Tue Aug 08 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เล่มที่ 1)


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เล่มที่ 1)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศใ นราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วั นประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 81/2562 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ตามที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 4 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 12: Income Taxes (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 15 22 และ 24 และเพิ่มย่อหน้าที่ 22 ก และ 98 ญ ถึง 98 ฏ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นจาก รายการเดียวกัน 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 20 และ 98 ช และเพิ่มย่อหน้าที่ 57 ก และ 98 ฌ และตัด ย่อหน้าที่ 52 ข และแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น  มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า  การปรับปรุงมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ประจําปี 2558 ถึง 2560 ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ ขอบเขต 1 คํานิยาม 5 ฐำนภาษี 7 การรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้และสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลา ปัจจุบัน 12 การรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และสินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี 15 ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี 15 ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี 24 ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ 34 การนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ยังไม่ได้รับรู้มาประเมินใหม่ 37 เงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และบริษัทร่วม และส่วนได้เสียในการร่วมการงาน 38 การวัดมูลค่า 46 การรับรู้ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัด บัญชี 57 รายการที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 58 รายการที่รับรู้นอกกําไรหรือขาดทุน 61 ก ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากการรวมธุรกิจ 66 ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจาก รายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ 68 ก การแสดงรายการ 71 สินทรัพย์ภาษีเงินได้และหนี้สินภาษีเงินได้ 71 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 77 การเปิดเผยข้อมูล 79 วันถือปฏิบัติ 89 ยกเลิกการตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 99

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 99 ทุกย่อหน้า มีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิด สําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ วัตถุประสงค์ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดวิธีการปฏิบัติทางบัญชีสําหรับภาษีเงินได้ ประเด็นหลักของการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้อยู่ที่การปฏิบัติกับผลกระทบทางภาษีทั้งในรอบ ระยะเวลาปัจจุบันและอนาคตจาก ( ก ) การได้รับประโยชน์ในอนาคตซึ่งมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และการจ่ายชําระ ในอนาคตซึ่งมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินที่รับรู้ในงบฐานะการเงินของกิจการ และ ( ข ) รายการและเหตุการณ์อื่นของรอบระยะเวลาปัจจุบันที่รับรู้ในงบการเงินของกิจการ หลักการพื้นฐานของการรับรู้สินทรัพย์และหนี้สิน คือกิจการที่เสนอรายงานคาดว่าตนจะได้รับ ประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือจ่ายชําระมูลค่าตามบัญชีของหนี้สิน หากมี ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าการได้รับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือ การจ่ายชําระมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินดังกล่าวจะมีผลทําให้กิจการต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอนาคต เพิ่มขึ้น ( หรือลดลง ) จากจํานวนภาษีที่ต้องจ่ายหากการรับประโยชน์จากสินทรัพย์หรือการชําระ หนี้สินนั้นไม่มีผลกระทบทางภาษี มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้กิจการต้องรับรู้หนี้สินภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี ( หรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ) โดยมีข้อยกเว้นบางประการ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้กิจการต้องปฏิบัติกับผลกระทบทางภาษีของรายการและ เหตุการณ์อื่น ในลักษณะเดียวกันกับที่ปฏิบัติกับรายการและเหตุการณ์อื่นนั้น ดังนั้น หากกิจการ รับรู้รายการและเหตุการณ์อื่นในกําไรหรือขาดทุน กิจการจะต้องรับรู้ผลกระทบทางภาษีที่ เกี่ยวข้องในกําไรหรือขาดทุนด้วยเช่นกัน ส่วนรายการและเหตุการณ์อื่นที่ไม่ได้รับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุน ( รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรือรับรู้ตรงไปยังส่วนของเจ้าของ ) กิจการต้องบันทึก รายการภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายการที่ไม่ได้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนนั้น ( รับรู้ในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นหรือรับรู้ตรงไปยังส่วนของเจ้าของเช่นกัน ) ในทํานองเดียวกัน การรับรู้สินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่เกิดจากการรวมธุรกิจจะส่งผล ต่อมูลค่าของค่าความนิยมหรือจํานวนกําไรจากการซื้อในราคาตํ่ากว่ามูลค่ายุติธรรม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 นอกจากนี้ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ยังกําหนดเกี่ยวกับการรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีที่เกิดจากผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ การแสดงรายการภาษีเงินได้ในงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้ ขอบเขต 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับวิธีการบัญชีสําหรับภาษีเงินได้ 2 ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ภาษีเงินได้ หมายถึง ภาษีทั้งหลายของกิจการทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศที่คํานวณจากกําไรทางภาษี รวมทั้งภาษีซึ่งบริษัทย่อย บริษัทร่วม และการร่วม การงานต้องจ่าย เนื่องจากการจําหน่ายเงินกําไรให้แก่กิจการที่เสนอรายงาน เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 4 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้กําหนดวิธีการบัญชีสําหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ( ดูมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 20 เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ความช่วยเหลือจากรัฐบาล ) หรือเครดิตภาษีจากการลงทุน อย่างไรก็ดี มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กําหนดวิธีการบัญชีสําหรับผลต่างชั่วคราวที่อาจเกิดจากเงินอุดหนุนหรือเครดิตภาษีจากการลงทุน ดังกล่าว คํานิยาม 5 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ กําไรทางบัญชี หมายถึง กําไรหรือขาดทุนสําหรับรอบระยะเวลา ก่อนหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษี หมายถึง กําไร ( ขาดทุน ) สําหรับรอบระยะเวลา ซึ่งคํานวณตามเกณฑ์ที่กําหนดโดยหน่วยงาน จัดเก็บภาษี เพื่อใช้คํานวณภาษีเงินได้ที่ต้อง ชําระ ( หรือได้รับคืน ) ค่าใช้จ่าย ( รายได้ ) ภาษีเงินได้ หมายถึง ผลรวมของภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลา ปัจจุบัน และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ใช้ ในการคํานวณกําไรหรือขาดทุนสําหรับรอบ ระยะเวลา ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลา ปัจจุบัน หมายถึง จํานวนภาษีเงินได้ที่ต้องชําระหรือสามารถ ขอคืนได้ ซึ่งเกิดจากกําไร ( ขาดทุน )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 ทางภาษีสําหรับรอบระยะเวลา หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หมายถึง จํานวนภาษีเงินได้ที่กิจการต้องจ่ายในรอบ ระยะเวลาอนาคตซึ่งเกิดจากผลต่างชั่วคราว ที่ต้องเสียภาษี สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัด บัญชี หมายถึง จํานวนภาษีเงินได้ที่กิจการสามารถขอคืน ได้ในรอบระยะเวลาอนาคตซึ่งเกิดจาก ( ก ) ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ( ข ) ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ยกไป และ ( ค ) เครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ยกไป ผลต่างชั่วคราว หมายถึง ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ และหนี้สินที่แสดงในงบฐานะการเงินกับ ฐานภาษีของสินทรัพย์และหนี้สินนั้น ผลต่างชั่วคราวอาจจัดเป็นประเภทใด ประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ ( ก ) ผ ล ต่ำ ง ชั่ วคราวที่ต้องเสียภาษี หมายถึง ผลต่างชั่วคราวที่กิจการต้อง นําไปรวมเป็นรายได้ในการคํานวณ กําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีสําหรับรอบ ระยะเวลาอนาคต เมื่อกิจการได้รับ ประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์หรือจ่ายชําระมูลค่าตามบัญชี ของหนี้สิน หรือ ( ข ) ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี หมายถึง ผลต่างชั่วคราวที่กิจการสามารถนําไป หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณกําไร ( ขาดทุ น ) ทางภาษี สํำหรั บร อ บ ระยะเวลาอนาคต เมื่อกิจการได้รับ ประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์หรือจ่ายชําระมูลค่าตามบัญชี ของหนี้สิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 ฐานภาษีของสินทรัพย์หรือ หนี้สิน หมายถึง มูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สินทางภาษีอากร 6 ค่าใช้จ่าย ( รายได้ ) ภาษีเงินได้ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย ( รายได้ ) ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลา ปัจจุบันและค่าใช้จ่าย ( รายได้ ) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ฐานภาษี 7 ฐานภาษีของสินทรัพย์ หมายถึง มูลค่าของสินทรัพย์ที่กฎหมายภาษีอากรยอมให้นําไปหักเป็น ค่าใช้จ่ายทางภาษีจากมูลค่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ต้องเสียภาษีเมื่อกิจการได้รับประโยชน์จาก มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น แต่หากประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ฐานภาษีของสินทรัพย์จะเท่ากับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ตัวอย่าง 1 เครื่องจักรราคาทุน 100 หักค่าเสื่อมราคาตามภาษีแล้วจากรอบระยะเวลาก่อนๆ ถึงรอบ ระยะเวลาปัจจุบันเป็นจํานวน 30 มีต้นทุนคงเหลือ 70 ซึ่งจะถูกหักออกในรอบระยะเวลา ต่อไปในรูปของค่าเสื่อมราคาหรือจากการถือเป็นต้นทุนเมื่อจําหน่ายเครื่องจักร รายได้ที่เกิด จากการใช้เครื่องจักรและกําไรจากการจําหน่ายเครื่องจักรต้องนํามาเสียภาษี ส่วนผลขาดทุน จากการจําหน่ายเครื่องจักรสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ดังนั้น ฐานภาษีของ เครื่องจักรคือ 70 2 ดอกเบี้ยค้างรับมีมูลค่าตามบัญชี 100 หากรายได้ดอกเบี้ยเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ เงินสด ฐานภาษีสําหรับดอกเบี้ยค้างรับจะเท่ากับศูนย์ ( สําหรับประเทศไทย รายได้ที่เกี่ยวข้อง กับดอกเบี้ยจะคํานวณภาษีตามเกณฑ์สิทธิ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี ) 3 ลูกหนี้การค้ามีมูลค่าตามบัญชี 100 รายได้ที่เกี่ยวข้องรวมอยู่ในกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีแล้ว ดังนั้น ฐานภาษีของลูกหนี้การค้าจึงเท่ากับ 100 4 เงินปันผลค้างรับจากบริษัทย่อยมีมูลค่าตามบัญชี 100 เงินปันผลดังกล่าวไม่ต้องนํามา คํานวณเพื่อเสียภาษี ( ตามกฎหมายไทย จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากเป็นไปตาม มาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร ) ทั้งนี้ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ดังกล่าว สามารถนํามาหักจากประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้ทั้งจํานวน ดังนั้น ฐานภาษีสําหรับเงินปันผล ค้างรับจึงเท่ากับ 100 1 1 จากการวิเคราะห์ข้างต้น กรณีนี้ไม่มีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี หรืออาจวิเคราะห์ได้อีกวิธีหนึ่งคือ เงินปันผลค้างรับมีฐานภาษีเท่ากับศูนย์ และให้ใช้อัตราภาษีเท่ากับศูนย์ กับผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี ซึ่งเท่ากับ 100 ไม่ว่าจะวิเคราะห์วิธีใด ผลที่ได้คือไม่มีหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 ตัวอย่าง 5 ลูกหนี้เงินกู้ยืมมีมูลค่าตามบัญชี 100 การจ่ายคืนเงินกู้ไม่มีผลกระทบต่อภาษีเงินได้ ดังนั้น ฐานภาษีสําหรับเงินกู้ยืมดังกล่าวจึงเท่ากับ 100 8 ฐานภาษีของหนี้สิน หมายถึง มูลค่าตามบัญชีของหนี้สินหักด้วยมูลค่าของหนี้สินที่กฎหมายภาษีอากร ยอมให้นําไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ในรอบระยะเวลาอนาคต ในกรณีของรายได้รับล่วงหน้า ฐานภาษีของหนี้สินคือ มูลค่าตามบัญชีหักด้วยจํานวนรายได้ที่ไม่ต้องนําไปเสียภาษีในรอบ ระยะเวลาอนาคต ตัวอย่าง 1 หนี้สินหมุนเวียนรวมถึงค่าใช้จ่ายค้างจ่ายมีมูลค่าตามบัญชี 100 หากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีตามเกณฑ์เงินสด ฐานภาษีสําหรับค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจะเท่ากับศูนย์ ( สําหรับประเทศไทย ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจะคํานวณภาษีตามเกณฑ์สิทธิ ซึ่งสอดคล้องกับ มาตรฐานการบัญชี ) 2 หนี้สินหมุนเวียนรวมถึงดอกเบี้ยรับล่วงหน้า มีมูลค่าตามบัญชี 100 หากรายได้ที่ เกี่ยวข้องต้องเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์เงินสด ฐานภาษีสําหรับดอกเบี้ยรับล่วงหน้าจะ เท่ากับศูนย์ ( สําหรับประเทศไทยรายได้ที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจะคํานวณภาษีตามเกณฑ์ สิทธิ ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี ) 3 หนี้สินหมุนเวียนรวมถึงค่าใช้จ่ายค้างจ่ายมีมูลค่าตามบัญชี 100 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ นําไปหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีแล้ว ฐานภาษีของค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจะเท่ากับ 100 4 หนี้สินหมุนเวียนรวมถึงเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มค้างจ่ายมีมูลค่าตามบัญชี 100 เบี้ยปรับหรือ เงินเพิ่มไม่สามารถนําไปหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ( เฉพาะเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่เกี่ยวข้อง กับภาษีสรรพากร ) ดังนั้น ฐานภาษีสําหรับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มค้างจ่ายจึงเท่ากับ 100 2 5 เจ้าหนี้เงินกู้ยืมมีมูลค่าตามบัญชี 100 การจ่ายคืนเงินกู้ไม่มีผลกระทบทางภาษี ดังนั้น ฐานภาษีสําหรับเงินกู้ยืมดังกล่าวจึงเท่ากับ 100 9 รายการบางรายการมีฐานภาษีได้ ถึงแม้ว่ารายการนั้นจะไม่ได้รับรู้เป็นสินทรัพย์และหนี้สิน ในงบฐานะการเงิน ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวิจัยซึ่งกิจการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณกําไร ทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น แต่ยังไม่สามารถนําไปถือเป็นรายจ่ายใน การคํานวณกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษี จนกว่าจะถึงรอบระยะเวลาถัดไป ผลต่างระหว่างฐานภาษี ของต้นทุนวิจัย ( คือ จํานวนที่กฎหมายภาษีอากรยอมให้นําไปหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลา 2 จากการวิเคราะห์ข้างต้น กรณีนี้ไม่มีผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี หรืออาจวิเคราะห์ได้อีกวิธีหนึ่งคือ เบี้ยปรับหรือเงิน เพิ่มค้างจ่ายมีฐานภาษีเท่ากับศูนย์ และให้ใช้อัตราภาษีเท่ากับศูนย์ กับผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ซึ่งเท่ากับ 100 ไม่ว่าจะวิเคราะห์วิธีใด ผลที่ได้คือไม่มีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 อนาคตได้ ) กับมูลค่าตามบัญชี ซึ่งในที่นี้เท่ากับศูนย์ ถือเป็นผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ซึ่งก่อให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 10 ในกรณีที่ฐานภาษีของสินทรัพย์หรือหนี้สินไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน กิจการควรใช้ หลักการพื้นฐานซึ่งมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้ คือ กิจการต้องรับรู้หนี้สิน ( หรือสินทรัพย์ ) ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี ก็ต่อเมื่อการได้รับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือ การชําระหนี้สินตามมูลค่าตามบัญชีของหนี้สิน ส่งผลให้กิจการต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอนาคต เพิ่มขึ้น ( หรือลดลง ) จากจํานวนภาษีที่ต้องจ่ายหากการรับประโยชน์จากสินทรัพย์หรือ การชําระหนี้สินนั้นไม่มีผลกระทบทางภาษี เว้นแต่มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จะกําหนดเป็น อย่างอื่น ดังตัวอย่าง ค ที่แสดงไว้ในย่อหน้าที่ 51 ก 11 สําหรับงบการเงินรวม ผลต่างชั่วคราวคํานวณได้โดยการเปรียบเทียบมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์และหนี้สินจากงบการเงินรวมกับฐานภาษีที่เหมาะสม ซึ่งฐานภาษีนี้อ้างอิงจากแบบ แสดงรายการเสียภาษีรวมสําหรับประเทศที่อนุญาตให้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีรวมได้ ในบางประเทศฐานภาษีอ้างอิงจากแบบแสดงรายการภาษีของแต่ละกิจการในกลุ่มกิจการ การรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้และสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน 12 ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันสําหรับรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบระยะเวลาที่ผ่าน มาที่ยังไม่ได้จ่ายชําระต้องรับรู้เป็นหนี้สิน แต่หากจํานวนภาษีที่ได้ชําระไปแล้วในรอบ ระยะเวลาปัจจุบันและรอบระยะเวลาที่ผ่านมามากกว่าภาษีที่ต้องชําระสําหรับรอบระยะเวลา นั้นๆ ต้องรับรู้ส่วนเกินนั้นเป็นสินทรัพย์ 13 ผลประโยชน์ที่เกิดจากขาดทุนทางภาษี ซึ่งกิจการสามารถนํากลับไปลดภาษีเงินได้ปัจจุบันใน รอบระยะเวลาก่อนได้ ต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ ( กรณีนี้ยังไม่มีในประเทศไทย ) 14 เมื่อกิจการนําขาดทุนทางภาษีไปใช้เพื่อลดภาษีเงินได้ปัจจุบันของรอบระยะเวลาก่อน กิจการรับรู้ ประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ในรอบระยะเวลาที่ขาดทุนทางภาษีนั้นเกิดขึ้น เนื่องจาก มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ดังกล่าว และผลประโยชน์ นั้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี 15 กิจการต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีซึ่งเกิดจากผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี ทุกรายการ ยกเว้นกรณีที่หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั้นเกิดขึ้นจาก 15.1 การรับรู้รายการค่าความนิยมเมื่อเริ่มแรก หรือ 15.2 การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่เกิดจากรายการที่ 15.2.1 ไม่ใช่การรวมธุรกิจ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 15.2.2 ไม่ส่งผลกระทบต่อกําไรทางบัญชีและกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษี ณ วันที่ เกิดรายการนั้น และ 15.2.3 ไม่ทําให้ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีและผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี มีค่าเท่ากัน ณ วันที่เกิดรายการนั้น อย่างไรก็ตาม สําหรับผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และบริษัทร่วม รวมถึงส่วนได้เสียในการร่วมการงาน กิจการต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 39 16 หลักการพื้นฐานของการรับรู้สินทรัพย์ คือ กิจการจะได้รับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์ในรูปของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่จะไหลเข้าสู่กิจการในรอบระยะเวลาอนาคต ในกรณีที่ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สูงกว่าฐานภาษีของสินทรัพย์ มูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ ต้องเสียภาษีสูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่สามารถนําไปหักในการคํานวณภาษี ผลแตกต่างนี้ถือเป็น ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีและภาระที่กิจการจะต้องจ่ายภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาอนาคต จากการนี้คือหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เมื่อกิจการได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ซึ่งมูลค่า ตามบัญชีของผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้องนั้น จะทําให้กิจการมีกําไรทางภาษี ผลดังกล่าว ทําให้เป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจไปในรูปของการจ่ายภาษีเงินได้ ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้กิจการรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีทุกรายการ ยกเว้นกรณีที่อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ 15 และ 39 ตัวอย่าง สินทรัพย์ราคาทุน 150 มีมูลค่าตามบัญชี 100 ค่าเสื่อมราคาสะสมทางภาษี 90 และอัตรา ภาษีร้อยละ 25 ฐานภาษีของสินทรัพย์ คือ 60 ( ต้นทุน 150 หักค่าเสื่อมราคาสะสมทางภาษี 90) ในการได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 100 กิจการต้องมีรายได้ที่ต้อง เสียภาษีเท่ากับ 100 ในขณะที่ สามารถหักค่าเสื่อมราคาทางภาษีได้อีกเพียง 60 ดังนั้นกิจการ จะต้องจ่ายภาษีเงินได้เท่ากับ 10 (40 x 25%) เมื่อได้รับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์ ผลแตกต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชี 100 กับฐานภาษี 60 ถือเป็นผลต่างชั่วคราวที่ ต้ อ ง เ สี ย ภาษี 40 กรณี นี้ กิ จการจึ งต้ องรั บรู้ หนี้ สิ นภาษี เงิ นได้ รอการตั ดบั ญชี เป็นจํานวน 10 (40 x 25%) ซึ่งแสดงถึงภาษีเงินได้ที่กิจการจะต้องจ่ายในอนาคต เมื่อกิจการ ได้รับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ 17 ผลต่างชั่วคราวบางรายการเกิดขึ้นเมื่อกิจการต้องนํารายได้หรือค่าใช้จ่ายไปรวมคํานวณ กําไรทางบัญชีในรอบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่ต้องนําจํานวนดังกล่าวไปรวมคํานวณกําไรทางภาษี ในอีกรอบระยะเวลาหนึ่ง ผลต่างชั่วคราวในลักษณะนี้โดยมากเรียกว่า ผลแตกต่างทางระยะเวลา ผลต่างชั่วคราวตามตัวอย่างต่อไปนี้จัดเป็นผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี ซึ่งมีผลทําให้เกิดหนี้สิน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 17.1 กิจการนํารายได้ดอกเบี้ยรับไปรวมคํานวณกําไรทางบัญชีตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลา แต่ในบางประเทศกําหนดให้นํารายได้ดอกเบี้ยรับไปรวมคํานวณกําไรทางภาษีเงินได้ เมื่อได้รับเงินสด ในกรณีนี้ฐานภาษีของดอกเบี้ยค้างรับที่รับรู้ในงบฐานะการเงินจะมีค่า เป็นศูนย์ เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยรับจะไม่ถือรวมเป็นกําไรทางภาษีจนกว่ากิจการจะ ได้รับเงินสด 17.2 มูลค่าค่าเสื่อมราคาที่ใช้ในการคํานวณกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีอาจแตกต่างจากมูลค่า ค่าเสื่อมราคาที่ใช้ในการคํานวณกําไรทางบัญชี ผลต่างชั่วคราวในกรณีนี้ จะเท่ากับ ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์กับฐานภาษีของสินทรัพย์ ซึ่งฐานภาษี คํานวณจากราคาทุนเดิมของสินทรัพย์หักด้วยจํานวนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของสินทรัพย์ที่ กฎหมายภาษีอากรยอมให้นําไปหักในการคํานวณกําไรทางภาษีสําหรับรอบระยะเวลา ปัจจุบันและรอบระยะเวลาก่อนได้ หากค่าเสื่อมราคาทางภาษีมากกว่าค่าเสื่อมราคา ทางบัญชี จะทําให้เกิดผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีขึ้น และกิจการต้องบันทึกเป็น หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หากค่าเสื่อมราคาทางภาษีน้อยกว่าค่าเสื่อมราคา ทางบัญชี จะทําให้เกิดผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ซึ่งมีผลทําให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงิน ได้รอการตัดบัญชี และ 17.3 กิจการอาจบันทึกต้นทุนในการพัฒนาเป็นสินทรัพย์และทยอยตัดจําหน่ายในรอบ ระยะเวลาอนาคตเพื่อนําไปคํานวณกําไรทางบัญชี แต่นําต้นทุนในการพัฒนาทั้งหมด ไปรวมคํานวณกําไรทางภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการ ในกรณีนี้ต้นทุนใน การพัฒนามีฐานภาษีเท่ากับศูนย์เนื่องจากได้หักจากกําไรทางภาษีทั้งจํานวนแล้ว ผลต่างชั่วคราวจึงเท่ากับผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของต้นทุนในการพัฒนากับ ฐานภาษี ( โดยฐานภาษีมีค่าเท่ากับศูนย์ ) 18 ผลต่างชั่วคราวเกิดขึ้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 18.1 ต้นทุนในการรวมธุรกิจได้ปันส่วนให้กับสินทรัพย์ที่ได้มาและหนี้สินที่ระบุได้ตาม มูลค่ายุติธรรมเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ แต่ไม่มีรายการปรับปรุงทางภาษี ( ดูย่อหน้าที่ 19) 18.2 กิจการตีราคาสินทรัพย์ใหม่แต่ไม่มีรายการปรับปรุงทางภาษี ( ดูย่อหน้าที่ 20) 18.3 กิจการมีค่าความนิยม ที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจ ( ดูย่อหน้าที่ 21) 18.4 ฐานภาษีของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกแตกต่างจากมูลค่า ตามบัญชีเมื่อเริ่มแรก เช่น กรณีที่กิจการได้รับประโยชน์จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งเป็นรายการสินทรัพย์ทางบัญชี แต่ผลประโยชน์ที่ได้ไม่ต้องเสียภาษี ( ดูย่อหน้าที่ 22 และ 33) หรือ 18.5 มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขาและบริษัทร่วม หรือส่วนได้เสีย ในการร่วมการงาน แตกต่างจากฐานภาษีของเงินลงทุนหรือส่วนได้เสียนั้น ( ดูย่อหน้าที่ 38 ถึง 45)

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 การรวมธุรกิจ 19 ด้วยข้อยกเว้นที่จํากัด สินทรัพย์ที่ได้มาและหนี้สินที่รับมาที่ระบุได้จากการรวมธุรกิจถูกรับรู้ด้วย มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อ กรณีนี้ผลต่างชั่วคราวจะเกิดขึ้นหากฐานภาษีของสินทรัพย์ที่ได้มาและ หนี้สินที่รับมาที่ระบุได้ดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจากการรวมธุรกิจ หรือได้รับผลกระทบ ที่แตกต่าง ตัวอย่างเช่น หากกิจการปรับเพิ่มมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่ายุติธรรม แต่ฐานภาษีของสินทรัพย์ยังคงมีค่าเท่ากับต้นทุนเดิมตามบัญชีของเจ้าของเดิม ในกรณีนี้จะเกิด ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีขึ้นและต้องบันทึกเป็นหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของค่าความนิยม ( ดูย่อหน้าที่ 66) สินทรัพย์ที่แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม 20 มาตรฐานการรายงานทางการเงินบางฉบับอนุญาตหรือกําหนดให้กิจการแสดงมูลค่าสินทรัพย์ บางประเภทด้วยมูลค่ายุติธรรม หรือให้ตีราคาสินทรัพย์ใหม่ได้ ( ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มี ตัวตน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ) ในบางประเทศการตีราคาหรือการปรับปรุงราคาสินทรัพย์ให้เป็นมูลค่า ยุติธรรมจะส่งผลกระทบต่อกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีสําหรับรอบระยะเวลาปัจจุบัน เป็นผลให้ ฐานภาษีของสินทรัพย์ถูกปรับปรุงใหม่และไม่เกิดผลต่างชั่วคราว สําหรับประเทศอื่น ๆ การตีราคา หรือการปรับปรุงราคาสินทรัพย์ไม่ส่งผลกระทบต่อกําไรทางภาษีในรอบระยะเวลาที่ตีราคาหรือ ปรับปรุงราคาสินทรัพย์ ในกรณีนี้กิจการจึงไม่ต้องปรับปรุงฐานภาษีของสินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การได้รับประโยชน์ในอนาคตจากมูลค่าตามบัญชีจะส่งผลให้กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ที่ต้องเสียภาษีและจํานวนที่นํามาหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้จะแตกต่างจากมูลค่าที่ก่อให้เกิด ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ดังนั้น ผลแตกต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่กับ ฐานภาษีถือเป็นผลต่างชั่วคราว ซึ่งจะต้องรับรู้เป็นหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือสินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ 20.1 กิจการไม่มีความตั้งใจที่จะจําหน่ายสินทรัพย์ ในกรณีนี้กิจการจะได้รับประโยชน์ จากมูลค่าตามบัญชีที่ตีใหม่ของสินทรัพย์โดยการใช้สินทรัพย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้ ทางภาษีที่สูงกว่าค่าเสื่อมราคาที่กฎหมายภาษีอากรยอมให้นําไปหักเป็นรายจ่ายในรอบ ระยะเวลาอนาคต หรือ 20.2 กิจการสามารถชะลอการจ่ายภาษีเงินได้ของกําไรฝ่ายทุนออกไป หากนําเงินที่ได้ จากการขายไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน สําหรับกรณีนี้ กิจการยังคงมี ภาระภาษีเงินได้ เมื่อกิจการขายสินทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงนั้นไป หรือนําสินทรัพย์ ดังกล่าวไปใช้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 ค่าความนิยม 21 ค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมธุรกิจ คือ มูลค่าตามย่อหน้าที่ 21.1 ที่สูงกว่ามูลค่าตาม ย่อหน้าที่ 21.2 ดังต่อไปนี้ 21.1 ผลรวมของ 21.1.1 สิ่งตอบแทนที่โอนให้ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 ซึ่งปกติรับรู้ด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อธุรกิจ 21.1.2 มูลค่าของส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมในกิจการของผู้ถูกซื้อที่รับรู้ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 และ 21.1.3 มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อธุรกิจตามสัดส่วนความเป็นเจ้าของในผู้ถูกซื้อที่ถือ โดยผู้ซื้อไว้ก่อนแล้วในการรวมธุรกิจที่ดําเนินการสําเร็จจากการทยอยซื้อ 21.2 มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ที่ได้มาและหนี้สินที่ระบุได้ ณ วันที่ซื้อธุรกิจที่วัดมูลค่าตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 หน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรหลายแห่งไม่อนุญาตให้นําส่วนที่ลดลงของมูลค่าตามบัญชีของ ค่าความนิยมมาหักเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิทางภาษี ( รวมทั้งกรณีประเทศไทย ) นอกจากนี้ในประเทศดังกล่าว ราคาทุนของค่าความนิยมถือเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้ เมื่อบริษัทย่อยจําหน่ายธุรกิจนั้นออกไป ในกรณีนี้ค่าความนิยมจะมีฐานภาษีเป็นศูนย์ และ ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยมกับฐานภาษีซึ่งเท่ากับศูนย์ ถือเป็นผลต่าง ชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่อนุญาตให้กิจการรับรู้หนี้สิน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เป็นผลจากกรณีดังกล่าว เนื่องจากค่าความนิยมเป็นเพียงการวัดมูลค่า คงเหลือ และหากมีการรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะทําให้มูลค่าตามบัญชีของ ค่าความนิยมเพิ่มขึ้น 21 ก การลดลงในภายหลังของหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ไม่ได้รับรู้เนื่องจากเกิดจาก ค่าความนิยมที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ถือว่าเป็นผลจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่ให้รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามย่อหน้าที่ 15.1 ตัวอย่างเช่น ในการรวม ธุรกิจ หากกิจการรับรู้ค่าความนิยมจํานวน 100 แต่ฐานภาษีเท่ากับศูนย์ ย่อหน้าที่ 15.1 ไม่อนุญาตให้กิจการรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ในกรณีนี้หากภายหลังกิจการรับรู้ ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยม 20 จํานวนผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี ที่เกี่ยวกับค่าความนิยมจะลดลงจาก 100 เป็น 80 ทําให้มูลค่าของหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัด บัญชีที่ยังไม่ได้รับรู้ลดลงด้วย การลดลงของหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่ไม่ได้รับรู้ดังกล่าว เกี่ยวข้องกับค่าความนิยมที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้กิจการรับรู้ตาม ย่อหน้าที่ 15.1 21 ข หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสําหรับผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับ ค่าความนิยมให้รับรู้ได้หากไม่ได้เกิดขึ้นจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของค่าความนิยม ตัวอย่างเช่น หากในการรวมธุรกิจ กิจการรับรู้ค่าความนิยมจํานวน 100 หักเป็นค่าใช้จ่าย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 ทางภาษีได้ในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีนับตั้งแต่ปีที่ได้มา ฐานภาษีของค่าความนิยมจะเท่ากับ 100 ณ วันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกและเท่ากับ 80 ณ สิ้นปีที่ได้มา หากมูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยม คงเหลือ ณ สิ้นปีที่ได้มา ไม่เปลี่ยนแปลงจากจํานวน 100 ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีจํานวน 20 จะเกิดขึ้น ณ สิ้นปีนั้น เนื่องจากผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีนั้นไม่เกี่ยวกับค่าความนิยมที่รับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการจึงต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การรับรู้รายการสินทรัพย์หรือหนี้สินเมื่อเริ่มแรก 22 ผลต่างชั่วคราวอาจเกิดขึ้นจากการรับรู้รายการสินทรัพย์หรือหนี้สินเมื่อเริ่มแรก เช่น ในกรณี กิจการไม่สามารถนําต้นทุนของสินทรัพย์บางส่วนหรือทั้งหมดไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณ กําไรสุทธิทางภาษี เป็นต้น วิธีการทางบัญชีสําหรับผลต่างชั่วคราวดังกล่าวขึ้นอยู่กับธรรมชาติของ รายการที่ทําให้ต้องรับรู้รายการสินทรัพย์หรือหนี้สินเมื่อเริ่มแรก ดังต่อไปนี้ 22.1 ในการรวมธุรกิจ ให้กิจการรับรู้หนี้สินหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ซึ่งจํานวนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อจํานวนเงินของค่าความนิยมหรือจํานวนเงินของ ผลกําไรจากการซื้อในราคาต่อรองที่รับรู้ ( ดูย่อหน้าที่ 19) 22.2 หากรายการที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อกําไรทางบัญชีหรือกําไรทางภาษี หรือทําให้ผลต่าง ชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีและผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีมีค่าเท่ากัน ให้กิจการรับรู้หนี้สิน หรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีใดๆ และรับรู้ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีดังกล่าวในกําไรหรือขาดทุนด้วย ( ดูย่อหน้าที่ 59) 22.3 หากรายการที่เกิดขึ้นไม่ใช่การรวมธุรกิจ ไม่ส่งผลกระทบต่อกําไรทางบัญชีและกําไร ทางภาษี และไม่ทําให้ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีและผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี มีค่าเท่ากัน และหากไม่มีข้อยกเว้นที่แสดงไว้ในย่อหน้าที่ 15 และ 24 ให้กิจการจะรับรู้ หนี้สินหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์หรือหนี้สินด้วยยอดเดียวกัน รายการปรับปรุงดังกล่าวจะส่งผลให้งบการเงิน มีความโปร่งใสน้อยลง ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงไม่อนุญาตให้กิจการรับรู้ หนี้สินหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในกรณีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรกหรือการรับรู้รายการภายหลัง ( ดูตัวอย่างประกอบข้างล่าง ) นอกจากนี้ กิจการไม่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังที่เกิดกับบัญชี หนี้สินหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ยังไม่ได้รับรู้นั้นเมื่อสินทรัพย์นั้น มีการสึกหรอและเสื่อมราคา

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 ตัวอย่างประกอบย่อหน้าที่ 22.3 กิจการตั้งใจจะใช้สินทรัพย์ที่มีราคาทุน 1,000 ตลอดอายุการใช้งาน 5 ปี หลังจากนั้น จะจําหน่ายสินทรัพย์นั้นตามมูลค่าคงเหลือเท่ากับศูนย์ อัตราภาษีเงินได้เท่ากับร้อยละ 40 ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ไม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี และในการจําหน่ายสินทรัพย์ กําไรจากการจําหน่ายไม่ต้องเสียภาษี และขาดทุนจากการจําหน่ายเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้ เมื่อกิจการได้รับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ กิจการจะมีรายได้ทางภาษีเท่ากับ 1,000 และต้องเสียภาษีเท่ากับ 400 แต่กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่เกิดขึ้นจํานวน 400 เนื่องจากกรณีนี้ เป็นผลจากการรับรู้สินทรัพย์เมื่อเริ่มแรก ในปีต่อไปมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์เท่ากับ 800 หากกิจการมีรายได้ทางภาษีเท่ากับ 800 กิจการต้องเสียภาษีจํานวน 320 กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจํานวน 320 เนื่องจากกรณีนี้เป็นผลมาจากการรับรู้สินทรัพย์เมื่อเริ่มแรก 22 ก รายการที่ไม่ใช่การรวมธุรกิจอาจนําไปสู่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์และหนี้สิน และไม่ส่งกระทบต่อกําไรทางบัญชีและกําไรทางภาษี ณ วันที่เกิดรายการนั้น ตัวอย่างเช่น ณ วันที่ สัญญาเช่าเริ่มมีผล ผู้เช่ามักจะรับรู้หนี้สินตามสัญญาเช่าและจํานวนเงินที่เท่ากันเป็นส่วนหนึ่งของ ราคาทุนของสินทรัพย์สิทธิการใช้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกฎหมายภาษีอากรที่มีผลบังคับใช้ ผลต่าง ชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีและผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีที่มีค่าเท่ากันอาจเกิดขึ้นเมื่อรับรู้รายการ เมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์และหนี้สินสําหรับรายการดังกล่าว ข้อยกเว้นที่แสดงไว้ในย่อหน้าที่ 15 และ 24 ไม่ให้นํามาถือปฏิบัติกับผลต่างชั่วคราวนั้น และให้กิจการรับรู้หนี้สินและสินทรัพย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชีที่เป็นผลมาจากรายการดังกล่าว 23 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน กําหนดให้ ผู้ออกตราสารแบบผสม ( เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ ) จัดประเภทส่วนของตราสารที่เป็นหนี้สินเป็น หนี้สิน และส่วนที่เป็นส่วนของทุนเป็นส่วนของทุน ในบางประเทศฐานภาษีของส่วนประกอบที่ เป็นหนี้สินในการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกจะเท่ากับมูลค่าตามบัญชีเริ่มแรกของผลรวมของ ส่วนประกอบที่เป็นหนี้สินและทุน ดังนั้น ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีจะเกิดจากการรับรู้ รายการเมื่อเริ่มแรกของส่วนประกอบที่เป็นทุนซึ่งแยกออกจากส่วนประกอบที่เป็นหนี้สิน ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามย่อหน้าที่ 15.2 และกิจการต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัด บัญชี นอกจากนี้ย่อหน้าที่ 61 ก กําหนดว่า กิจการต้องบันทึกภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี โดยตรงไปยังส่วนของทุนและย่อหน้าที่ 58 กําหนดว่า กิจการต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงของ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นภายหลังเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายได้ภาษีเงินได้รอการตัด บัญชีในกําไรหรือขาดทุน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี 24 กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สําหรับผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ทุกรายการ โดยรับรู้เท่ากับจํานวนที่เป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษี เพียงพอที่จะนําผลต่างชั่วคราวนั้นมาใช้หักภาษีได้ ทั้งนี้กิจการต้องไม่รับรู้สินทรัพย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่เกิด จากรายการต่อไปนี้ 24.1 รายการที่ไม่ใช่การรวมธุรกิจ 24.2 ณ วันที่เกิดรายการ รายการนั้นไม่มีผลกระทบต่อกําไรทางบัญชี และกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษี และ 24.3 ณ วันที่เกิดรายการ ไม่ทําให้ผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีและผลต่างชั่วคราวที่ใช้ หักภาษีมีค่าเท่ากัน อย่างไรก็ตาม หากผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีนั้นเกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา บริษัทร่วมและส่วนได้เสียในการร่วมการงาน กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ตามย่อหน้าที่ 44 25 หลักการพื้นฐานของการรับรู้หนี้สิน คือ กิจการจะต้องสูญเสียทรัพยากรในรูปของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจไปเพื่อชําระหนี้สินในรอบระยะเวลาอนาคต มูลค่าบางส่วนหรือทั้งหมดของทรัพยากร ที่เสียไปนั้นอาจนําไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณกําไรทางภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีหลังจาก รอบระยะเวลาที่รับรู้หนี้สินนั้นได้ ในกรณีนี้จะเกิดผลต่างชั่วคราวระหว่างมูลค่าตามบัญชีของ หนี้สินกับฐานภาษีของหนี้สินขึ้น ซึ่งจะทําให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเป็นจํานวน เท่ากับภาษีเงินได้ที่กิจการจะได้รับคืนในรอบระยะเวลาอนาคตเมื่อส่วนของหนี้สินนั้นสามารถนําไป หักจากกําไรทางภาษีได้ ในทํานองเดียวกัน หากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์มีน้อยกว่าฐานภาษี ผลแตกต่างจะทําให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เป็นจํานวนเท่ากับภาษีเงินได้ที่กิจการ จะได้รับคืนในรอบระยะเวลาอนาคต

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 ตัวอย่าง กิจการรับรู้ต้นทุนค่าประกันคุณภาพสินค้าค้างจ่ายเป็นหนี้สินจํานวน 100 ในการคํานวณภาษี กิจการไม่สามารถนําต้นทุนค่าประกันคุณภาพสินค้าไปหักเป็นค่าใช้จ่ายจนกว่าจะจ่ายจริง อัตราภาษีเท่ากับร้อยละ 25 ในกรณีนี้ฐานภาษีของหนี้สินเป็นศูนย์ ( มูลค่าตามบัญชี 100 หักด้วยมูลค่าหนี้สินที่กิจการ สามารถนําไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณภาษีได้ในรอบระยะเวลาอนาคต ) เมื่อกิจการ จ่ายชําระหนี้สินตามมูลค่าตามบัญชีจะทําให้กําไรทางภาษีในอนาคตลดลงเท่ากับ 100 และ ภาษีที่ต้องจ่ายในอนาคตจะลดลง เท่ากับ 25 (100 x 25%) ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชี 100 กับฐานภาษีศูนย์ เป็นผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีมีจํานวนเท่ากับ 100 ดังนั้นกิจการจึง ต้องบันทึกสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจํานวน 25 (100 x 25%) หากมีความเป็นไป ได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะมีกําไรทางภาษีในรอบระยะเวลาอนาคตเพียงพอที่จะได้รับ ประโยชน์จากการลดลงของจํานวนภาษีที่ต้องจ่ายดังกล่าว 26 ตัวอย่างของผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ซึ่งทําให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี มีดังนี้ 26.1 ผลประโยชน์ของพนักงานเมื่อเกษียณอายุถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณกําไร ทางบัญชี เนื่องจากพนักงานให้บริการแก่บริษัท แต่จะสามารถนําไปหักเป็นค่าใช้จ่าย ในการคํานวณกําไรทางภาษีได้ ก็ต่อเมื่อกิจการจ่ายเงินสมทบให้กองทุนหรือ เมื่อกิจการจ่ายเงินผลประโยชน์ภายหลังการเลิกจ้างให้แก่พนักงาน ในกรณีนี้จะเกิด ผลต่างชั่วคราวระหว่างมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินกับฐานภาษี ซึ่งฐานภาษีของหนี้สิน มีค่าเป็นศูนย์ ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีดังกล่าวจะก่อให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอ การตัดบัญชี ซึ่งกิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรูปของค่าใช้จ่ายที่สามารถ นําไปหักจากกําไรทางภาษีเมื่อกิจการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนหรือจ่ายเงิน ผลประโยชน์ให้แก่พนักงาน 26.2 กิจการรับรู้ต้นทุนในการวิจัยเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณกําไรทางบัญชีในรอบระยะเวลา ที่เกิดรายการ แต่อาจไม่สามารถนําจํานวนดังกล่าวไปหักในการคํานวณกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีได้จนกว่าจะถึงรอบระยะเวลาถัดไป ผลแตกต่างระหว่างฐานภาษีของต้นทุนใน การวิจัย ( จํานวนที่กฎหมายภาษีอากรอนุญาตให้นําไปหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลา อนาคต ) กับมูลค่าตามบัญชีซึ่งเท่ากับศูนย์ ถือเป็นผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ซึ่งทําให้ เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 26.3 ด้วยข้อยกเว้นที่จํากัด กิจการรับรู้สินทรัพย์ที่ได้รับมาและหนี้สินที่ระบุได้จาก การรวมธุรกิจด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อธุรกิจ หากกิจการรับรู้หนี้สิน ณ วันที่ได้รับมา แต่ยังไม่สามารถนําต้นทุนที่เกี่ยวข้องไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณกําไรทางภาษีได้ จนกว่าจะถึงรอบระยะเวลาถัดไป ในกรณีนี้จะเกิดผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี และ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี นอกจากนี้จะเกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัด

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 บัญชีได้ หากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้รับมามีมูลค่าตํ่ากว่าฐานภาษี สินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นจากทั้งสองกรณีข้างต้นจะส่งผลกระทบต่อ ค่าความนิยม ( ดูย่อหน้าที่ 66) และ 26.4 กิจการอาจบันทึกสินทรัพย์บางรายการด้วยมูลค่ายุติธรรม หรืออาจตีราคาใหม่ โดยไม่มีการปรับปรุงเพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษี ( ดูย่อหน้าที่ 20) ในกรณีนี้จะเกิด ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีขึ้น หากฐานภาษีของสินทรัพย์มีจํานวนมากกว่ามูลค่า ตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ตัวอย่างประกอบย่อหน้าที่ 26 . 4 การหาจํานวนผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ณ สิ้นปีที่ 2 ณ ต้นปีที่ 1 กิจการ ก ซื้อตราสารหนี้มูลค่าหน้าตั๋ว 1,000 ครบกําหนดชําระภายใน 5 ปี มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 จ่ายชําระทุกสิ้นปี ในราคา 1,000 โดยตราสารหนี้ดังกล่าวมีอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 2 และตราสารหนี้ดังกล่าววัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ สิ้นปีที่ 2 มูลค่ายุติธรรมของตราสารหนี้ลดลงเหลือ 918 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดเป็นร้อยละ 5 ซึ่งกิจการ ก คาดว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะรับ กระแสเงินสดตามสัญญาทั้งหมดหากกิจการยังคงถือตราสารหนี้ กําไร ( ขาดทุน ) ของตราสารหนี้จะเป็นรายได้ ( ค่าใช้จ่าย ) ทางภาษีเมื่อเกิดขึ้น กําไร ( ขาดทุน ) ที่เกิดจากการขายหรือถือไว้จนครบกําหนดของตราสารหนี้จะถูกนําไปคํานวณเพื่อ วัตถุประสงค์ทางภาษีด้วยส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินที่ได้รับและต้นทุนของตราสารหนี้ ดังนั้น ฐานภาษีของตราสารหนี้คือราคาทุนเมื่อแรกเริ่ม ณ สิ้นปีที่ 2 ผลแตกต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของตราสารหนี้จํานวน 918 ในงบฐานะ การเงินของกิจการ ก กับฐานภาษีจํานวน 1,000 คือ ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีจํานวน 82 ( ดูย่อหน้าที่ 20 และ 26.4) โดยไม่คํานึงว่ากิจการ ก จะได้รับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชี ของตราสารหนี้จากการขายหรือจากการใช้ ( โดยการถือครองและการได้รับกระแสเงินสด ตามสัญญา หรือทั้งสองอย่าง ) เนื่องจากผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีเป็นผลแตกต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือหนี้สินในงบฐานะการเงินและฐานภาษีซึ่งจะทําให้เกิดกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีสําหรับ รอบระยะเวลาอนาคต เมื่อได้รับประโยชน์หรือจ่ายชําระหนี้สินตามมูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์หรือหนี้สิน ( ดูย่อหน้าที่ 5) กิจการ ก จะสามารถนําจํานวน 1,000 ซึ่งเท่ากับฐาน ภาษีไปใช้ในการคํานวณกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษี เมื่อกิจการขายหรือถือจนครบกําหนด 27 การกลับรายการของผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีจะมีผลทําให้กําไรทางภาษีสําหรับรอบระยะเวลา อนาคตลดลง อย่างไรก็ตาม กิจการจะได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรูปของภาษีเงินได้ที่จ่าย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 ลดลงก็ต่อเมื่อกิจการมีกําไรทางภาษีมากเพียงพอที่จะนํารายการนั้นมาหักได้ ดังนั้น กิจการ จะรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ก็ต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมี กําไรทางภาษีมากเพียงพอที่จะนําผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีมาหักได้ 27 ก ในการประเมินว่ากิจการมีกําไรทางภาษีมากเพียงพอที่จะนําผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีได้ มาหัก ได้หรือไม่ กิจการควรพิจารณาว่ากฎหมายภาษีอากรมีข้อกําหนดเกี่ยวกับกําไรทางภาษี โดยให้ หักกับการกลับรายการผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีหรือไม่ หากกฎหมายภาษีอากรไม่มีข้อกําหนด ดังกล่าว กิจการสามารถประเมินผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีโดยรวมกับผลต่างชั่วคราวที่ใช้หัก ภาษีรายการอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตาม หากกฎหมายภาษีอากรมีข้อกําหนดให้นําผลขาดทุน ไปหักกับรายได้บางประเภทเท่านั้น ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีเกี่ยวกับขาดทุนทางภาษีจะ สามารถประเมินร่วมกับผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีอื่นเฉพาะผลแตกต่างในประเภทที่เหมาะสม เท่านั้น 28 มีความเป็นไปได้ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีเพียงพอที่จะใช้ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีได้ ก็ต่อเมื่อกิจการมีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี และมีหน่วยงานจัดเก็บภาษีเดียวกันและหน่วย ภาษีเดียวกันซึ่งมีจํานวนที่เพียงพอและคาดว่าจะเกิดการกลับรายการ 28.1 ในรอบระยะเวลาเดียวกันกับรอบระยะเวลาที่คาดว่าจะมีการกลับรายการของผลต่าง ชั่วคราวที่ใช้หักภาษี หรือ 28.2 ในรอบระยะเวลาที่ขาดทุนทางภาษีที่เกิดจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สามารถยกไปใช้ประโยชน์ได้ซึ่งอาจเป็นรอบระยะเวลาภาษีในอดีตหรือในอนาคต ( กรณีกฎหมายภาษีไทยจะอนุญาตให้เฉพาะขาดทุนทางภาษีสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบ ระยะเวลาบัญชีย้อนหลังไปลดกําไรทางภาษีที่จะเกิดในอนาคตเท่านั้น ) ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว กิจการรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในรอบระยะเวลาที่ ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีเกิดขึ้น 29 เมื่อกิจการมีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานจัดเก็บภาษีและ หน่วยภาษีเดียวกันไม่เพียงพอ กิจการสามารถรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ในกรณี ดังต่อไปนี้ 29.1 เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน จัดเก็บภาษีและหน่วยภาษีหน่วยเดียวกันเพียงพอในรอบระยะเวลาเดียวกันกับที่มีการ กลับรายการของผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ( หรือในรอบระยะเวลาที่ขาดทุนทางภาษี ที่เกิดจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสามารถยกไปใช้ประโยชน์ได้ซึ่งอาจเป็น รอบระยะเวลาในอดีตหรือในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้ กฎหมายภาษีไทยให้ใช้ประโยชน์ได้ เฉพาะการนําขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีไปลดภาษีในรอบ ระยะเวลาอนาคต ) ในการประเมินว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีในรอบระยะเวลาอนาคต เพียงพอหรือไม่ กิจการควรจะ 29.1.1 เปรียบเทียบผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีกับกําไรทางภาษีของรอบระยะเวลา อนาคตโดยไม่รวมจํานวนที่ใช้หักภาษีที่เกิดจากการกลับรายการของผลต่าง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 ชั่วคราวที่ใช้หักภาษีนั้น การเปรียบเทียบนี้จะแสดงให้เห็นว่ากิจการมีกําไร ทางภาษีสําหรับรอบระยะเวลาอนาคตเพียงพอที่จะใช้หักกับการกลับรายการ ของผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีนั้น และ 29.1.2 ไม่รวมภาษีที่เกิดจากผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในรอบระยะเวลาอนาคต เนื่องจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ดังกล่าวเกิดจากผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีซึ่งผลต่างชั่วคราวดังกล่าวต้องมี กําไรทางภาษีสําหรับรอบระยะเวลาอนาคตจึงจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ 29.2 กิจการมีการวางแผนภาษีอากรเพื่อทําให้กิจการมีกําไรทางภาษีในรอบระยะเวลาที่ เหมาะสมได้ 29 ก การประมาณกําไรทางภาษีในอนาคตที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ อาจรวมจํานวนที่กิจการ ได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์บางรายการที่มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าตามบัญชี หากกิจการมีหลักฐาน เพียงพอที่แสดงถึงความเป็นได้ค่อนข้างแน่ ว่ากิจการจะได้รับประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ วัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องพิจารณาว่ามีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่กิจการจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ซึ่งมากกว่ามูลค่าตามบัญชี กรณีดังกล่าวรวมถึงกรณีที่กิจการคาดว่าจะถือตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ไปจนครบ กําหนดและได้รับกระแสเงินสดตามสัญญา 30 การวางแผนภาษีอากร หมายถึง วิธีที่กิจการปฏิบัติเพื่อสร้างหรือเพิ่มกําไรทางภาษีในรอบ ระยะเวลาใดรอบระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่ขาดทุนทางภาษีหรือเครดิตภาษีจะหมดประโยชน์ลง ตัวอย่างเช่น ในบางประเทศกิจการสามารถสร้างหรือเพิ่มกําไรทางภาษีได้โดย 30.1 เลือกว่าจะจ่ายภาษีจากรายได้ดอกเบี้ยรับตามเกณฑ์เงินสดหรือเกณฑ์คงค้าง 30.2 ชะลอสิทธิเรียกร้องการหักค่าใช้จ่ายบางรายการจากกําไรทางภาษีไปในรอบระยะเวลา อื่น 30.3 ขายหรือขายและเช่ากลับคืนสินทรัพย์ที่มีราคาเพิ่มขึ้น แต่กิจการไม่สามารถปรับปรุง ฐานภาษีของสินทรัพย์ดังกล่าวเพื่อสะท้อนราคาที่เพิ่มขึ้น และ 30.4 ขายสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีออกไป ( เช่น ในบางประเทศรายได้ จากพันธบัตรรัฐบาลไม่ต้องเสียภาษี ) เพื่อนําเงินไปซื้อเงินลงทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ ที่ต้องเสียภาษีแทน ถึงแม้ว่าการวางแผนทางภาษีเป็นการขยับกําไรทางภาษีจากรอบระยะเวลาอนาคตให้ขึ้นมาอยู่ใน รอบระยะเวลาก่อนหน้า การนําผลขาดทุนทางภาษี หรือเครดิตภาษีไปใช้ประโยชน์ยังขึ้นอยู่กับ ผลกําไรทางภาษีในอนาคตที่เกิดจากแหล่งอื่น นอกเหนือจากผลต่างชั่วคราวที่เกิดในอนาคตด้วย 31 ในกรณีที่กิจการมีประวัติการขาดทุนในรอบระยะเวลาที่ผ่านมาไม่นาน ให้กิจการพิจารณา แนวทางตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 35 และ 36 32 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 ค่าความนิยม 32 ก ถ้ามูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมธุรกิจน้อยกว่าฐานภาษี ผลแตกต่าง ที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่เกิดจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของค่าความนิยมจะต้องรับรู้เป็นส่วนหนึ่งในการบันทึก บัญชีสําหรับการรวมธุรกิจ ซึ่งมูลค่าขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ที่ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีเพียง พอที่จะใช้ประโยชน์ของผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี การรับรู้รายการสินทรัพย์หรือหนี้สินเมื่อเริ่มแรก 33 มีสถานการณ์หนึ่งที่สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเกิดขึ้นจากการรับรู้รายการสินทรัพย์ เมื่อเริ่มแรก คือ กรณีที่กิจการได้รับเงินอุดหนุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่ไม่ต้องเสียภาษีจากรัฐบาล โดยกิจการนําเงินอุดหนุนดังกล่าวไปหักจากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ แต่ในทางภาษีกิจการ ไม่สามารถนํามูลค่าเงินอุดหนุนไปหักจากมูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์ ( ซึ่งเท่ากับฐานภาษี ) ได้ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์จึงตํ่ากว่าฐานภาษีและทําให้เกิดผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีขึ้น หรือ ในอีกกรณีหนึ่งกิจการอาจบันทึกเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นรายได้รอการตัดบัญชี ซึ่งทําให้เกิด ผลต่างระหว่างรายได้รอการตัดบัญชีกับฐานภาษีซึ่งมีค่าเป็นศูนย์ จึงทําให้เกิดเป็นผลต่างชั่วคราวที่ใช้ หักภาษีขึ้น ทั้งนี้ ไม่ว่ากิจการจะใช้วิธีการนําเสนออย่างไรก็ตาม กิจการไม่สามารถรับรู้รายการ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีได้ ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 22 ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ 34 กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสําหรับขาดทุนทางภาษีหรือเครดิตภาษี ที่ยังไม่ได้ใช้เท่าที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่า กิจการจะมีกําไรทางภาษีในอนาคต เพียงพอที่จะนําผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ดังกล่าวไปใช้ ประโยชน์ได้ 35 หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีซึ่งเกิดจากผลขาดทุนทางภาษีที่ยัง ไม่ได้ใช้และเครดิตภาษีที่ยังไม่ใช้ เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับที่ใช้ในการรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่างชั่วคราวที่นําไปหักภาษี แต่ทั้งนี้การที่กิจการมีผลขาดทุน ทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ เป็นหลักฐานสําคัญที่แสดงว่ากิจการอาจจะไม่มีกําไรทางภาษีในอนาคต ดังนั้น เมื่อกิจการมีประวัติการขาดทุนในรอบระยะเวลาที่ผ่านมา กิจการจะรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอ การตัดบัญชีที่เกิดจากผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ได้ เท่าที่ กิจการมีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีเพียงพอ หรือมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษี เพียงพอที่จะนําผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้มาใช้ประโยชน์ได้ ในสภาพแวดล้อมข้างต้น ย่อหน้าที่ 82 กําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าของ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและธรรมชาติของหลักฐานที่ใช้สนับสนุนการรับรู้รายการ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 36 กิจการจะพิจารณาหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ในการประเมินความน่าจะเป็นว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษี เพียงพอที่จะนําผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ หรือเครดิตภาษีที่ไม่ได้ใช้ไปใช้ประโยชน์ได้ หรือไม่ 36.1 กิจการมีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีและ หน่วยเสียภาษีเดียวกัน ในจํานวนที่เพียงพอที่จะนําขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้หรือ เครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ไปใช้ประโยชน์ได้ก่อนที่จะหมดอายุหรือไม่ 36.2 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่หรือไม่ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีก่อนที่ผลขาดทุน ทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้จะหมดอายุลง 36.3 ผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้นั้น เกิดจากสาเหตุที่สามารถระบุได้และเหตุการณ์นั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ และ 36.4 กิจการมีการวางแผนภาษี ( ดูย่อหน้าที่ 30) เพื่อสร้างกําไรทางภาษีให้เกิดขึ้นในรอบ ระยะเวลาที่สามารถนําผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ไปใช้ ประโยชน์ได้หรือไม่ หากไม่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีที่เพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จาก ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้หรือเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ทั้งหมด กิจการไม่ควรรับรู้สินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสําหรับส่วนนั้น การนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ยังไม่ได้รับรู้มาประเมินใหม่ 37 ทุกวันที่สิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการจะประเมินสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่ยังไม่ได้รับรู้ใหม่ และกิจการจะรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ยังไม่ได้รับรู้นั้นได้ ตามจํานวนที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีในอนาคตที่จะทําให้ได้รับ ประโยชน์ในอนาคตจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีดังกล่าว เช่น การที่สถานการณ์ ทางการค้าปรับตัวดีขึ้นอาจส่งผลให้กิจการจะมีกําไรทางภาษีในอนาคตเพียงพอที่จะรับรู้ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 24 หรือ 34 อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การที่กิจการจะประเมินสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีใหม่ ณ วันที่รวมธุรกิจ หรือภายหลังการรวมธุรกิจแล้ว ( ดูย่อหน้าที่ 67 และ 68) เงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และบริษัทร่วม และส่วนได้เสียในการร่วมการงาน 38 ผลต่างชั่วคราวจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และบริษัทร่วม หรือ ส่วนได้เสียในการร่วมการงาน ( ซึ่งหมายถึงส่วนแบ่งของบริษัทใหญ่ หรือส่วนแบ่งของ ผู้ลงทุน ในสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อย สาขา บริษัทร่วม หรือผู้ถูกลงทุน ซึ่งรวมถึงมูลค่า ตามบัญชีของค่าความนิยมด้วย ) มีจํานวนแตกต่างจากฐานภาษี ( ซึ่งมักเท่ากับราคาทุน ) ของเงินลงทุนหรือส่วนได้เสีย ผลแตกต่างนี้อาจเกิดขึ้นได้ในหลายสภาพแวดล้อม เช่น 38.1 บริษัทย่อย สาขา บริษัทร่วม และการร่วมการงานมีกําไรที่ยังไม่ได้จัดสรร

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 38.2 การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในกรณีที่บริษัทใหญ่และ บริษัทย่อยไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศเดียวกัน และ 38.3 การลดมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทร่วมลงให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ในงบการเงินรวม จํานวนของผลต่างชั่วคราวอาจต่างจากผลต่างชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุน ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่ หากบริษัทใหญ่บันทึกเงินลงทุนในงบการเงินเฉพาะ กิจการของบริษัทใหญ่ด้วยราคาทุนหรือราคาที่ตีใหม่ 39 กิจการต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี ทุกรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขาและบริษัทร่วม และส่วนได้เสีย ในการร่วมการงาน ยกเว้นเมื่อเข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อ ดังต่อไปนี้ 39.1 บริษัทใหญ่ ผู้ลงทุน ผู้ร่วมค้า หรือผู้ร่วมดําเนินงานสามารถควบคุมระยะเวลา ในการกลับรายการของผลต่างชั่วคราว และ 39.2 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าจะไม่มีการกลับรายการของผลต่างชั่วคราว ในอนาคตอันใกล้ 40 เนื่องจากโดยปกติบริษัทใหญ่เป็นผู้ควบคุมนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย บริษัทใหญ่ จึงสามารถควบคุมจังหวะเวลาการกลับรายการของผลต่างชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนนั้น ( รวมถึงผลต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นจากกําไรที่ไม่ได้จัดสรรและจากผลต่างในการแปลงค่าเงินตรา ต่างประเทศ ) เกิดขึ้นเมื่อใด นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติ บริษัทใหญ่มักจะไม่สามารถประมาณ จํานวนภาษีเงินได้ที่จะต้องจ่าย เมื่อมีการกลับรายการของผลต่างชั่วคราว ด้วยเหตุนี้เมื่อบริษัท ใหญ่ตัดสินใจที่จะไม่ให้มีการจัดสรรกําไรของบริษัทย่อยในระยะเวลาอนาคตอันใกล้ บริษัทจึง ไม่รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทั้งนี้ข้อกําหนดในย่อหน้านี้สามารถนําไปถือปฏิบัติกับ เงินลงทุนในสาขาด้วย 41 กิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่ไม่เป็นตัวเงินด้วยสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงาน ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่อง ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ ) หากกิจการต้องคํานวณกําไรหรือขาดทุนทางภาษีด้วยสกุลเงินที่ต่างกัน ( ซึ่งมีผลให้ ฐานภาษีของสินทรัพย์และหนี้สินที่ไม่เป็นตัวเงินของกิจการต่างกันด้วย ) การเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนจะทําให้เกิดผลต่างชั่วคราวซึ่งทําให้กิจการต้องรับรู้หนี้สินหรือสินทรัพย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี ( ดูเงื่อนไขตามย่อหน้าที่ 24) และจะรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายภาษีเงิน ได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นในกําไรหรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 58) 42 ผู้ลงทุนในบริษัทร่วมที่ไม่สามารถควบคุมกิจการนั้นได้ และมักจะไม่สามารถกําหนดนโยบาย การจ่ายเงินปันผลได้ ดังนั้น หากไม่มีข้อตกลงพิเศษที่กําหนดว่าบริษัทร่วมจะไม่จ่ายเงินปันผล ในอนาคตอันใกล้จากกําไรของบริษัทร่วม ผู้ลงทุนต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่เกิดขึ้นจากผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ในบางกรณี ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถประเมินจํานวนภาษีเงินได้ที่จะต้องชําระในกรณีที่ได้รับประโยชน์จากเงิน ลงทุนในบริษัทร่วมได้ แต่สามารถประเมินจํานวนขั้นตํ่าและระบุได้ว่าภาษีที่ต้องจ่ายเท่ากับหรือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 สูงกว่าจํานวนขั้นตํ่าได้ ในกรณีนี้จะใช้จํานวนที่ประเมินนี้วัดมูลค่าหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัด บัญชี 43 ข้อตกลงระหว่างผู้ร่วมการงานในการร่วมการงานมักเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันกําไรและข้อกําหนด เกี่ยวกับการแบ่งปันกําไรต้องได้รับการอนุมัติเป็นเอกฉันท์หรืออนุมัติโดยเสียงส่วนใหญ่ ตามจํานวนที่ระบุ หากผู้ร่วมค้าหรือผู้ร่วมดําเนินงานสามารถควบคุมจังหวะเวลาการแบ่งปันกําไร จากการร่วมการงานได้และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่า จะไม่มีการแบ่งปันกําไรในอนาคต อันใกล้ ผู้ร่วมค้าหรือผู้ร่วมดําเนินงานไม่ต้องรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 44 กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสําหรับผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ทุกรายการที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และบริษัทร่วม และส่วนได้เสียใน การร่วมการงาน ก็ต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่า 44.1 จะมีการกลับรายการของผลต่างชั่วคราวในอนาคตอันใกล้ และ 44.2 จะมีกําไรทางภาษีเพียงพอที่จะนําผลต่างชั่วคราวมาใช้ประโยชน์ได้ 45 ในการตัดสินว่ากิจการจะรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สําหรับผลต่างชั่วคราว ที่ใช้หักภาษี ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และบริษัทร่วม และส่วนได้เสียใน การร่วมการงานหรือไม่นั้น กิจการจะพิจารณาตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 28 ถึง 31 การวัดมูลค่า 46 กิจการต้องวัดมูลค่าหนี้สิน ( หรือสินทรัพย์ ) ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบ ระยะเวลาก่อนตามจํานวนที่คาดว่าจะต้องจ่ายชําระแก่ ( หรือได้รับคืนจาก ) หน่วยงานจัดเก็บ ภาษี โดยใช้อัตราภาษี ( และกฎหมายภาษีอากร ) ที่มีผลบังคับใช้อยู่หรือที่คาดว่าจะมี ผลบังคับใช้ภายในสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 47 กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีด้วยอัตราภาษีสําหรับ รอบระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือ ในรอบระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะจ่ายชําระหนี้สินภาษี โดยใช้อัตราภาษี ( และกฎหมายภาษี อากร ) ที่มีผลบังคับใช้อยู่ หรือที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 48 ปกติกิจการจะวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันรวมทั้งสินทรัพย์ และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีโดยใช้อัตราภาษี ( และกฎหมายภาษีอากร ) ที่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ในบางประเทศ การประกาศใช้อัตราภาษี ( และกฎหมายภาษีอากร ) โดยรัฐบาลมีผลกระทบ สําคัญต่อการบังคับใช้จริงที่อาจเกิดขึ้นหลังการประกาศในหลายเดือนต่อมา ในสภาพแวดล้อม เช่นนี้ กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้โดยใช้อัตราภาษี ( และกฎหมายภาษี อากร ) ที่รัฐบาลประกาศ 49 เมื่อกิจการต้องเสียภาษีในอัตราภาษีที่แตกต่างกันสําหรับรายได้ทางภาษีในแต่ละระดับ กิจการ ต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี โดยใช้อัตราภาษีเฉลี่ยที่คาดว่า

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 จะต้องใช้กับกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีในรอบระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะมีการกลับรายการของ ผลต่างชั่วคราว 50 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 51 การวัดมูลค่าของหนี้สินและสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีต้องสะท้อนถึงผลกระทบ ทางภาษีที่จะเกิดจากลักษณะวิธีการที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ หรือจะ จ่ายชําระหนี้สินตามมูลค่าตามบัญชี ณ สิ้นรอบระยะเวลารายงาน 51 ก ในบางประเทศ ลักษณะที่กิจการจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์หรือจ่ายชําระหนี้สิน อาจส่ง ผลกระทบต่อรายการใดรายการหนึ่งหรือทั้งสองรายการดังนี้ 51 ก .1 อัตราภาษีที่ใช้เมื่อกิจการได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์หรือจ่ายชําระหนี้สินตามมูลค่า ตามบัญชี และ 51 ก .2 ฐานภาษีของสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้น ในกรณีนี้ กิจการต้องวัดมูลค่าของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีโดยใช้อัตราภาษีและฐานภาษีที่สอดคล้องกับลักษณะที่กิจการได้รับประโยชน์จาก สินทรัพย์หรือจ่ายชําระหนี้สิน ตัวอย่าง ก ( ตัวอย่าง ก นี้เป็นกรณีที่กฎหมายภาษีกําหนดอัตราภาษีไม่เท่ากันระหว่างอัตรา ภาษีจากการจําหน่ายสินทรัพย์และอัตราภาษีปกติ กรณีนี้จึงไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ) สินทรัพย์รายการหนึ่งในที่ดิน อาคารและอุปกรณ์มีมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 100 แต่มี ฐานภาษีเพียง 60 ประเด็นนี้มีข้อสังเกตว่า กรณีที่มีกําไรจากการจําหน่ายสินทรัพย์กิจการ คํานวณภาษีโดยใช้อัตราภาษีร้อยละ 20 ซึ่งไม่เท่ากับอัตราภาษีในกรณีอื่นที่เสียภาษี อัตราร้อยละ 30 ตามตัวอย่าง กิจการรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเท่ากับ 8 (40 x 20%) หากกิจการ คาดว่าจะจําหน่ายสินทรัพย์ดังกล่าวเมื่อไม่ใช้งานต่อไป กิจการจะรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีเท่ากับ 12 ( คํานวณจาก 40 x 30%) หากกิจการคาดว่าจะไม่ขายสินทรัพย์ ดังกล่าว แต่จะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์มูลค่าตามบัญชีโดยการใช้งานสินทรัพย์นั้นแทน ตัวอย่าง ข ( ตัวอย่างนี้ให้อ้างอิงได้กับมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่มีกรณีนี้ เพราะประมวลรัษฎากรจัดเก็บภาษีกําไรจาก การจําหน่ายสินทรัพย์โดยคํานวณจากราคาขายหักด้วยต้นทุนทางภาษี ) สินทรัพย์รายการหนึ่งในที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ราคาทุน 100 มีมูลค่าตามบัญชี 80 ซึ่งกิจการได้ตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 150 และไม่มีการทํารายการปรับปรุงทางภาษีสําหรับ การตีราคาสินทรัพย์นี้ ค่าเสื่อมราคาสะสมทางภาษีของสินทรัพย์เท่ากับ 30 และอัตราภาษีคือ ร้อยละ 30 ของกําไรสุทธิ ในกรณีนี้มีข้อสังเกตว่า ถ้ากิจการจําหน่ายสินทรัพย์ดังกล่าวได้สูง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 ตัวอย่าง ข ( ตัวอย่างนี้ให้อ้างอิงได้กับมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่มีกรณีนี้ เพราะประมวลรัษฎากรจัดเก็บภาษีกําไรจาก การจําหน่ายสินทรัพย์โดยคํานวณจากราคาขายหักด้วยต้นทุนทางภาษี ) กว่าราคาทุน กิจการต้องนําค่าเสื่อมราคาสะสมทางภาษีจํานวน 30 มารวมเป็นกําไรทางภาษี แต่ส่วนของรายรับที่สูงกว่าต้นทุนนั้นไม่ต้องนํามาเสียภาษี ฐานภาษีของสินทรัพย์ดังกล่าวเท่ากับ 70 และผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีเท่ากับ 80 ( เกิด จากการนํามูลค่าสินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่ 150 ลบด้วยฐานภาษีของสินทรัพย์ 70) ถ้ากิจการคาดว่าจะไม่จําหน่ายสินทรัพย์ดังกล่าวแต่จะใช้งานสินทรัพย์จนครบอายุสินทรัพย์ กิจการต้องมีรายได้ทางภาษีจํานวนถึง 150 แต่ทั้งนี้กิจการมีรายจ่ายค่าเสื่อมราคา ทางภาษีเพียง 70 ในการนี้ทําให้คํานวณหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีได้เท่ากับ 24 ( คํานวณจาก 80 x 30%) หากกิจการคาดว่าจะจําหน่ายสินทรัพย์นั้นไปในทันที โดยได้รับเงิน ค่าจําหน่าย 150 หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีคํานวณได้ดังนี้ ผลแตกต่าง ชั่วคราวที่ต้อง เสียภาษี อัตราภาษี หนี้สิน ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ค่าเสื่อมราคาสะสมทางภาษี กําไรส่วนที่เกินต้นทุน รวม 30 50 80 30% - 0- 9 - 9 ( หมายเหตุ ย่อหน้าที่ 61 ก กําหนดไว้ว่า ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคา สินทรัพย์เพิ่มให้รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ) ตัวอย่าง ค ( ตัวอย่าง ค นี้เป็นกรณีที่กฎหมายภาษีกําหนดอัตราภาษีไม่เท่ากันระหว่าง อัตราภาษีจากการจําหน่ายสินทรัพย์และอัตราภาษีปกติ ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่เกิดขึ้นกับ ประเทศไทย ) ตัวอย่างนี้เหมือนกรณีของตัวอย่าง ข ยกเว้นในกรณีถ้ากิจการขายสินทรัพย์รายการดังกล่าว ในราคาสูงกว่าราคาทุน ต้องนําค่าเสื่อมราคาสะสมทางภาษีมารวมเป็นกําไรทางภาษี ( อัตราภาษีเท่ากับร้อยละ 30) ส่วนกําไรจากการขายที่คํานวณจากราคาขายหลังจากหักต้นทุน ที่ปรับปรุงด้วยภาวะเงินเฟ้อจํานวน 110 เสียภาษีที่อัตราภาษีเท่ากับร้อยละ 40 ถ้ากิจการคาดว่าจะรับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์โดยการใช้งานสินทรัพย์ ดังกล่าว กิจการต้องมีรายได้ทางภาษีได้เท่ากับ 150 แต่กิจการจะมีรายจ่ายที่เกี่ยวข้อง ทางภาษีในรูปค่าเสื่อมราคาได้เพียง 70 ในกรณีนี้ฐานภาษีของสินทรัพย์เท่ากับ 70 ทําให้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 ตัวอย่าง ค ( ตัวอย่าง ค นี้เป็นกรณีที่กฎหมายภาษีกําหนดอัตราภาษีไม่เท่ากันระหว่าง อัตราภาษีจากการจําหน่ายสินทรัพย์และอัตราภาษีปกติ ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่เกิดขึ้นกับ ประเทศไทย ) เกิดผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีเท่ากับ 80 และมีหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเท่ากับ 24 (80 x 30%) ซึ่งเท่ากับในกรณีของตัวอย่าง ข ถ้ากิจการคาดว่าจะรับประโยชน์จากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์โดยการขายสินทรัพย์ดังกล่าว ทันทีที่ราคา 150 กิจการสามารถหักต้นทุนที่ปรับปรุงด้วยอัตราเงินเฟ้อได้ที่ 110 ทําให้เกิดกําไร สุทธิเท่ากับ 40 ซึ่งต้องเสียภาษีที่อัตราร้อยละ 40 นอกจากนี้ ค่าเสื่อมราคาสะสม ทางภาษี 30 จะถูกนําไปรวมเป็นกําไรทางภาษีซึ่งต้องเสียภาษีที่อัตราร้อยละ 30 ในกรณีนี้ ฐานภาษีคือ 80 (110 - 30) ทําให้เกิดผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีเท่ากับ 70 และมีหนี้สิน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเท่ากับ 25 ((40 x 40%) + (30 x 30%)) อย่างไรก็ดี หากวิธีการคํานวณ ฐานภาษีหาได้ยากกว่าที่แสดงในตัวอย่าง กิจการอาจพิจารณาหลักการ พื้นฐานตามย่อหน้าที่ 10 ประกอบ ( หมายเหตุ ย่อหน้าที่ 61 ก กําหนดไว้ว่า ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคา สินทรัพย์เพิ่มให้รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ) 51 ข หากหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเกิดขึ้นจาก การตีราคาสินทรัพย์ที่ไม่ได้คิดค่าเสื่อมราคาตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 การวัดมูลค่าหนี้สิน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีต้องสะท้อนผลทางภาษีที่จะได้รับ จากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ไม่มีการเสื่อมราคาโดยการขาย โดยไม่คํานึงถึงเกณฑ์ที่ใช้ ในการวัดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ดังนั้นหากกฎหมายภาษีอากรกําหนดให้ใช้อัตราภาษี เฉพาะของมูลค่าภาษีจากการขายสินทรัพย์ซึ่งแตกต่างจากอัตราภาษีที่เกิดจากการใช้สินทรัพย์แล้ว ให้ใช้อัตราภาษีที่เกิดจากการขายสินทรัพย์ในการวัดมูลค่าหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวเนื่องกับสินทรัพย์ที่ไม่ได้คิดค่าเสื่อมราคานั้น 51 ค หากหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเกิดขึ้นจาก อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนซึ่งวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจะเป็นมูลค่าที่จะ ได้รับคืนจากการขาย ดังนั้น หากข้อสันนิษฐานเป็นจริงการวัดมูลค่าหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัด บัญชีหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีต้องสะท้อนผลทางภาษีที่จะได้รับจากมูลค่าตาม บัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจากการขาย หากข้อสันนิษฐานนี้มีข้อโต้แย้งว่าไม่จริง โดยถ้าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนี้มีการคิดค่าเสื่อมราคาและถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์ รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดตลอดอายุของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมากกว่า ที่จะขาย ต้องถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 51 และ 51 ก

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 ตัวอย่าง เพื่ออธิบายย่อหน้าที่ 51 ค อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนหนึ่งมีราคาทุน 100 และมีมูลค่ายุติธรรม 150 ซึ่งวัดมูลค่ายุติธรรมตามวิธีที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ซึ่งประกอบด้วยที่ดิน ราคาทุน 40 โดยมีมูลค่ายุติธรรม 60 และอาคารหลังหนึ่งราคาทุน 60 และมีมูลค่ายุติธรรม 90 ที่ดินมีอายุการใช้งานที่ไม่จํากัด ค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารทางภาษีเป็น 30 กําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไม่กระทบกําไรทางภาษีถ้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนถูกขายในราคาสูงกว่าราคาทุน การกลับรายการค่าเสื่อมราคาสะสมจํานวน 30 จะถูกรวมเป็นกําไรทางภาษีและเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 สําหรับยอดขายส่วนที่เกินกว่า ราคาทุน อัตราภาษีเป็นร้อยละ 25 สําหรับสินทรัพย์ที่ถือไว้น้อยกว่า 2 ปีและอัตราภาษี ร้อยละ 20 สําหรับสินทรัพย์ที่ถือตั้งแต่ 2 ปีเป็นต้นไป เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมตามวิธีที่กําหนดใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 มีข้อสันนิษฐานว่ากิจการจะได้รับคืนมูลค่าจากอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนทั้งสิ้นจากการขาย หากข้อสันนิษฐานนั้นเป็นจริง ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะ เป็นผลสะท้อนจากการได้รับคืนมูลค่าจากการขาย ราวกับว่ากิจการคาดหวังรายได้ค่าเช่าจาก ทรัพย์สินก่อนการขาย ฐานภาษีของที่ดินหากมีการขายคือ 40 และมีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีอีก 20 (60–40) ฐานภาษีของอาคารหากขายอาคารคือ 30 (60–30) และมีผลต่างชั่วคราว ที่ต้องเสียภาษีอีก 60 (90–30) รวมผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนคือ 80 (20+60) ดังนั้น ตามย่อหน้าที่ 47 อัตราภาษีคืออัตราที่คาดว่าจะถือปฏิบัติสําหรับรอบระยะเวลาเมื่อ รับรู้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ดังนั้นหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีถูกคํานวณ ดังต่อไปนี้ หากกิจการคาดว่าจะขายทรัพย์สินหลังจากที่ถือไว้เป็นเวลามากกว่า 2 ปี ผลต่างชั่วคราว ที่ ต้องเสียภาษี อัตราภาษี หนี้สินภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ภาษีส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาสะสม 30 30% 9 ส่วนที่เกินกว่าราคาทุน 50 20% 10 รวม 80 19 หากกิจการคาดว่าจะขายทรัพย์สินหลังจากที่ถือไว้เป็นเวลาน้อยกว่า 2 ปี การคํานวณข้างต้นจะ แก้ไขโดยใช้อัตราภาษีร้อยละ 25 แทนที่จะเป็นอัตราร้อยละ 20 ในส่วนที่เกินกว่าราคาทุน หากกิจการถือครองอาคารเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเกือบ ทั้งหมดจากอาคารตลอดอายุของอาคารมากกว่าที่จะขาย ข้อสันนิษฐานนี้จะเป็นที่โต้แย้ง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 ตัวอย่าง เพื่ออธิบายย่อหน้าที่ 51 ค สําหรับอาคาร อย่างไรก็ดี ที่ดินไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา ถ้าเป็นไปตามข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะสะท้อนผลที่จะได้รับคืนจากมูลค่าตามบัญชีของ อาคารจากการใช้และมูลค่าตามบัญชีของที่ดินจากการขาย ฐานภาษีของอาคารหากถือไว้เพื่อใช้ คือ 30 (60-30) และมีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี คือ 60 (90-30) เป็นผลให้เกิดหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี คือ 18 (60 x 30%) ฐานภาษีของที่ดินที่ถือไว้เพื่อขายคือ 40 และมีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี คือ 20 (60 – 40) เป็นผลทําให้เกิดหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี คือ 4 (20 x 20%) หากสันนิษฐานว่าจะได้รับคืนจากการขายอาคาร หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน คือ 22 (18 + 4 ) 51 ง ข้อสันนิษฐานตามย่อหน้าที่ 51 ค ใช้กับหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือสินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจากการรวมธุรกิจ หากกิจการใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมเมื่อมีการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในภายหลัง 51 จ ย่อหน้าที่ 51 ข ถึง 51 ง ไม่เปลี่ยนข้อกําหนดตามย่อหน้าที่ 24 ถึง 33 ( ผลต่างชั่วคราว หักภาษี ) และย่อหน้าที่ 34 ถึง 36 ( ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้และเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ ) ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เมื่อมีการรับรู้และวัดมูลค่าสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 52 ( ย้ายและแก้ไขลําดับย่อหน้าใหม่เป็น 51 ก ) 52 ก ในบางประเทศ กิจการจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่า หรือตํ่ากว่าอัตราปกติ หากกิจการนํา กําไรสุทธิหรือกําไรสะสมไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด ไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นของ กิจการ และในบางประเทศ กิจการอาจได้รับคืนหรือจ่ายชําระภาษีเงินได้ หากกิจการนํากําไรสุทธิ หรือกําไรสะสมไม่ว่าจะบางส่วน หรือทั้งหมดไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นของกิจการ ซึ่งในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ กิจการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้ของรอบ ระยะเวลาปัจจุบัน รวมทั้งสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี โดยใช้อัตราภาษีที่ใช้ กับกําไรที่ยังไม่ได้จัดสรร 52 ข ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ตัวอย่าง ประกอบย่อหน้าที่ 52 ก และ 57 ก ( ตัวอย่างนี้ไม่ตรงกับข้อกฎหมายไทย เนื่องจาก ตัวอย่างนี้สมมติว่าอัตราภาษีสําหรับกําไรสะสมไม่จัดสรรสูงกว่าอัตราภาษีสําหรับกําไร สะสมจัดสรร ) ตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้ของ รอบระยะเวลาปัจจุบัน และสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสําหรับกิจการที่อยู่ ในประเทศที่ต้องเสียภาษีเงินได้สําหรับกําไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรในอัตราที่สูงกว่าปกติ ( เช่น อัตราร้อยละ 50) โดยกิจการสามารถขอคืนภาษีได้เมื่อกิจการมีการจัดสรรกําไร อัตราภาษีสําหรับกําไรที่จัดสรรแล้วคือ 35% ณ วันที่สิ้นรอบระยะเวลารายงาน 31 ธันวาคม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 25X1 กิจการไม่รับรู้หนี้สินสําหรับเงินปันผลที่เสนอหรือประกาศจ่ายภายหลังวันที่สิ้นรอบ ระยะเวลารายงาน ดังนั้น กิจการจึงไม่รับรู้เงินปันผลสําหรับปี 25X1 กําไรที่ต้องเสียภาษี เงินได้สําหรับปี 25X1 คือ 100,000 โดยมีผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีสุทธิสําหรับ ปี 25X1 เท่ากับ 40,000 กิจการรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สําหรับรอบ ระยะเวลาปัจจุบัน จํานวน 50,000 ทั้งนี้กิจการยังไม่ต้องรับรู้สินทรัพย์ที่กิจการอาจได้รับจาก การได้เงินคืนบางส่วน ( จากหน่วยงานจัดเก็บภาษี ) เมื่อได ้จ่ายเงินปันผลในอนาคต นอกจากนี้ กิจการยังรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัด บัญชี จํานวน 20,000 (40,000 x 50%) ซึ่งแสดงถึงจํานวนภาษีเงินได้ที่กิจการจะต้องจ่าย เมื่อใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หรือเมื่อจ่ายชําระหนี้สิน โดยอิงตามอัตราภาษีที่ใช้กับกําไร ที่ยังไม่ได้จัดสรร ต่อมาวันที่ 15 มีนาคม 25X2 กิจการรับรู้เงินปันผลจํานวน 10,000 ซึ่งเป็นเงินปันผลจาก กําไรจากการดําเนินงานของรอบระยะเวลาก่อน โดยรับรู้เป็นหนี้สิน ณ วันที่ 15 มีนาคม 25X2 กิจการต้องรับรู้เงินภาษีได้รับคืนจากหน่วยงานจัดเก็บภาษีจํานวน 1,500 ( ซึ่งเท่ากับร้อยละ 15 ของเงินปันผลที่รับรู้เป็นหนี้สินแล้ว ) โดยรับรู้เป็นสินทรัพย์ ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน และหักจากค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลา ปัจจุบันสําหรับปี 25X2 53 กิจการต้องไม่คิดลดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 54 การคํานวณหาจํานวนสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี โดยใช้อัตราคิดลดจะเชื่อถือได้ก็ต่อเมื่อกิจการจัดทําตารางแสดงรายละเอียดของจังหวะเวลา ที่จะเกิดการกลับรายการของผลต่างชั่วคราวแต่ละรายการ ในหลายกรณี ตารางดังกล่าว ไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ หรือมีความซับซ้อนมากเกินไป ดังนั้น จึงเป็นการไม่สมควรที่จะ กําหนดให้กิจการต้องคิดลดสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หากมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้อนุญาตแต่ไม่บังคับการคิดลดจะทําให้งบการเงินระหว่างกิจการต่างๆ ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงไม่กําหนดหรืออนุญาตให้มี การคิดลดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 55 กิจการคํานวณผลต่างชั่วคราวโดยอ้างอิงกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สินถึงแม้ว่า มูลค่าตามบัญชีนั้นจะได้มาจากการคิดลดก็ตาม เช่น กรณีของภาระผูกพันผลประโยชน์เมื่อ เกษียณอายุ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ) 56 กิจการต้องทบทวนมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ณ ทุกสิ้นรอบ ระยะเวลารายงาน และกิจการต้องลดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีลง เมื่อเห็นว่าไม่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะมีกําไรทางภาษีเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จาก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด ทั้งนี้การปรับลดสินทรัพย์ภาษี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 เงินได้รอการตัดบัญชีลงนั้น กิจการต้องกลับรายการสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ให้เท่ากับจํานวนที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีเพียงพอที่จะใช้ ประโยชน์จากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การรับรู้ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 57 การบัญชีสําหรับภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่เกิดจาก รายการหรือเหตุการณ์อื่นๆ ต้องสอดคล้องกับการบัญชีสําหรับการรับรู้รายการหรือเหตุการณ์ เหล่านั้น โดยกําหนดหลักการนี้ไว้ในย่อหน้าที่ 58 ถึง 68 ค 57 ก กิจการต้องรับรู้ภาษีเงินได้จากเงินปันผลตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เมื่อกิจการรับรู้หนี้สินจากการจ่ายเงินปันผล ภาษีเงินได้จากเงินปันผลจ่ายดังกล่าวนั้น มีความสัมพันธ์โดยตรงกับรายการหรือเหตุการณ์ในอดีตที่ก่อให้เกิดกําไรที่สามารถจัดสรรได้ มากกว่าที่จะเป็นรายการกับผู้ถือหุ้น ดังนั้น กิจการต้องรับรู้ภาษีเงินได้จากเงินปันผลจ่ายดังกล่าว ในกําไรหรือขาดทุน กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรือส่วนของผู้ถือหุ้นให้สอดคล้องกับการรับรู้ รายการหรือเหตุการณ์ในอดีตเหล่านั้นที่เป็นเหตุให้เกิดการรับรู้ภาษีเงินได้ดังกล่าว รายการที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 58 กิจการต้องรับรู้ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเป็น รายได้หรือค่าใช้จ่ายและนําไปรวมคํานวณกําไรหรือขาดทุนสุทธิสําหรับรอบระยะเวลา เว้นแต่ภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นจากรายการใดรายการหนึ่งต่อไปนี้ 58.1 รายการหรือเหตุการณ์ที่กิจการรับรู้นอกกําไรหรือขาดทุน ทั้งในกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น หรือโดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของไม่ว่าจะในรอบระยะเวลาบัญชี เดียวกันหรือต่างกัน ( ดูย่อหน้าที่ 61 ก ถึง 65) หรือ 58.2 การรวมธุรกิจ ( นอกจากการซื้อธุรกิจโดยกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม ซึ่งกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน ) ( ดูย่อหน้าที่ 66 ถึง 68) 59 หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ กิจการนํารายได้หรือค่าใช้จ่ายไปรวมคํานวณกําไรทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง แต่นําไป รวมคํานวณกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีในรอบระยะเวลาที่แตกต่างไป กิจการจึงต้องรับรู้ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นในกําไรหรือขาดทุน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 59.1 รายได้ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผลที่กิจการมีสิทธิได้รับและนําไปรวมในกําไร ทางบัญชีตามเกณฑ์การรับรู้ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 31 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน แต่นําไปรวมในกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีตามเกณฑ์เงินสด และ 59.2 ต้นทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่งบันทึกเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 และทยอยตัดจําหน่ายเข้ากําไรหรือขาดทุน แต่กิจการนําจํานวนดังกล่าวไป ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีทั้งจํานวนเมื่อเกิดขึ้น ( แต่กรณีนี้ ประมวลรัษฎากรกําหนด หลักเกณฑ์ให้หักค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (2)) 60 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี อาจเปลี่ยนแปลงได้แม้ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของผลต่างชั่วคราวที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง ของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้ 60.1 การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีหรือกฎหมายภาษีอากร 60.2 การประเมินประโยชน์ที่จะได้รับจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีใหม่ หรือ 60.3 การเปลี่ยนแปลงลักษณะการได้รับประโยชน์ที่คาดไว้จากสินทรัพย์ กิจการต้องรับรู้ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นในกําไรหรือขาดทุน ยกเว้นในกรณี ที่ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั้นเกี่ยวข้องกับรายการที่เคยรับรู้ไว้นอกกําไรหรือขาดทุนแล้ว ในอดีต ( ดูย่อหน้าที่ 63) รายการที่รับรู้นอกกําไรหรือขาดทุน 61 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 61 ก กิจการต้องรับรู้ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี นอกกําไรหรือขาดทุน หากภาษีที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับรายการที่บันทึกนอกกําไรหรือ ขาดทุน ไม่ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันหรือต่างรอบระยะเวลากัน ดังนั้น ภาษีเงินได้ ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับรายการดังต่อไปนี้ ทั้งที่รับรู้ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันหรือต่างรอบระยะเวลากัน 61 ก .1 ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น สําหรับรายการที่ต้องรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( ดูย่อหน้าที่ 62) 61 ก .2 โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ สําหรับรายการที่ต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของ เจ้าของ ( ดูย่อหน้าที่ 62 ก ) 62 มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดหรืออนุญาตให้กิจการรับรู้รายการบัญชีบางรายการ ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น เช่น 62.1 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าตามบัญชีที่เกิดจากการตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16) และ 62.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 62.3 ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการแปลงค่างบการเงินของหน่วยงาน ต่างประเทศ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21)

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 62.4 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 62 ก มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดหรืออนุญาตให้กิจการบันทึกบัญชีบางรายการโดยตรง ไปยังส่วนของเจ้าของ เช่น 62 ก .1 การปรับปรุงกําไรสะสมยกมาซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่ต้องปรับ งบการเงินย้อนหลังหรือการแก้ไขข้อผิดพลาด ( ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ) และ 62 ก .2 มูลค่าที่เกิดจากการรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกของส่วนประกอบของทุนของเครื่องมือ ทางการเงินแบบผสม ( ดูย่อหน้าที่ 23) 63 ในบางสภาพแวดล้อมที่เข้าข้อยกเว้น กิจการอาจคํานวณหาจํานวนภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลา ปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับรายการที่รับรู้นอกกําไรหรือขาดทุนได้ยาก ( ทั้งที่รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรือรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ ) เช่น ในกรณีต่อไปนี้ 63.1 การมีอัตราภาษีแบบขั้นบันได ทําให้กิจการไม่สามารถกําหนดอัตราภาษีที่จะใช้กับ ส่วนประกอบของกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีส่วนหนึ่งส่วนใด 63.2 มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีหรือกฎหมายภาษีอากร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์หรือ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ( ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด ) ที่เกี่ยวข้องกับรายการ ที่ได้รับรู้บัญชีนอกกําไรหรือขาดทุนในอดีต หรือ 63.3 กิจการตัดสินใจที่จะรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หรือจะไม่รับรู้เต็มจํานวน อีกต่อไป โดยที่สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั้น ( ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด ) เกี่ยวข้องกับรายการที่ได้เคยรับรู้บัญชีนอกกําไรหรือขาดทุนในอดีต ในกรณีดังกล่าวข้างต้น กิจการต้องกําหนดมูลค่าภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน และภาษี เงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับรายการที่กิจการได้รับรู้บัญชีนอกกําไรหรือขาดทุนแล้ว โดยการปันส่วนตามสัดส่วนของภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัด บัญชีของกิจการในประเทศที่เกี่ยวข้อง หรืออาจใช้วิธีการปันส่วนอื่นที่เหมาะสมกว่าสําหรับ สภาพแวดล้อมของกิจการได้ 64 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ไม่ได้ระบุให้กิจการต้องโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาเพิ่มไปยัง กําไรสะสมทุกปี ด้วยมูลค่าที่เท่ากับผลต่างระหว่างค่าเสื่อมราคาที่คิดจากราคาสินทรัพย์ที่ตีใหม่ กับค่าเสื่อมราคาที่คิดจากราคาทุนเดิมของสินทรัพย์หากกิจการทําการโอนเช่นนั้น มูลค่าที่โอน ต้องเป็นมูลค่าสุทธิจากภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้อง โดยกิจการต้องนําข้อกําหนดนี้ ไปปฏิบัติกับการโอนเมื่อมีการจําหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ด้วยเช่นกัน 65 เมื่อกิจการตีราคาสินทรัพย์เพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษี และการตีราคาใหม่นั้นเกี่ยวข้องกับ การตีราคาสินทรัพย์ทางบัญชีที่กระทําในรอบระยะเวลาก่อนหรือเกี่ยวข้องกับการตีราคาสินทรัพย์ ทางบัญชีที่คาดว่าจะเกิดในรอบระยะเวลาอนาคต กิจการต้องรับรู้ผลกระทบทางภาษีเงินได้ที่ เกิดจากการตีราคาสินทรัพย์ และการปรับปรุงฐานภาษี รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในรอบ ระยะเวลาที่ผลกระทบนั้นเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากการตีราคาสินทรัพย์เพื่อวัตถุประสงค์ ด้านภาษีนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มในทางบัญชีที่กระทําในรอบระยะเวลาก่อน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 หรือในรอบระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะกระทําในอนาคต กิจการต้องรับรู้ผลกระทบทางภาษีเงินได้ ที่เกิดจากการปรับปรุงฐานภาษีในกําไรหรือขาดทุน 65 ก เมื่อกิจการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น กฎหมายอาจกําหนดให้กิจการต้องจ่ายส่วนหนึ่งของ เงินปันผลให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษีแทนผู้ถือหุ้น ในหลายประเทศจํานวนเงินดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กิจการต้องบันทึกภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องจ่ายให้หน่วยงานจัดเก็บ ภาษีไว้ในส่วนของเจ้าของโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินปันผล ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากการรวมธุรกิจ 66 ตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ 19 และ 26.3 ผลต่างชั่วคราวอาจเกิดขึ้นได้จากการรวมธุรกิจ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 กําหนดให้กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอ การตัดบัญชี ( กรณีที่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้ที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 24) หรือ หนี้สินภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีเป็นสินทรัพย์และหนี้สินที่สามารถระบุได้ ณ วันที่ซื้อธุรกิจนั้น ดังนั้น สินทรัพย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของ ค่าความนิยมหรือกําไรจากการซื้อในราคาตํ่ากว่ามูลค่ายุติธรรมที่กิจการรับรู้ อย่างไรก็ตาม ภายใต้ย่อหน้าที่ 15.1 กิจการต้องไม่รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากการรับรู้รายการ ค่าความนิยมเมื่อเริ่มแรก 67 ในการรวมธุรกิจ ความน่าจะเป็นของการเกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีก่อนการรวมธุรกิจ ของผู้ซื้ออาจเปลี่ยนไป ผู้ซื้ออาจพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าผู้ซื้อจะได้รับประโยชน์ จากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ซึ่งยังไม่เคยรับรู้ในบัญชีของตนก่อนการรวมธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ผู้ซื้ออาจได้รับประโยชน์จากขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ของผู้ซื้อโดยการหักจาก กําไรทางภาษีในอนาคตของกิจการที่ตนซื้อมา ในทางตรงกันข้าม ผลของการรวมธุรกิจอาจทําให้ ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากําไรทางภาษีจะเพียงพอที่จะทําให้กิจการได้รับประโยชน์จาก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหมดไป ในกรณีนี้ผู้ซื้อต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงของ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในรอบระยะเวลาที่เกิดการรวมธุรกิจ แต่ไม่ต้องรวมสินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการบันทึกบัญชีการรวมธุรกิจ ดังนั้น ผู้ซื้อ ไม่ต้องนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีดังกล่าวมาพิจารณา ในการวัดมูลค่าของค่าความนิยม หรือกําไรจากการซื้อในราคาตํ่ากว่ามูลค่ายุติธรรมที่รับรู้ในการบันทึกบัญชีการรวมธุรกิจ 68 ผลประโยชน์จากผลขาดทุนทางภาษีที่ยกมา หรือจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอื่นของ กิจการที่ถูกซื้ออาจไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ที่ต้องแยกรับรู้เมื่อมีการปฏิบัติกับการรวมธุรกิจแต่อาจ เกิดขึ้นในภายหลัง กิจการต้องรับรู้ผลประโยชน์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นจริงภายหลัง การรวมธุรกิจ ดังต่อไปนี้ 68.1 กรณีผลประโยชน์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ได้มาให้รับรู้ภายในรอบระยะเวลา ที่มีการวัดมูลค่าซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับข้อมูลใหม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อม ที่มีอยู่ ณ วันที่ซื้อธุรกิจ ต้องนําไปปรับลดมูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยมที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 กับการซื้อธุรกิจ ถ้ามูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยมเท่ากับศูนย์ ผลประโยชน์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชีคงเหลือต้องรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน 68.2 ผลประโยชน์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอื่นที่ได้มาทุกรายการต้องรับรู้ในกําไรหรือ ขาดทุน ( หากมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้กําหนดให้รับรู้นอกกําไรหรือขาดทุน ) ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากรายการจ่าย โดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ 68 ก ในบางประเทศ กิจการสามารถนําจํานวนค่าตอบแทนที่จ่ายด้วยหุ้นทุน สิทธิซื้อหุ้น หรือ ตราสารทุนอื่นของกิจการไปถือเป็นรายจ่ายที่คํานวณทางภาษีเงินได้ จํานวนที่ใช้หักภาษีอาจ แตกต่างจากค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนสะสม และอาจเกิดในรอบระยะเวลาบัญชีต่อมา ตัวอย่างเช่น ในบางประเทศ กิจการอาจรับรู้ค่าใช้จ่ายสําหรับบริการที่ได้ใช้ประโยชน์พนักงานเป็นสิ่งตอบแทน ตามสิทธิซื้อหุ้นที่ให้ ( ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้น เป็นเกณฑ์ ) แต่จะยังไม่ได้รับลดหย่อนภาษีจนกว่าจะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นนั้นแล้ว โดยให้วัดมูลค่า ของการลดหย่อนภาษีตามราคาหุ้นของกิจการ ณ วันที่ใช้สิทธิ 68 ข ในทํานองเดียวกับต้นทุนวิจัยที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 9 และ 26.2 ผลแตกต่างระหว่างฐานภาษี ของค่าตอบแทนพนักงานจนถึงปัจจุบัน ( คือจํานวนที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีจะอนุญาตให้หักได้ ในรอบระยะเวลาอนาคต ) และมูลค่าตามบัญชีที่เท่ากับศูนย์ เป็นผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ที่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ถ้าไม่สามารถหาจํานวนที่หน่วยงานจัดเก็บภาษี จะอนุญาตให้หักได้ในรอบระยะเวลาอนาคต ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา กิจการต้องประมาณโดยใช้ ข้อมูลที่มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา เช่น ถ้าจํานวนที่หน่วยงานภาษีอนุญาตให้หักได้ในรอบ ระยะเวลาอนาคตขึ้นอยู่กับราคาหุ้นของกิจการ ณ วันที่ในอนาคต ผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ต้องพิจารณาจากราคาหุ้นของกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา 68 ค ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 68 ก จํานวนที่ใช้หักภาษีเงินได้ ( หรือประมาณการจํานวนที่ใช้หักภาษี เงินได้ในอนาคต ซึ่งคํานวณโดยวิธีการในย่อหน้าที่ 68 ข ) อาจแตกต่างจากค่าใช้จ่ายค่าตอบแทน สะสมที่เกี่ยวข้อง ย่อหน้าที่ 58 ระบุให้กิจการต้องรับรู้ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันและ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายและนําไปรวมคํานวณกําไรหรือขาดทุนสําหรับ รอบระยะเวลา ยกเว้นภาษีเงินได้ที่เกิดจาก (1) รายการหรือเหตุการณ์ที่กิจการรับรู้นอกกําไร หรือขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันหรือต่างกัน หรือ (2) การรวมธุรกิจ ( นอกจากการ ซื้อธุรกิจโดยกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน ซึ่งกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุน ) หากจํานวนที่ใช้หักภาษี ( หรือประมาณการจํานวนที่ใช้หักภาษีในอนาคต ) สูงกว่าค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนสะสมที่เกี่ยวข้อง ชี้ให้เห็นว่าจํานวนที่ใช้หักภาษีไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับรายการที่เกี่ยวกับส่วนของเจ้าของด้วย ในสถานการณ์เช่นนี้ ส่วนเกินของภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันหรือภาษีเงินได้รอการตัด บัญชีที่เกี่ยวข้องจะถูกรับรู้ตรงไปยังส่วนของเจ้าของ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 การแสดงรายการ สินทรัพย์ภาษีเงินได้และหนี้สินภาษีเงินได้ 69 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 70 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) การหักกลบ 71 กิจการต้องนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน ไปหักกลบกับรายการหนี้สิน ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันได้ ก็ต่อเมื่อ 71.1 กิจการมีสิทธิตามกฎหมายในการนําสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าวมาหักกลบกัน และ 71.2 กิจการตั้งใจจะจ่ายชําระรายการดังกล่าวด้วยยอดสุทธิ หรือตั้งใจจะรับคืนสินทรัพย์ และจ่ายชําระหนี้สินในเวลาเดียวกัน 72 ถึงแม้ว่ากิจการจะรับรู้และวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน แยกจากกัน กิจการสามารถนํารายการทั้งสองมาหักกลบกันได้ในงบฐานะการเงินโดยอาศัย หลักเกณฑ์ในทํานองเดียวกันกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 กิจการ มีสิทธิตามกฎหมายที่จะนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันไปหักกลบกับหนี้สิน ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันได้หากรายการทั้งสองเกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้ที่จัดเก็บโดย หน่วยงานจัดเก็บภาษีเดียวกัน และหน่วยงานนั้นอนุญาตให้กิจการจ่ายชําระหรือรับคืนภาษี ด้วยจํานวนสุทธิจํานวนเดียวได้ 73 ในงบการเงินรวม กิจการจะนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันของกิจการหนึ่งใน กลุ่มกิจการไปหักกลบกับหนี้สินภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันของอีกกิจการหนึ่งในกลุ่ม กิจการได้ก็ต่อเมื่อกิจการทั้งสองมีสิทธิตามกฎหมายที่จะจ่ายชําระหรือรับคืนภาษีด้วยจํานวนสุทธิ จํานวนเดียวได้ และทั้งสองกิจการตั้งใจที่จะจ่ายชําระหรือรับคืนภาษีด้วยจํานวนสุทธิจํานวนเดียว และทั้งสองกิจการตั้งใจจะรับชําระสินทรัพย์หรือชําระหนี้สินในเวลาเดียวกัน 74 กิจการต้องนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ไปหักกลบกับหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัด บัญชีได้ก็ต่อเมื่อ 74.1 กิจการมีสิทธิตามกฎหมายที่จะนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน มาหักกลบกับหนี้สินภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน และ 74.2 ทั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้ที่ประเมินโดยหน่วยงานจัดเก็บภาษีหน่วยงานเดียวกัน โดยการเรียกเก็บเป็นไปตามลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 74.2.1 หน่วยภาษีเดียวกัน หรือ 74.2.2 หน่วยภาษีต่างกัน ซึ่งตั้งใจจะจ่ายหนี้สินและสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของ รอบระยะเวลาปัจจุบันด้วยยอดสุทธิหรือตั้งใจจะรับคืนสินทรัพย์และจ่าย

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 ชําระหนี้สินในเวลาเดียวกัน ในรอบระยะเวลาอนาคตแต่ละรอบ ระยะเวลากิจการคาดว่าจะจ่ายหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือ รับชําระสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอย่างมีนัยสําคัญ 75 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้กิจการนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไปหักกลบกับ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของหน่วยภาษีเดียวกัน ก็ต่อเมื่อทั้งสองรายการนี้เกี่ยวข้องกับ ภาษีเงินได้ที่จัดเก็บโดยหน่วยงานจัดเก็บภาษีหน่วยงานเดียวกัน และกิจการมีสิทธิตามกฎหมาย ที่จะหักกลบสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบันกับหนี้สินภาษีเงินได้ของรอบ ระยะเวลาปัจจุบันเพื่อหลีกเลี่ยงความจําเป็นในการจัดทํารายละเอียดตารางเวลาของการกลับ รายการของความแตกต่างชั่วคราวแต่ละรายการ 76 ในบางสภาพแวดล้อมที่ยากที่จะเกิดขึ้น กิจการอาจจะมีสิทธิตามกฎหมายในการหักกลบหนี้สิน และมีความตั้งใจที่จะชําระภาษีด้วยยอดสุทธิได้เฉพาะในบางรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้กิจการต้องจัดทํารายละเอียดตารางเวลาที่เชื่อถือได้เพื่อแสดงว่าหนี้สิน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของหน่วยภาษีหนึ่ง จะส่งผลให้ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลา เดียวกันกับที่สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของอีกหน่วยภาษีหนึ่งส่งผลให้หน่วยภาษีที่สอง จ่ายภาษีลดลง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้และรายได้ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับกําไรหรือขาดทุนจากกิจกรรม ตามปกติ 77 กิจการต้องแสดงรายการค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หรือรายได้ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับกําไรหรือ ขาดทุนจากกิจกรรมตามปกติของกิจการไว้ในงบกําไรหรือขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อื่น 77 ก ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้สินหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้ต่างประเทศรอการตัดบัญชี 78 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 กําหนดให้กิจการต้องรับรู้ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนบางประเภท เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย แต่ไม่ได้ระบุว่าผลต่างดังกล่าวต้องแสดงไว้ส่วนใดของงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จ ดังนั้น เมื่อกิจการรับรู้ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้สินหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้ ต่างประเทศรอการตัดบัญชีในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ กิจการอาจจัดประเภทของผลต่างนั้น เป็นค่าใช้จ่าย ( รายได้ ) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหากพิจารณาแล้วเห็นว่าการแสดงข้อมูล ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินมากที่สุด

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 การเปิดเผยข้อมูล 79 กิจการต้องเปิดเผยส่วนประกอบที่สําคัญของค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้ภาษีเงินได้แยกกัน 80 ส่วนประกอบของค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้ภาษีเงินได้อาจประกอบด้วย 80.1 ค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน 80.2 รายการปรับปรุงภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาก่อนที่รับรู้ในรอบระยะเวลาปัจจุบัน 80.3 ค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของผลต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้น หรือที่ กลับรายการ 80.4 ค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง อัตราภาษีหรือการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายภาษีอากรใหม่ 80.5 จํานวนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากขาดทุนทางภาษี เครดิตภาษี หรือผลต่างชั่วคราว ที่ยังไม่ได้รับรู้ในรอบระยะเวลาก่อนแต่กิจการนํามาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ของ รอบระยะเวลาปัจจุบัน 80.6 จํานวนผลประโยชน์จากขาดทุนทางภาษี เครดิตภาษี หรือผลต่างชั่วคราวที่ยังไม่ได้รับรู้ ในรอบระยะเวลาก่อนแต่กิจการนํามาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 80.7 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นจากการปรับลดมูลค่าของสินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 56 หรือการกลับรายการของ การปรับลดมูลค่าดังกล่าวในรอบระยะเวลาก่อน และ 80.8 ค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และการแก้ไขข้อผิดพลาดที่สําคัญ ซึ่งรวมในกําไรหรือขาดทุนเนื่องจากไม่สามารถนําไป ปรับปรุงย้อนหลังได้ ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 81 กิจการต้องเปิดเผยรายการดังต่อไปนี้แยกจากกัน 81.1 จํานวนรวมของภาษีเงินได้ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน และภาษีเงินได้รอการตัด บัญชีที่เกี่ยวข้องกับรายการที่บันทึกโดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ ( ดูย่อหน้าที่ 62 ก ) 81.1 ก จํานวนภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบแต่ละส่วนของกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ( ดูย่อหน้าที่ 62 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1) 81.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 81.3 คําอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้กับ กําไรทางบัญชีโดยนําเสนอในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสองรูปแบบดังต่อไปนี้ 81.3.1 การกระทบยอดระหว่างค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้กับผลคูณ ของกําไรทางบัญชีกับอัตราภาษีที่ใช้ โดยเปิดเผยเกณฑ์การคํานวณ อัตราภาษีที่ใช้ หรือ 81.3.2 การกระทบยอดระหว่างอัตราภาษีที่แท้จริงถัวเฉลี่ยกับอัตราภาษีที่ใช้ โดยเปิดเผยเกณฑ์การคํานวณอัตราภาษีที่ใช้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 38 81.4 คําอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีที่ใช้เปรียบเทียบกับรอบระยะเวลา บัญชีก่อน 81.5 จํานวน ( และวันสิ้นสุดประโยชน์ ( ถ้ามี )) ของผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ขาดทุน ทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ และเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ ในกรณีที่กิจการไม่ได้รับรู้ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไว้ในงบฐานะการเงิน 81.6 จํานวนรวมของผลต่างชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และ บริษัทร่วมและส่วนได้เสียในการร่วมการงาน ในกรณีที่กิจการไม่ได้รับรู้หนี้สินภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี ( ดูย่อหน้าที่ 39) 81.7 ในส่วนที่เกี่ยวกับผลต่างชั่วคราวแต่ละประเภท ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้แต่ละ ประเภทและเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้แต่ละประเภท 81.7.1 จํานวนของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่กิจการรับรู้ ในงบฐานะการเงินสําหรับรอบระยะเวลาที่นําเสนอแต่ละรอบระยะเวลา 81.7.2 จํานวนของรายได้หรือค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่กิจการรับรู้ ในกําไรหรือขาดทุน หากจํานวนดังกล่าวไม่ปรากฏเด่นชัดในรายการ เปลี่ยนแปลงของมูลค่าที่รับรู้ในงบฐานะการเงิน 81.8 ในกรณีการดําเนินงานที่ยกเลิก กิจการต้องเปิดเผยค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ที่เกี่ยวข้องกับรายการ ดังนี้ 81.8.1 ผลกําไรหรือขาดทุนจากการยกเลิก และ 81.8.2 กําไรหรือขาดทุนจากกิจกรรมตามปกติของการดําเนินงานที่ยกเลิก สําหรับรอบระยะเวลา โดยเปรียบเทียบกับรอบระยะเวลาก่อนที่กิจการ นําเสนอแต่ละรอบระยะเวลา 81.9 จํานวนภาษีเงินได้ของเงินปันผลที่กิจการเสนอจ่ายหรือประกาศจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ของกิจการก่อนวันที่อนุมัติให้ออกงบการเงิน แต่กิจการไม่ได้รับรู้เป็นหนี้สิน ในงบการเงิน 81.10 ถ้าการรวมธุรกิจเป็นสาเหตุให้กิจการที่เป็นผู้ซื้อมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้สําหรับ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีก่อนการซื้อธุรกิจ ( ดูย่อหน้าที่ 67) ให้เปิดเผย มูลค่าของการเปลี่ยนแปลง และ 81.11 ถ้าผลประโยชน์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในการรวมธุรกิจไม่ได้รับรู้ ณ วันที่ซื้อ ธุรกิจ แต่รับรู้ภายหลังจากวันที่ซื้อธุรกิจ ( ดูย่อหน้าที่ 68) ให้อธิบายเหตุการณ์ หรือการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมที่เป็นเหตุให้ต้องรับรู้ผลประโยชน์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี 82 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และ ธรรมชาติของหลักฐานที่ใช้สนับสนุนการรับรู้สินทรัพย์นั้น เมื่อ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 39 82.1 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีขึ้นอยู่กับจํานวนของกําไร ทางภาษีในอนาคตที่สูงกว่าจํานวนกําไรที่เกิดจากการกลับรายการของผลต่าง ชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีที่กิจการมีอยู่ และ 82.2 กิจการประสบภาวะขาดทุนทั้งในรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบระยะเวลาก่อนกับ หน่วยงานจัดเก็บภาษีที่สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั้นเกี่ยวข้อง 82 ก ในสภาพแวดล้อมตามที่ได้อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ 52 ก กิจการต้องเปิดเผยธรรมชาติของ ผลกระทบทางภาษีเงินได้ที่อาจเกิดขึ้นจากการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น นอกจากนี้กิจการ ยังต้องเปิดเผยจํานวนของผลกระทบทางภาษีเงินได้ที่อาจเกิดขึ้น และสามารถประมาณได้ และต้องระบุข้อเท็จจริงที่ว่ามีผลกระทบทางภาษีเงินได้ใดที่กิจการไม่สามารถประมาณได้ ในทางปฏิบัติ 83 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 84 การเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 81.3 ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้กับกําไรทางบัญชี ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และทราบปัจจัยสําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ดังกล่าวในอนาคต ทั้งนี้ความสัมพันธ์ ระหว่างค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้กับกําไรทางบัญชี อาจกระทบจากปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนําไปหักในการคํานวณกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษี ผลกระทบจากผลขาดทุนทางภาษี และผลกระทบจากอัตราภาษีต่างประเทศ เป็นต้น 85 ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้กับกําไรทางบัญชี กิจการ ต้องใช้อัตราภาษีที่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งบการเงิน โดยทั่วไปอัตราภาษีดังกล่าว คือ อัตราภาษีในประเทศที่กิจการมีถิ่นที่อยู่ ซึ่งเป็นผลรวมของอัตราภาษีระดับประเทศ และอัตราภาษีระดับท้องถิ่น คํานวณจากกําไร ( ขาดทุน ) ทางภาษีในระดับเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สําหรับกิจการที่ดําเนินงานในหลายประเทศ อาจเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากกว่า หากกิจการรวมรายการกระทบยอดของแต่ละรายการที่ใช้อัตราภาษีในประเทศที่กิจการดําเนิน อยู่เข้าด้วยกัน ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าการเลือกอัตราภาษีที่ใช้จะส่งผลกระทบต่อ การกระทบยอดที่นําเสนอ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 40 ตัวอย่างประกอบย่อหน้าที่ 85 ใ นปี 25x2 กิจการมีกําไรทางภาษีในประเทศที่ตั้งอยู่ ( ประเทศ ก ) เท่ากับ 1,500 (25X1 : 2,000) และในประเทศ ข เป็น 1,500 (25X1 : 500) อัตราภาษีของประเทศ ก คือ ร้อยละ 30 และอัตราภาษีของประเทศ ข คือ ร้อยละ 20 ในประเทศ ก กิจการมีค่าใช้จ่าย เท่ากับ 100 (25X1 : 200) ซึ่งไม่สามารถนํามาหักในการคํานวณภาษีได้ ตัวอย่างการกระทบยอดเป็นอัตราภาษีในประเทศ ป ี 25X1 ป ี 25X2 กําไรทางบัญชี 2,500 3,000 อัตราภาษีในประเทศ (30%) 750 900 ผลกระทบทางภาษีของค่าใช้จ่ายภาษีหักภาษีไม่ได้ 60 30 ผลกระทบของอัตราภาษีที่ตํ่ากว่าของประเทศ ข (50) (150) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 760 780 ตัวอย่างต่อไปเป็นตัวอย่างการกระทบยอดซึ่งจัดทําโดยการรวมรายการกระทบยอดที่แยก ตามอัตราภาษีในประเทศที่กิจการดําเนินอยู่แต่ละประเทศ เมื่อใช้วิธีการนี้ ผลกระทบของ ผลต่างระหว่างอัตราภาษีในประเทศที่กิจการตั้งอยู่ กับอัตราภาษีในประเทศอื่น จะไม่แยก แสดงรายการในการกระทบยอด กิจการอาจต้องพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ ทั้งในเรื่องอัตราภาษี และกําไรของกิจการในแต่ละประเทศ เพื่อใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลง ในอัตราภาษีที่ใช้ ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 81.4 กําไรทางบัญชี 2,500 3,000 ภาษีที่คํานวณตามอัตราภาษีคูณกับกําไรที่เกิดขึ้นใน ประเทศที่เกี่ยวข้อง 700 750 ผลกระทบทางภาษีของค่าใช้จ่ายภาษีหักภาษีไม่ได้ 60 30 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 760 780 86 อัตราภาษีที่แท้จริงถัวเฉลี่ย คือ ค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ภาษีเงินได้ หารด้วยกําไรทางบัญชี 87 ในทางปฏิบัติกิจการมักไม่สามารถคํานวณหาจํานวนของหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่ยังไม่ได้รับรู้ ซึ่งเกิดขึ้นจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และบริษัทร่วม และส่วนได้เสีย ในการร่วมการงาน ( ดูย่อหน้าที่ 39) ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงกําหนดให้กิจการ เปิดเผยจํานวนรวมของผลต่างชั่วคราวที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องเปิดเผยจํานวนหนี้สินภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุนให้กิจการเปิดเผยมูลค่าของ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ยังไม่รับรู้ เนื่องจากอาจทําให้ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลที่มี ประโยชน์มากขึ้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 41 87 ก ย่อหน้าที่ 82 ก กําหนดให้กิจการต้องเปิดเผยธรรมชาติเกี่ยวกับผลกระทบของภาษีเงินได้ ที่อาจเกิดขึ้นจากการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น โดยกิจการต้องเปิดเผยลักษณะสําคัญของ ระบบภาษีเงินได้ และปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาษีเงินได้จากการจ่ายเงินปันผล 87 ข ในบางครั้ง กิจการไม่สามารถคํานวณหาจํานวนรวมของภาษีเงินได้ที่อาจเกิดขึ้นจากการจ่าย เงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ เช่น ในกรณีที่กิจการมีบริษัทย่อยในต่างประเทศจํานวนมาก อย่างไรก็ตาม ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว กิจการอาจสามารถประมาณมูลค่าบางส่วนได้โดยง่าย เช่น ในกลุ่มกิจการรวม บริษัทใหญ่ และบริษัทย่อยบางบริษัท อาจจ่ายภาษีเงินได้สําหรับกําไรที่ ยังไม่ได้จัดสรรในอัตราที่สูงกว่าปกติ และทราบจํานวนของภาษีเงินได้ที่จะได้รับคืนเมื่อ มีการจ่ายเงินปันผลจากกําไรสะสมรวมในอนาคต ในกรณีนี้กิจการต้องเปิดเผยจํานวนภาษี ที่จะได้รับคืน และกิจการต้องเปิดเผยด้วยว่า กิจการมีผลกระทบภาษีเงินได้ที่อาจเกิดขึ้นแต่ยัง ไม่สามารถประมาณได้ และในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่ ( ถ้ามี ) กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบภาษีเงินได้ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับกําไรสะสมของบริษัท ใหญ่ 87 ค กิจการที่ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 82 ก อาจต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ผลต่างชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา และบริษัทร่วม หรือส่วนได้เสีย ในการร่วมการงานด้วย ในกรณีนี้ กิจการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในการเปิดเผยข้อมูลตาม ที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 82 ก ตัวอย่างเช่น กิจการอาจต้องเปิดเผยมูลค่ารวมของผลต่างชั่วคราวที่ เกี่ยวข้องกับบริษัทย่อยในกรณีที่กิจการไม่ได้รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ( ดูย่อหน้าที่ 81.6) หากกิจการไม่สามารถคํานวณมูลค่าของหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ยังไม่รับรู้ ( ดูย่อหน้าที่ 87) กิจการอาจมีผลกระทบภาษีเงินได้ที่อาจเกิดขึ้นจากการจ่ายเงินปันผล ที่เกี่ยวข้อง กับเงินลงทุนในบริษัทย่อยต่างๆ เหล่านั้นที่กิจการไม่สามารถประเมินได้ 88 กิจการต้องเปิดเผยหนี้สินและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ตามที่กําหนดไว้ใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจ เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น หนี้สินและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นจากข้อพิพาทระหว่างกิจการกับหน่วยงาน จัดเก็บภาษีที่ยังไม่ยุติ ในทํานองเดียวกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีหรือกฎหมายภาษีอากรที่ มีผลบังคับใช้ หรือประกาศใช้ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องเปิดเผยผลกระทบที่สําคัญ ที่มีต่อสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้สําหรับรอบระยะเวลาและสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ) วันถือปฏิบัติ 89 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป 90 – 95( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 96 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 42 97 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 98 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 98 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 98 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 98 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 98 ง ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 98 จ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2557 ทําให้มี การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 59 กิจการ ต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 15 98 ฉ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2557 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 97 และ 98 ง กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไข เพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 98 ช มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 20 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 98 ซ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 98 ฌ การปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศประจําปี 2558 ถึง 2560 ที่ออก โดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศในเดือนธันวาคมปี 2560 ทําให้มีการ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2562 โดยเพิ่มย่อหน้าที่ 57 ก และตัดย่อหน้าที่ 52 ข กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือ หลังวันที่ 1 มกราคม 2563 ทั้งนี้ อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการ ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งนี้ในรอบระยะเวลาที่กิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นครั้งแรก กิจการ ต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวกับภาษีเงินได้ที่เป็นผลมาจากเงินปันผลที่รับรู้ใน หรือหลังวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาแรกที่นํามาเปรียบเทียบ 98 ญ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นจากรายการเดียวกัน ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2564 ทําให้มีการ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 15 22 และ 24 และเพิ่มย่อหน้าที่ 22 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวตามย่อหน้าที่ 98 ฎ ถึง 98 ฏ สําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 43 ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยเรื่องดังกล่าวด้วย 98 ฎ กิจการต้องถือปฏิบัติ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นจาก รายการเดียวกัน กับรายการที่เกิดขึ้นที่เริ่มในหรือหลังวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาเปรียบเทียบ แรกสุดที่นําเสนอ 98 ฏ กิจการที่ถือปฏิบัติตาม ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นจาก รายการเดียวกัน ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาเปรียบเทียบแรกสุดที่นําเสนอ ต้อง 98 ฏ .1 รับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี โดยรับรู้เท่ากับจํานวนที่เป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ว่ากิจการจะมีกําไรทางภาษีเพียงพอที่จะนําผลต่างชั่วคราวนั้นมาใช้หักภาษีได้ และรับรู้ หนี้ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสําหรับผลต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีและผลต่างชั่วคราว ที่ใช้หักภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ 98 ฎ .1.1 สินทรัพย์สิทธิการใช้ และหนี้สินตามสัญญาเช่า และ 98 ฎ .1.2 หนี้สินจากการรื้อถอน หนี้สินจากการบูรณะ และหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และจํานวนเงินที่เท่ากันที่รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง และ 98 ฏ .2 รับรู้ผลกระทบสะสมของการเริ่มต้นถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ให้เป็นรายการ ปรับปรุงในกําไรสะสมยกมา ( หรือองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ ตามความเหมาะสม ) ณ วันดังกล่าว ยกเลิกการตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 99 การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ( ปรับปรุง 2555) ทําให้มีการยกเลิกการตีความ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 ตั้งแต่มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ( ปรับปรุง 2555) นั้น มีผลบังคับใช้เป็นต้นมา