ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และป ระกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้ งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 33/2563 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ตามที่กาหนด ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 13 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 38: Intangible Assets (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 3 และเพิ่ม ย่อหน้าที่ 1 30 ฐ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 7 เรื่อง สัญญาประกันภัย การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 โดยเพิ่มเชิงอรรถย่อหน้าที่ 8 การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงกรอบ แนวคิดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 3 6 11 3 11 4 และ 1 30 ฏ และแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 6 เรื่อง สัญญาเช่า ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 คํานิยาม 8 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 9 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 18 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก 25 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ 33 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล 44 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยน 45 ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายใน 48 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน 51 การรับรู้รายการเป็นค่าใช้จ่าย 68 ค่าใช้จ่ายในอดีตที่ต้องไม่รับรู้เป็นสินทรัพย์ 71 การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ 72 วิธีราคาทุน 74 วิธีการตีราคาใหม่ 75 อายุการใช้ประโยชน์ 88 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน 97 ระยะเวลาในการตัดจําหน่ายและวิธีการตัดจําหน่าย 97 มูลค่าคงเหลือ 100 การทบทวนระยะเวลาในการตัดจําหน่ายและวิธีการตัดจําหน่าย 104 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน 107 การทบทวนการประเมินอายุการใช้ประโยชน์ 109 มูลค่าตามบัญชีที่จะได้รับคืน – ผลขาดทุนจากการด้อยค่า 111 การเลิกใช้และการจําหน่าย 112 การเปิดเผยข้อมูล 118 การเปิดเผยข้อมูลทั่วไป 118 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่วัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการด้วยวิธีการตีราคาใหม่ 124 รายจ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา 126 การเปิดเผยข้อมูลอื่น 128
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 สารบัญ จากย่อหน้าที่ การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านและวันถือปฏิบัติ 130 การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน 131 การปฏิบัติก่อนวันบังคับใช้ 132 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 133
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 1 33 ทุกย่อหน้ามี ความสําคัญเท่ากันและมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับ การรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือ ปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณ การทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดวิธีปฏิบัติทางการบัญชีสําหรับสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนที่ไม่ได้มีการกําหนดไว้โดยเฉพาะในมาตรฐานฉบับอื่น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กําหนดให้กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนถ้าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้โดยเฉพาะ รวมทั้ง กําหนดวิธีการวัดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยเฉพาะ ขอบเขต 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติสําหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ยกเว้น 2.1 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กําหนดไว้ในขอบเขตของมาตรฐานฉบับอื่น 2.2 สินทรัพย์ทางการเงินตามคํานิยามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน 2.3 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของการสํารวจและการประเมินค่าสินทรัพย์ ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 เรื่อง การสํารวจและการประเมินค่า แหล่งทรัพยากรแร่ ) และ 2.4 รายจ่ายในการพัฒนา และ ขุดแร่ นํ้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรที่ ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ซึ่งคล้ายคลึงกัน 3 หากมาตรฐานฉบับอื่นได้กําหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชีสําหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนประเภทใดไว้ โดยเฉพาะ กิจการต้องนํามาตรฐานฉบับนั้นมาถือปฏิบัติแทนมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ตัวอย่างของรายการที่ไม่ต้องนํามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติมีดังต่อไปนี้ 3. 1 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กิจการถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ )
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 3.2 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 2 เรื่อง ภาษีเงินได้ ) 3.3 สัญญาเช่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 6 เรื่อง สัญญาเช่า 3.4 สินทรัพย์ที่เกิดจากผลประโยชน์ของพนักงาน ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 9 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ) 3.5 สินทรัพย์ทางการเงินตามคํานิยามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินบางรายการที่ระบุไว้ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 0 เรื่อง งบการเงินรวม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนใน บริษัทร่วมและการร่วมค้า 3.6 ค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมธุรกิจ ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิ จ ) 3.7 สัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 7 เรื่อง สัญญา ประกันภัย และสินทรัพย์ใดๆ สําหรับกระแสเงินสดที่ทําให้ได้มาซึ่งการประกันภัย ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 7 3.8 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่หมุนเวียนซึ่งจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ( หรือรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายซึ่งจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ) ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก 3.9 สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาที่ทํากับลูกค้าที่รับรู้ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 5 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า 4 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนบางรายการอาจเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่มีตัวตน เช่น คอมแพคดิสก์ ( ในกรณีของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ) เอกสารทางกฎหมาย ( ในกรณีของใบอนุญาตหรือสิทธิบัตร ) หรือ แผ่นฟิล์ม ในการระบุว่าสินทรัพย์ที่มีองค์ประกอบทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนจะถือว่าเป็น สินทรัพย์ที่มีตัวตน ซึ่งควรปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 6 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หรือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กิจการอาศัยวิจารณญาณใน การประเมินว่าองค์ประกอบใดมีนัยสําคัญมากกว่ากัน เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับเครื่องมือ ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่สามารถทํางานได้โดยปราศจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ให้ถือว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของเครื่องมือและถือว่าเป็นที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ สําหรับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้ถือหลักปฏิบัติเช่นเดียวกันกับข้างต้น ในขณะที่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องได้ ให้ถือ ว่าเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 5 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับรายจ่ายในกิจกรรมเกี่ยวกับการโฆษณา การฝึกอบรม การเริ่มดําเนินงานใหม่ และการวิจัยและพัฒนา สําหรับกิจกรรมเกี่ยวกับการวิจัยและการพัฒนา ถือเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ดังนั้น แม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวอาจทําให้เกิดสินทรัพย์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 ที่มีตัวตน เช่น ต้นแบบของผลิตภัณฑ์ แต่องค์ประกอบทางกายภาพของสินทรัพย์นั้นถือว่า มีความสําคัญรองจากองค์ประกอบที่ไม่มีตัวตน กล่าวคือ ความรู้ที่ทําให้เกิดเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนนั้น 6 สิทธิที่ถือครองโดยผู้เช่าภายใต้ข้อตกลงในการให้ใช้สิทธิ สําหรับรายการต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ ละคร ต้นฉบับงานเขียน สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้ และไม่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 6 7 ขอบเขตของมาตรฐานฉบับอื่นอาจไม่ครอบคลุมถึงกิจกรรมบางกิจกรรมหรือรายการบัญชี บางรายการที่มีลักษณะเฉพาะจนทําให้เกิดประเด็นทางบัญชีที่อาจจําเป็นต้องใช้วิธีการบัญชี ที่แตกต่างไป เช่น รายจ่ายในการสํารวจ พัฒนาและขุดเจาะนํ้ามัน ก๊าซธรรมชาติและ แหล่งทรัพยากรแร่ในอุตสาหกรรมด้านการขุดเจาะ และกรณีของสัญญาการประกันภัย ดังนั้น กิจการจึงไม่ต้องนํามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติกับรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ดั ง ก ล่ำ ว อย่างไรก็ตาม กิจการในอุตสาหกรรมด้านการขุดเจาะหรือผู้รับประกันภัยต้องนํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น ( เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ) และรายจ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ( เช่น ต้นทุนในการเริ่มดําเนินงานใหม่ ) คํานิยาม 8 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ การตัดจําหน่าย หมายถึง การปันส่วนจํานวนเงินที่คิดค่าตัดจําหน่ายของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างเป็นระบบตลอดอายุ การใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่เป็นไปตามข้อกําหนดทุกข้อต่อไปนี้ 1) 2) อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งเป็นผล มาจากเหตุการณ์ในอดีต และ ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต แก่กิจการ 1 มูลค่าตามบัญชี หมายถึง จํานวนเงินของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบฐานะการเงิน หลังจากหักค่าตัดจําหน่ายสะสมและผลขาดทุน จากการด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์ 1 คํานิยามของสินทรัพย์ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้ถูกปรับปรุงตามการปรับปรุงคํานิยามของสินทรัพย์ใน กรอบ แนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ( ที่ปรับปรุงในปี 2563)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 ราคาทุน หมายถึง จํานวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ กิจการจ่ายไป หรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบ แทนอื่นที่กิจการมอบให้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้สินทรัพย์นั้นมาหรือ ณ เวลาที่ก่อสร้าง สินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่เกี่ยวข้องให้รวมถึง จํานวนที่ถือว่าเป็นของสินทรัพย์เมื่อมีการรับรู้ เ มื่ อ เ ริ่ม แ ร ก ตำ ม ที่กําหนดไว้ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น เช่น มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่าย โดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ จํานวนที่คิดค่าตัดจําหน่าย หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือจํานวนเงินอื่นที่ใช้แทน ราคาทุนหักด้วยมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ การพัฒนา หมายถึง การนําผลของการวิจัยหรือความรู้อื่นมาใช้ใน แผนงานหรือการออกแบบเพื่อการผลิตสิ่งใหม่ หรือสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมากก่อนที่จะเริ่ม การผลิตหรือการใช้ในเชิงพาณิชย์ไม่ว่าสิ่งนั้น จะเป็นวัตถุดิบ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ระบบ หรือบริการ มูลค่าเฉพาะกิจการ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่กิจการคาดว่า จะได้รับจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และ จากการจําหน่ายสินทรัพย์นั้นเมื่อสิ้นสุดอายุ การใช้ประโยชน์หรือกิจการคาดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อมีการโอนเพื่อชําระหนี้สิน มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์ หรือจะ จ่ายเพื่อโอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพ ปกติระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม )
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 ผลขาดทุนจากการด้อยค่า ของสินทรัพย์ หมายถึง จํานวนของมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่า จะได้รับคืนของสินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และ ไม่มีลักษณะทางกายภาพ สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน หมายถึง เงินสดที่ถือครองและสินทรัพย์ที่กิจการจะได้รับ เป็นจํานวนเงินที่กําหนดไว้แน่นอน หรือจํานวนเงิน ที่สามารถทราบได้ การวิจัย หมายถึง การสํารวจตรวจสอบที่วางแผนและริเริ่มเพื่อให้ ได้มาซึ่งความรู้และความเข้าใจใหม่ทางด้าน วิทยาศาสตร์หรือทางด้านเทคนิค มูลค่าคงเหลือ ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง ประมาณการจํานวนเงินที่กิจการจะได้รับใน ปัจจุบันจากการจําหน่ายสินทรัพย์หลังจากหัก ประมาณการต้นทุนจากการจําหน่าย หากสินทรัพย์ มีอายุการใช้ประโยชน์และอยู่ในสภาพที่คาดว่า จะเป็น ณ วันสิ้นอายุการใช้ประโยชน์ อายุการใช้ประโยชน์ หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ 1) ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะมีสินทรัพย์ไว้ ใช้ หรือ 2) จํานวนผลผลิตหรือจํานวนหน่วยใน ลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งกิจการ คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 9 กิจการมักใช้ทรัพยากรหรือก่อให้เกิดหนี้สินเพื่อการได้มา การพัฒนา การรักษาระดับหรือ ยกระดับทรัพยากรที่ไม่มีตัวตนต่างๆ เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ทางด้านเทคนิค การออกแบบและการนําระบบหรือกระบวนการใหม่มาปฏิบัติ ใบอนุญาต ทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ทางการตลาด และเครื่องหมายการค้า ( ซึ่งรวมถึงชื่อยี่ห้อของผลิตภัณฑ์และชื่อสิ่งพิมพ์ ) ตัวอย่างของรายการข้างต้น ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ รายชื่อลูกค้า
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 สิทธิในการให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ใบอนุญาตทําการประมง โควตา การนําเข้าสินค้า สิทธิที่จะใช้ชื่อและดําเนินธุรกิจ ความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือกับผู้ขายสินค้า ความจงรักภักดี ต่อสินค้า ส่วนแบ่งตลาด และสิทธิทางการตลาด 1 0 รายการที่ระบุอยู่ในย่อหน้าที่ 9 อาจไม่เป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ระบุไว้ใน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ทุกรายการ กล่าวคือ รายการที่จะถือว่าเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ ต้องสามารถระบุได้ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ และต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในอนาคต หากรายการใดไม่เป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องรับรู้ รายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาหรือก่อให้เกิดซึ่งรายการนั้นเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากรายการนั้นเกิดจากการรวมธุรกิจ รายการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่า ความนิยมที่ต้องรับรู้ ณ วันที่ซื้อ ( ดูย่อหน้าที่ 68) สามารถระบุได้ 11 คํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกําหนดให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องสามารถระบุได้เพื่อแยก สินทรัพย์ไม่มีตัวตนออกจากค่าความนิยมได้ ค่าความนิยมที่รับรู้จากการรวมธุรกิจถือเป็น สินทรัพย์ที่แสดงถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่เกิดขึ้นจากสินทรัพย์อื่นที่ได้มาจาก การรวมธุรกิจ ซึ่งไม่สามารถระบุและรับรู้เป็นรายการแยกต่างหากได้ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในอนาคตดังกล่าวอาจเกิดจากการผนวกกันระหว่างสินทรัพย์ที่สามารถระบุได้หลายๆ รายการ ที่ได้มาหรือเกิดจากสินทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งแต่ละรายการไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับรู้รายการในงบการเงิน 12 สินทรัพย์สามารถระบุได้ ในกรณีที่ 12.1 สินทรัพย์นั้นสามารถแยกเป็นเอกเทศได้ กล่าวคือสามารถแยกหรือแบ่งออกจาก กิจการ และสามารถขาย โอน ให้สิทธิ ให้เช่า หรือแลกเปลี่ยนได้ ไม่ว่าจะโดย เอกเทศ หรือโดยรวมกันตามสัญญาที่เกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สิน ที่สามารถระบุได้ โดยไม่คํานึงว่ากิจการตั้งใจจะแยกเป็นเอกเทศหรือไม่ หรือ 12.2 สินทรัพย์นั้นเกิดจากสิทธิตามสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น โดยไม่คํานึงถึงว่า สิทธิเหล่านั้นจะสามารถโอนหรือสามารถแยกออกจากกิจการ หรือจากสิทธิและ ภาระผูกพันอื่นหรือไม่ การควบคุม 1 3 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนถือว่าอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการหากกิจการมีอํานาจที่จะได้รับ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่เกิดจากสินทรัพย์นั้น และสามารถจํากัดไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึง ประโยชน์ดังกล่าว โดยปกติ ความสามารถของกิจการที่จะควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในอนาคตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเกิดจากสิทธิตามกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ กรณีที่ไม่มีสิทธิ ทางกฎหมายจะเป็นการยากที่จะแสดงให้เห็นถึงการควบคุม อย่างไรก็ตาม ความสามารถ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 0 ในการบังคับใช้สิทธิทางกฎหมายไม่ใช่เกณฑ์ที่จําเป็นเพียงอย่างเดียวสําหรับการควบคุม ทั้งนี้เพราะกิจการอาจสามารถควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตในลักษณะอื่นได้ 1 4 ความรู้ทางการตลาดและความรู้ทางเทคนิคอาจก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต กิจการสามารถควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเหล่านั้นได้ เช่น ถ้าความรู้นั้นได้รับการคุ้มครอง สิทธิทางกฎหมายในรูปของลิขสิทธิ์ ข้อตกลงในการคุ้มครองทางการค้า ( หากกฎหมายอนุญาต ให้ทําได้ ) หรือโดยหน้าที่ตามกฎหมายของพนักงานที่ต้องรักษาความรู้นั้นเป็นความลับ 1 5 กิจการอาจมีกลุ่มพนักงานที่มีทักษะและกิจการอาจสามารถระบุถึงทักษะของพนักงานที่เพิ่มขึ้น จากการฝึกอบรม ซึ่งทําให้กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตและกิจการอาจคาดว่า พนักงานเหล่านั้นจะใช้ทักษะเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการได้ต่อไป อย่างไรก็ตาม กิจการมักไม่มี การควบคุมที่เพียงพอสําหรับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดจากกลุ่มพนักงานที่ มีทักษะหรือจากการฝึกอบรมพนักงานเหล่านี้ให้เป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ในทํานองเดียวกัน ความสามารถเฉพาะในการบริหารหรือความสามารถพิเศษด้านเทคนิค อาจไม่เป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เว้นแต่กิจการจะได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายที่จะใช้ประโยชน์และได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตตามที่คาดไว้ นอกจากนี้ ความสามารถดังกล่าวต้องเป็นไปตามข้อกําหนดอื่นของคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1 6 กิจการอาจมีส่วนแบ่งตลาดหรือพอร์ตโฟลิโอลูกค้าที่คาดว่าจะดําเนินการค้ากับกิจการต่อไป เนื่องจากกิจการได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อสินค้า หรือบริการของกิจการ อย่างไรก็ตาม กิจการไม่มีสิทธิทางกฎหมายในการคุ้มครอง หรือไม่มีวิธีการ ควบคุมอื่นเพื่อให้ลูกค้ามีความสัมพันธ์หรือความจงรักภักดีต่อกิจการ กิจการจึงมักไม่มีการ ควบคุมที่เพียงพอสําหรับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับจากความสัมพันธ์และ ความจงรักภักดีของลูกค้า ( เช่น พอร์ตโฟลิโอลูกค้า ส่วนแบ่งการตลาด ความสัมพันธ์และ ความจงรักภักดีของลูกค้า ) ให้เป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อย่างไรก็ตาม การไม่มีสิทธิทางกฎหมายในการคุ้มครองความสัมพันธ์กับลูกค้า แต่มีรายการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ ได้มาซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้า ( ที่ไม่ใช่มาจากการรวมกิจการ ) แม้จะไม่ได้ทําเป็นสัญญา กรณีนี้ถือว่ามีหลักฐานว่า กิจการสามารถควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่า จะได้รับจากความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ และมีหลักฐานว่าความสัมพันธ์กับลูกค้าดังกล่าวสามารถ แยกเป็นเอกเทศได้ ดังนั้น ความสัมพันธ์กับลูกค้าดังกล่าวถือว่าเป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ ไม่มีตัวตน ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต 1 7 ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่กิจการจะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อาจรวมถึงรายได้จาก การขายผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ ต้นทุนที่ประหยัดได้ หรือประโยชน์อื่นที่เกิดขึ้นจากการใช้ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นโดยกิจการ เช่น สินทรัพย์ทางปัญญาที่นํามาใช้กับกระบวนการผลิต อาจลดต้นทุนการผลิตในอนาคตมากกว่าทําให้รายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 1 8 การรับรู้รายการใดรายการหนึ่งเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า รายการนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 1 8. 1 เป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( ดูย่อหน้าที่ 8 ถึง 1 7) และ 1 8.2 เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ ( ดูย่อหน้าที่ 2 1 ถึง 23) ข้อกําหนดนี้ ให้ถือปฏิบัติกับต้นทุนเริ่มแรกที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาหรือสร้างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ขึ้นภายในกิจการ และต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังเพื่อเพิ่ม หรือเปลี่ยนแทนบางส่วน หรือ บํารุงรักษาสินทรัพย์นั้น 1 9 ย่อหน้าที่ 25 ถึง 32 เกี่ยวกับเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก และ ย่อหน้าที่ 33 ถึง 43 เกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ ย่อหน้าที่ 44 เกี่ยวกับการวัดมูลค่าเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ย่อหน้าที่ 45 ถึง 47 เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ย่อหน้าที่ 48 ถึง 50 เกี่ยวกับ วิธีปฏิบัติกับค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ ย่อหน้าที่ 5 1 ถึง 67 เกี่ยวกับการรับรู้รายการ และวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สร้างขึ้นภายในกิจการ 20 ธรรมชาติของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยทั่วไปจะไม่มีการต่อเติมสินทรัพย์นั้น หรือการเปลี่ยนแทน ส่วนหนึ่งส่วนใดของสินทรัพย์นั้น ดังนั้น รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเพื่อคงไว้ ซึ่งประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมากกว่าที่จะเป็นรายจ่าย ที่เป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ นอกจากนี้ โดยทั่วไป จะเป็นการยากที่จะถือว่ารายจ่ายที่ เกิดขึ้นภายหลังเป็นของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนใดโดยเฉพาะได้โดยตรง แต่จะถือว่าเป็นรายจ่ายของ กิจการโดยรวมมากกว่า ดังนั้น จึงแทบจะไม่มีการรับรู้รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังการรับรู้รายการเมื่อ เริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังจากการสร้างสินทรัพย์ไม่มี ตัวตนขึ้นภายในกิจการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ และเพื่อให้สอดคล้อง กับข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 63 รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังสําหรับยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ หัวหนังสือ ชื่อสิ่งพิมพ์ รายชื่อลูกค้า และรายการอื่นที่คล้ายคลึงกัน ( ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มา จากภายนอกกิจการหรือกิจการสร้างขึ้นเองภายใน ) ให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากรายจ่ายเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจนจากรายจ่ายเพื่อการพัฒนาธุรกิจโดยรวม 21 กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ทุกข้อต่อไปนี้ 21.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต ที่จะเกิดจากสินทรัพย์นั้น และ 21.2 ราคาทุนของสินทรัพย์สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ 22 กิจการต้องประเมินความน่าจะเป็นที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยใช้ข้อสมมติที่สมเหตุสมผลและมีหลักฐานสนับสนุนข้อสมมติ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 2 ดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นถึงการประมาณที่ดีที่สุดของฝ่ายบริหารเกี่ยวกับสภาวะทางเศรษฐกิจ ที่จะเกิดขึ้นตลอดช่วงอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ 23 กิจการใช้วิจารณญาณในการประเมินระดับความแน่นอนที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามหลักฐานที่มีอยู่ในช่วงเวลาที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก โดยให้ความสําคัญกับหลักฐานจากภายนอกมากกว่า 24 กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก 25 โดยทั่วไป ราคาที่กิจการจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่แยกต่างหากจะสะท้อนถึง ความคาดหวังเกี่ยวกับความน่าจะเป็นที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่อยู่ ในสินทรัพย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ แม้ว่า จะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับช่วงเวลาหรือจํานวนเงินที่จะได้รับ ดังนั้น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ ได้มาแยกต่างหาก ย่อมถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการในเรื่องความเป็นไปได้ค่อนข้าง แน่ ตามย่อหน้าที่ 2 1 . 1 เสมอ 26 นอกจากนี้ โดยปกติ ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก ย่อมสามารถ วัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะกรณีที่สิ่งตอบแทนในการจ่ายซื้ออยู่ในรูปของเงินสดหรือ สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินอื่น 27 ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก ประกอบด้วย 27. 1 ราคาซื้อรวมภาษีนําเข้าและภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ หักด้วยส่วนลดการค้าต่างๆ และ จํานวนที่ได้รับคืนจากผู้ขาย และ 27.2 ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ในการจัดเตรียมสินทรัพย์เพื่อให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ได้ตาม ความประสงค์ 28 ตัวอย่างของต้นทุนทางตรง ประกอบด้วย 28. 1 ต้นทุนผลประโยชน์ของพนักงาน ( ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 9) ที่ เกิดขึ้นโดยตรงจากการทําให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 28.2 ค่าธรรมเนียมทางวิชาชีพที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการทําให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพพร้อม ใช้งาน และ 28.3 ต้นทุนการทดสอบสภาพความพร้อมใช้งาน 29 ตัวอย่างของรายจ่ายที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วย 29. 1 ต้นทุนในการแนะนําสินค้าหรือบริการใหม่ ( รวมถึงต้นทุนในการโฆษณาและการส่งเสริม การขาย ) 29.2 ต้นทุนในการดําเนินธุรกิจในสถานที่ตั้งใหม่หรือกับลูกค้ากลุ่มใหม่ ( รวมทั้งต้นทุนใน การฝึกอบรมพนักงาน ) และ 29.3 ต้นทุนในการบริหารและต้นทุนในการผลิตทั่วไปอื่น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 3 30 การรับรู้รายการต้นทุนที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะ สิ้นสุดเมื่อสินทรัพย์นั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์หรือการพัฒนาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนใหม่จึงไม่รวมเป็น ส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ตัวอย่างของต้นทุนที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของ มูลค่าตามบัญชีของรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ 30. 1 ต้นทุนที่เกิดขึ้นในขณะที่สินทรัพย์ซึ่งอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ตาม ความประสงค์ของฝ่ายบริหาร แม้ว่าสินทรัพย์ดังกล่าวจะยังไม่ได้นํามาใช้งานก็ตาม และ 30.2 ผลขาดทุนจากการดําเนินงานเริ่มแรก เช่น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในขณะที่ความต้องการ ผลผลิตจากสินทรัพย์อยู่ในช่วงเริ่มต้น 3 1 การดําเนินงานบางอย่างเกิดขึ้นโดยมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ไม่ได้ จําเป็นในการทําให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร การดําเนินงานที่ไม่สําคัญเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือในระหว่างการพัฒนาสินทรัพย์นั้น เนื่องจากการดําเนินงานที่ไม่สําคัญดังกล่าวไม่ได้จําเป็นในการทําให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพที่พร้อม ที่จะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร กิจการต้องรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาก การดําเนินงานที่ไม่สําคัญดังกล่าวในกําไรหรือขาดทุน โดยจัดประเภทเป็นรายได้และค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้อง 32 หากมีการขยายกําหนดการชําระเงินค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนานเกินกว่าระยะเวลาการให้สินเชื่อ ตามปกติ กิจการต้องกําหนดราคาทุนของสินทรัพย์นั้นให้เท่ากับราคาที่เทียบเท่าราคาเงินสด และบันทึกผลต่างระหว่างจํานวนเงินนี้กับจํานวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายชําระ เป็นดอกเบี้ยจ่าย ตลอดอายุของการได้รับสินเชื่อ เว้นแต่กิจการรับรู้ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่า ตามบัญชีของสินทรัพย์ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ 33 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ กําหนดว่ากรณีที่สินทรัพย์ไม่มี ตัวตนได้มาจากการรวมธุรกิจ ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน คือ มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะสะท้อนถึงความคาดหวังของผู้ร่วมตลาด ณ วันที่ซื้อ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่อยู่ในสินทรัพย์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอน เกี่ยวกับช่วงเวลาหรือจํานวนเงินที่จะได้รับ ดังนั้น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ ย่อมถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการในเรื่องความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ตามย่อหน้าที่ 2 1 . 1 เสมอ หากสินทรัพย์ที่ได้มาจากการรวมธุรกิจสามารถแยกเป็นเอกเทศได้ หรือได้มาจากสิทธิตาม สัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น จะถือว่ามีข้อมูลเพียงพอที่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ดังกล่าวได้อย่างน่าเชื่อถือดังนั้น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจย่อมถือว่าเป็นไป ตามเกณฑ์การวัดมูลค่าในเรื่องการวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือตามย่อหน้าที่ 2 1 .2 เสมอ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 4 34 เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 ผู้ซื้อต้องรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนของผู้ขายแยกต่างหากจากค่าความนิยม ณ วันที่ซื้อ ไม่ว่าผู้ขายได้รับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นก่อนที่จะมีการรวมธุรกิจหรือไม่ หมายความว่า ผู้ซื้อ รับรู้โครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดําเนินการของผู้ขายเป็นสินทรัพย์แยกต่างหากจากค่า ความนิยม หากโครงการดังกล่าวเป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ทั้งนี้ โครงการวิจัย และพัฒนาที่อยู่ระหว่างดําเนินการของผู้ขายจะเป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เมื่อ เป็นไปตามข้อกําหนดทุกข้อดังต่อไปนี้ 34. 1 เป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ และ 34.2 สามารถระบุได้ กล่าวคือ สามารถแยกเป็นเอกเทศได้หรือเกิดจากสิทธิตามสัญญา หรือสิทธิทางกฎหมายอื่น การวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ 35 หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจสามารถแยกเป็นเอกเทศได้ หรือเกิดจากสิทธิ ตามสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น จะถือว่ามีข้อมูลเพียงพอที่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของ สินทรัพย์ดังกล่าวได้อย่างน่าเชื่อถือ ในกรณีที่กิจการนําประมาณการมาใช้ในการวัดมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยกําหนดเป็นช่วงของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ ซึ่งมีความน่าจะเป็น ที่แตกต่างกัน เป็นการแสดงให้เห็นว่าความไม่แน่นอนดังกล่าวได้นําไปรวมในการวัดมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์แล้ว 36 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจอาจสามารถแยกเป็นเอกเทศได้ เฉพาะเมื่อรวมกับ สัญญาที่เกี่ยวข้อง สินทรัพย์หรือหนี้สินที่สามารถระบุได้เท่านั้น ในกรณีดังกล่าวผู้ซื้อต้องรับรู้ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแยกต่างหากจากค่าความนิยม แต่ให้นํามารวมกับรายการที่เกี่ยวข้อง 37 ผู้ซื้ออาจรับรู้กลุ่มของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งประกอบกันเป็นสินทรัพย์ชุดเดียว โดยที่สินทรัพย์ แต่ละรายการมีอายุการใช้ประโยชน์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น คําว่า “ ยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ ” และ “ ชื่อยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ ” มักนํามาใช้แทนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายอื่นๆ อย่างไรก็ตาม “ ยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ ” และ “ ชื่อยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ ” ถือเป็นคําศัพท์ด้านการตลาดโดยทั่วไป ซึ่งนํามาใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มของสินทรัพย์ซึ่งประกอบกัน เช่น เครื่องหมายการค้า ( หรือ เครื่องหมายการค้าประเภทการบริการ ) และชื่อทางการค้า สูตร ส่วนผสม และความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 38 – 4 1 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังการได้มาซึ่งโครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดําเนินการ 42 รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาซึ่ง 42.1 เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยหรือพัฒนาที่อยู่ระหว่างดําเนินการซึ่งได้มาแยกต่างหาก หรือได้มาจากการรวมธุรกิจและรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 5 42.2 เกิดขึ้นหลังจากการได้มาซึ่งโครงการ รายการดังกล่าวต้องให้ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 54 ถึง 62 43 ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 54 ถึง 62 กําหนดว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังของโครงการวิจัยหรือ พัฒนาที่อยู่ระหว่างดําเนินการ ไม่ว่าจะได้มาแยกต่างหากหรือได้มาจากการรวมธุรกิจ ซึ่งได้รับรู้ เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแล้วจะต้อง 43. 1 รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีที่เกิดขึ้น หากเป็นรายจ่ายในการวิจัย 43.2 รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีที่เกิดขึ้น หากเป็นรายจ่ายในการพัฒนาซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ การรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามย่อหน้าที่ 57 และ 43.3 บันทึกเพิ่มในมูลค่าตามบัญชีของโครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดําเนินการ ที่ได้มาหากรายจ่ายในการพัฒนานั้นเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มี ตัวตนตามย่อหน้าที่ 57 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล 44 ในบางกรณี กิจการอาจได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล โดยไม่ต้องจ่าย สิ่งตอบแทนใดๆ หรือจ่ายสิ่งตอบแทนในจํานวนที่น้อยมาก ในกรณีนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาล โอนหรือจัดสรรสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้กับกิจการ เช่น สิทธิในการนําเครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยาน สิทธิในการดําเนินการสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ ใบอนุญาตหรือโควต้านําเข้า หรือสิทธิที่จะใช้ ทรัพยากรที่มีข้อจํากัดอื่น ตามข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 20 เรื่อง การบัญชีสําหรับ เงินอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล กิจการอาจเลือกที่จะ รับรู้ทั้งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและเงินอุดหนุนเมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม หากกิจการเลือกที่จะ ไม่รับรู้สินทรัพย์เมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ด้วยมูลค่าที่กําหนดไว้ ( วิธีที่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 20) บวกกับรายจ่ายโดยตรงที่เกิดขึ้น ในการจัดเตรียมสินทรัพย์ให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ได้ตามความประสงค์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยน 45 กิจการอาจได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งรายการจากการแลกเปลี่ยนกับ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินรายการอื่น หรือจากการแลกเปลี่ยนกับทั้งรายการสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน ข้อพิจารณาที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นข้อพิจารณาสําหรับกรณีการแลกเปลี่ยน สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินกับสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินอื่น อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถใช้ ข้อพิจารณาดังกล่าวกับการแลกเปลี่ยนทุกกรณีตามที่กล่าวไว้ได้ กิจการวัดมูลค่าต้นทุนของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม เว้นแต่กรณีใดกรณี หนึ่งดังต่อไปนี้ 45. 1 รายการแลกเปลี่ยนขาดเนื้อหาเชิงพาณิชย์ หรือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 6 45.2 มูลค่ายุติธรรมทั้งของสินทรัพย์ที่ได้มาและสินทรัพย์ที่นําไปแลกไม่สามารถวัดมูลค่าได้ อย่างน่าเชื่อถือ กิจการวัดมูลค่ารายการสินทรัพย์ที่ได้มาตามวิธีการนี้ แม้ว่ากิจการจะไม่สามารถเลิกรับรู้รายการ สินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยนได้ในทันที หากสินทรัพย์ที่ได้มาไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์นั้นด้วยมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยน 46 ในการกําหนดว่ารายการแลกเปลี่ยนมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์หรือไม่ ให้กิจการพิจารณาจากจํานวน ของกระแสเงินสดอนาคตที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากรายการดังกล่าว รายการแลกเปลี่ยนจะมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ หากเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ 46. 1 ลักษณะ ( ความเสี่ยง จังหวะเวลา และจํานวนเงิน ) ของกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ ที่ได้รับแตกต่างจากรูปแบบของกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยน หรือ 46.2 รายการแลกเปลี่ยนทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าเฉพาะกิจการในส่วนของ การดําเนินงานที่ได้รับผลกระทบจากการแลกเปลี่ยน และ 46.3 ความแตกต่างในย่อหน้าที่ 46. 1 หรือ 46.2 มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับมูลค่ายุติธรรม ของสินทรัพย์ที่มีการแลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาว่าการแลกเปลี่ยนใดเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ กิจการต้องพิจารณามูลค่าเฉพาะกิจการในส่วนของการดําเนินงานที่ถูกกระทบจากการแลกเปลี่ยน จากกระแสเงินสดหลังหักภาษี ผลของการวิเคราะห์ดังกล่าวอาจเห็นได้ชัดเจนโดยกิจการไม่จําเป็น ต้องคํานวณอย่างละเอียด 47 ย่อหน้าที่ 2 1 .2 กําหนดเงื่อนไขสําหรับการรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนว่าราคาทุนของ สินทรัพย์สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่จะถือว่า สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือหากเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 47. 1 การเปลี่ยนแปลงในขอบเขตของการวัดมูลค่ายุติธรรมที่สมเหตุสมผลไม่มีนัยสําคัญ สําหรับสินทรัพย์นั้น หรือ 47.2 กิจการสามารถประเมินความน่าจะเป็นของประมาณการต่างๆ ที่อยู่ภายในขอบเขต ของการวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างสมเหตุสมผลและสามารถนํามาใช้ในการวัดมูลค่า ยุติธรรม หากกิจการสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยนได้ อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องวัดมูลค่าราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ที่นําไปแลกเปลี่ยน เว้นแต่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มานั้นมีหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจน มากกว่า
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 7 ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายใน 48 กิจการต้องไม่รับรู้ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในเป็นสินทรัพย์ 49 ในบางกรณี กิจการอาจก่อให้เกิดรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต แต่รายจ่ายดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กิจการมักชี้แจงว่ารายจ่ายดังกล่าวมีส่วนทําให้เกิดค่าความนิยมขึ้น ภายในกิจการ อย่างไรก็ตาม ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการต้องไม่รับรู้เป็นสินทรัพย์ เนื่องจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นทรัพยากรที่สามารถระบุได้ ( กล่าวคือ ไม่สามารถแยกเป็น เอกเทศได้ หรือไม่ได้เป็นรายจ่ายที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น ) ภายใต้ การควบคุมของกิจการซึ่งสามารถวัดมูลค่าราคาทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ 50 ผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของกิจการกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิที่สามารถระบุได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยหลายประการที่มีผลกระทบต่อมูลค่ายุติธรรมของ กิจการ อย่างไรก็ตาม ผลต่างดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นถึงราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อยู่ ภายใต้การควบคุมของกิจการ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน 5 1 ในบางครั้ง การประเมินว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ หรือไม่นั้นทําได้ยาก เนื่องจากปัญหาในเรื่องดังต่อไปนี้ 5 1 . 1 กิจการไม่สามารถระบุได้ว่ามีสินทรัพย์ที่สามารถระบุได้ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตหรือไม่และเมื่อใด และ 5 1 .2 การกําหนดราคาทุนของสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ ในบางกรณี กิจการไม่สามารถ แยกต้นทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในออกจากต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อคงไว้ซึ่ง ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในหรือทําให้ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในนั้นดีขึ้นกว่าเดิม หรือไม่สามารถแยกออกจากต้นทุนที่เกิดจากการดําเนินงานประจําวันได้ ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงกําหนดให้กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดและแนวปฏิบัติ ที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 52 ถึง 67 กับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในทุกรายการ เพิ่มเติม จากข้อกําหนดทั่วไปสําหรับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 52 ในการประเมินว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการหรือไม่ กิจการจําแนกขั้นตอนการก่อให้เกิดสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ 52. 1 ขั้นตอนการวิจัย และ 52.2 ขั้นตอนการพัฒนา คําว่า “ ขั้นตอนการวิจัย ” และ “ ขั้นตอนการพัฒนา ” มีความหมายที่กว้างกว่าคําว่า “ การวิจัย ” และ “ การพัฒนา ” ตามคํานิยามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 8 53 หากกิจการไม่สามารถแยกขั้นตอนการวิจัยออกจากขั้นตอนการพัฒนาสําหรับโครงการภายใน ของกิจการที่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการถือว่ารายจ่ายของโครงการดังกล่าวเป็น รายจ่ายที่เกิดในขั้นตอนการวิจัยเท่านั้น ขั้นตอนการวิจัย 54 กิจการต้องไม่รับรู้รายจ่ายที่เกิดจากการวิจัย ( หรือเกิดจากขั้นตอนการวิจัยของโครงการ ภายใน ) เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อรายจ่ายนั้นเกิดขึ้น 55 ในขั้นตอนการวิจัยของโครงการภายใน กิจการไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตน นั้นได้เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการ ดังนั้น กิจการรับรู้ รายจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในทันที 56 ตัวอย่างของกิจกรรมการวิจัย ได้แก่ 56. 1 กิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ 56.2 การสืบค้น การประเมินผล และการคัดเลือกขั้นสุดท้าย เพื่อนําผลการวิจัยหรือ ความรู้อื่นมาใช้ 56.3 การค้นหาทางเลือกสําหรับวัตถุดิบ เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ระบบ หรือ การบริการ และ 56.4 การประดิษฐ์ การออกแบบ การประเมินผล และการคัดเลือกขั้นสุดท้ายของทางเลือก ที่เป็นไปได้สําหรับวัตถุดิบ เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ระบบ หรือการบริการใหม่ หรือที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น ขั้นตอนการพัฒนา 57 กิจการต้องรับรู้รายจ่ายที่เกิดจากการพัฒนา ( หรือเกิดจากขั้นตอนการพัฒนาของโครงการ ภายใน ) เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ก็ต่อเมื่อกิจการสามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นไปตาม ข้อกําหนดทุกข้อต่อไปนี้ 57.1 มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคที่จะทําให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเสร็จสมบูรณ์ เพื่อนํามาใช้งานหรือขาย 57.2 กิจการมีความตั้งใจที่จะทําให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเสร็จสมบูรณ์และนํามาใช้งาน หรือขาย 57.3 กิจการมีความสามารถที่จะนําสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมาใช้งานหรือขาย 57.4 กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะก่อให้เกิดประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคต นอกจากนี้ กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนหรือผลผลิตจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมีตลาดรองรับ หรือหากกิจการนํา
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 9 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนไปใช้งานเป็นการภายใน กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นถึง ประโยชน์ที่จะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น 57.5 กิจการมีทรัพยากรด้านเทคนิค ด้านการเงิน และด้านอื่นอย่างเพียงพอที่จะ นํามาใช้ในการพัฒนาให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ และนําสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้งาน หรือขาย 57.6 กิจการมีความสามารถที่จะวัดมูลค่าของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่เกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาได้อย่างน่าเชื่อถือ 58 ในขั้นตอนการพัฒนาของโครงการภายใน บางกรณี กิจการสามารถระบุสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและ สามารถแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่สินทรัพย์นั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้ เนื่องจากขั้นตอนการพัฒนาของโครงการเป็นขั้นตอนที่ก้าวหน้า มากกว่าขั้นตอนการวิจัย 59 ตัวอย่างของกิจกรรมการพัฒนา ได้แก่ 59. 1 การออกแบบ การก่อสร้าง และการทดสอบต้นแบบและแบบจําลองก่อนการผลิตหรือ ก่อนการนําไปใช้งาน 59.2 การออกแบบเครื่องมือ โครงประกอบ แม่พิมพ์ และเบ้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ 59.3 การออกแบบ การก่อสร้าง และการดําเนินงานของโรงงานนําร่อง ซึ่งไม่ใช่ขนาดที่จะ สามารถทําการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ และ 59.4 การออกแบบ การก่อสร้าง และการทดสอบ สําหรับทางเลือกที่ได้คัดเลือกแล้ว สําหรับ วัตถุดิบ เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ระบบ หรือบริการใหม่ๆ หรือที่ได้ปรับปรุง ให้ดีขึ้น 60 กิจการประเมินประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์โดยใช้ข้อกําหนด ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างไร หากสินทรัพย์จะก่อให้เกิด ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเฉพาะเมื่อต้องใช้ร่วมกับสินทรัพย์อื่น กิจการต้องนําแนวคิดเกี่ยวกับ หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 มาถือปฏิบัติ 6 1 ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากิจการมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทําให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเสร็จสมบูรณ์ หรือทําให้กิจการสามารถใช้หรือได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ แผนธุรกิจ ที่แสดงถึงทรัพยากรด้านเทคนิค ด้านการเงิน และด้านอื่นที่จําเป็น และกิจการมีความสามารถที่จะ จัดหาทรัพยากรดังกล่าวได้อย่างแน่นอน ในบางกรณี กิจการอาจแสดงถึงความสามารถในการจัดหา แหล่งเงินทุนภายนอกด้วยหลักฐานที่แสดงถึงเจตจํานงที่จะให้เงินสนับสนุนแผนงานจากผู้ให้กู้ 62 ตามปกติ ระบบต้นทุนของกิจการสามารถวัดมูลค่าราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้น ภายในได้อย่างน่าเชื่อถือ เช่น เงินเดือนหรือรายจ่ายอื่นที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์หรือ ใบอนุญาต หรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 63 กิจการต้องไม่รับรู้รายการที่กิจการก่อให้เกิดขึ้นภายใน เช่น ยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ หัวหนังสือ ชื่อสิ่งพิมพ์ รายชื่อลูกค้า และรายการอื่นที่คล้ายคลึงกันเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 64 รายจ่ายสําหรับยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ หัวหนังสือ ชื่อสิ่งพิมพ์ รายชื่อลูกค้า และรายการอื่น ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งกิจการก่อให้เกิดขึ้นภายในเป็นรายจ่ายที่ไม่สามารถแยกออกจากต้นทุน ในการพัฒนาธุรกิจโดยรวม ดังนั้น กิจการต้องไม่รับรู้รายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน 65 ตามวัตถุประสงค์ของย่อหน้าที่ 24 ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน คือ ผลรวม ของรายจ่ายที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการตามที่ กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 2 1 ถึง 22 และ 57 เป็นครั้งแรก ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 7 1 ไม่อนุญาต ให้กิจการนํารายจ่ายที่ได้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว กลับมาบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 66 ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในประกอบด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทุกรายการที่จําเป็นในการสร้าง ผลิต และจัดเตรียมสินทรัพย์เพื่อให้สามารถนํามาใช้ประโยชน์ ตามประสงค์ของฝ่ายบริหาร ตัวอย่างของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ 66. 1 ต้นทุนสําหรับวัตถุดิบและค่าบริการที่ใช้ในการก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 66.2 ต้นทุนผลประโยชน์ของพนักงาน ( ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 9) ที่เกิดจากการก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 66.3 ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิทางกฎหมาย และ 66.4 ค่าตัดจําหน่ายของสิทธิบัตรและใบอนุญาตที่นํามาใช้เพื่อก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 ได้กําหนดเกณฑ์สําหรับการรับรู้รายการที่สามารถนําดอกเบี้ยมา รวมเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน 67 ตัวอย่างต่อไปนี้ไม่ถือเป็นส่วนประกอบของราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน 67. 1 รายจ่ายในการขาย การบริหาร และค่าใช้จ่ายในการผลิตทั่วไปอื่น เว้นแต่รายจ่าย ดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเตรียมสินทรัพย์ให้สามารถนํามาใช้งานได้ 67.2 ความไม่มีประสิทธิภาพที่สามารถระบุได้ และผลขาดทุนจากการดําเนินงานเริ่มแรก ที่เกิดขึ้นก่อนที่สินทรัพย์จะสามารถให้ประโยชน์ได้ตามแผนที่กําหนดไว้ และ 67.3 รายจ่ายในการฝึกอบรมพนักงานเพื่อนําสินทรัพย์มาใช้ในการดําเนินงาน ตัวอย่างประกอบย่อหน้าที่ 65 กิจการกําลังพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ในระหว่างปี 25x5 มีรายจ่ายเกิดขึ้น 1 ,000 บาท โดยรายจ่ายจํานวน 900 บาทเกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 25x5 และรายจ่ายจํานวน 1 00 บาท เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 25x5 และวันที่ 3 1 ธันวาคม 25x5 กิจการสามารถแสดงให้ เห็นว่า ณ วันที่ 1 ธันวาคม 25x5 กระบวนการผลิตดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของความรู้และทักษะที่รวมอยู่ใน กระบวนการผลิต ( รวมถึงกระแสเงินสดจ่ายในอนาคตเพื่อทําให้กระบวนการผลิตเสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่จะพร้อมใช้งาน ) มีมูลค่าโดยประมาณ 500 บาท
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 1 ตัวอย่างประกอบย่อหน้าที่ 65 ณ วันสิ้นปี 25x5 กิจการรับรู้รายจ่ายที่เกิดขึ้นสําหรับกระบวนการผลิตเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ด้วยราคาทุน 100 บาท ( รายจ่ายที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ กล่าวคือ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 25x5) รายจ่ายจํานวน 900 บาทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 25x5 รับรู้ เป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการจนกระทั่งวันที่ 1 ธันวาคม 25x5 รายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของกระบวนการผลิตที่รับรู้ ในงบฐานะการเงิน ในระหว่างปี 25x6 มีรายจ่ายเกิดขึ้น 2,000 บาท ณ วันสิ้นปี 25x6 มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน จากความรู้และทักษะที่รวมอยู่ในกระบวนการผลิต ( รวมถึงกระแสเงินสดจ่ายในอนาคตเพื่อทํา ให้กระบวนการผลิตเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จะพร้อมใช้งาน ) มีมูลค่าโดยประมาณ 1 ,900 บาท ณ วันสิ้นปี 25x6 ราคาทุนของกระบวนการผลิตเท่ากับ 2,100 บาท ( ประกอบด้วยรายจ่ายที่ รับรู้เมื่อสิ้นปี 25x5 จํานวน 100 บาท และรายจ่ายที่รับรู้ในปี 25x6 จํานวน 2,000 บาท ) กิจการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์จํานวน 200 บาท เพื่อปรับมูลค่าตามบัญชี ของกระบวนการผลิตก่อนหักผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ (2,100 บาท ) ให้เป็น มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน (1,900 บาท ) ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์นี้จะ กลับรายการในรอบระยะเวลาถัดไปหากเป็นไปตามเงื่อนไขของการกลับรายการผลขาดทุนจาก การด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 การรับรู้รายการเป็นค่าใช้จ่าย 68 กิจการต้องรับรู้รายจ่ายสําหรับรายการที่ไม่มีตัวตนเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น เว้นแต่ จะเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 68.1 รายจ่ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นไปตาม เกณฑ์การรับรู้รายการ ( ดูย่อหน้าที่ 18 ถึง 67) หรือ 68.2 กิจการได้มาซึ่งรายการดังกล่าวจากการรวมธุรกิจ และไม่สามารถรับรู้เป็นสินทรัพย์ ไม่มีตัวตน ในกรณีนี้ กิจการรับรู้รายการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าความนิยม ณ วันที่ซื้อ ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3) 69 ในบางกรณี กิจการก่อให้เกิดรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต แต่ไม่สามารถรับรู้รายจ่ายดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือสินทรัพย์อื่นได้ ในกรณีของ สินค้า กิจการรับรู้รายจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อกิจการมีสิทธิในการเข้าถึงสินค้าเหล่านั้น ในกรณีของบริการ กิจการรับรู้รายจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อกิจการได้รับบริการนั้น เช่น รายจ่ายในการวิจัยให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ 54) เว้นแต่รายจ่ายดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการรวมธุรกิจ ตัวอย่างของรายจ่ายประเภทอื่นที่ต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อ เกิดขึ้นรวมถึงรายจ่ายดังต่อไปนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 69. 1 รายจ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมก่อนการดําเนินงาน ( กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายก่อนการดําเนินงาน ) เว้นแต่รายจ่ายนั้นได้รวมอยู่ในราคาทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 6 ค่าใช้จ่ายก่อนการดําเนินงานอาจ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการ เช่น ค่าธรรมเนียมทางกฎหมายและ ค่าใช้จ่ายด้านเลขานุการที่เกิดขึ้นในการจัดตั้งกิจการให้เป็นนิติบุคคล รายจ่ายในการ เปิดโรงงานหรือธุรกิจใหม่ ( กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดําเนินงาน ) หรือ รายจ่าย สําหรับเริ่มการดําเนินงานใหม่ หรือการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่ ( กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายก่อนเริ่มดําเนินงาน ) 69.2 รายจ่ายในกิจกรรมการฝึกอบรมต่างๆ 69.3 รายจ่ายในกิจกรรมการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ( รวมถึงการสั่งซื้อสินค้า ทางไปรษณีย์ ) 69.4 รายจ่ายในการย้ายสถานที่หรือรายจ่ายในการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การย้ายสถานที่หรือจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน 69 ก กิจการมีสิทธิในการเข้าถึงสินค้าเมื่อกิจการเป็นเจ้าของสินค้าดังกล่าว ในทํานองเดียวกัน กิจการ มีสิทธิในการเข้าถึงสินค้าเมื่อสินค้าดังกล่าวได้ก่อสร้างขึ้นตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง และกิจการ สามารถได้รับมอบสินค้าดังกล่าวเป็นสิ่งตอบแทนจากการจ่ายเงิน สําหรับการบริการ กิจการ ได้รับบริการเมื่อมีการให้บริการดังกล่าวแก่กิจการตามสัญญา และมิใช่เมื่อกิจการใช้บริการนั้น เพื่อให้บริการอื่น เช่น การส่งมอบโฆษณาให้แก่ลูกค้า 70 ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 68 มิได้ห้ามกิจการรับรู้การจ่ายล่วงหน้าเป็นสินทรัพย์เมื่อการจ่าย ค่าสินค้าล่วงหน้านั้นเป็นการจ่ายเพื่อให้กิจการได้รับสิทธิในการเข้าถึงสินค้าเหล่านั้น ในทํานองเดียวกัน ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 68 มิได้ห้ามกิจการรับรู้การจ่ายล่วงหน้าเป็นสินทรัพย์ เมื่อการจ่ายค่าบริการล่วงหน้านั้นเป็นการจ่ายเพื่อให้กิจการได้รับบริการเหล่านั้น ค่าใช้จ่ายในอดีตที่ต้องไม่รับรู้เป็นสินทรัพย์ 71 กิจการต้องไม่รับรู้รายจ่ายเกี่ยวกับรายการที่ไม่มีตัวตนซึ่งได้รับรู้เมื่อเริ่มแรกเป็น ค่าใช้จ่ายแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนในภายหลัง การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ 72 กิจการต้องเลือกใช้วิธีราคาทุนตามย่อหน้าที่ 74 หรือวิธีการตีราคาใหม่ตามย่อหน้าที่ 75 เป็นนโยบายการบัญชีของกิจการ ในกรณีที่กิจการเลือกใช้วิธีการตีราคาใหม่ สินทรัพย์อื่น ทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันต้องใช้วิธีการตีราคาใหม่เช่นเดียวกัน เว้นแต่จะไม่มี ตลาดที่มีสภาพคล่องสําหรับสินทรัพย์เหล่านั้น 73 ประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง กลุ่มของสินทรัพย์ที่มีธรรมชาติและประโยชน์การใช้ งานที่คล้ายคลึงกันในการดําเนินงานของกิจการ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนทุกรายการที่จัดอยู่ใน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 ประเภทเดียวกันมีการตีราคาใหม่พร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกตีราคาใหม่เฉพาะ สินทรัพย์บางรายการและการรายงานจํานวนเงินในงบการเงินซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่าง ราคาทุนและราคาที่ตีใหม่ ณ วันที่ต่างๆ วิธีราคาทุน 74 หลังจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องแสดงด้วยราคาทุนหัก ค่าตัดจําหน่ายสะสมและผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม วิธีการตีราคาใหม่ 75 หลังจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ ราคาที่ตีใหม่ หมายถึง มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักค่าตัดจําหน่ายสะสมและ ผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสมที่เกิดขึ้นในภายหลัง สําหรับวัตถุประสงค์ของการตีราคาใหม่ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กิจการต้องวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดย อ้างอิงกับตลาดที่มีสภาพคล่อง นอกจากนี้ การตีราคาใหม่ต้องปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอเพื่อให้ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานไม่แตกต่างอย่างมีสาระสําคัญ จากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์นั้น 76 วิธีการตีราคาใหม่ไม่อนุญาตให้กิจการ 76. 1 นําสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่เคยรับรู้เป็นสินทรัพย์มาตีราคาใหม่ หรือ 76.2 รับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกด้วยจํานวนที่ไม่ใช่ราคาทุน 77 วิธีการตีราคาใหม่จะนํามาถือปฏิบัติหลังจากที่กิจการได้รับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกด้วย ราคาทุน อย่างไรก็ตาม หากกิจการรับรู้ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเพียงบางส่วนเป็น สินทรัพย์ เนื่องจากสินทรัพย์นั้นไม่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการจนกระทั่งเวลาได้ผ่านไป ระยะหนึ่ง ( ดูย่อหน้าที่ 65) วิธีการตีราคาใหม่อาจนํามาถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ทั้งรายการ ทั้งนี้ วิธีการตีราคาใหม่อาจนํามาถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้รับจาก เงินอุดหนุนจากรัฐบาลและกิจการได้รับรู้ไว้ด้วยมูลค่าที่กําหนดไว้ ( ดูย่อหน้าที่ 44) 78 โดยปกติ มักจะไม่มีตลาดที่มีสภาพคล่องสําหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ในบางครั้ง ตลาดที่มี สภาพคล่องสําหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนบางรายการอาจเกิดขึ้นได้ เช่น ตลาดที่มีสภาพคล่องอาจ มีอยู่ในบางประเทศสําหรับใบอนุญาตประกอบการรถแท็กซี่ ใบอนุญาตประกอบการประมง หรือ โควต้าการผลิต ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวสามารถโอนเปลี่ยนมือได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตาม ตลาดที่มีสภาพคล่องไม่มีสําหรับยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ หัวหนังสือพิมพ์ สิทธิในการเผยแพร่ดนตรี และภาพยนตร์ สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า เนื่องจากสินทรัพย์ดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะตัว แม้ว่าจะมีการซื้อขายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนบางรายการ แต่ข้อตกลงที่ทําขึ้นเป็นการเจรจา ต่อรองระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายแต่ละราย และการซื้อขายดังกล่าวเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุผล ดังกล่าวราคาที่จ่ายซื้อสินทรัพย์เพียงรายการเดียวอาจถือว่าเป็นหลักฐานที่ไม่เพียงพอสําหรับ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 การวัดมูลค่ายุติธรรมให้กับรายการอื่น นอกจากนี้ราคาที่ซื้อขายกันมักไม่เป็นที่เปิดเผยต่อ สาธารณชน 79 ความถี่ของการตีราคาใหม่ขึ้นอยู่กับความผันผวนของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มี การตีราคาใหม่ หากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่แตกต่างจากมูลค่าตามบัญชี อย่างมีสาระสําคัญ กิจการจําเป็นต้องตีราคาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนใหม่อีกครั้งหนึ่ง มูลค่ายุติธรรม ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนบางรายการอาจมีความผันผวนสูงและมีนัยสําคัญจนทําให้จําเป็นต้องมี การตีราคาสินทรัพย์นั้นใหม่ทุกปี หากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมีความผันผวน อย่างไม่มีนัยสําคัญกิจการไม่จําเป็นต้องตีราคาสินทรัพย์ใหม่บ่อยครั้ง 80 เมื่อมีการตีราคาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนใหม่ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ดังกล่าวให้ปรับปรุงเป็น ราคาที่ตีใหม่ ณ วันที่ตีราคาใหม่ให้ถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 80. 1 ปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักในลักษณะที่สอดคล้องกับการตีราคาใหม่ของ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักอาจปรับปรุง โดยการอ้างอิงจากข้อมูลในตลาดที่สังเกตได้ หรือ ปรับปรุงให้เป็นสัดส่วนกับ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตามบัญชี ค่าตัดจําหน่ายสะสม ณ วันที่ตีราคาใหม่ต้อง ปรับปรุงให้เท่ากับผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหัก กับมูลค่าตามบัญชี ของสินทรัพย์หลังจากรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม หรือ 80.2 นําค่าตัดจําหน่ายสะสมหักออกจากมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ จํานวนเงินที่เป็นผลจากรายการปรับปรุงค่าตัดจําหน่ายสะสมให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ มูลค่าตามบัญชีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงซึ่งให้ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 85 และ 86 81 หากกิจการไม่สามารถตีราคาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับสินทรัพย์ไม่มี ตัวตนที่ตีราคาใหม่ เนื่องจากสินทรัพย์รายการนั้นไม่มีตลาดที่มีสภาพคล่องรองรับ กิจการ ต้องแสดงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นด้วยราคาทุนหักค่าตัดจําหน่ายสะสมและ ผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม 82 หากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ตีราคาใหม่ไม่สามารถวัดมูลค่าโดยการอ้างอิง กับตลาดที่มีสภาพคล่องได้อีกต่อไป มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นต้องเท่ากับ ราคาที่ตีใหม่ ณ วันที่ตีราคาใหม่ครั้งล่าสุดที่มีการอ้างอิงกับตลาดที่มีสภาพคล่องหัก ค่าตัดจําหน่ายสะสมและผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม 83 ข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีตลาดที่มีสภาพคล่องมารองรับสําหรับการตีราคาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนใหม่ อีกต่อไป อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นอาจเกิดการด้อยค่าและกิจการจําเป็นต้อง ทําการทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 84 หากกิจการสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยการอ้างอิงกับตลาดที่มีสภาพคล่อง ณ วันที่วัดมูลค่าภายหลังการได้มา กิจการต้องใช้วิธีการตีราคาใหม่นับตั้งแต่วันที่ดังกล่าว 85 หากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการตีราคาใหม่ กิจการต้อง รับรู้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และแสดงจํานวนที่เพิ่มขึ้นสะสมในส่วนของเจ้าของภายใต้รายการ “ ส่วนเกินทุนจากการตีราคา
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 สินทรัพย์ ” อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์นั้นได้ตีราคาใหม่และกิจการได้รับรู้มูลค่าตามบัญชี ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ลดลงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนแล้ว ส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาใหม่นี้ ต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเพื่อกลับรายการในจํานวนที่ไม่เกินมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ลดลงของสินทรัพย์รายการเดียวกันที่ได้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ในงวดก่อน 86 หากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนลดลงเป็นผลจากการตีราคาใหม่ กิจการต้อง รับรู้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ลดลงดังกล่าวในกําไรหรือขาดทุน อย่างไรก็ตาม กิจการต้องรับรู้ส่วนที่ลดลงจากการตีราคาใหม่ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในจํานวน ที่ไม่เกินยอดคงเหลือด้านเครดิตที่มีอยู่ในรายการ “ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ” ของสินทรัพย์นั้น โดยการรับรู้ส่วนที่ลดลงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจะมีผลทําให้จํานวน ที่สะสมไว้ในส่วนของเจ้าของภายใต้รายการ “ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ” ลดลง 87 ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ที่รวมอยู่ในส่วนของเจ้าของอาจโอนไปยังกําไรสะสมโดยตรง เมื่อส่วนเกินทุนนั้นเป็นรายการที่เกิดขึ้นจริง โดยส่วนเกินทุนทั้งจํานวนอาจเกิดขึ้นจริงเมื่อกิจการ จําหน่ายหรือเลิกใช้สินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ส่วนเกินทุนบางส่วนอาจเกิดขึ้นจริงเมื่อกิจการใช้ สินทรัพย์ ในกรณีดังกล่าวจํานวนของส่วนเกินทุนที่เกิดขึ้นจริงจะเท่ากับผลต่างระหว่าง ค่าตัดจําหน่ายที่คํานวณจากมูลค่าตามบัญชีที่ตีใหม่กับค่าตัดจําหน่ายที่คํานวณจากราคาทุนเดิม ของสินทรัพย์นั้น การโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไปยังกําไรสะสมต้องไม่โอนผ่าน กําไรหรือขาดทุน อายุการใช้ประโยชน์ 88 กิจการต้องประเมินว่าอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนทราบได้แน่นอนหรือไม่ และถ้าสามารถทราบได้แน่นอน อายุการใช้ประโยชน์จะกําหนดจากระยะเวลาหรือจํานวน การผลิตหรือหน่วยวัดอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน กิจการต้องพิจารณาว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมีอายุ การใช้ประโยชน์ที่ไม่ทราบแน่นอน เมื่อผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่พบ ขอบเขตที่สามารถคาดคะเนได้เกี่ยวกับระยะเวลาที่สินทรัพย์ดังกล่าวจะสามารถก่อให้เกิด กระแสเงินสดสุทธิให้กับกิจการ 89 การบัญชีสําหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นอยู่กับอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ กิจการตัดจําหน่าย สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน ( ดูย่อหน้าที่ 97 ถึง 1 06) แต่ไม่ตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน ( ดูย่อหน้าที่ 1 07 ถึง 11 0) 90 หลายปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการกําหนดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนรวมถึง 90. 1 การนําสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้ประโยชน์ตามที่คาดไว้ ซึ่งรวมถึงการพิจารณา ฝ่ายบริหารอื่นสามารถบริหารสินทรัพย์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 90.2 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับการประมาณการ อายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกันที่นํามาใช้ประโยชน์ในลักษณะ เดียวกัน 90.3 ความล้าสมัยด้านเทคนิค เทคโนโลยี การค้า หรือด้านอื่นๆ 90.4 เสถียรภาพของอุตสาหกรรมที่นําสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้ประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลง ในความต้องการของตลาดสําหรับสินค้าหรือบริการที่เป็นผลิตผลจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 90.5 การโต้ตอบจากคู่แข่งในปัจจุบันหรือคู่แข่งในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 90.6 ระดับของรายจ่ายในการบํารุงรักษาที่จําเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และความสามารถและความตั้งใจ ของกิจการที่จะใช้จ่ายให้เป็นไปตามระดับของรายจ่ายดังกล่าว 90.7 ระยะเวลาที่กิจการสามารถควบคุมสินทรัพย์และขอบเขตตามกฎหมายหรือขอบเขตอื่น เกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน เช่น วันครบกําหนดของสัญญาเช่าที่เกี่ยวข้อง และ 90.8 อายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นอยู่กับอายุการใช้ประโยชน์ของ สินทรัพย์อื่นของกิจการ หรือไม่ 9 1 “ อายุการใช้ประโยชน์ที่ไม่ทราบแน่นอน ” มิได้หมายถึงอายุการใช้ประโยชน์ไม่มีที่สิ้นสุด อายุการใช้ ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะสะท้อนให้เห็นเพียงระดับของรายจ่ายในการบํารุงรักษา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จําเป็นเพื่อให้สินทรัพย์คงไว้ซึ่งมาตรฐานของการปฏิบัติงานตามที่ได้ ประเมินไว้ ณ เวลาที่มีประมาณการอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ รวมถึงความสามารถและ ความตั้งใจของกิจการที่จะใช้จ่ายให้เป็นไปตามระดับของรายจ่ายดังกล่าว สรุปได้ว่าอายุการใช้ ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่ทราบแน่นอนต้องไม่ขึ้นกับรายจ่ายในอนาคตที่ได้วางแผน ไว้ที่เกินกว่ารายจ่ายที่ต้องการเพื่อดํารงให้สินทรัพย์มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาตรฐานเดิม ที่เคยประเมินไว้ 92 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์และสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนอื่นหลายรายการจึงมีแนวโน้มที่จะเกิดการล้าสมัยในด้านเทคโนโลยีเร็วขึ้น ดังนั้น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีอายุการใช้ประโยชน์ที่สั้น การคาดการณ์ในการลดลง ของราคาขายของสินค้าที่ผลิตได้โดยใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สามารถเป็นข้อบ่งชี้ในเรื่องการคาดการณ์ ของความล้าสมัยของเทคโนโลยีและความล้าสมัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งสะท้อนการลดลงของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่ฝังอยู่ในสินทรัพย์ดังกล่าว 93 อายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอาจมีระยะเวลายาวนานหรือแม้กระทั่งไม่สามารถ ทราบได้แน่นอน ความไม่แน่นอนเป็นเหตุให้กิจการต้องประมาณการอายุการใช้ประโยชน์ของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยใช้หลักความระมัดระวัง แต่ความไม่แน่นอนดังกล่าวไม่ถือเป็นเหตุผล ที่กิจการจะนํามากล่าวอ้างเพื่อกําหนดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้สั้นลงกว่า ความเป็นจริง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 94 อายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น ต้องไม่เกินระยะเวลาของสิทธิตามสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น แต่อาจจะสั้นกว่าได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์นั้น หากสิทธิตามสัญญาหรือ สิทธิทางกฎหมายอื่นนั้นมีระยะเวลาที่จํากัดแต่สามารถต่ออายุได้ อายุการใช้ประโยชน์ของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นต้องรวมระยะเวลาที่ต่ออายุใหม่เฉพาะกรณีที่มีหลักฐานสนับสนุนได้ว่า กิจการสามารถต่ออายุใหม่โดยไม่มีต้นทุนที่มีนัยสําคัญ สําหรับอายุการใช้ประโยชน์ของสิทธิ ที่ได้กลับมาใหม่ที่รับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจากการรวมธุรกิจคือระยะเวลาตามสัญญา ที่เหลืออยู่ของสิทธิที่ได้รับตามสัญญาและต้องไม่รวมระยะเวลาที่ต่ออายุใหม่ 95 ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยทางกฎหมายอาจมีอิทธิพลต่ออายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ ไม่มีตัวตน ปัจจัยทางเศรษฐกิจกําหนดระยะเวลาที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในอนาคตจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ส่วนปัจจัยทางกฎหมายอาจจํากัดระยะเวลาที่กิจการสามารถ ควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่จะได้รับจากสินทรัพย์นั้น ในการกําหนดอายุการใช้ประโยชน์ กิจการกําหนดจากระยะเวลาที่กําหนดโดยปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือปัจจัยทางกฎหมายแล้วแต่ ระยะเวลาใดจะสั้นกว่า 96 ปัจจัยที่บ่งชี้ว่ากิจการจะสามารถต่ออายุสิทธิตามสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น โดยไม่เกิด ต้นทุนที่มีนัยสําคัญ ได้แก่ 96. 1 มีหลักฐาน ซึ่งอาจเกิดจากประสบการณ์ ที่แสดงให้เห็นว่าสิทธิตามสัญญาหรือสิทธิ ทางกฎหมายอื่นจะได้รับการต่ออายุ กรณีที่การต่ออายุนั้นขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของ บุคคลที่สาม หลักฐานดังกล่าวต้องรวมถึงหลักฐานที่แสดงว่าบุคคลที่สามจะให้ ความเห็นชอบด้วย 96.2 มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากิจการจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่จําเป็นสําหรับ การต่ออายุ และ 96.3 ต้นทุนในการต่ออายุไม่มีนัยสําคัญเมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจใน อนาคตที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากการต่ออายุนั้น หากต้นทุนในการต่ออายุมีนัยสําคัญเมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต ที่คาดว่ากิจการจะได้รับจากต่ออายุนั้น ต้นทุนในการต่ออายุนี้ถือเป็นต้นทุนในการได้มาซึ่ง สินทรัพย์ไม่มีตัวตนใหม่ ณ วันที่ต่ออายุ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน ระยะเวลาในการตัดจําหน่ายและวิธีการตัดจําหน่าย 97 กิจการต้องปันส่วนจํานวนที่คิดค่าตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ ทราบได้แน่นอนอย่างเป็นระบบตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการ ต้องเริ่มตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมที่ให้ประโยชน์ได้ กล่าวคือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 เมื่อสินทรัพย์อยู่ในสถานที่และสภาพที่สามารถใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร กิจการต้องหยุดการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ณ วันใดวันหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนระหว่าง วันที่กิจการจัดประเภทสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ( หรือรวมอยู่ในกลุ่ม สินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ) ตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 กับวันที่กิจการเลิกรับรู้สินทรัพย์นั้น วิธีการตัดจําหน่ายที่ ใช้ต้องสะท้อนถึงรูปแบบที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต หากไม่ สามารถกําหนดรูปแบบดังกล่าวได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องใช้วิธีเส้นตรงใน การตัดจําหน่าย ค่าตัดจําหน่ายในแต่ละรอบระยะเวลาต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน เว้นแต่ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้หรือมาตรฐานฉบับอื่นจะอนุญาตหรือกําหนดให้กิจการนํา ค่าตัดจําหน่ายดังกล่าวไปรวมเป็นมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์อื่นๆ 98 วิธีการตัดจําหน่ายที่ใช้ในการปันส่วนจํานวนที่คิดค่าตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ตามเกณฑ์ที่เป็นระบบตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นมีหลายวิธีการ วิธีการดังกล่าว รวมถึงวิธีเส้นตรง วิธียอดคงเหลือลดลง และวิธีจํานวนผลผลิต กิจการเลือกใช้วิธีการตัดจําหน่าย ตามรูปแบบที่คาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่อยู่ในสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และ ใช้วิธีการตัดจําหน่ายนั้นอย่างสมํ่าเสมอในทุกรอบระยะเวลา เว้นแต่รูปแบบที่คาดว่าจะได้ใช้ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไป 98 ก มีข้อสันนิษฐานว่าวิธีการตัดจําหน่ายที่อ้างอิงจากรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมซึ่งรวมการใช้สินทรัพย์ ไม่มีตัวตนเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม รายได้ที่เกิดจากกิจกรรมที่รวมการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมักจะ สะท้อนปัจจัยต่างๆ ที่ไม่เชื่อมโยงโดยตรงกับการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่อยู่ในสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนนั้น ตัวอย่างเช่น รายได้ ได้รับผลกระทบจากปัจจัยนําเข้าอื่นและกระบวนการอื่น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขาย การเปลี่ยนแปลงในปริมาณขายและราคา ราคาซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของรายได้อาจถูกกระทบโดยภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับวิธีที่กิจการใช้ประโยชน์ จากสินทรัพย์นั้น ข้อสันนิษฐานนี้ไม่สามารถนํามาใช้ได้ในบางสภาพแวดล้อมที่จํากัด 98 ก . 1 ในกรณีที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแสดงถึงการวัดมูลค่าของรายได้ ตามที่อธิบายไว้ใน ย่อหน้าที่ 98 ค หรือ 98 ก .2 เมื่อพิสูจน์ได้ว่ารายได้และการได้ใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก 98 ข ในการเลือกวิธีการตัดจําหน่ายให้เหมาะสมตามที่กล่าวในย่อหน้า 98 กิจการสามารถกําหนด ปัจจัยที่เป็นข้อจํากัดที่ต้องพิจารณาเป็นลําดับแรกซึ่งมีอยู่เป็นปกติในสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น ตัวอย่างเช่น สัญญาซึ่งกําหนดให้สิทธิกิจการในการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อาจมีการกําหนดไว้ ล่วงหน้าของจํานวนปี ( ระยะเวลา ) จํานวนหน่วยการผลิต หรือจํานวนคงที่ของยอดรายได้ ที่จะเกิดขึ้น การระบุปัจจัยที่เป็นข้อจํากัดที่ต้องพิจารณาเป็นลําดับแรกจะเป็นจุดเริ่มต้นของการ ระบุเกณฑ์ของการตัดจําหน่ายที่เหมาะสม แต่เกณฑ์อื่นอาจนํามาปฏิบัติใช้ได้หากเกณฑ์ดังกล่าว สะท้อนรูปแบบของการได้ใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้ใกล้เคียงกว่า
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 98 ค ในสภาพแวดล้อมที่ปัจจัยที่เป็นข้อจํากัดที่ต้องพิจารณาเป็นลําดับแรกที่มีอํานาจเหนือกว่า ซึ่งมีอยู่ เป็นปกติวิสัยในสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นเรื่องของการบรรลุผลสําเร็จในรายได้ รายได้ที่เกิดขึ้น สามารถนํามาเป็นเกณฑ์ในการตัดจําหน่าย ตัวอย่างเช่น กิจการได้มาซึ่งสัมปทานการสํารวจและ สกัดแร่ทองคําจากเหมืองทองคํา การหมดอายุของสัญญาอาจขึ้นอยู่กับจํานวนคงที่ของรายได้รวมที่ เกิดจากการสกัดแร่ ( เช่น สัญญาอาจอนุญาตให้สกัดแร่ทองคําจากเหมืองแร่จนกระทั่งยอดรวม ของรายได้จากการขายทองคําครบ 2 พันล้านบาท ) และไม่ได้ขึ้นกับระยะเวลาหรือปริมาณทอง ที่ขุดได้ ตัวอย่างอื่น เช่น สิทธิในการดําเนินงานทางด่วนสามารถขึ้นอยู่กับจํานวนรายได้คงที่ที่เกิด จากการเก็บค่าทางด่วน ( ตัวอย่างเช่น สัญญาอนุญาตให้การดําเนินงานทางด่วนได้จนกระทั่ง ยอดเงินที่ได้จากการเก็บค่าทางด่วนมียอดครบ 1 00 ล้านบาท ) ในกรณีการก่อให้เกิดขึ้นของ รายได้ถือเป็นปัจจัยที่จํากัดที่มีอํานาจเหนือกว่าในสัญญาสําหรับการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน การก่อให้เกิดขึ้นของรายได้ดังกล่าวอาจเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมที่จะมาใช้ตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เนื่องจากสัญญามีการระบุจํานวนคงที่ของยอดรายได้ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะนํามาใช้ในการพิจารณา การตัดจําหน่าย 99 โดยปกติกิจการรับรู้ค่าตัดจําหน่ายในกําไรหรือขาดทุน อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่อยู่ในสินทรัพย์ไม่มีตัวตนถือเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตสินทรัพย์อื่น ในกรณีดังกล่าว ค่าตัดจําหน่ายถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์อื่น และนําไปรวมเป็น มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ตัวอย่างเช่น ค่าตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ใช้ใน กระบวนการผลิตต้องนําไปรวมเป็นมูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ ) มูลค่าคงเหลือ 100 กิจการต้องกําหนดมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้ แน่นอนให้เป็นศูนย์ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 100.1 มีข้อผูกมัดว่าบุคคลที่สามจะซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้ประโยชน์ หรือ 100.2 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมีตลาดที่มีสภาพคล่องรองรับ ( ตามที่นิยามในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 และเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 100.2.1 มูลค่าคงเหลือสามารถกําหนดโดยอ้างอิงกับตลาดที่มีสภาพคล่องนั้น และ 100.2.2 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ตลาดที่มีสภาพคล่องนั้นจะมีอยู่ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ 1 0 1 จํานวนที่คิดค่าตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอนต้อง กําหนดหลังจากหักมูลค่าคงเหลือ มูลค่าคงเหลือที่ไม่เท่ากับศูนย์บ่งชี้ว่ากิจการคาดว่าจะจําหน่าย สินทรัพย์ไม่มีตัวตนก่อนที่สินทรัพย์นั้นจะสิ้นสุดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 1 02 กิจการต้องประมาณการมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจากมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนจาก การจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยใช้ราคา ณ วันที่ประมาณการ สําหรับการขายสินทรัพย์ ที่คล้ายคลึงกันซึ่งสิ้นสุดอายุการใช้ประโยชน์ และมีการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ภายใต้ สถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่กิจการคาดว่าจะนําสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้ประโยชน์ ในอนาคต กิจการต้องทบทวนมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างน้อยทุกงวดปีบัญชี กิจการต้องปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยถือเป็น การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด 1 03 มูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจนเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่าตามบัญชี ของสินทรัพย์นั้น ในกรณีดังกล่าวค่าตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะเท่ากับศูนย์จนกว่า มูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ในภายหลังลดลงตํ่ากว่ามูลค่าตามบัญชี การทบทวนระยะเวลาในการตัดจําหน่ายและวิธีการตัดจําหน่าย 104 กิจการต้องทบทวนระยะเวลาในการตัดจําหน่ายและวิธีการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอนอย่างน้อยทุกงวดปีบัญชี กิจการต้องเปลี่ยนแปลง ระยะเวลาในการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หากอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ ที่คาดไว้แตกต่างจากที่ประมาณการไว้ในอดีต ในทํานองเดียวกัน กิจการต้องเปลี่ยนแปลง วิธีการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบที่เปลี่ยนไป หากรูปแบบของการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่อยู่ในสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไป กิจการต้องถือว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งสองกรณีเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 1 05 ในระหว่างอายุของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการอาจเห็นว่าอายุการใช้ประโยชน์ที่ประมาณการไว้นั้น ไม่เหมาะสมอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น การรับรู้รายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าอาจบ่งชี้ว่า ระยะเวลาในการตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลง 1 06 เมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนอาจเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น กิจการอาจเห็นว่าการตัดจําหน่ายด้วยวิธียอดคงเหลือ ลดลงเหมาะสมกว่าวิธีเส้นตรง อีกตัวอย่างหนึ่งคือในกรณีที่การใช้สิทธิที่ได้รับจากใบอนุญาต จําเป็นต้องเลื่อนเวลาออกไปเนื่องจากต้องรอให้ส่วนประกอบอื่นของแผนธุรกิจดําเนินการก่อน ในกรณีดังกล่าว กิจการอาจไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากสินทรัพย์จนกว่ารอบระยะเวลาต่อมา
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 1 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน 107 กิจการต้องไม่ตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน 1 08 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 กําหนดให้กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอนโดยการเปรียบเทียบมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนกับมูลค่าตาม บัญชีของสินทรัพย์นั้น 1 08. 1 เป็นประจําทุกปี และ 1 08.2 เมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอาจเกิดการด้อยค่า การทบทวนการประเมินอายุการใช้ประโยชน์ 109 ในแต่ละรอบระยะเวลา กิจการต้องทบทวนอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่ไม่ได้มีการตัดจําหน่าย เพื่อพิจารณาว่าเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ยังคง สนับสนุนว่าอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นไม่ทราบแน่นอนหรือไม่ หากเหตุการณ์หรือ สถานการณ์ต่างๆ ไม่สนับสนุนว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีอายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน กิจการต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลงประมาณการอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์จาก สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอนเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการ ใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน โดยถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชี ตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 11 0 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 การที่กิจการประเมินอายุการใช้ประโยชน์ของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนใหม่จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอนเป็น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอนเป็นข้อบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าสินทรัพย์ดังกล่าว อาจเกิดการด้อยค่า ดังนั้น กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์โดยการเปรียบเทียบมูลค่าที่ คาดว่าจะได้รับคืน ( ที่กําหนดตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36) กับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ และรับรู้ส่วนของมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเป็นผลขาดทุนจากการด้อยค่า ของสินทรัพย์ มูลค่าตามบัญชีที่จะได้รับคืน – ผลขาดทุนจากการด้อยค่า 111 ในการกําหนดว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นเกิดการด้อยค่าหรือไม่ กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 36 มาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าวอธิบายว่ากิจการต้องทบทวนมูลค่าตาม บัญชีของสินทรัพย์เมื่อใด และอย่างไร วิธีการกําหนดมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ และเมื่อใดที่กิจการต้องรับรู้หรือกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 การเลิกใช้และการจําหน่าย 112 กิจการต้องเลิกรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เมื่อ 112.1 กิจการจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือ 112.2 กิจการคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการนําสินทรัพย์นั้น มาใช้ประโยชน์หรือจําหน่าย 113 กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างจํานวนเงินสุทธิที่ได้รับจากการจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( ถ้ามี ) กับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นเป็นผลกําไรหรือผลขาดทุนจากการเลิกรับรู้รายการ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนในกําไรหรือขาดทุน เมื่อเลิกรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( เว้นแต่มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นสําหรับการขายและเช่ากลับคืน ) ทั้งนี้กิจการต้องไม่จัดประเภทผลกําไรที่เกิดขึ้นจากการตัดรายการเป็นรายได้หลัก 11 4 การจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอาจเกิดขึ้นได้ในหลายวิธีการ ( เช่น การขาย การทําสัญญาเช่า เงินทุน หรือการบริจาค ) วันที่จําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน คือวันที่ผู้รับมีอํานาจควบคุมใน สินทรัพย์นั้นตามข้อกําหนดในการพิจารณาว่าภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 1 5 และใช้เกณฑ์ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 6 สําหรับ การจําหน่ายสินทรัพย์โดยการขายและเช่ากลับคืน 11 5 เพื่อให้เป็นไปตามหลักการรับรู้รายการในย่อหน้า 2 1 กิจการรับรู้ต้นทุนการเปลี่ยนแทนบางส่วน ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนรวมอยู่ในมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น และเลิกรับรู้ มูลค่าตามบัญชีของส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนออก กรณีที่ไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติในการกําหนด มูลค่าตามบัญชีของส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทน กิจการอาจใช้ต้นทุนการเปลี่ยนแทนกําหนดเป็นต้นทุน ของส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทน ณ วันที่ได้มาหรือวันที่เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นภายในกิจการ 11 5 ก ในกรณีของการได้สิทธิกลับมาใหม่จากการรวมธุรกิจ หากสิทธิดังกล่าวได้มีการออกใหม่ ( ขาย ) ให้กับบุคคลที่สามในภายหลัง มูลค่าตามบัญชีที่เกี่ยวข้อง ( ถ้ามี ) ต้องนําไปใช้ในการกําหนด ผลกําไรหรือผลขาดทุนจากการออกสิทธิใหม่ 11 6 จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ถูกรวมในผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนตามข้อกําหนดของการกําหนดราคาของรายการในย่อหน้าที่ 47 ถึง 72 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 5 การเปลี่ยนแปลงในภายหลังของจํานวนเงินโดยประมาณของ สิ่งตอบแทนซึ่งรวมในผลกําไรหรือขาดทุนต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ ราคาของรายการตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 5 11 7 กิจการต้องไม่หยุดการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน เมื่อสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นไม่ได้ใช้อีกต่อไป เว้นแต่กรณีที่กิจการได้ตัดจําหน่ายสินทรัพย์ดังกล่าว เต็มจํานวนแล้วหรือได้จัดประเภทสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ( หรือสินทรัพย์ ดังกล่าวรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ) ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 การเปิดเผยข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลทั่วไป 118 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ในงบการเงินสําหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละประเภท โดยแบ่งแยกระหว่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนประเภทอื่น 118.1 อายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนทราบได้แน่นอนหรือไม่ทราบ แน่นอนหากเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอายุการใช้ประโยชน์หรืออัตราการตัดจําหน่ายที่ใช้ 118.2 วิธีการตัดจําหน่ายสําหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ทราบได้ แน่นอน 118.3 มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหัก และค่าตัดจําหน่ายสะสม ( รวมทั้งผลขาดทุน จากการด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์ ) ณ วันเริ่มต้นและวันสิ้นรอบระยะเวลา 118.4 รายการแต่ละบรรทัดที่แสดงในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จซึ่งได้รวมค่าตัดจําหน่าย ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนไว้ 118.5 การกระทบยอดระหว่างมูลค่าตามบัญชี ณ วันเริ่มต้นกับมูลค่าตามบัญชี ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาที่แสดงถึงรายการต่อไปนี้ 118.5.1 จํานวนเงินของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เพิ่มขึ้น โดยแยกแสดง สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจากการพัฒนาขึ้นภายในกิจการ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ 118.5.2 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายหรือ รวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือ ไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 และการ จําหน่ายอื่น 118.5.3 จํานวนเงินของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่าง รอบระยะเวลาที่เกิดจากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ ตามที่กําหนดไว้ ในย่อหน้าที่ 75 และ 85 ถึง 86 และที่เกิดจากผลขาดทุนจาก การด้อยค่าของสินทรัพย์ซึ่งรับรู้หรือกลับรายการในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ( ถ้ามี ) ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 118.5.4 ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่รับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุนระหว่างรอบระยะเวลา ( ถ้ามี ) ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 118.5.5 ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กลับรายการ ในกําไรหรือขาดทุนระหว่างรอบระยะเวลา ( ถ้ามี ) ตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 36 118.5.6 ค่าตัดจําหน่ายที่รับรู้ในระหว่างรอบระยะเวลา 118.5.7 ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิที่เกิดจากการแปลงค่างบการเงิน ให้เป็นสกุลเงินที่ใช้นําเสนองบการเงิน และการแปลงค่าผลการ ดําเนินงานในต่างประเทศเป็นสกุลเงินที่ใช้นําเสนองบการเงินของ กิจการ และ 118.5.8 การเปลี่ยนแปลงอื่นของมูลค่าตามบัญชีในระหว่างรอบระยะเวลา 11 9 ประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน คือ กลุ่มของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีธรรมชาติและประโยชน์ การใช้งานที่คล้ายคลึงกันในการดําเนินงานของกิจการ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอาจแยกประเภทได้ ตามตัวอย่างต่อไปนี้ 11 9. 1 ชื่อยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ 11 9.2 หัวหนังสือและชื่อสิ่งพิมพ์ 11 9.3 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 11 9.4 ใบอนุญาต และสิทธิที่จะใช้ชื่อและดําเนินธุรกิจ 11 9.5 ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และสิทธิในทรัพย์สินเชิงอุตสาหกรรม สิทธิในการดําเนินงานและ การให้บริการ 11 9.6 สูตรอาหาร สูตรอื่น แบบจําลอง การออกแบบ และต้นแบบ และ 11 9.7 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กล่าวถึงข้างต้นสามารถแยกเป็นประเภทย่อยหรือรวมกันเป็น ประเภทที่ใหญ่ขึ้นได้ หากผลในการแยกย่อยหรือการรวมนั้นทําให้ข้อมูลที่เปิดเผยเกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินมากขึ้น 1 20 กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ด้อยค่าตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เพิ่มเติมจากข้อมูลที่กําหนดให้เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 11 8.5.3 ถึง 11 8.5.5 1 2 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและจํานวน เงินของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีที่มีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญในรอบระยะเวลา ปัจจุบันหรือคาดว่าจะมีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญในรอบระยะเวลาต่อไป การเปิดเผยข้อมูล ดังกล่าวอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของรายการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 1 2 1 . 1 การประเมินอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1 2 1 .2 วิธีการตัดจําหน่าย หรือ 1 2 1 .3 มูลค่าคงเหลือ 122 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ในงบการเงิน 122.1 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน และเหตุผลสนับสนุนการประเมินว่าอายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 ในการให้เหตุผล กิจการต้องอธิบายถึงปัจจัยที่มีบทบาทอย่างมีนัยสําคัญ ในการกําหนดว่าสินทรัพย์มีอายุการใช้ประโยชน์ที่ไม่ทราบแน่นอน 122.2 คําอธิบายเกี่ยวกับมูลค่าตามบัญชี และระยะเวลาการตัดจําหน่ายที่เหลืออยู่สําหรับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละรายการที่มีสาระสําคัญต่องบการเงินของกิจการ 122.3 สําหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและรับรู้เริ่มแรกด้วย มูลค่ายุติธรรม ( ดูย่อหน้าที่ 44) 122.3.1 มูลค่ายุติธรรมที่รับรู้เริ่มแรกของสินทรัพย์เหล่านั้น 122.3.2 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์เหล่านั้น และ 122.3.3 สินทรัพย์เหล่านั้นวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการด้วยวิธีราคาทุนหรือ วิธีการตีราคาใหม่ 122.4 การมีอยู่และมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีข้อจํากัดในเรื่องสิทธิ และ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่นําไปใช้เป็นหลักประกันหนี้สิน 122.5 จํานวนเงินที่กิจการมีข้อผูกมัดตามสัญญาสําหรับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1 23 กรณีที่กิจการอธิบายถึงปัจจัยที่มีบทบาทอย่างมีนัยสําคัญในการกําหนดว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตน มีอายุการใช้ประโยชน์ที่ไม่ทราบแน่นอน กิจการพิจารณาถึงปัจจัยที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 90 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่วัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการด้วยวิธีการตีราคาใหม่ 124 หากกิจการปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนด้วยราคาที่ตีใหม่ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อ ต่อไปนี้ 124.1 แสดงข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้โดยแสดงแยกตามประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 124.1.1 วันที่ตีราคาใหม่ 124.1.2 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ตีราคาใหม่ และ 124.1.3 มูลค่าตามบัญชีซึ่งมีการรับรู้ตามประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่มีการตีราคาใหม่ ซึ่งมีการวัดมูลค่าหลังจากการรับรู้รายการโดยใช้ วิธีราคาทุนตามย่อหน้าที่ 74 และ 124.2 จํานวนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ณ วันเริ่มต้นและวันสิ้นรอบระยะเวลาโดยแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงใน ระหว่างรอบระยะเวลา และข้อจํากัดในการนําส่วนเกินทุนนั้นมาแบ่งปันให้กับ ผู้ถือหุ้น 124.3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 1 25 ในการเปิดเผยข้อมูล กิจการอาจจําเป็นต้องนําสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหลายประเภทมารวมกันเป็น ประเภทที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตาม กิจการต้องไม่นําสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหลายประเภทมารวมกัน เป็นประเภทเดียวกัน หากการรวมนั้นจะทําให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแสดงด้วยจํานวนเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยทั้งวิธีราคาทุนและวิธีการตีราคาใหม่
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 รายจ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา 126 กิจการต้องเปิดเผยจํานวนรวมของรายจ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาซึ่งรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย ในระหว่างรอบระยะเวลา 1 27 รายจ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วยรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรม การวิจัยและพัฒนา ( ดูย่อหน้าที่ 66 ถึง 67 สําหรับแนวปฏิบัติเกี่ยวกับประเภทของรายจ่าย ที่ต้องนํามารวมเพื่อการเปิดเผยข้อมูลตามที่ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 1 26) การเปิดเผยข้อมูลอื่น 1 28 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุนให้กิจการเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 1 28. 1 คําอธิบายเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้ตัดจําหน่ายเต็มจํานวนแล้ว แต่กิจการยังใช้ ประโยชน์อยู่ และ 1 28.2 คําอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีนัยสําคัญภายใต้การควบคุมของ กิจการ แต่ไม่ได้รับรู้เป็นสินทรัพย์เนื่องจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าวไม่เป็นไปตาม เกณฑ์การรับรู้รายการตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ หรือเนื่องจากกิจการได้มาซึ่ง สินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นก่อนที่มาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านและวันถือปฏิบัติ 1 29 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 1 30 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป 1 30 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 ง ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 จ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 1 30 ฉ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 ช ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 ซ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 ฌ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 ญ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 1 30 ฎ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 5 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2557 ทําให้มีการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 256 1 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 3 11 4 และ 11 6 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 5 1 30 ฏ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 6 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 3 6 11 3 และ 11 4 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไข เพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 6 1 30 ฐ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 7 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 และ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อ เดือนมิถุนายนปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 3 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการ ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 7 การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน 1 3 1 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) การปฏิบัติก่อนวันบังคับใช้ 1 32 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 1 33 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ( ปรับปรุง 256 1 ) เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน