ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมกา รกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่ อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 28/2563 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 10 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 34: Interim Financial Reporting (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 และเพิ่ม ย่อหน้าที่ 60 การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชี 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 24 31 และ 33 และเพิ่มย่อหน้าที่ 58 ถึง 59 การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิง กรอบแนวคิดในมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน คํานิยามของความมีสาระสําคัญ 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคําหรือเนื้อหาใดๆ - ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ ขอบเขต 1 คํานิยาม 4 เนื้อหาในรายงานทางการเงินระหว่างกาล 5 ส่วนประกอบขั้นตํ่าของรายงานทางการเงินระหว่างกาล 8 รูปแบบและเนื้อหาของงบการเงินระหว่างกาล 9 เหตุการณ์และรายการที่มีนัยสําคัญ 15 การเปิดเผยเรื่องอื่นๆ 16 ก การเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 19 รอบระยะเวลาที่ต้องนําเสนองบการเงินระหว่างกาล 20 ความมีสาระสําคัญ 23 การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินประจําปี 26 การรับรู้รายการและการวัดค่า 28 การใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันกับงบการเงินประจําปี 28 รายได้ที่ได้รับตามฤดูกาล รายได้ที่ได้รับเป็นวัฏจักร หรือรายได้ที่ ได้รับเป็นครั้งคราว 37 ต้นทุนที่เกิดขึ้นอย่างไม่สมํ่าเสมอในระหว่างรอบปีบัญชี 39 การนําหลักการรับรู้รายการและการวัดค่ามาปฏิบัติ 40 การใช้การประมาณการ 41 การปรับย้อนหลังงบการเงินระหว่างกาลของรอบระยะเวลาก่อนๆ 43 วันถือปฏิบัติ 46
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 57 ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบาย การบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล วัตถุประสงค์ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดเนื้อหาขั้นตํ่าในรายงานทางการเงิน ระหว่างกาล รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการรับรู้และวัดค่ารายการที่นําเสนอในงบการเงิน แบบสมบูรณ์ หรือแบบย่อสําหรับรอบระยะเวลาระหว่างกาล การรายงานทางการเงินระหว่างกาลที่ เชื่อถือได้และทันต่อเวลาจะช่วยให้ผู้ลงทุน เจ้าหนี้ และผู้ใช้งบการเงินอื่นเข้าใจถึงความสามารถ ของกิจการในการก่อให้เกิดกําไรและกระแสเงินสด รวมถึงเงื่อนไขและสภาพคล่องทางการเงินของ กิจการ ขอบเขต 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มิได้กําหนดว่ากิจการใดควรเผยแพร่รายงานทางการเงินระหว่างกาล และมิได้กําหนดว่ากิจการควรเผยแพร่รายงานทางการเงินระหว่างกาลบ่อยเพียงใด หรือควร เผยแพร่ให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าใดหลังจากวันสิ้นรอบระยะเวลาระหว่างกาล อย่างไรก็ตาม รัฐบาล หน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ และหน่วยงานกํากับดูแลด้าน บัญชีอื่น มักจะกําหนดให้กิจการที่ออกตราสารหนี้หรือตราสารทุนเสนอขายต่อสาธารณชน ต้อง จัดทํารายงานทางการเงินระหว่างกาล มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้ปฏิบัติกับกิจการที่ต้อง เผยแพร่หรือเลือกที่จะเผยแพร่รายงานทางการเงินระหว่างกาลตามข้อกําหนดของมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุนให้กิจการที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์จัดทํารายงานทางการเงินระหว่างกาลที่เป็นไปตามหลักการรับรู้รายการ การวัดค่า และการเปิดเผยข้อมูลที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ และสนับสนุนให้กิจการที่มี หลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ปฏิบัติดังนี้ 1.1 จัดทํารายงานทางการเงินระหว่างกาลอย่างน้อย ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาครึ่งปีแรกของ รอบบัญชี และ 1.2 จัดทํารายงานทางการเงินระหว่างกาลให้มีพร้อมภายใน 60 วันนับจากวันสิ้นรอบ ระยะเวลาระหว่างกาลนั้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 2 ในการพิจารณาว่ารายงานทางการเงินประจําปีหรือระหว่างกาลเป็นไปตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินหรือไม่ กิจการที่อาจไม่ได้นําเสนอรายงานทางการเงินระหว่างกาลในบางปีบัญชีหรือ อาจนําเสนอรายงานทางการเงินระหว่างกาลซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ยังคง ต้องจัดทํางบการเงินประจําปีให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 3 หากรายงานทางการเงินระหว่างกาลของกิจการระบุว่าได้จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน รายงานทางการเงินระหว่างกาลนั้นต้องเป็นไปตามข้อกําหนดทุกข้อในมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้ และต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 19 คํานิยาม 4 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ รอบระยะเวลาระหว่าง กาล หมายถึง รอบระยะเวลารายงานทางการเงินที่สั้นกว่ารอบระยะ เวลาเต็มปีบัญชี รายงานทางการเงิน ระหว่างกาล หมายถึง รายงานทางการเงินที่เป็นงบการเงินแบบสมบูรณ์ ( ตามที่ระบุในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน ) หรือ งบการเงินแบบย่อ ( ตามที่ระบุในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ) สําหรับรอบ ระยะเวลาระหว่างกาล เนื้อหาในรายงานทางการเงินระหว่างกาล 5 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ระบุว่างบการเงินแบบสมบูรณ์ประกอบด้วยส่วนประกอบทุกข้อ ดังต่อไปนี้ 5.1 งบฐานะการเงิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา 5.2 งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับรอบระยะเวลา 5.3 งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสําหรับรอบระยะเวลา 5.4 งบกระแสเงินสดสําหรับรอบระยะเวลา 5.5 หมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อมูลนโยบายการบัญชีและข้อมูลที่เป็นคําอธิบายอื่นที่ มีสาระสําคัญ 5.5 ก ข้อมูลเปรียบเทียบของรอบระยะเวลาก่อนตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 38 และ 38 ก ของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และ 5.6 งบฐานะการเงิน ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาก่อน เมื่อกิจการได้นํานโยบายการบัญชี ใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือปรับย้อนหลังรายการในงบการเงิน หรือเมื่อกิจการมี การจัดประเภทรายการใหม่ในงบการเงิน ตามย่อหน้าที่ 40 ก ถึง 40 ง ของมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 1
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 กิจการอาจจะใช้ชื่ออื่นสําหรับงบการเงิน นอกเหนือจากที่ระบุในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ตัวอย่างเช่น กิจการอาจจะใช้ชื่อ “ งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ” แทน “ งบกําไรขาดทุนและ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ” 6 กิจการอาจถูกกําหนดหรือเลือกที่จะให้ข้อมูลในรายงานทางการเงินระหว่างกาลน้อยกว่า งบการเงินประจําปีโดยพิจารณาถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากข้อมูลที่ทันต่อเวลากับต้นทุน ที่ต้องเสียไปในการจัดทําข้อมูลนั้น และเพื่อหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลซํ้าซ้อน มาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้กําหนดเนื้อหาขั้นตํ่าในรายงานทางการเงินระหว่างกาลซึ่งประกอบด้วยงบการเงินแบบย่อ และหมายเหตุประกอบงบการเงินที่กําหนด วัตถุประสงค์ของรายงานทางการเงินระหว่างกาลคือ การให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากงบการเงินประจําปีที่นําเสนอครั้งล่าสุดเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น รายงานทางการเงินระหว่างกาล จึงเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม เหตุการณ์ และ สภาพแวดล้อมใหม่ๆ เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่นําเสนอซํ้าซ้อนกับข้อมูลที่ได้รายงานไปแล้ว 7 กิจการสามารถนําเสนองบการเงินระหว่างกาลแบบสมบูรณ์ตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 1 หรือนําเสนองบการเงินระหว่างกาลแบบย่อ และเปิดเผยหมายเหตุประกอบ งบการเงินที่กําหนดในงบการเงินระหว่างกาลแบบย่อ กิจการสามารถแสดงรายการแต่ละรายการ เกินกว่ารายการขั้นตํ่าที่ระบุไว้หรือสามารถเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน มากกว่าที่มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดไว้ แม้ว่ากิจการจะนําเสนองบการเงินระหว่างกาล แบบสมบูรณ์ กิจการยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ รายการและการวัดค่า และต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายเหตุประกอบงบการเงินที่กําหนดตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 16 ก ) และ ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ส่วนประกอบขั้นตํ่าของรายงานทางการเงินระหว่างกาล 8 รายงานทางการเงินระหว่างกาลต้องมีส่วนประกอบขั้นตํ่าดังต่อไปนี้ 8.1 งบฐานะการเงินแบบย่อ 8.2 งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นแบบย่อที่แสดงแบบงบเดียวหรือ แบบสองงบ 8.3 งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของแบบย่อ 8.4 งบกระแสเงินสดแบบย่อ และ 8.5 หมายเหตุประกอบงบการเงินที่กําหนด 8 ก หากกิจการแสดงรายการของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 10 ก ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 กิจการต้องแสดงข้อมูลระหว่างกาล อย่างย่อในรูปแบบงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหากด้วย
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 รูปแบบและเนื้อหาของงบการเงินระหว่างกาล 9 หากกิจการเผยแพร่งบการเงินระหว่างกาลแบบสมบูรณ์ กิจการต้องกําหนดรูปแบบและ เนื้อหาของงบการเงินให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เกี่ยวกับการแสดงงบการเงินแบบสมบูรณ์ 10 หากกิจการเผยแพร่งบการเงินระหว่างกาลแบบย่อ กิจการต้องแสดงหัวข้อเรื่องและ ยอดรวมย่อยในลักษณะเดียวกับที่แสดงในงบการเงินประจําปีล่าสุดและต้องเปิดเผย ข้อมูลที่สําคัญตามที่มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนด กิจการต้องแสดงรายการแต่ละ บรรทัดหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมหากการไม่แสดงหรือการไม่เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมนั้น ทําให้งบการเงินระหว่างกาลแบบย่อบิดเบือนไปจากความเป็นจริง 11 กิจการต้องแสดงส่วนประกอบของกําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกําไรต่อหุ้นปรับลดในงบกําไร ขาดทุนสําหรับรอบระยะเวลาระหว่างกาล เมื่อกิจการอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 เรื่อง กําไรต่อหุ้น 11 ก หากกิจการแสดงรายการของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก ตามที่ ระบุในย่อหน้าที่ 10 ก ของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 กิจการต้องแสดงกําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน และกําไรต่อหุ้นปรับลดในงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก 12 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ได้ให้แนวทางในการกําหนดโครงสร้างของงบการเงิน ซึ่งแสดงให้ เห็นถึงการแสดงงบฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และงบการเปลี่ยนแปลงส่วนของ เจ้าของ 13 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 14 กิจการต้องจัดทํารายงานทางการเงินระหว่างกาลรวมสําหรับงวดระหว่างกาล หากกิจการนําเสนอ งบการเงินรวมสําหรับงวดปีบัญชีล่าสุดที่ผ่านมา ตามปกติงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่ จะไม่สอดคล้องหรือไม่สามารถเปรียบเทียบกันกับงบการเงินรวมสําหรับงวดปีบัญชีล่าสุดที่ผ่านมา หากงบการเงินประจําปีของกิจการได้รวมงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่เพิ่มเติมจาก งบการเงินรวม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มิได้ห้ามแสดงและมิได้กําหนดให้แสดงงบการเงิน ระหว่างกาลเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่รวมไว้ในรายงานทางการเงินระหว่างกาล เหตุการณ์และรายการที่มีนัยสําคัญ 15 กิจการต้องเปิดเผยในรายงานทางการเงินระหว่างกาลเกี่ยวกับเหตุการณ์และรายการที่มี นัยสําคัญซึ่งเป็นประโยชน์ทําให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินและ ผลการดําเนินงานของกิจการนับตั้งแต่วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปีล่าสุด ข้อมูลที่เปิดเผย เกี่ยวกับเหตุการณ์และรายการเหล่านั้นต้องเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันซึ่งเกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจที่แสดงไว้ในรายงานทางการเงินประจําปีล่าสุด 15 ก ผู้ใช้รายงานทางการเงินระหว่างกาลของกิจการจะสามารถเข้าถึงรายงานทางการเงินประจําปี ล่าสุดของกิจการ ดังนั้น หมายเหตุประกอบรายงานทางการเงินระหว่างกาลไม่จําเป็นที่จะต้องให้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันซึ่งไม่มีนัยสําคัญหากข้อมูลดังกล่าวได้ถูกรวมไว้แล้วในรายงานทางการเงิน ประจําปีล่าสุด 15 ข กิจการอาจต้องเปิดเผยเหตุการณ์และรายการต่อไปนี้หากข้อมูลดังกล่าวมีนัยสําคัญ ต่อความเข้าใจรายงานทางการเงินระหว่างกาล รายการต่อไปนี้ไม่ได้เป็นข้อยุติ 15 ข .1 การปรับลดมูลค่าและการกลับรายการปรับลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือให้เป็นมูลค่า สุทธิที่คาดว่าจะได้รับ 15 ข .2 การรับรู้รายการและการกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาที่ทํากับลูกค้า หรือสินทรัพย์อื่น 15 ข .3 การกลับรายการประมาณการหนี้สินที่เกิดจากต้นทุนของการปรับโครงสร้าง 15 ข .4 การได้มาและการจําหน่ายไปซึ่งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 15 ข .5 ข้อผูกมัดที่จะซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 15 ข .6 การชําระค่าเสียหายที่เกิดจากการฟ้องร้อง 15 ข .7 การแก้ไขข้อผิดพลาดสําหรับข้อมูลที่เคยนําเสนอในรอบระยะเวลาก่อน 15 ข .8 การเปลี่ยนแปลงในสภาพเศรษฐกิจหรือธุรกิจที่ส่งผลต่อมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินของกิจการที่รับรู้ด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือราคาทุน ตัดจําหน่าย 15 ข .9 การผิดนัดชําระหนี้หรือการผิดเงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้ที่ยังไม่มีการแก้ไขให้ดีขึ้น ณ วันที่ก่อนหรือในวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 15 ข .10 รายการกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 15 ข .11 การโอนระหว่างลําดับชั้นของมูลค่ายุติธรรมที่ใช้ในการวัดมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือ ทางการเงิน 15 ข .12 การเปลี่ยนแปลงการจัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงินอันเนื่องมาจากการเปลี่ยน ในวัตถุประสงค์ หรือเปลี่ยนการใช้สินทรัพย์เหล่านั้น และ 15 ข .13 การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น หรือสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น 15 ค มาตรฐานการรายงานทางการเงินแต่ละฉบับจะให้ข้อมูลเป็นแนวทางการเปิดเผยข้อมูลใน รายการตามย่อหน้าที่ 15 ข เมื่อเหตุการณ์หรือรายการเหล่านั้นมีนัยสําคัญต่อความเข้าใจได้ของ การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานของกิจการนับจากรายงานประจําปีล่าสุด ทําให้กิจการควรให้คําอธิบายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นข้อมูลปัจจุบันในรายงานทางการเงิน ระหว่างกาล เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันนับจากรอบระยะเวลารายงานประจําปีล่าสุด 16 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 การเปิดเผยเรื่องอื่นๆ 16 ก นอกเหนือจากการเปิดเผยเหตุการณ์และรายการที่มีนัยสําคัญตามย่อหน้าที่ 15 ถึง 15 ค กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลหรือที่อื่นใน รายงานทางการเงินระหว่างกาล การเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ต้องเปิดเผยไว้ในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินระหว่างกาล หรือรวมอยู่ในรายงานอื่นโดยการอ้างอิงจากงบการเงิน ระหว่างกาลไปยังรายงานอื่น ( เช่น การวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการ หรือรายงาน ความเสี่ยง ) ซึ่งมีพร้อมให้กับผู้ใช้งบการเงินพร้อมกับงบการเงินระหว่างกาล หากผู้ใช้ งบการเงินระหว่างกาลไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวโดยการอ้างอิงถึงในลักษณะและ เวลาเดียวกันกับงบการเงินระหว่างกาล จะถือว่ารายงานทางการเงินระหว่างกาลไม่สมบูรณ์ การเปิดเผยข้อมูลต้องแสดงรายการตามเกณฑ์ยอดสะสมจากต้นปีบัญชีถึงปัจจุบัน 16 ก .1 ข้อเท็จจริงที่ว่ากิจการได้ใช้นโยบายการบัญชีและวิธีการคํานวณในงบการเงินระหว่างกาล เช่นเดียวกับที่ใช้ในงบการเงินประจําปีล่าสุด หรือข้อเท็จจริงที่ว่ากิจการได้เปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีหรือวิธีการคํานวณ โดยเปิดเผยถึงธรรมชาติและผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงนั้น 16 ก .2 ความเห็นที่อธิบายเกี่ยวกับการดําเนินงานในงวดระหว่างกาลที่มีลักษณะเป็น วัฏจักรหรือฤดูกาล 16 ก .3 ธรรมชาติและจํานวนเงินของรายการที่มีผลกระทบต่อสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของ เจ้าของ กําไรสุทธิ หรือกระแสเงินสด ซึ่งเป็นรายการไม่ปกติเนื่องจากธรรมชาติ ขนาด หรือการเกิดขึ้นของรายการนั้น 16 ก .4 ธรรมชาติและจํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงประมาณการของจํานวนเงินที่เคย รายงานไว้ในรอบระยะเวลาระหว่างกาลก่อนๆ ของรอบปีบัญชีปัจจุบัน หรือการ เปลี่ยนแปลงประมาณการของจํานวนเงินที่เคยรายงานในงวดปีบัญชีก่อนๆ 16 ก .5 การซื้อคืน การชําระคืน และการออกตราสารหนี้และตราสารทุน 16 ก .6 จํานวนเงินปันผลจ่าย ( ยอดรวมหรือต่อหุ้น ) โดยแยกแสดงตามประเภทของ หุ้นสามัญและหุ้นประเภทอื่น 16 ก .7 ข้อมูลตามส่วนงาน มีดังต่อไปนี้ ( การเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานต้องรวมใน รายงานทางการเงินระหว่างกาลก็ต่อเมื่อมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 เรื่อง ส่วนงานดําเนินงาน กําหนดให้กิจการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานในงบการเงิน ประจําปี ) 16 ก .7.1 รายได้จากลูกค้าภายนอก หากเรื่องนี้ได้รวมไว้ในการวัดค่ากําไรหรือ ขาดทุนตามส่วนงานที่ได้รับการสอบทาน โดยผู้มีอํานาจตัดสินใจสูงสุด ด้านการดําเนินงานหรือที่โดยปกตินําเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อ ผู้มีอํานาจตัดสินใจสูงสุดด้านการดําเนินงาน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 16 ก .7.2 รายได้ระหว่างส่วนงาน หากเรื่องนี้ได้รวมอยู่ในการวัดค่ากําไรหรือ ขาดทุนตามส่วนงานที่ได้รับการสอบทานโดยผู้มีอํานาจตัดสินใจสูงสุด ด้านการดําเนินงาน หรือตามปกติได้นําเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อ ผู้มีอํานาจตัดสินใจสูงสุดด้านการดําเนินงาน 16 ก .7.3 ตัววัดค่ากําไรหรือขาดทุนตามส่วนงาน 16 ก .7.4 ตัววัดค่าสินทรัพย์และหนี้สินรวมสําหรับส่วนงานที่รายงานเฉพาะ หากโดยปกติมีการนําเสนอข้อมูลจํานวนเงินดังกล่าวต่อผู้มีอํานาจ ตัดสินใจสูงสุดด้านการดําเนินงาน และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงที่มีสาระสําคัญ จากจํานวนเงินที่ได้เปิดเผยไว้ในงบการเงินประจําปีล่าสุดสําหรับส่วนงาน ที่รายงานนั้น 16 ก .7.5 คําอธิบายความแตกต่างจากงบการเงินประจําปีล่าสุดในเกณฑ์ การแบ่งแยกส่วนงานหรือการวัดค่ากําไรหรือขาดทุนตามส่วนงาน 16 ก .7.6 การกระทบยอดระหว่างผลรวมของกําไรหรือขาดทุนของส่วนงาน ที่รายงานกับกําไรหรือขาดทุนของกิจการก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ( รายได้ภาษีเงินได้ ) และก่อนการดําเนินงานที่ยกเลิกของกิจการ อย่างไรก็ตาม หากกิจการปันส่วนรายการต่อไปนี้ เช่น ค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้ ( รายได้ภาษีเงินได้ ) ให้แก่ส่วนงานที่เสนอรายงาน กิจการ อาจกระทบยอดระหว่างผลรวมของกําไรหรือขาดทุนตามส่วนงาน และกําไรหรือขาดทุนหลังหักรายการดังกล่าว รายการกระทบยอด ที่มีสาระสําคัญต้องระบุแยกออกมาและอธิบายการกระทบยอดนั้น 16 ก .8 เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินระหว่างกาล ซึ่งไม่ได้แสดงในงบการเงิน ระหว่างกาลของรอบระยะเวลาที่นําเสนอ 16 ก .9 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกิจการในระหว่างรอบระยะเวลา ระหว่างกาล ซึ่งรวมถึงการรวมธุรกิจ การได้หรือเสียอํานาจควบคุมในบริษัทย่อย และเงินลงทุนระยะยาว การปรับโครงสร้าง และการดําเนินงานที่ยกเลิก ในกรณีของ การรวมธุรกิจ ให้กิจการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ 16 ก .10 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินต้องเป็นไป ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 91 ถึง 93.8 94 ถึง 96 98 และ 99 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม และย่อหน้าที่ 25 26 และ 28 ถึง 30 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การ เปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน 16 ก .11 กิจการที่จะกลายเป็นหรือสิ้นสุดการเป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุนตามที่ กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 9 ข ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียในกิจการอื่น 16 ก .12 การจําแนกรายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้าตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 114 ถึง 115 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จาก สัญญาที่ทํากับลูกค้า 17-18 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) การเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 19 หากรายงานทางการเงินระหว่างกาลได้จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กิจการต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว รายงานทางการเงินระหว่างกาลต้องไม่รายงานว่าจัดทําตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินหากไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดทั้งหมดของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน รอบระยะเวลาที่ต้องนําเสนองบการเงินระหว่างกาล 20 รายงานระหว่างกาลต้องรวมงบการเงินระหว่างกาล ( แบบสมบูรณ์หรือแบบย่อ ) สําหรับ รอบระยะเวลาต่างๆ ดังต่อไปนี้ 20.1 งบฐานะการเงิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาระหว่างกาลปัจจุบัน และงบฐานะการเงิน เปรียบเทียบ ณ วันสิ้นปีบัญชีล่าสุดที่ผ่านมา 20.2 งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับรอบระยะเวลาระหว่างกาล ปัจจุบันและงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่แสดงยอดสะสมตั้งแต่ ต้นปีบัญชีปัจจุบันจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาระหว่างกาล และงบกําไรขาดทุนและ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเปรียบเทียบ เพื่อการเปรียบเทียบสําหรับช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อนตามข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 รายงานระหว่างกาลอาจจะ นําเสนอแต่ละรอบระยะเวลาเป็นงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหากหรืองบกําไร ขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 20.3 งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของซึ่งแสดงยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีบัญชีปัจจุบัน จนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาระหว่างกาล พร้อมทั้งงบการเงินเปรียบเทียบดังกล่าวเพื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 20.4 งบกระแสเงินสดซึ่งแสดงยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีบัญชีปัจจุบันจนถึงวันสิ้นรอบ ระยะเวลาระหว่างกาล พร้อมทั้งงบกระแสเงินสดเปรียบเทียบ เพื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 21 สําหรับกิจการที่ธุรกิจมีการขึ้นลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลทางการเงินสําหรับ รอบระยะเวลาสิบสองเดือนสิ้นสุดของรอบระยะเวลาระหว่างกาล และข้อมูลเปรียบเทียบสําหรับ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 ช่วงเวลาเดียวกันของสิบสองเดือนก่อนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ดังนั้น กิจการที่ธุรกิจมี การขึ้นลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัดควรเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมจากข้อกําหนดที่ระบุไว้ใน ย่อหน้าที่ 20 22 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) ความมีสาระสําคัญ 23 ในการพิจารณาว่าข้อมูลแต่ละรายการนั้นควรรับรู้ วัดค่า จัดประเภท และเปิดเผยอย่างไรใน การรายงานทางการเงินระหว่างกาล กิจการต้องประเมินความมีสาระสําคัญของรายการโดย สัมพันธ์กับข้อมูลทางการเงินที่รวมอยู่ในรายงานทางการเงินระหว่างกาล ในการประเมิน ความมีสาระสําคัญ กิจการต้องตระหนักว่าในรายงานทางการเงินระหว่างกาล กิจการอาจใช้ การประมาณการในการวัดค่า มากกว่าที่ใช้ในการวัดค่าในข้อมูลทางการเงินประจําปี 24 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 นิยามข้อมูลที่มีสาระสําคัญและกําหนดให้กิจการเปิดเผยรายการที่มี สาระสําคัญ แยกต่างหากจากรายการอื่นรวมถึง ( ตัวอย่างเช่น ) การดําเนินงานที่ยกเลิก และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและ ข้อผิดพลาด กําหนดให้เปิดเผยเรื่องการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี ข้อผิดพลาด และ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี มาตรฐานการบัญชีทั้งสองฉบับไม่ได้ระบุแนวทางเชิงปริมาณ ในเรื่องความมีสาระสําคัญของข้อมูล 25 แม้ว่ากิจการต้องอาศัยวิจารณญาณในการประเมินความมีสาระสําคัญเพื่อจัดทํารายงาน ทางการเงิน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้กิจการใช้ข้อมูลของรอบระยะเวลาระหว่างกาลเป็น เกณฑ์ในการพิจารณารับรู้และเปิดเผยข้อมูลที่แสดงในรายงานทางการเงินระหว่างกาลนั้น ดังนั้น กิจการจะรับรู้และเปิดเผยข้อมูลของรายการ ตัวอย่างเช่น รายการที่ไม่ปกติ การเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการ และข้อผิดพลาดที่สําคัญ ตามเกณฑ์ของความมี สาระสําคัญเมื่อเทียบกับข้อมูลที่แสดงอยู่ในรอบระยะเวลาระหว่างกาล เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจ ผิดที่อาจเป็นผลจากการไม่เปิดเผยข้อมูล กิจการต้องตระหนักอยู่เสมอว่ารายงานทางการเงิน ระหว่างกาลต้องให้ข้อมูลทุกอย่างที่ทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจถึงฐานะการเงินและ ผลการดําเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาระหว่างกาลนั้น การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินประจําปี 26 หากการประมาณการจํานวนเงินที่ได้รายงานไว้ในรอบระยะเวลาระหว่างกาลของรอบ ระยะเวลาก่อน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นนัยสําคัญในรอบระยะเวลาระหว่างกาลรอบ ระยะเวลาสุดท้ายของรอบปีบัญชี โดยที่กิจการจะไม่ได้นําเสนอรายงานทางการเงินระหว่าง กาลรอบระยะเวลาสุดท้ายนี้แยกต่างหาก กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 จํานวนของการเปลี่ยนแปลงประมาณการในหมายเหตุประกอบงบการเงินของงบการเงิน ประจําปีสําหรับรอบปีบัญชีนั้น 27 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติ และจํานวนเงิน ( ถ้าปฏิบัติได้ ) ของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีที่มีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญ ในรอบระยะเวลาปัจจุบัน หรือที่คาดว่าจะมีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญในรอบระยะเวลาต่อมา ส่วนมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลที่คล้ายคลึงกันในรายงาน ทางการเงินระหว่างกาลตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 16 ก .4 ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลง ประมาณการในรอบระยะเวลาระหว่างกาลรอบระยะเวลาสุดท้ายที่ต้องเปิดเผย ได้แก่ การปรับลด มูลค่าสินค้าคงเหลือ การปรับโครงสร้าง หรือผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่ได้เคยรายงานไว้ในรอบ ระยะเวลาระหว่างกาลรอบระยะเวลาก่อนของรอบปีบัญชีเดียวกัน การเปิดเผยข้อมูลตาม ข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 26 สอดคล้องกับข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 แต่มีขอบเขตที่แคบกว่า คือ เกี่ยวข้องเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงประมาณการ กิจการ ไม่ต้องรวมข้อมูลทางการเงินเพิ่มเติมที่เปิดเผยในงบการเงินระหว่างกาลไว้ในงบการเงินประจําปี การรับรู้รายการและการวัดค่า การใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันกับงบการเงินประจําปี 28 กิจการต้องใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันสําหรับงบการเงินระหว่างกาลและงบการเงินประจําปี เว้นแต่นโยบายการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงภายหลังวันที่ในงบการเงินประจําปีล่าสุดนั้นจะใช้ใน งบการเงินประจําปีถัดไป อย่างไรก็ตาม ความถี่ในการรายงานของกิจการ ( ไม่ว่ากิจการจะ นําเสนองบการเงินเป็นรายปี ทุกรอบระยะเวลาครึ่งปี หรือทุกไตรมาส ) ต้องไม่มีผลกระทบต่อ การวัดผลการดําเนินงานประจําปี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว การวัดค่าเพื่อจัดทํา งบการเงินระหว่างกาลต้องจัดทําตามเกณฑ์ยอดสะสมจากต้นปีบัญชีถึงปัจจุบัน 29 ข้อกําหนดที่ว่ากิจการต้องใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันสําหรับงบการเงินระหว่างกาลและ งบการเงินประจําปีอาจทําให้ดูเหมือนว่าการวัดค่าในรอบระยะเวลาระหว่างกาลเป็นอิสระจากรอบ ระยะเวลารายงานอื่นๆ แต่ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 28 ที่ว่าความถี่ในการนําเสนองบการเงิน ระหว่างกาลต้องไม่มีผลต่อการวัดค่าของผลการดําเนินงานประจําปีชี้ให้เห็นว่ารอบระยะเวลา ระหว่างกาลเป็นส่วนหนึ่งของรอบระยะเวลาปีบัญชี เกณฑ์การวัดค่าตามเกณฑ์ยอดสะสมจากต้นปี บัญชีถึงปัจจุบันอาจทําให้กิจการต้องคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงประมาณการของจํานวนที่ได้ รายงานไว้ในรอบระยะเวลาระหว่างกาลก่อนๆ ในรอบปีบัญชีปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ ในการรับรู้รายการสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่ายสําหรับรอบระยะเวลาระหว่างกาล ยังคงเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับที่ใช้ในงบการเงินประจําปี 30 ตัวอย่างการรับรู้รายการและการวัดค่าของรายงานทางการเงินระหว่างกาล มีดังต่อไปนี้ 30.1 หลักเกณฑ์ในการรับรู้และวัดค่าผลขาดทุนจากการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ผลขาดทุนจากการปรับโครงสร้าง หรือผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 ในรอบระยะเวลาระหว่างกาลเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กิจการใช้ในการจัดทํา งบการเงินประจําปีไม่ว่ากิจการจะจัดทํารายงานระหว่างกาลหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากกิจการรับรู้และวัดค่ารายการดังกล่าวในรอบระยะเวลาระหว่างกาลรอบระยะเวลา หนึ่งและเปลี่ยนแปลงประมาณการในรอบระยะเวลาระหว่างกาลต่อมาในรอบปีบัญชี เดียวกัน กิจการต้องทําการเปลี่ยนแปลงประมาณการนั้นในรอบระยะเวลาระหว่างกาล ที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเพิ่มหรือกลับบัญชีรายการขาดทุนที่ได้บันทึก ไปแล้ว 30.2 รายจ่ายที่ไม่ถือเป็นสินทรัพย์ตามคํานิยาม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาระหว่างกาล ต้องไม่ บันทึกเป็นรายการรอการตัดบัญชีในงบฐานะการเงิน ด้วยเหตุผลที่ว่ากิจการต้องรอ ข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคตก่อนที่จะกําหนดได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวจะเป็นสินทรัพย์ตามคํา นิยามหรือไม่ หรือด้วยเหตุผลที่ว่าจํานวนกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาระหว่างกาลแต่ละ รอบระยะเวลาในรอบปีบัญชีเดียวกันจะได้ไม่แตกต่างกันเกินไป และ 30.3 กิจการต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาระหว่างกาลแต่ละรอบระยะเวลา ด้วยประมาณการที่ดีที่สุด โดยอัตราที่ใช้ในการคํานวณต้องเป็นอัตราภาษีเงินได้ถัวเฉลี่ย ถ่วงนํ้าหนักทั้งปีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของรอบปีบัญชีนั้น กิจการอาจปรับปรุงจํานวนภาษีเงินได้ ค้างจ่ายในรอบระยะเวลาระหว่างกาลต่อมาของรอบปีบัญชีเดียวกันหากการประมาณ การของอัตราภาษีเงินได้ประจําปีเปลี่ยนแปลงไป 31 ภายใต้ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน การรับรู้รายการเป็นกระบวนการของการนํา รายการที่เป็นไปตามคํานิยามขององค์ประกอบของงบการเงิน มารวมไว้ในงบฐานะการเงินหรือ งบผลการดําเนินงานการเงิน คํานิยามของสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่าย เป็นหลักการ พื้นฐานของการรับรู้รายการในงบการเงิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานทั้งรอบระยะเวลา ประจําปีและรอบระยะเวลาระหว่างกาล 32 กิจการต้องทดสอบถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะได้รับจากสินทรัพย์ ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลาระหว่างกาลและวันสิ้นรอบระยะเวลาปีบัญชี รายจ่ายซึ่งโดยธรรมชาติแล้วไม่เข้าเงื่อนไข เป็นสินทรัพย์ตามคํานิยาม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาปีบัญชีจะไม่บันทึกเป็นสินทรัพย์ ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลาระหว่างกาล ในทํานองเดียวกัน หนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานระหว่างกาล ต้องเป็นภาระผูกพันที่กิจการมีอยู่ ณ วันนั้น ซึ่งเป็นหลักการที่ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการรับรู้ หนี้สิน ณ สิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปี 33 ลักษณะสําคัญของการเกิดรายการรายได้ ( รายได้หลัก ) และค่าใช้จ่ายคือการมีกระแสเข้าและ กระแสออกของสินทรัพย์และหนี้สินที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นกิจการจะสามารถรับรู้รายการ เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อกระแสเข้าหรือกระแสออกดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว ในทางกลับกัน กิจการต้องไม่รับรู้รายการเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายหากกระแสเข้าหรือกระแสออกนั้นยังไม่เกิดขึ้น กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ไม่อนุญาตให้กิจการรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์หรือ หนี้สินในงบฐานะการเงินหากรายการนั้นไม่เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินตามคํานิยาม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 34 ในการวัดค่ารายการต่างๆ เช่น สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด ที่รายงาน ในงบการเงิน กิจการที่นําเสนอเฉพาะงบการเงินประจําปีสามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีทั้งหมดที่มี พร้อมตลอดรอบระยะเวลาปีบัญชี การวัดค่าดังกล่าวเป็นการที่กิจการนําเกณฑ์ยอดสะสมจาก ต้นปีบัญชีถึงปัจจุบันมาใช้นั่นเอง 35 กิจการที่นําเสนองบการเงินรายครึ่งปีสามารถใช้ข้อมูลที่มีพร้อมจนถึงกลางปีหรือหลังจากนั้น ในช่วงสั้นๆ เพื่อการวัดค่าของงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรก และใช้ข้อมูลที่มี พร้อมจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาปีบัญชีหรือหลังจากนั้นในช่วงสั้น ๆ เพื่อการวัดค่าของงบการเงิน สําหรับรอบระยะเวลาสิบสองเดือน การวัดค่าสําหรับสิบสองเดือนจะรวมถึงการเปลี่ยนแปลง ประมาณการที่อาจเป็นไปได้ของจํานวนเงินที่เคยประมาณไว้สําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรก โดยไม่ปรับย้อนหลังรายงานทางการเงินระหว่างกาลของรอบระยะเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ย่อหน้าที่ 16 ก .4 และย่อหน้าที่ 26 กําหนดให้มีการเปิดเผยเกี่ยวกับธรรมชาติและจํานวนเงิน ของการเปลี่ยนแปลงประมาณการที่มีนัยสําคัญ 36 กิจการที่นําเสนองบการเงินบ่อยครั้งกว่ารายครึ่งปีต้องวัดค่าของรายได้และค่าใช้จ่ายสําหรับ รอบระยะเวลาระหว่างกาลแต่ละรอบระยะเวลาโดยใช้เกณฑ์ยอดสะสมจากต้นปีบัญชีถึงปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลที่มีพร้อมขณะที่จัดทํางบการเงินแต่ละรอบระยะเวลานั้น จํานวนของรายได้และ ค่าใช้จ่ายที่แสดงในรอบระยะเวลาระหว่างกาลปัจจุบันต้องรวมการเปลี่ยนแปลงประมาณการของ จํานวนที่แสดงไว้ในรอบระยะเวลาระหว่างกาลงวดก่อนของปีบัญชีเดียวกันโดยไม่ต้องปรับ ย้อนหลังงบการเงินระหว่างกาลรอบระยะเวลาก่อน อย่างไรก็ตาม ย่อหน้าที่ 16 ก .4 และย่อหน้าที่ 26 กําหนดให้มีการเปิดเผยเกี่ยวกับธรรมชาติและจํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงประมาณการ ที่มีนัยสําคัญ รายได้ที่ได้รับตามฤดูกาล รายได้ที่ได้รับเป็นวัฏจักร หรือรายได้ที่ได้รับเป็นครั้งคราว 37 รายได้ที่ได้รับตามฤดูกาล รายได้ที่ได้รับเป็นวัฏจักร หรือรายได้ที่ได้รับเป็นครั้งคราวต้อง ไม่คาดการณ์หรือรอการรับรู้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาระหว่างกาล หากการคาดการณ์หรือ การรอรับรู้ดังกล่าวไม่เหมาะสม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาปีบัญชีนั้นของกิจการ 38 ตัวอย่างของรายได้ที่ยังไม่เกิด ซึ่งกิจการไม่สามารถบันทึกเป็นรายได้ไว้ล่วงหน้า ได้แก่ รายได้ จากเงินปันผล รายได้ค่าสิทธิ และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล นอกจากนี้บางกิจการอาจได้รับรายได้ ในรอบระยะเวลาระหว่างกาลบางรอบระยะเวลาสูงกว่ารอบระยะเวลาอื่นๆ ในรอบปีบัญชีเดียวกัน เป็นประจํา เช่น รายได้จากการขายสินค้าปลีกตามฤดูกาล กิจการต้องรับรู้รายการดังกล่าวเป็น รายได้ทั้งจํานวนเมื่อเกิดขึ้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 ต้นทุนที่เกิดขึ้นอย่างไม่สมํ่าเสมอในระหว่างรอบปีบัญชี 39 ต้นทุนที่เกิดขึ้นอย่างไม่สมํ่าเสมอในระหว่างปีบัญชีของกิจการ ต้องคาดการณ์หรือรอการรับรู้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทํารายงานในรอบระยะเวลาระหว่างกาล ก็ต่อเมื่อเป็นการเหมาะสม ที่กิจการจะคาดการณ์หรือรอการรับรู้ต้นทุนดังกล่าว ณ วันสิ้นปีบัญชี การนําหลักการรับรู้รายการและการวัดค่ามาปฏิบัติ 40 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) การใช้การประมาณการ 41 กิจการต้องใช้วิธีวัดค่าที่ทําให้มั ่นใจว่า ข้อมูลที่แสดงในรายงานทางการเงินระหว่างกาล สามารถเชื่อถือได้ และข้อมูลทางการเงินทั้งหมดที่มีสาระสําคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจ ฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานของกิจการมีการเปิดเผยอย่างเหมาะสม กิจการมัก อาศัยการประมาณการที่สมเหตุสมผลเพื่อวัดค่ารายการบางรายการในรายงาน ทางการเงินประจําปีและรายงานทางการเงินระหว่างกาล ซึ่งตามปกติกิจการจําเป็นต้องใช้ การประมาณการในการจัดทํารายงานทางการเงินระหว่างกาลมากกว่าที่ต้องใช้ในการจัดทํา รายงานทางการเงินประจําปี 42 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) การปรับย้อนหลังงบการเงินระหว่างกาลของรอบระยะเวลาก่อนๆ 43 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี นอกเหนือจากการถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านที่กําหนด โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ กิจการต้องปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 43.1 ปรับย้อนหลังงบการเงินระหว่างกาลของรอบระยะเวลาก่อนๆ ในรอบปีบัญชี ปัจจุบันและงบการเงินระหว่างกาลของรอบปีบัญชีก่อนๆ ที่นํามาเปรียบเทียบ ซึ่งจะปรับย้อนหลังในงบการเงินประจําปีตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 หรือ 43.2 ปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลของรอบระยะเวลาก่อนๆ ในรอบปีบัญชีปัจจุบันและ งบการเงินระหว่างกาลของรอบปีบัญชีก่อนๆ ที่นํามาเปรียบเทียบตามนโยบาย การบัญชีใหม่โดยวิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปนับจากวันแรกสุดที่สามารถทําได้ ในทางปฏิบัติ หากไม่สามารถระบุถึงผลกระทบสะสม ณ วันต้นปีบัญชีจาก การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่มีผลกระทบต่อรอบปีบัญชีก่อนๆ ได้ใน ทางปฏิบัติ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 44 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ากิจการใช้นโยบายการบัญชีเดียวกัน สําหรับรายการบัญชีประเภทเดียวกันตลอดปีบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีต้องสะท้อนให้เห็นด้วยวิธีปรับย้อนหลังโดยกิจการต้องปรับ ข้อมูลทางการเงินของรอบระยะเวลาก่อนที่ย้อนหลังไปไกลที่สุดที่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม หากกิจการไม่สามารถกําหนดจํานวนสะสมที่ต้องใช้ปรับย้อนหลังงบการเงินของ รอบระยะเวลาก่อนๆ ได้ในทางปฏิบัติ มาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าวกําหนดให้กิจการสามารถ ใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปนับจากวันแรกสุดที่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ ส่วนผลกระทบ ตามย่อหน้าที่ 43 กําหนดให้กิจการที่เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีในปีบัญชีปัจจุบันใช้วิธี ปรับย้อนหลัง หรือหากไม่สามารถปฏิบัติได้ให้ใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป แต่ต้องถือปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นปีบัญชี 45 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่อนุญาตให้กิจการใช้นโยบายการบัญชีที่แตกต่างกันในรอบปีบัญชี เดียวกัน เนื่องจากจะทําให้การปันส่วนรายการระหว่างรอบระยะเวลาทําได้ยาก นอกจากนี้ยังจะ ทําให้ผลการดําเนินงานไม่มีความชัดเจน และทําให้เกิดความยากต่อการวิเคราะห์และ ความเข้าใจงบการเงินระหว่างกาล วันถือปฏิบัติ 46 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้สนับสนุนให้นําไปใช้ก่อนวันถือปฏิบัติ 47 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 48 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 49 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 50 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 51 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 52 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 53 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 54 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 55 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ทําให้เกิดการ แก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 15 ข และ 16 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อ กิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 56 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 57 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 58 การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงกรอบแนวคิดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อปี 2561 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 31 และ 33 กิจการต้อง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 22/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ เมื่อกิจการ ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมที่เกิดจาก การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงกรอบแนวคิดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 โดยการปรับย้อนหลังตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด อย่างไรก็ตาม หากกิจการพิจารณาว่าการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังนั้นไม่สามารถทําได้ ในทางปฏิบัติหรือก่อให้เกิดการใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการปรับปรุงของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 โดยอ้างอิงตามย่อหน้าที่ 43 ถึง 45 ของ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ และย่อหน้าที่ 23 ถึง 28 50 ถึง 53 และ 54 ฉ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 59 คํานิยามของความมีสาระสําคัญ ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8) ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือน ตุลาคมปี 2561 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2563 โดยแก้ไข เพิ่มเติมย่อหน้าที่ 24 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลา ประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการปฏิบัติได้ ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลา ก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไข เพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมคํานิยามของความมีสาระสําคัญใน ย่อหน้าที่ 7 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และย่อหน้าที่ 5 และ 6 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 60 การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชี ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 ทําให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 กิจการต้อง ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย