Tue Aug 08 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน (เล่มที่ 1)


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน (เล่มที่ 1)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมกา รกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 33/2565 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 9 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 32: Financial Instruments: Presentation (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 4 ภาคผนวกย่อ หน้าที่ 8 และ 36 และเพิ่มย่อหน้าที่ 33 ก และ 97 ท มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย และ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 2565 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 97 ตัดการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ เป็นทางเลือกสําหรับประเทศไทย ออก 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปี ก่อนหน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ จากฉบับปี ก่อนหน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกย่อหน้าที่ 9 และ 10 และเพิ่มย่อหน้าที่ 97 ถ และ 97 ท และปรับปรุงการอ้างอิงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สามารถสรุปเหตุผลสําหรับการออกมาตรฐานการบัญชี และลักษณะ สําคัญของมาตรฐานการบัญชี ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ข เหตุผลในการออกมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ใช้แทนมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 107 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล เครื่องมือทางการเงิน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับ รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 อย่างไรก็ตาม หากกิจการใด จะถือปฏิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ก็สามารถกระทําได้ ลักษณะที่สําคัญ ขอบเขต 2 ขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ได้รับการปรับปรุงให้มีความสอดคล้องอย่าง เหมาะสมกับขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน หลักการ 3 โดยสรุป การที่ผู้ออกจะพิจารณาว่าเครื่องมือทางการเงินนั้นเป็นหนี้สินทางการเงินหรือ ตราสารทุน เครื่องมือทางการเงินดังกล่าวจะถือเป็นตราสารทุนก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง (1) และ (2) เท่านั้น (1) เครื่องมือทางการเงินนั้นไม่มีภาระผูกพันตามสัญญา (1.1) ในการส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นให้กับกิจการอื่น หรือ (1.2) ในการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินกับกิจการ อื่นภายใต้เงื่อนไขที่อาจทําให้ผู้ออกเสียประโยชน์ (2) หากกิจการจะชําระหรืออาจจะชําระเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวด้วยตราสารทุน ที่กิจการเป็นผู้ออกนั้น เครื่องมือทางการเงินดังกล่าวถือเป็น (2.1) รายการที่ไม่ใช่อนุพันธ์ ซึ่งผู้ออกไม่มีภาระผูกพันตามสัญญาในการส่งมอบ ตราสารทุนของผู้ออกเองในจํานวนหุ้นที่ผันแปร หรือ (2.2) อนุพันธ์ที่ผู้ออกจะชําระโดยการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสดหรือสินทรัพย์ ทางการเงินที่มีจํานวนเงินคงที่ กับตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนหุ้น ที่คงที่ ในการออกตราสารทุนเพื่อวัตถุประสงค์นี้ ตราสารทุนที่กิจการ เป็นผู้ออกนั้นไม่รวมถึงเครื่องมือทางการเงินที่มีข้อตกลงตามสัญญา ที่จะได้รับหรือส่งมอบตราสารทุนของผู้ออกในอนาคต 4 นอกจากนี้เมื่อกิจการผู้ออกเครื่องมือทางการเงินมีภาระผูกพันตามสัญญาในการซื้อหุ้นของ กิจการเองโดยใช้เงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ถือว่ากิจการมีภาระหนี้สินตามจํานวนเงิน ที่ผู้ออกเครื่องมือทางการเงินมีภาระผูกพันที่จะต้องชําระ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ค 5 คํานิยามของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินและคําอธิบายของตราสารทุนได้รับ การปรับปรุงให้สอดคล้องตามหลักการนี้ การจัดประเภทของสัญญาที่จะต้องชําระด้วยตราสารทุนของกิจการ 6 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ให้คําอธิบายเกี่ยวกับการจัดประเภทของอนุพันธ์และสัญญา ที่ไม่ใช่อนุพันธ์ที่ได้รับการอ้างอิงหรือจ่ายชําระด้วยตราสารทุนของกิจการ ตามหลักการที่กล่าวไว้ ในข้อ 3 ข้างต้น โดยเฉพาะในกรณีที่กิจการใช้ตราสารทุนของกิจการเองเสมือนเป็นสกุลเงิน ในข้อตกลงในการรับหรือส่งมอบจํานวนหุ้นผันแปรซึ่งมีมูลค่าเทียบเป็นจํานวนเงินที่แน่นอน หรือมีมูลค่าเท่ากับจํานวนเงินที่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอ้างอิง ( เช่น ราคาสินค้า โภคภัณฑ์ ) ซึ่งในกรณีเช่นว่านี้ สัญญาดังกล่าวจะไม่ถือเป็นตราสารทุนแต่ถือเป็นสินทรัพย์ หรือหนี้สินทางการเงิน เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขาย 7 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้รวมเอาแนวปฏิบัติที่เคยเสนอไว้ในการตีความมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศ ฉบับที่ 34 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน — เครื่องมือทางการเงินหรือสิทธิ ที่จะไถ่ถอนของผู้ถือครอง ผลคือเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิแก่ผู้ถือครองในการจะขาย ให้กับผู้ออกเพื่อได้รับเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขาย ) ถือเป็นหนี้สินทางการเงินของผู้ออก เพื่อเป็นการตอบสนองกับข้อคิดเห็นที่ได้รับต่อฉบับร่าง มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงเพิ่มแนวปฏิบัติและตัวอย่างให้กับกิจการที่ไม่มีส่วนทุนหรือ ทุนเรือนหุ้นไม่ถือเป็นส่วนทุนตามที่ได้ให้ความหมายไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ เงื่อนไขการจ่ายชําระที่อาจเกิดขึ้น 8 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้รวมผลสรุปของการตีความมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องมือทางการเงิน - เงื่อนไขการจ่ายชําระที่อาจเกิดขึ้น โดยเครื่องมือ ทางการเงินถือเป็นหนี้สินทางการเงินเมื่อลักษณะการจ่ายชําระขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งมีความไม่แน่นอนว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น หรือผลของเหตุการณ์ที่ยังมีความ ไม่แน่นอนซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของทั้งผู้ออกและผู้ถือครอง จะไม่มีการพิจารณาเงื่อนไข การจ่ายชําระที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่การชําระบัญชีของผู้ออกหรือเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ ธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นจริง สิทธิเลือกชําระ 9 ภายใต้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 อนุพันธ์เป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน เมื่อทําให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีทางเลือกในวิธีการจ่ายชําระ เว้นแต่ทางเลือกในการจ่าย ชําระทั้งหมดส่งผลให้เป็นตราสารทุน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ง การวัดมูลค่าของส่วนประกอบของเครื่องมือทางการเงินแบบผสมในการรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรก 10 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงโดยตัดทางเลือกในการวัดมูลค่าส่วนประกอบที่เป็น หนี้สินของเครื่องมือทางการเงินแบบผสมในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกที่มาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศ ฉบับที่ 32 เดิมเคยให้ไว้ ซึ่งได้แก่วิธีมูลค่าส่วนที่เหลือหลังจากแยกส่วนของ เจ้าของและวิธีวัดมูลค่ายุติธรรมที่เกี่ยวเนื่อง (relative-fair-value method) ดังนั้น ส่วนประกอบ ที่เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินจะถูกแยกออกก่อน และมูลค่าส่วนที่เหลือจึงเป็นส่วนของเจ้าของ ข้อกําหนดในการแยกส่วนองค์ประกอบของหนี้สินและส่วนของเจ้าของของเครื่องมือ ทางการเงินแบบผสมนั้นเป็นไปตามคํานิยามของตราสารทุนที่เป็นมูลค่าส่วนที่เหลือและ เป็นไปตามข้อกําหนดการวัดมูลค่าของตราสารทุนตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน หุ้นทุนซื้อคืน 11 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ได้รวมผลสรุปของการตีความมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศ ฉบับที่ 16 เรื่อง หุ้นทุน — การซื้อคืนตราสารทุนของกิจการ ( หุ้นทุนซื้อคืน ) ที่การซื้อคืน หรือการขายออกไปภายหลังของตราสารทุนของกิจการเองไม่เป็นผลทําให้เกิดผลกําไรหรือ ผลขาดทุนแก่กิจการ แต่เป็นการแสดงให้เห็นการโอนระหว่างผู้ถือครองตราสารทุนที่ยอมสละ ส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของและผู้ที่ยังคงถือครองตราสารทุนต่อไป ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลขาดทุนและกําไร 12 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ได้รวมแนวปฏิบัติเดิมในการตีความมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศ ฉบับที่ 17 เรื่อง ส่วนของเจ้าของ - ต้นทุนของธุรกรรมเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ ต้นทุนการทํารายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นส่วนจําเป็นในการทําให้ธุรกรรมเกี่ยวกับส่วนของ เจ้าของให้สําเร็จให้รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมดังกล่าว และหักออกจากส่วนของเจ้าของ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการเสนอร่าง 13 การปรับปรุงนี้ได้พิจารณาประเด็นการจัดประเภทของบางรายการต่อไปนี้ (1) เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขาย (2) เครื่องมือทางการเงิน หรือส่วนประกอบของเครื่องมือทางการเงินที่กําหนดให้ กิจการมีภาระผูกพันในการส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วนให้กิจการ อื่นเฉพาะเมื่อมีการชําระบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 จ 14 วัตถุประสงค์ คือ การปรับปรุงในระยะสั้นและเป็นการปรับปรุงที่มีขอบเขตจํากัดเพื่อพัฒนา การรายงานทางการเงินของเครื่องมือทางการเงินบางประเภทที่เข้าคํานิยามของหนี้สิน ทางการเงินแต่เนื้อหาเป็นส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 2 ขอบเขต 4 คํานิยาม ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 3 ถึง 23) 11 การแสดงรายการ 15 หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 13 ถึง 14 ญ และ 25 ถึง 29 ก ) 15 เครื่องมือทางการเงินแบบผสม ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 30 ถึง 35) 28 หุ้นทุนซื้อคืน ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 36) 33 ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลขาดทุนและกําไร ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 37) 35 การหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 38 ก ถึง 38 ฉ และ 39) 42 วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 96 การยกเลิกประกาศอื่นๆ 98 ภาคผนวก แนวทางปฏิบัติ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 2 ถึง 100 และภาคผนวก ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดย คํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติใน การเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน วัตถุประสงค์ 1 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการกําหนดหลักการเกี่ยวกับการแสดงรายการ เครื่องมือทางการเงินเป็นหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ และการหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินกับ หนี้สินทางการเงิน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้กับการจัดประเภทเครื่องมือทางการเงินในมุมของ ผู้ออกเครื่องมือทางการเงินเพื่อจัดเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงิน และตราสารทุน รวมถึงการจัดประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ผลกําไรและขาดทุนที่เกี่ยวข้อง และสภาพแวดล้อมที่ ทําให้สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินต้องหักกลบกัน 3 หลักการในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เสริมกับหลักการในการรับรู้รายการและการวัดมูลค่า สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน และการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน ขอบเขต 4 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับทุกกิจการสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ทุกประเภท ยกเว้นรายการต่อไปนี้ 4.1 ส่วนได้เสียในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ตามที่กําหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 หรือมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 28 กําหนดหรืออนุญาตให้กิจการใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับส่วนได้เสียในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ซึ่งในกรณีดังกล่าวกิจการยังคงต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 การรายงานทางการเงินฉบับนี้ นอกจากนี้ กิจการต้องนํามาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้มาถือปฏิบัติกับอนุพันธ์ทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับส่วนได้เสีย ในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า 4.2 สิทธิและภาระผูกพันของนายจ้างที่เกิดจากแผนสิทธิประโยชน์ของพนักงาน ที่ถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน 4.3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 4.4 สัญญาประกันภัยตามที่นิยามไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย หรือสัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ตาม ดุลพินิจภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับ 4.4.1 อนุพันธ์ที่แฝงอยู่ในสัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 หากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กําหนดให้กิจการปฏิบัติกับอนุพันธ์เหล่านั้นแยกออกมา 4.4.2 องค์ประกอบการลงทุนที่ถูกแยกออกจากสัญญาภายในขอบเขตของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 หากมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 กําหนดให้มีการแยกรายการนั้น เว้นแต่ องค์ประกอบการลงทุนที่ได้แยกออกมาเป็นสัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วม รับผลประโยชน์ตามดุลพินิจภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 4.4.3 สิทธิและภาระผูกพันของผู้ออกที่เกิดขึ้นภายใต้สัญญาประกันภัย ซึ่งเป็นไปตามนิยามของสัญญาคํ้าประกันทางการเงิน หากผู้ออก ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ในการรับรู้ และวัดมูลค่าของสัญญา อย่างไรก็ตาม ผู้ออกต้องถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 หากผู้ออกเลือกที่จะถือ ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ในการรับรู้และ วัดมูลค่าของสัญญาตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 7.5 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 4.4.4 สิทธิและภาระผูกพันของกิจการซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เกิดขึ้น ภายใต้สัญญาบัตรเครดิตหรือสัญญาที่คล้ายคลึงกันซึ่งให้เครดิตหรือ จัดการการชําระเงินซึ่งกิจการเป็นผู้ออกเป็นไปตามนิยามของสัญญา ประกันภัย หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กับสิทธิและภาระผูกพันเหล่านั้นตามย่อหน้าที่ 7.8 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 และย่อหน้าที่ 2.1.5.4 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 4.4.5 สิทธิและภาระผูกพันของกิจการซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เกิดขึ้น ภายใต้สัญญาประกันภัย ซึ่งกิจการเป็นผู้ออกโดยจํากัดเงินชดเชยสําหรับ เหตุการณ์ที่เอาประกันภัยเท่ากับจํานวนเงินที่ต้องชําระภาระผูกพันของผู้ ถือกรมธรรม์ที่เกิดขึ้นตามสัญญา หากกิจการเลือกที่จะถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 แทนมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 กับสัญญาเหล่านั้น ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 8 ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 4.5 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 4.6 เครื่องมือทางการเงิน สัญญา และภาระผูกพันภายใต้การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดย ใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ยกเว้น 4.6.1 สัญญาภายใต้ขอบเขตของย่อหน้าที่ 8 ถึง 10 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 4.6.2 ย่อหน้าที่ 33 และ 34 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ โดยต้องถือปฏิบัติ กับหุ้นทุนซื้อคืนที่ซื้อ ขาย ออก หรือยกเลิกตามโครงการให้สิทธิซื้อหุ้น แก่พนักงานและข้อตกลงการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์อื่นๆ 5 - 7 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 8 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับสัญญาจะซื้อหรือสัญญาจะขายรายการที่ไม่ใช่ รายการทางการเงิน ซึ่งสามารถชําระสัญญาด้วยจํานวนสุทธิเป็นเงินสดหรือเครื่องมือ ทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน เสมือนว่าสัญญาดังกล่าว เป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่ง ยกเว้นสัญญาซึ่งทําขึ้นและถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรับหรือส่งมอบรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการซื้อ การขาย หรือการใช้ที่คาดว่าจะเกิดของกิจการ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติ กับสัญญาซึ่งกิจการกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่ กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 2.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือ ทางการเงิน 9 มีหลายวิธีที่สัญญาจะซื้อหรือสัญญาจะขายรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินสามารถชําระสัญญา ด้วยจํานวนสุทธิเป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือ ทางการเงิน ซึ่งรวมถึงกรณีต่อไปนี้ 9.1 เมื่อเงื่อนไขในสัญญายอมให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ชําระสัญญาด้วยจํานวนสุทธิ เป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน 9.2 เมื่อไม่ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาว่ากิจการสามารถชําระสัญญาด้วยจํานวน สุทธิเป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือ ทางการเงินแต่ในทางปฏิบัติกิจการชําระสัญญาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้วยจํานวน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 สุทธิเป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเครื่องมือ ทางการเงิน ( ไม่ว่าจะด้วยการเข้าทํารายการกับคู่สัญญาโดยการทําสัญญาหักกลบหรือ โดยการขายสัญญาก่อนที่จะมีการใช้สิทธิตามสัญญานั้นหรือก่อนสัญญาหมดอายุ ) 9.3 เมื่อกิจการมีวิธีปฏิบัติสําหรับสัญญาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในการรับมอบรายการ อ้างอิงและขายรายการดังกล่าวภายในระยะเวลาอันสั้นหลังการรับมอบเพื่อวัตถุประสงค์ ในการทํากําไรจากความผันผวนในระยะสั้นของราคาหรือส่วนต่างของผู้ค้า 9.4 เมื่อรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินตามสัญญาสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที สัญญาซึ่งเป็นไปตามย่อหน้าที่ 9.2 หรือ 9.3 ไม่ได้จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับหรือส่งมอบ รายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการซื้อ การขาย หรือการใช้ที่คาดว่าจะ เกิดของกิจการจึงอยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ สัญญาอื่นๆ ตามย่อหน้าที่ 8 ต้องประเมินก่อนว่าสัญญาดังกล่าวจัดทําขึ้นและถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับหรือส่งมอบ รายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการซื้อ การขาย หรือการใช้ที่คาดว่า จะเกิดของกิจการหรือไม่ แล้วจึงพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวอยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้หรือไม่ 10 สิทธิเลือกซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะซื้อหรือจะขายรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ซึ่งสามารถชําระสัญญาด้วยจํานวนสุทธิเป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือโดย การแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน ตามย่อหน้าที่ 9.1 หรือ 9.4 อยู่ภายใต้ขอบเขตของ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ สัญญาดังกล่าวต้องไม่เป็นสัญญาที่จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับ หรือส่งมอบรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงินตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการซื้อ การขาย หรือการใช้ ที่คาดว่าจะเกิดของกิจการ คํานิยาม ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 3 ถึง 23 ) 11 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ เครื่องมือทางการเงิน หมายถึง สัญญาใดๆ ที่ทําให้กิจการหนึ่งมีสินทรัพย์ทางการเงินและ อีกกิจการหนี่งมีหนี้สินทางการเงินหรือตราสารทุน สินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง สินทรัพย์ดังต่อไปนี้ 1) เงินสด 2) ตราสารทุนของกิจการอื่น 3) สิทธิตามสัญญา 3.1) ที่จะรับเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นจาก กิจการอื่น หรือ 3.2) ที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินหรือ หนี้สินทางการเงินกับกิจการอื่นภายใต้เงื่อนไข

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการ หรือ 4) สัญญาที่จะหรืออาจจะชําระสัญญาด้วยตราสารทุน ของกิจการเองและเป็น 4.1) รายการที่ไม่ใช่อนุพันธ์ ซึ่งกิจการมีหรืออาจจะ มีภาระผูกพันในการรับตราสารทุนของกิจการ เองเป็นจํานวนที่ผันแปร หรือ 4.2) รายการที่เป็นอนุพันธ์ที่จะหรืออาจจะชําระ สัญญาเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนเงินสด หรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นในจํานวนเงินที่ คงที่ กับตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนที่ คงที่ เพื่อวัตถุประสงค์นี้ตราสารทุนของกิจการ ไม่รวมเครื่องมือทางการเงินต่อไปนี้ เครื่องมือ ทางการเงินที่มีสิทธิจะขายซึ่งจัดประเภทเป็น ตราสารทุนตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข เครื่องมือทางการเงินที่ทําให้กิจการมี ภาระผูกพันในการส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของ กิจการตามสัดส่วนให้กิจการอื่นเฉพาะเมื่อมี การชําระบัญชีและจัดประเภทเป็นตราสารทุน ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง หรือ เครื่องมือทางการเงินที่เป็นสัญญาเพื่อการรับ หรือส่งมอบตราสารทุนของกิจการเองในอนาคต หนี้สินทางการเงิน หมายถึง หนี้สินดังต่อไปนี้ 1) ภาระผูกพันตามสัญญา 1.1) ที่จะส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงิน อื่นให้กิจการอื่น หรือ 1.2) ที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินหรือ หนี้สินทางการเงินกับกิจการอื่นภายใต้เงื่อนไข ที่น่าจะทําให้กิจการเสียประโยชน์ หรือ 2) สัญญาที่จะหรืออาจจะชําระสัญญาด้วยตราสารทุน ของกิจการเองและเป็น 2.1) รายการที่ไม่ใช่อนุพันธ์ ซึ่งกิจการมีหรืออาจจะ มีภาระผูกพันในการส่งมอบตราสารทุนของ กิจการเองเป็นจํานวนที่ผันแปร หรือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 2.2) รายการที่เป็นอนุพันธ์ที่จะหรืออาจจะชําระ สัญญาเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนเงินสด หรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นในจํานวนเงินที่คงที่ กับตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนที่คงที่ เพื่อวัตถุประสงค์นี้ สิทธิ สิทธิเลือก หรือใบสําคัญ แสดงสิทธิเพื่อให้ได้มาซึ่งตราสารทุนของ กิจการเองในจํานวนที่คงที่ เพื่อแลกกับเงินใน จํานวนที่คงที่ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงินใดๆ จะถือว่า เป็นตราสารทุน หากกิจการเสนอสิทธิ สิทธิเลือก หรือใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวให้แก่เจ้าของ ตราสารทุนที่ไม่ใช่อนุพันธ์ในลําดับชั้นเดียวกัน ในปัจจุบันทุกคนตามสัดส่วน นอกจากนี้เพื่อ วัตถุประสงค์นี้ตราสารทุนของกิจการไม่รวม เครื่องมือทางการเงินต่อไปนี้ เครื่องมือทาง การเงินที่มีสิทธิจะขายซึ่งจัดประเภทเป็นตรา สารทุนตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข เครื่องมือทางการเงินที่ทําให้กิจการมีภาระ ผูกพันในการส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ตามสัดส่วนให้กิจการอื่นเฉพาะเมื่อมีการชําระ บัญชีและจัดประเภทเป็นตราสารทุนตามที่ กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง หรือเครื่องมือ ทางการเงินที่เป็นสัญญาเพื่อการรับหรือส่งมอบ ตราสารทุนของกิจการเองในอนาคต โดยมีข้อยกเว้นคือ เครื่องมือทางการเงินที่เป็นไป ตามคํานิยามของหนี้สินทางการเงินให้จัดประเภท เป็นตราสารทุน หากเครื่องมือทางการเงินนั้น มีลักษณะดังกล่าวทั้งหมดและเข้าเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือ ย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ตราสารทุน หมายถึง สัญญาใดๆ ที่แสดงให้เห็นถึงส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ ของกิจการภายหลังหักหนี้สินทั้งหมดของกิจการ มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์ หรือจะจ่ายเพื่อโอน หนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่างผู้ร่วมตลาด

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 ณ วันที่วัดมูลค่า ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ) เครื่องมือทางการเงินที่มี สิทธิจะขาย หมายถึง เครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือครองในการขาย เครื่องมือทางการเงินคืนให้กับผู้ออกเพื่อแลกกับเงินสด หรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น หรือเครื่องมือทางการเงิน ที่ขายคืนให้ผู้ออกเป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อเหตุการณ์ ในอนาคตซึ่งมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น หรือเมื่อผู้ถือครอง เสียชีวิตหรือเกษียณอายุ 12 คําศัพท์ต่อไปนี้ให้มีความหมายตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 และสามารถนํามาใช้ได้กับมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ตามความหมาย โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9  ราคาทุนตัดจําหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน  การเลิกรับรู้รายการ  อนุพันธ์  วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง  สัญญาคํ้าประกันทางการเงิน  หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน  ข้อผูกมัดที่แน่นหนา  รายการที่คาดการณ์  ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง  รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง  เครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง  ถือไว้เพื่อค้า  การซื้อหรือขายตามวิธีปกติ  ต้นทุนการทํารายการ 13 ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ คําว่า “ สัญญา ” หรือ “ ตามสัญญา ” หมายถึง ข้อตกลงระหว่าง สองฝ่ายขึ้นไปที่มีผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ชัดเจน ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้โดยง่าย เนื่องจากโดยปกติ ข้อตกลงมีผลบังคับตามกฎหมาย สัญญารวมทั้งเครื่องมือทางการเงินอาจมีหลายรูปแบบและ ไม่จําเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร 14 ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้คําว่า “ กิจการ ” หมายรวมถึงบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท ทรัสต์ และ หน่วยงานภาครัฐ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 การแสดงรายการ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 13 ถึง 14 ญ และ 25 ถึง 29 ก ) 15 ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการที่ออกเครื่องมือทางการเงินต้องจัดประเภทเครื่องมือ ทางการเงินหรือส่วนประกอบของเครื่องมือทางการเงินเป็นหนี้สินทางการเงิน สินทรัพย์ ทางการเงิน หรือตราสารทุนตามเนื้อหาของข้อตกลงตามสัญญาและคํานิยามของหนี้สิน ทางการเงิน สินทรัพย์ทางการเงินและตราสารทุน 16 เมื่อผู้ออกเครื่องมือทางการเงินถือปฏิบัติตามคํานิยามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 11 เพื่อพิจารณา ว่าเครื่องมือทางการเงินนั้นเป็นตราสารทุนแทนที่จะเป็นหนี้สินทางการเงินหรือไม่ เครื่องมือ ทางการเงินดังกล่าวจะถือว่าเป็นตราสารทุนก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขทั้งย่อหน้าที่ 16.1 และ 16.2 ต่อไปนี้ 16.1 เครื่องมือทางการเงินนั้นไม่มีภาระผูกพันตามสัญญาดังต่อไปนี้ 16.1.1 ในการส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นให้กับกิจการอื่น หรือ 16.1.2 ในการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินกับกิจการอื่น ภายใต้เงื่อนไขที่น่าจะทําให้ผู้ออกเครื่องมือทางการเงินเสียประโยชน์ 16.2 ถ้าเครื่องมือทางการเงินนั้นจะหรืออาจจะชําระด้วยตราสารทุนของกิจการเอง เครื่องมือ ทางการเงินดังกล่าวต้อง 16.2.1 เป็นรายการที่ไม่ใช่อนุพันธ์ ซึ่งกิจการไม่มีภาระผูกพันตามสัญญาที่จะ ส่งมอบตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนที่ผันแปร หรือ 16.2.2 เป็นอนุพันธ์ที่จะชําระโดยผู้ออกด้วยการแลกเปลี่ยนเงินสดหรือสินทรัพย์ ทางการเงินอื่นในจํานวนเงินที่คงที่ กับตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนที่ คงที่เท่านั้น สําหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว สิทธิ สิทธิเลือก หรือใบสําคัญ แสดงสิทธิในการได้มาซึ่งตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนที่คงที่ เพื่อแลก กับจํานวนเงินที่คงที่ ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงินใดๆ จะถือว่าเป็นตราสารทุน หากกิจการเสนอสิทธิ สิทธิเลือก หรือใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวในลําดับ ชั้นเดียวกันในปัจจุบันทุกคนตามสัดส่วนตราสารทุนที่ไม่เป็นอนุพันธ์ของ กิจการเอง นอกจากนี้สําหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตราสารทุนของกิจการ เองที่กิจการเป็นผู้ออกไม่ให้รวมเครื่องมือทางการเงินที่มีลักษณะทั้งหมด และเข้าเงื่อนไขที่ระบุในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง หรือเครื่องมือทางการเงินที่เป็นสัญญาที่จะมีการรับหรือส่งมอบ ตราสารทุนของกิจการเองที่กิจการเป็นผู้ออกในอนาคต ภาระผูกพันตามสัญญารวมทั้งภาระผูกพันตามสัญญาที่เกิดขึ้นจากตราสารอนุพันธ์ ทางการเงินที่จะหรืออาจจะก่อให้เกิดการรับหรือส่งมอบตราสารทุนของกิจการเอง ที่กิจการเป็นผู้ออกในอนาคต แต่ไม่เข้าเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 16.1 และ 16.2 ข้างต้น ไม่ถือเป็นตราสารทุน ทั้งนี้มีข้อยกเว้นว่าเครื่องมือทางการเงินที่เป็นไปตามคํานิยาม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 ของหนี้สินทางการเงินจะจัดประเภทเป็นตราสารทุน หากเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว มีลักษณะทั้งหมดและเข้าเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือ ย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขาย 16 ก เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขายรวมถึงภาระผูกพันตามสัญญาสําหรับผู้ออกเครื่องมือ ทางการเงินในการซื้อคืนหรือไถ่ถอนเครื่องมือทางการเงินด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น เมื่อมีการใช้สิทธิจะขาย ตามข้อยกเว้นในคํานิยามของหนี้สินทางการเงิน เครื่องมือ ทางการเงินที่มีภาระผูกพันดังกล่าวจะจัดประเภทเป็นตราสารทุนได้หากเครื่องมือทางการเงินนั้น มีลักษณะทุกข้อดังต่อไปนี้ 16 ก .1 เครื่องมือทางการเงินนี้ให้สิทธิผู้ถือครองในสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วนเมื่อมี การชําระบัญชีของกิจการ สินทรัพย์สุทธิของกิจการนั้น คือ สินทรัพย์คงเหลือ หลังหักสิทธิเรียกร้องอื่นทั้งหมดเหนือสินทรัพย์ของกิจการ การกําหนดสัดส่วนของ สินทรัพย์สุทธิคํานวณโดย 16 ก .1.1 แบ่งสินทรัพย์สุทธิของกิจการเมื่อชําระบัญชีออกเป็นหน่วยที่มีจํานวนเงิน เท่าๆ กัน และ 16 ก .1.2 คูณจํานวนเงินข้างต้นด้วยจํานวนหน่วยที่ถือครองโดยผู้ถือครองเครื่องมือ ทางการเงินนั้น 16 ก .2 เครื่องมือทางการเงินนี้อยู่ในประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่ด้อยสิทธิกว่า เครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นทั้งหมด จะเป็นเช่นนั้นได้เมื่อ 16 ก .2.1 เครื่องมือทางการเงินนี้ไม่มีสิทธิพิเศษเหนือสิทธิเรียกร้องอื่นในสินทรัพย์ ของกิจการ ณ วันชําระบัญชี และ 16 ก .2.2 เครื่องมือทางการเงินนี้ไม่จําเป็นต้องแปลงสภาพเป็นเครื่องมือทางการเงินอื่น ก่อนที่เครื่องมือทางการเงินนี้จะอยู่ในประเภทของเครื่องมือทางการเงิน ที่ด้อยสิทธิกว่าเครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นทั้งหมด 16 ก .3 เครื่องมือทางการเงินทั้งหมดที่อยู่ในประเภทเครื่องมือทางการเงินที่ด้อยสิทธิกว่า เครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นทั้งหมดต้องมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ เช่น เครื่องมือทางการเงินต้องมีสิทธิจะขายเหมือนกันและมีสูตรหรือวิธีอื่นที่ใช้ ในการคํานวณราคาซื้อคืนหรือราคาไถ่ถอนเหมือนกันสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ทั้งหมดในประเภทเดียวกัน 16 ก .4 นอกเหนือจากภาระผูกพันตามสัญญาสําหรับผู้ออกในการซื้อคืนหรือไถ่ถอนเครื่องมือ ทางการเงินดังกล่าวด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นแล้ว เครื่องมือทางการเงิน ดังกล่าวไม่รวมภาระผูกพันตามสัญญาใดๆ ในการส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ให้กิจการอื่น หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินกับกิจการ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 อื่นภายใต้เงื่อนไขที่น่าจะทําให้กิจการเสียประโยชน์ นอกจากนี้ เครื่องมือทางการเงินนี้ ไม่เป็นสัญญาที่จะหรืออาจจะชําระด้วยตราสารทุนของกิจการเองตามที่ได้กล่าวไว้ ในย่อหน้าที่ 11 ข้อ 2 ของคํานิยามของหนี้สินทางการเงิน 16 ก .5 กระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินตลอดอายุ ของเครื่องมือทางการเงินเกือบทั้งหมดขึ้นอยู่กับกําไรหรือขาดทุน การเปลี่ยนแปลง ในสินทรัพย์สุทธิที่รับรู้หรือการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของทั้งสินทรัพย์สุทธิ ที่รับรู้และที่ไม่รับรู้ของกิจการตลอดอายุของเครื่องมือทางการเงินนั้น ( ไม่รวมถึง ผลกระทบใดๆ ของเครื่องมือทางการเงิน ) 16 ข นอกเหนือจากเครื่องมือทางการเงินที่ถูกจัดประเภทให้เป็นตราสารทุนตามคุณสมบัติที่กล่าว มาแล้วทั้งหมดข้างต้น ผู้ออกเครื่องมือทางการเงินจะต้องไม่มีเครื่องมือทางการเงินหรือสัญญา อื่นที่มี 16 ข .1 กระแสเงินสดรวมเกือบทั้งหมดขึ้นอยู่กับกําไรหรือขาดทุน หรือการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ของสินทรัพย์สุทธิที่รับรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของทั้งสินทรัพย์สุทธิ ที่รับรู้และที่ไม่รับรู้ของกิจการ ( ไม่รวมถึงผลกระทบใดๆ ของเครื่องมือทางการเงินหรือ สัญญานั้น ) และ 16 ข .2 ผลกระทบอย่างมากของการจํากัดหรือการกําหนดจํานวนที่คงที่ของผลตอบแทน ส่วนที่เหลือของผู้ถือเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขาย สําหรับวัตถุประสงค์ในการนําเงื่อนไขนี้มาถือปฏิบัติ กิจการต้องไม่คํานึงถึงสัญญาที่ไม่ใช่สัญญา ทางการเงินที่มีผู้ถือเครื่องมือทางการเงินดังที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ก ที่มีข้อกําหนดและเงื่อนไข ตามสัญญาที่คล้ายคลึงกับข้อกําหนดและเงื่อนไขตามสัญญาของสัญญาที่เทียบเท่าที่อาจจะ เกิดขึ้นระหว่างผู้ถือรายการที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเงินกับกิจการที่เป็นผู้ออก หากกิจการ ไม่สามารถกําหนดได้ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ กิจการต้องไม่จัดประเภทเครื่องมือทางการเงิน ที่มีสิทธิจะขายเป็นตราสารทุน เครื่องมือทางการเงินหรือส่วนประกอบของเครื่องมือทางการเงินที่ทําให้กิจการมีภาระผูกพัน ที่ต้องส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วนให้กิจการอื่นเฉพาะเมื่อมีการชําระบัญชี 16 ค เครื่องมือทางการเงินบางชนิดมีภาระผูกพันตามสัญญาที่ผู้ออกจะต้องส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของ กิจการตามสัดส่วนให้กิจการอื่นเฉพาะเมื่อมีการชําระบัญชี ภาระผูกพันดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก การชําระบัญชีนั้นเป็นได้ทั้งกรณีมีความแน่นอนที่จะเกิดขึ้นและกิจการไม่สามารถควบคุมได้ ( เช่น กิจการที่มีอายุจํากัด ) หรือมีความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นทางเลือกของผู้ถือ เครื่องมือทางการเงิน ตามข้อยกเว้นในคํานิยามของหนี้สินทางการเงิน เครื่องมือทางการเงินที่มี ภาระผูกพันดังกล่าวจะจัดประเภทเป็นตราสารทุนได้ หากเครื่องมือทางการเงินนั้นมีลักษณะ ทุกข้อดังนี้ 16 ค .1 ผู้ถือครองมีสิทธิในสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วน ในกรณีที่มีการชําระบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 สินทรัพย์สุทธิของกิจการนั้น คือ สินทรัพย์คงเหลือหลังหักสิทธิเรียกร้องอื่นทั้งหมด เหนือสินทรัพย์ของกิจการ การกําหนดสัดส่วนของสินทรัพย์สุทธิคํานวณโดย 16 ค .1.1 แบ่งสินทรัพย์สุทธิของกิจการเมื่อชําระบัญชีออกเป็นหน่วยที่มีจํานวนเงิน เท่าๆ กัน และ 16 ค .1.2 คูณจํานวนเงินข้างต้นด้วยจํานวนหน่วยที่ถือครองโดยผู้ถือครองเครื่องมือ ทางการเงินนั้น 16 ค .2 เครื่องมือทางการเงินนี้อยู่ในประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่ด้อยสิทธิกว่า เครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นทั้งหมด จะเป็นเช่นนั้นได้เมื่อ 16 ค .2.1 เครื่องมือทางการเงินนี้ไม่มีสิทธิพิเศษเหนือสิทธิเรียกร้องอื่นในสินทรัพย์ ของกิจการ ณ วันชําระบัญชี และ 16 ค .2.2 เครื่องมือทางการเงินนี้ไม่จําเป็นต้องแปลงสภาพเป็นเครื่องมือทางการเงินอื่น ก่อนที่เครื่องมือทางการเงินนี้จะอยู่ในประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่ ด้อยสิทธิกว่าเครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นทั้งหมด 1 6 ค .3 เครื่องมือทางการเงินทั้งหมดที่อยู่ในประเภทเครื่องมือทางการเงินที่ด้อยสิทธิกว่า เครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นทั้งหมดต้องมีภาระผูกพันตามสัญญาที่เหมือนกัน ทุกประการเพื่อให้กิจการที่เป็นผู้ออกเครื่องมือทางการเงินส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของ กิจการตามสัดส่วนให้กิจการอื่นเมื่อชําระบัญชี 16 ง นอกเหนือจากเครื่องมือทางการเงินที่ถูกจัดประเภทให้เป็นตราสารทุนตามคุณสมบัติที่กล่าว มาแล้วทั้งหมดข้างต้น ผู้ออกเครื่องมือทางการเงินจะต้องไม่มีเครื่องมือทางการเงินหรือ สัญญาอื่นที่มี 16 ง .1 กระแสเงินสดรวมเกือบทั้งหมดขึ้นอยู่กับกําไรหรือขาดทุน หรือการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ของสินทรัพย์สุทธิที่รับรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของทั้งสินทรัพย์สุทธิ ที่รับรู้และที่ไม่รับรู้ของกิจการ ( ไม่รวมถึงผลกระทบใดๆ ของเครื่องมือทางการเงินหรือ สัญญานั้น ) และ 16 ง .2 ผลกระทบอย่างมากของการจํากัดหรือการกําหนดจํานวนที่คงที่ของผลตอบแทน ส่วนที่เหลือของผู้ถือเครื่องมือทางการเงิน สําหรับวัตถุประสงค์ในการนําเงื่อนไขนี้มาถือปฏิบัติ กิจการต้องไม่คํานึงถึงสัญญาที่ไม่ใช่สัญญา ทางการเงินที่มีผู้ถือเครื่องมือทางการเงินดังที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ค ที่มีข้อกําหนดและเงื่อนไข ตามสัญญาที่คล้ายคลึงกับข้อกําหนดและเงื่อนไขตามสัญญาของสัญญาที่เทียบเท่าที่อาจจะ เกิดขึ้นระหว่างผู้ถือรายการที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเงินกับกิจการที่เป็นผู้ออก หากกิจการ ไม่สามารถกําหนดได้ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ กิจการต้องไม่จัดประเภทเครื่องมือทางการเงินเป็น ตราสารทุน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 การจัดประเภทรายการใหม่ของเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขายและเครื่องมือ ทางการเงินที่ทําให้กิจการมีภาระผูกพันที่ต้องส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วน ให้กิจการอื่นเฉพาะเมื่อมีการชําระบัญชี 16 จ กิจการต้องจัดประเภทเครื่องมือทางการเงินเป็นตราสารทุนตามย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือ ย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ตั้งแต่วันที่เครื่องมือทางการเงินมีลักษณะทั้งหมดและเป็นไปตาม เงื่อนไขที่กําหนดตามย่อหน้าดังกล่าว กิจการต้องจัดประเภทรายการใหม่สําหรับเครื่องมือ ทางการเงิน ตั้งแต่วันที่เครื่องมือทางการเงินขาดลักษณะหรือเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ข้อกําหนดย่อหน้าดังกล่าว ตัวอย่างเช่น หากกิจการผู้ออกไถ่ถอนเครื่องมือทางการเงินที่ไม่มีสิทธิ จะขายทั้งหมด และเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขายใดๆ ที่เหลืออยู่มีลักษณะทั้งหมดและ เป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมดตามย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข กิจการต้องจัดประเภทรายการใหม่ สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขายนั้นเป็นตราสารทุนนับจากวันที่กิจการไถ่ถอน เครื่องมือทางการเงินที่ไม่มีสิทธิจะขาย 16 ฉ กิจการต้องถือปฏิบัติสําหรับการจัดประเภทรายการใหม่ของเครื่องมือทางการเงินตามย่อหน้าที่ 16 จ ดังนี้ 16 ฉ .1 กิจการต้องจัดประเภทรายการใหม่จากตราสารทุนเป็นหนี้สินทางการเงินตั้งแต่วันที่ เครื่องมือทางการเงินขาดลักษณะหรือเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กําหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือ ย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง และต้องวัดมูลค่ายุติธรรม ของหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่าง มูลค่าตามบัญชีของตราสารทุนและมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงินในส่วนของ เจ้าของ ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ 16 ฉ .2 กิจการต้องจัดประเภทรายการใหม่จากหนี้สินทางการเงินเป็นตราสารทุนตั้งแต่วันที่ เครื่องมือทางการเงินมีลักษณะทั้งหมดและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือ ย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง และต้องวัดมูลค่าตราสารทุนด้วยมูลค่า ตามบัญชีของหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่จัดประเภทรายการใหม่ การไม่มีภาระผูกพันตามสัญญาในการส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( ย่อหน้าที่ 16.1) 17 นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ลักษณะสําคัญที่ทําให้หนี้สินทางการเงินแตกต่างจากตราสารทุน คือหนี้สินทางการเงินมี ภาระผูกพันตามสัญญาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งของเครื่องมือทางการเงินนั้น ( ผู้ออก ) ในการส่ง มอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ( ผู้ถือครอง ) หรือในการ แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินกับผู้ถือครองภายใต้เงื่อนไขที่อาจทําให้ผู้ ออกเสียประโยชน์ แม้ว่าผู้ถือตราสารทุนอาจมีสิทธิในการได้รับเงินปันผลหรือการแบ่งปันส่วน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 ทุนอื่นตามสัดส่วน แต่ผู้ออกไม่มีภาระผูกพันตามสัญญาในการจ่ายการแบ่งปันส่วนทุนดังกล่าว เนื่องจากไม่มีข้อกําหนดให้ผู้ออกต้องส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นให้คู่สัญญาอีกฝ่าย 18 กิจการที่ออกเครื่องมือทางการเงินต้องจัดประเภทเครื่องมือทางการเงินในงบฐานะการเงินโดย คํานึงถึงเนื้อหามากกว่ารูปแบบทางกฎหมาย เนื้อหากับรูปแบบทางกฎหมายมักจะสอดคล้องกัน แต่มีบางกรณีที่ไม่เป็นเช่นนั้น เครื่องมือทางการเงินบางชนิดมีรูปแบบทางกฎหมายเป็นส่วนของ เจ้าของแต่เนื้อหาเป็นหนี้สิน เครื่องมือทางการเงินบางชนิดมีลักษณะผสมระหว่างตราสารทุน และหนี้สินทางการเงิน ตัวอย่างเช่น 18.1 หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ออกต้องไถ่ถอนด้วยจํานวนเงินที่คงที่หรือที่สามารถทราบได้ ณ วันที่ ในอนาคตที่กําหนดไว้หรือที่สามารถทราบได้ หรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือ ในการเรียกร้องให้ผู้ออกไถ่ถอน ณ วันใดวันหนึ่งหรือหลังจากวันนั้น ด้วยจํานวนเงิน ที่คงที่หรือที่สามารถทราบได้ หุ้นบุริมสิทธินั้นถือเป็นหนี้สินทางการเงิน 18.2 เครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการขายคืนให้กับผู้ออก โดยให้ชําระเป็นเงิน สดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขาย ) เป็นหนี้สิน ทางการเงิน ยกเว้นเครื่องมือทางการเงินที่ถูกจัดประเภทให้เป็นตราสารทุนตาม ย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง เครื่องมือทางการเงินนั้นยังคง จัดเป็นหนี้สินทางการเงิน แม้ว่าจํานวนเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นที่จะจ่าย ชําระกําหนดจากดัชนีหรือรายการอื่นที่อาจมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง การที่ผู้ถือครอง มีสิทธิที่จะขายคืนให้กับผู้ออกโดยให้ชําระเป็นเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น หมายความว่าเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขายนั้นเป็นไปตามคํานิยามของหนี้สิน ทางการเงิน ยกเว้นเครื่องมือทางการเงินที่จัดประเภทเป็นตราสารทุนตาม ย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ตัวอย่างเช่น กองทุนที่ไม่มี กําหนดอายุ หน่วยลงทุน ห้างหุ้นส่วน และสหกรณ์บางประเภท อาจให้สิทธิแก่ผู้ถือ หน่วยลงทุนหรือสมาชิกในการถอนส่วนได้เสียของตนในผู้ออกเครื่องมือทางการเงิน เป็นเงินสดเมื่อใดก็ได้ จะทําให้ส่วนได้เสียของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือสมาชิกจัดประเภท เป็นหนี้สินทางการเงิน ยกเว้นเครื่องมือทางการเงินที่จัดประเภทเป็นตราสารทุนตาม ย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง อย่างไรก็ตาม การจัดประเภท เป็นหนี้สินทางการเงินมิได้ห้ามให้กิจการใช้ชื่อรายการ เช่น “ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่ เป็นส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุน ” และ “ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่เป็น ส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุน ” ในงบการเงินของกิจการที่ไม่มีส่วนของทุน ( เช่น กองทุน รวมและหน่วยลงทุน ) หรือ มิได้ห้ามให้กิจการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงว่ายอด รวมของส่วนได้เสียของสมาชิกประกอบด้วยรายการต่างๆ เช่น สํารองที่เป็นไปตาม คํานิยามของส่วนของเจ้าของ และเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขายที่ไม่เป็นไปตาม คํานิยามของส่วนของเจ้าของ 19 หากกิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขที่จะหลีกเลี่ยงการส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงิน อื่นเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันตามสัญญา ภาระผูกพันนั้นเป็นไปตามคํานิยามของหนี้สิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 ทางการเงิน ยกเว้นเครื่องมือทางการเงินที่จัดประเภทเป็นตราสารทุนตามย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ตัวอย่างเช่น 19.1 ข้อจํากัดเกี่ยวกับความสามารถของกิจการที่จะปฏิบัติตามภาระผูกพันตามสัญญา ไม่ได้ ลบล้างภาระผูกพันของกิจการหรือสิทธิตามสัญญาของผู้ถือเครื่องมือทางการเงินนั้น ตัวอย่างของข้อจํากัดดังกล่าว เช่น การไม่สามารถเข้าถึงเงินตราต่างประเทศหรือความ จําเป็นในการได้รับอนุมัติการจ่ายเงินจากหน่วยงานกํากับดูแล 19.2 ภาระผูกพันตามสัญญาซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้สิทธิไถ่ถอนของคู่สัญญาถือเป็นหนี้สิน ทางการเงิน เนื่องจากกิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขในการหลีกเลี่ยงการส่งมอบ เงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น 20 เครื่องมือทางการเงินถึงแม้ไม่ระบุภาระผูกพันตามสัญญาอย่างชัดเจนว่าให้ส่งมอบเงินสดหรือ สินทรัพย์ทางการเงินอื่น เครื่องมือทางการเงินอาจระบุภาระผูกพันโดยทางอ้อมผ่านข้อกําหนด และเงื่อนไขของเครื่องมือทางการเงินนั้น ตัวอย่างเช่น 20.1 เครื่องมือทางการเงินอาจมีภาระผูกพันที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ซึ่งต้องชําระภาระ ผูกพันดังกล่าวก็ต่อเมื่อกิจการไม่สามารถจ่ายชําระหรือไถ่ถอนเครื่องมือทางการเงิน หากกิจการสามารถหลีกเลี่ยงการโอนเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นได้เพียงแค่ ชําระภาระผูกพันที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน เครื่องมือทางการเงินนั้นถือเป็นหนี้สิน ทางการเงิน 20.2 เครื่องมือทางการเงินเป็นหนี้สินทางการเงิน หากกําหนดให้กิจการส่งมอบรายการใด รายการหนึ่งดังต่อไปนี้เพื่อการจ่ายชําระ 20.2.1 เงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น หรือ 20.2.2 หุ้นของกิจการเอง ในกรณีที่มีมูลค่าของหุ้นเกินกว่ามูลค่าเกือบทั้งหมดของ เงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น แม้ว่ากิจการจะไม่มีภาระผูกพันตามสัญญาที่ระบุไว้อย่างชัดเจนที่จะส่งมอบเงินสดหรือ สินทรัพย์ทางการเงินอื่น แต่มูลค่าของหุ้นที่ใช้ชําระตามทางเลือกในการจ่ายชําระนั้น เทียบเท่าได้กับการจ่ายชําระเป็นเงินสด ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามถือว่าผู้ถือเครื่องมือ ทางการเงินได้รับการคํ้าประกันว่าจะได้รับจํานวนเงินอย่างน้อยเท่ากับการจ่ายชําระ เป็นเงินสด ( ดูย่อหน้าที่ 21) การชําระด้วยตราสารทุนของกิจการเอง ( ย่อหน้าที่ 16.2) 21 สัญญาไม่เป็นตราสารทุนเพียงเพราะสัญญานั้นอาจมีผลให้เกิดการรับมอบหรือส่งมอบ ตราสารทุนของกิจการเอง กิจการอาจมีสิทธิหรือภาระผูกพันตามสัญญาที่จะรับหรือส่งมอบหุ้น หรือตราสารทุนอื่นของกิจการเองในจํานวนที่ผันแปรเพื่อที่ว่ามูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนของ กิจการเองที่จะได้รับหรือส่งมอบเท่ากับจํานวนเงินของสิทธิหรือภาระผูกพันตามสัญญา สิทธิหรือ ภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวอาจจะมีจํานวนเงินคงที่หรือจํานวนเงินบางส่วนหรือทั้งหมด

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 ที่ผันผวน ตามการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่ราคาตลาดของตราสารทุนของกิจการเอง ( เช่น อัตราดอกเบี้ย ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ ราคาของเครื่องมือทางการเงิน ) ตัวอย่างเช่น (1) สัญญาที่จะส่งมอบตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนหุ้นที่มีมูลค่าเท่ากับ 100 บาท หรือ (2) สัญญาที่จะส่งมอบตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนหุ้นที่มีมูลค่าเท่ากับราคาทอง 100 ออนซ์ สัญญาเหล่านี้เป็นหนี้สินทางการเงินของกิจการ แม้ว่ากิจการต้องหรือสามารถชําระโดย การส่งมอบตราสารทุนของกิจการเองก็ตาม สัญญานี้ไม่เป็นตราสารทุนเนื่องจากกิจการชําระด้วย ตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนที่ผันแปร ดังนั้นสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นส่วนได้เสีย คงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังหักหนี้สินทั้งหมดแล้ว 22 ยกเว้นตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 22 ก สัญญาที่กิจการจะชําระด้วยการ ( รับหรือ ) ส่งมอบ ตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนที่คงที่เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ที่มีจํานวนเงินที่คงที่ถือเป็นตราสารทุน ตัวอย่างเช่น การออกสิทธิเลือกซื้อหุ้นที่ให้สิทธิ แก่คู่สัญญาในการซื้อหุ้นของกิจการในจํานวนที่คงที่และเป็นราคาที่คงที่ หรือซื้อหุ้นกู้ของกิจการ ในจํานวนเงินต้นที่ตราไว้ที่คงที่ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสัญญาที่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดซึ่งไม่มีผลกระทบต่อจํานวนเงินของเงินสดหรือสินทรัพย์ ทางการเงินอื่นที่จะจ่ายหรือได้รับเมื่อมีการชําระตามสัญญา หรือจํานวนของตราสารทุนของ กิจการเองซึ่งจะได้รับหรือส่งมอบเมื่อมีการชําระตามสัญญา ไม่มีผลทําให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็น ตราสารทุน สิ่งตอบแทนที่ได้รับใดๆ ( เช่น ค่าพรีเมียมที่ได้รับจากสิทธิเลือกที่กิจการออกสําหรับ หุ้นของกิจการเองหรือใบสําคัญแสดงสิทธิสําหรับหุ้นของกิจการเอง ) ให้เพิ่มไว้ในส่วนของเจ้าของ โดยตรง สิ่งตอบแทนที่จ่ายใดๆ ( เช่น ค่าพรีเมียมที่จ่ายสําหรับสิทธิเลือกที่กิจการซื้อ ) ให้หักจาก ส่วนของเจ้าของโดยตรง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนจะไม่รับรู้ในงบการเงิน 22 ก หากตราสารทุนของกิจการที่จะได้รับหรือส่งมอบตามสัญญา ณ วันชําระสัญญาเป็นเครื่องมือ ทางการเงินที่มีสิทธิจะขาย ซึ่งมีลักษณะทั้งหมดและเป็นไปตามเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ทําให้กิจการมีภาระผูกพันในการส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของ กิจการตามสัดส่วนให้แก่กิจการอื่นเฉพาะเมื่อมีการชําระบัญชี ซึ่งมีลักษณะทั้งหมดและเป็นไป ตามเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง สัญญานั้นเป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ทั้งนี้รวมถึงสัญญาที่จะชําระโดยการที่กิจการได้รับหรือส่งมอบเครื่องมือทางการเงินเหล่านั้น ในจํานวนที่คงที่เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นในจํานวนเงินที่คงที่ 23 นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง สัญญาที่มีภาระผูกพันให้กิจการซื้อตราสารทุนของกิจการเองด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ ทางการเงินอื่น ก่อให้เกิดหนี้สินทางการเงินด้วยมูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินที่ไถ่ถอน ( ตัวอย่างเช่น มูลค่าปัจจุบันของราคาซื้อคืนล่วงหน้า ราคาใช้สิทธิของสิทธิเลือก หรือ จํานวนเงินที่ไถ่ถอนอื่น ) แม้ว่าตัวของสัญญาเองเป็นตราสารทุน อีกตัวอย่างเช่น ภาระผูกพันของกิจการภายใต้สัญญาฟอร์ เวิร์ดที่จะซื้อตราสารทุนของกิจการเองด้วยเงินสด หนี้สินทางการเงินนี้จะรับรู้เมื่อเริ่มแรกด้วย มูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินที่ไถ่ถอน และจัดประเภทรายการใหม่ออกจากส่วนของเจ้าของ หลังจากนั้น ให้วัดมูลค่าหนี้สินทางการเงินดังกล่าวตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 หากสัญญาดังกล่าวหมดอายุโดยมิได้มีการส่งมอบ มูลค่าตามบัญชีของหนี้สินทางการเงิน ณ ขณะนั้นจะจัดประเภทรายการใหม่ไปเป็นส่วนของเจ้าของ ภาระผูกพันตามสัญญาของกิจการที่จะ ซื้อตราสารทุนของกิจการเองก่อให้เกิดหนี้สินทางการเงินด้วยมูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินที่ไถ่ ถอนแม้ว่าภาระผูกพันที่จะซื้อขึ้นอยู่กับการใช้สิทธิที่จะไถ่ถอนของคู่สัญญา ( เช่น สิทธิเลือกที่จะ ขายที่กิจการออกซึ่งให้สิทธิแก่คู่สัญญาที่จะขายคืนตราสารทุนของกิจการเองด้วยราคาคงที่ ) 24 สัญญาที่จะชําระโดยการที่กิจการส่งมอบหรือรับมอบตราสารทุนของกิจการเองในจํานวนที่คงที่ เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นในจํานวนเงินที่ผันแปร ถือเป็นสินทรัพย์ ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ตัวอย่างเช่น สัญญาที่กิจการจะส่งมอบตราสารทุนของกิจการ เองเป็นจํานวน 100 หน่วยเพื่อแลกกับจํานวนเงินของเงินสดที่คํานวณแล้วมีค่าเท่ากับมูลค่าของ ทอง 100 ออนซ์ เงื่อนไขการจ่ายชําระที่อาจเกิดขึ้น 25 เครื่องมือทางการเงินอาจกําหนดให้กิจการส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นหรือชําระ ด้วยวิธีอื่นใดซึ่งทําให้เครื่องมือทางการเงินนี้เป็นหนี้สินทางการเงิน เมื่อเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นหรือเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวไม่เกิดขึ้น ( หรือจากผลลัพธ์ของ สภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอน ) ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของทั้งผู้ออกและผู้ถือ เครื่องมือทางการเงิน เช่น การเปลี่ยนแปลงในดัชนีตลาดหุ้น ดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ย หรือข้อกําหนดด้านภาษี หรือ รายได้ในอนาคต กําไรสุทธิ หรืออัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของ เจ้าของของผู้ออก ผู้ออกเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขที่จะหลีกเลี่ยง การส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( หรือการชําระด้วยวิธีอื่นใดซึ่งทําให้เครื่องมือ ทางการเงินนี้เป็นหนี้สินทางการเงิน ) ดังนั้น เครื่องมือทางการเงินเป็นหนี้สินทางการเงินของผู้ ออก เว้นแต่ 25.1 ส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการชําระที่อาจเกิดขึ้นกําหนดให้กิจการชําระด้วยเงินสดหรือ สินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( หรือวิธีอื่นใดซึ่งทําให้เครื่องมือทางการเงินนี้เป็นหนี้สิน ทางการเงิน ) ไม่เป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริง 25.2 ผู้ออกต้องชําระภาระผูกพันด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( หรือวิธีอื่นใด ซึ่งทําให้เครื่องมือทางการเงินนี้เป็นหนี้สินทางการเงิน ) เฉพาะเมื่อมีการชําระบัญชี ของผู้ออก หรือ 25.3 เครื่องมือทางการเงินนั้นมีลักษณะทั้งหมดและเป็นตามเงื่อนไขตามที่ระบุใน ย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข สิทธิเลือกชําระ 26 เมื่อตราสารอนุพันธ์ทางการเงินให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งสามารถเลือกวิธีการชําระ ( เช่น ผู้ออก หรือผู้ถือสามารถเลือกการชําระด้วยจํานวนสุทธิเป็นเงินสดหรือโดยการแลกเปลี่ยนหุ้นกับ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 เงินสด ) ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินนี้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน เว้นแต่ว่าทางเลือกทั้งหมดในการชําระมีผลทําให้ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินนี้เป็นตราสารทุน 27 ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่มีสิทธิเลือกชําระซึ่งเป็นหนี้สินทางการเงิน ได้แก่ สิทธิเลือกที่จะซื้อหรือขายหุ้นที่ผู้ออกสามารถตัดสินใจได้ว่าจะชําระสุทธิด้วยเงินสดหรือ การแลกเปลี่ยนหุ้นของกิจการเองกับเงินสด ในทํานองเดียวกัน สัญญาบางสัญญาที่จะซื้อหรือขาย รายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน เพื่อแลกเปลี่ยนกับตราสารทุนของกิจการเองอยู่ในขอบเขต ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ เนื่องจากสามารถชําระได้ด้วยการส่งมอบรายการที่ไม่ใช่รายการ ทางการเงินหรือชําระสุทธิด้วยเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่น ( ดูย่อหน้าที่ 8 ถึง 10) สัญญาเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน แต่ไม่เป็นตราสารทุน เครื่องมือทางการเงินแบบผสม ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 30 ถึง 35) 28 กิจการที่ออกเครื่องมือทางการเงินที่ไม่ใช่ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินต้องประเมิน ข้อกําหนดของเครื่องมือทางการเงินเพื่อกําหนดว่าเครื่องมือทางการเงินมีองค์ประกอบของ หนี้สินและส่วนของเจ้าของหรือไม่ ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะต้องจัดประเภทแยกเป็น หนี้สินทางการเงิน สินทรัพย์ทางการเงินและตราสารทุนตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 15 29 กิจการรับรู้องค์ประกอบของเครื่องมือทางการเงินแยกจากกัน สําหรับองค์ประกอบที่ ก ) ก่อให้เกิดหนี้สินทางการเงินของกิจการ และ ข ) ให้สิทธิเลือกแก่ผู้ถือเครื่องมือทางการเงิน ในการแปลงสภาพเครื่องมือทางการเงินนั้นเป็นตราสารทุนของกิจการ ตัวอย่างเช่น หุ้นกู้แปลง สภาพหรือเครื่องมือทางการเงินคล้ายคลึงที่มีสิทธิแปลงสภาพซึ่งผู้ถือสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นหุ้นสามัญของกิจการในจํานวนหุ้นที่คงที่ ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินแบบผสม จากมุมมอง ของกิจการ เครื่องมือทางการเงินดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบสองส่วน คือ หนี้สิน ทางการเงิน ( ข้อตกลงตามสัญญาที่จะส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์การเงินอื่น ) และตราสารทุน ( สิทธิเลือกซื้อที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการแปลงสภาพเครื่องมือทางการเงินเป็นหุ้นสามัญของกิจการ ในจํานวนหุ้นที่คงที่ภายในระยะเวลาที่กําหนด ) การออกเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวจะมี ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่เช่นเดียวกันกับการออกตราสารหนี้ที่มีเงื่อนไขการไถ่ถอน ก่อนกําหนดพร้อมใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หรือการออกตราสารหนี้พร้อมใบสําคัญ แสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ ดังนั้น ไม่ว่ากรณีใดๆ กิจการแสดงองค์ประกอบที่เป็นหนี้สินแยกจาก องค์ประกอบที่เป็นส่วนของเจ้าของในงบฐานะการเงิน 30 การจัดประเภทรายการองค์ประกอบที่เป็นหนี้สินและส่วนของเจ้าของของเครื่องมือทางการเงิน แปลงสภาพ จะไม่ปรับเปลี่ยนด้วยเหตุผลที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงความเป็นไปได้ที่ผู้ถือจะใช้สิทธิ แปลงสภาพ แม้ว่าเมื่อมีการใช้สิทธิเลือกแปลงสภาพแล้วจะทําให้ผู้ถือบางรายได้เปรียบ เชิงเศรษฐกิจเหนือผู้ถืออื่น ผู้ถืออาจไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่คาดการณ์เสมอไปด้วยเหตุผล เช่น ผลกระทบทางภาษีอันเป็นผลมาจากการแปลงสภาพอาจแตกต่างกันไประหว่างผู้ถือรายต่างๆ นอกจากนี้ ความเป็นไปได้ในการแปลงสภาพจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ภาระผูกพันของ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 กิจการในการจ่ายชําระในอนาคตยังคงมีอยู่จนกว่าภาระผูกพันจะหมดไปโดยการแปลงสภาพ การครบกําหนดอายุ หรือโดยวิธีการอื่น 31 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ระบุเกี่ยวกับการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน และหนี้สินทางการเงิน ตราสารทุนเป็นเครื่องมือทางการเงินที่แสดงถึงส่วนได้เสียคงเหลือ ในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังหักหนี้สินทั้งหมดของกิจการ ดังนั้น มูลค่าตามบัญชีเริ่มแรกของ เครื่องมือทางการเงินแบบผสมจะปันส่วนเป็นองค์ประกอบที่ป็นส่วนของเจ้าของและหนี้สิน โดยองค์ประกอบที่เป็นส่วนของเจ้าของจะเท่ากับส่วนคงเหลือหลังจากหักมูลค่ายุติธรรมของ เครื่องมือทางการเงินแบบผสมทั้งหมดด้วยจํานวนเงินที่เป็นองค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน มูลค่าของ ลักษณะที่เป็นอนุพันธ์ใดๆ ( เช่น สิทธิเลือกซื้อ ) ที่แฝงรวมอยู่ในเครื่องมือทางการเงินแบบผสม นอกเหนือจากองค์ประกอบที่เป็นส่วนของเจ้าของ ( เช่น สิทธิเลือกแปลงสภาพเป็นทุน ) ให้รวม เป็นองค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน ผลรวมของมูลค่าตามบัญชีขององค์ประกอบที่เป็นหนี้สินและส่วน ของเจ้าของ ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ต้องเท่ากับมูลค่ายุติธรรมที่พิจารณาแล้วว่าเป็น มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินแบบผสมทั้งหมด ทั้งนี้การรับรู้เมื่อเริ่มแรกของเครื่องมือ ทางการเงินแบบผสมโดยการแยกองค์ประกอบจะไม่มีผลกําไรหรือขาดทุนเกิดขึ้น 32 ภายใต้วิธีการที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 31 กิจการที่ออกหุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ จะกําหนดมูลค่าตามบัญชีขององค์ประกอบที่เป็นหนี้สินเป็นอันดับแรก โดยวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ( รวมถึงลักษณะที่เป็นอนุพันธ์ที่ไม่ใช่ ตราสารทุนที่แฝงอยู่ ) ที่ไม่มีองค์ประกอบที่เป็นส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้อง มูลค่าตามบัญชี ของตราสารทุนซึ่งในที่นี้คือ สิทธิเลือกในการแปลงสภาพเครื่องมือทางการเงินเป็นหุ้นสามัญ จะกําหนดโดยการหักมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงินจากมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือ ทางการเงินแบบผสมทั้งหมด หุ้นทุนซื้อคืน ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 36) 33 หากกิจการซื้อคืนตราสารทุนของกิจการเอง ตราสารทุนดังกล่าว ( หุ้นทุนซื้อคืน ) ต้องหักออกจาก ส่วนของเจ้าของ กิจการต้องไม่รับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนจากการซื้อ ขาย ออก หรือยกเลิก ตราสารทุนของกิจการเอง หุ้นทุนซื้อคืนดังกล่าวอาจซื้อคืนและถือโดยกิจการเองหรือถือโดย กิจการอื่นในกลุ่มกิจการรวม สิ่งตอบแทนที่จ่ายหรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับต้องรับรู้โดยตรง ในส่วนของเจ้าของ 33 ก บางกิจการบริหารกองทุนเพื่อการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการภายในหรือภายนอก ที่ให้ผลประโยชน์ กับนักลงทุนตามหน่วยลงทุนในกองทุน และรับรู้หนี้สินทางการเงินสําหรับจํานวนเงินที่จะจ่ายให้ นักลงทุน ในทํานองเดียวกัน บางกิจการออกกลุ่มของสัญญาประกันภัยที่มีลักษณะร่วมรับ ผลประโยชน์โดยตรงและกิจการเหล่านั้นถือครองรายการอ้างอิง บางกองทุนหรือรายการอ้างอิง รวมหุ้นทุนซื้อคืนของกิจการ ถึงแม้จะมีข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 33 กิจการอาจเลือกไม่หัก หุ้นทุนซื้อคืนออกจากส่วนของเจ้าของสําหรับหุ้นทุนซื้อคืนที่ถูกรวมในกองทุนเหล่านั้นหรือเป็น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 รายการอ้างอิงเฉพาะเมื่อกิจการซื้อคืนตราสารทุนของกิจการเองสําหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว เท่านั้น อีกทางเลือกหนึ่งกิจการอาจเลือกที่จะรับรู้หุ้นทุนซื้อคืนนั้นเป็นส่วนของเจ้าของต่อไป และรับรู้ตราสารที่ซื้อคืนเสมือนหนึ่งว่าตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ทางการเงินและวัดมูลค่า ของตราสารดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 การเลือกนี้จะไม่สามารถยกเลิกได้และให้ถือปฎิบัติเป็นรายตราสาร เพื่อวัตถุประสงค์ของการเลือกนี้สัญญาประกันภัยให้รวมสัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับ ผลประโยชน์ตามดุลยพินิจ ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 สําหรับคําศัพท์ที่ใช้ ในย่อหน้านี้ตามที่นิยามไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับดังกล่าว ) 34 จํานวนเงินของหุ้นทุนซื้อคืนที่ถือให้เปิดเผยแยกต่างหากในงบฐานะการเงินหรือในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน หากกิจการ ซื้อตราสารทุนของกิจการเองคืนจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ให้เปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลขาดทุน และผลกําไร ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 37) 35 ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลขาดทุน และผลกําไรที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินหรือ องค์ประกอบของเครื่องมือทางการเงินที่เป็นหนี้สินทางการเงินต้องรับรู้เป็นรายได้หรือ ค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุน การแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือตราสารทุนต้องรับรู้โดยตรง ในส่วนของเจ้าของ ต้นทุนการทํารายการของรายการที่เกี่ยวข้องกับทุนต้องหักจากส่วนของ เจ้าของ 35 ก ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือตราสารทุน และต้นทุนการทํารายการของ รายการที่เกี่ยวข้องกับทุนต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ 36 การจัดประเภทรายการเครื่องมือทางการเงินเป็นหนี้สินทางการเงินหรือตราสารทุนเป็นการกําหนดว่า ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลขาดทุน และผลกําไรที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินนั้นจะรับรู้เป็น รายได้หรือค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุนหรือไม่ ดังนั้น การจ่ายปันผลของหุ้นที่รับรู้เป็นหนี้สิน ทั้งจํานวนให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในลักษณะเดียวกันกับดอกเบี้ยของหุ้นกู้ ในทํานองเดียวกัน ผลกําไรและขาดทุนที่เกี่ยวกับการไถ่ถอนหรือการก่อหนี้สินใหม่แทนหนี้สินเดิมให้รับรู้ในกําไร หรือขาดทุน ในขณะที่ผลกําไรและขาดทุนที่เกี่ยวกับการไถ่ถอนหรือการออกตราสารใหม่แทน ตราสารทุนเดิมให้รับรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ของตราสารทุนจะไม่ให้รับรู้ในงบการเงิน 37 โดยปกติกิจการจะมีต้นทุนต่างๆ ในการออกหรือการได้มาซึ่งตราสารทุนของกิจการเอง ต้นทุนดังกล่าว อาจรวมถึงค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมอื่นของหน่วยงานกํากับดูแล ค่าที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ค่าที่ปรึกษาด้านบัญชีและด้านวิชาชีพอื่นๆ ต้นทุนการพิมพ์และอากรแสตมป์ ต้นทุนการทํารายการของรายการที่เกี่ยวข้องกับทุนให้หักออกจากส่วนของเจ้าของ หากต้นทุน การทํารายการดังกล่าวเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายการที่เกี่ยวข้องกับทุน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 ซึ่งหลีกเลี่ยงได้หากไม่มีรายการที่เกี่ยวข้องกับทุนดังกล่าว ต้นทุนของรายการที่เกี่ยวข้องกับทุน ที่ดําเนินการไม่สําเร็จให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย 38 ต้นทุนการทํารายการที่เกี่ยวข้องกับการออกเครื่องมือทางการเงินแบบผสมให้ปันส่วนเป็น องค์ประกอบที่เป็นหนี้สินและส่วนของเจ้าของของเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว ตามสัดส่วนของ การปันส่วนของเงินรับ ต้นทุนการทํารายการที่เกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่งรายการร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ต้นทุนการเสนอขายพร้อมกันของหุ้นรายการหนึ่งและหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อีกรายการหนึ่ง ) ให้ปันส่วนให้กับรายการต่างๆ ตามเกณฑ์ที่สมเหตุสมผลและสมํ่าเสมอเช่นเดียวกับ รายการอื่นที่คล้ายคลึงกัน 39 จํานวนเงินของต้นทุนการทํารายการที่หักจากส่วนของเจ้าของในระหว่างรอบระยะเวลา ให้เปิดเผยเป็นรายการแยกต่างหากตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 40 เงินปันผลที่จัดประเภทรายการเป็นค่าใช้จ่ายอาจแสดงรายการในงบกําไรขาดทุนและ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น โดยแสดงรวมกับดอกเบี้ยของหนี้สินอื่นหรือแสดงเป็นรายการ แยกต่างหาก นอกเหนือจากข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ การเปิดเผยข้อมูลของ ดอกเบี้ยและเงินปันผลให้ขึ้นอยู่กับข้อกําหนดตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ในบางสภาพแวดล้อม เนื่องจากความแตกต่าง ระหว่างดอกเบี้ยและเงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการหักภาษี จึงควรเปิดเผย รายการดังกล่าวแยกจากกันในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น การเปิดเผยข้อมูล ของผลกระทบทางภาษีให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่ระบุในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 41 ผลกําไรและขาดทุนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินทางการเงินให้ รับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุน แม้ว่าผลกําไรและขาดทุนจะเกี่ยวข้องกับ เครื่องมือทางการเงินที่รวมสิทธิในส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการเพื่อแลกเปลี่ยนกับ เงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( ดูย่อหน้าที่ 18.2) ภายใต้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ให้กิจการแสดงผลกําไรหรือขาดทุนใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการวัดมูลค่าใหม่ของเครื่องมือทางการเงิน ดังกล่าวเป็นรายการแยกต่างหากในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เมื่อการเปิดเผยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ การอธิบายถึงผลการดําเนินงานของกิจการ การหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 38 ก ถึง 38 ฉ และ 39) 42 สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินต้องหักกลบกันและแสดงจํานวนสุทธิ ในงบฐานะการเงินได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 42.1 กิจการมีสิทธิบังคับใช้ตามกฎหมายอยู่แล้วในการหักกลบจํานวนเงินที่รับรู้ และ 42.2 กิจการตั้งใจที่จะชําระด้วยจํานวนเงินสุทธิ หรือตั้งใจที่จะรับสินทรัพย์และชําระ หนี้สินพร้อมกัน สําหรับการโอนสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่เข้าเงื่อนไขของการเลิกรับรู้รายการ กิจการต้อง ไม่หักกลบรายการสินทรัพย์ที่โอนดังกล่าวและหนี้สินที่เกี่ยวข้อง ( ดูมาตรฐานการรายงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 ทางการเงิน ฉบับที่ 9 ย่อหน้าที่ 3.2.22) 43 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้กิจการแสดงสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ด้วยจํานวนเงินสุทธิเมื่อการแสดงด้วยจํานวนเงินสุทธิสะท้อนให้เห็นถึงกระแสเงินสดในอนาคต ที่คาดการณ์ไว้ของกิจการจากการชําระเครื่องมือทางการเงินตั้งแต่สองเครื่องมือทางการเงินเป็นต้น ไป กรณีที่กิจการมีสิทธิและตั้งใจที่จะรับหรือจ่ายด้วยจํานวนเงินสุทธิจํานวนเดียว แสดงว่ากิจการ มีสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินเพียงรายการเดียว ในสภาพแวดล้อมอื่นกิจการ ต้องแยกแสดงสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินตามลักษณะของการเป็นทรัพยากร หรือภาระผูกพันของกิจการอย่างสมํ่าเสมอ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 13 ข ถึง 13 จ ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้ และอยู่ภายใต้ขอบเขตของย่อหน้าที่ 13 ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 44 การหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้และหนี้สินทางการเงินที่รับรู้และการแสดงด้วยจํานวนเงิน สุทธิมีความแตกต่างจากการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน แม้ว่า การหักกลบไม่ก่อให้เกิดการรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุน แต่การเลิกรับรู้รายการของเครื่องมือ ทางการเงินไม่เพียงแต่มีผลให้ต้องเลิกรับรู้รายการที่เคยรับรู้ออกจากงบฐานะการเงิน แต่ยังอาจมีผลให้กิจการรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนด้วย 45 สิทธิในการหักกลบ คือ สิทธิตามกฎหมายของลูกหนี้ไม่ว่าจะระบุในสัญญาหรือไม่ก็ตาม ที่จะชําระหรือลบล้างจํานวนเงินค้างชําระต่อเจ้าหนี้ทั้งจํานวนหรือบางส่วนด้วยจํานวนเงิน ที่เจ้าหนี้ค้างชําระกิจการ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปกติ ลูกหนี้อาจมีสิทธิตามกฎหมายที่จะนํา จํานวนเงินที่บุคคลที่สามค้างชําระกิจการมาหักกลบกับจํานวนเงินที่กิจการค้างชําระต่อเจ้าหนี้ หากทั้งสามฝ่ายตกลงร่วมกันที่จะให้สิทธิในการหักกลบแก่ลูกหนี้ เนื่องจากสิทธิในการหักกลบ เป็นสิทธิตามกฎหมาย เงื่อนไขที่สนับสนุนสิทธิดังกล่าวอาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ และ กิจการต้องพิจารณาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาด้วย 46 การมีอยู่ของสิทธิบังคับใช้เพื่อหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินมีผลกระทบ ต่อสิทธิและภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินนั้น และอาจมี ผลกระทบต่อฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกิจการ อย่างไรก็ตาม การมีอยู่ของสิทธิดังกล่าวเพียงลําพังไม่เพียงพอที่จะทําให้มีการหักกลบ ในกรณีที่ กิจการไม่มีความตั้งใจที่จะใช้สิทธิหรือชําระพร้อมกัน สิทธิที่มีอยู่จะไม่มีผลกระทบต่อจํานวนเงิน และจังหวะเวลาของกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ เมื่อใดที่กิจการมีความตั้งใจที่จะใช้สิทธิ หรือชําระพร้อมกัน การแสดงสินทรัพย์และหนี้สินด้วยจํานวนเงินสุทธิสะท้อนให้เห็นถึงจํานวน เงินและจังหวะเวลาของกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดการณ์ของกิจการได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่มีต่อกระแสเงินสดดังกล่าว ในทางกลับกัน ความตั้งใจของ คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายที่จะชําระหนี้กันด้วยจํานวนเงินสุทธิโดยไม่มีสิทธิตาม กฎหมายในการชําระหนี้ด้วยจํานวนเงินสุทธิถือว่าไม่เพียงพอที่จะทําให้กิจการสามารถหักกลบ รายการได้ เนื่องจากสิทธิและภาระผูกพันที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ของแต่ละรายการยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 47 ความตั้งใจของกิจการที่เกี่ยวข้องกับหักกลบสินทรัพย์และหนี้สินของกิจการอาจเป็นผลมาจาก ธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจตามปกติ ข้อกําหนดของตลาดการเงินและสภาพแวดล้อมอื่นที่อาจ จํากัดความสามารถของกิจการในการชําระด้วยจํานวนเงินสุทธิหรือในการชําระพร้อมกัน หาก กิจการมีสิทธิในการหักกลบแต่ไม่มีความตั้งใจที่จะชําระด้วยจํานวนเงินสุทธิหรือรับสินทรัพย์และ ชําระหนี้สินพร้อมกัน ให้กิจการเปิดเผยผลกระทบของสิทธิดังกล่าวที่มีต่อฐานะเปิดต่อความ เสี่ยงด้านเครดิตของกิจการตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 36 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 48 การรับและจ่ายชําระเครื่องมือทางการเงิน สองรายการพร้อมกันอาจเกิดขึ้นได้ผ่านกลไก เช่น การดําเนินการของสํานักหักบัญชีในตลาดการเงินที่จัดตั้งอย่างเป็นระบบหรือการแลกเปลี่ยน กันเองโดยตรง ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องเท่ากับจํานวนสุทธิ จํานวนเดียว และไม่มีฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตหรือความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ในสภาพแวดล้อมอื่นกิจการอาจชําระเครื่องมือทางการเงินสองรายการโดยการรับและจ่าย จํานวนเงินแยกจากกันจึงทําให้กิจการมีฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับจํานวนเงินเต็ม ของสินทรัพย์และมีฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านสภาพคล่องสําหรับจํานวนเงินเต็มของหนี้สิน ฐานะเปิดต่อความเสี่ยงดังกล่าวอาจมีนัยสําคัญ แม้ว่าจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้น การรับรู้ สินทรัพย์ทางการเงินและการชําระหนี้สินทางการเงินให้ปฏิบัติพร้อมกันเฉพาะเมื่อรายการ ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ เวลาเดียวกัน 49 สถานการณ์ต่อไปนี้โดยทั่วไปจะไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 42 และโดยปกติ การหักกลบจะไม่เหมาะสมเมื่อ 49.1 เครื่องมือทางการเงินหลายรายการที่แตกต่างกันแต่นํามาใช้ประกอบกันเพื่อให้มี ลักษณะเหมือนกับเครื่องมือทางการเงินรายการเดียว ( เครื่องมือสังเคราะห์ (Synthetic instrument)) 49.2 สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่เกิดจากเครื่องมือทางการเงินซึ่งมีฐานะ เปิดต่อความเสี่ยงหลักเหมือนกันแต่เกี่ยวข้องกับคู่สัญญาที่แตกต่างกัน ( ตัวอย่างเช่น สินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในพอร์ตโฟลิโอสัญญาฟอร์เวิร์ดหรือกลุ่มสัญญาอนุพันธ์อื่น ) 49.3 สินทรัพย์ทางการเงินหรือสินทรัพย์อื่นที่วางเป็นหลักประกันสําหรับหนี้สินทางการเงิน ที่ไม่มีสิทธิไล่เบี้ย 49.4 สินทรัพย์ทางการเงินที่ลูกหนี้กันไว้ในทรัสต์ต่างหาก เพื่อวัตถุประสงค์ในการชําระภาระ ผูกพันโดยที่เจ้าหนี้ไม่ได้รับการชําระภาระผูกพันด้วยสินทรัพย์ดังกล่าว ( ตัวอย่างเช่น การจัดตั้งกองทุนจมเพื่อชําระหนี้ ) หรือ 49.5 ภาระผูกพันที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดผลขาดทุนซึ่งคาดว่า จะได้รับชดเชยจากบุคคลที่สามตามสิทธิเรียกร้องภายใต้สัญญาประกันภัย 50 กิจการที่มีเครื่องมือทางการเงินหลายรายการกับคู่สัญญารายเดียวกัน อาจมีการเข้าทํารายการ “ ข้อตกลงหลักของการหักกลบ ” กับคู่สัญญานั้น ข้อตกลงดังกล่าวทําให้กิจการชําระด้วยยอดสุทธิ ของเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดที่ระบุในข้อตกลงเมื่อมีการผิดสัญญาหรือการบอกเลิกของ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 สัญญาใดสัญญาหนึ่ง โดยทั่วไปสถาบันการเงินมักทําสัญญาดังกล่าวเพื่อป้องกันผลขาดทุน ที่เกิดจากการล้มละลายหรือสภาพแวดล้อมอื่นที่ทําให้คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันได้ โดยทั่วไปข้อตกลงหลักของการหักกลบนี้ก่อให้เกิดสิทธิในการหักกลบที่มีผลบังคับตามกฎหมาย และส่งผลต่อการรับรู้หรือการชําระของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินแต่ละรายการใน กรณีที่เกิดเหตุการณ์ผิดสัญญาที่ระบุไว้หรือในสภาพแวดล้อมอื่นที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการ ดําเนินธุรกิจตามปกติ ข้อตกลงหลักของการหักกลบดังกล่าวไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการหัก กลบ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขทั้งสองข้อที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 42 เมื่อสินทรัพย์ทางการเงินและ หนี้สินทางการเงินซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลงหลักของการหักกลบไม่หักกลบ ให้กิจการเปิดเผย ผลกระทบของข้อตกลงดังกล่าวที่มีต่อฐานะเปิดต่อความเสี่ยงด้านเครดิตตามข้อกําหนดย่อหน้าที่ 36 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 51 ถึง 95 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 96 กิจการต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้ถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป เท่านั้น หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว หากกิจการนํามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติก่อนวันบังคับใช้กับงบการเงินสําหรับ รอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป กิจการต้องถือปฏิบัติ พร้อมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง การป้องกันความเสี่ยงของเงินลงทุน สุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 19 เรื่อง การชําระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน 96 ก เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขายและภาระผูกพันที่เกิดขึ้นเมื่อชําระบัญชี ซึ่งได้กําหนด ลักษณะทั้งหมดและเข้าเงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง โดยให้จัดประเภทเป็นตราสารทุน กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวสําหรับงบ การเงินรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป และอนุญาต ให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงและถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 ในเวลาเดียวกัน 96 ข เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขายและภาระผูกพันที่เกิดขึ้นเมื่อชําระบัญชี นั้นมีข้อยกเว้น ที่มีขอบเขตจํากัด ดังนั้น กิจการต้องไม่นําข้อยกเว้นนี้ไปปฏิบัติกับกรณีอื่นโดยอุปมา 96 ค การจัดประเภทรายการเครื่องมือทางการเงินภายใต้ข้อยกเว้นนี้ต้องจํากัดเพียงการปฏิบัติกับ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 เครื่องมือทางการเงินภายใต้มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และเครื่องมือ ทางการเงินดังกล่าวต้องไม่ถูกพิจารณาเป็นตราสารทุนภายใต้แนวปฏิบัติอื่นๆ ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 97 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติโดยปรับย้อนหลัง 97 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 97 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 97 ค เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมในย่อหน้าที่ 96 ก กิจการต้องแยกองค์ประกอบของ เครื่องมือทางการเงินแบบผสมที่มีภาระผูกพันที่ต้องส่งมอบส่วนแบ่งในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ตามสัดส่วนให้กิจการอื่นเมื่อชําระบัญชีเป็นหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ถ้าไม่มีองค์ประกอบที่ เป็นหนี้สินแล้ว การปรับย้อนหลังงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 จะเกี่ยวข้อง เฉพาะการแยกเป็นสององค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ องค์ประกอบแรกจะอยู่ในกําไรสะสม และแสดงถึงผลดอกเบี้ยสะสมที่เพิ่มขึ้นในองค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน อีกองค์ประกอบจะแสดงถึง ส่วนของเจ้าของเช่นเดิม เพราะฉะนั้นกิจการจึงไม่จําเป็นต้องแยกสององค์ประกอบนี้ออกจากกัน ถ้าไม่มีองค์ประกอบที่เป็นหนี้สินเหลืออยู่นั้น ณ วันที่ใช้การแก้ไขเพิ่มเติม 97 ง ย่อหน้าที่ 4 นั้นถูกแก้ไขเพิ่มเติมตาม การปรับปรุงของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ในปี 2552 กิจการต้องถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 ทั้งนี้ อนุญาตให้กิจการนํามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติได้ก่อน วันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลาก่อน วันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว และถือปฏิบัติกับงบการเงินรอบระยะเวลาก่อน ตามย่อหน้าที่ 3 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 และถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 1 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ทั้งนี้ อนุญาตให้กิจการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 4 โดยเปลี่ยน ทันทีเป็นต้นไป 97 จ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 97 ฉ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 97 ช ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 97 ซ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 97 ฌ – 97 ฑ ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 97 ฒ กิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27) ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนตุลาคมปี 2555 ทําให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2558 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 4 กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องถือปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ กิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน พร้อมกัน 97 ณ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 97 ด - 97 ต ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 97 ถ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐาน การบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกย่อหน้าที่ 9 และ 10 กิจการต้อง ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 16 97 ท มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในย่อหน้าที่ 4 ภาคผนวกย่อหน้าที่ 8 และ 36 และเพิ่มย่อหน้าที่ 33 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 การยกเลิกประกาศอื่นๆ 98 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้แทน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 107 ( ปรับปรุง 2559) เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน และแนวปฏิบัติทางการบัญชี เกี่ยวกับหุ้นทุนซื้อคืน 99 ถึง 100 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้อง )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 ภาคผนวก แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ภาคผนวกนี้ถือเป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการบัญชี 1 แนวทางปฏิบัตินี้อธิบายถึงการนําบางเรื่องของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาปฏิบัติ 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงการรับรู้รายการหรือการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน ข้อกําหนดเกี่ยวกับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ได้กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 คํานิยาม ( ย่อหน้าที่ 11 ถึง 14) สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน 3 เงินสดถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เนื่องจากกิจการสามารถนําเงินสดมาใช้ในการแลกเปลี่ยน และใช้เงินสดนั้นเป็นเกณฑ์ในการวัดมูลค่ารายการบัญชีและรับรู้รายการในงบการเงิน เงินฝากธนาคาร หรือเงินฝากสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกันถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินเช่นกัน เนื่องจากเงินฝาก หมายถึง สิทธิตามสัญญาที่ผู้ฝากจะได้รับเงินสดจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน หรือสั่งจ่ายเงิน ฝากนั้นโดยจ่ายเช็คหรือเครื่องมือทางการเงินอื่นที่คล้ายคลึงกันให้กับเจ้าหนี้เพื่อชําระหนี้สิน ทางการเงิน 4 ตัวอย่างทั่วไปของสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งแสดงถึงสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับเงินสดในอนาคต และเกี่ยวเนื่องกับหนี้สินทางการเงินที่แสดงถึงภาระผูกพันตามสัญญาที่จะส่งมอบเงินสดในอนาคต ได้แก่ 4.1 ลูกหนี้และเจ้าหนี้การค้า 4.2 ตั๋วเงินรับและตั๋วเงินจ่าย 4.3 เงินให้กู้ยืมและเงินกู้ยืม และ 4.4 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หุ้นกู้ ตัวอย่างแต่ละกรณีแสดงให้เห็นถึง สิทธิตามสัญญาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะได้รับเงินสด ( หรือ ภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบเงินสด ) ที่จับคู่กับคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นภาระผูกพันที่จะจ่ายชําระ เงินสด ( หรือสิทธิที่จะได้รับเงินสด ) 5 เครื่องมือทางการเงินอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องมือทางการเงินที่ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่จะ ได้รับหรือที่จะจ่ายโดยใช้สินทรัพย์ทางการเงินอื่นที่ไม่ใช่เงินสด ตัวอย่างเช่น ตั๋วเงินที่จ่ายชําระ ด้วยพันธบัตรรัฐบาลซึ่งให้สิทธิตามสัญญาแก่ผู้ถือครองที่จะได้รับพันธบัตรรัฐบาลและ ในขณะเดียวกันก่อให้เกิดภาระผูกพันตามสัญญาแก่ผู้ออกที่จะต้องส่งมอบพันธบัตรรัฐบาลนั้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 โดยมิใช่เป็นการส่งมอบเงินสด พันธบัตรรัฐบาลถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เนื่องจากพันธบัตร รัฐบาลแสดงให้เห็นถึงภาระผูกพันของรัฐบาลที่จะต้องจ่ายเงิน ดังนั้นตั๋วเงินจึงถือเป็นสินทรัพย์ ทางการเงินสําหรับผู้ถือครอง ในขณะเดียวกันก็ถือเป็นหนี้สินทางการเงินสําหรับผู้ออกตั๋วเงินนั้น 6 ตราสารหนี้ไม่มีกําหนดไถ่ถอน ( เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินประเภทไม่มีกําหนดไถ่ถอน ) โดยปกติจะให้สิทธิตามสัญญาแก่ผู้ถือครองที่จะได้รับดอกเบี้ยตามวันที่ที่กําหนดไว้แน่นอนโดยที่ ไม่ได้กําหนดวันที่สิ้นสุดการจ่ายดอกเบี้ยในอนาคต และไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินต้นหรือมีสิทธิ ได้รับคืนเงินต้นภายใต้เงื่อนไขที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้หรือรับคืนเงินต้นภายในระยะเวลาที่นานมาก ตัวอย่างเช่น กิจการออกเครื่องมือทางการเงินที่จะให้มีการจ่ายดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องทุกปี ในอัตราร้อยละ 8 ของเงินต้นจํานวน 1,000 บาท สมมติว่าอัตราร้อยละ 8 เป็นอัตราดอกเบี้ย ในตลาดในเวลาที่ออกเครื่องมือทางการเงินนั้น ผู้ออกจึงมีภาระผูกพันตามสัญญาที่จะต้องจ่าย ดอกเบี้ยในอนาคตที่มีมูลค่ายุติธรรม ( มูลค่าปัจจุบัน ) เท่ากับ 1,000 บาท ณ การรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรก กรณีนี้จึงถือว่าทั้งผู้ถือครองและผู้ออกเครื่องมือทางการเงินมีสินทรัพย์ทางการเงิน และหนี้สินทางการเงินตามลําดับ 7 สิทธิตามสัญญาหรือภาระผูกพันตามสัญญาที่จะได้รับ ส่งมอบ หรือแลกเปลี่ยนเครื่องมือ ทางการเงิน จัดเป็นเครื่องมือทางการเงิน ข้อผูกมัดของสิทธิตามสัญญาหรือภาระผูกพันตาม สัญญานั้นจะเป็นไปตามคํานิยามของเครื่องมือทางการเงินหากข้อผูกมัดดังกล่าว ก่อให้เกิด การรับเงินหรือจ่ายเงิน หรือการได้มาหรือการออกตราสารทุนในที่สุด 8 ความสามารถในการใช้สิทธิตามสัญญาหรือข้อกําหนดในการปฏิบัติตามภาระผูกพันตามสัญญา นั้นอาจเป็นแบบแน่นอน หรืออาจขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเช่น การคํ้าประกันทางการเงินเป็นสิทธิตามสัญญาของผู้ให้กู้ที่จะได้รับเงินสดจากผู้คํ้าประกัน ขณะเดียวกัน ก็เป็นภาระผูกพันตามสัญญาของผู้คํ้าประกันที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ให้กู้หากผู้กู้ ผิดนัดชําระหนี้ตามสัญญา สิทธิและภาระผูกพันตามสัญญาถือว่ามีอยู่เนื่องจากรายการหรือ เหตุการณ์ในอดีต ( กรณีนี้คือ การเข้าทําสัญญาคํ้าประกัน ) ถึงแม้ว่าการที่ผู้ให้กู้จะสามารถใช้ สิทธิและข้อกําหนดที่ผู้คํ้าประกันจะต้องทําตามภาระผูกพันจะยังคงเป็นเพียงเหตุการณ์ที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคตจากการผิดนัดชําระหนี้ตามสัญญาของผู้กู้ สิทธิและภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้น ดังกล่าวเป็นไปตามคํานิยามของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินได้แม้ว่าสินทรัพย์ และหนี้สินนั้นจะไม่รับรู้ในงบการเงินก็ตาม บางสิทธิและภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้อาจเป็น สัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 9 สัญญาเช่าเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ให้เช่าที่จะได้รับกระแสเงินสด และก่อให้เกิดภาระผูกพัน แก่ผู้เช่าที่จะต้องจ่ายชําระเป็นงวดๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกับการผ่อนชําระเงินต้น และดอกเบี้ยภายใต้สัญญาเงินกู้ ผู้ให้เช่าปฏิบัติกับลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุนแทนที่จะบันทึก เป็นสินทรัพย์อ้างอิงภายใต้สัญญาเช่าเงินทุน ดังนั้น ผู้ให้เช่าถือว่าสัญญาเช่าเงินทุนเป็นเครื่องมือ ทางการเงิน ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ผู้ให้เช่าจะไม่รับรู้สิทธิที่จะได้รับ การจ่ายชําระตามสัญญาเช่าภายใต้สัญญาเช่าดําเนินงาน ผู้ให้เช่าจึงยังคงปฏิบัติกับสินทรัพย์ อ้างอิงต่อไปโดยไม่ต้องบันทึกลูกหนี้ค่าบริการที่จะได้รับในอนาคตภายใต้สัญญา ดังนั้น ผู้ให้เช่า

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 ไม่ถือว่าสัญญาเช่าดําเนินงานเป็นเครื่องมือทางการเงิน ยกเว้นค่างวดที่ถึงกําหนดชําระและค้างจ่าย ในปัจจุบันโดยผู้เช่า 10 สินทรัพย์ที่มีตัวตน ( เช่น สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ) สินทรัพย์สิทธิการใช้ และ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( เช่น สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ) ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน การควบคุมสินทรัพย์ที่มีตัวตน สินทรัพย์สิทธิการใช้ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าวก่อให้เกิดโอกาส ที่จะสร้างกระแสเงินสดรับหรือการได้มาของสินทรัพย์ทางการเงินอื่น แต่ไม่ได้ทําให้เกิดสิทธิ ในปัจจุบันที่จะได้รับเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น 11 สินทรัพย์ ( เช่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ) ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะได้รับอยู่ ในรูปของการรับสินค้าหรือบริการ แทนที่จะก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับเงินสดหรือสินทรัพย์ ทางการเงินอื่น ไม่ถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่นเดียวกับรายการประเภทรายได้รอตัดบัญชี และภาระผูกพันจากการรับประกันส่วนใหญ่ก็ไม่ถือเป็นหนี้สินทางการเงินเช่นกัน เนื่องจาก การส่งมอบประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนั้นเกิดขึ้นจากการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการ ไม่ใช่การส่งมอบ สิทธิตามสัญญาที่จะเป็นการจ่ายเงินหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น 12 หนี้สินหรือสินทรัพย์ที่ไม่ได้ผูกพันตามสัญญา ( เช่น ภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากข้อกําหนด ทางกฎหมาย ) ไม่ถือเป็นหนี้สินทางการเงินหรือสินทรัพย์ทางการเงิน การบัญชีสําหรับภาษีเงิน ได้กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ในทํานองเดียวกัน ภาระผูกพันจากการอนุมาน ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทําสัญญา และไม่ถือเป็นหนี้สินทางการเงิน ตราสารทุน 13 ตัวอย่างของตราสารทุน ได้แก่ หุ้นสามัญที่ไม่มีสิทธิจะขาย เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิจะขาย บางชนิด ( ดูย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข ) เครื่องมือทางการเงินบางชนิดที่ทําให้กิจการมีภาระผูกพัน ที่ต้องส่งมอบสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วนให้กิจการอื่นเฉพาะเมื่อมีการชําระบัญชี ( ดูย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ) หุ้นบุริมสิทธิบางชนิด ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 25 และ 26) และใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นหรือออกสัญญาสิทธิเลือกที่จะซื้อหุ้นสามัญ ซึ่งให้สิทธิผู้ถือครอง ในการซื้อหุ้นสามัญที่ไม่มีสิทธิจะขายของกิจการผู้ออกในจํานวนหุ้นที่แน่นอนเพื่อแลกเปลี่ยน เป็นเงินสดหรือเครื่องมือทางการเงินอื่นในจํานวนเงินที่แน่นอน ภาระผูกพันของกิจการที่จะต้องออก หรือซื้อตราสารทุนที่กิจการเป็นผู้ออกในจํานวนหุ้นที่แน่นอน เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสดหรือ สินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่นตามจํานวนเงินที่แน่นอนถือเป็นตราสารทุนของกิจการ ( ยกเว้น ตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 22 ก ) อย่างไรก็ตาม ถ้าในสัญญาระบุถึงภาระผูกพันที่กิจการจะต้อง จ่ายเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( นอกเหนือจากสัญญาที่ถูกจัดประเภทให้เป็นส่วนของ เจ้าของตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ) ก็จะทําให้กิจการ มีหนี้สินเป็นจํานวนเงินเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของมูลค่าไถ่ถอนด้วย ( ดูภาคผนวกย่อหน้าที่ 27.1) กิจการที่ออกหุ้นสามัญที่ไม่ให้สิทธิขายคืนมีภาระหนี้สินเกิดขึ้นเมื่อกิจการกระทําการอย่างเป็น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 31 ทางการเพื่อจะจ่ายผลตอบแทน และทําให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายต่อผู้ถือหุ้น กรณีนี้ อาจเกิดขึ้นหลังจากการประกาศจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อมีการเลิกกิจการและสินทรัพย์คงเหลือ หลังจากการจ่ายชําระหนี้ต่างๆ แล้ว ต้องแจกจ่ายให้ผู้ถือหุ้น 14 สัญญาสิทธิที่จะซื้อหรือสัญญาอื่นที่คล้ายคลึงกันซึ่งกิจการได้มา และให้สิทธิแก่กิจการในการซื้อ ตราสารทุนที่กิจการเป็นผู้ออกในจํานวนหุ้นที่แน่นอนโดยการแลกเปลี่ยนกับเงินสดหรือ สินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่นในจํานวนเงินที่แน่นนอน ไม่ถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินของ กิจการ ( ยกเว้นตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 22 ก ) โดยสิ่งตอบแทนจ่ายสําหรับสัญญาดังกล่าว ถือเป็นรายการหักออกจากส่วนของเจ้าของ ประเภทของเครื่องมือทางการเงินที่ด้อยสิทธิกว่าประเภทอื่นทั้งหมด ( ย่อหน้าที่ 16 ก .2 และ 16 ค .2) 14 ก ลักษณะอย่างหนึ่งของย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ค คือ เป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทที่มีสิทธิ ด้อยกว่าประเภทอื่นทั้งหมด 14 ข เมื่อประเมินว่าเครื่องมือทางการเงินนั้นด้อยสิทธิหรือไม่ กิจการต้องประเมินสิทธิในการเรียกร้อง ในช่วงชําระบัญชี ราวกับว่ามีการชําระบัญชี ณ วันที่จัดประเภทเครื่องมือทางการเงิน กิจการต้อง ประเมินการจัดประเภทรายการเครื่องมือทางการเงินใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น หากกิจการออกหรือไถ่ถอนเครื่องมือทางการเงินอื่นอาจจะทําให้มี ผลกระทบต่อสถานะของเครื่องมือทางการเงินที่เป็นประเภทที่ด้อยสิทธิกว่าประเภทอื่นทั้งหมด 14 ค เครื่องมือทางการเงินที่มีบุริมสิทธิเมื่อชําระบัญชีไม่ใช่เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิที่จะได้รับ ส่วนแบ่งในสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วน ตัวอย่างเช่น เครื่องมือทางการเงินจะมี บุริมสิทธิเมื่อชําระบัญชี ทําให้ผู้ถือมีสิทธิได้รับเงินปันผลในจํานวนที่แน่นอนเมื่อชําระบัญชี นอกเหนือจากส่วนแบ่งในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ในขณะที่เครื่องมือทางการเงินอื่นซึ่งมีสิทธิ ที่จะได้รับสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วนที่ด้อยสิทธิกว่าไม่มีสิทธิเหมือนกันดังกล่าวเมื่อ ชําระบัญชี 14 ง ถ้ากิจการมีเครื่องมือทางการเงินเพียงประเภทเดียวให้ถือว่าเป็นประเภทที่ด้อยสิทธิกว่าประเภท อื่นทั้งหมด กระแสเงินสดทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินตลอดอายุของเครื่องมือ ทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ 16 ก .5) 14 จ กระแสเงินสดทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินตลอดอายุของเครื่องมือ ทางการเงินนั้น โดยส่วนใหญ่จะต้องมาจากกําไรหรือขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของ สินทรัพย์สุทธิที่ได้รับรู้แล้วหรือการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิทั้งประเภทที่ รับรู้แล้วและยังมิได้รับรู้ของกิจการตลอดอายุของเครื่องมือทางการเงิน ผลกําไรหรือขาดทุนและ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิที่รับรู้ต้องวัดมูลค่าตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 ธุรกรรมที่ทําโดยผู้ถือเครื่องมือทางการเงินที่ไม่ใช่เจ้าของกิจการ ( ย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ค ) 14 ฉ ผู้ถือเครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิขายคืนหรือเครื่องมือทางการเงินที่ทําให้กิจการมีภาระผูกพัน ที่ต้องส่งมอบส่วนแบ่งในสินทรัพย์สุทธิของกิจการตามสัดส่วนให้กิจการอื่นเมื่อชําระบัญชีอาจจะ ทําธุรกรรมกับกิจการในสถานะที่ไม่ใช่เจ้าของ ตัวอย่างเช่น ผู้ถือเครื่องมือทางการเงินอาจเป็น พนักงานของกิจการ เฉพาะกระแสเงินสดและข้อกําหนดและเงื่อนไขตามสัญญาของเครื่องมือ ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้นที่จะต้องนํามาพิจารณาเพื่อจัดประเภท ของเครื่องมือทางการเงินว่าเป็นส่วนของเจ้าของภายใต้ย่อหน้าที่ 16 ก หรือ 16 ค 14 ช ตัวอย่างเช่น ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่มีหุ้นส่วนจํากัดความรับผิดและหุ้นส่วนที่ไม่จํากัดความรับผิด หุ้นส่วนที่ไม่จํากัดความรับผิดบางคนอาจจะคํ้าประกันให้กับกิจการและอาจจะได้ผลตอบแทน ในการคํ้าประกันนั้น ในกรณีนี้ การคํ้าประกันและกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือเครื่องมือ ทางการเงินในสถานะที่เป็นผู้คํ้าประกันไม่ใช่ในสถานะที่เป็นเจ้าของกิจการ ดังนั้น การคํ้าประกัน ดังกล่าวและกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องไม่ทําให้หุ้นส่วนที่ไม่จํากัดความรับผิดชอบนั้นด้อยสิทธิกว่า หุ้นส่วนจํากัดความรับผิด และไม่นํามาใช้เพื่อพิจารณาว่าเงื่อนไขตามสัญญาของเครื่องมือ ทางการเงินของหุ้นส่วนจํากัดความรับผิดกับเครื่องมือทางการเงินของหุ้นส่วนที่ไม่จํากัดความรับ ผิดนั้นเหมือนกันหรือไม่ 14 ซ อีกตัวอย่างหนึ่งคือข้อตกลงการแบ่งผลกําไรหรือขาดทุนที่จะมีการปันส่วนของกําไรหรือขาดทุน ให้กับผู้ถือครองเครื่องมือทางการเงินตามบริการที่ได้รับหรือตามผลของการดําเนินงานของ กิจการของปีปัจจุบันและของปีก่อนๆ ข้อตกลงดังกล่าวคือธุรกรรมที่ทํากับผู้ถือครองเครื่องมือ ทางการเงินในสถานะที่ไม่ใช่เจ้าของและไม่ควรนํามาพิจารณาเมื่อต้องประเมินเงื่อนไขที่กําหนด ในย่อหน้าที่ 16 ก หรือ 16 ค อย่างไรก็ตามข้อตกลงการแบ่งผลกําไรหรือขาดทุนให้กับผู้ถือครอง เครื่องมือทางการเงินตามมูลค่าของเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือ ทางการเงินอื่นที่อยู่ในประเภทเดียวกัน แสดงว่าเป็นการทําธุรกรรมกับผู้ถือครองเครื่องมือ ทางการเงินในสถานะที่เป็นเจ้าของซึ่งควรจะนํามาพิจารณาเมื่อมีการประเมินเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 16 ก หรือ 16 ค 14 ฌ กระแสเงินสดและเงื่อนไขของสัญญาและเงื่อนไขของธุรกรรมระหว่างผู้ถือครองเครื่องมือ ทางการเงิน ( ในสถานะที่ไม่ใช่เจ้าของ ) และกิจการที่เป็นผู้ออกจะต้องเหมือนกับธุรกรรมที่เป็น แบบเดียวกันที่ทําระหว่างผู้ที่ถือรายการที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเงินกับกิจการที่เป็นผู้ออก การไม่มีเครื่องมือทางการเงินอื่น หรือสัญญาอื่นที่กระแสเงินสดทั้งหมดมีการกําหนดจํานวน ที่แน่นอนหรือจํากัดผลตอบแทนคงเหลือที่จะคืนให้แก่ผู้ถือครองเครื่องมือทางการเงินอย่าง มีสาระสําคัญ ( ดูย่อหน้าที่ 16 ข และ 16 ง ) 14 ญ เงื่อนไขสําหรับการจัดประเภทเครื่องมือทางการเงินเป็นตราสารทุนแม้ว่าเครื่องมือทางการเงิน นั้นมีลักษณะตามเงื่อนไขในย่อหน้าที่ 16 ก หรือ 16 ค คือการที่กิจการไม่มีเครื่องมือทางการเงิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 หรือสัญญาประเภทอื่นซึ่งมี (1) กระแสเงินสดทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผลกําไรหรือขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์สุทธิที่รับรู้แล้วหรือการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ สุทธิที่รับรู้แล้วและยังไม่รับรู้ของกิจการ และ (2) ผลกระทบของการกําหนดผลตอบแทน คงเหลือที่แน่นอนหรือการจํากัดผลตอบแทนคงเหลือซึ่งเป็นส่วนใหญ่ เครื่องมือทางการเงิน ต่อไปนี้ ซึ่งมีลักษณะตามเงื่อนไขที่กําหนดในย่อหน้าที่ 16 ก หรือ 16 ค เมื่อมีการทําธุรกรรม โดยปกติระหว่างสองฝ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ยากที่จะไม่สามารถจัดประเภทให้เป็นตราสารทุน 14 ญ .1 เครื่องมือทางการเงินที่มีกระแสเงินสดทั้งหมดขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง ของกิจการ 14 ญ .2 เครื่องมือทางการเงินที่มีกระแสเงินสดทั้งหมดขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของรายได้ 14 ญ .3 สัญญาที่มีจุดประสงค์ที่จะให้ผลตอบแทนกับพนักงานสําหรับการทํางานให้กิจการ 14 ญ .4 สัญญาที่กําหนดให้จ่ายชําระเป็นสัดส่วนที่ไม่มีนัยสําคัญจากผลกําไรสําหรับบริการ ที่ได้รับหรือสินค้าที่ให้ ตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน 15 เครื่องมือทางการเงิน หมายถึง ปฐมพันธ์ทางการเงิน ( ซึ่งได้แก่ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และตราสารทุน ) และตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน ( เช่น สัญญาสิทธิที่จะซื้อหรือจะขาย สัญญาอนาคตและสัญญา ฟอร์เวิร์ด สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย และสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ) อนุพันธ์ ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินตามคํานิยาม จึงอยู่ภายในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 16 ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินก่อให้เกิดสิทธิและภาระผูกพันซึ่งเป็นผลจากการโอนความเสี่ยง ทางการเงินของปฐมพันธ์ทางการเงินที่อ้างอิงนั้นระหว่างคู่สัญญา ณ วันเริ่มต้นสัญญา ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินจะทําให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิตามสัญญาที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินกับคู่สัญญาอีกฝ่ายภายใต้เงื่อนไขที่อาจทําให้ได้รับประโยชน์ หรือทําให้มีภาระผูกพันตามสัญญาที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน กับคู่สัญญาอีกฝ่ายภายใต้เงื่อนไขที่อาจทําให้เสียประโยชน์ อย่างไรก็ตาม สัญญาอนุพันธ์ โดยทั่วไป 1 ไม่ได้ทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนปฐมพันธ์ทางการเงินนั้นตั้งแต่วันที่ทําสัญญาหรือ ไม่จําเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนในวันที่สัญญาสิ้นสุด อนุพันธ์บางประเภทกําหนดให้กิจการได้รับ ทั้งสิทธิและภาระผูกพันในการแลกเปลี่ยน เนื่องจากเงื่อนไขถูกกําหนดขึ้น ณ วันที่ทําสัญญา อนุพันธ์ ดังนั้น เมื่อราคาในตลาดทางการเงินเปลี่ยนแปลงไป เงื่อนไขนั้นอาจทําให้กิจการได้รับ หรือเสียประโยชน์ได้ 17 สัญญาสิทธิที่จะขายหรือสัญญาสิทธิที่จะซื้อเพื่อแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สิน ทางการเงิน ( กล่าวคือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ไม่ใช่ตราสารทุนที่กิจการเป็นผู้ออก ) ให้สิทธิ แก่ผู้ถือที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง 1 ข้อความดังกล่าวเป็นความจริงเป็นส่วนใหญ่แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของอนุพันธ์ เช่น บางสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมี การแลกเปลี่ยนเงินต้น ณ วันเริ่มต้นสัญญา ( และมีการแลกเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดสัญญา )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 ในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินอ้างอิงที่ระบุไว้ในสัญญา ในทางกลับกัน ผู้ออกสิทธิ เลือกดังกล่าวจะมีภาระผูกพันที่อาจจะต้องเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตหรือ รับผลขาดทุนของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ เครื่องมือทางการเงินอ้างอิงนั้น สิทธิตามสัญญาของผู้ถือและภาระผูกพันของผู้ออกเป็นไปตาม คํานิยามของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินตามลําดับ ส่วนเครื่องมือทางการเงิน ที่อ้างอิงในสัญญาสิทธิที่จะซื้อหรือจะขายอาจเป็นสินทรัพย์ทางการเงินประเภทใดก็ได้ รวมทั้งหุ้นใน บริษัทอื่น และเครื่องมือทางการเงินที่มีดอกเบี้ย สัญญาสิทธิที่จะซื้อหรือจะขายในบางครั้งจะ กําหนดให้ผู้ออกต้องออกตราสารหนี้แทนการโอนสินทรัพย์ทางการเงิน แต่ตราสารอ้างอิงนั้นจะ ถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินของผู้ถือหากผู้ถือใช้สิทธินั้น สิทธิของผู้ถือสัญญาสิทธิที่จะซื้อหรือจะ ขายในการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินภายใต้เงื่อนไขที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือ และภาระผูกพันของผู้ออกในการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงินภายใต้เงื่อนไขที่มีแนวโน้มว่า ผู้ออกจะเสียประโยชน์ เป็นคนละส่วนกับสินทรัพย์ทางการเงินอ้างอิงที่จะถูกแลกเปลี่ยนกันเมื่อมี การใช้สิทธินั้น ธรรมชาติของสิทธิของผู้ถือและภาระผูกพันของผู้ออกไม่ถูกกระทบโดยโอกาสที่ จะมีการใช้สิทธินั้น 18 อีกตัวอย่างหนึ่งของตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน คือ สัญญาฟอร์เวิร์ดที่จะมีการชําระราคาภายใน หกเดือน โดยที่ฝ่ายหนึ่ง ( ผู้ซื้อสัญญา ) สัญญาว่าจะส่งมอบเงินสดจํานวน 1,000,000 บาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และมีมูลค่าที่ตราไว้จํานวน 1,000,000 บาท และอีกฝ่ายหนึ่ง ( ผู้ขาย ) สัญญาที่จะส่งมอบพันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และมีมูลค่าที่ ตราไว้จํานวน 1,000,000 บาท เพื่อแลกกับการรับเงินจํานวน 1,000,000 บาท ในช่วง ระยะเวลา 6 เดือนนั้น ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิและภาระผูกพันที่จะแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงิน ตามสัญญา ในกรณีที่ราคาตลาดของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มสูงเกินกว่า 1,000,000 บาท ผู้ซื้อ จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคาตลาดในขณะที่ผู้ขายเสียประโยชน์ ส่วนในกรณี ที่ราคาตลาดลดตํ่ากว่า 1,000,000 บาท ผลกระทบจะเกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม ผู้ซื้อมีสิทธิ ตามสัญญา ( คือมีสินทรัพย์ทางการเงิน ) ซึ่งคล้ายกับการมีสัญญาสิทธิที่จะซื้อ และมีภาระผูกพัน ตามสัญญา ( คือมีหนี้สินทางการเงิน ) ซึ่งคล้ายกับการออกสัญญาสิทธิที่จะขาย ผู้ขายมีสิทธิ ตามสัญญา ( คือมีสินทรัพย์ทางการเงิน ) คล้ายกับการมีสัญญาสิทธิที่จะขาย และมีภาระผูกพัน ตามสัญญา ( คือมีหนี้สินทางการเงิน ) คล้ายกับการออกสัญญาสิทธิที่จะซื้อ สิทธิและภาระผูกพัน ตามสัญญาก่อให้เกิดสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินแยกต่างหาก และแยกจาก เครื่องมือทางการเงินที่อ้างอิงในสัญญานั้น ( พันธบัตรหรือเงินสดที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยน ) คู่สัญญา ทั้งสองฝ่ายตามสัญญาฟอร์เวิร์ดมีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา ณ เวลาที่ได้ตกลงกัน แต่การปฏิบัติตามสัญญาสิทธินั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อผู้ถือสิทธิเลือกที่จะใช้สิทธิดังกล่าว 19 ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินอื่นหลายประเภททําให้เกิดสิทธิหรือภาระผูกพันที่จะต้อง มีการแลกเปลี่ยนในอนาคต รวมถึง สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและสัญญาแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ สัญญากําหนดอัตราเพดานสูง - ตํ่าของดอกเบี้ย ข้อผูกมัดในการให้กู้ยืม สัญญาให้วงเงินกู้เงินตามตั๋ว และเล็ตเตอร์ออฟเครดิต สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอาจถือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 เป็นสัญญาฟอร์เวิร์ดชนิดหนึ่งซึ่งคู่สัญญาตกลงที่จะแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต โดยจํานวนเงินสดนั้นคํานวณจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสําหรับคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งและจากอัตรา ดอกเบี้ยคงที่สําหรับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง สัญญาอนาคตก็ถือเป็นสัญญาฟอร์เวิร์ดประเภทหนึ่ง ซึ่งมีรูปแบบสัญญาเป็นมาตรฐานและมีการซื้อขายกันในตลาดการเงินที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ สัญญาจะซื้อหรือจะขายรายการที่ไม่เป็นรายการทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ 8 ถึง 10) 20 สัญญาจะซื้อหรือจะขายรายการที่ไม่เป็นรายการทางการเงิน ไม่ถือเป็นเครื่องมือทางการเงิน ตามคํานิยาม เนื่องจากสิทธิที่จะได้รับสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินหรือบริการของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง และภาระผูกพันของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทําให้เกิดสิทธิหรือภาระผูกพันในปัจจุบันที่จะ ได้รับหรือส่งมอบหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินเช่นกัน ตัวอย่างเช่น สัญญาที่กําหนดให้ ชําระโดยการรับหรือส่งมอบรายการที่ไม่ใช่รายการทางการเงิน ( เช่น สัญญาสิทธิที่จะซื้อหรือ จะขาย หรือสัญญาอนาคตหรือสัญญาฟอร์เวิร์ดในการซื้อขายแร่เงิน ) ไม่จัดเป็นเครื่องมือ ทางการเงิน สัญญาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่เป็นเครื่องมือทางการเงินเช่นกัน ถึงแม้สัญญา ประเภทนี้บางสัญญาอาจมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานและมีการซื้อขายในตลาดที่จัดตั้งอย่างเป็นระบบ ในลักษณะเดียวกับอนุพันธ์ ตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า อาจซื้อขาย ได้ทันทีโดยใช้เงินสดเนื่องจากสัญญาดังกล่าวมีการจดทะเบียนในตลาดและอาจเปลี่ยนมือได้ หลายครั้ง อย่างไรก็ตาม คู่สัญญาที่ซื้อและขายสัญญานั้นโดยแท้จริงแล้วได้ตกลงซื้อขายสินค้า โภคภัณฑ์อ้างอิงที่ระบุไว้ในสัญญา การที่สามารถซื้อหรือขายด้วยเงินสด ความสะดวกสบาย ในการซื้อขาย และความเป็นไปได้ที่จะเจรจาต่อรองเพื่อส่งมอบเงินสดแทนการรับหรือส่งมอบ สินค้า ไม่ได้ทําให้ลักษณะสําคัญของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปจนทําให้สัญญานั้นสามารถถือเป็น เครื่องมือทางการเงิน อย่างไรก็ตาม สัญญาซื้อหรือสัญญาขายรายการที่ไม่เป็นรายการทางการเงิน บางสัญญาที่สามารถชําระโดยการหักกลบหรือการแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงินกัน หรือ สัญญาที่รายการที่ไม่เป็นรายการทางการเงินที่ใช้อ้างอิงนั้นเป็นรายการที่พร้อมจะเปลี่ยนเป็นเงิน สดได้ในทันที ถือว่าอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ เสมือนกับสัญญานั้นเป็น เครื่องมือทางการเงิน ( ดูย่อหน้าที่ 8) 21 ยกเว้นเฉพาะข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญา ที่ทํากับลูกค้า สัญญารับหรือส่งมอบสินทรัพย์ที่มีตัวตนไม่ถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินของ คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งและไม่ถือเป็นหนี้สินทางการเงินของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่จะมีการเลื่อน การจ่ายชําระเงินให้ออกไปเป็นวันหลังจากวันที่มีการส่งมอบสินทรัพย์นั้น ซึ่งกรณีนี้เป็นการซื้อหรือ ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 22 สัญญาบางสัญญาอาจเป็นสัญญาที่อ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยไม่มีการรับหรือส่งมอบ สินค้านั้น สัญญาดังกล่าวกําหนดให้มีการชําระราคาระหว่างกันเป็นเงินสดด้วยจํานวนเงินที่ กําหนดขึ้นตามวิธีการคํานวณที่ระบุไว้ในสัญญาแทนที่จะจ่ายด้วยจํานวนเงินที่คงที่ ตัวอย่างเช่น จํานวนเงินต้นของหุ้นกู้อาจคํานวณจากราคาตลาดของนํ้ามัน ณ วันที่หุ้นกู้ครบกําหนด คูณด้วย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 ปริมาณนํ้ามันที่เป็นจํานวนหน่วยคงที่ จํานวนเงินต้นนั้นจึงถูกอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่การชําระราคาจะทําด้วยเงินสดเท่านั้น สัญญาดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือทางการเงิน 23 เครื่องมือทางการเงินตามคํานิยามรวมถึงสัญญาที่ทําให้เกิดสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน หรือหนี้สินที่ไม่ใช่หนี้สินทางการเงินนอกเหนือจากสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน เครื่องมือทางการเงินเหล่านั้นมักให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในการเลือกแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ ทางการเงินกับสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน ตัวอย่างเช่น หุ้นกู้ที่อ้างอิงกับราคานํ้ามัน อาจให้สิทธิกับผู้ถือที่จะได้รับดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และจะได้รับเงินสดเป็น จํานวนเงินที่ระบุไว้แน่นอนจํานวนหนึ่ง ณ วันที่สัญญาครบกําหนด โดยที่ผู้ถือมีสิทธิเลือกที่จะเปลี่ยน จํานวนเงินต้นเป็นนํ้ามันในปริมาณที่ระบุไว้แน่นอนจํานวนหนึ่ง การตัดสินใจในการเลือกที่การใช้ สิทธิเลือกนั้นจะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ขึ้นอยู่กับมูลค่ายุติธรรมของนํ้ามันและอัตรา การแลกเปลี่ยนเงินสดเป็นนํ้ามัน ( ราคาแลกเปลี่ยน ) ตามที่ระบุไว้ในหุ้นกู้ ความตั้งใจของผู้ถือหุ้นกู้ ในการใช้สิทธิเลือกนั้นไม่มีผลกระทบต่อเนื้อหาขององค์ประกอบของสินทรัพย์ สินทรัพย์ทางการเงิน ของผู้ถือและหนี้สินทางการเงินของผู้ออกทําให้หุ้นกู้ดังกล่าวเป็นเครื่องมือทางการเงินแม้ว่า จะก่อให้เกิดสินทรัพย์และหนี้สินประเภทอื่นด้วย 24 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) การแสดงรายการ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ( ย่อหน้าที่ 15 ถึง 27) การไม่มีภาระผูกพันตามสัญญาในการส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ( ย่อหน้าที่ 17 ถึง 20) 25 กิจการอาจออกหุ้นบุริมสิทธิโดยกําหนดให้ผู้ถือมีบุริมสิทธิหลายรูปแบบ ในการพิจารณาว่า หุ้นบุริมสิทธิเป็นหนี้สินทางการเงินหรือเป็นตราสารทุนที่กิจการออก กิจการผู้ออกต้องประเมิน จากสิทธิที่ระบุในหุ้นบุริมสิทธิเพื่อพิจารณาว่าหุ้นนั้นมีลักษณะพื้นฐานของหนี้สินทางการเงิน หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หุ้นบุริมสิทธิที่ให้สิทธิในการไถ่ถอน ณ วันใดวันหนึ่งที่กําหนดไว้ หรือตามที่ ผู้ถือเลือกถือเป็นหนี้สินทางการเงินเนื่องจากผู้ออกมีภาระผูกพันที่จะโอนสินทรัพย์ทางการเงิน ให้กับผู้ถือนั้น การที่ผู้ออกไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันในการไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิ ตามสัญญา ไม่ว่าจะเกิดจากผู้ออกไม่สามารถหาเงินทุนมาจ่ายได้ หรือการจ่ายไม่สามารถทําได้ เนื่องจากข้อจํากัดทางกฎหมาย หรือผู้ออกไม่มีกําไรหรือสํารองที่เพียงพอก็ตาม ก็ไม่ทําให้ภาระ ผูกพันนั้นหมดไป สิทธิของผู้ออกที่สามารถเลือกที่จะไถ่ถอนหุ้นเป็นเงินสดไม่ถือเป็นหนี้สิน ทางการเงินตามคํานิยาม เนื่องจากผู้ออกไม่มีภาระผูกพันในปัจจุบันที่จะโอนสินทรัพย์ทางการเงิน ให้กับผู้ถือเพราะการไถ่ถอนนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ออกแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม ภาระผูกพันจะเกิดขึ้นทันทีที่ผู้ออกตัดสินใจใช้สิทธิที่จะไถ่ถอนหุ้น โดยการแจ้งให้ผู้ถือทราบ อย่างเป็นทางการถึงความตั้งใจที่จะไถ่ถอนหุ้นนั้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 26 ถ้าหุ้นบุริมสิทธิเป็นประเภทที่ไถ่ถอนไม่ได้ การจัดประเภทหุ้นบุริมสิทธินี้ควรต้องพิจารณา จากสิทธิอย่างอื่นที่หุ้นนั้นมีอยู่ การจัดประเภทต้องพิจารณาจากเนื้อหาของรายการและคํานิยาม ของหนี้สินทางการเงินและตราสารทุน หุ้นบุริมสิทธิจะถือเป็นตราสารทุนหากการจ่ายผลตอบแทน ให้กับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ( ไม่ว่าจะเป็นหุ้นบุริมสิทธิประเภทสะสมหรือไม่สะสม ) ขึ้นอยู่กับ วิจารณญาณของผู้ออกเพียงผู้เดียว ปัจจัยต่อไปนี้ ไม่มีผลต่อการจัดประเภทของหุ้นบุริมสิทธิ เป็นตราสารทุน หรือหนี้สินทางการเงิน 26.1 ประวัติการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในอดีต 26.2 ความตั้งใจในการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในอนาคต 26.3 ผลกระทบทางลบต่อราคาหุ้นสามัญของกิจการผู้ออก ถ้ากิจการไม่มีการจ่ายผลตอบแทน แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ( เนื่องจากมีการจํากัดการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสามัญ ถ้าไม่มี การจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ) 26.4 จํานวนเงินสํารองของผู้ออก 26.5 ความคาดหวังต่อกําไรหรือขาดทุนของกิจการในช่วงเวลาหนึ่ง หรือ 26.6 การที่กิจการสามารถหรือไม่สามารถมีอิทธิพลต่อกําไรหรือขาดทุนของกิจการในช่วงเวลา หนึ่ง การชําระด้วยตราสารทุนที่กิจการเป็นผู้ออก ( ย่อหน้าที่ 21 ถึง 24) 27 ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงการจัดประเภทสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับตราสารทุนที่กิจการเป็นผู้ออก 27.1 สัญญาที่มีการจ่ายชําระโดยกิจการจะได้รับ หรือส่งมอบหุ้นที่กิจการเป็นผู้ออก ในจํานวนหุ้นที่ระบุไว้แน่นอน โดยไม่มีสิ่งตอบแทนในอนาคต หรือโดยการแลกเปลี่ยน หุ้นของกิจการในจํานวนหุ้นที่ระบุไว้แน่นอนกับเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงิน ในจํานวนเงินที่ระบุไว้แน่นอน ถือเป็นตราสารทุนประเภทหนึ่ง ( ยกเว้นตามที่กล่าว ในย่อหน้าที่ 22 ก ) ซึ่งในกรณีนี้ สิ่งตอบแทนจ่ายหรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับตามสัญญาจะ ถูกบวกเพิ่มหรือหักออกโดยตรงจากส่วนของเจ้าของ ตัวอย่างเช่น การออกสัญญา สิทธิเลือกที่จะซื้อหรือจะขายหุ้น ซึ่งให้สิทธิในการซื้อหุ้นในจํานวนหุ้นที่ระบุไว้แน่นอน ของกิจการด้วยเงินสดในจํานวนเงินที่ระบุไว้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ถ้าสัญญาระบุให้ กิจการซื้อ ( หรือไถ่ถอน ) หุ้นที่กิจการเป็นผู้ออกด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงิน ประเภทอื่น ณ วันที่ที่กําหนดไว้หรือเมื่อต้องการ กิจการต้องรับรู้หนี้สินทางการเงิน ด้วยมูลค่าปัจจุบันของราคาไถ่ถอน ( ยกเว้นเครื่องมือทางการเงินที่มีลักษณะตาม เงื่อนไขทุกข้อในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ) ตัวอย่างเช่น ภาระผูกพันของกิจการภายใต้สัญญาฟอร์เวิร์ดในการซื้อคืนหุ้นที่กิจการเป็นผู้ออก ในจํานวนเงินที่ระบุไว้แน่นอน 27.2 ภาระผูกพันของกิจการที่จะซื้อคืนหุ้นทุนที่กิจการเป็นผู้ออกด้วยเงินสด ทําให้เกิด หนี้สินทางการเงินจํานวนเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินที่จะซื้อคืนนั้น แม้ว่า จํานวนหุ้นที่กิจการจําเป็นต้องซื้อคืนนั้นจะมีจํานวนไม่แน่นอน หรือภาระผูกพัน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 38 ดังกล่าวอาจขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าคู่สัญญาจะไถ่ถอนหุ้นหรือไม่ ( ยกเว้นตามที่กล่าวใน ย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ) ตัวอย่างหนึ่งของเงื่อนไขดังกล่าวคือ สัญญาสิทธิที่จะซื้อหรือจะขายที่ออกโดยกําหนดให้กิจการต้องซื้อหุ้นคืนด้วยเงินสด เมื่อคู่สัญญามีการใช้สิทธินั้น 27.3 สัญญาที่กําหนดให้มีการจ่ายชําระด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่น ถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน แม้ว่าจํานวนเงินสดหรือสินทรัพย์ ทางการเงินประเภทอื่นที่จะได้รับหรือจ่ายจากการชําระราคานั้นจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ในราคาตลาดของตราสารทุนที่กิจการออก ( ยกเว้นตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ) ตัวอย่างเช่น สัญญาสิทธิเลือกที่จะซื้อหุ้นด้วยการชําระเงิน สดสุทธิ 27.4 สัญญาที่จะจ่ายชําระด้วยหุ้นของกิจการในจํานวนหุ้นที่ผันแปรซึ่งมีการเทียบมูลค่า เท่ากับจํานวนเงินที่แน่นอนหรือจํานวนเงินที่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร อ้างอิงตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง ( เช่น ราคาโภคภัณฑ์ ) ถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือ หนี้สินทางการเงิน ตัวอย่างเช่น การขายสัญญาสิทธิที่จะซื้อทองคํา ซึ่งเมื่อมีการใช้สิทธิ กิจการจะชําระราคาสุทธิด้วยการส่งมอบหุ้นที่กิจการเป็นผู้ออกจํานวนหนึ่งที่มีมูลค่า เท่ากับมูลค่าของสิทธิดังกล่าว สัญญาดังกล่าวนี้ถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สิน ทางการเงิน แม้ว่าเครื่องมือทางการเงินนั้นจะมีมูลค่าที่ผันแปรตามราคาหุ้นของกิจการเอง แทนที่จะแปรผันตามราคาทองคํา เช่นเดียวกันกับสัญญาอีกประเภทหนึ่งที่ชําระราคา ด้วยจํานวนหุ้นที่กําหนดไว้แน่นอนของกิจการ แต่สิทธิที่ติดอยู่กับหุ้นนั้นอาจมี การเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลทําให้มูลค่าการชําระราคาจะเท่ากับจํานวนเงินคงที่จํานวน หนึ่งหรือจํานวนเงินที่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอ้างอิง สัญญานี้ถือเป็น สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน เงื่อนไขการจ่ายชําระที่อาจเกิดขึ้น ( ย่อหน้าที่ 25) 28 ย่อหน้าที่ 25 กําหนดไว้ว่า ถ้าส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการจ่ายชําระที่อาจเกิดขึ้นกําหนดให้สามารถ จ่ายชําระด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นนั้น ( หรือด้วยวิธีอื่นใดที่ทําให้เกิดหนี้สิน ทางการเงิน ) ไม่เป็นธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นจริง เงื่อนไขการจ่ายชําระคืนที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าวไม่มีผล ต่อการจัดประเภทของเครื่องมือทางการเงิน ดังนั้นสัญญาที่กําหนดให้มีการจ่ายชําระเป็นเงินสด หรือหุ้นของกิจการที่เป็นจํานวนหุ้นผันแปร เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น แต่เหตุการณ์นั้นมีโอกาส น้อยมากที่จะเกิดขึ้น หรือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเป็นอย่างมาก และแทบไม่มีความเป็นไปได้ที่จะ เกิดขึ้น สัญญาดังกล่าวถือเป็นตราสารทุน เช่นเดียวกับการจ่ายชําระด้วยหุ้นของกิจการในจํานวน หุ้นที่แน่นอน ซึ่งลักษณะการจ่ายชําระอาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ กิจการ แต่สภาพแวดล้อมนั้นไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริง การจัดประเภทสัญญาดังกล่าว เป็นตราสารทุนนั้นจึงเหมาะสม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 39 วิธีปฏิบัติในงบการเงินรวม 29 ในงบการเงินรวม กิจการต้องแสดงส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม ( กล่าวคือส่วนได้เสียของ ผู้ถือหุ้นอื่นในส่วนของเจ้าของและกําไรของบริษัทย่อย ) ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 ในการจัดประเภทเครื่องมือทางการเงิน ( หรือส่วนประกอบของเครื่องมือทางการเงิน ) ในงบการเงินรวม กิจการต้องพิจารณาเงื่อนไขและ ข้อตกลงทุกประการระหว่างบริษัทในกลุ่มและผู้ถือเครื่องมือทางการเงินนั้น ในการพิจารณาว่า ทั้งกลุ่มบริษัทนั้นมีภาระผูกพันในการส่งมอบเงินสดหรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่น หรือชําระราคา ด้วยวิธีอื่นใดที่จะทําให้เกิดหนี้สินทางการเงินหรือไม่ ถ้าบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทออกเครื่องมือ ทางการเงิน และบริษัทใหญ่หรือบริษัทอื่นในกลุ่มมีข้อตกลงเพิ่มเติมโดยตรงกับผู้ถือเครื่องมือ ทางการเงินนั้น ( เช่น การคํ้าประกัน ) กลุ่มบริษัทอาจไม่มีสิทธิในการกําหนดการจัดสรรกําไรหรือ การไถ่ถอน ถึงแม้ว่าบริษัทย่อยนั้นอาจจัดประเภทเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวอย่างเหมาะสม ในงบการเงินเฉพาะของบริษัทย่อย โดยมิได้คํานึงถึงข้อตกลงเพิ่มเติมนั้น แต่ก็ควรมีการพิจารณา ผลกระทบของข้อตกลงดังกล่าวระหว่างบริษัทในกลุ่มและผู้ถือเครื่องมือทางการเงินเพื่อให้แน่ใจว่า งบการเงินรวมได้แสดงถึงผลกระทบที่สะท้อนภาพรวมของกลุ่มบริษัทแล้ว หากปรากฏว่า มีภาระผูกพันหรือมีเงื่อนไขการจ่ายชําระคืนเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว ( หรือส่วนประกอบ ของเครื่องมือทางการเงินที่อยู่ภายใต้ภาระผูกพันนั้น ) จะต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินทางการเงิน ในงบการเงินรวม 29 ก เครื่องมือทางการเงินบางประเภททําให้กิจการมีภาระผูกพันตามสัญญาในการจัดประเภทเป็น ตราสารทุนตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง การจัดประเภท ตามย่อหน้าดังกล่าวเป็นการยกเว้นตามหลักการจัดประเภทเครื่องมือทางการเงินตามมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้ การยกเว้นดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงการจัดประเภทส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจ ควบคุมในงบการเงินรวม เพราะฉะนั้นเครื่องมือทางการเงินที่ถูกจัดประเภทเป็นตราสารทุน ตามย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข หรือย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ในงบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งส่วนประกอบที่เป็นส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมต้องถูกจัดเป็นหนี้สินในงบการเงินรวมของ กลุ่มกิจการ เครื่องมือทางการเงินแบบผสม ( ย่อหน้าที่ 28 ถึง 32) 30 ย่อหน้าที่ 28 ใช้ปฏิบัติกับผู้ออกเครื่องมือทางการเงินแบบผสมที่มิใช่อนุพันธ์ย่อหน้าที่ 28 ไม่ครอบคลุมถึงเครื่องมือทางการเงินแบบผสมในมุมมองของผู้ถือ กิจการต้องใช้มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับการจัดประเภทรายการและวัดมูลค่าสินทรัพย์ ทางการเงินที่เป็นเครื่องมือทางการเงินแบบผสมในมุมมองของผู้ถือ 31 รูปแบบเครื่องมือทางการเงินแบบผสมที่ใช้โดยทั่วไป คือ ตราสารหนี้ที่แฝงสิทธิในการแปลงสภาพ เช่น หุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของผู้ออก โดยไม่มีลักษณะของอนุพันธ์แฝงอื่นอีก ย่อหน้าที่ 28 นี้กําหนดให้ผู้ออกเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวต้องแสดงองค์ประกอบที่เป็น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 40 หนี้สินและองค์ประกอบที่เป็นส่วนของเจ้าของแยกออกจากกันในงบฐานะการเงิน ดังนี้ 31.1 ภาระผูกพันของผู้ออกที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และจ่ายคืนเงินต้น ถือเป็น หนี้สินทางการเงินตราบเท่าที่เครื่องมือทางการเงินนั้นยังไม่ทําการแปลงสภาพ ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก มูลค่ายุติธรรมขององค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน คือ มูลค่า ปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตตามสัญญาคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยในตลาด ที่เหมาะสมสําหรับเครื่องมือทางการเงินที่มีฐานะเครดิตและมีกระแสเงินสดที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งต้องมีระยะเวลาที่เหมือนกัน แต่ไม่มีสิทธิเลือกแปลงสภาพรวมอยู่ 31.2 ตราสารทุนคือสัญญาสิทธิแฝงที่ให้สิทธิเลือกที่จะแปลงสภาพหนี้สินให้เป็นส่วนของ เจ้าของ สิทธินี้จะมีมูลค่า ณ การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกแม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่อาจทําให้ ผู้ถือไม่ใช้สิทธิก็ตาม 32 เมื่อมีการแปลงสภาพเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิแปลงสภาพ ณ วันครบกําหนด กิจการจะต้อง เลิกรับรู้รายการองค์ประกอบของหนี้สินและบันทึกเป็นส่วนของเจ้าของ โดยองค์ประกอบของ ส่วนของเจ้าของที่บันทึกในครั้งแรกยังคงแสดงเป็นส่วนของเจ้าของ ( ถึงแม้ว่าจะมีการโอน รายการนั้นไปยังรายการอีกประเภทหนึ่งในส่วนของเจ้าของก็ตาม ) และจะไม่มีผลกําไรหรือ ขาดทุนจากการแปลงสภาพเกิดขึ้น ณ วันครบกําหนด 33 เมื่อกิจการมีการทําให้เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิแปลงสภาพนั้นหมดไปก่อนวันครบกําหนด โดยการไถ่ถอนก่อนกําหนด หรือมีการซื้อคืน โดยไม่ทําให้สิทธิการแปลงสภาพที่มีอยู่เดิม เปลี่ยนแปลง กิจการจะต้องปันส่วนสิ่งตอบแทนจ่ายและต้นทุนการทํารายการจากการซื้อคืนหรือ การไถ่ถอนเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวให้กับองค์ประกอบของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ณ วันที่เกิดรายการ วิธีที่ใช้ในการปันส่วนสิ่งตอบแทนจ่ายและต้นทุนการทํารายการให้กับ ส่วนประกอบต่างๆ จะต้องใช้วิธีเดียวกับการปันส่วนเดิมที่ใช้กับการปันส่วนจํานวนเงินที่กิจการ ได้รับเมื่อมีการออกเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิแปลงสภาพให้กับแต่ละส่วนประกอบ ตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 28 ถึง 32 34 เมื่อมีการปันส่วนสิ่งตอบแทน ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจะรับรู้ตามหลักการบัญชีที่ใช้กับ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ ดังนี้ 34.1 ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน จะรับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุน และ 34.2 จํานวนสิ่งตอบแทนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ จะรับรู้ในส่วนของ เจ้าของ 35 กิจการอาจแก้ไขเงื่อนไขในเครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิแปลงสภาพเพื่อให้เกิดการแปลงสภาพ ก่อนกําหนด เช่น การเสนออัตราส่วนการแปลงค่าที่ดีกว่า หรือให้สิ่งตอบแทนเพิ่มเติมหากมี การแปลงสภาพก่อนวันที่กําหนด ความแตกต่างที่เกิดขึ้น ( ในวันที่เงื่อนไขถูกแก้ไข ) ระหว่าง มูลค่ายุติธรรมของมูลค่าของสิ่งตอบแทนที่ผู้ถือเครื่องมือทางการเงินจะได้รับจากการแปลง สภาพเครื่องมือทางการเงินภายใต้เงื่อนไขใหม่กับมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าของสิ่งตอบแทนที่ ผู้ถือเครื่องมือทางการเงินจะได้รับภายใต้เงื่อนไขเดิม ต้องรับรู้เป็นผลขาดทุนในกําไรหรือขาดทุน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 41 หุ้นทุนซื้อคืน ( ย่อหน้าที่ 33 ถึง 34) 36 ตราสารทุนที่กิจการเป็นผู้ออกจะไม่ถูกรับรู้เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ไม่ว่าเหตุผลของการซื้อหุ้นคืน จะเป็นอย่างไร ย่อหน้าที่ 33 กําหนดให้กิจการที่ซื้อตราสารทุนที่กิจการเป็นผู้ออกกลับคืนมานั้น หักตราสารทุนดังกล่าวออกจากส่วนของเจ้าของ ( ทั้งนี้ให้ดูย่อหน้าที่ 33 ก ด้วย ) อย่างไรก็ตาม หากกิจการถือหุ้นทุนที่กิจการออกแทนบุคคลอื่น เช่น สถาบันการเงินที่ถือหุ้นทุนของตนเอง ในนามของลูกค้า จะถือเป็นการถือหุ้นในลักษณะตัวแทน และเป็นผลให้การถือดังกล่าวไม่ต้อง บันทึกในงบฐานะการเงินของกิจการ ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลกําไรและขาดทุน ( ย่อหน้าที่ 35 ถึง 41) 37 ตัวอย่างดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเพื่อประกอบกับการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 35 สําหรับเครื่องมือ ทางการเงินแบบผสม สมมติให้หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม มีกําหนดไถ่ถอนเป็นเงินสด ภายใน 5 ปี แต่เงินปันผลที่เกี่ยวข้องจะได้รับการกําหนดจ่ายโดยขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของ กิจการก่อนวันไถ่ถอน เครื่องมือทางการเงินดังกล่าวจัดเป็นเครื่องมือทางการเงินแบบผสม โดยองค์ประกอบของหนี้สินมีจํานวนเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินที่ไถ่ถอนการตัดจําหน่าย ส่วนตํ่ากว่ามูลค่าที่เกิดจากการคํานวณมูลค่าปัจจุบันจะรับรู้เป็นดอกเบี้ยจ่ายในกําไรหรือขาดทุน ส่วนการจ่ายเงินปันผลที่เกิดจากองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของจะรับรู้เป็นการจัดสรรกําไร หรือขาดทุน วิธีปฏิบัติจะคล้ายกันในกรณีที่การไถ่ถอนที่ไม่มีการกําหนดไว้แน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับ สิทธิของผู้ถือที่จะเลือก หรือถ้าหุ้นนั้นถูกกําหนดให้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ โดยได้จํานวนหุ้น สามัญผันแปรเท่ากับจํานวนเงินที่แน่นอนจํานวนหนึ่งหรือจํานวนที่เปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปร อ้างอิงตัวใดตัวหนึ่ง ( เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ ) อย่างไรก็ตาม ถ้าเงินปันผลที่ไม่ได้จ่ายถูกรวมเข้าไปใน จํานวนเงินไถ่ถอน เครื่องมือทางการเงินทั้งหมดนั้นต้องถือเป็นหนี้สิน และเงินปันผลนั้นจะต้อง ถือเป็นดอกเบี้ยจ่ายด้วย การหักกลบสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ( ย่อหน้าที่ 42 ถึง 50) 38 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) เกณฑ์ที่กิจการมีสิทธิตามกฎหมายในปัจจุบันในการนําจํานวนที่รับรู้มาหักกลบลบหนี้กัน ( ย่อหน้าที่ 42.1) 38 ก สิทธิตามกฎหมายในการหักกลบลบหนี้อาจใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบันหรืออาจขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์ในอนาคต ( เช่น สิทธิอาจถูกเรียกหรือใช้สิทธิเมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างในอนาคต เช่น การไม่ชําระเงินตามสัญญา การผิดนัดชําระหนี้ หรือการล้มละลายของหนึ่งในคู่สัญญา ) ถึงแม้ว่าสิทธิตามกฎหมายในการหักกลบลบหนี้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต สิทธิ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 42 ดังกล่าวอาจใช้บังคับตามกฎหมายได้ในการดําเนินธุรกิจตามปกติ หรือเมื่อเกิดการไม่ชําระเงิน ตามสัญญา หรือเกิดการผิดนัดชําระหนี้ หรือการล้มละลายของคู่สัญญาคนใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย 38 ข เพื่อเป็นไปตามเกณฑ์ในย่อหน้าที่ 42.1 กิจการต้องมีสิทธิตามกฎหมายในการหักกลบลบหนี้กัน โดยเงื่อนไขต่อไปนี้คือสิทธิในการหักกลบลบหนี้ 38 ข .1 ต้องไม่ใช่สิทธิที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และ 38 ข .2 ต้องเป็นสิทธิตามกฎหมายซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกสภาพแวดล้อมต่อไปนี้ 38 ข .2.1 การดําเนินธุรกิจตามปกติ 38 ข .2.2 การไม่ชําระเงินตามสัญญา 38 ข .2.3 การผิดนัดชําระหนี้หรือการล้มละลายของกิจการและคู่สัญญาทุกราย 38 ค ธรรมชาติและขอบเขตของสิทธิในการหักกลบลบหนี้รวมถึงเงื่อนไขที่ติดมากับการใช้สิทธิ และ การมีอยู่ของเหตุการณ์การไม่ชําระเงินตามสัญญา การผิดนัดชําระหนี้ หรือการล้มละลาย อาจไม่ เหมือนกันในแต่ละเขตอํานาจทางกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าสิทธิในการหักกลบ ลบหนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้สําหรับการดําเนินงานที่ไม่เป็นไปตามปกติ ตัวอย่างเช่น กฎหมาย ล้มละลายหรือกฎหมายเกี่ยวกับการผิดนัดชําระหนี้ ขอบเขตอํานาจทางกฎหมายอาจห้ามหรือ จํากัดสิทธิในการหักกลบลบหนี้เมื่อเกิดการล้มละลายหรือการผิดนัดชําระหนี้ในบางสภาพแวดล้อม 38 ง กฎหมายที่บังคับใช้กับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา ( ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขตามสัญญา กฎหมาย ว่าด้วยสัญญา หรือการไม่ชําระเงินตามสัญญา การผิดนัดชําระหนี้ หรือการล้มละลายที่ใช้บังคับ กับคู่สัญญา ) จําเป็นต้องได้รับการพิจารณาให้แน่ใจว่าสิทธิในการหักกลบลบหนี้ใช้ได้ในการ ดําเนินงานที่เป็นไปตามปกติของธุรกิจ ในเหตุการณ์การไม่ชําระเงินตามสัญญา ผิดนัดชําระหนี้ หรือล้มละลายของกิจการและของคู่สัญญาทั้งหมด ( ตามที่ระบุไว้ในภาคผนวกย่อหน้าที่ 38 ข .2) เกณฑ์ที่กิจการตั้งใจที่จะจ่ายชําระจํานวนที่รับรู้ไว้ด้วยยอดสุทธิ หรือตั้งใจที่จะรับประโยชน์จากสินทรัพย์ และชําระหนี้สินในเวลาเดียวกัน ( ย่อหน้าที่ 42.2) 38 จ เพื่อเป็นไปตามเกณฑ์ในย่อหน้าที่ 42.2 กิจการต้องตั้งใจที่จะจ่ายชําระจํานวนที่รับรู้ไว้ด้วยยอด สุทธิ หรือตั้งใจที่จะรับประโยชน์จากสินทรัพย์และชําระหนี้สินในเวลาเดียวกัน แม้ว่ากิจการอาจมี สิทธิที่จะจ่ายชําระด้วยยอดสุทธิ และอาจรับประโยชน์จากสินทรัพย์และชําระหนี้สินแยกต่างหาก จากกันได้ 38 ฉ หากกิจการสามารถจ่ายชําระในลักษณะดังกล่าวซึ่งเป็นผลที่เทียบเท่ากับการจ่ายชําระสุทธิ ถือว่า เป็นไปตามเกณฑ์การจ่ายชําระในย่อหน้าที่ 42.2 ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อและก็ต่อเมื่อวิธีการจ่ายชําระ ขั้นต้นมีลักษณะที่กําจัดหรือส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่องที่ไม่มีนัยสําคัญ และจะดําเนินการกับลูกหนี้และเจ้าหนี้ในกระบวนการหรือวงจรจ่ายชําระเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ระบบ การจ่ายชําระขั้นต้นซึ่งมีคุณสมบัติทั้งหมดดังต่อไปนี้ จึงจะเป็นไปตามเกณฑ์การจ่ายชําระด้วย ยอดสุทธิในย่อหน้าที่ 42.2

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 21/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 43 38 ฉ .1 สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินซึ่งมีสิทธิในการหักกลบถูกดําเนินการ ณ เวลาเดียวกัน 38 ฉ .2 เมื่อสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่ถูกดําเนินการ คู่สัญญาจะถูกผูกมัด ให้ปฏิบัติตามภาระผูกพันสําหรับการจ่ายชําระ 38 ฉ .3 ไม่มีกระแสเงินสดที่อาจเกิดขึ้นจากสินทรัพย์และหนี้สินที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อ ถูกดําเนินการ ( ยกเว้นกรณีที่การดําเนินการล้มเหลว ดูย่อหน้าที่ 38 ฉ .4) 38 ฉ .4 สินทรัพย์และหนี้สินที่มีหลักประกันเป็นหลักทรัพย์จะถูกชําระโดยการโอนหลักทรัพย์ หรือโดยระบบที่คล้ายกัน ( ตัวอย่างเช่น การส่งมอบเมื่อเทียบเท่ากับการจ่ายชําระ ) ดังนั้น หากการโอนหลักทรัพย์ล้มเหลว การดําเนินการของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหลักทรัพย์คํ้าประกันจะล้มเหลวเช่นกัน ( และในทางกลับกัน ) 38 ฉ .5 ธุรกรรมใดๆ ที่ล้มเหลว ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 38 ฉ .4 จะถูกดําเนินการอีกครั้งจนกว่า การจ่ายชําระจะเสร็จสิ้น 38 ฉ .6 การจ่ายชําระจะดําเนินการผ่านสํานักชําระเดียวกัน ( ตัวอย่างเช่น ธนาคาร ธนาคารกลาง หรือ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ) และ 38 ฉ .7 วงเงินสินเชื่อระหว่างวันซึ่งมีไว้เพื่อให้มีวงเงินเบิกเกินบัญชีเพียงพอสําหรับการดําเนินการ จ่ายชําระ ณ วันที่มีการจ่ายชําระสําหรับแต่ละคู่สัญญา และมีความแน่นอนที่วงเงิน สินเชื่อระหว่างวันจะถูกใช้ก่อน เมื่อมีการร้องขอ 39 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้กําหนดวิธีปฏิบัติเป็นพิเศษสําหรับเครื่องมือสังเคราะห์ เครื่องมือ สังเคราะห์เป็นกลุ่มของเครื่องมือทางการเงินที่กิจการถือไว้เพื่อทําให้มีลักษณะประหนึ่งว่าเป็น เครื่องมือทางการเงินอีกประเภทหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เงินกู้ระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่มี ส่วนประกอบของสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทําให้ได้รับการชําระเงินจากการจ่ายเงิน ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว และการจ่ายเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ ทําให้เครื่องมือทางการเงิน มีลักษณะเหมือนหนี้สินระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ เครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภท ที่รวมกันเป็นเครื่องมือสังเคราะห์ดังกล่าวประกอบด้วยสิทธิหรือภาระผูกพันตามสัญญาที่มีเวลา และเงื่อนไขต่างๆ ของตัวเอง โดยเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทนั้นสามารถโอนหรือชําระ ราคาแยกต่างหากจากกันได้ เครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทที่ประกอบกันนั้นมีความเสี่ยง ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อเครื่องมือทางการเงินหนึ่งในเครื่องมือสังเคราะห์มีลักษณะเป็น สินทรัพย์ ขณะที่อีกเครื่องมือทางการเงินหนึ่งเป็นหนี้สิน เครื่องมือทางการเงินทั้งสองต้องไม่นํามา หักกลบกันและต้องไม่แสดงในงบฐานะการเงินของกิจการด้วยจํานวนสุทธิ ถ้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ทุกข้อของการหักกลบตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 42 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 40 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )