ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน (เล่มที่ 2)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน (เล่มที่ 2)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมกา รกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 38/2565 เรื่อง มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานกา รรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือ ทางการเงิน ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 18 (เล่มที่ 2) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน คํานํา มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน ฉบับรวมเล่มปี 2566 ( IFRS 7: Financial Instruments: Disclosures ( Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศ ไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 3 8 21 29 และ ข 5 เพิ่มย่อหน้าที่ 44 ย และ 44 ษ และตัด ย่อหน้าที่ 30 การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการ บัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย และ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 2565 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 42 ท ตัดการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ เป็นทางเลือกสําหรับประเทศไทย ออก 2564 โ ด ย เ พิ่ ม ย่อ ห น้ำที่ 24 ฌ ถึ ง 24 ญ แ ล ะ ย่อหน้าที่ 44 ว ถึง 44 ศ การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง - ระยะที่ 2 2563 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 24 ซ 44 ร ถึง 44 ล และ หัวข้อย่อย การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 29 44 ม และ ข 11 ง และปรับปรุงการอ้างอิงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ข มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สามารถสรุปเหตุผลสําหรับการออกมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน และลักษณะสําคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ เหตุผลในการออกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 1 ปัจจุบัน เทคนิคต่างๆ ที่กิจการใช้ในการวัดและบริหารฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่เกิดจาก เครื่องมือทางการเงินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแนวคิดและแนวทางใหม่ๆ ในการบริหารความเสี่ยงเป็นที่ยอมรับมากขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐและเอกชนได้ริเริ่มเสนอ แนวทางการปรับปรุงกรอบการเปิดเผยข้อมูลสําหรับความเสี่ยงที่เกิดจากเครื่องมือทางการเงิน 2 คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีเชื่อว่าผู้ใช้งบการเงินต้องการข้อมูลเกี่ยวกับฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงของกิจการ และแนวทางการบริหารความเสี่ยงนั้น ข้อมูลดังกล่าวมีอิทธิพลต่อผู้ใช้ งบการเงินในการประเมินฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกิจการ หรือในการประเมิน จํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ การเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าวอย่างโปร่งใสมากขึ้นทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถใช้ดุลพินิจ อย่างรอบรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทน 3 ดังนั้น คณะกรรมการจึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงและการเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดไว้ใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 103 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบัน การเงินที่คล้ายคลึงกัน และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 107 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การแสดง รายการและการเปิดเผยข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ส่วนหนึ่งของการปรับปรุงครั้งนี้ คณะกรรมการจึงตัดการเปิดเผยข้อมูลที่ซํ้าซ้อนออก และทําให้การเปิดเผยข้อมูลเข้าใจง่าย เกี่ยวกับการกระจุกตัวของความเสี่ยง ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และ ความเสี่ยงด้านตลาดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 107 ( ปรับปรุง 2559) ลักษณะสําคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือ ทางการเงินทุกรายการ ยกเว้นรายการที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 3 ทั้งนี้ มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับทุกกิจการ ทั้งที่เป็นกิจการที่มีเครื่องมือทางการเงินจํานวน น้อยรายการ ( เช่น ผู้ผลิตสินค้าที่มีเครื่องมือทางการเงินเพียงลูกหนี้การค้าและเจ้าหนี้การค้า ) และกิจการที่มีเครื่องมือทางการเงินจํานวนมากรายการ ( เช่น สถาบันการเงินซึ่งมีสินทรัพย์ และหนี้สินส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือทางการเงิน ) อย่างไรก็ตาม ระดับของการเปิดเผยข้อมูล ที่กิจการต้องเปิดเผยจะขึ้นอยู่กับระดับของการใช้เครื่องมือทางการเงินและฐานะเปิดต่อความเสี่ยง ของกิจการนั้น 5 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 5.1 ความมีนัยสําคัญของเครื่องมือทางการเงินที่มีต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ของกิจการ ซึ่งข้อกําหนดของเรื่องนี้ในหลายประเด็นนํามาจากมาตรฐานการบัญชี
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ค ฉบับที่ 107 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสําหรับ เครื่องมือทางการเงิน 5.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาก เครื่องมือทางการเงิน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลขั้นตํ่าเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านตลาด โดยการเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพ อธิบายถึงวัตถุประสงค์ นโยบาย และกระบวนการของผู้บริหารในการบริหารความเสี่ยง ดังกล่าว ส่วนการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณให้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับของความเสี่ยง ที่กิจการเผชิญอยู่ ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลที่ได้มีการนําเสนอเป็นการภายในต่อผู้บริหาร สําคัญของกิจการ การเปิดเผยข้อมูลทั้งสองด้านนี้แสดงให้เห็นภาพรวมของกิจการ เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางการเงินและฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือ ทางการเงินดังกล่าว 5 ก การปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ได้กําหนดให้เพิ่มการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ การวัดมูลค่ายุติธรรมและความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นในการปฏิบัติและ เสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน 5 ข การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการโอนสินทรัพย์ทางการเงิน เป็นการเปิดเผยข้อมูลเพื่อช่วยผู้ใช้ งบการเงินในการประเมินฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการโอนสินทรัพย์ทางการเงินและ ผลกระทบของความเสี่ยงเหล่านั้นที่มีต่อฐานะการเงินของกิจการ 5 ค ข้อกําหนดในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการวัดมูลค่ายุติธรรมระบุอยู่ในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม 6 ภาคผนวก ข แนวทางปฏิบัติถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับวิธีการนําข้อกําหนดของมาตรฐานฉบับนี้ไปถือปฏิบัติ 7 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 103 เรื่อง การเปิดเผย ข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับ การเปิดเผยข้อมูลในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 107 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การแสดงรายการ และการเปิดเผยข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน 8 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อนุญาตให้นําไปใช้ก่อนวันถือปฏิบัติ 9 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน เป็นการเปิดเผย ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินผลกระทบหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก ข้อตกลงการหักกลบที่มีต่อฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งรวมถึงสิทธิในการหักกลบที่เกี่ยวข้องกับ สินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้และหนี้สินทางการเงินที่รับรู้ของกิจการ ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ **
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 3 ประเภทของเครื่องมือทางการเงินและระดับของการเปิดเผยข้อมูล 6 ความมีนัยสําคัญของเครื่องมือทางการเงินต่อฐานะการเงินและ ผลการดําเนินงาน 7 งบฐานะการเงิน 8 งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 20 การเปิดเผยข้อมูลอื่น 21 ธรรมชาติและระดับของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงิน 31 การเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพ 33 การเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณ 34 การโอนสินทรัพย์ทางการเงิน 42 ก สินทรัพย์ทางการเงินที่โอนโดยไม่เลิกรับรู้ทั้งจํานวน 42 ง สินทรัพย์ทางการเงินที่โอนโดยเลิกรับรู้ทั้งจํานวน 42 จ ข้อมูลเพิ่มเติม 42 ซ การใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาถือปฏิบัติเป็นครั้งแรก 42 ฌ วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 43 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น 45 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ข แนวปฏิบัติ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน ประกอบด้วย ย่อหน้าที่ 1 ถึง 45 และภาคผนวก ก ถึง ข ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน ย่อหน้าที่พิมพ์ด้วย ตัวอักษร หนา ถือเป็นหลักการที่สําคัญ คํานิยามในภาคผนวก ก ที่ปรากฏเป็นครั้งแรกในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้จะเป็นตัวอักษร เอน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึง หลักการสําคัญของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือก และการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดให้กิจการเปิดเผยข้อมูล ในงบการเงินเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเกี่ยวกับ 1.1 ความมีนัยสําคัญของเครื่องมือทางการเงินที่มีต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ของกิจการ และ 1.2 ธรรมชาติและระดับของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินที่กิจการเปิดรับ ระหว่างรอบระยะเวลาและ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน รวมทั้งแนวทางการบริหาร ความเสี่ยงดังกล่าว 2 หลักการในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เสริมกับหลักการในการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการแสดงรายการสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ตามที่กําหนดใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน และมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ขอบเขต 3 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับเครื่องมือทางการเงินทุกประเภทของ ทุกกิจการ ยกเว้นรายการต่อไปนี้ 3.1 ส่วนได้เสียในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ตามที่กําหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุน ในบริษัทร่วมและการร่วมค้า อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 10 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 กําหนดหรืออนุญาตให้กิจการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 ส่วนได้เสียในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ซึ่งในกรณีดังกล่าวกิจการยังคงต้อง ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้และสําหรับ รายการที่ถูกวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมจะต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม นอกจากนี้ กิจการต้อง นํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มาถือปฏิบัติกับอนุพันธ์ทั้งหมดที่เชื่อมโยง กับส่วนได้เสียในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า เว้นแต่อนุพันธ์นั้นเป็นไปตาม คํานิยามของตราสารทุนตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 3.2 สิทธิและภาระผูกพันของนายจ้างที่เกิดจากแผนสิทธิประโยชน์ของพนักงาน ที่ถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน 3.3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 3.4 สัญญาประกันภัยตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย หรือสัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ตามดุลพินิจ ภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับ 3.4.1 อนุพันธ์ที่แฝงอยู่ในสัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 หากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กําหนดให้กิจการปฏิบัติกับอนุพันธ์เหล่านั้นแยกออกมา 3.4.2 องค์ประกอบการลงทุนที่ถูกแยกออกจากสัญญาภายในขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 หากมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 กําหนดให้มีการแยกรายการนั้น เว้นแต่องค์ประกอบ การลงทุนที่ได้แยกออกมาเป็นสัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ ตามดุลพินิจ 3.4.3 สิทธิและภาระผูกพันของผู้ออกที่เกิดขึ้นภายใต้สัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไป ตามนิยามของ สัญญาคํ้าประกันทางการเงิน หากผู้ออกถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ในการรับรู้และวัดค่าของสัญญา อย่างไรก็ตาม ผู้ออกต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 หากผู้ออกเลือกที่จะถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 ในการรับรู้และวัดค่าของสัญญาตามที่กําหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ 7.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 3.4.4 สิทธิและภาระผูกพันของกิจการซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เกิดขึ้นภายใต้ สัญญาบัตรเครดิตหรือสัญญาที่คล้ายคลึงกันซึ่งให้เครดิตหรือจัดการ การชําระเงิน ซึ่งกิจการเป็นผู้ออกที่เป็นไปตามนิยามของสัญญาประกันภัย หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กับ สิทธิและภาระผูกพันเหล่านั้นตามย่อหน้าที่ 7.8 ของมาตรฐานการรายงาน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 ทางการเงิน ฉบับที่ 17 และย่อหน้าที่ 2.1.5.4 ของของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 3.4.5 สิทธิและภาระผูกพันของกิจการซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เกิดขึ้นภายใต้ สัญญาประกันภัยซึ่งกิจการเป็นผู้ออก ที่จํากัดเงินชดเชยสําหรับเหตุการณ์ที่ เอาประกันภัยไว้เท่ากับจํานวนเงินในการชําระภาระผูกพันของผู้ถือ กรมธรรม์ที่เกิดขึ้นตามสัญญา หากกิจการเลือกที่จะถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 แทนมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 กับสัญญาเหล่านั้น ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 8 ก ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 3.5 เครื่องมือทางการเงิน สัญญา และภาระผูกพันที่เกิดจากรายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ซึ่งต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้น เป็นเกณฑ์ สําหรับสัญญาที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 3.6 เครื่องมือทางการเงินที่ต้องจัดประเภทเป็นตราสารทุน ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้รายการแล้ว และที่ยังไม่ได้รับรู้รายการ โดยเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้รายการแล้ว รวมถึงสินทรัพย์ ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และเครื่องมือทางการเงินที่ยังไม่ได้รับรู้รายการ รวมถึง เครื่องมือทางการเงิน บางประเภทที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ถึงแม้ว่าจะอยู่นอก ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 5 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับสัญญาจะซื้อหรือสัญญาจะขายรายการ ที่ไม่ใช่รายการทางการเงินซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 5 ก ข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงด้านเครดิตในย่อหน้าที่ 35 ก ถึง 35 ฑ ให้ถือปฏิบัติกับ สิทธิที่ระบุไว้ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับ ลูกค้า และที่มีการรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนจากการด้อยค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 การอ้างอิงถึงสินทรัพย์ทางการเงินหรือเครื่องมือทางการเงินในย่อหน้าเหล่านี้ ต้องรวมถึงสิทธิเหล่านี้ด้วย เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น ประเภทของเครื่องมือทางการเงินและระดับของการเปิดเผยข้อมูล 6 ในกรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลตามประเภทของ เครื่องมือทางการเงิน กิจการต้องจัดกลุ่มเครื่องมือทางการเงินเป็นประเภทต่างๆ ให้เหมาะสม กับธรรมชาติของข้อมูลที่เปิดเผย และคํานึงถึงลักษณะของเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวด้วย
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 กิจการต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถกระทบยอดกับรายการรายบรรทัดที่แสดงรายการ ในงบฐานะการเงินได้ ความมีนัยสําคัญของเครื่องมือทางการเงินต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน 7 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินความมีนัยสําคัญของ เครื่องมือทางการเงินต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน งบฐานะการเงิน ประเภทของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน 8 กิจการต้องเปิดเผยมูลค่าตามบัญชีของเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทในงบฐานะการเงิน หรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ดังต่อไปนี้ 8.1 สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน โดยให้แยก แสดงระหว่าง (1) สินทรัพย์ทางการเงินที่กิจการกําหนดให้วัดมูลค่าเช่นนั้นในการรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรกหรือในภายหลังตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.7.1 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (2) สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าเช่นนั้นตามการ เลือกที่กําหนดในย่อหน้าที่ 3.3.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (3) สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าเช่นนั้นตามการเลือกที่กําหนดในย่อหน้าที่ 33 ก ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 และ (4) สินทรัพย์ทางการเงินที่มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 บังคับให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน 8.2-8.4 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 8.5 หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน โดยให้แยกแสดง ระหว่าง (1) หนี้สินทางการเงินที่กิจการกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่าน กําไรหรือขาดทุนในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือในภายหลังตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 6.7.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ (2) หนี้สินทางการเงิน ที่เป็นไปตามคํานิยามการถือไว้เพื่อค้าในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 8.6 สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย 8.7 หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย 8.8 สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น โดยให้แยกแสดงระหว่าง (1) สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่าน กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ (2) เงินลงทุนในตราสารทุนที่กิจการกําหนดให้วัดมูลค่าด้วย
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกตามที่ กําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 9 ในกรณีที่กิจการกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือกลุ่มของสินทรัพย์ทางการเงิน ) วัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน แทนการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นหรือราคาทุนตัดจําหน่าย กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 9.1 ฐานะเปิดสูงสุดต่อ ความเสี่ยงด้านเครดิ ตของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือกลุ่มของ สินทรัพย์ทางการเงิน ) ( ดูย่อหน้าที่ 36.1) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 9.2 จํานวนเงินของฐานะเปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตที่ลดลงจากอนุพันธ์ด้านเครดิต ที่เกี่ยวข้องหรือเครื่องมือทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน ( ดูย่อหน้าที่ 36.2) 9.3 จํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ( หรือกลุ่ม ของสินทรัพย์ทางการเงิน ) ในระหว่างรอบระยะเวลาและผลสะสมของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ทางการเงิน จํานวนเงินดังกล่าวสามารถกําหนดตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 9.3.1 จํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งไม่ได้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดที่ทําให้เกิด ความเสี่ยง ด้านตลาด หรือ 9.3.2 จํานวนเงินซึ่งกําหนดโดยวิธีการอื่นซึ่งกิจการเชื่อว่าแสดงถึงจํานวนเงินของ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินอันเป็นผล มาจากการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ได้อย่าง เที่ยงธรรมมากกว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดที่ทําให้เกิดความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง ของอัตราดอกเบี้ย ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือ ดัชนีราคาหรือดัชนีอัตรา ที่สังเกตได้ในตลาด ( ที่เป็นค่าเทียบเคียง ) 9.4 จํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์ด้านเครดิตที่เกี่ยวข้อง หรือเครื่องมือทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลาและ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่วันที่กิจการกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงิน วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 10 ในกรณีที่กิจการกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.2.2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และต้องแสดง ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินดังกล่าวในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ( ดูย่อหน้าที่ 5.7.7 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 10.1 ผลสะสมของจํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงิน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินดังกล่าว ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.7.13 ถึง ข 5.7.20 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับแนวทางการพิจารณาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิต ของหนี้สิน ) 10.2 ความแตกต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินทางการเงินและมูลค่าที่กิจการต้อง จ่ายชําระตามสัญญาแก่ผู้ถือครองภาระผูกพัน ณ วันครบกําหนดสัญญา 10.3 การโอนผลสะสมของกําไรหรือขาดทุนภายในส่วนของเจ้าของในระหว่างรอบระยะเวลา รวมทั้งเหตุผลของการโอนดังกล่าว 10.4 จํานวนเงินที่แสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( ถ้ามี ) ซึ่งรับรู้เมื่อมีการเลิกรับรู้รายการ สําหรับหนี้สินที่ถูกเลิกรับรู้ในระหว่างรอบระยะเวลา 10 ก ในกรณีที่กิจการกําหนดให้หนี้สินทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.2.2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และต้องแสดง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมทั้งหมดของหนี้สินดังกล่าว ( รวมถึงผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สิน ) ในกําไรหรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 5.7.7 และ 5.7.8 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 10 ก .1 จํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงิน ในระหว่าง รอบระยะเวลาและผลสะสมของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง ของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินดังกล่าว ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.7.13 ถึง ข 5.7.20 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับแนวทางการพิจารณาผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สิน ) และ 10 ก .2 ความแตกต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินทางการเงินและมูลค่าที่กิจการ ต้องจ่ายตามสัญญาแก่ผู้ถือครองภาระผูกพัน ณ วันครบกําหนดสัญญา 11 นอกจากนี้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 11.1 คําอธิบายอย่างละเอียดของวิธีที่กิจการใช้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดใน ย่อหน้าที่ 9.3 10.1 และ 10 ก .1 และย่อหน้าที่ 5.7.7.1 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 รวมถึงคําอธิบายเหตุผลที่วิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสม 11.2 ในกรณีที่กิจการเชื่อว่า การเปิดเผยข้อมูลไม่ว่าจะในงบฐานะการเงินหรือ ในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 9.3 10.1 หรือ 10 ก .1 หรือย่อหน้าที่ 5.7.7.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินหรือ หนี้สินทางการเงินอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิต อย่างเที่ยงธรรม กิจการต้องเปิดเผยเหตุผลซึ่งนําไปสู่ข้อสรุปดังกล่าวและปัจจัยที่กิจการ เชื่อว่าเกี่ยวข้องด้วย
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 11.3 คําอธิบายอย่างละเอียดของวิธีการที่กิจการใช้ในการพิจารณาว่าการแสดงผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้สินในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น จะก่อให้เกิดหรือเพิ่มการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชีของกําไรหรือขาดทุน หรือไม่ ( ดูย่อหน้าที่ 5.7.7 และ 5.7.8 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) หากกิจการต้องแสดงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตของ หนี้สินในกําไรหรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 5.7.8 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) กิจการต้องเปิดเผยคําอธิบายอย่างละเอียดของความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ ข 5.7.6 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ด้วย เงินลงทุนในตราสารทุนที่กําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 11 ก ในกรณีที่กิจการกําหนดให้เงินลงทุนในตราสารทุนวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ตามที่อนุญาตในย่อหน้าที่ 5.7.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 11 ก .1 เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งกิจการกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 11 ก .2 เหตุผลของการใช้ทางเลือกในการแสดงรายการดังกล่าว 11 ก .3 มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนดังกล่าวแต่ละรายการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 11 ก .4 เงินปันผลที่รับรู้ในระหว่างรอบระยะเวลา โดยให้แยกแสดงเงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับ เงินลงทุนที่ถูกเลิกรับรู้ในระหว่างรอบระยะเวลารายงานออกจากเงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับ เงินลงทุนที่ถือไว้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 11 ก .5 การโอนผลสะสมของกําไรหรือขาดทุนภายในส่วนของเจ้าของในระหว่างรอบระยะเวลา รวมทั้งเหตุผลของการโอนดังกล่าว 11 ข ในกรณีที่กิจการเลิกรับรู้เงินลงทุนในตราสารทุนที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นในระหว่างรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 11 ข .1 เหตุผลของการจําหน่ายเงินลงทุนดังกล่าว 11 ข .2 มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน ณ วันที่เลิกรับรู้รายการ 11 ข .3 ผลสะสมของกําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายรายการดังกล่าว การจัดประเภทรายการใหม่ 12-12 ก ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 12 ข หากในรอบระยะเวลารายงานปัจจุบันหรือรอบระยะเวลารายงานก่อนหน้า กิจการจัดประเภท รายการใหม่สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินใดๆ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.4.1 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลสําหรับแต่ละเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ 12 ข .1 วันที่จัดประเภทรายการใหม่
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 12 ข .2 คําอธิบายอย่างละเอียดของการเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจ (business model) และ คําอธิบายเชิงคุณภาพของผลกระทบต่องบการเงินของกิจการ 12 ข .3 จํานวนเงินที่จัดประเภทรายการใหม่ ทั้งเข้าและออกในแต่ละประเภท 12 ค สําหรับแต่ละรอบระยะเวลารายงานภายหลังการจัดประเภทรายการใหม่จนกระทั่งการเลิกรับรู้ รายการ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้สําหรับสินทรัพย์ที่ถูกจัดประเภทรายการใหม่ออก จากประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ไปเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วย ราคาทุนตัดจําหน่ายหรือมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.4.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 12 ค .1 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่กําหนด ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ และ 12 ค .2 ดอกเบี้ยรับที่กิจการรับรู้ 12 ง ตั้งแต่วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปีล่าสุด หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับ สินทรัพย์ทางการเงินออกจากประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ไปเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย หรือออกจากประเภทที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนไปเป็นประเภทที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายหรือมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 12 ง .1 มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และ 12 ง .2 ผลกําไรหรือขาดทุนจากมูลค่ายุติธรรมที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนหรือกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นในระหว่างรอบระยะเวลารายงานที่จะเกิดขึ้น หากสินทรัพย์ทางการเงินนั้น ไม่ถูกจัดประเภทรายการใหม่ 13 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) การหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน 13 ก การเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 13 ข ถึง 13 จ เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมในการเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ และให้ถือปฏิบัติสําหรับเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้ ทุกรายการแล้วซึ่งหักกลบลบหนี้ได้ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวถือปฏิบัติกับเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้แล้ว และอยู่ภายใต้ข้อตกลงหลักของการหักกลบที่มีผลบังคับใช้หรือข้อตกลงที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่คํานึงว่า รายการดังกล่าวหักกลบลบหนี้ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 หรือไม่ 13 ข กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินผลกระทบหรือผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นจากข้อตกลงการหักกลบที่มีต่อฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งรวมถึงผลกระทบหรือ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของสิทธิในการหักกลบที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้และ หนี้สินทางการเงินที่รับรู้ของกิจการซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตของย่อหน้าที่ 13 ก
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 13 ค เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในย่อหน้าที่ 13 ข กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณแยกจากกัน สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้และหนี้สินทางการเงินที่รับรู้ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตของ ย่อหน้าที่ 13 ก ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ดังต่อไปนี้ 13 ค .1 จํานวนเงินขั้นต้น (gross amount) ของสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้และหนี้สินทางการเงิน ที่รับรู้ 13 ค .2 จํานวนเงินที่หักกลบลบหนี้ได้ตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เมื่อคํานวณจํานวนเงินสุทธิที่แสดงในงบฐานะการเงิน 13 ค .3 จํานวนเงินสุทธิที่แสดงในงบฐานะการเงิน 13 ค .4 จํานวนเงินที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงหลักของการหักกลบที่มีผลบังคับใช้หรือข้อตกลง ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งไม่ได้นํามารวมอยู่ในย่อหน้าที่ 13 ค .2 ซึ่งรวมถึง 13 ค .4.1 จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้ ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ของการหักกลบบางข้อหรือทุกข้อในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 และ 13 ค .4.2 จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันทางการเงิน ( รวมถึงหลักประกันเงินสด ) และ 13 ค .5 จํานวนเงินสุทธิหลังหักจํานวนเงินในย่อหน้าที่ 13 ค .4 จากจํานวนเงินในย่อหน้าที่ 13 ค .3 ข้างต้น ข้อมูลที่กําหนดในย่อหน้านี้ต้องแสดงในรูปแบบตาราง แยกระหว่างสินทรัพย์ทางการเงินและ หนี้สินทางการเงิน เว้นแต่การแสดงด้วยรูปแบบอื่นเหมาะสมกว่า 13 ง จํานวนเงินรวมที่เปิดเผยตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .4 สําหรับเครื่องมือทางการเงินหนึ่ง ต้องไม่เกินกว่าจํานวนเงินที่เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 13 ค .3 สําหรับเครื่องมือทางการเงินนั้น 13 จ กิจการต้องเปิดเผยคําอธิบายเกี่ยวกับสิทธิในการหักกลบที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงิน ที่รับรู้และหนี้สินทางการเงินที่รับรู้ของกิจการ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลงหลักของการหักกลบที่มี ผลบังคับใช้และข้อตกลงที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเปิดเผยตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .4 รวมถึง ธรรมชาติของสิทธิเหล่านั้นด้วย 13 ฉ หากข้อมูลที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ข ถึง 13 จ ถูกเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินมากกว่า หนึ่งข้อ กิจการต้องอ้างอิงระหว่างหมายเหตุประกอบงบการเงินเหล่านั้นด้วย หลักประกัน 14 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ 14.1 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินที่กิจการนําไปวางเป็นหลักประกันสําหรับ หนี้สินหรือหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงจํานวนเงินดังกล่าวที่จัดประเภทรายการใหม่ ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 3.2.23.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 14.2 ข้อกําหนดและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการวางหลักประกัน 15 ในกรณีที่กิจการถือครองหลักประกัน ( ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือไม่ใช่สินทรัพย์ ทางการเงิน ) และมีสิทธิในการนําหลักประกันไปขายหรือวางเป็นประกันต่ออีกทอดหนึ่ง โดยที่ เจ้าของหลักประกันนั้นไม่ได้ผิดสัญญา กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ 15.1 มูลค่ายุติธรรมของหลักประกันที่กิจการถือครอง 15.2 มูลค่ายุติธรรมของหลักประกันที่นําไปขายหรือวางเป็นประกันต่ออีกทอดหนึ่ง และ เปิดเผยว่ากิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งคืนหลักประกันหรือไม่ และ 15.3 ข้อกําหนดและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักประกัน บัญชีค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิต 16 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 16 ก มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 จะไม่ลดมูลค่าลงด้วยค่าเผื่อผลขาดทุน และกิจการต้องไม่แสดงค่าเผื่อผลขาดทุนแยกต่างหาก ในงบฐานะการเงินเป็นยอดหักมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กิจการ ต้องเปิดเผยค่าเผื่อผลขาดทุนในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เครื่องมือทางการเงินแบบผสมซึ่งประกอบด้วยอนุพันธ์แฝงหลายรายการ 17 ในกรณีที่กิจการออกเครื่องมือทางการเงินซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบของหนี้สินและส่วนของ เจ้าของ ( ดูย่อหน้าที่ 28 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32) และเครื่องมือทางการเงินนั้น ประกอบด้วยอนุพันธ์แฝงหลายรายการซึ่งมูลค่าของอนุพันธ์แฝงเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กัน ( เช่น ตราสารหนี้แปลงสภาพที่ให้สิทธิผู้ออกในการเรียกคืนก่อนกําหนด ) กิจการต้องเปิดเผย การคงอยู่ของลักษณะเหล่านั้น การผิดสัญญาและการละเมิดสัญญา 18 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ สําหรับ เงินกู้ยืม ที่รับรู้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 18.1 รายละเอียดของการผิดสัญญาเกี่ยวกับเงินต้น ดอกเบี้ย เงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ที่สํารองไว้เพื่อชําระหนี้สิน ( sinking fund) หรือข้อกําหนดในการไถ่ถอนเงินกู้ยืม ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลา 18.2 มูลค่าตามบัญชีของเงินกู้ยืมที่ผิดสัญญา ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และ 18.3 เปิดเผยว่ากิจการได้แก้ไขการผิดสัญญาหรือมีการเจรจาปรับเงื่อนไขของเงินกู้ยืมใหม่ หรือไม่ ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 19 ในกรณีที่กิจการมีการละเมิดเงื่อนไขข้อตกลงการกู้ยืม นอกเหนือจากที่กําหนดในย่อหน้าที่ 18 ในระหว่างรอบระยะเวลา และการละเมิดดังกล่าวอนุญาตให้ผู้ให้กู้ยืมเรียกร้องให้กิจการจ่าย ชําระหนี้คืนเร็วขึ้น กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในลักษณะเดียวกันกับที่กําหนดในย่อหน้าที่ 18 ( เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขแล้ว หรือมีการเจรจาปรับเงื่อนไขของเงินกู้ยืมใหม่ ก่อนหรือ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ) งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รายการรายได้ ค่าใช้จ่าย ผลกําไรหรือขาดทุน 20 กิจการต้องเปิดเผยรายการรายได้ ค่าใช้จ่าย ผลกําไรหรือขาดทุนดังต่อไปนี้ ในงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 20.1 ผลกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่เกิดจากรายการต่อไปนี้ 20.1.1 สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุน โดยให้แยกแสดงระหว่างผลกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ที่เกิดจากสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่กําหนดให้วัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก หรือ ในภายหลังตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.7.1 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 และผลกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่เกิดจากสินทรัพย์ ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่ต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ( เช่น หนี้สินทางการเงินที่เป็นไปตามคํานิยามถือไว้เพื่อค้า ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) สําหรับหนี้สินทางการเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน กิจการต้องแยกแสดง ระหว่างผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและจํานวนเงิน ที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 20.1.2-20.1.4 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 20.1.5 หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย 20.1.6 สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย 20.1.7 เงินลงทุนในตราสารทุนที่กําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.5 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 20.1.8 สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 โดยแยกแสดงระหว่างผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นในระหว่างรอบระยะเวลาและผลกําไรหรือขาดทุนที่จัดประเภท
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 รายการใหม่จากกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสะสมไปยังกําไรหรือขาดทุนสําหรับ รอบระยะเวลาเมื่อมีการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงิน 20.2 ดอกเบี้ยรับรวมและดอกเบี้ยจ่ายรวม ( ซึ่งคํานวณโดยใช้วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง ) สําหรับ สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายหรือที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ( แสดงจํานวนดังกล่าวแยกจากกัน ) หรือหนี้สิน ทางการเงินที่ไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 20.3 รายได้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม ( นอกเหนือจากจํานวนเงินที่รวมใน การคํานวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ) ที่เกิดจาก 20.3.1 สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่ไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน และ 20.3.2 การดําเนินธุรกิจด้านการดูแลผลประโยชน์หรือเก็บรักษาสินทรัพย์อื่นใด (trust and other fiduciary activities) ซึ่งทําให้เกิดการถือครองหรือมีการลงทุน ในสินทรัพย์แทนบุคคล ทรัสต์ โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงาน และ สถาบันอื่น 20.4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 20.5 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 20 ก กิจการต้องเปิดเผยการวิเคราะห์ผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เกิดขึ้น จากการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย โดยแยกแสดง รายการระหว่างผลกําไรและขาดทุนที่เกิดจากการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านั้น การเปิดเผยข้อมูลนี้ต้องรวมถึงเหตุผลของการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านั้นด้วย การเปิดเผยข้อมูลอื่น นโยบายการบัญชี 21 ตามย่อหน้าที่ 117 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน กําหนดให้ กิจการเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญ ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการวัดค่า หลักการใดหลักการหนึ่ง ( หรือหลายหลักการ ) สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการจัดทํา งบการเงินนั้น คาดว่าจะเป็นข้อมูลนโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง 21 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 21 ข ถึง 24 ฉ สําหรับ ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่กิจการป้องกันความเสี่ยง และเลือกที่จะใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยง การเปิดเผยข้อมูลการบัญชีป้องกันความเสี่ยงต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ 21 ก .1 กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของกิจการและการนํากลยุทธ์มาใช้บริหารความเสี่ยง 21 ก .2 ผลของการป้องกันความเสี่ยงของกิจการที่อาจมีต่อจํานวนเงิน จังหวะเวลา และ ความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ และ 21 ก .3 ผลกระทบของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงที่มีต่องบฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จ และงบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของของกิจการ 21 ข กิจการต้องแสดงการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในหนึ่งหัวข้อของหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือแสดงเป็นส่วนแยกเฉพาะในงบการเงิน อย่างไรก็ตาม กิจการไม่จําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูล ซํ้ากับที่ได้แสดงไว้แล้ว หากงบการเงินมีการอ้างอิงไปยังข้อมูลดังกล่าวในรายงานอื่น เช่น การวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการหรือรายงานความเสี่ยง ซึ่งผู้ใช้งบการเงินสามารถ เข้าถึงได้ภายใต้เงื่อนไขและช่วงเวลาเดียวกับงบการเงิน งบการเงินที่ไม่มีการอ้างอิงไปยังข้อมูล ดังกล่าวถือเป็นงบการเงินที่ไม่สมบูรณ์ 21 ค เมื่อกิจการต้องพิจารณาความเสี่ยงแต่ละประเภทโดยอิงกับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่กิจการ ตัดสินใจจะป้องกันความเสี่ยงและถือปฏิบัติตามการบัญชีป้องกันความเสี่ยง ตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 22 ก ถึง 24 ฉ ที่กําหนดให้กิจการเปิดเผยข้อมูลแยกตามประเภทความเสี่ยง กิจการ ต้องพิจารณาประเภทความเสี่ยงอย่างสมํ่าเสมอสําหรับการเปิดเผยข้อมูลการบัญชีป้องกัน ความเสี่ยงทั้งหมด 21 ง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในย่อหน้าที่ 21 ก ( เว้นแต่กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ) กิจการต้อง พิจารณาถึงความละเอียดในการเปิดเผยข้อมูล การให้ความสําคัญในด้านต่างๆ ของข้อกําหนด ของการเปิดเผยข้อมูล ระดับที่เหมาะสมในการรวมหรือแยกข้อมูล และพิจารณาว่าผู้ใช้งบการเงิน ต้องการคําอธิบายเพิ่มเติมเพื่อประเมินข้อมูลเชิงปริมาณที่เปิดเผยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สําหรับ ข้อกําหนดของการเปิดเผยข้อมูลที่ข้อมูลมีความเกี่ยวข้องกันในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้ และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม กิจการต้อง ใช้การรวมหรือแยกข้อมูลในระดับเดียวกัน กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง 22 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 22 ก กิจการต้องอธิบายกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงแต่ละประเภท ที่กิจการตัดสินใจป้องกันความเสี่ยง และถือปฏิบัติตามการบัญชีป้องกันความเสี่ยง คําอธิบายนี้ ต้องช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินได้ว่า ( ตัวอย่างเช่น ) 22 ก .1 ความเสี่ยงแต่ละประเภทเกิดขึ้นได้อย่างไร
