ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บั งคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 32/2565 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ตามที่กาหนด ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 5 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 16: Property, Plant and Equipment (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 29 ก 29 ข และเพิ่มย่อ หน้าที่ 81 ฐ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 17 และ 74 และ เพิ่มย่อหน้าที่ 20 ก 74 ก 80 ง และ 81 ฑ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – เงินที่ ได้ รับ ก่ อ น พ ร้อ ม ใช้ ตำม ค วาม ประสงค์ 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่ มเติมใดๆ จากฉบับปี ก่อนหน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่ มเติมใดๆ จากฉบับปี ก่อนหน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 10 44 68 ถึง 69 และ 81 ฏ และตัดย่อหน้าที่ 4 และ 27 และปรับปรุงการอ้างอิงมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 คํานิยาม 6 การรับรู้รายการ 7 ต้นทุนเริ่มแรก 11 ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลัง 12 การวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ 15 ส่วนประกอบของราคาทุน 16 การวัดมูลค่าของราคาทุน 23 การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ 29 วิธีราคาทุน 30 วิธีการตีราคาใหม่ 31 ค่าเสื่อมราคา 43 การด้อยค่า 63 ค่าชดเชยสําหรับการด้อยค่า 65 การเลิกรับรู้รายการ 67 การเปิดเผยข้อมูล 73 การถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 80 วันถือปฏิบัติ 81 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 82
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 83 ทุกย่อหน้า มีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับ การรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการ ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณ การทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชีสําหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินจะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกิจการ ในรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าว ประเด็นหลักในทางบัญชีสําหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ได้แก่ การรับรู้รายการสินทรัพย์ การกําหนดมูลค่าตามบัญชี การคิดค่าเสื่อมราคา และการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของ สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ขอบเขต 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับการบัญชีสําหรับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ยกเว้น กรณีที่มาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นกําหนดหรืออนุญาตให้ใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีที่แตกต่างไป 3 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึง 3.1 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่จัดเป็นประเภทถือไว้เพื่อขายตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและ การดําเนินงานที่ยกเลิก 3.2 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตร นอกเหนือจากพืชเพื่อการให้ ผลิตผล ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 เรื่อง เกษตรกรรม ) มาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับพืชเพื่อการให้ผลิตผล แต่ไม่ถือปฏิบัติกับผลิตผลที่เจริญเติบโต จากพืชเพื่อการให้ผลิตผลดังกล่าว 3.3 การรับรู้รายการและวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่เกิดจากการสํารวจและการประเมินค่า ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 เรื่อง การสํารวจและการประเมินค่าแหล่ง ทรัพยากรแร่ ) 3.4 สัมปทานเหมืองแร่ และแหล่งทรัพยากรแร่ เช่น นํ้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากร ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ซึ่งคล้ายคลึงกัน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ใช้ใน การพัฒนาหรือรักษาสภาพของสินทรัพย์ที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 3.2 ถึง 3.4 ด้วย 4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 5 กิจการที่เลือกใช้วิธีราคาทุนสําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามที่กําหนดในมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ต้องปฏิบัติตามวิธีราคาทุนตามที่ กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่กิจการเป็นเจ้าของ คํานิยาม 6 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ พืชเพื่อการให้ผลิตผล หมายถึง พืชที่มีชีวิตซึ่ง : 1) ใช้ในกระบวนการผลิตหรือเพื่อจัดหาซึ่งผลิตผล ทางการเกษตร 2) คาดว่าจะให้ผลิตผลมากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลา และ 3) มีความเป็นไปได้ที่ยากยิ่งที่จะขายเป็นผลิตผล ทางการเกษตร เว้นแต่เป็นการขายเศษซาก ที่เป็นผลพลอยได้ ( ย่อหน้าที่ 5 ก ถึง 5 ข ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 บรรยายอย่างละเอียดถึงคํานิยามของพืชเพื่อการให้ ผลิตผล ) มูลค่าตามบัญชี หมายถึง จํานวนเงินของสินทรัพย์ที่รับรู้หลังจากหักค่าเสื่อม ราคาสะสม และผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม ของสินทรัพย์ ราคาทุน หมายถึง จํานวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการ จ่ายไป หรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนอื่น ที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้ สินทรัพย์นั้นมา หรือ ณ เวลาที่ก่อสร้างสินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่เกี่ยวข้อง ให้รวมถึงจํานวนที่แบ่งมา เป็นราคาทุนของสินทรัพย์ที่รับรู้เมื่อเริ่มแรกตามที่ กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับอื่น เช่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ จํานวนที่คิดค่าเสื่อมราคา หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือมูลค่าอื่นที่ใช้แทนราคาทุน หักด้วยมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ ค่าเสื่อมราคา หมายถึง การปันส่วนจํานวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ อย่างมีระบบตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ นั้น มูลค่าเฉพาะกิจการ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดซึ่งกิจการคาดว่า จะได้รับจากการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และจากการจําหน่ายสินทรัพย์นั้นเมื่อสิ้นอายุการใช้ ประโยชน์หรือที่คาดว่าจะเกิดเมื่อมีการโอนสินทรัพย์นั้น เพื่อชําระหนี้สิน มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์ หรือจะจ่ายเพื่อ โอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่าง ผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า ( ดูมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ) ผลขาดทุนจากการด้อยค่า หมายถึง จํานวนของมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่า จะได้รับคืนของสินทรัพย์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 1) มีไว้เพื่อใช้ในการผลิต หรือในการจัดหาสินค้า หรือบริการ เพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ ในการบริหาร และ 2) คาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลา มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หมายถึง มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของสินทรัพย์ หรือมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์นั้นแล้วแต่ จํานวนใดจะสูงกว่า มูลค่าคงเหลือ หมายถึง จํานวนเงินโดยประมาณที่กิจการคาดว่าจะได้รับ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 ในปัจจุบันจากการจําหน่ายสินทรัพย์หลังจากหักต้นทุน ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจําหน่ายสินทรัพย์นั้น หากสินทรัพย์นั้นมีอายุและสภาพที่คาดว่าจะเป็น ณ วันสิ้นสุดอายุการใช้ประโยชน์ อายุการใช้ประโยชน์ หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ 1) ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะมีสินทรัพย์ไว้ใช้ หรือ 2) จํานวนผลผลิตหรือจํานวนหน่วยในลักษณะอื่น ที่คล้ายคลึงกันซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจาก สินทรัพย์ การรับรู้รายการ 7 กิจการต้องรับรู้ต้นทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นสินทรัพย์ก็ต่อเมื่อเป็นไปตาม เงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 7.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต จากรายการนั้น และ 7.2 กิจการสามารถวัดมูลค่าต้นทุนของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ 8 รายการชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณ์ที่สํารองไว้ใช้งาน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงจะถูกรับรู้ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ เมื่อรายการดังกล่าวเป็นไปตามคํานิยามของ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หากไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว รายการดังกล่าวจะจัดประเภทเป็นสินค้าคงเหลือ 9 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้กําหนดหน่วยในการวัดเพื่อรับรู้รายการที่เป็นที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ กล่าวคือ ไม่ได้กําหนดว่ารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ประกอบด้วยรายการใดบ้าง ดังนั้น กิจการต้องใช้วิจารณญาณในการนําเกณฑ์การรับรู้รายการมาประยุกต์ตามสภาพแวดล้อม หรือลักษณะเฉพาะของกิจการ ในบางกรณีอาจเป็นการเหมาะสมที่จะนํารายการที่ไม่มีนัยสําคัญ หลายรายการ เช่น เบ้าหลอม เครื่องมือ และแม่พิมพ์มาบันทึกรวมเป็นสินทรัพย์รายการเดียว แล้วประยุกต์ใช้เกณฑ์การรับรู้รายการกับมูลค่ารวม 10 กิจการประเมินต้นทุนทั้งหมดของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เมื่อเกิดขึ้นตามหลักการรับรู้ รายการ ต้นทุนดังกล่าวรวมถึงต้นทุนเริ่มแรกเพื่อให้ได้มาหรือที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างรายการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อมีการต่อเติม การเปลี่ยนแทน ส่วนประกอบ หรือการซ่อมบํารุงสินทรัพย์ดังกล่าว ต้นทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อาจรวมถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการเช่าสินทรัพย์เพื่อใช้ก่อสร้าง ต่อเติม การเปลี่ยนแทน ส่วนประกอบ หรือการซ่อมบํารุงรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เช่น ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ สิทธิการใช้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 ต้นทุนเริ่มแรก 11 กิจการอาจได้มาซึ่งรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัย หรือสภาพแวดล้อม การได้มาซึ่งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ดังกล่าว แม้จะไม่ได้เป็นการเพิ่ม ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตโดยตรงให้กับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใดๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ของกิจการแต่อาจเป็นสินทรัพย์ที่กิจการจําเป็นต้องมีเพื่อให้กิจการสามารถได้รับประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์อื่นของกิจการได้ ดังนั้น การได้มาซึ่งรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ดังกล่าวจึงเข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์เพราะทําให้กิจการได้รับประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์อื่นที่เกี่ยวข้องมากกว่ากรณีที่กิจการไม่มีสินทรัพย์ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตเคมีภัณฑ์อาจติดตั้งเครื่องควบคุมระบบการผลิตสารเคมีใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมในการผลิตและการเก็บรักษาสารเคมี ที่เป็นอันตราย ดังนั้นกิจการจึงรับรู้รายการที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับโรงงานครั้งนี้ เป็นสินทรัพย์ เนื่องจากกิจการไม่สามารถผลิตและขายเคมีภัณฑ์ได้โดยปราศจากอุปกรณ์ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ให้กิจการสอบทานมูลค่าตามบัญชีของทั้งสินทรัพย์ที่ติดตั้งใหม่และ สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องถึงการด้อยค่าที่อาจเกิดขึ้นตามข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ ด้วย ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลัง 12 ภายใต้หลักการรับรู้รายการตามย่อหน้าที่ 7 กิจการไม่รับรู้ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการซ่อมบํารุงที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจําเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์นั้น แต่กิจการรับรู้ต้นทุนดังกล่าวในกําไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ต้นทุนในการซ่อมบํารุง ที่เกิดขึ้นเป็นประจํามีองค์ประกอบหลักเป็นต้นทุนค่าแรงงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง และอาจรวมถึง ชิ้นส่วนอะไหล่ชิ้นเล็ก รายจ่ายดังกล่าวมักมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น “ ค่าซ่อมแซมและบํารุงรักษา ” รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 13 กิจการอาจจําเป็นต้องเปลี่ยนแทนส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์บางรายการ ตามระยะเวลาที่กําหนด ตัวอย่างเช่น กิจการอาจจําเป็นต้องก่ออิฐบุรอบภายในเตาเผาใหม่หลังจาก ใช้งานไประยะหนึ่ง หรืออาจจําเป็นต้องเปลี่ยนแทนเครื่องตกแต่งภายในเครื่องบิน เช่น เก้าอี้และ ห้องครัวอาจต้องเปลี่ยนแทนหลายครั้งตลอดอายุของลําตัวเครื่องบิน กิจการอาจได้รับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์บางรายการมาเพื่อลดความถี่ของการเปลี่ยนแทนที่จะเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยน แทนผนังภายในอาคาร หรือการเปลี่ยนไปใช้ผนังชนิดที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแทนเกิดขึ้นอีก ภายใต้ หลักการรับรู้รายการในย่อหน้าที่ 7 กิจการรับรู้ต้นทุนในการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเมื่อต้นทุนนั้นเกิดขึ้น และเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ กิจการเลิกรับรู้มูลค่าตามบัญชีของชิ้นส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทน ตามหลักการของการเลิกรับรู้รายการที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ดูย่อหน้าที่ 67 ถึง 72)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 14 กิจการอาจจัดให้มีการตรวจสอบครั้งใหญ่ตามระยะเวลาที่กําหนดเพื่อค้นหาข้อผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้น โดยไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแทนชิ้นส่วนใดหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้รายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ( เช่น กรณีของเครื่องบิน ) กิจการรับรู้ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบสภาพครั้งใหญ่แต่ละครั้งเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของ รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เช่นเดียวกับกรณีการเปลี่ยนแทนหากเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้ รายการ กิจการพิจารณาเลิกรับรู้มูลค่าตามบัญชีที่คงเหลือของต้นทุนการตรวจสอบสภาพครั้งใหญ่ ในครั้งก่อน ( ถือเป็นส่วนต่างหากจากตัวสินทรัพย์ ) ไม่ว่าต้นทุนการตรวจสอบในครั้งก่อน จะถูกบันทึกไว้ในรายการเกี่ยวกับการได้มาหรือการก่อสร้างสินทรัพย์หรือไม่ก็ตาม ในกรณีจําเป็น กิจการอาจใช้ประมาณการต้นทุนการตรวจสอบสภาพในลักษณะคล้ายคลึงกันที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคตเป็นข้อบ่งชี้ที่ช่วยในการกําหนดมูลค่าองค์ประกอบของต้นทุนการตรวจสอบสภาพ ที่รวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์เมื่อกิจการได้มาหรือก่อสร้างสินทรัพย์ การวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ 15 กิจการต้องวัดมูลค่าของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการเป็น สินทรัพย์โดยใช้ราคาทุน ส่วนประกอบของราคาทุน 16 ราคาทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ประกอบด้วย 16.1 ราคาซื้อรวมอากรขาเข้าและภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้หลังหักส่วนลดการค้าและจํานวน ที่ได้รับคืนจากผู้ขาย 16.2 ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินทรัพย์เพื่อให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่ และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร 16.3 ต้นทุนที่ประมาณในเบื้องต้นสําหรับการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของ สินทรัพย์ ซึ่งเป็นภาระผูกพันของกิจการที่เกิดขึ้นเมื่อกิจการได้สินทรัพย์นั้นมาหรือ เป็นผลจากการใช้สินทรัพย์นั้นในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่มิใช่เพื่อ วัตถุประสงค์ในการผลิตสินค้าคงเหลือในระหว่างรอบระยะเวลานั้น 17 ตัวอย่างของต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 17.1 ต้นทุนผลประโยชน์ของพนักงาน ( ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ) ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการก่อสร้างหรือการได้มาซึ่ง รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 17.2 ต้นทุนการเตรียมสถานที่ 17.3 ต้นทุนการขนส่งเริ่มแรกและการเก็บรักษา 17.4 ต้นทุนการติดตั้งและการประกอบ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 17.5 ต้นทุนในการทดสอบว่าสินทรัพย์นั้นสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ( กล่าวคือ การประเมินการใช้งานทางเทคนิคและทางกายภาพของสินทรัพย์ว่าสามารถนําไปใช้ใน การผลิตหรือในการจัดหาสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการ บริหารได้หรือไม่ ) และ 17.6 ค่าธรรมเนียมวิชาชีพ 18 กิจการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ สําหรับต้นทุนที่เกิดขึ้นจาก ภาระผูกพันของกิจการในการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์ซึ่งเกิดขึ้น จากการที่กิจการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นในการผลิตสินค้าคงเหลือในช่วงเวลาหนึ่งสําหรับ ภาระผูกพันจากต้นทุนที่เกิดขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 หรือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 กิจการต้องรับรู้และวัดมูลค่าตามข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการ หนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น 19 ตัวอย่างของต้นทุนที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งในราคาทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ได้แก่ 19.1 ต้นทุนในการเปิดสถานประกอบการใหม่ 19.2 ต้นทุนในการแนะนําสินค้าหรือบริการใหม่ ( รวมถึงต้นทุนในการโฆษณาและการส่งเสริม การขาย ) 19.3 ต้นทุนในการดําเนินธุรกิจในสถานที่ตั้งใหม่หรือกับลูกค้ากลุ่มใหม่ ( รวมทั้งต้นทุน ในการฝึกอบรมพนักงาน ) และ 19.4 ต้นทุนในการบริหารและค่าใช้จ่ายทั่วไป 20 การรับรู้รายการต้นทุนที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์จะสิ้นสุดเมื่อสินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ ของฝ่ายบริหาร ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์หรือการนําสินทรัพย์มาใช้สําหรับ วัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากเดิมจึงไม่รวมเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ตัวอย่าง ของต้นทุนที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ได้แก่ 20.1 ต้นทุนที่เกิดขึ้นในขณะที่สินทรัพย์อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ ของฝ่ายบริหาร แต่ยังไม่ได้นําสินทรัพย์มาใช้หรือนําสินทรัพย์มาใช้ในการดําเนินงาน ในระดับที่ยังไม่เต็มกําลังการผลิต 20.2 ผลขาดทุนจากการดําเนินงานเริ่มแรก เช่น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้าง ความต้องการในผลผลิตจากสินทรัพย์ดังกล่าว และ 20.3 ต้นทุนในการย้ายสถานที่หรือการจัดโครงสร้างการดําเนินงานบางส่วนหรือทั้งหมดของ กิจการ 20 ก อาจจะมีการผลิตชิ้นงานในระหว่างการทําให้รายการของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์อยู่ในสถานที่ และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร ( เช่น ชิ้นงานตัวอย่างที่ผลิตขึ้น เมื่อทําการทดสอบว่าสินทรัพย์นั้นสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ) ให้กิจการรับรู้ สิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายชิ้นงานดังกล่าวและต้นทุนของชิ้นงานเหล่านั้นในกําไรหรือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 ขาดทุนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ให้กิจการวัดมูลค่าต้นทุนของชิ้นงานเหล่านั้นตาม ข้อกําหนดของการวัดมูลค่าของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 21 กิจการอาจดําเนินการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการพัฒนารายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แต่ไม่จําเป็นต่อการทําให้สินทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อม จะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร การดําเนินการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่าง กิจกรรมการก่อสร้างหรือการพัฒนานั้น ตัวอย่างเช่น กิจการอาจมีรายได้จากการให้เช่าสถานที่ ที่จะใช้ก่อสร้างอาคารในอนาคตเป็นที่จอดรถจนกว่าการก่อสร้างจะเริ่มต้นขึ้น ทั้งนี้ การจัดให้ สถานที่ดังกล่าวเป็นที่เช่าจอดรถไม่ใช่กิจกรรมที่จําเป็นต่อการทําให้สินทรัพย์อยู่ในสถานที่และ สภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร ดังนั้น กิจการจึงรับรู้รายได้และ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องจากการดําเนินงานที่ไม่ใช่กิจกรรมหลักในกําไรหรือขาดทุน และรวมถึง การจัดประเภทรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องตามลําดับ 22 กิจการวัดมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ที่กิจการสร้างขึ้นโดยใช้หลักการเดียวกับการวัดมูลค่าต้นทุน ของสินทรัพย์ที่กิจการได้มา หากกิจการผลิตสินทรัพย์ที่คล้ายกันออกขายในการดําเนินธุรกิจ ตามปกติ ต้นทุนของสินทรัพย์ที่สร้างเองมักเท่ากับต้นทุนของสินค้าที่ผลิตเพื่อขาย ( ดูมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 2) ดังนั้น ต้นทุนของสินทรัพย์จึงไม่รวมกําไรที่เกิดขึ้นภายในกิจการ ในทํานอง เดียวกัน ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงหรือทรัพยากรอื่นที่สูญเสียเกินกว่าปกติในการก่อสร้างสินทรัพย์ ดังกล่าวไม่ให้นํามารวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ที่สร้างขึ้นใช้เอง การรับรู้รายการดอกเบี้ย เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่สร้างขึ้นใช้เองต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม 22 ก พืชเพื่อการให้ผลิตผลให้ใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่กิจการสร้าง ขึ้นเองก่อนที่รายการดังกล่าวจะอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของ ฝ่ายบริหาร ดังนั้น การอ้างอิงถึง ‘ การก่อสร้าง ’ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ควรตีความว่า ครอบคลุมถึงกิจกรรมที่จําเป็นเพื่อเพาะปลูกและดูแลพืชเพื่อการให้ผลิตผลก่อนที่พืชเพื่อการให้ ผลิตผลจะอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร การวัดมูลค่าของราคาทุน 23 ต้นทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ คือ ราคาที่เทียบเท่าราคาเงินสด ณ วันที่รับรู้รายการ หากมีการขยายกําหนดการชําระเงินออกไปนานกว่าระยะเวลาการให้สินเชื่อตามปกติ กิจการรับรู้ ผลต่างระหว่างราคาที่เทียบเท่าราคาเงินสดและจํานวนเงินทั้งหมดที่จ่ายชําระเป็นดอกเบี้ยตลอด ระยะเวลาการได้รับสินเชื่อนั้น เว้นแต่กิจการรับรู้ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่า ตามบัญชีของสินทรัพย์ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 24 กิจการอาจได้รับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์หนึ่งรายการหรือมากกว่าหนึ่งรายการจาก การแลกเปลี่ยนกับรายการสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินหรือแลกเปลี่ยนกับทั้งรายการสินทรัพย์ที่เป็น ตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ข้อพิจารณาที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นข้อพิจารณาสําหรับกรณีการแลกเปลี่ยน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินกับสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินอื่น อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถประยุกต์ใช้ ข้อพิจารณาดังกล่าวกับการแลกเปลี่ยนทุกกรณีที่กล่าวไว้ได้ กิจการวัดมูลค่าต้นทุนของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม ยกเว้นในกรณีใด กรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ 24.1 รายการแลกเปลี่ยนขาดเนื้อหาเชิงพาณิชย์ หรือ 24.2 กิจการไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมทั้งของสินทรัพย์ที่ได้มาและสินทรัพย์ที่นําไปแลกได้ อย่างน่าเชื่อถือ กิจการวัดมูลค่ารายการสินทรัพย์ที่ได้มาตามแนวทางนี้ ถึงแม้ว่ากิจการจะไม่สามารถเลิกรับรู้ รายการสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยนได้ในทันที หากสินทรัพย์ที่ได้มาไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรม กิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์นั้นโดยใช้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยน 25 ในการกําหนดว่ารายการแลกเปลี่ยนมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์หรือไม่ ให้กิจการพิจารณาจากระดับ ของกระแสเงินสดอนาคตที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากรายการดังกล่าว รายการแลกเปลี่ยนจะมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์หากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 25.1 ลักษณะ ( ความเสี่ยง จังหวะเวลา และจํานวนเงิน ) ของกระแสเงินสดที่ได้รับจาก สินทรัพย์แตกต่างจากลักษณะของกระแสเงินสดของสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยน หรือ 25.2 รายการแลกเปลี่ยนทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าเฉพาะกิจการในส่วนของ การดําเนินงานที่ถูกกระทบจากการแลกเปลี่ยน และ 25.3 ความแตกต่างในย่อหน้าที่ 25.1 หรือ 25.2 มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับมูลค่ายุติธรรม ของสินทรัพย์ที่แลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาว่าการแลกเปลี่ยนใดเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ กิจการต้องพิจารณามูลค่าเฉพาะกิจการในส่วนของการดําเนินงานที่ถูกกระทบจากการแลกเปลี่ยน จากกระแสเงินสดหลังหักภาษี ผลของการวิเคราะห์ดังกล่าวอาจเห็นได้ชัดเจนโดยกิจการไม่จําเป็น ต้องคํานวณอย่างละเอียด 26 กิจการสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ หากเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 26.1 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในช่วงของการวัดมูลค่ายุติธรรมที่สมเหตุสมผลของ สินทรัพย์นั้น หรือ 26.2 สามารถประเมินความน่าจะเป็นของประมาณการมูลค่ายุติธรรม ณ ระดับต่างๆ ในช่วง ของประมาณการได้อย่างสมเหตุสมผลเพื่อใช้ในการวัดมูลค่ายุติธรรม หากกิจการสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือสินทรัพย์ที่นําไปแลกเปลี่ยนได้ อย่างน่าเชื่อถือ กิจการวัดมูลค่าราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ที่นําไปแลกเปลี่ยน เว้นแต่กรณีที่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มานั้นมีหลักฐานสนับสนุน ที่ชัดเจนกว่า 27 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 28 มูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อาจลดลงเนื่องจากกิจการได้รับเงินอุดหนุน จากรัฐบาล ตามข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 20 เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินอุดหนุน จากรัฐบาลและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ 29 กิจการต้องเลือกใช้นโยบายการบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุนที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 30 หรือ วิธีการตีราคาใหม่ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 31 ทั้งนี้ กิจการต้องใช้นโยบายการบัญชี เดียวกันสําหรับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน 29 ก บางกิจการบริหารกองทุนเพื่อการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการภายในหรือภายนอก ที่ให้ผลประโยชน์ กับนักลงทุนตามหน่วยลงทุนในกองทุน ในทํานองเดียวกัน บางกิจการออกกลุ่มของสัญญา ประกันภัยที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์โดยตรงและถือครองรายการอ้างอิง บางกองทุนหรือ รายการอ้างอิงนั้นรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเองกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 16 กับอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเองซึ่งถูกรวมอยู่ในกองทุนนั้นหรือเป็น รายการอ้างอิง ถึงแม้จะมีข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 29 กิจการอาจเลือกวัดค่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรมตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เพื่อวัตถุประสงค์ของการเลือกข้างต้นนี้ สัญญาประกันภัยให้รวมถึงสัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ตามดุลพินิจ ( ดูมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย สําหรับการใช้ข้อกําหนดในย่อหน้านี้ ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับดังกล่าว ) 29 ข กิจการต้องปฏิบัติกับอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของใช้งานเองที่วัดค่าด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรมของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 29 ก โดยการแยกออกเป็นอีกประเภท ของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ วิธีราคาทุน 30 ภายหลังจากการรับรู้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นสินทรัพย์ กิจการต้องแสดง รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์นั้นด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม และผลขาดทุน จากการด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์ วิธีการตีราคาใหม่ 31 ภายหลังจากการรับรู้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์ หากที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์นั้นสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องแสดงรายการดังกล่าว ด้วยราคาที่ตีใหม่ คือ มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม และผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสมที่เกิดขึ้นในภายหลัง กิจการต้องตีราคาสินทรัพย์ใหม่
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 อย่างสมํ่าเสมอพอ เพื่อให้แน่ใจว่ามูลค่าตามบัญชีจะไม่แตกต่างจากมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานอย่างมีสาระสําคัญ 32 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 33 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 34 ความถี่ในการตีราคาใหม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่มีการตีราคาใหม่นั้น ในกรณีที่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เคยมีการตีราคาใหม่ ต่างไปจากมูลค่าตามบัญชีอย่างมีสาระสําคัญ กิจการจําเป็นต้องตีราคาสินทรัพย์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง มูลค่ายุติธรรมของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บางรายการอาจมีความผันผวนและ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญจนทําให้กิจการจําเป็นต้องตีราคาใหม่ทุกปี อย่างไรก็ตาม การตีราคาบ่อยครั้งไม่จําเป็นสําหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่มูลค่ายุติธรรม เปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสําคัญ ในกรณีดังกล่าว อาจจําเป็นต้องตีราคาใหม่ทุก 3 หรือ 5 ปี ถือว่าเพียงพอ 35 เมื่อมีการตีราคารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่ ให้ปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ เป็นราคาที่ตีใหม่ โดย ณ วันที่ตีราคาใหม่กิจการต้องถือปฏิบัติกับรายการที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ ตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 35.1 ปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักในลักษณะที่สมํ่าเสมอกับการตีราคาใหม่ของ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักอาจจะปรับ โดยการอ้างอิงจากข้อมูลในตลาดที่สังเกตได้ หรือ ปรับให้เป็นสัดส่วนกับการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่าตามบัญชี ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ตีราคาใหม่จะถูกปรับปรุงให้เท่ากับ ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักและมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หลังจากรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม หรือ 35.2 นําค่าเสื่อมราคาสะสมไปหักออกจากมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของสินทรัพย์ จํานวนเงินที่เป็นผลจากรายการปรับปรุงอันเกิดจากปรับยอดค่าเสื่อมราคาสะสมให้ถือเป็น ส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชี ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงที่จะถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 39 และ 40 36 หากกิจการเลือกตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์รายการใดรายการหนึ่งใหม่ กิจการต้องใช้ วิธีการตีราคาใหม่กับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน กับรายการที่เลือกตีราคาใหม่ด้วย 37 ประเภทของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง กลุ่มของสินทรัพย์ที่มีธรรมชาติและประโยชน์ การใช้งานที่คล้ายคลึงกันต่อการดําเนินงานของกิจการ ตัวอย่างการแบ่งประเภทของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ได้แก่ 37.1 ที่ดิน 37.2 ที่ดินและอาคาร 37.3 เครื่องจักร 37.4 เรือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 37.5 เครื่องบิน 37.6 ยานพาหนะ 37.7 เครื่องตกแต่งและติดตั้ง 37.8 อุปกรณ์สํานักงาน และ 37.9 พืชเพื่อการให้ผลิตผล 38 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันต้องตีราคาใหม่พร้อมกัน ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการเลือกตีราคาเฉพาะสินทรัพย์บางรายการ และเพื่อมิให้มูลค่าของสินทรัพย์ ที่แสดงอยู่ในงบการเงินมีทั้งต้นทุนและราคาที่ตีใหม่ ณ เวลาแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม กิจการ อาจทยอยตีราคาสินทรัพย์ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันได้หากการตีราคาของสินทรัพย์ประเภทนั้น จะเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาอันสั้น และราคาของสินทรัพย์ที่ตีใหม่แสดงถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน 39 หากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ทําให้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น กิจการต้องรับรู้ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ไปยังกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และรับรู้จํานวนสะสมไปยังส่วนของเจ้าของภายใต้หัวข้อ “ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ” อย่างไรก็ตาม กิจการต้องรับรู้ส่วนเพิ่มจากการตีราคาใหม่นี้ในกําไรหรือขาดทุนไม่เกิน จํานวนที่ตีราคาสินทรัพย์ดังกล่าวลดลงในอดีตและเคยรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 40 หากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ทําให้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นลดลง กิจการต้องรับรู้ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ลดลงจากการตีราคาใหม่ในกําไรหรือขาดทุน อย่างไรก็ตาม กิจการต้องนําส่วนที่ลดลงจากการตีราคาใหม่ไปรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในจํานวน ที่ไม่เกินยอดคงเหลือด้านเครดิตที่มีอยู่ในบัญชี “ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ” ของสินทรัพย์รายการเดียวกันนั้น โดยการรับรู้ส่วนที่ลดลงในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น จะมีผลทําให้บัญชี “ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ” ที่สะสมอยู่ในส่วนของเจ้าของ ลดลงตามไปด้วย 41 กิจการอาจโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่รวมอยู่ในส่วนของเจ้าของ ไปยังกําไรสะสมโดยตรงเมื่อกิจการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์นั้น โดยอาจจะโอนส่วนเกินทุนทั้งหมด จากการตีราคาสินทรัพย์ดังกล่าวไปยังกําไรสะสมเมื่อกิจการจําหน่ายหรือเลิกใช้สินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่กิจการใช้งานสินทรัพย์ดังกล่าว กิจการอาจทยอยโอนส่วนเกินทุนบางส่วนไปยังกําไรสะสม ในกรณีนี้จํานวนของส่วนเกินทุนที่โอนไปยังกําไรสะสม จะเท่ากับผลต่างระหว่างค่าเสื่อมราคา ที่คํานวณจากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่กับค่าเสื่อมราคาที่คํานวณจากราคาทุนเดิม ของสินทรัพย์นั้น การโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไปยังกําไรสะสมไม่ทําผ่านกําไร หรือขาดทุน 42 กิจการรับรู้รายการและเปิดเผยรายการผลกระทบทางภาษี ( ถ้ามี ) จากการตีราคาใหม่ สําหรับ รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์โดยปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 ค่าเสื่อมราคา 43 กิจการต้องคิดค่าเสื่อมราคาสําหรับส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แต่ละส่วนแยกต่างหากจากกันเมื่อส่วนประกอบแต่ละส่วนนั้นมีต้นทุนที่มีนัยสําคัญ เมื่อเทียบกับต้นทุนทั้งหมดของสินทรัพย์นั้น 44 กิจการปันส่วนมูลค่าที่รับรู้เริ่มแรกของรายการที่เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ไปยังส่วนประกอบ แต่ละส่วนที่มีนัยสําคัญของสินทรัพย์นั้นและคิดค่าเสื่อมราคาแยกจากกัน เช่น กิจการอาจแยก คิดค่าเสื่อมราคาโครงเครื่องบินและเครื่องยนต์แยกจากกัน ในทํานองเดียวกัน หากกิจการได้มา ซึ่งรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และให้ผู้อื่นเช่าภายใต้สัญญาเช่าดําเนินงาน กล่าวคือกิจการ เป็นผู้ให้เช่า อาจเป็นการเหมาะสมที่กิจการจะคิดค่าเสื่อมราคาจากต้นทุนของรายการดังกล่าว แยกต่างหากจากรายการอื่น เพื่อให้ราคาทุนของสินทรัพย์ดังกล่าวสะท้อนถึงผลที่ดีและผลที่ไม่ดี ของอายุของสัญญาเช่าเมื่อเทียบกับในตลาด 45 หากส่วนประกอบที่มีนัยสําคัญของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์มีอายุการใช้ประโยชน์และ ใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาเหมือนกับส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งของสินทรัพย์รายการเดียวกัน ในกรณีดังกล่าว กิจการอาจรวมองค์ประกอบดังกล่าวเป็นกลุ่มเพื่อคิดค่าเสื่อมราคา 46 ในกรณีที่กิจการคิดค่าเสื่อมราคาส่วนประกอบบางส่วนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แยกจากกัน กิจการต้องคิดค่าเสื่อมราคาส่วนประกอบอื่นๆ ที่เหลือของสินทรัพย์แยกจากกันด้วย ส่วนที่เหลือประกอบด้วยส่วนประกอบแต่ละส่วนที่ไม่มีนัยสําคัญ หากกิจการคาดว่าส่วนประกอบ ต่างๆ จะมีรูปแบบและอายุการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน กิจการอาจคิดค่าเสื่อมราคาของ ส่วนประกอบที่เหลือโดยใช้วิธีการประมาณซึ่งเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมที่สะท้อนถึงรูปแบบ การใช้ประโยชน์และ / หรืออายุการใช้ประโยชน์ของส่วนประกอบดังกล่าว 47 กิจการอาจเลือกคิดค่าเสื่อมราคาส่วนประกอบแต่ละส่วนของสินทรัพย์รายการหนึ่งแยกจากกัน แม้ว่าต้นทุนของส่วนประกอบเหล่านั้นจะไม่มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับต้นทุนทั้งหมดของสินทรัพย์ รายการนั้น 48 กิจการต้องรับรู้ค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาในกําไรหรือขาดทุน ยกเว้นกรณีที่ ต้องนําค่าเสื่อมราคาดังกล่าวไปรวมเป็นมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์รายการอื่น 49 โดยปกติกิจการจะรับรู้ค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาในกําไรหรือขาดทุน อย่างไร ก็ตาม ในบางครั้ง ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์อาจเกิดจากการใช้สินทรัพย์ ดังกล่าวในการผลิตสินทรัพย์อื่น ในกรณีนี้ ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นถือเป็นส่วนหนึ่ง ในต้นทุนของสินทรัพย์อื่นดังกล่าวและรวมเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์อื่นนั้น เช่น ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและอุปกรณ์ในการผลิตถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนแปลงสภาพของ สินค้าคงเหลือ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2) ในทํานองเดียวกันค่าเสื่อมราคาของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการพัฒนาถือเป็นส่วนหนึ่งในต้นทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่กิจการอาจรับรู้ตามข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 จํานวนที่คิดค่าเสื่อมราคาและระยะเวลาการคิดค่าเสื่อมราคา 50 กิจการต้องปันส่วนจํานวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการใช้ ประโยชน์ของสินทรัพย์ 51 กิจการต้องทบทวนมูลค่าคงเหลือและอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์อย่างน้อยที่สุด ทุกสิ้นรอบปีบัญชี และหากคาดว่ามูลค่าคงเหลือและอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ แตกต่างไปจากที่ได้ประมาณไว้ กิจการต้องถือว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเป็น การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด 52 แม้ว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์จะสูงกว่ามูลค่าตามบัญชี กิจการยังคงรับรู้ค่าเสื่อมราคาต่อไป ตราบเท่าที่มูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์นั้นไม่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี การซ่อมแซมและบํารุงรักษา สินทรัพย์ไม่ถือเป็นเหตุให้หยุดคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ 53 จํานวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ต้องเป็นจํานวนเงินหลังหักมูลค่าคงเหลือ ในทางปฏิบัติ มูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์มักเป็นจํานวนที่ไม่มีนัยสําคัญ ดังนั้น มูลค่าคงเหลือจึงไม่มี สาระสําคัญในการคํานวณจํานวนที่คิดค่าเสื่อมราคา 54 มูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์อาจเพิ่มขึ้นจนเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ในกรณีดังกล่าว ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์จะมีค่าเท่ากับศูนย์ จนกระทั่งมูลค่าคงเหลือลดลงตํ่ากว่า มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ในภายหลัง 55 การคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์จะเริ่มต้นเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งาน กล่าวคือ เมื่อสินทรัพย์อยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร การคิดค่าเสื่อมราคาจะสิ้นสุดเมื่อกิจการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์นั้น หรือจัดประเภทสินทรัพย์ นั้นเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ( หรือรวมไว้ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายซึ่งจัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ) ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 แล้วแต่วันใด จะเกิดขึ้นก่อน ดังนั้น กิจการไม่อาจหยุดคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์เมื่อกิจการไม่ได้ใช้งาน สินทรัพย์นั้น หรือปลดจากการใช้งานประจํา เว้นแต่สินทรัพย์นั้นได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจํานวนแล้ว อย่างไรก็ตาม หากกิจการใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีปริมาณการใช้ค่าเสื่อมราคาอาจมีค่า เท่ากับศูนย์ได้เมื่อไม่มีการผลิต 56 โดยหลักการแล้ว กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอื่น เช่น ความล้าสมัยทางเทคนิคหรือทางการพาณิชย์ การชํารุดเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะที่ หยุดใช้งานสินทรัพย์ มักทําให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่จะได้รับจากสินทรัพย์นั้นลดลง ดังนั้น ในการกําหนดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ กิจการต้องคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ 56.1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์โดยประเมินจากกําลังการผลิตหรือ ผลผลิตที่คาดว่าจะได้จากสินทรัพย์นั้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 56.2 การชํารุดเสียหายทางกายภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ในการดําเนินงาน เช่น จํานวนผลัดในการใช้สินทรัพย์และแผนการซ่อมแซมและบํารุงรักษา รวมทั้ง การดูแลและบํารุงรักษาสินทรัพย์ในขณะที่หยุดใช้งานสินทรัพย์ 56.3 ความล้าสมัยทางด้านเทคนิคหรือทางพาณิชย์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหรือ การปรับปรุงการผลิต หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความต้องการในสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสินทรัพย์นั้น การลดลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตในราคาขายของ รายการสินค้าที่มีการผลิตโดยใช้สินทรัพย์นั้นอาจบ่งชี้ถึงความล้าสมัยทางด้านเทคนิค หรือทางพาณิชย์ของสินทรัพย์นั้นที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะสะท้อนถึงการลดลงของ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากสินทรัพย์นั้น 56.4 ข้อกําหนดทางกฎหมายหรือข้อจํากัดอื่นที่คล้ายคลึงกันในการใช้สินทรัพย์ เช่น การสิ้นสุด อายุของสัญญาเช่าที่เกี่ยวข้อง 57 อายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ได้ถูกนิยามในเชิงอรรถประโยชน์ที่กิจการคาดว่าจะได้รับจาก สินทรัพย์นั้น กิจการอาจมีนโยบายบริหารสินทรัพย์โดยการจําหน่ายสินทรัพย์หลังจากใช้งาน สินทรัพย์ไประยะหนึ่งหรือหลังจากได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์ แล้วส่วนหนึ่ง ดังนั้น อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์จึงอาจสั้นกว่าอายุการใช้ประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจ การประมาณอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์เป็นการใช้วิจารณญาณซึ่งต้องอาศัย ประสบการณ์ของกิจการจากการใช้สินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน 58 ที่ดินและอาคารเป็นสินทรัพย์ที่แยกจากกันได้และปฏิบัติโดยแยกจากกันแม้ว่าจะได้มาพร้อมกัน ที่ดินจะมีอายุการใช้ประโยชน์ไม่จํากัดจึงไม่จําเป็นต้องคิดค่าเสื่อมราคา ยกเว้นในบางกรณี เช่น เหมืองแร่ที่ทําบนผิวดิน หรือพื้นที่ที่ใช้สําหรับการทิ้งขยะ อาคารมีอายุการใช้ประโยชน์ ที่จํากัดจึงเป็นสินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพได้ การเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อการกําหนดจํานวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของอาคาร 59 หากกิจการรวมต้นทุนในการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่ดิน กิจการคิดค่าเสื่อมราคาสําหรับต้นทุนดังกล่าวตลอดระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก ต้นทุนนั้น ในบางกรณี ที่ดินอาจมีอายุการใช้ประโยชน์จํากัดจึงต้องมีการคิดค่าเสื่อมราคา ในลักษณะที่สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากที่ดินดังกล่าว วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา 60 วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาที่ใช้ต้องสะท้อนรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต ที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ 61 กิจการต้องทบทวนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์อย่างน้อยที่สุดทุกสิ้นรอบปีบัญชี และหากกิจการพบว่าลักษณะรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต จากสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ กิจการต้องเปลี่ยนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา เพื่อสะท้อนถึงลักษณะรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 ดังกล่าวต้องถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 62 กิจการสามารถใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาซึ่งมีหลายวิธีปันส่วนจํานวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคามีหลายวิธี เช่น วิธีเส้นตรง วิธียอดคงเหลือลดลง และวิธีจํานวนผลผลิต วิธีเส้นตรงมีผลทําให้ค่าเสื่อมราคา มีจํานวนคงที่ตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์หากมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์นั้น ไม่เปลี่ยนแปลง วิธียอดคงเหลือลดลงมีผลทําให้ค่าเสื่อมราคาลดลงตลอดอายุการใช้ประโยชน์ ของสินทรัพย์ วิธีจํานวนผลผลิตมีผลทําให้ค่าเสื่อมราคาขึ้นอยู่กับประโยชน์หรือผลผลิตที่คาดว่า จะได้รับจากสินทรัพย์ กิจการเลือกใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาที่สะท้อนรูปแบบของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากสินทรัพย์ให้ใกล้เคียงที่สุดและต้องใช้อย่างสมํ่าเสมอ ในทุกรอบระยะเวลา เว้นแต่รูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจาก สินทรัพย์นั้นเปลี่ยนไป 62 ก วิธีคิดค่าเสื่อมราคาที่อิงจากรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมที่รวมถึงการใช้สินทรัพย์เป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม รายได้ที่เกิดจากกิจกรรมที่รวมถึงการใช้สินทรัพย์โดยทั่วไปจะสะท้อนถึงปัจจัยอื่นนอกเหนือจาก การใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น รายได้จะถูกกระทบโดยปัจจัยนําเข้าอื่น และกระบวนการอื่น กิจกรรมการขาย และการเปลี่ยนแปลงในปริมาณขายและราคา ราคาซึ่งเป็นส่วนประกอบของรายได้อาจถูกกระทบโดยภาวะเงินเฟ้อซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ วิธีการที่กิจการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ การด้อยค่า 63 ในการกําหนดว่ารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เกิดการด้อยค่าหรือไม่ ให้กิจการปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าว อธิบายวิธีที่กิจการใช้ในการทบทวนมูลค่าตามบัญชีและการกําหนดมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของ สินทรัพย์รวมถึงเมื่อใดที่กิจการรับรู้หรือกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์นั้น 64 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ค่าชดเชยสําหรับการด้อยค่า 65 ค่าชดเชยที่กิจการได้รับจากบุคคลที่สามสําหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เกิด การด้อยค่า สูญหาย หรือเลิกใช้ต้องนํามารวมในกําไรหรือขาดทุนเมื่อกิจการมีสิทธิได้รับ ค่าชดเชยนั้น 66 การด้อยค่าหรือผลขาดทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้อง ที่จะได้รับค่าชดเชยจากบุคคลที่สาม และการซื้อหรือการก่อสร้างสินทรัพย์เพื่อการเปลี่ยนแทน ในภายหลัง ถือเป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่แยกจากกันและต้องปฏิบัติแยกจากกัน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 66.1 การด้อยค่าของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ให้รับรู้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 66.2 การเลิกรับรู้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เลิกใช้งานหรือจําหน่ายไป ให้ถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 66.3 ค่าชดเชยที่ได้รับจากบุคคลที่สามสําหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่มีการด้อยค่า สูญเสีย หรือเลิกใช้ ให้นํามารวมในการคํานวณกําไรหรือขาดทุนเมื่อกิจการมีสิทธิได้รับ ค่าชดเชยนั้น และ 66.4 ต้นทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เกิดจากการบูรณะ การซื้อ หรือการก่อสร้าง เพื่อเปลี่ยนแทนสินทรัพย์เดิม ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ การเลิกรับรู้รายการ 67 กิจการต้องเลิกรับรู้มูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เมื่อเข้าเงื่อนไข ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 67.1 กิจการจําหน่ายสินทรัพย์ หรือ 67.2 กิจการคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์หรือ การจําหน่ายสินทรัพย์ 68 กิจการต้องรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการเลิกรับรู้รายการที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อกิจการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์นั้น ( ยกเว้นกรณีที่ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กําหนดเป็นอย่างอื่นในกรณี ของการขายและเช่ากลับคืน ) ทั้งนี้ กิจการต้องไม่จัดประเภทผลกําไรที่เกิดขึ้นจากการเลิก รับรู้รายการเป็นรายได้หลัก 68 ก อย่างไรก็ตาม ในการประกอบกิจกรรมตามปกติที่กิจการมีการขายรายการที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ที่ถือไว้เพื่อให้เช่าอย่างเป็นกิจวัตร กิจการต้องโอนสินทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นสินค้า คงเหลือด้วยมูลค่าตามบัญชี เมื่อสิ้นสุดการให้เช่าและกลายเป็นถือไว้เพื่อขาย เงินที่ได้รับจาก การขายสินทรัพย์ดังกล่าวต้องรับรู้เป็นรายได้ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ทั้งนี้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 ไม่ให้ถือ ปฏิบัติเมื่อสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายอันเป็นการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการได้โอนไปเป็น สินค้าคงเหลือแล้ว 69 การจําหน่ายรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อาจเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ ( เช่น โดยการขาย โดยการให้เช่าภายใต้สัญญาเช่าเงินทุน หรือโดยการบริจาค ) วันที่ของการจําหน่ายรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ คือวันที่ผู้รับมีอํานาจควบคุมรายการนั้นตามข้อกําหนดสําหรับพิจารณาว่า เมื่อใดภาระที่ต้องปฏิบัติจะเสร็จสิ้นตามข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ให้กิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 มาถือปฏิบัติกับการจําหน่ายสินทรัพย์ โดยการขายและเช่ากลับคืน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 70 ภายใต้หลักการรับรู้รายการที่กําหนดในย่อหน้าที่ 7 หากกิจการรับรู้ต้นทุนในการเปลี่ยนแทน ส่วนประกอบของสินทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชี ให้กิจการเลิกรับรู้มูลค่าตามบัญชี ของส่วนประกอบที่ถูกเปลี่ยนแทน โดยไม่คํานึงว่าส่วนประกอบที่ถูกเปลี่ยนแทนนั้นได้มีการ คิดค่าเสื่อมราคาแยกต่างหากจากสินทรัพย์นั้นหรือไม่ หากในทางปฏิบัติกิจการไม่สามารถ กําหนดมูลค่าตามบัญชีของส่วนประกอบที่ถูกเปลี่ยนแทนได้ กิจการอาจใช้ต้นทุนในการเปลี่ยน แทนเป็นตัวบ่งชี้ถึงต้นทุนของส่วนประกอบที่ถูกเปลี่ยนแทนในขณะที่กิจการได้มาหรือก่อสร้าง ส่วนประกอบที่ถูกเปลี่ยนแทนนั้น 71 ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเลิกรับรู้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ คือ ผลต่าง ระหว่างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับจากการจําหน่ายสินทรัพย์ ( ถ้ามี ) กับมูลค่าตามบัญชีของ รายการนั้น 72 จํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่ถูกรวมอยู่ในผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเลิกรับรู้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ตามข้อกําหนดของการกําหนดราคาของรายการในย่อหน้าที่ 47 ถึง 72 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 การเปลี่ยนแปลงในภายหลังสําหรับจํานวนเงิน โดยประมาณของสิ่งตอบแทนที่รวมอยู่ในผลกําไรหรือขาดทุนต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนด สําหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาของรายการตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 การเปิดเผยข้อมูล 73 งบการเงินต้องเปิดเผยรายการต่อไปนี้ทุกข้อสําหรับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละประเภท 73.1 เกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้กําหนดมูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหัก 73.2 วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาที่ใช้ 73.3 อายุการใช้ประโยชน์หรืออัตราค่าเสื่อมราคาที่ใช้ 73.4 มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักและค่าเสื่อมราคาสะสม ( รวมทั้งผลขาดทุนจาก การด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์ ) ณ วันเริ่มต้นและสิ้นรอบระยะเวลา และ 73.5 รายการกระทบยอดของมูลค่าตามบัญชีระหว่างวันเริ่มต้นถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาที่ แสดงถึง 73.5.1 มูลค่าของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น 73.5.2 มูลค่าของสินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็นที่ถือไว้เพื่อขายหรือรวมไว้ในกลุ่ม สินทรัพย์ที่จําหน่ายที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 และการจําหน่ายอื่นๆ 73.5.3 มูลค่าของสินทรัพย์ที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ 73.5.4 การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ซึ่งเป็นผลมาจากการตีราคาใหม่ ตามย่อหน้าที่ 31 39 และ 40 และจากการรับรู้หรือกลับรายการบัญชี ผลขาดทุนจากการด้อยค่าในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามที่กําหนดไว้ ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 73.5.5 ผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนตามที่กําหนดไว้ใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 73.5.6 การกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าในกําไรหรือขาดทุนตามที่ กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 73.5.7 ค่าเสื่อมราคา 73.5.8 ผลต่างสุทธิของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการแปลงค่างบการเงินจาก สกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานเป็นสกุลเงินที่กิจการใช้เสนอรายงาน รวมถึงการแปลงค่าหน่วยงานต่างประเทศให้เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการนําเสนอ งบการเงินของกิจการที่เสนอรายงาน และ 73.5.9 การเปลี่ยนแปลงอื่น 74 งบการเงินต้องเปิดเผยรายการต่อไปนี้ด้วย 74.1 การมีอยู่และจํานวนเงินของข้อจํากัดในกรรมสิทธิ์ และที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ใช้ เป็นหลักประกันของหนี้สิน 74.2 จํานวนเงินรายจ่ายที่รับรู้ในมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่เกิดระหว่างการก่อสร้าง และ 74.3 จํานวนเงินของข้อผูกมัดตามสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 74 ก หากไม่ได้นําเสนอแยกจากกันในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบการเงินต้องเปิดเผยรายการ ต่อไปนี้ด้วย 74 ก .1 จํานวนเงินค่าชดเชยที่ได้รับจากบุคคลที่สามสําหรับรายการที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ที่มีการด้อยค่า สูญหาย หรือเลิกใช้ ซึ่งรวมอยู่ในกําไรหรือขาดทุน และ 74 ก .2 จํานวนเงินที่ได้รับและต้นทุนที่รวมอยู่ในกําไรหรือขาดทุน เพื่อให้เป็นไปตาม ย่อหน้าที่ 20 ก ซึ่งเกี่ยวข้องกับชิ้นงานที่ผลิตที่ไม่ใช่ผลผลิตจากกิจกรรมตามปกติ ธุรกิจของกิจการ และระบุว่าได้รวมไว้ในรายการบรรทัดใดบ้างในงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จ 75 การเลือกวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาและการประมาณอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์เป็นเรื่อง ที่ต้องใช้วิจารณญาณ ดังนั้น การเปิดเผยวิธีการที่ใช้และอายุการใช้ประโยชน์โดยประมาณหรือ อัตราค่าเสื่อมราคาจะให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งบการเงินเพื่อใช้ทบทวนนโยบายการบัญชีที่ฝ่ายบริหาร เลือกใช้และทําให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับของกิจการอื่นได้ และด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกัน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 75.1 ค่าเสื่อมราคา ทั้งนี้ ไม่ว่าค่าเสื่อมราคานั้นจะรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนหรือรับรู้เป็น ส่วนหนึ่งของต้นทุนของสินทรัพย์อื่นในระหว่างรอบระยะเวลา และ 75.2 ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา 76 กิจการเปิดเผยธรรมชาติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีที่มีผลกระทบ ในรอบระยะเวลาปัจจุบันหรือที่คาดว่าจะมีผลกระทบในรอบระยะเวลาต่อไปตามที่กําหนดไว้ใน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวสําหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อาจมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการในเรื่องต่อไปนี้ 76.1 มูลค่าคงเหลือ 76.2 ประมาณการต้นทุนในการรื้อ การขนย้าย หรือการบูรณะรายการที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ 76.3 อายุการใช้ประโยชน์ และ 76.4 วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา 77 หากรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ กิจการต้องเปิดเผยรายการ ต่อไปนี้เพิ่มเติมจากรายการที่เปิดเผยตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 77.1 วันที่มีการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ 77.2 ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ประเมินราคาอิสระมีส่วนร่วมในการตีราคาใหม่หรือไม่ 77.3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 77.4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 77.5 สําหรับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่แต่ละประเภทมีการตีราคาใหม่ให้เปิดเผย มูลค่าตามบัญชีที่ควรจะรับรู้หากสินทรัพย์นั้นแสดงโดยใช้วิธีราคาทุน และ 77.6 ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ซึ่งกิจการต้องแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ของส่วนเกินทุนดังกล่าวในระหว่างรอบระยะเวลา และข้อจํากัดในการจ่ายส่วนเกิน ทุนนั้นให้กับผู้ถือหุ้น 78 กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่มีการด้อยค่าตามที่ระบุไว้ใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เพิ่มเติมจากข้อมูลที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 73.5.4 ถึง 73.5.6 79 ผู้ใช้งบการเงินอาจพบว่าข้อมูลต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้งบการเงิน 79.1 มูลค่าตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่กิจการหยุดใช้งานเป็นการชั่วคราว 79.2 มูลค่าตามบัญชีก่อนรายการหักของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ซึ่งหักค่าเสื่อมราคาเต็ม จํานวนแล้วแต่ยังคงใช้งานอยู่ 79.3 มูลค่าตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ซึ่งปลดจากการใช้งานประจําและยังไม่ได้ จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 และ 79.4 ในกรณีที่กิจการเลือกใช้วิธีราคาทุน มูลค่ายุติธรรมของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หากแตกต่างจากมูลค่าตามบัญชีอย่างมีสาระสําคัญ ดังนั้นมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงสนับสนุนให้กิจการเปิดเผยจํานวนดังกล่าว การถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่าน 80 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 80 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 80 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 80 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 80 ง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – เงินที่ได้รับก่อนพร้อมใช้ตามความประสงค์ ที่ออกโดยคณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2565 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 17 และ 74 และเพิ่มย่อหน้าที่ 20 ก และ 74 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวแบบปรับย้อนหลัง แต่เฉพาะกับรายการของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่มีการทําให้อยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้ งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหารที่เริ่มในหรือหลังวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาแรกสุดที่ นําเสนอในงบการเงินที่กิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้เป็นครั้งแรก กิจการต้องรับรู้ ผลกระทบสะสมของการเริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ให้เป็นรายการปรับปรุงในกําไร สะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ ตามความเหมาะสม ) ณ วันเริ่มต้นของ รอบระยะเวลาแรกสุดที่นําเสนอ วันถือปฏิบัติ 81 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้สนับสนุนให้นําไปใช้ก่อนวันถือปฏิบัติ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับงวดก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ กิจการต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 81 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 ข ( ย่อหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 ง ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 จ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 ฉ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 ช กิจการต้องปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยวิธีปรับย้อนหลังตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 81 ซ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 ฌ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 ญ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2557 ทําให้มีการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 17/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 68 ก 69 และ 72 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 81 ฎ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 81 ฏ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2562 โดยตัดย่อหน้าที่ 4 และ 27 และแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 10 44 และ 68 ถึง 69 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 81 ฐ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2566 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 29 ก และ 29 ข กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 81 ฑ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – เงินที่ได้รับก่อนพร้อมใช้ตามความประสงค์ ที่ออกโดยคณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2565 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 17 และ 74 และเพิ่มย่อหน้าที่ 20 ก และ 74 ก และ 80 ง กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับ รอบระยะเวลารายงานประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาต ให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว สําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว การเลิกใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่น 82 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ( ปรับปรุง 2561) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 83 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )