ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก (เล่มที่ 2)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก (เล่มที่ 2)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมกา รกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 36/2565 เรื่อง มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำมาตรฐาน การรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 15 (เล่มที่ 2) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก คํานํา มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 1 เรื่อง การนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IFRS 1: First-time Adoption of International Financial Reporting Standards (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศ ไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 39 ย ข 1 และ ง 1 และตัดหัวข้อก่อนย่อหน้าที่ ง 4 และ ง 4 และเพิ่มย่อหน้าที่ 39 ว หัวข้อหลังย่อหน้าที่ ข 12 และ ข 13 ถึง ข 14 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สิน ที่เกิดขึ้นจากรายการเดียว 2565 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ ง 1.6 และเพิ่ม ย่อหน้าที่ 39 ล และ ง 13 ก การปรับปรุงมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ประจําปี 2561 ถึง 2563 2564 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 29 29 ก ข 2 ถึง ข 6 ข 8 ถึง ข 9 และ ง 18 ถึง ง 20 การนํามาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือ ทางการเงินและมาตรฐานการ บัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดง รายการเครื่องมือทางการเงินมา ใช้ครั้งแรกให้สอดคล้อง IFRS 1 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปี ก่อนหน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 30 39 ฟ 39 ร ค 4 ง 1 ง 7 ง 8 ข และ ง 9 และเพิ่มย่อหน้าที่ ง 9 ข ถึง ง 9 จ และ จ 8 และตัดย่อหน้าที่ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ข ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก ง 9 ก และปรับปรุงการอ้างอิงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับอื่น การตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 23 เรื่อง ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิธีการ ทางภาษีเงินได้ ทําให้เกิดการเพิ่ม ย่อหน้าที่ จ 8 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สามารถสรุปลักษณะที่สําคัญของหลักการของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ ลักษณะสําคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้นํามาใช้ในกรณีที่กิจการปรับใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินเป็นครั้งแรกโดยมีคําอธิบายอย่างชัดเจนและเปิดเผยการปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน 2 โดยทั่วไป มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กําหนดให้กิจการปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินแต่ละฉบับที่มีผลบังคับใช้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานของกิจการ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้กําหนดให้กิจการปฏิบัติตามข้อกําหนดต่อไปนี้สําหรับยอดยกมาของงบฐานะการเงิน ที่จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสําหรับการบัญชีของกิจการ ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 2.1 รับรู้สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้รับรู้รายการ 2.2 ไม่รับรู้รายการเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินในกรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ไม่อนุญาตให้รับรู้รายการดังกล่าว 2.3 จัดประเภทรายการใหม่สําหรับรายการที่รับรู้ภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่ใช้ ก่อนหน้า เป็นสินทรัพย์ หนี้สิน หรือองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของประเภทหนึ่ง แต่รับรู้ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน หรือองค์ประกอบ ของส่วนของเจ้าของอีกประเภทหนึ่ง และ 2.4 ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินในการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่รับรู้ ทุกรายการ 3 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ให้ข้อยกเว้นจากข้อกําหนดตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินในบางเรื่องเป็นการเฉพาะ ในกรณีที่ต้นทุนของการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินสูงกว่าประโยชน์ที่ผู้ใช้งบการเงินได้รับ นอกจากนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับนี้ไม่อนุญาตให้ใช้วิธีปรับย้อนหลังในบางเรื่อง โดยเฉพาะในกรณีที่การใช้วิธีปรับย้อนหลัง
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ค กําหนดให้ใช้ดุลยพินิจของผู้บริหารเกี่ยวกับสถานการณ์ในอดีต หลังจากที่ทราบผลลัพธ์ของ รายการดังกล่าวแล้ว 4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลที่อธิบายถึงวิธีการเปลี่ยนแปลง จากหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่ใช้ก่อนหน้ามาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ส่งผล กระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานทางการเงิน และกระแสเงินสดของกิจการที่ได้รายงาน 5 กําหนดให้กิจการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่งบการเงินที่จัดทําขึ้นตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 และสนับสนุนให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ก่อนวันที่ดังกล่าว ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ **
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 6 งบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 6 นโยบายการบัญชี 7 ข้อยกเว้นการถือปฏิบัติแบบปรับย้อนหลังของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับอื่น 13 การละเว้นการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น 18 การนําเสนอและการเปิดเผยข้อมูล 20 ข้อมูลเปรียบเทียบ 21 คําอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 23 วันที่มีผลบังคับใช้ 34 การยกเลิกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับเดิม 40 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ข ข้อยกเว้นการถือปฏิบัติแบบปรับย้อนหลังของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับอื่น ค ข้อยกเว้นสําหรับการรวมธุรกิจ ง ข้อยกเว้นจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น จ ข้อยกเว้นระยะสั้นจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 40 และภาคผนวก ก ถึง จ ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน ย่อหน้าที่พิมพ์ ด้วย ตัวอักษรหนา ถือเป็นหลักการสําคัญ คํานิยามที่ปรากฏในภาคผนวก ก เป็นครั้งแรกในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้จะเป็น ตัวอักษรเอน สําหรับคํานิยามอื่นได้รวบรวมอยู่ในคําศัพท์สําหรับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนด ของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้ นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการ บัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้เป็นครั้งแรก วัตถุประสงค์ 1 วัตถุประสงค์ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ คือ เพื่อให้มั่นใจว่า งบการเงินที่ใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก ของกิจการและรายงานทางการเงินระหว่างกาล สําหรับบางส่วนของรอบระยะเวลารายงานของงบการเงินดังกล่าว ประกอบด้วยข้อมูลที่มี คุณภาพสูงซึ่ง 1.1 โปร่งใสสําหรับผู้ใช้งบการเงินและสามารถเปรียบเทียบกันได้ในทุกรอบระยะเวลา ที่นําเสนอ 1.2 ให้จุดเริ่มต้นเหมาะสมสําหรับการบัญชีภายใต้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และ 1.3 สามารถจัดทําได้โดยมีต้นทุนที่ไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ขอบเขต 2 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กับ 2.1 งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก และ 2.2 รายงานทางการเงินระหว่างกาลแต่ละฉบับ ( ถ้ามี ) ที่นําเสนอตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล สําหรับบางส่วนของรอบระยะเวลา ของงบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก 3 งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกของกิจการ คือ งบการเงินประจําปี ฉบับแรกที่กิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้ โดยมีถ้อยแถลงที่ตรงไปตรงมาและ ชัดแจ้งในงบการเงินดังกล่าวถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน งบการเงิน ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน คือ งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็นครั้งแรกของกิจการ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่กิจการ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 3.1 ได้นําเสนองบการเงินฉบับก่อนหน้าล่าสุดของกิจการที่ 3.1.1 เป็นไปตามข้อกําหนดของประเทศซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินในทุกด้าน 3.1.2 เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินในทุกด้าน ยกเว้นว่างบการเงิน ไม่มีถ้อยแถลงที่ตรงไปตรงมาและชัดแจ้งว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน 3.1.3 มีถ้อยแถลงที่ชัดแจ้งถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพียงบางส่วนแต่ไม่ใช่ทั้งหมด 3.1.4 เป็นไปตามข้อกําหนดของประเทศที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน แต่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินบางฉบับสําหรับรายการ ที่ไม่มีข้อกําหนดของประเทศบังคับใช้ หรือ 3.1.5 เป็นไปตามข้อกําหนดของประเทศโดยมีการกระทบยอดจํานวนเงิน บางรายการให้เป็นจํานวนเงินที่จัดทําขึ้นภายใต้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน 3.2 ได้จัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินเพื่อใช้เป็น การภายในเท่านั้น โดยไม่ได้เผยแพร่ให้เจ้าของกิจการหรือผู้ใช้งบการเงินภายนอกอื่นๆ 3.3 ได้จัดทําชุดข้อมูลสําหรับการรายงานที่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทํางบการเงินรวม โดยไม่ได้จัดทํางบการเงินครบชุดตามที่ กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน หรือ 3.4 ไม่ได้นําเสนองบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาก่อนหน้า 4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ใช้ในกรณีที่กิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาใช้เป็นครั้งแรกและไม่ให้ใช้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่กิจการ 4.1 หยุดการนําเสนองบการเงินที่เป็นไปตามข้อกําหนดประเทศที่ได้เคยนําเสนอไว้ก่อน หน้าพร้อมกับงบการเงินชุดอื่นที่มีถ้อยแถลงที่ตรงไปตรงมาและแจ้งถึงการปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 4.2 ได้นําเสนองบการเงินในปีก่อนหน้าที่เป็นไปตามข้อกําหนดประเทศและงบการเงิน ดังกล่าวได้มีถ้อยแถลงที่ตรงไปตรงมาและชัดแจ้งถึงการปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน หรือ 4.3 ได้นําเสนองบการเงินในปีก่อนหน้าโดยมีถ้อยแถลงที่ตรงไปตรงมาและชัดแจ้งถึง การปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ถึงแม้ว่าผู้สอบบัญชีได้แสดง ความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่องบการเงินดังกล่าวในรายงานของผู้สอบบัญชี 4 ก ทั้งที่มีข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 2 และ 3 กิจการที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในรอบระยะเวลารายงานก่อนหน้า แต่งบการเงินประจําปีก่อนหน้าล่าสุดไม่มีถ้อยแถลงที่ ตรงไปตรงมาและชัดแจ้งถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ต้องถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้หรือไม่ก็ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 ทางการเงินโดยปรับย้อนหลังที่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด เสมือนว่ากิจการไม่เคยหยุดถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 4 ข เมื่อกิจการไม่ได้เลือกถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 4 ก กิจการก็ต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 23 ก ถึง 23 ข ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 นอกเหนือจากข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูล ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 5 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ไม่ให้ถือปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ของกิจการที่ได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินแล้ว โดยการเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับ 5.1 ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด และ 5.2 ข้อกําหนดการเปลี่ยนผ่านที่เฉพาะเจาะจงในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า งบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 6 กิจการต้องจัดทําและนําเสนอ งบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ณ วันที่ เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสําหรับการบัญชีของกิจการ ที่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน นโยบายการบัญชี 7 กิจการต้องใช้นโยบายการบัญชีเช่นเดียวกันกับงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินและตลอดในทุกรอบระยะเวลาที่นําเสนอในงบการเงินที่ใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก นโยบายการบัญชีดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินแต่ละฉบับที่มีผลบังคับใช้ ณ วันสิ้น รอบระยะเวลารายงานที่ใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก ยกเว้นเรื่องที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 13 ถึง 19 และภาคผนวก ข ถึง จ 8 กิจการต้องไม่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่มีการประกาศยกเลิก บังคับใช้ กิจการอาจถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่ยังไม่มี ผลบังคับใช้ ในกรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวอนุญาตให้ถือปฏิบัติก่อนวันที่ มีผลบังคับใช้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 ตัวอย่าง : การถือปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับล่าสุด ความเป็นมา วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกของกิจการ ก คือ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 กิจการ ก ตัดสินใจที่จะนําเสนอข้อมูลเปรียบเทียบในงบการเงินเพียงปีเดียวเท่านั้น ( ดูย่อหน้าที่ 21) ดังนั้น วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน คือ วันเปิดทําการ ณ วันที่ 1 มกราคม 25X4 ( หรือเทียบเท่ากับวันปิดทําการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X3) กิจการ ก ได้นําเสนองบการเงินที่เป็นไปตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า เป็นประจําทุกปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมของแต่ละปี ซึ่งรวมวันที่ 31 ธันวาคม 25X4 ด้วย การถือปฏิบัติตามข้อกําหนด กิจการ ก ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีผลบังคับใช้สําหรับรอบระยะเวลาสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ในเรื่องดังต่อไปนี้ ( ก ) การจัดทําและการนําเสนองบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ณ วันที่ 1 มกราคม 25X4 และ ( ข ) การจัดทําและการนําเสนองบฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ( รวมถึงจํานวนเงิน เปรียบเทียบสําหรับปี 25X4) งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสด สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ( รวมถึงจํานวนเงินเปรียบเทียบ สําหรับปี 25X4) และการเปิดเผยข้อมูล ( รวมถึงข้อมูลเปรียบเทียบสําหรับปี 25X4) ถ้ามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่อนุญาตให้ถือปฏิบัติก่อนวันที่ มีผลบังคับใช้ กิจการ ก ได้รับอนุญาตแต่ไม่ถูกบังคับให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังกล่าวในงบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก 9 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นให้ถือปฏิบัติกับ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสําหรับกิจการที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินอยู่แล้ว ไม่ให้ถือปฏิบัติกับการเปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินของ ผู้นํามาใช้เป็น ครั้งแรก ยกเว้นเรื่องที่ระบุในภาคผนวก ข ถึง จ 10 ยกเว้นเรื่องที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 13 ถึง 19 และภาคผนวก ข ถึง จ กิจการต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 10.1 รับรู้สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้รับรู้ รายการ 10.2 ไม่รับรู้รายการเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินถ้ามาตรฐานการรายงานทางการเงิน ไม่อนุญาตให้รับรู้รายการดังกล่าว
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 10.3 จัดประเภทรายการใหม่สําหรับรายการที่เคยรับรู้ไว้ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก่อนหน้าเป็นประเภทหนึ่งของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ แต่เป็นอีกประเภทหนึ่งของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และ 10.4 ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินในการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สิน ที่รับรู้ทุกรายการ 11 นโยบายการบัญชีที่กิจการใช้ในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินอาจ แตกต่างจากนโยบายการบัญชีที่กิจการเคยใช้สําหรับวันเดียวกันตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก่อนหน้า รายการปรับปรุงที่จะทําเกิดขึ้นจากเหตุการณ์และรายการก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนั้นกิจการต้องรับรู้รายการปรับปรุงดังกล่าวโดยตรงในกําไร สะสม ( หรือรายการอื่นในส่วนของเจ้าของตามความเหมาะสม ) ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 12 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ทําให้เกิดข้อยกเว้น 2 ข้อจากหลักการที่งบฐานะการเงิน ตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินของกิจการต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินแต่ละฉบับ ดังนี้ 12.1 ย่อหน้าที่ 14 ถึง 17 และภาคผนวก ข ห้ามถือปฏิบัติแบบปรับย้อนหลังในบางเรื่อง ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น 12.2 ภาคผนวก ค ถึง จ อนุญาตให้ละเว้นการใช้ข้อกําหนดบางเรื่องของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น ข้อยกเว้นการถือปฏิบัติแบบปรับย้อนหลังของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น 13 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ห้ามถือปฏิบัติแบบปรับย้อนหลังในบางเรื่องของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ข้อยกเว้นดังกล่าวปรากฎอยู่ในย่อหน้าที่ 14 ถึง 17 และภาคผนวก ข ประมาณการ 14 ประมาณการของกิจการที่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ณ วันที่เปลี่ยนผ่าน มาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินต้องสอดคล้องกับประมาณการที่จัดทําขึ้น ณ วันเดียวกัน ที่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ( ภายหลังการปรับปรุงให้สะท้อน ความแตกต่างของนโยบายการบัญชี ) เว้นแต่จะมีหลักฐานข้อเท็จจริงว่าประมาณการดังกล่าว ผิดพลาด 15 กิจการอาจได้รับข้อมูลหลังจากวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเกี่ยวกับ ประมาณการที่ได้จัดทําขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า เพื่อให้เป็นไปตามย่อหน้าที่ 14 กิจการต้องปฏิบัติต่อการได้รับข้อมูลดังกล่าวด้วยแนวทางเดียวกันกับเหตุการณ์ภายหลัง
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 รอบระยะเวลารายงานที่ไม่ต้องปรับปรุงตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 เรื่อง เหตุการณ์ ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ตัวอย่างเช่น สมมติว่าวันที่กิจการเปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน คือวันที่ 1 มกราคม 25X4 และข้อมูลใหม่ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 25X4 กําหนดให้มีการทบทวนประมาณการที่เคยทําขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X3 กิจการต้องไม่สะท้อนข้อมูลใหม่ดังกล่าวในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ( เว้นแต่มีความจําเป็นต้องปรับปรุงประมาณการดังกล่าว สําหรับความแตกต่างใดๆ ของนโยบายการบัญชีหรือมีหลักฐานข้อเท็จจริงว่าประมาณการ ดังกล่าวผิดพลาด ) ในทางกลับกัน กิจการต้องสะท้อนข้อมูลใหม่ในกําไรหรือขาดทุน ( หรือกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นตามความเหมาะสม ) สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X4 16 กิจการอาจจําเป็นที่จะจัดทําประมาณการตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ณ วันที่เปลี่ยนผ่าน มาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ทั้งที่ประมาณการดังกล่าวไม่จําเป็นต้องทํา ณ วันนี้ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า เพื่อให้บรรลุเรื่องความสมํ่าเสมอตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 10 ประมาณการดังกล่าวตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินต้องสะท้อน เงื่อนไขที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน นั่นคือประมาณการ ราคาตลาด อัตราดอกเบี้ย หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินต้องสะท้อนเงื่อนไขทางตลาด ณ วันดังกล่าว 17 ย่อหน้าที่ 14 ถึง 16 ให้ถือปฏิบัติสําหรับงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ย่อหน้าดังกล่าวยังให้ถือปฏิบัติกับรอบระยะเวลาเปรียบเทียบที่นําเสนอในงบการเงิน ที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกของกิจการ ซึ่งการอ้างถึงวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินให้แทนที่ด้วยการอ้างถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาเปรียบเทียบ การละเว้นการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น 18 กิจการอาจเลือกใช้การละเว้นการใช้เรื่องเดียวหรือหลายเรื่องที่อยู่ในภาคผนวก ค ถึง จ กิจการ ต้องไม่นําการละเว้นการใช้ดังกล่าวสําหรับรายการอื่นโดยเทียบเคียง 19 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) การนําเสนอและการเปิดเผยข้อมูล 20 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ไม่ได้ให้การละเว้นการใช้ข้อกําหนดการนําเสนอและ การเปิดเผยข้อมูลในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ข้อมูลเปรียบเทียบ 21 งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกของกิจการต้องประกอบด้วยข้อมูล ต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย งบฐานะการเงินจํานวนสามงบ งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 อื่นจํานวนสองงบ งบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก ( ถ้ามีการนําเสนอ ) จํานวนสองงบ งบกระแสเงินสดจํานวนสองงบ และงบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของจํานวนสองงบ และหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลเปรียบเทียบของงบทั้งหมดที่มีการนําเสนอ ข้อมูลเปรียบเทียบที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและข้อมูลสรุป ในอดีต 22 กิจการบางแห่งนําเสนอข้อมูลสรุปในอดีตของข้อมูลที่เลือกสําหรับรอบระยะเวลาก่อนรอบ ระยะเวลาแรกที่นําเสนอข้อมูลเปรียบเทียบเต็มรูปแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ไม่ได้กําหนดให้ข้อมูลสรุปดังกล่าวต้อง เป็นไปตามข้อกําหนดการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน นอกจากนี้ กิจการบางแห่งนําเสนอข้อมูลเปรียบเทียบตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า และข้อมูลเปรียบเทียบที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ในงบการเงินที่มีข้อมูลสรุป ในอดีตหรือข้อมูลเปรียบเทียบตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า กิจการต้อง 22.1 ระบุอย่างเด่นชัดที่ข้อมูลตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าว่าไม่ได้จัดทําขึ้น ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และ 22.2 เปิดเผยธรรมชาติของรายการปรับปรุงหลักที่จะทําให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน กิจการไม่จําเป็นต้องระบุรายการปรับปรุงดังกล่าวเป็นจํานวนเงิน คําอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 23 กิจการต้องอธิบายว่าการเปลี่ยนผ่านจากหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้ามาเป็น มาตรฐานการรายงานทางการเงินมีผลกระทบอย่างไรต่อฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน การเงิน และกระแสเงินสดที่ได้รายงานไว้ของกิจการ 23 ก กิจการที่เคยปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินในรอบระยะเวลาก่อนหน้า ตามที่กล่าวไว้ใน ย่อหน้าที่ 4 ก ต้องเปิดเผย 23 ก .1 เหตุผลของการหยุดปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และ 23 ก .2 เหตุผลของการกลับมาปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 23 ข เพื่อให้เป็นไปตามย่อหน้าที่ 4 ก เมื่อกิจการไม่ได้เลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 1 กิจการต้องอธิบายถึงเหตุผลของการเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน เสมือนกับว่ากิจการไม่เคยหยุดการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การกระทบยอด 24 เพื่อให้สอดคล้องกับย่อหน้าที่ 23 งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก ของกิจการต้องรวม
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 24.1 การกระทบยอดส่วนของเจ้าของที่ได้รายงานไว้ภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก่อนหน้ากับส่วนของเจ้าของที่จัดทําขึ้นภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน สําหรับวันที่ทั้งสองวันดังต่อไปนี้ 24.1.1 วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และ 24.1.2 วันสิ้นรอบระยะเวลาสุดท้ายที่นําเสนอในงบการเงินประจําปีล่าสุดของกิจการ ภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า 24.2 การกระทบยอดกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน สําหรับรอบระยะเวลาสุดท้ายที่นําเสนอในงบการเงินประจําปีล่าสุดของกิจการ จุดเริ่มต้นของการกระทบยอดดังกล่าว ต้องเป็นกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมภายใต้ หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าสําหรับรอบระยะเวลานั้น หรือเป็นกําไรหรือ ขาดทุนภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าถ้ากิจการไม่ได้รายงานกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม 24.3 ถ้ากิจการเคยรับรู้หรือกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าใดๆ เป็นครั้งแรก ในการจัดทํางบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การเปิดเผย ข้อมูลตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ จําเป็นต้องมี ถ้ากิจการเคยรับรู้หรือกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าในรอบระยะเวลาเริ่ม ตั้งแต่วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 25 การกระทบยอดที่กําหนดในย่อหน้าที่ 24.1 และ 24.2 ต้องให้รายละเอียดอย่างเพียงพอเพื่อให้ ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจเกี่ยวกับรายการปรับปรุงที่มีสาระสําคัญต่องบฐานะการเงินและงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จ ในกรณีที่กิจการนําเสนองบกระแสเงินสดภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า กิจการต้องอธิบายเกี่ยวกับรายการปรับปรุงที่มีสาระสําคัญต่องบกระแสเงินสดด้วย 26 ในกรณีที่กิจการได้ทราบเกี่ยวกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก่อนหน้า กิจการต้องแสดงรายการกระทบยอดตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 24.1 และ 24.2 โดยแยกแสดงการแก้ไขข้อผิดพลาดออกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 27 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ไม่ได้ถือปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่กิจการทําขึ้น ในกรณีที่กิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายเหล่านั้น จนกระทั่งหลังจากที่กิจการนําเสนองบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก ดังนั้น ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 จึงไม่นํามาถือปฏิบัติในงบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกของกิจการ 27 ก หากกิจการมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการใช้ข้อยกเว้นที่อยู่ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ในระหว่างรอบระยะเวลาที่จัดทํางบการเงินตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก กิจการต้องอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงระหว่างรายงาน ทางการเงินระหว่างกาลที่จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกและ งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 23 และ ต้องปรับให้เป็นปัจจุบันสําหรับการกระทบยอดตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 24.1 และ 24.2
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 28 ในกรณีที่กิจการไม่ได้นําเสนองบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาก่อนหน้า งบการเงินที่ใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว การเลือกกําหนดสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน 29 กิจการได้รับอนุญาตให้เลือกกําหนดสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้เคยรับรู้ให้เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่ได้กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ ง 19 ก กิจการ ต้องเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินที่เลือกกําหนดไว้ ณ วันที่เลือกกําหนด และ การจัดประเภทรายการ รวมทั้งมูลค่าตามบัญชีในงบการเงินก่อนหน้า 29 ก กิจการได้รับอนุญาตให้เลือกกําหนดหนี้สินทางการเงินที่ได้เคยรับรู้ให้เป็นหนี้สินทางการเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่ได้กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ ง 19 กิจการต้องเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงินที่เลือกกําหนดไว้ ณ วันที่เลือกกําหนด และการจัดประเภทรายการ รวมทั้งมูลค่าตามบัญชีในงบการเงินก่อนหน้า การใช้มูลค่ายุติธรรมเป็นต้นทุนเสมือน 30 หากกิจการใช้มูลค่ายุติธรรมในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็น ต้นทุนเสมือน สําหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือสินทรัพย์สิทธิการใช้ ( ดูย่อหน้าที่ ง 5 และ ง 7) งบการเงินที่ใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกของกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลสําหรับรายการ รายบรรทัดของงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนี้ 30.1 ยอดรวมของมูลค่ายุติธรรมดังกล่าว และ 30.2 ยอดรวมของการปรับปรุงกับมูลค่าตามบัญชีที่ได้รายงานภายใต้หลักการบัญชีที่รับรอง ทั่วไปก่อนหน้า การใช้ต้นทุนเสมือนสําหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการร่วมค้า และบริษัทร่วม 31 ในทํานองเดียวกัน ถ้ากิจการใช้ต้นทุนเสมือนในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินสําหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการร่วมค้า หรือบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะ กิจการ ( ดูย่อหน้าที่ ง 15) งบการเงินเฉพาะกิจการที่กิจการจัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินเป็นครั้งแรกต้องเปิดเผย 31.1 ยอดรวมของต้นทุนเสมือนของเงินลงทุนดังกล่าวซึ่งต้นทุนเสมือนคือมูลค่าตามบัญชี ภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า 31.2 ยอดรวมของต้นทุนเสมือนของเงินลงทุนดังกล่าวซึ่งต้นทุนเสมือนคือมูลค่ายุติธรรม และ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 31.3 ยอดรวมของการปรับปรุงกับมูลค่าตามบัญชีที่ได้รายงานภายใต้หลักการบัญชีที่รับรอง ทั่วไปก่อนหน้า การใช้ต้นทุนเสมือนสําหรับสินทรัพย์จากนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ 31 ก ถ้ากิจการใช้ข้อยกเว้นในย่อหน้าที่ ง 8 ก .2 สําหรับสินทรัพย์จากนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ กิจการ ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงและเกณฑ์ในการปันส่วนมูลค่าตามบัญชีที่กําหนดภายใต้หลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไปก่อนหน้า การใช้ต้นทุนเสมือนสําหรับการดําเนินงานภายใต้การกํากับด้านราคา 31 ข ถ้ากิจการใช้ข้อยกเว้นในย่อหน้าที่ ง 8 ข สําหรับการดําเนินงานภายใต้การกํากับด้านราคา กิจการ ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงและเกณฑ์ที่ใช้กําหนดมูลค่าตามบัญชีภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก่อนหน้า การใช้ต้นทุนเสมือนภายหลังภาวะเงินเฟ้อรุนแรง 31 ค ถ้ากิจการเลือกวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินด้วยมูลค่ายุติธรรมและใช้มูลค่ายุติธรรมนั้น เป็นต้นทุนเสมือนในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเนื่องจาก ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง ( ดูย่อหน้าที่ ง 26 ถึง ง 30) งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็นครั้งแรกของกิจการต้องเปิดเผยคําอธิบายถึงวิธีการและสาเหตุที่กิจการเคยมีแล้วเลิกมี สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานที่มีลักษณะทั้งสองประการดังนี้ 31 ค .1 ไม่มีดัชนีราคาทั่วไปที่เชื่อถือได้สําหรับทุกกิจการที่มีรายการและยอดคงเหลือใน สกุลเงินดังกล่าว 31 ค .2 ไม่มีอยู่ซึ่งความสามารถในการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินดังกล่าวกับสกุลเงินตรา ต่างประเทศที่ค่อนข้างเสถียร รายงานทางการเงินระหว่างกาล 32 เพื่อให้สอดคล้องกับย่อหน้าที่ 23 หากกิจการนําเสนอรายงานทางการเงินระหว่างกาลภายใต้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 สําหรับบางส่วนของรอบระยะเวลาของงบการเงินที่ใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก กิจการต้องดําเนินการตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้เพิ่มเติม จากข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 32.1 ถ้ากิจการได้นําเสนอรายงานทางการเงินระหว่างกาลสําหรับรอบระยะเวลาระหว่างกาล เปรียบเทียบสําหรับช่วงเวลาเดียวกันของปีทางการเงินก่อนหน้า ในแต่ละรายงาน ทางการเงินระหว่างกาลดังกล่าวต้องรวม
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 32.1.1 การกระทบยอดส่วนของเจ้าของภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาระหว่างกาลเปรียบเทียบกับส่วนของเจ้าของภายใต้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ณ วันดังกล่าว และ 32.1.2 การกระทบยอดกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมภายใต้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลาระหว่างกาลเปรียบเทียบ ( รอบระยะเวลา ระหว่างกาลปัจจุบันและรอบระยะเวลาสะสมตั้งแต่ต้นปี ) จุดเริ่มต้นของ การกระทบยอดดังกล่าว ต้องเป็นกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมภายใต้หลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าสําหรับรอบระยะเวลานั้นหรือเป็นกําไรหรือขาดทุน ภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าถ้ากิจการไม่ได้รายงานกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม 32.2 นอกเหนือจากการกระทบยอดที่กําหนดในย่อหน้าที่ 32.1 รายงานทางการเงิน ระหว่างกาลครั้งแรกของกิจการภายใต้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 สําหรับบางส่วน ของรอบระยะเวลาของงบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก ต้องรวมการกระทบยอดตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 24.1 และ 24.2 ( เพิ่มเติมโดย รายละเอียดที่กําหนดโดยย่อหน้าที่ 25 และ 26) หรือการอ้างถึงในเอกสารเผยแพร่อื่น ที่ได้รวมการกระทบยอดดังกล่าว 32.3 ถ้ากิจการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการใช้ข้อยกเว้นที่อยู่ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ กิจการต้องอธิบายการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในแต่ละ รายงานทางการเงินระหว่างกาลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 23 และต้องปรับให้เป็น ปัจจุบันสําหรับการกระทบยอดตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 32.1 และ 32.2 33 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 กําหนดการเปิดเผยข้อมูลขั้นตํ่าซึ่งอยู่บนข้อสมมติว่าผู้ใช้รายงาน ทางการเงินระหว่างกาลเข้าถึงงบการเงินประจําปีล่าสุดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ยังกําหนดให้กิจการเปิดเผย “ เหตุการณ์หรือรายการใดๆ ที่มีสาระสําคัญต่อความเข้าใจ เกี่ยวกับรอบระยะเวลาระหว่างกาลปัจจุบัน ” ดังนั้น ถ้าผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่เปิดเผยข้อมูล ดังกล่าวที่มีสาระสําคัญต่อความเข้าใจเกี่ยวกับรอบระยะเวลาระหว่างกาลปัจจุบันในงบการเงิน ประจําปีล่าสุดของกิจการภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า รายงานทางการเงิน ระหว่างกาลของกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวหรือรวมการอ้างถึงในเอกสารเผยแพร่อื่น ที่ได้รวมเรื่องดังกล่าว วันที่มีผลบังคับใช้ 34 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ สําหรับงบการเงินที่ใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรกสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการนําไปใช้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ 35 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 36 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 37 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 38 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ข ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 39 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ง ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 39 จ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ฉ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 39 ช ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 39 ซ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ฌ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ญ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ฎ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ฏ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ฐ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ฑ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ฒ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ณ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ด ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ต ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ถ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ท ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ธ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 39 น ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 บ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ป ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ผ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ทําให้เกิดการแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 29 29 ก ข 2 ถึง ข 6 ข 8 ถึง ข 8 ช ข 9 ง 18 ง 19 ถึง ง 19 ค ง 20 และ ง 33 กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 กับงบการเงินประจําปีที่มีรอบระยะเวลารายงานที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2565 39 ฝ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 39 พ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 39 ฟ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐาน การรายงานทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 30 ค 4 ง 1 ง 7 ง 8 ข และ ง 9 และตัดย่อหน้าที่ ง 9 ก และเพิ่มย่อหน้าที่ ง 9 ข ถึง ง 9 จ กิจการต้องถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 39 ภ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ม ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 39 ย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่ออกโดยคณะกรรมการ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ ข 1 และ ง 1 และตัดหัวข้อก่อนย่อหน้าที่ ง 4 และ ง 4 และเพิ่มหัวข้อหลังย่อหน้าที่ ข 12 และ ข 13 กิจการ ต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 39 ร การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 23 เรื่อง ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิธีการ ทางภาษีเงินได้ ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2562 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ จ 8 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อถือปฏิบัติตาม การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 23 39 ล การปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศประจําปี 2561 ถึง 2563 ที่ออก โดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศในเดือนพฤษภาคมปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2565 โดยแก้ไขเพิ่มเติม ย่อหน้าที่ ง 1.6 และเพิ่มย่อหน้าที่ ง 13 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว สําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว 39 ว ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นจากรายการเดียว ที่ออก โดยคณะกรรมการมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไข เพิ่มเติมย่อหน้าที่ ข 1 และเพิ่มย่อหน้าที่ ข 14 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 การยกเลิกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับเดิม 40 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 ภาคผนวก ก ศัพท์บัญญัติ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน การเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานแรกสุดที่กิจการ นําเสนอข้อมูลเปรียบเทียบอย่างเต็มรูปแบบภายใต้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินใน งบการเงินที่ใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก ต้นทุนเสมือน จํานวนเงินที่ใช้แทนต้นทุนหรือต้นทุนสุทธิจาก การเสื่อมค่า ณ วันที่กําหนด การเสื่อมราคาหรือ การตัดจําหน่ายในภายหลังอยู่บนข้อสมมติว่ากิจการ ได้รับรู้สินทรัพย์หรือหนี้สินเริ่มแรก ณ วันที่กําหนด โดยต้นทุนของสินทรัพย์หรือหนี้สินเท่ากับต้นทุน เสมือน มูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรม คือ ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์ หรือจะจ่ายเพื่อโอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นใน สภาพปกติระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13) งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็นครั้งแรก งบการเงินประจําปีที่กิจการได้ถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็นครั้งแรก โดยมีถ้อยแถลงที่ตรงไปตรงมาและชัดแจ้งถึง การปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รอบระยะเวลารายงานที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินเป็นครั้งแรก รอบระยะเวลารายงานล่าสุดของ งบการเงินที่ใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก ของ กิจการ ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรก กิจการที่นําเสนอ งบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินเป็นครั้งแรก
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาตรฐานและการตีความที่ออกโดยคณะกรรมการ กําหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบด้วย 1) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 2) มาตรฐานการบัญชี 3) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และ 4) การตีความมาตรฐานการบัญชี งบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน งบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า เกณฑ์ทางการบัญชีที่ ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรก ได้ใช้อยู่ ก่อนจนถึงวันที่นํามาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาใช้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 ภาคผนวก ข ข้อยกเว้นการถือปฏิบัติแบบปรับย้อนหลังของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ข 1 กิจการต้องปฏิบัติตามการยกเว้นดังต่อไปนี้ ข 1.1 การเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ ข 2 และ ข 3) ข 1.2 การบัญชีป้องกันความเสี่ยง ( ย่อหน้าที่ ข 4 ถึง ข 6) ข 1.3 ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม ( ย่อหน้าที่ ข 7) ข 1.4 การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ ข 8 ถึง ข 8 ค ) ข 1.5 การด้อยค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ ข 8 ง ถึง ข 8 ช ) ข 1.6 อนุพันธ์แฝง ( ย่อหน้าที่ ข 9) และ ข 1.7 เงินกู้ยืมจากรัฐบาล ( ย่อหน้าที่ ข 10 ถึง ข 12) ข 1.8 สัญญาประกันภัย ( ย่อหน้าที่ ข 13) และ ข 1.9 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าและหนี้สินจากการรื้อถอน หนี้สิน จากการบูรณะและหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ( ย่อหน้าที่ ข 14) การเลิกรับรู้รายการของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ข 2 ยกเว้นที่ได้อนุญาตไว้ในย่อหน้าที่ ข 3 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับ การเลิกรับรู้รายการในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินโดยวิธีเปลี่ยนทันที ตัวอย่างเช่น หากผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกเลิกรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์หรือหนี้สิน ทางการเงินที่ไม่ใช่อนุพันธ์ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลของรายการที่ เกิดขึ้นก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กิจการต้องไม่รับรู้สินทรัพย์ และหนี้สินดังกล่าวตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ( เว้นแต่สินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าว เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการอันเป็นผลของรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง ) ข 3 โดยไม่คํานึงถึงย่อหน้าที่ ข 2 กิจการอาจปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการเลิกรับรู้รายการ ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 โดยวิธีปรับย้อนหลังนับจากวันที่กิจการเลือกที่จะ ปฏิบัติเช่นนั้น โดยมีเงื่อนไขว่าข้อมูลที่จําเป็นเพื่อใช้ในการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่เลิกรับรู้ไปแล้ว อันรายการในอดีตกิจการได้มา ณ วันที่เริ่มต้นใช้การบัญชีสําหรับรายการดังกล่าว
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 การบัญชีป ้ องกันความเสี่ยง ข 4 ตามข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน กิจการต้อง ข 4.1 วัดมูลค่าอนุพันธ์ทั้งหมดโดยใช้มูลค่ายุติธรรม และ ข 4.2 ตัดรายการผลขาดทุนและกําไรรอการตัดบัญชีทั้งหมดที่เกิดจากอนุพันธ์ซึ่งได้เคย รายงานตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าเสมือนรายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ หรือหนี้สิน ข 5 กิจการต้องไม่นําความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยงประเภทที่ไม่เข้าเงื่อนไขสําหรับการบัญชี ป้องกันความเสี่ยงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ( ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ ของการป้องกันความเสี่ยงหลายประการที่เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงเป็นสิทธิเลือกที่เป็น ลายลักษณ์อักษรที่เป็นแยกเป็นเอกเทศ (stand-alone written option) หรือสิทธิเลือกที่เป็น ลายลักษณ์อักษรที่หักกลบได้ (net written option) หรือที่รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงเป็น ฐานะสุทธิของการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดสําหรับความเสี่ยงอื่นนอกจากความเสี่ยง เงินตราต่างประเทศ ) มาสะท้อนในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน อย่างไรก็ตาม หากกิจการเลือกกําหนดฐานะสุทธิเป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า กิจการอาจเลือกกําหนดให้แต่ละรายการในฐานะ สุทธินั้น หรือฐานะสุทธิหากเป็นไปตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 6.6.1 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 เป็นรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน โดยมีเงื่อนไขว่ากิจการกําหนดเช่นนั้นไม่ช้ากว่าวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ข 6 ก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน หากกิจการได้เลือกกําหนดรายการ ว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยง แต่การป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของการบัญชี ป้องกันความเสี่ยงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 6.5.6 และ 6.5.7 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เพื่อยกเลิกการใช้ การบัญชีป้องกันความเสี่ยง กิจการต้องไม่เลือกกําหนดรายการที่ทําขึ้นก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินย้อนหลังเป็นการป้องกันความเสี่ยง ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม ข 7 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 โดยวิธีเปลี่ยนทันที นับจากวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนี้ ข 7.1 ข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ ข 94 ซึ่งกําหนดให้กิจการต้องปันส่วนของกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จรวมให้กับผู้เป็นเจ้าของของบริษัทใหญ่และส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม แม้ว่าจะทําให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมติดลบ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 ข 7.2 ข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 23 และ ข 96 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในความเป็นเจ้าของ ของบริษัทใหญ่ในบริษัทย่อยซึ่งมิได้ส่งผลให้บริษัทใหญ่สูญเสียการควบคุมใน บริษัทย่อย และ ข 7.3 ข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ ข 97 ถึง ข 99 เกี่ยวกับการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อย และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องตามย่อหน้าที่ 8 ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก อย่างไรก็ตาม หากผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 โดยวิธีปรับย้อนหลังสําหรับการรวมธุรกิจที่เกิดขึ้นในอดีต กิจการต้องปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ ค 1 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน ข 8 กิจการต้องประเมินว่าสินทรัพย์ทางการเงินเป็นไปตามเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 4.1.2 ก ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือไม่ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ข 8 ก หากไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติในการประเมินการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของมูลค่าเงิน ตามเวลาตามย่อหน้าที่ ข 4.1.9 ข ถึง ข 4.1.9 ง ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน กิจการต้องประเมินลักษณะกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทางการเงินบน พื้นฐานของข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ มูลค่าเงินตามเวลาตามย่อหน้าที่ ข 4.1.9 ข ถึง ข 4.1.9 ง ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ( ในกรณีนี้ กิจการต้องถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 42 ต ของมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 7 ด้วย แต่การอ้างอิงถึง “ ย่อหน้าที่ 7.2.4 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9” ให้หมายความว่าย่อหน้านี้ และการอ้างอิงถึง “ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของ สินทรัพย์ทางการเงิน ” ให้หมายความว่า “ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ”) ข 8 ข หากไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของการชําระเงินก่อนครบ กําหนดว่ามีนัยสําคัญหรือไม่ตามย่อหน้าที่ ข 4.1.12.3 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน กิจการต้องประเมินลักษณะกระแสเงินสดตามสัญญาของสินทรัพย์ทาง การเงินบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับข้อยกเว้นสําหรับการชําระเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 ก่อนครบกําหนดตามย่อหน้าที่ ข 4.1.12 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ( ใน กรณีนี้ กิจการต้องถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 42 ถ ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 แต่ การอ้างอิงถึง “ ย่อหน้าที่ 7.2.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9” ให้หมายความ ว่าย่อหน้านี้ และการอ้างอิงถึง “ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงิน ” ให้ หมายความว่า “ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ”) ข 8 ค หากไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ ( ตามที่ได้นิยามไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8) สําหรับ กิจการในการปรับย้อนหลังตามวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ให้กิจการใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่ เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็นมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักใหม่ของ สินทรัพย์ทางการเงินนั้นหรือเป็นราคาทุนตัดจําหน่ายใหม่ของหนี้สินทางการเงินนั้น ณ วันที่ เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การด้อยค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ข 8 ง กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการด้อยค่าในหมวดที่ 5.5 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 โดยวิธีปรับย้อนหลังภายใต้ย่อหน้าที่ ข 8 จ ถึง ข 8 ช และ จ 1 ถึง จ 2 ข 8 จ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กิจการต้องใช้ข้อมูลสนับสนุนและ สมเหตุสมผลที่สามารถหาได้โดยไม่ใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไปที่จะกําหนด ความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันที่เครื่องมือทางการเงินมีการรับรู้เมื่อเริ่มแรก ( หรือ ณ วันที่กิจการ เป็นคู่สัญญาที่ไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้ สําหรับภาระผูกพันวงเงินสินเชื่อและสัญญาคํ้าประกัน ทางการเงินตามย่อหน้าที่ 5.5.6 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) และ เปรียบเทียบความเสี่ยงข้างต้นกับความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ( ดูย่อหน้าที่ ข 7.2.2 ถึง ข 7.2.3 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ด้วย ) ข 8 ฉ ในการพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับจากวันที่รับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกหรือไม่ กิจการอาจถือปฏิบัติ ดังนี้ ข 8 ฉ .1 ปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 5.5.10 และ ข 5.5.22 ถึง ข 5.5.24 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และ ข 8 ฉ .2 ปฏิบัติตามข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งได้ตามย่อหน้าที่ 5.5.11 ของมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับการค้างชําระการจ่ายเงินตามสัญญา เกินกว่า 30 วัน หากกิจการจะนําข้อกําหนดเกี่ยวกับการด้อยค่ามาถือปฏิบัติ โดยระบุการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีนัยสําคัญตั้งแต่การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกของเครื่องมือทางการเงินบนพื้นฐานของข้อมูลการค้างชําระเกินกําหนด ข 8 ช ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน หากการพิจารณาว่ามีการเพิ่มขึ้นของ ความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีนัยสําคัญของเครื่องมือทางการเงินตั้งแต่การรับรู้รายการ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 เมื่อเริ่มแรกหรือไม่ จะใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป กิจการต้องรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุน ด้วยจํานวนเงินเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ ณ วันที่รายงานแต่ละครั้ง จนกว่าเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวถูกเลิกรับรู้ ( เว้นแต่เครื่องมือทางการเงินนั้นมีความเสี่ยง ด้านเครดิตตํ่า ณ วันที่รายงาน ให้ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ข 8 ฉ .1) อนุพันธ์แฝง ข 9 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องประเมินว่าจําเป็นต้องแยกอนุพันธ์แฝงจากสัญญาหลักหรือไม่ และให้ ถือเป็นอนุพันธ์บนพื้นฐานของเงื่อนไขที่มีอยู่ ณ วันที่กิจการเข้าเป็นคู่สัญญาในครั้งแรกและวันที่ มีการประเมินใหม่ที่กําหนดไว้ตามย่อหน้าที่ ข 4.3.11 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เงินกู้ยืมจากรัฐบาล ข 10 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องจัดประเภทเงินกู้ยืมจากรัฐบาลที่ได้รับทั้งหมดเป็นหนี้สินทางการเงิน หรือตราสารทุนตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ยกเว้นที่ได้อนุญาตไว้ในย่อหน้าที่ ข 11 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 20 เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ความช่วยเหลือจากรัฐบาล โดยวิธีเปลี่ยนทันทีสําหรับเงินกู้ยืมจากรัฐบาลในปัจจุบัน ณ วันที่ เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และต้องไม่รับรู้ผลประโยชน์จากการได้รับเงิน กู้ยืมจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยที่ตํ่ากว่าอัตราตลาดเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ดังนั้น หากการรับรู้ และวัดมูลค่ารายการเงินกู้ยืมจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยที่ตํ่ากว่าอัตราตลาดตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าของผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน กิจการต้องใช้มูลค่าตามบัญชีของเงินกู้ยืมตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็นมูลค่าตามบัญชีของเงินกู้ยืม สําหรับงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กิจการต้องปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับการวัดมูลค่าเงินกู้ยืมหลังจากวันที่เปลี่ยนผ่าน มาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ข 11 นอกจากที่กล่าวในย่อหน้าที่ ข 10 กิจการอาจปฏิบัติตามข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 20 โดยวิธีปรับย้อนหลังสําหรับเงินกู้ยืม จากรัฐบาลใดๆ ที่มีอยู่ก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ทั้งนี้ กิจการ ควรมีข้อมูลที่จําเป็น ณ วันที่เริ่มต้นใช้การบัญชีสําหรับเงินกู้ยืม ข 12 ข้อกําหนดและแนวปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ข 10 และ ข 11 ไม่ได้ทําให้กิจการไม่สามารถใช้ ข้อยกเว้นตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ ง 19 ถึง ง 19 ค เกี่ยวกับการกําหนดเครื่องมือทางการเงิน ที่รับรู้รายการก่อนหน้าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 สัญญาประกันภัย ข 13 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านในย่อหน้าที่ ค 1 ถึง ค 24 และ ค 28 ใน ภาคผนวก ค ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 กับสัญญาภายในขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 การอ้างอิงในย่อหน้าเหล่านั้นในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ถึงวันที่เปลี่ยนผ่านให้หมายความถึงวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าและหนี้สินจากการรื้อถอน หนี้สินจากการ บูรณะและหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ข 14 ย่อหน้าที่ 15 และ 24 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ให้ข้อยกเว้นกับ กิจการจากการรับรู้สินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในสภาพแวดล้อม เป็นการเฉพาะ ทั้งที่มีข้อยกเว้นดังกล่าว ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเท่ากับจํานวนที่เป็นไปได้ ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีเพียงพอที่จะนําผลต่างชั่วคราวนั้นมาใช้หักภาษีได้ และ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสําหรับรายการผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีและผลต่างชั่วคราว ที่ต้องเสียภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ ข 14.1 สินทรัพย์สิทธิการใช้ และหนี้สินตามสัญญาเช่า และ ข 14.2 หนี้สินจากการรื้อถอน หนี้สินจากการบูรณะ และหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และ จํานวนเงินที่เท่ากันที่รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 ภาคผนวก ค ข้อยกเว้นสําหรับการรวมธุรกิจ ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ต่อไปนี้สําหรับการรวมธุรกิจที่กิจการได้รับรู้ก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ภาคผนวกนี้ต้องนํามาใช้เฉพาะกับการรวมธุรกิจที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ เท่านั้น ค 1 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 โดยวิธีปรับย้อนหลังกับการรวมธุรกิจในอดีต ( การรวมธุรกิจที่เกิดขึ้นก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกได้ปรับ งบการเงินย้อนหลังในการรวมธุรกิจเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 กิจการต้องปรับงบการเงินย้อนหลังในการรวมธุรกิจทั้งหมดที่เกิดขึ้นในภายหลัง และ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 นับจากวันที่เดียวกันนั้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกเลือกปรับงบการเงินย้อนหลังในการรวมธุรกิจที่ เกิดขึ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 25X6 กิจการต้องปรับงบการเงินย้อนหลังในการรวมธุรกิจทั้งหมด ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 25X6 จนถึงวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 นับจากวันที่ 30 มิถุนายน 25X6 ค 2 กิจการไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่อง ผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยวิธีปรับย้อนหลังสําหรับรายการ ปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมและค่าความนิยมที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจที่เกิดขึ้นก่อนวันที่เปลี่ยน ผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่กิจการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 โดยวิธีปรับย้อนหลังสําหรับรายการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมและค่าความนิยมดังกล่าว กิจการต้องบันทึกรายการที่เกิดขึ้นเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของกิจการมากกว่าเป็นสินทรัพย์และ หนี้สินของผู้ถูกซื้อ ดังนั้น ถือว่าค่าความนิยมและรายการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมดังกล่าว ได้แสดงด้วยสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของกิจการแล้ว หรือเป็นรายการที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งได้ถูกรายงานโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามหลักการบัญชีที่รับรอง ทั่วไปก่อนหน้า ค 3 กิจการอาจปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 โดยวิธีปรับย้อนหลังสําหรับรายการ ปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมและค่าความนิยม ที่เกิดขึ้นจาก ค 3.1 การรวมธุรกิจทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน หรือ ค 3.2 การรวมธุรกิจทั้งหมดที่กิจการเลือกปรับงบการเงินย้อนหลังโดยถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 ตามที่ได้อนุญาตไว้ในย่อหน้าที่ ค 1 ข้างต้น
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 ค 4 ในกรณีที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 โดยวิธีปรับย้อนหลังสําหรับการรวมธุรกิจในอดีต จะมีผลกระทบต่อการรวมธุรกิจดังกล่าว ดังต่อไปนี้ ค 4.1 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องจัดประเภทรายการ ( การซื้อธุรกิจโดยผู้ซื้อตามกฎหมาย การซื้อธุรกิจแบบย้อนกลับโดยผู้ถูกซื้อตามกฎหมาย หรือการรวมกันของส่วนได้เสีย ) เช่นเดียวกับในงบการเงินของกิจการที่จัดทําขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ค 4.2 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องรับรู้สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมด ซึ่งได้มาหรือรับมาจาก การรวมธุรกิจในอดีต ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน นอกจาก ค 4.2.1 สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินบางรายการที่เลิกรับรู้ไปแล้วตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ( ดูย่อหน้าที่ ข 2) และ ค 4.2.2 สินทรัพย์ รวมถึงค่าความนิยมและหนี้สินที่ไม่ได้รับรู้ในงบฐานะการเงินรวม ของผู้ซื้อธุรกิจตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า และไม่ได้เข้า เงื่อนไขการรับรู้รายการตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินในงบฐานะ การเงินเฉพาะกิจการของผู้ถูกซื้อ ( ดูย่อหน้าที่ ค 4.6 ถึง ค 4.9) ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องรับรู้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับปรุง กําไรสะสม ( หรือประเภทรายการอื่นในส่วนของเจ้าของตามความเหมาะสม ) นอกจาก ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่รวมอยู่ใน ค่าความนิยมมาก่อน ( ดูย่อหน้าที่ ค 4.7.1) ค 4.3 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องไม่รวมรายการใดๆ ที่ได้รับรู้ตามหลักการบัญชีที่รับรอง ทั่วไปก่อนหน้าซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องปฏิบัติกับผลจากการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ค 4.3.1 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจจัดประเภทรายการที่เกี่ยวข้องกับการรวมธุรกิจ ในอดีตเป็นรายการซื้อธุรกิจและรับรู้รายการที่ไม่เข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการ เป็นสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องจัดประเภทรายการดังกล่าวใหม่ ( รวมถึงภาษีเงินได้รอตัดบัญชีและส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมที่ เกี่ยวข้อง ( ถ้ามี )) ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าความนิยม ( เว้นแต่กรณีที่หัก ค่าความนิยมโดยตรงจากส่วนของเจ้าของตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก่อนหน้า ดูย่อหน้าที่ ค 4.7.1 และ ค 4.9)
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 ค 4.3.2 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องรับรู้ผลจากการเปลี่ยนแปลงอื่นทั้งหมดในกําไร สะสม 1 ค 4.4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้วัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการของ สินทรัพย์และหนี้สินบางรายการด้วยเกณฑ์ที่ไม่ใช่ราคาทุนเดิม เช่น มูลค่ายุติธรรม ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าวด้วยเกณฑ์ ที่กําหนดสําหรับงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน แม้ว่า สินทรัพย์และหนี้สินนั้นได้มาหรือรับมาจากการรวมธุรกิจในอดีต กิจการต้องรับรู้ ผลจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตามบัญชีโดยการปรับปรุงกําไรสะสม ( หรือประเภท รายการอื่นในส่วนของเจ้าของตามความเหมาะสม ) แทนที่จะรับรู้เป็นค่าความนิยม ค 4.5 ในทันทีหลังจากการรวมธุรกิจ ให้ถือว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ได้มาและหนี้สิน ที่รับมาจากการรวมธุรกิจดังกล่าวตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า เป็นต้นทุนเสมือนของสินทรัพย์และหนี้สินนั้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ณ วันที่ดังกล่าว กรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้วัดมูลค่าสินทรัพย์และ หนี้สินดังกล่าวโดยใช้เกณฑ์ราคาทุน ณ วันที่หลังจากนั้น ต้นทุนเสมือนต้องเป็นฐาน สําหรับการตัดค่าเสื่อมราคาหรือการตัดจําหน่ายตามเกณฑ์ราคาทุน นับจากวันที่รวมธุรกิจ ค 4.6 ในกรณีที่สินทรัพย์ที่ได้มาหรือหนี้สินที่รับมาจากการรวมธุรกิจในอดีต ไม่ได้รับรู้ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า สินทรัพย์หรือหนี้สินดังกล่าวไม่ได้ถือว่า มีต้นทุนเสมือนเป็นศูนย์สําหรับงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ผู้ซื้อต้องรับรู้และวัดมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สินดังกล่าวในงบฐานะการเงิน รวมตามหลักเกณฑ์ที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดสําหรับงบฐานะการเงิน ของผู้ถูกซื้อ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยตัวอย่างดังนี้ กรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้บันทึกสินทรัพย์ ตามสัญญาเช่าทางการเงินที่ได้มาจากการรวมธุรกิจในอดีตซึ่งผู้ถูกซื้อเป็นผู้เช่า ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ผู้ซื้อต้องบันทึกสินทรัพย์ตามสัญญาเช่า ดังกล่าวในงบการเงินรวม ตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กําหนดให้ผู้ถูกซื้อปฏิบัติในการจัดทํางบฐานะการเงินตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ในทํานองเดียวกัน กรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้รับรู้หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นที่ ยังคงมีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินตามหลักการ บัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ผู้ซื้อต้องรับรู้หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นนั้น ณ วันที่ดังกล่าว นอกจากว่ามาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สิน ที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น มีข้อห้ามเกี่ยวกับการรับรู้รายการดังกล่าวใน งบการเงินของผู้ถูกซื้อ ในทางตรงข้าม กรณีที่สินทรัพย์หรือหนี้สินได้รวมอยู่ใน 1 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวรวมถึงการจัดประเภทรายการใหม่จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือการจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนในกรณีที่ไม่ได้รับรู้ค่าความนิยมตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าเป็นสินทรัพย์ กรณีดังกล่าวจะ เกิดขึ้น หากกิจการ ( ก ) หักค่าความนิยมโดยตรงจากส่วนของเจ้าของ หรือ ( ข ) ไม่ได้บันทึกการรวมธุรกิจเป็นรายการ ซื้อธุรกิจตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 ค่าความนิยมตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า แต่ต้องรับรู้เป็นรายการแยก ต่างหากตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 สินทรัพย์หรือหนี้สินดังกล่าว จะยังคงรวมไว้ในค่าความนิยม นอกจากว่ามาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้มี การรับรู้รายการดังกล่าวในงบการเงินของผู้ถูกซื้อ ค 4.7 มูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยมในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินต้องเป็นมูลค่าตามบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ณ วันที่ เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ภายหลังจากการปรับปรุง 2 ประการ ดังต่อไปนี้ ค 4.7.1 กรณีที่กําหนดตามย่อหน้าที่ ค 4.3.1 ข้างต้น ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องเพิ่ม มูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยม เมื่อกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่รับรู้ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ในทํานองเดียวกัน หากย่อหน้าที่ ค 4.6 ข้างต้น กําหนดให้ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรก รับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่รวมอยู่ในค่าความนิยมตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องลดมูลค่าตามบัญชีของ ค่าความนิยมนั้น ( และปรับปรุงภาษีเงินได้รอตัดบัญชีและส่วนได้เสียที่ไม่มี อํานาจควบคุม ( ถ้ามี )) ค 4.7.2 โดยไม่คํานึงว่ามีข้อบ่งชี้ว่าค่าความนิยมอาจด้อยค่าหรือไม่ ผู้นํามาใช้เป็น ครั้งแรกต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 ในการทดสอบ การด้อยค่าของค่าความนิยม ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน และในการรับรู้รายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าในกําไรสะสม ( หรือ ในส่วนเกินจากการตีราคา ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36) การทดสอบการด้อยค่าต้องพิจารณาจากสภาวการณ์ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมา ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ค 4.8 ไม่ต้องมีการปรับปรุงอื่นสําหรับมูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยม ณ วันที่เปลี่ยนผ่าน มาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ตัวอย่างเช่น ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องไม่ปรับ มูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยมย้อนหลัง โดย ค 4.8.1 ไม่รวมรายการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดําเนินการซึ่งได้มาจากการรวม ธุรกิจดังกล่าว ( นอกจากว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกี่ยวข้องเข้าเงื่อนไข การรับรู้รายการในงบฐานะการเงินของผู้ถูกซื้อ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38) ค 4.8.2 ปรับปรุงการตัดจําหน่ายค่าความนิยมก่อนหน้า ค 4.8.3 กลับรายการปรับปรุงค่าความนิยมซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 ไม่อนุญาต เป็นการทําตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า เนื่องมาจากการปรับปรุงสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างวันที่รวมธุรกิจกับวันที่ เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 ค 4.9 ในกรณีที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกได้รับรู้ค่าความนิยมตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก่อนหน้า โดยเป็นรายการหักจากส่วนของเจ้าของ ค 4.9.1 กิจการต้องไม่รับรู้ค่าความนิยมดังกล่าวในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน นอกจากนี้ กิจการต้องไม่จัดประเภท ค่าความนิยมดังกล่าวใหม่เป็นกําไรหรือขาดทุนในกรณีที่กิจการขาย บริษัทย่อยหรือในกรณีที่เงินลงทุนในบริษัทย่อยเกิดการด้อยค่า ค 4.9.2 การปรับปรุงรายการที่เป็นผลมาจากข้อตกลงที่เกิดในภายหลังเกี่ยวกับ รายการที่อาจเกิดขึ้นซึ่งส่งผลต่อสิ่งตอบแทนจากการซื้อ ต้องรับรู้ใน กําไรสะสม ค 4.10 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจไม่ได้รวมบริษัทย่อยที่ได้มาจากการรวมธุรกิจในอดีต ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ( ตัวอย่างเช่น เนื่องจากบริษัทใหญ่ไม่ได้ถือว่า กิจการดังกล่าวเป็นบริษัทย่อยตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า หรือไม่ได้ จัดทํางบการเงินรวม ) ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทย่อยให้เป็นจํานวนเงินตามที่มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินกําหนดในงบฐานะการเงินของบริษัทย่อย จํานวนเงินของต้นทุนเสมือนของ ค่าความนิยมเท่ากับส่วนต่าง ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ระหว่าง ค 4.10.1 ส่วนได้เสียของบริษัทใหญ่ในมูลค่าตามบัญชีดังกล่าวที่ปรับปรุงแล้ว และ ค 4.10.2 ต้นทุนของเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่ ค 4.11 การวัดมูลค่าของส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมและภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ให้ปฏิบัติ ตามการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินอื่น ดังนั้น การปรับปรุงข้างต้นเพื่อรับรู้สินทรัพย์ และหนี้สินจะส่งผลต่อส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมและภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ค 5 ข้อยกเว้นสําหรับการรวมธุรกิจในอดีตให้นํามาปฏิบัติกับการได้มาในอดีตสําหรับเงินลงทุน ในบริษัทร่วม ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า และส่วนได้เสียในการดําเนินงานร่วมกันที่กิจกรรม ของการดําเนินงานร่วมกันเข้าคํานิยามของธุรกิจ ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 3 นอกจากนี้ วันที่ตามที่กิจการได้เลือกตามย่อหน้าที่ ค 1 ให้ถือปฏิบัติกับ ทุกรายการเงินลงทุนดังกล่าวด้วย
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 ภาคผนวก ง ข้อยกเว้นจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่น ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 1 กิจการอาจเลือกใช้ข้อยกเว้นประการเดียวหรือหลายประการ ดังต่อไปนี้ ง 1.1 รายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ( ย่อหน้าที่ ง 2 และ ง 3) ง 1.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ง 1.3 ต้นทุนเสมือน ( ย่อหน้าที่ ง 5 ถึง ง 8 ข ) ง 1.4 สัญญาเช่า ( ย่อหน้าที่ ง 9 และ ง 9 ข ถึง ง 9 จ ) ง 1.5 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ง 1.6 ส่วนต่างจากการแปลงค่าสะสม ( ย่อหน้าที่ ง 12 ถึง ง 13 ก ) ง 1.7 เงินลงทุนในบริษัทย่อย การร่วมค้า และบริษัทร่วม ( ย่อหน้าที่ ง 14 ถึง ง 15 ก ) ง 1.8 สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และการร่วมค้า ( ย่อหน้าที่ ง 16 และ ง 17) ง 1.9 เครื่องมือทางการเงินแบบผสม ( ย่อหน้าที่ ง 18) ง 1.10 การกําหนดรายการเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้ก่อนหน้า ( ย่อหน้าที่ ง 19 ถึง ง 19 ค ) ง 1.11 การวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินในการรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก ( ย่อหน้าที่ ง 20) ง 1.12 หนี้สินเกี่ยวกับการรื้อถอนสินทรัพย์ที่รวมอยู่ในต้นทุนของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ( ย่อหน้าที่ ง 21 และ ง 21 ก ) ง 1.13 สินทรัพย์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ปฏิบัติตามการตีความมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่อง ข้อตกลงสัมปทานบริการ ( ย่อหน้าที่ ง 22) ง 1.14 ต้นทุนการกู้ยืม ( ย่อหน้าที่ ง 23) ง 1.15 การโอนสินทรัพย์จากลูกค้า ( ย่อหน้าที่ ง 24) ง 1.16 การชําระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน ( ย่อหน้าที่ ง 25) ง 1.17 ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง ( ย่อหน้าที่ ง 26 ถึง ง 30) ง 1.18 การร่วมการงาน ( ย่อหน้าที่ ง 31) ง 1.19 ต้นทุนการเปิดหน้าดินในช่วงการผลิตสําหรับเหมืองผิวดิน ( ย่อหน้าที่ ง 32) ง 1.20 การกําหนดสําหรับสัญญาจะซื้อหรือสัญญาจะขายของรายการที่ไม่ใช่รายการ ทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ ง 33) ง 1.21 รายได้ ( ย่อหน้าที่ ง 34 และ ง 35) และ ง 1.22 รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและสิ่งตอบแทนจ่ายล่วงหน้า ( ย่อหน้าที่ ง 36) กิจการต้องไม่นําข้อยกเว้นดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับรายการอื่น
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 31 รายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ง 2 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกได้รับการสนับสนุน แต่ไม่ได้บังคับให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ กับตราสารทุนที่ออกในหรือก่อนวันที่ 1 มกราคม 2554 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกยังได้รับการสนับสนุน แต่ไม่ได้บังคับให้ปฏิบัติ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 กับตราสารทุนที่ออกหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 และได้รับสิทธิก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ในกรณี ที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกเลือกที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 กับ ตราสารทุนดังกล่าว จะสามารถทําได้เฉพาะกรณีที่กิจการนั้นได้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน เกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนดังกล่าวที่กําหนด ณ วันที่วัดมูลค่าตามที่อธิบายไว้ ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 สําหรับการออกตราสารทุนทั้งหมดที่ไม่ได้เป็นไปตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 ( เช่น ตราสารทุนที่ออกในหรือก่อนวันที่ 1 มกราคม 2554) ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 44 และ 45 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 ในกรณีที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกเปลี่ยนแปลง ระยะเวลาหรือเงื่อนไขของการออกตราสารทุนที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 กิจการไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 26 ถึง 29 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 2 หากการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ง 3 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกได้รับการสนับสนุน แต่ไม่ได้บังคับให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 2 กับรายการหนี้สินที่เกิดขึ้นจากรายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่มีการจ่าย ชําระก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกได้รับ การสนับสนุน แต่ไม่ได้บังคับให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 กับ รายการหนี้สินที่เกิดขึ้นจากรายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่มีการจ่ายชําระก่อนวันที่ 1 มกราคม 2554 สําหรับหนี้สินที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่ต้องใช้วิธีปรับย้อนหลังสําหรับข้อมูลเปรียบเทียบ โดยขอบเขตของ ข้อมูลดังกล่าวต้องเกี่ยวข้องกับรอบระยะเวลารายงานหรือวันที่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2554 ง 4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ต้นทุนเสมือน ง 5 กิจการอาจเลือกวัดมูลค่ารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม และใช้มูลค่ายุติธรรมนั้นเป็นต้นทุนเสมือน ณ วันดังกล่าว ง 6 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกใช้การตีราคาใหม่ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า สําหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ณ วันที่ หรือก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินเป็นต้นทุนเสมือน ณ วันที่มีการตีราคาใหม่ หากการตีราคา ณ วันที่ มีการตีราคาใหม่นั้น สามารถเปรียบเทียบกันได้กับ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 ง 6.1 มูลค่ายุติธรรม หรือ ง 6.2 ต้นทุนหรือต้นทุนที่คิดค่าเสื่อมราคาตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินซึ่งถูกปรับปรุง ให้สะท้อนมูลค่ายุติธรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงในดัชนีราคาทั่วไปหรือดัชนีราคาเฉพาะ ง 7 ทางเลือกตามย่อหน้าที่ ง 5 และ ง 6 สามารถนํามาใช้กับ ง 7.1 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ในกรณีที่กิจการเลือกใช้วิธีราคาทุนตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน และ ง 7.1 ก สินทรัพย์สิทธิการใช้ ( มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ) และ ง 7.2 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นไปตาม ง 7.2.1 เกณฑ์การรับรู้รายการตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ( รวมถึงการวัดมูลค่า ได้อย่างน่าเชื่อถือสําหรับต้นทุนการได้มา ) และ ง 7.2.2 เกณฑ์การตีราคาใหม่ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ( รวมถึงการมีอยู่ ของตลาดที่มีสภาพคล่อง ) กิจการต้องไม่เลือกทางเลือกนี้สําหรับสินทรัพย์อื่นหรือสําหรับหนี้สินอื่น ง 8 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจกําหนดต้นทุนเสมือนตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า สําหรับรายการสินทรัพย์และหนี้สินบางรายการหรือทุกรายการ โดยการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่กําหนดเป็นการเฉพาะ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์บางเหตุการณ์ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ง 8.1 หากวันที่ใช้วัดมูลค่าเป็น วันเดียวกันหรือวันก่อนหน้า วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน กิจการอาจใช้มูลค่าที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมจากวันที่เกิด เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้นทุนเสมือนสําหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ณ วันที่ มีการวัดมูลค่า ง 8.2 หากวันที่ใช้วัดมูลค่าเป็น วันหลังจาก วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน แต่อยู่ระหว่างรอบระยะเวลารายงานของงบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินเป็นครั้งแรก กิจการอาจใช้มูลค่าที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมจากวันที่ เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้นทุนเสมือน กิจการต้องรับรู้ผลของการปรับปรุงไปยัง กําไรสะสมโดยตรง ( หรือประเภทรายการอื่นในส่วนของเจ้าของตามความเหมาะสม ) ณ วันที่มีการวัดมูลค่า กิจการต้องกําหนดต้นทุนเสมือนโดยใช้เกณฑ์ตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ ง 5 ถึง ง 7 หรือวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินตามข้อกําหนดอื่นในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 8 ก ต้นทุนในการสํารวจและพัฒนาแหล่งนํ้ามันและก๊าซที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาหรือขั้นตอน การผลิตตามข้อกําหนดของบางประเทศ จะปฏิบัติโดยไว้ในศูนย์ต้นทุนซึ่งรวมที่ดินทั้งหมด ในพื้นที่ภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีการบัญชีดังกล่าวตามหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไปก่อนหน้า อาจเลือกวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับนํ้ามันและก๊าซ ณ วันที่เปลี่ยน ผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 ง 8 ก .1 สินทรัพย์ที่เกิดจากการสํารวจและการประเมินค่าให้วัดมูลค่าตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า และ ง 8 ก .2 สินทรัพย์ที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาหรือขั้นตอนการผลิตให้วัดมูลค่าของศูนย์ต้นทุน ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า กิจการต้องปันส่วนจํานวนดังกล่าวให้กับ ศูนย์ต้นทุนโดยอ้างอิงตามสัดส่วนปริมาณของสํารองหรือมูลค่าของสํารอง ณ วันดังกล่าว กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เกิดจากการสํารวจและการประเมินค่าและ สินทรัพย์ที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาหรือขั้นตอนการผลิต ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 เรื่อง การสํารวจและ การประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 ตามลําดับ และกิจการควรลด มูลค่าที่ประเมินได้ตามย่อหน้าที่ ง 8 ก .1 หรือ ง 8 ก .2 ข้างต้น เพื่อวัตถุประสงค์ของย่อหน้านี้ สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับนํ้ามันและก๊าซประกอบด้วยสินทรัพย์ที่ใช้ในการสํารวจ การประเมินค่า การพัฒนา หรือการผลิตนํ้ามันและก๊าซเท่านั้น ง 8 ข บางกิจการมีรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สินทรัพย์สิทธิการใช้ หรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่ยังคงใช้อยู่หรือใช้แล้วก่อนหน้า มูลค่าตามบัญชีของรายการดังกล่าวอาจรวมถึงจํานวนเงิน ที่ถูกกําหนดตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าแต่ไม่เข้าเงื่อนไขการรวมเป็นส่วนหนึ่งของ มูลค่าตามบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้นํามาใช้ เป็นครั้งแรกอาจเลือกใช้มูลค่าตามบัญชีของแต่ละรายการตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก่อนหน้า ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นต้นทุนเสมือน หากกิจการปฏิบัติตามข้อยกเว้นดังกล่าวกับรายการใดรายการหนึ่ง กิจการไม่จําเป็นต้องปฏิบัติ ตามข้อยกเว้นสําหรับทุกรายการ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 สําหรับแต่ละรายการที่ใช้ ข้อยกเว้นนี้ สัญญาเช่า ง 9 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจประเมินว่าสัญญาที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินประกอบด้วยสัญญาเช่าหรือไม่โดยปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 9 ถึง 11 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 กับสัญญาดังกล่าวบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและ สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ณ วันที่ดังกล่าว ง 9 ก ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ง 9 ข เมื่อผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นผู้เช่ารับรู้หนี้สินตามสัญญาเช่าและสินทรัพย์สิทธิการใช้ กิจการ อาจปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้กับสัญญาเช่าทุกรายการ ( ตามการผ่อนปรนในทางปฏิบัติที่ระบุไว้ ในย่อหน้าที่ ง 9 ง ) ง 9 ข .1 วัดมูลค่าหนี้สินตามสัญญาเช่า ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้เช่าตามวิธีการนี้ต้องวัดมูลค่าหนี้สินตามสัญญาเช่าด้วยมูลค่าปัจจุบันของการจ่ายชําระ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 ตามสัญญาเช่าที่เหลืออยู่ ( ดูย่อหน้าที่ ง 9 จ ) คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมส่วนเพิ่ม ของผู้เช่า ( ดูย่อหน้าที่ ง 9 จ ) ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 9 ข .2 วัดมูลค่าสินทรัพย์สิทธิการใช้ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้เช่าต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์สิทธิการใช้เป็นรายสัญญาโดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้ ง 9 ข .2.1 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์เสมือนว่ามาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผล ( ดูย่อหน้าที่ ง 9 จ ) คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมส่วนเพิ่มของผู้เช่า ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน หรือ ง 9 ข .2.2 จํานวนเท่ากับหนี้สินตามสัญญาเช่า ปรับปรุงด้วยจํานวนเงินของการจ่ายชําระ ตามสัญญาเช่าที่จ่ายล่วงหน้าหรือค้างจ่ายซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าที่รับรู้ใน งบฐานะการเงินก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 9 ข .3 ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 กับสินทรัพย์สิทธิการใช้ ณ วันที่เปลี่ยน ผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 9 ค โดยไม่ต้องคํานึงถึงข้อกําหนดในย่อหน้าที่ ง 9 ข ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นผู้เช่าต้องวัดมูลค่า สินทรัพย์สิทธิการใช้ด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินสําหรับสัญญาเช่าที่เป็นไปตามคํานิยามของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 40 และวัดมูลค่าด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรมตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตั้งแต่ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 9 ง ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นผู้เช่าอาจใช้หนึ่งวิธีหรือหลายวิธีต่อไปนี้ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นรายสัญญา ง 9 ง .1 ใช้อัตราคิดลดอัตราเดียวสําหรับพอร์ตโฟลิโอสัญญาเช่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่าง สมเหตุสมผล ( เช่น สัญญาเช่าที่มีอายุสัญญาเช่าที่เหลืออยู่ใกล้เคียงกันสําหรับประเภท ของสินทรัพย์อ้างอิงที่คล้ายคลึงกันซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจคล้ายคลึงกัน ) ง 9 ง .2 อาจเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ ง 9 ข สําหรับสัญญาเช่าที่อายุ สัญญาเช่า ( ดูย่อหน้าที่ ง 9 จ ) สิ้นสุดภายใน 12 เดือน นับจากวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในกรณีนี้ กิจการต้องปฏิบัติกับ ( รวมถึงเปิดเผย ข้อมูล ) สัญญาเช่าเหล่านั้นในลักษณะเดียวกับสัญญาเช่าระยะสั้นตามที่อธิบายไว้ใน ย่อหน้าที่ 6 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ง 9 ง .3 อาจเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ ง 9 ข สําหรับสัญญาเช่าซึ่งสินทรัพย์ อ้างอิงมีมูลค่าตํ่า ( ตามที่ได้อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ ข 3 ถึง ข 8 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 16) ในกรณีนี้ กิจการต้องปฏิบัติกับ ( รวมถึงเปิดเผยข้อมูล ) สัญญาเช่าเหล่านั้นตามที่อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ 6 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ง 9 ง .4 ไม่รวมต้นทุนทางตรงเริ่มแรก ( ดูย่อหน้าที่ ง 9 จ ) ในการวัดมูลค่าสินทรัพย์สิทธิการใช้ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 ง 9 ง .5 ใช้ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว เช่น กําหนดอายุสัญญาเช่า หากสัญญา ประกอบด้วยสิทธิเลือกในการขยายอายุสัญญาเช่าหรือยกเลิกสัญญาเช่า ง 9 จ การจ่ายชําระตามสัญญาเช่า ผู้เช่า อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมส่วนเพิ่มของผู้เช่า วันที่สัญญาเช่า เริ่มมีผล ต้นทุนทางตรงเริ่มแรก และอายุสัญญาเช่าเป็นไปตามศัพท์บัญญัติของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 และใช้ในมาตรฐานฉบับนี้เป็นความหมายเดียวกัน ง 10 – ง 11 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) ส่วนต่างจากการแปลงค่าสะสม ง 12 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 กําหนดให้กิจการ ง 12.1 รับรู้ส่วนต่างจากการแปลงค่าในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและสะสมส่วนต่างดังกล่าว เป็นส่วนประกอบต่างหากในส่วนของเจ้าของ และ ง 12.2 ในการจําหน่ายหน่วยงานต่างประเทศ ให้กิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับ ส่วนต่างจากการแปลงค่าสะสมสําหรับหน่วยงานต่างประเทศดังกล่าว ( รวมถึงผลกําไร และขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่สามารถปฏิบัติได้ ) จากส่วนของเจ้าของไปเป็นกําไรหรือขาดทุนในส่วนของกําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่าย ง 13 อย่างไรก็ตาม ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวสําหรับส่วนต่าง จากการแปลงค่าสะสมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในกรณี ที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกใช้ข้อยกเว้นนี้ ง 13.1 ส่วนต่างจากการแปลงค่าสะสมสําหรับหน่วยงานต่างประเทศทั้งหมดให้ถือเป็นศูนย์ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และ ง 13.2 ผลกําไรหรือขาดทุนซึ่งเป็นผลจากการจําหน่ายหน่วยงานต่างประเทศในเวลาต่อมา ต้องไม่รวมส่วนต่างจากการแปลงค่าที่เกิดขึ้นก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน และต้องรวมส่วนต่างจากการแปลงค่าที่เกิดขึ้นในภายหลัง ง 13 ก แทนที่จะถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ง 12 หรือย่อหน้าที่ ง 13 บริษัทย่อยที่ใช้ข้อยกเว้นตามย่อหน้าที่ ง 16.1 อาจเลือกวัดมูลค่าส่วนต่างจากการแปลงค่าสะสมสําหรับหน่วยงานต่างประเทศทั้งหมด ในงบการเงินของบริษัทย่อยด้วยมูลค่าตามบัญชีเดียวกันกับที่นําไปรวมอยู่ในงบการเงินรวม ของบริษัทใหญ่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทใหญ่ ไม่มีการปรับปรุงสําหรับการจัดทํางบการเงินรวมและสําหรับผลกระทบจากการรวมธุรกิจที่บริษัท ใหญ่ได้มาซึ่งบริษัทย่อย การเลือกที่คล้ายคลึงกันนี้สามารถนําไปใช้กับบริษัทร่วมหรือ กิจการร่วมค้าที่ใช้ข้อยกเว้นตามย่อหน้าที่ ง 16.1 ด้วย
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 เงินลงทุนในบริษัทย่อย การร่วมค้า และบริษัทร่วม ง 14 เมื่อกิจการจัดทํางบการเงินเฉพาะกิจการ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 กําหนดให้กิจการปฏิบัติ กับรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อย การร่วมค้า และบริษัทร่วม ตามวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ง 14.1 ราคาทุน ง 14.2 ตามข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 หรือ ง 14.3 ใช้วิธีส่วนได้เสียตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ง 15 หากผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกวัดมูลค่าเงินลงทุนดังกล่าวด้วยราคาทุนตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 กิจการต้องวัดมูลค่าเงินลงทุนนั้นด้วยจํานวนใดจํานวนหนึ่งดังต่อไปนี้ใน งบฐานะการเงินตั้งต้นเฉพาะกิจการที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 15.1 ราคาทุนตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 หรือ ง 15.2 ต้นทุนเสมือน โดยต้นทุนเสมือนดังกล่าวต้องเป็น ง 15.2.1 มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในงบการเงินเฉพาะกิจการ หรือ ง 15.2.2 มูลค่าตามบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ณ วันดังกล่าว ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกมูลค่าตามย่อหน้าที่ ง 15.2.1 หรือ ง 15.2.2 ข้างต้น สําหรับการวัดมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย การร่วมค้า หรือบริษัทร่วมแต่ละรายการ ที่เลือกวัดมูลค่าโดยใช้ต้นทุนเสมือน ง 15 ก หากผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกปฏิบัติกับเงินลงทุนดังกล่าวด้วยวิธีส่วนได้เสียตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ง 15 ก .1 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกควรปฏิบัติตามข้อยกเว้นสําหรับการรวมธุรกิจในอดีต ( ภาคผนวก ค ) สําหรับการซื้อเงินลงทุน ง 15 ก .2 หากกิจการนํามาใช้เป็นครั้งแรกสําหรับงบการเงินเฉพาะกิจการก่อนที่จะปรับใช้กับ งบการเงินรวมของกิจการ และ ง 15 ก .2.1 หลังจากบริษัทใหญ่ของกิจการ กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ง 16 ในงบการเงินเฉพาะกิจการ ง 15 ก .2.2 หลังจากบริษัทย่อยของกิจการ กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ง 17 ในงบการเงินเฉพาะกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และการร่วมค้า ง 16 ในกรณีที่บริษัทย่อยปรับใช้เป็นครั้งแรกหลังจากบริษัทใหญ่ บริษัทย่อยต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ และหนี้สินในงบการเงินของกิจการ โดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้ ง 16.1 มูลค่าตามบัญชีที่นําไปรวมอยู่ในงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่ ณ วันที่บริษัทใหญ่ เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่มีรายการปรับปรุง สําหรับการจัดทํางบการเงินรวมและไม่มีผลกระทบจากการรวมธุรกิจที่บริษัทใหญ่
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 ได้มาซึ่งบริษัทย่อย ( ทางเลือกนี้ไม่สามารถนํามาใช้สําหรับบริษัทย่อยของกิจการ ที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุนตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 ซึ่งต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ) หรือ ง 16.2 มูลค่าตามบัญชีตามที่กําหนดโดยส่วนอื่นของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ณ วันที่บริษัทย่อยเปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มูลค่าตามบัญชี ดังกล่าวสามารถแตกต่างไปจากมูลค่าตามบัญชีตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ ง 16.1 ง 16.2.1 ในกรณีที่ข้อยกเว้นในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ส่งผลต่อ การวัดมูลค่าที่ขึ้นอยู่กับวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 16.2.2 ในกรณีที่นโยบายการบัญชีที่นํามาใช้กับงบการเงินของบริษัทย่อยแตกต่าง จากนโยบายการบัญชีที่นํามาใช้ในการจัดทํางบการเงินรวม ตัวอย่างเช่น บริษัทย่อยอาจใช้วิธีราคาทุนตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นนโยบายการบัญชีของกิจการ ในขณะที่กลุ่มบริษัท อาจใช้วิธีตีราคาใหม่ ทางเลือกในลักษณะเดียวกันนี้สามารถนําไปใช้กับบริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ที่ปรับใช้เป็นครั้งแรก หลังจากกิจการที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญหรือมีการควบคุมร่วม ง 17 อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่กิจการนํามาใช้เป็นครั้งแรกหลังจากบริษัทย่อย ( หรือบริษัทร่วม หรือ การร่วมค้า ) ในงบการเงินรวมของกิจการ กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินของ บริษัทย่อย ( หรือบริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ) ตามมูลค่าตามบัญชีเดียวกันกับในงบการเงินของ บริษัทย่อย ( หรือบริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ) หลังรายการปรับปรุงสําหรับจัดทํางบการเงินรวม และการปรับปรุงให้เป็นวิธีส่วนได้เสีย และสําหรับผลกระทบของการรวมธุรกิจเพื่อให้บริษัทใหญ่ ได้มาซึ่งบริษัทย่อย ทั้งนี้ บริษัทใหญ่ที่ไม่ใช่กิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุนต้องไม่ปฏิบัติตาม ข้อยกเว้นในการจัดทํางบการเงินรวมซึ่งถือปฏิบัติโดยบริษัทย่อยที่เป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจ ด้านการลงทุน ในทํานองเดียวกัน ในกรณีที่บริษัทใหญ่ปรับใช้เป็นครั้งแรกสําหรับงบการเงิน เฉพาะกิจการก่อนหรือหลังจากงบการเงินรวมของกิจการ กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์และ หนี้สินของกิจการโดยใช้จํานวนเงินเดียวกันทั้งในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ยกเว้นรายการปรับปรุงเพื่อจัดทํางบการเงินรวม เครื่องมือทางการเงินแบบผสม ง 18 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน กําหนดให้กิจการ แยกองค์ประกอบของเครื่องมือทางการเงินแบบผสม ณ วันเริ่มต้นสัญญา เป็นองค์ประกอบที่เป็น หนี้สินและส่วนของเจ้าของ หากไม่มีองค์ประกอบที่เป็นหนี้สินเหลืออยู่ การปรับย้อนหลัง งบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 จะเกี่ยวข้องกับการแยกส่วนของเจ้าของออกเป็น สองส่วน ส่วนแรกจะอยู่ในกําไรสะสมและแสดงถึงดอกเบี้ยสะสมที่เพิ่มขึ้นในองค์ประกอบที่เป็น หนี้สิน อีกส่วนจะแสดงถึงองค์ประกอบที่เป็นส่วนของเจ้าของดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ตามมาตรฐาน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 38 การรายงานทางการเงินฉบับนี้ ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่จําเป็นต้องแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน หากไม่มีองค์ประกอบที่เป็นหนี้สินเหลืออยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การเลือกกําหนดเครื่องมือทางการเงินที่ได้เคยรับรู้ ง 19 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 อนุญาตให้กิจการเลือกกําหนดหนี้สินทางการเงิน ( โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ) ให้เป็นหนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร หรือขาดทุน โดยไม่คํานึงถึงข้อกําหนดนี้ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน กิจการได้รับอนุญาตให้เลือกกําหนดหนี้สินทางการเงินใดๆ เป็นหนี้สินที่วัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน โดยหนี้สินต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 4.2.2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ณ วันที่ดังกล่าว ง 19 ก กิจการอาจเลือกกําหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 4.1.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 บนพื้นฐานของ ข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 19 ข กิจการอาจเลือกกําหนดให้เงินลงทุนในตราสารทุนที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ง 19 ค สําหรับหนี้สินทางการเงินที่เลือกกําหนดเป็นหนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่าน กําไรหรือขาดทุน กิจการต้องพิจารณาว่าวิธีการตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 5.7.7 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 จะก่อให้เกิดการจับคู่อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชีในกําไรหรือ ขาดทุนหรือไม่ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ณ การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรก ง 20 โดยไม่คํานึงถึงข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 7 และ 9 กิจการอาจปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ ข 5.1.2 ก .2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับรายการที่ทําขึ้นในหรือหลัง วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินโดยวิธีเปลี่ยนทันที หนี้สินเกี่ยวกับการรื้อถอนสินทรัพย์ที่รวมอยู่ในต้นทุนของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ง 21 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินที่เกิดขึ้น จากการรื้อถอน การบูรณะ และหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กําหนดให้การเปลี่ยนแปลง ในการวัดมูลค่าของหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการรื้อถอน การบูรณะ หรือหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 39 ต้องนําไปบวกเพิ่มหรือหักออกจากต้นทุนของสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง สินทรัพย์ที่มีค่าเสื่อมราคาจะ ตัดค่าเสื่อมราคาด้วยมูลค่าหลังปรับปรุงตามอายุการใช้ประโยชน์ที่เหลือโดยใช้วิธีเปลี่ยนทันที เป็นต้นไป ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวสําหรับการเปลี่ยนแปลง ในหนี้สินดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในกรณี ที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกใช้ข้อยกเว้นนี้ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ ง 21.1 วัดมูลค่าของหนี้สิน ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ง 21.2 กําหนดขอบเขตของหนี้สินให้เป็นไปตามขอบเขตของการตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 1 โดยให้ประมาณจํานวนเงินที่จะรวมอยู่ในต้นทุนของสินทรัพย์ที่ เกี่ยวข้องในกรณีที่หนี้สินเกิดขึ้นครั้งแรก โดยการคิดลดหนี้สินจนถึงวันที่ดังกล่าวตาม ประมาณการที่ดีที่สุดของกิจการเกี่ยวกับอัตราการคิดลดภายหลังการปรับปรุง ความเสี่ยงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งจะนํามาถือปฏิบัติสําหรับหนี้สินที่เกิดขึ้น ระหว่างรอบระยะเวลารายงาน และ ง 21.3 คํานวณค่าเสื่อมราคาสะสมของจํานวนเงินดังกล่าว ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน โดยใช้หลักเกณฑ์ของประมาณการในปัจจุบันเกี่ยวกับอายุ การใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ ตามนโยบายค่าเสื่อมราคาที่กิจการถือปฏิบัติภายใต้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ง 21 ก กิจการที่ใช้ข้อยกเว้นตามย่อหน้าที่ ง 8 ก .2 ( สําหรับสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับนํ้ามันและก๊าซตามที่ อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาหรือการผลิต ที่ปฏิบัติโดยไว้ในศูนย์ต้นทุนซึ่งรวมที่ดินทั้งหมดในพื้นที่ ภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า ) ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้แทนที่จะปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ง 21 หรือตามการตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 1 ง 21 ก .1 วัดมูลค่าของหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการรื้อถอน การบูรณะ และหนี้สินที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 37 และ ง 21 ก .2 รับรู้ผลต่างระหว่างจํานวนดังกล่าวกับมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินเหล่านั้นตามหลักการ บัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้าของกิจการ ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน โดยปรับเข้ากําไรสะสมโดยตรง สินทรัพย์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ปฏิบัติตามการตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 12 ง 22 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกปฏิบัติตามข้อกําหนดในช่วงเปลี่ยนผ่านของการตีความ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 40 ต้นทุนการกู้ยืม ง 23 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 นับจาก วันที่เปลี่ยนแปลงหรือวันที่ก่อนหน้าตามที่อนุญาตในย่อหน้าที่ 28 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 โดยนับจากวันที่ซึ่งกิจการที่ได้ปฏิบัติตามข้อยกเว้นนี้ ได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 กิจการดังกล่าว ง 23.1 ต้องไม่ปรับย้อนหลังสําหรับส่วนประกอบของต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกรับรู้เป็นต้นทุนของ สินทรัพย์ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า และที่ถูกรวมในมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์ ณ วันที่ดังกล่าว และ ง 23.2 ต้องปฏิบัติกับต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ตามที่กําหนดในมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 23 รวมถึงต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ที่สินทรัพย์ที่เข้า เงื่อนไขอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ง 24 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) การชําระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน ง 25 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกปฏิบัติตามข้อกําหนดในช่วงเปลี่ยนผ่านตามการตีความ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 19 เรื่อง การชําระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง ง 26 หากกิจการมีสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานซึ่งเป็น / หรือเป็นสกุลเงินของสภาพเศรษฐกิจที่เงิน เฟ้อรุนแรง กิจการต้องประเมินว่ากิจการอยู่ภายใต้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงก่อนวันที่เปลี่ยนผ่านมา ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินหรือไม่ ข้อกําหนดนี้ให้ถือปฏิบัติกับทั้งกิจการที่เปลี่ยนแปลง มาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินครั้งแรกและกิจการที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาก่อนหน้า ง 27 สกุลเงินของสภาพเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อรุนแรงจะถือว่าอยู่ภายใต้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง เมื่อเป็นไป ตามทั้ง 2 ลักษณะต่อไปนี้ ง 27.1 ไม่มีดัชนีราคาทั่วไปที่เชื่อถือได้สําหรับทุกกิจการที่มีรายการและยอดคงเหลือใน สกุลเงินนั้น ง 27.2 ไม่สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินดังกล่าวกับสกุลเงินตราต่างประเทศที่ค่อนข้างเสถียร ง 28 สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของกิจการภายใต้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงจะหยุดใช้เมื่อกลับเข้าสู่ ภาวะปกติ กล่าวคือเมื่อสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานไม่เป็นไปตามลักษณะข้อหนึ่งข้อใดหรือ ทั้งสองข้อตามย่อหน้าที่ ง 27 หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานไปเป็น สกุลเงินอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 41 ง 29 หากวันที่กิจการเปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นวันที่ในหรือหลังวันที่ สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานเข้าสู่ภาวะปกติ กิจการอาจเลือกวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สิน ทั้งหมดที่ถือครองก่อนวันที่สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานอยู่ในภาวะปกติด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กิจการอาจใช้มูลค่ายุติธรรมนั้น เป็นต้นทุนเสมือนของสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าวในงบฐานะการเงินตั้งต้นที่ใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ง 30 หากวันที่สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานเข้าสู่ภาวะปกติอยู่ภายในช่วง 12 เดือนของรอบระยะเวลา รายงานเปรียบเทียบ รอบระยะเวลารายงานที่เปรียบเทียบนั้นอาจน้อยกว่า 12 เดือน ดังนั้น งบการเงินฉบับสมบูรณ์ ( ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 10 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) จะถูกจัดทําสําหรับระยะเวลาที่สั้นกว่า การดําเนินงานร่วมกัน ง 31 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกปฏิบัติตามข้อกําหนดในช่วงเปลี่ยนผ่านตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 โดยมีข้อยกเว้นดังต่อไปนี้ ง 31.1 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในช่วงเปลี่ยนผ่านตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 ณ วันที่เปลี่ยนแปลงมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ง 31.2 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกต้องทดสอบการด้อยค่าของเงินลงทุนตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 ณ วันที่เปลี่ยนแปลงมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน หากมีการเปลี่ยนจากวิธีรวมตามสัดส่วนเป็นวิธีส่วนได้เสีย โดยไม่คํานึงถึงว่า จะมีข้อบ่งชี้ว่าเงินลงทุนจะด้อยค่าหรือไม่ ผลขาดทุนจากการด้อยค่าต้องรับรู้ การปรับปรุงไปยังกําไรสะสม ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ต้นทุนการเปิดหน้าดินในช่วงการผลิตสําหรับเหมืองผิวดิน ง 32 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกปฏิบัติตามข้อกําหนดในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ระบุในย่อหน้าที่ ก 1 ถึง ก 4 ของการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 20 เรื่อง ต้นทุนการเปิดหน้าดิน ในช่วงการผลิตสําหรับเหมืองผิวดิน ในย่อหน้าดังกล่าวได้อ้างอิงถึงวันที่มีผลบังคับใช้ซึ่งต้องเป็น วันที่ 1 มกราคม 2558 หรือวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินเป็นครั้งแรกแล้วแต่วันใดเกิดขึ้นภายหลัง การกําหนดสําหรับสัญญาจะซื้อหรือสัญญาจะขายของรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ง 33 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 อนุญาตให้สัญญาจะซื้อหรือสัญญาจะขายรายการที่ ไม่ใช่รายการทางการเงินบางสัญญาเลือกกําหนดให้สัญญาดังกล่าววัดมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไร
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 42 หรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 2.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) อย่างไรก็ตาม ณ วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ข้อกําหนดที่กิจการได้รับอนุญาตให้เลือก กําหนดให้สัญญาที่มีอยู่ ณ วันนั้น วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ก็ต่อเมื่อ สัญญาดังกล่าวเข้าเงื่อนไขตามข้อกําหนดของย่อหน้าที่ 2.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ณ วันนั้น และกิจการเลือกกําหนดสําหรับสัญญาที่คล้ายคลึงกันทุกสัญญา รายได้ ง 34 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกอาจเลือกปฏิบัติตามข้อกําหนดในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ระบุในย่อหน้าที่ ค 5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ในย่อหน้าดังกล่าวได้อ้างอิงถึง “ วันที่เริ่มต้นใช้ มาตรฐาน ” ต้องเป็นวันที่วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกตัดสินใจปฏิบัติตามข้อกําหนดในช่วง เปลี่ยนผ่าน ต้องถือปฏิบัติตามที่ระบุในย่อหน้าที่ ค 6 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ด้วย ง 35 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่จําเป็นต้องปรับปรุงย้อนหลังการแสดงรายการของสัญญาที่เสร็จ สมบูรณ์ก่อนรอบระยะเวลาแรกสุดที่มีการนําเสนอ โดยสัญญาที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว คือ สัญญาที่ กิจการได้โอนสินค้าหรือบริการทั้งหมดภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปก่อนหน้า รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและสิ่งตอบแทนจ่ายล่วงหน้า ง 36 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 22 เรื่อง รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและสิ่งตอบแทนจ่ายล่วงหน้า สําหรับ สินทรัพย์ ค่าใช้จ่าย และรายได้ที่รับรู้เมื่อเริ่มแรกก่อนวันที่เปลี่ยนแปลงมาใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงินที่อยู่ในขอบเขตของการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับ ดังกล่าว
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 27/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 43 ภาคผนวก จ ข้อยกเว้นระยะสั้นจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ภาคผนวกนี้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ข้อยกเว้นจากข้อกําหนดของการปรับย้อนหลังข้อมูลเปรียบเทียบสําหรับมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 จ 1 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) จ 2 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) จ 3 – จ 7 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิธีการทางภาษีเงินได้ จ 8 ผู้นํามาใช้เป็นครั้งแรกที่วันที่เปลี่ยนผ่านมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 อาจเลือกที่จะไม่สะท้อนถึงการปฏิบัติใช้การตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 23 เรื่อง ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิธีการทางภาษีเงินได้ กับข้อมูล เปรียบเทียบในงบการเงินที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นครั้งแรก กิจการที่เลือก ปฏิบัติข้างต้น ต้องรับรู้ผลกระทบสะสมจากการถือปฏิบัติตามการตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 23 โดยการปรับปรุงกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของ เจ้าของ ตามความเหมาะสม ) ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานที่ใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินเป็นครั้งแรก