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 22 ก .2 กิจการบริหารความเสี่ยงแต่ละประเภทอย่างไร รวมถึงประเมินว่ากิจการป้องกันความเสี่ยง รายการทั้งจํานวนสําหรับความเสี่ยงทั้งหมด หรือป้องกันความเสี่ยงองค์ประกอบใด องค์ประกอบหนึ่ง ( หรือหลายองค์ประกอบ ) ของรายการพร้อมเหตุผล 22 ก .3 กิจการบริหารฐานะเปิดต่อความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด 22 ข เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 22 ก การเปิดเผยข้อมูลควรรวมถึงคําอธิบายรายการ ดังนี้ ( ซึ่งมิได้จํากัดเพียงรายการเหล่านี้เท่านั้น ) 22 ข .1 เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่กิจการใช้ในการป้องกันฐานะเปิดต่อความเสี่ยง ( และวิธีการนํามาใช้ ) 22 ข .2 วิธีที่กิจการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง และเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเพื่อวัตถุประสงค์ในการประเมินประสิทธิผล ในการป้องกันความเสี่ยง และ 22 ข .3 วิธีที่กิจการกําหนดอัตราส่วนการป้องกันความเสี่ยง และแหล่งที่มาของความไม่มี ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง 22 ค เมื่อกิจการกําหนดให้องค์ประกอบความเสี่ยงที่ระบุเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( ดูย่อหน้าที่ 6.3.7 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) กิจการต้องให้ข้อมูล เชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณดังต่อไปนี้ นอกเหนือจากการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 22 ก และ 22 ข 22 ค .1 วิธีที่กิจการระบุองค์ประกอบความเสี่ยงที่กําหนดให้เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ( รวมถึงคําอธิบายธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบความเสี่ยงและ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงโดยรวม ) และ 22 ค .2 วิธีที่องค์ประกอบความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงทั้งจํานวน ( เช่น จากประสบการณ์ในอดีต องค์ประกอบความเสี่ยงที่ถูกกําหนดให้มีการป้องกัน ความเสี่ยงครอบคลุมโดยเฉลี่ยร้อยละ 80 ของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงโดยรวม ) จํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคต 23 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 23 ก กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณตามประเภทความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถ ประเมินข้อกําหนดและเงื่อนไขของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบต่อจํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ เว้นแต่ได้รับยกเว้น ตามย่อหน้าที่ 23 ค 23 ข เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 23 ก กิจการต้องเปิดเผยรายละเอียดดังนี้ 23 ข .1 โครงร่างของจังหวะเวลาของจํานวนเงินที่กําหนดไว้ของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 23 ข .2 ราคา หรืออัตราเฉลี่ยของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( ตัวอย่างเช่น ราคาใช้สิทธิ หรือราคาฟอร์เวิร์ด เป็นต้น ) ( ถ้ามี ) 23 ค ในสถานการณ์ที่กิจการกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงขึ้นใหม่ ( กล่าวคือ ยกเลิก และเริ่มต้นใหม่ ) เป็นประจํา เนื่องจากทั้งเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงและรายการ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ( กล่าวคือ กิจการใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยง แบบพลวัต ซึ่งทั้งฐานะเปิดและเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ไม่ได้คงอยู่เป็นระยะเวลานาน ดังเช่นตัวอย่างในย่อหน้าที่ ข 6.5.24.2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) 23 ค .1 กิจการได้รับยกเว้นจากการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 23 ก และ 23 ข 23 ค .2 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังนี้ 23 ค .2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์ขั้นสูงสุดในการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้น 23 ค .2.2 คําอธิบายที่สะท้อนกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของกิจการโดยใช้การบัญชี ป้องกันความเสี่ยงและวิธีกําหนดความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง เหล่านั้น และ 23 ค .2.3 ข้อบ่งชี้ว่าความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงถูกยกเลิกและเริ่มต้นใหม่ บ่อยเพียงใดภายใต้กระบวนการของกิจการที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้น 23 ง กิจการต้องเปิดเผยคําอธิบายเกี่ยวกับแหล่งที่มาของความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงในระหว่างอายุสัญญานั้น โดยเปิดเผยแยกตามประเภทความเสี่ยง 23 จ หากมีแหล่งที่มาอื่นของความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงปรากฏขึ้นในความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องเปิดเผยแหล่งที่มาเหล่านั้น โดยแยกตามประเภทความเสี่ยง และอธิบายผลของความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงนั้น 23 ฉ สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด กิจการต้องเปิดเผยคําอธิบายเกี่ยวกับรายการ ที่คาดการณ์ใดๆ ที่ได้ใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงแล้วในรอบระยะเวลาก่อน แต่ไม่คาดว่าจะ เกิดขึ้นอีกต่อไป ผลกระทบของการบัญชีป ้ องกันความเสี่ยงต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน 24 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 24 ก กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบตารางสําหรับจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับรายการที่กําหนด ให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง โดยแยกตามประเภทความเสี่ยงสําหรับการป้องกัน ความเสี่ยงแต่ละประเภท ( การป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม การป้องกันความเสี่ยง ในกระแสเงินสด หรือการป้องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิของหน่วยงานต่างประเทศ ) ดังนี้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 24 ก .1 มูลค่าตามบัญชีของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( แยกแสดงระหว่างสินทรัพย์ ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ) 24 ก .2 รายการรายบรรทัดในงบฐานะการเงินที่รวมเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง 24 ก .3 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ ในการรับรู้ความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงสําหรับรอบระยะเวลา และ 24 ก .4 จํานวนเงินที่กําหนดไว้ของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ( รวมถึงปริมาณ เช่น ตัน หรือลูกบาศก์เมตร ) 24 ข กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบตารางสําหรับจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มี การป้องกันความเสี่ยง โดยแยกตามประเภทความเสี่ยงสําหรับการป้องกันความเสี่ยงแต่ละ ประเภท ดังนี้ 24 ข .1 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม 24 ข .1.1 มูลค่าตามบัญชีของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่รับรู้ในงบฐานะ การเงิน ( แสดงสินทรัพย์แยกจากหนี้สิน ) 24 ข .1.2 จํานวนเงินสะสมของการปรับปรุงการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม ของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งรวมอยู่ในมูลค่าตามบัญชีของ รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่รับรู้ในงบฐานะการเงิน ( แสดง สินทรัพย์แยกจากหนี้สิน ) 24 ข .1.3 รายการรายบรรทัดในงบฐานะการเงินที่รวมรายการที่มีการป้องกันความ เสี่ยง 24 ข .1.4 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ ในการรับรู้ความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงสําหรับรอบระยะเวลา และ 24 ข .1.5 จํานวนเงินสะสมของการปรับปรุงการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม ที่คงเหลืออยู่ในงบฐานะการเงินสําหรับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงใดๆ ที่ได้หยุดปรับผลกําไรและขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยง ตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 6.5.10 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 24 ข .2 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดและการป้องกันความเสี่ยงของเงินลงทุน สุทธิของหน่วยงานต่างประเทศ 24 ข .2.1 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงที่ใช้เป็น เกณฑ์ในการรับรู้ความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงสําหรับ รอบระยะเวลา ( กล่าวคือ สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าที่ใช้ในการกําหนดความไม่มีประสิทธิผลในการ ป้องกันความเสี่ยงที่รับรู้ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.5.11.3 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9)
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 24 ข .2.2 ยอดคงเหลือของบัญชีสํารองสําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด และของบัญชีสํารองสําหรับการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ สําหรับการป้องกัน ความเสี่ยงที่ยังคงเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งเป็นไปตามย่อหน้าที่ 6.5.11 และ 6.5.13.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ 24 ข .2.3 ยอดคงเหลือของบัญชีสํารองสําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด และของบัญชีสํารองสําหรับการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่จาก ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามการบัญชี ป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป 24 ค กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบตาราง โดยแยกตามประเภทความเสี่ยงสําหรับการป้องกัน ความเสี่ยงแต่ละประเภท ดังนี้ 24 ค .1 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม 24 ค .1.1 ความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง กล่าวคือ ความแตกต่าง ระหว่างผลกําไรหรือขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงของเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยงและรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ที่ได้รับรู้ในกําไร หรือขาดทุน ( หรือกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับการป้องกันความเสี่ยง ของตราสารทุนที่กิจการเลือกแสดงการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.5 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) และ 24 ค .1.2 รายการรายบรรทัดในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่รวมความไม่มีประสิทธิผล ในการป้องกันความเสี่ยงที่รับรู้ 24 ค .2 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดและการป้องกันความเสี่ยงของ เงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ 24 ค .2.1 ผลกําไรหรือขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงที่รับรู้ในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นในรอบระยะเวลารายงาน 24 ค .2.2 ความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงที่ได้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 24 ค .2.3 รายการรายบรรทัดในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่รวมความไม่มีประสิทธิผล ในการป้องกันความเสี่ยงที่รับรู้ 24 ค .2.4 จํานวนเงินของบัญชีสํารองสําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด หรือของบัญชีสํารองสําหรับการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ ที่โอนไปยัง กําไรหรือขาดทุน ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ( แยกระหว่างจํานวนเงินที่ได้ถือปฏิบัติตาม การบัญชีป้องกันความเสี่ยงมาก่อนแต่ไม่คาดว่ากระแสเงินสดในอนาคต ที่ได้ป้องกันความเสี่ยงจะเกิดขึ้นอีกต่อไป และจํานวนเงินที่โอนเนื่องจาก รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงมีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุนแล้ว )
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 24 ค .2.5 รายการรายบรรทัดในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่รวมการปรับปรุง การจัดประเภทรายการใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) และ 24 ค .2.6 สําหรับการป้องกันความเสี่ยงของฐานะสุทธิ ผลกําไรหรือขาดทุนจาก การป้องกันความเสี่ยงที่รับรู้เป็นรายการรายบรรทัดที่แยกต่างหากใน งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ( ดูย่อหน้าที่ 6.6.4 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9) 24 ง หากปริมาณของความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่ได้รับยกเว้นตามย่อหน้าที่ 23 ค ไม่ได้ เป็นตัวแทนของปริมาณปกติในระหว่างรอบระยะเวลา ( กล่าวคือ ปริมาณ ณ วันที่รายงาน ไม่สะท้อนปริมาณในระหว่างรอบระยะเวลา ) กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวและเหตุผลที่ กิจการเชื่อว่า ปริมาณดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวแทน 24 จ กิจการต้องแสดงการกระทบยอดแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของและการวิเคราะห์กําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 โดย 24 จ .1 ต้องแยกแสดงจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 24 ค .2.1 และ 24 ค .2.4 และจํานวนเงินตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.5.11.4.1 และ 6.5.11.4.3 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เป็นอย่างน้อย 24 จ .2 ต้องแยกแสดงระหว่างจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกที่ป้องกัน ความเสี่ยง รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับธุรกรรม และจํานวนเงิน ที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือกที่ป้องกันความเสี่ยง รายการที่มีการป้องกัน ความเสี่ยงเกี่ยวกับช่วงเวลา เมื่อกิจการถือปฏิบัติต่อมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือก ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.5.15 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ 24 จ .3 ต้องแยกแสดงระหว่างจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบฟอร์เวิร์ดของสัญญา ฟอร์เวิร์ด และส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงิน ที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยงรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับธุรกรรม และ จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบฟอร์เวิร์ดของสัญญาฟอร์เวิร์ด และส่วนต่างอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงินที่ป้องกันความเสี่ยงรายการ ที่มีการป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับช่วงเวลา เมื่อกิจการถือปฏิบัติต่อจํานวนเงินเหล่านั้น ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.5.16 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 24 ฉ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลที่กําหนดในย่อหน้าที่ 24 จ แยกตามประเภทความเสี่ยง ซึ่งการเปิดเผย ดังกล่าวอาจเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็ได้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 ทางเลือกในการกําหนดให้ฐานะเปิดด้านเครดิตวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน 24 ช หากกิจการกําหนดให้เครื่องมือทางการเงินหรือบางส่วนของเครื่องมือทางการเงินวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน เนื่องจากมีการใช้อนุพันธ์ด้านเครดิตในการจัดการความเสี่ยง ด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินนั้น กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 24 ช .1 สําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตที่ใช้ในการจัดการความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือ ทางการเงินที่กําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 6.7.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผย ข้อมูลการกระทบยอดของแต่ละรายการสําหรับจํานวนเงินที่กําหนดไว้ และมูลค่า ยุติธรรม ณ วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดรอบระยะเวลา 24 ช .2 ผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนจากการกําหนดให้เครื่องมือทางการเงิน หรือบางส่วนของเครื่องมือทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุนตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6.7.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ 24 ช .3 มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินที่ถือเป็นมูลค่าตามบัญชีใหม่ตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 6.7.4 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และจํานวนเงิน ที่กําหนดไว้หรือจํานวนเงินต้นที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีการยกเลิกการวัดมูลค่าเครื่องมือ ทางการเงินหรือบางส่วนของเครื่องมือทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน ( กิจการไม่จําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในรอบระยะเวลาถัดไป เว้นแต่ เป็นการให้ข้อมูลเปรียบเทียบตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 24 ซ สําหรับความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงที่กิจการถือปฏิบัติตามข้อยกเว้นที่กําหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ 6 . 8 . 4 ถึง 6 . 8 . 12 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผย ข้อมูลดังต่อไปนี้ 24 ซ .1 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่มีนัยสําคัญที่ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงของกิจการ มีฐานะเปิดอยู่ 24 ซ .2 ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่กิจการบริหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปฏิรูป อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 24 ซ .3 วิธีการที่กิจการใช้ในการบริหารจัดการเพื่อเปลี่ยนผ่านไปใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น 24 ซ .4 คําอธิบายของข้อสมมติหรือวิจารณญาณที่มีนัยสําคัญที่กิจการใช้ในการถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าเหล่านี้ ( ตัวอย่างเช่น ข้อสมมติหรือวิจารณญาณว่าเมื่อใดความไม่แน่นอน ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่เกี่ยวกับจังหวะเวลาและจํานวนเงินของ กระแสเงินสดที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไม่มีอยู่อีกต่อไป ) และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 24 ซ .5 จํานวนเงินที่กําหนดไว้ของเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงที่อยู่ในความสัมพันธ์ของ การป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้น การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 24 ฌ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผลกระทบจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่อเครื่องมือทางการเงิน และกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของกิจการ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ 24 ฌ .1 ธรรมชาติและระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินที่ต้องปรับตาม การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง และการบริหารความเสี่ยงเหล่านั้น และ 24 ฌ .2 ความคืบหน้าของแผนการเปลี่ยนผ่านไปใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น และวิธีการบริหาร จัดการสําหรับการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว 24 ญ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในย่อหน้าที่ 24 ฌ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 24 ญ .1 วิธีการบริหารจัดการเพื่อเปลี่ยนผ่านไปใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น และความคืบหน้า ของแผน ณ วันที่รายงาน รวมทั้งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินอันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนผ่านดังกล่าว 24 ญ .2 แยกแสดงรายการตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่สําคัญ ที่ต้องปรับตามการปฏิรูปอัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิง โดยแสดงข้อมูลเชิงปริมาณของเครื่องมือทางการเงินที่ยังไม่ได้เปลี่ยน ผ่านไปใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน โดยแยกแสดงดังนี้ 24 ญ .2.1 สินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์ 24 ญ .2.2 หนี้สินทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์ และ 24 ญ .2.3 อนุพันธ์ และ 24 ญ .3 กรณีความเสี่ยงที่ระบุในย่อหน้าที่ 24 ญ .1 ทําให้กิจการต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ใน การบริหารความเสี่ยง กิจการต้องเปิดเผยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ( ดูย่อหน้าที่ 22 ก ) มูลค่ายุติธรรม 25 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน แต่ละประเภท ( ดูย่อหน้าที่ 6) ในลักษณะที่จะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเปรียบเทียบกับ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินแต่ละประเภทดังกล่าวได้ ยกเว้นตามที่กําหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ 29 26 ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องจัดกลุ่มสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สิน ทางการเงินเป็นประเภทต่างๆ แต่กิจการต้องหักกลบระหว่างมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินเฉพาะรายการที่มีการหักกลบมูลค่าตามบัญชีระหว่างกัน ในงบฐานะการเงิน 27-27 ข ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ )
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 28 ในบางกรณีกิจการไม่สามารถรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน เนื่องจากมูลค่ายุติธรรมไม่ได้อิงทั้งจากราคาเสนอซื้อขายใน ตลาดที่มีสภาพคล่องสําหรับสินทรัพย์หรือหนี้สินอย่างเดียวกัน ( กล่าวคือ ข้อมูลระดับ 1) หรือ จากเทคนิคการประเมินมูลค่าที่ใช้เฉพาะข้อมูลจากตลาดที่สามารถสังเกตได้ ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.1.2 ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) ในกรณีดังกล่าวกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังนี้ ตามประเภทของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน 28.1 นโยบายการบัญชีในการรับรู้กําไรหรือขาดทุนจากผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมที่รับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก และราคาของรายการเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่างๆ ( รวมถึงเวลา ) ที่ผู้ร่วมตลาดใช้พิจารณาในการกําหนดราคาสินทรัพย์หรือหนี้สิน ( ดูย่อหน้าที่ ข 5.1.2 ก .2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) 28.2 ผลต่างรวมที่ยังไม่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ณ วันเริ่มต้นและวันสิ้นรอบระยะเวลา และ การกระทบยอดของการเปลี่ยนแปลงในยอดคงเหลือของผลต่างดังกล่าว 28.3 เหตุผลที่กิจการสรุปว่า ราคาของรายการไม่ได้เป็นหลักฐานที่ดีที่สุดของมูลค่ายุติธรรม รวมถึงคําอธิบายหลักฐานที่สนับสนุนมูลค่ายุติธรรมนั้น 29 กิจการไม่จําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมสําหรับกรณีต่อไปนี้ 29.1 เมื่อมูลค่าตามบัญชีเป็นค่าประมาณที่สมเหตุสมผลของมูลค่ายุติธรรม อาทิ เครื่องมือ ทางการเงิน เช่น ลูกหนี้การค้าระยะสั้นและเจ้าหนี้การค้าระยะสั้น หรือ 29.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 29.3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 29.4 สําหรับหนี้สินตามสัญญาเช่า 30 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ธรรมชาติและระดับของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงิน 31 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินธรรมชาติและระดับของ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินที่กิจการมี ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 32 การเปิดเผยข้อมูลที่กําหนดในย่อหน้าที่ 33 ถึง 42 เน้นเกี่ยวกับความเสี่ยงซึ่งเกิดจากเครื่องมือ ทางการเงิน และวิธีการในการจัดการความเสี่ยงดังกล่าว โดยทั่วไปความเสี่ยงเหล่านี้รวมถึง ( แต่ไม่จํากัดเพียง ) ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านตลาด เป็นต้น 32 ก ในบริบทของการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณ การเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพจะช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูล สามารถเชื่อมโยงการเปิดเผยข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและทําให้เห็นภาพรวมของธรรมชาติ และระดับของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินได้ การเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพและ ข้อมูลเชิงปริมาณอย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลประเมินฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 การเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพ 33 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้สําหรับความเสี่ยงแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงิน 33.1 ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่มีและเกิดขึ้นได้อย่างไร 33.2 วัตถุประสงค์ นโยบายและกระบวนการในการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งวิธีการที่ใช้ ในการวัดความเสี่ยง และ 33.3 การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของข้อมูลในย่อหน้าที่ 33.1 หรือ 33.2 ในรอบระยะเวลาก่อน การเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณ 34 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้สําหรับความเสี่ยงแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงิน 34.1 ข้อมูลสรุปเชิงปริมาณเกี่ยวกับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงที่มี ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงาน การเปิดเผยข้อมูลนี้ต้องจัดทําขึ้นจากข้อมูลที่เสนอเป็นการภายในให้แก่ ผู้บริหารสําคัญของกิจการ ( ตามคํานิยามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ) เช่น คณะกรรมการ ของกิจการ หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 34.2 การเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 35 ก ถึง 42 นอกเหนือจากที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 34.1 34.3 การกระจุกตัวของความเสี่ยง หากยังไม่ได้เปิดเผยอย่างชัดเจนในการเปิดเผยข้อมูล ตามย่อหน้าที่ 34.1 และ 34.2 35 ถ้าข้อมูลเชิงปริมาณที่เปิดเผย ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ไม่แสดงให้เห็นถึงฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงที่มีอยู่ของกิจการในระหว่างรอบระยะเวลา กิจการต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ ความเสี่ยงด้านเครดิต ขอบเขตและวัตถุประสงค์ 35 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 35 ฉ ถึง 35 ฑ สําหรับ เครื่องมือทางการเงินที่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของการด้อยค่าในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 อย่างไรก็ตาม 35 ก .1 ย่อหน้าที่ 35 ญ .1 กําหนดให้ถือปฏิบัติกับลูกหนี้การค้า สินทรัพย์ตามสัญญา หรือ ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุรับรู้ตามที่ กําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.15 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หากสินทรัพย์ ทางการเงินเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายหลัง 30 วัน นับจากวันครบกําหนด ชําระ และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 35 ก .2 ย่อหน้าที่ 35 ฎ .2 ไม่ถือปฏิบัติกับลูกหนี้ตามสัญญาเช่า 35 ข การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงด้านเครดิตตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 35 ฉ ถึง 35 ฑ จะทําให้ผู้ใช้ งบการเงินเข้าใจผลกระทบของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อจํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอน ของกระแสเงินสดในอนาคต เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ด้านเครดิตดังต่อไปนี้ 35 ข .1 ข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของกิจการและแนวปฏิบัติ ดังกล่าวเกี่ยวข้องอย่างไรกับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการ ข้อสมมติและข้อมูลที่ใช้วัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 35 ข .2 ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่จะทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินจํานวนเงิน ที่เกิดขึ้นจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในงบการเงิน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง ในจํานวนเงินของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น และ 35 ข .3 ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตของกิจการ ( กล่าวคือ ความเสี่ยง ด้านเครดิตซึ่งมีอยู่เป็นปกติวิสัยของสินทรัพย์ทางการเงินและข้อผูกมัดในการให้สินเชื่อ ของกิจการ ) รวมถึงการกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีนัยสําคัญ 35 ค กิจการไม่จําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลซํ้ากับที่ได้แสดงไว้แล้ว หากงบการเงินมีการอ้างอิงไปยังข้อมูล ดังกล่าวในรายงานอื่น เช่น การวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการหรือรายงานความเสี่ยง ซึ่งผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าถึงได้ภายใต้เงื่อนไขและช่วงเวลาเดียวกับงบการเงิน งบการเงินที่ไม่มี การอ้างอิงไปยังข้อมูลดังกล่าวถือเป็นงบการเงินที่ไม่สมบูรณ์ 35 ง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในย่อหน้าที่ 35 ข ( เว้นแต่กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ) กิจการต้อง พิจารณาถึงความละเอียดในการเปิดเผยข้อมูล การให้ความสําคัญในด้านต่างๆ ของข้อกําหนด ของการเปิดเผยข้อมูล ระดับที่เหมาะสมในการรวมหรือแยกข้อมูล และพิจารณาว่าผู้ใช้ งบการเงินต้องการคําอธิบายเพิ่มเติมเพื่อประเมินข้อมูลเชิงปริมาณที่เปิดเผยหรือไม่ 35 จ หากการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 35 ฉ ถึง 35 ฑ ไม่เพียงพอที่จะทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในย่อหน้าที่ 35 ข กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่จําเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น แนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต 35 ฉ กิจการต้องอธิบายแนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของกิจการ และแนวปฏิบัติ ดังกล่าวเกี่ยวข้องอย่างไรกับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลที่ทําให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจ และสามารถประเมิน 35 ฉ .1 การที่กิจการพิจารณาอย่างไรว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญหรือไม่ ตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ซึ่งรวมถึงพิจารณาว่า
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 35 ฉ .1.1 เครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่าตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.10 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือไม่ อย่างไร รวมถึงประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่ถือปฏิบัติตามย่อหน้าดังกล่าวด้วย และ 35 ฉ .1.2 ข้อสันนิษฐานในย่อหน้าที่ 5.5.11 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ที่ว่าความเสี่ยงด้านเครดิตถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญตั้งแต่ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก เมื่อสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวเกินกําหนด ชําระมากกว่า 30 วัน สามารถโต้แย้งได้หรือไม่ อย่างไร 35 ฉ .2 คํานิยามของการผิดสัญญาของกิจการ รวมถึงเหตุผลในการเลือกคํานิยามนั้น 35 ฉ .3 การที่กิจการจัดกลุ่มเครื่องมือทางการเงินอย่างไร หากมีการวัดผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแบบกลุ่ม 35 ฉ .4 การที่กิจการพิจารณาอย่างไรว่าสินทรัพย์ทางการเงินเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่ด้อยค่า ด้านเครดิต 35 ฉ .5 นโยบายการตัดออกจากบัญชีของกิจการ รวมถึงข้อบ่งชี้ว่าไม่มีความคาดหวังที่สมเหตุสมผล ที่จะได้รับคืน และข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวสําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ที่ตัดจําหน่ายแล้ว แต่ยังอยู่ภายใต้การบังคับให้ชําระได้ และ 35 ฉ .6 การที่กิจการนําข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.12 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาถือปฏิบัติอย่างไรสําหรับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับกระแสเงินสด ตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน รวมถึง 35 ฉ .6.1 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่ค่าเผื่อผลขาดทุนได้วัดมูลค่าให้มีจํานวนเงิน เท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ กิจการได้ พิจารณาอย่างไรว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ปรับตัวดีขึ้นจนทําให้ค่าเผื่อผลขาดทุนกลับมา สู่สภาพเดิมที่วัดมูลค่าด้วยจํานวนเงินที่เท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้าตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือไม่ และ 35 ฉ .6.2 กิจการติดตามอย่างไรว่าค่าเผื่อผลขาดทุนของสินทรัพย์ทางการเงิน ที่เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 35 ฉ .6.1 มีการวัดมูลค่าใหม่ในภายหลังให้มี จํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.3 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มากน้อยเพียงใด 35 ช กิจการต้องอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยนําเข้า ข้อสมมติและเทคนิคการประมาณการที่ใช้ใน การถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในหัวข้อที่ 5.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าวกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 35 ช .1 เกณฑ์พื้นฐานของปัจจัยนําเข้า และข้อสมมติและเทคนิคการประมาณการที่ใช้ในการ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 35 ช .1.1 วัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้าและ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ 35 ช .1.2 พิจารณาว่า ความเสี่ยงด้านเครดิตของเครื่องมือทางการเงินเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกหรือไม่ และ 35 ช .1.3 พิจารณาว่า สินทรัพย์ทางการเงินเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่ด้อยค่า ด้านเครดิตหรือไม่ 35 ช .2 วิธีการใช้ข้อมูลคาดการณ์อนาคตในการพิจารณาผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น รวมทั้งการใช้ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์มหภาค และ 35 ช .3 การเปลี่ยนแปลงในเทคนิคการประมาณการหรือข้อสมมติที่มีนัยสําคัญที่เกิดขึ้น ในระหว่างรอบระยะเวลารายงานและเหตุผลสําหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับจํานวนเงินที่เกิดขึ้นจากผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 35 ซ กิจการต้องแสดงการกระทบยอดค่าเผื่อผลขาดทุนจากยอดยกมาไปยังยอดยกไปในรูปแบบตาราง แยกตามประเภทของเครื่องมือทางการเงิน เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงค่าเผื่อผลขาดทุนและเหตุผล สําหรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น โดยแยกแสดงการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอบระยะเวลาสําหรับ 35 ซ .1 ค่าเผื่อผลขาดทุนที่วัดมูลค่าด้วยจํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า 35 ซ .2 ค่าเผื่อผลขาดทุนที่วัดมูลค่าด้วยจํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นตลอดอายุสําหรับ 35 ซ .2.1 เครื่องมือทางการเงินที่ความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญตั้งแต่ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก แต่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินที่ด้อยค่าด้านเครดิต 35 ซ .2.2 สินทรัพย์ทางการเงินที่ด้อยค่าด้านเครดิต ณ วันที่รายงาน ( แต่ไม่ใช่ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตตั้งแต่ซื้อหรือเริ่มแรก ) และ 35 ซ .2.3 ลูกหนี้การค้า สินทรัพย์ตามสัญญา หรือลูกหนี้ตามสัญญาเช่าที่ค่าเผื่อ ผลขาดทุนวัดมูลค่าตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.15 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 35 ซ .3 สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตตั้งแต่ซื้อหรือเริ่มแรก นอกจาก การกระทบยอดค่าเผื่อผลขาดทุนแล้ว กิจการต้องเปิดเผยจํานวนเงินรวมของ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ไม่คิดลด ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่เริ่มรับรู้ระหว่างรอบระยะเวลารายงาน 35 ฌ กิจการต้องอธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญในมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของ เครื่องมือทางการเงินในระหว่างรอบระยะเวลาทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในค่าเผื่อผลขาดทุน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 อย่างไร เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของค่าเผื่อผลขาดทุนที่เปิดเผยตามที่ กําหนดในย่อหน้าที่ 35 ซ กิจการต้องแยกแสดงข้อมูลดังกล่าวสําหรับเครื่องมือทางการเงินที่มี ค่าเผื่อผลขาดทุนตามที่แสดงในย่อหน้าที่ 35 ซ .1 ถึง 35 ซ .3 และต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องด้วย ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตามบัญชี ก่อนรายการหักของเครื่องมือทางการเงินที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในค่าเผื่อผลขาดทุน อาจรวมถึง 35 ฌ .1 การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเครื่องมือทางการเงินที่เริ่มมีหรือได้มาระหว่างรอบระยะเวลา รายงาน 35 ฌ .2 การเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งไม่ได้ทําให้ เกิดการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านั้นตามที่กําหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 35 ฌ .3 การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเครื่องมือทางการเงินถูกเลิกรับรู้ระหว่างรอบระยะเวลา รายงาน ( รวมถึงการตัดจําหน่ายรายการเหล่านั้นด้วย ) และ 35 ฌ .4 การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากค่าเผื่อผลขาดทุนที่วัดมูลค่าด้วยจํานวนเงิน เท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า หรือผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ 35 ญ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจธรรมชาติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสด ตามสัญญาที่ไม่ทําให้เกิดการเลิกรับรู้รายการต่อสินทรัพย์ทางการเงิน และผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจการต้องเปิดเผย ข้อมูลดังต่อไปนี้ 35 ญ .1 ราคาทุนตัดจําหน่ายก่อนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและผลกําไรหรือขาดทุนสุทธิ จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่รับรู้สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งกระแสเงินสดตาม สัญญาได้เปลี่ยนแปลงระหว่างรอบระยะเวลารายงาน เมื่อสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว มีจํานวนเงินค่าเผื่อผลขาดทุนเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดอายุ และ 35 ญ .2 มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหัก ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานของสินทรัพย์ ทางการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก โดยค่าเผื่อ ผลขาดทุนเคยวัดมูลค่าด้วยจํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดอายุ และในระหว่างรอบระยะเวลารายงาน ค่าเผื่อผลขาดทุนได้เปลี่ยนเป็น จํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า 35 ฎ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผลกระทบของหลักประกันและการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ที่มีต่อจํานวนเงินที่เกิดขึ้นจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล ดังต่อไปนี้แยกตามประเภทของเครื่องมือทางการเงิน 35 ฎ .1 จํานวนเงินซึ่งเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของฐานะเปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน โดยไม่ต้องคํานึงถึงหลักประกันใดๆ ที่ถือครองอยู่
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 หรือการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ( เช่น ข้อตกลงหักกลบ ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขของ การหักกลบตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32) 35 ฎ .2 คําอธิบายเชิงพรรณนาเกี่ยวกับหลักประกันที่กิจการถือครองไว้เพื่อเป็นประกันและ การปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ รวมทั้ง 35 ฎ .2.1 คําอธิบายของธรรมชาติและคุณภาพของหลักประกันที่กิจการถือครองไว้ 35 ฎ .2.2 คําอธิบายของการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญในคุณภาพของหลักประกัน หรือการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากการเสื่อมค่า หรือ การเปลี่ยนแปลงในนโยบายหลักประกันของกิจการในระหว่างรอบระยะเวลา รายงาน และ 35 ฎ .2.3 ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินที่กิจการไม่ได้รับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุน เนื่องจากมีหลักประกัน 35 ฎ .3 ข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับหลักประกันที่กิจการถือครองไว้เพื่อเป็นประกันและการปรับ เครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ( เช่น มูลค่าหลักประกันและการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ที่ลดความเสี่ยงด้านเครดิต ) สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่ด้อยค่าด้านเครดิต ณ วันที่ รายงาน 35 ฏ กิจการต้องเปิดเผยยอดคงเหลือตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินที่ถูกตัดจําหน่ายระหว่าง รอบระยะเวลารายงานและยังอยู่ภายใต้การบังคับให้ชําระได้ ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต 35 ฐ กิจการต้องเปิดเผยมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ทางการเงินและฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงด้านเครดิตของข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อและสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน โดยแยกตาม ระดับการจัดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิต เพื่อทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงด้านเครดิตของกิจการและเข้าใจการกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีนัยสําคัญ ของกิจการ โดยกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลแยกตามประเภทของเครื่องมือทางการเงินดังนี้ 35 ฐ .1 เครื่องมือทางการเงินที่ค่าเผื่อผลขาดทุนที่วัดมูลค่าด้วยจํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า 35 ฐ .2 เครื่องมือทางการเงินที่ค่าเผื่อผลขาดทุนที่วัดมูลค่าด้วยจํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ และที่เป็น 35 ฐ .2.1 เครื่องมือทางการเงินที่ความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญตั้งแต่ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก แต่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินที่ด้อยค่า ด้านเครดิต 35 ฐ .2.2 สินทรัพย์ทางการเงินที่ด้อยค่าด้านเครดิต ณ วันที่รายงาน ( แต่ไม่ใช่ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตตั้งแต่ซื้อหรือเริ่มแรก ) และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 35 ฐ .2.3 ลูกหนี้การค้า สินทรัพย์ตามสัญญา หรือลูกหนี้ตามสัญญาเช่าที่ค่าเผื่อ ผลขาดทุนวัดมูลค่าตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.15 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 35 ฐ .3 เครื่องมือทางการเงินที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตตั้งแต่ซื้อหรือ เริ่มแรก 35 ฑ สําหรับลูกหนี้การค้า สินทรัพย์ตามสัญญา และลูกหนี้ตามสัญญาเช่า ซึ่งกิจการได้ถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 5.5.15 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข้อมูลที่แสดงตามย่อหน้าที่ 35 ฐ อาจอ้างอิงกับวิธีเมทริกซ์ประมาณการ ( provision matrix) ( ดูย่อหน้าที่ 5.5.35 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) 36 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ตามประเภทของเครื่องมือทางการเงิน สําหรับเครื่องมือ ทางการเงินภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ แต่ไม่ได้ถือปฏิบัติตาม ข้อกําหนดของการด้อยค่าในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 36.1 จํานวนเงินซึ่งเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของฐานะเปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน โดยไม่ต้องคํานึงถึงหลักประกันใดๆ ที่ถือครองอยู่ หรือการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ( เช่น ข้อตกลงหักกลบ ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขของ การหักกลบตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32) การเปิดเผยข้อมูลนี้ไม่ได้ กําหนดสําหรับเครื่องมือทางการเงินซึ่งมูลค่าตามบัญชีเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของฐานะ เปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต 36.2 คําอธิบายของหลักประกันที่กิจการถือครองไว้เพื่อเป็นประกันและการปรับเครดิต ให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ และผลกระทบทางการเงินของรายการดังกล่าว ( เช่น มูลค่าหลักประกัน และการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ที่ลดความเสี่ยงด้านเครดิต ) โดยคํานึงถึง จํานวนเงินที่เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของฐานะเปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต ( ตามที่ เปิดเผยในย่อหน้าที่ 36.1 หรือแสดงด้วยมูลค่าตามบัญชีของเครื่องมือทางการเงิน ) 36.3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 36.4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 37 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) หลักประกันและการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ที่ได้รับ 38 ในกรณีที่กิจการได้รับสินทรัพย์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินในระหว่าง รอบระยะเวลา จากการเข้าเป็นเจ้าของหลักประกันที่ถือครองเป็นประกันหรือเรียกร้องการปรับ เครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ( เช่น การคํ้าประกัน ) และสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการ ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ สําหรับสินทรัพย์ที่กิจการถือครองไว้ ณ วันที่รายงาน 38.1 ธรรมชาติและมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 31 38.2 นโยบายของกิจการในการจําหน่ายหรือการใช้ประโยชน์ในการดําเนินงานจากสินทรัพย์ หากสินทรัพย์เหล่านั้นไม่สามารถจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง 39 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 39.1 การวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดสําหรับหนี้สินทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์ ( รวมถึง สัญญาคํ้าประกันทางการเงินที่ออก ) โดยแสดงระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือตามสัญญา 39.2 การวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดสําหรับหนี้สินทางการเงินที่เป็นอนุพันธ์ โดยต้อง รวมระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือตามสัญญา สําหรับหนี้สินทางการเงินที่เป็นอนุพันธ์ เหล่านั้น ซึ่งระยะเวลาครบกําหนดตามสัญญามีความจําเป็นในการทําความเข้าใจ จังหวะเวลาของกระแสเงินสด ( ดูย่อหน้าที่ ข 11 ข ) 39.3 คําอธิบายถึงการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกิจการซึ่งมีอยู่เป็นปกติวิสัย ในย่อหน้าที่ 39.1 และ 39.2 ความเสี่ยงด้านตลาด การวิเคราะห์ความอ่อนไหว 40 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ เว้นแต่จะถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 41 40.1 วิเคราะห์ความอ่อนไหวสําหรับความเสี่ยงด้านตลาดแต่ละประเภทที่กิจการมีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน โดยแสดงถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของ ตัวแปรความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องที่มีต่อกําไรหรือขาดทุนและส่วนของเจ้าของของกิจการ ที่เป็นไปได้อย่างมีเหตุผล ณ วันนั้น 40.2 วิธีและข้อสมมติที่ใช้ในการจัดทําการวิเคราะห์ความอ่อนไหว และ 40.3 การเปลี่ยนแปลงวิธีและข้อสมมติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความอ่อนไหวจากรอบระยะเวลา ก่อน รวมถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 41 หากกิจการจัดทําการวิเคราะห์ความอ่อนไหว เช่น มูลค่าของความเสี่ยง (Value-At-Risk) ซึ่งสะท้อนถึงการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างตัวแปรความเสี่ยง ( เช่น อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน ) และกิจการใช้การวิเคราะห์ความอ่อนไหวดังกล่าวในการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน กิจการ สามารถใช้การวิเคราะห์ความอ่อนไหวดังกล่าวเปิดเผยแทนการวิเคราะห์ที่กําหนดในย่อหน้าที่ 40 นอกจากนี้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 41.1 คําอธิบายถึงวิธีที่ใช้ในการจัดทําการวิเคราะห์ความอ่อนไหว และคําอธิบายถึง พารามิเตอร์หลักและข้อสมมติหลักสําหรับข้อมูลที่แสดง และ 41.2 คําอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของวิธีที่ใช้และข้อจํากัดที่อาจทําให้ข้อมูลไม่สะท้อน อย่างเต็มที่ถึงมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงด้านตลาดอื่น 42 ในกรณีที่การวิเคราะห์ความอ่อนไหวที่เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 40 หรือ 41 ไม่เป็นตัวแทนของ ความเสี่ยงซึ่งมีอยู่เป็นปกติวิสัยในเครื่องมือทางการเงิน ( เช่น เนื่องจากฐานะเปิดสิ้นปีไม่สะท้อน ฐานะเปิดระหว่างปี ) กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ทําให้เชื่อได้ว่าการวิเคราะห์ ความอ่อนไหวดังกล่าวไม่เป็นตัวแทน การโอนสินทรัพย์ทางการเงิน 42 ก ข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 42 ข ถึง 42 ซ ที่เกี่ยวข้องกับการโอนสินทรัพย์ทางการเงิน เสริมข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลอื่นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้อง นําเสนอการเปิดเผยข้อมูลที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ข ถึง 42 ซ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน กิจการต้องแสดงการเปิดเผยข้อมูลที่กําหนดสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนทั้งหมด ซึ่งไม่ได้ เลิกรับรู้และสําหรับความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ใดๆ ที่ปรากฏอยู่ ณ วันที่รายงานของสินทรัพย์ที่โอน โดยไม่คํานึงว่ารายการโอนที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติ ตามข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าเหล่านั้น กิจการโอนสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมดหรือ บางส่วน ( สินทรัพย์ทางการเงินที่โอน ) ก็ต่อเมื่อกิจการ 42 ก .1 โอนสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับกระแสเงินสดของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น หรือ 42 ก .2 ยังคงไว้ซึ่งสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับกระแสเงินสดของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น แต่ยอมรับภาระผูกพันตามสัญญาที่จะต้องจ่ายกระแสเงินสดให้แก่ผู้รับคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคนตามข้อตกลงนั้น 42 ข กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลที่ทําให้ผู้ใช้งบการเงินของกิจการ 42 ข .1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน ซึ่งไม่ได้เลิกรับรู้ทั้งจํานวนและ หนี้สินที่เกี่ยวข้อง และ 42 ข .2 สามารถประเมินธรรมชาติและความเสี่ยงเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการใน สินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้ 42 ค เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 42 จ ถึง 42 ซ หากในการโอนสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิหรือภาระผูกพันตามสัญญาใดๆ ซึ่งมีอยู่ เป็นปกติวิสัยในสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนหรือได้รับสิทธิหรือภาระผูกพันตามสัญญาใหม่ใดๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน ให้ถือว่ากิจการมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ ทางการเงินที่โอน เพื่อวัตถุประสงค์ในการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 42 จ ถึง 42 ซ รายการดังต่อไปนี้ไม่เข้าข่ายเป็นความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ 42 ค .1 การรับรองและการรับประกันตามปกติเกี่ยวกับการโอนที่ฉ้อฉล และแนวคิดของความ สมเหตุสมผล ความสุจริตใจและการตกลงอย่างเที่ยงธรรมที่ทําให้การโอนเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นผลมาจากการดําเนินการตามกฎหมาย
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 42 ค .2 สัญญาฟอร์เวิร์ด สิทธิเลือก และสัญญาอื่นที่จะทําให้ได้สินทรัพย์ทางการเงินที่โอนกลับมา ซึ่งราคาตามสัญญา ( หรือราคาใช้สิทธิ ) เป็นมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงิน ที่โอน หรือ 42 ค .3 ข้อตกลงที่กิจการยังคงไว้ซึ่งสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับกระแสเงินสดของสินทรัพย์ ทางการเงิน แต่ยอมรับภาระผูกพันตามสัญญาที่จะต้องจ่ายกระแสเงินสดให้แก่กิจการใด กิจการหนึ่งหรือหลายกิจการ และเป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 3.2.5.1 ถึง 3.2.5.3 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สินทรัพย์ทางการเงินที่โอนโดยไม่เลิกรับรู้ทั้งจํานวน 42 ง กิจการอาจโอนสินทรัพย์ทางการเงินในลักษณะที่บางส่วนหรือทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงิน ที่โอนไม่เข้าเงื่อนไขการเลิกรับรู้รายการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ข .1 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในแต่ละวันที่รายงานตามประเภทของสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน ที่ไม่เลิกรับรู้ทั้งจํานวนดังนี้ 42 ง .1 ธรรมชาติของสินทรัพย์ที่โอน 42 ง .2 ธรรมชาติของความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของที่กิจการเปิดรับ 42 ง .3 คําอธิบายถึงธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ที่โอนและหนี้สินที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อจํากัดที่เกิดขึ้นจากการโอนในการใช้สินทรัพย์ที่โอนนั้นของกิจการที่รายงาน 42 ง .4 ตารางการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอน มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินที่เกี่ยวข้อง และฐานะสุทธิ ( ความแตกต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอนและหนี้สิน ที่เกี่ยวข้อง ) เมื่อคู่สัญญาของหนี้สินที่เกี่ยวข้องมีสิทธิไล่เบี้ยเพียงแค่สินทรัพย์ที่โอน 42 ง .5 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่โอนและหนี้สินที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่กิจการยังคงรับรู้ สินทรัพย์ที่โอนทั้งหมด 42 ง .6 มูลค่าตามบัญชีรวมของสินทรัพย์เดิมก่อนการโอน มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ที่กิจการยังคงรับรู้ และมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่กิจการยังคง รับรู้สินทรัพย์ภายใต้ขอบเขตของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ( ดูย่อหน้าที่ 3.2.6.3.2 และ 3.2.16 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) สินทรัพย์ทางการเงินที่โอนโดยเลิกรับรู้ทั้งจํานวน 42 จ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ข .2 เมื่อกิจการเลิกรับรู้สินทรัพย์ทางการเงิน ที่โอนทั้งจํานวน ( ดูย่อหน้าที่ 3.2.6.1 และ 3.2.6.3.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) แต่ยังคงมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์เหล่านั้น กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลขั้นตํ่า ดังต่อไปนี้โดยแยกตามประเภทของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในแต่ละวันที่รายงาน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 42 จ .1 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินที่รับรู้ในงบฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้ของกิจการ และ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินที่รับรู้แยกเป็นรายการรายบรรทัด 42 จ .2 มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้ของกิจการ 42 จ .3 จํานวนเงินซึ่งเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดถึงฐานะเปิดสูงสุดของกิจการต่อผลขาดทุนจาก ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้ และข้อมูลที่แสดงถึงวิธีการ ในการกําหนดฐานะเปิดสูงสุดต่อผลขาดทุน 42 จ .4 กระแสเงินสดออกที่ไม่คิดลดซึ่งจําเป็นหรืออาจจําเป็นต้องใช้ซื้อคืนสินทรัพย์ทางการเงิน ที่ได้เลิกรับรู้ ( เช่น ราคาใช้สิทธิของข้อตกลงสิทธิเลือก ) หรือจํานวนอื่นซึ่งจะชําระให้ ผู้รับโอนสินทรัพย์ที่โอน หากกระแสเงินสดออกมีความผันแปร จํานวนเงินที่เปิดเผย ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ปรากฏในแต่ละวันที่รายงาน 42 จ .5 การวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดของกระแสเงินสดออกที่ไม่คิดลดซึ่งจําเป็น หรือ อาจจําเป็นต้องใช้ซื้อคืนสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้หรือจํานวนอื่นซึ่งจะชําระให้ ผู้รับโอนสินทรัพย์ที่โอน กิจการต้องแสดงระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือตามสัญญา ของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการ 42 จ .6 ข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งอธิบายและสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 42 จ .1 ถึง 42 จ .5 42 ฉ หากกิจการมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่มากกว่าหนึ่งประเภทในสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้ กิจการอาจรวมข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 จ ที่เกี่ยวกับสินทรัพย์นั้นและรายงาน สินทรัพย์นั้นภายใต้ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่เพียงประเภทเดียว 42 ช นอกจากนี้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลความเกี่ยวข้องที่คงอยู่แต่ละประเภทดังนี้ 42 ช .1 ผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ ณ วันที่โอนสินทรัพย์ 42 ช .2 รายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้จากความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิก รับรู้ของกิจการทั้งในรอบระยะเวลารายงานและมูลค่าสะสม ( เช่น การเปลี่ยนแปลง มูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์ ) 42 ช .3 หากจํานวนเงินรวมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการโอน ( ซึ่งเข้าเงื่อนไขของการเลิกรับรู้ รายการ ) ในรอบระยะเวลารายงาน ไม่กระจายอย่างสมํ่าเสมอตลอดรอบระยะเวลารายงาน ( เช่น หากจํานวนเงินรวมเกือบทั้งหมดของการโอนเกิดขึ้น ณ วันใกล้ๆ สิ้นรอบระยะเวลา รายงาน ) 42 ช .3.1 เวลาที่เกิดการโอนที่มีจํานวนเงินสูงที่สุดเกิดขึ้นภายในรอบระยะเวลา รายงาน ( เช่น 5 วันสุดท้ายก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ) 42 ช .3.2 จํานวนเงินที่รับรู้ ( เช่น ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกี่ยวข้อง ) จากการโอน ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นของรอบระยะเวลารายงาน และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 42 ช .3.3 จํานวนเงินรวมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการโอนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ของรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลสําหรับแต่ละรอบระยะเวลาที่มีการนําเสนองบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ข้อมูลเพิ่มเติม 42 ซ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลอื่นเพิ่มเติมที่กิจการพิจารณาว่ามีความจําเป็นที่จะทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 42 ข การใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาถือปฏิบัติเป็นครั้งแรก 42 ฌ ในรอบระยะเวลารายงานที่รวมถึงวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ โดยแยกตามประเภทของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สิน ทางการเงิน ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน 42 ฌ .1 ประเภทการวัดมูลค่าเดิมและมูลค่าตามบัญชีเดิมตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และ ตราสารทุน 42 ฌ .2 ประเภทการวัดมูลค่าใหม่และมูลค่าตามบัญชีใหม่ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 42 ฌ .3 จํานวนเงินของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินในงบฐานะการเงิน ที่เคยกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน แต่เลิกกําหนดให้ วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน โดยแยกระหว่างจํานวนเงินที่ต้อง จัดประเภทรายการใหม่ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และจํานวนเงินที่กิจการเลือกจัดประเภทรายการใหม่ ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน ตามที่กําหนดในย่อหน้า 7.2.2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 การปฏิบัติในช่วง เปลี่ยนผ่านสามารถเกี่ยวข้องกับวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานมากกว่าหนึ่งวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ กิจการเลือกถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ดังนั้นตามย่อหน้านี้อาจ ทําให้มีการเปิดเผยข้อมูลวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานมากกว่าหนึ่งวัน กิจการต้องแสดงการเปิดเผย ข้อมูลเชิงปริมาณในรูปแบบตาราง เว้นแต่การแสดงด้วยรูปแบบอื่นเหมาะสมกว่า 42 ญ ในรอบระยะเวลารายงานที่รวมถึงวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจเกี่ยวกับ 42 ญ .1 วิธีที่กิจการได้ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการจัดประเภทรายการในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงการจัดประเภท เนื่องจากการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 42 ญ .2 เหตุผลในการกําหนดหรือการยุติการกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 ตามที่กําหนดในย่อหน้า 7.2.2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 การปฏิบัติ ในช่วงเปลี่ยนผ่านสามารถเกี่ยวข้องกับวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานมากกว่าหนึ่งวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ วิธีการที่กิจการเลือกถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ดังนั้นตามย่อหน้านี้ อาจทําให้มีการเปิดเผยข้อมูลวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานมากกว่าหนึ่งวัน 42 ฎ ในรอบระยะเวลารายงานที่กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เป็นครั้งแรก กิจการ ต้องแสดงการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ฏ ถึง 42 ฒ ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ ตามที่ได้กําหนดในย่อหน้าที่ 7.2.15 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 42 ฏ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ฎ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการจัดประเภท รายการของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 โดยแยกแสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ 42 ฏ .1 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าตามบัญชีตามประเภทของการวัดมูลค่า ตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุน ในตราสารหนี้และตราสารทุน ( ส่วนที่ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนผ่านในการวัดมูลค่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) และ 42 ฏ .2 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าตามบัญชีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการวัดมูลค่าซึ่งเกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 การเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้านี้ไม่จําเป็นต้องถือปฏิบัติหลังจากรอบระยะเวลารายงานประจําปี ที่กิจการได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งแรก ตามข้อกําหนดการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 42 ฐ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ฎ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ สําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน และหนี้สินทางการเงินที่จัดประเภทรายการใหม่เป็นการวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย และ สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่จัดประเภทรายการใหม่จากมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน เป็นการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติ ในช่วงเปลี่ยนผ่านของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 42 ฐ .1 มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงาน และ 42 ฐ .2 ผลกําไรหรือขาดทุนจากมูลค่ายุติธรรมที่จะรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนหรือกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นในระหว่างรอบระยะเวลารายงาน หากสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สิน ทางการเงินไม่มีการจัดประเภทรายการใหม่ การเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้านี้ไม่จําเป็นต้องถือปฏิบัติหลังจากรอบระยะเวลารายงานประจําปี ที่กิจการได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งแรก ตามข้อกําหนดการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 42 ฑ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ฎ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ สําหรับสินทรัพย์ ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่จัดประเภทรายการใหม่จากมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุนอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 42 ฑ .1 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่กําหนดในวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน และ 42 ฑ .2 ดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยจ่ายที่รับรู้ หากกิจการใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินเป็นมูลค่าตามบัญชี ก่อนรายการหักใหม่ ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน ( ดูย่อหน้าที่ 7.2.11 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9) การเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้านี้ต้องถือปฏิบัติในทุกรอบระยะเวลารายงาน จนกว่าจะเลิกรับรู้รายการ มิเช่นนั้นการเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้านี้ไม่จําเป็นต้องถือปฏิบัติ หลังจากรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่กิจการได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งแรก ตามข้อกําหนดการจัด ประเภทรายการและการวัดมูลค่าสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินในมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 9 42 ฒ การเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ฎ ถึง 42 ฑ และในย่อหน้าที่ 25 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ ต้องช่วยให้สามารถกระทบยอด ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน ระหว่าง 42 ฒ .1 ประเภทของการวัดมูลค่าตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน และมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ 42 ฒ .2 ประเภทของเครื่องมือทางการเงิน 42 ณ ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานตามหมวดที่ 5.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อช่วยให้สามารถกระทบยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 101 เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและ หนี้สูญ ค่าเผื่อการด้อยค่าตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน และประมาณการหนี้สินตามที่ กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 กับยอดคงเหลือ ณ วันต้นงวดของรอบระยะเวลา รายงานของค่าเผื่อผลขาดทุนตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับ สินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลตามประเภทการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 ( ปรับปรุง 2559) และมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และต้องแยกแสดงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประเภท การวัดมูลค่าที่มีต่อค่าเผื่อผลขาดทุน ณ วันนั้น 42 ด ในรอบระยะเวลารายงานที่รวมถึงวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการไม่จําเป็นต้องเปิดเผยจํานวนเงินของรายการรายบรรทัดที่จะรายงานตามข้อกําหนดการจัด ประเภทรายการและการวัดมูลค่า ( รวมถึงข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัด
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 38 จําหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงินและการด้อยค่าตามหัวข้อที่ 5.4 และ 5.5 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) ของ 42 ด .1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับรอบระยะเวลาก่อนๆ 42 ด .2 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุน ในตราสารหนี้และตราสารทุน สําหรับรอบระยะเวลาปัจจุบัน 42 ต ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 7.2.4 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หาก ณ วันที่เริ่มต้น ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ ( ตามที่ระบุใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8) ในการประเมินองค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาที่ปรับเปลี่ยน ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ ข 4.1.9 ข ถึง ข 4.1.9 ง ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ทาง การเงินนั้น กิจการต้องประเมินลักษณะกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินตาม ข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงิน นั้น โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนขององค์ประกอบของมูลค่าเงิน ตามเวลาในย่อหน้าที่ ข 4.1.9 ข ถึง ข 4.1.9 ง ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผยมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งลักษณะ กระแสเงินสดตามสัญญาได้ประเมินตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการ ปรับเปลี่ยนขององค์ประกอบของมูลค่าเงินตามเวลาในย่อหน้าที่ ข 4.1.9 ข ถึง ข 4.1.9 ง ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 จนกว่ากิจการจะเลิกรับรู้สินทรัพย์ทางการเงิน เหล่านั้น 42 ถ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 7.2.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หาก ณ วันที่ เริ่มต้นใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ ( ตามที่ ระบุในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8) ในการประเมินว่ามูลค่ายุติธรรมของเงื่อนไขการชําระก่อน กําหนดไม่มีนัยสําคัญหรือไม่ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ ข 4.1.12.3 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของ สินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องประเมินลักษณะกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ ทางการเงินนั้นตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของ สินทรัพย์ทางการเงินนั้น โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อยกเว้นสําหรับเงื่อนไขการชําระก่อนกําหนดใน ย่อหน้าที่ ข 4.1.12 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องเปิดเผยมูลค่า ตามบัญชี ณ วันที่รายงาน ของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งลักษณะกระแสเงินสดตามสัญญา ได้ประเมินตามข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของ สินทรัพย์ทางการเงินนั้น โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อยกเว้นสําหรับเงื่อนไขการชําระก่อนกําหนดใน ย่อหน้าที่ ข 4.1.12 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 จนกว่ากิจการจะเลิกรับรู้ สินทรัพย์ทางการเงินเหล่านั้น
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 39 42 ท หากกิจการเลือกใช้นโยบายการบัญชีป้องกันความเสี่ยงโดยถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ ต่อไป ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ให้กิจการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 43 กิจการต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับ รอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาต ให้ถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไปเท่านั้น หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว หากกิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มาถือปฏิบัติก่อนวันบังคับใช้กับงบการเงิน สําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป กิจการต้อง ถือปฏิบัติพร้อมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง การป้องกันความเสี่ยงของเงิน ลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 19 เรื่อง การชําระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน 44 สําหรับงบการเงินที่กิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นครั้งแรก กิจการไม่จําเป็นต้องแสดงข้อมูลเปรียบเทียบสําหรับการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 31 ถึง 42 ซึ่งเกี่ยวกับธรรมชาติและระดับของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงิน 44 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ง ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 จ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 44 ฉ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 44 ช ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ซ -44 ญ ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 44 ฎ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ฏ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ฐ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ฑ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 44 ฒ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ณ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ด ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 40 44 ต ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ถ -44 บ ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 44 ป ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ผ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 44 ฝ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 พ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ฟ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ภ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐาน การรายงานทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 29 และ ข 11 ง กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 44 ย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 และ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ระหว่างประเทศเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 3 8 และ 29 และตัดย่อหน้าที่ 30 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 44 ร การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ) ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนกันยายนปี 2562 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2563 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 24 ซ และ 44 ล กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 44 ล ในรอบระยะเวลารายงานที่กิจการถือปฏิบัติตาม การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เป็นครั้งแรก ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนกันยายน ปี 2562 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2563 กิจการ ไม่ต้องแสดงข้อมูลเชิงปริมาณตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 28 . 6 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด 44 ว การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง - ระยะที่ 2 ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16) ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐาน การรายงานทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 41 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2564 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 24 ฌ ถึง 24 ญ และ ย่อหน้าที่ 44 ศ กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 44 ศ ในรอบระยะเวลารายงานที่กิจการถือปฏิบัติตาม การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง - ระยะที่ 2 เป็น ครั้งแรก กิจการไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 28.6 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 44 ษ การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชี ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และ แถลงการณ์แนวปฏิบัติมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 ) ที่ออกโดยคณะกรรมการ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 ทําให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 21 และ ข 5 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อน วันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อน วันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น 45 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 103 เรื่อง การเปิดเผย ข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับ การเปิดเผยข้อมูลในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 107 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การแสดงรายการ และการเปิดเผยข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 42 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงที่คู่สัญญาของเครื่องมือทางการเงินฝ่ายหนึ่งจะทําให้เกิดผลขาดทุน ทางการเงินต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยการที่ไม่สามารถจ่ายชําระภาระผูกพัน ระดับการจัดอันดับ ความเสี่ยงด้านเครดิต การจัดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยงจาก การผิดสัญญาที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือทางการเงิน ความเสี่ยงด้านสกุลเงิน ความเสี่ยงที่มูลค่ายุติธรรมหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเครื่องมือทางการเงิน จะมีความผันผวนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ ความเสี่ยงด้านอัตรา ดอกเบี้ย ความเสี่ยงที่มูลค่ายุติธรรมหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเครื่องมือทางการเงิน จะมีความผันผวนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพ คล่อง ความเสี่ยงที่กิจการจะเผชิญกับความยากลําบากในการชําระคืนภาระผูกพันที่เกี่ยวข้อง กับหนี้สินทางการเงิน ซึ่งต้องชําระด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น เงินกู้ยืม เงินกู้ยืมเป็นหนี้สินทางการเงิน ที่นอกเหนือจากเจ้าหนี้การค้าระยะสั้นซึ่ง มีระยะเวลาการจ่ายชําระตามปกติ ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงที่มูลค่ายุติธรรมหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเครื่องมือทางการเงิน จะมีความผันผวนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด ความเสี่ยง ด้านตลาดประกอบด้วยความเสี่ยง 3 ประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงด้านสกุลเงิน ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงด้านราคาอื่น ความเสี่ยงด้านราคาอื่น ความเสี่ยงที่มูลค่ายุติธรรมหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเครื่องมือทางการเงิน จะมีความผันผวนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด ( นอกเหนือจาก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หรือ ความเสี่ยง ด้านสกุลเงิน ) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยเฉพาะกับ เครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภท หรือกับผู้ออกเครื่องมือทางการเงินนั้น หรือ ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อเครื่องมือทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งมี การซื้อขายอยู่ในตลาด
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 43 คํานิยามของคําศัพท์ต่อไปนี้ถูกกําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 11 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 และถูกนํามาถือปฏิบัติในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ โดยมีความหมายตามที่ กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 ราคาทุนตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน สินทรัพย์ตามสัญญา สินทรัพย์ทางการเงินที่ด้อยค่าด้านเครดิต การเลิกรับรู้รายการ อนุพันธ์ เงินปันผล วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง ตราสารทุน ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มูลค่ายุติธรรม สินทรัพย์ทางการเงิน สัญญาคํ้าประกันทางการเงิน เครื่องมือทางการเงิน หนี้สินทางการเงิน หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน รายการที่คาดการณ์ไว้ มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ทางการเงิน เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง ถือไว้เพื่อค้า ผลกําไรหรือขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเผื่อผลขาดทุน การค้างชําระ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตตั้งแต่ซื้อหรือเริ่มแรก วันที่จัดประเภทรายการใหม่ การซื้อหรือการขายตามวิธีปกติ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 44 ภาคผนวก ข แนวปฏิบัติ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ประเภทของเครื่องมือทางการเงินและระดับของการเปิดเผยข้อมูล ( ย่อหน้าที่ 6) ข 1 ย่อหน้าที่ 6 กําหนดให้กิจการจัดกลุ่มเครื่องมือทางการเงินเป็นประเภทต่างๆ ให้เหมาะสม กับธรรมชาติของข้อมูลที่เปิดเผย และคํานึงถึงลักษณะของเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวด้วย ประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่กําหนดในย่อหน้าที่ 6 ถูกกําหนดขึ้นโดยกิจการ ดังนั้น จึงแตกต่างจากประเภทของเครื่องมือทางการเงินตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ( ซึ่งกําหนดวิธีการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงินและวิธีการรับรู้การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรม ) ข 2 ในการกําหนดประเภทของเครื่องมือทางการเงิน กิจการต้องดําเนินการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย ข 2.1 แยกเครื่องมือที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายออกจากเครื่องมือที่วัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรม ข 2.2 แยกเครื่องมือทางการเงินที่อยู่นอกเหนือจากขอบเขตของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้เป็นเครื่องมือทางการเงินอีกประเภทหนึ่ง ข 3 ภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่งๆ กิจการจะเป็นผู้ตัดสินใจถึงความละเอียดของข้อมูลที่ให้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ และการให้ความสําคัญ ในข้อกําหนดแต่ละเรื่อง รวมทั้งวิธีการจัดกลุ่มข้อมูลทั้งหมดในการนําเสนอภาพรวมของข้อมูลนั้น เพี่อไม่ให้มีการรวมข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันไว้ด้วยกัน ดังนั้นจึงจําเป็นต้องหาจุดสมดุล ระหว่างงบการเงินที่อาจนําเสนอข้อมูลละเอียดเกินความจําเป็นซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อ ผู้ใช้งบการเงินกับงบการเงินที่อาจนําเสนอข้อมูลไม่ชัดเจนเพราะสรุปรวมข้อมูลมากเกินไป เช่น กิจการต้องไม่ทําให้ข้อมูลสําคัญมีความคลุมเครือ โดยการนําข้อมูลดังกล่าวไปรวมไว้กับ ข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่มีนัยสําคัญ ในทํานองเดียวกันกิจการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่สรุปภาพรวม มากเกินไป ที่จะปิดบังความแตกต่างที่สําคัญระหว่างรายการแต่ละรายการหรือระหว่าง ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข 4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) การเปิดเผยข้อมูลอื่น - นโยบายการบัญชี ( ย่อหน้าที่ 21) ข 5 ย่อหน้าที่ 21 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญ ซึ่งคาดว่าจะรวมข้อมูล เกี่ยวกับหลักการวัดค่าหลักการใดหลักการหนึ่ง ( หรือหลายหลักการ ) สําหรับเครื่องมือ ทางการเงินที่ใช้ในการจัดทํางบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงินนั้น อาจรวมรายการต่อไปนี้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 45 ข 5.1 สําหรับหนี้สินทางการเงินที่กําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน ให้เปิดเผย ข 5.1.1 ธรรมชาติของหนี้สินทางการเงิน ซึ่งกิจการกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ข 5.1.2 เกณฑ์ที่ใช้ในการกําหนดหนี้สินทางการเงินดังกล่าวในการรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรก และ ข 5.1.3 วิธีที่กิจการได้ปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.2.2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข 5.1 ก สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่กําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือ ขาดทุน ให้เปิดเผย ข 5.1 ก .1 ธรรมชาติของสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งกิจการกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน และ ข 5.1 ก .2 วิธีที่กิจการได้ปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 4.1.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข 5.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ข 5.3 ในการซื้อหรือการขายสินทรัพย์ทางการเงินตามวิธีปกติ กิจการรับรู้หรือตัดรายการ ในวันซื้อขาย (trade date) หรือวันชําระ (settlement date) ( ดูย่อหน้าที่ 3.1.2 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) ข 5.4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ข 5.5 วิธีการกําหนดผลกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภท ( ดูย่อหน้าที่ 20.1) เช่น ผลกําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่เกิดจากรายการที่แสดงด้วย มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ได้รวมดอกเบี้ยรับหรือรายได้เงินปันผลด้วย หรือไม่ ข 5.6 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ข 5.7 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) นอกจากนี้ ย่อหน้าที่ 122 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 กําหนดให้กิจการเปิดเผยไว้ในหัวข้อ ข้อมูลนโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงินอื่นเกี่ยวกับการใช้ วิจารณญาณของฝ่ายบริหารซึ่งแตกต่างไปจากประมาณการที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารจัดทําขึ้นตาม กระบวนการในการนํานโยบายการบัญชีของกิจการไปถือปฏิบัติและมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ ต่อจํานวนเงินของรายการที่รับรู้ในงบการเงิน ธรรมชาติและระดับของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ 31 ถึง 42) ข 6 การเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 31 ถึง 42 ต้องเปิดเผยในงบการเงินหรือ มีการอ้างอิงไปยังข้อมูลดังกล่าวในรายงานอื่น เช่น การวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 46 หรือรายงานความเสี่ยงซึ่งผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าถึงได้ภายใต้เงื่อนไขและช่วงเวลาเดียวกับ งบการเงิน งบการเงินที่ไม่มีการอ้างอิงไปยังข้อมูลดังกล่าวถือเป็นงบการเงินที่ไม่สมบูรณ์ การเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณ ( ย่อหน้าที่ 34) ข 7 ย่อหน้าที่ 34.1 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลสรุปเชิงปริมาณเกี่ยวกับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงของ กิจการ โดยจัดทําขึ้นจากข้อมูลที่เสนอเป็นการภายในแก่ผู้บริหารสําคัญของกิจการ หากกิจการ ใช้วิธีในการบริหารฐานะเปิดต่อความเสี่ยงหลายวิธี กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีร่วมกันซึ่งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด มาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด ได้อธิบายความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ข 8 ย่อหน้าที่ 34.3 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกระจุกตัวของความเสี่ยง การกระจุกตัวของ ความเสี่ยงเกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันและได้รับผลกระทบ ที่คล้ายคลึงกันจากการเปลี่ยนแปลงในสภาวะทางเศรษฐกิจหรือสถานการณ์อื่นๆ การระบุถึง การกระจุกตัวของความเสี่ยงต้องอาศัยการใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ โดยพิจารณาจาก สภาพแวดล้อมต่างๆ ของกิจการ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกระจุกตัวของความเสี่ยง ต้องรวมถึงรายการต่อไปนี้ ข 8.1 คําอธิบายเกี่ยวกับวิธีการที่ฝ่ายบริหารใช้กําหนดการกระจุกตัวของความเสี่ยง ข 8.2 คําอธิบายเกี่ยวกับลักษณะร่วมซึ่งเป็นตัวกําหนดการกระจุกตัวแต่ละประเภท ( เช่น คู่สัญญา เขตทางภูมิศาสตร์ สกุลเงิน หรือตลาด ) และ ข 8.3 จํานวนเงินของฐานะเปิดต่อความเสี่ยง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดที่มี ลักษณะดังกล่าวร่วมกัน แนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ( ย่อหน้าที่ 35 ฉ ถึง 35 ช ) ข 8 ก ย่อหน้าที่ 35 ฉ .2 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวิธีให้คํานิยามของการผิดสัญญาสําหรับ เครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างกันของกิจการ และเหตุผลในการเลือกใช้คํานิยามเหล่านั้น การพิจารณาผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุที่ควรรับรู้ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยง ของการผิดสัญญาที่เกิดขึ้นตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกที่เพิ่มขึ้นตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 5.5.9 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือไม่ ข้อมูลเกี่ยวกับคํานิยาม ของการผิดสัญญาของกิจการจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจวิธีที่กิจการถือปฏิบัติเกี่ยวกับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 อย่างไร ซึ่งอาจรวมถึง ข 8 ก .1 ปัจจัยเชิงคุณภาพและปัจจัยเชิงปริมาณที่ใช้พิจารณาคํานิยามของการผิดสัญญา ข 8 ก .2 การใช้คํานิยามที่แตกต่างกันกับประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างกัน และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 47 ข 8 ก .3 ข้อสมมติเกี่ยวกับอัตราการแก้ไขปัญหา ( กล่าวคือ จํานวนของสินทรัพย์ทางการเงิน ที่จะกลับสู่สถานะปกติ ) หลังจากการผิดสัญญาสําหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ข 8 ข เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินนโยบายการปรับโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของ นโยบายของกิจการ ย่อหน้าที่ 35 ฉ .6.2 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกิจการติดตามอย่างไรว่า ค่าเผื่อผลขาดทุนของสินทรัพย์ทางการเงินที่เปิดเผยในอดีตตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 35 ฉ .6.1 มีการวัดมูลค่าในภายหลังให้มีจํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดอายุตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.3 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข้อมูลเชิงปริมาณจะช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลเข้าใจความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ทางการเงิน ที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตาม เงื่อนไขในย่อหน้าที่ 35 ฉ .6.1 ที่กลับไปวัดมูลค่าค่าเผื่อผลขาดทุนด้วยจํานวนเงินเท่ากับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ( กล่าวคือ อัตราการเสื่อมค่า ) ข 8 ค ย่อหน้าที่ 35 ช .1 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์พื้นฐานของปัจจัยนําเข้าและข้อสมมติ และเทคนิคการประมาณการที่ใช้ที่ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของการด้อยค่าในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข้อสมมติและปัจจัยนําเข้าของกิจการที่ใช้วัดมูลค่าผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือพิจารณาระดับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิตตั้งแต่ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก อาจรวมถึงข้อมูลภายในในอดีตหรือรายงานการจัดอันดับและ ข้อสมมติเกี่ยวกับอายุที่คาดการณ์ของเครื่องมือทางการเงินและจังหวะเวลาในการจําหน่าย หลักประกัน การเปลี่ยนแปลงในค่าเผื่อผลขาดทุน ( ย่อหน้าที่ 35 ซ ) ข 8 ง กิจการต้องอธิบายเหตุผลสําหรับการเปลี่ยนแปลงในค่าเผื่อผลขาดทุนในระหว่างรอบระยะเวลา ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 35 ซ นอกจากนี้ กิจการต้องกระทบยอดค่าเผื่อผลขาดทุนจากยอดยก มาไปยังยอดยกไป ซึ่งอาจจําเป็นต้องอธิบายการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย คําอธิบายนั้นอาจ รวมถึงการวิเคราะห์เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงในค่าเผื่อผลขาดทุนในระหว่างรอบระยะเวลา รวมถึง ข 8 ง .1 องค์ประกอบของพอร์ตโฟลิโอ ข 8 ง .2 ปริมาณของเครื่องมือทางการเงินที่ซื้อหรือได้มา และ ข 8 ง .3 ความรุนแรงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ข 8 จ สําหรับข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อและสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน ค่าเผื่อผลขาดทุนรับรู้เป็น ประมาณการหนี้สิน กิจการควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในค่าเผื่อผลขาดทุน สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินแยกจากข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อและสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน เหล่านั้น อย่างไรก็ตาม หากเครื่องมือทางการเงินรวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ( กล่าวคือ สินทรัพย์ ทางการเงิน ) และข้อผูกมัดที่ยังไม่ได้เบิกใช้ ( กล่าวคือ ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อ ) และกิจการ ไม่สามารถระบุแยกผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นขององค์ประกอบของข้อผูกมัด
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 48 วงเงินสินเชื่อจากองค์ประกอบของสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านั้น ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นของข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อควรรับรู้พร้อมกับค่าเผื่อผลขาดทุนสําหรับสินทรัพย์ ทางการเงิน ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหัก ของสินทรัพย์ทางการเงิน ควรรับรู้เป็นประมาณการหนี้สิน หลักประกัน ( ย่อหน้าที่ 35 ฎ ) ข 8 ฉ ย่อหน้าที่ 35 ฎ กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผลกระทบของ หลักประกันและการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ที่มีต่อจํานวนเงินของผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจการไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมของหลักประกันและ การปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ และไม่ต้องแสดงมูลค่าที่แท้จริงของหลักประกันซึ่งรวมอยู่ใน การคํานวณผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ( กล่าวคือ ผลขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อผิดสัญญา ) ข 8 ช คําอธิบายเชิงพรรณนาเกี่ยวกับหลักประกันและผลกระทบของหลักประกันที่มีต่อจํานวนเงิน ของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงข้อมูลต่อไปนี้ ข 8 ช .1 ประเภทหลักของหลักประกันที่ถือครองไว้และการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ( ตัวอย่างเช่น การคํ้าประกันในภายหลัง อนุพันธ์ด้านเครดิต และข้อตกลงหักกลบ ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขของการหักกลบตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32) ข 8 ช .2 ปริมาณของหลักประกันที่ถือครองไว้และการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ และ ความสําคัญของหลักประกันในแง่ของค่าเผื่อผลขาดทุน ข 8 ช .3 นโยบายและกระบวนการในการประเมินมูลค่าและการบริหารหลักประกัน และ การปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ข 8 ช .4 ประเภทหลักของคู่สัญญาที่มีต่อหลักประกันและการปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ และมีต่อความน่าเชื่อถือทางเครดิตของคู่สัญญาเหล่านั้น และ ข 8 ช .5 ข้อมูลเกี่ยวกับการกระจุกตัวของความเสี่ยงภายในขอบเขตของหลักประกัน และ การปรับเครดิตให้ดีขึ้นด้านอื่นๆ ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต ( ย่อหน้าที่ 35 ฐ ถึง 35 ฑ ) ข 8 ซ ย่อหน้าที่ 35 ฐ กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตและ การกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีนัยสําคัญของกิจการ ณ วันที่รายงาน การกระจุกตัว ของความเสี่ยงด้านเครดิตจะเกิดเมื่อคู่สัญญาจํานวนมากตั้งอยู่ในเขตทางภูมิศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน หรือมีความเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันและมีลักษณะเชิงเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ความสามารถในการบรรลุภาระผูกพันตามสัญญาของคู่สัญญาถูกกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงในสภาพเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขอื่นที่คล้ายคลึงกัน กิจการควรให้ข้อมูลเพื่อให้ ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจว่ากลุ่มหรือพอร์ตโฟลิโอของเครื่องมือทางการเงินที่มีลักษณะ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 49 เฉพาะเจาะจงอาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มของเครื่องมือทางการเงินนั้นในสัดส่วนที่มากหรือไม่ เช่น การกระจุกตัวต่อความเสี่ยงใดความเสี่ยงหนึ่งเป็นพิเศษ ตัวอย่างนี้รวมถึง การกระจุกตัว ของกลุ่มสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน การกระจุกตัวตามลักษณะภูมิศาสตร์ การกระจุกตัวตาม อุตสาหกรรม หรือการกระจุกตัวตามประเภทผู้ออกตราสาร ข 8 ฌ จํานวนของระดับการจัดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิตที่ใช้เปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 35 ฐ ต้องสอดคล้องกับจํานวนที่กิจการรายงานต่อผู้บริหารสําคัญสําหรับ วัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต กิจการต้องให้ข้อมูลการวิเคราะห์สถานะของ สินทรัพย์ทางการเงินค้างชําระ หากข้อมูลเกี่ยวกับการค้างชําระเป็นข้อมูลของผู้กู้เฉพาะราย เท่านั้นและกิจการใช้ข้อมูลดังกล่าวในการประเมินการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิตตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.11 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข 8 ญ เมื่อกิจการวัดผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแบบเป็นกลุ่ม กิจการอาจไม่สามารถ ปันส่วนมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ทางการเงินหรือฐานะเปิดต่อความเสี่ยง ด้านเครดิตของข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อและสัญญาคํ้าประกันทางการเงินแต่ละรายการไปยังระดับ การจัดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิตที่รับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ในกรณีดังกล่าวกิจการควรถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 35 ฐ สําหรับเครื่องมือ ทางการเงินเหล่านั้นที่สามารถปันส่วนตามระดับการจัดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิตได้โดยตรง และเปิดเผยแยกต่างหากถึงมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของเครื่องมือทางการเงินที่วัดผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุแบบเป็นกลุ่ม ฐานะเปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต ( ย่อหน้าที่ 36.1) ข 9 ย่อหน้าที่ 35 ฎ .1 และ 36.1 กําหนดให้เปิดเผยจํานวนเงินซึ่งเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของฐานะเปิด สูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตของกิจการ สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินให้เปิดเผยมูลค่า ตามบัญชีก่อนรายการหัก ซึ่งเป็นมูลค่าสุทธิจากรายการต่อไปนี้ ข 9.1 จํานวนที่หักกลบตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 และ ข 9.2 ค่าเผื่อผลขาดทุนที่รับรู้ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ข 10 ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกิจกรรมซึ่งทําให้เกิดความเสี่ยงด้านเครดิต และฐานะเปิดสูงสุด ต่อความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่จํากัดเพียงกรณีต่อไปนี้ ข 10.1 การให้สินเชื่อแก่ลูกค้า และการฝากเงินกับกิจการอื่น ในกรณีนี้ฐานะเปิดสูงสุด ต่อความเสี่ยงด้านเครดิตคือมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ข 10.2 การทําสัญญาอนุพันธ์ เช่น สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สัญญาแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและอนุพันธ์ด้านเครดิต หากสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ฐานะเปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานจะเท่ากับ มูลค่าตามบัญชี
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 50 ข 10.3 การให้คํ้าประกันทางการเงิน ในกรณีนี้ฐานะเปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต คือ มูลค่าสูงสุดที่กิจการอาจต้องจ่ายหากการคํ้าประกันดังกล่าวมีผลให้กิจการต้องชําระ ซึ่งอาจจะมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าที่กิจการรับรู้เป็นหนี้สินอย่างมีนัยสําคัญ ) ข 10.4 การมีข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อซึ่งไม่สามารถยกเลิกได้ตลอดอายุของสัญญาหรือสามารถ ยกเลิกได้เฉพาะกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางลบอย่างมีสาระสําคัญ หากผู้ออกสัญญาดังกล่าวไม่สามารถชําระยอดสุทธิตามข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อ เป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น ฐานะเปิดสูงสุดต่อความเสี่ยงด้านเครดิต คือ มูลค่าเต็มตามข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อ เนื่องจากมีความไม่แน่นอนว่าวงเงินสินเชื่อ ที่ยังไม่ได้ใช้ จะถูกนํามาใช้ในอนาคตหรือไม่ ดังนั้น มูลค่าที่เปิดเผยดังกล่าวอาจสูงกว่า มูลค่าที่ได้รับรู้เป็นหนี้สินอย่างมีนัยสําคัญ การเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณของความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ( ย่อหน้าที่ 34.1 39.1 และ 39.2) ข 10 ก ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 34.1 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลสรุปเชิงปริมาณเกี่ยวกับฐานะ เปิดต่อความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกิจการ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่เสนอเป็นการภายใน ให้แก่ผู้บริหารสําคัญของกิจการ กิจการต้องอธิบายวิธีในการกําหนดข้อมูลดังกล่าว ในกรณีที่ กระแสเงินสดออก ( หรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ) ให้เปิดเผยข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ข 10 ก .1 เหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญที่เกิดขึ้นก่อนที่ระบุไว้ในข้อมูล หรือ ข 10 ข .2 เกิดผลต่างอย่างมีนัยสําคัญจากที่ระบุไว้ในข้อมูล ( เช่น อนุพันธ์ที่รวมอยู่ในข้อมูลของ การชําระแบบยอดสุทธิ ในขณะที่คู่สัญญามีสิทธิจะเลือกชําระทั้งจํานวน ) กิจการต้องแสดงข้อเท็จจริงและให้ข้อมูลเชิงปริมาณที่ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินของกิจการสามารถ ประเมินระดับของความเสี่ยงได้ เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวจะรวมอยู่ในการวิเคราะห์ระยะเวลา ครบกําหนดตามสัญญาตามย่อหน้าที่ 39.1 หรือ 39.2 ข 11 ในการจัดทําการวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดตามย่อหน้าที่ 39.1 และ 39.2 กิจการใช้ วิจารณญาณในการกําหนดช่วงเวลาของการวิเคราะห์ที่เหมาะสม เช่น กิจการอาจกําหนดให้ ช่วงเวลาต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ข 11.1 ไม่เกิน 1 เดือน ข 11.2 มากกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ข 11.3 มากกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี และ ข 11.4 มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ข 11 ก ในการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 39.1 และ 39.2 กิจการต้องไม่แยกอนุพันธ์แฝงออกจากเครื่องมือ ทางการเงินแบบผสม ( แบบรวม ) สําหรับเครื่องมือดังกล่าวกิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ในย่อหน้าที่ 39.1
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 51 ข 11 ข ย่อหน้าที่ 39.2 กําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยการวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดเชิงปริมาณ สําหรับหนี้สินทางการเงินที่เป็นอนุพันธ์โดยให้แสดงระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือตามสัญญา หากมีความจําเป็นในการทําความเข้าใจจังหวะเวลาของกระแสเงินสด เช่นกรณีดังต่อไปนี้ ข 11 ข .1 สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่มีระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือ 5 ปี ในการป้องกัน ความเสี่ยงในกระแสเงินสดของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่มีอัตรา ผันแปร ข 11 ข .2 ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อทั้งหมด ข 11 ค ย่อหน้าที่ 39.1 และ 39.2 กําหนดให้กิจการเปิดเผยข้อมูลการวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนด สําหรับหนี้สินทางการเงิน ซึ่งต้องแสดงระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือตามสัญญาสําหรับหนี้สิน ทางการเงินบางประเภท โดยเปิดเผยข้อมูลดังนี้ ข 11 ค .1 หากคู่สัญญามีทางเลือกว่าจะชําระเงินเมื่อใด หนี้สินทางการเงินจะถูกปันส่วนไปยัง ช่วงเวลาที่เร็วที่สุดที่กิจการอาจถูกเรียกให้ชําระ ตัวอย่างเช่น หนี้สินทางการเงิน ซึ่งกิจการอาจถูกเรียกให้ชําระเมื่อทวงถาม ( เช่น เงินฝากกระแสรายวัน ) ซึ่งเป็น ช่วงเวลาที่เร็วที่สุดที่กิจการอาจถูกเรียกให้ชําระ ข 11 ค .2 หากกิจการตกลงที่จะชําระเงินเป็นรายงวด เงินรายงวดจะถูกปันส่วนไปยังช่วงเวลา ที่เร็วที่สุดที่กิจการอาจถูกเรียกให้ชําระ เช่น ข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อที่ยังไม่ได้เบิกใช้ ซึ่งจะ ถือเป็นช่วงเวลาที่เร็วที่สุดที่เงินนั้นสามารถถูกเบิกใช้ได้ ข 11 ค .3 สําหรับสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน มูลค่าสูงสุดของการคํ้าประกันจะถูกปันส่วนไปยัง ช่วงเวลาที่เร็วที่สุดที่สามารถเรียกให้ชําระได้ ข 11 ง จํานวนเงินตามสัญญาที่ต้องเปิดเผยในการวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 39.1 และ 39.2 ต้องเป็นกระแสเงินสดตามสัญญาที่ไม่คิดลด เช่น ข 11 ง .1 หนี้สินตามสัญญาเช่าขั้นต้น ( ก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงิน ) ข 11 ง .2 ราคาขั้นต้นซึ่งระบุในข้อตกลงฟอร์เวิร์ดที่จะซื้อสินทรัพย์ทางการเงินด้วยเงินสด ข 11 ง .3 มูลค่าสุทธิของสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ที่จ่ายด้วยอัตราดอกเบี้ยลอยตัว หรือ รับด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งจ่ายชําระด้วยกระแสเงินสดสุทธิ ข 11 ง .4 จํานวนเงินตามสัญญาที่จะต้องถูกแลกเปลี่ยนตามเครื่องมือทางการเงินที่เป็นอนุพันธ์ ( เช่น สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ) ซึ่งจะต้องจ่ายชําระด้วยกระแสเงินสดขั้นต้นทั้งจํานวน และ ข 11 ง .5 มูลค่าขั้นต้นของข้อผูกมัดวงเงินสินเชื่อ กระแสเงินสดที่ไม่คิดลดแตกต่างจากมูลค่าที่ปรากฏอยู่ในงบฐานะการเงิน เนื่องจากมูลค่า ที่นําเสนอในงบฐานะการเงินคํานวณตามวิธีคิดลดกระแสเงินสด กรณีที่มูลค่าที่ต้องชําระ ไม่คงที่ มูลค่าที่ต้องเปิดเผยจะถูกกําหนดโดยอ้างอิงจากเงื่อนไขที่มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงาน เช่น ในกรณีที่มูลค่าที่ต้องชําระผันแปรตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตัวใดตัวหนึ่ง กิจการต้องเปิดเผยมูลค่าดังกล่าวโดยอ้างอิงจากระดับของดัชนีนั้น ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงาน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 52 ข 11 จ ย่อหน้าที่ 39.3 กําหนดให้กิจการอธิบายวิธีการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องซึ่งมีอยู่ เป็นปกติวิสัยของรายการซึ่งเปิดเผยอยู่ในการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 39.1 และ 39.2 กิจการต้องเปิดเผยการวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดของสินทรัพย์ ทางการเงินที่ถือไว้เพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ( เช่น สินทรัพย์ทางการเงิน ที่พร้อมขายหรือคาดว่าจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดเข้าที่เพียงพอกับกระแสเงินสดออกของ หนี้สินทางการเงิน ) หากข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการประเมินธรรมชาติ และระดับของความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ข 11 ฉ ปัจจัยอื่นๆ ที่กิจการอาจใช้ในการพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลตามข้อกําหนดของย่อหน้าที่ 39.3 ซึ่งไม่จํากัดเพียงกรณีต่อไปนี้ที่กิจการ ข 11 ฉ .1 มีวงเงินกู้ยืมซึ่งไม่สามารถยกเลิกได้ (committed borrowing facilities) หรือวงเงิน กู้ยืมสํารอง ( เช่น stand-by credit facilities) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้เพื่อสนองต่อความต้องการ สภาพคล่อง ข 11 ฉ .2 มีเงินฝากที่ธนาคารกลาง สําหรับเมื่อต้องการสภาพคล่อง ข 11 ฉ .3 มีแหล่งเงินทุนที่มีความหลากหลาย ข 11 ฉ .4 มีการกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีนัยสําคัญในสินทรัพย์หรือ แหล่งเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ข 11 ฉ .5 มีกระบวนการการควบคุมภายในและแผนฉุกเฉินสําหรับการบริหารความเสี่ยง ด้านสภาพคล่อง ข 11 ฉ .6 มีเครื่องมือที่มีเงื่อนไขการเร่งระยะเวลาการจ่ายชําระคืน ( เช่น การถูกลดอันดับ ความน่าเชื่อถือของกิจการ ) ข 11 ฉ .7 มีเครื่องมือที่อาจกําหนดให้กิจการต้องวางหลักประกัน ( เช่น การเรียกส่วนต่างราคา สําหรับอนุพันธ์ ) ข 11 ฉ .8 มีเครื่องมือที่อนุญาตให้กิจการสามารถเลือกที่จะชําระหนี้สินทางการเงินโดยการส่งมอบ เงินสด ( หรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ) หรือส่งมอบหุ้นสามัญของตนเอง หรือ ข 11 ฉ .9 มีเครื่องมือที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงหลักของการหักกลบ ข 12 ถึง ข 16 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) ความเสี่ยงด้านตลาด – การวิเคราะห์ความอ่อนไหว ( ย่อหน้าที่ 40 และ 41) ข 17 ย่อหน้าที่ 40.1 กําหนดให้วิเคราะห์ความอ่อนไหวสําหรับความเสี่ยงด้านตลาดแต่ละประเภท ที่กิจการเมีอยู่ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ ข 3 กิจการเป็นผู้ตัดสินใจวิธีจัดกลุ่มข้อมูลทั้งหมด เพื่อนําเสนอในภาพรวม โดยไม่รวมข้อมูลที่เกี่ยวกับฐานะเปิดต่อความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญไว้ด้วยกัน เช่น ข 17.1 กิจการที่ซื้อขายเครื่องมือทางการเงิน อาจเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงินที่ถือไว้ เพื่อค้าแยกจากเครื่องมือทางการเงินที่ไม่ได้ถือไว้เพื่อค้า
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 53 ข 17.2 กิจการต้องไม่รวมฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านตลาดในภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงกับ ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านตลาดประเภทเดียวกันแต่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อระดับตํ่า หากกิจการมีอยู่ของฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านตลาดเพียงประเภทเดียวที่เกิดภายใต้ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเดียวกัน กิจการต้องไม่แสดงข้อมูลดังกล่าวแยกต่างหาก ข 18 ย่อหน้าที่ 40.1 กําหนดให้การวิเคราะห์ความอ่อนไหวต้องแสดงผลกระทบที่มีต่อกําไรหรือ ขาดทุนและส่วนของเจ้าของที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล ( เช่น อัตราดอกเบี้ยตลาด อัตราแลกเปลี่ยน สกุลเงิน ราคาตราสารทุน หรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ) เพื่อวัตถุประสงค์ต่อไปนี้ ข 18.1 กิจการไม่ถูกกําหนดให้พิจารณาว่ากําไรหรือขาดทุนสําหรับรอบระยะเวลาจะ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หากตัวแปรความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแตกต่างไปจากเดิม แต่กิจการต้องเปิดเผยผลกระทบที่มีต่อกําไรหรือขาดทุนและส่วนของเจ้าของ ณ วันสิ้น รอบระยะเวลารายงาน ตามสมมติฐานที่ว่า การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรความเสี่ยงที่ เกี่ยวข้องซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผลได้เกิดขึ้น ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงาน และการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ส่งผลต่อฐานะความเสี่ยงที่ปรากฏอยู่ ณ วันที่ รายงานนั้น เช่น หากกิจการมีหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการต้องเปิดเผยผลกระทบที่มีต่อกําไรหรือขาดทุน ( กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ) สําหรับรอบปีปัจจุบันหากอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไปด้วยมูลค่าที่เป็นไปได้อย่าง สมเหตุสมผล ข 18.2 กิจการไม่ถูกกําหนดให้เปิดเผยผลกระทบที่มีต่อกําไรหรือขาดทุนและส่วนของเจ้าของ สําหรับการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นภายในขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงของ ตัวแปรความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องที่มีความเป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผล การเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผลถือว่าเพียงพอแล้ว ข 19 ในการพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความเป็นไปได้อย่าง สมเหตุสมผลมีความหมายอย่างไร กิจการควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ ข 19.1 สภาวะทางเศรษฐกิจซึ่งกิจการดําเนินงานอยู่ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผล ไม่ควรรวมถึงฉากทัศน์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นหรือฉากทัศน์ที่แย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นหรือ การทดสอบในภาวะกดดัน นอกจากนี้หากอัตราการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรความเสี่ยง ที่อ้างอิงมีค่าคงที่ กิจการไม่จําเป็นต้องปรับเปลี่ยนระดับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ อย่างสมเหตุสมผลของตัวแปรความเสี่ยงที่กิจการเลือกไว้ เช่น สมมติอัตราดอกเบี้ย อยู่ที่ร้อยละ 5 และกิจการกําหนดว่า ความผันผวนในอัตราดอกเบี้ยที่ ± ร้อยละ 00.5 (50 basis points) มีความเป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผล กิจการต้องเปิดเผยผลกระทบ ที่มีต่อกําไรหรือขาดทุนและส่วนของเจ้าของ หากอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนไปเป็นร้อยละ 4.5 หรือร้อยละ 5.5 และสมมติว่าในรอบระยะเวลาถัดไป อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 5.5 โดยที่กิจการยังคงเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยจะผันผวนในระดับที่ ± ร้อยละ 00.5 (50 basis points) ( กล่าวคือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยอยู่
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 54 ในระดับคงที่ ) กิจการจะเปิดเผยผลกระทบที่มีต่อกําไรหรือขาดทุนและส่วนของเจ้าของ หากอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนไปเป็นร้อยละ 5 หรือร้อยละ 6 กิจการไม่จําเป็นต้องทบทวน ความสมเหตุสมผลของความผันผวนในอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ ± ร้อยละ 00.5 (50 basis points) เว้นแต่จะมีหลักฐานแสดงว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือ ผันผวนอย่างมีนัยสําคัญ ข 19.2 ในช่วงระยะเวลาที่กิจการทําการประเมินนั้น การวิเคราะห์ความอ่อนไหวต้องแสดงถึง ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล ตลอดช่วงเวลาจนกว่ากิจการจะนําเสนอการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในงวดต่อไป ซึ่งโดยปกติจะหมายถึงรอบระยะเวลารายงานประจําปีถัดไป ข 20 ย่อหน้าที่ 41 อนุญาตให้กิจการใช้การวิเคราะห์ความอ่อนไหวซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรความเสี่ยงต่างๆ เช่น วิธีมูลค่าความเสี่ยง (value-at-risk) หากกิจการใช้การวิเคราะห์ ดังกล่าวในการบริหารจัดการฐานะเปิดต่อความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ การถือปฏิบัตินั้น สามารถทําได้แม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะวัดมูลค่าได้เพียงแค่ผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นและไม่สามารถ วัดมูลค่าผลกําไรที่อาจเกิดขึ้น กิจการอาจปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 41.1 โดยเปิดเผยรูปแบบของ แบบจําลองที่ใช้ ( เช่น แบบจําลองนั้นใช้วิธีมอนติคาร์โล (Monte Carlo Simulation) หรือไม่ ) คําอธิบายเกี่ยวกับแบบจําลอง รวมถึงข้อสมมติหลักที่ใช้ ( เช่น ระยะเวลาการถือครอง และระดับ ความเชื่อมั่น ) กิจการอาจเปิดเผยช่วงเวลาของข้อมูลในอดีตที่นํามาใช้และนํ้าหนักความสําคัญที่ ให้กับข้อมูลในแต่ละช่วงเวลา คําอธิบายเกี่ยวกับวิธีจัดการสิทธิที่จะซื้อหรือจะขายในการคํานวณ รวมทั้งค่าความผันผวนและค่าสหสัมพันธ์ ( หรือ Monte Carlo probability distribution simulations) ที่นํามาใช้ ข 21 กิจการต้องทําการวิเคราะห์ความอ่อนไหวสําหรับธุรกิจทั้งหมด แต่อาจวิเคราะห์ความอ่อนไหว ในรูปแบบที่แตกต่างกันสําหรับประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างกันได้ ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ข 22 ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เกิดจากเครื่องมือทางการเงินที่มีดอกเบี้ยซึ่งรับรู้ในงบฐานะการเงิน ( เช่น ตราสารหนี้ที่กิจการได้รับหรือที่กิจการออก ) และจากเครื่องมือทางการเงินบางประเภท ซึ่งไม่ถูกรับรู้ในงบฐานะการเงิน ( เช่น ภาระผูกพันที่จะให้สินเชื่อบางประเภท ) ความเสี่ยงด้านสกุลเงิน ข 23 ความเสี่ยงด้านสกุลเงิน ( หรือความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ) เกิดจากเครื่องมือทางการเงิน ที่ถูกกําหนดเป็นเงินตราต่างประเทศ กล่าวคือ กําหนดให้วัดมูลค่าในสกุลเงินที่ไม่ใช่สกุลเงินที่ใช้ ในการดําเนินงาน สําหรับวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ความเสี่ยง ด้านสกุลเงินจะไม่เกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินซึ่งเป็นรายการที่ไม่เป็นตัวเงินหรือจาก เครื่องมือทางการเงินที่ถูกกําหนดด้วยสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงาน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 55 ข 24 กิจการต้องเปิดเผยการวิเคราะห์ความอ่อนไหวแยกตามแต่ละสกุลเงินที่กิจการมีฐานะเปิดต่อ ความเสี่ยงด้านสกุลเงินที่มีนัยสําคัญ ความเสี่ยงด้านราคาอื่นๆ ข 25 ความเสี่ยงด้านราคาอื่นๆ ของเครื่องมือทางการเงิน ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงราคา เช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หรือราคาตราสารทุน เพื่อให้ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 40 กิจการอาจ เปิดเผยผลกระทบของการลดลงในดัชนีราคาหุ้นที่เฉพาะเจาะจง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หรือตัวแปร ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น หากกิจการคํ้าประกันมูลค่าคงเหลือของเครื่องมือทางการเงิน กิจการต้อง เปิดเผยมูลค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ที่มีการคํ้าประกันนั้น ข 26 ตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินซึ่งทําให้เกิดความเสี่ยงด้านราคาของตราสารทุน ได้แก่ 1) การถือครองตราสารทุนในกิจการอื่น และ 2) การลงทุนในกองทุนรวมซึ่งลงทุนในตราสารทุนอื่น หรือตัวอย่างอื่นๆ เช่น สัญญาฟอร์เวิร์ดและสิทธิที่จะซื้อหรือจะขายตราสารทุนที่เฉพาะเจาะจง จํานวนหนึ่ง และสัญญาแลกเปลี่ยนซึ่งขึ้นอยู่กับดัชนีราคาตราสารทุน มูลค่ายุติธรรมของ เครื่องมือทางการเงินดังกล่าวจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในราคาตลาดของตราสารทุน ที่เป็นรายการอ้างอิง ข 27 ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 40.1 ความอ่อนไหวของกําไรหรือขาดทุน ( เช่น ที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือ ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ) ต้องเปิดเผยเป็นรายการแยกจาก ความอ่อนไหวของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( เช่น ที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุนในตราสารทุน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมถูกแสดงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ) ข 28 เครื่องมือทางการเงินซึ่งกิจการจัดประเภทเป็นตราสารทุนที่ไม่มีการวัดมูลค่าใหม่ ดังนั้น กําไร หรือขาดทุนหรือส่วนของเจ้าของจึงไม่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านราคาของตราสารทุน จากเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว จึงไม่จําเป็นต้องทําการวิเคราะห์ความอ่อนไหว การเลิกรับรู้รายการ ( ย่อหน้าที่ 42 ค -42 ซ ) ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ( ย่อหน้าที่ 42 ค ) ข 29 การประเมินความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนสําหรับวัตถุประสงค์ ในการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 จ ถึง 42 ซ จะประเมินที่ระดับของกิจการ ที่รายงานข้อมูล เช่น หากบริษัทย่อยโอนสินทรัพย์ทางการเงินไปยังบริษัทอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งบริษัทใหญ่ของบริษัทย่อยมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ด้วย บริษัทย่อยนั้นไม่ต้องรวมความเกี่ยวข้อง ของบริษัทใหญ่ในการประเมินความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ที่โอนในงบการเงินเฉพาะ กิจการ ( กล่าวคือ เมื่อบริษัทย่อยเป็นกิจการที่รายงานข้อมูล ) อย่างไรก็ตาม บริษัทใหญ่ควรรวม ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการ ( หรือของสมาชิกอื่นในกลุ่ม ) ในสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 56 โดยบริษัทย่อยในการพิจารณาว่ามีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ที่โอนในงบการเงินรวมของ กิจการ ( กล่าวคือ เมื่อกลุ่มเป็นกิจการที่รายงานข้อมูล ) ข 30 กิจการไม่มีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนหรือเป็นส่วนหนึ่งของการโอน หากไม่ได้คงไว้ซึ่งสิทธิหรือภาระผูกพันตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน หรือไม่ได้มา ซึ่งสิทธิหรือภาระผูกพันตามสัญญาใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน กิจการไม่มี ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนหากกิจการไม่มีส่วนได้เสียใน ผลการดําเนินงานในอนาคตของสินทรัพย์นั้นหรือไม่มีความรับผิดชอบในการจ่ายชําระ ซึ่งคํานึงถึงสินทรัพย์ทางการเงินที่จะโอนในอนาคต เงื่อนไขของการจ่ายชําระเงินในบริบทนี้ ไม่รวมกระแสเงินสดของสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนซึ่งกิจการได้รวบรวมและถูกกําหนดให้ส่ง ให้แก่ผู้รับโอน ข 30 ก เมื่อกิจการโอนสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการอาจยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการให้บริการสินทรัพย์ ทางการเงินซึ่งได้รวมค่าธรรมเนียมแล้ว เช่น สัญญาการให้บริการ กิจการประเมินสัญญา การให้บริการตามที่กําหนดเป็นแนวทางในย่อหน้าที่ 42 ค และภาคผนวก ข ย่อหน้าที่ 30 เพื่อให้ตัดสินใจได้ว่า กิจการมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ซึ่งเป็นผลของสัญญาการให้บริการ ตามวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ เช่น ผู้ให้บริการจะมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ในสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนตามวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยข้อมูล หากค่าธรรมเนียม การให้บริการขึ้นอยู่กับจํานวนหรือจังหวะเวลาของกระแสเงินสดที่ได้จากสินทรัพย์ทางการเงิน ที่โอน ในทํานองเดียวกันผู้ให้บริการมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ตามวัตถุประสงค์ของการเปิดเผย ข้อมูล หากค่าธรรมเนียมคงที่ไม่ถูกจ่ายเต็มจํานวนเนื่องจากการไม่ฎิบัติตามสัญญาของสินทรัพย์ ทางการเงินที่โอน ในตัวอย่างนี้ ผู้ให้บริการมีส่วนได้เสียในผลการดําเนินงานในอนาคตของ สินทรัพย์ทางการเงินที่โอน การประเมินนี้จะเป็นอิสระหากค่าธรรมเนียมที่ได้รับคาดว่าจะชดเชย ให้กิจการอย่างเพียงพอสําหรับการให้บริการ ข 31 ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนอาจเป็นผลมาจากประมาณการหนี้สิน ตามสัญญาจากข้อตกลงการโอนหรือข้อตกลงที่แยกต่างหากที่ทํากับผู้รับโอนหรือบุคคลที่สาม ที่เข้าทําสัญญา ที่เกี่ยวข้องกับการโอนนั้น สินทรัพย์ทางการเงินที่โอนโดยไม่เลิกรับรู้ทั้งจํานวน ( ย่อหน้าที่ 42 ง ) ข 32 ย่อหน้าที่ 42 ง กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ทางการเงินที่โอนบางส่วนหรือที่โอนทั้งหมด ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขของการเลิกรับรู้รายการ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น ณ วันที่รายงาน แต่ละวันที่กิจการยังคงรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินที่โอน โดยไม่คํานึงว่าสินทรัพย์นั้นโอนเมื่อใด ประเภทของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ ( ย่อหน้าที่ 42 จ -42 ซ ) ข 33 ย่อหน้าที่ 42 จ -42 ซ กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณสําหรับ ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่แต่ละประเภทในสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้ กิจการต้องรวม
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 57 ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการและแยกตามประเภทที่เป็นตัวแทนของฐานะเปิดต่อความเสี่ยง ของกิจการ เช่น กิจการอาจรวมความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการตามประเภทของเครื่องมือ ทางการเงิน ( เช่น การคํ้าประกัน หรือสัญญาสิทธิที่จะซื้อ ) หรือตามประเภทของการโอน ( เช่น การขายลดลูกหนี้การค้า การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และการให้ยืมหลักทรัพย์ ) การวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดสําหรับกระแสเงินสดออกที่ไม่คิดลดสําหรับการซื้อคืน สินทรัพย์ที่โอน ( ย่อหน้าที่ 42 จ .5) ข 34 ย่อหน้าที่ 42 จ .5 กําหนดให้กิจการเปิดเผยการวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนดของกระแสเงินสดออก ที่ไม่คิดลดสําหรับการซื้อคืนสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้หรือจํานวนค้างจ่ายอื่นต่อผู้รับโอน อันเนื่องมาจากสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เลิกรับรู้ โดยแสดงระยะเวลาคงเหลือก่อนครบกําหนด ตามสัญญาของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ของกิจการ การวิเคราะห์นี้จะแยกกระแสเงินสดที่กําหนด ให้จ่ายชําระ ( เช่น สัญญาฟอร์เวิร์ด ) กระแสเงินสดที่กิจการอาจถูกกําหนดให้จ่ายชําระ ( เช่น การขายสัญญาสิทธิที่จะขาย ) และกระแสเงินสดที่กิจการอาจเลือกจ่ายชําระ ( เช่น การซื้อสัญญา สิทธิที่จะซื้อ ) ข 35 กิจการต้องใช้วิจารณญาณในการกําหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ระยะเวลาครบกําหนด ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 จ .5 เช่น กิจการอาจกําหนดให้ช่วงเวลาต่อไปนี้เป็นช่วงเวลา ที่เหมาะสมได้ ข 35.1 ไม่เกิน 1 เดือน ข 35.2 มากกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ข 35.3 มากกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ข 35.4 มากกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ข 35.5 มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ข 35.6 มากกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี และ ข 35.7 มากกว่า 5 ปี ข 36 หากสามารถระบุช่วงของระยะเวลาครบกําหนดที่เป็นไปได้ กระแสเงินสดจะถูกรวมตามเกณฑ์ ของวันที่เร็วที่สุดที่กําหนดให้กิจการจ่ายชําระหรือได้รับอนุญาตให้จ่ายชําระ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( ย่อหน้าที่ 42 จ .6) ข 37 ข้อมูลเชิงคุณภาพตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 จ .6 รวมถึงรายละเอียดของสินทรัพย์ทางการเงิน ที่ถูกเลิกรับรู้ และธรรมชาติและวัตถุประสงค์ของความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ที่ยังคงไว้หลังจาก การโอนสินทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของความเสี่ยงที่กิจการได้เผชิญอยู่ รวมทั้งข้อมูล ดังต่อไปนี้ ข 37.1 รายละเอียดวิธีที่กิจการได้บริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ในความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ใน การเลิกรับรู้สินทรัพย์ทางการเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 58 ข 37.2 กิจการต้องรับผลขาดทุนก่อนคู่สัญญาอื่น รวมทั้งอันดับและมูลค่าผลขาดทุนที่รับ โดยคู่สัญญาอื่นซึ่งมีอันดับส่วนได้เสียตํ่ากว่าส่วนได้เสียในสินทรัพย์ของกิจการ ( กล่าวคือ ความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ในสินทรัพย์ของกิจการ ) ข 37.3 รายละเอียดของข้อบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับภาระผูกพันในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือการซื้อคืนสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน ผลกําไรหรือขาดทุนจากการเลิกรับรู้รายการ ( ย่อหน้าที่ 42 ช .1) ข 38 ย่อหน้าที่ 42 ช .1 กําหนดให้กิจการเปิดเผยผลกําไรหรือผลขาดทุนจากการเลิกรับรู้รายการ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงินที่กิจการมีความเกี่ยวข้องที่คงอยู่ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล หากผลกําไรหรือผลขาดทุนจากการเลิกรับรู้รายการเกิดขึ้นเนื่องจากมูลค่ายุติธรรมของ องค์ประกอบของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงวดก่อน ( กล่าวคือ ส่วนได้เสียในสินทรัพย์ที่ถูกเลิกรับรู้และ ส่วนได้เสียที่ยังคงไว้กับกิจการ ) แตกต่างจากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงวดก่อน ทั้งจํานวน ซึ่งในสถานการณ์ดังกล่าว กิจการต้องเปิดเผยการวัดมูลค่ายุติธรรมซึ่งรวมข้อมูล ที่มีนัยสําคัญที่ไม่ได้อ้างอิงกับข้อมูลตลาดที่สามารถสังเกตได้ ตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ 27 ก ข้อมูลเพิ่มเติม ( ย่อหน้าที่ 42 ซ ) ข 39 การเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ง ถึง 42 ช อาจไม่เพียงพอที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ ของการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 42 ข ในกรณีนี้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่จําเป็น ที่จะทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยข้อมูลนั้น กิจการต้องพิจารณาว่าต้องให้ข้อมูล เพิ่มเติมมากน้อยเพียงใดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล และต้องให้ความสําคัญกับ ข้อมูลเพิ่มเติมแต่ละประเด็นอย่างไร ดังนั้นจึงจําเป็นต้องหาจุดสมดุลระหว่างงบการเงิน ที่นําเสนอข้อมูลละเอียดเกินความจําเป็นซึ่งไม่ได้ช่วยผู้ใช้งบการเงินและยังทําให้ข้อมูลไม่ชัดเจน หากมีการสรุปข้อมูลมากเกินไป การหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ 13 ก -13 ฉ ) ขอบเขต ( ย่อหน้าที่ 13 ก ) ข 40 การเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 13 ข -13 จ กําหนดสําหรับการรับรู้เครื่องมือทางการเงินทุกประเภท ที่มีการหักกลบลบหนี้ตามย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 นอกจากนี้ เครื่องมือ ทางการเงินอยู่ภายใต้ขอบเขตของข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 13 ข -13 จ หากเป็นไป ตามข้อตกลงหลักของการหักกลบที่มีผลบังคับใช้หรือข้อตกลงที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งครอบคลุมถึง เครื่องมือทางการเงินและรายการที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่คํานึงว่าเครื่องมือทางการเงินนั้น มีการหักกลบลบหนี้ตามย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 หรือไม่
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 59 ข 41 ข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันที่อ้างอิงในย่อหน้าที่ 13 ก และย่อหน้าที่ ข 40 รวมถึงข้อตกลงการชําระ ราคาอนุพันธ์ ข้อตกลงหลักในการซื้อคืนโดยรวม ข้อตกลงหลักในการให้ยืมหลักทรัพย์โดยรวม และสิทธิที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันทางการเงิน เครื่องมือทางการเงินและรายการที่คล้ายคลึงกัน ตามที่อ้างอิงในย่อหน้าที่ ข 40 รวมถึงอนุพันธ์ ข้อตกลงการขายและซื้อคืน ข้อตกลงการขายคืน และซื้อคืน การกู้ยืมหลักทรัพย์ และข้อตกลงการให้ยืมหลักทรัพย์ ตัวอย่างของเครื่องมือ ทางการเงินที่ไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของย่อหน้าที่ 13 ก คือ เงินให้กู้ยืมและเงินรับฝากของลูกค้า ที่สถาบันการเงินเดียวกัน ( เว้นแต่กําหนดให้มีการหักกลบลบหนี้ในงบฐานะการเงิน ) และ เครื่องมือทางการเงินที่เป็นไปตามข้อตกลงหลักประกัน การเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้และหนี้สินทางการเงินที่รับรู้ ภายใต้ขอบเขตของย่อหน้าที่ 13 ก ( ย่อหน้าที่ 13 ค ) ข 42 เครื่องมือทางการเงินที่เปิดเผยตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค อาจอยู่ภายใต้ข้อกําหนด การวัดมูลค่าที่แตกต่างกัน ( เช่น หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงการซื้อคืนอาจถูกวัดมูลค่าด้วย ราคาทุนตัดจําหน่าย ในขณะที่อนุพันธ์จะถูกวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ) กิจการต้องรวมมูลค่า ของเครื่องมือที่กิจการรับรู้และอธิบายความแตกต่างของการวัดมูลค่าในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การเปิดเผยมูลค่าขั้นต้นของสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้และหนี้สินทางการเงินที่รับรู้ภายใต้ ขอบเขตของย่อหน้าที่ 13 ก ( ย่อหน้าที่ 13 ค .1) ข 43 มูลค่าที่กําหนดตามย่อหน้าที่ 13 ค .1 เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้ซึ่งมีการหักกลบ ลบหนี้ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 มูลค่าที่กําหนด ตามย่อหน้าที่ 13 ค .1 ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้ภายใต้ข้อตกลงหลักของ การหักกลบที่มีผลบังคับใช้หรือข้อตกลงที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่คํานึงว่าเครื่องมือทางการเงินนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขของการหักกลบหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 13 ค .1 ไม่เกี่ยวข้องกับมูลค่าที่รับรู้ซึ่งเป็นผลของข้อตกลงหลักประกันที่ไม่เป็นไปตาม เงื่อนไขการหักกลบในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 โดยมูลค่าดังกล่าวจะถูก กําหนดให้รายงานตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .4 แทน การเปิดเผยมูลค่าที่หักกลบลบหนี้ตามที่กําหนดตามหลักเกณฑ์ในย่อหน้าที่ 42 ของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ( ย่อหน้าที่ 13 ค .2) ข 44 ย่อหน้าที่ 13 ค .2 กําหนดให้กิจการเปิดเผยข้อมูลมูลค่าที่หักกลบลบหนี้ตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 หากกิจการกําหนดให้แสดงด้วยมูลค่าสุทธิ ในงบฐานะการเงิน มูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่รับรู้ซึ่งเป็นไปตามการหักกลบ ภายใต้ข้อตกลงเดียวกันจะถูกเปิดเผยทั้งในการเปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ทางการเงินและ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 60 การเปิดเผยข้อมูลหนี้สินทางการเงิน อย่างไรก็ตาม มูลค่าที่เปิดเผย ( เช่น ในรูปแบบตาราง ) จะถูกจํากัดด้วยมูลค่าที่เป็นไปตามการหักกลบ เช่น กิจการอาจรับรู้สินทรัพย์อนุพันธ์และหนี้สิน อนุพันธ์ตามเงื่อนไขการหักกลบในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 หากมูลค่า ขั้นต้นของสินทรัพย์อนุพันธ์มากกว่ามูลค่าขั้นต้นของหนี้สินอนุพันธ์ ตารางการเปิดเผยข้อมูล สินทรัพย์ทางการเงินจะรวมมูลค่าของสินทรัพย์อนุพันธ์ ( ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .1) และ มูลค่าของหนี้สินอนุพันธ์ทั้งหมด ( ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .2) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตาราง การเปิดเผยข้อมูลหนี้สินทางการเงินจะรวมมูลค่าของหนี้สินอนุพันธ์ทั้งหมด ( ตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 13 ค .1) การเปิดเผยข้อมูลนี้จะรวมเฉพาะมูลค่าของสินทรัพย์อนุพันธ์ ( ตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 13 ค .2) ซึ่งเท่ากับมูลค่าของหนี้สินอนุพันธ์ การเปิดเผยมูลค่าสุทธิที่แสดงในงบฐานะการเงิน ( ย่อหน้าที่ 13 ค .3) ข 45 หากกิจการมีเครื่องมือที่เป็นไปตามขอบเขตของการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ ( ตามที่ระบุใน ย่อหน้าที่ 13 ก ) แต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการหักกลบในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 มูลค่าที่กําหนดให้เปิดเผยในย่อหน้าที่ 13 ค .3 จะเท่ากับมูลค่าที่กําหนดให้เปิดเผย ในย่อหน้าที่ 13 ค .1 ข 46 มูลค่าที่ถูกกําหนดให้เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 13 ค .3 ต้องถูกกระทบยอดกับรายการที่แสดง ในงบฐานะการเงิน เช่น หากกิจการเลือกที่จะรวมหรือไม่รวมมูลค่ารายการในงบการเงิน เพื่อการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากขึ้น กิจการต้องกระทบยอดมูลค่าที่ถูกรวมหรือไม่ถูกรวม ที่เปิดเผยในย่อหน้าที่ 13 ค .3 ไปยังมูลค่ารายการที่แสดงในงบฐานะการเงิน การเปิดเผยมูลค่าที่เป็นไปตามข้อตกลงหลักของการหักกลบที่มีผลบังคับใช้หรือข้อตกลง ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งไม่รวมอยู่ในย่อหน้าที่ 13 ค .2 ( ย่อหน้าที่ 13 ค .4) ข 47 ย่อหน้าที่ 13 ค .4 กําหนดให้กิจการเปิดเผยมูลค่าที่เป็นไปตามข้อตกลงหลักของการหักกลบที่มี ผลบังคับใช้หรือข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในย่อหน้าที่ 13 ค .2 ย่อหน้าที่ 13 ค .4.1 ระบุถึงมูลค่าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข การหักกลบในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 บางส่วนหรือทั้งหมด ( เช่น สิทธิ ปัจจุบันของการหักกลบที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 42.2 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 หรือสิทธิตามเงื่อนไขของการหักกลบที่มีผลบังคับใช้และสามารถใช้สิทธิได้เฉพาะ เมื่อเกิดเหตุการณ์การไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา หรือเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ขาดสภาพคล่อง หรือล้มละลายของคู่สัญญา ) ข 48 ย่อหน้าที่ 13 ค .4.2 ระบุถึงมูลค่าที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันทางการเงิน รวมถึงหลักประกันเงินสด ทั้งที่ได้รับและที่วางเป็นประกัน กิจการต้องเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน เหล่านั้นที่นําไปวางเป็นประกันหรือที่ได้รับเป็นหลักประกัน มูลค่าที่เปิดเผยตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 13 ค .4.2 ควรเกี่ยวข้องกับหลักประกันที่ได้รับหรือนําไปวางเป็นประกันจริง และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 61 ไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ที่เป็นผลจากการรับรู้รายการเพื่อส่งคืนหรือรับคืนหลักประกัน ดังกล่าว ข้อจํากัดของมูลค่าที่เปิดเผยในย่อหน้าที่ 13 ค .4 ( ย่อหน้าที่ 13 ง ) ข 49 กิจการต้องคํานึงถึงผลกระทบของหลักประกันจากเครื่องมือทางการเงินที่มากเกินไป หากเปิดเผย มูลค่าตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .4 ซึ่งการกระทําเช่นนั้น กิจการต้องหักมูลค่าที่เปิดเผย ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .4.1 จากมูลค่าที่เปิดเผยตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .3 เป็นอันดับแรก กิจการต้องจํากัดมูลค่าที่เปิดเผยตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .4.2 ด้วยมูลค่าที่คงเหลืออยู่ในย่อหน้าที่ 13 ค .3 สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม หากสิทธิตามหลักประกันสามารถใช้บังคับกับเครื่องมือทางการเงินต่างประเภท สิทธิดังกล่าว ควรรวมอยู่ในการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ง ด้วย รายละเอียดของสิทธิการหักกลบที่เป็นไปตามข้อตกลงหลักของการหักกลบที่มีผลบังคับใช้ และข้อตกลงที่คล้ายคลึงกัน ( ย่อหน้าที่ 13 จ ) ข 50 กิจการต้องอธิบายประเภทของสิทธิการหักกลบและข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันที่เปิดเผยตาม ย่อหน้าที่ 13 ค .4 รวมถึงธรรมชาติของสิทธิดังกล่าว เช่น กิจการต้องอธิบายสิทธิที่มีเงื่อนไข สําหรับเครื่องมือที่เป็นไปตามสิทธิการหักกลบที่ไม่ใช่ภาระผูกพันของเหตุการณ์ในอนาคต แต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ปรากฏอยู่ในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 กิจการต้องอธิบายสาเหตุที่ทําให้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว สําหรับหลักประกันทางการเงิน ที่ได้รับหรือวางเป็นประกันไว้ กิจการต้องอธิบายเงื่อนไขของข้อตกลงหลักประกัน ( เช่น เมื่อหลักประกันมีข้อจํากัด ) การเปิดเผยข้อมูลตามประเภทของเครื่องมือทางการเงินหรือตามประเภทของคู่สัญญา ข 51 การเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .1 ถึง 13 ค .5 อาจจัดกลุ่มตาม ประเภทของเครื่องมือทางการเงินหรือรายการ ( เช่น อนุพันธ์ ข้อตกลงการซื้อคืนและการซื้อที่มี สัญญาขายคืน หรือการกู้ยืมหลักทรัพย์ และข้อตกลงการให้ยืมหลักทรัพย์ ) ข 52 กิจการอาจจัดกลุ่มการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ค .1 ถึง 13 ค .3 ตามประเภทของเครื่องมือทางการเงิน และการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 13 ค .3 ถึง 13 ค .5 ตามคู่สัญญา หากกิจการแสดงข้อมูลที่กําหนดตามประเภท คู่สัญญา กิจการไม่ถูกกําหนดให้ระบุชื่อคู่สัญญา อย่างไรก็ตาม การกําหนดคู่สัญญา ( คู่สัญญา ก คู่สัญญา ข คู่สัญญา ค เป็นต้น ) ต้องกําหนดให้สอดคล้องกันในแต่ละปีที่แสดงข้อมูลเพื่อให้ เปรียบเทียบข้อมูลได้ ในการเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพต้องพิจารณาการแสดงข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับประเภทของคู่สัญญา เมื่อคู่สัญญาให้ข้อมูลเพื่อเปิดเผยมูลค่าตามย่อหน้าที่ 13 ค .3 ถึง
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 30/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 62 13 ค .5 มูลค่าที่มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับมูลค่าคู่สัญญาทั้งหมดต้องเปิดเผยเป็นรายการแยกต่างหาก และมูลค่าคู่สัญญาที่ไม่มีนัยสําคัญที่เหลือต้องรวมแสดงเป็นรายการเดียว อื่นๆ ข 53 การเปิดเผยข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงตามย่อหน้าที่ 13 ค ถึง 13 จ ถือเป็นข้อกําหนดขั้นตํ่า เพื่อให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ในย่อหน้าที่ 13 ข กิจการอาจจําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูล ( เชิงคุณภาพ ) เพิ่มเติม ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของข้อกําหนดของข้อตกลงหลักของการหักกลบที่มีผลบังคับใช้และข้อตกลงที่ เกี่ยวข้อง รวมถึงธรรมชาติของสิทธิการหักกลบ และผลกระทบหรือผลกระทบที่คาดว่า จะเกิดขึ้นที่มีต่อฐานะการเงินของกิจการ