Tue Aug 08 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เล่มที่ 2)


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เล่มที่ 2)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญ ชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้ บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 41/2562 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ตามที่กาหนด ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 14 (เล่มที่ 2) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 40: Investment Property (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 32 ข และเพิ่ม ย่อหน้าที่ 85 ซ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 7 8 9 16 20 30 41 50 53 53 ก 54 56 60 61 62 67 69 74 75 77 78 84 ข และหัวข้อที่เกี่ยวข้อง และ 85 ฉ และเพิ่มย่อหน้าที่ 19 ก 29 ก และ 40 ก และตัดย่อหน้าที่ 3 6 25 26 และ 34 และแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 คํานิยาม 5 การจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง 6 การรับรู้รายการ 16 การวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ 20 การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ 30 นโยบายการบัญชี 30 วิธีมูลค่ายุติธรรม 33 วิธีราคาทุน 56 การโอน 57 การจําหน่าย 66 การเปิดเผยข้อมูล 74 วิธีมูลค่ายุติธรรมและวิธีราคาทุน 74 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 80 วิธีมูลค่ายุติธรรม 80 วิธีราคาทุน 83 การรวมธุรกิจ 84 ก การโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 84 ค วันถือปฏิบัติ 85 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 86

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 86 ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบาย การบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชีสําหรับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนและกําหนดการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ขอบเขต 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 4 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ถือปฏิบัติกับรายการทุกรายการดังต่อไปนี้ 4.1 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตร ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 เรื่อง เกษตรกรรม และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ) และ 4.2 สัมปทานเหมืองแร่และทรัพยากรแร่ เช่น นํ้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรที่ ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ซึ่งคล้ายคลึงกัน คํานิยาม 5 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ มูลค่าตามบัญชี หมายถึง จํานวนเงินของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบฐานะการเงิน ราคาทุน หมายถึง จํานวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่าย ไป หรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนอื่น ที่กิจการ มอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้สินทรัพย์ นั้นมา หรือ ณ เวลาที่ก่อสร้างสินทรัพย์นั้น หรือหาก เป็นไปได้ ให้รวมถึงจํานวนที่แบ่งมาเป็นราคาทุนของ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 สินทรัพย์ที่รับรู้เมื่อเริ่มแรกตามที่กําหนดไว้ใน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น เช่น มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง กำรจ่ายโดย ใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์ หรือจะจ่าย เพื่อโอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติ ระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า ( ดูมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัด มูลค่ายุติธรรม ) อสังหาริมทรัพย์เพื่อ การลงทุน หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ ( ที่ดิน หรืออาคาร หรือส่วนของ อาคาร ( ส่วนควบอาคาร ) หรือทั้งที่ดินและอาคาร ) ที่ถือครอง ( โดยเจ้าของหรือโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์ สิทธิการใช้ ) เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือ จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสอง อย่าง ทั้งนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อ 1) ใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ หรือ 2) ขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ อสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้ งานเอง หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครอง ( โดยเจ้าของ หรือโดย ผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ ) เพื่อใช้ในการผลิต หรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหาร งานของกิจการ การจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนหรืออสังหาริมทรัพย์ ที่เจ้าของใช้งานเอง 6 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 7 กิจการถือครองอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไว้เพื่อประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้น ของมูลค่าของสินทรัพย์หรือทั้งสองอย่าง ดังนั้นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจึงก่อให้เกิด กระแสเงินสดที่โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอิสระจากสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ของกิจการซึ่งทําให้ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต่างจากอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง ในขณะที่กระแสเงินสด จากการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการไม่ได้มาจาก

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 เฉพาะอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ยังมาจากสินทรัพย์อื่นที่ใช้ในกระบวนการผลิตหรือให้บริการด้วย ทั้งนี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ใช้ปฏิบัติกับอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง และมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ใช้ปฏิบัติกับอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งาน เอง ที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ 8 ตัวอย่างของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมีดังต่อไปนี้ 8.1 ที่ดินที่กิจการถือครองไว้เพื่อหวังกําไรจากการเพิ่มมูลค่าของที่ดินนั้นในระยะยาว มากกว่าถือครองไว้เพื่อขายในระยะสั้นตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของ กิจการ 8.2 ที่ดินที่กิจการถือครองไว้โดยที่ปัจจุบันยังมิได้ระบุวัตถุประสงค์ของการใช้ในอนาคต ( ถ้ากิจการยังมิได้ระบุว่าจะใช้ที่ดินนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง หรือ เพื่อขาย ในระยะสั้นตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ ให้ถือว่าที่ดิน นั้นถือไว้ เพื่อหาประโยชน์จากการเพิ่มมูลค่าของที่ดิน ) 8.3 อาคารที่กิจการเป็นเจ้าของ ( หรือสินทรัพย์สิทธิการใช้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารที่กิจการ ครอบครอง ) และให้เช่าต่อด้วยสัญญาเช่าดําเนินงาน ( ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งสัญญาหรือ มากกว่าหนึ่งสัญญา ) 8.4 อาคารที่ยังไม่มีผู้เช่าซึ่งกิจการถือครองเพื่อให้เช่าต่อภายใต้สัญญาเช่าดําเนินงานไม่ว่า จะเป็นหนึ่งสัญญาหรือมากกว่าหนึ่งสัญญาเช่า 8.5 อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างหรือพัฒนาเพื่อใช้เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อ การลงทุนในอนาคต 9 ตัวอย่างต่อไปนี้ไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ดังนั้น จึงไม่รวมอยู่ในขอบเขตของ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 9.1 อสังหาริมทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติหรืออยู่ ในขั้นตอนการก่อสร้างหรือพัฒนาเพื่อขาย ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้า คงเหลือ ) เช่น อสังหาริมทรัพย์ที่กิจการได้มาเพื่อจะจําหน่ายในอนาคตอันใกล้ หรือ เพื่อนํามาพัฒนาและขายต่อ 9.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 9.3 อสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 และมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16) รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่กิจการถือครองเพื่อใช้ภายใน กิจการในอนาคต อสังหาริมทรัพย์ที่กิจการถือครองเพื่อการพัฒนาในอนาคตและนํามาใช้ภายใน กิจการในเวลาต่อมา อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ประโยชน์โดยพนักงาน ( ไม่ว่าพนักงานจะจ่ายค่าเช่า ในอัตราตลาดหรือไม่ก็ตาม ) และอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเองรอการจําหน่าย 9.4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 9.5 อสังหาริมทรัพย์ที่ให้กิจการอื่นเช่าภายใต้สัญญาเช่าเงินทุน 10 อสังหาริมทรัพย์บางอย่างประกอบด้วยส่วนที่กิจการถือไว้เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่าหรือ จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ และส่วนที่กิจการถือครองเพื่อใช้ในการผลิตหรือจัดหา

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 สินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ ถ้าแต่ละส่วนสามารถแยกขาย ( หรือ แยกให้เช่าภายใต้สัญญาเช่าเงินทุน ) กิจการต้องปฏิบัติกับส่วนต่างๆ แยกจากกัน แต่ถ้าไม่ สามารถแยกส่วนขายได้ กิจการจะบันทึกอสังหาริมทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้ ต่อเมื่อสัดส่วนของอสังหาริมทรัพย์ที่กิจการถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือ ให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการนั้นไม่มีนัยสําคัญ 11 ในบางกรณี กิจการให้บริการเสริมอื่นๆ แก่ผู้ครอบครองสินทรัพย์ของกิจการ กิจการจัดประเภท อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้หากบริการเสริมนั้นเป็นส่วนประกอบ ที่ไม่มีนัยสําคัญในการจัดการโดยรวม เช่น การที่เจ้าของอาคารสํานักงานจัดให้มียามรักษา ความปลอดภัยและการบริการบํารุงรักษาให้แก่ผู้เช่าที่ใช้อาคารสํานักงานนั้น 12 ในกรณีอื่นๆ ซึ่งการบริการที่ให้ถือเป็นส่วนที่มีนัยสําคัญ ตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการเป็นเจ้าของและ เป็นผู้บริหารจัดการโรงแรม บริการต่างๆ ที่ให้กับแขกที่เข้าพักถือเป็นองค์ประกอบที่มีนัยสําคัญ ของการจัดการในภาพรวม ดังนั้น โรงแรมที่บริหารโดยเจ้าของถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งาน เองไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 13 ในบางกรณีอาจเป็นการยากที่จะระบุว่าบริการเสริมนั้นมีนัยสําคัญมากจนทําให้อสังหาริมทรัพย์ ขาดคุณสมบัติในการเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เช่น ในบางครั้งเจ้าของโรงแรมอาจโอน ความรับผิดชอบให้แก่บุคคลที่สามภายใต้สัญญาการจัดการ เงื่อนไขของสัญญาการจัดการนี้ อาจเป็นไปได้หลากหลายรูปแบบ ในด้านหนึ่ง เจ้าของกิจการอาจเป็นเพียงนักลงทุนประเภทรอรับ ผลตอบแทน แต่อีกด้านหนึ่ง เจ้าของนั้นอาจต้องการโอนภาระงานประจําวันให้แก่ผู้อื่น ในขณะที่ ยังคงไว้ซึ่งความเสี่ยงที่มีนัยสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดที่เกิดจากการดําเนินงาน ของโรงแรม 14 กิจการต้องใช้วิจารณญาณในการกําหนดว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการ ลงทุนหรือไม่ กิจการต้องกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อช่วยในการใช้วิจารณญาณได้อย่างสมํ่าเสมอ โดยให้ สอดคล้องกับคํานิยามของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน และแนวทางที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 7 ถึง 13 ย่อหน้าที่ 75.3 ระบุให้กิจการเปิดเผยหลักเกณฑ์ดังกล่าวเมื่อการจัดประเภทของสินทรัพย์นั้นทํา ได้ยาก 14 ก กิจการต้องใช้วิจารณญาณในการกําหนดว่าการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเป็นการได้มา ซึ่งสินทรัพย์หรือกลุ่มของสินทรัพย์หรือการรวมธุรกิจภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ กิจการควรอ้างอิงไปยัง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับ ที่ 3 เพื่อพิจารณาว่าเป็นการรวมธุรกิจหรือไม่ คําอธิบายในย่อหน้าที่ 7 ถึง 14 ของมาตรฐานการ บัญชีฉบับนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งาน เองหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน แต่ไม่ได้กําหนดว่าการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เป็นการรวม ธุรกิจตามที่ระบุในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 หรือไม่ การพิจารณาว่ารายการ ดังกล่าวนั้นเป็นไปตามคํานิยามของการรวมธุรกิจตามที่ได้ระบุในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 และรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามที่ระบุในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ต้องถือปฏิบัติตามแต่ละมาตรฐานการบัญชีแยกต่างหากจากกัน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 15 ในบางกรณี กิจการอาจเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าและถูกใช้งานโดยบริษัทใหญ่ หรือ บริษัทย่อยอื่นของกิจการ อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ในงบการเงินรวมของกิจการเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะสินทรัพย์เหล่านั้นจัดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ เจ้าของใช้งานเองในภาพรวมของกลุ่มกิจการ อย่างไรก็ตาม หากมองเฉพาะกิจการที่เป็นเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์อสังหาริมทรัพย์นั้นถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนถ้าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นไปตาม คํานิยามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 5 ดังนั้น ผู้ให้เช่าจึงบันทึกอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในงบการเงินเฉพาะของกิจการได้ การรับรู้รายการ 16 กิจการต้องรับรู้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่กิจการเป็นเจ้าของเป็นสินทรัพย์ เมื่อเป็นไปตาม เงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 16.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต จากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน และ 16.2 สามารถวัดราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ 17 ภายใต้หลักการรับรู้รายการ กิจการต้องประเมินราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ เวลาที่ต้นทุนเกิดขึ้น ต้นทุนดังกล่าวรวมถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรกที่ทําให้กิจการ ได้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมา และต้นทุนที่เกิดขึ้นภายหลังเพื่อต่อเติม เปลี่ยนแทน ( บางส่วน ) หรือให้บริการแก่อสังหาริมทรัพย์ 18 ภายใต้หลักการรับรู้รายการในย่อหน้าที่ 16 กิจการต้องไม่รับรู้ต้นทุนค่าบริการที่เกิดขึ้น ประจําวันเป็นมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน แต่รับรู้ต้นทุนเหล่านี้ในกําไร หรือขาดทุนในงวดที่เกิดขึ้น ต้นทุนค่าบริการที่เกิดขึ้นประจําวันหลักๆ คือค่าแรงงาน และต้นทุน ที่ใช้หมดไปและอาจรวมถึงต้นทุนค่าชิ้นส่วนชิ้นเล็กๆ ด้วยวัตถุประสงค์ของรายจ่ายเหล่านี้ บ่อยครั้งมักเป็นเรื่องของการซ่อมแซมและบํารุงรักษาอสังหาริมทรัพย์ 19 ชิ้นส่วนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนอาจได้มาโดยการเปลี่ยนแทน เช่น การเปลี่ยนผนัง ภายในเพื่อทดแทนผนังเดิม ภายใต้หลักการรับรู้รายการ กิจการต้องรับรู้ต้นทุนของการเปลี่ยนแทน ส่วนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนรวมอยู่ในมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนนั้น ณ เวลาที่ต้นทุนนั้นเกิดขึ้นหากเข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการ และกิจการต้อง เลิกรับรู้รายการชิ้นส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนด้วยมูลค่าตามบัญชีของชิ้นส่วนนั้นตามข้อกําหนดที่ เกี่ยวข้องกับการเลิกรับรู้รายการที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 19 ก กิจการต้องรับรู้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 การวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ 20 กิจการต้องวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่กิจการเป็นเจ้าของด้วย ราคาทุน ซึ่งรวมถึงต้นทุนในการทํารายการ 21 ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ได้มาโดยการซื้อ ประกอบด้วย ราคาซื้อ และรายจ่าย โดยตรงใดๆ ที่เกี่ยวกับการจัดหาสินทรัพย์ ตัวอย่างของรายจ่ายโดยตรงที่เกี่ยวกับการจัดหา สินทรัพย์ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมวิชาชีพสําหรับบริการทางกฎหมาย ค่าภาษีในการโอนสินทรัพย์ และต้นทุนในการทํารายการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 22 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 23 ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ไม่รวมรายการต่อไปนี้ 23.1 ต้นทุนก่อนการดําเนินงาน ( ยกเว้นรายจ่ายที่จําเป็นเพื่อทําให้อสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ใน สภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริหาร ) 23.2 ขาดทุนจากการดําเนินงานที่เกิดขึ้นก่อนที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจะมีผู้เข้า ครอบครองในระดับที่วางแผนไว้ หรือ 23.3 จํานวนสูญเสียที่เกินปกติจากวัตถุดิบ ค่าแรงงาน หรือจากทรัพยากรอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ในการก่อสร้างหรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 24 หากกิจการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนโดยการผ่อนชําระ กิจการต้องบันทึกราคาทุน ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยมูลค่าที่เทียบเท่าราคาเงินสด ผลต่างระหว่างราคา เทียบเท่าเงินสดและจํานวนเงินที่ต้องจ่ายชําระทั้งหมดให้รับรู้เป็นดอกเบี้ยจ่ายตลอดอายุของ การได้สินเชื่อ 25 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 26 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 27 กิจการอาจได้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนหนึ่งรายการ หรือมากกว่าหนึ่งรายการจาก การแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินรายการหนึ่งหรือหลายรายการ หรือสินทรัพย์ซึ่ง ประกอบด้วยสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินและสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน คําอธิบายต่อไปนี้อ้างอิงถึง การแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินกับสินทรัพย์อื่น และยังใช้ได้กับการแลกเปลี่ยน ทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงในประโยคข้างต้นด้วย ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต้อง วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม เว้นแต่เป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 27.1 การแลกเปลี่ยนนั้นไม่มีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ หรือ 27.2 กิจการไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้รับ และสินทรัพย์ที่ให้ไปใน การแลกเปลี่ยนได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องวัดมูลค่าของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยวิธีดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเลิกรับรู้รายการ สินทรัพย์ที่ใช้แลกเปลี่ยนได้ทันที หากสินทรัพย์ที่ได้มานั้นไม่สามารถวัดด้วยมูลค่ายุติธรรมได้ให้ วัดราคาทุนของสินทรัพย์ด้วยมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ให้ไปในการแลกเปลี่ยน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 28 ในการกําหนดว่ารายการแลกเปลี่ยนมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์หรือไม่ ให้กิจการพิจารณาจากขอบเขต ของกระแสเงินสดอนาคตที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากรายการดังกล่าว รายการแลกเปลี่ยนจะมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์หากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 28.1 ลักษณะ ( ความเสี่ยง จังหวะเวลา และจํานวนเงิน ) ของกระแสเงินสดที่ได้รับจาก สินทรัพย์แตกต่างจากลักษณะของกระแสเงินสดของสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยน หรือ 28.2 รายการแลกเปลี่ยนทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าเฉพาะกิจการในส่วนของการ ดําเนินงานที่ถูกกระทบจากการแลกเปลี่ยน และ 28.3 ความแตกต่างในย่อหน้าที่ 28.1 หรือ 28.2 มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับมูลค่ายุติธรรม ของสินทรัพย์ที่แลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาว่าการแลกเปลี่ยนใดเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ กิจการต้องพิจารณามูลค่าเฉพาะกิจการในส่วนของการดําเนินงาน ที่ถูกกระทบจากการแลกเปลี่ยน จากกระแสเงินสดหลังหักภาษี ผลของการวิเคราะห์ดังกล่าวอาจเห็นได้ชัดเจนโดยกิจการ ไม่จําเป็นต้องคํานวณอย่างละเอียด 29 ในการวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์จะถือว่ากิจการสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ หากเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 29.1 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในช่วงของการวัดมูลค่ายุติธรรมที่สมเหตุสมผล ของสินทรัพย์นั้น หรือ 29.2 สามารถประเมินความน่าจะเป็นของการวัดมูลค่ายุติธรรม ณ ระดับต่างๆ ในช่วงของประมาณ การได้อย่างสมเหตุสมผลเพื่อใช้ในการวัดมูลค่ายุติธรรม หากกิจการสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยน ได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องวัดมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยมูลค่ายุติธรรมของ สินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยน เว้นแต่กรณีที่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มานั้นมีหลักฐาน สนับสนุนที่ชัดเจนกว่า 29 ก กิจการต้องวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็น สินทรัพย์สิทธิการใช้ด้วยราคาทุนตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ นโยบายการบัญชี 30 ยกเว้นที่ได้กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 32 ก กิจการต้องใช้นโยบายการบัญชี โดยสามารถเลือกใช้วิธี มูลค่ายุติธรรมตามย่อหน้าที่ 33 ถึง 55 หรือวิธีราคาทุนตามย่อหน้าที่ 56 และต้องใช้ นโยบายการบัญชีนั้นกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดของกิจการ 31 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและ ข้อผิดพลาด ระบุว่ากิจการจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีโดยสมัครใจก็ต่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ทําให้ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 รายการ เหตุการณ์อื่น หรือสถานการณ์ของฐานะการเงิน ผลดําเนินงานการเงิน หรือกระแสเงินสด ของกิจการ ทั้งนี้มีความเป็นไปได้น้อยมากที่การเปลี่ยนแปลงจากวิธีมูลค่ายุติธรรมเป็นวิธีราคาทุน จะทําให้ข้อมูลที่นําเสนอมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากขึ้นกว่าเดิม 32 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้ทุกกิจการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุน ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ในการวัดมูลค่า ( หากกิจการเลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม ) หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูล ( หากกิจการเลือกใช้วิธีราคาทุน ) มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุน ( แต่ไม่ได้กําหนด ) ให้กิจการต้องวัดมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนโดยใช้ การประเมินมูลค่าจากผู้ประเมินราคาอิสระซึ่งมีคุณสมบัติทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและ ประสบการณ์ในการตีราคาในทําเลพื้นที่และในประเภทของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่เกี่ยวข้อง 32 ก กิจการอาจ 32 ก .1 เลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมหรือวิธีราคาทุนสําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ทั้งหมดที่นําไปเป็นหลักประกันหนี้สินซึ่งทําให้การจ่ายคืนหนี้สินนั้นขึ้นตรงกับ มูลค่ายุติธรรมหรือผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ระบุไว้ซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนดังกล่าว และ 32 ก .2 เลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม หรือวิธีราคาทุนสําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่เหลือทั้งหมด ซึ่งอาจแตกต่างจากวิธีที่เลือกใช้ในข้อ 32 ก .1 32 ข บางกิจการบริหารกองทุนเพื่อการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการภายในหรือภายนอก ที่ให้ผลประโยชน์ กับนักลงทุนตามหน่วยลงทุนในกองทุน ในทํานองเดียวกันบางกิจการออกสัญญาประกันภัยที่มี ลักษณะร่วมรับผลประโยชน์โดยตรงซึ่งรายการอ้างอิงรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เพื่อวัตถุประสงค์ของย่อหน้าที่ 32 ก ถึง 32 ข เท่านั้น สัญญาประกันภัยรวมถึงสัญญาลงทุนที่มี ลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ตามดุลพินิจ ย่อหน้าที่ 32 ก ไม่อนุญาตให้กิจการวัดค่า อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองโดยกองทุน ( หรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นรายการอ้างอิง ) ด้วยราคาทุน บางส่วนและมูลค่ายุติธรรมบางส่วน ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย สําหรับคําศัพท์ที่ใช้ในย่อหน้านี้ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับดังกล่าว ) 32 ค หากกิจการเลือกวิธีที่แตกต่างกันสําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนสองประเภทตามที่ได้ กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 32 ก การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนระหว่างกลุ่มสินทรัพย์ซึ่งใช้วิธี ที่แตกต่างกันต้องรับรู้ด้วยมูลค่ายุติธรรมและการเปลี่ยนแปลงสะสมของมูลค่ายุติธรรมต้องรับรู้ ในกําไรหรือขาดทุน หากเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจากกลุ่มที่ใช้วิธีมูลค่า ยุติธรรมมายังกลุ่มที่ใช้วิธีราคาทุน มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ ณ วันที่ขาย ถือเป็นราคาทุน ของอสังหาริมทรัพย์นั้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 วิธีมูลค่ายุติธรรม 33 หลังจากรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกแล้ว กิจการที่เลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมต้องวัดมูลค่าของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดด้วยมูลค่ายุติธรรม ยกเว้นในกรณีที่กําหนดไว้ ในย่อหน้าที่ 53 34 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 35 กิจการต้องรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่เกิดขึ้น 36–39 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 40 ในการวัดมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 กิจการต้องแน่ใจว่ามูลค่ายุติธรรมนั้นสะท้อนถึงรายได้ค่าเช่าจากสัญญาเช่าในปัจจุบัน และข้อสมมติอื่นซึ่งผู้ร่วมตลาดนํามาใช้ในการกําหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนภายใต้ สถานการณ์ตลาดปัจจุบัน 40 ก เมื่อผู้เช่าใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมในการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือครองเป็น สินทรัพย์สิทธิการใช้ กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์สิทธิการใช้ดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม ไม่ใช่วัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์อ้างอิง 41 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ได้ระบุหลักเกณฑ์ในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของ ราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ ย่อหน้าที่ 33 กําหนดให้กิจการต้องวัดมูลค่าใหม่ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือครอง โดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ให้เป็นมูลค่ายุติธรรม ( ถ้าจําเป็น ) หากกิจการเลือกใช้วิธีมูลค่า ยุติธรรม เมื่อการจ่ายชําระตามสัญญาเช่าที่อัตราตลาด มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ ณ วันที่ได้สินทรัพย์มาสุทธิ ด้วยการจ่ายชําระตามสัญญาเช่าทั้งสิ้นที่คาดไว้ ( รวมทั้งรายจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินตาม สัญญาเช่าที่รับรู้ ) ต้องมีค่าเท่ากับศูนย์ ดังนั้น การวัดมูลค่าใหม่ของสินทรัพย์สิทธิการใช้ จากราคาทุนตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เป็นมูลค่ายุติธรรมตามที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 33 ( โดยคํานึงถึงข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 50) ต้องไม่ทําให้เกิดผลกําไรหรือ ผลขาดทุนเริ่มแรก ยกเว้นมูลค่ายุติธรรมนี้มีการวัดมูลค่า ณ เวลาที่ต่างกันไป กรณีดังกล่าวอาจ เกิดขึ้นเมื่อการเลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมเกิดขึ้นภายหลังจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก 42–47 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 48 ในกรณียกเว้นซึ่งมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่เมื่อกิจการเริ่มได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ( หรือเมื่ออสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่เดิมได้เปลี่ยนสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนหลังจาก ที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้งานของสินทรัพย์ ) โดยหลักฐานนั้นชี้ชัดว่าความผันแปร ในช่วงของการวัดมูลค่ายุติธรรมที่สมเหตุสมผลนั้นกว้างมาก และเป็นการยากที่จะประมาณ ความน่าจะเป็นของประมาณการดังกล่าว จนทําให้ประโยชน์ในการใช้ตัวเลขของการวัดมูลค่า

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 ยุติธรรมเพียงค่าเดียวนั้นมีน้อยมาก กรณีเช่นนี้อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่ามูลค่ายุติธรรมของ อสังหาริมทรัพย์นั้นไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือและอย่างต่อเนื่อง ( ดูย่อหน้าที่ 53) 49 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 50 ในการกําหนดมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนภายใต้วิธีมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องไม่รับรู้สินทรัพย์หรือหนี้สินที่ถูกรับรู้ไว้ในงบฐานะการเงินแล้วซํ้าอีก เช่น 50.1 อุปกรณ์ เช่น ลิฟต์ หรือเครื่องปรับอากาศมักเป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของอาคาร และ โดยทั่วไปจะรวมอยู่ในมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมากกว่าจะ แยกรับรู้ต่างหากเป็นรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 50.2 หากให้เช่าสํานักงานที่ตกแต่งพร้อมเฟอร์นิเจอร์แล้ว โดยทั่วไปมูลค่ายุติธรรมของ สํานักงานจะรวมมูลค่ายุติธรรมของเฟอร์นิเจอร์ไว้แล้วเนื่องจากรายได้ค่าเช่าได้รวมถึง การใช้เฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวด้วย เมื่อเฟอร์นิเจอร์ได้รวมอยู่ในมูลค่ายุติธรรมของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนแล้ว กิจการต้องไม่รับรู้รายการเฟอร์นิเจอร์เป็น สินทรัพย์ที่แยกต่างหาก 50.3 มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต้องไม่รวมรายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า หรือรายได้ค่าเช่าจากสัญญาเช่าดําเนินงานค้างรับ เนื่องจากกิจการรับรู้รายการดังกล่าว เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินแยกต่างหาก 50.4 มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิ การใช้สะท้อนถึงกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับหรือจะต้องจ่าย ( รวมถึงการจ่ายชําระ ค่าเช่าผันแปรซึ่งกิจการต้องจ่ายในอนาคต ) ดังนั้นหากการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ ได้เป็นมูลค่าสุทธิจากจํานวนเงินทั้งหมดที่คาดว่าจะต้องจ่าย จึงจําเป็นที่จะต้อง บวกกลับหนี้สินจากสัญญาเช่าที่ได้รับรู้เพื่อให้ได้มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนภายใต้วิธีมูลค่ายุติธรรม 51 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 52 ในบางกรณี กิจการคาดได้ว่ามูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่จะต้องจ่ายซึ่งเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุน ( นอกเหนือจากรายจ่ายที่เกี่ยวกับหนี้สินที่รับรู้แล้ว ) สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของ เงินสดที่จะได้รับในอนาคต กิจการต้องใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการ หนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ในการพิจารณาว่าควรรับรู้รายการหนี้สิน หรือไม่ และหากต้องรับรู้รายการหนี้สินจะวัดมูลค่าหนี้สินอย่างไร กรณีไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ 53 ข้อสันนิษฐานที่สามารถโต้แย้งได้อย่างหนึ่งคือกิจการจะสามารถวัดมูลค่ายุติธรรม ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ในกรณียกเว้น ซึ่งมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า เมื่อกิจการเริ่มได้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมา ( หรือเมื่อ อสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่เดิมได้เปลี่ยนสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนหลังจากที่ได้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้งานของสินทรัพย์ ) กิจการไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรม ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อรายการซื้อขายทางการตลาดที่เทียบเคียงได้ไม่เกิดขึ้นบ่อย ( เช่น มีรายการ เกิดขึ้นน้อยและราคาเสนอซื้อไม่เป็นปัจจุบันหรือราคาของรายการซื้อขายที่สามารถ สังเกตได้บ่งชี้ว่าผู้ขายถูกบังคับขาย ) และการวัดมูลค่ายุติธรรมด้วยวิธีอื่น ( เช่น การประมาณการ โดยใช้ประมาณการกระแสเงินสดคิดลด ) ไม่สามารถจัดทําได้ หากกิจการกําหนดว่ามูลค่า ยุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างนั้นไม่สามารถ วัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ แต่กิจการคาดว่าจะสามารถประมาณมูลค่ายุติธรรมได้อย่าง น่าเชื่อถือเมื่อการก่อสร้างนั้นเสร็จสิ้น กิจการต้องวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างนั้นด้วยวิธีราคาทุน จนกระทั่งสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่าง น่าเชื่อถือ หรือเมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น ( แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดก่อน ) หากกิจการ กําหนดว่ามูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ( นอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการการลงทุนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ) ไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือและ ต่อเนื่อง กิจการต้องวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์โดยใช้วิธีราคาทุนที่กําหนดให้ถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 สําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่กิจการเป็นเจ้าของ หรือตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 สําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ โดยสมมติให้มูลค่าคงเหลือของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนเท่ากับศูนย์ กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 หรือ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ต่อไปจนกว่าจะมีการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนนั้น 53 ก เมื่อใดที่กิจการเริ่มสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่อยู่ในระหว่าง การก่อสร้างที่แต่ก่อนกิจการวัดมูลค่าที่ราคาทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างนั้นด้วยมูลค่ายุติธรรม เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นให้ถือ ว่ามูลค่ายุติธรรมสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ในกรณีที่มูลค่ายุติธรรมไม่สามารถวัดมูลค่า ได้อย่างน่าเชื่อถือตามเหตุผลที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 53 กิจการต้องวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนดังกล่าวด้วยวิธีราคาทุนตามแนวทางที่กําหนดให้ถือปฏิบัติในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 สําหรับสินทรัพย์ที่กิจการเป็นเจ้าของ หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 สําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ 53 ข ข้อสันนิษฐานที่ว่ามูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือนั้นจะสามารถโต้แย้งได้ในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกเท่านั้น การที่กิจการวัดมูลค่ายุติธรรมของรายการใดรายการหนึ่งของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่อยู่ใน ระหว่างการก่อสร้างได้ อาจไม่สามารถสรุปได้ว่ามูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ สร้างเสร็จสิ้นแล้วไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ 54 ในกรณียกเว้นตามเหตุผลที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 53 กิจการต้องใช้วิธีราคาทุนในการวัดมูลค่า อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามแนวทางที่กําหนดให้ถือปฏิบัติในมาตรฐานการบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 ฉบับที่ 16 หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 แล้ว กิจการยังคงต้องวัดมูลค่า อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนอื่นด้วยมูลค่ายุติธรรม รวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่อยู่ใน ระหว่างก่อสร้าง ในกรณีดังกล่าว แม้ว่ากิจการอาจใช้วิธีราคาทุนสําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการ ลงทุนหนึ่งรายการ กิจการยังคงต้องใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมสําหรับอสังหาริมทรัพย์รายการที่เหลือ อื่นๆ ต่อไป 55 หากกิจการใช้วิธีวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยมูลค่ายุติธรรมแล้ว กิจการต้อง ใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมในการวัดมูลค่าอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีการจําหน่าย ( หรือจนกระทั่ง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นกลายมาเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง หรือ กิจการเริ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติใน ภายหลัง ) แม้ว่ารายการในตลาดที่เทียบเคียงกันได้จะเกิดขึ้นน้อยลงหรือหาราคาตลาดได้ยาก ขึ้นก็ตาม วิธีราคาทุน 56 หลังจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการที่เลือกใช้วิธีราคาทุนต้องวัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุน 56.1 ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้ เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก หากเข้าเงื่อนไขการจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ ที่ถือไว้เพื่อขาย ( หรือรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จําหน่ายซึ่งจัดประเภทเป็นถือไว้ เพื่อขาย ) 56.2 ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 หากถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์ สิทธิการใช้ และไม่ได้เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 5 และ 56.3 ตามแนวทางที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ในเรื่องวิธีราคาทุน สําหรับ ในกรณีอื่นๆ ทั้งหมด การโอน 57 กิจการต้องโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไปยังบัญชีอื่นๆ หรือโอนจากบัญชีอื่นๆ มาเป็น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานของอสังหาริมทรัพย์ นั้น การเปลี่ยนแปลงในการใช้งานเกิดขึ้นเมื่ออสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นไปตามคํานิยามหรือ สิ้นสุดการเป็นไปตามคํานิยามของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนและมีหลักฐานของการ เปลี่ยนแปลงการใช้งาน การเปลี่ยนแปลงความตั้งใจของฝ่ายบริหารแต่เพียงอย่างเดียว สําหรับการใช้ของอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ให้หลักฐานสําหรับการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน ตัวอย่างของหลักฐานของการเปลี่ยนแปลงรวมถึง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 57.1 เริ่มมีการใช้งานอสังหาริมทรัพย์ภายในกิจการเองหรือการพัฒนาของอสังหาริมทรัพย์ ภายในกิจการเอง ทําให้มีการโอนจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไปเป็น อสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง 57.2 เริ่มมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อมีไว้ขาย ทําให้มีการโอนจากอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนไปเป็นสินค้าคงเหลือ 57.3 สิ้นสุดการใช้งานอสังหาริมทรัพย์ภายในกิจการเอง ทําให้มีการโอนจากอสังหาริมทรัพย์ ที่เจ้าของใช้งานเองไปเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน และ 57.4 เริ่มสัญญาเช่าแบบดําเนินงานกับกิจการอื่น ทําให้มีการโอนจากสินค้าคงเหลือไป เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 57.5 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 58 เมื่อกิจการตัดสินใจที่จะจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนโดยไม่มีการพัฒนาให้กิจการถือ ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต่อไปจนกว่าจะมีการเลิกรับรู้รายการ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ( ออกจากงบฐานะการเงิน ) และไม่จัดประเภทอสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าวเป็นสินค้าคงเหลือ ในทํานองเดียวกัน หากกิจการมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการ ลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต่อใน อนาคต ให้กิจการถือว่าสินทรัพย์นั้นยังคงเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนและไม่จัดประเภท รายการใหม่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเองในระหว่างที่มีการพัฒนาใหม่ 59 ย่อหน้าที่ 60 ถึง 65 ใช้กับการรับรู้รายการและวัดมูลค่าในกรณีที่กิจการเลือกใช้วิธีมูลค่า ยุติธรรมสําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หากกิจการเลือกใช้วิธีราคาทุน การโอนระหว่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเองและสินค้าคงเหลือจะไม่ทําให้ มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงและจะไม่ทําให้ราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์ ที่ใช้ในการวัดมูลค่าหรือการเปิดเผยข้อมูลเปลี่ยนแปลง 60 ในการโอนจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่บันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมไปเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่เจ้าของใช้งานเองหรือสินค้าคงเหลือ ต้องใช้มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการ ใช้งานเป็นราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์ที่จะบันทึกตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 61 หากอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเองได้เปลี่ยนมาเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ซึ่งบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 สําหรับ อสังหาริมทรัพย์ที่กิจการเป็นเจ้าของ และตามมาตรฐานการายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 สําหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ จนถึงวันที่มี การเปลี่ยนแปลงการใช้งาน กิจการต้องปฏิบัติกับผลต่างที่เกิดขึ้น ณ วันนั้น ระหว่างมูลค่า ตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 หรือมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 กับมูลค่ายุติธรรมด้วยวิธีการเดียวกับการตีราคาใหม่ ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 62 กิจการต้องคิดค่าเสื่อมราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง ( หรือสินทรัพย์สิทธิการใช้ ) และรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์จนถึงวันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นได้เปลี่ยนมาเป็น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน กิจการต้องปฏิบัติต่อผลต่างที่เกิดขึ้น ณ วันนั้นระหว่างมูลค่าตาม บัญชีของอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 กับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์นั้นด้วยวิธีการเดียวกันกับการตีราคาใหม่ตามที่กําหนด ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 กล่าวคือ 62.1 กรณีมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ลดลงให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์นั้นเคยมีการตีราคาเพิ่มขึ้นและมียอดคงค้างอยู่ในบัญชี “ ส่วนเกินทุน จากการตีราคาสินทรัพย์ ” ในส่วนของเจ้าของ ส่วนที่ลดลงต้องรับรู้ในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น และต้องนําไปลดส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในส่วนของเจ้าของ 62.2 กรณีมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ให้รับรู้ดังนี้ 62.2.1 หากมูลค่าตามบัญชีที่เพิ่มขึ้นเป็นการกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่า ของสินทรัพย์ที่เคยบันทึกไว้ จํานวนที่เพิ่มขึ้นให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน สําหรับงวด จํานวนที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนสําหรับงวดต้องไม่เกินกว่า จํานวนที่ทําให้มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์กลับไปเท่ากับมูลค่าที่ควร จะเป็น ( สุทธิจากค่าเสื่อมราคา ) หากไม่เคยมีการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่า ของสินทรัพย์มาก่อน 62.2.2 ส่วนที่เพิ่มขึ้นที่คงเหลือจากข้อ 62.2.1 ให้รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และเพิ่มส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในส่วนของเจ้าของ หากมีการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในเวลาต่อมา ให้โอน ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไปยังกําไรสะสม การโอนส่วนเกินทุน จากการตีราคาสินทรัพย์จะไม่ทําผ่านกําไรหรือขาดทุน 63 การโอนจากสินค้าคงเหลือไปเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่จะบันทึกด้วยมูลค่า ยุติธรรม กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ ณ วันที่โอน กับมูลค่าตามบัญชีก่อนการโอนในกําไรหรือขาดทุนสําหรับงวด 64 วิธีปฏิบัติในการโอนจากสินค้าคงเหลือไปเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่จะบันทึกด้วย มูลค่ายุติธรรมถือว่ามีความสมํ่าเสมอกับวิธีปฏิบัติในการขายสินค้าคงเหลือ 65 เมื่อกิจการเสร็จสิ้นการก่อสร้างหรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่สร้างขึ้นเอง ที่จะบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ ณ วันเสร็จสิ้น กับมูลค่าตามบัญชีก่อนหน้านั้นในกําไรหรือขาดทุนสําหรับงวด

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 การจําหน่าย 66 กิจการต้องเลิกรับรู้รายการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ( ออกจากงบฐานะการเงิน ) เมื่อกิจการจําหน่ายหรือเลิกใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นอย่างถาวร และคาดว่าจะ ไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการจําหน่ายอีก 67 การจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนอาจเกิดจากการขายหรือการทําสัญญาเช่าเงินทุน ในการกําหนดวันที่ถือเป็นวันจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจากการขายคือวันที่ผู้รับมี อํานาจควบคุมในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเป็นไปตามข้อกําหนดในการพิจารณาภาระ ที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 นอกจากนี้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ใช้ได้กับการจําหน่ายโดยการทําสัญญาเช่าเงินทุน และการ ขายและเช่ากลับคืน 68 ตามหลักการรับรู้รายการในย่อหน้าที่ 16 หากกิจการรับรู้ต้นทุนของการเปลี่ยนแทนส่วนของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ กิจการต้องเลิกรับรู้มูลค่าตาม บัญชีของส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนออก ในกรณีที่กิจการปฏิบัติกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนโดย ใช้วิธีราคาทุน ส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนอาจไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาแยกต่างหาก หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถหามูลค่าตามบัญชีเฉพาะของส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทน กิจการอาจใช้ต้นทุนของ การเปลี่ยนแทนเป็นตัวบ่งชี้ถึงต้นทุนของส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทน ณ เวลาที่กิจการได้มาหรือสร้าง สินทรัพย์นั้น ตามวิธีมูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน อาจสะท้อนถึงการลดมูลค่าของส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนนั้นแล้ว ในกรณีอื่นๆ อาจเป็นไปได้ยาก ที่จะประเมินว่ามูลค่ายุติธรรมที่ควรลดลงเนื่องจากส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนเป็นเท่าใด กรณีที่ยาก ในการปฏิบัติ ทางเลือกหนึ่งสําหรับการลดลงของมูลค่ายุติธรรมอันเนื่องมาจากชิ้นส่วน ที่ถูกเปลี่ยนแทน คือให้รวมต้นทุนของการเปลี่ยนแทนไว้ในมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ จากนั้น จึงทําการประเมินมูลค่ายุติธรรมใหม่ตามที่กําหนดไว้สําหรับกรณีการต่อเติมที่ไม่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแทน 69 ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเลิกใช้หรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ต้องพิจารณาจากผลต่างระหว่างจํานวนเงินที่ได้รับสุทธิจากการจําหน่ายกับมูลค่าตามบัญชี ของสินทรัพย์นั้นและต้องรับรู้กําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่เลิกใช้หรือจําหน่าย สินทรัพย์นั้น ( เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ได้กําหนดเกี่ยวกับ การขายและเช่ากลับคืนไว้เป็นอย่างอื่น ) 70 จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ได้รวมอยู่ในผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเลิกรับรู้รายการ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจะกําหนดขึ้นตามข้อกําหนดในการกําหนดราคาของรายการใน ย่อหน้าที่ 47 ถึง 72 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ภายหลังในจํานวนเงินที่ประมาณการของสิ่งตอบแทนที่ได้รวมอยู่ในผลกําไรหรือขาดทุนต้อง กําหนดขึ้นตามข้อกําหนดของการเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 15

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 71 กิจการต้องปฏิบัติมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 หรือมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นๆ ที่เหมาะสม สําหรับหนี้สินที่กิจการยังคงมีพันธะผูกพันอยู่หลังจากที่ได้จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการ ลงทุนไปแล้ว 72 ค่าชดเชยที่ได้รับจากบุคคลที่สามสําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ด้อยค่า สูญเสีย หรือยกเลิก ต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อกิจการมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยนั้น 73 การด้อยค่าหรือผลขาดทุนจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน การขอเงินคืนหรือการจ่ายเงิน ค่าชดเชยจากบุคคลที่สาม และการซื้อที่เกิดขึ้นภายหลังหรือการก่อสร้างสินทรัพย์เพื่อเปลี่ยนแทน เป็นเหตุการณ์เชิงเศรษฐกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกัน และต้องปฏิบัติโดยแยกจากกันดังต่อไปนี้ 73.1 การด้อยค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน รับรู้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 73.2 การเลิกใช้หรือการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน รับรู้ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 66 ถึง 71 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 73.3 ค่าชดเชยจากบุคคลที่สามสําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ด้อยค่า สูญเสีย หรือยกเลิก ให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อกิจการมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยนั้น 73.4 ต้นทุนของสินทรัพย์ที่ฟื้นฟู ซื้อ หรือก่อสร้างเพื่อเปลี่ยนแทน ให้ปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 20 ถึง 29 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ การเปิดเผยข้อมูล วิธีมูลค่ายุติธรรมและวิธีราคาทุน 74 การเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้กําหนดเพิ่มเติมจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต้อง เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาเช่าด้านผู้ให้เช่า ผู้เช่าซึ่งครอบครองอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านผู้เช่าตามที่กําหนดโดยมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 16 และเปิดเผยข้อมูลด้านผู้ให้เช่าตามที่กําหนดโดยมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 16 สําหรับสัญญาเช่าดําเนินงาน 75 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 75.1 กิจการใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมหรือวิธีราคาทุน 75.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 75.3 หากการจัดประเภททําได้ยาก ( ดูย่อหน้าที่ 14) เกณฑ์ที่กิจการใช้ในการแยก อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง และ เกณฑ์ ในการแยกออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบ ธุรกิจตามปกติ 75.4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 75.5 ระดับที่มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ( ซึ่งได้มีการวัดมูลค่า หรือเปิดเผยข้อมูลไว้ในงบการเงิน ) ได้มีการประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ ซึ่งมีคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพและมีประสบการณ์ในทําเลที่ตั้งและประเภท ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่มีการประเมินนั้น หากไม่มีการประเมินดังกล่าว กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงไว้ด้วย 75.6 จํานวนที่ได้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนสําหรับ 75.6.1 รายได้ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 75.6.2 ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานทางตรง ( รวมทั้งค่าซ่อมแซมและค่าบํารุง รักษา ) ที่เกิดจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนซึ่งก่อให้เกิดรายได้ ค่าเช่าสําหรับรอบระยะเวลา 75.6.3 ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานทางตรง ( รวมทั้งค่าซ่อมแซมและบํารุงรักษา ) ที่เกิดจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ค่าเช่า สําหรับรอบระยะเวลา และ 75.6.4 การเปลี่ยนแปลงสะสมในมูลค่ายุติธรรมที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนจาก การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจากกลุ่มที่ใช้วิธีราคาทุนมายัง กลุ่มที่ใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม ( ดูย่อหน้าที่ 32 ค ) 75.7 ข้อจํากัดที่มีและจํานวนที่มีข้อจํากัดในการรับรู้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนหรือ การโอนรายได้และเงินที่ได้รับจากการจําหน่าย 75.8 ภาระผูกพันตามสัญญาในการซื้อ ก่อสร้าง หรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อ การลงทุนหรือในการซ่อมแซม บํารุงรักษา หรือทําให้ดีขึ้น วิธีมูลค่ายุติธรรม 76 นอกเหนือจากการเปิดเผยตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 75 แล้ว กิจการที่ใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 33 ถึง 55 ต้องเปิดเผยข้อมูลในการกระทบยอดระหว่างมูลค่าตามบัญชี ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันเริ่มต้นกับวันสิ้นรอบระยะเวลาโดยแสดงถึงรายการ ดังต่อไปนี้ 76.1 ส่วนเพิ่มโดยแสดงแยกกันระหว่างส่วนเพิ่มที่เกิดจากการซื้อ และส่วนเพิ่มที่เป็นผล มาจากการรวมรายจ่ายในภายหลังเข้าเป็นมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ 76.2 ส่วนเพิ่มที่เป็นผลมาจากการรวมธุรกิจ 76.3 สินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขาย หรือรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จําหน่าย ซึ่งจัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขาย ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 และ การจําหน่ายอื่นๆ 76.4 ผลกําไรหรือผลขาดทุนสุทธิจากการปรับมูลค่าให้เป็นมูลค่ายุติธรรม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 76.5 ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิที่เกิดจากการแปลงค่างบการเงินไปเป็นสกุลเงิน ที่นําเสนอรายงานที่แตกต่างออกไป และจากการแปลงค่างบการเงินของหน่วยงาน ในต่างประเทศมาเป็นสกุลเงินของหน่วยงานที่เสนอรายงาน 76.6 การโอนไปหรือโอนจากสินค้าคงเหลือหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเอง และ 76.7 การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ 77 เมื่อการวัดมูลค่าที่ได้สําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมีการปรับปรุงอย่างมีนัยสําคัญ เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของงบการเงิน เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงการนับซํ้าสินทรัพย์หรือ หนี้สินที่ได้รับรู้แล้วเป็นสินทรัพย์และหนี้สินต่างหากตามที่ได้กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 50 กิจการต้องเปิดเผยการกระทบยอดระหว่างการวัดมูลค่าที่ได้กับการวัดมูลค่าที่ปรับปรุงแล้ว ซึ่งรวมอยู่ในงบการเงิน โดยแยกแสดงยอดรวมของตามสัญญาเช่าที่รับรู้ซึ่งมีการบวกกลับ และยอดปรับปรุงที่มีนัยสําคัญอื่นๆ 78 ในกรณียกเว้นที่อ้างถึงในย่อหน้าที่ 53 เมื่อกิจการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน โดยใช้ราคาทุนตามที่ระบุในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 หรือตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 16 การกระทบยอดที่ระบุในย่อหน้าที่ 76 ต้องเปิดเผยจํานวนที่เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นแยกต่างหากจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนอื่น นอกจากนี้กิจการต้องเปิดเผยทุกข้อดังต่อไปนี้ 78.1 รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 78.2 คําอธิบายถึงสาเหตุที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ 78.3 ประมาณการช่วงของมูลค่ายุติธรรมที่มีความเป็นไปได้สูง ( หากสามารถหาได้ ) และ 78.4 เมื่อมีการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ไม่ได้บันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม 78.4.1 ข้อเท็จจริงที่ว่ากิจการได้จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ไม่ได้ บันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม 78.4.2 มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันที่จําหน่าย และ 78.4.3 จํานวนผลกําไรหรือขาดทุนที่ได้รับรู้ วิธีราคาทุน 79 นอกจากการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 75 แล้ว กิจการที่ใช้วิธีราคาทุน ตามย่อหน้าที่ 56 ต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 79.1 วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาที่ใช้ 79.2 อายุการใช้ประโยชน์หรืออัตราค่าเสื่อมราคาที่ใช้ 79.3 มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักและค่าเสื่อมราคาสะสม ( รวมกับผลขาดทุนจาก การด้อยค่าของสินทรัพย์สะสม ) ณ วันเริ่มต้นและวันสิ้นรอบระยะเวลา

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 79.4 การกระทบยอดระหว่างมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันเริ่มต้นกับวันสิ้นรอบระยะเวลาโดยแสดงถึงรายการดังต่อไปนี้ 79.4.1 ส่วนเพิ่มโดยแสดงแยกกันระหว่างส่วนเพิ่มที่เป็นผลมาจากการซื้อ กับส่วนเพิ่มที่เป็นผลมาจากการรวมรายจ่ายในภายหลังเข้าเป็นต้นทุน ของสินทรัพย์ 79.4.2 ส่วนเพิ่มที่เป็นผลมาจากการรวมธุรกิจ 79.4.3 สินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขาย หรือรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ ที่จําหน่ายซึ่งจัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 5 และการจําหน่ายอื่นๆ 79.4.4 ค่าเสื่อมราคา 79.4.5 ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่รับรู้และจํานวนผลขาดทุนจาก การด้อยค่าของสินทรัพย์ที่กลับรายการในระหว่างรอบระยะเวลาตาม ข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 79.4.6 ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิที่เกิดจากการแปลงค่างบการเงินไป เป็นสกุลเงินที่นําเสนอรายงานที่แตกต่างออกไป และจากการแปลงค่า งบการเงินของหน่วยงานต่างประเทศมาเป็นสกุลเงินของหน่วยงาน ที่เสนอรายงาน 79.4.7 การโอนไปหรือโอนจากสินค้าคงเหลือหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งาน เอง และ 79.4.8 การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ 79.5 มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ในกรณียกเว้นตามที่กําหนดไว้ ในย่อหน้าที่ 53 เมื่อกิจการไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 79.5.1 รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 79.5.2 คําอธิบายถึงสาเหตุที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ และ 79.5.3 ประมาณการช่วงของมูลค่ายุติธรรมที่มีความเป็นไปได้สูง ( หากสามารถ หาได้ ) การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน วิธีมูลค่ายุติธรรม 80 กิจการที่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นครั้งแรก โดยได้เลือกจัดประเภทและปฏิบัติกับ ส่วนได้เสียในอสังหาริมทรัพย์บางรายการหรือทุกรายการตามสัญญาเช่าดําเนินงานเป็น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ต้องรับรู้ผลกระทบของการเลือกนั้นเป็นการปรับปรุงใน กําไรสะสมยกมาสําหรับรอบระยะเวลาที่กิจการได้เลือกวิธีการบัญชีนี้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ 80.1 หากกิจการได้เคยเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมต่อสาธารณะ ( ไม่ว่าจะเปิดเผยใน งบการเงินหรือที่ใดก็ตาม ) มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนใน รอบระยะเวลาก่อนหน้านั้น ( ซึ่งการวัดมูลค่ายุติธรรมเป็นไปตามคํานิยามที่ กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13) กิจการอาจปฏิบัติดังนี้ 80.1.1 ปรับปรุงกําไรสะสมยกมาในรอบระยะเวลาแรกสุดที่ได้มีการเปิดเผย มูลค่ายุติธรรมนั้นต่อสาธารณะ และ 80.1.2 ทําการปรับปรุงย้อนหลังข้อมูลเปรียบเทียบสําหรับรอบระยะเวลา ดังกล่าว และ 80.2 หากกิจการไม่เคยเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้าที่ 80.1 ต่อสาธารณะ กิจการต้อง ไม่ปรับปรุงย้อนหลังข้อมูลเปรียบเทียบและต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงนี้ไว้ 81 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดวิธีปฏิบัติที่แตกต่างจากข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กําหนดให้ปรับปรุงย้อนหลังข้อมูลเปรียบเทียบเว้นแต่จะทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ 82 เมื่อกิจการเริ่มปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นครั้งแรก การปรับปรุงกําไรสะสมยกมา ให้รวมถึงการจัดประเภทใหม่ของส่วนเกินทุนจากการตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วย วิธีราคาทุน 83 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 สําหรับผลกระทบจากการเปลี่ยนนโยบาย การบัญชีเมื่อกิจการเริ่มใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นครั้งแรกและเลือกใช้วิธีราคาทุน โดยให้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และให้รวมถึง การจัดประเภทใหม่ของส่วนเกิน ทุนจากการตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเพิ่มด้วย 84 ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 27 ถึง 29 เกี่ยวกับการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนที่ได้มาโดยการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ ให้ถือเป็นการเปลี่ยนทันทีเฉพาะรายการ ในอนาคต การรวมธุรกิจ 84 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ( ปรับปรุง 2558) ได้มีการเพิ่มย่อหน้าที่ 14 ก และ เพิ่มหัวข้อก่อนย่อหน้าที่ 6 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยใช้วิธี เปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป สําหรับการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตั้งแต่วันเริ่มต้น ของรอบระยะเวลาแรกสุดที่ถือปฏิบัติตามการงแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ดังนั้น กิจการ ต้องไม่ปรับปรุงการบัญชีสําหรับการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในรอบระยะเวลา ก่อน อย่างไรก็ตาม กิจการอาจเลือกถือปฏิบัติการแก้ไขเพิ่มเติมสําหรับการได้มาซึ่ง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนแต่ละรายการที่เกิดขึ้นก่อนวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลา ประจําปีแรกสุดที่เริ่มในหรือหลังวันที่มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีผลบังคับใช้ได้ก็ต่อเมื่อ กิจการมีข้อมูลที่ต้องใช้ในการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรายการ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเหล่านั้น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 84 ข กิจการที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 และการแก้ไขเพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นครั้งแรก ต้องถือปฏิบัติตามการปฏิบัติในช่วง เปลี่ยนผ่านที่กําหนดไว้ในภาคผนวก ค ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 กับอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 84 ค การโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40) ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนธันวาคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 57 และ 58 กิจการ ต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับการเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่เกิดขึ้นในหรือ หลังจากการเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่กิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมเป็น ครั้งแรก ( วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน ) ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน กิจการต้องประเมินการจัดประเภท ของอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองใหม่ ณ วันนั้น และ ( หากเหมาะสม ) ต้องจัดประเภทรายการใหม่ สําหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นตามการถือปฏิบัติในย่อหน้าที่ 7 ถึง 14 เพื่อให้สะท้อนเงื่อนไขที่มีอยู่ ณ วันนั้น 84 ง แม้ว่าจะมีข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 84 ค กิจการได้รับอนุญาตให้ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ในย่อหน้าที่ 57 ถึง 58 โดยวิธีปรับย้อนหลังตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ก็ต่อเมื่อ มีความเป็นไปได้โดยไม่ใช้ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว 84 จ หากกิจการจัดประเภทรายการใหม่สําหรับอสังหาริมทรัพย์ ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน ตามย่อหน้าที่ 84 ค กิจการต้อง 84 จ .1 ปฏิบัติสําหรับการจัดประเภทรายการใหม่ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 59 ถึง 64 ในการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 59 ถึง 64 กิจการต้อง 84 จ .1.1 อ่านรายการที่อ้างอิงใดๆ กับวันที่เปลี่ยนแปลงการใช้งาน ณ วันที่เริ่มต้นใช้ มาตรฐาน และ 84 จ .1.2 รับรู้จํานวนเงินใดๆ เป็นไปตามย่อหน้าที่ 59 ถึง 64 ที่ได้รับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุนสําหรับรายการปรับปรุงกําไรสะสมยกมา ณ วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน 84 จ .2 เปิดเผยจํานวนเงินที่จัดประเภทรายการใหม่ไปหรือจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เป็นไปตามย่อหน้าที่ 84 ค กิจการต้องเปิดเผยจํานวนเงินเหล่านั้นที่จัดประเภทรายการ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 ใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการกระทบยอดมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันเริ่มต้นและวันสิ้นรอบระยะเวลาตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 76 และ 79 วันถือปฏิบัติ 85 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้สนับสนุนให้ถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผย ข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 85 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 85 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 85 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 85 ง ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 85 จ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2557 ทําให้มีการ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 3 . 2 9 67 และ 70 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 85 ฉ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 โดยการให้นิยามของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนให้รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่กิจการเป็นเจ้าของและ อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองโดยผู้เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 7 8 9 16 20 30 41 50 53 53 ก 54 56 60 61 62 67 69 74 75 77 และ 78 และเพิ่มย่อหน้าที่ 19 ก 29 ก 40 ก และ 84 ข และหัวข้อที่เกี่ยวข้อง และตัดย่อหน้าที่ 3 6 25 26 และ 34 กิจการต้องถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 85 ช การโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40) ที่ออก โดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนธันวาคมปี 2559 ทําให้มีการ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 57 ถึง 58 และ เพิ่มย่อหน้าที่ 84 ค ถึง 84 จ กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบ ระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้ถือปฏิบัติ ได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลา ก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 85 ซ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 32 ข กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 86 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ( ปรับปรุง 2561) เรื่อง อสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุน