Tue Aug 08 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน (เล่มที่ 1)


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน (เล่มที่ 1)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี แล ะประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 82/2562 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ตามที่กาหนด ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 6 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 19: Employee Benefits (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมเชิงอรรถของย่อหน้าที่ 8 และเพิ่มย่อหน้าที่ 178 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 57 99 120 123 125 126 และ 156 และเพิ่มย่อหน้าที่ 101 ก 122 ก 123 ก และ 179 และแก้ไขเพิ่มเติมการ อ้างอิงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับ อื่น การแก้ไขโครงการ การลดขนาด โค รงกำรล ง ห รือ กำรจ่ายชําระ ผลป ระโยชน์ ( ที่ แก้ไขเพิ่ ม เติ ม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19) ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 คํานิยาม 8 ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน 9 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 11 การเปิดเผยข้อมูล 25 ผลประโยชน์หลังออกจากงาน – ความแตกต่างระหว่างโครงการ สมทบเงินที่กําหนดไว้และโครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ 26 โครงการของกลุ่มนายจ้าง 32 โครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ที่กิจการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ การควบคุมเดียวกันร่วมรับความเสี่ยง 40 โครงการระดับภาครัฐ 43 ผลประโยชน์ที่มีการประกัน 46 ผลประโยชน์หลังออกจากงาน – โ ครงการสมทบเงินที่กําหนดไว้ 50 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 51 การเปิดเผยข้อมูล 53 ผลประโยชน์หลังออกจากงาน – โ ครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ 55 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 56 การบัญชีสําหรับภาระผูกพันจากการอนุมาน 61 งบฐานะการเงิน 63 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า – มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพัน ตามโครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้และต้นทุนบริการปัจจุบัน 66 ต้นทุนบริการในอดีตและผลกําไรและขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ 99 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า - สินทรัพย์โครงการ 113 องค์ประกอบของต้นทุนผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ 120 การนําเสนอข้อมูล 131 การเปิดเผยข้อมูล 135 ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน 153 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 155 การเปิดเผยข้อมูล 158

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 สารบัญ จากย่อหน้าที่ ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง 159 การรับรู้รายการ 165 การวัดมูลค่า 169 การเปิดเผยข้อมูล 171 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านและวันถือปฏิบัติ 172 ภาคผนวก ก แนวทางปฏิบัติ ข ภาคผนวกนี้ไม่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 177 และ ภาคผนวก ก ถึง ข ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึง ข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและ การใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดวิธีการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลของ ผลประโยชน์ของพนักงาน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้กิจการต้องรับรู้ 1.1 หนี้สิน เมื่อพนักงานได้ให้บริการเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ของพนักงาน ที่บริษัทจะจ่ายในอนาคต และ 1.2 ค่าใช้จ่าย เมื่อกิจการได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกิดจากการให้บริการของ พนักงานเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ของพนักงาน ขอบเขต 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับนายจ้างสําหรับวิธีการบัญชีสําหรับผลประโยชน์ ของพนักงานทั้งหมด เว้นแต่ผลประโยชน์ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ 3 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ใช้กับการรายงานโครงการผลประโยชน์ของพนักงาน ( ดูมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ) 4 ผลประโยชน์ของพนักงานตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ รวมถึง 4.1 ผลประโยชน์ที่ให้ภายใต้โครงการหรือข้อตกลงอื่นที่เป็นทางการระหว่างกิจการกับ พนักงานแต่ละคน กลุ่มพนักงาน หรือตัวแทนของพนักงาน 4.2 ผลประโยชน์ที่ให้ภายใต้ข้อกําหนดทางกฎหมายหรือผ่านทางข้อตกลงของกลุ่ม อุตสาหกรรม ซึ่งกําหนดให้กิจการจ่ายสมทบเข้าโครงการระดับประเทศ โครงการ ระดับภาครัฐ โครงการอื่นของกลุ่มอุตสาหกรรมหรือโครงการของกลุ่มนายจ้าง หรือ 4.3 ผลประโยชน์ที่เกิดจากการปฏิบัติอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งก่อภาระผูกพันจากการอนุมาน การปฏิบัติอย่างไม่เป็นทางการซึ่งก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมานเมื่อกิจการไม่มี ทางเลือกที่เป็นจริงได้ทําให้จําต้องจ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน ตัวอย่างของภาระผูกพัน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 จากการอนุมาน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการของกิจการที่จะทําให้ เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถยอมรับได้ต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อพนักงาน 5 ผลประโยชน์ของพนักงานรวมถึง 5.1 ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน เช่น ผลประโยชน์ดังต่อไปนี้ที่คาดว่าจะจ่ายชําระ ทั้งจํานวนก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่พนักงานได้ ให้บริการที่เกี่ยวข้อง 5.1.1 ค่าจ้าง เงินเดือน และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 5.1.2 เงินที่จ่ายสําหรับการลาหยุดพักผ่อนประจําปีและการลาป่วย 5.1.3 ส่วนแบ่งกําไรและโบนัส และ 5.1.4 ผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน ( เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พักอาศัย ค่ายานพาหนะ และสินค้าหรือบริการที่ให้เปล่าหรือในลักษณะอุดหนุน ) สําหรับพนักงาน ปัจจุบัน 5.2 ผลประโยชน์หลังออกจากงาน เช่น ผลประโยชน์ดังต่อไปนี้ 5.2.1 ผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ( เช่น บํานาญ ผลประโยชน์ที่จ่ายครั้งเดียว เมื่อออกจากงาน ) และ 5.2.2 ผลประโยชน์อื่นหลังออกจากงาน เช่น ประกันชีวิตหลังออกจากงาน และ ค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน 5.3 ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน เช่น ผลประโยชน์ดังต่อไปนี้ 5.3.1 การลางานระยะยาวที่ยังได้รับผลตอบแทน เช่น การให้ลางานระยะยาว หลังจากทํางานเป็นระยะเวลานาน หรือการลาในปีที่ได้รับยกเว้นการทํางาน 5.3.2 ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทํางานครบ 50 ปี หรือผลประโยชน์อื่นที่จ่ายจาก การทํางานเป็นระยะเวลานาน และ 5.3.3 ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทุพพลภาพเป็นระยะเวลานาน และ 5.4 ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง 6 ผลประโยชน์ของพนักงานให้รวมถึงผลประโยชน์ที่จ่ายให้พนักงาน หรือผู้ที่พนักงานให้ การอุปการะ หรือผู้รับผลประโยชน์ และอาจจ่ายชําระเป็นเงิน ( หรือเป็นการให้สินค้าหรือ บริการ ) โดยตรงให้แก่พนักงาน คู่สมรส บุตร หรือผู้อื่นที่พนักงานให้การอุปการะ หรือจ่ายให้ บุคคลอื่น เช่น บริษัทประกันภัย 7 พนักงานอาจให้บริการแก่กิจการในลักษณะเต็มเวลา ไม่เต็มเวลา ถาวร ไม่เป็นทางการ หรือ ชั่วคราว ภายใต้วัตถุประสงค์ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ พนักงานให้รวมถึงกรรมการบริษัท และบุคลากรระดับบริหารอื่นด้วย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 คํานิยาม 8 คําศั พท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายเฉพาะ ดังนี้ คํานิยามของผลประโยชน์ของพนักงาน ผลประโยชน์ของ พนักงาน หมายถึง สิ่งตอบแทนทุกรูปแบบที่กิจการให้เพื่อแลกเปลี่ยน กับบริการที่ได้รับจากพนักงานหรือการเลิกจ้าง ผลประโยชน์ระยะสั้น ของพนักงาน หมายถึง ผลประโยชน์ของพนักงาน ( ที่มิใช่ผลประโยชน์เมื่อ เลิกจ้าง ) ซึ่งคาดว่าจะจ่ายชําระทั้งจํานวนก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปี ที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง ผลประโยชน์หลัง ออกจากงาน หมายถึง ผลประโยชน์ของพนักงาน ( ที่มิใช่ผลประโยชน์เมื่อ เลิกจ้างและผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน ) ซึ่งมีการจ่ายหลังจากการจ้างงานสิ้นสุดลง ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น ของพนักงาน หมายถึง ผลประโยชน์ทั้งหมดของพนักงานที่มิใช่ผลประโยชน์ ระยะสั้นของพนักงาน ผลประโยชน์หลังออกจาก งาน และผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง ผลประโยชน์เมื่อ เลิกจ้าง หมายถึง ผลประโยชน์ของพนักงานที่ให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับ การเลิกจ้างงานของพนักงาน ซึ่งเป็นผลจากข้อใด ข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) การตัดสินใจของกิจการที่จะเลิกจ้างพนักงาน ก่อนวันออกจากงานตามปกติ หรือ 2) การตัดสินใจของพนักงานที่จะยอมรับข้อเสนอ ของผลประโยชน์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้าง คํานิยามที่เกี่ยวข้องกับการจัดประเภทโครงการ โครงการผลประโยชน์ หลังออกจากงาน หมายถึง ข้อตกลงที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการที่กิจการ ตกลงจะจ่ายผลประโยชน์หลังออกจากงานให้แก่ พนักงานตั้งแต่หนึ่งรายหรือมากกว่าหนึ่งรายขึ้นไป โครงการสมทบเงินที่ หมายถึง โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานที่กิจการ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 กําหนดไว้ ( ซึ่งต่อไปนี้ เรียกว่า “ โครงการ สมทบเงิน ”) จ่ายเงินสมทบในจํานวนที่แน่นอนให้แก่กิจการที่ แยกต่างหาก ( กองทุน ) และไม่มีภาระผูกพัน ตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน ที่ต้องจ่ายเงินสมทบอีก หากกองทุนไม่สามารถ ดํารงสินทรัพย์เพียงพอที่จะจ่ายผลประโยชน์ของ พนักงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของ พนักงานในรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบ ระยะเวลาก่อนๆ โครงการผลประโยชน์ ที่กําหนดไว้ ( ซึ่งต่อไปนี้ เรียกว่า “ โครงการ ผลประโยชน์ ”) หมายถึง โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานที่มิใช่ โครงการสมทบเงิน โครงการของกลุ่ม นายจ้าง หมายถึง โครงการสมทบเงินหรือโครงการผลประโยชน์ ( ที่ไม่ใช่โครงการระดับภาครัฐ ) ซึ่ง 1) รวมสินทรัพย์ที่สมทบจากกิจการต่างๆ ที่ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกัน และ 2) ใช้สินทรัพย์เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อ พนักงานของกิจการมากกว่าหนึ่งแห่ง ตามเกณฑ์ของระดับเงินสมทบและระดับ ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้โดยปราศจาก การกําหนดโดยกิจการที่จ้างพนักงาน คํานิยามที่เกี่ยวข้องกับหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ หนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ สุทธิ หมายถึง ส่วนขาดหรือส่วนเกินที่ปรับปรุงด้วยผลกระทบ ของการจํากัดสินทรัพย์ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ สุทธิไม่ให้เกินเพดานของสินทรัพย์ ส่วนขาดหรือส่วนเกิน ( ของหนี้สินผลประโยชน์ ที่กําหนดไว้ ( สินทรัพย์ )) หมายถึง 1) มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการ ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ หักด้วย 2) มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการ ( ถ้ามี ) เพดานของสินทรัพย์ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่อยู่ ในรูปของการชดเชยเงินคืนให้จากโครงการ หรือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 เงินสมทบแก่โครงการในอนาคตที่ลดลง มูลค่าปัจจุบันของภาระ ผูกพันตามโครงการ ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ ( ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ ภาระผูกพันตาม โครงการผลประโยชน์ ”) หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่าย ในอนาคตก่อนหักสินทรัพย์โครงการ เพื่อจ่ายชําระ ภาระผูกพันที่เกิดจากบริการที่พนักงานได้ให้บริการ ในรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบระยะเวลา ก่อนๆ สินทรัพย์โครงการ ประกอบด้วย 1) สินทรัพย์ที่ถือไว้โดยกองทุนผลประโยชน์ ระยะยาวของพนักงาน และ 2) กรมธรรม์ประกันภัยที่เข้าเงื่อนไข สินทรัพย์ที่ถือไว้โดย ยกกองทุนผลประโยชน์ ระยะยาวของพนักงาน หมายถึง สินทรัพย์ ( ที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเงินที่ไม่ สามารถเปลี่ยนมือได้ที่ออกโดยกิจการที่เสนอ รายงาน ) ซึ่ง 1) ถือไว้โดยกิจการ ( กองทุน ) ที่มีสถานะตาม กฎหมายแยกออกจากกิจการที่เสนอรายงาน และตั้งขึ้นเพียงเพื่อไว้จ่ายหรือสมทบเป็น ผลประโยชน์ของพนักงานเท่านั้น และ 2) มีไว้พร้อมที่จะใช้เพื่อจ่ายหรือสมทบเป็น ผลประโยชน์ของพนักงานเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ มีไว้เพื่อเจ้าหนี้ของกิจการที่เสนอรายงาน ( แม้ว่าจะเป็นกรณีล้มละลายก็ตาม ) และไม่ สามารถจ่ายคืนแก่กิจการที่เสนอรายงาน เว้นแต่กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ 2.1 สินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของกองทุนมีเพียง พอที่จะครอบคลุมถึงภาระผูกพันของ ผลประโยชน์ของพนักงานของโครงการ หรือกิจการที่เสนอรายงาน หรือ 2.2 สินทรัพย์ที่คืนกลับมายังกิจการที่เสนอ รายงานเพื่อชดเชยส่วนของผลประโยชน์ ของพนักงานที่ได้จ่ายออกไปแล้ว กรมธรรม์ประกันภัย หมายถึง กรมธรรม์ประกันภัยที่ออกโดยผู้รับประกันที่ไม่ใช่

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 ที่เข้าเงื่อนไข 1 กิจการที่เกี่ยวข้องกันของกิจการที่เสนอรายงาน ( ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 เรื่อง การเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ) หากเงินที่ได้จากกรมธรรม์นั้น 1) สามารถใช้เพียงเพื่อจ่ายหรือเป็นเงินกองทุน เพื่อผลประโยชน์ของพนักงานตามโครงการ ผลประโยชน์เท่านั้น และ 2) ไ ม่ได้มีไว้เพื่อจ่ายให้เจ้าหนี้ของกิจการที่เสนอ รายงาน ( แม้ว่าจะเป็นกรณีล้มละลายก็ตาม ) และไม่สามารถจ่ายให้กิจการที่เสนอรายงานได้ เว้นแต่กรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ 2.1 สิ่งตอบแทนที่ได้ถือเป็นสินทรัพย์ ส่วนเกินที่ไม่จําเป็นสําหรับกรมธรรม์ เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาระผูกพันที่ เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพนักงาน ทั้งหมด หรือ 2.2 สิ่งตอบแทนที่ได้คืนกลับมายังกิจการที่ นําเสนอรายงาน เพื่อชดเชยส่วนของ ผลประโยชน์ของพนักงานที่ได้จ่าย ออกไปเรียบร้อยแล้ว มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์ หรือจะจ่าย เพื่อโอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติ ระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า ( ดูมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่า ยุติธรรม ) คํานิยามที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนของผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ ต้นทุนบริการ ประกอบด้วย 1) ต้นทุนบริการปัจจุบัน หมายถึง ส่วนเพิ่มของมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพัน 1 กรมธรรม์ประกันภัยที่เข้าเงื่อนไขไม่จําเป็นต้องเป็นสัญญาประกันภัยตามคํานิยามในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 ของผลประโยชน์ที่เกิดจากบริการที่พนักงาน ได้ให้บริการในรอบระยะเวลาปัจจุบัน 2) ต้นทุนบริการในอดีต หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าปัจจุบันของ ภาระผูกพัน ตามโครงการผลประโยชน์ สําหรับบริการที่พนักงานได้ให้บริการในรอบ ระยะเวลาก่อนๆ ซึ่งเกิดจากการแก้ไข โครงการ ( เริ่มจัดตั้งเป็นครั้งแรกหรือการ ยกเลิกโครงการหรือการเปลี่ยนแปลงของ โครงการผลประโยชน์ ) หรือการลดขนาด โครงการลง ( การลดขนาดโครงการอย่างมี นัยสําคัญโดยกิจการเพื่อให้ครอบคลุมจํานวน พนักงานตามโครงการ ) และ 3) ผลกําไรหรือขาดทุนจากการจ่ายชําระ ผลประโยชน์ ดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ ที่กําหนดไว้สุทธิ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระหว่างรอบระยะเวลาในหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของเวลา การวัดมูลค่าใหม่ของ หนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ สุทธิ ประกอบด้วย 1) ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 2) ผลตอบแทนจากสินทรัพย์โครงการ ซึ่งไม่รวม จํานวนที่รวมอยู่ในดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ และ 3) การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อผลกระทบของ เพดานของสินทรัพย์ ซึ่งไม่รวมจํานวนที่ รวมอยู่ในดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ผลกําไรและขาดทุนจาก การประมาณการตาม หลักคณิตศาสตร์ ประกันภัย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพัน ตามโครงการผลประโยชน์ ซึ่งเป็นผลจาก 1) การปรับปรุงจากประสบการณ์ ( ผลกระทบ ของความแตกต่างระหว่างข้อสมมติเดิมที่ใช้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 ในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัยกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริง ) และ 2) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติที่ ใช้ในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัย ผลตอบแทนของ สินทรัพย์โครงการ หมายถึง ดอกเบี้ย เงินปันผล และรายได้อื่นที่เกิดจากสินทรัพย์ โครงการ รวมทั้งผลกําไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วจากสินทรัพย์โครงการ หักด้วย 1) ต้นทุนการบริหารสินทรัพย์โครงการ และ 2) ภาษีค้างจ่ายที่โครงการต้องจ่าย นอกเหนือจาก รายการภาษีที่รวมอยู่ในข้อสมมติที่ใช้ ในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัยเพื่อวัดมูลค่าปัจจุบันภาระผูกพัน ของผลประโยชน์ การจ่ายชําระ ผลประโยชน์ หมายถึง รายการที่จะขจัดภาระผูกพันตามกฎหมายหรือ ภาระผูกพันจากการอนุมานที่จะเกิดขึ้นสําหรับ ผลประโยชน์บางส่วนหรือทั้งหมดภายใต้โครงการ ผลประโยชน์ นอกเหนือจากการจ่ายผลประโยชน์ ให้พนักงานหรือให้แก่บุคคลอื่นในนามของ พนักงานที่ได้กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ และรวมอยู่ในข้อสมมติที่ใช้ในการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน 9 ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน รวมถึงรายการดังต่อไปนี้ หากคาดว่าจะจ่ายชําระทั้งจํานวน ก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง 9.1 ค่าจ้าง เงินเดือน และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 9.2 การลาพักผ่อนประจําปีและลาป่วยที่คงไว้ซึ่งค่าตอบแทนที่ต้องจ่าย 9.3 ส่วนแบ่งกําไรและโบนัส และ 9.4 ผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน ( เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พักอาศัย ยานพาหนะ และ สินค้าหรือบริการที่ให้เปล่าหรือในลักษณะอุดหนุน ) สําหรับพนักงานปัจจุบัน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 10 กิจการไม่จําเป็นต้องจัดประเภทรายการผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานใหม่ หากความคาดหวังของ กิจการในเรื่องระยะเวลาของการจ่ายชําระผลประโยชน์เปลี่ยนแปลงอย่างชั่วคราว อย่างไรก็ตาม เมื่อลักษณะของผลประโยชน์มีการเปลี่ยนแปลง ( เช่น การเปลี่ยนแปลงจากผลประโยชน์ ชนิดไม่สะสมเป็นชนิดสะสม ) หรือเมื่อความคาดหวังของกิจการในเรื่องของระยะเวลาของการ จ่ายชําระผลประโยชน์เปลี่ยนแปลงอย่างไม่ชั่วคราว กิจการต้องพิจารณาว่าผลประโยชน์ดังกล่าว ยังเป็นไปตามคํานิยามของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานหรือไม่ การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า ผลประโยชน์ระยะสั้นทั้งหมดของพนักงาน 11 เมื่อพนักงานได้ให้บริการแก่กิจการในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี กิจการต้องรับรู้จํานวนที่ ไม่คิดลดของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานที่คาดว่าจะจ่ายเพื่อแลกเปลี่ยนกับบริการที่ ได้รับจากพนักงาน โดย 11.1 รับรู้เป็นหนี้สิน ( ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ) หลังหักจํานวนเงินที่จ่ายแล้ว หากจํานวน ที่จ่ายแล้วสูงกว่าจํานวนเงินที่ไม่คิดลดของผลประโยชน์ กิจการต้องรับรู้ส่วนเกินนั้น เป็นสินทรัพย์ ( ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ) ในจํานวนเงินที่ส่งผลให้การจ่ายล่วงหน้านั้น จะทําให้ลดการจ่ายของส่วนในอนาคตลง หรือรับเงินสดกลับคืนมา 11.2 รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นจะกําหนดหรือ อนุญาตให้รวมผลประโยชน์เป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ ( เช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ) 12 ย่อหน้าที่ 13 16 และ 19 อธิบายวิธีที่กิจการจะต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 11 ต่อผลประโยชน์ ระยะสั้นของพนักงานในรูปแบบของการลางานที่ได้รับค่าตอบแทนโครงการส่วนแบ่งกําไร และโบนัส สิทธิการลางานในระยะสั้นที่ได้รับค่าตอบแทน 13 กิจการต้องรับรู้ต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานในรูป การลางานที่ได้รับค่าตอบแทนตามย่อหน้าที่ 11 ดังนี้ 13.1 ในกรณีของสิทธิการลางานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สะสมได้ ให้รับรู้เมื่อพนักงาน ให้บริการซึ่งก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสิทธิการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทน ในอนาคต 13.2 ในกรณีของสิทธิการลางานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สะสมไม่ได้ ให้รับรู้เมื่อมีการลางาน เกิดขึ้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 14 กิจการอาจให้พนักงานลาโดยยังจ่ายค่าตอบแทนให้หลายกรณี รวมถึงการหยุด การลาป่วย และการลาจากการทุพพลภาพชั่วคราว การลาคลอดบุตรหรือการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร การลาเพื่อกิจ ของการศาลยุติธรรมและกิจของราชการทหาร สิทธิในการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทนมี 2 ประเภท ดังนี้ 14.1 ชนิดสะสม 14.2 ชนิดไม่สะสม 15 สิทธิการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทนชนิดสะสม คือ สิทธิการลางานที่สามารถยกยอดไปใช้ ในอนาคตได้ หากไม่ได้ใช้สิทธิในรอบระยะเวลาปัจจุบันทั้งหมด สิทธิการลางานที่ยังได้รับ ค่าตอบแทนชนิดสะสมอาจเป็นสิทธิขาด ( พนักงานได้รับสิทธิโดยการจ่ายเป็นเงินสดสําหรับสิทธิ ในการลาที่ยังไม่ได้ใช้เมื่อออกจากกิจการ ) หรือไม่เป็นสิทธิขาด ( พนักงานไม่ได้สิทธิที่จะได้รับ การจ่ายเป็นเงินสดสําหรับสิทธิในการลาที่ยังไม่ได้ใช้เมื่อออกจากกิจการ ) ภาระผูกพันจะเกิดขึ้น เมื่อพนักงานได้ให้บริการซึ่งเพิ่มสิทธิในการได้รับการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทนในอนาคตเพิ่ม แม้ว่าสิทธิการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทนจะไม่เป็นสิทธิขาด และความเป็นไปได้ที่พนักงานจะ ออกจากงานก่อนใช้สิทธิแบบไม่เป็นสิทธิขาดสะสมจะมีผลต่อการวัดมูลค่าของภาระผูกพัน ให้ถือว่าภาระผูกพันเกิดขึ้นและต้องรับรู้ภาระผูกพันนั้น 16 กิจการต้องวัดมูลค่าของต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของสิทธิการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทน ชนิดสะสมตามจํานวนซึ่งกิจการคาดว่าจะจ่ายเพิ่มเนื่องจากมีสิทธิที่พนักงานยังไม่ได้ใช้ สะสมอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 17 วิธีการที่ระบุในย่อหน้าก่อนวัดมูลค่าภาระผูกพันตามจํานวนเงินที่จะจ่ายเพิ่มซึ่งคาดว่าจะเกิดจาก การสะสมผลประโยชน์ ในหลายกรณี กิจการอาจไม่จําเป็นต้องคํานวณอย่างละเอียด เพื่อประมาณการว่าไม่มีภาระผูกพันที่มีสาระสําคัญจากการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทนเหลืออยู่ ตัวอย่างเช่น ภาระผูกพันที่เกิดจากการลาป่วยมีแนวโน้มที่จะเป็นสาระสําคัญก็ต่อเมื่อ มีความเข้าใจทั้งที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการว่าสิทธิการลาป่วยที่ไม่ได้ใช้ที่ยังได้รับ ค่าตอบแทน อาจได้รับชดเชยด้วยวันหยุดที่ได้รับค่าตอบแทน ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 16 และ 17 กิจการมีพนักงาน 100 คน ซึ่งมีสิทธิที่จะลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างปีละ 5 วันทําการ วันลาป่วยที่ ไม่ได้ใช้จะยกไปใช้ได้ใน 1 ปีปฏิทิน การใช้สิทธิลาป่วยจะเริ่มใช้จากสิทธิของปีปัจจุบันก่อน แล้วจึงใช้สิทธิที่ยกมาจากปีก่อน ( วิธีเข้าหลัง - ออกก่อน ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 สิทธิที่ ยังไม่ได้ใช้โดยเฉลี่ยคือ 2 วันต่อคน กิจการคาดหวังตามเกณฑ์จากประสบการณ์ในอดีต ซึ่งคาดว่าจะยังคงมีอยู่ต่อไปว่า ในปี 25X2 พนักงาน 92 คนจะลาป่วยคนละไม่เกิน 5 วัน และอีก 8 คนที่เหลือจะลาป่วยเฉลี่ยคนละ 6.5 วัน กิจการคาดว่าจะมีการจ่ายเพิ่มเติมเป็นเวลา 12 วัน สําหรับการลาป่วยซึ่งเป็นผลมาจากสิทธิที่ ยังไม่ได้ไช้สะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 เท่ากับ 12 วัน (8 คน * 1.5 วันต่อคน ) ดังนั้น กิจการจะรับรู้หนี้สินเท่ากับจํานวนเงินที่จ่ายสําหรับการลาป่วย 12 วัน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 18 สิทธิการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทนชนิดไม่สะสมจะไม่ถูกยกยอดไป สิทธิการลางานดังกล่าว จะหมดสิทธิไปหากสิทธิในรอบระยะเวลาปัจจุบันไม่ได้ถูกใช้ทั้งหมด และพนักงานไม่มีสิทธิที่จะ ได้รับค่าตอบแทนสําหรับสิทธิการลางานที่ไม่ได้ใช้ดังกล่าวเมื่อออกจากงาน กรณีดังกล่าวมักเป็น กรณีของการลาป่วย ( สิทธิในอดีตที่ไม่ได้ใช้ไม่ได้ทําให้สิทธิในอนาคตเพิ่มขึ้น ) การลาคลอดบุตร หรือการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร และการลาเพื่อกิจของศาลยุติธรรมหรือการลาเพื่อราชการทหาร ที่ยังได้รับค่าตอบแทน กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินหรือค่าใช้จ่ายจนกว่าจะมีการลางานเกิดขึ้น เนื่องจากการให้บริการของพนักงานไม่ได้ทําให้จํานวนของผลประโยชน์เพิ่มขึ้น โครงการส่วนแบ่งกําไรและโครงการโบนัส 19 กิจการต้องรับรู้ต้นทุนที่คาดว่าจะต้องจ่ายของส่วนแบ่งกําไรและโบนัสตามย่อหน้าที่ 11 หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 19.1 กิจการมีภาระผูกพันทางกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมานในปัจจุบันที่ จะต้องจ่ายเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และ 19.2 สามารถประมาณภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ ภาระผูกพันในปัจจุบันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อกิจการไม่มีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้นอกจากจะต้อง จ่ายเงิน 20 ภายใต้โครงการส่วนแบ่งกําไรบางโครงการ พนักงานจะได้รับส่วนแบ่งกําไรต่อเมื่อยังคงทํางาน กับกิจการตามระยะเวลาที่ระบุไว้ โครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมานเมื่อ พนักงานได้ให้บริการซึ่งจะเพิ่มมูลค่าของจํานวนเงินที่กิจการต้องจ่ายหากพนักงานยังคง ให้บริการจนครบระยะเวลาที่กําหนด การวัดมูลค่าของภาระผูกพันจากการอนุมานนี้สะท้อน ความเป็นไปได้ที่พนักงานบางคนอาจออกจากงาน โดยไม่ได้รับการจ่ายส่วนแบ่งกําไร ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 20 โครงการส่วนแบ่งกําไรกําหนดให้กิจการจ่ายกําไรสําหรับปีตามสัดส่วนที่ระบุไว้ให้พนักงานที่ทํางาน ตลอดปี หากไม่มีพนักงานลาออกจากงานระหว่างปี ส่วนแบ่งกําไรที่จะจ่ายทั้งหมดสําหรับปีจะ เท่ากับร้อยละ 3 ของกําไรสุทธิ กิจการคาดว่าอัตราการเข้าออกของพนักงานทําให้การจ่าย ส่วนแบ่งกําไรลดลงเป็นร้อยละ 2.5 ของกําไรสุทธิ กิจการรับรู้หนี้สินและค่าใช้จ่ายที่ร้อยละ 2.5 ของกําไรสุทธิ 21 กิจการ อาจไม่มีภาระผูกพันตามกฎหมายที่จะจ่ายโบนัส อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีกิจการอาจมี ธรรมเนียมปฏิบัติในการจ่ายโบนัส ซึ่งในกรณีเช่นนี้ กิจการมีภาระผูกพันจากการอนุมาน เนื่องจากกิจการไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องจ่ายโบนัสนั้น การวัดมูลค่าของภาระผูกพันจาก การอนุมานนี้สะท้อนความเป็นไปได้ที่พนักงานบางคนออกจากงานไปโดยไม่ได้รับโบนัส

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 22 กิจการสามารถประมาณภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมานสําหรับ โครงการส่วนแบ่งกําไรหรือโครงการโบนัสได้อย่างน่าเชื่อถือ เมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 22.1 เงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการมีสูตรในการคํานวณจํานวนผลประโยชน์ 22.2 กิจการกําหนดจํานวนที่จะจ่ายก่อนวันที่อนุมัติให้ออกงบการเงิน 22.3 ธรรมเนียมปฏิบัติในอดีตทําให้ทราบชัดเจนถึงจํานวนเงินของภาระผูกพันจากการอนุมาน ของกิจการ 23 ภาระผูกพันจากโครงการส่วนแบ่งกําไรและโครงการโบนัสเกิดจากการให้บริการของพนักงาน และไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าของกิจการ ดังนั้น กิจการจะรับรู้ต้นทุนของโครงการส่วนแบ่งกําไรและ โครงการโบนัสเป็นค่าใช้จ่าย ไม่ใช่การจัดสรรจากกําไรสุทธิให้กับเจ้าของกิจการ 24 หากการจ่ายส่วนแบ่งกําไรและโบนัสยังไม่ได้คาดว่าจะจ่ายชําระทั้งจํานวนก่อน 12 เดือนนับจาก วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง การจ่ายเงินนี้ถือเป็น ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน ( ตามย่อหน้าที่ 153 ถึง 158) การเปิดเผยข้อมูล 25 แม้มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ระยะสั้นของ พนักงานโดยเฉพาะ แต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ อาจกําหนดให้เปิดเผยไว้ ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 ซึ่งกําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงานที่เป็นผู้บริหารสําคัญ และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนอ งบการเงิน ซึ่งกําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพนักงาน ผลประโยชน์หลังออกจากงาน – ความแตกต่างระหว่างโครงการสมทบเงินที่กําหนดไว้ และโครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ 26 ผลประโยชน์หลังออกจากงานตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้รวมถึงรายการดังต่อไปนี้ 26.1 ผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ( เช่น บํานาญ และผลประโยชน์ที่จ่ายครั้งเดียวเมื่อ ออกจากงาน ) และ 26.2 ผลประโยชน์อื่นหลังออกจากงาน เช่น การประกันชีวิต และการรักษาพยาบาลหลัง ออกจากงาน การจัดการเรื่องของผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงานดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการ ผลประโยชน์หลังออกจากงาน กิจการต้องนํามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติกับ การจัดการดังกล่าวทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการตั้งกิจการแยกออกมาต่างหากเพื่อรับเงินสมทบและจ่าย ผลประโยชน์หรือไม่

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 27 โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานสามารถจัดประเภทเป็นโครงการสมทบเงินหรือโครงการ ผลประโยชน์ โดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระเชิงเศรษฐกิจซึ่งพิจารณาจากกฎเกณฑ์และเงื่อนไขหลัก ของโครงการ 28 ภายใต้โครงการสมทบเงิน ภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมานของกิจการ จะจํากัดไม่เกินจํานวนเงินที่กิจการตกลงจะสมทบเข้ากองทุน ดังนั้น จํานวนผลประโยชน์ หลังออกจากงานที่พนักงานได้รับจะกําหนดจากจํานวนเงินที่กิจการจ่ายสมทบ ( และบางครั้ง พนักงานร่วมสะสมด้วย ) ให้กับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานหรือให้กับผู้รับประกัน รวมทั้งผลตอบแทนการลงทุนที่เกิดจากเงินสมทบดังกล่าว ดังนั้น ความเสี่ยงจากการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ( ในกรณีผลประโยชน์จะน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ ) และความเสี่ยงจาก การลงทุน ( ในกรณีสินทรัพย์ที่นําไปลงทุนไม่เพียงพอต่อการจ่ายผลประโยชน์ที่คาดหวังไว้ ) ที่เป็นสาระสําคัญจะตกอยู่กับพนักงาน 29 ตัวอย่างของกรณีที่ภาระผูกพันของกิจการไม่จํากัดอยู่เพียงจํานวนเงินที่กิจการตกลงที่จะจ่าย สมทบเข้ากองทุนเท่านั้น คือการที่กิจการก่อให้เกิดภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพัน จากการอนุมานโดย 29.1 ใช้สูตรการคํานวณผลประโยชน์ของโครงการซึ่งไม่ได้เชื่อมโยงกับจํานวนเงินจ่ายสมทบ เพียงอย่างเดียว และกําหนดให้กิจการต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มหากสินทรัพย์มีไม่เพียงพอ กับผลประโยชน์ในสูตรการคํานวณผลประโยชน์ดังกล่าว 29.2 มีการประกันผลตอบแทนของเงินสมทบไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมผ่านโครงการ หรือ 29.3 มีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างไม่เป็นทางการที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมาน เช่น กิจการมีประวัติการเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่พนักงานที่มีอยู่เดิม เพื่อให้สอดคล้องกับ ภาวะเงินเฟ้อ จนถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ แม้จะไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมายก็ตาม 30 ภายใต้โครงการผลประโยชน์ 30.1 ภาระผูกพันของกิจการคือ การที่ต้องจัดหาผลประโยชน์ที่ตกลงไว้ให้พนักงานปัจจุบัน และพนักงานในอดีต และ 30.2 โดยเนื้อหาแล้ว กิจการต้องรับความเสี่ยงจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัย ( ในกรณีต้นทุนของผลประโยชน์สูงกว่าที่คาดหวังไว้ ) และความเสี่ยงจาก การลงทุน ดังนั้น หากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือการลงทุน ไม่เป็นไปตามที่คาด ภาระผูกพันของกิจการอาจเพิ่มขึ้น 31 ตั้งแต่ย่อหน้าที่ 32 ถึง 49 จะอธิบายความแตกต่างระหว่างโครงการสมทบเงินกับโครงการ ผลประโยชน์ในแง่ที่เป็นโครงการของกลุ่มนายจ้าง โครงการผลประโยชน์ที่กิจการที่อยู่ภายใต้ การควบคุมเดียวกันโดยร่วมกันรับความเสี่ยง โครงการระดับภาครัฐ และผลประโยชน์ที่มี การประกัน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 โครงการของกลุ่มนายจ้าง 32 กิจการต้องจัดโครงการของกลุ่มนายจ้างเป็นโครงการสมทบเงินหรือโครงการผลประโยชน์ โดยพิจารณาตามเงื่อนไขของโครงการ ( รวมทั้งภาระผูกพันจากการอนุมานนอกเหนือจาก เงื่อนไขที่เป็นทางการ ) 33 หากกิจการเข้าร่วมโครงการผลประโยชน์ของกลุ่มนายจ้าง เว้นแต่กิจการถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 34 กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดทุกข้อต่อไปนี้ 33.1 ปฏิบัติกับภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ สินทรัพย์โครงการ และต้นทุน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามสัดส่วนที่เป็นของกิจการในลักษณะเดียวกับโครงการ ผลประโยชน์โครงการอื่น และ 33.2 เปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้าที่ 135 ถึง 148 ( ยกเว้นย่อหน้าที่ 148.4) 34 เมื่อมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะใช้การบัญชีเกี่ยวกับโครงการผลประโยชน์ของกลุ่มนายจ้าง กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดทุกข้อต่อไปนี้ 34.1 ปฏิบัติกับบัญชีโครงการตามย่อหน้าที่ 51 ถึง 52 เสมือนเป็นโครงการสมทบเงิน 34.2 เปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 148 35 ตัวอย่างรูปแบบหนึ่งของโครงการของกลุ่มนายจ้างที่เป็นโครงการผลประโยชน์ ได้แก่ 35.1 การจ่ายเงินเข้าโครงการตามความจําเป็นในแต่ละงวด เช่น การจ่ายเงินสมทบ ถูกกําหนดให้อยู่ในระดับที่คาดว่าจะเพียงพอสําหรับผลประโยชน์ที่จะต้องจ่ายภายใน รอบระยะเวลานั้น ส่วนผลประโยชน์ในอนาคตที่ได้รับในรอบระยะเวลาปัจจุบันจะจ่าย จากเงินสมทบในอนาคต และ 35.2 ผลประโยชน์ของพนักงานกําหนดจากระยะเวลาการทํางานและกิจการที่เข้าร่วม โครงการไม่มีวิธีอื่นที่เป็นไปได้ที่จะไม่ร่วมโครงการ นอกจากการจ่ายเงินสมทบสําหรับ ผลประโยชน์ที่พนักงานควรได้รับจนถึงวันที่กิจการไม่ร่วมโครงการ โครงการนี้ก่อให้เกิด ความเสี่ยงจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยแก่กิจการ ทําให้ กิจการจะต้องเพิ่มเงินสมทบหรือชักจูงให้พนักงานรับผลประโยชน์ลดลงในกรณีที่ ผลประโยชน์ของพนักงาน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานทําให้กิจการมีต้นทุนของ ผลประโยชน์ที่ได้รับแล้วมากกว่าที่คาดหวังไว้ โครงการนี้ถือเป็นโครงการผลประโยชน์ 36 เมื่อมีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับโครงการของกลุ่มนายจ้างที่มีลักษณะเป็นโครงการผลประโยชน์ กิจการปฏิบัติกับภาระผูกพันของผลประโยชน์ สินทรัพย์โครงการ และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับ โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานในลักษณะเดียวกับโครงการผลประโยชน์อื่นๆ ตามสัดส่วนที่ เป็นของแต่ละกิจการ อย่างไรก็ตาม กิจการอาจไม่สามารถระบุส่วนแบ่งของตนเกี่ยวกับฐานะ การเงินและผลการดําเนินงานของโครงการได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะบันทึกบัญชีซึ่งอาจเกิดขึ้น หาก 36.1 โครงการทําให้กิจการที่เข้าร่วมเกิดความเสี่ยงจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัยเกี่ยวกับพนักงานปัจจุบันและพนักงานในอดีตของกิจการอื่น ซึ่งส่งผลให้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 ไม่มีหลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือและสอดคล้องในการจัดสรรภาระผูกพัน สินทรัพย์โครงการ และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงการในส่วนของแต่ละกิจการที่เข้าร่วมโครงการ หรือ 36.2 กิจการไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับโครงการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในกรณีดังกล่าว กิจการปฏิบัติกับโครงการเสมือนโครงการดังกล่าวเป็นโครงการสมทบเงินของ กิจการและเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้าที่ 148 37 หากมีข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโครงการของกลุ่มนายจ้างและผู้เข้าร่วมโครงการถึงวิธีกําหนด การจ่ายส่วนเกินของโครงการให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ( หรือจัดหาเงินสําหรับส่วนขาด ) ผู้เข้าร่วมใน โครงการของกลุ่มนายจ้างตามสัญญาดังกล่าวที่รับรู้โครงการของกลุ่มนายจ้างลักษณะนี้เป็น โครงการสมทบเงินตามย่อหน้าที่ 34 ต้องรับรู้สินทรัพย์หรือหนี้สินที่เกิดจากข้อตกลงภายใต้ สัญญาดังกล่าว และรับรู้รายได้หรือค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุน ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 37 กิจการเข้าร่วมโครงการผลประโยชน์ของกลุ่มนายจ้างที่ไม่ได้จัดเตรียมการประเมินมูลค่า ของโครงการตามเกณฑ์มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ดังนั้นกิจการต้องปฏิบัติเสมือนว่าเป็น โครงการสมทบเงิน การวัดมูลค่าของกองทุนซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ แสดงให้เห็นถึงส่วนขาด 100 ล้านบาทในโครงการ โครงการมีข้อตกลงตามสัญญาเกี่ยวกับ กําหนดการสมทบเงินของนายจ้างที่เข้าร่วมโครงการเพื่อลดส่วนขาดลงภายในเวลา 5 ปี เงินสมทบทั้งหมดที่เป็นส่วนที่กิจการต้องสมทบเข้าตามสัญญาคือ 8 ล้านบาท กิจการรับรู้หนี้สินสําหรับเงินสมทบที่ปรับมูลค่าเงินตามเวลาและค่าใช้จ่ายในจํานวนเท่ากัน ในกําไรหรือขาดทุน 38 โครงการของกลุ่มนายจ้างแตกต่างจากโครงการรวมกลุ่มบริหาร โครงการรวมกลุ่มบริหารเป็นเพียง การนําโครงการของนายจ้างแต่ละรายมารวมกันเพื่อให้นายจ้างที่เข้าร่วมนําสินทรัพย์มาร่วมกัน ลงทุนและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารและจัดการการลงทุน โดยสิทธิเรียกร้องของนายจ้างแต่ละราย ยังคงแยกจากกันเพื่อผลประโยชน์ของลูกจ้างของแต่ละกิจการโดยเฉพาะ โครงการรวมกลุ่ม บริหารดังกล่าวไม่ทําให้เกิดปัญหาในการบันทึกบัญชี เพราะกิจการมีข้อมูลพร้อมทุกเมื่อที่จะ ปฏิบัติเช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ ที่เป็นของนายจ้างรายเดียว เนื่องจากโครงการดังกล่าวไม่ทําให้ กิจการที่เข้าร่วมเกิดความเสี่ยงจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยเกี่ยวกับ พนักงานปัจจุบันและพนักงานในอดีตของกิจการอื่นๆ คํานิยามในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กําหนดให้กิจการจัดประเภทโครงการรวมกลุ่มบริหารเป็นโครงการสมทบเงินหรือโครงการ ผลประโยชน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโครงการ ( รวมทั้งภาระผูกพันจากการอนุมานนอกเหนือจาก เงื่อนไขที่เป็นทางการด้วย )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 39 ในการพิจารณาว่าเมื่อใดจะรับรู้รายการ และมูลค่าวัดอย่างไร หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับ การยกเลิกโครงการผลประโยชน์ของกลุ่มนายจ้าง หรือการถอนตัวของกิจการออกจาก โครงการผลประโยชน์ของกลุ่มนายจ้าง กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ ที่อาจเกิดขึ้น โครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ที่กิจการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันร่วมรับ ความเสี่ยง 40 โครงการผลประโยชน์ที่กิจการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกัน ( เช่น บริษัทใหญ่และ บริษัทย่อย ) ร่วมรับความเสี่ยง ไม่ถือเป็นโครงการของกลุ่มนายจ้าง 41 กิจการที่เข้าร่วมในโครงการประเภทดังกล่าวต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโครงการโดยรวมซึ่ง วัดมูลค่าตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ โดยอาศัยข้อสมมติพื้นฐานที่ใช้กับโครงการโดยรวม หากมีข้อตกลงตามสัญญาหรือนโยบายทําให้แต่ละกิจการในกลุ่มรับภาระต้นทุนของผลประโยชน์ สุทธิสําหรับโครงการโดยรวม ซึ่งวัดมูลค่าตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กิจการต้องรับรู้ต้นทุน ผลประโยชน์สุทธิดังกล่าวในงบการเงินเฉพาะกิจการหรืองบการเงินแต่ละบริษัท หากไม่มี ข้อตกลงหรือนโยบายดังกล่าว ต้นทุนของผลประโยชน์สุทธิต้องรับรู้ในงบการเงินเฉพาะกิจการ หรืองบการเงินแต่ละกิจการในกลุ่มที่มีนายจ้างให้การสนับสนุนโครงการตามกฎหมาย กิจการอื่น ในกลุ่มต้องรับรู้ต้นทุนในงบการเงินเฉพาะกิจการหรืองบการเงินแต่ละกิจการเท่ากับส่วนที่ต้อง จ่ายสมทบสําหรับรอบระยะเวลานั้น 42 การเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นรายการเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันของแต่ละ กิจการในกลุ่ม ดังนั้นกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในงบการเงินเฉพาะกิจการหรือ งบการเงินแต่ละบริษัทตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 149 โครงการระดับภาครัฐ 43 กิจการต้องปฏิบัติกับโครงการระดับภาครัฐในลักษณะเดียวกับโครงการของกลุ่มนายจ้าง ( ตามย่อหน้าที่ 32 ถึง 39) 44 โครงการระดับภาครัฐเป็นโครงการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อบังคับใช้กับทุกกิจการ ( หรือทุกกิจการ ในหมวดใดหมวดหนึ่ง เช่น อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ ) และดําเนินการโดย หน่วยงานของรัฐในระดับประเทศหรือท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่น ( เช่น หน่วยงานอิสระที่ตั้ง ขึ้นมาเพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ ) ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมหรืออิทธิพลของกิจการที่เสนอ รายงาน บางโครงการที่กิจการจัดตั้งจัดให้มีทั้งผลประโยชน์ภาคบังคับเพื่อทดแทนผลประโยชน์ ที่ครอบคลุมโดยโครงการระดับภาครัฐ และให้ผลประโยชน์โดยสมัครใจเพิ่มเติม โครงการ ดังกล่าวไม่ถือเป็นโครงการระดับภาครัฐ 45 โครงการระดับภาครัฐจัดเป็นโครงการผลประโยชน์หรือโครงการสมทบเงิน ขึ้นอยู่กับภาระผูกพัน ของกิจการภายใต้โครงการนั้น โครงการระดับภาครัฐหลายๆ โครงการได้รับการสนับสนุน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 เงินสมทบเข้าโครงการลักษณะเหมาะสมตามความจําเป็นในแต่ละงวด โดยจํานวนเงินที่จ่าย สมทบเข้าโครงการถูกกําหนดให้อยู่ในระดับที่เพียงพอกับผลประโยชน์ที่ต้องจ่ายในรอบ ระยะเวลานั้น ผลประโยชน์ในอนาคตที่ได้รับในรอบระยะเวลาปัจจุบันจะจ่ายจากเงินที่จะสมทบ เข้าโครงการในอนาคต อย่างไรก็ตาม สําหรับโครงการระดับภาครัฐส่วนใหญ่ กิจการมักไม่มี ภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมานที่จะต้องจ่ายผลประโยชน์เหล่านั้นใน อนาคต มีเพียงภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินสมทบเมื่อถึงกําหนดเวลาเท่านั้น อีกทั้งหากกิจการ เลิกจ้างพนักงานที่เป็นสมาชิกของโครงการระดับภาครัฐ กิจการไม่มีภาระผูกพันที่จะต้องจ่าย ผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับจากโครงการในปีก่อนๆ ด้วย ดังนั้น โครงการระดับภาครัฐจึงมัก จัดเป็นโครงการสมทบเงิน อย่างไรก็ดี หากโครงการระดับภาครัฐมีลักษณะเป็นโครงการ ผลประโยชน์ กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 32 ถึง 39 ผลประโยชน์ที่มีการประกัน 46 กิจการอาจจ่ายค่าเบี้ยประกันเพื่อสมทบเงินทุนแก่โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงาน กิจการต้องถือว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการสมทบเงิน เว้นแต่กิจการจะมีภาระผูกพัน ตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน ( ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมผ่านโครงการ ) ที่ต้องทําตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ 46.1 จ่ายผลประโยชน์ของพนักงานโดยตรงเมื่อครบกําหนด หรือ 46.2 จ่ายเพิ่มเติมส่วนต่าง หากผู้รับประกันไม่จ่ายผลประโยชน์ของพนักงานทั้งหมด ในอนาคต ซึ่งเกิดจากการให้บริการของพนักงานในรอบระยะเวลาก่อนๆ และรอบ ระยะเวลาปัจจุบัน หากกิจการมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมานดังกล่าว กิจการต้อง ถือว่าโครงการนั้นเป็นโครงการผลประโยชน์ 47 ผลประโยชน์ที่มีการประกันตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่จําเป็นต้องมีความสัมพันธ์โดยตรงหรือ โดยอัตโนมัติกับภาระผูกพันของกิจการเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงาน โครงการผลประโยชน์ หลังออกจากงานที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ประกันภัยขึ้นอยู่กับการแยกข้อแตกต่างระหว่างการบัญชี และการจ่ายเงินเข้ากองทุน เช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ ที่มีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน 48 หากกิจการสมทบเงินทุนสําหรับภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานด้วย การซื้อกรมธรรม์ประกันภัย โดยที่กิจการยังคงมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจาก การอนุมานเกี่ยวกับผลประโยชน์นั้น ( ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมผ่านโครงการ โดยผ่าน กลไกการกําหนดเบี้ยประกันในอนาคต หรือโดยผ่านความสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้รับ ประกัน ) การจ่ายเบี้ยประกันไม่ถือรวมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเกี่ยวกับการสมทบเงิน กิจการจึงต้องปฏิบัติทุกขั้น ดังนี้ 48.1 ปฏิบัติกับกรมธรรม์ประกันภัยที่เข้าเงื่อนไขตามเกณฑ์เป็นสินทรัพย์โครงการ ( ตามย่อหน้าที่ 8) และ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 48.2 รับรู้กรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ เป็นสิทธิที่จะได้รับชดเชย ( หากกรมธรรม์เหล่านั้นเข้า หลักเกณฑ์ในย่อหน้าที่ 116) 49 หากกรมธรรม์ประกันภัยอยู่ในชื่อของผู้เข้าร่วมโครงการโดยเฉพาะหรือกลุ่มของผู้เข้าร่วม โครงการ และกิจการไม่มีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมานที่จะต้อง ชดเชยผลขาดทุนตามกรมธรรม์ กิจการไม่มีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายผลประโยชน์แก่พนักงาน ในขณะที่ผู้รับประกันจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบการจ่ายผลประโยชน์ดังกล่าว การจ่ายเบี้ยประกัน ในอัตราคงที่ตามกรมธรรม์ดังกล่าว โดยเนื้อหาแล้วเป็นการจ่ายชําระภาระผูกพันตามโครงการ ผลประโยชน์ของพนักงาน มากกว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้สามารถชําระภาระผูกพันได้ ดังนั้น กิจการจึงไม่ต้องบันทึกสินทรัพย์หรือหนี้สินอีกต่อไป และต้องถือว่าการจ่ายนั้นเป็นการสมทบ ตามโครงการสมทบเงิน ผลประโยชน์หลังออกจากงาน – โครงการสมทบเงินที่กําหนดไว้ 50 การบัญชีสําหรับโครงการสมทบเงินมีลักษณะตรงไปตรงมา เนื่องจากภาระผูกพันของกิจการ ที่รายงานในแต่ละรอบระยะเวลาถูกกําหนดโดยจํานวนที่สมทบในรอบระยะเวลานั้น ดังนั้น จึงไม่ต้องใช้ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อวัดมูลค่าของภาระ ผูกพันหรือค่าใช้จ่าย และไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลกําไรหรือขาดทุนจากการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย นอกจากนั้น ภาระผูกพันจะวัดมูลค่าตามหลักเกณฑ์โดยไม่ต้อง คิดลด เว้นแต่ภาระผูกพันดังกล่าวไม่ได้คาดว่าจะจ่ายชําระทั้งจํานวนก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบ ระยะเวลารายงานประจําปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 51 เมื่อพนักงานได้ให้บริการแก่กิจการในระหว่างรอบระยะเวลา กิจการต้องรับรู้เงินสมทบ ที่ต้องจ่ายให้โครงการสมทบเงินเพื่อตอบแทนสําหรับบริการที่พนักงานให้ โดย 51.1 รับรู้เป็นหนี้สิน ( ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ) หลังหักเงินสมทบที่จ่ายแล้ว ถ้าเงินสมทบ ที่จ่ายแล้วสูงกว่าเงินสมทบที่ครบกําหนดจ่ายก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องรับรู้ส่วนเกินนั้นเป็นสินทรัพย์ ( ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ) ภายใต้ขอบเขต ที่ว่าจํานวนที่มีการจ่ายล่วงหน้านั้นจะทําให้เกิดการลดลงของการจ่ายเงินในอนาคต หรือได้รับเงินสดกลับคืน 51.2 รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นจะกําหนดหรือ อนุญาตให้รวมเงินสมทบเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ เช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 52 หากส่วนของเงินสมทบตามโครงการสมทบเงินไม่ได้คาดว่าจะจ่ายชําระทั้งจํานวน ก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง กิจการต้องคิดลดเงินสมทบโดยใช้อัตราคิดลดตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 83

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 การเปิดเผยข้อมูล 53 กิจการต้องเปิดเผยจํานวนเงินที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายสําหรับโครงการสมทบเงิน 54 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 กําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินสมทบตามโครงการ สมทบเงินสําหรับผู้บริหารสําคัญ ผลประโยชน์หลังออกจากงาน – โครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ 55 การบัญชีสําหรับโครงการผลประโยชน์มีความซับซ้อน เนื่องจากกิจการต้องใช้ข้อสมมติใน การประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อวัดมูลค่าของภาระผูกพันและค่าใช้จ่าย และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัย นอกจากนั้น เนื่องจากกิจการอาจชําระภาระผูกพันหลังจากพนักงานให้บริการแล้ว เป็นเวลาหลายปี จะต้องวัดมูลค่าของภาระผูกพันตามหลักเกณฑ์การคิดลด การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 56 โครงการผลประโยชน์อาจไม่ได้จัดตั้งเป็นกองทุน หรืออาจจัดตั้งเป็นกองทุนที่กิจการจ่าย เงินสมทบทั้งหมด หรือบางส่วน และบางครั้งพนักงานร่วมสมทบด้วยโดยจ่ายสมทบเข้าไปใน กิจการหรือกองทุนที่แยกต่างหากตามกฎหมายจากกิจการที่เสนอรายงาน โดยผลประโยชน์ของ พนักงานจะจ่ายออกจากกองทุนดังกล่าว การจ่ายผลประโยชน์จากกองทุนเมื่อครบกําหนดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเพียงฐานะการเงินและผลการลงทุนของกองทุนเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความสามารถ และความตั้งใจของกิจการที่จะชดเชยเงินทุนส่วนที่ขาดไปของสินทรัพย์ในกองทุนด้วย ดังนั้น โดยเนื้อหาแล้วกิจการจึงรับประกันความเสี่ยงจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัยและความเสี่ยงจากการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น ค่าใช้จ่ายที่รับรู้สําหรับ โครงการผลประโยชน์จึงไม่จําเป็นต้องเท่ากับจํานวนเงินสมทบที่ต้องจ่ายในรอบระยะเวลาเท่านั้น 57 การบันทึกบัญชีสําหรับโครงการผลประโยชน์ มีขั้นตอนดังนี้ 57.1 กําหนดส่วนเกินหรือส่วนขาดในโครงการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 57.1.1 การใช้เทคนิคจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยด้วย วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ เพื่อจัดทําประมาณการต้นทุนรวม สุดท้ายของกิจการสําหรับจํานวนผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับแล้วเป็น การตอบแทนสําหรับบริการ ที่พนักงานให้ในรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบ ระยะเวลาก่อนๆ ได้อย่างน่าเชื่อถือ ( ตามย่อหน้าที่ 67 ถึง 69) วิธีนี้ทําให้ กิจการจะต้องกําหนดจํานวนผลประโยชน์ที่เป็นของรอบระยะเวลาปัจจุบันและ รอบระยะเวลาก่อนๆ ( ตามย่อหน้าที่ 70 ถึง 74) และจัดทําประมาณการ ( ตามข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ) เกี่ยวกับตัวแปรด้านประชากรศาสตร์ ( เช่น อัตราการหมุนเวียนของ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 พนักงานและอัตราการเสียชีวิต ) และตัวแปรด้านการเงิน ( เช่น เงินเดือน และค่ารักษาพยาบาลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ) ที่มีผลต่อต้นทุนของผลประโยชน์ ( ตามย่อหน้าที่ 75 ถึง 98) 57.1.2 คิดลดผลประโยชน์ดังกล่าว เพื่อกําหนดมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตาม โครงการผลประโยชน์และต้นทุนบริการปัจจุบัน ( ตามย่อหน้าที่ 67 ถึง 69 และ 83 ถึง 86) 57.1.3 หักมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการ ( ตามย่อหน้าที่ 113 ถึง 115) ออก จากมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ 57.2 กําหนดจํานวนเงินของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิเป็นจํานวนส่วน ขาดหรือส่วนเกินตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 57.1 ปรับปรุงด้วยผลกระทบของการ จํากั ดสินทรัพย์ผลประโยชน์ ที่ กํำหนดไว้สุทธิไม่ ให้ เกิ นเพดานของสินทรัพย์ ( ตามย่อหน้าที่ 64) 57.3 กําหนดจํานวนเงินที่จะรับรู้รายการในกําไรหรือขาดทุน 57.3.1 ต้นทุนบริการปัจจุบัน ( ตามย่อหน้าที่ 70 ถึง 74 และ 122 ก ) 57.3.2 ต้นทุนบริการในอดีตและผลกําไรหรือขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ ( ตามย่อหน้าที่ 99 ถึง 112) 57.3.3 ดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( ตาม ย่อหน้าที่ 123 ถึง 126) 57.4 กําหนดการวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิที่ จะรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ซึ่งประกอบด้วย 57.4.1 ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ( ตามย่อหน้าที่ 128 และ 129) 57.4.2 ผลตอบแทนของสินทรัพย์โครงการซึ่งไม่รวมจํานวนที่รวมอยู่ในดอกเบี้ยสุทธิที่ เกิดจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( ตามย่อหน้าที่ 130) และ 57.4.3 การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์ ( ตาม ย่อหน้าที่ 64) ซึ่งไม่รวมจํานวนที่รวมอยู่ในดอกเบี้ยสุทธิที่เกิดจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ หากกิจการมีโครงการผลประโยชน์มากกว่าหนึ่งโครงการ ให้กิจการปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ แยกตามแต่ละโครงการที่มีสาระสําคัญ 58 กิจการต้องกําหนดหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิให้เพียงพอโดย สมํ่าเสมอเพื่อไม่ทําให้จํานวนที่รับรู้ในงบการเงินแตกต่างอย่างมีสาระสําคัญจากจํานวน ที่ควรเป็น ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 59 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุน แต่ไม่บังคับให้กิจการใช้ผู้เชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์ ประกันภัยที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นผู้วัดมูลค่าภาระผูกพันของผลประโยชน์หลังออกจากงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 ที่มีสาระสําคัญทั้งหมด เหตุผลในทางปฏิบัติคือ กิจการอาจให้ผู้เชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์ ประกันภัยที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมวัดมูลค่าภาระผูกพันก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน อย่างไรก็ตาม ให้นําผลจากการวัดมูลค่าของรายการที่มีสาระสําคัญและสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสําคัญ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดและอัตราดอกเบี้ยมาทําให้ เป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 60 ในบางกรณี การประมาณการหาค่าเฉลี่ยและการคํานวณแบบลัด อาจให้ข้อมูลที่เพียงพอใน การประมาณที่เชื่อถือได้ ซึ่งทําให้กิจการอาจมิต้องคํานวณอย่างละเอียดตามที่แสดงในมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้ การบัญชีสําหรับภาระผูกพันจากการอนุมาน 61 กิจการต้องไม่บันทึกบัญชีเฉพาะภาระผูกพันตามกฎหมายภายใต้เงื่อนไขที่เป็นทางการของ โครงการผลประโยชน์เท่านั้น แต่ต้องบันทึกภาระผูกพันจากการอนุมานที่เกิดจากประเพณี ปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการของกิจการด้วย ประเพณีปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการทําให้เกิดภาระผูกพัน จากการอนุมาน ซึ่งกิจการไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการจ่ายผลประโยชน์ให้กับพนักงาน ตัวอย่างของภาระผูกพันจากการอนุมาน ตัวอย่างเช่น หากมีการเปลี่ยนแปลงประเพณี ปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการของกิจการจะเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถยอมรับได้ ต่อความสัมพันธ์กับพนักงาน 62 เงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการผลประโยชน์อาจอนุญาตให้กิจการบอกเลิกภาระผูกพัน ตามโครงการได้ อย่างไรก็ตาม การบอกเลิกโครงการ ( โดยไม่มีการจ่ายชําระ ) มักทําได้ยาก หากกิจการยังคงต้องว่าจ้างพนักงานอยู่ ดังนั้น หากไม่มีหลักฐานโต้แย้งเป็นอย่างอื่น การบัญชี สําหรับผลประโยชน์หลังออกจากงานถือว่ากิจการที่ในปัจจุบันสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ จะยังคงปฏิบัติตามสัญญานั้นตลอดอายุงานที่เหลืออยู่ของพนักงาน งบฐานะการเงิน 63 กิจการต้องรับรู้หนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิในงบฐานะการเงิน 64 เมื่อกิจการมีส่วนเกินจากโครงการผลประโยชน์ กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ผลประโยชน์ ที่กําหนดไว้สุทธิ ด้วยมูลค่าที่ตํ่ากว่าของ 64.1 ส่วนเกินจากโครงการผลประโยชน์ และ 64.2 เพดานของสินทรัพย์ที่กําหนดโดยใช้อัตราคิดลดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 83 65 สินทรัพย์ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิอาจเกิดจากการมีเงินสมทบเกินในโครงการผลประโยชน์ หรือจากการที่มีผลกําไรจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย กิจการรับรู้ สินทรัพย์ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิในกรณีดังกล่าว เนื่องจาก 65.1 กิจการควบคุมทรัพยากรคือสามารถนําเงินส่วนเกินไปสร้างผลประโยชน์ในอนาคตได้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 65.2 การควบคุมนั้นเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ( พนักงานได้ให้บริการและกิจการสมทบ เงินแล้ว ) และ 65.3 กิจการได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต โดยการลดเงินสมทบที่จะจ่ายในอนาคตลง หรือได้รับเงินสดคืน ไม่ว่าทางตรงแก่กิจการหรือทางอ้อมโดยโอนไปยังโครงการอื่นที่มี ส่วนขาด เพดานของสินทรัพย์คือมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ในอนาคตเหล่านั้น การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า – มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ ที่กําหนดไว้และต้นทุนบริการปัจจุบัน 66 ต้นทุนรวมสุดท้ายของโครงการผลประโยชน์อาจจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายชนิด เช่น เงินเดือน เดือนสุดท้าย อัตราการหมุนเวียนของพนักงานและอัตราการเสียชีวิต เงินสมทบพนักงาน และ แนวโน้มต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ต้นทุนรวมสุดท้ายของโครงการจึงไม่แน่นอนและความไม่แน่นอนนี้ จะยังคงอยู่เป็นระยะเวลานาน ในการวัดมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ หลังออกจากงานและต้นทุนบริการปัจจุบันที่เกี่ยวข้องจึงจําเป็นต้อง 66.1 ใช้วิธีการกําหนดมูลค่าจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ( ตาม ย่อหน้าที่ 67 ถึง 69) 66.2 กระจายผลประโยชน์ไปตามรอบระยะเวลาการบริการ ( ตามย่อหน้าที่ 70 ถึง 74) และ 66.3 ตั้งข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ( ตามย่อหน้าที่ 75 ถึง 98) วิธีกําหนดมูลค่าจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 67 กิจการต้องใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ในการกําหนดมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพัน ตามโครงการผลประโยชน์ ต้นทุนบริการปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง และต้นทุนบริการในอดีต ( ถ้ามี ) 68 วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ ( บางครั้งเรียกว่า วิธีผลประโยชน์ค้างจ่ายตามส่วนของ บริการ หรือวิธีผลประโยชน์ตามจํานวนปีหรือผลประโยชน์ที่ให้บริการ ) พิจารณาว่าการบริการ ในแต่ละรอบระยะเวลาก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับผลประโยชน์ ( ตามย่อหน้าที่ 70 ถึง 74) เพิ่มขึ้น ทีละหน่วย และวัดมูลค่าแต่ละหน่วยแยกจากกันเพื่อรวมเป็นภาระผูกพันโดยรวม ( ตามย่อหน้าที่ 75 ถึง 98)

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 68 กิจการกําหนดจ่ายผลประโยชน์ทั้งจํานวนเมื่อสิ้นสุดการจ้างเท่ากับร้อยละ 1 ของเงินเดือน เดือนสุดท้ายสําหรับแต่ละปีที่พนักงานให้บริการ เงินเดือนในปีที่ 1 คือ 10,000 บาท และ สมมติว่าแต่ละปีเงินเดือนเพิ่มขึ้นแบบทบต้นในอัตราร้อยละ 7 อัตราคิดลดเป็นร้อยละ 10 ต่อปี ตารางข้างล่างแสดงภาระผูกพันที่เพิ่มขึ้นสําหรับพนักงานรายหนึ่งที่คาดว่าจะออกจากงาน เมื่อสิ้นปีที่ 5 โดยสมมติว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติในการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อให้ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ตัวอย่างนี้ไม่รวมการปรับปรุง เพิ่มเติมที่จะสะท้อนความเป็นไปได้ที่พนักงานจะออกจากงานก่อนหรือหลังวันที่ที่คาดไว้ ปีที่ 1 2 3 4 5 ผลประโยชน์ที่เกิดจาก - ปีก่อน 0 131 262 393 524 - ปีปัจจุบัน (ร้อยละ 1 ของ เงินเดือน เดือนสุดท้าย ) 131 131 131 131 131 - ปีปัจจุบันและปีก่อน 131 262 393 524 655 ภาระผูกพันยกมา - 89 196 324 476 ดอกเบี้ยร้อยละ 10 - 9 20 33 48 ต้นทุนบริการปัจจุบัน 89 98 108 119 131 ภาระผูกพันสิ้นงวด 89 196 324 476 655 หมายเหตุ 1. ภาระผูกพันยกมา คือ มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ปีก่อนๆ 2. ต้นทุนบริการปัจจุบัน คือ มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ที่เกิดจากปีปัจจุบัน 3. ภาระผูกพันสิ้นงวด คือ มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ที่เกิดจากปีปัจจุบันและปีก่อนๆ 69 กิจการต้องคิดลดภาระผูกพันของผลประโยชน์หลังออกจากงานทั้งจํานวน แม้ภาระผูกพัน บางส่วนคาดว่าจะจ่ายชําระก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน การจัดสรรผลประโยชน์ไปยังรอบระยะเวลาที่มีการให้บริการ 70 ในการกําหนดมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ ต้นทุนบริการ ปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง และต้นทุนบริการในอดีต กิจการต้องกําหนดผลประโยชน์ไปยังรอบ ระยะเวลาบริการต่างๆ ตามสูตรการคํานวณผลประโยชน์ของโครงการ อย่างไรก็ดี ถ้าการ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 ให้บริการของพนักงานในปีหลังๆ จะทําให้ระดับของผลประโยชน์สูงกว่าปีก่อนๆ อย่างเป็น สาระสําคัญ กิจการต้องกําหนดการจัดสรรผลประโยชน์ตามวิธีเส้นตรง นับจาก 70.1 วันที่การให้บริการของพนักงานมีผลทําให้พนักงานเริ่มได้รับผลประโยชน์ตามโครงการ ( ไม่ว่าผลประโยชน์นั้นจะขึ้นกับเงื่อนไขของการให้บริการในอนาคตหรือไม่ ) จนถึง 70.2 วันที่การให้บริการของพนักงานไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ตามโครงการในระยะเวลา ต่อมาอย่างมีสาระสําคัญ นอกเหนือจากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต 71 วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ กําหนดให้กิจการจัดสรรผลประโยชน์ของรอบระยะเวลา ปัจจุบัน ( เพื่อคํานวณต้นทุนบริการปัจจุบัน ) และจัดสรรผลประโยชน์ทั้งรอบระยะเวลาปัจจุบัน และรอบระยะเวลาก่อนๆ ( เพื่อหามูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ ) กิจการจัดสรรผลประโยชน์ให้รอบระยะเวลาต่างๆ ตามรอบระยะเวลาที่ภาระผูกพันที่จะต้องให้ผล ประโยชน์หลังออกจากงานเกิดขึ้น ภาระผูกพันดังกล่าวจะเกิดเมื่อพนักงานให้บริการเพื่อ แลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์หลังออกจากงานที่กิจการคาดว่าจะจ่ายในรอบระยะเวลารายงานใน อนาคต วิธีการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยทําให้กิจการวัดมูลค่าภาระผูกพันได้ อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะใช้รับรู้เป็นหนี้สิน ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 71 1 โครงการผลประโยชน์กําหนดให้จ่ายผลประโยชน์ทั้งจํานวนเป็นจํานวน 100 โดยจ่ายเมื่อ พนักงานออกจากงานตามจํานวนปีที่พนักงานให้บริการ กิจการจัดสรรผลประโยชน์จํานวน 100 สําหรับแต่ละปี ต้นทุนบริการปัจจุบันมีมูลค่า ปัจจุบันจํานวน 100 ส่วนมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์มีมูลค่า เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนจํานวน 100 คูณด้วยจํานวนปีของการให้บริการ จนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ถ้ากิจการต้องจ่ายผลประโยชน์นั้นทันทีที่พนักงานออกจากงาน ต้นทุนบริการปัจจุบันและ มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์จะสะท้อนวันที่ที่คาดว่าพนักงาน จะออกจากงาน ดังนั้น เนื่องจากผลของการคิดลด จํานวนผลประโยชน์ข้างต้นจะน้อยกว่า จํานวนที่คํานวณได้หากพนักงานออกจากงาน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 2 โครงการกําหนดให้จ่ายบํานาญรายเดือนเป็นจํานวน ร้อยละ 0.2 ของเงินเดือนเดือน สุดท้าย สําหรับแต่ละปีที่ทํางาน และจะจ่ายตั้งแต่อายุ 65 ปี ผลประโยชน์จะเท่ากับมูลค่าปัจจุบัน ( ณ วันที่คาดว่าจะออกจากงาน ) ของบํานาญ รายเดือนร้อยละ 0.2 ของประมาณการเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่จะต้องจ่ายตั้งแต่วันที่ คาดว่าจะเกษียณไปจนถึงวันที่คาดว่าจะเสียชีวิต จะจัดสรรไปให้แต่ละปีที่ให้บริการ ต้นทุน บริการปัจจุบัน คือ มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์นั้น มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตาม โครงการผลประโยชน์ คือ มูลค่าปัจจุบันของบํานาญที่จ่ายรายเดือนเป็นจํานวนร้อยละ 0.2

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 71 ของเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจํานวนปีที่ให้บริการจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ต้นทุนบริการปัจจุบันและมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ต้องคิดลด เพราะการจ่ายบํานาญจะเริ่มตั้งแต่อายุครบ 65 ปี 72 บริการของพนักงานจะก่อให้เกิดภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ แม้ว่าผลประโยชน์นั้น จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการจ้างงานในอนาคต ( หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ผลประโยชน์ดังกล่าวยังไม่ ถือเป็นสิทธิขาดของพนักงาน ) กล่าวคือ การให้บริการของพนักงานก่อนวันที่ได้รับสิทธิขาดนั้น ก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมาน เนื่องจาก ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานต่อๆ มา จํานวน ของบริการที่พนักงานจะต้องให้ในอนาคตก่อนที่จะได้รับสิทธิขาดนั้นจะลดลง ทั้งนี้ในการวัดมูลค่า ภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ดังกล่าว กิจการจะต้องพิจารณาความเป็นไปได้ที่พนักงาน บางคนอาจไม่สามารถทําตามข้อกําหนดที่จะได้รับสิทธิขาด ในทํานองเดียวกัน แม้ว่าผลประโยชน์ หลังการจ้างงานบางอย่าง เช่น ค่ารักษาพยาบาลหลังการจ้างงานกิจการจะต้องจ่ายก็ต่อเมื่อ มีเหตุการณ์ที่ระบุไว้เกิดขึ้นภายหลังพ้นสภาพพนักงาน จะถือว่ามีภาระผูกพันเมื่อพนักงานได้ ให้บริการที่ทําให้ได้รับสิทธิที่จะรับผลประโยชน์ดังกล่าวเมื่อมีเหตุการณ์ที่ระบุไว้เกิดขึ้น ความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ที่ระบุไว้จะเกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อการวัดมูลค่าของภาระผูกพัน แต่ไม่ได้กําหนดว่าภาระผูกพันเกิดขึ้นหรือไม่ ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 72 1 โครงการจ่ายผลประโยชน์เป็นจํานวน 100 สําหรับแต่ละปีที่พนักงานให้บริการ แต่พนักงานจะได้รับสิทธิขาดเมื่อทํางานครบ 10 ปี กิจการควรจัดสรรผลประโยชน์จํานวน 100 ให้แต่ละปี โดยในแต่ละปีของ 10 ปีแรก ต้นทุนบริการปัจจุบันและมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันสะท้อนความเป็นไปได้ที่พนักงาน อาจให้บริการไม่ถึง 10 ปี 2 โครงการจ่ายผลประโยชน์เป็นจํานวน 100 สําหรับแต่ละปีที่ให้บริการ แต่ไม่รวมบริการ ก่อนอายุ 25 ปี และผลประโยชน์นั้นเป็นสิทธิขาดทันที บริการที่พนักงานให้ก่อนอายุ 25 ปีไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ เพราะก่อนวันที่ดังกล่าว บริการไม่ได้นําไปสู่ผลประโยชน์ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ผลประโยชน์ ในช่วงดังกล่าวไม่ได้รับการจัดสรรไว้ ทั้งนี้ ผลประโยชน์เป็นจํานวน 100 ต้องจัดสรรให้ แต่ละปีหลังจากพนักงานอายุครบ 25 ปีแล้ว 73 ภาระผูกพันจะเพิ่มขึ้นจนกว่าจะถึงวันที่การให้บริการของพนักงานในอนาคตไม่ทําให้ผลประโยชน์ เพิ่มขึ้นอย่างเป็นสาระสําคัญ ดังนั้น ผลประโยชน์ทั้งหมดจะจัดสรรให้รอบระยะเวลาบัญชีต่างๆ ที่สิ้นสุดในหรือก่อนวันที่ดังกล่าวตามสูตรการคํานวณผลประโยชน์ของโครงการ อย่างไรก็ตาม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 ถ้าการให้บริการของพนักงานในปีหลังๆ ทําให้ผลประโยชน์สูงกว่าปีก่อนอย่างเป็นสาระสําคัญ กิจการต้องจัดสรรผลประโยชน์ตามวิธีเส้นตรงจนกว่าจะถึงวันที่การให้บริการของพนักงานไม่ทํา ให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างเป็นสาระสําคัญอีกต่อไป ทั้งนี้ เพราะในที่สุดบริการที่พนักงานให้ ตลอดระยะเวลานั้นนําไปสู่ผลประโยชน์ในระดับที่สูงขึ้น ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 73 1 โครงการกําหนดจ่ายผลประโยชน์ทั้งจํานวนเป็นจํานวน 1,000 เมื่อพนักงานทํางานครบ 10 ปี โดยไม่จ่ายผลประโยชน์อื่นสําหรับการให้บริการของพนักงานหลังจากนั้น กิจการจัดสรรผลประโยชน์ให้แต่ละปีเป็นจํานวน 100 (1,000 หาร 10 ป ี ) ใน 10 ปีแรก ต้นทุนบริการปัจจุบันของแต่ละปีใน 10 ปีแรก สะท้อนความเป็นไปได้ที่พนักงานอาจ ทํางานไม่ครบ 10 ปี กิจการจะไม่ต้องจัดสรรผลประโยชน์หลังจากนั้น 2 โครงการกําหนดจ่ายผลประโยชน์หลังออกจากงานครั้งเดียวเป็นจํานวน 2,000 ให้แก่ พนักงานทุกคนที่ยังคงทํางานจนอายุครบ 55 ปี โดยมีอายุงานครบ 20 ปี หรือจ่าย ผลประโยชน์ให้พนักงานที่อายุครบ 65 ปี โดยไม่คํานึงถึงอายุงาน สําหรับพนักงานที่เข้างานก่อนอายุ 35 ปี การให้บริการจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ ตามโครงการเมื่ออายุครบ 35 ปี เท่านั้น ( พนักงานสามารถออกจากงานเมื่ออายุ 30 ปี และกลับมาทํางานเมื่ออายุ 33 ปี โดยไม่ส่งผลต่อจํานวนหรือเวลาที่จะได้รับผลประโยชน์ ) ทั้งนี้ ผลประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับการทํางานในอนาคต นอกจากนี้ การทํางานหลังจาก อายุเกินกว่า 55 ปี จะไม่กระทบต่อจํานวนผลประโยชน์หลังจากนั้นอย่างเป็นสาระสําคัญ ดังนั้นสําหรับพนักงานเหล่านี้กิจการจัดสรรผลประโยชน์ให้ทุกปี ปีละจํานวน 100 (2,000 หาร 20 ปี ) ตั้งแต่พนักงานอายุ 35 ถึง 55 ปี เท่านั้น สําหรับพนักงานที่เข้างานระหว่างอายุ 35 ป ี ถึง 45 ป ี การมีอายุงานเกิน 20 ป ี จะไม่ทํา ให้ผลประโยชน์หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นสาระสําคัญสําหรับพนักงานเหล่านี้ กิจการ จัดสรรผลประโยชน์ให้เป็นจํานวน 100 (2,000 หาร 20 ปี ) ต่อปี ใน 20 ปีแรก สําหรับพนักงานที่เข้างานเมื่ออายุ 55 ปี การมีอายุงานเกิน 10 ปี จะไม่ทําให้ ผลประโยชน์หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นสาระสําคัญ สําหรับพนักงานเหล่านี้กิจการ จัดสรรผลประโยชน์เป็นจํานวน 200 (2,000 หาร 10 ปี ) ต่อปี ใน 10 ปีแรก สําหรับพนักงานทั้งหมด ต้นทุนบริการปัจจุบันและมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันสะท้อน ความเป็นไปได้ที่พนักงานอาจทํางานไม่ครบตามระยะเวลาที่กําหนด 3 โครงการจ่ายค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงานกําหนดให้พนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี แต่ยังไม่ครบ 20 ปี สามารถเบิกชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้ร้อยละ 40 ของค่ารักษา พยาบาลหลังออกจากงานและพนักงานที่ออกจากงานหลังจากมีอายุงาน 20 ปี หรือ มากกว่า สามารถเบิกชดเชยได้ร้อยละ 50 ของค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 73 ตามสูตรการคํานวณผลประโยชน์ของโครงการ กิจการจัดสรรเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี ใน 10 ปีแรกของมูลค่าปัจจุบันของค่ารักษาพยาบาลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ( ร้อยละ 40 หาร 10 ปี ) และร้อยละ 1 ต่อปี ( ร้อยละ 10 หาร 10 ปี ) ในปีที่ 11 ถึง 20 ทั้งนี้ ต้นทุนบริการ ปัจจุบันของแต่ละปีสะท้อนความเป็นไปได้ที่พนักงานอาจทํางานไม่ครบตามระยะเวลาที่ กําหนดเพื่อที่จะได้รับบางส่วนหรือทั้งหมดของผลประโยชน์ กิจการไม่ได้จัดสรร ผลประโยชน์สําหรับพนักงานที่คาดว่าจะออกจากงานก่อนทํางานครบ 10 ปี 4 โครงการจ่ายค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงานกําหนดให้พนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี แต่ ยังไม่ ครบ 20 ปี สามารถเบิ กชดเชยค่ำรักษาพ ยาบาลได้ ร้อยละ 10 ของ ค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน และพนักงานที่ออกจากงานหลังจากมีอายุงาน 20 ปี หรือมากกว่า สามารถเบิกชดเชยได้ร้อยละ 50 ของค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน การให้บริการของพนักงานในปีหลังๆ จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็น สาระสําคัญมากกว่าปีแรกๆ ดังนั้น สําหรับพนักงานที่คาดว่าจะออกจากงานหลังอายุงาน ครบ 20 ปีหรือมากกว่า กิจการจัดสรรผลประโยชน์ตามวิธีเส้นตรงตามย่อหน้าที่ 68 สําหรับพนักงานที่มีอายุงานเกิน 20 ปีนั้น ไม่ทําให้ผลประโยชน์หลังจากนั้นเพิ่มขึ้น อย่างเป็นสาระสําคัญดังนั้นผลประโยชน์ที่จัดสรรให้แต่ละปีใน 20 ปีแรก คือ ร้อยละ 2.5 ของมูลค่าปัจจุบันของค่ารักษาพยาบาลที่คาดว่าจะเกิด ( ร้อยละ 50 หาร 20 ปี ) สําหรับพนักงานที่คาดว่าจะออกจากงานระหว่างอายุงาน 10 ถึง 20 ปี กิจการจัดสรร ผลประโยชน์เท่ากับร้อยละ 1 ต่อปีใน 10 ปีแรกของมูลค่าปัจจุบันของค่ารักษาพยาบาล ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจการไม่ได้จัดสรรผลประโยชน์ให้กับพนักงานเหล่านี้สําหรับ การทํางานตั้งแต่สิ้นปีที่ 10 ถึงวันที่ที่คาดว่าจะออกจากงาน กิจการไม่จัดสรรผลประโยชน์ สําหรับพนักงานที่คาดว่าจะออกจากงานก่อนทํางานครบ 10 ปี 74 หากจํานวนผลประโยชน์คิดเป็นสัดส่วนที่แน่นอนของเงินเดือนเดือนสุดท้ายของแต่ละปี ที่ให้บริการ เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นในอนาคตจะมีผลต่อจํานวนเงินที่ต้องมีเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพัน ที่เกิดขึ้นสําหรับบริการที่พนักงานให้ก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน แต่ไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพัน เพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น 74.1 เพื่อการพิจารณาตามย่อหน้าที่ 70.2 เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นไม่ทําให้เกิดผลประโยชน์ อีกต่อไป แม้ว่าจํานวนผลประโยชน์จะขึ้นกับเงินเดือนเดือนสุดท้าย และ 74.2 จํานวนผลประโยชน์ที่กําหนดในแต่ละรอบระยะเวลาเป็นสัดส่วนที่แน่นอนของ เงินเดือนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นั้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 31 ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 74 พนักงานจะได้รับผลประโยชน์ร้อยละ 3 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย สําหรับแต่ละปีที่ให้บริการ ก่อนอายุครบ 55 ปี กิจการจัดสรรผลประโยชน์ร้อยละ 3 ของเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่คาดไว้ในแต่ละปีจนพนักงาน มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นวันที่การให้บริการหลังจากนั้นจะไม่ทําให้ผลประโยชน์หลังจากนั้น ภายใต้โครงการเพิ่มขึ้นอย่างเป็นสาระสําคัญ กิจการจึงไม่จัดสรรผลประโยชน์สําหรับ การบริการภายหลังอายุดังกล่าวอีก ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 75 ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องเป็นกลางและสอดคล้อง ซึ่งกันและกัน 76 ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย คือ ประมาณการที่ดีที่สุดของ กิจการเกี่ยวกับตัวแปรที่จะกําหนดต้นทุนขั้นสุดท้ายของผลประโยชน์หลังออกจากงานที่ให้ พนักงาน ซึ่งประกอบด้วย 76.1 ข้อสมมติด้านประชากรศาสตร์เกี่ยวกับลักษณะในอนาคตของพนักงานปัจจุบันและ อดีตพนักงาน ( รวมถึงผู้อยู่ในการอุปการะ ) ที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ ซึ่งเกี่ยวข้อง กับเรื่องต่างๆ เช่น 76.1.1 อัตราการเสียชีวิต ( ตามย่อหน้าที่ 81 และ 82) 76.1.2 อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน การทุพพลภาพ และการเกษียณอายุก่อนกําหนด 76.1.3 สัดส่วนของสมาชิกของโครงการและผู้อยู่ในการอุปการะที่มีสิทธิได้รับ ผลประโยชน์ 76.1.4 สัดส่วนของสมาชิกของโครงการซึ่งจะเลือกรูปแบบของทางเลือกการจ่าย ชําระที่มีอยู่ภายใต้เงื่อนไขของแผน และ 76.1.5 อัตราการเรียกร้องให้จ่ายเงินตามโครงการการจ่ายค่ารักษาพยาบาล 76.2 ข้อสมมติทางการเงินเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ เช่น 76.2.1 อัตราคิดลด ( ตามย่อหน้าที่ 83 ถึง 86) 76.2.2 ระดับผลประโยชน์ ซึ่งไม่รวมถึงต้นทุนของผลประโยชน์ของพนักงานที่ พนักงานได้รับและเงินเดือนในอนาคต ( ตามย่อหน้าที่ 87 ถึง 95) 76.2.3 กรณีผลประโยชน์ด้านค่ารักษาพยาบาล ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลในอนาคต รวมทั้งต้นทุนการจัดการค่าสินไหมทดแทน ( กล่าวคือ ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นใน กระบวนการเรียกร้องและจัดการค่าสินไหมทดแทน รวมถึงค่าธรรมเนียม ทางกฎหมายและค่าธรรมเนียมสําหรับผู้เจรจาตกลง ) ( ตามย่อหน้าที่ 96 ถึง 98) และ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 76.2.4 ภาษีค้างจ่ายสําหรับโครงการสมทบเงินที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการก่อน วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน หรือผลประโยชน์จากการให้บริการนั้น 77 ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะเป็นกลางหากไม่ใช้วิธีที่ ไม่ระมัดระวังหรือระมัดระวังมากจนเกินไป 78 ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะสอดคล้องซึ่งกันและกัน หากข้อสมมตินั้นสะท้อนความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น และอัตราคิดลด ตัวอย่างเช่น ข้อสมมติทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระดับ เงินเฟ้อบางระดับ ( เช่น ข้อสมมติเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนและ ผลประโยชน์ ) ในรอบระยะเวลาอนาคตที่รอบระยะเวลาใดรอบระยะเวลาหนึ่ง จะใช้ระดับอัตรา เงินเฟ้อระดับเดียวกัน ในช่วงเวลานั้น 79 กิจการกําหนดอัตราคิดลดและข้อสมมติทางการเงินอย่างอื่นตามอัตราที่ประกาศ เว้นแต่ การประมาณตามอัตราที่แท้จริง ( ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ ) จะน่าเชื่อถือมากกว่า เช่น ในประเทศ ที่มีภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ( มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 เรื่อง การรายงานทางการเงินใน สภาพเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อรุนแรง ) หรือหากผลประโยชน์เชื่อมโยงกับดัชนี และหุ้นกู้ที่เชื่อมโยง กับดัชนีในสกุลเงินและเงื่อนไขเดียวกันนั้นมีการซื้อขายอย่างหนาแน่นในตลาด 80 ข้อสมมติทางการเงินต้องอยู่บนพื้นฐานของความคาดหวังของตลาด ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงานสําหรับรอบระยะเวลาที่ภาระผูกพันได้รับการชําระ ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย – อัตราการเสียชีวิต 81 กิจการต้องกําหนดข้อสมมติของอัตราการเสียชีวิตตามการอ้างอิงของการประมาณการที่ดีที่สุด ของอัตราการเสียชีวิตของสมาชิกโครงการทั้งระหว่างการจ้างงานและภายหลังการจ้างงาน 82 เพื่อให้สามารถประมาณการต้นทุนขั้นสุดท้ายของผลประโยชน์ กิจการต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลง ของอัตราการเสียชีวิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น การแก้ไขของตารางมรณะพื้นฐานด้วยประมาณการ ที่ดีขึ้นของอัตราการเสียชีวิต ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย – อัตราคิดลด 83 อัตราที่ใช้คิดลดภาระผูกพันของผลประโยชน์หลังออกจากงาน ( ทั้งที่มีกองทุนและไม่มี กองทุน ) ต้องกําหนดโดยอ้างอิงกับอัตราผลตอบแทนในท้องตลาด ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงานของหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ดี สําหรับสกุลเงินที่ หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับดี มีการซื้อขายในตลาดน้อย ให้ใช้อัตรา ผลตอบแทนในท้องตลาดของพันธบัตรรัฐบาลในสกุลเงินดังกล่าว ( ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงาน ) โดยสกุลเงิน และระยะเวลาของหุ้นกู้ภาคเอกชนหรือพันธบัตรรัฐบาลต้องสอดคล้อง กับสกุลเงินและระยะเวลาโดยประมาณของภาระผูกพันของผลประโยชน์หลังออกจากงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 84 ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญ คือ อัตราคิดลด ซึ่งเป็นตัวสะท้อนค่าของเงินตามเวลา แต่ไม่สะท้อนความเสี่ยงในการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือความเสี่ยงในการลงทุน นอกจากนี้ ยังไม่สะท้อนความเสี่ยง ด้านเครดิตเฉพาะของกิจการที่เกิดกับเจ้าหนี้ของกิจการ และความเสี่ยงที่เหตุการณ์ในอนาคต อาจแตกต่างจากข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยได้ 85 อัตราคิดลดสะท้อนประมาณการของจังหวะเวลาของการจ่ายผลประโยชน์ ในทางปฏิบัติกิจการ มักใช้อัตราคิดลดถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักอัตราเดียวที่สะท้อนจังหวะเวลาที่ประมาณขึ้น จํานวนเงิน ของการจ่ายผลประโยชน์ และสกุลเงินของผลประโยชน์ที่จะจ่าย 86 ในบางกรณี อาจไม่มีตลาดการซื้อขายหุ้นกู้ที่มีการซื้อขายมากและมีระยะเวลาครบกําหนด ยาวนานเพียงพอ และสอดคล้องกับอายุโดยประมาณของการจ่ายผลประโยชน์ทั้งหมด ในกรณีนั้น กิจการจะใช้อัตราตลาดปัจจุบันที่เหมาะสมกับเวลาคิดลดการจ่ายเงินในช่วงเวลาที่สั้นกว่า และ ประมาณอัตราคิดลดสําหรับช่วงเวลาครบกําหนดที่ยาวกว่าโดยการเทียบสัดส่วนจากอัตราตลาด ปัจจุบันตามเส้นอัตราผลตอบแทน มูลค่าปัจจุบันทั้งหมดของภาระผูกพันตามโครงการ ผลประโยชน์มักจะไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราคิดลดที่ใช้กับส่วนของผลประโยชน์ที่ครบกําหนด จ่ายภายหลังระยะเวลาครบกําหนดของหุ้นกู้หรือพันธบัตรรัฐบาลที่มีอยู่ในท้องตลาด ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย - เงินเดือน ผลประโยชน์ และค่ารักษาพยาบาล 87 กิจการต้องวัดมูลค่าภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ของพนักงานนั้น โดยใช้เกณฑ์ ที่สะท้อนให้เห็นถึง 87.1 ผลประโยชน์ตามเงื่อนไขที่ระบุในโครงการ ( หรือเกิดจากภาระผูกพันจากการอนุมาน ที่นอกเหนือจากเงื่อนไขนั้น ) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 87.2 เงินเดือนที่ประมาณว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตที่กระทบต่อผลประโยชน์ค้างจ่าย 87.3 ผลกระทบของการจํากัดใดๆ ที่เกี่ยวกับส่วนแบ่งของนายจ้างที่เป็นต้นทุนของ ผลประโยชน์ในอนาคต 87.4 เงินสมทบจากพนักงานหรือบุคคลที่สามที่ทําให้กิจการลดต้นทุนรวมสุดท้ายของ ผลประโยชน์เหล่านั้น และ 87.5 การเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ประมาณไว้ของผลประโยชน์ระดับภาครัฐที่มีผลต่อ การจ่ายผลประโยชน์ตามโครงการผลประโยชน์ ทั้งนี้เฉพาะเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้เท่านั้น 87.5.1 การเปลี่ยนแปลงนั้นบังคับใช้ก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน หรือ 87.5.2 ข้อมูลในอดีตหรือหลักฐานอื่นๆ ที่เชื่อถือได้บ่งชี้ว่าผลประโยชน์ระดับ ภาครัฐจะเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่คาดการณ์ได้ เช่น เป็นไปตาม การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาทั่วไปหรือระดับเงินเดือนทั่วไปในอนาคต

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 88 ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของ ผลประโยชน์ในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการ ( หรือภาระผูกพัน จากการอนุมานที่นอกเหนือจากเงื่อนไขนั้น ) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ตัวอย่างเช่น 88.1 กิจการมีประวัติการให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นในอดีต เพื่อบรรเทาผลกระทบของอัตรา เงินเฟ้อเป็นต้น และไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัตินั้นในอนาคต 88.2 กิจการผูกพันไม่ว่าโดยเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการ ( หรือภาระผูกพันจาก การอนุมานที่นอกเหนือจากเงื่อนไขนั้น ) หรือโดยกฎหมาย ให้ใช้ส่วนเกินของโครงการ เพื่อผลประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการ ( ตามย่อหน้าที่ 108.3) หรือ 88.3 ผลประโยชน์อาจแตกต่างกันไปตามเป้าหมายผลการปฏิบัติงานหรือหลักเกณฑ์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขของโครงการอาจระบุว่า การจ่ายผลประโยชน์อาจลดลงหรือต้องมี การสมทบเงินเพิ่มเติมจากพนักงานหากสินทรัพย์โครงการมีไม่เพียงพอ การวัดมูลค่า ของภาระผูกพันสะท้อนให้เห็นถึงประมาณการที่ดีที่สุดจากผลกระทบของเป้าหมาย ผลการปฏิบัติงานหรือหลักเกณฑ์อื่นๆ 89 ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของ ผลประโยชน์ในอนาคตที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการ ( หรือภาระผูกพันจาก การอนุมาน ) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อ 89.1 ต้นทุนบริการในอดีต ถ้าการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อผลประโยชน์ที่ให้สําหรับบริการ ที่เกิดก่อนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และ 89.2 ต้นทุนบริการปัจจุบันในรอบระยะเวลาหลังการเปลี่ยนแปลง ถ้าการเปลี่ยนแปลงส่งผล ต่อผลประโยชน์ที่ให้สําหรับบริการที่เกิดหลังการเปลี่ยนแปลง 90 การประมาณของอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นในอนาคตต้องคํานึงถึงอัตราเงินเฟ้อ ความอาวุโส การเลื่อนตําแหน่ง และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปสงค์และอุปทานในตลาดแรงงาน 91 โครงการผลประโยชน์บางโครงการจํากัดจํานวนเงินที่กิจการต้องจ่ายสมทบ ต้นทุนขั้นสุดท้ายของ ผลประโยชน์จะคํานึงถึงผลกระทบจากข้อจํากัดของจํานวนเงินที่กิจการจ่ายสมทบ ผลกระทบจาก ข้อจํากัดของการสมทบเงินดังกล่าวจะถูกกําหนดจากระยะเวลาที่สั้นกว่าระหว่าง 91.1 อายุโดยประมาณของกิจการ และ 91.2 อายุโดยประมาณของโครงการ 92 โครงการผลประโยชน์บางโครงการกําหนดให้พนักงานหรือบุคคลที่สามจ่ายสมทบต้นทุนของ โครงการ การสมทบเงินโดยพนักงานจะช่วยให้กิจการลดต้นทุนของผลประโยชน์ กิจการพิจารณา ว่าการสมทบเงินโดยบุคคลที่สามจะลดต้นทุนของโครงการผลประโยชน์ให้กับกิจการหรือเป็นสิทธิ ที่จะได้รับการชดเชยตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 116 การสมทบเงินโดยพนักงานหรือบุคคลที่สาม อาจกําหนดตามเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการ ( หรือภาระผูกพันจากการอนุมานที่นอกเหนือจาก เงื่อนไขนั้น ) หรือเป็นการตัดสินใจร่วมกัน การสมทบเงินที่เป็นการตัดสินใจร่วมกันโดยพนักงาน หรือบุคคลที่สามจะลดต้นทุนการบริการตามการจ่ายสมทบเงินเข้าโครงการ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 93 เงินสมทบจากพนักงานหรือบุคคลที่สามที่กําหนดไว้ตามเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการ จะลดต้นทุนบริการ ( หากมีความเชื่อมโยงกับการให้บริการ ) หรือกระทบต่อการวัดมูลค่าใหม่ ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( หากไม่มีความเชื่อมโยงกับการให้บริการ ) ตัวอย่างของเงินสมทบที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับการให้บริการ เช่น กรณีที่ต้องมีการสมทบเงิน เพื่อลดส่วนขาดที่เกิดขึ้นจากผลขาดทุนของสินทรัพย์โครงการหรือจากผลขาดทุนจาก การประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย หากเงินสมทบจากพนักงานหรือบุคคลที่สาม มีความเชื่อมโยงกับการให้บริการ เงินสมทบดังกล่าวจะลดต้นทุนบริการดังนี้ 93.1 ถ้าจํานวนของเงินสมทบขึ้นอยู่กับจํานวนปีของการบริการ กิจการต้องจัดสรรเงินสมทบ ไปยังทุกรอบระยะเวลาที่มีการให้บริการตามวิธีการจัดสรรในย่อหน้าที่ 70 สําหรับ ผลประโยชน์ขั้นต้น ( กล่าวคือ ใช้สูตรการคํานวณเงินสมทบของโครงการ หรือใช้วิธี เส้นตรง ) หรือ 93.2 ถ้าจํานวนของเงินสมทบไม่ได้ขึ้นอยู่กับจํานวนปีของการบริการ กิจการสามารถรับรู้ เงินสมทบดังกล่าวโดยนําไปลดต้นทุนบริการในรอบระยะเวลาที่มีการให้บริการแล้ว ตัวอย่างของเงินสมทบที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจํานวนปีของการบริการ จะรวมถึง กรณีที่เงิน สมทบเป็นอัตราร้อยละคงที่ของเงินเดือนพนักงาน หรือเป็นจํานวนเงินคงที่ตลอด รอบระยะเวลาที่มีการให้บริการหรือขึ้นอยู่กับอายุของพนักงาน ย่อหน้าที่ 1 ของภาคผนวก ก ให้แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง 94 สําหรับเงินสมทบจากพนักงานหรือบุคคลที่สามที่มีการจัดสรรไปยังรอบระยะเวลาที่มีการ ให้บริการตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 93.1 การเปลี่ยนแปลงในเงินสมทบส่งผลต่อ 94.1 ต้นทุนบริการในปัจจุบันและต้นทุนบริการในอดีต ( หากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้ กําหนดไว้ตามเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการและไม่ได้เกิดขึ้นจากภาระผูกพันจาก การอนุมาน ) หรือ 94.2 ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณ การตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย ( หากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้กําหนดไว้ตามเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการ หรือเกิดขึ้นจากภาระผูกพันจากการอนุมาน ) 95 ผลประโยชน์หลังออกจากงานบางประเภทเชื่อมโยงกับตัวแปรอื่นๆ เช่น ระดับของผลประโยชน์ เมื่อออกจากงานระดับภาครัฐ หรือค่ารักษาพยาบาลระดับภาครัฐ การวัดมูลค่าผลประโยชน์ ดังกล่าวสะท้อนถึงประมาณการที่ดีที่สุดของตัวแปรเหล่านั้นโดยอ้างอิงกับข้อมูลในอดีตและ หลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ 96 ข้อสมมติเกี่ยวกับต้นทุนค่ารักษาพยาบาลต้องรวมประมาณการการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ของต้นทุนค่ารักษาพยาบาลอันเกิดจากทั้งอัตราเงินเฟ้อและการเปลี่ยนแปลงส่วนที่เป็น ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล 97 การวัดมูลค่าผลประโยชน์จากการรักษาพยาบาลหลังออกจากงานต้องอาศัยข้อสมมติเกี่ยวกับ ระดับและความถี่ของสิทธิเรียกร้องให้จ่ายเงินในอนาคตและต้นทุนของสิทธิเรียกร้อง ให้จ่ายเงินนั้น กิจการประมาณต้นทุนค่ารักษาพยาบาลในอนาคตจากข้อมูลในอดีตตาม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 ประสบการณ์ของกิจการเอง และเมื่อจําเป็นอาจใช้ข้อมูลอื่นในอดีตจากกิจการอื่นๆ ผู้รับประกัน ผู้ให้บริการทางการแพทย์ หรือแหล่งอื่นๆ ประกอบ นอกจากนี้ ยังคํานึงถึงผลกระทบของ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาพยาบาล หรือรูปแบบการให้บริการและ การเปลี่ยนแปลงสุขภาพพลานามัยของผู้เข้าร่วมโครงการ 98 ระดับและความถี่ของสิทธิเรียกร้องให้จ่ายเงินมักเป็นผลเฉพาะตัวจากอายุ สุขภาพ และเพศของ พนักงาน ( และผู้ที่พนักงานให้การอุปการะ ) และอาจเป็นผลจากปัจจัยอื่น เช่น ตําแหน่ง ทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น จะมีการปรับปรุงข้อมูลในอดีตเมื่อส่วนประกอบทางประชากรศาสตร์ของ ประชากรแตกต่างจากข้อมูลในอดีตที่ใช้ และจะมีการปรับปรุงเมื่อมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า แนวโน้มในอดีตจะไม่เป็นไปเช่นนั้นอีกต่อไปในอนาคต ต้นทุนบริการในอดีตและผลกําไรและขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ 99 ในการกําหนดต้นทุนบริการในอดีตหรือผลกําไรหรือขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ กิจการต้องวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ โดยใช้มูลค่า ยุติธรรมปัจจุบันของสินทรัพย์โครงการและข้อสมมติในการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยในปัจจุบัน ( รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยในตลาดปัจจุบันและราคาตลาด ปัจจุบันอื่น ) ที่สะท้อนถึง 99.1 ผลประโยชน์ที่นําเสนอภายใต้โครงการก่อนการแก้ไขโครงการ การลดขนาด โครงการลง หรือการจ่ายชําระผลประโยชน์ และ 99.2 ผลประโยชน์ที่นําเสนอภายใต้โครงการหลังการแก้ไขโครงการ การลดขนาด โครงการลง หรือการจ่ายชําระผลประโยชน์ 100 กิจการไม่จําเป็นต้องแยกระหว่างต้นทุนบริการในอดีตที่เป็นผลมาจากการแก้ไขโครงการ ต้นทุนบริการในอดีตที่เป็นผลมาจากการลดขนาดโครงการลง และผลกําไรหรือขาดทุนจาก การจ่ายชําระผลประโยชน์ หากรายการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกัน ในบางกรณี การแก้ไขโครงการ เกิดขึ้นก่อนการจ่ายชําระผลประโยชน์ เช่น เมื่อกิจการเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ภายใต้โครงการ และจ่ายชําระผลประโยชน์ที่มีการแก้ไขในภายหลัง ในกรณีดังกล่าวนั้น กิจการรับรู้ต้นทุนบริการ ในอดีตก่อนผลกําไรหรือขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ 101 การจ่ายชําระผลประโยชน์จะเกิดขึ้นพร้อมกับการแก้ไขโครงการและการลดขนาดโครงการลง หากโครงการถูกยกเลิกและส่งผลให้มีการจ่ายชําระภาระผูกพันและโครงการสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม การยกเลิกโครงการไม่ถือว่าเป็นการจ่ายชําระผลประโยชน์หากโครงการดังกล่าวถูกแทนที่ด้วย โครงการใหม่ที่เสนอผลประโยชน์ที่เหมือนกันในสาระสําคัญ 101 ก เมื่อการแก้ไขโครงการ การลดขนาดโครงการลง หรือการจ่ายชําระผลประโยชน์เกิดขึ้น กิจการ ต้องรับรู้และวัดมูลค่าต้นทุนบริการในอดีตและผลกําไรหรือขาดทุนจากการจ่ายชําระ ผลประโยชน์ตามย่อหน้าที่ 99 ถึง 101 และ 102 ถึง 112 โดยกิจการต้องไม่คํานึงถึงผลกระทบ ของเพดานของสินทรัพย์ หลังจากนั้น กิจการต้องกําหนดผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 หลังการแก้ไขโครงการ การลดขนาดโครงการลง หรือการจ่ายชําระผลประโยชน์ และต้องรับรู้ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในผลกระทบนั้นตามย่อหน้าที่ 57.4 ต้นทุนบริการในอดีต 102 ต้นทุนบริการในอดีตเป็นการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการ ผลประโยชน์ที่เป็นผลมาจากการแก้ไขโครงการหรือการลดขนาดโครงการลง 103 กิจการต้องรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อวันใดวันหนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อน 103.1 เมื่อมีการแก้ไขโครงการหรือการลดขนาดโครงการลง และ 103.2 เมื่อกิจการรับรู้ต้นทุนการปรับโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37) หรือผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง ( ตามย่อหน้าที่ 165) 104 การแก้ไขโครงการจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการมีการจัดตั้ง หรือยกเลิกโครงการผลประโยชน์ หรือ เปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ค้างจ่ายภายใต้โครงการผลประโยชน์ที่มีอยู่ 105 การลดขนาดโครงการลงจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการลดจํานวนพนักงานที่เข้าร่วมโครงการลงอย่างมีนัยสําคัญ การลดขนาดโครงการลงอาจเกิดจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การปิดโรงงาน การยกเลิกการดําเนินงาน หรือการยกเลิกหรือการระงับโครงการ 106 ต้นทุนบริการในอดีตอาจเป็นบวก ( เมื่อผลประโยชน์มีการกําหนดเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์เพิ่มขึ้น ) หรือติดลบ ( เมื่อผลประโยชน์ถูกไถ่ถอนหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการ ผลประโยชน์ลดลง ) 107 เมื่อกิจการลดผลประโยชน์ค้างจ่ายภายใต้โครงการผลประโยชน์ที่มีอยู่ และในเวลาเดียวกัน กิจการได้เพิ่มผลประโยชน์ค้างจ่ายอื่นภายใต้โครงการนั้นให้กับพนักงานคนเดียวกัน กิจการต้อง ปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยจํานวนการเปลี่ยนแปลงสุทธิ 108 ต้นทุนบริการในอดีต ไม่รวมถึง 108.1 ผลกระทบของผลต่างระหว่างเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นจริงกับการเพิ่มขึ้นที่ประมาณไว้ที่มีต่อ ภาระผูกพันที่จะจ่ายผลประโยชน์สําหรับบริการที่ได้รับในปีก่อนๆ ( ไม่ถือเป็นต้นทุน บริการในอดีต เนื่องจากข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย อนุญาตให้ใช้เงินเดือนที่ประมาณในอนาคตอยู่แล้ว ) 108.2 การเพิ่มขึ้นของประมาณการจ่ายบํานาญที่สูงหรือตํ่าไป เกิดจากกิจการมีภาระผูกพัน จากการอนุมานที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ( ไม่ถือเป็นต้นทุนบริการในอดีต เนื่องจากข้อสมมติ ในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยอนุญาตให้รวมส่วนเพิ่มนี้แล้ว ) 108.3 ประมาณการการปรับปรุงผลประโยชน์ที่เป็นผลจากกําไรจากการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือผลตอบแทนจากสินทรัพย์โครงการที่รับรู้แล้วใน งบการเงิน หากกิจการมีภาระผูกพันให้ทําตามเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการ ( หรือภาระผูกพันจากการอนุมานนอกเหนือจากเงื่อนไขดังกล่าว ) หรือที่เป็นไปตามที่

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 38 กฎหมายกําหนดให้ใช้ส่วนเกินของโครงการเพื่อประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการ แม้ว่า ผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไม่ได้รับอย่างเป็นทางการ ( ไม่ถือเป็นต้นทุนบริการในอดีต เนื่องจากผลของภาระผูกพันที่เพิ่มขึ้นนี้คือผลขาดทุนจากการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย ( ตามย่อหน้าที่ 88)) และ 108.4 การเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์ที่เป็นสิทธิขาด ( กล่าวคือ ผลประโยชน์ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขของการจ้างงานในอนาคตตามย่อหน้าที่ 72) เมื่อพนักงานมีคุณสมบัติครบ ตามเกณฑ์ ทั้งนี้ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่ปรับปรุงหรือกําหนดขึ้นใหม่ ( ไม่ถือเป็นต้นทุนบริการในอดีต เนื่องจากกิจการรับรู้ต้นทุนของผลประโยชน์ที่ ประมาณการขึ้นเป็นต้นทุนบริการปัจจุบันเมื่อให้บริการแล้ว ) ผลกําไรและขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ 109 ผลกําไรหรือขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์เป็นผลต่างระหว่าง 109.1 มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ที่ต้องจ่ายชําระ ตามที่กําหนด ณ วันที่จ่ายชําระผลประโยชน์ และ 109.2 ราคาของการจ่ายชําระผลประโยชน์ รวมถึงสินทรัพย์โครงการที่โอน และการจ่ายชําระ โดยตรงของกิจการที่เกี่ยวข้องการจ่ายชําระผลประโยชน์ 110 กิจการต้องรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ของโครงการผลประโยชน์ เมื่อการจ่ายชําระผลประโยชน์เกิดขึ้น 111 การจ่ายชําระผลประโยชน์เกิดขึ้นเมื่อกิจการทํารายการที่จะขจัดภาระผูกพันตามกฎหมายหรือ ภาระผูกพันจากการอนุมานที่จะเกิดขึ้นสําหรับผลประโยชน์บางส่วนหรือทั้งหมดภายใต้โครงการ ผลประโยชน์ ( นอกเหนือจากการจ่ายผลประโยชน์ให้พนักงานหรือให้แก่บุคคลอื่นในนามของ พนักงานตามที่ได้กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ และรวมอยู่ในข้อสมมติที่ใช้ในการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ) ตัวอย่างเช่น การโอนภาระผูกพันของนายจ้างภายใต้โครงการ ที่มีนัยสําคัญในครั้งเดียวให้กับผู้รับประกันภัยผ่านการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยถือเป็นการจ่าย ชําระผลประโยชน์ การจ่ายเงินสดทั้งจํานวนตามเงื่อนไขของโครงการให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิของผู้เข้าร่วมโครงการที่จะได้รับผลประโยชน์หลังออกจากงานที่ระบุไว้ไม่ ถือว่าเป็นการจ่ายชําระผลประโยชน์ 112 ในบางกรณี กิจการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อเป็นการจัดหาเงินทุนสําหรับผลประโยชน์ของ พนักงานบางส่วนหรือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบริการที่พนักงานให้ในรอบระยะเวลาปัจจุบันและ รอบระยะเวลาก่อนๆ การซื้อกรมธรรม์นั้นไม่ถือเป็นการจ่ายชําระผลประโยชน์หากกิจการยังคงไว้ ซึ่งภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน ( ตามย่อหน้าที่ 46) ที่จะต้องจ่าย จํานวนเงินเพิ่มเติมในภายหลังในกรณีที่ผู้รับประกันไม่จ่ายผลประโยชน์ของพนักงานตามที่ระบุ ไว้ในกรมธรรม์ ย่อหน้าที่ 116 ถึง 119 กําหนดวิธีการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของสิทธิที่จะ ได้รับชดเชยตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่จัดเป็นสินทรัพย์โครงการ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 39 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า – สินทรัพย์โครงการ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการ 113 มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการใดๆ จะถูกหักออกจากมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตาม โครงการผลประโยชน์ในการกําหนดส่วนตํ่าหรือส่วนเกิน 114 สินทรัพย์โครงการไม่รวมถึงเงินสมทบที่กิจการที่เสนอรายงานยังไม่ได้จ่ายเข้ากองทุน และไม่รวม เครื่องมือทางการเงินที่โอนเปลี่ยนมือไม่ได้ที่กิจการเป็นผู้ออกและถือโดยกองทุน สินทรัพย์ โครงการจะหักด้วยหนี้สินของกองทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพนักงาน เช่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่นๆ และหนี้สินซึ่งเป็นผลจากเครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ 115 กรณีสินทรัพย์โครงการรวมกรมธรรม์ประกันภัยที่เข้าเงื่อนไข ซึ่งให้ความคุ้มครองที่มีจํานวนและ จังหวะเวลาเท่ากับการจ่ายผลประโยชน์บางส่วนหรือทั้งหมดตามโครงการ มูลค่ายุติธรรมของ กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวถือได้ว่าคือมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันที่เกี่ยวข้อง ( ทั้งนี้หาก จํานวนที่จะได้รับตามกรมธรรม์ประกันภัยเรียกเก็บหนี้ไม่ได้เต็มจํานวน ต้องนํามาหักออกจาก มูลค่ายุติธรรมนี้ด้วย ) สิทธิที่จะได้รับชดเชย 116 เมื่อปรากฏชัดเจนว่ากิจการอื่นจ่ายชดเชยค่าใช้จ่ายบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อชําระภาระ ผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ กิจการต้อง 116.1 รับรู้สิทธิที่จะได้รับชดเชยนั้นเป็นสินทรัพย์แยกต่างหาก และให้กิจการวัดมูลค่า สินทรัพย์ดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม 116.2 แยกและรับรู้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสิทธิที่จะได้รับชดเชยใน ทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการ ( ตามย่อหน้าที่ 124 และ 125) องค์ประกอบของต้นทุนผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ ที่รับรู้ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 120 อาจรับรู้เป็นจํานวนสุทธิของจํานวนที่ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตามบัญชีของสิทธิที่จะได้รับชดเชย 117 บางครั้งกิจการสามารถหากิจการอื่น เช่น ผู้รับประกันมาเป็นผู้จ่ายรายจ่ายบางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อชําระภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ก็ได้ กรมธรรม์ประกันภัยที่เข้าเงื่อนไขที่นิยามไว้ ในย่อหน้าที่ 8 ถือเป็นสินทรัพย์โครงการ ให้กิจการปฏิบัติกับกรมธรรม์ประกันภัยที่เข้าเงื่อนไข ในลักษณ ะเดียวกับสินทรัพย์โครงการอื่นๆ และย่อหน้าที่ 116 ไม่มีความเกี่ยวข้อง ( ตามย่อหน้าที่ 46 ถึง 49 และย่อหน้าที่ 115) 118 หากกรมธรรม์ประกันภัยที่ถือโดยกิจการไม่เป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่เข้าเงื่อนไข กรมธรรม์ ประกันภัยดังกล่าวไม่ถือเป็นสินทรัพย์โครงการ ย่อหน้าที่ 116 มีความเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว โดยกิจการรับรู้สิทธิที่จะได้รับชดเชยตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นสินทรัพย์แยกต่างหากและ ไม่นําไปหักจากส่วนขาดหรือส่วนเกินของผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ โดยย่อหน้าที่ 140.2 กําหนดให้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 40 กิจการเปิดเผยลักษณะโดยสรุปของความเกี่ยวข้องระหว่างสิทธิที่จะได้รับชดเชยและภาระผูกพันที่ เกี่ยวข้อง 119 ถ้าสิทธิที่จะได้รับชดเชยเกิดจากกรมธรรม์ประกันภัยที่สอดคล้องกับจํานวนและจังหวะเวลา ที่จะจ่ายผลประโยชน์ค้างจ่ายบางส่วนหรือทั้งหมดภายใต้โครงการผลประโยชน์ มูลค่ายุติธรรม ของสิทธิที่จะได้รับชดเชยดังกล่าวถือได้ว่าคือมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันที่เกี่ยวข้อง ( โดยหัก ส่วนที่ไม่ใช่สิทธิที่จะได้รับชดเชยได้เต็มจํานวน ) องค์ประกอบของต้นทุนผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ 120 กิจการต้องรับรู้องค์ประกอบของต้นทุนผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ เว้นแต่มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับอื่นจะกําหนดหรืออนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ดังต่อไปนี้ 120.1 ต้นทุนบริการ ( ตามย่อหน้าที่ 66 ถึง 112 และ 122 ก ) ในกําไรหรือขาดทุน 120.2 ดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( ตามย่อหน้าที่ 123 ถึง 126) ในกําไรหรือขาดทุน และ 120.3 การวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( ตามย่อหน้าที่ 127 ถึง 130) ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 121 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นกําหนดให้รวมต้นทุนผลประโยชน์ของพนักงาน บางประเภทเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ เช่น สินค้าคงเหลือ และที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ( ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16) ต้นทุนผลประโยชน์หลัง ออกจากงานใดๆ ที่รวมเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ดังกล่าวให้รวมถึงสัดส่วนที่เหมาะสมของ องค์ประกอบตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 120 122 การวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิที่รับรู้รายการในกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นต้องไม่ถูกจัดประเภทรายการใหม่ในกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลา ต่อมา อย่างไรก็ตาม กิจการอาจโอนจํานวนที่ได้รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นภายในส่วน ของเจ้าของได้ ต้นทุนบริการปัจจุบัน 122 ก กิจการต้องกําหนดต้นทุนบริการปัจจุบันโดยใช้ข้อสมมติในการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยซึ่งกําหนด ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปี อย่างไรก็ตาม ถ้ากิจการวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิตามย่อหน้าที่ 99 กิจการต้องกําหนดต้นทุนบริการปัจจุบันสําหรับช่วงระยะเวลาที่เหลือของรอบระยะเวลา รายงานประจําปีหลังการแก้ไขโครงการ การลดขนาดโครงการลง หรือการจ่ายชําระ ผลประโยชน์โดยใช้ข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ใช้ วัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิตามย่อหน้าที่ 99 ข

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 41 ดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ 123 กิจการต้องกําหนดดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) โครงการผลประโยชน์สุทธิโดยการ คูณของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิด้วยอัตราคิดลดตามที่ระบุใน ย่อหน้าที่ 83 123 ก ในการกําหนดดอกเบี้ยสุทธิตามย่อหน้าที่ 123 กิจการต้องใช้หนี้สิน ( สินทรัพย์ ) โครงการ ผลประโยชน์สุทธิและอัตราคิดลดซึ่งกําหนด ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปี อย่างไรก็ตามถ้ากิจการวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ตามย่อหน้าที่ 99 กิจการต้องกําหนดดอกเบี้ยสุทธิสําหรับช่วงระยะเวลาที่เหลือของ รอบระยะเวลารายงานประจําปีหลังการแก้ไขโครงการ การลดขนาดโครงการลง หรือการจ่าย ชําระผลประโยชน์โดยใช้ 123 ก .1 หนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิตามย่อหน้าที่ 99 ข และ 123 ก .2 อัตราคิดลดที่ใช้วัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ตามย่อหน้าที่ 99 ข ในการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 123 ก กิจการต้องคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิระหว่างรอบระยะเวลาซึ่งเป็นผลมาจากการสมทบ เงินและการจ่ายชําระผลประโยชน์ด้วย 124 ดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิประกอบด้วยรายได้ดอกเบี้ย จากสินทรัพย์โครงการ ต้นทุนดอกเบี้ยจากภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์และดอกเบี้ย จากผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 64 125 รายได้ดอกเบี้ยจากสินทรัพย์โครงการเป็นองค์ประกอบของผลตอบแทนจากสินทรัพย์โครงการ และกําหนดจากผลคูณของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการและอัตราคิดลดตามที่ระบุใน ย่อหน้าที่ 123 ก กิจการต้องกําหนดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการ ณ วันเริ่มต้นของ รอบระยะเวลารายงานประจําปี อย่างไรก็ตามถ้ากิจการวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิตามย่อหน้าที่ 99 กิจการต้องกําหนดรายได้ดอกเบี้ยสําหรับ ช่วงระยะเวลาที่เหลือของรอบระยะเวลารายงานประจําปีหลังการแก้ไขโครงการ การลดขนาด โครงการลง หรือการจ่ายชําระผลประโยชน์โดยใช้สินทรัพย์โครงการที่ใช้วัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิตามย่อหน้าที่ 99 ข ในการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 125 กิจการต้องคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสินทรัพย์โครงการที่ถืออยู่ในระหว่างรอบระยะเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากการสมทบเงินและการจ่ายชําระผลประโยชน์ ผลต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยจาก สินทรัพย์โครงการและผลตอบแทนจากสินทรัพย์โครงการจะรวมอยู่ในการวัดมูลค่าใหม่ของ หนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ 126 ดอกเบี้ยจากผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดใน ผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์ และกําหนดจากผลคูณของผลกระทบจากเพดานของสินทรัพย์ และอัตราคิดลดตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 123 ก กิจการต้องกําหนดผลกระทบของเพดานของ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 42 สินทรัพย์ ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจําปี อย่างไรก็ตามถ้ากิจการวัดมูลค่าใหม่ ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิตามย่อหน้าที่ 99 กิจการต้องกําหนด ดอกเบี้ยจากผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์สําหรับช่วงระยะเวลาที่เหลือของรอบระยะเวลา รายงานประจําปีหลังการแก้ไขโครงการ การลดขนาดโครงการลง หรือการจ่ายชําระผลประโยชน์ โดยคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์ที่กําหนดตาม ย่อหน้าที่ 101 ก ผลต่างระหว่างดอกเบี้ยจากผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์กับยอดรวมของ การเปลี่ยนแปลงในผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์จะรวมอยู่ในการวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ การวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ 127 การวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ประกอบด้วย 127.1 ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ( ตามย่อหน้าที่ 128 และ 129) 127.2 ผลตอบแทนจากสินทรัพย์โครงการ ( ตามย่อหน้าที่ 130) โดยไม่รวมจํานวนที่รวมอยู่ ในดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( ตามย่อหน้าที่ 125) และ 127.3 การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์ โดยไม่รวมจํานวนที่รวมอยู่ใน ดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( ตามย่อหน้าที่ 126) 128 ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้น หรือลดลงในมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ในข้อสมมติที่ใช้ในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยและการปรับปรุงจากประสบการณ์ สาเหตุของผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตัวอย่างเช่น 128.1 การเพิ่ มขึ้นหรือลดลงที่ไม่คาดหวังไว้ของอัตราการหมุนเวียนของพนักงาน การเกษียณอายุก่อนกําหนด หรือการเสียชีวิต หรือการเพิ่มขึ้นของเงินเดือน ผลประโยชน์ ต่างๆ ( หากเงื่อนไขที่เป็นทางการหรือโดยอนุมานของโครงการทําให้ผลประโยชน์ เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ) หรือต้นทุนค่ารักษาพยาบาล 128.2 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติเกี่ยวกับสิทธิในการเลือกจ่ายชําระผลประโยชน์ 128.3 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการประมาณของการหมุนเวียนของพนักงานในอนาคต การเกษียณอายุก่อนกําหนด หรือการเสียชีวิต หรือการเพิ่มขึ้นของเงินเดือน ผลประโยชน์ต่างๆ ( หากเงื่อนไขที่เป็นทางการหรือโดยอนุมานของโครงการทําให้ ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ) หรือต้นทุนค่ารักษาพยาบาล และ 128.4 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราคิดลด 129 ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่ได้รวมการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์เนื่องจากการกําหนด การแก้ไข การลดขนาดโครงการลงหรือการจ่ายชําระผลประโยชน์ของโครงการผลประโยชน์ หรือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 43 การเปลี่ยนแปลงในผลประโยชน์ค้างจ่ายภายใต้โครงการผลประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลต่อต้นทุนบริการในอดีตหรือผลกําไรหรือขาดทุนจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ 130 ในการกําหนดผลตอบแทนจากสินทรัพย์โครงการ กิจการหักต้นทุนการบริหารสินทรัพย์โครงการ และภาษีค้างจ่ายใดๆ ของโครงการเอง นอกเหนือจากภาษีที่รวมอยู่ในข้อสมมติในการคํานวณ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ใช้ในการวัดมูลค่าภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ ( ย่อหน้าที่ 76) ค่าใช้จ่ายในการบริหารอื่นๆ จะไม่หักออกจากผลตอบแทนจากสินทรัพย์ โครงการ การนําเสนอข้อมูล การหักกลบ 131 กิจการจะหักกลบสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่งกับหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับอีกโครงการหนึ่งได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามทุกข้อต่อไปนี้ 131.1 กิจการมีสิทธิที่จะบังคับได้ตามกฎหมายที่จะใช้ส่วนเกินดุลในโครงการหนึ่งไปชําระ ภาระผูกพันอีกโครงการหนึ่ง และ 131.2 กิจการมีเจตนาที่จะชําระภาระผูกพันตามที่แสดงด้วยยอดสุทธิ หรือจะรับรู้ ส่วนเกินดุลในโครงการหนึ่งและชําระภาระผูกพันตามโครงการอื่นในเวลาเดียวกัน 132 หลักเกณฑ์การหักกลบนั้นไม่แตกต่างกับหลักเกณฑ์ที่ใช้สําหรับเครื่องมือทางการเงินตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการสําหรับเครื่องมือทางการเงิน การแยกประเภทรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน 133 บางกิจการแยกสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนออกจากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนและ หนี้สินไม่หมุนเวียน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้ระบุว่ากิจการต้องแยกส่วนของสินทรัพย์และ หนี้สินประเภทหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนที่เกิดขึ้นจากผลประโยชน์หลังออกจากงาน องค์ประกอบของต้นทุนผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ 134 ย่อหน้าที่ 120 กําหนดให้กิจการรับรู้ต้นทุนบริการและดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิในกําไรหรือขาดทุน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้ระบุถึงวิธีการที่ กิจการจะแสดงต้นทุนบริการปัจจุบันและดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่ กําหนดไว้สุทธิ กิจการต้องแสดงองค์ประกอบเหล่านั้นตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 44 การเปิดเผยข้อมูล 135 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 135.1 อธิบายลักษณะของโครงการผลประโยชน์ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ( ตาม ย่อหน้าที่ 139) 135.2 ระบุและอธิบายจํานวนในงบการเงินที่เกิดจากโครงการผลประโยชน์ ( ตามย่อหน้าที่ 140 ถึง 144) และ 135.3 อธิบายผลกระทบของโครงการผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับจํานวนเงินระยะเวลา และความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดอนาคตของกิจการ ( ตามย่อหน้าที่ 145 ถึง 147) 136 เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในย่อหน้าที่ 135 กิจการต้องพิจารณาทุกข้อดังต่อไปนี้ 136.1 ระดับของรายละเอียดที่จําเป็นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดของการเปิดเผยข้อมูล 136.2 ต้องให้ความสําคัญเพื่อให้เป็นไปตามแต่ละข้อกําหนดของการเปิดเผยข้อมูลมากน้อย เพียงใด 136.3 ต้องเปิดเผยเป็นยอดรวมหรือแยกต่างหากมากน้อยเพียงใด และ 136.4 ความต้องการของผู้ใช้งบการเงินต่อข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประเมินลักษณะเชิงปริมาณของ ข้อมูลที่เปิดเผย 137 ถ้าการเปิดเผยข้อมูลตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้และมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับอื่นไม่เพียงพอตามวัตถุประสงค์ในย่อหน้าที่ 135 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล เพิ่มเติมที่จําเป็นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น กิจการอาจแสดง การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์แยกตามธรรมชาติ ขอบเขตและความเสี่ยงของภาระผูกพัน การเปิดเผยดังกล่าวอาจแบ่งแยกได้ ดังต่อไปนี้ 137.1 ระหว่างจํานวนเงินที่เป็นของสมาชิกปัจจุบัน สมาชิกล่วงหน้า และผู้รับบํานาญ 137.2 ระหว่างผลประโยชน์ที่เป็นสิทธิขาดและผลประโยชน์ที่ค้างจ่ายแต่ไม่เป็นสิทธิขาด 137.3 ระหว่างผลประโยชน์ที่มีเงื่อนไข จํานวนเงินที่จัดสรรให้สําหรับการเพิ่มขึ้นของ เงินเดือนในอนาคต และผลประโยชน์อื่นๆ 138 กิจการต้องประเมินว่าการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนควรทําโดยแยกแต่ละโครงการหรือ รวมเป็นกลุ่มของโครงการที่มีความเสี่ยงแตกต่างกันอย่างมีสาระสําคัญ ตัวอย่างเช่น กิจการอาจ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการโดยแยกแสดงตามลักษณะข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าดังต่อไปนี้ 138.1 ที่ตั้งตามภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน 138.2 ลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น โครงการบํานาญจากเงินเดือนคงที่ โครงการบํานาญ ตามเงินเดือนเดือนสุดท้าย หรือโครงการรักษาพยาบาลหลังออกจากงาน 138.3 สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่แตกต่างกัน 138.4 ส่วนงานที่รายงานที่แตกต่างกัน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 45 138.5 การจัดการเงินทุนที่แตกต่างกัน ( เช่น จัดหาเงินทุนทั้งหมดหรือบางส่วน หรือไม่มี การจัดหาเงินทุน ) ลักษณะของโครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ผลประโยชน์ดังกล่าว 139 กิจการต้องเปิดเผย 139.1 ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของโครงการผลประโยชน์ รวมถึง 139.1.1 ธรรมชาติของผลประโยชน์ที่จัดหาโดยโครงการ ( เช่น โครงการผลประโยชน์ ตามเงินเดือนเดือนสุดท้าย หรือโครงการที่อ้างอิงจากการสมทบเงินบวกด้วย การรับประกัน ) 139.1.2 คําอธิบายเกี่ยวกับกรอบระเบียบข้อบังคับในการดําเนินงานของโครงการ เช่น ระดับของความต้องการเงินทุนขั้นตํ่า และผลกระทบใดๆ ของกรอบระเบียบ ข้อบังคับที่มีต่อโครงการ เช่น เพดานของสินทรัพย์ ( ตามย่อหน้าที่ 64) 139.1.3 คําอธิบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบอื่นๆ ของกิจการในการกํากับดูแลโครงการ เช่น ความรับผิดชอบของทรัสตีหรือสมาชิกในคณะกรรมการของโครงการ 139.2 คําอธิบายเกี่ยวกับความเสี่ยงของโครงการที่มีต่อกิจการ โดยมุ่งเน้นที่ความเสี่ยงที่ ไม่ปกติ ความเสี่ยงเฉพาะกิจการ หรือความเสี่ยงเฉพาะโครงการ และความเสี่ยงจาก การกระจุกตัวที่มีนัยสําคัญ ตัวอย่างเช่น ถ้าสินทรัพย์โครงการส่วนใหญ่มีการลงทุน ในเงินลงทุนประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น อสังหาริมทรัพย์ โครงการอาจมีความเสี่ยง จากการกระจุกตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ 139.3 คําอธิบายของการแก้ไขใดๆ ของโครงการ การลดขนาดโครงการลงและการจ่ายชําระ ผลประโยชน์ คําอธิบายของจํานวนเงินในงบการเงิน 140 กิจการต้องเปิดเผยการกระทบยอดยกมาและยอดยกไปสําหรับรายการต่อไปนี้ ( ถ้าสามารถ ปฏิบัติได้ ) 140.1 หนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ โดยแยกแสดงการกระทบยอดสําหรับ 140.1.1 สินทรัพย์โครงการ 140.1.2 มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ 140.1.3 ผลกระทบของเพดานของสินทรัพย์ 140.2 สิทธิที่จะได้รับชดเชย กิจการต้องอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิที่จะได้รับชดเชยใดๆ และภาระผูกพันที่เกี่ยวข้อง 141 การกระทบยอดของรายการตามย่อหน้าที่ 140 ต้องแสดงแต่ละรายการดังต่อไปนี้ ( ถ้าสามารถ ปฏิบัติได้ )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 46 141.1 ต้นทุนบริการปัจจุบัน 141.2 รายได้หรือค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 141.3 การวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ โดยแยกแสดง ดังนี้ 141.3.1 ผลตอบแทนจากสินทรัพย์โครงการ ซึ่งไม่รวมจํานวนที่รวมไว้อยู่ในดอกเบี้ย ตามข้อ 141.2 141.3.2 ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติด้านประชากรศาสตร์ ( ตามย่อหน้า 76.1) 141.3.3 ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติทางการเงิน ( ตามย่อหน้า 76.2) 141.3.4 การเปลี่ยนแปลงในผลกระทบของการจํากัดสินทรัพย์ผลประโยชน์ที่กําหนด ไว้สุทธิถึงเพดานของสินทรัพย์ ซึ่งไม่รวมจํานวนที่รวมอยู่ในดอกเบี้ย ตามข้อ 141.2 กิจการต้องเปิดเผยวิธีการกําหนดผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สูงสุดที่จัดหาได้ กล่าวคือผลประโยชน์ดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของการได้รับ เงินคืน การลดของการจ่ายเงินสมทบในอนาคตหรือทั้งสองอย่างรวมกัน 141.4 ต้นทุนบริการในอดีตและผลกําไรและขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการจ่ายชําระผลประโยชน์ ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 100 ต้นทุนบริการในอดีตและผลกําไรและขาดทุนที่เกิดขึ้น จากการจ่ายชําระผลประโยชน์ไม่จําเป็นต้องแยกแสดงออกจากกัน หากเกิดขึ้นพร้อมกัน 141.5 ผลของการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 141.6 การสมทบเงินเข้าโครงการ ให้แยกแสดงระหว่างส่วนของนายจ้างและส่วนของ ผู้เข้าร่วมโครงการ 141.7 การจ่ายชําระเงินจากโครงการ ให้แยกแสดงส่วนของจํานวนเงินที่จ่ายที่เกี่ยวกับ การจ่ายชําระผลประโยชน์ใดๆ 141.8 ผลกระทบของการรวมธุรกิจและการจําหน่ายธุรกิจ 142 กิจการต้องแยกแสดงมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการตามประเภทของธรรมชาติและ ความเสี่ยงที่แตกต่างกันของสินทรัพย์ดังกล่าว โดยแบ่งระดับย่อยของสินทรัพย์แต่ละโครงการ เป็นส่วนที่มีราคาตลาดอ้างอิงในตลาดที่มีสภาพคล่อง ( ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ) และส่วนที่ไม่มีราคาตลาด ตัวอย่างเช่น การกําหนดระดับของการเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้าที่ 136 กิจการสามารถแบ่งแยกได้ระหว่าง 142.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 142.2 ตราสารทุน ( แยกตามประเภทอุตสาหกรรม ขนาดบริษัท สภาพภูมิศาสตร์ ฯลฯ ) 142.3 ตราสารหนี้ ( แยกตามประเภทของผู้ออก คุณภาพของเครดิต สภาพภูมิศาสตร์ ฯลฯ ) 142.4 อสังหาริมทรัพย์ ( แยกตามสภาพภูมิศาสตร์ ฯลฯ )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 47 142.5 ตราสารอนุพันธ์ ( แยกตามประเภทของความเสี่ยงอ้างอิงในสัญญา เช่น สัญญาอัตรา ดอกเบี้ย สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สัญญาตราสารทุน สัญญาเครดิต สัญญาแลกเปลี่ยนช่วงชีวิต ฯลฯ ) 142.6 กองทุนที่ตั้งเพื่อการลงทุน ( แยกตามประเภทการลงทุนของกองทุน ) 142.7 หลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์คํ้าประกัน และ 142.8 ตราสารหนี้ที่มีโครงสร้างซับซ้อน 143 กิจการต้องเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินที่สามารถโอนได้ภายในกิจการที่เป็น สินทรัพย์โครงการ และมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบครอง โดยกิจการหรือสินทรัพย์อื่นที่ใช้โดยกิจการ 144 กิจการต้องเปิดเผยข้อสมมติหลักในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ใช้ใน การกําหนดมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ ( ตามย่อหน้าที่ 76) การเปิดเผยดังกล่าวต้องเป็นค่าสัมบูรณ์ ( เช่น เปิดเผยเป็นอัตราร้อยละสัมบูรณ์ และไม่ใช่เพียง ส่วนต่างระหว่างอัตราร้อยละที่แตกต่างกันกับตัวแปรอื่น ) เมื่อกิจการเปิดเผยยอดรวมสําหรับ กลุ่มของโครงการ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบของค่าเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักหรือ ช่วงความสัมพันธ์ในเชิงแคบ จํานวนเงิน จังหวะเวลา และความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดอนาคต 145 กิจการต้องเปิดเผย 145.1 การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของข้อสมมติหลักในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกั นภั ย ( ตามที่ เปิ ดเผยในย่ อหน้ำที่ 144) ณ วั นสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน โดยการแสดงให้เห็นว่าภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์จะได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงในข้อสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ที่เกี่ยวข้องที่อาจเป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผล ณ วันนั้นอย่างไร 145.2 วิธีการและข้อสมมติที่ใช้ในการจัดทําการวิเคราะห์ความอ่อนไหวตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 145.1 และข้อจํากัดของวิธีการดังกล่าว 145.3 การเปลี่ยนแปลงจากรอบระยะเวลาก่อนสําหรับวิธีการและข้อสมมติที่ใช้จัดทําการ วิเคราะห์ความอ่อนไหว และเหตุผลสําหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 146 กิจการต้องเปิดเผยคําอธิบายของกลยุทธ์การจับคู่ของสินทรัพย์หนี้สินใดๆ ที่ใช้โดยโครงการ หรือกิจการรวมถึงการใช้วิธีการคํานวณเงินรายปีและวิธีการอื่นๆ เช่น สัญญาแลกเปลี่ยนช่วงชีวิต เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง 147 เพื่อแสดงข้อบ่งชี้ของผลกระทบของโครงการผลประโยชน์ต่อกระแสเงินสดอนาคตของกิจการ กิจการต้องเปิดเผย 147.1 คําอธิบายของข้อตกลงในการจัดหาเงินทุนใดๆ และนโยบายการจัดหาเงินทุนที่มี ผลกระทบต่อการจ่ายเงินสมทบในอนาคต

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 48 147.2 ความคาดหวังการจ่ายเงินสมทบเข้าโครงการสําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปีถัดไป 147.3 ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการครบกําหนดของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ โดยรวมถึงระยะเวลาถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ และอาจรวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการกระจายตัวของระยะเวลาของการจ่ายชําระ ผลประโยชน์ เช่น การวิเคราะห์การครบกําหนดของการจ่ายชําระผลประโยชน์ โครงการของกลุ่มนายจ้าง 148 หากกิจการเข้าร่วมในโครงการผลประโยชน์ของกลุ่มนายจ้าง กิจการต้องเปิดเผย 148.1 คําอธิบายของข้อตกลงในการจัดหาเงินทุน รวมทั้งวิธีการที่ใช้ในการกําหนดอัตรา การจ่ายเงินสมทบของกิจการและข้อกําหนดขั้นตํ่าของการจัดหาเงินทุน 148.2 คําอธิบายของขอบเขตที่กิจการต้องรับผิดชอบต่อโครงการสําหรับภาระผูกพันของ กิจการอื่นๆ ภายใต้เงื่อนไขและข้อกําหนดของโครงการกลุ่มนายจ้าง 148.3 คําอธิบายของการปันส่วนสําหรับส่วนขาดหรือส่วนเกิน 148.3.1 เมื่อยกเลิกโครงการ หรือ 148.3.2 เมื่อกิจการถอนตัวจากโครงการ 148.4 หากกิจการปฏิบัติกับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการสมทบเงินตามย่อหน้าที่ 34 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เพิ่มเติมจากการเปิดเผยที่กําหนดในย่อหน้าที่ 148.1 ถึง 148.3 แทนการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 139 ถึง 147 148.4.1 ข้อเท็จจริงที่ว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการผลประโยชน์ 148.4.2 เหตุผลที่ทําให้กิจการมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติเป็นโครงการผลประโยชน์ได้ 148.4.3 ความคาดหวังการจ่ายเงินสมทบเข้าโครงการสําหรับรอบระยะเวลารายงาน ประจําปีถัดไป 148.4.4 ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนขาดหรือส่วนเกินของโครงการที่อาจกระทบกับจํานวน ของการจ่ายเงินสมทบในอนาคต รวมถึงเกณฑ์ที่ใช้ในการกําหนดส่วนขาด หรือส่วนเกิน และความเกี่ยวข้องโดยนัย ( ถ้ามี ) ของกิจการ 148.4.5 ข้อบ่งชี้ของระดับการเข้าร่วมของกิจการในโครงการเมื่อเปรียบเทียบกับ กิจการอื่นที่เข้าร่วม ตัวอย่างของการวัดมูลค่าที่อาจเป็นข้อบ่งชี้ดังกล่าว รวมถึงสัดส่วนของกิจการของเงินสมทบทั้งหมดของโครงการ หรือสัดส่วน ของกิจการของจํานวนสมาชิกทั้งหมดที่เข้าร่วมในปัจจุบัน สมาชิกที่เกษียณอายุ และสมาชิกในอดีตที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์หากข้อมูลดังกล่าวสามารถหาได้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 49 โครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ที่กิจการอยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันโดยร่วมกันรับ ความเสี่ยง 149 หากกิจการเข้าร่วมในโครงการผลประโยชน์ที่กิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันโดยร่วมกัน รับความเสี่ยง กิจการต้องเปิดเผย 149.1 ข้อตกลงตามสัญญาหรือนโยบายการรับภาระต้นทุนผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิหรือ ข้อเท็จจริงว่าไม่มีนโยบายดังกล่าว 149.2 นโยบายในการกําหนดส่วนที่กิจการต้องจ่ายสมทบ 149.3 หากกิจการปฏิบัติกับการปันส่วนต้นทุนผลประโยชน์สุทธิตามย่อหน้าที่ 41 กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการในภาพรวมตามย่อหน้าที่ 135 ถึง 147 149.4 หากกิจการปฏิบัติกับจํานวนที่ต้องจ่ายสมทบสําหรับรอบระยะเวลาตามย่อหน้าที่ 41 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการในภาพรวมตามที่กําหนดใน ย่อหน้าที่ 135 ถึง 137 139 142 ถึง 144 และ 147.1 และ 147.2 150 ข้อมูลที่กําหนดให้เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 149.3 และ 149.4 ต้องสามารถอ้างอิงไปยังการเปิดเผย ข้อมูลในงบการเงินของกลุ่มกิจการอื่น ถ้า 150.1 งบการเงินของกลุ่มกิจการนั้นระบุและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแยกจากกัน และ 150.2 ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าถึงงบการเงินของกลุ่มกิจการบนเงื่อนไขเดียวกันกับ งบการเงินของกิจการ และในเวลาเดียวกันหรือก่อนหน้างบการเงินของกิจการเอง ข้อกําหนดเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น 151 ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ 151.1 รายการเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่มีกับโครงการผลประโยชน์ของ พนักงานหลังออกจากงาน และ 151.2 ผลประโยชน์หลังออกจากงานสําหรับผู้บริหารสําคัญ 152 ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจาก ภาระผูกพันผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงาน ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน 153 ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน รวมถึงรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้ หากไม่ได้คาดว่า จะจ่ายชําระทั้งจํานวนก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่พนักงาน ได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง 153.1 การลางานระยะยาวที่ยังได้รับผลตอบแทน เช่น การให้ลางานระยะยาวหลังจากทํางาน เป็นระยะเวลานาน การลาในปีที่เว้นจากการทํางาน เป็นต้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 50 153.2 ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทํางานครบ 50 ปี หรือผลประโยชน์อื่นที่จ่ายจากการทํางานเป็น ระยะเวลานาน 153.3 ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทุพพลภาพเป็นระยะเวลานาน 153.4 ส่วนแบ่งกําไรและโบนัส และ 153.5 ผลตอบแทนที่รอจ่าย 154 การวัดมูลค่าของผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน มักไม่มีระดับของความไม่แน่นอน เหมือนกรณีการวัดมูลค่าผลประโยชน์หลังออกจากงาน ด้วยเหตุนี้ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ จึงต้องการให้ใช้วิธีการบัญชีอย่างง่ายสําหรับผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน วิธีนี้แตกต่าง จากการบัญชีที่ใช้สําหรับผลประโยชน์หลังออกจากงาน เนื่องจากวิธีนี้ไม่ให้รับรู้การวัดมูลค่าใหม่ ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า 155 ในการรับรู้และวัดมูลค่าส่วนเกินหรือส่วนขาดในโครงการผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของ พนักงาน กิจการต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 56 ถึง 98 และ 113 ถึง 115 กิจการต้องนํา ย่อหน้าที่ 116 ถึง 119 มาถือปฏิบัติในการรับรู้และการวัดมูลค่าของสิทธิที่จะได้รับชดเชย 156 กิจการต้องรับรู้ยอดรวมสุทธิของจํานวนต่อไปนี้สําหรับผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของ พนักงานในกําไรหรือขาดทุน เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นกําหนดหรือ อนุญาตให้รวมเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ 156.1 ต้นทุนบริการ ( ตามย่อหน้าที่ 66 ถึง 112 และ 122 ก ) 156.2 ดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( ตามย่อหน้าที่ 123 ถึง 126) และ 156.3 การวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน ( สินทรัพย์ ) ผลประโยชน์ที่กําหนดไว้สุทธิ ( ตามย่อหน้าที่ 127 ถึง 130) 157 รูปแบบหนึ่งของผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน ได้แก่ ผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับ การทุพพลภาพเป็นระยะเวลานาน ถ้าระดับของผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการบริการ ภาระผูกพันจะเกิดขึ้นเมื่อมีการให้บริการแล้ว การวัดมูลค่าของภาระผูกพันนั้นต้องสะท้อน ความเป็นไปได้ที่จะต้องจ่ายเงินและระยะเวลาที่คาดว่าจะต้องจ่าย ถ้าระดับของผลประโยชน์ สําหรับพนักงานที่ทุพพลภาพทุกรายเท่ากันโดยไม่คํานึงถึงจํานวนปีที่ให้บริการ กิจการจะต้อง รับรู้ต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของผลประโยชน์นั้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุการทุพพลภาพ เป็นระยะเวลานานได้เกิดขึ้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 51 การเปิดเผยข้อมูล 158 แม้ว่ามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้กําหนดให้กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ ระยะยาวอื่นของพนักงานอย่างเจาะจง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ อาจกําหนดให้มี การเปิดเผยข้อมูล ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ผลประโยชน์ของพนักงานสําหรับผู้บริหารสําคัญ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 กําหนดให้เปิดเผย ข้อมูลค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง 159 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างแยกจาก ผลประโยชน์อื่นของพนักงาน เพราะเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดภาระผูกพันขึ้นนั้นคือการเลิกจ้าง มากกว่าเกี่ยวกับบริการที่พนักงานให้ ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเป็นผลมาจากการตัดสินใจของ กิจการที่จะเลิกจ้างพนักงานหรือการตัดสินใจของพนักงานที่จะยอมรับข้อเสนอผลประโยชน์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้าง 160 ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างไม่รวมถึงผลประโยชน์ของพนักงานที่เป็นผลมาจากการเลิกจ้างงานตาม คําร้องขอของพนักงานโดยไม่มีข้อเสนอของกิจการ หรือเป็นผลมาจากข้อกําหนดของ การเกษียณอายุตามปกติเนื่องจากผลประโยชน์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์หลังออกจากงาน บางกิจการให้ระดับของผลประโยชน์สําหรับการเลิกจ้างโดยสมัครใจตามความต้องการของ พนักงาน ( ซึ่งโดยเนื้อหาสาระแล้วถือเป็นผลประโยชน์หลังออกจากงาน ) ตํ่ากว่าผลประโยชน์ จากการเลิกจ้างที่บังคับโดยกิจการ ส่วนของผลประโยชน์ที่จะจ่ายเนื่องจากการบังคับให้ออกจาก งานที่สูงกว่าผลประโยชน์สําหรับการเลิกจ้างโดยสมัครใจตามความต้องการของพนักงานถือเป็น ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง 161 รูปแบบของผลประโยชน์ของพนักงานไม่ได้กําหนดว่าจะต้องให้เพื่อการแลกเปลี่ยนกับ การให้บริการหรือแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้างของพนักงาน โดยปกติแล้วผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง ได้จ่ายออกไปเป็นเงินก้อนทั้งจํานวน แต่บางครั้งจะรวมถึง 161.1 การให้ผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นเพิ่มเติม ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมผ่าน โครงการผลประโยชน์ของพนักงาน 161.2 เงินเดือนที่จ่ายจนกระทั่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กําหนด หากพนักงานไม่ได้ให้บริการที่ให้ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อกิจการอีกต่อไป 162 ข้อบ่งชี้ที่แสดงว่าผลประโยชน์ของพนักงานเป็นการให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการให้บริการ รวมถึง 162.1 ผลประโยชน์ที่เป็นเงื่อนไขของการให้บริการในอนาคต ( รวมถึงผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น หากมีการให้บริการเพิ่มขึ้น ) 162.2 ผลประโยชน์ที่เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการผลประโยชน์ของพนักงาน 163 ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างบางประเภทอาจเป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการผลประโยชน์ของ พนักงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น อาจเป็นการกําหนดโดยกฎหมาย สัญญาจ้างงานหรือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 52 ข้อตกลงสหภาพแรงงาน หรือเป็นผลมาจากการปฏิบัติในอดีตของนายจ้างในการให้ ผลประโยชน์ที่คล้ายคลึงกัน ตัวอย่างอื่น เช่น หากกิจการจัดทําคําเสนอผลประโยชน์ที่นานกว่า ระยะเวลาสั้น หรือนานกว่าระยะเวลาสั้นระหว่างวันที่ให้ข้อเสนอและวันที่คาดว่าจะมีการเลิกจ้าง พนักงานจริง กิจการต้องพิจารณาว่าการดําเนินการดังกล่าวเป็นการจัดตั้งโครงการผลประโยชน์ ของพนักงานใหม่หรือไม่ และต้องพิจารณาว่าผลประโยชน์ที่เสนอให้เป็นผลประโยชน์ เมื่อเลิกจ้างหรือผลประโยชน์หลังออกจากงาน ผลประโยชน์ของพนักงานที่เป็นไปตามเงื่อนไข ของโครงการผลประโยชน์ของพนักงานจะเป็นผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างหากเป็นผลมาจาก ทั้งการตัดสินใจของกิจการที่จะเลิกจ้างพนักงานและไม่มีเงื่อนไขของการให้บริการในอนาคต 164 ผลประโยชน์ของพนักงานบางประเภทเป็นผลประโยชน์ที่จะจ่ายโดยไม่คํานึงถึงสาเหตุใน การออกจากงานของพนักงาน การจ่ายผลประโยชน์ดังกล่าวมีความแน่นอน ( ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่ จะให้สิทธิขาดหรือข้อกําหนดการให้บริการขั้นตํ่า ) แต่จังหวะเวลาของการจ่ายยังไม่แน่นอน แม้ว่าในบางประเทศจะเรียกผลประโยชน์เหล่านี้ว่าค่าตอบแทนจากการออกจากงานหรือ เงินสมนาคุณจากการเลิกจ้าง ผลประโยชน์ดังกล่าวถือเป็นผลประโยชน์หลังออกจากงาน ไม่ใช่ ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง กิจการจึงต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผลประโยชน์หลังออกจากงาน การรับรู้รายการ 165 กิจการต้องรับรู้ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเป็นหนี้สินและค่าใช้จ่ายเมื่อวันใดวันหนึ่งต่อไปนี้ เกิดขึ้นก่อน 165.1 เมื่อกิจการไม่สามารถยกเลิกข้อเสนอการให้ผลประโยชน์ดังกล่าวได้อีกต่อไป และ 165.2 เมื่อกิจการรับรู้ต้นทุนสําหรับการปรับโครงสร้างที่อยู่ในขอบเขตของมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 37 และเกี่ยวข้องกับการจ่ายชําระผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง 166 สําหรับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างค้างจ่ายที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจของพนักงานที่จะยอมรับ ข้อเสนอผลประโยชน์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้างงาน กิจการจะไม่สามารถยกเลิกข้อเสนอ การให้ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเมื่อวันใดวันหนึ่งต่อไปนี้เกิดก่อน 166.1 เมื่อพนักงานยอมรับข้อเสนอนั้น และ 166.2 เมื่อมีข้อจํากัด ( เช่น กฎหมาย ข้อบังคับ หรือข้อกําหนดตามสัญญา หรือข้อจํากัดอื่นๆ ) ต่อความสามารถของกิจการที่จะยกเลิกข้อเสนอที่ก่อให้เกิดผลกระทบ ซึ่งจะเกิดขึ้น เมื่อข้อเสนอได้จัดทําขึ้นโดยมีข้อจํากัดอยู่ในระยะเวลาของการให้ข้อเสนอ 167 สําหรับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างค้างจ่ายที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจของกิจการที่จะเลิกจ้าง พนักงาน กิจการจะไม่สามารถยกเลิกข้อเสนอได้อีกต่อไปหากกิจการมีการสื่อสารต่อพนักงาน ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเลิกจ้างพนักงาน โดยเข้าหลักเกณฑ์ทั้งหมดดังต่อไปนี้ 167.1 มีการดําเนินการที่จําเป็นที่บ่งชี้ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญในโครงการ ที่จะจัดทําขึ้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 53 167.2 โครงการมีการระบุจํานวนของพนักงานที่จะเลิกจ้าง ประเภทงาน หรือหน้าที่งาน และสถานที่ทํางาน ( โครงการไม่จําเป็นต้องระบุถึงพนักงานแต่ละคน ) และวันที่คาดว่า จะเสร็จสิ้น 167.3 โครงการได้กําหนดรายละเอียดผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างให้กับพนักงานเพียงพอ ที่พนักงานจะสามารถกําหนดประเภทและจํานวนเงินของผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อ มีการเลิกจ้างงาน 168 เมื่อกิจการรับรู้ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง กิจการอาจจําเป็นต้องพิจารณาถึงการแก้ไขโครงการ หรือการลดขนาดโครงการผลประโยชน์อื่นของพนักงานลงด้วย ( ตามย่อหน้าที่ 103) การวัดมูลค่า 169 กิจการต้องวัดมูลค่าของผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเมื่อรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก และต้อง วัดมูลค่าและรับรู้การเปลี่ยนแปลงในภายหลังตามธรรมชาติของผลประโยชน์ของพนักงาน หากผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเป็นส่วนเพิ่มของผลประโยชน์หลังออกจากงาน กิจการต้องนํา ข้อกําหนดของผลประโยชน์หลังออกจากงานมาถือปฏิบัติ เว้นแต่ 169.1 หากผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างคาดว่าจะจ่ายชําระทั้งจํานวนก่อน 12 เดือนนับจาก วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่มีการรับรู้ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง กิจการ ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน 169.2 หากผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างไม่ได้คาดว่าจะจ่ายชําระทั้งจํานวนก่อน 12 เดือนนับ จากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปี กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของ ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน 170 เนื่องจากผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างไม่ได้เป็นการให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการให้บริการ ย่อหน้าที่ 70 ถึง 74 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดสรรผลประโยชน์ไปยังรอบระยะเวลาที่มีการให้บริการ จึงไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 159 ถึง 170 ข้อมูลพื้นฐาน จากการเข้าซื้อกิจการที่ผ่านมา กิจการมีแผนจะปิดโรงงานในระยะเวลา 10 เดือนและจะเลิก จ้างพนักงานทั้งหมดของโรงงาน เนื่องจากกิจการยังต้องการพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ ในโรงงานเพื่อให้สามารถดําเนินการตามข้อตกลงที่มีอยู่ กิจการจึงประกาศโครงการเลิกจ้าง พนักงาน ดังนี้ พนักงานแต่ละคนที่อยู่และให้บริการจนถึงวันปิดโรงงานจะได้รับเงินสดจํานวน 30,000 บาท ณ วันเลิกจ้าง ส่วนพนักงานที่ลาออกก่อนถึงวันปิดโรงงานจะได้รับเงินสดจํานวน 10,000 บาท โรงงานมีพนักงาน 120 คน ณ เวลาที่ประกาศโครงการ กิจการคาดว่าจะมีพนักงาน 20 คน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 54 ตัวอย่างของย่อหน้าที่ 159 ถึง 170 ลาออกก่อนถึงวันที่จะปิดโรงงาน ดังนั้น ประมาณการกระแสเงินสดจ่ายภายใต้โครงการจึงมี จํานวนรวม 3,200,000 บาท (20x10,000 + 100x30,000) ตามที่กําหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ 160 กิจการปฏิบัติกับผลประโยชน์ที่ให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้างงานเป็นผลประโยชน์เมื่อ เลิกจ้าง และผลประโยชน์ที่ให้กับพนักงานเพื่อแลกเปลี่ยนกับการให้บริการเป็นผลประโยชน์ ระยะสั้นของพนักงาน ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างให้เมื่อมีการแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้างงานจํานวน 10,000 บาท ซึ่งเป็นจํานวนเงินที่กิจการจําเป็นต้องจ่ายสําหรับการเลิกจ้างพนักงานโดยไม่คํานึงถึงว่าพนักงาน จะยังคงอยู่และให้บริการจนถึงวันปิดโรงงานหรือจะลาออกก่อนปิดโรงงาน ถึงแม้ว่าพนักงาน จะสามารถลาออกก่อนปิดโรงงาน การเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดยังคงเป็นผลจากการตัดสินใจของ กิจการที่จะปิดโรงงานและเลิกจ้างงาน ( พนักงานทุกคนต้องถูกเลิกจ้างเมื่อโรงงานปิด ) ดังนั้น กิจการรับรู้หนี้สินจํานวน 1,200,000 บาท (120x10,000) เป็นผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง ตามโครงการผลประโยชน์ของพนักงาน ณ วันที่มาถึงก่อนระหว่างวันที่ประกาศโครงการเลิกจ้าง พนักงานและวันที่กิจการรับรู้ต้นทุนการปรับโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการปิดโรงงาน ผลประโยชน์ที่ให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการให้บริการ ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มที่พนักงานจะได้รับเมื่อให้บริการครบระยะเวลา 10 เดือน เป็นการ แลกเปลี่ยนกับการให้บริการตลอดช่วงระยะเวลานั้น กิจการปฏิบัติกับผลประโยชน์ดังกล่าว เป็นผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานเนื่องจากมีการคาดว่าจะจ่ายชําระก่อน 12 เดือนนับจาก วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจําปี จากตัวอย่างนี้ กิจการไม่จําเป็นต้องคิดลดให้เป็นมูลค่า ปัจจุบัน ดังนั้น กิจการจะรับรู้ค่าใช้จ่ายจํานวน 200,000 บาท (2,000,000 ÷ 10) ในแต่ละเดือนระหว่างช่วงเวลาการให้บริการเป็นเวลา 10 เดือน พร้อมทั้งรับรู้ราคาตามบัญชี ของหนี้สินเพิ่มขึ้นด้วย การเปิดเผยข้อมูล 171 แม้ว่ามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จะไม่กําหนดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง อย่างเจาะจง มาตรฐานการการรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ อาจกําหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูล ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของ พนักงานสําหรับผู้บริหารสําคัญ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ของพนักงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 55 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านและวันถือปฏิบัติ 172 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลา ก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 173 กิจการต้องนํามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติย้อนหลังตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด เว้นแต่ 173.1 กิจการไม่จําเป็นต้องปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่อยู่นอกขอบเขตของ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับการเปลี่ยนแปลงในต้นทุนผลประโยชน์ของพนักงาน ที่รวมอยู่ในมูลค่าตามบัญชีก่อนวันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน วันที่เริ่มต้นใช้มาตรฐาน คือ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาแรกสุดที่นําเสนอในงบการเงินที่กิจการนํามาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติ 173.2 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 174 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 175 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 176 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 177 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 178 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมเชิงอรรถของย่อหน้าที่ 8 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไข เพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 179 การแก้ไขโครงการ การลดขนาดโครงการลง หรือการจ่ายชําระผลประโยชน์ ( ที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19) ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ปี 2561 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2562 โดย เพิ่มย่อหน้าที่ 101 ก 122 ก และ 123 ก และแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 57 99 120 123 125 126 และ 156 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวกับการแก้ไขโครงการ การลดขนาด โครงการลง หรือการจ่ายชําระผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นสําหรับวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงาน ประจําปีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติ ได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวก่อนวันบังคับใช้ กิจการ ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 56 ภาคผนวก ก แนวทางปฏิบัติ ภาคผนวกนี้ถือเป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน โดยอธิบายการปฎิบัติตาม ย่อหน้าที่ 92 ถึง 93 และมีความสําคัญเท่าส่วนอื่นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ก 1 การบัญชีสําหรับเงินสมทบจากพนักงานหรือบุคคลที่สาม แสดงได้ดังแผนภาพด้านล่าง ไม่มีความเชื่อมโยงกับการให้บริการ ( ตัวอย่างเช่น เพื่อลดส่วนขาด ) (1) (1) ลูกศรที่เป็นเส้นประหมายถึงกิจการสามารถเลือกวิธีการทางบัญชีทางใดทางหนึ่ง เงินสมทบจากหรือพนักงานบุคคลที่สาม กําหนดไว้ตามเงื่อนไขที่เป็นทางการของโครงการ ( หรือเกิดขึ้นจากภาระ ผูกพันจากการอนุมานนอกเหนือจากเงื่อนไขดังกล่าว ) การตัดสินใจ ร่วมกัน มีความเชื่อมโยงกับการให้บริการ ขี้นอยู่กับจํานวนปี ของการบริการ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจํานวน ปีของการบริการ ลดต้นทุนบริการโดย จัดสรรไปยังทุกงวดที่มี การให้บริการ ( ตามย่อ หน้าที่ 93.1) ลดต้นทุนบริการใน งวดที่มีการให้บริการ แล้ว ( ตามย่อหน้าที่ 93.2) กระทบต่อการวัด มูลค่าใหม่ ( ตามย่อ หน้าที่ 93) ลดต้นทุนการบริการ เมื่อมีการจ่ายเข้า โครงการ ( ตามย่อ หน้าที่ 92)

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 18/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 57 ภาคผนวก ข ( ภาคผนวกนี้ไม่เกี่ยวข้อง )