ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรม การกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดั งต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 26/2563 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการ ทางบัญชีและข้อผิดพลาด ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 3 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 8: Accounting Policies, Changes in Accounting Estimates and Errors (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 32 34 38 และ 48 และเพิ่มย่อหน้าที่ 32 ก 32 ข 34 ก และ 54 ฌ คํานิยามของประมาณการทางบัญชี 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 และ 11.2 และเพิ่มย่อหน้าที่ 54 ฉ ถึง 54 ซ และตัด ย่อหน้าที่ 6 การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิง กรอบแนวคิดในมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน คํานิยามของความมีสาระสําคัญ 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ได้มี การเปลี่ยนแปลงถ้อยคําหรือเนื้อหาใดๆ ไ ม่มี ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 3 คํานิยาม 5 นโยบายการบัญชี 7 การเลือกใช้และการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชี 7 ความสมํ่าเสมอของนโยบายการบัญชี 13 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 14 การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี 32 การเปิดเผยข้อมูล 39 ข้อผิดพลาด 41 ข้อจํากัดที่ทําให้ไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังได้ 43 การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีข้อผิดพลาดในรอบระยะเวลาก่อน 49 กรณีที่ไม่สามารถนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง และไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังได้ในทางปฏิบัติ 50 วันถือปฏิบัติ 54 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 55
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและ ข้อผิดพลาด ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 56 ทุกย่อหน้ามีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกและการเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชี รวมถึงวิธีปฏิบัติทางการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลของการเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และการแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อให้ งบการเงินของกิจการมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและมีความน่าเชื่อถือ และเพื่อให้ผู้ใช้ งบการเงินสามารถเปรียบเทียบงบการเงินสําหรับงวดต่างๆ ของกิจการเดียวกัน และเปรียบเทียบ งบการเงินระหว่างกิจการได้ดียิ่งขึ้น 2 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน สําหรับ ข้อกําหนดในการเปิดเผยนโยบายการบัญชี ยกเว้นข้อกําหนดสําหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชี ขอบเขต 3 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติเมื่อมีการเลือกและนํานโยบายการบัญชีมาปฏิบัติ และการบัญชีสําหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และการบัญชีสําหรับการเปลี่ยนแปลง ประมาณการทางบัญชี หรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในรอบระยะเวลาก่อน 4 กิจการต้องปฏิบัติและเปิดเผยผลกระทบทางภาษีที่เกิดจากการแก้ไขข้อผิดพลาดในรอบระยะเวลา ก่อนและจากการปรับปรุงย้อนหลังเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ คํานิยาม 5 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ มีความหมายโดยเฉพาะดังนี้ นโยบายการบัญชี หมายถึง หลักการ หลักเกณฑ์ ประเพณีปฏิบัติ กฎและ วิธีปฏิบัติที่เฉพาะที่กิจการนํามาใช้ในการจัดทําและ นําเสนองบการเงิน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 ประมาณการทางบัญชี หมายถึง จํานวนที่เป็นตัวเงินในงบการเงินที่เปลี่ยนไปตาม ความไม่แน่นอนของการวัดค่า มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน หมายถึง มาตรฐานการบัญชีและการตีความที่กําหนด โดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบด้วย 1) 2) 3) 4) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และ การตีความมาตรฐานการบัญชี ความมีสาระสําคัญ หมายถึง คํานิยามในย่อหน้าที่ 7 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และให้นํามาใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ด้วยความหมายเช่นเดียวกัน ข้อผิดพลาดในรอบ ระยะเวลาก่อน หมายถึง การละเว้นการแสดงรายการและการแสดงรายการที่ ขัดต่อข้อเท็จจริงในงบการเงินของกิจการในรอบ ระยะเวลาใดรอบระยะเวลาหนึ่งหรือหลายรอบ ระยะเวลาก่อนๆ ก็ตาม อันเกิดจากความล้มเหลว ในการใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือการใช้ข้อมูลที่ น่าเชื่อถือในทางที่ผิด ซึ่งข้อมูลดังกล่าว 1) 2) มีพร้อมในงบการเงินของรอบระยะเวลา ก่อนที่ได้รับการอนุมัติให้ออก และ สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่า สามารถหาข้อมูลได้ และนํามาใช้ในการจัดทํา และการนําเสนองบการเงิน ข้อผิดพลาดดังกล่าวรวมถึงผลกระทบจากการคํานวณ ผิดพลาด ข้อผิดพลาดจากการใช้นโยบายการบัญชี การมองข้ามหรือการตีความข้อเท็จจริงผิดพลาด และการทุจริต
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 การนํานโยบายการบัญชี ใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หมายถึง การเริ่มใช้นโยบายการบัญชีใหม่สําหรับรายการค้า เหตุการณ์และสถานการณ์อื่นเสมือนหนึ่งได้ใช้ นโยบายการบัญชีในเรื่องนั้นมาโดยตลอด การปรับงบการเงิน ย้อนหลัง หมายถึง การแก้ไขการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผย จํานวนเงินขององค์ประกอบของงบการเงินงวดก่อน เสมือนหนึ่งข้อผิดพลาดในรอบระยะเวลาก่อนไม่เคย เกิดขึ้น การไม่สามารถทําได้ ในทางปฏิบัติ หมายถึง การที่กิจการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนด หลังจากที่ได้ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุผล ทุกประการแล้ว เมื่อกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีจะถือว่ากิจการไม่สามารถนํานโยบาย การบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติกับงบการเงินรอบ ระยะเวลาก่อน หรือไม่สามารถปรับงบการเงิน ย้อนหลังเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ถ้าเข้าเงื่อนไข ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดจาก การนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ย้อนหลังหรือปรับงบการเงินย้อนหลังได้ 2) การนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ย้อนหลังหรือการปรับงบการเงินย้อนหลังนั้น ต้องใช้ข้อสมมติที่เกี่ยวกับความตั้งใจของฝ่าย บริหารในช่วงเวลาดังกล่าว หรือ 3) การนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ย้อนหลังหรือการปรับงบการเงินย้อนหลังนั้น ต้องใช้ประมาณการที่สําคัญและเป็นไปไม่ได้ ที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประมาณการ เหล่านั้นซึ่ง 3.1) ให้หลักฐานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่รับรู้ วัดมูลค่า หรือเปิดเผยข้อมูล และ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 3.2) ควรมี พร้ อม ณ วั นที่ อนุ มั ติ ให้ ออก งบการเงินของรอบระยะเวลาก่อนจาก ข้อมูลอื่น การเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและการรับรู้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการ ทางบัญชี โดยที่เป็นการ 1) ใช้นโยบายการบัญชีใหม่สําหรับรายการค้า เหตุการณ์อื่นและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจาก วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และ 2) รับรู้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการ ทางบัญชีในรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบ ระยะเวลาอนาคตที่ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลง 6 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) นโยบายการบัญชี การเลือกใช้และการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชี 7 เมื่อกิจการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินไปถือปฏิบัติเป็นการเฉพาะกับรายการ เหตุการณ์อื่นหรือสถานการณ์ทางบัญชี นโยบายการบัญชีหรือวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่นํามาใช้ ปฏิบัติกับรายการดังกล่าวต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สําหรับเรื่องนั้น 8 มาตรฐานการรายงานทางการเงินได้กําหนดนโยบายการบัญชีที่คณะกรรมการกําหนดมาตรฐาน การบัญชีได้สรุปว่ามีผลทําให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและ น่าเชื่อถือเกี่ยวกับรายการ เหตุการณ์อื่นและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ นโยบายการบัญชีดังกล่าว ไม่จําเป็นต้องถือปฏิบัติเมื่อผลกระทบของการถือปฏิบัติดังกล่าวไม่มีสาระสําคัญ อย่างไรก็ตาม เป็นการไม่เหมาะสมที่จะจัดทํางบการเงินที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หรือไม่แก้ไขข้อผิดพลาดในงบการเงินถึงแม้ผลกระทบนั้นจะไม่มีสาระสําคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์โดยเฉพาะของการนําเสนอฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานการเงิน หรือกระแสเงินสด 9 มาตรฐานการรายงานทางการเงินใช้เป็นแนวทางสําหรับกิจการในการนําไปปรับใช้ตาม ความต้องการ แนวปฏิบัติดังกล่าวทั้งหมดได้มีการระบุว่าเป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินหรือไม่ แนวปฏิบัติที่เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงาน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 ทางการเงินถือเป็นข้อบังคับ ส่วนแนวปฏิบัติที่ไม่เป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินไม่ถือเป็นข้อบังคับสําหรับงบการเงิน 10 ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานการรายงานทางการเงินโดยเฉพาะสําหรับรายการ เหตุการณ์อื่นหรือ สถานการณ์ ฝ่ายบริหารต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้นโยบายการบัญชีที่ส่งผลให้ข้อมูล ในงบการเงินมีลักษณะดังต่อไปนี้ 10.1 มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน และ 10.2 มีความน่าเชื่อถือ โดยทําให้งบการเงินของกิจการ 10.2.1 แสดงฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานการเงิน และกระแสเงินสดของ กิจการอย่างเที่ยงธรรม 10.2.2 สะท้อนเนื้อหาเชิงเศรษฐกิจของรายการ เหตุการณ์อื่นและสถานการณ์ โดยไม่คํานึงถึงรูปแบบทางกฎหมาย 10.2.3 มีความเป็นกลาง กล่าวคือปราศจากความลําเอียง 10.2.4 จัดทําขึ้นตามหลักความระมัดระวัง และ 10.2.5 มีความครบถ้วนในทุกส่วนที่มีสาระสําคัญ 11 การใช้วิจารณญาณตามย่อหน้าที่ 10 ฝ่ายบริหารต้องอ้างอิงและพิจารณาการใช้นโยบายการ บัญชีจากแหล่งต่างๆ ตามลําดับต่อไปนี้ 11.1 ข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับเรื่องที่คล้ายคลึง และเกี่ยวข้องกัน และ 11.2 คํานิยาม เกณฑ์การรับรู้รายการ และแนวคิดการวัดค่าสําหรับสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายที่ระบุไว้ในกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน 12 การใช้วิจารณญาณตามย่อหน้าที่ 10 ฝ่ายบริหารอาจพิจารณาจากประกาศที่ออกล่าสุดของ หน่วยงานอื่นที่ใช้แนวคิดคล้ายกันกับกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ในการพัฒนามาตรฐานการบัญชี วรรณกรรมทางการบัญชี และวิธีปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับใน อุตสาหกรรม โดยไม่ขัดแย้งกับแหล่งอ้างอิงตามย่อหน้าที่ 11 ความสมํ่าเสมอของนโยบายการบัญชี 13 กิจการต้องเลือกใช้และนํานโยบายการบัญชีมาถือปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอกับรายการค้า เหตุการณ์และสถานการณ์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เว้นแต่มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินได้กําหนดหรืออนุญาตเป็นการเฉพาะให้ใช้นโยบายการบัญชีที่แตกต่างกันได้ สําหรับรายการแต่ละประเภท หากมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดหรืออนุญาตให้ ปฏิบัติดังกล่าวได้ กิจการต้องเลือกและนํานโยบายการบัญชีที่เหมาะสมมาถือปฏิบัติ อย่างสมํ่าเสมอสําหรับรายการแต่ละประเภท
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 14 กิจการต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้น เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 14.1 เกิดจากข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หรือ 14.2 ทําให้งบการเงินให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากขึ้นในส่วนที่ เกี่ยวกับผลกระทบของรายการ เหตุการณ์อื่นหรือสถานการณ์ ที่มีต่อฐานะ ทางการเงิน ผลการดําเนินงานการเงิน และกระแสเงินสดของกิจการ 15 ผู้ใช้งบการเงินมีความต้องการที่จะเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกัน เพื่อระบุถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานการเงิน และกระแสเงินสดของกิจการ ดังนั้น กิจการจึงต้องใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและจากรอบ ระยะเวลาหนึ่งไปยังรอบระยะเวลาถัดไป เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีจะเข้าเงื่อนไข ข้อใดข้อหนึ่งตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 14 16 กรณีต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 16.1 การนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติกับรายการ เหตุการณ์อื่นหรือสถานการณ์ ที่มีเนื้อหาแตกต่างจากรายการและเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และ 16.2 การนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติกับรายการ เหตุการณ์อื่นหรือสถานการณ์ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือเคยเกิดขึ้นแต่ไม่มีสาระสําคัญ 17 การเริ่มนํานโยบายการบัญชีสําหรับการบันทึกมูลค่าสินทรัพย์ด้วยราคาที่ตีใหม่ตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับ การปรับมูลค่าตามมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าว มากกว่าที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ 18 ย่อหน้าที่ 19 ถึง 31 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ถือปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 17 การนําการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีมาถือปฏิบัติ 19 ยกเว้นกรณีที่กิจการไม่สามารถนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังกับ งบการเงินสําหรับงวดบัญชีก่อนได้ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 23 19.1 กิจการต้องปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ซึ่งเป็นผลมาจากการเริ่ม นํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาถือปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในวิธีปฏิบัติ ในช่วงเปลี่ยนผ่านของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับดังกล่าว และ 19.2 หากกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีอันเป็นผลจากการเริ่มนํามาตรฐาน การรายงานทางการเงินมาถือปฏิบัติ แต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินนั้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 ไม่ได้กําหนดวิธีปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านหรือกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีด้วยความสมัครใจ กิจการต้องปรับงบการเงินย้อนหลังสําหรับ การเปลี่ยนแปลงนั้น 20 ตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ การนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยัง ไม่เริ่มประกาศใช้มาถือปฏิบัติก่อนมีผลบังคับใช้ ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ตามความสมัครใจ 21 ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานการรายงานทางการเงินเฉพาะสําหรับรายการ เหตุการณ์อื่นหรือ สถานการณ์ ฝ่ายบริหารอาจปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 12 ซึ่งอนุญาตให้นํานโยบายการบัญชีจาก ประกาศที่ออกล่าสุด ของหน่วยงานอื่นที่ใช้แนวคิดคล้ายกันกับกรอบแนวคิดสําหรับการรายงาน ทางการเงิน ในการพัฒนามาตรฐานการบัญชีมาถือปฏิบัติ หากภายหลังมีการแก้ไขประกาศ ดังกล่าวและกิจการเลือกที่จะเปลี่ยนนโยบายการบัญชี กิจการจะปฏิบัติกับการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวและเปิดเผยว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีโดยสมัครใจ การนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง 22 ยกเว้นกรณีที่กิจการไม่สามารถนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังกับ งบการเงินรอบระยะเวลาก่อนตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 23 เมื่อกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีซึ่งต้องปรับย้อนหลังตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 19.1 หรือ 19.2 กิจการต้องปรับ ยอดยกมาขององค์ประกอบในส่วนของเจ้าของที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีสําหรับงบการเงินรอบระยะเวลาแรกสุดและแต่ละรอบระยะเวลาที่ได้ แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ โดยถือเสมือนว่าได้มีการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ โดยตลอด ข้อจํากัดที่ทําให้ไม่สามารถนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง 23 เมื่อกิจการต้องนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังตามย่อหน้าที่ 19.1 หรือ 19.2 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว มีผลให้กิจการต้องปรับงบการเงินย้อนหลัง เว้นแต่ กิจการไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบ ระยะเวลา หรือไม่สามารถระบุผลกระทบสะสมที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการ บัญชีได้ 24 หากในทางปฏิบัติกิจการไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีของรอบระยะเวลาใดรอบระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายรอบระยะเวลาที่แสดงเป็น ข้อมูลเปรียบเทียบได้ กิจการต้องนํานโยบายการบัญชีใหม่ มาถือปฏิบัติกับมูลค่าตามบัญชี ของสินทรัพย์และหนี้สินเริ่มต้นของรอบระยะเวลาแรกสุดที่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งอาจเป็นรอบ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 ระยะเวลาปัจจุบัน โดยกิจการต้องปรับยอดคงเหลือยกมาของแต่ละองค์ประกอบในส่วนของ เจ้าของที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสําหรับรอบระยะเวลานั้น 25 เมื่อกิจการไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติในการระบุผลกระทบสะสมที่เกิดขึ้น ณ วันเริ่มต้น ของรอบระยะเวลาปัจจุบัน จากการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติกับรอบระยะเวลา ก่อนๆ ได้ กิจการต้องปรับปรุงข้อมูลเปรียบเทียบ เพื่อแสดงถึงการนํานโยบายการบัญชีใหม่ มาถือปฏิบัติ โดยใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปนับจากวันแรกสุดที่สามารถปฏิบัติได้ 26 เมื่อกิจการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง กิจการต้องนํานโยบายการบัญชีใหม่ มาถือปฏิบัติกับงบการเงินรอบระยะเวลาก่อนๆ ที่นํามาแสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบถึงรอบ ระยะเวลาในอดีตที่ไกลที่สุดที่สามารถทําได้ การนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง กับงบการเงินรอบระยะเวลาก่อนจะไม่สามารถทําได้ เว้นแต่กิจการสามารถระบุผลกระทบสะสม ของยอดยกมาและยอดยกไปในงบฐานะการเงินของรอบระยะเวลานั้น จํานวนเงินของรายการ ปรับปรุงสําหรับรอบระยะเวลาก่อนๆ จะนํามาปรับกับยอดยกมาของรายการที่เป็นองค์ประกอบ ในส่วนของเจ้าของที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีในงบการเงินรอบ ระยะเวลาแรกสุดที่นํามาแสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ ซึ่งโดยปกติจะเป็นรายการปรับปรุงกับ กําไรสะสม อย่างไรก็ตาม รายการปรับปรุงอาจนํามาปรับปรุงกับองค์ประกอบอื่นๆ ของส่วนของ เจ้าของได้ ( เช่น เพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ) ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ รอบระยะเวลาก่อนๆ เช่น สรุปข้อมูลการเงินในอดีตจะได้รับการปรับปรุงไปถึงรอบระยะเวลาใน อดีตที่ไกลที่สุดเท่าที่จะทําได้เช่นเดียวกัน 27 หากกิจการไม่สามารถนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังกับงบการเงินรอบระยะเวลา ก่อนๆ ได้ เนื่องจากไม่สามารถระบุจํานวนเงินของผลกระทบสะสมต่อรอบระยะเวลาก่อนๆ จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีได้ ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 25 กิจการต้องนํานโยบายการ บัญชีใหม่มาถือปฏิบัติตามวิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปนับตั้งแต่รอบระยะเวลาล่าสุดที่สามารถ ปฏิบัติได้ ดังนั้น กิจการจึงไม่ต้องคํานึงถึงส่วนของรายการปรับปรุงสะสมต่อสินทรัพย์ หนี้สินและ ส่วนของเจ้าของที่เกิดขึ้นก่อนวันดังกล่าว มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้อนุญาตให้กิจการสามารถ เปลี่ยนนโยบายการบัญชีแม้ว่ากิจการจะไม่สามารถใช้นโยบายการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงกับ รอบระยะเวลาก่อนๆ ในทางปฏิบัติได้ ย่อหน้าที่ 50 ถึง 53 ได้กําหนดแนวปฏิบัติเมื่อกิจการ ไม่สามารถนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติกับงบการเงินรอบระยะเวลาใดรอบระยะเวลา หนึ่งหรือหลายรอบระยะเวลาก่อนๆ ก็ตาม การเปิดเผยข้อมูล 28 เมื่อกิจการเริ่มนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาถือปฏิบัติทําให้เกิดผลกระทบ ต่อรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันหรือรอบระยะเวลาบัญชีก่อน หากกิจการไม่สามารถระบุ จํานวนเงินของการปรับปรุงผลกระทบนั้นหรือหากผลกระทบนั้นมีผลต่อรอบระยะเวลาบัญชี ในอนาคต กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล ทุกข้อดังต่อไปนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 28.1 ชื่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่นํามาถือปฏิบัติ 28.2 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเป็นการปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในวิธีปฏิบัติ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน หากสามารถปฏิบัติได้ 28.3 ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 28.4 คําอธิบายเกี่ยวกับข้อกําหนดในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่าน หากสามารถปฏิบัติได้ 28.5 ข้อกําหนดในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งอาจมีผลกระทบในรอบระยะเวลาต่อไป 28.6 สําหรับรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบระยะเวลาก่อนทุกรอบระยะเวลาที่มี การนําเสนองบการเงิน หากสามารถปฏิบัติได้ กิจการต้องเปิดเผยจํานวนเงินของ รายการปรับปรุงที่กระทบต่อ 28.6.1 รายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ และ 28.6.2 กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกําไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 เรื่อง กําไรต่อหุ้น 28.7 จํานวนเงินของรายการปรับงบการเงินที่เกี่ยวข้องรอบระยะเวลาก่อนรอบ ระยะเวลาที่นําเสนอ หากสามารถทําได้ในทางปฏิบัติ และ 28.8 หากกิจการไม่สามารถนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังได้ตามที่กําหนด ไว้ในย่อหน้าที่ 19.1 และ 19.2 สําหรับงบการเงินรอบระยะเวลาก่อนแต่ละรอบ ระยะเวลา หรือรอบระยะเวลาก่อนรอบระยะเวลาที่มีการนําเสนองบการเงิน กิจการ ต้องเปิดเผยสถานการณ์ที่นําไปสู่การเกิดขึ้นของเงื่อนไขดังกล่าวและรายละเอียดว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเริ่มเมื่อใดและอย่างไร งบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อีก 29 หากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีโดยความสมัครใจทําให้เกิดผลกระทบ ต่อรอบระยะเวลาปัจจุบัน หรือรอบระยะเวลาก่อน ผลกระทบดังกล่าวจะมีผลต่อรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้นๆ เว้นแต่จะไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติที่จะระบุจํานวนเงินที่ต้อง ปรับปรุง หรืออาจมีผลกระทบต่อรอบระยะเวลาบัญชีในอนาคต กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล ดังต่อไปนี้ 29.1 ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 29.2 เหตุผลว่าการใช้นโยบายการบัญชีใหม่ทําให้งบการเงินมีความน่าเชื่อถือและ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร 29.3 สําหรับรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบระยะเวลาก่อนทุกรอบระยะเวลาที่มี การนําเสนองบการเงิน หากสามารถปฏิบัติได้ กิจการต้องเปิดเผยจํานวนเงินของ รายการปรับปรุงที่กระทบต่อ 29.3.1 รายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ และ 29.3.2 กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกําไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 29.4 จํานวนเงินของรายการปรับงบการเงินที่เกี่ยวข้องรอบระยะเวลาก่อนรอบระยะเวลา ที่นําเสนอ หากสามารถทําได้ในทางปฏิบัติ และ 29.5 หากกิจการไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติในการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ย้อนหลังกับงบการเงินรอบระยะเวลาก่อนๆ หรือรอบระยะเวลาใดรอบระยะเวลา หนึ่งก่อนงบการเงินรอบระยะเวลาที่นําเสนอได้ กิจการต้องเปิดเผยสถานการณ์ที่ นําไปสู่ การเกิดขึ้นของเงื่อนไขดังกล่าวและรายละเอียดว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีได้เริ่มเมื่อใดและอย่างไร งบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อีก 30 เมื่อกิจการยังไม่นํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่ประกาศใช้แล้ว แต่ยังไม่มี ผลบังคับใช้มาถือปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผยทุกข้อดังต่อไปนี้ 30.1 ข้อเท็จจริงที่กิจการยังไม่นํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ดังกล่าว มาถือปฏิบัติ และ 30.2 ข้อมูลที่ทราบหรือข้อมูลที่ประมาณได้อย่างสมเหตุสมผลที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ผลกระทบที่เป็นไปได้ของการนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่มาถือปฏิบัติ ต่องบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาแรกที่เริ่มนํามาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับดังกล่าวมาถือปฏิบัติ 31 ในการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 30 ให้กิจการพิจารณาเปิดเผย 31.1 ชื่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่ยังไม่นํามาถือปฏิบัติ 31.2 ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ที่กําลังจะเกิดขึ้น 31.3 วันที่ที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินมีผลบังคับใช้ 31.4 วันที่ที่กิจการคาดว่าจะนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาเริ่มถือปฏิบัติ และ 31.5 ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 31.5.1 คําอธิบายถึงผลกระทบต่องบการเงินของกิจการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก การเริ่มนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินมาถือปฏิบัติ หรือ 31.5.2 หากไม่ทราบหรือไม่สามารถประมาณจํานวนเงินของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างสมเหตุสมผล ให้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าว ประมาณการทางบัญชี 32 นโยบายการบัญชีอาจกําหนดให้รายการในงบการเงินถูกวัดค่าในแนวทางที่เกี่ยวข้องกับ ความไม่แน่นอนของการวัดค่า กล่าวคือ นโยบายการบัญชีอาจกําหนดให้รายการดังกล่าว ถูกวัดค่าด้วยจํานวนที่เป็นตัวเงินที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรงและต้องใช้การประมาณการแทน ในกรณีดังกล่าว กิจการจัดทําประมาณการทางบัญชีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 โดยนโยบายการบัญชี การจัดทําประมาณการทางบัญชีเกี่ยวข้องกับการใช้วิจารณญาณหรือ ข้อสมมติที่อิงกับข้อมูลที่น่าเชื่อถือล่าสุดที่มีพร้อม ตัวอย่างของประมาณการทางบัญชี ให้รวมถึง 32.1 ค่าเผื่อผลขาดทุนสําหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน 32.2 มูลค่าสุทธิที่จะได้รับของรายการหนึ่งของสินค้าคงเหลือที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ 32.3 มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การ วัดมูลค่ายุติธรรม 32.4 ค่าเสื่อมราคาสําหรับรายการหนึ่งของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 และ 32.5 ประมาณการหนี้สินสําหรับภาระผูกพันจากการรับประกันที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่ อาจเกิดขึ้น 32 ก กิจการใช้เทคนิคการวัดค่าและข้อมูลนําเข้าเพื่อจัดทําประมาณการทางบัญชี เทคนิคการวัดค่า รวมถึงเทคนิคการประมาณการ ( เช่น เทคนิคที่ใช้ในการวัดค่าของค่าเผื่อผลขาดทุนสําหรับผล ขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) และเทคนิคการประเมินมูลค่า ( เช่น เทคนิคที่ใช้ในการวัดค่าของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ หรือหนี้สินที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13) 32 ข คําว่า ‘ ประมาณการ ’ ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน บางครั้งหมายถึงประมาณการที่ไม่ใช่ ประมาณการทางบัญชีที่นิยามไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ เช่น บางครั้งหมายถึงข้อมูลนําเข้า ที่ใช้ในการจัดทําประมาณการทางบัญชี 33 การประมาณการอย่างสมเหตุสมผลเป็นส่วนสําคัญในการจัดทํางบการเงินและไม่ทําให้งบการเงิน สูญเสียความน่าเชื่อถือ การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี 34 กิจการอาจจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หากสภาพแวดล้อมที่ใช้เป็นเกณฑ์ ในการประมาณการทางบัญชีเปลี่ยนแปลง หรือเป็นผลมาจากข้อมูลใหม่ หรือพัฒนาการใหม่ หรือประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น โดยธรรมชาติแล้วการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีไม่เกี่ยวกับ รอบระยะเวลาก่อนและไม่ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด 34 ก ผลกระทบต่อประมาณการทางบัญชีสําหรับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนําเข้าหรือการเปลี่ยนแปลง เทคนิคการวัดค่าถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี เว้นแต่เป็นผลจากการแก้ไข ข้อผิดพลาดสําหรับรอบระยะเวลาก่อน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 35 การเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดมูลค่าถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และไม่ถือเป็น การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี ในกรณีที่เป็นการยากที่จะแยกความแตกต่างว่าเป็น การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี ให้ถือว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี 36 นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 37 กิจการต้องรับรู้ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีทันทีในกําไรหรือขาดทุนตาม ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 36.1 สําหรับรอบระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หากการ เปลี่ยนแปลงนั้นมีผลกระทบต่อรอบระยะเวลาดังกล่าวเพียงรอบระยะเวลาเดียว หรือ 36.2 สําหรับรอบระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและรอบ ระยะเวลาต่อๆ ไป หากการเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลกระทบต่อรอบระยะเวลาดังกล่าว 37 ในขอบเขตที่การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีทําให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือรายการในส่วนของเจ้าของ กิจการต้องรับรู้โดยการปรับปรุงมูลค่า ตามบัญชีของสินทรัพย์ หนี้สินหรือรายการในส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้องในรอบระยะเวลาที่ มีการเปลี่ยนแปลงนั้น 38 การรับรู้รายการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีโดยวิธีเปลี่ยนทันที เป็นต้นไป หมายถึง การนําการเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชีมาถือปฏิบัติกับรายการ เหตุการณ์อื่นและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ประมาณการทางบัญชีอาจมีผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุนของรอบระยะเวลาปัจจุบันเพียงรอบ ระยะเวลาเดียว หรืออาจมีผลต่อกําไรหรือขาดทุนของทั้งรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบระยะเวลา อนาคต เช่น การเปลี่ยนแปลงค่าเผื่อผลขาดทุนสําหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จะมีผลกระทบต่อรอบระยะเวลาปัจจุบันเพียงรอบระยะเวลาเดียว จึงรับรู้ในรอบระยะเวลาปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงประมาณการของอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ หรือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับของสินทรัพย์ ที่มีการเสื่อมค่าจะมีผลกระทบต่อค่าเสื่อมราคาทั้งรอบระยะเวลาปัจจุบันและรอบระยะเวลาอนาคต แต่ละรอบระยะเวลาตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ ทั้งสองกรณี ผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อรอบระยะเวลาปัจจุบันจะรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลา ปัจจุบัน ส่วนผลกระทบ ( ถ้ามี ) ที่มีต่อรอบระยะเวลาอนาคตจะรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย ในรอบระยะเวลาอนาคตนั้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 การเปิดเผยข้อมูล 39 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและจํานวนเงินของการเปลี่ยนแปลงประมาณ การทางบัญชีที่มีผลกระทบต่องบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันหรือคาดว่าจะมี ผลกระทบต่อรอบระยะเวลาในอนาคต เว้นแต่ไม่สามารถประมาณจํานวนเงินของผลกระทบ ได้ 40 หากกิจการไม่เปิดเผยผลกระทบต่อรอบระยะเวลาในอนาคตเนื่องจากไม่สามารถประมาณ จํานวนเงินของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีต่อรอบระยะเวลาใน อนาคตได้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อผิดพลาด 41 ข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้จากการรับรู้ การวัดมูลค่า การนําเสนอข้อมูลหรือการเปิดเผย องค์ประกอบของงบการเงิน งบการเงินถือว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หากงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดที่มีสาระสําคัญหรือมีข้อผิดพลาดที่ไม่มีสาระสําคัญแต่เกิดขึ้น อย่างจงใจเพื่อทําให้งบการเงินของกิจการแสดงฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานการเงินและกระแส เงินสดตามที่ฝ่ายบริหารต้องการ กิจการอาจพบข้อผิดพลาดของรอบระยะเวลาปัจจุบันและแก้ไข ทันก่อนที่งบการเงินจะได้รับการอนุมัติเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งกิจการอาจพบ ข้อผิดพลาดที่มีสาระสําคัญของรอบระยะเวลาปัจจุบันในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปและ ข้อผิดพลาดเหล่านี้จะถูกแก้ไขโดยปรับงบการเงินที่นํามาแสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบใน งบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป ( ดูย่อหน้าที่ 42 ถึง 47) 42 ยกเว้นข้อจํากัดที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 43 กิจการต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีสาระสําคัญของ รอบระยะเวลาก่อนโดยปรับย้อนหลังในงบการเงินฉบับแรกที่ได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่ หลังจากที่พบข้อผิดพลาดโดย 42.1 ปรับงบการเงินรอบระยะเวลาก่อนที่แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบเสมือนว่า ข้อผิดพลาดได้ถูกแก้ไขในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนที่ข้อผิดพลาดได้เกิดขึ้น หรือ 42.2 หากข้อผิดพลาดเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบ ระยะเวลาบัญชีแรกสุดที่แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ กิจการต้องปรับปรุงยอดยก มาของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของในงบการเงินรอบระยะเวลาแรกสุด ที่นํามาแสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ ข้อจํากัดที่ทําให้ไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังได้ 43 กิจการต้องแก้ไขข้อผิดพลาดของงบการเงินรอบระยะเวลาก่อนโดยการปรับงบการเงิน ย้อนหลังเว้นแต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถระบุจํานวนเงินของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบ ระยะเวลา หรือไม่สามารถระบุจํานวนเงินของผลกระทบสะสมที่เกิดจากข้อผิดพลาดได้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 44 หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดจากข้อผิดพลาดของแต่ละรอบ ระยะเวลาที่แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบไม่ว่ารอบระยะเวลาใดรอบระยะเวลาหนึ่งหรือหลาย รอบระยะเวลาก่อนๆ ก็ตาม กิจการต้องปรับปรุงยอดยกมาต้นรอบระยะเวลาของสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีแรกสุดที่สามารถปฏิบัติได้ ( ซึ่งอาจ เป็นรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบัน ) 45 หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบสะสม ณ ต้นรอบระยะเวลาปัจจุบันที่เกิด จากข้อผิดพลาดที่มีต่องบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ ได้ กิจการต้องแก้ไข ข้อผิดพลาดโดยปรับปรุงข้อมูลที่นํามาแสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบด้วยวิธีเปลี่ยนทันที เป็นต้นไป นับจากวันแรกสุดที่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ 46 การแก้ไขข้อผิดพลาดของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนจะไม่รวมอยู่ในกําไรหรือขาดทุนของ รอบระยะเวลาที่พบข้อผิดพลาด กิจการต้องปรับย้อนหลังข้อมูลรอบระยะเวลาก่อนที่นําเสนอ รวมทั้งข้อมูลทางการเงินในอดีตโดยสรุป โดยปรับย้อนหลังให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทําได้ ในทางปฏิบัติ 47 หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถระบุจํานวนเงินของข้อผิดพลาด ( เช่น การนํานโยบาย การบัญชีมาปฏิบัติไม่ถูกต้อง ) ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ ทุกรอบระยะเวลา ตามที่ระบุ ไว้ในย่อหน้าที่ 45 กิจการต้องใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป โดยปรับปรุงข้อมูลเปรียบเทียบนับจาก วันแรกสุดที่สามารถปฏิบัติได้ โดยไม่คํานึงถึงผลกระทบสะสมที่ปรับปรุงกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วน ของเจ้าของในส่วนที่เกิดก่อนวันดังกล่าว มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้กําหนดแนวปฏิบัติในกรณีที่ กิจการไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดสําหรับงบการเงินรอบระยะเวลาใดรอบระยะเวลาหนึ่งหรือ หลายรอบระยะเวลาก่อนๆ ได้ไว้ในย่อหน้าที่ 50 ถึง 53 48 การแก้ไขข้อผิดพลาดแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี โดยธรรมชาติของ การประมาณการทางบัญชีคือการประมาณที่อาจจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเมื่อได้ทราบข้อมูล เพิ่มเติม เช่น ผลกําไรหรือผลขาดทุนที่รับรู้จากผลของรายการที่มีความไม่แน่นอนไม่ถือเป็น การแก้ไขข้อผิดพลาด การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีข้อผิดพลาดในรอบระยะเวลาก่อน 49 ในการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 42 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้ 49.1 ธรรมชาติของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในงบการเงินรอบระยะเวลาก่อน 49.2 สําหรับงบการเงินของรอบระยะเวลาก่อนแต่ละรอบระยะเวลาที่นําเสนอ กิจการ ต้องเปิดเผยจํานวนเงินของรายการปรับปรุงเท่าที่สามารถปฏิบัติได้ 49.2.1 รายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ และ 49.2.2 กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกําไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 49.3 จํานวนเงินของรายการปรับปรุง ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาแรกสุดที่นํามา แสดงเปรียบเทียบ และ 49.4 หากในทางปฏิบัติกิจการไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังสําหรับงบการเงิน รอบระยะเวลาก่อนรอบระยะเวลาใดรอบระยะเวลาหนึ่งได้ กิจการต้องเปิดเผย สถานการณ์ที่นําไปสู่การเกิดขึ้นของเงื่อนไขดังกล่าวและรายละเอียดว่ากิจการ แก้ไขข้อผิดพลาดเมื่อใดและอย่างไร งบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อีก กรณีที่ไม่สามารถนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังและไม่สามารถปรับ งบการเงินย้อนหลังได้ในทางปฏิบัติ 50 ในบางสถานการณ์ เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่จะปรับปรุงข้อมูลสําหรับรอบระยะเวลาก่อนๆ ที่แสดงเปรียบเทียบเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับงบการเงินรอบระยะเวลาปัจจุบันได้ ตัวอย่างเช่น กิจการอาจไม่ได้จัดเก็บข้อมูลในรอบระยะเวลาก่อนๆ ในลักษณะที่สามารถนํา นโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังได้ ( รวมถึงในย่อหน้าที่ 51 ถึง 53 เกี่ยวกับการเปลี่ยน ทันทีเป็นต้นไปกับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ ) หรือไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังเพื่อแก้ไข ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาก่อนได้ และอาจเป็นไปไม่ได้ที่กิจการจะปฏิบัติตามโดย รวบรวมข้อมูลขึ้นมาใหม่ 51 บ่อยครั้งที่กิจการจําเป็นต้องอาศัยการประมาณการในการใช้นโยบายการบัญชีสําหรับ องค์ประกอบของงบการเงินที่รับรู้หรือเปิดเผยที่เกี่ยวข้องกับรายการ เหตุการณ์หรือ สถานการณ์อื่น การประมาณการต้องอาศัยดุลพินิจ และอาจจัดทําขึ้นภายหลังรอบระยะเวลา รายงาน การประมาณการอาจทําได้ยากสําหรับการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ย้อนหลัง หรือ การปรับงบการเงินย้อนหลังเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาก่อน เนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านไปนานหลังจากรายการ เหตุการณ์หรือสถานการณ์อื่นที่ได้รับผลกระทบ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของการประมาณการที่เกี่ยวข้องกับรอบระยะเวลาก่อนๆ ยังคงเหมือนกับวัตถุประสงค์ของการประมาณการที่ทําในรอบระยะเวลาปัจจุบัน เพื่อให้สะท้อน ถึงรายการ เหตุการณ์หรือสถานการณ์อื่นที่เกิดขึ้น 52 ดังนั้น ในการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการแก้ไขข้อผิดพลาด ในรอบระยะเวลาก่อน กิจการต้องจําแนกข้อมูลซึ่ง 52.1 ให้หลักฐานถึงกรณีแวดล้อมที่เป็นอยู่ ณ วันที่รายการ เหตุการณ์หรือสถานการณ์อื่น ได้เกิดขึ้น และ 52.2 ข้อมูลที่ควรมีพร้อม ณ วันที่งบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาก่อนได้รับการอนุมัติ ให้เผยแพร่ จากข้อมูลอื่น สําหรับประมาณการบางประเภทอาจเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่จะแยกข้อมูล ข้างต้น ( เช่น การวัดมูลค่ายุติธรรมที่อ้างอิงจากข้อมูลสําคัญซึ่งสังเกตไม่ได้ ) เมื่อการนํานโยบาย
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 การบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการปรับงบการเงินย้อนหลังต้องอาศัยการประมาณการที่ มีนัยสําคัญ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะแยกข้อมูลดังกล่าว ให้ถือว่าการใช้นโยบายการบัญชีใหม่ย้อนหลัง หรือการแก้ไขข้อผิดพลาดย้อนหลังไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ 53 กิจการต้องไม่ใช้ข้อมูลที่ทราบหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้วเมื่อนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือ ปฏิบัติ หรือเมื่อมีการแก้ไขข้อผิดพลาดของรอบระยะเวลาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งข้อสมมติ เกี่ยวกับความตั้งใจของผู้บริหารในรอบระยะเวลาก่อนหรือประมาณจํานวนเงินที่รับรู้ วัดมูลค่า หรือเปิดเผยในรอบระยะเวลาก่อน สําหรับกรณีการปรับงบการเงินย้อนหลังเพื่อแก้ไข ข้อผิดพลาดในการคํานวณหนี้สินสําหรับการลาป่วยของพนักงานตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน จํานวนเงินของหนี้สินที่บันทึกไม่ได้คํานึงถึงการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีต่อมาหลังจากที่อนุมัติให้ ออกงบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าการประมาณการที่มีนัยสําคัญ จําเป็นต้องใช้บ่อย ๆ เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลเปรียบเทียบที่นําเสนอสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี ไม่ทําให้การปรับปรุงหรือการแก้ไขข้อมูลเปรียบเทียบขาดความน่าเชื่อถือ วันถือปฏิบัติ 54 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้สนับสนุนให้นําไปใช้ก่อนวันถือปฏิบัติ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 54 ก – 54 ข ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 54 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 54 ง ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 54 จ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ที่ออกโดยคณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2557 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 53 และตัดย่อหน้าที่ 54 ก 54 ข และ 54 ง กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 54 ฉ การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงกรอบแนวคิดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อปี 2561 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 6 และ 11.2 กิจการต้อง ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมที่เกิดจาก การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงกรอบแนวคิด ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไข
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 เพิ่มเติมย่อหน้าที่ 6 และ 11.2 โดยการปรับย้อนหลังตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม หากกิจการพิจารณาว่าการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังนั้น ไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติหรือก่อให้เกิดการใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป กิจการ ต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 6 และ 11.2 โดยอ้างอิงตามย่อหน้าที่ 23 ถึง 28 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ หากการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังของ การแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จาก การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงกรอบแนวคิดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ก่อให้เกิดการใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป กิจการต้องถือปฏิบัติตาม ย่อหน้าที่ 23 ถึง 28 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้โดยอ่านการอ้างอิงจาก “ ไม่สามารถทําได้ ในทางปฏิบัติ ” เป็น “ ก่อให้เกิดการใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป ” เว้นแต่ประโยค สุดท้ายของย่อหน้าที่ 27 และการอ้างอิงจาก “ สามารถปฏิบัติได้ ” เป็น “ สามารถทําได้โดยไม่ใช้ ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป ” 54 ช หากกิจการไม่ได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 14 รายการที่อยู่ภายใต้ การกํากับดูแลรอตัดบัญชี กิจการต้องยังคงอ้างอิงการถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 11.2 ในเรื่อง ยอดคงเหลือของรายการที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแล และพิจารณาการนําไปใช้ของคํานิยาม เกณฑ์ การรับรู้รายการ และหลักการวัดมูลค่าในกรอบแนวคิดแทนที่ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงาน ทางการเงิน 1 ยอดคงเหลือของรายการที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแล หมายถึง ยอดคงเหลือของ บัญชีค่าใช้จ่าย ( หรือรายได้ ) ที่ไม่สามารถรับรู้เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น แต่ถูกรวมหรือคาดว่าจะถูกรวมในการกําหนดราคาที่สามารถ เรียกเก็บจากลูกค้าโดยผู้กํากับดูแลด้านราคา ผู้กํากับดูแลด้านราคา หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีสิทธิ ที่ได้รับมอบหมายโดยพระราชบัญญัติหรือกฎข้อบังคับเพื่อกําหนดราคาหรือช่วงของราคาที่ใช้ กับกิจการ ผู้กํากับ ดูแลด้านราคาอาจเป็นบุคคลที่สามหรือเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกันของกิจการ รวมถึงคณะกรรมการกํากับดูแลของกิจการ หากกลุ่มบุคคลดังกล่าวถูกแต่งตั้งโดยพระราชบัญญัติ หรือกฎข้อบังคับให้กําหนดราคาเพื่อประโยชน์ของลูกค้าและเพื่อให้กิจการมีฐานะการเงินมั่นคง เพียงพอ 54 ซ คํานิยามของความมีสาระสําคัญ ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือน ตุลาคมปี 2561 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2563 โดยแก้ไข เพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และย่อหน้าที่ 5 ของมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8 และตัดย่อหน้าที่ 6 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กิจการต้องถือปฏิบัติ ตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการ 1 การอ้างอิงนี้ เป็นการอ้างอิงถึง กรอบแนวคิดมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ( ที่ปรับปรุงในปี 2558) ซึ่งเป็นฉบับที่ ทางคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีนํามาใช้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 54 ฌ คํานิยามของประมาณการทางบัญชี ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 5 32 34 38 และ 48 และเพิ่มย่อหน้าที่ 32 ก 32 ข และ 34 ก กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวกับการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่เกิดขึ้นที่เริ่มในหรือหลังวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลา รายงานประจําปีแรกสุดที่กิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 55 มาตรฐานการบั ญชี ฉบั บนี้ ให้ ใช้ แทนมาตรฐานการบั ญชี ฉบั บที่ 8 ( ปรั บปรุ ง 2561) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด 56 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )