภาพของการคํ้าประกันโดยผู้ถือหุ้น ( หรือบริษัทใหญ่ ) หากผู้ถือหุ้น ( หรือบริษัทใหญ่ ) มีแรงจูงใจและความสามารถ ทางการเงินในการช่วยเหลือโดยการเพิ่มทุนหรือให้เงินสด เพื่อมิให้การปฏิบัติ ผิดสัญญาเกิดขึ้น ข 5.5.17.12 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญซึ่งคาดว่าจะลดแรงจูงใจของผู้กู้ยืมในการจ่าย ชําระหนี้ตามสัญญา เช่น บริษัทใหญ่ หรือบริษัทในเครืออื่นๆให้ความช่วยเหลือ ทางการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญที่เกิดขึ้นจริงหรือที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในคุณภาพของการรับประกันด้านเครดิต โดยคุณภาพของการรับประกัน ด้านเครดิตนั้น รวมถึงการพิจารณาสถานะทางการเงินของผู้คํ้าประกัน และ / หรือ ดอกเบี้ยของตราสารที่ออกธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ไม่ว่า ดอกเบี้ยด้อยสิทธินั้นจะสามารถรองรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ตาม ( เช่น หลักทรัพย์คํ้าประกัน ) ข 5.5.17.13 การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงกรณีการละเมิดสัญญาซึ่งทําให้มีการยกเลิกหรือการแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไข สัญญา ช่วงเวลาการหยุดชําระดอกเบี้ย การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การขอ หลักประกันหรือการคํ้าประกันเพิ่มขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ตามกรอบ สัญญาของเครื่องมือทางการเงิน ข 5.5.17.14 การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของผลการดําเนินงานและพฤติกรรมของ ผู้กู้ยืมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานะการจ่ายชําระหนี้ ของผู้กู้ยืมในกลุ่ม ( ตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของจํานวนหรือสัดส่วนของการจ่าย ชําระหนี้ตามสัญญาที่ล่าช้า หรือการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของจํานวนผู้ที่ใช้ บัตรเครดิต ซึ่งคาดว่าเกือบจะหรือจะใช้เกินวงเงินที่ได้รับ หรือผู้ที่คาดว่าจะผ่อน ชําระเงินรายเดือนเพียงจํานวนเงินขั้นตํ่า ) ข 5.5.17.15 การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการด้านเครดิตของกิจการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ ทางการเงิน โดยอ้างอิงตามตัวชี้วัดของการเปลี่ยนแปลงฃของความเสี่ยง ด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงิน วิธีปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเน้นเชิงรุกมากขึ้นหรือให้ความสําคัญกับการจัดการ เครื่องมือ ซึ่งรวมถึงการติดตามและการควบคุมอย่างใกล้ชิดมากขึ้น หรือกิจการ ที่แทรกแซงผู้กู้ยืม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 144 ข 5.5.17.16 ข้อมูลการค้างชําระเกินกําหนด รวมถึงข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งได้ใน ย่อหน้าที่ 5.5.11 ข 5.5.18 ในบางกรณี ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณที่ไม่ใช่ข้อมูลทางสถิติที่สามารถหาได้อาจ เพียงพอที่จะใช้ในการพิจารณาว่า เครื่องมือทางการเงินนั้นเข้าเงื่อนไขต้องรับรู้ค่าเผื่อ ผลขาดทุนด้วยจํานวนที่เท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ กล่าวคือ ข้อมูลนั้นไม่จําเป็นต้องผ่านการคํานวณทางสถิติ หรือกระบวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ด้านเครดิต เพื่อพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสําคัญหรือไม่ ในกรณีอื่นๆ กิจการอาจจําเป็นต้องพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ซึ่งรวมถึงข้อมูลจาก การคํานวณทางสถิติหรือกระบวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิต หรืออีกนัยหนึ่ง กิจการอาจอ้างอิงจากการประเมินข้อมูลทั้งสองประเภท เช่น ปัจจัยเชิงคุณภาพที่ไม่รวมอยู่ใน กระบวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตภายในกิจการ และการจัดประเภทของการจัด อันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตภายในกิจการ ณ วันที่รายงาน ซึ่งมีการพิจารณาถึงลักษณะ ของความเสี่ยงด้านเครดิต ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก หากข้อมูลทั้งสองประเภทนั้น มีความเกี่ยวข้องกัน ข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งได้เกี่ยวกับการค้างชําระเกินกําหนดเกินกว่า 30 วัน ข 5.5.19 ข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งได้ในย่อหน้าที่ 5.5.11 นั้นไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่จะทําให้ สามารถระบุได้ว่ากิจการควรรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ แต่สามารถ กําหนดให้เป็นจุดสุดท้ายที่ใช้ในการพิจารณารับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดอายุ แม้ว่าจะมีการนําข้อมูลที่เป็นการคาดการณ์ในอนาคตมาใช้ก็ตาม ( ซึ่งรวมถึงปัจจัย เชิงเศรษฐศาสตร์มหภาคในระดับพอร์ตโฟลิโอ ) ข 5.5.20 กิจการสามารถโต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ได้ อย่างไรก็ตาม การที่จะสามารถโต้แย้งได้นั้น กิจการ จะต้องมีข้อมูลที่สนับสนุนและมีความสมเหตุสมผลแสดงให้เห็นว่า หากมีการค้างชําระ การจ่ายเงินตามสัญญาเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่แสดงว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือ ทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ตัวอย่างเช่น เมื่อการค้างชําระเกินกําหนดเกิดจากความ ผิดพลาดด้านการจัดการ แทนที่จะเกิดจากปัญหาทางการเงินของผู้กู้ยืม หรือกิจการมีหลักฐาน ในอดีตที่แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาที่ มีการค้างชําระเกินกําหนดเกินกว่า 30 วันไม่มีความสัมพันธ์สัมพันธ์กัน แต่หลักฐานนั้นแสดง ว่าการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีการค้างชําระเกินกําหนดเกินกว่า 60 วัน ข 5.5.21 กิจการไม่สามารถกําหนดให้ระยะเวลาของการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิตและรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ กับระยะเวลาที่ สินทรัพย์ทางการเงินมีการด้อยค่าด้านเครดิตหรือเป็นไปตามคํานิยามภายในของกิจการ เกี่ยวกับการปฏิบัติผิดสัญญา

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 145 เครื่องมือทางการเงินที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่า ณ วันที่รายงาน ข 5.5.22 ความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินถือว่าอยู่ในระดับตํ่าตามความหมายของ ย่อหน้าที่ 5.5.10 ก็ต่อเมื่อเครื่องมือทางการเงินนั้นมีความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาตํ่า และผู้กู้ยืมสามารถจ่ายชําระกระแสเงินสดตามสัญญาในระยะเวลาอันใกล้ และการเปลี่ยนแปลง เชิงลบของเศรษฐกิจและธุรกิจในระยะยาว ไม่อาจลดความสามารถของผู้กู้ยืมในการจ่ายชําระ กระแสเงินสดตามสัญญาได้ แต่เครื่องมือทางการเงินจะไม่ถือว่ามีความเสี่ยงด้านเครดิตใน ระดับตํ่า หากเครื่องมือทางการเงินนั้นมีความเสี่ยงในการขาดทุนตํ่าเพราะมีหลักประกัน และ เครื่องมือทางการเงินที่ไม่มีหลักประกันจะถือว่าไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่า นอกจากนี้ เครื่องมือทางการเงินยังไม่ถือว่ามีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่าเพราะเครื่องมือทางการเงินนั้นมี ความเสี่ยงของการปฏิบัติผิดสัญญาตํ่ากว่าเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ของกิจการ หรือตํ่ากว่า เมื่อเทียบกับความเสี่ยงด้านเครดิตของประเทศที่กิจการนั้นประกอบการ ข 5.5.23 ในการพิจารณาว่าเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่าหรือไม่นั้น กิจการอาจ พิจารณาจากการจัดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินภายในกิจการหรือ วิธีการอื่นๆ ที่สอดคล้องกับนิยามของความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่าที่เข้าใจตรงกันโดยทั่วไป และที่ พิจารณาจากความเสี่ยงและประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่กิจการประเมิน โดยเครื่องมือ ทางการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตโดยบุคคลภายนอกเป็นเครื่องมือ ทางการเงินที่อยู่ใน ‘ ระดับน่าลงทุน ’ (investment grade) อาจเป็นตัวอย่างหนึ่งของเครื่องมือ ทางการเงินที่ถือว่ามีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่า อย่างไรก็ตาม เครื่องมือทางการเงิน ไม่จําเป็นต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตโดยบุคคลภายนอก จึงจะถือว่า มีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่า แต่ควรพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตอยู่ในระดับตํ่าจากมุมมอง ของผู้มีส่วนร่วมในตลาดซึ่งได้คํานึงถึงข้อกําหนดและเงื่อนไขทั้งหมดของเครื่องมือทางการเงิน ข 5.5.24 การที่กิจการไม่รับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุด้วยเหตุผลว่าเครื่องมือ ทางการเงินนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่าระยะเวลารอบก่อนแต่ ณ วันที่รายงานก่อน และ ไม่ถือว่ามีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่า ณ วันที่รายงาน การจะรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าวได้นั้นกิจการ ต้องพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกหรือไม่ เพื่อพิจารณาว่ากิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดอายุเข้าเงื่อนไขการรับรู้ตามย่อหน้าที่ 5.5.3 หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ข 5.5.25 ในบางสภาพแวดล้อม การเจรจาตกลงหรือการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดตามสัญญาของ สินทรัพย์ทางการเงินใหม่อาจทําให้มีการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินเดิมตามที่กําหนด ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ โดยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสินทรัพย์ ทางการเงินแล้วทําให้ต้องเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินเดิมและรับรู้สินทรัพย์

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 146 ทางการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ให้ถือว่าสินทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขนั้น เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ‘ ใหม่ ’ ตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ข 5.5.26 วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาให้ถือว่าเป็นวันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ ทางการเงินเพื่อปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการด้อยค่ากับสินทรัพย์ทางการเงินที่มี การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ซึ่งโดยทั่วไปกิจการจะวัดค่าเผื่อผลขาดทุนของสินทรัพย์ทางการเงิน ดังกล่าวเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้าจนกว่าจะเข้า เงื่อนไขที่ต้องรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุตามย่อหน้าที่ 5.5.3 อย่างไรก็ตาม ในบางสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอาจทําให้มีการเลิกรับรู้รายการ สินทรัพย์ทางการเงินเดิม อาจเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขมีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ดังนั้น ควรรับรู้ สินทรัพย์ทางการเงินนั้นเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อกําเนิด สถานการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอย่างมี นัยสําคัญ ซึ่งทําให้ต้องเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินเดิม โดยในกรณีนี้ อาจเป็นไปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอาจทําให้สินทรัพย์ทางการเงินใหม่นั้นมีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ข 5.5.27 หากมีการเจรจาตกลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ ทางการเงินใหม่ แต่ไม่มีการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินเดิม ไม่ได้แสดงว่าสินทรัพย์ ทางการเงินนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่าลง โดยกิจการควรประเมินว่ามีความเสี่ยงด้านเครดิต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่จากข้อมูลสนับสนุนและ สมเหตุสมผลที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป ซึ่งรวมถึงข้อมูล ในอดีต ข้อมูลการคาดการณ์ไปในอนาคตและการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตตลอดอายุที่ คาดไว้ของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ทําให้มีการ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขนั้นด้วย หลักฐานที่แสดงว่าเครื่องมือทางการเงินไม่เข้าเงื่อนไขต้องรับรู้ผล ขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุรวมถึงประวัติการชําระเงินตรงเวลาและเป็น ปัจจุบันตามข้อกําหนด ของสัญญาที่ปรับปรุงใหม่แล้ว โดยทั่วไปลูกค้าจะแสดงพฤติกรรมการ ชําระเงินที่ดีและต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาได้ว่าความเสี่ยงด้านเครดิต ลดลง ตัวอย่างเช่น ประวัติการผิดนัดชําระเงินหรือการชําระหนี้ที่ไม่ครบถ้วน จะไม่ถูกลบ หลังจากที่มีการจ่ายชําระหนี้ตามกําหนดชําระเพียงงวดเดียวจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ของสัญญา การวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ข 5.5.28 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ประมาณการค่าความน่าจะเป็นของผลขาดทุน ด้านเครดิตถ่วงนํ้าหนัก ( เช่น มูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินสดที่คาดว่าจะไม่ได้รับทั้งหมด )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 147 ตลอดช่วงอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือทางการเงิน จํานวนเงินสดที่คาดว่าจะไม่ได้รับ คือ ส่วนต่าง ระหว่างกระแสเงินสดตามสัญญาและกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ เนื่องจากผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นพิจารณาถึงจํานวนและจังหวะเวลาการชําระเงิน ดังนั้น ผลขาดทุน ด้านเครดิตจึงเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่ากิจการคาดว่าจะได้รับเงินเต็มจํานวนแต่เงินนั้นได้รับ ภายหลังจากวันที่กําหนดไว้ในสัญญา ข 5.5.29 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ผลขาดทุนด้านเครดิต คือมูลค่าปัจจุบันของผลต่างระหว่าง ข 5.5.29.1 กระแสเงินสดที่ถึงกําหนดจ่ายให้กิจการตามสัญญา และ ข 5.5.29.2 กระแสเงินสดที่กิจการคาดว่าจะได้รับ ข 5.5.30 สําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อที่ยังไม่ได้เบิกใช้ ผลขาดทุนด้านเครดิต คือมูลค่าปัจจุบันของ ผลต่างระหว่าง ข 5.5.30.1 กระแสเงินสดตามสัญญาที่ถึงกําหนดชําระ ในกรณีที่ผู้ถือสัญญาเบิกใช้สินเชื่อ และ ข 5.5.30.2 กระแสเงินสดที่กิจการคาดว่าจะได้รับ ในกรณีที่สินเชื่อถูกเบิกใช้ ข 5.5.31 การประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อของ กิจการต้องสอดคล้องกับการคาดการณ์การเบิกสินเชื่อของข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อนั้น เช่น พิจารณาสัดส่วนของข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อที่คาดว่าจะถูกเบิกใช้ใน 12 เดือนข้างหน้านับตั้งแต่ วันที่รายงานเมื่อประมาณผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า และ สัดส่วนของข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อที่คาดว่าจะถูกเบิกใช้ตลอดประมาณการอายุที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นของข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อเมื่อประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดอายุ ข 5.5.32 สําหรับสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน กิจการต้องชําระเงินเฉพาะในกรณีที่ลูกหนี้ปฏิบัติผิดสัญญา ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของเครื่องมือทางการเงินที่มีการคํ้าประกัน ดังนั้นจํานวนเงินสดที่คาดว่าจะ ไม่ได้รับ คือประมาณการจ่ายเงินชดเชยที่จะจ่ายให้ผู้ถือสัญญาสําหรับผลขาดทุนด้านเครดิตหัก จํานวนเงินที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากผู้ถือสัญญา ลูกหนี้ หรือบุคคลใด โดยหากสินทรัพย์ มีการคํ้าประกันอย่างเต็มจํานวน ค่าประมาณการของจํานวนเงินสดที่คาดว่าจะไม่ได้รับสําหรับ สัญญาคํ้าประกันทางการเงินจะสอดคล้องกับค่าโดยประมาณของจํานวนเงินสดที่คาดว่าจะ ไม่ได้รับสําหรับสินทรัพย์ที่มีการคํ้าประกัน ข 5.5.33 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ วันที่รายงาน แต่ไม่ได้เป็นสินทรัพย์ ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด กิจการต้องวัดมูลค่าผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยใช้ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของ สินทรัพย์กับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตคิดลดด้วยอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ใช้ตอนเริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น การปรับปรุงผลต่างดังกล่าวจะ ถูกรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเป็นผลกําไรหรือขาดทุนจากการด้อยค่า ข 5.5.34 ในการวัดมูลค่าของค่าเผื่อผลขาดทุนสําหรับลูกหนี้ตามสัญญาเช่า กระแสเงินสดที่ใช้เพื่อระบุ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นควรสอดคล้องกับกระแสเงินสดที่ใช้ในการวัดมูลค่า ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 148 ข 5.5.35 กิจการอาจใช้วิธีการที่เหมาะสมในการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หากผลขาดทุนนั้นสอดคล้องกับหลักการในย่อหน้าที่ 5.5.17 ตัวอย่างเช่น การคํานวณ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสําหรับลูกหนี้การค้าโดยใช้ตารางการตั้งสํารอง โดยที่ กิจการสามารถใช้ข้อมูลผลขาดทุนด้านเครดิตจากประสบการณ์ในอดีต ( ซึ่งมีการปรับปรุงให้ เหมาะสมตามย่อหน้าที่ ข 5.5.51 ถึง ข 5.5.52) สําหรับลูกหนี้การค้าเพื่อคํานวณผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า หรือผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นตลอดอายุตามความเหมาะสม ตารางการตั้งสํารองเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สามารถระบุ อัตราการกันสํารองที่คงที่ โดยขึ้นอยู่กับจํานวนวันที่ค้างชําระเกินกําหนดของลูกหนี้การค้า ( ตัวอย่างเช่น อัตราการกันสํารองร้อยละ 1 หากยังไม่ค้างชําระเกินกําหนด ร้อยละ 2 หากค้างชําระเกินกําหนดไม่เกิน 30 วัน และร้อยละ 3 หากค้างชําระเกินกําหนดเกินกว่า 30 วันแต่ไม่เกิน 90 วัน และร้อยละ 20 หากค้างชําระเกินกําหนดเกินกว่า 90 – 180 วัน เป็นต้น ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกระจายของฐานลูกค้า กิจการอาจจะทําการจัดกลุ่มตามความเหมาะสม หากข้อมูลผลขาดทุนด้านเครดิตจากประสบการณ์ในอดีตนั้นแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของ ผลขาดทุนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญในแต่ละกลุ่มลูกค้า ตัวอย่างของหลักเกณฑ์ที่อาจถูกใช้ ในการจัดกลุ่มสินทรัพย์ประกอบด้วย เขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ประเภทของผลิตภัณฑ์ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของลูกค้า หลักประกันเงินกู้หรือการประกันสินเชื่อการค้าและ ประเภทของลูกค้า ( เช่น ร้านค้าส่งหรือร้านค้าปลีก ) นิยามของการปฏิบัติผิดสัญญา ข 5.5.36 ย่อหน้าที่ 5.5.9 กําหนดว่า ในการระบุว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงิน มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญหรือไม่ กิจการต้องพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยง จากการไม่ชําระเงินตามสัญญาที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ข 5.5.37 เมื่อกําหนดนิยามการปฏิบัติผิดสัญญาตามวัตถุประสงค์ของการพิจารณาความเสี่ยงจาก การปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้น กิจการต้องใช้คํานิยามการปฏิบัติผิดสัญญาที่สอดคล้องกับ คํานิยามที่ใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตภายในกิจการ สําหรับเครื่องมือทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาถึงข้อบ่งชี้เชิงคุณภาพ ( ตัวอย่างเช่น ข้อตกลงทางการเงิน ) ตามความ เหมาะสม อย่างไรก็ตาม มีข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งได้ว่าการปฏิบัติผิดสัญญานั้นจะไม่ เกิดขึ้นหลังจากที่สินทรัพย์ทางการเงินนั้นค้างชําระเกินกําหนดเกินกว่า 90 วันแล้ว เว้นแต่ กิจการจะมีข้อมูลที่มีความสมเหตุสมผลและสามารถสนับสนุนได้ที่แสดงว่าการปฏิบัติ ผิดสัญญาในช่วงเวลาที่เกินกว่านั้นมีความเหมาะสมมากกว่า คํานิยามของการปฏิบัติผิดสัญญา ที่ใช้ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ต้องนําไปใช้กับเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดอย่างสมํ่าเสมอ นอกจากว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นจะแสดงให้เห็นว่า มีคํานิยามการปฏิบัติผิดสัญญาอย่างอื่นที่มี ความเหมาะสมกับเครื่องมือทางการเงินนั้นๆ มากกว่า

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 149 ระยะเวลาในการประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ข 5.5.38 อ้างอิงตามย่อหน้าที่ 5.5.19 ระยะเวลานานที่สุดที่ใช้วัดผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นคือ ระยะเวลาสูงสุดตามสัญญาที่กิจการมีความเสี่ยงด้านเครดิต สําหรับข้อผูกมัดวงเงิน สินเชื่อและสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน คือระยะเวลาสูงสุดตามสัญญาตลอดระยะเวลาที่ กิจการมีภาระผูกพันตามสัญญาในปัจจุบันที่จะขยายสินเชื่อ ข 5.5.39 อย่างไรก็ตาม อ้างอิงย่อหน้าที่ 5.5.20 เครื่องมือทางการเงินบางประเภทซึ่งรวมถึงเงินให้สินเชื่อ และข้อผูกมัดที่ยังไม่ใช้ ซึ่งกิจการสามารถเรียกร้องให้ชําระเงินคืนและยกเลิกข้อผูกมัดที่ยังไม่ใช้ นั้นได้ ไม่ได้จํากัดให้กิจการได้รับผลขาดทุนด้านเครดิตในช่วงระยะเวลาการแจ้งการยกเลิก ล่วงหน้าตามสัญญา ตัวอย่างเช่น วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน เช่น บัตรเครดิต และวงเงินเบิกเกิน บัญชี ตามสัญญานั้นผู้ให้กู้ยืมสามารถยกเลิกวงเงินได้โดยการแจ้งล่วงหน้าเพียงหนึ่งวัน อย่างไร ก็ตาม ในทางปฏิบัติผู้ให้กู้ยืมมักจะขยายระยะเวลาการให้เครดิตยาวนานขึ้น และจะยกเลิกวงเงิน เมื่อความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้ยืมนั้นเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจช้าเกินไปที่จะป้องกันการขาดทุนด้าน เครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นบางส่วนหรือทั้งหมด เครื่องมือทางการเงินมักมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ซึ่ง เป็นผลจากธรรมชาติของเครื่องมือทางการเงิน วิธีการจัดการเครื่องมือทางการเงินและธรรมชาติ ของข้อมูลที่สามารถหาได้ซึ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต ข 5.5.39.1 เครื่องมือทางการเงินนั้นไม่ได้กําหนดระยะเวลาการชําระเงินหรือโครงสร้าง การชําระเงินคืนที่มีระยะเวลาที่แน่นอน และมักมีระยะเวลาการบอกเลิกสัญญา ที่สั้น ( เช่น หนึ่งวัน ) ข 5.5.39.2 ความสามารถในการยกเลิกสัญญานั้นจะไม่ถูกบังคับใช้ในการดําเนินงานตามปกติ ในการจัดการเครื่องมือทางการเงินนั้น และสัญญานั้นอาจถูกยกเลิกก็ต่อเมื่อ กิจการตระหนักถึงความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามระดับวงเงินที่ได้รับ และ ข 5.5.39.3 เครื่องมือทางการเงินนั้นมีการจัดการแบบเป็นกลุ่ม ข 5.5.40 ในการระบุช่วงเวลาที่กิจการคาดว่าจะเผชิญกับความเสี่ยงด้านเครดิต หากผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้ถูกปรับลดลงโดยการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตตามปกติ ของกิจการ กิจการควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ข้อมูลและประสบการณ์ในอดีต ดังนี้ ข 5.5.40.1 ช่วงระยะเวลาที่กิจการเผชิญกับความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ที่มีลักษณะเหมือนกัน ข 5.5.40.2 ระยะเวลาของการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกี่ยวข้องซึ่งเกิดขึ้นกับเครื่องมือทางการเงิน ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันภายหลังจากการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิต และ ข 5.5.40.3 มาตรการการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งกิจการคาดว่าจะดําเนินการเมื่อ ความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับเครื่องมือทางการเงินนั้นเพิ่มสูงขึ้น เช่น การลดหรือ การยกเลิกวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ ผลลัพธ์ตามค่าความน่าจะเป็นถ่วงนํ้าหนัก (Probability-weighted outcome)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 150 ข 5.5.41 วัตถุประสงค์ของการประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เพื่อ การประมาณการฉากทัศน์ที่แย่ที่สุดหรือที่ดีที่สุด แต่ว่าการประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นควรสะท้อนให้เห็นถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดผลขาดทุนด้านเครดิต และ ความน่าจะเป็นที่จะไม่เกิดผลขาดทุนด้านเครดิต แม้ว่าโอกาสที่ผลลัพธ์ส่วนใหญ่จะไม่มี ผลขาดทุนด้านเครดิตเกิดขึ้นก็ตาม ข 5.5.42 ย่อหน้าที่ 5.5.17.1 กําหนดให้ประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต้อง สะท้อนถึงความเป็นกลางและถ่วงนํ้าหนักด้วยค่าความน่าจะเป็นซึ่งได้จากการประเมินค่าของ ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ ในทางปฏิบัติ อาจไม่จําเป็นต้องมีการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน โดยในบางกรณี การใช้แบบจําลองอย่างง่ายก็อาจเพียงพอ โดยไม่จําเป็นจะต้องมีการจําลองสถานการณ์ที่มาก เกินจําเป็น ตัวอย่างเช่น ค่าเฉลี่ยผลขาดทุนด้านเครดิตของกลุ่มเครื่องมือทางการเงินขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะความเสี่ยงที่คล้ายกันนั้นอาจเป็นค่าประมาณการที่สมเหตุสมผลสําหรับ ค่าความน่าจะเป็นถ่วงนํ้าหนัก ส่วนในสถานการณ์อื่น การกําหนดสถานการณ์จําลองที่สามารถ ระบุถึงจํานวนและจังหวะเวลาของกระแสเงินสดที่เป็นไปได้ รวมทั้งค่าความน่าจะเป็นของ กระแสเงินสดนั้นอาจเป็นสิ่งจําเป็น โดยในสถานการณ์ดังกล่าวนั้น ผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจะต้องสะท้อนถึงผลลัพธ์อย่างน้อยสองผลลัพธ์ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 5.5.18 ข 5.5.43 สําหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุนั้น กิจการต้องประเมินความเสี่ยง จากการปฏิบัติผิดสัญญาที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือทางการเงินตลอดช่วงอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือ ทางการเงินนั้น โดยผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้านั้นคือ ส่วนหนึ่งของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจํานวน เงินสดที่คาดว่าจะไม่ได้รับตลอดอายุเครื่องมือทางการเงิน หากเกิดการปฏิบัติผิดสัญญาภายใน 12 เดือนนับจากวันที่รายงาน ( หรือช่วงเวลาที่สั้นกว่า หากอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือ ทางการเงินนั้นสั้นกว่า 12 เดือน ) ถ่วงนํ้าหนักด้วยความน่าจะเป็นของการปฏิบัติผิดสัญญาที่จะ เกิดขึ้น ดังนั้นผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า จึงไม่ใช่ ทั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุที่คาดการณ์ว่าจะเกิดการปฏิบัติผิดสัญญา ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า หรือจํานวนเงินสดที่คาดว่าจะไม่ได้รับที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า มูลค่าเงินตามเวลา ข 5.5.44 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต้องถูกคิดลดจนถึงวันที่รายงาน ไม่ใช่ถึงวันที่คาดว่าจะ เกิดการปฏิบัติผิดสัญญา หรือวันอื่นใด โดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามสัญญา ซึ่งถูกกําหนด ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือค่าประมาณอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงที่สุด หากเครื่องมือ ทางการเงินนั้นมีอัตราดอกเบี้ยผันแปร ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจะถูกคิดลด โดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในปัจจุบันตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ ข 5.4.5

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 151 ข 5.5.45 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อกําเนิด ผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นจะถูกคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับด้วยความเสี่ยง ด้านเครดิตซึ่งได้ถูกกําหนด ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ข 5.5.46 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสําหรับลูกหนี้ตามสัญญาเช่าต้องมีการคิดลดโดยใช้ อัตราคิดลดเดียวกันกับที่ใช้ในการวัดมูลค่าลูกหนี้ตามสัญญาเช่าตามที่กําหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ข 5.5.47 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อนั้น ต้องคิดลดด้วยอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงตามสัญญา หรือค่าประมาณอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงที่สุด ซึ่งจะถูกใช้เมื่อมี การรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินที่เกิดขึ้นจากข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อ เพื่อวัตถุประสงค์ในการนํา ข้อกําหนดเกี่ยวกับการด้อยค่าไปปฏิบัตินั้น สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการรับรู้หลังจากการเบิก ใช้ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อจะถูกจัดว่าเป็นข้อผูกมัดที่ต่อเนื่อง แทนที่จะถูกจัดว่าเป็นเครื่องมือ ทางการเงินใหม่ ดังนั้นผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ดังกล่าวมีการวัดมูลค่าโดยพิจารณาถึงความเสี่ยงด้านเครดิตเมื่อเริ่มแรกของข้อผูกมัดวงเงิน สินเชื่อ โดยนับจากวันที่ที่กิจการมีข้อผูกมัดที่ไม่สามารถเพิกถอนได้ ข 5.5.48 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสําหรับสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน หรือข้อผูกมัด วงเงินสินเชื่อหากไม่สามารถกําหนดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามสัญญา อัตราคิดลดที่ใช้ควร สะท้อนถึงตลาดในปัจจุบันเพื่อประมาณมูลค่าเงินตามเวลา รวมถึงความเสี่ยงต่างๆที่อาจมีผล ต่อกระแสเงินสดเป็นการเฉพาะ โดยความเสี่ยงต่างๆ นั้นจะถูกปรับเข้าไปในอัตราคิดลดแทนที่ การปรับจํานวนเงินสดที่คาดว่าจะไม่ได้รับ ข้อมูลที่มีความสมเหตุสมผลและสามารถสนับสนุนได้ ข 5.5.49 ตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ข้อมูลสนับสนุนและ สมเหตุสมผลคือข้อมูลที่สามารถหาได้อย่างสมเหตุผล ณ วันที่รายงานโดยไม่ใช้ต้นทุนหรือ ความพยายามที่มากเกินไปเกี่ยวกับเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต สถานการณ์ในปัจจุบันและการ คาดการณ์ถึงสภาวะทางเศรษฐกิจในอนาคต ข้อมูลที่สามารถหาได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการ รายงานทางการเงินถูกพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายาม ที่มากเกินไป ข 5.5.50 กิจการไม่จําเป็นต้องรวบรวมผลการคาดการณ์สภาวะในอนาคตตลอดช่วงอายุที่คาดไว้ของ เครื่องมือทางการเงิน ระดับของวิจารณญาณที่จําเป็นในการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูลโดยละเอียด โดยที่หากมีการคาดการณ์ใน ระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ความมีอยู่ของข้อมูลโดยละเอียดนั้นจะลดลงและระดับของการใช้ วิจารณญาณสําหรับการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นจะเพิ่มขึ้น การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นไม่จําเป็นที่จะต้องประเมินโดยละเอียด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 152 สําหรับช่วงเวลาในอนาคตที่ไกลออกไป โดยช่วงเวลาในอนาคตที่ไกลออกไปนั้น กิจการอาจใช้ การประมาณค่าช่วงเวลาดังกล่าวจากข้อมูลที่มีอยู่โดยละเอียดได้ ข 5.5.51 กิจการไม่จําเป็นจะต้องทําการสืบค้นข้อมูลโดยละเอียด แต่ควรพิจารณาถึงข้อมูลทั้งหมดที่ สนับสนุนและสมเหตุสมผลที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไปและ เกี่ยวข้องกับการประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นซึ่งรวมถึงผลกระทบของ การชําระเงินก่อนครบกําหนด ข้อมูลที่ใช้ควรรวมปัจจัยเฉพาะของผู้กู้ยืม สภาวะการณ์ทาง เศรษฐกิจโดยทั่วไป และการประเมินทิศทางทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ณ วันที่รายงาน กิจการอาจใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง ซึ่งอาจเป็นทั้งแหล่งข้อมูลภายใน ( เฉพาะกิจการ ) และ แหล่งข้อมูลภายนอก แหล่งข้อมูลที่เป็นไปได้นั้นประกอบไปด้วยข้อมูลภายในเกี่ยวกับผล ขาดทุนด้านเครดิตจากประสบการณ์ในอดีต การจัดอันดับเครดิตภายใน ข้อมูลผลขาดทุนด้าน เครดิตจากประสบการณ์ในอดีตของกิจการอื่นๆ การจัดอันดับเครดิตภายนอก รายงานและ ค่าสถิติต่างๆ ส่วนกิจการที่ไม่มีแหล่งข้อมูลหรือมีไม่เพียงพอ แหล่งข้อมูลเฉพาะกิจการอาจใช้ ข้อมูลของธุรกิจในกลุ่มธุรกิจเดียวกันสําหรับเครื่องมือทางการเงินที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ( หรือกลุ่มเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ) ข 5.5.52 ข้อมูลในอดีตเป็นสิ่งสําคัญหลักหรือพื้นฐานสําหรับการวัดผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม กิจการควรปรับปรุงข้อมูลในอดีต เช่น ข้อมูลผลขาดทุนด้านเครดิต จากประสบการณ์ บนพื้นฐานของการสะท้อนสภาวการณ์ในปัจจุบัน และคาดการณ์สภาวการณ์ ในอนาคตซึ่งไม่มีผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงเวลาที่ใช้ข้อมูลในอดีตเป็นตัวตั้งต้นจาก ข้อมูลที่สังเกตได้ซึ่งสนับสนุนและสมเหตุสมผล ณ วันที่รายงาน และเพื่อกําจัดผลกระทบของ สถานการณ์นั้นของช่วงเวลาในอดีตที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสดตามสัญญาในอนาคต ใน บางกรณีข้อมูลสนับสนุนและสมเหตุสมผลได้ดีที่สุดสามารถเป็นข้อมูลในอดีตที่ไม่จําเป็นต้องมี การแก้ไขได้ โดยขึ้นอยู่กับธรรมชาติของข้อมูลในอดีต และเมื่อคํานวณโดยเปรียบเทียบกับ สถานการณ์ต่างๆ ณ วันที่รายงานและคุณลักษณะต่างๆ ของเครื่องมือทางการเงินควรถูกพิจารณา การประมาณการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นควรจะถูกสะท้อน และสอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่หาได้ ( เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตรา การว่างงาน ราคาอสังหาริมทรัพย์ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ สถานะของการชําระเงิน หรือปัจจัยอื่นๆ ที่ เป็นตัวบ่งชี้ถึงผลขาดทุนด้านเครดิตสําหรับเครื่องมือทางการเงิน หรือกลุ่มเครื่องมือทาง การเงินและระดับความรุนแรงของความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ) กิจการควรทบทวนวิธีการและ ข้อสมมติต่างๆ ที่ใช้ในการประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นประจํา เพื่อลดความแตกต่างระหว่างค่าประมาณและผลขาดทุนด้านเครดิตที่เกิดขึ้นจริง ข 5.5.53 เมื่อใช้ข้อมูลผลขาดทุนด้านเครดิตจากประสบการณ์ในอดีตเพื่อประมาณผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สิ่งสําคัญคือข้อมูลเกี่ยวกับอัตราผลขาดทุนด้านเครดิตในอดีตจะถูกนําไปใช้ กับกลุ่มต่างๆ ที่มีลักษณะที่สอดคล้องกับกลุ่มซึ่งกิจการเอาข้อมูลอัตราผลขาดทุนด้านเครดิต ในอดีตมาใช้ ดังนั้น วิธีการที่นําไปปฏิบัตินั้นควรทําให้แต่ละกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงิน มีข้อมูลของผลขาดทุนด้านเครดิตจากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่สอดคล้องกันภายในกลุ่มของ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 153 สินทรัพย์ทางการเงินมีลักษณะความเสี่ยงที่คล้ายกัน รวมทั้งมีข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถ หาได้โดยทั่วไปและสะท้อนถึงสภาวะต่างๆในปัจจุบัน ข 5.5.54 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นควรสะท้อนถึงความคาดหวังของกิจการต่อผลขาดทุน ด้านเครดิต อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลทั้งหมดที่สนับสนุนและสมเหตุสมผลที่ สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไปเพื่อประมาณผลขาดทุนด้าน เครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจการควรพิจารณาถึงข้อมูลที่สังเกตได้ในตลาดซึ่งเกี่ยวกับความ เสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินนั้นๆ หรือเครื่องมือทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน หลักประกัน ข 5.5.55 ตามวัตถุประสงค์ในการวัดผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การประมาณจํานวนเงินสด ที่คาดว่าจะไม่ได้รับที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ควรคํานึงถึงกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก หลักประกัน และการรับประกันด้านเครดิตของสินทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขตาม สัญญา และกิจการนั้นไม่ได้รับรู้แยกต่างหาก การประมาณจํานวนเงินสดที่คาดว่าจะไม่ได้รับ สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่มีหลักประกันนั้นควรคํานึงถึงการคาดการณ์จํานวนและจังหวะ เวลาของกระแสเงินสดที่จะได้รับจากการยึดหลักประกันที่หักต้นทุนของการได้มาและการขาย หลักประกัน โดยไม่คํานึงว่าการยึดทรัพย์นั้นเป็นไปได้หรือไม่ ( ซึ่งก็คือ ค่าโดยประมาณของ กระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นจะพิจารณาถึงความน่าจะเป็นของการยึดทรัพย์และกระแส เงินสดที่เกิดขึ้น ) ดังนั้น การคาดการณ์กระแสเงินสดจึงควรที่จะวิเคราะห์ถึงระยะเวลาในการ ขายหลักประกัน ซึ่งอาจจะยาวกว่าอายุของสัญญาด้วย หลักประกันใดๆ ที่ได้จากการยึดทรัพย์ นั้นจะไม่ถูกรับรู้เป็นสินทรัพย์แยกต่างหากจากเครื่องมือทางการเงินที่มีหลักประกัน เว้นแต่ หลักประกันนั้นเข้าเงื่อนไขการรับรู้เป็นสินทรัพย์ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ หรือฉบับอื่นๆ การจัดประเภทรายการใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หมวดที่ 5.6) ข 5.6.1 หากกิจการมีการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินตามย่อหน้าที่ 4.4.1 และ 5.6.1 กําหนดให้ต้องปรับปรุงการจัดประเภทรายการแบบเปลี่ยนทันทีนับจากวันที่จัดประเภท รายการใหม่ ทั้งนี้ ทั้งประเภทที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและประเภทที่วัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นมีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ณ การรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก และปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการด้อยค่าด้วยวิธีเดียวกัน ดังนั้น เมื่อกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินโดยโอนเปลี่ยนระหว่างประเภท ที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ข 5.6.1.1 การรับรู้ดอกเบี้ยรับนั้นไม่เปลี่ยนแปลง และกิจการยังคงใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เดิมต่อไป

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 154 ข 5.6.1.2 การวัดผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก การวัดมูลค่าทั้งสองประเภทนั้นใช้วิธีการบันทึกการด้อยค่าแบบเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์ทางการเงินมีการจัดประเภทรายการใหม่โดย เปลี่ยนจากการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเป็น ราคาทุนตัดจําหน่าย ค่าเผื่อผลขาดทุนจะแสดงเป็นรายการปรับปรุงมูลค่าตามบัญชี ก่อนรายการหักของสินทรัพย์ทางการเงินนับจากวันที่จัดประเภทรายการใหม่ แต่ถ้า สินทรัพย์ทางการเงินนั้นจัดประเภทรายการใหม่โดยเปลี่ยนจากราคาทุนตัด จําหน่ายเป็นวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กิจการต้อง เลิกรับรู้รายการค่าเผื่อผลขาดทุน ( ดังนั้น จึงไม่แสดงรายการค่าเผื่อผลขาดทุน เป็นรายการปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักอีกต่อไป ) แต่จะรับรู้เป็น ขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม ( ด้วยจํานวนที่เท่ากัน ) ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และเปิดเผยนับจากวันที่จัดประเภทรายการใหม่ ข 5.6.2 อย่างไรก็ดี สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนนั้น ไม่กําหนดให้ต้องแยกรับรู้ดอกเบี้ยรับหรือผลของกําไรหรือขาดทุนจากการด้อยค่า ดังนั้น เมื่อกิจการมีการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินโดยโอนออกจากสินทรัพย์ ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะ ถูกกําหนดตามมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ นอกจากนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการนําหมวดที่ 5.5 มาปฏิบัติกับสินทรัพย์ทางการเงินนับจากวันที่ จัดประเภทรายการใหม่ ให้ถือว่าวันที่จัดประเภทรายการใหม่นั้นเป็นวันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ผลกําไรและขาดทุน ( หมวดที่ 5.7) ข 5.7.1 ย่อหน้าที่ 5.7.5 อนุญาตให้กิจการสามารถเลือกแสดงการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของ การลงทุนในตราสารทุนที่ไม่ได้ถือไว้เพื่อค้า ไว้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น โดยเมื่อเลือกแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีได้อีก และให้เลือกนี้วิธีการเป็นรายตราสาร ( หรือรายหุ้น ) ทั้งนี้ จํานวนเงินที่แสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น จะไม่สามารถโอนไปเป็นกําไรหรือขาดทุน ในภายหลัง อย่างไรก็ดี กิจการอาจโอนผลสะสมของกําไรหรือขาดทุนภายในส่วนของเจ้าของได้ เงินปันผลจากการลงทุนดังกล่าว จะรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ตามย่อหน้าที่ 5.7.6 เว้นแต่ เงินปันผลดังกล่าวจะแสดงอย่างชัดเจนว่าเป็นการได้รับคืนของต้นทุนการลงทุน ข 5.7.1 ก ยกเว้นในกรณีที่นําย่อหน้าที่ 4.1.5 ไปถือปฏิบัติ ย่อหน้าที่ 4.1.2 ก นั้นกําหนดให้สินทรัพย์ ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หากเงื่อนไขตามสัญญา ของสินทรัพย์ทางการเงินนั้นระบุว่ากระแสเงินสดตามสัญญาเป็นเพียงการจ่ายเงินต้นและ ดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้น และสินทรัพย์การเงินนั้นถือไว้โดยมีโมเดลธุรกิจเพื่อ วัตถุประสงค์ทั้งในการรับกระแสเงินสดตามสัญญา และการขายสินทรัพย์ทางการเงิน ให้รับรู้ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะดังกล่าวในกําไรหรือขาดทุนราวกับว่าวัดมูลค่าด้วยราคาทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 155 ตัดจําหน่าย ในขณะที่สินทรัพย์ทางการเงินนั้นวัดมูลค่าในงบฐานะการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม ผลกําไรหรือขาดทุน นอกเหนือจากที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนตามย่อหน้าที่ 5.7.10 ถึง 5.7.11 ให้รับรู้เป็นกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น โดยเมื่อเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านั้น ให้ โอนผลกําไรหรือขาดทุนสะสมที่เคยรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นไปกําไรหรือขาดทุน ซึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงผลกําไรหรือขาดทุนซึ่งจะถูกรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อเลิกรับรู้รายการหาก สินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าววัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย ข 5.7.2 กิจการที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 กับสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่เป็น ตัวเงิน ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 และเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยที่ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 กําหนดให้กําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของสินทรัพย์ และหนี้สินที่เป็นตัวเงิน รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ยกเว้นรายการที่เป็นตัวเงินที่เลือกกําหนดให้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงของการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.11) การป้องกันความเสี่ยงสําหรับการลงทุนสุทธิ ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.13) หรือการป้องกัน ความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุน ซึ่งกิจการเลือกที่จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของ มูลค่ายุติธรรมในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 5.7.5 ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.8) ข 5.7.2 ก ตามวัตถุประสงค์ในการรับรู้กําไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก นั้นถือว่าเป็นรายการที่เป็น ตัวเงิน ดังนั้น สินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวจะถูกถือเสมือนว่าเป็นสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วย ราคาทุนตัดจําหน่ายในสกุลเงินตราต่างประเทศ ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศของส่วนที่เป็นราคาทุนที่ตัดจําหน่ายนั้นจะถูกรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน และรับรู้ ความเปลี่ยนแปลงอื่นของมูลค่าตามบัญชีตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.10 ข 5.7.3 ย่อหน้าที่ 5.7.5 อนุญาตให้กิจการสามารถเลือกแสดงการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของ การลงทุนในตราสารทุนที่ไม่ได้ถือไว้เพื่อค้า ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( เมื่อเลือกแล้วจะ เปลี่ยนแปลงไม่ได้อีก ) การเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในตราสารทุนนั้น ไม่ใช่รายการที่เป็นตัวเงิน ดังนั้น ผลกําไรหรือขาดทุนที่แสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.5 รวมถึงองค์ประกอบของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวข้อง ข 5.7.4 หากสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์ มีความสัมพันธ์ กันในลักษณะของการป้องกันความเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบส่วนที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงินเหล่านั้นจะแสดงในกําไรหรือขาดทุน หนี้สินทางการเงินที่เลือกกําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ข 5.7.5 เมื่อกิจการเลือกกําหนดให้หนี้สินทางการเงินแสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน จะต้องพิจารณาว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สิน ต้องแสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรือไม่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดหรือเพิ่มการจับคู่อย่างไม่เหมาะสม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 156 ทางการบัญชี ในส่วนของกําไรหรือขาดทุน การจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี จะเกิดหรือ เพิ่มมากขึ้น ถ้าการนําเสนอผลของความเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สิน ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นนั้นไปส่งผลให้เกิดความไม่สอดคล้องกันมากขึ้นในกําไรหรือ ขาดทุน มากกว่าหากนําจํานวนดังกล่าวแสดงในกําไรหรือขาดทุน ข 5.7.6 เพื่อกําหนดว่าหนี้สินทางการเงินที่กําหนดให้แสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน กิจการต้องประเมินถึงผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของ หนี้สินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นว่ามีส่วนช่วยชดเชยกําไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนของ มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินอื่นที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน หรือไม่ การคาดการณ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจต่อคุณลักษณะของ หนี้สิน และคุณลักษณะของเครื่องมือทางการเงินอื่นด้วย ข 5.7.7 การกําหนดให้หนี้สินทางการเงินแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน จะกําหนดเมื่อ มีการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกและไม่มีการประเมินใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติ กิจการ ไม่จําเป็นต้องระบุสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดที่ทําให้เกิดการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี ว่าเกิด ณ เวลาเดียวกัน การเกิดรายการที่ช้ากว่าอย่างสมเหตุสมผลนั้นอนุญาตที่ทํา หากธุรกรรมใดๆ ที่เหลืออยู่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจการต้องถือปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอ ในการกําหนดว่า การแสดงผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของ หนี้สินในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นนั้นก่อให้เกิดหรือเพิ่มการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการ บัญชี ในกําไรหรือขาดทุนหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามกิจการอาจใช้วิธีการอื่นๆ ที่แตกต่างกันได้ เมื่อมีความแตกต่างของสภาวะเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับลักษณะของหนี้สินที่เลือกกําหนดให้ แสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนกับลักษณะของเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 นั้นกําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล ในเชิงคุณภาพในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับวิธีการที่กิจการใช้ในการกําหนด ข 5.7.8 หากการไม่สามารถจับคู่ทางบัญชีนั้นเกิดขึ้นหรือเพิ่มมากขึ้น กิจการต้องแสดงการเปลี่ยนแปลง ทั้งหมดในมูลค่ายุติธรรม ( ซึ่งรวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิต ของหนี้สิน ) ในกําไรหรือขาดทุน หากความไม่สอดคล้องนั้นไม่เกิดขึ้นหรือไม่เพิ่มมากขึ้น กิจการต้องแสดงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินในกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ข 5.7.9 จํานวนที่แสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นต้องไม่ถูกโอนไปเป็นกําไรหรือขาดทุนในภายหลัง อย่างไรก็ตาม กิจการอาจโอนผลสะสมของกําไรหรือขาดทุนภายในส่วนของเจ้าของ ข 5.7.10 ตัวอย่างต่อไปนี้อธิบายถึงสถานการณ์ของการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี ที่เกิดขึ้นใน กําไรหรือขาดทุน ถ้าผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินนั้น แสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ธนาคารแห่งหนึ่งปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าและกองทุนต่างๆ ด้วยการขายพันธบัตรที่มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกัน ( เช่น จํานวนเงินคงค้าง ประวัติการชําระ เงินคืน ระยะเวลา และสกุลเงิน ) ในตลาด เงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้อนุญาตให้ผู้กู้ ( ลูกค้าที่ ทําการจํานอง ) สามารถจ่ายชําระเงินก่อนครบกําหนดได้ ( ซึ่งเป็นการทําตามภาระผูกพันที่มี

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 157 ต่อธนาคาร ) ด้วยการซื้อพันธบัตรตามมูลค่ายุติธรรมในตลาด และส่งมอบพันธบัตรนั้นให้กับ ธนาคาร จากการที่มีสิทธิในการชําระเงินคืนก่อนครบกําหนดตามสัญญา หากคุณภาพเครดิต ของพันธบัตรนั้นด้อยลงหรือแย่ลง ( ดังนั้น มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินของธนาคารจะลดลง ) มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ให้กู้ของธนาคารจะลดลงตามด้วย การเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์นั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงสิทธิตามสัญญาของลูกค้าในการจ่ายชําระคืน สินเชื่อจํานองก่อนถึงกําหนดได้ด้วยการซื้อพันธบัตรตามมูลค่ายุติธรรม ( ที่มีมูลค่าลดลงใน ตัวอย่างนี้ ) และส่งมอบพันธบัตรนั้นให้กับธนาคารที่รับจํานอง ดังนั้น ผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงความเสี่ยงด้านสินเครดิตของหนี้สิน ( พันธบัตร ) จะเป็นสิ่งชดเชยกําไรหรือ ขาดทุน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ( สินเชื่อ ) โดยหากผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินนั้นแสดงในกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจะทําให้เกิดการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี ในกําไรหรือขาดทุน ดังนั้นธนาคารที่รับจํานองจึงถูกกําหนดให้ต้องแสดงการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ หนี้สินทางการเงิน ( ซึ่งรวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของ หนี้สินด้วย ) ในกําไรและขาดทุน ข 5.7.11 ตัวอย่างในย่อหน้าที่ ข 5.7.10 นั้นมีความเกี่ยวเนื่องระหว่างผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงใน ความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินและการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ทางการเงิน ( ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของสิทธิตามสัญญาของลูกค้าในการจ่ายชําระคืนสินเชื่อก่อน กําหนดด้วยการซื้อพันธบัตรตามมูลค่ายุติธรรม และส่งมอบพันธบัตรนั้นให้กับธนาคาร ) อย่างไรก็ตาม การจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชี นั้นอาจเกิดกับขึ้นได้ในกรณีที่ไม่มี ความเกี่ยวเนื่องกัน ข 5.7.12 เพื่อวัตถุประสงค์ในการนําย่อหน้าที่ 5.7.7 และ 5.7.8 มาปฏิบัติ การจับคู่อย่างไม่เหมาะสม ทางการบัญชี นั้นไม่ได้เกิดจากวิธีการวัดมูลค่าที่กิจการใช้ในการกําหนดผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินเท่านั้น การจับคู่อย่างไม่เหมาะสม ทางการบัญชี ในกําไรหรือขาดทุนนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ในความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สิน ( ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7) นั้นถูกคาดการณ์เพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือ ทางการเงินอื่น การไม่สามารถจับคู่ทางบัญชีอันเนื่องมาจากวิธีการวัดมูลค่าแต่เพียงอย่างเดียว ( เช่น เกิดจากการที่กิจการนั้นไม่แยกการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สิน ออกจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมอื่นๆ ) นั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการกําหนดตาม ย่อหน้าที่ 5.7.7 และ 5.7.8 เช่น กิจการนั้นอาจไม่แยกการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้าน เครดิตของหนี้สินออกจากการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง หากกิจการนั้น แสดงผลกระทบของทั้งสองปัจจัยรวมกันในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น การไม่สามารถจับคู่ได้นั้น อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านสภาพคล่องนั้นอาจรวมอยู่ใน การวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินของกิจการและการเปลี่ยนแปลงของมูลค่า ยุติธรรมทั้งหมดของสินทรัพย์นั้นแสดงในกําไรและขาดทุน อย่างไรก็ตามการไม่สามารถจับคู่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 158 ทางบัญชีนั้นเกิดจากการวัดมูลค่าที่ไม่ชัดเจน ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ชดเชยกันตามที่อธิบายไว้ใน ย่อหน้าที่ ข 5.7.6 และจะไม่ส่งผลกระทบต่อการพิจารณาตามย่อหน้าที่ 5.7.7 และ 5.7.8 คําจํากัดความของ “ ความเสี่ยงด้านเครดิต ” ( ย่อหน้าที่ 5.7.7 และ 5.7.8) ข 5.7.13 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ระบุว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเป็น “ ความเสี่ยง ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีต่อเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งส่งผลให้อีกฝ่ายหนึ่งขาดทุนทางการเงินจาก การไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพัน ” ข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 5.7.7.1 นั้นเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ที่ผู้ออกนั้นอาจไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพันนั้น โดยไม่มีความจําเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ ความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของผู้ออก ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่กิจการออกหนี้สินที่เหมือนกันทั้ง ที่มีสินทรัพย์คํ้าประกันและไม่มีสินทรัพย์คํ้าประกัน ความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินทั้งสองนั้น จะแตกต่างกัน แม้ว่ามีผู้ออกคนเดียวกันก็ตาม หนี้สินที่มีสินทรัพย์คํ้าประกันจะมีความเสี่ยง ด้านเครดิตของน้อยกว่าหนี้สินที่ไม่มีสินทรัพย์คํ้าประกัน ความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับหนี้สิน ที่มีสินทรัพย์คํ้าประกันอาจเข้าใกล้ศูนย์ก็ได้ ข 5.7.14 เพื่อวัตถุประสงค์ในการนําย่อหน้าที่ 5.7.7.1 มาปฏิบัติ ความเสี่ยงด้านเครดิตนั้นแตกต่างจาก ความเสี่ยงของผลการดําเนินงานจากสินทรัพย์ที่ระบุไว้ ความเสี่ยงของผลการดําเนินงานจาก สินทรัพย์ที่ระบุไว้ไม่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่กิจการไม่สามารถยกเลิกภาระผูกพันบางอย่างได้ แต่ว่าเกี่ยวกับความเสี่ยงที่รายการสินทรัพย์ใดๆ หรือกลุ่มสินทรัพย์นั้นจะมีผลประกอบการ ขาดทุน ( หรือขาดทุนอย่างมาก ) ข 5.7.15 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นความเสี่ยงจากผลการดําเนินการของสินทรัพย์ที่ระบุไว้ ข 5.7.15.1 หนี้สินที่มีลักษณะเชื่อมต่อหน่วย (unit-linking feature) โดยที่จํานวนเงินจาก ผู้ลงทุนถูกกําหนดจากผลการดําเนินงานของสินทรัพย์ที่ระบุไว้ หนี้สินที่มีลักษณะ เชื่อมต่อหน่วย (unit-linking feature) ที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่ายุติธรรมถือเป็น ความเสี่ยงของผลการดําเนินงานจากสินทรัพย์ที่ระบุไว้ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านเครดิต ข 5.7.15.2 หนี้สินที่ออกโดยกิจการซึ่งมีโครงสร้างเฉพาะตัวซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นกิจการ ที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากทําให้สินทรัพย์ของกิจการมีการกันไว้ เพื่อผลประโยชน์ของนักลงทุนโดยเฉพาะ ถึงแม้จะอยู่ในสภาวะที่ล้มละลาย กิจการไม่สามารถทําธุรกรรมอื่นๆ และสินทรัพย์ของกิจการนั้นไม่สามารถนําไป จํานอง จํานวนเงินดังกล่าวจะเป็นของนักลงทุนในกรณีที่สินทรัพย์ได้กันไว้สําหรับ สินทรัพย์ที่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้เท่านั้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของหนี้สินนั้นสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ผลอันเนื่องมาจากผลการดําเนินงานของสินทรัพย์สําหรับมูลค่ายุติธรรมของ หนี้สินจัดเป็นความเสี่ยงของผลการดําเนินงานจากสินทรัพย์ที่ระบุไว้ ไม่ใช่ ความเสี่ยงด้านเครดิต

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 159 การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิต ข 5.7.16 เพื่อวัตถุประสงค์ในการนําย่อหน้าที่ 5.7.7.1 มาปฏิบัติ กิจการสามารถประมาณจํานวนเงิน ของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ ความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ ข 5.7.16.1 เป็นจํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่ได้เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดที่ทําให้ความเสี่ยงด้านตลาดเพิ่มขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.7.17 และ ข 5.7.18) หรือ ข 5.7.16.2 ใช้วิธีการอื่นซึ่งกิจการเชื่อว่าวิธีนั้นสามารถแสดงจํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิต ได้อย่างน่าเชื่อถือ ข 5.7.17 การเปลี่ยนแปลงในสภาวะตลาดที่ทําให้ความเสี่ยงด้านตลาดเพิ่มขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ราคาของเครื่องมือทางการเงินของกิจการอื่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศ หรือดัชนีราคาหรือดัชนีอัตรา ข 5.7.18 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดที่มีผลต่อหนี้สินอย่างมีนัยสําคัญ เป็นการเปลี่ยนแปลง ของอัตราดอกเบี้ยที่สังเกตได้ ( อัตราอ้างอิง ) จํานวนเงินที่กล่าวตามย่อหน้าที่ ข 5.7.16.1 สามารถประมาณได้ดังต่อไปนี้ ข 5.7.18.1 ขั้นที่หนึ่งกิจการต้องคํานวณอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของหนี้สิน ณ วันเริ่ม รอบระยะเวลา โดยใช้มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินและกระแสเงินสดตามสัญญาของ หนี้สิน ณ วันเริ่มรอบระยะเวลา โดยหักจากอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ย ที่สังเกตได้ ( อัตราอ้างอิง ) ณ วันเริ่มรอบระยะเวลา เพื่อให้ตรงกับองค์ประกอบ เฉพาะของอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของเครื่องมือทางการเงินนั้น ข 5.7.18.2 ขั้นต่อไปกิจการต้องคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดของหนี้สินโดยใช้ กระแสเงินสดตามสัญญาของหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา และอัตราคิดลด เท่ากับผลรวมของ (1) อัตราดอกเบี้ยที่สังเกตได้ ( อัตราอ้างอิง ) ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลา และ (2) ส่วนประกอบเฉพาะของอัตราตอบแทนที่แท้จริงของ เครื่องมือทางการเงินนั้น ตามที่พิจารณาในย่อหน้าที่ ข 5.7.18.1 ข 5.7.18.3 ความแตกต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของหนี้สิน ณ วันสิ้นระยะเวลาและจํานวน เงินที่ประมาณได้ตามย่อหน้าที่ ข 5.7.18.2 เป็นการเปลี่ยนแปลงของมูลค่า ยุติธรรมที่ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยที่สังเกตได้ ( อัตรา อ้างอิง ) กิจการต้องแสดงจํานวนเงินดังกล่าวในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตาม ย่อหน้าที่ 5.7.7.1 ข 5.7.19 ตัวอย่างในย่อหน้าที่ ข 5.7.18 สมมติว่า การเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมที่มาจากปัจจัย อื่นๆ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตหรือการเปลี่ยนแปลงในอัตรา ดอกเบี้ยที่สังเกตได้ ( อัตราอ้างอิง ) มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสําคัญ จะถือว่าวิธีการนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 160 ไม่เหมาะสม ถ้าการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมมาจากปัจจัยอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญ ในกรณีดังกล่าว กิจการจําเป็นต้องใช้วิธีอื่นที่จะประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ ความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินได้อย่างน่าเชื่อถือ ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.7.16.2) เช่น ในกรณีที่มี เครื่องมือทางการเงินที่มีอนุพันธ์แฝง การเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์แฝงจะ ไม่รวมในจํานวนเงินที่แสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามย่อหน้าที่ 5.7.7.1 ข 5.7.20 ในการวัดมูลค่ายุติธรรม วิธีการวัดมูลค่ายุติธรรมที่กิจการใช้ในการพิจารณาสัดส่วนการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตนั้น กิจการต้อง ใช้ข้อมูลที่สามารถสังเกตได้ที่มีความเกี่ยวข้องให้มากที่สุดและใช้ข้อมูลที่ไม่สามารถสังเกตได้ ให้น้อยที่สุด การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง ( บทที่ 6) เครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง ( หมวดที่ 6.2) เครื่องมือที่เข้าเงื่อนไข ข 6.2.1 อนุพันธ์ซึ่งแฝงในสัญญาแบบผสมซึ่งไม่บันทึกบัญชีเป็นรายการแยกต่างหาก กิจการไม่สามารถ เลือกกําหนดให้อนุพันธ์แฝงดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ข 6.2.2 ตราสารทุนที่กิจการเป็นผู้ออกนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินของกิจการ ดังนั้นกิจการจึงไม่สามารถเลือกกําหนดเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ข 6.2.3 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ องค์ประกอบของความเสี่ยงเงินตรา ต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์ ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 สัญญาสิทธิที่กิจการเป็นผู้ออก ข 6.2.4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ไม่ได้จํากัดสภาพแวดล้อมที่กิจการอาจเลือกกําหนดให้ อนุพันธ์ซึ่งวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความ เสี่ยง ยกเว้นสัญญาสิทธิที่กิจการเป็นผู้ออก (written options) บางประเภท สัญญาสิทธิที่ กิจการเป็นผู้ออก (written options) นั้นไม่เข้าเงื่อนไขเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง เว้น แต่เลือกกําหนดให้สัญญาสิทธิดังกล่าวหักกลบกับสัญญาสิทธิที่กิจการได้ซื้อมา (purchased options) รวมถึงสัญญาสิทธิที่แฝงในเครื่องมือทางการเงินอื่น ( ตัวอย่างเช่น การออกสัญญา สิทธิที่จะซื้อเพื่อป้องกันความเสี่ยงในหนี้สินที่อาจถูกเรียกชําระคืนก่อนครบกําหนด ) การเลือกกําหนดเครื่องมือที่ใช้ป ้ องกันความเสี่ยง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 161 ข 6.2.5 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงนอกเหนือจากการป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ เมื่อกิจการเลือกกําหนดสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์ที่วัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง กิจการอาจเลือก กําหนดให้ทั้งหมดของเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงทั้งหมด หรือกําหนดเป็นสัดส่วนก็ได้ ข 6.2.6 เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงรายการใดรายการหนึ่งอาจเลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงสําหรับความเสี่ยงมากกว่าหนึ่งความเสี่ยงก็ได้ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ที่ว่ามีการเลือกกําหนดเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่เฉพาะเจาะจงกับฐานะความเสี่ยง ที่แตกต่างกันของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ดังกล่าวสามารถมีความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่แตกต่างกันได้ รายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง ( หมวดที่ 6.3) รายการที่เข้าเงื่อนไข ข 6.3.1 กิจการไม่สามารถกําหนดให้ข้อผูกมัดที่แน่นหนาเพื่อซื้อธุรกิจในการรวมธุรกิจ เป็นรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง ยกเว้นความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากความเสี่ยงอื่นๆ ไม่สามารถระบุและวัดมูลค่าได้อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งความเสี่ยงอื่นๆ เหล่านั้นถือเป็น ความเสี่ยงทั่วไปในการดําเนินธุรกิจ ข 6.3.2 เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียไม่สามารถถือเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่า ยุติธรรม เนื่องจากวิธีส่วนได้เสียนั้นจะรับรู้กําไรหรือขาดทุนของกิจการที่ไปลงทุนตามสัดส่วน การลงทุนในกําไรหรือขาดทุน แทนที่จะเป็นการรับรู้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ เงินลงทุน ด้วยเหตุผลเดียวกัน เงินลงทุนในบริษัทย่อยที่นํามาจัดทํางบการเงินรวมก็ไม่สามารถ ถือเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมเช่นกัน เนื่องจากในการจัดทํา งบการเงินรวมนั้นกิจการรับรู้กําไรหรือขาดทุนของบริษัทย่อยในกําไรหรือขาดทุน แทนที่จะเป็น การรับรู้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน ซึ่งจะแตกต่างจากการป้องกัน ความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ ซึ่งเป็นการป้องกันความเสี่ยงในอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่ใช่เป็นการป้องกันความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเงินลงทุน ข 6.3.3 ย่อหน้าที่ 6.3.4 อนุญาตให้กิจการเลือกกําหนดรายการซึ่งเป็นการรวมกันของฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงและอนุพันธ์ ให้เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงสําหรับฐานะเปิดต่อความเสี่ยง โดยรวม (hedged items aggregated exposures) เมื่อมีการเลือกกําหนดรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงดังกล่าว กิจการต้องประเมินว่า ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงโดยรวมนั้นได้รวมฐานะเปิด ต่อความเสี่ยงและอนุพันธ์ที่ก่อให้เกิดฐานะเปิดต่อความเสี่ยงรวมที่แตกต่าง โดยมีการจัดการ ราวกับเป็นฐานะเปิดต่อความเสี่ยงใดความเสี่ยงหนึ่ง ( หรือกลุ่มความเสี่ยง ) เป็นการเฉพาะ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 162 หรือไม่ กรณีดังกล่าว กิจการอาจเลือกกําหนดรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเป็นแบบฐานะ เปิดต่อความเสี่ยงโดยรวม (aggregated exposures) ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ข 6.3.3.1 กิจการอาจป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคา ( ราคาซื้อเป็นสกุล เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ) สําหรับการซื้อกาแฟที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ใน ระดับสูงมากในระยะเวลา 15 เดือนโดยใช้สัญญาล่วงหน้าสําหรับกาแฟที่มี ระยะเวลาของสัญญา 15 เดือน กิจการสามารถพิจารณาว่าการซื้อกาแฟที่มีความ เป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากและสัญญาล่วงหน้าสําหรับกาแฟดังกล่าว เป็นความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศสกุลดอลลาร์สหรัฐจํานวนคงที่ในอีก 15 เดือน ข้างหน้า เพื่อกําหนดเป็นวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยง ( กล่าวคือ เป็น เหมือนกระแสเงินสดจ่ายในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯจํานวนคงที่ในระยะเวลาอีก 15 เดือนข้างหน้านั่นเอง ) ข 6.3.3.2 กิจการอาจป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศตลอดอายุสัญญาของหนี้สินสกุล เงินตราต่างประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 10 ปี อย่างไรก็ตาม กิจการยอมรับ ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยคงที่ในสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานสําหรับระยะสั้น ถึงกลางเท่านั้น ( กล่าวคือ สองปี ) และความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวใน สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานสําหรับระยะเวลาที่เหลือจนครบกําหนด ทุกสองปี ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาตามสัญญา ( กล่าวคือ มีการต่ออายุทุกสองปี ) กิจการจะ ดําเนินการเพื่อปรับให้เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ในอีกสองปีข้างหน้า ( ถ้าระดับของ ดอกเบี้ยส่งผลให้กิจการพิจารณาว่าควรกําหนดให้เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ) ในสถานการณ์ดังกล่าว กิจการอาจเข้าทําสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจาก อัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและแลกเปลี่ยนสกุลเงินโดยมีอายุ สัญญา 10 ปี (10-year fixed-to-floating cross-currency interest rate swap) โดยเปลี่ยนจากหนี้สินสกุลเงินต่างประเทศอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นหนี้สินในสกุล เงินที่ใช้ในการดําเนินงานอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งสัญญาดังกล่าวทับซ้อนกับ สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลา 2 ปี ในระยะเวลา 2 ปีนั้นจึงเกิด เป็นหนี้สินสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานจากหนี้สินอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็น อัตราดอกเบี้ยคงที่ ในแง่ของวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารความเสี่ยง ผลลัพธ์สุทธิ ของหนี้สินในสกุลเงินตราต่างประเทศอัตราดอกเบี้ยคงที่และสัญญาการแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและแลกเปลี่ยน สกุลเงินอายุสัญญา 10 ปี จะเท่ากับการมีหนี้สินในสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงาน อัตราดอกเบี้ยลอยตัวระยะเวลา 10 ปี ข 6.3.4 เมื่อเลือกกําหนดรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงสําหรับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงโดยรวม (aggregated exposures) กิจการต้องพิจารณาผลกระทบรวมจากรายการซึ่งประกอบกันเป็น ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงโดยรวมเพื่อวัตถุประสงค์ในการประเมินประสิทธิผลในการป้องกัน ความเสี่ยงและวัดมูลค่าความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 163 รายการซึ่งประกอบกันเป็นฐานะเปิดต่อความเสี่ยงโดยรวมยังคงต้องปฏิบัติโดยแยกจากกัน ตัวอย่างเช่น ข 6.3.4.1 รับรู้อนุพันธ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงโดยรวม เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินแยก ต่างหากโดยวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม และ ข 6.3.4.2 ถ้าความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงถูกเลือกกําหนดขึ้นระหว่างรายการซึ่ง ประกอบกันเป็นฐานะเปิดต่อความเสี่ยงโดยรวม วิธีซึ่งรวมอนุพันธ์เป็นส่วนหนึ่ง ของฐานะเปิดต่อความเสี่ยงโดยรวมต้องสอดคล้องกับการเลือกกําหนดอนุพันธ์ ดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ณ ระดับของฐานะเปิดต่อความเสี่ยง โดยรวม ตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการแยกองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของอนุพันธ์จาก ส่วนที่เลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงสําหรับความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงระหว่างรายการซึ่งประกอบกันเป็นฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงโดยรวม กิจการก็ต้องแยกองค์ประกอบราคาล่วงหน้าเมื่อจะต้องรวม อนุพันธ์ดังกล่าวเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงอันเป็นส่วนหนึ่งของฐานะ เปิดต่อความเสี่ยงโดยรวม มิฉะนั้น ความเสี่ยงโดยรวมจะต้องรวมเอาอนุพันธ์เข้า ไว้ทั้งหมดหรือตามสัดส่วนของอนุพันธ์ ข 6.3.5 ย่อหน้าที่ 6.3.6 กําหนดว่า ในงบการเงินรวม ความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของรายการ ที่คาดการณ์ซึ่งเป็นรายการกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก อาจเข้าเงื่อนไขเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดได้ โดยมีเงื่อนไขว่า รายการดังกล่าวต้องอยู่ในรูปของสกุลเงินใดๆ ที่ไม่ใช่สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของกิจการ ที่เข้าทํารายการดังกล่าว และความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศนั้นต้องส่งผลกระทบต่อกําไรหรือ ขาดทุนรวม สําหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว กิจการที่กล่าวถึงอาจเป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม การร่วมการงาน หรือสาขา ก็ได้ หากความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของรายการ ระหว่างกันที่คาดการณ์ไว้ไม่มีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุนรวม รายการระหว่างกันดังกล่าว ไม่ถือว่าเข้าเงื่อนไขเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งโดยปกติ ได้แก่ การจ่ายค่าสิทธิ การจ่ายดอกเบี้ย หรือการจ่ายค่าบริหารจัดการ ซึ่งมีการคิดค่าบริการระหว่างบริษัทในกลุ่ม เว้นแต่รายการดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก แต่หากความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ ของรายการระหว่างกันที่คาดการณ์ไว้มีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุนรวม รายการระหว่างกัน ดังกล่าวจะถือว่าเข้าเงื่อนไขเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น การซื้อหรือขาย สินค้าที่คาดการณ์ไว้ระหว่างบริษัทในกลุ่ม โดยที่สินค้าดังกล่าวจะมีการขายต่อบุคคลภายนอก ในทํานองเดียวกัน รายการระหว่างกันที่คาดการณ์ไว้ที่เป็นการขายอาคารและอุปกรณ์ระหว่าง บริษัทในกลุ่มซึ่งเป็นผู้ผลิตให้แก่อีกบริษัทหนึ่งในกลุ่มซึ่งจะใช้ประโยชน์จากอาคารและอุปกรณ์ นั้นในการดําเนินธุรกิจ รายการดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุนรวมได้ ซึ่งอาจเกิด จากการคิดค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นจากการใช้สินทรัพย์นั้น และจํานวนที่รับรู้เมื่อเริ่มแรกของ สินทรัพย์ถาวรอาจเปลี่ยนแปลงไปหากรายการระหว่างกันที่คาดการณ์ไว้นั้นเป็นสกุลเงินใดๆ ที่ไม่ใช่สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของกิจการที่ซื้ออาคารและอุปกรณ์

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 164 ข 6.3.6 หากการป้องกันความเสี่ยงของรายการที่คาดการณ์ซึ่งเป็นรายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะเกิดขึ้นเข้าเงื่อนไขของการบัญชีป้องกันความเสี่ยง ผลกําไร หรือขาดทุนใดๆ ต้องรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรือตัดออกจากกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.5.11 ในรอบระยะเวลาที่เกี่ยวข้องหรือในรอบระยะเวลา ที่ความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของรายการที่ได้รับการป้องกันความเสี่ยงมีผลกระทบต่อกําไร หรือขาดทุนรวม การเลือกกําหนดรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง ข 6.3.7 การกําหนดส่วนประกอบของรายการเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ทั้งนี้ส่วนประกอบ ของรายการนั้นเป็นส่วนหนึ่งของรายการทั้งหมด ดังนั้น ส่วนประกอบของรายการจึงสะท้อน เพียงความเสี่ยงบางส่วนของรายการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงหรือสะท้อนความเสี่ยง เพียงบางกรณี ( ตัวอย่างเช่น เมื่อเลือกกําหนดเพียงสัดส่วนหนึ่งของรายการ เป็นต้น ) ส่วนประกอบความเสี่ยง ข 6.3.8 เพื่อเข้าเงื่อนไขเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ส่วนประกอบความเสี่ยงต้องเป็น องค์ประกอบของรายการทางการเงินหรือหรือรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินที่สามารถระบุ องค์ประกอบได้แยกต่างหาก และการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดหรือมูลค่ายุติธรรมของ รายการอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบความเสี่ยงต้องสามารถวัดมูลค่า ได้อย่างน่าเชื่อถือ ข 6.3.9 เมื่อระบุส่วนประกอบความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไขเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้อง ประเมินส่วนประกอบความเสี่ยงดังกล่าวในบริบทของโครงสร้างตลาดที่เฉพาะเจาะจงต่อความ เสี่ยงหรือกลุ่มความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและในที่ซึ่งกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงเกิดขึ้น การตัดสินใจ ดังกล่าวจําเป็นต้องมีการประเมินข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องซึ่งจะแตกต่างกันไป ตามความเสี่ยงและตลาด ข 6.3.10 เมื่อเลือกกําหนดส่วนประกอบความเสี่ยงเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้อง พิจารณาว่าส่วนประกอบความเสี่ยงได้ถูกระบุอย่างชัดเจนในสัญญา ( ส่วนประกอบความเสี่ยงที่ ระบุตามสัญญา ) หรือบอกเป็นนัยโดยเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่ายุติธรรมหรือกระแสเงินสดของ รายการ ( ส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้ระบุตามสัญญา ) ส่วนประกอบความเสี่ยงที่ไม่ได้ระบุ ตามสัญญาสามารถเกี่ยวข้องกับรายการที่ไม่เป็นสัญญา ( ตัวอย่างเช่น รายการที่คาดการณ์ ) หรือสัญญาที่ไม่ระบุองค์ประกอบอย่างชัดเจน ( ตัวอย่างเช่น ข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่กําหนด ราคาเพียงราคาเดียวแทนที่จะกําหนดเป็นสูตรการคํานวณราคาซึ่งอ้างอิงข้อมูลที่หลากหลาย ) ตัวอย่างเช่น ข 6.3.10.1 กิจการ ก มีสัญญาระยะยาวเพื่อซื้อแก๊สธรรมชาติซึ่งใช้สูตรคํานวณราคาที่ระบุ ตามสัญญาโดยอ้างอิงจากสินค้าโภคภัณฑ์และปัจจัยอื่น ( ตัวอย่างเช่น นํ้ามัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 165 นํ้ามันเตา และองค์ประกอบอื่น เช่น ค่าขนส่ง ) กิจการ ก ป้องกันความเสี่ยง องค์ประกอบของนํ้ามันในสัญญาซื้อดังกล่าวโดยใช้สัญญาฟอร์เวิร์ดนํ้ามัน เนื่องจากองค์ประกอบของนํ้ามันถูกระบุในข้อกําหนดและเงื่อนไขตามสัญญาซื้อ ดังนั้นส่วนประกอบความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งที่ถูกระบุตามสัญญา อย่างไรก็ตาม จากสูตรการคํานวณราคา กิจการ ก สรุปได้ว่าความเสี่ยงของราคานํ้ามันสามารถ ระบุแยกได้ต่างหาก โดยมีราคาตลาดของสัญญาฟอร์เวิร์ดนํ้ามันในเวลาเดียวกัน กิจการ ก จึงสรุปได้ว่าความเสี่ยงของราคานํ้ามันสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ดังนั้น ความเสี่ยงของราคานํ้ามันในสัญญาซื้อจึงสามารถเป็นส่วนประกอบ ความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไขในการเลือกกําหนดเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ข 6.3.10.2 กิจการ ข ทําการป้องกันความเสี่ยงในการซื้อกาแฟล่วงหน้าโดยพิจารณาจาก การคาดการณ์การผลิตของกิจการ การป้องกันความเสี่ยงจะเริ่มและดําเนินการ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 เดือน ก่อนการส่งมอบสินค้าที่คาดการณ์ไว้ กิจการ ข ได้เพิ่มปริมาณกาแฟที่ป้องกันความเสี่ยงตามกาลเวลา ( ตามวันที่ส่งมอบ ) โดยกิจการ ข ใช้สัญญา 2 ประเภท ในการจัดการความเสี่ยงในราคากาแฟ ข 6.3.10.2.1 สัญญาซื้อขายกาแฟในตลาดล่วงหน้าและ ข 6.3.10.2.2 สัญญาซื้อกาแฟอาราบิก้าจากโคลัมเบียโดยส่งมอบมายังโรงงาน ที่ระบุไว้ สัญญานี้กําหนดราคากาแฟต่อตันโดยใช้สูตรการคํานวณ ราคา ซึ่งคํานวณจากราคาตามสัญญาซื้อขายกาแฟในตลาด ล่วงหน้ารวมกับราคาส่วนแตกต่างคงที่และค่าบริการขนส่งผันแปร สัญญาซื้อกาแฟเป็นสัญญาที่มีภาระโดยกิจการ ข ที่จะต้องรับภาระ ให้มีการส่งมอบกาแฟเกิดขึ้นจริง การเข้าทําสัญญาสั่งซื้อกาแฟสําหรับการส่งมอบที่เกี่ยวข้องกับฤดูเก็บเกี่ยว ในปัจจุบันอนุญาตให้กิจการ ข กําหนดราคาส่วนต่างระหว่างคุณภาพจริงของ กาแฟที่ซื้อ ( กาแฟอาราบิก้าจากโคลัมเบีย ) กับคุณภาพมาตรฐานที่เป็นเกณฑ์ อ้างอิงของสัญญาซื้อขายในตลาดล่วงหน้าเป็นราคาคงที่ อย่างไรก็ตาม สําหรับ การส่งมอบที่เกี่ยวข้องกับฤดูเก็บเกี่ยวถัดไป ตลาดยังไม่เปิดให้ทําสัญญาการ สั่งซื้อกาแฟ ดังนั้นราคาส่วนต่างดังกล่าวจึงไม่สามารถกําหนดได้ กิจการ ข ใช้สัญญาการซื้อขายกาแฟในตลาดล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยงในราคา กาแฟที่มีเกณฑ์อ้างอิงคุณภาพเป็นองค์ประกอบสําหรับความเสี่ยงในราคากาแฟ ของฤดูเก็บเกี่ยวปัจจุบันเช่นเดียวกับฤดูเก็บเกี่ยวถัดไป กิจการ ข ได้พิจารณาว่า กิจการมีความเสี่ยง 3 ด้าน ความเสี่ยงในราคากาแฟที่สะท้อนเกณฑ์อ้างอิง คุณภาพ ความเสี่ยงจากราคากาแฟที่สะท้อนความแตกต่างระหว่างราคากาแฟที่มี เกณฑ์อ้างอิงคุณภาพมาตรฐานกับราคากาแฟที่เป็นกาแฟอาราบิก้าจากโคลัมเบีย ที่ได้รับส่งมอบจริงและราคาค่าขนส่งที่ผันแปร หลังจากที่กิจการ ข เข้าทําสัญญา สั่งซื้อกาแฟสําหรับการส่งมอบที่เกี่ยวข้องกับฤดูเก็บเกี่ยวปัจจุบัน ความเสี่ยง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 166 ในราคากาแฟที่สะท้อนเกณฑ์อ้างอิงคุณภาพเป็นส่วนประกอบความเสี่ยงที่ระบุไว้ ตามสัญญาเนื่องจากสูตรการคํานวณราคาได้รวมการปรับราคาตามดัชนีราคา สัญญาซื้อขายกาแฟในตลาดล่วงหน้า กิจการ ข สรุปได้ว่าส่วนประกอบความเสี่ยง สามารถระบุองค์ประกอบแยกได้ต่างหากและสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ สําหรับการส่งมอบที่เกี่ยวข้องกับฤดูเก็บเกี่ยวถัดไป กิจการ ข ยังไม่สามารถเข้าทํา สัญญาซื้อกาแฟ ( กล่าวคือ การส่งมอบดังกล่าวเป็นรายการที่คาดการณ์ ) ดังนั้น ความเสี่ยงในราคากาแฟที่สะท้อนเกณฑ์อ้างอิงคุณภาพถือเป็นส่วนประกอบ ความเสี่ยงที่ไม่มีสัญญา การวิเคราะห์ของกิจการ ข เรื่องโครงสร้างตลาดได้ คํานึงถึงวิธีตีราคากาแฟเฉพาะเจาะจงที่ท้ายสุดกิจการ ข ได้รับ ดังนั้น ตามเกณฑ์ ที่มีการวิเคราะห์โครงสร้างตลาดนี้ กิจการ ข สรุปได้ว่ารายการที่คาดการณ์ได้รวม ความเสี่ยงในราคากาแฟที่สะท้อนเกณฑ์อ้างอิงคุณภาพตามส่วนประกอบ ความเสี่ยงที่สามารถระบุองค์ประกอบได้แยกต่างหากและสามารถวัดมูลค่า ได้อย่างน่าเชื่อถือถึงแม้จะไม่มีการกําหนดเป็นสัญญา ดังนั้นกิจการ ข อาจเลือก กําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงตามพื้นฐานส่วนประกอบ ความเสี่ยง ( สําหรับความเสี่ยงในราคากาแฟที่สะท้อนเกณฑ์อ้างอิงคุณภาพ ) สําหรับสัญญาซื้อกาแฟรวมถึงรายการซื้อที่คาดการณ์ไว้ ข 6.3.10.3 กิจการ ค ป้องกันความเสี่ยงส่วนหนึ่งของการซื้อนํ้ามันเครื่องบินตามการบริโภค ของกิจการที่คาดการณ์เป็นระยะเวลาไม่เกิน 24 เดือนก่อนการส่งมอบและ เพิ่มปริมาณในการป้องกันความเสี่ยงตามกาลเวลา กิจการ ค ป้องกันความเสี่ยง โดยใช้สัญญาหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับรอบระยะเวลาการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพคล่องของตลาดอนุพันธ์ สําหรับรอบระยะยาว (12-24 เดือน ) กิจการ ค ใช้ สัญญานํ้ามันดิบเนื่องจากมีสภาพคล่องเพียงพอ สําหรับรอบ ระยะเวลา 6-12 เดือน กิจการ ค ใช้อนุพันธ์นํ้ามันเนื่องจากมีสภาพคล่อง ที่เพียงพอ สําหรับรอบระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน กิจการ ค ใช้สัญญานํ้ามันเครื่องบิน การวิเคราะห์ของกิจการ ค เกี่ยวกับโครงสร้างตลาดนํ้ามันและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน และการประเมินผลที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ ข 6.3.10.3.1 กิจการ ค ดําเนินธุรกิจในด้านภูมิศาสตร์โดยใช้นํ้ามันดิบเบรนท์ เป็นเกณฑ์อ้างอิง นํ้ามันดิบเป็นเกณฑ์อ้างอิงวัตถุดิบที่กระทบราคา ผลิตภัณฑ์นํ้ามันกลั่นหลายชนิดเนื่องจากนํ้ามันดิบเป็นวัตถุดิบ พื้นฐาน นํ้ามันเป็นเกณฑ์อ้างอิงสําหรับผลิตภัณฑ์นํ้ามันกลั่นซึ่ง ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการกําหนดราคานํ้ามันกลั่นทั่วไป ซึ่งราคานี้ มีผลกระทบต่อตราสารอนุพันธ์ทางการเงินประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดนํ้ามันดิบและผลิตภัณฑ์นํ้ามันกลั่นที่กิจการ ค ดําเนินธุรกิจอยู่ ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินดังกล่าวได้แก่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 167  สัญญาซื้อขายนํ้ามันดิบล่วงหน้าที่อ้างอิงกับนํ้ามันดิบเบรนท์  สัญญาซื้อขายนํ้ามันล่วงหน้าซึ่งใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการ กําหนดราคานํ้ามันกลั่น ตัวอย่างเช่น อนุพันธ์ส่วนต่างของ นํ้ามันเครื่องบิน (jet fuel spread derivative) ซึ่งช่วยชดเชย ราคาส่วนต่างระหว่างราคานํ้ามันเครื่องบินกับราคานํ้ามัน มาตรฐานและ  อนุพันธ์ส่วนต่างราคานํ้ามันมาตรฐาน ( อนุพันธ์สําหรับ ส่วนต่างราคาระหว่างนํ้ามันดิบและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน สําเร็จรูป ( กําไรจากผลิตภัณฑ์นํ้ามันกลั่น )) ที่อ้างอิงจาก นํ้ามันดิบเบรนท์ ข 6.3.10.3.2 การกําหนดราคาผลิตภัณฑ์นํ้ามันกลั่นจะไม่ขึ้นกับนํ้ามันดิบ เฉพาะเจาะจงใดๆ ที่ถูกกลั่นมาจากโรงกลั่นนํ้ามันเฉพาะเจาะจง เนื่องจากผลิตภัณฑ์นํ้ามันกลั่น ( เช่น นํ้ามันหรือนํ้ามันเครื่องบิน ) เป็นผลิตภัณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นกิจการ ค สรุปว่าความเสี่ยงในราคาซื้อนํ้ามันเครื่องบินได้รวมส่วนประกอบ ความเสี่ยงในราคาของนํ้ามันดิบซึ่งมาจากความเสี่ยงในราคานํ้ามันดิบเบรนท์และ ราคานํ้ามัน แม้ว่านํ้ามันดิบและนํ้ามันไม่ถูกระบุไว้ในข้อตกลงตามสัญญาใดๆ กิจการ ค สรุปว่าองค์ประกอบความเสี่ยงทั้งสองนี้สามารถระบุองค์ประกอบแยก ได้ต่างหากและสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือแม้ว่าจะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้น กิจการ ค อาจเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงสําหรับ การซื้อนํ้ามันเครื่องบินที่คาดการณ์ไว้ ตามเกณฑ์ส่วนประกอบความเสี่ยง ( สําหรับนํ้ามันดิบและนํ้ามัน ) การวิเคราะห์นี้ยังสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ ตัวอย่างเช่น หากกิจการ ค ใช้อนุพันธ์นํ้ามันดิบที่อ้างอิงกับนํ้ามันดิบดับบลิวทีไอ (West Texas Intermediate (WTI)) การเปลี่ยนแปลงของราคาส่วนต่างระหว่าง นํ้ามันดิบเบรนท์กับนํ้ามันดิบดับบลิวทีไออาจเป็นเหตุทําให้การป้องกันความเสี่ยง ไม่มีประสิทธิผล ข 6.3.10.4 กิจการ ง ถือตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ตราสารนี้ถูกออกในสภาพแวดล้อม ที่ตลาดมีตราสารหนี้ที่ลักษณะคล้ายคลึงกันส่วนมากมีการเปรียบเทียบอัตราส่วน ต่างของตราสารหนี้กับอัตราอ้างอิง ( เช่น LIBOR) และในสภาพแวดล้อมดังกล่าว ตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยปกติแล้วจะมีการอ้างอิงกับอัตราอ้างอิง สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยโดยส่วนใหญ่จะใช้จัดการความเสี่ยงในอัตรา ดอกเบี้ยตามอัตราอ้างอิงโดยไม่คํานึงถึงอัตราส่วนต่างของตราสารหนี้กับอัตรา อ้างอิง ราคาของตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่จะผันแปรโดยตรงตามการ เปลี่ยนแปลงของอัตราอ้างอิงที่เกิดขึ้น กิจการ ง สรุปว่าอัตราอ้างอิงเป็น องค์ประกอบที่สามารถระบุได้แยกต่างหากและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ดังนั้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 168 กิจการ ง อาจเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงสําหรับ ตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ตามพื้นฐานของส่วนประกอบความเสี่ยงที่เป็น ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ข 6.3.11 เมื่อเลือกกําหนดส่วนประกอบความเสี่ยงเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ให้ถือ ปฏิบัติการบัญชีป้องกันความเสี่ยงกับส่วนประกอบความเสี่ยงนั้นเช่นเดียวกับที่ถือปฏิบัติกับ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งมิได้เป็นส่วนประกอบความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติถูรวมถึงความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงต้อง เป็นไปตามข้อกําหนดของการมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง และมีการวัดมูลค่าและ รับรู้การป้องกันความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิผล ข 6.3.12 กิจการยังสามารถเลือกกําหนดให้การเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดหรือมูลค่ายุติธรรมของ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เป็นไปในทิศทางที่สูงกว่าหรือตํ่ากว่าราคาหรือตัวแปรอื่น ที่ระบุไว้ ( ความเสี่ยงทางเดียว (one-sided risk)) เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงมูลค่า ที่แท้จริง (intrinsic value) ของสัญญาสิทธิที่กิจการซื้อมาซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยง ( สมมุติว่าตราสารนี้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินต้นเหมือนกับความเสี่ยงที่เลือกกําหนด ) ซึ่งไม่ใช่ส่วนของมูลค่าตามเวลา จะสะท้อนความเสี่ยงด้านเดียวในรายการที่ได้รับการป้องกัน ความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น กิจการสามารถเลือกกําหนดความแปรปรวนของกระแสเงินสดใน อนาคตอันเป็นผลกระทบมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ที่คาดการณ์ไว้ ในสถานการณ์เช่นนี้กิจการเลือกกําหนดเฉพาะกระแสเงินสดที่ขาดทุนจากการเพิ่มขึ้นของราคา ที่สูงกว่าระดับที่ระบุไว้เป็นรายการที่ได้รับการป้องกันความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยงไม่รวม มูลค่าตามเวลาของสัญญาสิทธิที่กิจการซื้อมา เนื่องจากมูลค่าตามเวลาไม่เป็นองค์ประกอบของ รายการที่คาดการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกําไรและขาดทุน ข 6.3.13 มีข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งว่า หากไม่มีการระบุความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อไว้ในสัญญา ความเสี่ยงนั้นจะไม่สามารถระบุเป็นส่วนประกอบที่ได้แยกต่างหากและไม่สามารถวัดมูลค่าได้ อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งทําให้ไม่สามารถเลือกกําหนดให้เป็นส่วนประกอบความเสี่ยงของเครื่องมือ ทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่จํากัด มีความเป็นไปได้ที่จะระบุส่วนประกอบความ เสี่ยงในความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อเป็นความเสี่ยงที่สามารถระบุองค์ประกอบได้แยกต่างหาก และสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ทั้งนี้เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่มีลักษณะเฉพาะ ของสภาพแวดล้อมในภาวะเงินเฟ้อและตลาดตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้อง ข 6.3.14 ตัวอย่างเช่น กิจการออกตราสารหนี้ในสภาพแวดล้อมที่พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (inflation- linked bonds) โดยมีปริมาณและโครงสร้างอัตราผลตอบแทนที่ส่งผลให้เกิดตลาดที่มีสภาพ คล่องเพียงพอที่อนุญาตให้มีหุ้นกู้ที่มีโครงสร้างอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง แบบที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งในแต่ละสกุลเงินนั้น สภาวะเงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ที่มีการพิจารณาแยกต่างหากในแต่ละตลาดตราสารหนี้ ในสภาพแวดล้อมดังกล่าววนประกอบ ความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อสามารถกําหนดได้ โดยการคิดลดกระแสเงินสดของตราสารหนี้ที่ มีการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้โครงสร้างอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ไม่มี

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 169 การจ่ายดอกเบี้ย ( กล่าวคือ กรณีคล้ายกับการกําหนดองค์ประกอบอัตราดอกเบี้ยที่ปราศจาก ความเสี่ยง ) แต่โดยส่วนมากส่วนประกอบความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อไม่สามารถระบุ องค์ประกอบได้แยกต่างหากและไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น กิจการ ออกตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยปกติในสภาพแวดล้อมที่ตลาดสําหรับพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อที่ มีสภาพคล่องไม่เพียงพอที่จะอนุญาตให้มีโครงสร้างอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยที่ แท้จริงแบบที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย ในกรณีนี้การวิเคราะห์โครงสร้างตลาดรวมถึงปัจจัยและ สภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่เอื้อให้กิจการสรุปว่าสภาวะเงินเฟ้อเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องที่ตลาดตราสาร หนี้จะพิจารณาแยกต่างหาก ดังนั้นกิจการจึงไม่สามารถจัดการกับข้อสันนิษฐานที่ยังมีข้อโต้แย้ง เรื่องความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อที่ไม่มีการระบุในสัญญา ไม่สามารถระบุองค์ประกอบแยก ต่างหากและไม่สามารถวัดมูลค่าอย่างน่าเชื่อถือ ส่วนประกอบความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อจึง ไม่เข้าเงื่อนไขเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง กรณีนี้ถูกนํามาถือปฏิบัติ โดยไม่คํานึงถึงเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อที่กิจการได้เข้าทํารายการจริง แล้ว กล่าวโดยเฉพาะ กิจการไม่สามารถกระทําเพียงคํานวณระยะเวลาผลตอบแทนและเงื่อนไข ของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อจริงโดยการใช้ระยะเวลาผลตอบแทน และเงื่อนไขดังกล่าวอ้างอิงกับตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยปกติได้ ข 6.3.15 ส่วนประกอบความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อที่ระบุตามสัญญาของกระแสเงินสดของพันธบัตร ชดเชยเงินเฟ้อ ( สมมติว่าไม่มีข้อกําหนดให้ปฏิบัติกับอนุพันธ์แฝงเป็นรายการแยกต่างหาก ) สามารถระบุองค์ประกอบได้แยกต่างหากและสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือได้ตราบใดที่ ส่วนประกอบความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อไม่ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดอื่นของพันธบัตรนั้น องค์ประกอบของจํานวนเงินที่กําหนดไว้ ข 6.3.16 องค์ประกอบของจํานวนเงินที่กําหนดไว้ ที่สามารถเลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงตามความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงมีสองประเภท คือ องค์ประกอบนั้นเป็น สัดส่วนของรายการทั้งหมดหรือเป็นส่วนประกอบลําดับชั้น (layer component) ประเภทของ องค์ประกอบมีผลต่อผลลัพธ์ทางบัญชี ดังนั้น กิจการควรเลือกกําหนดองค์ประกอบ เพื่อให้ การจัดทําบัญชีสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงของกิจการ ข 6.3.17 ตัวอย่างเช่น องค์ประกอบที่เป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของกระแสเงินสดตามสัญญาเงินกู้ ข 6.3.18 ส่วนประกอบลําดับชั้นอาจถูกระบุได้จากกลุ่มประชากรเปิดที่เฉพาะเจาะจงหรือจากจํานวนเงิน ที่กําหนดไว้ ตามที่ระบุ ตัวอย่างดังนี้ ข 6.3.18.1 ส่วนของปริมาณธุรกรรมที่เป็นตัวเงิน ตัวอย่างเช่น กระแสเงินสดจากการขาย ที่เป็นเงินตราต่างประเทศจํานวน 10 ซึ่งถัดจาก 20 แรก สําหรับรายการของ เดือนมีนาคม 255X ข 6.3.18.2 ส่วนของปริมาณทางกายภาพ ตัวอย่างเช่น ชั้นล่างสุดของแก๊สธรรมชาติ ที่วัดปริมาณได้ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในสถานที่ กขค

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 170 ข 6.3.18.3 ส่วนของปริมาณทางกายภาพหรือปริมาณธุรกรรมอื่น ตัวอย่างเช่น นํ้ามัน 100 บาร์เร็ลแรกที่ซื้อในเดือนมิถุนายน 255X หรือ ยอดขายของกระแสไฟฟ้า 100 เมกกะวัตต์แรกในเดือนมิถุนายน 255X ข 6.3.18.4 ลําดับชั้นจากจํานวนเงินที่กําหนดไว้ของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น 80 ล้านบาทสุดท้ายของข้อผูกมัดที่แน่นหนามูลค่า 100 ล้านบาท ระดับชั้นล่างสุด 20 ล้านบาทของพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่มูลค่า 100 ล้านบาท หรือระดับชั้นสูงสุด 30 ล้านบาทจากตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ จํานวนเงิน รวม 100 ล้านบาท ที่สามารถจ่ายล่วงหน้าได้ในราคายุติธรรม ( จํานวนเงิน ที่กําหนดไว้ตามที่ระบุคือ 100 ล้านบาท ) ข 6.3.19 หากส่วนประกอบลําดับชั้นถูกเลือกกําหนดในการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม กิจการ ต้องกําหนดส่วนประกอบนั้นจากจํานวนเงินที่กําหนดไว้ตามที่ระบุ ในการปฏิบัติตามข้อกําหนด เกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมที่เข้าเงื่อนไข กิจการต้องวัดมูลค่ารายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงใหม่สําหรับการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรม ( กล่าวคือ วัดมูลค่า รายการใหม่ เพื่อหามูลค่ายุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเสี่ยงที่มีการป้องกัน ) การปรับปรุง รายการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนก่อนที่จะถูกเลิกรับรู้ รายการ ดังนั้นกิจการจําเป็นต้องติดตามถึงรายการที่เกี่ยวข้องกับรายการปรับปรุงการป้องกัน ความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมดังกล่าว สําหรับส่วนประกอบลําดับชั้นในการป้องกันความเสี่ยงใน มูลค่ายุติธรรม กิจการต้องติดตามจํานวนเงินที่กําหนดไว้ ตามที่ระบุ เช่น ในย่อหน้าที่ ข 6.3.18.4 จํานวนเงินที่กําหนดไว้ ตามที่ระบุทั้งหมดของ 100 ล้านบาทจะต้องมีการติดตาม เพื่อที่จะกําหนดระดับชั้นล่างสุด 20 ล้านบาท หรือระดับชั้นสูงสุด 30 ล้านบาท ข 6.3.20 ส่วนประกอบลําดับชั้นที่รวมสิทธิในการชําระเงินก่อนครบกําหนดไม่มีคุณสมบัติที่จะถูกเลือก กําหนดให้เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม หากมูลค่ายุติธรรมของสิทธิ ในการชําระเงินก่อนครบกําหนดนั้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงที่มี การป้องกัน ยกเว้นการเลือกกําหนดระดับชั้นได้รวมผลกระทบของสิทธิในการชําระเงิน ก่อนครบกําหนดที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและกระแสเงินสดทั้งหมดของรายการ ข 6.3.21 หากองค์ประกอบกระแสเงินสดของรายการทางการเงินและรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ถูกเลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง องค์ประกอบดังกล่าวจะต้อง มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากันกับกระแสเงินสดรวมของรายการทั้งรายการ อย่างไรก็ตาม กระแสเงินสด รวมของรายการดังกล่าวอาจถูกเลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงและ มีการป้องกันความเสี่ยงเพียงความเสี่ยงเดียว ( ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่เป็นไป ตามการเปลี่ยนแปลงใน LIBOR หรือเกณฑ์อ้างอิงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 171 ข 6.3.22 ตัวอย่างเช่น กรณีหนี้สินทางการเงินที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีตํ่ากว่า LIBOR กิจการ ไม่สามารถเลือกกําหนด ข 6.3.22.1 องค์ประกอบหนี้สินให้เท่ากับดอกเบี้ย LIBOR ( รวมกับเงินต้นในกรณีที่เป็นการ ป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม ) และ ข 6.3.22.2 องค์ประกอบคงเหลือติดลบ ข 6.3.23 อย่างไรก็ตามในกรณีที่หนี้สินทางการเงินอัตราดอกเบี้ยคงที่ ที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีมีค่า ( ตัวอย่างเช่น ) ตํ่ากว่า LIBOR ร้อยละ 1 กิจการสามารถเลือกกําหนดเป็นรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงที่มีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าหนี้สินทั้งหมด ( คือ เงินต้นรวมกับดอกเบี้ย ที่ LIBOR – 1%) ไปตามการเปลี่ยนแปลงของ LIBOR หากเครื่องมือทางการเงินที่มีอัตรา ดอกเบี้ยคงที่มีการป้องกันความเสี่ยงในบางช่วงเวลาภายหลังจากวันเริ่มต้นและอัตราดอกเบี้ย มีการเปลี่ยนแปลงไปในเวลาเดียวกัน กิจการสามารถเลือกกําหนดส่วนประกอบความเสี่ยง ให้มีค่าเท่ากับอัตราอ้างอิงที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาของรายการที่จ่ายไป กิจการ สามารถกระทําโดยมีเงื่อนไขว่าอัตราอ้างอิงต้องมีค่าน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีที่ถูก คํานวณตามข้อสมมติที่ว่ากิจการได้ทําการซื้อเครื่องมือทางการเงินนั้นในวันแรกที่เครื่องมือถูก เลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ตัวอย่างเช่น สมมติว่ากิจการ ออกสินทรัพย์ทางการเงินอัตราดอกเบี้ยคงที่ 100 บาท ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีเท่ากับ ร้อยละ 6 และขณะที่ LIBOR มีค่าเท่ากับร้อยละ 4 หลังจากนั้นกิจการได้ทําการป้องกันความ เสี่ยงในสินทรัพย์เมื่อ LIBOR มีค่าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8 และมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์มีค่า ลดลงเหลือ 90 บาท กิจการคํานวณว่าหากซื้อสินทรัพย์ในวันที่กิจการได้เลือกกําหนดความ เสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ย LIBOR ให้เป็นรายการที่มีการป้องกันทางการเงินเป็นครั้ง แรก อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของสินทรัพย์ที่พิจารณาจากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ล่าสุด จะเท่ากับ 90 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.5 เนื่องจาก LIBOR มีค่าน้อยกว่าอัตราผลตอบแทน นั้น กิจการสามารถเลือกกําหนดองค์ประกอบ LIBOR ที่ร้อยละ 8 ซึ่งประกอบด้วย ส่วนของกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยตามสัญญาและส่วนของส่วนต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรม ปัจจุบัน ( คือ 90 บาท ) และจํานวนเงินชําระคืนในวันครบกําหนด ( คือ 100 บาท ) ข 6.3.24 หากหนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยผันแปร ตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ย LIBOR 3 เดือน หักร้อยละ 0.2 ( ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยขั้นตํ่าเท่ากับศูนย์ ) กิจการสามารถเลือกกําหนด ให้การเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดของหนี้สินทั้งหมดเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( กล่าวคือ LIBOR 3 เดือน ลบ ร้อยละ 0.20 ที่รวมอัตราตํ่าสุด ) ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม การเคลื่อนไหวของ LIBOR ดังนั้น ตราบเท่าที่เส้นผลตอบแทนล่วงหน้าของ LIBOR 3 เดือน ภายในช่วงระยะเวลาที่เหลือของอายุสัญญาหนี้สินดังกล่าว ไม่ตํ่าไปกว่าร้อยละ 0.2 รายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงก็ยังจะคงมีความแปรปรวนในกระแสเงินสดที่เท่ากับหนี้สินที่มีอัตรา ดอกเบี้ยที่ LIBOR 3 เดือน ที่บวกส่วนต่างขั้นตํ่าที่ร้อยละศูนย์หรือส่วนต่างที่เป็นกําไร (positive spread) อย่างไรก็ตาม หากเส้นผลตอบแทนล่วงหน้าของ LIBOR 3 เดือนภายใน ช่วงระยะเวลาที่เหลือของอายุสัญญาหนี้สินดังกล่าว ( หรือบางส่วนของหนี้สินดังกล่าว ) มีระดับ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 172 ตํ่ากว่าร้อยละ 0.2 รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงก็จะมีความแปรปรวนในกระแสเงินสด ตํ่ากว่าหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ LIBOR 3 เดือน ที่บวกส่วนต่างขั้นตํ่าที่ร้อยละศูนย์หรือส่วน ต่างที่เป็นกําไร (positive spread) ข 6.3.25 มีตัวอย่างที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน คือ นํ้ามันดิบประเภทหนึ่ง จากแหล่งนํ้ามันหนึ่งที่ราคาถูกกําหนดโดยเทียบกับนํ้ามันดิบอ้างอิง หากกิจการขายนํ้ามันดิบ โดยกําหนดราคาตามสูตรคํานวณที่กําหนดในสัญญาที่ราคานํ้ามันดิบอ้างอิงต่อบาร์เรล ลบ 10 บาท โดยมีราคาขั้นตํ่าอยู่ที่ 15 บาท กิจการสามารถเลือกกําหนดความแปรปรวนของ กระแสเงินสดทั้งหมดภายใต้สัญญาซื้อขายที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคานํ้ามันดิบอ้างอิงให้เป็น รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม กิจการไม่สามารถเลือกกําหนดองค์ประกอบ ความเสี่ยงที่มีค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในราคานํ้ามันดิบอ้างอิงได้ ดังนั้นตราบใดที่ ราคาล่วงหน้า ( สําหรับแต่ละการส่งมอบ ) ไม่ลดลงตํ่ากว่า 25 บาท รายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงจะมีความแปรปรวนในกระแสเงินสดเท่ากับนํ้ามันดิบที่ขายที่ราคานํ้ามันดิบอ้างอิง ( หรือ มีส่วนต่างราคาเป็นบวกร่วมด้วย ) อย่างไรก็ตาม หากราคาล่วงหน้าสําหรับการส่งมอบลดลง ตํ่ากว่า 25 บาท รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงจะมีความแปรปรวนในกระแสเงินสดตํ่ากว่า นํ้ามันดิบที่ขายที่ราคานํ้ามันดิบอ้างอิง ( หรือ มีส่วนต่างราคาเป็นบวกร่วมด้วย ) การเข้าเงื่อนไขการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง ( หมวดที่ 6.4) ประสิทธิผลในการป ้ องกันความเสี่ยง ข 6.4.1 ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงคือ เมื่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมหรือในกระแส เงินสดของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงหักกลบกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมหรือ กระแสเงินสดของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( ตัวอย่างเช่น เมื่อรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงเป็นส่วนประกอบความเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมหรือกระแสเงินสดที่ เกี่ยวข้องของรายการจะถือว่าเป็นความเสี่ยงที่มีการป้องกัน ) การป้องกันความเสี่ยงที่ไม่มี ประสิทธิผลคือเมื่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมหรือในกระแสเงินสดของเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมหรือในกระแส เงินสดของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ข 6.4.2 เมื่อเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่ดําเนินต่อเนื่อง กิจการต้องวิเคราะห์ สาเหตุที่ก่อให้เกิดการป้องกันความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิผลที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาของการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว การวิเคราะห์นี้ ( รวมถึง ข้อมูลใหม่ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ ข 6.5.21 ที่เกิดจากการปรับสมดุลของความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยง ) ถือเป็นเกณฑ์สําหรับกิจการในการประเมินว่าเป็นไปตามข้อกําหนด ความมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงที่กิจการจะต้องปฏิบัติตาม ข 6.4.3 เพื่อความชัดเจน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแทนคู่สัญญาเดิมด้วยการชําระให้คู่สัญญา รวมถึง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 6.5.6 จะต้องถูกสะท้อนใน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 173 การวัดมูลค่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและในการประเมินและวัดประสิทธิผลใน การป้องกันความเสี่ยง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยงกับเครื่องมือที่ใช้ ป ้ องกันความเสี่ยง ข 6.4.4 เงื่อนไขที่ทําให้เกิดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงมีมูลค่าที่โดยทั่วไปแล้วจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงข้ามกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงประเภทเดียวกัน นั่นคือเป็นความเสี่ยงที่มีการป้องกันแล้ว ดังนั้นจะต้อง มีการคาดการณ์ว่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและมูลค่าของรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงจะเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบตามการเคลื่อนไหวในรายการอ้างอิงเดียวกันหรือ รายการอ้างอิงที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่มีการป้องกัน แล้วในรูปแบบเดียวกัน ( ตัวอย่างเช่น นํ้ามันดิบเบรนท์และนํ้ามันดิบดับบลิวทีไอ ) ข 6.4.5 ถึงแม้รายการอ้างอิงต่างกันแต่ยังมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ มูลค่าของเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงก็สามารถเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันได้ ตัวอย่างเช่น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในราคาส่วนต่างระหว่างรายการป้องกันความเสี่ยง สองรายการที่มีความสัมพันธ์กันขณะที่รายการอ้างอิงนั้นไม่มีการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสําคัญ ในกรณีนี้เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงยังคงถือว่ามี ความสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หากมูลค่าของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง และรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงยังคงมีความเคลื่อนไหวปกติในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อรายการอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง ข 6.4.6 การประเมินว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นหรือไม่นั้นจะมีการวิเคราะห์พฤติกรรม ความสัมพันธ์การป้องกันความเสี่ยงเพื่อทําให้มั่นใจว่า ยังคงสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ การบริหารความเสี่ยง ค่าสหสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างค่าผันแปรสองตัวแปรเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถสนับสนุนข้อสรุปได้อย่างน่าเชื่อถือว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมีอยู่จริง ผลกระทบจากความเสี่ยงด้านเครดิต ข 6.4.7 เนื่องจากแบบจําลองการบัญชีป้องกันความเสี่ยงมีพื้นฐานมาจากหลักการในการหักกลบ ระหว่างผลกําไรและขาดทุนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยง ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงไม่เพียงแต่ถูกกําหนดโดยความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจระหว่างรายการเหล่านั้นเท่านั้น ( กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงในรายการอ้างอิง ) แต่ยังถูกกําหนดโดยผลกระทบจากความเสี่ยงด้านเครดิตในมูลค่าของทั้งเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ผลกระทบจากความเสี่ยงด้านเครดิต หมายถึง แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงก็ตาม แต่ไม่อาจหักกลบผลกําไรและขาดทุนของเครื่องมือ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 174 ดังกล่าวได้ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงหรือรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง โดยที่ความเสี่ยงด้านเครดิตมีอิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ามากกว่าที่จะเป็นผลจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ( กล่าวคือ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในรายการอ้างอิง ) ระดับขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพล นั่นคือระดับที่ก่อให้เกิดผลขาดทุน ( หรือ กําไร ) จากความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงในรายการอ้างอิงของมูลค่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงหรือรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจะมีนัยสําคัญ ในทางกลับกัน หากใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง รายการอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย โดยที่การเปลี่ยนแปลงใน มูลค่าของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงหรือรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เป็น ผลมาจากความเสี่ยงด้านเครดิตแม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อมูลค่า มากกว่า เมื่อเทียบกับที่รายการอ้างอิงไม่ได้ส่งผลกระทบแบบมีอิทธิพลแต่อย่างใด ข 6.4.8 ตัวอย่างความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงคือเมื่อ กิจการทําการป้องกันความเสี่ยงจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยใช้อนุพันธ์ที่ไม่มีหลักทรัพย์ คํ้าประกัน หากคู่สัญญาของอนุพันธ์ดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือในการชําระหนี้ลดลงอย่างยิ่งยวด ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาอาจมีมากเกินกว่าผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตามมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยง ขณะที่การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ารายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับ การเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราส่วนการป ้ องกันความเสี่ยง (Hedge ratio) ข 6.4.9 ตามเกณฑ์ในการพิจารณาความมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง อัตราส่วนการป้องกัน ความเสี่ยงของความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงจะต้องคํานวณจากจํานวนรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงที่กิจการป้องกันความเสี่ยงจริง และปริมาณเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงที่กิจการใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากรายการดังกล่าว ดังนั้น หากกิจการป้องกันความ เสี่ยงตํ่ากว่าร้อยละ 100 ของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ร้อยละ 85 กิจการต้องเลือกกําหนด ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่ให้ ผลร้อยละ 85 ของฐานะเปิดต่อความเสี่ยงทั้งหมด ตามปริมาณที่ใช้เครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงตามจริงที่ร้อยละ 85 เป็นต้น ในทํานองเดียวกัน ตัวอย่างเช่น กิจการป้องกัน ความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือทางการเงินมูลค่าตามสัญญา 40 กิจการต้องเลือกกําหนด ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง โดยใช้อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่เป็นผล มาจากการใช้เครื่องมือทางการเงินมูลค่า 40 ( กล่าวคือ กิจการต้องไม่ใช้อัตราส่วนการป้องกัน ความเสี่ยงที่คํานวณมาจากปริมาณทั้งหมดของเครื่องมือทางการเงินที่ถืออยู่ซึ่งเป็นปริมาณ ที่สูงกว่าที่ใช้จริง หรือ ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่คํานวณจากปริมาณที่ตํ่ากว่าความเป็นจริง ) กับ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 175 ปริมาณของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่กิจการต้องการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ เครื่องมือทางการเงินมูลค่า 40 ดังกล่าวนั้น ข 6.4.10 อย่างไรก็ตาม การเลือกกําหนดความสัมพันธ์การป้องกันความเสี่ยงโดยใช้อัตราส่วน การป้องกันความเสี่ยงเดียวกันกับที่คํานวณจากจํานวนรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงและ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่กิจการใช้ตามจริง จะต้องไม่ทําให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง สัดส่วนของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงและเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่ก่อให้เกิด ความไม่มีประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยง ( โดยไม่เกี่ยวเนื่องกับการรับรู้หรือไม่รับรู้ ) ซึ่งอาจทําให้ผลทางบัญชีไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการบัญชีป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น ในการเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องมีการปรับอัตราส่วน การป้องกันความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากจํานวนรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงและเครื่องมือ ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่กิจการใช้ตามจริง หากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาความไม่สมดุลดังกล่าว ข 6.4.11 ตัวอย่างของการพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับการประเมินว่าผลลัพธ์ทางบัญชีนั้นไม่สอดคล้องกับ จุดประสงค์ของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงคือ ข 6.4.11.1 พิจารณาว่าอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงนั้นมีการกําหนดขึ้นเพื่อที่จะหลีกเลี่ยง การรับรู้ความไม่มีประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด หรือ กําหนดขึ้นเพื่อเป็นการปรับปรุงการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม หรือ สําหรับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่ม การใช้บัญชีเพื่อบันทึกมูลค่ายุติธรรม แต่มิได้หักกลบการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงนั้น หรือไม่ และ ข 6.4.11.2 พิจารณาว่ามีเหตุผลเชิงพาณิชย์หรือไม่สําหรับการกําหนดสัดส่วนของจํานวน รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงและเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ถึงแม้ว่า สัดส่วนดังกล่าวจะก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยงก็ตาม ตัวอย่างเช่น เมื่อกิจการเข้าทําสัญญาและเลือกกําหนดจํานวนเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงแต่มิได้เป็นจํานวนที่เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุดสําหรับ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง เนื่องจาก ปริมาณมาตรฐานของเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงไม่สามารถกําหนดให้พอดีกับจํานวนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงได้ ( ประเด็นปัญหาจํานวนมาตรฐาน (a ‘lot size issue’)) ดังเช่น เมื่อ กิจการต้องการป้องกันความเสี่ยงสําหรับการซื้อกาแฟ 100 ตัน ด้วยการทํา สัญญาซื้อกาแฟล่วงหน้ามาตรฐานที่มีมูลค่า 37,500 ปอนด์ กิจการสามารถเลือก ที่จะซื้อได้เพียงห้าหรือหกสัญญาเท่านั้น ( เทียบเท่า 85.0 และ 102.1 ตัน ตามลําดับ ) เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงของการซื้อกาแฟ 100 ตัน ในกรณี ดังกล่าว กิจการเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่คํานวณจากจํานวนสัญญาซื้อกาแฟล่วงหน้า มาตรฐานที่กิจการใช้จริง เนื่องจากการไม่มีประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยง อันเกิดจากการไม่สามารถจับคู่กันได้ในสัดส่วนของจํานวนรายการที่มีการป้องกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 176 ความเสี่ยงและเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง จะไม่ส่งผลลัพธ์ทางบัญชี ไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยง ความถี่ในการประเมินว่าการป ้ องกันความเสี่ยงนั้นมีประสิทธิผลหรือไม่ ข 6.4.12 กิจการต้องประเมินความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงตั้งแต่วันที่เริ่มกําหนด ความสัมพันธ์ดังกล่าว และต้องประเมินอย่างต่อเนื่องว่าความสัมพันธ์ของการป้องกันความ เสี่ยงยังเป็นไปตามข้อกําหนดของความมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ อย่างน้อยที่สุดกิจการต้องประเมินทุกวันที่รายงาน หรือ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมี นัยสําคัญซึ่งกระทบต่อความมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะ เกิดขึ้นก่อน การประเมินนี้เกี่ยวข้องกับความคาดหวังเกี่ยวกับความมีประสิทธิผลใน การป้องกันความเสี่ยงและดังนั้นจึงเป็นการคาดการณ์ไปข้างหน้าเท่านั้น วิธีที่ใช้ในการประเมินว่าการป ้ องกันความเสี่ยงนั้นมีประสิทธิผลหรือไม่ ข 6.4.13 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มิได้กําหนดวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นการเฉพาะในการประเมิน ว่าความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงนั้นเป็นไปตามข้อกําหนดของความมีประสิทธิผล หรือไม่ อย่างไรก็ตาม กิจการควรใช้วิธีการที่สามารถบอกถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง รวมถึง สาเหตุที่ก่อให้เกิดการไม่มีประสิทธิผลใน การป้องกันความเสี่ยง วิธีการที่ใช้อาจเป็นวิธีเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง ข 6.4.14 ตัวอย่างเช่น เมื่อข้อกําหนดที่สําคัญ ( เช่น จํานวนเงินที่กําหนดไว้ ระยะเวลาครบกําหนด และ รายการอ้างอิง ) ของทั้งเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง มีการจับคู่ หรือ มีลักษณะที่สอดคล้องกันอย่างมาก กิจการอาจสามารถสรุปได้จากเกณฑ์ การประเมินเชิงคุณภาพของข้อกําหนดที่สําคัญของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงว่ามีมูลค่าในทิศทางตรงข้ามเนื่องจากมีความเสี่ยงที่เหมือนกัน และ ด้วยเหตุนี้ จึงมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการ ที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.4.4 ถึง ข 6.4.6) ข 6.4.15 การที่อนุพันธ์อยู่ในสถานะทําเงินหรือสูญเงินเมื่อถูกเลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงนั้นมิได้หมายความในทันทีว่าการประเมินเชิงคุณภาพนั้นไม่เหมาะสม หากแต่ขึ้นอยู่ กับสภาพแวดล้อมว่าการไม่มีประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากข้อเท็จจริง ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญที่การประเมินเชิงคุณภาพนั้นไม่สามารถ อธิบายได้หรือไม่ ข 6.4.16 ในทางกลับกัน หากข้อกําหนดที่สําคัญของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะก่อให้เกิดความไม่แน่นอนใน การที่จะหักกลบผลของตราสารทั้งสอง ผลที่ตามมาก็คือ ความมีประสิทธิผลในการป้องกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 177 ความเสี่ยงในระหว่างระยะเวลาของการกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงก็จะ คาดการณ์ยากขึ้น ในสถานการณ์ดังกล่าว กิจการอาจทําได้เพียงสรุปความโดยอิงจากการ ประเมินเชิงปริมาณว่ารายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงและเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง มีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจต่อกัน ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.4.4 ถึง ข 6.4.6) ในบางสถานการณ์ อาจจะต้องใช้การประเมินเชิงปริมาณเพื่อประเมินว่า อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่ใช้เพื่อ เลือกกําหนดความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงนั้นเป็นไปตามข้อกําหนดของความมี ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.4.9 ถึง ข 6.4.11) กิจการ สามารถใช้วิธีการเดียวกันหรือแตกต่างกันก็ได้สําหรับวัตถุประสงค์ในการประเมินความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจและประเมินความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง ข 6.4.17 หากมีการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อความมีประสิทธิผลในการป้องกัน ความเสี่ยง กิจการอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการในการประเมินความสัมพันธ์ในการป้องกันความ เสี่ยงเพื่อประเมินว่ายังเป็นไปตามข้อกําหนดของความมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง หรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าวิธีการดังกล่าวนั้นยังคงสามารถใช้อธิบายและติดตามคุณลักษณะที่ เกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง รวมถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดความไม่มี ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงได้ ข 6.4.18 การบริหารความเสี่ยงของกิจการเป็นแหล่งข้อมูลหลักในการประเมินผลว่าความสัมพันธ์ ในการป้องกันความเสี่ยงยังเป็นไปตามข้อกําหนดของความมีประสิทธิผลในการป้องกัน ความเสี่ยงหรือไม่ นั่นหมายความว่าข้อมูลจากฝ่ายบริหาร ( หรือบทวิเคราะห์ ) ที่ใช้ ประกอบการตัดสินใจสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการประเมินว่าความสัมพันธ์ในการป้องกัน ความเสี่ยงยังเป็นไปตามข้อกําหนดของความมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงอยู่หรือไม่ ข 6.4.19 เอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการกําหนดความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงของกิจการ นั้น หมายรวมถึง แนวทางที่ใช้ในการประเมินความมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง รวมถึงวิธีการต่างๆ ที่ใช้ประเมินด้วยเอกสารแสดงความสัมพันธ์ดังกล่าวต้องได้รับ การปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในวิธีการที่ใช้ ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.4.17) การบัญชีสําหรับความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไข ( หมวดที่ 6.5) ข 6.5.1 ตัวอย่างของการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมก็คือการป้องกันความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรมของตราสารหนี้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ไม่ว่า ผู้ออกตราสารหรือผู้ถือตราสารก็สามารถเข้าทําสัญญาเพื่อป้องกันความเสี่ยงได้ ข 6.5.2 จุดประสงค์ของการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด คือเพื่อชะลอการรับรู้กําไรหรือขาดทุน จากเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากกระแสเงินสดคาดการณ์ในอนาคตที่อาจส่งผล กระทบต่อกําไรหรือขาดทุนในระหว่างหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างของ การป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด คือการใช้สัญญาแลกเปลี่ยนในอนาคต (swap) ในการ เปลี่ยนตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ( ไม่ว่าจะวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายหรือมูลค่า

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 178 ยุติธรรม ) ให้เป็นตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ( กล่าวคือ การป้องกันความเสี่ยงของธุรกรรม ในอนาคตโดยที่กระแสเงินสดในอนาคตที่ถูกป้องกันความเสี่ยงคือดอกเบี้ยจ่ายในอนาคต ) ในทางกลับกัน รายการซื้อตราสารทุนคาดการณ์ที่เมื่อมีการถือครองแล้วจะปฏิบัติด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนนั้น เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของรายการที่ไม่สามารถเป็นรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดได้ เนื่องจากผลกําไรหรือขาดทุนในเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงที่จะชะลอการรับรู้นั้น ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนประเภทเป็นกําไรหรือขาดทุนที่ จะใช้หักกลบความเสี่ยงในช่วงระยะเวลาใดๆ ได้อย่างเหมาะสม ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ รายการ ซื้อตราสารทุนในอนาคต ที่เมื่อมีการถือครองแล้วจะปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นนั้นไม่สามารถที่จะเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงใน กระแสเงินสดเช่นเดียวกัน ข 6.5.3 การป้องกันความเสี่ยงของข้อผูกมัดที่แน่นหนา ( ตัวอย่างเช่น หน่วยงานผลิตไฟฟ้ามีข้อผูกมัด ที่ยังไม่รับรู้ในการซื้อเชื้อเพลิงที่ราคาคงที่เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคา เชื้อเพลิงในอนาคต ) คือ การป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ดังนั้น การป้องกันความเสี่ยงในลักษณะดังกล่าวถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม ตามย่อหน้าที่ 6.5.4 การป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของข้อผูกมัดที่แน่นหนา สามารถเลือกใช้วิธีปฏิบัติสําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดได้ การประเมินความไม่มีประสิทธิผลของการป ้ องกันความเสี่ยง ข 6.5.4 ในการประเมินความไม่มีประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องพิจารณามูลค่าเงิน ตามเวลาด้วย ดังนั้น กิจการพิจารณามูลค่าของรายการที่ได้รับมีการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ มูลค่าปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงได้รวม ผลกระทบจากมูลค่าเงินตามเวลาด้วย ข 6.5.5 ในการคํานวณการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเพื่อวัดความไม่มี ประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยงนั้น กิจการอาจพิจารณาใช้อนุพันธ์ที่มีข้อกําหนด เหมือนกันกับข้อกําหนดที่สําคัญของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงหรือรายการที่คาดการณ์ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงก็ได้ ( วิธีการนี้หมายถึง วิธีการอนุพันธ์เสมือน (hypothetical derivative)) ตราสารนั้นจะถูกนํามาปรับมาตรวัดโดยระดับของราคา ( หรืออัตรา ) ที่ป้องกัน ความเสี่ยงแล้ว ตัวอย่างเช่น หากการป้องกันความเสี่ยงทําขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงสองทาง ที่ราคาตลาด อนุพันธ์เสมือน (hypothetical derivative) จะทําหน้าที่เป็นสัญญาฟอร์เวิร์ด สมมติที่มีมูลค่าตลาดเท่ากับศูนย์ ณ เวลาที่เลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง หากการป้องกันความเสี่ยงทําขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางเดียว อนุพันธ์เสมือนจะแสดง มูลค่าที่แท้จริงของสิทธิเลือก ณ เวลาที่เลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง มีสถานะเสมอตัว หากระดับราคาที่ถูกป้องกันความเสี่ยงนั้นอยู่ที่ระดับเดียวกับราคาตลาด หรือ อยู่ในสถานะสูญเงิน หากระดับราคาที่ถูกป้องกันความเสี่ยงนั้นอยู่สูงกว่าระดับราคาตลาด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 179 ( หากเป็นกรณีของการป้องกันความเสี่ยงของสถานะซื้อ จะหมายถึง หากระดับราคาที่ถูก ป้องกันความเสี่ยงอยู่ตํ่ากว่าระดับราคาตลาด ) การใช้อนุพันธ์เสมือนเป็นอีกวิธีที่สามารถ คํานวณการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง อนุพันธ์เสมือนจะ เลียนแบบรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง จึงส่งผลให้มีผลลัพธ์ประหนึ่งว่าการเปลี่ยนแปลง มูลค่านั้นถูกคํานวณโดยวิธีการที่แตกต่างออกไป ดังนั้น การใช้อนุพันธ์เสมือน จึงไม่ใช่วิธีการ หามูลค่าของอนุพันธ์เสมือน หากแต่เป็นเครื่องมือคํานวณทางคณิตศาสตร์เพื่อหามูลค่าของ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น อนุพันธ์เสมือนจึงไม่สามารถรวมลักษณะที่มีผลต่อ การกําหนดมูลค่าในเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในเฉพาะรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงเท่านั้น ( แต่ไม่รวมอยู่ในรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ) ตัวอย่างเช่น ตราสารหนี้ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ( ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือลอยตัว ) เมื่อใช้ วิธีอนุพันธ์เสมือนในการคํานวณหาการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าตราสารหนี้ดังกล่าว หรือ มูลค่า ปัจจุบันของส่วนเปลี่ยนแปลงสะสมในกระแสเงินสด อนุพันธ์เสมือนจะไม่สามารถเพียงแค่ อ้างเรื่องต้นทุนการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลเงินกันเท่านั้น ถึงแม้ว่า อนุพันธ์อ้างอิงนั้นจะมี ต้นทุนที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลกําหนดไว้แล้วก็ตาม ( ตัวอย่างเช่น สัญญา แลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยข้ามสกุลเงิน ) ข 6.5.6 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงซึ่งถูกกําหนดโดยวิธีอนุพันธ์ เสมือน อาจสามารถนําไปใช้เพื่อการประเมินว่าความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงเป็นไป ตามข้อกําหนดของความมีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ การปรับสมดุลความสัมพันธ์ของการป ้ องกันความเสี่ยงและการเปลี่ยนอัตราส่วน การป ้ องกันความเสี่ยง ข 6.5.7 การปรับสมดุล หมายถึง การปรับเปลี่ยนปริมาณของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงหรือ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงของความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงที่ได้เลือกกําหนด มาก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อเป็นการรักษาให้อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงยังคงเป็นการป้องกัน ความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล การเปลี่ยนแปลงในปริมาณรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงหรือ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากนี้จะไม่เข้าเงื่อนไขที่กําหนด ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินข้อนี้ ข 6.5.8 การปรับสมดุลจะถูกปฏิบัติในฐานะที่เป็นการขยายความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงให้ ต่อเนื่องตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ ข 6.5.9 ถึง ข 6.5.21 ในการปรับสมดุล หากเกิด ความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงตามความสัมพันธ์ที่กําหนดจะถูกพิจารณาและ รับรู้ทันทีที่มีการปรับปรุงความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง ข 6.5.9 การปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงจะทําให้กิจการสามารถปรับตัวให้เข้ากับ ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากรายการอ้างอิงหรือตัวแปรความเสี่ยงต่างๆ ตัวอย่างเช่น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 180 ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงมีรายการอ้างอิงที่ต่างกันแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน มีการ เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของรายการอ้างอิงทั้งสองนั้น ( เช่น ดัชนี อัตรา หรือ ราคาใดๆ ที่ต่างกันแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ) ดังนั้น การปรับสมดุลจะทําให้ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงยังคงมีดําเนินต่อไปได้ ในสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ ระหว่างเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไป ในทิศทางที่ยังสามารถหักกลบกันได้โดยการปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยง ข 6.5.10 ตัวอย่างเช่น กิจการต้องการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสกุล ก โดยใช้อนุพันธ์ประเภทเงินตราต่างประเทศที่อ้างอิงกับเงินตราต่างประเทศสกุล ข และเงินตรา ต่างประเทศทั้งสองสกุลเป็นประเภทอัตราคงที่ ( กล่าวคือ อัตราแลกเปลี่ยนถูกกําหนดให้ เคลื่อนไหวภายในกรอบ หรือ ที่ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดโดยธนาคารกลางหรือ หน่วยงานที่มีอํานาจรับผิดชอบอื่นๆ ) หากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุล ก และ ข มีการ เปลี่ยนแปลงไป ( กล่าวคือ มีการกําหนดกรอบหรืออัตราแลกเปลี่ยนใหม่ ) การปรับสมดุลของ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงเพื่อสะท้อนอัตราแลกเปลี่ยนใหม่นั้น จะทําให้มั่นใจ ได้ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวยังคงเป็นไปตามข้อกําหนดของการประเมินประสิทธิผลใน การป้องกันความเสี่ยงผ่านอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป ในทางกลับกัน หากอนุพันธ์ประเภทเงินตราต่างประเทศมีการปฏิบัติผิด สัญญา การปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงอาจมิได้ทําให้ความสัมพันธ์ของการ ป้องกันความเสี่ยงยังคงมีประสิทธิผลตามข้อกําหนด ดังนั้น การปรับสมดุลจึงไม่ได้เป็นตัว กําหนดให้ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงยังคงดําเนินต่อไปในสถานการณ์ที่ถึงแม้จะ ปรับอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงแล้ว ความสัมพันธ์ของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง และรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงก็ยังไม่สามารถหักกลบกันได้ ข 6.5.11 การเปลี่ยนแปลงที่ทําให้เกิดการหักกลบกันระหว่างส่วนเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและมูลค่ายุติธรรมหรือกระแสเงินสดของรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงบางประเภทเท่านั้นที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงระหว่างเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความ เสี่ยง กิจการต้องวิเคราะห์หาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงในช่วงระหว่างระยะเวลา สัญญาและประเมินว่าส่วนเปลี่ยนแปลงในการหักกลบนั้นมีลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ ข 6.5.11.1 อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงมีความผันผวนแต่ยังสามารถสะท้อนความสัมพันธ์ ระหว่างเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ได้อย่างเหมาะสม ข 6.5.11.2 มีสิ่งบ่งชี้ว่าอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงนั้นไม่สามารถสะท้อนความสัมพันธ์ ระหว่างเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงได้ อย่างเหมาะสม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 181 กิจการทําการประเมินผลตามข้อกําหนดของการประเมินประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง กล่าวคือ เพื่อให้มั่นใจว่าความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้นไม่ได้สะท้อน ความไม่สมดุลในสัดส่วนของปริมาณเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง อันจะก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงขึ้น ( ทั้งที่รับรู้แล้วและยังไม่ได้รับรู้ ) ซึ่งทําให้ผลทางการบัญชีผิดไปจากวัตถุประสงค์ของการบัญชี ป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น การประเมินจึงต้องใช้วิจารณญาณ ข 6.5.12 ความผันผวนของอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยง ( ซึ่งส่งผลให้เกิดวามไม่มีประสิทธิผลใน การป้องกันความเสี่ยง ) จะไม่สามารถทําให้ลดลงได้โดยการปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกัน ความเสี่ยงเพื่อตอบสนองต่อผลลัพธ์ใดโดยเฉพาะ ดังนั้น ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว การ เปลี่ยนแปลงระดับของการหักกลบจึงเกี่ยวข้องกับประเด็นของการวัดมูลค่าและการรับรู้ความ ไม่มีประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยงแต่ไม่ต้องมีการปรับสมดุล ข 6.5.13 ในทางกลับกัน หากการเปลี่ยนแปลงระดับของการหักกลบมีการบ่งชี้ว่าความผันผวนเกิดจาก อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่แตกต่างจากอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่ใช้ใน การกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง หรือมีสิ่งบ่งชี้ว่ามีแนวโน้มที่จะทําให้มี ความแตกต่างจากอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงนั้นมากขึ้นแล้ว ความไม่มีประสิทธิผลของ การป้องกันความเสี่ยงในกรณีนี้สามารถปรับลดลงได้โดยการปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกัน ความเสี่ยง ซึ่งหากปล่อยให้อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงนั้นยังคงอยู่ในระดับเดิม จะยิ่งส่งผลให้ความไม่มีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ในกรณีนี้ กิจการต้องทําการประเมินว่า ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้นได้สะท้อนความไม่สมดุลระหว่างสัดส่วนของ ปริมาณรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงกับปริมาณเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ซึ่งจะ ก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิผลหรือไม่ ( โดยรับรู้หรือไม่ก็ได้ ) ซึ่งอาจทําให้เกิดผลทางบัญชี ที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการบัญชีป้องกันความเสี่ยง หากอัตราส่วนการป้องกัน ความเสี่ยงถูกปรับปรุง ก็จะส่งผลกระทบต่อการวัดมูลค่าและการรับรู้ความไม่มีประสิทธิผลได้ เนื่องจากในการปรับสมดุล ความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงของความสัมพันธ์ ที่ถูกกําหนดขึ้นจะต้องได้รับการพิจารณาและรับรู้ทันที ก่อนที่จะมีการปรับปรุงความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ ข 6.5.8 ข 6.5.14 สําหรับจุดประสงค์ของการบัญชีป้องกันความเสี่ยง การปรับสมดุลนั้น หมายถึง หลังจาก ที่ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงได้ถูกกําหนดขึ้น กิจการได้ปรับเปลี่ยนจํานวนของ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงหรือรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงไปตามสภาพแวดล้อมที่ ทําให้เกิดผลกระทบต่ออัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยง โดยปกติแล้ว การปรับปรุงนี้ควร สะท้อนถึงจํานวนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงหรือรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่ กิจการใช้จริง อย่างไรก็ตาม กิจการจะต้องปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่คํานวณ มาจากจํานวนของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงหรือเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ที่ได้ใช้จริง หากเข้าลักษณะดังต่อไปนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 182 ข 6.5.14.1 อัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่คํานวณมาจากจํานวนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงหรือรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่ได้ใช้จริง จะต้องสะท้อนถึงความไม่สมดุลอันก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิผลของ การป้องกันความเสี่ยงซึ่งอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางบัญชีที่ไม่สอดคล้องกับ จุดประสงค์ของการบัญชีป้องกันความเสี่ยง หรือ ข 6.5.14.2 กิจการได้คงจํานวนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงตามที่ใช้จริงเอาไว้ ซึ่งสัดส่วนของจํานวนดังกล่าว ภายใต้ สภาพแวดล้อมใหม่ ได้ก่อให้เกิดอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงที่สะท้อนถึง ความไม่สมดุลอันก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยงซึ่ง อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางบัญชีที่ไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการบัญชีป้องกัน ความเสี่ยง ( นั่นหมายถึงว่า กิจการจะต้องไม่ทําให้เกิดความไม่สมดุลเกิดขึ้นเพียง เพราะละเลยการปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ) ข 6.5.15 การปรับสมดุลไม่สามารถนํามาถือปฏิบัติหากวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงสําหรับ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป แต่จะต้องยกเลิกการบัญชี ป้องกันความเสี่ยงสําหรับความสัมพันธ์ดังกล่าว ( ถึงแม้ว่ากิจการอาจเลือกกําหนดความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงอันใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงหรือรายการ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงของความสัมพันธ์ที่มีมาก่อน ตามที่ได้อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ ข 6.5.28) ข 6.5.16 หากความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงมีการปรับสมดุล การปรับปรุงอัตราส่วน การป้องกันความเสี่ยงอาจได้รับผลกระทบในหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้ ข 6.5.16.1 สัดส่วนของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ( ในขณะเดียวกัน ก็ลดสัดส่วนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงลง ) โดย ข 6.5.16.1.1 เพิ่มปริมาณของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง หรือ ข 6.5.16.1.2 ลดปริมาณของจํานวนเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ข 6.5.16.2 สัดส่วนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ ( ในขณะเดียวกัน ก็ลดสัดส่วนของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงลง ) โดย ข 6.5.16.2.1 เพิ่มปริมาณของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง หรือ ข 6.5.16.2.2 ลดปริมาณของจํานวนรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงปริมาณหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจํานวนที่เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ใน การป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น ปริมาณที่ลดลงไม่จําเป็นจะต้องหมายความว่ารายการนั้นหรือ ธุรกรรมนั้นจะไม่มีอยู่อีกต่อไป หรืออาจจะไม่ได้ถูกคาดว่าจะเกิดขึ้น แต่หมายถึง รายการ เหล่านั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงสามารถส่งผลให้กิจการนั้นยังคงใช้อนุพันธ์ นั้นต่อไปได้ แต่มีเพียงแค่บางส่วนของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้นที่ยังคงถูกใช้ เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ หากการปรับสมดุลยังสามารถใช้ได้โดยการลดเพียงปริมาณเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 183 ของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงลง แต่กิจการยังคงต้องถือตราสารนั้นถึงแม้ จะไม่จําเป็นต้องใช้ตราสารนั้นอีกต่อไป ในกรณีนี้ส่วนของอนุพันธ์ที่ไม่ได้ถูกใช้ไป ในการป้องกันความเสี่ยงต้องถูกปฏิบัติด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ( ถ้าหาก อนุพันธ์นั้นไม่ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในความสัมพันธ์อื่นๆ ) ข 6.5.17 การปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงโดยการเพิ่มปริมาณรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงไม่กระทบกับวิธีการวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยง การวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กับปริมาณที่ถูกกําหนดในครั้งก่อนหน้า ก็จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากวันที่มีการปรับสมดุล ส่วนเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงต้อง นับรวมกับส่วนเปลี่ยนแปลงมูลค่าของปริมาณรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงส่วนที่เพิ่มขึ้น เข้าไปด้วย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะถูกวัดและใช้เป็นตัวอ้างอิง โดยเริ่มจากวันที่มีการปรับ สมดุล แทนที่วันกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้น ตัวอย่างเช่น หากแรกเริ่ม กิจการป้องกันความเสี่ยงในสินค้าโภคภัณฑ์ปริมาณ 100 ตัน ที่ราคาฟอร์เวิร์ด 80 บาท ( ราคา ฟอร์เวิร์ดตั้งแต่เริ่มความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงนี้ ) และต่อมาเพิ่มจํานวนเข้าไปอีก 10 ตัน ในการปรับสมดุล เมื่อราคาฟอร์เวิร์ดเปลี่ยนมาเป็น 90 บาท รายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงหลังจากปรับสมดุลแล้วประกอบไปด้วยสองกลุ่ม คือ 100 ตัน ที่ถูกป้องกัน ความเสี่ยง ณ ราคา 80 บาท และ 10 ตัน ที่ถูกป้องกันความเสี่ยง ณ ราคา 90 บาท ข 6.5.18 การปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงโดยการลดปริมาณเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงลง จะไม่กระทบกับวิธีการวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยง การวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ในส่วนที่ยังใช้ในการเลือกกําหนดความสัมพันธ์ จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ อย่างไรก็ตาม จากวันที่มีการปรับสมดุล ปริมาณที่ลดลงของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงจะไม่ถูกนับเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น หากแรกเริ่ม กิจการ ป้องกันความเสี่ยงในราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยใช้อนุพันธ์ปริมาณ 100 ตัน เป็นเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยง และต่อมามีการปรับสมดุลโดยการลดปริมาณลง 10 ตัน ดังนั้น จะเหลือ ปริมาณเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเพียง 90 ตัน ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.5.16 เกี่ยวกับแนวปฏิบัติ สําหรับปริมาณของอนุพันธ์ ( จํานวน 10 ตัน ) ที่ไม่ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป ) ข 6.5.19 การปรับอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงโดยการเพิ่มปริมาณเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง จะไม่ส่งผลกระทบต่อวิธีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง การวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการกําหนดความสัมพันธ์ก็จะไม่ได้รับผลกระทบด้วย อย่างไรก็ตาม จากวันที่มีการ ปรับสมดุล การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงจะต้องรวม ส่วนเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของปริมาณเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในส่วนที่ใช้เพิ่มเติมเข้า มาด้วย การเปลี่ยนแปลงจะถูกวัดโดยเริ่มตั้งแต่และอ้างอิงจากวันที่มีการปรับสมดุลแทนวันที่

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 184 เลือกกําหนดความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น หากแรกเริ่ม กิจการป้องกัน ความเสี่ยงในราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยใช้อนุพันธ์ปริมาณ 100 ตัน เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยง และต่อมามีการปรับสมดุลโดยการเพิ่มปริมาณอีก 10 ตัน ปริมาณเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงจะเพิ่มเป็นทั้งหมด 110 ตัน การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงก็คือส่วนเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์ทั้งหมดที่ รวมกันทําให้ปริมาณรวมเท่ากับ 110 ตัน อนุพันธ์เหล่านี้สามารถมี ( หรืออาจจะมี ) ข้อกําหนด ที่สําคัญแตกต่างกันไปก็ได้ เช่น อัตราซื้อขายล่วงหน้า เนื่องจากการทําสัญญาเกิดขึ้นใน ช่วงเวลาที่ต่างกัน ( รวมถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะเลือกกําหนดอนุพันธ์สําหรับความสัมพันธ์ใน การป้องกันความเสี่ยงหลังจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ) ข 6.5.20 การปรับอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงโดยการลดปริมาณรายการที่ได้รับการป้องกัน ความเสี่ยงถึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อวิธีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือ ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง การวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปริมาณซึ่งยังถูกกําหนดให้รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงต่อไปนั้น การเลือกกําหนดไม่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นับจากวันที่มีการปรับสมดุล รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงในส่วนที่เป็นปริมาณที่ถูกปรับลดลงนั้นไม่เป็นส่วนหนึ่งของ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น เมื่อแรกเริ่ม กิจการป้องกัน ความเสี่ยงในสินค้าโภคภัณฑ์ในปริมาณ 100 ตัน ที่ราคาฟอร์เวิร์ด 80 บาทและต่อมาลด ปริมาณสินค้าโภคภัณฑ์ลง 10 ตันเพื่อปรับสมดุล รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงภายหลัง การปรับสมดุลจะเหลือเพียง 90 ตัน และมีการป้องกันความเสี่ยงที่ราคา 80 บาท รายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงจํานวน 10 ตัน ที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยงอีกต่อไปจะถูกปฏิบัติตามข้อกําหนดของการยกเลิกการใช้การบัญชีป้องกัน ความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.6 ถึง 6.5.7 และย่อหน้าที่ ข 6.5.22 ถึง ข 6.5.28) ข 6.5.21 เมื่อมีการปรับสมดุลของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องปรับปรุง การวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงที่คาดว่าจะ ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง สําหรับระยะเวลาที่เหลือให้เป็น ปัจจุบันเสมอ ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.4.2) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยงก็ต้องปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันด้วยเช่นเดียวกัน การยกเลิกการใช้การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง ข 6.5.22 การยกเลิกการใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงจะไม่มีผลย้อนหลัง โดยจะมีผลนับจากวันที่ไม่เข้า เงื่อนไขของการใช้บัญชีป้องกันความเสี่ยง ข 6.5.23 กิจการต้องไม่เลิกเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงและไม่ยุติความสัมพันธ์ ดังกล่าว หาก

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 185 ข 6.5.23.1 ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้นยังคงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ การบริหารความเสี่ยงบนพื้นฐานที่ยังเข้าเงื่อนไขของการบัญชีป้องกันความเสี่ยง ( กล่าวคือ กิจการยังคงดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงนั้นอยู่ ) และ ข 6.5.23.2 ยังคงเข้าเงื่อนไขตามข้อกําหนดที่เหลืออยู่ทุกข้อ ( หลังจากที่คํานึงถึงการปรับสมดุล ของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงนั้น หากมีการปรับสมดุลเกิดขึ้น ) ข 6.5.24 เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินนี้ กลยุทธ์การบริหาร ความเสี่ยงของกิจการนั้นแตกต่างจากวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง กลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยงจะถูกกําหนดขึ้นจากระดับสูงสุด ซึ่งเป็นการกําหนดว่ากิจการจะบริหาร ความเสี่ยงด้วยวิธีใด กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยทั่วไปจะมีการบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่กิจการ จะต้องเผชิญและกําหนดวิธีการบริหารกับความเสี่ยงเหล่านั้น โดยปกติกลยุทธ์การบริหาร ความเสี่ยงจะเป็นเครื่องมือในระยะยาวและมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับเปลี่ยนตาม สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ( ตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยหรือระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ แตกต่างกันซึ่งนําไปสู่ระดับของการป้องกันความเสี่ยงที่แตกต่างออกไป ) กลยุทธ์นั้นมีการ กําหนดเป็นลายลักษณ์อักษรลงในเอกสารที่มีการจัดสรรให้กับฝ่ายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องผ่าน ทางนโยบายที่อาจมีการกําหนดแนวทางที่ลงในรายละเอียดมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงสําหรับแต่ละความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงมี ผลบังคับใช้ในระดับของความสัมพันธ์นั้นๆ ซึ่งเกี่ยวกับวิธีการที่เลือกกําหนดเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงเพื่อป้องกันความเสี่ยงในฐานะเปิดต่อความเสี่ยงในรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยง ดังนั้น กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงอาจเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ในการป้องกัน ความเสี่ยงที่แตกต่างกันซึ่งวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงนั้นสัมพันธ์กับการนํากลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยงในภาพรวม ตัวอย่างเช่น ข 6.5.24.1 กิจการมีกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ยจากการจัดหาเงินทุนใน ภาพรวมของกิจการซึ่งกําหนดเป็นช่วง (range) โดยอาจเป็นการผสมผสานกัน ระหว่างอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและอัตราดอกเบี้ยคงที่ กลยุทธ์ดังกล่าวอาจ กําหนดให้มีการคงสัดส่วนหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้ที่ระดับร้อยละ 20 ถึง ร้อยละ 40 โดยกิจการมีการตัดสินใจในการปรับใช้สัดส่วนที่เหมาะสมตามแต่ ช่วงเวลาตามกลยุทธ์ดังกล่าว ( กล่าวคือ จะมีการตัดสินใจเกี่ยวกับฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ยคงที่ให้อยู่ในช่วงอัตราร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 40) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทิศทางอัตราดอกเบี้ย หากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับตํ่า กิจการ อาจจะออกตราสารหนี้ที่มีดอกเบี้ยคงที่มากกว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง หนี้สินของกิจการที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีจํานวนเท่ากับ 100 บาท โดยใน จํานวนนี้มี 30 บาทที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ กิจการอาศัยช่วงที่อัตรา ดอกเบี้ยตํ่าเพื่อความได้เปรียบจึงออกตราสารหนี้เพิ่มอีก 50 บาทเพื่อจัดหา เงินทุนสําหรับการลงทุนสําคัญของกิจการ โดยเป็นการออกตราสารหนี้ที่มีอัตรา

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 186 ดอกเบี้ยคงที่ ด้วยเหตุที่อัตราดอกเบี้ยตํ่า กิจการตัดสินใจกําหนดสัดส่วนหนี้สิน ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้ที่ร้อยละ 40 ของหนี้สินทั้งหมด โดยลดปริมาณที่กิจการ เคยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวลงไป 20 บาททําให้เหลือหนี้สิน อัตราดอกเบี้ยคงที่เพียง 60 บาท ในสถานการณ์ดังกล่าว กลยุทธ์การบริหาร ความเสี่ยงไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน การนํากลยุทธ์ไป ใช้จริงได้เปลี่ยนแปลงไปและนั่นหมายถึงว่า สําหรับหนี้สินอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จํานวน 20 บาทที่เคยถูกป้องกันความเสี่ยงโดยเปลี่ยนให้เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ นั้น ขณะนี้ วัตถุประสงค์ของการป้องกันความเสี่ยงได้เปลี่ยนแปลงไป ( กล่าวคือ ในระดับของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง ) ผลที่ตามมาก็คือสําหรับ เหตุการณ์นี้ กิจการต้องยกเลิกการบัญชีป้องกันความเสี่ยงสําหรับจํานวน 20 บาท ที่เคยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยลดฐานะสัญญา แลกเปลี่ยนลง 20 บาทตามจํานวนเงินที่กําหนดไว้ แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม กิจการอาจจะคงปริมาณสัญญาแลกเปลี่ยนนั้นโดยไม่ยกเลิกก็ได้ ตัวอย่างเช่น กิจการอาจจะใช้เพื่อการป้องกันความเสี่ยงประเภทอื่นหรืออาจจะเปลี่ยนให้มาอยู่ ในบัญชีเพื่อการค้าก็ได้ในทางกลับกัน หากกิจการเลือกที่จะเปลี่ยนหนี้สินอัตรา ดอกเบี้ยคงที่จํานวนใหม่บางส่วนให้เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว การบัญชีป้องกัน ความเสี่ยงยังคงต้องดําเนินต่อไปสําหรับในส่วนที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัวก่อนหน้านี้ ข 6.5.24.2 ความเสี่ยงบางประเภทเป็นผลมาจากสถานะที่มีการเปลี่ยนบ่อยครั้ง เช่น ความเสี่ยง อัตราดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ที่มีสถานะเปิด (open portfolio) จํานวนตราสารหนี้ ที่เพิ่มขึ้นและการเลิกรับรู้รายการตราสารหนี้บางตัวทําให้ความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไป อยู่ตลอดเวลา ( แตกต่างจากการที่สถานะลดลงเพราะตราสารหนี้นั้นครบกําหนด ) เหล่านี้เป็นกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง (dynamic process) ที่ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงไม่สามารถที่จะอยู่คงที่ ได้ตลอดเป็นระยะเวลายาวนาน ผลที่ตามมาก็คือกิจการที่มีความเสี่ยงเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลาดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงอัตรา ดอกเบี้ยอยู่บ่อยครั้งเมื่อสถานะความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น ตราสารหนี้ ที่มีอายุคงเหลือ 24 เดือนถูกกําหนดให้เป็นตราสารที่มีการป้องกันความเสี่ยง สําหรับความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลา 24 เดือน สําหรับตราสารหนี้อายุ คงเหลืออื่นๆ ก็จะใช้วิธีการเดียวกัน หลังจากนั้นไม่นานกิจการก็ยกเลิก ความสัมพันธ์การป้องกันความเสี่ยงที่เคยถูกกําหนดก่อนหน้าสําหรับอายุคงเหลือ ต่างๆ ทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วกําหนดความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง ครั้งใหม่โดยอิงจากขนาดและประเภทของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่มีอยู่ ในขณะนั้น การหยุดใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงในกรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้นถูกกําหนดขึ้นมาจากวิธีที่กิจการ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 187 มองเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและตราสารที่มีการป้องกันความเสี่ยงตัวใหม่ แทนที่จะคํานึงถึงเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและตราสารที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงที่ได้กําหนดความสัมพันธ์ไปก่อนหน้า สําหรับกลยุทธ์การบริหาร ความเสี่ยงยังคงเหมือนเดิม แต่สําหรับความสัมพันธ์ที่เคยกําหนดก่อนหน้านั้น ไม่มีจุดประสงค์ของการป้องกันความเสี่ยงคงอยู่อีกต่อไป ในสถานการณ์นี้ การหยุดใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับขอบเขตของจุดประสงค์ของ การป้องกันความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละสถานการณ์ของกิจการและ อาจกระทบกับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดหรือเพียง บางความสัมพันธ์ในแต่ละอายุคงเหลือ หรือ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงเท่านั้น ข 6.5.24.3 กิจการมีกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่ใช้จัดการความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศจาก ประมาณการยอดขายและลูกหนี้การค้าที่อาจมีเพิ่มขึ้น ภายใต้กลยุทธ์นี้ กิจการ จัดการกับความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศที่ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง รูปแบบหนึ่ง ณ จุดที่มีการรับรู้ลูกหนี้การค้านั้น หลังจากนั้น กิจการก็ไม่จัดการ ความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศในรูปแบบนั้นอีกต่อไป แต่หันมาใช้การป้องกันความ เสี่ยงเงินตราต่างประเทศจากลูกหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้าและอนุพันธ์ที่เป็นเงินสกุล เดียวกันในลักษณะแบบองค์รวม ( ซึ่งจะไม่ขึ้นกับรายการที่คาดการณ์ที่ยังไม่เกิด ขึ้นจริง ) ในแง่ของการบันทึกบัญชี วิธีการนี้เรียกว่า การป้องกันความเสี่ยงแบบ ธรรมชาติ เนื่องจากผลกําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากรายการ ดังกล่าวจะถูกรับรู้ทันทีในกําไรหรือขาดทุน ผลที่ตามมาก็คือ ในแง่ของการบันทึก บัญชี หากความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงได้ถูกเลือกกําหนดขึ้นในช่วงเวลา จนกระทั่งถึงวันครบกําหนดจ่ายเงิน ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะต้องถูกยกเลิกเมื่อมี การบันทึกบัญชีลูกหนี้การค้านั้นเนื่องจากจุดประสงค์ของการป้องกันความเสี่ยงใน ความสัมพันธ์ที่ป้องกันความเสี่ยงนั้นไม่มีอีกต่อไป ความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ ณ ขณะนี้ ได้ถูกจัดการภายใต้กลยุทธ์เดิมแต่ด้วยวิธีที่เปลี่ยนไป ในทางกลับกัน หากกิจการมีจุดประสงค์ในการป้องกันความเสี่ยงที่แตกต่างไปแต่ยังคงใช้วิธีการ เดิมในการจัดการความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศที่เกิดจากการประมาณการ ยอดขายรวมถึงลูกหนี้การค้าที่อาจเกิดขึ้นตามมาตามความสัมพันธ์ในรูปแบบเดิม ไปจนถึงวันจ่ายชําระ กิจการก็ยังสามารถใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงนั้นได้ จนถึงวันดังกล่าว ข 6.5.25 การยกเลิกการบัญชีป้องกันความเสี่ยงสามารถส่งผลกระทบต่อ ข 6.5.25.1 ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงโดยรวมทั้งหมด หรือ ข 6.5.25.2 บางส่วนของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง ( ซึ่งหมายความว่าการบัญชี ป้องกันความเสี่ยงยังคงมีผลอยู่สําหรับส่วนอื่นของความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยง )

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 188 ข 6.5.26 ให้ยุติความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงโดยรวมทั้งหมดเมื่อไม่เข้าเงื่อนไขที่กําหนด ตัวอย่างเช่น ข 6.5.26.1 ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการบริหาร ความเสี่ยงที่ทําให้เกิดการใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยง ( กล่าวคือ กิจการไม่ได้มี จุดประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงนั้นอีกต่อไป ) ข 6.5.26.2 มีการขายหรือยกเลิกของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงหรือเครื่องมือทาง การเงิน ( โดยเกี่ยวข้องกับปริมาณทั้งหมดที่เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยง ) หรือ ข 6.5.26.3 ไม่มีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงกับ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป หรือความเสี่ยงด้านเครดิตเริ่มมี ผลกระทบต่อมูลค่ามากกว่าความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจนั้น ข 6.5.27 ให้ยุติความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงในบางส่วน ( และยังคงถือปฏิบัติการบัญชี ป้องกันความเสี่ยงต่อไปสําหรับส่วนอื่นที่เหลือ ) เมื่อเพียงบางส่วนของความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงไม่เข้าเงื่อนไขที่กําหนด ตัวอย่างเช่น ข 6.5.27.1 เมื่อมีการปรับสมดุลความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง อัตราส่วนการป้องกัน ความเสี่ยงอาจถูกปรับปรุงจนทําให้บางส่วนของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง นั้นไม่เป็นส่วนหนี่งของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป ( ดูย่อหน้าที่ ข 6.5.20) ดังนั้น ให้ยกเลิกการบัญชีป้องกันความเสี่ยงสําหรับ ส่วนของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป ข 6.5.27.2 เมื่อมีบางส่วนของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เป็น ( หรือเป็นส่วนประกอบของ ) รายการที่คาดการณ์นั้นไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นรายการที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ในระดับสูงมากอีกต่อไป ให้ยกเลิกการบัญชีป้องกันความเสี่ยงเฉพาะในส่วนที่ ไม่ถูกจัดว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากดังกล่าวของรายการที่ มีการป้องกันความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม หากกิจการเคยเลือกกําหนดการป้องกัน ความเสี่ยงของรายการที่คาดการณ์และต่อมาได้ประเมินว่ารายการที่คาดการณ์ ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป อาจก่อให้เกิดคําถามในความสามารถในการประเมิน รายการที่คาดการณ์ที่คล้ายคลึงกันของกิจการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการประเมิน รายการที่คาดการณ์ที่คล้ายคลึงกันว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก หรือไม่ ( ดูย่อหน้าที่ 6.3.3) และถือว่าเข้าเงื่อนไขเป็นรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงได้หรือไม่ ข 6.5.28 กิจการสามารถเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงขึ้นมาใหม่สําหรับ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงหรือรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงของความสัมพันธ์เดิม ที่เคยมีการยกเลิกการใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงแล้ว ( บางส่วน หรือทั้งหมด ) โดยไม่ถือว่าเป็น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 189 การดําเนินความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงต่อจากเดิม แต่ให้ถือเป็นการเริ่มความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงขึ้นใหม่ ตัวอย่างเช่น ข 6.5.28.1 ความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนทําให้กิจการต้องเปลี่ยนเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงใหม่ ซึ่งทําให้ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงเดิมไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหาร ความเสี่ยงและต้องยุติความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดลงในที่สุด เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงรายการใหม่ถูกเลือกกําหนดขึ้นเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงของความเสี่ยงเดิมและเกิดเป็นความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยงใหม่ ดังนั้น การวัดมูลค่าของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมหรือ กระแสเงินสดของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงใหม่จะเริ่มและอ้างอิงจากวัน ที่มีการเลือกกําหนดความสัมพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงขึ้นใหม่แทนที่ จะเป็นวันที่ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงเดิมถูกเลือกกําหนดขึ้น ข 6.5.28.2 ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงหยุดลงก่อนครบกําหนดอายุของ เครื่องมือทางการเงิน เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงของความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงนี้จะสามารถถูกเลือกกําหนดขึ้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงในอีกความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงได้ ( ตัวอย่างเช่น เมื่อทํา การปรับปรุงอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยงโดยเพิ่มจํานวนเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยง หรือเมื่อเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง ขึ้นใหม่ทั้งหมด ) การบัญชีสําหรับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือก ข 6.5.29 สิทธิเลือกเกี่ยวข้องกับช่วงเวลา เนื่องจากมูลค่าตามเวลาแสดงถึงสิ่งตอบแทนสําหรับการปกป้อง ผู้ถือสิทธิเลือกตลอดช่วงเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มุมมองที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของ การประเมินว่าสิทธิเลือกนั้นเป็นการป้องกันความเสี่ยงของรายการธุรกรรมใด หรือรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงตามช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องหรือไม่ คือลักษณะโดยทั่วไปของรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง รวมถึงวิธีการและช่วงเวลาที่จะมีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ดังนั้น กิจการต้องประเมินประเภทของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.15.1) จากธรรมชาติของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( โดยไม่คํานึงถึงว่าความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดหรือการป้องกันความเสี่ยง ในมูลค่ายุติธรรม ) ดังนี้ ข 6.5.29.1 มูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกสัมพันธ์กับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม ถ้าธรรมชาติของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงนั้นเป็น รายการที่มีมูลค่าตามเวลาเป็นต้นทุนของธุรกรรมดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เมื่อมูลค่า ตามเวลาของสิทธิเลือกสัมพันธ์กับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงซึ่งเป็นผลให้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 190 ในการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกนั้นต้องรวมต้นทุนการทํารายการเป็นส่วนหนึ่งของ ในการรับรู้รายการนั้น ( ตัวอย่างเช่น กิจการทําการป้องกันความเสี่ยงด้านราคา ในการซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นรายการที่คาดการณ์หรือข้อผูกมัด ที่แน่นหนาก็ตาม และได้รวมต้นทุนการทํารายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน สินค้าคงเหลือ ) ผลจากการรวมมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกในการวัดมูลค่า เมื่อเริ่มแรกของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงคือ มูลค่าตามเวลากระทบกําไร หรือขาดทุนในเวลาเดียวกันกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ในทํานอง เดียวกัน กิจการที่ทําการป้องกันความเสี่ยงในรายการขายสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะ เป็นรายการที่คาดการณ์หรือข้อผูกมัดที่แน่นหนาก็ตาม จะรวมมูลค่าตามเวลา ของสิทธิเลือกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับรายการขายดังกล่าว ( ดังนั้น มูลค่าตามเวลาจะถูกรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาเดียวกัน กับรายได้ที่มาจากรายการขายที่ถูกป้องกันความเสี่ยง ) ข 6.5.29.2 มูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกสัมพันธ์กับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลา ถ้าธรรมชาติของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงนั้น มีมูลค่าตามเวลาเป็นต้นทุนในการได้มาซึ่งการป้องกันความเสี่ยงตลอดช่วงระยะเวลา ( แต่รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงไม่ได้ส่งผลให้เกิดธุรกรรมที่ต้องรับรู้ต้นทุน ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการทํารายการตามกล่าวในย่อหน้าที่ข 6.5.29.1) ตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าโภคภัณฑ์คงเหลือมีการป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของ มูลค่ายุติธรรมในระยะเวลา 6 เดือนโดยใช้สิทธิเลือกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอายุ สัญญาเท่ากัน มูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกจะถูกปันส่วนเข้ากําไรหรือขาดทุน ( กล่าวคือโดยการตัดจําหน่ายอย่างมีระบบและสมเหตุสมผล ) ตลอดช่วงระยะเวลา 6 เดือน อีกตัวอย่าง เช่น การป้องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงาน ต่างประเทศเป็นระยะเวลา 18 เดือนโดยใช้สิทธิเลือกเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็น ผลให้มีการปันส่วนมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกตลอดช่วงระยะเวลา 18 เดือน ข 6.5.30 ลักษณะของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง รวมถึงวิธีการและช่วงเวลาที่รายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงนั้นมีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน และรวมถึงผลกระทบของช่วงเวลา ที่มูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกนั้นป้องกันความเสี่ยงให้กับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาจะถูกตัดจําหน่าย ซึ่งสอดคล้องกันกับช่วงเวลาที่มูลค่าที่แท้จริงของ สิทธิเลือกมีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุนตามที่กําหนดในการบัญชีการป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการใช้สัญญาสิทธิที่จะซื้อในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Cap) ในการป้องกัน ความเสี่ยงในการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยจ่ายของพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว มูลค่าตาม เวลาของสัญญาสิทธิที่จะซื้อในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Cap) ดังกล่าวจะถูกตัดจําหน่ายเป็นกําไร หรือขาดทุนตลอดช่วงเวลาเช่นเดียวกับช่วงเวลาที่มูลค่าที่แท้จริงมีผลกระทบต่อกําไรหรือ ขาดทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 191 ข 6.5.30.1 ถ้าสัญญาสิทธิที่จะซื้อในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Cap) ป้องกันความเสี่ยงจาก การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยใน 3 ปีแรกของพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 5 ปี มูลค่าตามเวลาของสัญญาสิทธิที่จะซื้อในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Cap) ดังกล่าวจะถูกตัดจําหน่ายตลอดอายุ 3 ปีแรก หรือ ข 6.5.30.2 ถ้าสัญญาสิทธิที่จะซื้อในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Cap) เป็นสัญญาที่เริ่มใช้สิทธิ ในอนาคต ซึ่งป้องกันความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ของพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอายุ 5 ปี มูลค่าตามเวลาของสัญญา สิทธิที่จะซื้อในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Cap) ดังกล่าวจะถูกตัดจําหน่ายในระหว่าง ปีที่ 2 และปีที่ 3 ข 6.5.31 การบัญชีสําหรับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกตามย่อหน้าที่ 6.5.15 ยังบังคับใช้กับสัญญาสิทธิ ที่กิจการซื้อมา (purchased option) และสัญญาสิทธิที่กิจการเป็นผู้ออก (written option) และ ที่ถูกกําหนดให้รวมกัน ( สัญญาหนึ่งเป็นสิทธิที่จะขายและอีกสัญญาหนึ่งเป็นสิทธิที่จะซื้อ ) ซึ่งมูลค่าตามเวลาสุทธิ ณ วันที่ถูกเลือกกําหนดให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง มีค่าเท่ากับศูนย์ ( โดยทั่วไปหมายถึง Zero-cost collar) ในกรณีดังกล่าว กิจการต้องรับรู้ การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าตามเวลาในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น แม้ว่าผลสะสมของ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตามเวลาตลอดช่วงระยะเวลาของความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยงจะเท่ากับศูนย์ ดังนั้น ถ้ามูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกเกี่ยวข้องกับ ข 6.5.31.1 รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม มูลค่าตามเวลา ณ จุดสิ้นสุดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่ปรับปรุงรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง หรือจํานวนที่ถูกจัดประเภทใหม่เป็นกําไรหรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.15.2) จะเท่ากับศูนย์ ข 6.5.31.2 รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลา จํานวนที่ตัดจําหน่าย ที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าตามเวลาจะเท่ากับศูนย์ ข 6.5.32 การบัญชีสําหรับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกตามย่อหน้าที่ 6.5.15 บังคับใช้เฉพาะกับมูลค่า ตามเวลาที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( มูลค่าตามเวลาที่สอดคล้องกัน ) มูลค่า ตามเวลาของสิทธิเลือกจะเกี่ยวข้องกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงถ้าข้อกําหนดที่สําคัญ ของสิทธิเลือก ( เช่น จํานวนเงินที่กําหนดไว้ อายุของสัญญา และรายการอ้างอิง ) สอดคล้องกับ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น หากข้อกําหนดที่สําคัญของสิทธิเลือก และรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงไม่สอดคล้องกันทั้งหมด กิจการต้องกําหนดมูลค่าตามเวลาที่สอดคล้อง กัน ซึ่งก็คือมูลค่าตามเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการทําสัญญา ( มูลค่าตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง ) ที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( และต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6.5.15) กิจการกําหนดมูลค่าตามเวลาที่สอดคล้องกันโดยใช้มูลค่าของสิทธิเลือกที่มีข้อกําหนดที่สําคัญ ที่สอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์กับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 192 ข 6.5.33 ถ้ามูลค่าตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง และมูลค่าตามเวลาที่สอดคล้องกันนั้นแตกต่างกัน กิจการต้อง ระบุจํานวนเงินซึ่งถูกสะสมและแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของตามย่อหน้าที่ 6.5.15 ดังต่อไปนี้ ข 6.5.33.1 ถ้ามูลค่าตามเวลาที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่ามูลค่าตามเวลาที่สอดคล้องกัน ณ จุดที่รับรู้ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้อง (1) ระบุจํานวนเงินซึ่งถูกสะสมและแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของ เจ้าของแยกตามเกณฑ์ของมูลค่าตามเวลาที่สอดคล้องกัน และ (2) ปฏิบัติกับผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมระหว่างมูลค่าตาม เวลาที่เกิดขึ้นจริงและมูลค่าตามเวลาที่สอดคล้องกันในกําไรหรือขาดทุน ข 6.5.33.2 ถ้ามูลค่าตามเวลาที่เกิดขึ้นจริงตํ่ากว่ามูลค่าตามเวลาที่สอดคล้องกัน ณ จุดที่รับรู้ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องระบุจํานวนเงินซึ่งถูกสะสม และแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของโดยอ้างอิงกับจํานวนเงิน ที่ตํ่ากว่าของการเปลี่ยนแปลงสะสมในมูลค่ายุติธรรมของ (1) มูลค่าตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง และ (2) มูลค่าตามเวลาที่สอดคล้องกัน การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าตามเวลาที่เกิดขึ้นจริงที่เหลืออยู่จะถูกรับรู้ในกําไร หรือขาดทุน การบัญชีสําหรับองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดและส่วนต่างอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงิน ข 6.5.34 สัญญาฟอร์เวิร์ดมีความเกี่ยวข้องกับระยะเวลาเนื่องจากองค์ประกอบราคาล่วงหน้าแสดงถึง ค่าตอบแทนของระยะเวลาดังกล่าว ( ซึ่งหมายถึงระยะเวลาครบกําหนดที่ได้พิจารณาไว้ ) อย่างไรก็ตาม แง่มุมที่เกี่ยวข้องสําหรับวัตถุประสงค์ของการประเมินว่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงใช้ป้องกันความเสี่ยงของรายการที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลา นั่นคือต้องประเมินลักษณะของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งรูปแบบและช่วงเวลา ที่ส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ดังนั้น กิจการต้องประเมินประเภทของรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.16 และ 6.5.15.1) โดยคํานึงถึงธรรมชาติของ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( โดยไม่คํานึงว่าความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง จะเป็นการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดหรือการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม ) ดังนี้ ข 6.5.34.1 องค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดสัมพันธ์กับรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม ถ้าธรรมชาติของรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงเป็นรายการที่มีองค์ประกอบราคาล่วงหน้าเป็นต้นทุนของรายการ ตัวอย่างเช่น เมื่อองค์ประกอบราคาล่วงหน้าสัมพันธ์กับรายการที่มีการป้องกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 193 ความเสี่ยงที่ทําให้การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกรวมต้นทุนการทํารายการ ( เช่น กิจการป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศจากการซื้อสินค้าคงเหลือในรูปของ สกุลเงินตราต่างประเทศโดยที่ไม่ว่าจะเป็นรายการที่คาดการณ์หรือข้อผูกมัด ที่แน่นหนา และได้รวมต้นทุนการทํารายการเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงเหลือนั้น ในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ) ผลของการรวมองค์ประกอบราคาล่วงหน้า ในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงคือการที่ องค์ประกอบราคาล่วงหน้ากระทบกําไรหรือขาดทุนพร้อมกับรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง ในทํานองเดียวกัน กิจการที่ป้องกันความเสี่ยงเงินตรา ต่างประเทศของการขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ว่าจะเป็นรายการที่คาดการณ์หรือ ข้อผูกมัดที่แน่นหนา จะรวมองค์ประกอบราคาล่วงหน้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน ที่เกี่ยวข้องกับการขาย ( ดังนั้น องค์ประกอบราคาล่วงหน้าจะถูกรับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุนในรอบระยะเวลาเดียวกันกับรายได้จากการขายที่ถูกป้องกันความเสี่ยง ) ข 6.5.34.2 องค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดสัมพันธ์กับรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลา ถ้าธรรมชาติของรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงมีองค์ประกอบราคาล่วงหน้าเป็นต้นทุนในการได้มาซึ่งการป้องกัน ความเสี่ยงต่อช่วงระยะเวลานั้น ( แต่รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงไม่ได้ส่งผล ให้เกิดธุรกรรมที่ต้องรับรู้ต้นทุนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการทํารายการ ตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ ข 6.5.34.1) ตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าโภคภัณฑ์คงเหลือ ถูกป้องกันความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมสําหรับช่วงระยะเวลา 6 เดือนโดยใช้สัญญาฟอร์เวิร์ดสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีระยะเวลาครบกําหนด สอดคล้องกัน องค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดจะถูกปันส่วนไปยัง กําไรหรือขาดทุน ( กล่าวคือ ตัดจําหน่ายอย่างเป็นระบบและด้วยเกณฑ์ ที่สมเหตุสมผล ) ตลอดช่วงระยะเวลา 6 เดือน อีกตัวอย่างเช่น การป้องกัน ความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศเป็นระยะเวลา 18 เดือน โดยใช้สัญญาฟอร์เวิร์ดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการปันส่วนของ องค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดนี้ตลอดช่วงระยะเวลา 18 เดือน ข 6.5.35 ลักษณะของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง รวมถึงรูปแบบและช่วงเวลาที่รายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ได้ส่งผลกระทบตลอดช่วงเวลาต่อ ช่วงเวลาที่องค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงให้กับรายการ ที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่มีการตัดจําหน่าย ซึ่งหมายถึงตลอดช่วงระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับส่วน ของอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าสัญญาฟอร์เวิร์ดป้องกันความเสี่ยง ต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยสําหรับระยะเวลา 3 เดือน โดยเริ่มในอีก 6 เดือนข้างหน้า องค์ประกอบราคาล่วงหน้าจะถูกตัดจําหน่ายในช่วงเดือนที่ 7 ถึงเดือนที่ 9 ข 6.5.36 ให้ถือปฏิบัติตามการบัญชีสําหรับองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดในย่อหน้าที่ 6.5.16 สําหรับกรณีที่องค์ประกอบราคาล่วงหน้า ณ วันที่สัญญาฟอร์เวิร์ดถูกเลือกกําหนด

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 194 ให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง และองค์ประกอบราคาล่วงหน้ามีค่าเท่ากับศูนย์ ในกรณีดังกล่าว กิจการต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมขององค์ประกอบราคา ล่วงหน้าในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น แม้ว่าผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ องค์ประกอบราคาล่วงหน้าจะเท่ากับศูนย์ตลอดช่วงระยะเวลาความสัมพันธ์ของการป้องกัน ความเสี่ยง ดังนั้น ถ้าองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดเกี่ยวข้องกับ ข 6.5.36.1 รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม จํานวนเงินของ องค์ประกอบราคาล่วงหน้า ณ จุดสิ้นสุดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง ที่ปรับปรุงรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง หรือได้ถูกจัดประเภทใหม่ไปกําไร หรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.15.2 และ 6.5.16) เท่ากับศูนย์ 6.5.36.2 รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับช่วงระยะเวลา จํานวนที่ ตัดจําหน่ายที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบราคาล่วงหน้านั้นเท่ากับศูนย์ ข 6.5.37 ให้ถือปฏิบัติตามการบัญชีสําหรับองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ดตามย่อหน้าที่ 6.5.16 กับเฉพาะองค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( องค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่สอดคล้องกัน ) องค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ด จะเกี่ยวข้องกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงถ้าข้อกําหนดที่สําคัญของสัญญาฟอร์เวิร์ด ( เช่น จํานวนเงินที่กําหนดไว้ อายุของสัญญา และรายการอ้างอิง ) สอดคล้องกับรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น ถ้าข้อกําหนดที่สําคัญของสัญญาฟอร์เวิร์ด และรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยงไม่สอดคล้องกันทั้งหมด กิจการต้องกําหนดองค์ประกอบราคาล่วงหน้า ที่เกี่ยวข้อง เช่น จํานวนขององค์ประกอบราคาล่วงหน้าในสัญญาฟอร์เวิร์ด ( องค์ประกอบราคา ล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริง ) ที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( และต้องปฏิบัติ ตามย่อหน้าที่ 6.5.16) กิจการพิจารณากําหนดองค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่สอดคล้องกัน โดยใช้การวัดมูลค่าของสัญญาฟอร์เวิร์ดที่มีข้อกําหนดที่สําคัญที่สอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์กับ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ข 6.5.38 ถ้าองค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริง และองค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่สอดคล้องกันนั้น แตกต่างกัน กิจการต้องระบุจํานวนเงินที่ถูกสะสมเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของ ตามย่อหน้าที่ 6.5.16 ดังต่อไปนี้ ข 6.5.38.1 ถ้าค่าสัมบูรณ์ขององค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าองค์ประกอบ ราคาล่วงหน้าที่สอดคล้องกัน ณ จุดที่รับรู้ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้อง (1) ระบุจํานวนเงินที่ถูกสะสมเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของ ตามเกณฑ์ขององค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่สอดคล้องกัน และ (2) ปฏิบัติกับผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมระหว่าง องค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริงและองค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่ สอดคล้องกันในกําไรหรือขาดทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 195 ข 6.5.38.2 ถ้าค่าสัมบูรณ์ขององค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริงตํ่ากว่าองค์ประกอบ ราคาล่วงหน้าที่สอดคล้องกัน ณ จุดที่รับรู้ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง กิจการจะต้องระบุจํานวนเงินที่ถูกสะสมเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของ โดยอ้างอิงกับจํานวนที่ตํ่ากว่าของการเปลี่ยนแปลงสะสมในมูลค่ายุติธรรมของ (1) ค่าสัมบูรณ์ขององค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริงและ (2) ค่าสัมบูรณ์ขององค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่สอดคล้องกัน ส่วนของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมขององค์ประกอบราคาล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริง ที่เหลืออยู่จะถูกรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ข 6.5.39 เมื่อกิจการแยกส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศออกจากเครื่องมือทางการเงิน และไม่รวมในการเลือกกําหนดเครื่องมือทางการเงินนั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.2.4.2) แนวทางปฏิบัติในย่อหน้าที่ ข 6.5.34 ถึง ข 6.5.38 จะถือปฎิบัติกับ ส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในลักษณะเดียวกันกับที่ถือปฎิบัติกับ องค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ด การป ้ องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการ ( หมวดที่ 6.6) การป ้ องกันความเสี่ยงของฐานะสุทธิ การใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงและการเลือกกําหนดฐานะสุทธิ ข 6.6.1 กิจการสามารถใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงกับฐานะสุทธิได้ถ้าวัตถุประสงค์ของการบริหาร ความเสี่ยงของกิจการอยู่บนเกณฑ์สุทธิในการป้องกันความเสี่ยง โดยที่กิจการต้องทํา การป้องกันความเสี่ยงในลักษณะดังกล่าวจริง ( ไม่ใช่พิจารณาเพียงแค่คํารับรองหรือการระบุ ในเอกสาร ) ดังนั้น กิจการไม่สามารถใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงบนเกณฑ์สุทธิเพียงเพื่อ กําหนดผลทางการบัญชีที่เฉพาะเจาะจงได้ ถ้าหากผลนั้นไม่สะท้อนวิธีการบริหารความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยงของฐานะสุทธิต้องเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง โดยปกติ แล้วกลยุทธ์ดังกล่าวจะได้รับการอนุมัติโดยผู้บริหารสําคัญตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 ข 6.6.2 ตัวอย่างเช่น กิจการ ก . ซึ่งมีสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานเป็นสกุลเงินเดียวกับสกุลเงินท้องถิ่น มีข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่จะต้องจ่ายด้วยสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 150,000 เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาในอีก 9 เดือนข้างหน้า และมีข้อผูกมัดที่แน่นหนาที่จะขายสินค้า สําเร็จรูปด้วยสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 150,000 ในอีก 15 เดือนข้างหน้า กิจการ ก . เข้าทําสัญญาอนุพันธ์เงินตราต่างประเทศที่จะจ่ายชําระเงินในอีก 9 เดือนข้างหน้า โดยจะรับเงิน ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 100 และจ่ายสกุลเงินท้องถิ่นจํานวน 70 บาทกิจการ ก . ไม่มีความเสี่ยงอื่นต่อสกุลเงินตราต่างประเทศ กิจการ ก . ไม่ได้บริหารความเสี่ยงเงินตรา ต่างประเทศบนเกณฑ์สุทธิ ดังนั้น กิจการ ก . ไม่สามารถใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงสําหรับ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 196 ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงระหว่างอนุพันธ์เงินตราต่างประเทศและฐานะสุทธิ จํานวน 100 ซึ่งเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ( ประกอบด้วยข้อผูกมัดการซื้อที่แน่นหนา ( ค่าโฆษณา ) จํานวน 150,000 และข้อผูกมัดการขายที่แน่นหนาจํานวน 149,900 ( จากจํานวน 150,000)) สําหรับระยะเวลา 9 เดือนข้างหน้า ข 6.6.3 ถ้ากิจการ ก บริหารความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศบนเกณฑ์สุทธิ และไม่ได้เข้าทําสัญญา อนุพันธ์เงินตราต่างประเทศ ( เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศแทนที่จะ เป็นการลดความเสี่ยง ) กิจการจะอยู่ในฐานะการป้องกันความเสี่ยงโดยธรรมชาติ (Natural Hedge) สําหรับช่วงระยะเวลา 9 เดือน โดยปกติแล้ว ฐานะการป้องความเสี่ยงแบบนี้ จะไม่สะท้อนในงบการเงิน เพราะรายการดังกล่าวถูกรับรู้ในรอบระยะเวลาที่รายงานที่แตกต่าง กันในอนาคต ฐานะสุทธิที่หักกลบกันหมดจะเกิดขึ้นในการบัญชีป้องกันความเสี่ยง หากเข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 6.6.6 เท่านั้น ข 6.6.4 เมื่อกลุ่มของรายการที่รวมกันเป็นฐานะสุทธิถูกเลือกกําหนดให้เป็นรายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยง กิจการจะต้องเลือกกําหนดภาพรวมของกลุ่มรายการให้เป็นรายการที่สามารถทําให้ เป็นฐานะสุทธิได้ กิจการไม่สามารถที่จะเลือกกําหนดจํานวนของฐานะสุทธิแบบไม่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น กิจการมีกลุ่มรายการของข้อผูกมัดการขายที่แน่นหนาในอีก 9 เดือนข้างหน้าเป็น สกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 100 และกลุ่มของรายการข้อผูกมัดการซื้อที่แน่นหนาในอีก 18 เดือนข้างหน้าเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 120 กิจการไม่สามารถเลือกกําหนด จํานวนของฐานะสุทธิเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเท่ากับ 20 แต่จะต้องเลือกกําหนดจํานวน เงินทั้งสิ้นของรายการซื้อและขายที่ร่วมกันก่อให้เกิดฐานะสุทธิของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องเลือกกําหนดฐานะทั้งสิ้นที่ก่อให้เกิดฐานะสุทธิเพื่อที่กิจการจะสามารถปฏิบัติ ตามข้อกําหนดของการบัญชีสําหรับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่เข้าเงื่อนไข การประยุกต์ใช้ข้อกําหนดเกี่ยวกับประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงกับการป้องกัน ความเสี่ยงของฐานะสุทธิ ข 6.6.5 เมื่อกิจการพิจารณาว่าข้อกําหนดเกี่ยวกับประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงตามย่อหน้าที่ 6.4.1.3 นั้นบรรลุหรือไม่เมื่อมีการป้องกันความเสี่ยงบนฐานะสุทธิ กิจการต้องพิจารณา การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการในฐานะสุทธิที่มีผลกระทบที่คล้ายคลึงกันกับเครื่องมือ ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง โดยพิจารณาร่วมกันกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือ ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น กิจการมีกลุ่มของรายการข้อผูกมัดการขายที่แน่นหนาใน อีก 9 เดือนข้างหน้า เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 100 และกลุ่มของรายการข้อผูกมัด การซื้อที่แน่นหนาในอีก 18 เดือนข้างหน้า เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 120 กิจการ ป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของฐานะสุทธิ เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 20 โดยใช้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 20 เมื่อมี

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 197 การตัดสินใจว่าเข้าเงื่อนไขของข้อกําหนดเกี่ยวกับประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง ตามย่อหน้าที่ 6.4.1.3 หรือไม่ กิจการจะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง ข 6.6.5.1 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของข้อผูกมัดการขายที่แน่นหนาอัน เนื่องมาจากความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ และ ข 6.6.5.2 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของข้อผูกมัดการซื้อที่แน่นหนาอันเนื่องมาจาก ความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ ข 6.6.6 ในทํานองเดียวกัน ถ้าในตัวอย่างตามย่อหน้าที่ ข 6.6.5 กิจการมีฐานะสุทธิเป็นศูนย์ จะพิจารณา ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของข้อผูกมัดการขายที่แน่นหนาอันเนื่องมาจาก ความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของข้อผูกมัดการซื้อที่แน่นหนาอัน เนื่องมาจากความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ เมื่อมีการพิจารณาว่าเข้าเงื่อนไขข้อกําหนดเกี่ยวกับ ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงตามย่อหน้าที่ 6.4.1.3 หรือไม่ การป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดที่ก่อให้เกิดฐานะสุทธิ ข 6.6.7 เมื่อกิจการป้องกันความเสี่ยงในกลุ่มของรายการโดยการหักกลบฐานะความเสี่ยง ( กล่าวคือ ฐานะสุทธิ ) การเข้าเงื่อนไขที่จะใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของ การป้องกันความเสี่ยง ถ้าเป็นการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม ฐานะสุทธิอาจจะสามารถ เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการป้องกันความเสี่ยงในกระแส เงินสด ฐานะสุทธิจะเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงได้ถ้าเป็นการป้องกันความเสี่ยง เงินตราต่างประเทศ และการเลือกกําหนดฐานะสุทธิเป็นการระบุรอบระยะเวลาที่รายการ ที่คาดการณ์ถูกคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน และเป็นการระบุธรรมชาติและ ปริมาณของรายการด้วยเช่นกัน ข 6.6.8 ตัวอย่างเช่น กิจการมีฐานะสุทธิที่ประกอบไปด้วยส่วนท้ายสุดของรายการขายเป็นสกุลเงินตรา ต่างประเทศจํานวน 100 และส่วนท้ายสุดของรายการซื้อเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 50 ทั้งรายการขายและซื้อเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศสกุลเดียวกัน ในการที่จะระบุฐานะสุทธิ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงอย่างครอบคลุมนั้น กิจการต้องกําหนดในเอกสารแสดงความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงเริ่มแรกว่ารายการขายเป็นของผลิตภัณฑ์ ก . หรือผลิตภัณฑ์ ข . และ รายการซื้อเป็นของเครื่องจักรชนิด ก เครื่องจักรชนิด ข และวัตถุดิบ ก กิจการยังต้องระบุ ปริมาณของรายการค้าแยกตามธรรมชาติของรายการด้วย กิจการระบุในเอกสารว่าส่วนท้ายสุด ของรายการขายที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ( ที่สกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 100) มาจากรายการขายที่คาดการณ์ไว้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 70 แรกของผลิตภัณฑ์ ก . และเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 30 แรกของผลิตภัณฑ์ ข . ถ้ารายการขายดังกล่าว ถูกคาดการณ์ว่าจะกระทบกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่รายงานที่แตกต่างกัน กิจการต้อง ระบุรอบระยะเวลาที่รายงานดังกล่าวไว้ในเอกสาร ตัวอย่างเช่น เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 198 จํานวน 70 แรกของรายการขายผลิตภัณฑ์ ก . ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะกระทบกําไรหรือขาดทุน ในรอบระยะเวลาที่รายงานแรก และเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 30 แรกของรายการ ขายผลิตภัณฑ์ ข . ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะกระทบกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่รายงาน ถัดมา นอกจากนี้ กิจการยังต้องระบุในเอกสารว่าส่วนท้ายสุดของรายการซื้อ ( เป็นสกุลเงินตรา ต่างประเทศ จํานวน 150) มาจากรายการซื้อเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 60 แรกของ เครื่องจักรชนิด ก เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 40 แรกของเครื่องจักรชนิด ข และเป็น สกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 50 แรกของวัตถุดิบ ก ถ้ารายการซื้อดังกล่าวถูกคาดว่าจะ กระทบกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่รายงานที่แตกต่างกัน กิจการต้องระบุ รอบระยะเวลาที่รายงานดังกล่าวไว้ในเอกสารแสดงการแยกรายการซื้อตามรอบระยะเวลา ที่รายงานที่ถูกคาดว่าจะกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ( ในทํานองเดียวกันกับการระบุในเอกสาร ของรายการขาย ) ตัวอย่างเช่น รายการที่คาดการณ์อาจถูกระบุว่า ข 6.6.8.1 เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 60 แรกของรายการซื้อเครื่องจักรชนิด ก ที่ถูกคาดว่าจะกระทบกําไรหรือขาดทุนตั้งแต่ในรอบระยะเวลาที่รายงานที่ 3 เป็นต้นไปอีก 10 รอบระยะเวลาที่รายงาน ข 6.6.8.2 เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 40 แรกของรายการซื้อเครื่องจักรชนิด ข ที่ถูกคาดว่าจะกระทบกําไรหรือขาดทุนตั้งแต่ในรอบระยะเวลาที่รายงานที่ 4 เป็นต้นไปอีก 20 รอบระยะเวลาที่รายงาน และ ข 6.6.8.3 เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 50 แรกของรายการซื้อวัตถุดิบ ก ที่คาดว่า จะได้รับของในรอบระยะเวลาที่รายงานที่ 3 และจะถูกขาย ซึ่งทําให้กระทบกําไร หรือขาดทุน ในรอบระยะเวลาที่รายงานถัดไป การระบุธรรมชาติของปริมาณของรายการที่คาดการณ์จะรวมถึงมุมมองต่างๆ เช่น รูปแบบ การเสื่อมราคาของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน ถ้าธรรมชาติของรายการ ดังกล่าวมีรูปแบบการเสื่อมราคาที่แตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้สินทรัพย์ของกิจการ ตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการใช้เครื่องจักรชนิด ก ในสองกระบวนการผลิตที่ต่างกันที่เป็นผลให้เกิด การเสื่อมราคาแบบเส้นตรงและตามจํานวนหน่วยของการผลิต ตลอดระยะเวลา 10 รอบระยะเวลาที่รายงาน ตามลําดับ การจัดทําเอกสารรายการซื้อคาดการณ์ของเครื่องจักร ชนิด ก จะถูกแยกปริมาณรายการตามรูปแบบการเสื่อมราคาที่กําหนด ข 6.6.9 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดของฐานะสุทธิ จํานวนที่กําหนดตามย่อหน้าที่ 6.5.11 ต้องรวมการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการในฐานะสุทธิที่มีผลกระทบคล้ายคลึงกัน กับเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง พร้อมกันกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการในฐานะ สุทธิที่มีผลกระทบคล้ายคลึงกันกับเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงจะถูกรับรู้เมื่อรายการ ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องถูกรับรู้ เช่น เมื่อรายการขายที่คาดการณ์ไว้ถูกรับรู้เป็นรายได้ ตัวอย่างเช่น กิจการมีกลุ่มของรายการขายที่คาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากในอีก 9 เดือนข้างหน้าเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 100 และกลุ่มของรายการซื้อที่คาดการณ์

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 199 ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากในอีก 18 เดือนข้างหน้าเป็นสกุลเงินตรา ต่างประเทศจํานวน 120 กิจการทําการป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศของฐานะสุทธิ เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 20 โดยใช้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็น สกุลเงินตราต่างประเทศจํานวน 20 เมื่อมีการกําหนดจํานวนที่จะถูกรับรู้ในสํารองการป้องกัน ความเสี่ยงในกระแสเงินสดตามย่อหน้าที่ 6.5.11.1 ถึง 6.5.11.2 กิจการต้องเปรียบเทียบ ข 6.6.9.1 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการขายคาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากอันเนื่องมาจากความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ ข 6.6.9.2 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการซื้อคาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ในระดับสูงมากอันเนื่องมาจากความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กิจการรับรู้เพียงจํานวนที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า จนกระทั่งรายการขายคาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากถูกรับรู้ ในงบการเงินในช่วงเวลาที่ผลกําไรหรือขาดทุนจากรายการที่คาดการณ์ดังกล่าวถูกรับรู้ ( กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศระหว่างการเลือกกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงและการรับรู้ รายได้ ) ข 6.6.10 ในทํานองเดียวกัน ถ้าในตัวอย่างที่กิจการมีฐานะสุทธิเป็นศูนย์ กิจการต้องเปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการขายคาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูง มากอันเนื่องมาจากความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ กับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการซื้อ คาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากอันเนื่องมาจากความเสี่ยงเงินตรา ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม จํานวนดังกล่าวจะถูกรับรู้เมื่อรายการที่คาดการณ์ที่เกี่ยวข้อง มีการรับรู้ในงบการเงิน ส่วนของกลุ่มของรายการที่ถูกเลือกกําหนดเป็นรายการที่มีการป ้ องกันความเสี่ยง ข 6.6.11 ในลักษณะเดียวกันกับที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ ข 6.3.19 ในการเลือกกําหนดส่วนประกอบลําดับ ชั้นของกลุ่มของรายการที่ยังคงอยู่นั้น จําเป็นต้องระบุจํานวนเงินที่กําหนดไว้ที่เฉพาะเจาะจง ของกลุ่มของรายการที่ส่วนของส่วนประกอบลําดับชั้นในการป้องกันความเสี่ยงถูกกําหนด ข 6.6.12 ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงสามารถประกอบด้วยลําดับชั้นจากกลุ่มรายการที่ แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในการป้องกันความเสี่ยงของฐานะสุทธิของกลุ่มของสินทรัพย์และ กลุ่มของหนี้สิน ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงสามารถประกอบด้วยส่วนประกอบ ลําดับชั้นของกลุ่มของสินทรัพย์และส่วนของกลุ่มของหนี้สินรวมกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 200 การแสดงรายการผลกําไรหรือขาดทุนจากเครื่องมือ ที่ใช้ ป ้ องกันความเสี่ยง ข 6.6.13 ถ้ารายการที่ได้รับการป้องกันความเสี่ยงรวมกันเป็นกลุ่มในการป้องกันความเสี่ยง ในกระแสเงินสด กรณีดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อรายการในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นที่แตกต่างกัน การแสดงรายการผลกําไรหรือขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยง ในงบการเงินดังกล่าวขึ้นอยู่กับกลุ่มของรายการ ข 6.6.14 ถ้ากลุ่มของรายการไม่มีฐานะความเสี่ยงที่หักกลบกันได้ ( ตัวอย่างเช่น กลุ่มของค่าใช้จ่าย ในสกุลเงินต่างประเทศที่กระทบรายการที่แตกต่างกันในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อื่นที่มีการป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศไว้ ) การจัดประเภทใหม่ของผลกําไรหรือ ขาดทุนจากเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงจะถูกปันส่วนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรายการที่ถูก กระทบโดยรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง การปันส่วนนี้จะมีการปันส่วนอย่างมีระบบและ สมเหตุสมผล และต้องไม่เป็นผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นในผลกําไรหรือขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือ ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงรายการใดรายการหนึ่ง ข 6.6.15 ถ้ากลุ่มของรายการมีฐานะความเสี่ยงที่หักกลบกันได้ ( ตัวอย่างเช่น กลุ่มของรายการขายและ ค่าใช้จ่ายในสกุลเงินตราต่างประเทศถูกป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศร่วมกัน ) กิจการ ต้องแสดงผลกําไรหรือขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงเป็นรายการแยกจากกันในงบกําไร ขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตัวอย่างเช่น การป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ ของฐานะความเสี่ยงสุทธิจากรายการขายในสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงินตรา ต่างประเทศจํานวน 100 และค่าใช้จ่ายในรูปเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ จํานวน 80 โดยการใช้สัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ จํานวน 20 ผลกําไรหรือขาดทุนจากสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ถูกจัดประเภท ใหม่จากสํารองการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดไปเป็นกําไรหรือขาดทุน ( เมื่อฐานะสุทธิ กระทบกําไรหรือขาดทุน ) จะแสดงเป็นรายการแยกต่างหากจากรายการขายและค่าใช้จ่ายที่มี การป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ถ้ารายการขายเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาก่อนที่ค่าใช้จ่ายจะ เกิดขึ้น รายได้จากการขายจะยังคงวัดมูลค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนทันทีตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เมื่อผลกําไรหรือขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจะแสดงเป็นรายการ แยกต่างหาก เพื่อให้กําไรหรือขาดทุนสะท้อนถึงผลกระทบของฐานะสุทธิที่ถูกป้องกันความ เสี่ยง และปรับปรุงเข้าเป็นรายการสํารองการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด เมื่อค่าใช้จ่าย ที่ถูกป้องกันความเสี่ยงกระทบกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาถัดมา ผลกําไรหรือขาดทุน จากการป้องกันความเสี่ยงที่เคยรับรู้ในสํารองการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดจากการ ขายจะถูกจัดประเภทใหม่เป็นกําไรหรือขาดทุน และแสดงเป็นรายการแยกต่างหากจากรายการ ที่อยู่ในค่าใช้จ่ายที่ถูกป้องกันความเสี่ยง โดยจะวัดมูลค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนทันทีตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 21 ข 6.6.16 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมบางประเภทนั้น วัตถุประสงค์ของการป้องกัน ความเสี่ยงไม่ใช่เพื่อการหักกลบการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของรายการที่มีการป้องกัน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 201 ความเสี่ยง แต่เป็นการแปลงกระแสเงินสดของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น กิจการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่โดยการใช้สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย วัตถุประสงค์ของการป้องกัน ความเสี่ยงของกิจการคือการแปลงกระแสเงินสดจากอัตราดอกเบี้ยคงที่ไปเป็นกระแสเงินสด จากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว วัตถุประสงค์นี้ถูกสะท้อนในการบัญชีสําหรับความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงโดยการรับรู้ดอกเบี้ยสุทธิจากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในกําไร หรือขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง ในกรณีของการป้องกันความเสี่ยงของฐานะสุทธิ ( ตัวอย่างเช่น ฐานะสุทธิของสินทรัพย์ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ ) ดอกเบี้ย คงค้างสุทธินี้ต้องถูกแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อื่น เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของผลกําไรหรือขาดทุนสุทธิของตราสารหนึ่งโดยการหักกลบ ในจํานวนขั้นต้นของรายการนั้น และรับรู้เป็นรายการแยกต่างหาก ( ตัวอย่างเช่น เพื่อหลีกเลี่ยง การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยรับสุทธิจากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยสัญญาหนึ่งโดยการรับรู้ รายการดอกเบี้ยรับขั้นต้นและดอกเบี้ยจ่ายขั้นต้น ) วันถือปฏิบัติ และการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน ( บทที่ 7) การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน ( หมวดที่ 7.2) สินทรัพย์ทางการเงินถือไว้เพื่อค้า ข 7.2.1 ณ วันที่เริ่มต้นถือปฏิบัติตามมาตรฐานมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้อง กําหนดวัตถุประสงค์ของโมเดลธุรกิจของกิจการสําหรับการบริหารสินทรัพย์ทางการเงินของ กิจการที่เข้าเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2.1 หรือ เงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก .1 หรือ ในกรณี สินทรัพย์ทางการเงินนั้นสามารถถือปฏิบัติตามทางเลือกในย่อหน้าที่ 5.7.5 ได้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้น กิจการต้องกําหนดว่าสินทรัพย์ทางการเงินเข้าคํานิยามของ การถือไว้เพื่อค้าหรือไม่เมื่อกิจการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินนั้น ณ วันเริ่มต้นใช้มาตรฐาน การด้อยค่า ข 7.2.2 สําหรับการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน กิจการต้องหาความเสี่ยงด้านเครดิตโดยประมาณ เมื่อมีการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกโดยพิจารณาข้อมูลที่สนับสนุนและสมเหตุสมผลทั้งหมด ที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป กิจการไม่จําเป็นต้องหาข้อมูล อย่างละเอียดถี่ถ้วนในการกําหนดว่า ณ วันที่เปลี่ยนผ่านนั้นมีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้าน เครดิตอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ ถ้ากิจการไม่สามารถทํา การกําหนดการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิตดังกล่าวได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายาม ที่มากเกินไปตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 7.2.20

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 202 ข 7.2.3 เพื่อที่จะกําหนดค่าเผื่อผลขาดทุนของเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก ( หรือ ข้อผูกมัด วงเงินสินเชื่อ หรือ สัญญาคํ้าประกันทางการเงินที่กิจการเข้าไปเป็นคู่สัญญา ) ก่อนวันที่เริ่มต้นถือ ปฏิบัติตามมาตรฐานทั้งสําหรับการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านและจนกระทั่งการเลิกรับรู้รายการ ของรายการเหล่านั้น กิจการต้องพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการกําหนดหรือประมาณความ เสี่ยงด้านเครดิต ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ในการกําหนดหรือประมาณความเสี่ยงด้าน เครดิตเมื่อเริ่มแรก กิจการอาจพิจารณาข้อมูลภายในและข้อมูลภายนอก รวมถึงข้อมูลพอร์ตโฟ ลิโอตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ ข 5.5.1 ถึงย่อหน้าที่ ข 5.5.6 ข 7.2.4 กิจการที่มีข้อมูลในอดีตน้อยอาจใช้ข้อมูลจากรายงานภายนอกและข้อมูลสถิติ ( ที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อมีการตัดสินใจที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ ) ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน หรือกลุ่มธุรกิจเดียวกันสําหรับเครื่องมือทางการเงินที่เปรียบเทียบกันได้ ถ้ามีความเกี่ยวข้องกัน คํานิยาม ( ภาคผนวก ก ) อนุพันธ์ ขก .1 ตัวอย่างทางปฏิบัติของอนุพันธ์ คือ สัญญาฟิวเจอร์และสัญญาฟอร์เวิร์ด สัญญาแลกเปลี่ยน และสัญญาสิทธิเลือก โดยปกติอนุพันธ์มีจํานวนเงินตามสัญญาที่เป็นจํานวนเงินหน่วยสกุลเงิน จํานวนหุ้น จํานวนหน่วยของนํ้าหนักหรือปริมาณหรือหน่วยอื่นที่ระบุไว้ในสัญญา อย่างไรก็ตาม ตราสารอนุพันธ์ไม่ได้กําหนดให้ผู้ถือหรือผู้ออกที่จะลงทุนหรือได้รับจํานวนเงินตามสัญญา ณ วันเริ่มต้นของสัญญา ในอีกลักษณะหนึ่งอนุพันธ์สามารถกําหนดการจ่ายชําระคงที่หรือ การจ่ายชําระจํานวนเงินที่สามารถเปลี่ยนแปลง ( แต่ไม่ได้เป็นสัดส่วนตามการเปลี่ยนแปลงของ รายการที่อ้างอิง ) ตามผลลัพธ์ของเหตุการณ์ในอนาคตบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับจํานวนเงิน ตามสัญญา ตัวอย่างเช่น สัญญาอาจกําหนดการจ่ายชําระคงที่เป็นจํานวนเงิน 1,000 บาท ถ้าอัตราดอกเบี้ย LIBOR สําหรับระยะเวลา 6 เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 สัญญาดังกล่าว คือ อนุพันธ์ แม้ว่าจํานวนเงินตามสัญญาไม่ได้ระบุไว้ ขก .2 คํานิยามของอนุพันธ์ในมาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับนี้รวมถึงสัญญาที่จ่ายชําระด้วย ยอดขั้นต้น (gross) โดยส่งมอบรายการที่อ้างอิง ( เช่น สัญญาฟอร์เวิร์ดที่ซื้อตราสารหนี้ อัตราคงที่ ) กิจการอาจมีสัญญาที่จะซื้อหรือขายรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินที่สามารถ จ่ายชําระสุทธิเป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือ ทางการเงิน ( เช่น สัญญาที่จะซื้อหรือขายสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยราคาคงที่ ณ วันที่ในอนาคต ) สัญญาดังกล่าวอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ยกเว้นสัญญาดังกล่าว ซึ่งทําขึ้นและถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับหรือส่งมอบรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ตามที่กิจการคาดว่าจะซื้อ ขาย หรือใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวตามที่กิจการคาดว่าจะซื้อ ขาย หรือ ใช้ประโยชน์ ถ้ากิจการได้ทําตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 2.5 ( ดูย่อหน้าที่ 2.4 ถึงย่อหน้าที่ 2.7)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 203 ขก .3 ลักษณะหนึ่งในหลายลักษณะของการนิยามของอนุพันธ์คืออนุพันธ์มีการจ่ายเงินลงทุนสุทธิ เมื่อเริ่มแรกด้วยจํานวนที่เล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัญญาประเภทอื่นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของ มูลค่าในลักษณะเดียวกันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยตลาด สัญญาสิทธิเลือกเข้าคํานิยามนั้น เนื่องจากส่วนเกินมีจํานวนน้อยกว่าเงินลงทุนเพื่อให้ได้เครื่องมือทางการเงินที่อ้างอิงสําหรับ เชื่อมโยงกับสิทธิเลือก การแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่กําหนดให้มีการแลกเปลี่ยนเมื่อเริ่มแรกของ สกุลเงินที่แตกต่างด้วยมูลค่ายุติธรรมที่เท่ากันเข้าคํานิยามนั้น เนื่องจากการแลกเปลี่ยนนั้น มีการจ่ายเงินลงทุนสุทธิเมื่อเริ่มแรกด้วยจํานวนศูนย์ ขก .4 การซื้อหรือการขายตามวิธีปกติก่อให้เกิดข้อผูกมัดในราคาคงที่ระหว่างวันซื้อขายและวันจ่าย ชําระซึ่งเข้าคํานิยามของอนุพันธ์ อย่างไรก็ตาม ข้อผูกมัดนั้นไม่ได้รับรู้เป็นตราสารอนุพันธ์ทาง การเงิน เนื่องจากมีระยะเวลาสั้น ในการนี้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ได้ให้วิธีทาง บัญชีพิเศษสําหรับสัญญาตามวิธีปฏิบัติดังกล่าว ( ดูย่อหน้าที่ 3.1.2 และ ข 3.1.3 ถึง ข 3.1.6) ขก .5 คํานิยามของอนุพันธ์อ้างอิงตัวแปรที่ไม่ใช่ทางการเงินซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงกับคู่สัญญา ตัวแปร เหล่านี้รวมถึงดัชนีของผลขาดทุนจากแผ่นดินไหวในเขตประเทศเฉพาะ และดัชนีของอุณหภูมิ ในเขตเมืองหลวงเฉพาะ ตัวแปรที่ไม่ใช่ทางการเงินเฉพาะเจาะจงกับคู่สัญญารวมถึงการเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นของไฟไหม้ที่ทําให้เกิดความเสียหายหรือทําลายสินทรัพย์ของคู่สัญญานั้น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ทางการเงินเป็นเฉพาะเจาะจงกับ เจ้าของ ถ้ามูลค่ายุติธรรมนั้นสะท้อนไม่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงในราคาตลาดสําหรับ สินทรัพย์ดังกล่าว ( ตัวแปรทางการเงิน ) แต่ยังสะท้อนเงื่อนไขของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ทางการเงิน ที่ถือไว้โดยเฉพาะเจาะจง ( ตัวแปรที่ไม่ใช่ทางการเงิน ) ตัวอย่างเช่น ถ้าการคํ้าประกันของมูลค่า คงเหลือของรถยนต์ที่เฉพาะเจาะจงมีฐานะเปิดจากผู้คํ้าประกันต่อความเสี่ยงของ การเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขทางกายภาพของรถยนต์ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าคงเหลือเป็น เฉพาะเจาะจงกับเจ้าของรถยนต์ สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่ถือไว้เพื่อค้า ขก .6 โดยทั่วไป การค้าสะท้อนถึงการซื้อและขายที่มีสภาพคล่องและบ่อย และเครื่องมือทางการเงิน ที่ถือไว้เพื่อค้าโดยทั่วไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ก่อให้เกิดกําไรจากความผันผวนระยะสั้นในราคา หรือกําไรของตัวแทนจําหน่าย ขก .7 หนี้สินทางการเงินที่ถือไว้เพื่อค้า รวมถึง ขก .7.1 หนี้สินอนุพันธ์ที่ไม่ได้ปฏิบัติเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ขก .7.2 ภาระผูกพันในการส่งมอบสินทรัพย์ทางการเงินที่กู้ยืมโดยผู้ขายระยะเวลาสั้น ( กล่าวคือ กิจการที่ขายสินทรัพย์ทางการเงินที่กิจการกู้ยืมมา และยังไม่ได้เป็น เจ้าของ ) ขก .7.3 หนี้สินทางการเงินที่เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะซื้อกลับคืนในระยะเวลาอันใกล้ ( เช่น ตราสารหนี้ที่มีการเสนอซึ่งผู้ออกอาจซื้อกลับคืนในระยะเวลาอันใกล้ขึ้นอยู่กับ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ) และ

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 31/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 204 ขก .7.4 หนี้สินทางการเงินที่เป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตโฟลิโอของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุ ได้ซึ่งมีการจัดการร่วมกัน และมีหลักฐานของรูปแบบล่าสุดในลักษณะการทํากําไร ในระยะเวลาสั้น ขก .8 ข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้สินใช้เป็นเงินทุนในกิจกรรมเพื่อค้าไม่เป็นหนี้สินที่ถือไว้เพื่อค้าในตัวเอง