ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เล่มที่ 2)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เล่มที่ 2)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดาเนินงานที่ยกเลิก อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็ นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออ กประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 62/2562 เรื่อง มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดาเนินงานที่ยกเลิก ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ถือไว้เพื่อขายและการดาเนินงานที่ยกเลิก ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 17 (เล่มที่ 2) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก คํานํา มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงาน ที่ ยก เลิ ก ฉ บั บ รวม เล่ ม ปี 2566 (IFRS 5: Non-current Assets Held for Sale and Discontinued Operations (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทย เท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่ มเติมย่อหน้าที่ 5 และเพิ่ ม ย่อหน้าที่ 44 ฐ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่ มเติมการอ้างอิงมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคําหรือเนื้อหาใดๆ - ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ **
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 การจัดประเภทของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะ จําหน่าย ) เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย หรือสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อจ่าย ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ 6 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่จะทิ้ง 13 การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะ จําหน่าย ) ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย 15 การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) 15 การรับรู้รายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าและการกลับรายการ 20 การเปลี่ยนแปลงแผนการขายหรือแผนการจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ 26 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล 30 การแสดงรายการการดําเนินงานที่ยกเลิก 31 ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานต่อเนื่อง 37 การแสดงรายการของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย 38 การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม 41 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 43 วันถือปฏิบัติ 44 การยกเลิกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับเดิม 45 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ข แนวทางปฏิบัติ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงาน ที่ยกเลิก ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 45 ภาคผนวก ก และ ภาคผนวก ข ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน โดย ตัวอักษรหนา ถือเป็นหลักการที่สําคัญ คํานิยามในภาคผนวก ก ที่ปรากฏเป็นครั้งแรกในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้จะเป็น ตัวอักษรเอน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องอ่าน โดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติ ในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชีสําหรับ สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย รวมถึงการนําเสนอและการเปิดเผยข้อมูลของ การดําเนินงานที่ยกเลิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องการให้ 1.1 วัดมูลค่าของสินทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์การจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย โดยใช้ มูลค่าที่ตํ่ากว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับ มูลค่ายุติธรรม หัก ต้นทุนในการขาย และหยุด คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ดังกล่าว และ 1.2 นําเสนอสินทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์การจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายเป็นรายการ แยกต่างหากในงบฐานะการเงิน และนําเสนอผลของการดําเนินงานที่ยกเลิกเป็น รายการแยกต่างหากในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ขอบเขต 2 การจัดประเภทและการนําเสนอตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ถือ ปฏิบัติกับสินทรัพย์ที่จัดเป็น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ทุกชนิด 1 และ กลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ทุกกลุ่มในกิจการ การวัดมูลค่าตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ ถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เข้าเกณฑ์การรับรู้ทุกชนิดและกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ( ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4) ยกเว้นสินทรัพย์ที่แสดงไว้ในย่อหน้าที่ 5 ซึ่งยังคงต้องวัดมูลค่า ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง 1 สําหรับสินทรัพย์ที่จัดประเภทตามการแสดงรายการตามสภาพคล่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคือสินทรัพย์ที่รวมถึงจํานวน ที่คาดว่าจะได้รับคืนเกินกว่า 12 เดือนหลังจากรอบระยะเวลารายงาน ย่อหน้าที่ 3 ใช้กับการจัดประเภทสินทรัพย์ ดังกล่าว
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 3 สินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็ นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนตามมาตรฐานการบั ญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน ต้องไม่จัดประเภทใหม่เป็น สินทรัพย์หมุนเวียน จนกว่าสินทรัพย์นั้น จะเข้าเกณฑ์ในการจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้องไม่จัดประเภทสินทรัพย์ที่โดยปกติแล้วจะจัดเป็น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ซื้อมาสําหรับขายต่อโดยเฉพาะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเว้นแต่ สินทรัพย์นั้นเข้าเกณฑ์ที่จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ 4 ในบางครั้งกิจการจําหน่ายกลุ่มของสินทรัพย์ อาจมีหนี้สินที่เกี่ยวข้องโดยตรงในรายการเดียวกัน กลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายนั้นอาจเป็นกลุ่มของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด หน่วยสินทรัพย์ ที่ก่อให้เกิดเงินสด เพียงหน่วยเดียวหรือบางส่วนของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด 2 กลุ่มที่ยกเลิกอาจรวมไปถึงสินทรัพย์และหนี้สินใดๆ ของกิจการซึ่งรวมทั้งสินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียนและสินทรัพย์ที่ไม่ได้มีการวัดมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 5 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ หากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่อยู่ในขอบเขตของ การวัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่าย ให้นําข้อกําหนดในการวัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ มาถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ทั้งกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายวัดมูลค่าโดยใช้จํานวน ที่ตํ่ากว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย ข้อกําหนดใน การวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินแต่ละรายการที่อยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย กําหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ 18 19 และ 23 5 ข้อกําหนดในการวัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ 3 ไม่นํามาถือปฏิบัติกับ สินทรัพย์ต่อไปนี้ ( ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์เดี่ยวหรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) โดยข้อกําหนดของสินทรัพย์เหล่านี้อยู่ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 5.1 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ( มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ) 5.2 สินทรัพย์ที่เกิดจากผลประโยชน์ของพนักงาน ( มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ) 5.3 สินทรัพย์ทางการเงินที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน 2 อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแสเงินสดจากสินทรัพย์หรือกลุ่มของสินทรัพย์คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยหลักมาจากการขายมากกว่า การใช้อย่างต่อเนื่อง สินทรัพย์ดังกล่าวก็จะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดจากสินทรัพย์อื่นน้อยลง และกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดก็จะกลายเป็นหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด แยกต่างหาก 3 นอกเหนือจากย่อหน้าที่ 18 และ 19 ซึ่งกําหนดให้สินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะด้อยค่าให้วัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 5.4 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือปฏิบัติตามวิธีมูลค่ายุติธรรมในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 5.5 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่วัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 เรื่อง เกษตรกรรม 5.6 กลุ่มของสัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 5 ก การจัดประเภท การนําเสนอข้อมูล และการวัดมูลค่าที่กําหนดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ซึ่งจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย รวมถึงสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่าย ) ซึ่งจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็น เจ้าของกิจการ ( สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ) 5 ข มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กําหนดการเปิดเผยที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือสินทรัพย์ที่ถือไว้ ในการดําเนินงานที่ยกเลิก การเปิดเผยในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นไม่ใช้กับ สินทรัพย์ดังกล่าว ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับอื่นกําหนดถึง 5 ข .1 การเปิดเผยอย่างเฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่าย ) ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือสินทรัพย์ที่ถือไว้ใน การดําเนินงานที่ยกเลิก หรือ 5 ข .2 การเปิดเผยเกี่ยวกับการวัดมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สินที่อยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่าย ซึ่งไม่ได้อยู่ในขอบเขตของการวัดมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ และการเปิดเผยเหล่านั้นไม่ได้รับการเปิดเผยไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้ออื่น การเปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จัดประเภทไว้เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือสินทรัพย์ที่ถือไว้ในการดําเนินงานที่ยกเลิก อาจจําเป็นที่จะต้องใช้ข้อกําหนดทั่วไปตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 15 และ 125 ของมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 1
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 การจัดประเภทของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) เป็นสินทรัพย์ ที่ถือไว้เพื่อขาย หรือสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ 6 กิจการต้องจัดประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) เป็นสินทรัพย์ ที่ถือไว้เพื่อขายหากมูลค่าตามบัญชีที่จะได้รับคืนส่วนใหญ่มาจากการขาย มิใช่มาจาก การใช้สินทรัพย์นั้นต่อไป 7 ในกรณีเช่นนี้ สินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ต้องมีไว้เพื่อขายในทันทีในสภาพ ปัจจุบัน ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่เป็นปกติและถือปฏิบัติกันทั่วไปสําหรับการขายสินทรัพย์เหล่านั้น ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) และการขายต้องมี ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก 8 สําหรับการขายที่จะมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากนั้น ระดับการบริหารที่เหมาะสม ต้องผูกพันกับแผนการขายสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) และต้องเริ่มดําเนินการ ตามแผนเพื่อหาผู้ซื้อ และเพื่อทําตามแผนให้สมบูรณ์ นอกจากนี้กิจการต้องมีการเสนอขาย สินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) อย่างจริงจังในราคาที่สมเหตุสมผลสอดคล้องกับ มูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของสินทรัพย์นั้น นอกจากนี้การขายดังกล่าวควรคาดว่าจะเข้าเงื่อนไข ในการรับรู้รายการเป็นการขายที่เสร็จสมบูรณ์ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่จัดประเภทสินทรัพย์ เว้นแต่จะเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 9 และการดําเนินการเพื่อให้แผนเสร็จสมบูรณ์ ควรบ่งบอกได้ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างมีนัยสําคัญหรือจะยกเลิก แผนนั้น ความเป็นไปได้ของการได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ( หากกฎหมายมีข้อกําหนดไว้ ) ควรถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินว่าการขายดังกล่าวมีความเป็นไปค่อนข้างแน่ในระดับสูง มากหรือไม่ 8 ก กิจการซึ่งผูกพันกับแผนการขายสินทรัพย์ที่ส่งผลให้กิจการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อยต้อง จัดประเภทรายการสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทย่อยเหล่านั้นเป็นสินทรัพย์และหนี้สิน ที่ถือไว้เพื่อขายเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 6 ถึง 8 โดยไม่คํานึงถึงว่า กิจการจะยังคงมีส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมในบริษัทย่อยดังกล่าวหลังการขายหรือไม่ 9 โดยทั่วไปอาจมีเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ทําให้ระยะเวลาการขายที่เสร็จสมบูรณ์ขยายเกิน กว่า 1 ปี การขยายระยะเวลาในการขายที่เสร็จสมบูรณ์นั้นไม่ได้เป็นเหตุให้สินทรัพย์ ( หรือกลุ่ม สินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) นั้นไม่สามารถจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย หากความล่าช้านั้น เกิดจากเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของกิจการ และมีหลักฐาน เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่ากิจการยังคงผูกพันต่อแผนในการขายสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่าย ) กรณีนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าเกณฑ์ตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวก ข 10 รายการขายให้รวมถึงการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นเมื่อ การแลกเปลี่ยนนั้นมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 11 เมื่อกิจการได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) โดยมีแผนที่จะ จําหน่ายออกไปในภายหลัง กิจการต้องจัดประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 ที่จะจําหน่าย ) ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ณ วันที่ได้สินทรัพย์นั้นมา ก็ต่อเมื่อ เข้าเกณฑ์ระยะเวลา 1 ปีตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 8 ( นอกจากจะได้รับยกเว้นตามย่อหน้าที่ 9) และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากที่เงื่อนไขอื่นในย่อหน้าที่ 7 และ 8 ( ซึ่งยังไม่ได้ เป็นไปตามที่กําหนดในวันนั้น ) จะเป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวภายในระยะเวลาอันสั้นหลังจากที่ได้ สินทรัพย์นั้นมา ( ปกติภายใน 3 เดือน ) 12 หากเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 7 และ 8 ครบถ้วนหลังสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้อง ไม่จัดประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้ เพื่อขายในงบการเงินที่เผยแพร่ อย่างไรก็ตาม หากเงื่อนไขดังกล่าวครบถ้วนหลังจากสิ้นรอบ ระยะเวลารายงาน แต่ก่อนการอนุมัติให้เผยแพร่งบการเงิน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่ กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 41.1 41.2 และ 41.4 ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 12 ก สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้ เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของก็ต่อเมื่อกิจการผูกพันในการจ่ายสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะ จําหน่าย ) ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ในกรณีนี้สินทรัพย์ดังกล่าวจะต้องมีไว้เพื่อการจ่ายในทันที ในสภาพปัจจุบัน และการจ่ายมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก สําหรับการจ่ายที่มี ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก การดําเนินการที่จะทําให้การจ่ายเสร็จสมบูรณ์ต้องมี การเริ่มต้นแล้วและคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในหนึ่งปีนับจากวันที่มีการจัดประเภท สินทรัพย์ การดําเนินการที่จําเป็นเพื่อให้การจ่ายเสร็จสมบูรณ์ต้องบ่งบอกได้ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการจ่ายอย่างมีนัยสําคัญหรือจะยกเลิกการจ่ายนั้น ความเป็นไปได้ของ การได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ( หากกฎหมายมีข้อกําหนดไว้ ) ควรถือเป็นส่วนหนึ่งของ การประเมินว่าการจ่ายดังกล่าวมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากหรือไม่ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่จะทิ้ง 13 กิจการต้องไม่จัดประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จะทิ้งเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย เนื่องจากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่จะได้รับคืนส่วนใหญ่จะเกิด จากการใช้งานต่อไป อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จะทิ้งนั้นเข้าเงื่อนไข ที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 32.1 ถึง 32.3 กิจการต้องแสดงผลประกอบการและกระแสเงินสดของ กลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายเป็นการดําเนินงานที่ยกเลิกตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 33 และ 34 ณ วันที่หยุดใช้สินทรัพย์นั้น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จะทิ้ง รวมถึงสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จะใช้ไปจนสิ้นสุดอายุ ทางเศรษฐกิจ และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จะถูกปิดไป มากกว่าที่จะถูกขาย 14 กิจการต้องไม่ปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เลิกใช้ชั่วคราวเป็นสินทรัพย์ที่จะทิ้ง
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) 15 กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายด้วยจํานวนที่ตํ่ากว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรม หักต้นทุนในการขาย 15 ก กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของด้วยจํานวนที่ตํ่ากว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชี กับมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการจ่าย 4 16 หากสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่ได้มาใหม่เข้าเงื่อนไขในการจัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ( ดูย่อหน้าที่ 11) การปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 15 จะทําให้ สินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ถูกวัดมูลค่าในการรับรู้เมื่อเริ่มแรกโดยใช้จํานวน ที่ตํ่ากว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีหากสินทรัพย์นั้นไม่ถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ( เช่น ราคาทุน ) กับมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย ดังนั้น หากสินทรัพย์ ( หรือกลุ่ม สินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ได้มาโดยเป็นส่วนหนึ่งของการรวมกิจการ สินทรัพย์นั้นต้องถูก วัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย 17 เมื่อคาดว่าการขายจะเกิดขึ้นเกินกว่าระยะเวลา 1 ปี กิจการต้องวัดต้นทุนในการขายด้วยมูลค่า ปัจจุบัน มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนในการขายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านไปต้องแสดงเป็น ต้นทุนทางการเงินในกําไรหรือขาดทุน 18 ทันทีก่อนการจัดประเภทเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ( หรือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดใน กลุ่ม ) ต้องวัดมูลค่าให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง 19 ในการวัดมูลค่าใหม่ของกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายในภายหลัง มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และ หนี้สินใดๆ ที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตของข้อกําหนดในการวัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ แต่รวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่ถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ ที่ถือไว้เพื่อขาย ต้องมีการวัดมูลค่าใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะมีการวัดมูลค่าใหม่ของมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่าย 4 ต้นทุนในการจ่าย หมายถึง ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจ่ายไม่รวมต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 การรับรู้รายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าและการกลับรายการ 20 กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าสําหรับการลดมูลค่าในครั้งแรกหรือในครั้งต่อๆไป ของสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) เพื่อให้มูลค่าของสินทรัพย์เท่ากับมูลค่ายุติธรรม หักต้นทุนในการขาย ทั้งนี้ จนเท่ากับจํานวนที่ไม่เคยรับรู้ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 19 21 กิจการต้องรับรู้ผลกําไรจากการเพิ่มขึ้นในภายหลังของมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของ สินทรัพย์ แต่ไม่เกินยอดผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสมที่เคยรับรู้ตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้หรือที่เคยรับรู้ก่อนหน้านี้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่า ของสินทรัพย์ 22 กิจการต้องรับรู้ผลกําไรจากการเพิ่มขึ้นในภายหลังของมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของ กลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย 22.1 จนเท่ากับจํานวนที่ไม่เคยรับรู้ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 19 แต่ 22.2 ไม่เกินยอดผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่อยู่ในขอบเขต ของการวัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสมที่เคยรับรู้ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ หรือที่เคยรับรู้ก่อนหน้านี้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 23 ผลขาดทุนจากการด้อยค่า ( หรือผลกําไรที่เกิดขึ้นในภายหลัง ) ที่รับรู้สําหรับกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่ายต้องนําไปลด ( หรือเพิ่ม ) มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในกลุ่มที่อยู่ใน ขอบเขตของการวัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ตามลําดับของการปันส่วน ที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 104.1 และ 104.2 และย่อหน้าที่ 122 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 24 ในวันที่เลิกรับรู้รายการ กิจการต้องรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เคยรับรู้ในวันที่ขายสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการเลิกรับรู้รายการ แสดงไว้ใน 24.1 ย่อหน้าที่ 67 ถึง 72 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 และ 24.2 ย่อหน้าที่ 112 ถึง 117 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 25 กิจการต้องไม่บันทึกค่าเสื่อมราคา ( หรือค่าตัดจําหน่าย ) ของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนระหว่าง ที่สินทรัพย์นั้นถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย หรือระหว่างที่สินทรัพย์นั้น เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ส่วนดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินซึ่งอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายนั้นต้องยังคงรับรู้ต่อไป การเปลี่ยนแปลงแผนการขายหรือแผนการจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ 26 หากกิจการจัดประเภทของสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) เป็นสินทรัพย์ ที่ถือไว้เพื่อขาย หรือถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ แต่ภายหลังไม่เข้าเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ในย่อหน้าที่ 7 ถึง 9 ( สําหรับที่ถือไว้เพื่อขาย ) หรือย่อหน้าที่ 12 ก ( สําหรับที่ถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 ผู้เป็นเจ้าของ ) อีกต่อไป กิจการต้องเลิกจัดประเภทสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่าย ) นั้นเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย หรือถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ( ตามลําดับ ) ในกรณีดังกล่าวกิจการต้องถือปฏิบัติตามแนวทางในย่อหน้าที่ 27 ถึง 29 เพื่อปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ยกเว้นเมื่อเป็นไปตามย่อหน้าที่ 26 ก 26 ก หากกิจการจัดประเภทใหม่สําหรับสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) โดยตรงจาก ถือไว้เพื่อขายเป็นถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ หรือจัดประเภทใหม่โดยตรงจากถือไว้ เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นถือไว้เพื่อขาย การจัดประเภทใหม่ดังกล่าวจะพิจารณาเป็น การต่อเนื่องของแผนการจําหน่ายเริ่มแรก ในกรณีดังกล่าวกิจการต้องดําเนินการดังนี้ 26 ก .1 ต้องไม่ปฏิบัติตามแนวทางในย่อหน้าที่ 27 ถึง 29 เพื่อปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยกิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของการจัดประเภทรายการ การแสดงรายการ และการวัดมูลค่าในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ซึ่งใช้ถือปฏิบัติสําหรับ วิธีการจําหน่ายใหม่ 26 ก .2 ต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) โดยปฏิบัติตาม ข้อกําหนดของย่อหน้าที่ 15 ( หากจัดประเภทใหม่เป็นถือไว้เพื่อขาย ) หรือ ย่อหน้าที่ 15 ก ( หากจัดประเภทใหม่เป็นถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ) และรับรู้ การลดลงหรือการเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายหรือต้นทุน ในการจ่ายของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) โดยปฏิบัติ ตามแนวทางในย่อหน้าที่ 20 ถึง 25 26 ก .3 ต้องไม่เปลี่ยนแปลงวันที่จัดประเภทตามย่อหน้าที่ 8 และ 12 ก กรณีนี้ไม่ได้เป็น การห้ามการขยายระยะเวลาที่จําเป็นที่จะทําให้การขายหรือการจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ เสร็จสมบูรณ์ หากเป็นไปตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 9 27 กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่เลิกจัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ( หรือเลิกรวมเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือถือไว้เพื่อจ่าย ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ) โดยใช้มูลค่าที่ตํ่ากว่าระหว่าง 27.1 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ก่อนจะถูกจัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ และปรับปรุงด้วย ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจําหน่าย หรือการตีราคาใหม่ที่ควรจะรับรู้ หากสินทรัพย์ ( หรือกลุ่ม สินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) นั้นไม่ได้ถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือถือไว้ เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ และ 27.2 มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ณ วันที่ตัดสินใจเลิกขายหรือเลิกจ่ายในเวลาต่อมา 5 5 หากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ ดังกล่าวคือมูลค่าตามบัญชีหลังจากหักขาดทุนจากการปันส่วนการด้อยค่าซึ่งเกิดขึ้นจากหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 28 กิจการต้องรวมการปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เลิกจัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ในกําไรหรือ ขาดทุน 6 จากการดําเนินงานต่อเนื่อง ในรอบระยะเวลาที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในย่อ หน้าที่ 7 ถึง 9 หรือ ย่อหน้าที่ 12 ก ตามลําดับอีกต่อไป กิจการต้องปรับปรุงงบการเงินสําหรับรอบ ระยะเวลาหลังจากที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ด้วยเช่นกัน หากกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย หรือสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เลิกจัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นบริษัทย่อย การดําเนินงาน ร่วมกัน การร่วมค้า บริษัทร่วม หรือส่วนได้เสียในการร่วมค้า หรือบริษัทร่วม กิจการต้องแสดง รายการปรับปรุงดังกล่าวในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จในส่วนเดียวกันกับการแสดงผลกําไรหรือ ขาดทุน ( ถ้ามี ) ที่รับรู้ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 37 29 หากกิจการย้ายสินทรัพย์หรือหนี้สินใดออกจากกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย สินทรัพย์และหนี้สินที่เหลืออยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิกซึ่งจะขายนี้ จะต้องมีการวัดมูลค่าเป็นกลุ่มต่อไปก็ต่อเมื่อกลุ่มนั้นเข้าเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 7 ถึง 9 หากกิจการย้ายสินทรัพย์ หรือหนี้สินบางรายการออกจากกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ สินทรัพย์และหนี้สินที่เหลืออยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ ที่ยกเลิกซึ่งจะจําหน่ายนี้จะต้องวัดมูลค่าเป็นกลุ่มต่อไป ก็ต่อเมื่อกลุ่มนั้นเข้าเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ในย่อหน้าที่ 12 ก มิฉะนั้น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เหลืออยู่ในกลุ่มซึ่งแต่ละรายการยังคงเข้า เงื่อนไขการจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ( หรือเพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ) ต้องวัด มูลค่าสินทรัพย์แต่ละรายการโดยใช้จํานวนที่ตํ่ากว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรม หักต้นทุนในการขาย ( หรือต้นทุนในการจ่าย ) ในวันนั้นกิจการต้องเลิกจัดประเภทสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนที่ไม่เข้าเงื่อนไขเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 26 กิจการต้องยกเลิกการจัดประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ไม่เข้าเงื่อนไขเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้ เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 26 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล 30 กิจการต้องแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลที่ทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมิน ผลกระทบทางการเงินของการดําเนินงานที่ยกเลิกและการเลิกใช้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) 6 ยกเว้น กรณีที่สินทรัพย์เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เคยตีราคาใหม่ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ซึ่งการปรับปรุงต้องถือเป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของส่วนเกินทุนจาก การตีราคาสินทรัพย์
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 การแสดงรายการการดําเนินงานที่ยกเลิก 31 ส่วนประกอบของกิจการ ประกอบด้วยการดําเนินงานและกระแสเงินสดที่สามารถแยกได้ อย่างชัดเจน ( ทั้งในด้านการดําเนินงานและด้านวัตถุประสงค์ของการรายงานทางการเงิน ) จากส่วนที่เหลือของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง ส่วนประกอบของกิจการจะเป็นหน่วยสินทรัพย์ที่ ก่อให้เกิดเงินสดหรือกลุ่มของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดในขณะที่มีไว้สําหรับดําเนินงาน 32 การดําเนินงานที่ยกเลิก คือส่วนประกอบของกิจการ ที่ถูกจําหน่ายออกไปแล้ว หรือ ที่ถูกจัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย และ 32.1 เป็นสายงานธุรกิจที่สําคัญหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แยกต่างหาก 32.2 เป็นส่วนหนึ่งของแผนร่วมกันที่จะยกเลิกสายงานธุรกิจที่สําคัญ หรือเขตภูมิศาสตร์ใน การดําเนินงานที่แยกต่างหาก หรือ 32.3 เป็นบริษัทย่อยที่ซื้อมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายต่อ 33 กิจการต้องเปิดเผย 33.1 จํานวนเงินในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จซึ่งประกอบด้วยยอดรวมของ 33.1.1 กําไรหรือขาดทุนหลังจากการหักภาษีของการดําเนินงานที่ยกเลิก และ 33.1.2 ผลกําไรหรือขาดทุนหลังจากการหักภาษีที่รับรู้ในการวัดมูลค่าให้เป็นมูลค่า ยุติธรรมหักต้นทุนในการขาย หรือในการจําหน่ายสินทรัพย์หรือกลุ่ม สินทรัพย์ที่จะจําหน่ายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงานที่ยกเลิก 33.2 การวิเคราะห์จํานวนเงินในข้อ 33.1 โดยแสดงเป็น 33.2.1 รายได้ ค่าใช้จ่าย และกําไรหรือขาดทุนก่อนหักภาษีของการดําเนินงาน ที่ยกเลิก 33.2.2 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 81.8 ของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 และ 33.2.3 ผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ในการวัดมูลค่าให้เป็นมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุน ในการขาย หรือในการจําหน่ายสินทรัพย์หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงานที่ยกเลิก การวิเคราะห์ดังกล่าวอาจนําเสนอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือในงบกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จ หากกิจการนําเสนอการวิเคราะห์ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ กิจการ ต้องนําเสนอไว้ในส่วนที่ระบุว่าเกี่ยวข้องกับการดําเนินงานที่ยกเลิก ซึ่งหมายถึง แยกต่างหากจากการดําเนินงานต่อเนื่อง การวิเคราะห์นี้ไม่จําเป็นต้องทําสําหรับกลุ่ม สินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่เป็นบริษัทย่อยที่ซื้อมาใหม่ซึ่งเข้าเงื่อนไขในการจัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตั้งแต่ตอนซื้อมา ( ดูย่อหน้าที่ 11) 33.3 กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดําเนินงาน การลงทุน และการจัดหาเงินของ การดําเนินงานที่ยกเลิก การเปิดเผยเหล่านี้อาจนําเสนอในหมายเหตุประกอบ งบการเงินหรือในงบการเงิน การเปิดเผยนี้ไม่จําเป็นต้องทําสําหรับกลุ่มสินทรัพย์ที่จะ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 จําหน่ายที่เป็นบริษัทย่อยที่ซื้อมาใหม่ซึ่งเข้าเงื่อนไขในการจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ ที่ถือไว้เพื่อขายตั้งแต่ตอนซื้อมา ( ดูย่อหน้าที่ 11) 33.4 จํานวนของกําไรจากการดําเนินงานต่อเนื่องและจากการดําเนินงานที่ยกเลิกซึ่ง ปันส่วนให้แก่เจ้าของของบริษัทใหญ่ การเปิดเผยเหล่านี้อาจเปิดเผยในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน หรือแสดงในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 33 ก หากกิจการแสดงรายการกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหากตามที่อธิบายไว้ ในย่อหน้าที่ 10 ก ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานที่ยกเลิกจะ นําเสนอในงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหากนั้น 34 กิจการต้องแสดงการเปิดเผยข้อมูลใหม่ตามย่อหน้าที่ 33 สําหรับงบการเงินรอบระยะเวลาก่อน เพื่อเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานที่ได้ยกเลิกไปในวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานสําหรับ รอบระยะเวลาที่นําเสนอครั้งล่าสุด 35 กิจการต้องจัดประเภทการปรับปรุงในรอบระยะเวลาปัจจุบันของจํานวนเงินที่เคยนําเสนอในการ ดําเนินงานที่ยกเลิก ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจําหน่ายการดําเนินงานที่ยกเลิกในรอบระยะเวลา ก่อนแยกต่างหากในส่วนของการดําเนินงานที่ยกเลิก กิจการต้องเปิดเผยธรรมชาติและจํานวน ของการปรับปรุงดังกล่าว ตัวอย่างสภาพแวดล้อมที่อาจทําให้เกิดการปรับปรุงเหล่านี้รวมถึง ตัวอย่างต่อไปนี้ 35.1 การแก้ปัญหาความไม่แน่นอนที่เกิดจากข้อตกลงในการยกเลิกการดําเนินงาน เช่น การได้ข้อยุติเกี่ยวกับการปรับปรุงราคาซื้อและการรับประกันกับผู้ซื้อ 35.2 การแก้ปัญหาความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดําเนินงานของ ส่วนประกอบของกิจการก่อนการจําหน่าย เช่น ภาระผูกพันที่ผู้ขายยังคงต้อง รับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและการรับประกันสินค้าของผู้ขาย 35.3 มีการจ่ายชําระภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน์ของพนักงานโดยที่การจ่าย ชําระนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับรายการที่ยกเลิก 36 หากกิจการเลิกจัดประเภทส่วนประกอบของกิจการเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย กิจการต้อง จัดประเภทผลการดําเนินงานของส่วนประกอบดังกล่าวที่เคยนําเสนอในการดําเนินงาน ที่ยกเลิกตามย่อหน้าที่ 33 ถึง 35 ใหม่ ผลการดําเนินงานดังกล่าวต้องรวมอยู่ในกําไรจาก การดําเนินงานต่อเนื่องสําหรับทุกรอบระยะเวลาที่นําเสนอ กิจการต้องอธิบายว่าจํานวนเงิน สําหรับรอบระยะเวลาก่อนเป็นการนําเสนอใหม่ 36 ก กิจการซึ่งผูกพันกับแผนการขายสินทรัพย์ที่ส่งผลให้กิจการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อย ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 33 ถึง 36 เมื่อบริษัทย่อยดังกล่าวเป็น กลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่ยกเลิกซึ่งเป็นไปตามคํานิยามของการดําเนินงานที่ยกเลิก ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 32
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานต่อเนื่อง 37 ผลกําไรหรือขาดทุนจากการวัดมูลค่าใหม่ของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ ที่จะจําหน่าย ) ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายที่ไม่เป็นไปตามคํานิยามของการดําเนินงาน ที่ยกเลิกต้องรวมอยู่ในกําไรหรือขาดทุนจากการดําเนินงานต่อเนื่อง การแสดงรายการของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย 38 กิจการต้องแสดงรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายและ สินทรัพย์ของกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย แยกต่างหากจากสินทรัพย์อื่นในงบฐานะการเงิน หนี้สินในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ที่จัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขายต้องนําเสนอแยกต่างหากจากหนี้สินอื่นในงบฐานะการเงิน สินทรัพย์และหนี้สินเหล่านี้ต้องไม่นํามาหักกลบกันและนําเสนอเป็นจํานวนเดียว กิจการต้อง เปิดเผยประเภทของสินทรัพย์และหนี้สินที่สําคัญซึ่งถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย แยกต่างหากในงบฐานะการเงินหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตาม ย่อหน้าที่ 39 กิจการต้องนําเสนอรายได้ หรือค่าใช้จ่ายสะสมที่รับรู้โดยตรงไปยังกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายแยกต่างหาก 39 กิจการไม่จําเป็นต้องเปิดเผยประเภทของสินทรัพย์และหนี้สินที่สําคัญหากกลุ่มสินทรัพย์ที่จะ จําหน่ายเป็นบริษัทย่อยที่ซื้อมาใหม่ ซึ่งเข้าเงื่อนไขการจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย จากการซื้อ ( ดูย่อหน้าที่ 11) 40 กิจการต้องไม่จัดประเภทใหม่หรือแสดงใหม่สําหรับจํานวนเงินที่ได้นําเสนอเป็นสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน หรือเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่ได้จัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายในงบฐานะการเงินสําหรับรอบระยะเวลาก่อน เพื่อสะท้อนถึงการจัด ประเภทในงบฐานะการเงินสําหรับรอบระยะเวลาที่นําเสนอครั้งล่าสุด การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม 41 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินในรอบระยะเวลาที่สินทรัพย์ไม่ หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือ เมื่อมีการขายสินทรัพย์ดังกล่าว 41.1 คําอธิบายของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) 41.2 คําอธิบายถึงข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมของการขาย หรือที่นําไปสู่การจําหน่ายที่ คาดไว้ และลักษณะและระยะเวลาที่คาดว่าจะจําหน่าย
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 41.3 ผลกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ตามย่อหน้าที่ 20 ถึง 22 และหัวข้อในงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จที่รวมผลกําไรหรือขาดทุนนั้นไว้ ( หากไม่ได้นําเสนอแยกต่างหากในงบกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จ ) 41.4 ส่วนงานที่รายงานมีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 เรื่อง ส่วนงานดําเนินงาน 42 หากเป็นไปตามย่อหน้าที่ 26 หรือย่อหน้าที่ 29 ในรอบระยะเวลาที่กิจการตัดสินใจเปลี่ยนแปลง แผนการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) กิจการต้องเปิดเผย คําอธิบายของข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่นําไปสู่การตัดสินใจดังกล่าวและผลของการ ตัดสินใจที่มีต่อผลการดําเนินงานสําหรับรอบระยะเวลานั้นและรอบระยะเวลาก่อนที่มีการ นําเสนอ การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 43 กิจการต้องใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปเมื่อกิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ มาถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่เข้าเงื่อนไข การจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่เข้าเงื่อนไขการจัดประเภทเป็น การดําเนินงานที่ยกเลิกหลังจากวันที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มีผลบังคับใช้ กิจการอาจปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนทุกประเภท ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่เข้าเงื่อนไขการจัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่เข้าเงื่อนไขการจัดประเภทเป็นการดําเนินงาน ที่ยกเลิกก่อนวันที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หากกิจการทราบ มูลค่าและข้อมูลอื่นที่ต้องนํามาใช้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เมื่อเข้าเงื่อนไข ที่กําหนดไว้เป็นครั้งแรก วันถือปฏิบัติ 44 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลา ประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้สนับสนุนให้ถือปฏิบัติได้ก่อน วันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลา ก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 44 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ง ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 จ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ฉ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 44 ช ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ซ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ฌ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ญ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 44 ฎ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2557 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 และตัดย่อหน้าที่ 44 ฉ และ 44 ญ กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 44 ฏ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 44 ฐ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 การยกเลิกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับเดิม 45 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ( ปรับปรุง 2561) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด หมายถึง สินทรัพย์กลุ่มที่เล็กที่สุดที่สามารถระบุได้ที่ก่อให้เกิด กระแสเงินสดรับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นอิสระจากกระแส เงินสดรับที่เกิดจากสินทรัพย์อื่นหรือกลุ่มสินทรัพย์อื่น ส่วนประกอบของกิจการ หมายถึง การดําเนินงานและกระแสเงินสดที่สามารถแยกได้อย่าง ชัดเจน ( ทั้งในด้านการดําเนินงานและสําหรับวัตถุประสงค์ ของการรายงานทางการเงิน ) จากส่วนที่เหลือของกิจการ ต้นทุนในการขาย หมายถึง ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจําหน่าย สินทรัพย์ ( หรือ กลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ไม่รวม ต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ( ก ) คาดว่าจะได้รับประโยชน์ หรือตั้งใจสําหรับขาย หรือใช้ภายในรอบระยะเวลาการดําเนินงาน ตามปกติของกิจการ ( ข ) ถือสินทรัพย์โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ถือไว้เพื่อค้า ( ค ) คาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ภายใน 12 เดือนหลังจากรอบระยะเวลารายงาน หรือ ( ง ) สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ( ตามคํานิยามในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7) และ ที่ไม่มีข้อจํากัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ในการ ชําระหนี้สินอย่างน้อย 12 เดือนหลังจากรอบ ระยะเวลารายงาน การดําเนินงานที่ยกเลิก หมายถึง ส่วนประกอบของกิจการ ที่ยกเลิกหรือที่จัดประเภทไว้ เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย และ ( ก ) เป็นสายงานธุรกิจที่สําคัญหรือเขตภูมิศาสตร์ที่แยก ต่างหาก ( ข ) เป็นส่วนหนึ่งของแผนร่วมกันที่จะยกเลิกธุรกิจที่ สําคัญหรือเขตภูมิศาสตร์ที่แยกต่างหาก หรือ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 ( ค ) เป็นบริษัทย่อยที่ซื้อมาเพื่อขายต่อ กลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย หมายถึง กลุ่มของสินทรัพย์ที่ยกเลิก ( โดยการขายหรือไม่ใช่ การขาย ) รวมกันเป็นกลุ่มในรายการเดียว และหนี้สิน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินทรัพย์เหล่านั้นที่จะถูกโอนไป พร้อมกั บรายการดั งกล่ำว กลุ่มสินทรัพย์รวมถึ ง ค่าความนิยมที่ได้มาในการรวมธุรกิจถ้ากลุ่มสินทรัพย์เป็น หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด ที่ได้รับปันส่วน ค่าความนิยมตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 80 ถึง 87 ของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของ สินทรัพย์ หรือเป็นการดําเนินงานภายในหน่วยสินทรัพย์ ที่ก่อให้เกิดเงินสด มูลค่ายุติธรรม หมายถึง มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่จะได้รับจากการขาย สินทรัพย์ หรือจะจ่ายเพื่อโอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้น ในสภาพปกติระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13) ข้อผูกมัดการซื้อที่แน่นหนา หมายถึง ข้อตกลงกับผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันซึ่งผูกพันทั้งสอง ฝ่ายและมักมีผลบังคับตามกฎหมาย ซึ่ง ( ก ) กําหนด ข้อตกลงที่มีนัยสําคัญทั้งหมด รวมถึงราคาและระยะเวลา ของรายการ และ ( ข ) รวมถึงมีบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติ ตามข้อผูกพันซึ่งมากเพียงพอ ที่ทําให้การปฏิบัติตาม ข้อผูกพันมี ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ใน ระดับสูงมาก หมายถึง มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นสูงมากกว่า ความเป็นไปได้ ค่อนข้างแน่ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามคํานิยามของ สินทรัพย์หมุนเวียน มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ หมายถึง มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นมากกว่าที่จะไม่เกิดขึ้น มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หมายถึง จํานวนที่สูงกว่าระหว่าง มูลค่ายุติธรรม ของสินทรัพย์ หัก ต้นทุนในการขาย และ มูลค่าจากการใช้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 มูลค่าจากการใช้ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะเกิด จากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่องและจากการเลิกใช้เมื่อ สิ้นสุดอายุใช้งาน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 ภาคผนวก ข แนวทางปฏิบัติ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การขยายระยะเวลาที่ต้องใช้ในการขายให้เสร็จสมบูรณ์ ข 1 ตามที่ได้กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 9 การขยายระยะเวลาที่ต้องใช้ในการขายให้เสร็จสมบูรณ์ไม่ได้ เป็นสาเหตุที่ทําให้ไม่สามารถจัดประเภทสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหากความล่าช้านั้นเกิดจากเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่อยู่ นอกเหนือการควบคุมของกิจการและมีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กิจการยังคงยึดถือ ในแผนการขายสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ข้อยกเว้นสําหรับข้อกําหนด 1 ปี ตามย่อหน้าที่ 8 ต้องนํามาถือปฏิบัติเมื่อมีเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ข 1.1 ในวันที่กิจการตัดสินใจปฏิบัติตามแผนที่จะขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่ม สินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) กิจการคาดหวังอย่างสมเหตุสมผลว่าผู้อื่น ( ซึ่งไม่ใช่ผู้ซื้อ ) จะบังคับใช้เงื่อนไขในการโอนสินทรัพย์ ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่จะทําให้ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการขายให้เสร็จสมบูรณ์นั้นต้องขยายออกไป และ ข 1.1.1 การกระทําที่จําเป็นเพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขเหล่านั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จนกระทั่ง หลังจากได้ทํา ข้อผูกมัดการซื้อที่แน่นหนา และ ข 1.1.2 ข้อผูกมัดการซื้อที่แน่นหนามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมากกว่า จะเกิดขึ้นภายใน 1 ปี ข 1.2 กิจการได้รับข้อผูกมัดการซื้อที่แน่นหนาและเป็นผลให้ผู้ซื้อหรือผู้อื่นบังคับใช้เงื่อนไข อย่างที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนในการโอนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ จะจําหน่าย ) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายที่จะขยาย ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการขายให้เสร็จสมบูรณ์ และ ข 1.2.1 การกระทําที่จําเป็นเพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขได้เกิดขึ้นแล้วอย่างทันเวลา และ ข 1.2.2 คาดว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดความล่าช้าจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ข 1.3 ในระหว่างรอบระยะเวลา 1 ปีแรก สภาพแวดล้อมที่เคยคาดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เกิดขึ้น และเป็นผลให้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) ที่เคย จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายยังไม่ได้ถูกขายออกไปเมื่อสิ้นรอบระยะเวลา และ ข 1.3.1 ในระหว่างรอบระยะเวลา 1 ปีแรก กิจการได้กระทําการที่จําเป็นเพื่อ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ข 1.3.2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ( หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่าย ) มีการซื้อขายใน ตลาดซื้อขายคล่องในราคาที่สมเหตุสมผลในกรณี ที่มีสภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลง และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 29/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 ข 1.3.3 เข้าเงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 7 และ 8