Tue Aug 08 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 24/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น (เล่มที่ 1)


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 24/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น (เล่มที่ 1)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 24/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นช อบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกป ระกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2565 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 12 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 37: Provisions, Contingent Liabilities and Contingent Assets (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 และ 103 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 69 และเพิ่ม ย่อหน้าที่ 68 ก 94 ก และ 105 สัญญาที่สร้างภาระ – ต้นทุนการทํา ให้เสร็จสิ้นตามสัญญา 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปี ก่อนหน้า - 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 75 และเพิ่ม เชิงอรรถย่อหน้าที่ 10 และเพิ่มย่อหน้าที่ 104 คํานิยามของความมีสาระสําคัญ 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 และ 102 และ ปรับปรุงการอ้างอิงมาตรฐานการรายงานทาง การเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ ขอบเขต 1 คํานิยาม 10 ประมาณการหนี้สินและหนี้สินอื่น 11 ความสัมพันธ์ระหว่างประมาณการหนี้สินกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 12 การรับรู้รายการ 14 ประมาณการหนี้สิน 14 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 27 สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น 31 การวัดมูลค่า 36 ประมาณการที่ดีที่สุด 36 ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน 42 มูลค่าปัจจุบัน 45 เหตุการณ์ในอนาคต 48 การจําหน่ายสินทรัพย์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 51 รายจ่ายที่จะได้รับชดเชย 53 การเปลี่ยนแปลงประมาณการหนี้สิน 59 การนําประมาณการหนี้สินมาใช้ 61 การนําข้อกําหนดเกี่ยวกับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่ามาปฏิบัติ 63 ขาดทุนจากการดําเนินงานในอนาคต 63 สัญญาที่สร้างภาระ 66 การปรับโครงสร้าง 70 การเปิดเผยข้อมูล 84 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 93 วันถือปฏิบัติ 95

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 101 ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่าน โดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติ ในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ากิจการได้นําเกณฑ์การรับรู้รายการและ การวัดมูลค่ามาถือปฏิบัติกับประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น อย่างเหมาะสม และมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน อย่างเพียงพอ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจถึงธรรมชาติ จังหวะเวลา และจํานวนเงิน ที่แสดงอยู่ในงบการเงินนั้น ขอบเขต 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับกิจการทุกกิจการในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ยกเว้นรายการต่อไปนี้ 1.1 รายการที่เป็นผลจากสัญญาที่มีผลบังคับแล้ว ยกเว้นสัญญาที่สร้างภาระแก่กิจการ 1.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 1.3 รายการที่ครอบคลุมโดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ให้ถือปฏิบัติกับเครื่องมือทางการเงิน ( รวมถึงการคํ้าประกัน ) ที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน 3 สัญญาที่มีผลบังคับแล้ว คือ สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ปฏิบัติตามภาระผูกพัน ที่ให้ไว้หรือได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันที่ให้ไว้เพียงบางส่วนอย่างเท่าเทียมกัน กิจการไม่นํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาปฏิบัติกับสัญญาที่มีผลบังคับแล้ว เว้นแต่สัญญานั้นเป็นสัญญา ที่สร้างภาระแก่กิจการ 4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 5 กิจการนํามาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นมาปฏิบัติแทนมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้หากมาตรฐาน การบัญชีฉบับอื่นครอบคลุมถึงการปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ ของประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างประเภทของ ประมาณการหนี้สินที่ครอบคลุมโดยมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นมีดังต่อไปนี้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 5.1 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 5.2 ภาษีเงินได้ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ) 5.3 สัญญาเช่า ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ) อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ถือปฏิบัติสําหรับสัญญาเช่าใดๆ ที่สร้างภาระแก่กิจการก่อน วันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผลตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับสัญญาเช่าระยะสั้นและสัญญาเช่าซึ่งสินทรัพย์ อ้างอิงมีมูลค่าตํ่าที่ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 และเป็นสัญญาที่สร้างภาระแก่กิจการ 5.4 ผลประโยชน์ของพนักงาน ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของ พนักงาน ) 5.5 สัญญาประกันภัยและสัญญาอื่นภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 5.6 สิ่งตอบแทนที่ผู้ซื้อคาดว่าจะต้องจ่ายในการรวมธุรกิจ ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ ) และ 5.7 รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ) อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ไม่ได้ให้ข้อกําหนดที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสัญญาที่ทํากับลูกค้าที่สร้างหรือ มีภาระแก่กิจการ ดังนั้น กิจการต้องนํามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาปฏิบัติกับสัญญา ดังกล่าว 6 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 7 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้คํานิยามสําหรับคําว่า “ ประมาณการหนี้สิน ” หมายถึง หนี้สิน ที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจํานวนเงินที่ต้องจ่ายชําระ ในบางประเทศ คําว่า ประมาณการหนี้สินใช้ในบริบทของรายการอื่น เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าเผื่อการด้อยค่า ของสินทรัพย์ และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นรายการที่ใช้ปรับปรุงมูลค่า ตามบัญชีของสินทรัพย์ ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงไม่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติทางบัญชี เกี่ยวกับรายการดังกล่าว 8 มาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นกําหนดว่ารายจ่ายใดถือเป็นสินทรัพย์และรายจ่ายใดถือเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้ห้ามหรือกําหนดให้นําต้นทุนที่รับรู้เมื่อกิจการรับรู้ ประมาณการหนี้สินมารวมเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ 9 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับประมาณการหนี้สินที่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงการดําเนินงานที่ยกเลิก เมื่อการปรับโครงสร้างเป็นไปตามคํานิยามการดําเนินงาน ที่ยกเลิก กิจการอาจต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 คํานิยาม 10 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือ จํานวนที่ต้องจ่ายชําระ หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ ในอดีตที่การชําระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้ กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ 1 เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิด ภาระผูกพัน หมายถึง เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระ ผูกพันจากการอนุมานซึ่งเป็นผลให้กิจการต้องจ่ายชําระ ภาระผูกพันนั้นโดยไม่มีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ ภาระผูกพันตาม หมายถึง ภาระผูกพันที่เกิดจากรายการใดรายการหนึ่งต่อไปนี้ กฎหมาย 1) สัญญา ( ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้งหรือ โดยนัย ) 2) กฎหมายที่ใช้บังคับ หรือ 3) กระบวนการตามกฎหมายอื่น ภาระผูกพันจากการ อนุมาน หมายถึง ภาระผูกพันที่เกิดจากการกระทําของกิจการเมื่อเป็นไปตาม ข้อกําหนดทุกข้อต่อไปนี้ 1) กิจการแสดงออกให้ฝ่ายอื่นๆ เห็นว่ากิจการ จะยอมรับผิดชอบบางประการ โดยการปฏิบัติ ในอดีตจนถือเป็นแบบแผน โดยนโยบายที่ประกาศใช้ หรือโดยคําแถลงการณ์ในปัจจุบันที่มีความ เฉพาะเจาะจงอย่างเพียงพอ 2) การกระทําตามข้อ 1) ของกิจการสร้างความคาดหมาย ที่มีมูลความจริงให้กับฝ่ายอื่นๆ ว่ากิจการจะ รับผิดชอบบางประการดังกล่าวนั้น 1 คํานิยามของหนี้สินในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้ถูกปรับปรุงตามการปรับปรุงของคํานิยามของหนี้สินใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ( ที่ปรับปรุงในปี 2563)

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น หมายถึง รายการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 1) ภาระผูกพันที่เป็นไปได้ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ในอดีตและการมีอยู่จริงของภาระผูกพันนั้น จะได้รับการยืนยันโดยการเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ของเหตุการณ์ในอนาคตที่มีความไม่แน่นอน เหตุการณ์หนึ่งหรือมากกว่าเท่านั้นเหตุการณ์ ดังกล่าวไม่อยู่ในความควบคุมใดๆ ของกิจการ หรือ 2) ภาระผูกพันปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ในอดีต แต่ไม่ได้รับรู้เนื่องจาก (1) ไม่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการ จําเป็นต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจเพื่อชําระภาระผูกพัน หรือ (2) จํานวนเงินของภาระผูกพันไม่สามารถ วัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น หมายถึง สินทรัพย์ที่เป็นไปได้ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีต และการมีอยู่ของสินทรัพย์นั้นจะได้รับการยืนยัน โดยการเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ในอนาคต ที่มีความไม่แน่นอนเหตุการณ์หนึ่งหรือมากกว่าเท่านั้น โดยเหตุการณ์ดังกล่าวไม่อยู่ในความควบคุมใดๆ ของกิจการ สัญญาที่สร้างภาระ หมายถึง สัญญาที่ก่อให้เกิดต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปฏิบัติ ตามภาระผูกพันที่ระบุไว้ภายใต้สัญญา ซึ่งต้นทุนดังกล่าว มีจํานวนสูงกว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับ จากสัญญานั้น การปรับโครงสร้าง หมายถึง แผนงานที่อยู่ภายใต้การวางแผนและควบคุมของ ฝ่ายบริหารของกิจการซึ่งทําให้รายการใดรายการหนึ่ง ต่อไปนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสําคัญ 1) ขอบเขตในการดําเนินธุรกิจของกิจการ หรือ 2) ลักษณะการดําเนินธุรกิจ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 ประมาณการหนี้สินและหนี้สินอื่น 11 ประมาณการหนี้สินสามารถแยกจากหนี้สินประเภทอื่น เช่น เจ้าหนี้การค้าและรายการค้างจ่าย เนื่องจากประมาณการหนี้สินจะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาและจํานวนของรายจ่าย ในอนาคตที่ต้องจ่ายชําระ การเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง 11.1 เจ้าหนี้การค้าเป็นหนี้สินที่กิจการจ่ายสําหรับสินค้าหรือบริการที่ได้รับหรือบริโภค ที่กิจการยังไม่ได้จ่ายชําระ โดยได้รับใบเรียกเก็บเงินหรือตกลงอย่างเป็นทางการ กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ และ 11.2 รายการค้างจ่ายเป็นหนี้สินที่กิจการจ่ายสําหรับสินค้าหรือบริการที่ได้รับหรือบริโภค ที่กิจการยังไม่ได้จ่ายชําระ ยังไม่ได้รับใบเรียกเก็บเงิน หรือยังไม่ได้ตกลงอย่างเป็นทางการ กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ รวมถึงจํานวนที่ค้างชําระกับพนักงาน เช่น ค่าพักร้อน ค้างจ่าย แม้ว่าในบางครั้งกิจการจําเป็นต้องประมาณจํานวนหรือจังหวะเวลาของรายการ ค้างจ่าย แต่ตามปกติการประมาณดังกล่าวจะมีความไม่แน่นอนน้อยกว่าการประมาณ จํานวนหรือจังหวะเวลาของประมาณการหนี้สิน ตามปกติกิจการจะแสดงรายการค้างจ่ายเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าหนี้การค้าหรือเจ้าหนี้อื่นในขณะที่ แสดงประมาณการหนี้สินเป็นรายการแยกต่างหาก ความสัมพันธ์ระหว่างประมาณการหนี้สินกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 12 ตามความหมายโดยทั่วไป ประมาณการหนี้สินทุกประเภท คือ หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก มีจํานวนหรือจังหวะเวลาของการจ่ายชําระที่ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กําหนดให้ใช้คําว่า “ หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ” เฉพาะกับหนี้สิน และสินทรัพย์ที่ไม่สามารถรับรู้ได้ เนื่องจากการที่จะทราบว่าหนี้สินหรือสินทรัพย์ดังกล่าวมีอยู่ หรือไม่นั้นต้องได้รับการยืนยันต่อเมื่อเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งยังมีความไม่แน่นอนเหตุการณ์หนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ดังกล่าวไม่อยู่ในความควบคุม ทั้งหมดของกิจการ นอกจากนั้นมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ยังกําหนดให้ใช้คําว่า “ หนี้สิน ที่อาจเกิดขึ้น ” กับหนี้สินที่ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ 13 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดข้อแตกต่างระหว่างประมาณการหนี้สินกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ 13.1 ประมาณการหนี้สินเป็นประมาณการที่กิจการรับรู้เป็นหนี้สิน ( หากกิจการสามารถ ประมาณมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ) เนื่องจากประมาณการหนี้สินเป็นภาระผูกพัน ในปัจจุบันซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันนั้น และ 13.2 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น คือ หนี้สินที่กิจการยังไม่รับรู้เป็นหนี้สินได้เนื่องจากเหตุผลข้อใด ข้อหนึ่งต่อไปนี้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 13.2.1 เป็นภาระผูกพันที่เป็นไปได้เนื่องจากยังไม่ได้รับการยืนยันว่ากิจการ มีภาระผูกพันปัจจุบันที่จะนําไปสู่การสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจ หรือ 13.2.2 เป็นภาระผูกพันปัจจุบันซึ่งยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ ที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( เนื่องจากไม่มีความเป็นไปได้ ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เพื่อจ่ายชําระภาระผูกพัน หรือกิจการไม่สามารถประมาณจํานวนของ ภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ ) การรับรู้รายการ ประมาณการหนี้สิน 14 ประมาณการหนี้สิน ต้องรับรู้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 14.1 กิจการมีภาระผูกพันปัจจุบัน ( ภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจาก การอนุมาน ) ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต 14.2 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ของกิจการเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันดังกล่าว และ 14.3 สามารถประมาณจํานวนของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ต้องไม่มีการรับรู้ประมาณการหนี้สิน ภาระผูกพันปัจจุบัน 15 ในกรณีที่ยากยิ่งที่จะเกิด เมื่อมีความไม่ชัดเจนว่ากิจการมีภาระผูกพันปัจจุบันหรือไม่ ในกรณีดังกล่าวให้ถือว่าเหตุการณ์ในอดีตมีผลทําให้เกิดภาระผูกพันปัจจุบัน ถ้าจากหลักฐาน ทั้งหมดที่มีอยู่พิจารณาได้ว่ามีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเป็นไปไม่ได้ที่ภาระผูกพันปัจจุบัน มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 16 ในเกือบทุกกรณี จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์ในอดีตมีผลทําให้เกิดภาระผูกพันปัจจุบัน หรือไม่ แต่ในกรณีที่ยากยิ่งที่จะเกิด ตัวอย่างเช่น การฟ้องร้องตามกฎหมาย อาจมีการโต้แย้งกันว่า เหตุการณ์บางเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทําให้กิจการ มีภาระผูกพันปัจจุบันหรือไม่ ในกรณีดังกล่าว กิจการต้องพิจารณาหลักฐานทั้งหมดที่มี ซึ่งรวมถึงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อกําหนดว่ากิจการมีภาระผูกพันปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลารายงานหรือไม่ หลักฐานที่พิจารณารวมถึงหลักฐานเพิ่มเติมที่ได้รับจากหลักฐาน ดังกล่าว กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดทุกข้อต่อไปนี้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 16.1 ในกรณีมีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเป็นไปไม่ได้ที่กิจการมีภาระผูกพันปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สิน ( หากเข้าเกณฑ์ การรับรู้รายการ ) และ 16.2 ในกรณีมีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเป็นไปไม่ได้ที่กิจการไม่มีภาระผูกพันในปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องเปิดเผยหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เว้นแต่ ความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ไม่น่า เป็นไปได้ ( ดูย่อหน้าที่ 86) เหตุการณ์ในอดีต 17 เหตุการณ์ในอดีตที่มีผลทําให้ภาระผูกพันปัจจุบันเกิดขึ้น เรียกว่าเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิด ภาระผูกพัน เหตุการณ์ในอดีตจะถือเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันได้ก็ต่อเมื่อเหตุการณ์ นั้นเป็นเหตุให้กิจการต้องจ่ายชําระภาระผูกพันโดยไม่มีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ สถานการณ์ ดังกล่าวเกิดขึ้นได้เฉพาะต่อเมื่อเป็นไปตามข้อกําหนดข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 17.1 เมื่อการจ่ายชําระภาระผูกพันสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย หรือ 17.2 ในกรณีของภาระผูกพันจากการอนุมาน เมื่อเหตุการณ์ ( ซึ่งอาจเป็นการกระทําของกิจการ ) ได้สร้างความคาดหมายอย่างมีมูลความจริงกับฝ่ายอื่นๆ ว่ากิจการจะรับผิดชอบต่อภาระ ผูกพันที่เกิดขึ้น 18 งบการเงินมีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ไม่ใช่ฐานะการเงินที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต ดังนั้น กิจการไม่รับรู้ประมาณการหนี้สินสําหรับ ต้นทุนที่จําเป็นจะต้องเกิดขึ้นเพื่อการดําเนินงานในอนาคต หนี้สินที่กิจการรับรู้ในงบฐานะการเงิน เป็นหนี้สินที่กิจการมีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานเท่านั้น 19 ประมาณการหนี้สินที่กิจการรับรู้เป็นภาระผูกพันที่เกิดจากเหตุการณ์ในอดีตและไม่ขึ้นกับ การกระทําในอนาคตของกิจการ ( กล่าวคือ สิ่งที่กิจการจะกระทําในอนาคตในการประกอบธุรกิจ ) ตัวอย่างเช่น การที่กิจการต้องจ่ายค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายในการกําจัดมลพิษเนื่องจากกระทําผิด กฎหมายสิ่งแวดล้อม การจ่ายค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะทําให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากร ที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อชําระภาระผูกพันที่เกิดขึ้นไม่ว่าการกระทําในอนาคตของกิจการ จะเป็นเช่นไร ในทํานองเดียวกันกิจการรับรู้ประมาณการหนี้สินสําหรับต้นทุนในการรื้อถอน แท่นขุดเจาะนํ้ามันหรือโรงงานไฟฟ้าปรมาณูเท่ากับจํานวนที่กิจการต้องรับผิดชอบเพื่อแก้ไข ความเสียหายที่ได้เกิดขึ้น ในทางกลับกัน กิจการอาจได้รับแรงกดดันเชิงพาณิชย์หรือข้อกําหนด ตามกฎหมายที่ทําให้กิจการอาจจะมีความตั้งใจหรือจําเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินเพื่อการดําเนินงาน อย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต เช่น การติดตั้งเครื่องกรองควันสําหรับโรงงานบางประเภท ในกรณีนี้ กิจการไม่รับรู้ประมาณการหนี้สินเนื่องจากยังไม่เกิดภาระผูกพันปัจจุบันสําหรับรายจ่าย ในอนาคตนั้น เพราะกิจการสามารถหลีกเลี่ยงรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วยการกระทํา ในอนาคตของกิจการเอง เช่น การเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 20 ภาระผูกพันมักจะเกี่ยวข้องกับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่จะได้รับชําระภาระผูกพัน แต่กิจการ ไม่จําเป็นต้องทราบว่าผู้ที่จะได้รับชําระภาระผูกพันนั้นเป็นใคร ซึ่งตามความเป็นจริงผู้ที่จะได้รับ ชําระภาระผูกพันอาจเป็นสาธารณชนทั่วไปได้ ดังนั้น เนื่องจากภาระผูกพันมักจะเกี่ยวข้องกับ ข้อผูกมัดกับอีกฝ่ายหนึ่ง การตัดสินใจของฝ่ายบริหารหรือคณะกรรมการจะไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพัน จากการอนุมาน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ถ้าการตัดสินใจดังกล่าวไม่ได้มีการสื่อสารก่อนวันสิ้น รอบระยะเวลารายงานไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบในลักษณะเฉพาะเจาะจงอย่างเพียงพอที่จะทําให้ผู้ที่ ได้รับผลกระทบเกิดความคาดหมายอย่างมีมูลความจริงว่ากิจการจะรับผิดชอบต่อภาระผูกพันที่ เกิดขึ้น 21 เหตุการณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพันในทันทีอาจก่อให้เกิดภาระผูกพันในภายหลังเนื่องจาก กฎหมายเปลี่ยนแปลงไป หรือการกระทําบางอย่างของกิจการที่ทําให้ภาระผูกพันจากการอนุมาน เกิดขึ้น ( เช่น การแถลงต่อสาธารณชนในลักษณะเฉพาะเจาะจงอย่างเพียงพอ ) ตัวอย่างเช่น เมื่อกิจการก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม กิจการอาจไม่มีภาระผูกพันที่จะต้องฟื้นฟู ความเสียหายที่เกิดจากการกระทําของกิจการ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้เกิด ความเสียหายจะกลายเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันเมื่อกฎหมายที่ประกาศใหม่ มีผลทําให้กิจการต้องแก้ไขความเสียหายที่มีอยู่ หรือเมื่อกิจการยอมรับต่อสาธารณชนว่า จะรับผิดชอบในการแก้ไขความเสียหายดังกล่าวในลักษณะที่ทําให้เกิดภาระผูกพันจากการ อนุมาน 22 ในกรณีที่รายละเอียดของร่างกฎหมายใหม่ยังไม่ผ่านการพิจารณาขั้นสุดท้าย ภาระผูกพัน จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเสมือนแน่นอนแล้วว่ากฎหมายใหม่จะได้รับการบัญญัติขึ้นตามข้อกําหนด ที่ร่างไว้ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้ถือว่าภาระผูกพันที่เป็นผลจากร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นภาระผูกพันตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันที่เกี่ยวกับการบัญญัติ กฎหมายทําให้กิจการไม่สามารถระบุลงไปได้ว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งทําให้การบัญญัติ กฎหมายเกิดขึ้นอย่างเสมือนแน่นอน ในหลายกรณี กิจการจะไม่สามารถแน่ใจได้อย่างเสมือน แน่นอนว่าร่างกฎหมายใหม่จะได้รับการบัญญัติเป็นกฎหมาย จนกระทั่งกฎหมายนั้นได้รับ การบัญญัติขึ้นจริง ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ 23 หนี้สินที่กิจการสามารถรับรู้รายการได้ต้องไม่เป็นแต่เพียงภาระผูกพันปัจจุบันเท่านั้น แต่ต้องมี ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันดังกล่าว ตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 2 การสูญเสีย ทรัพยากรหรือเหตุการณ์อื่นถือว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ก็ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้น มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นมากกว่าไม่เกิดขึ้น กล่าวคือความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์นั้น 2 การตีความของคําว่าเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ หมายถึง มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นมากกว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้ปฏิบัติในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 จะเกิดขึ้นมีมากกว่าความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์นั้นจะไม่เกิดขึ้น ในกรณีที่ไม่มีความเป็นไปได้ ค่อนข้างแน่ที่ภาระผูกพันปัจจุบันจะมีอยู่ กิจการเปิดเผยหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ยกเว้น ความน่าจะเป็นที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชําระ ภาระผูกพันนั้นจะอยู่ในระดับไม่น่าเป็นไปได้ ( ดูย่อหน้าที่ 86) 24 ในกรณีที่กิจการมีภาระผูกพันที่คล้ายคลึงกันหลายรายการ ( เช่น การรับประกันสินค้าหรือสัญญา ที่คล้ายคลึงกัน ) กิจการกําหนดความน่าจะเป็นที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรเพื่อจ่ายชําระ ภาระผูกพันเหล่านั้น โดยพิจารณาภาระผูกพันที่จัดอยู่ในประเภทนั้นโดยรวมทั้งประเภท แม้ว่า ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันบางรายการ ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันจะมีระดับตํ่า แต่อาจมีความเป็นไปได้ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากร จํานวนหนึ่งไปเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันโดยรวมทั้งประเภทในกรณีดังกล่าว กิจการรับรู้ประมาณการ หนี้สิน ( หากเข้าเงื่อนไขตามเกณฑ์การรับรู้รายการอื่น ) การประมาณการภาระผูกพันที่น่าเชื่อถือ 25 การใช้ประมาณการถือเป็นปัจจัยสําคัญในการจัดทํางบการเงินและไม่ได้ทําให้งบการเงิน ขาดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประมาณการหนี้สิน ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เป็นรายการที่ มีความไม่แน่นอนสูงกว่ารายการอื่นส่วนใหญ่ที่บันทึกอยู่ในงบฐานะการเงิน ยกเว้นในกรณีที่ยาก ยิ่งที่จะเกิด กิจการจะสามารถกําหนดช่วงของจํานวนรายจ่ายที่น่าจะเกิดขึ้น และจึงสามารถ ประมาณการภาระผูกพันที่เชื่อถือได้อย่างเพียงพอที่จะใช้รับรู้เป็นประมาณการหนี้สิน 26 ในกรณีที่ยากยิ่งที่จะเกิดที่กิจการไม่สามารถจัดทําประมาณการได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการ จะไม่สามารถรับรู้หนี้สินนั้นได้ ดังนั้น กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินนั้นเป็นหนี้สิน ที่อาจเกิดขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ 86) หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 27 กิจการต้องไม่รับรู้หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 28 กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 86 เว้นแต่ ความน่าจะเป็นที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นไปได้ 29 ในกรณีที่กิจการรับผิดชอบภาระผูกพันร่วมกับผู้อื่น กิจการต้องถือว่าภาระผูกพันส่วนที่คาดว่า ผู้อื่นต้องรับผิดชอบเป็นหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นของกิจการ และรับรู้ภาระผูกพันส่วนที่มีความเป็นไปได้ ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเป็นประมาณการหนี้สิน เว้นแต่ในสภาพแวดล้อมที่ยากยิ่งที่จะเกิดที่กิจการไม่สามารถประมาณมูลค่าของหนี้สินนั้นได้อย่าง น่าเชื่อถือ 30 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นอาจเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะที่คาดไว้แต่เริ่มแรก ดังนั้น กิจการต้องประเมิน สถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อกําหนดว่ากิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ อยู่ในระดับเป็นไปได้ค่อนข้างแน่แล้วหรือไม่ หากมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสีย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตสําหรับรายการที่เคยถือเป็นหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น กิจการรับรู้ ประมาณการหนี้สินในงบการเงินในรอบระยะเวลาที่ระดับความเป็นไปได้นั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ( เว้นแต่ในสภาพแวดล้อมที่ยากยิ่งที่จะเกิดที่กิจการไม่สามารถจัดทําประมาณการได้อย่าง น่าเชื่อถือ ) สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น 31 กิจการต้องไม่รับรู้สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น 32 สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นมักเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้วางแผนไว้หรือไม่ได้คาดการณ์ไว้ที่ก่อให้เกิด ความน่าจะเป็นที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนที่กิจการกําลังดําเนินการตามกฎหมายซึ่งผลของคดียังไม่แน่นอน 33 กิจการไม่รับรู้สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นในงบการเงิน เนื่องจากอาจทําให้มีการรับรู้รายการรายได้ที่ อาจจะไม่มีวันได้รับเลย อย่างไรก็ตาม หากมีความเสมือนแน่นอนว่ารายได้จะเกิดขึ้นอย่าง แน่นอน รายการสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น และการรับรู้รายการ ดังกล่าวถือว่าเหมาะสม 34 กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 89 หากมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ 35 กิจการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่า งบการเงินจะสะท้อนภาพที่เหมาะสมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดังกล่าว หากสภาพการณ์เปลี่ยน ทําให้มีความเสมือนแน่นอนว่ากิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอย่างแน่นอน กิจการรับรู้ สินทรัพย์และรายได้ที่เกี่ยวข้องในงบการเงินในรอบระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ กิจการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ( ดูย่อหน้าที่ 89) การวัดมูลค่า ประมาณการที่ดีที่สุด 36 กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจํานวนประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่ายที่ต้องนําไป จ่ายชําระภาระผูกพันปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 37 ประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่ายที่ต้องนําไปจ่ายชําระภาระผูกพันปัจจุบัน คือ จํานวนที่ สมเหตุสมผลที่กิจการจะจ่ายเพื่อชําระภาระผูกพันหรือโอนภาระผูกพันให้กับบุคคลที่สาม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ตามปกติมักเป็นไปไม่ได้หรือต้องมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่จะ ยอมรับได้ เพื่อชําระหรือโอน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน อย่างไรก็ตาม ประมาณการของ จํานวนที่สมเหตุสมผลที่กิจการจะจ่ายเพื่อชําระหรือโอนภาระผูกพันถือเป็นประมาณการ ที่ดีที่สุดของรายจ่ายที่ต้องนําไปจ่ายชําระภาระผูกพันปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 38 กิจการต้องประมาณผลลัพธ์ของเหตุการณ์หรือสถานการณ์และผลกระทบทางการเงินโดยใช้ วิจารณญาณของฝ่ายบริหารของกิจการ ประกอบกับประสบการณ์ที่ได้จากรายการที่คล้ายคลึงกัน และในบางกรณีรายงานของผู้เชี่ยวชาญอิสระ หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณาจะรวมถึงหลักฐาน ที่ได้รับเพิ่มเติมจากเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน 39 เนื่องจากมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจํานวนที่จะรับรู้เป็นประมาณการหนี้สิน กิจการจึงต้อง นําวิธีการหลายวิธีตามสภาพแวดล้อมมาใช้ หากประมาณการหนี้สินเกี่ยวข้องกับประชากรที่ ประกอบด้วยรายการจํานวนมาก กิจการต้องประมาณภาระผูกพันโดยการถ่วงนํ้าหนักผลลัพธ์ที่ เป็นไปได้ที่น่าจะเกิดขึ้นทั้งหมดด้วยความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้อง วิธีทางสถิติที่ใช้ในการประมาณนี้ เรียกว่า “ มูลค่าที่คาดว่าจะเกิด ” ดังนั้น ประมาณการหนี้สินอาจมีจํานวนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ความน่าจะเป็นที่รายจ่ายจะเกิดขึ้นมีอัตราไม่เท่ากัน เช่น ร้อยละ 60 หรือร้อยละ 90 หากรายจ่ายที่ น่าจะเกิดขึ้นในช่วงจํานวนที่ประมาณไว้มีความต่อเนื่องกัน และรายจ่ายทุกจุดของช่วงจํานวนนั้นมี ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นเท่าเทียมกัน กิจการต้องใช้รายจ่ายที่น่าจะเกิดขึ้น ณ จุดกึ่งกลางของ ช่วงจํานวนนั้นเป็นตัวแทนของประมาณการหนี้สิน ตัวอย่าง กิจการขายสินค้าโดยให้การรับประกันสินค้า กิจการจะรับผิดชอบต้นทุนในการแก้ไข ความเสียหายที่เกิดขึ้นของสินค้าที่เสียหายจากการผลิตภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ซื้อ ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่เกิดกับสินค้าทุกรายการที่จําหน่าย ต้นทุนในการแก้ไข ความเสียหายจะมีจํานวนประมาณ 1 ล้านบาท หากความเสียหายเป็นความเสียหายที่สําคัญ และเกิดกับสินค้าทุกรายการที่จําหน่าย ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความเสียหายจะมีจํานวน ประมาณ 4 ล้านบาท จากประสบการณ์ในอดีตของกิจการ และความคาดหมายเกี่ยวกับ อนาคตชี้ให้เห็นว่าในปีที่จะมาถึง 75% ของสินค้าที่ขายจะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น 20% ของสินค้าที่ขายจะมีความเสียหายเพียงเล็กน้อย 5% ของสินค้าที่ขายจะมีความเสียหายที่สําคัญ ตามย่อหน้าที่ 24 กิจการจะต้องประเมินความน่าจะเป็นของกระแสเงินสดที่กิจการจะต้องจ่าย สําหรับภาระผูกพันในการรับประกันสินค้าโดยรวมมูลค่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของค่าใช้จ่าย ในการแก้ไขความเสียหายมีดังนี้ (75% ของ 0) + (20 % ของ 1 ล้านบาท ) + (5% ของ 4 ล้านบาท ) = 400,000 บาท 40 ในการประมาณมูลค่าของภาระผูกพันรายการเดียว กิจการอาจเห็นว่าผลลัพธ์จํานวนหนึ่งใด ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดเฉพาะรายการ คือ ประมาณการที่ดีที่สุดของหนี้สิน อย่างไรก็ตาม ในกรณีดังกล่าว กิจการยังคงต้องพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อื่นๆ หากพบว่ารายจ่าย ที่เป็นไปได้อื่นๆ ส่วนใหญ่มีจํานวนสูงกว่าหรือตํ่ากว่าจํานวนผลลัพธ์ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุด ประมาณการที่ดีที่สุดของหนี้สินจะเป็นจํานวนที่สูงกว่าหรือตํ่ากว่าดังกล่าว ตัวอย่างเช่น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 หากกิจการต้องแก้ไขความผิดพลาดสําคัญที่เกิดจากการก่อสร้างโรงงานหลักให้กับลูกค้า กิจการ อาจมีความเห็นว่าผลลัพธ์ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดเฉพาะรายการดังกล่าว คือ ต้นทุนจํานวน 1 พันล้านบาท ถ้าการซ่อมแซมประสบผลสําเร็จในคราวเดียว อย่างไรก็ตาม กิจการอาจต้องรับรู้ ประมาณการหนี้สินด้วยจํานวนที่สูงกว่า 1 พันล้านบาท หากมีโอกาสอย่างมีนัยสําคัญที่กิจการ จะต้องทําการซ่อมแซมหลายครั้งจนกว่างานจะสําเร็จลงได้ 41 กิจการวัดมูลค่าประมาณการหนี้สินก่อนหักภาษีเงินได้ เนื่องจากผลกระทบทางภาษีของ ประมาณการหนี้สินและการเปลี่ยนแปลงประมาณการดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 12 ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน 42 กิจการต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ กับสิ่งที่อยู่แวดล้อมเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งประมาณการที่ดี ที่สุดของประมาณการหนี้สิน 43 ความเสี่ยงชี้ให้เห็นถึงความผันผวนของผลลัพธ์ การปรับความเสี่ยงอาจทําให้จํานวนของ หนี้สินที่มีการวัดมูลค่าสูงขึ้น กิจการต้องใช้วิจารณญาณอย่างระมัดระวังในสถานการณ์ที่มี ความไม่แน่นอน เพื่อที่จะไม่ทําให้รายได้หรือสินทรัพย์แสดงด้วยจํานวนที่สูงเกินไป และทําให้ ค่าใช้จ่ายและหนี้สินแสดงด้วยจํานวนที่ตํ่าเกินไป อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนไม่ใช่เหตุผล ที่จะนํามาสนับสนุนการประมาณจํานวนประมาณการหนี้สินให้สูงเกินความจําเป็นหรือการรับรู้ หนี้สินด้วยจํานวนที่สูงเกินจริงโดยเจตนา ตัวอย่างเช่น ถ้าต้นทุนที่คาดการณ์ไว้สําหรับผลลัพธ์ ที่เป็นผลร้ายอย่างยิ่งได้มีการประมาณโดยใช้หลักความระมัดระวัง จะไม่ถือว่าเป็นการจงใจ พิจารณาว่าผลลัพธ์นั้นมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นมากกว่าที่จะเป็นจริงได้ กิจการต้องใช้ ความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการนําความเสี่ยงและความไม่แน่นอนมาปรับซํ้าซ้อน ซึ่งจะทําให้ ประมาณการหนี้สินมีจํานวนสูงเกินกว่าที่ควรเป็น 44 กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของจํานวนรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นจากประมาณการ หนี้สินตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 85.2 มูลค่าปัจจุบัน 45 กิจการต้องกําหนดจํานวนประมาณการหนี้สินโดยใช้มูลค่าปัจจุบันของรายจ่ายที่คาดว่า จะต้องนํามาจ่ายชําระภาระผูกพัน หากมูลค่าของเงินตามเวลามีผลกระทบต่อจํานวน ประมาณการหนี้สินนั้นอย่างมีสาระสําคัญ 46 เนื่องจากมูลค่าของเงินตามเวลา ประมาณการหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสดที่กิจการ ต้องจ่ายภายหลังรอบระยะเวลารายงานเพียงไม่นานจะสร้างภาระต่อกิจการมากกว่าประมาณการหนี้สิน ที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสดจํานวนเดียวกันที่กิจการต้องจ่ายภายหลังจากนั้น ดังนั้น กิจการคิดลด

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับประมาณการหนี้สินหากมูลค่าของเงินตามเวลามีผลกระทบต่อจํานวน ประมาณการหนี้สินนั้นอย่างมีสาระสําคัญ 47 อัตราคิดลด ( อัตราเดียวหรือหลายอัตรา ) ต้องเป็นอัตราก่อนหักภาษี ซึ่งสะท้อนถึงการประเมิน สถานการณ์ตลาดในปัจจุบันของมูลค่าของเงินตามเวลา และความเสี่ยงเฉพาะของหนี้สิน ที่กําลังพิจารณาอยู่ แต่ต้องไม่สะท้อนถึงความเสี่ยงที่ได้นําไปปรับประมาณการกระแสเงินสด อนาคตไปแล้ว เหตุการณ์ในอนาคต 48 จํานวนประมาณการหนี้สินต้องสะท้อนถึงเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งอาจมีผลกระทบต่อจํานวน ที่กิจการต้องนํามาจ่ายชําระภาระผูกพัน หากมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมเพียงพอที่ทําให้เชื่อได้ ว่าเหตุการณ์ในอนาคตนั้นจะเกิดขึ้น 49 เหตุการณ์ในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอาจมีความสําคัญต่อการวัดมูลค่าประมาณการหนี้สิน ตัวอย่างเช่น กิจการอาจเชื่อว่าต้นทุนในการทําความสะอาดสถานที่เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน ของสถานที่จะมีจํานวนลดลงเนื่องจากวิทยาการที่เปลี่ยนไปในอนาคต จํานวนประมาณการ หนี้สินที่กิจการรับรู้ต้องสะท้อนถึงความคาดหมายอย่างสมเหตุสมผลของผู้สังเกตการณ์ ภายนอกซึ่งเป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรมและคุณสมบัติทางด้านเทคนิคที่เหมาะสม โดยต้อง พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมดเกี่ยวกับวิทยาการที่กิจการสามารถนํามาใช้ได้เมื่อถึงเวลา ที่ต้องทําความสะอาด ดังนั้น จึงเป็นการเหมาะสมที่กิจการจะรวมจํานวนต้นทุนที่คาดว่าจะประหยัดได้ เนื่องจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นจากการนําวิทยาการที่มีอยู่มาใช้ในการทําความสะอาด หรือจํานวน ต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการนําวิทยาการที่มีอยู่มาประยุกต์กับการกําจัดมลพิษที่เป็น งานใหญ่ขึ้นหรือที่ซับซ้อนขึ้นกว่าที่เคยทํามาแล้วในอดีต อย่างไรก็ตาม กิจการต้องไม่คาดล่วงหน้าว่า จะมีการพัฒนาวิทยาการใหม่โดยสิ้นเชิงในการกําจัดมลพิษหากไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เป็น รูปธรรมเพียงพอ 50 กิจการนําผลกระทบของกฎหมายใหม่ที่มีความเป็นไปได้มาพิจารณาเพื่อวัดมูลค่าภาระผูกพัน ที่มีอยู่หากมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมเพียงพอว่ากฎหมายนั้นน่าจะได้รับการบัญญัติขึ้นอย่าง เสมือนแน่นอน ในทางปฏิบัติสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทําให้ไม่สามารถกําหนดได้ว่าเหตุการณ์ ใดเหตุการณ์หนึ่งจะให้หลักฐานที่เป็นรูปธรรม และเพียงพอในทุกกรณี หลักฐานที่ต้องการเป็น กฎหมายจะมีข้อกําหนดอะไรและกฎหมายนั้นจะได้รับการบัญญัติและมีผลบังคับใช้ อย่างเสมือนแน่นอนแล้วหรือไม่ ในหลายกรณี หลักฐานที่เป็นรูปธรรมเพียงพอดังกล่าวจะไม่มีอยู่ จนกระทั่งกฎหมายนั้นจะได้รับการบัญญัติขึ้น การจําหน่ายสินทรัพย์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 51 กิจการต้องไม่นําผลกําไรจากการจําหน่ายสินทรัพย์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมารวมพิจารณา ในการวัดมูลค่าประมาณการหนี้สิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 52 กิจการไม่นํารายการผลกําไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจําหน่ายสินทรัพย์มารวมพิจารณา ในการวัดมูลค่าประมาณการหนี้สิน แม้ว่าการจําหน่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจะเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิด กับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดประมาณการหนี้สิน แต่กิจการรับรู้ผลกําไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก การจําหน่ายสินทรัพย์ ณ เวลาที่กําหนดไว้โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง กับสินทรัพย์ที่คาดว่าจะจําหน่ายนั้น รายจ่ายที่จะได้รับชดเชย 53 หากกิจการคาดว่าจะได้รับชดเชยรายจ่ายทั้งหมดหรือบางส่วนคืนจากบุคคลที่สาม ตามจํานวนที่กิจการจ่ายไปเพื่อชําระประมาณการหนี้สิน กิจการต้องรับรู้รายจ่ายที่จะได้รับ ชดเชยเป็นสินทรัพย์ได้ ก็ต่อเมื่อกิจการมีความเสมือนแน่นอนว่าหลังจากที่จ่ายชําระ ภาระผูกพันแล้วกิจการน่าจะได้รับรายจ่ายนั้นคืนอย่างแน่นอน กิจการต้องรับรู้รายจ่าย ที่จะได้รับชดเชยเป็นสินทรัพย์แยกต่างหากแต่ต้องไม่เกินจํานวนประมาณการหนี้สิน ที่เกี่ยวข้อง 54 กิจการอาจแสดงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับประมาณการหนี้สินในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ โดยแสดงสุทธิจากจํานวนรายจ่ายที่จะได้รับชดเชยที่รับรู้ไว้ 55 ในบางครั้ง กิจการสามารถเรียกร้องให้บุคคลที่สามจ่ายรายจ่ายบางส่วนหรือทั้งหมดที่กิจการ จ่ายไปเพื่อชําระประมาณการหนี้สิน ( เช่น จากสัญญาประกันภัย สัญญาชดเชยค่าเสียหาย หรือ การประกันจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ ) ในกรณีดังกล่าวบุคคลที่สามอาจชดใช้เงินที่กิจการ จ่ายออกไปก่อนหรือจ่ายชําระภาระผูกพันโดยตรงแทนกิจการ 56 ในกรณีส่วนใหญ่ กิจการยังคงต้องรับผิดชอบที่จะต้องจ่ายจํานวนที่กําลังมีปัญหากันอยู่ทั้งหมด ทําให้กิจการจะต้องจ่ายชําระรายจ่ายทั้งจํานวน หากบุคคลที่สามไม่สามารถจ่ายชําระเนื่องจาก เหตุผลใดก็ตาม ในกรณีดังกล่าวกิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจํานวนหนี้สินทั้งสิ้น และ รับรู้รายจ่ายที่คาดว่าจะได้รับชดเชยเป็นสินทรัพย์แยกต่างหาก เมื่อกิจการมีความแน่ใจอย่างมาก ว่าจะได้รับรายจ่ายนั้นคืนหากกิจการจ่ายชําระหนี้สิน 57 ในบางกรณี กิจการจะไม่รับผิดชอบจํานวนต้นทุนที่กําลังมีปัญหากันอยู่แม้ว่าบุคคลที่สาม จะไม่สามารถจ่ายชําระรายจ่ายดังกล่าว ในกรณีนี้ รายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นหนี้สินและกิจการ ไม่นํารายจ่ายนั้นไปร่วมบันทึกเป็นประมาณการหนี้สิน 58 ตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 29 กิจการถือว่าภาระผูกพันที่กิจการมีความรับผิดชอบ โดยไม่แบ่งแยกกับผู้อื่นเป็นหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่คาดว่าภาระผูกพันดังกล่าวจะมี การจ่ายชําระโดยฝ่ายอื่นนั้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 การเปลี่ยนแปลงประมาณการหนี้สิน 59 กิจการต้องทบทวนประมาณการหนี้สิน ณ ทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และปรับปรุง ประมาณการหนี้สินดังกล่าวเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประมาณการที่ดีที่สุดในปัจจุบัน กิจการ ต้องกลับบัญชีประมาณการหนี้สินหากไม่มีความน่าจะเป็นที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากร ที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันอีกต่อไป 60 หากกิจการมีการคิดลดกระแสเงินสดที่เกี่ยวกับประมาณการหนี้สิน มูลค่าตามบัญชีของประมาณ การหนี้สินจะเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาตามเวลาที่ผ่านไป กิจการรับรู้การเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นต้นทุนการกู้ยืม การนําประมาณการหนี้สินมาใช้ 61 กิจการจะนําประมาณการหนี้สินมาใช้ได้เฉพาะกับรายจ่ายที่กิจการรับรู้เป็นประมาณการ หนี้สินไว้แต่เดิม 62 กิจการจะนํารายจ่ายมาตัดประมาณการหนี้สินได้เฉพาะรายจ่ายที่กิจการรับรู้เป็นประมาณการ หนี้สินไว้แต่เดิมเท่านั้น การนํารายจ่ายที่รับรู้มาตัดประมาณการหนี้สินซึ่งแต่เดิมมีไว้เพื่อ วัตถุประสงค์อื่นอาจทําให้ไม่เห็นผลกระทบของเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน การนําข้อกําหนดเกี่ยวกับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่ามาปฏิบัติ ขาดทุนจากการดําเนินงานในอนาคต 63 กิจการต้องไม่รับรู้ประมาณการหนี้สินสําหรับขาดทุนจากการดําเนินงานในอนาคต 64 ขาดทุนจากการดําเนินงานในอนาคตไม่เป็นไปตามคํานิยามของหนี้สินที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 10 และเกณฑ์การรับรู้รายการประมาณการหนี้สินที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 14 65 การคาดคะเนขาดทุนจากการดําเนินงานในอนาคตชี้ให้เห็นว่าสินทรัพย์บางรายการที่ใช้ใน การดําเนินงาน อาจเกิดการด้อยค่า กิจการทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์เหล่านั้นตามข้อกําหนด ที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ สัญญาที่สร้างภาระ 66 ในกรณีที่กิจการมีสัญญาที่สร้างภาระ กิจการต้องรับรู้และวัดมูลค่าภาระผูกพันปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากสัญญานั้นเป็นประมาณการหนี้สิน 67 สัญญาหลายประเภทสามารถที่ยกเลิกได้โดยไม่จําเป็นที่กิจการจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น คําสั่งซื้อที่ออกเป็นประจํา ดังนั้น สัญญาดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพัน กับกิจการ แต่สัญญาประเภทอื่นก่อให้เกิดทั้งสิทธิและภาระผูกพันกับคู่สัญญาแต่ละฝ่าย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 ในกรณีที่เหตุการณ์บางอย่างทําให้สัญญาดังกล่าวสร้างภาระ สัญญานั้นจะอยู่ภายใต้ขอบเขตของ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ และกิจการรับรู้หนี้สินที่มีอยู่ ในทางกลับกัน สัญญาที่มีผลบังคับแล้ว แต่ยังไม่เป็นสัญญาที่สร้างภาระจะไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 68 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้นิยามคําว่าสัญญาที่สร้างภาระว่าคือสัญญาที่ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการปฏิบัติตามภาระผูกพันภายใต้สัญญามีจํานวนสูงกว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่า จะได้รับภายใต้สัญญานั้น ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ภายใต้สัญญาสะท้อนต้นทุนสุทธิที่ตํ่าที่สุด ในการยกเลิกสัญญา ซึ่งคือต้นทุนการปฏิบัติครบตามสัญญาหรือค่าชดเชยหรือค่าปรับที่เกิดขึ้น จากการไม่ปฏิบัติครบตามสัญญาแล้วแต่ว่าต้นทุนใดจะตํ่ากว่า 68 ก ต้นทุนการปฏิบัติครบตามสัญญาประกอบด้วยต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญา ต้นทุนที่ เกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาประกอบด้วยต้นทุนทั้งสองข้อดังนี้ 68 ก .1 ต้นทุนส่วนเพิ่มในการปฏิบัติครบตามสัญญา ตัวอย่างเช่น ค่าแรงงาน และค่าวัตถุ ทางตรง และ 68 ก .2 การปันส่วนต้นทุนอื่นที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการปฏิบัติครบตามสัญญา ตัวอย่างเช่น การปันส่วนค่าเสื่อมราคาของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติครบ ตามสัญญานั้นท่ามกลางเรื่องอื่น 69 ก่อนที่จะตั้งประมาณการหนี้สินแยกต่างหากสําหรับสัญญาที่สร้างภาระ ให้กิจการรับรู้ผลขาดทุน จากการด้อยค่าที่เกิดขึ้นจากสินทรัพย์ที่ใช้ในการปฏิบัติครบตามสัญญา ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36) การปรับโครงสร้าง 70 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์ที่อาจถือเป็นการปรับโครงสร้างตามคํานิยาม 70.1 การขายหรือการยกเลิกสายงานธุรกิจ 70.2 การปิดสถานประกอบการทางธุรกิจในประเทศหรือภูมิภาคหนึ่ง หรือการย้ายกิจกรรม ทางธุรกิจจากประเทศหรือภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกประเทศหรือภูมิภาคหนึ่ง 70.3 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร เช่น การลดระดับชั้นทางการบริหาร และ 70.4 การปรับโครงสร้างขั้นพื้นฐานขององค์กรที่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสําคัญต่อธรรมชาติ และจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงานของกิจการ 71 กิจการจะรับรู้ต้นทุนการปรับโครงสร้างเป็นประมาณการหนี้สินได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ ในการรับรู้รายการประมาณการหนี้สินตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 14 ส่วนการนําเกณฑ์ดังกล่าว มาปฏิบัติกับการปรับโครงสร้างได้กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 72 ถึง 83 72 ภาระผูกพันจากการอนุมานที่จะปรับโครงสร้างเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อกิจการได้ปฏิบัติตาม ข้อกําหนดทุกข้อต่อไปนี้ 72.1 กิจการมีแผนการปรับโครงสร้างที่เป็นทางการอย่างละเอียด ซึ่งระบุถึงเรื่องต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 72.1.1 ธุรกิจหรือส่วนของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 72.1.2 สถานประกอบการหลักที่จะได้รับผลกระทบ 72.1.3 สถานประกอบการ หน้าที่งาน และจํานวนพนักงานโดยประมาณที่จะ ได้รับค่าตอบแทนจากการเลิกจ้าง 72.1.4 รายจ่ายที่กิจการจะต้องรับภาระ และ 72.1.5 กําหนดเวลาที่จะมีการปฏิบัติตามแผนการปรับโครงสร้าง 72.2 กิจการทําให้ผู้ถูกกระทบจากแผนการปรับโครงสร้างเกิดความคาดหมายที่มีมูล ความจริงว่ากิจการจะดําเนินการปรับโครงสร้างโดยเริ่มปฏิบัติตามแผนนั้นหรือ โดยการประกาศลักษณะหลักของแผนนั้นให้ผู้ได้รับผลกระทบทราบ 73 ตัวอย่างของหลักฐานที่แสดงว่ากิจการได้เริ่มปฏิบัติตามแผนการปรับโครงสร้าง ได้แก่ การรื้อถอน โรงงาน การขายสินทรัพย์ หรือการประกาศให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหลักของแผนการปรับ โครงสร้าง การประกาศให้สาธารณชนทราบถึงแผนการปรับโครงสร้างในรายละเอียดจะก่อให้เกิด ภาระผูกพันจากการอนุมานที่จะมีการปรับโครงสร้างได้ก็ต่อเมื่อการประกาศนั้นทําโดยวิธีการ และให้รายละเอียดอย่างเพียงพอ ( เช่น ให้ลักษณะหลักของแผน ) ที่จะสร้างความคาดหมาย อย่างมีมูลความจริงให้กับฝ่ายอื่น เช่น ลูกค้า ผู้ขายสินค้า พนักงาน ( หรือตัวแทนพนักงาน ) ว่ากิจการจะดําเนินการปรับโครงสร้าง 74 แผนการปรับโครงสร้างจะถือว่าเพียงพอที่จะก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมานเมื่อกิจการ ประกาศให้ผู้ได้รับผลกระทบทราบ กิจการต้องวางแผนที่จะเริ่มปฏิบัติตามแผนการปรับโครงสร้าง ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และดําเนินการปรับโครงสร้างให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลา ที่ไม่น่าทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญต่อแผนนั้น หากกิจการคาดว่าจะมีความล่าช้า อย่างมากก่อนที่จะเริ่มการปรับโครงสร้างหรือคาดว่าจะใช้เวลานานอย่างไม่สมเหตุสมผล แผนการปรับโครงสร้างนั้นไม่น่าจะสร้างความคาดหมายอย่างมีมูลความจริงให้กับฝ่ายอื่นว่า กิจการมีข้อผูกมัดในปัจจุบันที่จะทําการปรับโครงสร้าง เนื่องจากกรอบเวลาดังกล่าวทําให้กิจการ มีโอกาสเปลี่ยนแปลงแผนการปรับโครงสร้างได้ 75 การตัดสินใจของฝ่ายบริหารหรือคณะกรรมการที่จะปรับโครงสร้างก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลา รายงานจะไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมาน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ถ้ากิจการ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 75.1 เริ่มปฏิบัติตามแผนการปรับโครงสร้าง หรือ 75.2 ประกาศลักษณะหลักของแผนการปรับโครงสร้างให้ผู้ได้รับผลกระทบทราบ โดยการประกาศนั้นเป็นไปในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงเพียงพอที่จะสร้างความคาดหมาย อย่างมีมูลความจริงแก่ผู้ได้รับผลกระทบว่ากิจการจะดําเนินการปรับโครงสร้าง ในกรณีที่กิจการเริ่มปฏิบัติตามแผนการปรับโครงสร้างหรือประกาศลักษณะหลักของแผน ให้ผู้ได้รับผลกระทบทราบภายหลังรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่ กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน หากการปรับโครงสร้างนั้นมีสาระสําคัญ และการไม่เปิดเผยข้อมูลสามารถคาดได้อย่างสมเหตุสมผล

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 ว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบนข้อมูลของงบการเงินของผู้ใช้หลักของงบการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งให้ข้อมูลการเงินเกี่ยวกับกิจการที่เสนอรายงาน 76 แม้ว่าการตัดสินใจของฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวจะไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมาน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นประกอบกับการตัดสินใจของฝ่ายบริหารอาจก่อให้เกิด ภาระผูกพันดังกล่าว ตัวอย่างเช่น การเจรจาต่อรองกับตัวแทนพนักงานเกี่ยวกับเงินที่จะจ่ายเมื่อ เลิกจ้างหรือการต่อรองกับผู้ที่จะซื้อการดําเนินงานของกิจการอาจดําเนินการแล้วเสร็จ เหลือเพียงการได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ เมื่อมีการอนุมัติได้เกิดขึ้นและมีการสื่อสาร ให้ฝ่ายอื่นทราบ จะถือว่ากิจการได้ก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมานที่จะปรับโครงสร้าง หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 72 77 ในบางประเทศคณะกรรมการจะได้รับสิทธิให้มีอํานาจสูงสุด โดยคณะกรรมการจะประกอบด้วย ตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์นอกเหนือจากตัวแทนฝ่ายบริหาร เช่น ตัวแทนพนักงาน หรือในกรณีที่จําเป็นต้องมีการแจ้งต่อตัวแทนดังกล่าวก่อนที่คณะกรรมการจะตัดสินใจ ปรับโครงสร้างภาระผูกพันจากการอนุมานของกิจการในการปรับโครงสร้างอาจเกิดขึ้นเนื่องจาก การตัดสินใจของคณะกรรมการต้องมีการสื่อสารกับตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์แล้ว 78 เมื่อกิจการขายการดําเนินงาน ภาระผูกพันจะไม่ถือว่าเกิดขึ้นจนกระทั่งกิจการมีข้อผูกมัด ที่จะขายการดําเนินงานนั้น เช่น มีการทําข้อตกลงขายที่มีผลบังคับตามกฎหมาย 79 แม้ว่ากิจการตัดสินใจที่จะขายการดําเนินงาน และได้ประกาศถึงการตัดสินใจนั้นต่อสาธารณชน ยังไม่ถือว่ากิจการมีข้อผูกมัดที่จะขายการดําเนินงานนั้นจนกระทั่งกิจการสามารถระบุผู้ซื้อและ ตกลงทําข้อตกลงขายที่มีผลบังคับตามกฎหมาย ตราบใดที่กิจการยังไม่ได้ทําข้อตกลงขายที่มี ผลบังคับตามกฎหมายกิจการยังคงสามารถเปลี่ยนใจและอาจดําเนินการเป็นอย่างอื่นหากกิจการ ไม่สามารถหาผู้ซื้อที่จะตกลงตามเงื่อนไขที่กิจการยอมรับได้ ในกรณีที่การดําเนินงาน ถือเป็น ส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้าง กิจการต้องทบทวนการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ใช้ในการดําเนินงานนั้น ตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 ในกรณีที่การขายการดําเนินงานเป็น เพียงส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างภาระผูกพันจากการอนุมานอาจเกิดขึ้นกับส่วนอื่นๆ ของ การปรับโครงสร้างก่อนที่กิจการจะทําข้อตกลงขายที่มีผลบังคับตามกฎหมาย 80 ประมาณการหนี้สินจากการปรับโครงสร้างต้องรวมเฉพาะรายจ่ายโดยตรงที่เกิดขึ้น จากการปรับโครงสร้างเท่านั้นที่เป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 80.1 จําเป็นต้องเกิดในการปรับโครงสร้างนั้น และ 80.2 ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ทําอยู่อย่างต่อเนื่องของกิจการ 81 ประมาณการหนี้สินจากการปรับโครงสร้างไม่รวมรายจ่ายต่อไปนี้ 81.1 ค่าอบรมหรือค่าย้ายสถานที่ของพนักงานที่ยังจ้างงานอยู่ 81.2 ค่าใช้จ่ายทางการตลาด หรือ 81.3 เงินลงทุนในระบบใหม่หรือเครือข่ายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการจําหน่ายเครือข่าย การจําหน่ายใหม่

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 รายจ่ายข้างต้นเกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจในอนาคต และไม่ถือเป็นหนี้สินสําหรับการปรับ โครงสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการรับรู้รายจ่ายดังกล่าวโดยใช้เกณฑ์การรับรู้ รายการเสมือนว่ารายจ่ายนั้นเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระจากการปรับโครงสร้าง 82 กิจการไม่นําขาดทุนจากการดําเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งสามารถระบุได้จนถึงวันที่มี การปรับโครงสร้างมารวมเป็นประมาณการหนี้สิน เว้นแต่ผลขาดทุนนั้นเกี่ยวข้องกับสัญญา ที่สร้างภาระตามคํานิยามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 10 83 ตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 51 กิจการไม่นํารายการผลกําไรจากการจําหน่ายสินทรัพย์ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมาพิจารณาในการวัดมูลค่าประมาณการหนี้สินจากการปรับโครงสร้าง แม้ว่า การขายสินทรัพย์นั้นจะถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้าง การเปิดเผยข้อมูล 84 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้สําหรับประมาณการหนี้สินแต่ละประเภท 84.1 จํานวนประมาณการหนี้สิน ณ วันเริ่มต้นและวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 84.2 จํานวนประมาณการหนี้สินที่รับรู้เพิ่มเติมในระหว่างรอบระยะเวลา ซึ่งรวมถึงจํานวนที่ เพิ่มขึ้นของประมาณการหนี้สินที่มีอยู่ 84.3 จํานวนที่ตัดออกจากบัญชีประมาณการหนี้สินในระหว่างรอบระยะเวลา ( กล่าวคือ รายจ่ายที่เกิดขึ้นและนําไปลดประมาณการหนี้สิน ) 84.4 จํานวนประมาณการหนี้สินที่ไม่ได้ใช้ที่ต้องกลับรายการในระหว่างรอบระยะเวลา และ 84.5 จํานวนคิดลดที่เพิ่มขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลาเนื่องจากเวลาที่ผ่านไปและ จากผลของอัตราคิดลดที่เปลี่ยนแปลง กิจการไม่จําเป็นต้องแสดงข้อมูลเปรียบเทียบ 85 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้สําหรับประมาณการหนี้สินแต่ละประเภท 85.1 คําอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับธรรมชาติของภาระผูกพันและจังหวะเวลาที่กิจการ คาดว่าจะสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ 85.2 คําอธิบายลักษณะของความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจํานวนหรือจังหวะเวลาของ การสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ กิจการต้องเปิดเผยข้อสมมติที่สําคัญที่ใช้ เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต ( ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 48) เมื่อจําเป็นเพื่อให้ข้อมูลที่ เปิดเผยมีความเพียงพอ และ 85.3 จํานวนรายจ่ายที่คาดว่าจะได้รับชดเชย โดยระบุจํานวนสินทรัพย์ที่กิจการรับรู้ สําหรับรายจ่ายที่คาดว่าจะได้รับชดเชยนั้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 86 กิจการต้องให้คําอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับธรรมชาติของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นแต่ละประเภท ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้หากทําได้ในทางปฏิบัติ เว้นแต่ ความน่าจะเป็นที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรเพื่อจ่ายชําระหนี้สินนั้นอยู่ในระดับไม่น่าเป็นไปได้ 86.1 ประมาณการผลกระทบทางการเงินซึ่งวัดมูลค่าตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 36 ถึง 52 86.2 สิ่งที่ชี้บอกความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจํานวนหรือจังหวะเวลาของการสูญเสีย ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ และ 86.3 ความเป็นไปได้ที่จะได้รับชดเชย 87 ในการกําหนดว่าประมาณการหนี้สินหรือหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นรายการใดอาจนํามารวมไว้เป็น ประเภทเดียวกัน กิจการต้องพิจารณาว่ารายการต่างๆ มีธรรมชาติคล้ายคลึงกันอย่างเพียงพอ จนทําให้กิจการสามารถใช้ข้อความเดียวกันในการอธิบายถึงรายการเหล่านั้น หรือสามารถบรรลุ เงื่อนไขที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 85.1 85.2 86.1 และ 86.2 ได้ ดังนั้น การรวมจํานวน ที่เกี่ยวข้องกับการประกันสินค้าต่างชนิดไว้เป็นประมาณการหนี้สินประเภทเดียวกันจึงอาจถือเป็น การเหมาะสม แต่การนําจํานวนที่เกี่ยวข้องกับการรับประกันสินค้าตามปกติและจํานวน ที่จะเกิดจากการฟ้องร้องตามกฎหมายมารวมไว้เป็นประมาณการหนี้สินประเภทเดียวกันจะถือว่า ไม่เหมาะสม 88 หากประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเกิดจากสภาพแวดล้อมชุดเดียวกัน กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 84 ถึง 86 ในลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพัน ระหว่างประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นนั้น 89 เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ กิจการต้อง เปิดเผยคําอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับธรรมชาติของสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลารายงาน และกิจการต้องเปิดเผยประมาณการผลกระทบทางการเงิน ซึ่งวัดมูลค่า ตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 36 ถึง 52 หากสามารถทําได้ในทางปฏิบัติ 90 เมื่อกิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น กิจการต้องหลีกเลี่ยงการชี้นํา ที่อาจทําให้เกิดการเข้าใจผิดเกี่ยวกับระดับความน่าจะเป็นที่รายได้จะเกิดขึ้น 91 หากกิจการไม่เปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 86 และ 89 เนื่องจากไม่สามารถ ทําได้ในทางปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว 92 ในกรณีที่ยากยิ่งที่จะเกิดที่กิจการจะสามารถคาดการณ์ได้ว่าการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 84 ถึง 89 จะทําให้สถานะของกิจการเกี่ยวกับ ข้อพิพาทกับฝ่ายอื่นๆ ในเรื่องเกี่ยวกับประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น หรือ สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ในกรณีนี้ กิจการไม่จําเป็นต้อง เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว แต่ต้องเปิดเผยถึงธรรมชาติทั่วไปของข้อพิพาทพร้อมกับข้อเท็จจริง และเหตุผลของการไม่เปิดเผยข้อมูลนั้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 93 กิจการต้องรับรู้ผลกระทบจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ณ วันถือปฏิบัติ ( หรือก่อนวันถือปฏิบัติ ) โดยปรับกับกําไรสะสมยกมาของรอบระยะเวลาแรกที่กิจการได้นํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุนแต่ไม่ได้ กําหนดให้กิจการต้องปรับปรุงกําไรสะสมยกมาของรอบระยะเวลาก่อนที่นําเสนอหรือปรับ ย้อนหลังข้อมูลเปรียบเทียบ หากกิจการไม่ได้ปรับย้อนหลังข้อมูลเปรียบเทียบกิจการต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว 94 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 94 ก สัญญาที่สร้างภาระ – ต้นทุนการปฏิบัติครบตามสัญญา ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐาน การบัญชีระหว่างประเทศเมื่อพฤษภาคมปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ในปี 2565 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 68 ก และแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 69 กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวกับสัญญาซึ่งยังปฏิบัติไม่ครบตามภาระผูกพันทั้งหมด ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปีซึ่งกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นครั้งแรก ( วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน ) กิจการต้องไม่แก้ข้อมูลเปรียบเทียบ แต่กิจการต้องรับรู้ผลกระทบ สะสมของการเริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ให้เป็นรายการปรับปรุงในกําไรสะสม ยกมา หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ ( ตามความเหมาะสม ) ณ วันที่เริ่มต้นใช้ มาตรฐานแทน วันถือปฏิบัติ 95 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินประจําปีสําหรับรอบระยะเวลา บัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้สนับสนุนให้ถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 96 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 97 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 98 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 99 การปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศประจําปี 2553 ถึง 2555 ที่ออก โดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศในเดือนธันวาคมปี 2556 ทําให้มี การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2558 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 ซึ่งเป็น ผลเนื่องมาจากการปรับปรุงของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 กิจการต้อง ถือปฏิบัติตามการปรับปรุงนั้นโดยใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปสําหรับการรวมธุรกิจซึ่งเป็นการ ถือปฏิบัติตามการปรับปรุงของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 24/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 100 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2557 ทําให้มี การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 และ ตัดย่อหน้าที่ 6 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 101 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2557 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 2 และตัดย่อหน้าที่ 97 และ 98 กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 102 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 103 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 104 คํานิยามของความมีสาระสําคัญ ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8) ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อ เดือนตุลาคมปี 2561 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2563 โดยแก้ไข เพิ่มเติมย่อหน้าที่ 75 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลา ประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้ถือปฏิบัติได้ก่อน วันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อน วันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมคํานิยามของความมีสาระสําคัญในย่อหน้าที่ 7 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และย่อหน้าที่ 5 และ 6 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 105 สัญญาที่สร้างภาระ – ต้นทุนการปฏิบัติครบตามสัญญา ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐาน การบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้ในปี 2565 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 68 ก และ 94 ก และแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 69 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้ถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว