Tue Aug 08 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า (เล่มที่ 1)


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า (เล่มที่ 1)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมกา รกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 84/2562 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 8 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 28: Investments in Associates and Joint Ventures (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 18 และ 45 ฉ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 14 ก และ 45 ช ถึง 45 ฎ และตัดย่อหน้าที่ 41 และแก้ไข เพิ่มเติมการอ้างอิงมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับอื่น ส่วนได้เสียระยะยาวในบริษัทร่วมและ การร่วมค้า ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมในปี 2562) ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 คํานิยาม 3 อิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญ 5 วิธีส่วนได้เสีย 10 การนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ 16 ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ 17 การจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย 20 การเลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย 22 การเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของ 25 ขั้นตอนในการปฏิบัติตามวิธีส่วนได้เสีย 26 ผลขาดทุนจากการด้อยค่า 40 งบการเงินเฉพาะกิจการ 44 วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 45 การอ้างอิงถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 46 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 47

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ประกอบด้วย ย่อหน้าที่ 1 ถึง 47 ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบาย การบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดวิธีการบัญชีสําหรับเงินลงทุนใน บริษัทร่วมและวางข้อกําหนดในการนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติกับเงินลงทุนในบริษัทร่วม และการร่วมค้า ขอบเขต 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับกิจการทุกกิจการที่เป็นผู้ลงทุนซึ่งมีการควบคุม ร่วมใน หรือมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญเหนือผู้ได้รับการลงทุน คํานิยาม 3 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะดังนี้ บริษัทร่วม หมายถึง กิจการที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญของผู้ลงทุน งบการเงินรวม หมายถึง งบการเงินของกลุ่มกิจการที่มีการนําเสนอสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสดของ บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเสมือนว่าเป็นของหน่วยงาน ทางเศรษฐกิจหน่วยงานเดียว วิธีส่วนได้เสีย หมายถึง เป็นวิธีการทางบัญชีซึ่งกําหนดให้ผู้ลงทุนบันทึก เงินลงทุนเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน และหลังจากนั้นให้ ปรับปรุงด้วยการเปลี่ยนแปลงในส่วนแบ่งของผู้ลงทุน ในสินทรัพย์สุทธิของผู้ได้รับการลงทุนภายหลังการได้มา

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 กําไรหรือขาดทุนของผู้ลงทุนจะรวมเอาส่วนแบ่งใน กําไรหรือขาดทุนของผู้ได้รับการลงทุนเข้าไว้ด้วย และ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของผู้ลงทุนก็จะรวมเอาส่วน แบ่งในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของผู้ได้รับการลงทุน เข้าไว้ด้วย การร่วมการงาน หมายถึง การงานซึ่งบุคคลหรือกิจการตั้งแต่สองหรือมากกว่า สองรายมีการควบคุมร่วมกัน การควบคุมร่วม หมายถึง การร่วมกันควบคุมการงานซึ่งได้ตกลงกันไว้ในสัญญา ซึ่งการควบคุมร่วมจะมีได้ก็ต่อเมื่อการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับความเห็นชอบ อย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้ที่ร่วมกันควบคุมการงานแล้ว เท่านั้น การร่วมค้า หมายถึง การร่วมการงานซึ่งผู้ที่มีการควบคุมร่วมในการงานนั้น มีสิทธิในสินทรัพย์สุทธิของการร่วมการงานนั้น ผู้ร่วมค้า หมายถึง ผู้เข้าร่วมในการร่วมค้าซึ่งมีการควบคุมร่วมในการร่วมค้านั้น อิทธิพลอย่างมี นัยสําคัญ หมายถึง อํานาจในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับ นโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของผู้ได้รับ การลงทุน แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมหรือควบคุมร่วม ในนโยบายดังกล่าว 4 คํานิยามของคําศัพท์ดังต่อไปนี้ได้กําหนดอยู่ในย่อหน้าที่ 4 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ และในภาคผนวก ก ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม และถูกใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้โดยมีความหมายดังที่ ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าว  การควบคุมผู้ได้รับการลงทุน  กลุ่มกิจการ  บริษัทใหญ่  งบการเงินเฉพาะกิจการ  บริษัทย่อย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 อิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญ 5 หากกิจการมีอํานาจในการออกเสียงทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม ( เช่น โดยผ่านบริษัทย่อย ) ในผู้ได้รับการลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 20 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากิจการมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญ ต่อผู้ได้รับการลงทุน เว้นแต่กิจการจะมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากรณีดังกล่าว ไม่เป็นเช่นนั้น ในทางกลับกันหากกิจการมีอํานาจในการออกเสียงทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม ( เช่น โดยผ่านบริษัทย่อย ) ในผู้ได้รับการลงทุนน้อยกว่าร้อยละ 20 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากิจการ ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญ เว้นแต่จะมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากิจการมีอิทธิพล อย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ได้รับการลงทุนนั้น การที่ผู้ลงทุนรายอื่นถือหุ้นในผู้ได้รับการลงทุนเป็น จํานวนมากหรือเป็นส่วนใหญ่ไม่ได้หมายความว่ากิจการจะไม่สามารถมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ ได้รับการลงทุนได้ 6 หลักฐานต่อไปนี้ทางใดทางหนึ่งหรือมากกว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงว่ากิจการมีอิทธิพลอย่าง มีนัยสําคัญ 6.1 การมีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการบริษัทหรือคณะผู้บริหารอื่นที่เทียบเท่าคณะกรรมการ บริษัทของผู้ได้รับการลงทุน 6.2 การมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายรวมทั้งมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับ เงินปันผลหรือการแบ่งปันส่วนทุนอื่นๆ 6.3 มีรายการระหว่างกิจการกับผู้ได้รับการลงทุนอย่างเป็นสาระสําคัญ 6.4 มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรระดับบริหาร หรือ 6.5 มีการให้ข้อมูลทางเทคนิคที่จําเป็นในการดําเนินงาน 7 กิจการอาจเป็นเจ้าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (share warrants) สิทธิการซื้อหุ้น (share call options) ตราสารหนี้หรือตราสารทุน ซึ่งสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือตราสารอื่นที่ มีลักษณะใกล้เคียงกันที่มีความเป็นไปได้ในการใช้สิทธิหรือการแปลงสภาพซึ่งหากกิจการ เลือกใช้สิทธิหรือแปลงสภาพตราสารดังกล่าวแล้ว กิจการจะมีอํานาจออกเสียงในเรื่องนโยบาย ทางการเงินและการดําเนินงานมากขึ้น หรือในทํานองเดียวกันเป็นการลดอํานาจในการออกเสียง ดังกล่าวของบุคคลอื่น ( กล่าวคือ สิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้ ) ในการประเมินว่ากิจการ มีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญหรือไม่ กิจการต้องพิจารณาถึงการมีอยู่และผลกระทบจากสิทธิ ในการออกเสียงที่สามารถเป็นไปได้ที่กิจการสามารถใช้สิทธิหรือแปลงสภาพตราสารนั้น ในปัจจุบัน รวมถึงสิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้ซึ่งกิจการอื่นถืออยู่ด้วย ตัวอย่างสิทธิ ในการออกเสียงที่เป็นไปได้ที่ไม่สามารถใช้สิทธิหรือแปลงสภาพตราสารได้ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ตราสารนั้นยังไม่สามารถใช้สิทธิหรือแปลงสภาพได้จนกว่าจะถึงวันที่ที่กําหนด ในอนาคตหรือจนกว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งตามที่กําหนดไว้ในอนาคต 8 ในการประเมินว่าสิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้นําไปสู่การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญหรือไม่นั้น กิจการจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ทั้งหมด ( รวมถึงเงื่อนไขของการใช้ สิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้และข้อตกลงตามสัญญาอื่นไม่ว่าเป็นการพิจารณารายสัญญาหรือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 ทุกสัญญารวมกัน ) ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้ ซึ่งข้อเท็จจริงและ สถานการณ์ข้างต้นไม่ครอบคลุมถึงความตั้งใจของผู้บริหารและความสามารถทางการเงินของ กิจการที่จะใช้สิทธิหรือแปลงสภาพสิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้ดังกล่าว 9 กิจการจะสูญเสียการมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญเหนือผู้ได้รับการลงทุนเมื่อกิจการสูญเสียอํานาจ ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของผู้ได้รับ การลงทุน การสูญเสียการมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ในระดับของความเป็นเจ้าของในผู้ได้รับการลงทุนหรือไม่ ตัวอย่างของกรณีนี้คือการที่บริษัทร่วม อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ศาล ผู้ดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ หรือหน่วยงานกํากับดูแล รวมทั้งกรณีที่เกิดจากผลของข้อตกลงตามสัญญา วิธีส่วนได้เสีย 10 ตามวิธีส่วนได้เสีย ผู้ลงทุนต้องรับรู้รายการเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าเมื่อเริ่มแรกด้วย ราคาทุน มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงในภายหลังวันที่ได้มาด้วยส่วนแบ่ง กําไรหรือขาดทุนของผู้ได้รับการลงทุนตามสัดส่วนที่ผู้ลงทุนมีส่วนได้เสียอยู่ โดยผู้ลงทุนต้องรับรู้ ส่วนแบ่งกําไรหรือขาดทุนของผู้ได้รับการลงทุนตามสัดส่วนที่ผู้ลงทุนมีส่วนได้เสียในกําไรหรือ ขาดทุนของผู้ลงทุน ส่วนทุนหรือเงินปันผลที่ได้รับจากผู้ได้รับการลงทุนต้องนําไปหักจากมูลค่า ตามบัญชีของเงินลงทุนนั้น นอกจากนี้ ผู้ลงทุนต้องปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนไปตาม สัดส่วนของผู้ลงทุนในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของผู้ได้รับการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิด จากผลต่างอัตราแลกเปลี่ยนในการแปลงค่างบการเงิน ผู้ลงทุนต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ตามสัดส่วนที่ผู้ลงทุนมีส่วนได้เสียในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของผู้ลงทุน ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน ) 11 การรับรู้รายได้ตามเกณฑ์เงินปันผลรับอาจไม่ใช่เป็นวิธีที่เหมาะสมสําหรับการวัดมูลค่าผลตอบแทน ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าเนื่องจากเงินปันผลรับนั้นอาจมี ความสัมพันธ์น้อยมากกับผลประกอบการของบริษัทร่วม หรือการร่วมค้าจากการที่ผู้ลงทุน มีการควบคุมร่วมใน หรือมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญเหนือผู้ได้รับการลงทุน ผู้ลงทุนจึงมีส่วนได้ เสียในผลประกอบการของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้านั้นๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลตอบแทนจากการ ลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนจึงควรปฏิบัติกับส่วนได้เสียดังกล่าวโดยการนําส่วนแบ่งในผลกําไรหรือ ขาดทุนในผู้ได้รับการลงทุนรวมไว้ในงบการเงินของตนด้วย การปฏิบัติตามวิธีส่วนได้เสียจึงเป็น การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้นเกี่ยวกับสินทรัพย์สุทธิและกําไรหรือขาดทุนที่เป็นของผู้ ลงทุน 12 ในกรณีที่มีสิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้หรือมีตราสารอนุพันธ์อื่นที่มีสิทธิในการออกเสียง ที่เป็นไปได้ ส่วนได้เสียของกิจการในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าจะถูกพิจารณาเฉพาะส่วนได้เสีย ในความเป็นเจ้าของที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันเท่านั้น และจะไม่รวมความเป็นไปได้ที่จะใช้สิทธิหรือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 แปลงสิทธิที่มีในการออกเสียงที่เป็นไปได้หรือที่มีในตราสารอนุพันธ์อื่นๆ เว้นแต่ที่ระบุไว้ ในย่อหน้าที่ 13 13 ในบางสถานการณ์ โดยเนื้อหาสาระกิจการมีความเป็นเจ้าของในผู้ได้รับการลงทุนแล้ว เนื่องจากมี รายการที่ทําให้กิจการเข้าถึงผลตอบแทนจากส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของแล้วในปัจจุบัน ในสถานการณ์ดังกล่าวส่วนที่จะแบ่งให้แก่กิจการจะกําหนดโดยคํานึงถึงการใช้สิทธิในการออกเสียง ที่เป็นไปได้ในที่สุด และตราสารอนุพันธ์อื่นที่ทําให้กิจการเข้าถึงผลตอบแทนในปัจจุบันด้วย 14 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ไม่ให้นํามาใช้ปฏิบัติกับ ส่วนได้เสียในบริษัทร่วมและการร่วมค้าซึ่งปฏิบัติด้วยวิธีส่วนได้เสียในกรณีที่เครื่องมือทางการเงิน มีสิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้เป็นองค์ประกอบและโดยเนื้อหาสาระทําให้เข้าถึงผลตอบแทนจาก ส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าแล้วในปัจจุบัน เครื่องมือ ทางการเงินนั้นไม่อยู่ในขอบข่ายของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ในกรณีอื่นให้ ปฏิบัติกับเครื่องมือทางการเงินที่ประกอบด้วยสิทธิในการออกเสียงที่เป็นไปได้ในบริษัทร่วมและ การร่วมค้าตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 14 ก กิจการยังคงต้องนํามาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาใช้กับเครื่องมือทางการเงินอื่น ในบริษัทร่วมและการร่วมค้าซึ่งไม่ได้บันทึกบัญชีด้วยวิธีส่วนได้เสีย ซึ่งรวมถึงส่วนได้เสียระยะยาว ซึ่งโดยเนื้อหาแล้วถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนสุทธิของกิจการในบริษัทร่วมและการร่วมค้านั้น ( ดูย่อหน้าที่ 38) กิจการต้องนํามาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาใช้กับส่วนได้เสีย ระยะยาวดังกล่าวก่อนที่จะปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 38 และย่อหน้าที่ 40 ถึง 43 ของมาตรฐาน ฉบับนี้ ในการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 กิจการต้องไม่คํานึงถึง รายการปรับปรุงใด ๆ ของมูลค่าตามบัญชีของส่วนได้เสียระยะยาวซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตาม มาตรฐานฉบับนี้ 15 เว้นแต่กรณีที่เงินลงทุนหรือส่วนของเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าได้ถูกจัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ถือไว้เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก ต้องจัดประเภทเงินลงทุนหรือส่วนได้เสียของเงินลงทุนที่ เหลืออยู่เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ 16 กิจการที่มีการควบคุมร่วมในหรือมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญเหนือผู้ได้รับการลงทุนต้องปฏิบัติกับ เงินลงทุนในบริษัทร่วม หรือการร่วมค้าโดยใช้วิธีส่วนได้เสียยกเว้นในกรณีที่เงินลงทุนมีลักษณะ เข้าข้อยกเว้นตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 17 ถึง 19 ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ 17 กิจการไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามวิธีส่วนได้เสียสําหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า หากกิจการเป็นบริษัทใหญ่ที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องจัดทํางบการเงินรวมตามข้อยกเว้นที่ระบุไว้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 ในย่อหน้าที่ 4.1 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 หรือเมื่อมีลักษณะดังต่อไปนี้ ทุกข้อ 17.1 กิจการมีฐานะเป็นบริษัทย่อยซึ่งถูกกิจการอื่นเป็นเจ้าของทั้งหมดหรือบางส่วน โดยที่ ผู้ถือหุ้นอื่นของกิจการรวมทั้งผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงได้รับทราบและไม่คัดค้าน ต่อการที่ผู้ลงทุนจะไม่นําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ 17.2 ตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการไม่มีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ ( ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ หรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค ) 17.3 กิจการไม่ได้นําส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนําส่งงบการเงินของกิจการให้แก่ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ ในการออกขายตราสารใดๆ ในตลาดสาธารณะ 17.4 บริษัทใหญ่ในลําดับสูงสุดหรือบริษัทใหญ่ในลําดับระหว่างกลางของกิจการได้จัดทํา งบการเงินเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน และงบการเงินนั้นได้มีการนําบริษัทย่อยมารวมหรือวัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนแล้วตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 18 ในกรณีที่เงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าถือโดยกิจการหรือถือโดยทางอ้อมผ่านกิจการ ซึ่งเป็นกิจการร่วมลงทุน (venture capital organization) กองทุนรวม (mutual fund) กองทรัสต์ (unit trust) และกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันรวมถึงกองทุนประกันภัยแบบควบการลงทุน (investment-linked insurance funds) กิจการเหล่านี้อาจเลือกวัดมูลค่าเงินลงทุนดังกล่าวโดยวิธี มูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ตัวอย่างของกองทุนประกันภัยแบบควบการลงทุนคือกองทุนที่ถือโดยกิจการเพื่อเป็นรายการ อ้างอิงสําหรับกลุ่มของสัญญาประกันภัยที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์โดยตรง เพื่อวัตถุประสงค์ ของการเลือกข้างต้น สัญญาประกันภัยรวมถึงสัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ ตามดุลพินิจ โดยกิจการต้องเลือกวิธีการนี้แยกกันในแต่ละบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าเมื่อรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรกของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย สําหรับคําศัพท์ที่ใช้ในย่อหน้านี้ที่นิยามไว้ในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับดังกล่าว ) 19 ในกรณีที่กิจการมีเงินลงทุนในบริษัทร่วมโดยที่ส่วนหนึ่งของเงินลงทุนนั้นถือโดยทางอ้อมผ่าน กิจการร่วมลงทุน (venture capital organization) กองทุนรวม (mutual fund) กองทรัสต์ (unit trust) หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันรวมถึงกองทุนประกันภัยแบบควบการลงทุน (investment-linked insurance funds) กิจการอาจเลือกที่จะวัดมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทร่วมส่วนนั้น ด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ได้โดยไม่คํานึงว่ากิจการร่วมลงทุน (venture capital organization) กองทุนรวม (mutual fund) กองทรัสต์ (unit trust) หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันรวมถึงกองทุน ประกันภัยแบบควบการลงทุน (investment-linked insurance funds) นั้นจะมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 เหนือเงินลงทุนส่วนนั้นหรือไม่ หากกิจการเลือกที่จะใช้วิธีการบัญชีนี้แล้ว กิจการต้องใช้วิธี ส่วนได้เสียสําหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือในบริษัทร่วมที่ไม่ได้ถือผ่านกิจการร่วมลงทุน (venture capital organization) กองทุนรวม (mutual fund) กองทรัสต์ (unit trust) หรือกิจการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกันรวมถึงกองทุนประกันภัยแบบควบการลงทุน (investment-linked insurance funds) การจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย 20 กิจการต้องนํามาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 มาใช้กับเงินลงทุน หรือบางส่วนของ เงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่เข้าเกณฑ์การจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย สําหรับส่วนของเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่เหลือซึ่งไม่ได้ถูกจัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายต้องปฏิบัติตามวิธีส่วนได้เสียจนกว่าส่วนของเงินลงทุนที่ถือไว้เพื่อขาย ได้ถูกจําหน่ายออกไปจริง ภายหลังจากที่จําหน่ายเงินลงทุนออกไปจริงแล้ว กิจการต้องปฏิบัติกับ เงินลงทุนที่เหลืออยู่ในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 เว้นแต่ส่วนของเงินลงทุนที่เหลืออยู่ยังคงถือเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม หรือการร่วมค้าซึ่งในกรณีนี้กิจการต้องใช้วิธีส่วนได้เสีย 21 ในกรณีที่เงินลงทุนหรือบางส่วนของเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าซึ่งเดิมเคยถูกจัดประเภท เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายไม่เข้าเกณฑ์ที่จะถูกจัดประเภทไว้เช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว กิจการต้อง ปฏิบัติกับเงินลงทุนนั้นตามวิธีส่วนได้เสียย้อนหลังไปยังวันที่เงินลงทุนนั้นถูกจัดประเภทเป็นถือ ไว้เพื่อขาย งบการเงินของรอบระยะเวลาหลังจากการจัดประเภทสินทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้ เพื่อขายต้องถูกปรับปรุงด้วย การเลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย 22 กิจการต้องเลิกใช้วิธีส่วนได้เสียนับจากวันที่เงินลงทุนของกิจการไม่เป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม หรือการร่วมค้าดังนี้ 22.1 ถ้าเงินลงทุนได้เปลี่ยนเป็นบริษัทย่อย กิจการต้องปฏิบัติกับเงินลงทุนตามที่กําหนด ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ และมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 22.2 ถ้าส่วนได้เสียที่เหลืออยู่ในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าเดิมเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องวัดมูลค่าของส่วนได้เสียที่เหลืออยู่นี้ด้วยมูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรม ของส่วนได้เสียที่เหลืออยู่นี้ต้องถือเป็นมูลค่ายุติธรรมสําหรับการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก ของสินทรัพย์ทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 และกิจการ ต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนของผลต่างระหว่าง 22.2.1 มูลค่ายุติธรรมของส่วนได้เสียที่เหลืออยู่และผลตอบแทนรับใดๆ จากส่วนได้เสียในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่ถูกจําหน่ายออกไป และ 22.2.2 มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุน ณ วันที่เลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 22.3 เมื่อกิจการเลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย กิจการต้องปฏิบัติกับกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนนั้นที่เคยรับรู้ไว้ด้วยหลักเกณฑ์ที่ถูกกําหนดไว้เช่นเดียวกัน เสมือนว่าผู้ได้รับการลงทุนได้ทําการจําหน่ายสินทรัพย์ หรือหนี้สินที่เกี่ยวข้องนั้น ออกไป 23 ดังนั้น หากกําไรหรือขาดทุนที่เคยรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นโดยผู้ได้รับการลงทุนได้ถูก จัดประเภทใหม่เป็นกําไรหรือขาดทุนเมื่อมีการจําหน่ายสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้อง กิจการ ต้องจัดประเภทกําไรหรือขาดทุนที่รับรู้ในส่วนของเจ้าของใหม่ให้อยู่ในกําไรหรือขาดทุน ( เป็นการจัดประเภทรายการบัญชีใหม่ ) เมื่อกิจการเลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย ตัวอย่างเช่น หากบริษัท ร่วมหรือการร่วมค้ามีผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนสะสมที่เกิดจากการดําเนินงานในต่างประเทศ และกิจการได้เลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย กิจการต้องจัดประเภทกําไรหรือขาดทุนที่เกี่ยวข้องกับ การดําเนินงานต่างประเทศที่เคยรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นนั้นใหม่โดยบันทึกไปยังกําไร หรือขาดทุน 24 หากเงินลงทุนในบริษัทร่วมได้เปลี่ยนเป็นเงินลงทุนในการร่วมค้า หรือเงินลงทุนในการร่วมค้า เปลี่ยนเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม กิจการต้องใช้วิธีส่วนได้เสียต่อไปโดยไม่ต้องวัดมูลค่า เงินลงทุนที่เหลืออยู่นี้ใหม่ การเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของ 25 ถ้ากิจการที่มีส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าได้ลดส่วนได้เสียลง แต่เงินลงทุนดังกล่าวยังคงถูกจัดประเภทเป็นบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าตามลําดับ กิจการต้อง จัดประเภทกําไรหรือขาดทุนที่เคยบันทึกไว้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเฉพาะส่วนที่ลดลงใน ส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของไปยังกําไรหรือขาดทุน ถ้ากําไรหรือขาดทุนในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นนี้ถูกกําหนดให้จัดประเภทเป็นกําไรหรือขาดทุนเมื่อมีการจําหน่ายสินทรัพย์หรือ หนี้สินที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนในการปฏิบัติตามวิธีส่วนได้เสีย 26 ขั้นตอนส่วนใหญ่ในการนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติคล้ายกับขั้นตอนในการจัดทํางบการเงินรวม ซึ่งกําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 นอกจากนี้ กิจการต้องนําแนวคิด เกี่ยวกับขั้นตอนปฏิบัติทางการบัญชีสําหรับการได้มาซึ่งบริษัทย่อยมาปฏิบัติกับการบัญชีสําหรับ การได้มาซึ่งเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าด้วย 27 ส่วนแบ่งของกลุ่มกิจการในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าให้พิจารณาเฉพาะเงินลงทุนทั้งหมดใน บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่ถือโดยบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่เท่านั้น โดยไม่คํานึงถึง เงินลงทุนที่ถือโดยบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าอื่นของกลุ่มกิจการ และในกรณีที่บริษัทร่วมหรือการ ร่วมค้านั้นมีบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า กําไรหรือขาดทุน กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และสินทรัพย์สุทธิที่จะใช้ในการนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ จะเป็นรายการซึ่งรับรู้ในงบการเงิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 ของบริษัทร่วมและการร่วมค้า ( รวมทั้งส่วนแบ่งกําไรหรือขาดทุน กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและ สินทรัพย์สุทธิที่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้ามีส่วนได้เสียในบริษัทร่วมและการร่วมค้าของตน ) หลังจากการปรับปรุงที่จําเป็นเพื่อให้ใช้นโยบายการบัญชีเดียวกัน ( ดูย่อหน้าที่ 35 ถึง 36 ก ) 28 กําไรและขาดทุนซึ่งเป็นผลมาจากรายการที่เริ่มจากบริษัทร่วมไปยังผู้ลงทุน (Upstream) และ รายการที่เริ่มจากผู้ลงทุนไปยังบริษัทร่วม (Downstream) ระหว่างกิจการ ( รวมถึงบริษัทย่อยของ กิจการที่นํามาจัดทํางบการเงินรวม ) กับบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าจะถูกรับรู้ในงบการเงินของ กิจการเฉพาะส่วนได้เสียของผู้ลงทุนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการเท่านั้น ตัวอย่างของรายการ ด้านขาขึ้น ได้แก่ การที่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าขายสินทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน ส่วนได้เสียที่เป็น ของผู้ลงทุนในกําไรหรือขาดทุนของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่เกิดจากรายการระหว่างกันนี้จะถูก ตัดออก ส่วนรายการด้านขาลง ได้แก่ การที่กิจการขายสินทรัพย์หรือนําสินทรัพย์ไปให้แก่ บริษัทร่วมหรือการร่วมค้า 29 ในกรณีที่รายการด้านขาลงแสดงให้เห็นว่ามีการลดลงในมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินทรัพย์ ที่จะถูกขายหรือนําไปให้ หรือแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์นั้นได้ด้อยค่าลงแล้วผู้ลงทุนต้องรับรู้ ผลขาดทุนดังกล่าวเต็มจํานวน ในกรณีที่รายการด้านขาขึ้นแสดงให้เห็นว่ามีการลดลงในมูลค่า สุทธิที่จะได้รับของสินทรัพย์ที่จะถูกซื้อ หรือแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์นั้นได้ด้อยค่าลงแล้ว ผู้ลงทุนต้องรับรู้ผลขาดทุนนั้นตามส่วนได้เสียของตน 30 การนําสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินไปให้แก่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าเพื่อแลกกับส่วนได้เสียใน บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าต้องถูกปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในย่อหน้าที่ 28 เว้นแต่รายการนั้นขาด เนื้อหาเชิงพาณิชย์ตามที่อธิบายไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ในกรณีที่รายการขาดเนื้อหาเชิงพาณิชย์ กําไรหรือขาดทุนจากรายการนั้นจะถือว่ายังไม่เกิดขึ้น และไม่ให้รับรู้ เว้นแต่เข้าเกณฑ์ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 31 กําไรและขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นนี้ต้อง ถูกตัดรายการออกกับเงินลงทุนที่ปฏิบัติตามวิธีส่วนได้เสียและต้องไม่แสดงเป็นรายการกําไรหรือ ขาดทุนตั้งพักในงบฐานะการเงินรวมของกิจการ หรือในงบฐานะการเงินของกิจการที่ปฏิบัติกับ เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 31 ในกรณีที่นอกจากได้รับส่วนได้เสียในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าแล้ว กิจการยังได้รับสินทรัพย์ ที่เป็นตัวเงินหรือที่ไม่เป็นตัวเงินอีกด้วย กิจการต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเต็มจํานวนจากส่วน ของกําไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการนําสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินไปให้สําหรับสินทรัพย์ที่เป็น ตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงินที่ได้รับมา 31 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 31 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 32 กิจการต้องนําวิธีส่วนได้เสียมาถือปฏิบัติกับเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้านับตั้งแต่วันที่ เงินลงทุนดังกล่าวเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า ณ วันที่ซื้อเงินลงทุน กิจการต้อง ปฏิบัติกับผลต่างระหว่างต้นทุนของเงินลงทุนกับมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์และหนี้สินที่ ระบุได้ในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าเฉพาะส่วนที่เป็นของกิจการดังนี้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 32.1 ค่าความนิยมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าให้รวมอยู่ในมูลค่าตามบัญชีของ เงินลงทุน โดยไม่อนุญาตให้ตัดจําหน่ายค่าความนิยมนั้น 32.2 ส่วนต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ในผู้ได้รับ การลงทุนเฉพาะส่วนที่เป็นของกิจการที่สูงกว่าต้นทุนของเงินลงทุน ให้ถือเป็นรายได้ ในการรับรู้ส่วนแบ่งผลกําไรหรือขาดทุนจากบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าในรอบระยะเวลา ที่ซื้อเงินลงทุนนั้น กิจการต้องปรับปรุงส่วนแบ่งกําไรหรือขาดทุนที่กิจการมีส่วนได้เสียในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า หลังจากการซื้อเงินลงทุนให้เหมาะสม เช่น การทําการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ เสื่อมสภาพโดยคิดจากมูลค่ายุติธรรม ณ วันซื้อเงินลงทุนมา เป็นต้น ในทํานองเดียวกัน กิจการ ต้องปรับปรุงส่วนแบ่งกําไรหรือขาดทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าภายหลังการซื้อเงินลงทุน เพื่อรับรู้การด้อยค่าของค่าความนิยมหรือของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 33 ในการนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ กิจการต้องใช้งบการเงินล่าสุดของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า หากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานของกิจการและบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าแตกต่างกัน ให้บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าจัดทํางบการเงินให้มีวันที่เดียวกับวันที่ในงบการเงินของกิจการ เพื่อการใช้ประโยชน์ของกิจการ เว้นแต่จะไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ 34 เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 33 หากงบการเงินของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่ นํามาใช้ในการนําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติมีวันที่ที่แตกต่างจากวันที่ในงบการเงินของกิจการ กิจการต้องปรับปรุงผลกระทบของรายการหรือเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญที่เกิดขึ้นระหว่าง วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้ากับวันที่ในงบการเงินของกิจการ อย่างไรก็ตาม งบการเงินของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าและกิจการต้องมีวันสิ้นรอบระยะเวลา รายงานแตกต่างกันได้ไม่เกินกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ ช่วงระยะเวลาของรอบระยะเวลารายงาน และความแตกต่างของวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานต้องเหมือนกันในทุกๆ รอบระยะเวลาที่ รายงาน 35 กิจการต้องจัดทํางบการเงินโดยใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันกับรายการและเหตุการณ์ที่ เหมือนกันในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน 36 ยกเว้นที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 36 ก หากบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าใช้นโยบายการบัญชี ที่แตกต่างจากนโยบายการบัญชีของกิจการสําหรับรายการและเหตุการณ์ที่เหมือนกันภายใต้ สถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ในการนํางบการเงินของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้ามาใช้เพื่อปฏิบัติตาม วิธีส่วนได้เสียนั้น กิจการต้องทําการปรับปรุงเพื่อให้งบการเงินของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า มีนโยบายการบัญชีเดียวกันกับกิจการ 36 ก แม้จะมีข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 36 แต่ถ้ากิจการซึ่งไม่ได้เป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน มีส่วนได้เสียในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่เป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน กิจการ ดังกล่าวจะใช้วิธีส่วนได้เสียโดยอาจยังคงเลือกการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมที่บริษัทร่วม หรือการร่วมค้านั้นๆ ใช้อยู่สําหรับส่วนได้เสียในบริษัทย่อยของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้านั้นๆ ที่เป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน โดยกิจการอาจเลือกวิธีการนี้ในแต่ละบริษัทร่วมหรือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 การร่วมค้าที่เป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน ณ วันที่หลังกว่าระหว่าง ก ) รับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่เป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน ข ) บริษัท ร่วมหรือการร่วมค้ากลายเป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน และ ค ) บริษัทร่วมหรือ การร่วมค้าที่เป็นกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุนกลายเป็นบริษัทใหญ่เป็นครั้งแรก 37 หากบริษัทร่วมหรือการร่วมค้ามีหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมที่ออกให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่กิจการและ ถูกจัดประเภทเป็นส่วนของเจ้าของ กิจการต้องคํานวณส่วนแบ่งกําไรหรือขาดทุนส่วนที่เป็นของตน หลังจากการปรับปรุงเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธินั้นแล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการประกาศจ่ายเงินปันผล นั้นแล้วหรือไม่ก็ตาม 38 หากส่วนแบ่งขาดทุนของกิจการในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้ามีจํานวนเท่ากับหรือสูงกว่าส่วนได้เสีย ของกิจการในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้านั้น กิจการต้องหยุดรับรู้ส่วนแบ่งในขาดทุนที่เกินกว่า ส่วนได้เสียของตนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้านั้น ส่วนได้เสียในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า หมายถึง มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าตามวิธีส่วนได้เสีย และรวมถึง ส่วนได้เสียระยะยาวใดๆ ซึ่งโดยเนื้อหาแล้วถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนสุทธิของกิจการใน บริษัทร่วมและการร่วมค้านั้น ตัวอย่างเช่น รายการซึ่งไม่มีการกําหนดแผนการจ่ายชําระ หรือไม่คาดว่าจะจ่ายชําระในอนาคตอันใกล้ โดยเนื้อหาแล้วถือเป็นการเพิ่มเงินลงทุนของกิจการ ในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า รายการดังกล่าวอาจหมายรวมถึงหุ้นบุริมสิทธิและลูกหนี้หรือ เงินกู้ยืมระยะยาว แต่ไม่รวมถึงลูกหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้า หรือลูกหนี้ระยะยาวที่มีหลักประกัน เพียงพอ เช่น เงินกู้ยืมที่มีหลักประกัน เป็นต้น ทั้งนี้ขาดทุนที่รับรู้ตามวิธีส่วนได้เสียของกิจการ ส่วนที่เกินกว่าเงินลงทุนในหุ้นสามัญ ให้นําไปหักจากองค์ประกอบอื่นๆ ของส่วนได้เสียในบริษัท ร่วมหรือการร่วมค้าในลําดับที่ตรงกันข้ามกับลําดับของบุริมสิทธิในการชําระหนี้ ( กล่าวคือ ลําดับ ในการได้รับการจ่ายชําระคืนเมื่อมีการชําระบัญชี ) 39 เมื่อส่วนได้เสียของกิจการมีมูลค่าลดลงจนเป็นศูนย์แล้ว กิจการจะรับรู้ขาดทุนเพิ่มเติมเป็น หนี้สินก็ต่อเมื่อมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือมีภาระผูกพันจากการอนุมานหรือได้จ่ายเงิน เพื่อชําระภาระผูกพันแทนบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าไปแล้ว หากในเวลาต่อมาบริษัทร่วมหรือ การร่วมค้ามีกําไร กิจการจะเริ่มบันทึกส่วนแบ่งกําไรของตนอีกครั้งหลังจากที่ส่วนแบ่งกําไรมี จํานวนเท่ากับส่วนแบ่งขาดทุนที่กิจการยังไม่ได้นํามารับรู้ ผลขาดทุนจากการด้อยค่า 40 หลังจากได้นําวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติและรับรู้ผลขาดทุนของบริษัทร่วมและการร่วมค้า ตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 38 มาใช้แล้ว กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 41 ก ถึง 41 ค ในการ พิจารณาว่ามีหลักฐานอย่างแน่ชัดที่เงินลงทุนสุทธิในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าของกิจการจะต้อง ด้อยค่าหรือไม่ 41 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 41 ก เงินลงทุนสุทธิในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าจะด้อยค่าและผลขาดทุนจากการด้อยค่าเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานอย่างแน่ชัดถึงการด้อยค่าที่เกิดมาจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือหลาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วภายหลังการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของเงินลงทุนสุทธิ (“ เหตุแห่งการ ด้อยค่า ”) และเหตุแห่งการด้อยค่าเหตุการณ์หนึ่งหรือหลายเหตุการณ์ส่งผลกระทบต่อประมาณ การกระแสเงินสดในอนาคตจากเงินลงทุนสุทธิที่สามารถประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยอาจจะ เป็นไปได้ยากที่จะระบุเหตุการณ์หนึ่งๆ ว่าเป็นต้นเหตุของการด้อยค่า ส่วนใหญ่แล้วผลกระทบ จากหลายๆ เหตุการณ์อาจจะทําให้เกิดการด้อยค่า ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเหตุใน อนาคตที่ยังไม่เกิดไม่ว่าจะมีความน่าจะเป็นเพียงใดจะยังไม่ถูกรับรู้รายการ หลักฐานอย่างแน่ชัด ของการด้อยค่าของเงินลงทุนสุทธิรวมถึงข้อมูลที่สังเกตได้ที่กิจการรับทราบเกี่ยวกับเหตุแห่งการ ด้อยค่าดังต่อไปนี้ 41 ก .1 ปัญหาทางการเงินที่มีนัยสําคัญของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า 41 ก .2 การละเมิดสัญญา เช่น การผิดนัดชําระหรือการหลีกเลี่ยงการชําระเงินของบริษัทร่วม หรือการร่วมค้า 41 ก .3 กิจการยินยอมให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าอันเนื่องมาจากเหตุผล ทางเศรษฐกิจหรือทางกฎหมายเกี่ยวกับบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่ประสบปัญหา ทางการเงินที่ปกติแล้วกิจการจะไม่ยินยอมให้ 41 ก .4 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าจะเข้าสู่การล้มละลายหรือ การปรับโครงสร้างทางการเงินอื่น หรือ 41 ก .5 การหายไปของตลาดที่มีสภาพคล่องของเงินลงทุนสุทธิอันเนื่องมาจากปัญหา ทางการเงินของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า 41 ข การหายไปของตลาดที่มีสภาพคล่องอันเนื่องมาจากตราสารทุนหรือเครื่องมือทางการเงินของ บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าไม่ได้มีการซื้อขายในตลาดสาธารณะแล้วไม่ถือเป็นหลักฐานของ การด้อยค่า การลดการจัดอันดับเครดิตหรือการลดลงของมูลค่ายุติธรรมของบริษัทร่วมหรือ การร่วมค้าก็ไม่ได้ถือเป็นหลักฐานของการด้อยค่าด้วยเหตุการณ์นี้เพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าอาจ ถือว่าเป็นหลักฐานของการด้อยค่าเมื่อรวมพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ประกอบกัน 41 ค นอกเหนือจากเหตุการณ์ประเภทต่างๆ ในย่อหน้าที่ 41 ก แล้ว หลักฐานอย่างแน่ชัดของ การด้อยค่าของเงินลงทุนสุทธิในตราสารทุนของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้ารวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญที่มีผลในทางลบที่เกิดขึ้นแล้วในเรื่องของเทคโนโลยี การตลาด สภาพเศรษฐกิจ หรือทางกฎหมายที่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าดําเนินธุรกิจอยู่ และได้แสดงให้ เห็นว่าต้นทุนของเงินลงทุนในตราสารทุนอาจจะไม่ได้รับคืน การลดลงในมูลค่ายุติธรรมของเงิน ลงทุนในตราสารทุนจนตํ่ากว่าต้นทุนอย่างมีนัยสําคัญหรือยาวนานถือเป็นหลักฐานที่แน่ชัดของ การด้อยค่า 42 เนื่องจากค่าความนิยมซึ่งได้รวมอยู่ในมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนสุทธิในบริษัทร่วมหรือ การร่วมค้าไม่ได้ถูกรับรู้แยกต่างหาก ดังนั้น จึงไม่ต้องทําการประเมินการด้อยค่าของค่าความนิยม แยกต่างหากตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 แต่ให้ทดสอบการด้อยค่าของมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนทั้งจํานวนตามข้อกําหนดของมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 36 เสมือนเป็นสินทรัพย์เดียว โดยเปรียบเทียบมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ( จํานวนที่สูงกว่าระหว่างมูลค่าจากการใช้เทียบกับมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย ) กับมูลค่า ตามบัญชีของเงินลงทุนหากเมื่อปฏิบัติตามย่อหน้า 41 ก ถึง 41 ค แล้วมีข้อบ่งชี้ที่แสดงว่า เงินลงทุนสุทธิอาจเกิดการด้อยค่า ผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่รับรู้ภายใต้สถานการณ์เหล่านั้น ต้องไม่ถูกปันส่วนให้กับสินทรัพย์ใดๆ รวมทั้งค่าความนิยมที่เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชี ของเงินลงทุนสุทธิในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า ด้วยเหตุนี้การกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่า นั้นต้องรับรู้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เท่าที่มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของเงินลงทุน สุทธินั้นเพิ่มขึ้นในภายหลัง ในการกําหนดมูลค่าจากการใช้ของเงินลงทุนสุทธิ กิจการต้องทําการ ประมาณจํานวนดังต่อไปนี้ 42.1 ส่วนแบ่งของมูลค่าปัจจุบันของประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า รวมถึงกระแสเงินสดจากการดําเนินงานของบริษัทร่วม หรือการร่วมค้าและสิ่งตอบแทนที่จะได้รับจากการจําหน่ายเงินลงทุนในท้ายที่สุดตาม ส่วนที่ผู้ลงทุนมีส่วนได้เสีย หรือ 42.2 มูลค่าปัจจุบันของประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเงินปันผล และการจําหน่ายเงินลงทุนในท้ายที่สุด การคํานวณตามวิธีในข้อ 42.1 และ 42.2 จะให้ผลที่เท่ากันหากกิจการใช้ข้อสมมติที่เหมาะสม 43 กิจการต้องประเมินมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าของ กิจการเป็นรายบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า เว้นแต่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าแต่ละกิจการนั้น ไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่องที่เป็นอิสระจากกระแสเงินสดรับ จากสินทรัพย์อื่นของกิจการ งบการเงินเฉพาะกิจการ 44 กิจการต้องปฏิบัติกับเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าในงบการเงินเฉพาะกิจการตาม ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 10 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 45 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อน วันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วยและต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 เรื่อง การร่วมการงาน มาตรฐานการรายงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 ทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียในกิจการอื่น และมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 27 พร้อมกัน 45 ก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2557 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 40 ถึง 42 และเพิ่มย่อหน้าที่ 40 ก ถึง 41 ค กิจการต้อง ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 45 ข วิธีส่วนได้เสียในงบการเงินเฉพาะกิจการ ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 ( ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2557 ทําให้มี การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2559 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 25 กิจการ ต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป โดยให้ปฏิบัติย้อนหลังตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 45 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 45 ง ข้อยกเว้นในการจัดทํางบการเงินรวมสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน ( ที่แก้ไขเพิ่มเติม ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28) ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ เมื่อเดือนธันวาคมปี 2557 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2559 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 17 27 และ 36 และเพิ่มย่อหน้าที่ 36 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 45 จ การปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศประจําปี 2557 ถึง 2559 ที่ออก โดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนธันวาคมปี 2559 ทําให้มี การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 18 และ 36 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยการปรับงบการเงินย้อนหลังตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการ ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 45 ฉ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 18 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 45 ช ส่วนได้เสียระยะยาวในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนตุลาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใน ปี 2562 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 14 ก และตัดย่อหน้าที่ 41 กิจการต้องปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวโดยการปรับปรุงรายการย้อนหลังตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กับงบการเงินสําหรับ รอบระยะเวลารายงานประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ยกเว้นตามที่ ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 45 ซ ถึง 45 ฎ ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการ ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 45 ซ กิจการที่ปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 45 ช เป็นครั้งแรก พร้อมกับการนํา มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาใช้เป็นครั้งแรก จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด เกี่ยวกับการปฏิบัติในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 สําหรับส่วนได้เสียระยะยาวตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 14 ก 45 ฌ กิจการที่ปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 45 ช เป็นครั้งแรก ภายหลังจากการนํา มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 มาใช้เป็นครั้งแรก จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด เกี่ยวกับการปฏิบัติในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ซึ่งจําเป็นสําหรับการปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับส่วนได้เสียระยะยาวที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 14 ก ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้น การอ้างอิงถึงวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 ต้องอ้างอิงถึงวันที่เริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปีซึ่งกิจการถือ ปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นครั้งแรก ( วันที่เริ่มต้นปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ) กิจการไม่จําเป็นต้องปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อนย้อนหลังเพื่อให้สะท้อนถึงการปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ แต่กิจการอาจปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อนย้อนหลังก็ต่อเมื่อ มีความเป็นไปได้โดยไม่ใช้ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว 45 ญ ในการปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 45 ช เป็นครั้งแรก กิจการซึ่งใช้ ข้อยกเว้นการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เป็นการชั่วคราวตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 เรื่อง สัญญาประกันภัย ไม่จําเป็นต้องปรับปรุง รายการในรอบระยะเวลาก่อนย้อนหลังเพื่อให้สะท้อนถึงการปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ แต่กิจการอาจปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อนย้อนหลังก็ต่อเมื่อมีความเป็นไปได้โดยไม่ใช้ ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว 45 ฎ หากกิจการไม่ปรับปรุงรายการในรอบระยะเวลาก่อนย้อนหลังตามย่อหน้าที่ 45 ฌ หรือย่อหน้าที่ 45 ญ ณ วันที่เริ่มต้นปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม กิจการต้องรับรู้ผลแตกต่างระหว่างจํานวน ดังต่อไปนี้ในกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ ตามความเหมาะสม ) 45 ฎ .1 มูลค่าตามบัญชีก่อนหน้าของส่วนได้เสียระยะยาว ตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 14 ก ณ วันนั้น และ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 20/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 45 ฎ .2 มูลค่าตามบัญชีของส่วนได้เสียระยะยาว ณ วันนั้น การอ้างอิงถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 46 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 47 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 ( ปรับปรุง 2561) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า