ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมกา รกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 55/2562 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์ เมื่อออกจากงาน ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 7 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 26 : Accounting and Reporting by Retirement Benefit Plans (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 34 และเพิ่ม ย่อหน้าที่ 38 การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชี 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ได้มี การเปลี่ยนแปลงถ้อยคําหรือเนื้อหาใดๆ - ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ ขอบเขต 1 คํานิยาม 8 โครงการสมทบเงิน 13 โ ครงการผลประโยชน์ 17 มูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อ เกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ 23 ความถี่ของการกําหนดมูลค่าตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 27 เนื้อหาในงบการเงิน 28 โครงการทั้งหมด 32 การวัดมูลค่าสินทรัพย์โครงการ 32 การเปิดเผยข้อมูล 34 วันถือปฏิบัติ 37
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ขอบเขต 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องใช้เมื่อมีการจัดทํางบการเงินของโครงการผลประโยชน์เมื่อ ออกจากงาน 2 โครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานอาจมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น โครงการเงินบํานาญ โครงการ เกษียณอายุ หรือโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ถือว่าโครงการ ผลประโยชน์เมื่อออกจากงานเป็นกิจการที่เสนอรายงานแยกต่างหากจากงบการเงินของนายจ้าง ของผู้เข้าร่วมโครงการ มาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นทุกฉบับให้นํามาใช้กับงบการเงินของโครงการ ผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ตราบที่ไม่ขัดกับข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 3 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้กับการบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน เพื่อเสนอต่อผู้เข้าร่วมโครงการทั้งกลุ่ม ทั้งนี้ ไม่ได้ใช้เพื่อรายงานเรื่องสิทธิที่มีในผลประโยชน์ ตอบแทนเมื่อออกจากงานต่อผู้เข้าร่วมโครงการเป็นรายบุคคล 4 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน เป็นมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวกับ การกําหนดต้นทุนของผลประโยชน์เมื่อออกจากงานในงบการเงินของนายจ้างที่มีโครงการ ดังกล่าว ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงช่วยเสริมมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าวให้ สมบูรณ์ขึ้น 5 โครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานอาจเป็นโครงการสมทบเงินที่กําหนดไว้ หรือโครงการ ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ กิจการหลายแห่งอาจจัดตั้งเป็นกองทุนแยกต่างหากเพื่อรับเงินสมทบ และเพื่อจ่ายเงินผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ซึ่งอาจแยกเป็นนิติบุคคลต่างหากหรือไม่ก็ได้ และ อาจมีทรัสตีหรือไม่ก็ได้ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติโดยไม่คํานึงว่ากิจการมีการจัดตั้ง เป็นกองทุนหรือมีทรัสตีหรือไม่ 6 โครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานที่ได้นําสินทรัพย์ไปลงทุนกับบริษัทประกันภัย ให้ใช้ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีและการโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุนเช่นเดียวกับโครงการที่ดําเนินการ จัดการการลงทุนเอง ดังนั้น จึงปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ เว้นแต่สัญญาที่ทําไว้กับ บริษัทประกันภัยในนามของผู้เข้าร่วมโครงการคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะหรือกลุ่มของผู้เข้าร่วม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 37 ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ควรอ่าน โดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติใน การเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 โครงการ และภาระผูกพันในผลประโยชน์เมื่อออกจากงานอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ประกันภัยแต่ผู้เดียว 7 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ถือปฏิบัติกับผลประโยชน์ของการจ้างงานรูปแบบอื่น เช่น เงินชดเชย จากการเลิกจ้างงาน ข้อตกลงการผ่อนจ่ายค่าตอบแทน ผลประโยชน์การลาพักตามอายุงาน โครงการเกษียณอายุงานก่อนกําหนดที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษหรือโครงการเลิกจ้างแรงงานส่วนเกิน โครงการสุขภาพและสวัสดิการ หรือโครงการโบนัส รวมทั้ง โครงการกองทุนประกันสังคมที่ ดําเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ คํานิยาม 8 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ โครงการผลประโยชน์เมื่อ ออกจากงาน หมายถึง ข้อตกลงที่กิจการจะให้ผลประโยชน์แก่ลูกจ้าง เมื่อสิ้นสุดหรือภายหลังสิ้นสุดการจ้าง ( ไม่ว่า จะจ่ายเป็นเงินรายปีหรือจ่ายทั้งจํานวน ) เมื่อ ผลประโยชน์หรือเงินสมทบนั้นสามารถกําหนด หรือประมาณการได้ล่วงหน้าก่อนการเกษียณอายุ โดยมีเอกสารประกอบหรือตามวิธีปฏิบัติของ กิจการ โครงการสมทบเงินที่กําหนด ไว้ ( ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ โครงการสมทบเงิน ”) หมายถึง โครงการผลประโยชน์ เมื่ อออกจากงานซึ่ ง ผลประโยชน์ที่จ่ายเมื่อออกจากงานกําหนด จากเงินสมทบและผลตอบแทนที่ได้จากการนํา เงินนั้นไปลงทุน โครงการผลประโยชน์ที่ กําหนดไว้ ( ซึ่งต่อไปนี้ เรียกว่า “ โครงการ ผลประโยชน์ ”) หมายถึง โครงการผลประโยชน์ เมื่ อออกจากงานซึ่ ง ผลประโยชน์ที่จ่ายเมื่อเกษียณอายุกําหนดโดย อ้างอิงจากสูตรในการคํานวณซึ่งโดยทั่วไป คิดจาก ค่าตอบแทนที่ลูกจ้างได้รับและ / หรืออายุงาน ของลูกจ้าง การโอนสินทรัพย์ไปยัง กองทุน หมายถึง การโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุนซึ่งแยกต่างหาก จากกิจการของนายจ้าง เพื่อให้กองทุนสามารถ จ่ายผลประโยชน์เมื่อออกจากงานได้ตามภาระ ผูกพันในอนาคต
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 ผู้เข้าร่วมโครงการ หมายถึง สมาชิกของโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน และบุคคลอื่นที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ภายใต้ โครงการ สินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับ จ่ายเป็นผลประโยชน์ หมายถึง สินทรัพย์ของโครงการหักด้วยหนี้สินทั้งสิ้น นอกเหนือจากมูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อ เกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ มู ล ค่ำ ปั จ จุ บั น ตำ ม ห ลั ก คณิตศาสตร์ประกันภัยของ จํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อ เกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินที่คาดว่าจะจ่ายจาก โครงการผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุให้แก่ ลูกจ้างปัจจุบัน และอดีตลูกจ้างซึ่งได้ให้บริการแก่ กิจการ ผลประโยชน์ที่ได้รับเป็น สิทธิขาด หมายถึง ผลประโยชน์หรือสิทธิตามเงื่อนไขของโครงการ ผลประโยชน์เมื่อออกจากงานที่ไม่ขึ้นกับเงื่อนไข การจ้างงานต่อเนื่อง 9 โครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานบางโครงการจะมีผู้ให้การสนับสนุนอื่นนอกเหนือจาก นายจ้าง มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินของโครงการดังกล่าวด้วย 10 โครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานส่วนใหญ่กําหนดขึ้นจากข้อตกลงอย่างเป็นทางการ บางโครงการไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการแต่มีระดับของภาระผูกพันอันเนื่องมาจากวิธีปฏิบัติ ที่กําหนดขึ้นโดยนายจ้าง ในขณะที่บางโครงการอนุญาตให้นายจ้างจํากัดภาระผูกพันของตนเอง ภายใต้โครงการได้ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการยากที่นายจ้างจะยกเลิกโครงการหากยังมีลูกจ้างอยู่ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับโครงการที่จัดตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเช่นเดียวกัน กับโครงการที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ 11 โครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานหลายโครงการได้จัดตั้งเป็นกองทุนแยกต่างหากเพื่อรับ เงินสมทบและจ่ายเงินผลประโยชน์ กองทุนดังกล่าวอาจมีการบริหารสินทรัพย์ของกองทุน โดยคณะบุคคลอิสระ ในบางประเทศเรียกคณะบุคคลเหล่านี้ว่า ทรัสตี มาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ใช้คําว่าทรัสตีเพื่ออธิบายถึงคณะบุคคลดังกล่าว โดยไม่คํานึงว่ามีการจัดตั้งทรัสต์ขึ้น หรือไม่ 12 โดยปกติ โครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานจะหมายถึงโครงการสมทบเงิน หรือโครงการ ผลประโยชน์ ซึ่งโครงการแต่ละประเภทจะมีลักษณะเฉพาะ ในบางครั้ง โครงการที่จัดตั้งขึ้น มีลักษณะผสมของทั้งสองแบบ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือว่าโครงการแบบผสมดังกล่าวเป็น โครงการผลประโยชน์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 โครงการสมทบเงิน 13 งบการเงินของโครงการสมทบเงินต้องประกอบด้วยงบสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็น ผลประโยชน์ และคําอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุน 14 ภายใต้โครงการสมทบเงิน จํานวนเงินผลประโยชน์ในอนาคตของผู้เข้าร่วมโครงการจะกําหนด จากจํานวนเงินสมทบที่จ่ายโดยนายจ้าง ผู้เข้าร่วมโครงการ หรือทั้งสองฝ่าย รวมทั้งประสิทธิภาพ การดําเนินงานและผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุน โดยทั่วไป ภาระผูกพันของนายจ้าง จะหมดไปเมื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนซึ่งโดยปกติมิได้มีข้อกําหนดให้ใช้คําแนะนําของ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ถึงแม้ว่าในบางครั้ง คําแนะนําดังกล่าวอาจใช้ในการประมาณการ ผลประโยชน์ในอนาคตที่อาจจะได้รับ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงินสมทบที่จ่ายในปัจจุบันและจํานวน เงินสมทบที่จ่ายในอนาคตและผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งไม่คงที่ 15 ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจกับกิจกรรมของโครงการ เนื่องจากเป็นผู้ได้รับผลกระทบ โดยตรงจากจํานวนของผลประโยชน์ในอนาคต ผู้เข้าร่วมโครงการสนใจที่จะทราบว่าได้มีการรับ เงินสมทบและมีวิธีการควบคุมที่เหมาะสมในการปกป้องสิทธิของผู้รับผลประโยชน์หรือไม่ ส่วนนายจ้างให้ความสนใจในการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพและยุติธรรมของโครงการ 16 การรายงานของโครงการสมทบเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ และ ผลการดําเนินงานของการลงทุนของโครงการเป็นระยะ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าว การเสนองบการเงินควรรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ 16.1 คําอธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมที่มีนัยสําคัญสําหรับรอบระยะเวลา และผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สมาชิกภาพ และเงื่อนไขและข้อกําหนดต่างๆ 16.2 งบที่แสดงรายการและผลการดําเนินงานของการลงทุนสําหรับรอบระยะเวลา และฐานะ การเงินของโครงการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา และ 16.3 คําอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน โครงการผลประโยชน์ 17 งบการเงินของโครงการผลประโยชน์ต้องรายงานโดยมีงบใดงบหนึ่งดังต่อไปนี้ 17.1 งบที่แสดงถึงรายการทุกข้อต่อไปนี้ 17.1.1 สินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ 17.1.2 มูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์ เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ โดยแยกระหว่างส่วนที่เป็นผลประโยชน์ ที่ได้รับเป็นสิทธิขาด และส่วนที่เป็นผลประโยชน์ที่ยังไม่ได้รับเป็น สิทธิขาด และ 17.1.3 ส่วนเกินหรือส่วนขาดของโครงการผลประโยชน์ หรือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 17.2 งบสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ โดยรวมถึงรายการ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 17.2.1 หมายเหตุประกอบงบการเงินที่เปิดเผยมูลค่าปัจจุบันตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ ตามที่สัญญาไว้ โดยแยกระหว่างส่วนที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้รับเป็น สิทธิขาดและส่วนที่เป็นผลประโยชน์ที่ยังไม่ได้รับเป็นสิทธิขาด หรือ 17.2.2 การอ้างอิงถึงที่มาของข้อมูลในรายงานการคํานวณตามวิธีของคณิตศาสตร์ ประกันภัย ถ้าการกําหนดมูลค่าจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่ได้จัดทําขึ้น ณ วันที่ในงบการเงิน ต้องใช้การกําหนดมูลค่าครั้งล่าสุดเป็นเกณฑ์ และเปิดเผยวันที่ที่ได้มี การกําหนดมูลค่านั้น 18 มูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ ตามที่สัญญาไว้ตามวัตถุประสงค์ของย่อหน้าที่ 17 จะต้องคํานวณจากผลประโยชน์ตามที่ สัญญาไว้ภายใต้เงื่อนไขโครงการเกี่ยวกับการให้บริการของพนักงานจนถึงวันที่ปัจจุบัน โดยใช้ระดับเงินเดือนปัจจุบันหรือระดับเงินเดือนที่ประมาณการไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมทั้ง เปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้ และต้องเปิดเผยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติที่ใช้ ในการคํานวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อมูลค่าปัจจุบัน ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ ด้วย 19 งบการเงินต้องอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ กับสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับ จ่ายเป็นผลประโยชน์ และอธิบายนโยบายการโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุนของผลประโยชน์ ตามที่สัญญาไว้ 20 ภายใต้โครงการผลประโยชน์ การจ่ายผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ขึ้นอยู่กับ ฐานะการเงินของโครงการและความสามารถในการจ่ายเงินสมทบในอนาคตให้แก่โครงการ ของผู้จ่ายเงินสมทบ ทั้งนี้ รวมถึงผลการดําเนินงานของการลงทุนและประสิทธิภาพในการดําเนินงาน ของโครงการ 21 โครงการผลประโยชน์จําเป็นต้องได้รับคําแนะนําจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นระยะๆ เพื่อประเมินเงื่อนไขทางการเงินของโครงการ สอบทานข้อสมมติที่ใช้ในการประมาณการ และ ให้ข้อแนะนําเกี่ยวกับระดับของจํานวนเงินสมทบที่จะนําส่งในอนาคต 22 การรายงานของโครงการผลประโยชน์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรทางการเงิน และกิจกรรมต่างๆ ของโครงการเป็นระยะ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการประเมินความสัมพันธ์ระหว่าง ทรัพยากรที่สะสมไว้และผลประโยชน์ของโครงการในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ดังกล่าว การเสนองบการเงินควรรวมถึงทุกเรื่องดังต่อไปนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 22.1 คําอธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมที่มีนัยสําคัญสําหรับรอบระยะเวลา และผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สมาชิกภาพ และเงื่อนไขและข้อกําหนดต่างๆ 22.2 งบที่แสดงรายการ และผลการดําเนินงานของการลงทุนสําหรับรอบระยะเวลา และฐานะ การเงินของโครงการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา 22.3 ข้อมูลเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ประกันภัยซึ่งอาจแสดงเป็นส่วนหนึ่งของงบหรือแยกแสดง เป็นรายงานต่างหาก และ 22.4 คําอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน มูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ ตามที่สัญญาไว้ 23 มูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่ายจากโครงการผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ อาจคํานวณและรายงานโดยใช้ระดับเงินเดือนปัจจุบัน หรือระดับเงินเดือนที่ประมาณการ จนถึงเวลาที่ผู้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุ 24 เหตุผลในการเลือกใช้แนวทางเงินเดือนปัจจุบันในการคํานวณ มีดังนี้ 24.1 มูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ ตามที่สัญญาไว้เป็นผลรวมของจํานวนเงินที่จัดสรรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนใน ปัจจุบัน สามารถคํานวณได้อย่างมีหลักเกณฑ์ชัดเจนกว่าการใช้ระดับเงินเดือนที่ ประมาณการ เนื่องจากใช้ข้อสมมติในการคํานวณน้อยกว่า 24.2 ผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินเดือน จะเป็นภาระผูกพันของ โครงการเมื่อมีการเพิ่มเงินเดือน และ 24.3 มูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อ เกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ที่คํานวณโดยใช้ระดับเงินเดือนปัจจุบัน โดยทั่วไปจะมี จํานวนใกล้เคียงกับจํานวนเงินที่ต้องจ่ายเมื่อเกิดกรณีการเลิกจ้างหรือเลิกโครงการ ดังกล่าว 25 เหตุผลในการเลือกใช้แนวทางเงินเดือนที่ประมาณการในการคํานวณ มีดังนี้ 25.1 ข้อมูลทางการเงินควรจัดทําโดยใช้เกณฑ์การดําเนินงานต่อเนื่อง โดยไม่คํานึงถึง ข้อสมมติและการประมาณการที่ต้องใช้ 25.2 ภายใต้แผนการจ่ายเงินสุดท้าย ผลประโยชน์จะถูกกําหนดโดยอ้างอิงกับเงินเดือน ณ วันที่เกษียณอายุหรือใกล้วันที่เกษียณอายุ ดังนั้น จึงต้องมีการประมาณจํานวน เงินเดือน ระดับเงินสมทบ และอัตราผลตอบแทน และ 25.3 การไม่ประมาณการระดับเงินเดือนทั้งที่การโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุนส่วนใหญ่ได้มาจาก การประมาณการเงินเดือน อาจเป็นผลให้รายงานแสดงว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุน มากเกินไปอย่างเด่นชัด ทั้งที่โครงการนั้นไม่ได้มีการจ่ายเงินเข้ากองทุนมากเกินไป หรือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 อาจเป็นผลให้รายงานแสดงว่ามีการโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุนอย่างเพียงพอทั้งที่ โครงการนั้นขาดเงินทุน 26 มูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่ สัญญาไว้ที่กําหนดจากฐานเงินเดือนปัจจุบันจะต้องมีการเปิดเผยในงบการเงินของโครงการเพื่อ แสดงถึงภาระผูกพันของผลประโยชน์ที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบการเงิน มูลค่าปัจจุบันตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ที่กําหนดจาก ฐานเงินเดือนที่ประมาณการ จะต้องมีการเปิดเผยในงบการเงินของโครงการเพื่อแสดงถึงขนาด ของภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นตามเกณฑ์การดําเนินงานต่อเนื่อง ซึ่งโดยปกติใช้เป็นเกณฑ์ ในการโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุน นอกจากการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าปัจจุบันตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้แล้ว ยังอาจ ต้องมีคําอธิบายที่เพียงพอเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงเนื้อหาเกี่ยวกับมูลค่าปัจจุบัน ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ คําอธิบายเช่นว่านั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูลเกี่ยวกับการโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุนในอนาคต ให้เพียงพอตามที่วางแผนไว้ และนโยบายในการโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุนตามเกณฑ์เงินเดือน ที่ประมาณการ ข้อมูลเหล่านี้อาจรวมอยู่ในงบการเงินหรือในรายงานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ความถี่ของการกําหนดมูลค่าตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 27 ในหลายประเทศ การกําหนดมูลค่าตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะทําไม่บ่อยกว่าทุกๆ 3 ปี หากมิได้มีการกําหนดมูลค่าตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ณ วันที่ในงบการเงิน ให้ใช้ การกําหนดมูลค่าตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยครั้งล่าสุดที่มี พร้อมทั้งเปิดเผยวันที่ที่ได้มี การกําหนดมูลค่าครั้งล่าสุดนั้น เนื้อหาในงบการเงิน 28 สําหรับโครงการผลประโยชน์ การนําเสนอข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ ซึ่งแต่ละรูปแบบสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของวิธีปฏิบัติในการเปิดเผยและนําเสนอข้อมูล เกี่ยวกับการคํานวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 28.1 ในงบการเงินให้รวมงบที่แสดงให้เห็นถึงสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ มูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อ เกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ และจํานวนส่วนเกินหรือส่วนขาดของโครงการผลประโยชน์ งบการเงินของโครงการยังประกอบด้วยงบการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับ จ่ายเป็นผลประโยชน์ และงบการเปลี่ยนแปลงมูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่ได้สัญญาไว้ งบการเงิน อาจมีรายงานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแนบไปด้วยเพื่อเป็นการให้ข้อมูลสนับสนุน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 เกี่ยวกับมูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อ เกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ 28.2 งบการเงินซึ่งประกอบด้วยงบสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ และ งบการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ มูลค่าปัจจุบันตาม หลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ จะเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินอาจมีรายงานของนักคณิตศาสตร์ ประกันภัยแนบไปด้วยเพื่อเป็นการให้ข้อมูลสนับสนุนเกี่ยวกับมูลค่าปัจจุบันตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่ได้สัญญาไว้ และ 28.3 งบการเงินซึ่งรวมงบสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ และงบการ เปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ โดยมีรายงานของ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่ได้สัญญาไว้แยกแสดง ต่างหาก ในรูปแบบแต่ละรูปแบบอาจมีรายงานของทรัสตีในธรรมชาติของรายงานสําหรับผู้บริหารหรือ รายงานของกรรมการ และรายงานการลงทุนแนบมากับงบการเงินด้วย 29 ผู้ที่เห็นด้วยกับการนําเสนอข้อมูลในรูปแบบตามย่อหน้าที่ 28.1 และ 28.2 เชื่อว่าข้อมูลเกี่ยวกับ จํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้และข้อมูลอื่นที่นํามาแสดงตามรูปแบบ ดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินสถานะปัจจุบันของโครงการและความน่าจะเป็น ที่โครงการนั้นจะปฏิบัติตามภาระผูกพันได้ นอกจากนี้ บุคคลเหล่านี้ยังเชื่อว่างบการเงิน มีความสมบูรณ์ในตัวเองโดยไม่อาศัยงบประกอบ อย่างไรก็ตาม บางคนเชื่อว่ารูปแบบที่แสดง ตามย่อหน้าที่ 28.1 อาจแสดงว่ามีภาระหนี้สินเกิดขึ้นแล้ว ในขณะที่มูลค่าปัจจุบันตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ยังไม่มี คุณลักษณะของการเป็นหนี้สินครบทุกรายการ 30 ผู้ที่เห็นด้วยกับการนําเสนอข้อมูลในรูปแบบตามย่อหน้าที่ 28.3 เชื่อว่ามูลค่าปัจจุบันตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ไม่ควรรวมอยู่ ในงบสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ตามรูปแบบในย่อหน้าที่ 28.1 หรือแม้แต่ เปิดเผยไว้ในหมายเหตุตามรูปแบบในย่อหน้าที่ 28.2 เนื่องจากจะมีการนําจํานวนดังกล่าวไป เปรียบเทียบกับสินทรัพย์โครงการโดยตรง ซึ่งการเปรียบเทียบในลักษณะดังกล่าวอาจไม่ เหมาะสม บุคคลเหล่านี้ยังโต้แย้งว่านักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่จําเป็นต้องเปรียบเทียบมูลค่า ปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ ตามที่สัญญาไว้กับราคาตลาดของเงินลงทุน แต่อาจประเมินมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด ที่คาดว่าจะได้รับจากเงินลงทุนแทน เพราะฉะนั้นผู้ที่เห็นด้วยกับรูปแบบที่แสดงตามย่อหน้าที่ 28.3 จึงเชื่อว่าการเปรียบเทียบข้อมูลในลักษณะดังกล่าวไม่น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงการประเมินผล โดยรวมของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเกี่ยวกับโครงการและอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ผิดได้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 บางคนยังเชื่อด้วยว่า ข้อมูลที่เกี่ยวกับจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ต้อง แสดงแยกต่างหากไว้ในรายงานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเท่านั้นโดยมีคําอธิบายอย่าง เหมาะสม โดยไม่ต้องคํานึงว่ามีการแสดงข้อมูลตัวเลขหรือไม่ 31 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เห็นด้วยกับความเห็นที่ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนเงิน ผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ในรายงานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็น รายงานแยกต่างหาก แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งเรื่องการแสดงจํานวนมูลค่าปัจจุบันตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่ได้สัญญาไว้ ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงเห็นด้วยกับรูปแบบที่แสดงตามย่อหน้าที่ 28.1 และ 28.2 และ เ ห็ น ด้ ว ย กับรูปแบบตามย่อหน้าที่ 28.3 ถ้าหากงบการเงินนั้นมีการอ้างอิงถึงและแนบด้วย รายงานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งแสดงข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่ได้สัญญาไว้ โครงการทั้งหมด การวัดมูลค่าสินทรัพย์โครงการ 32 เงินลงทุนของโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานต้องแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม ในกรณี ของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด มูลค่ายุติธรรมคือราคาตลาด หากเงินลงทุนของ โครงการซึ่งถือไว้ไม่สามารถประมาณมูลค่ายุติธรรมได้ ให้เปิดเผยเหตุผลของการไม่ได้ใช้ มูลค่ายุติธรรม 33 ในกรณีของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด โดยปกติมูลค่ายุติธรรมคือราคาตลาด เนื่องจากการใช้ราคาตลาดถือได้ว่าเป็นเครื่องวัดที่มีประโยชน์สูงสุดสําหรับหลักทรัพย์ ณ วันที่ ในงบการเงิน และยังมีประโยชน์สูงสุดต่อการวัดผลการดําเนินงานของการลงทุนสําหรับรอบ ระยะเวลา ในกรณีของหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าไถ่ถอนคงที่ และได้มาเพื่อรองรับให้สัมพันธ์กับภาระ ผูกพันของโครงการ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงการที่ระบุได้ อาจแสดงด้วยราคาที่กําหนดจาก มูลค่าไถ่ถอนขั้นสุดท้าย โดยสมมติว่าอัตราผลตอบแทนคงที่จนถึงวันครบกําหนด ในกรณีที่ เงินลงทุนซึ่งโครงการถือไว้ ไม่สามารถประมาณมูลค่ายุติธรรมได้ เช่น ความเป็นเจ้าของทั้งหมด ของกิจการ ให้เปิดเผยเหตุผลของการไม่ได้ใช้มูลค่ายุติธรรม ในกรณีที่เงินลงทุนของโครงการ แสดงด้วยมูลค่าอื่นที่มิใช่ราคาตลาดหรือมูลค่ายุติธรรม โดยทั่วไปจะต้องเปิดเผยให้ทราบถึง มูลค่ายุติธรรมด้วย ทั้งนี้ สินทรัพย์ต่างๆ ที่ใช้ในการดําเนินงานของกองทุน จะใช้วิธีปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับที่เกี่ยวข้อง การเปิดเผยข้อมูล 34 งบการเงินของโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ไม่ว่าจะเป็นโครงการผลประโยชน์ หรือโครงการสมทบเงิน ต้องประกอบด้วยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 34.1 งบการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ 34.2 ข้อมูลนโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญ และ 34.3 คําอธิบายเกี่ยวกับโครงการ และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของโครงการ ในระหว่างรอบระยะเวลา 35 งบการเงินที่จัดทําโดยโครงการผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุต้องประกอบด้วยรายการทุกข้อ ดังต่อไปนี้ ( ถ้ามี ) 35.1 งบสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ โดยเปิดเผย 35.1.1 สินทรัพย์ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา พร้อมการจัดประเภทอย่างเหมาะสม 35.1.2 เกณฑ์การวัดมูลค่าสินทรัพย์ 35.1.3 รายละเอียดของเงินลงทุนแต่ละรายการที่มีจํานวนเงินเกินกว่าร้อยละ 5 ของ สินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ หรือที่เกินกว่าร้อยละ 5 ของ หลักทรัพย์แต่ละประเภทหรือแต่ละชนิด 35.1.4 รายละเอียดของเงินลงทุนกับนายจ้าง และ 35.1.5 หนี้สินอื่นนอกเหนือจากมูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของ จํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ 35.2 งบการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิที่มีไว้สําหรับจ่ายเป็นผลประโยชน์ โดยแสดง 35.2.1 เงินสมทบของนายจ้าง 35.2.2 เงินสมทบของลูกจ้าง 35.2.3 รายได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย และเงินปันผล 35.2.4 รายได้อื่น 35.2.5 ผลประโยชน์ที่จ่ายหรือค้างจ่าย ( ให้เปิดเผยแยกเป็นแต่ละรายการและ จํานวนรวม เช่น ผลประโยชน์ที่จ่ายหรือค้างจ่ายเนื่องจากเกษียณอายุ เสียชีวิต และทุพพลภาพ ) 35.2.6 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 35.2.7 ค่าใช้จ่ายอื่น 35.2.8 ภาษีเงินได้ 35.2.9 กําไรและขาดทุนจากการจําหน่ายเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของ เงินลงทุน และ 35.2.10 การรับโอนจากและการโอนออกไปยังโครงการอื่น 35.3 คําอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการโอนสินทรัพย์ไปยังกองทุน 35.4 สําหรับโครงการผลประโยชน์ จะเปิดเผยมูลค่าปัจจุบันตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ ( โดยอาจแยกระหว่าง ผลประโยชน์ที่ได้รับเป็นสิทธิขาดและที่ยังไม่ได้รับเป็นสิทธิขาด ) ซึ่งคํานวณจาก ผลประโยชน์ตามที่สัญญาไว้ภายใต้เงื่อนไขของโครงการ ตั้งแต่เริ่มให้บริการจนถึง ปัจจุบันและใช้ระดับเงินเดือนปัจจุบันหรือระดับเงินเดือนที่ประมาณการไว้อย่างใด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 19/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 อย่างหนึ่ง โดยข้อมูลนี้อาจรวมอยู่ในรายงานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่แนบมาด้วย เพื่อใช้อ่านร่วมกันกับงบการเงินที่เกี่ยวข้อง และ 35.5 สําหรับโครงการผลประโยชน์ จะมีคําอธิบายถึงข้อสมมติที่มีนัยสําคัญเกี่ยวกับการคํานวณ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยและวิธีการที่ใช้ในการคํานวณมูลค่าปัจจุบันตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยของจํานวนเงินผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามที่สัญญาไว้ 36 รายงานของโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานต้องประกอบด้วยคําอธิบายเกี่ยวกับโครงการ ซึ่งจะจัดทําเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินหรือจัดทําเป็นรายงานแยกต่างหากก็ได้ โดยอาจมีรายการ ดังต่อไปนี้ 36.1 ชื่อของนายจ้างและกลุ่มของลูกจ้างที่ครอบคลุมถึง 36.2 จํานวนของผู้เข้าร่วมโครงการที่จะได้รับผลประโยชน์ และจํานวนของผู้เข้าร่วมโครงการอื่นๆ โดยมีการจัดประเภทตามความเหมาะสม 36.3 ประเภทของโครงการว่าเป็นโครงการสมทบเงินหรือโครงการผลประโยชน์ 36.4 คําอธิบายว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีการจ่ายเงินสมทบให้โครงการหรือไม่ 36.5 คําอธิบายเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงานตามที่ได้สัญญาไว้กับผู้เข้าร่วม โครงการ 36.6 คําอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ของการสิ้นสุดโครงการ และ 36.7 การเปลี่ยนแปลงของรายการตามย่อหน้าที่ 36.1 ถึง 36.6 ระหว่างรอบระยะเวลาที่นําเสนอ รายงาน ทั้งนี้ ถือเป็นเรื่องปกติในการอ้างอิงถึงเอกสารอื่นที่ผู้ใช้มีพร้อมทุกเมื่อและเป็นเอกสารที่อธิบาย ถึงโครงการดังกล่าว และการรวมเฉพาะข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงภายหลัง วันถือปฏิบัติ 37 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินของโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป 38 การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชี ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน ) ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 34 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบ ระยะเวลาบัญชีประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้ กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับ รอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว