ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วั นประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 35/2562 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด ตามที่กำหนด ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 2 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 7: Statement of Cash Flows (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 14 และเพิ่ม ย่อหน้าที่ 61 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 17 44 และ 59 และแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ ขอบเขต 1 ประโยชน์ของข้อมูลกระแสเงินสด 4 คํานิยาม 6 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 7 การนําเสนองบกระแสเงินสด 10 กิจกรรมดําเนินงาน 13 กิจกรรมลงทุน 16 กิจกรรมจัดหาเงิน 17 การแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน 18 การแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน 21 การแสดงกระแสเงินสดด้วยยอดสุทธิ 22 กระแสเงินสดที่เป็นเงินตราต่างประเทศ 25 ดอกเบี้ยและเงินปันผล 31 ภาษีเงินได้ 35 เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และการร่วมค้า 37 การเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อย และธุรกิจอื่น 39 รายการที่มิใช่เงินสด 43 การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 44 ก องค์ประกอบของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 45 การเปิดเผยอื่น 48 วันถือปฏิบัติ 53
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 60 ทุกย่อหน้า มีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิด สําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด วัตถุประสงค์ ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสดของกิจการมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมิน ความสามารถของกิจการในการก่อให้เกิดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด และความต้องการใช้ กระแสเงินสดของกิจการ ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน จะต้องมีการประเมิน ความสามารถของกิจการ ในการก่อให้เกิดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จังหวะเวลาและ ความแน่นอนของการก่อให้เกิดเงินสดดังกล่าว วัตถุประสงค์ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในอดีตของ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการ ผ่านทางงบกระแสเงินสดซึ่งจําแนกกระแสเงินสด ในระหว่างรอบระยะเวลาเป็นเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน ขอบเขต 1 กิจการต้องจัดทํางบกระแสเงินสดให้เป็นไปตามข้อกําหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ และต้องนําเสนองบกระแสเงินสดเป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของงบการเงินของกิจการที่นําเสนอ ในแต่ละรอบระยะเวลา 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด 3 ผู้ใช้งบการเงินของกิจการย่อมสนใจว่ากิจการก่อให้เกิดและใช้เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด อย่างไร โดยไม่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของกิจกรรมของกิจการ และไม่ขึ้นอยู่กับว่าเงินสดจะถือเป็น ผลิตภัณฑ์ของกิจการหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นกรณีของสถาบันการเงิน กิจการย่อมต้องการเงินสดด้วย เหตุผลพื้นฐานที่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ อาจแตกต่างกันไป นั่นคือ กิจการต้องการเงินสดเพื่อใช้ในการดําเนินงาน เพื่อชําระภาระผูกพัน และเพื่อจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้ทุกกิจการ ต้องนําเสนองบกระแสเงินสด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 ประโยชน์ของข้อมูลกระแสเงินสด 4 งบกระแสเงินสดเมื่อใช้ประกอบกับส่วนที่เหลือของงบการเงิน จะให้ข้อมูลที่ทําให้ผู้ใช้ งบการเงินสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ โครงสร้างทางการเงิน ของกิจการ ( ซึ่งรวมถึงสภาพคล่องและความสามารถในการชําระหนี้ ) และความสามารถ ของกิจการในการจัดการเกี่ยวกับจํานวนเงินและจังหวะเวลาของกระแสเงินสดเพื่อปรับให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และโอกาส ข้อมูลกระแสเงินสดให้ประโยชน์ในการประเมิน ความสามารถของกิจการในการก่อให้เกิดเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด และทําให้ผู้ใช้ งบการเงินสามารถนําไปสร้างแบบจําลองเพื่อประเมินและเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันของ กระแสเงินสดอนาคตของกิจการที่ต่างกัน รวมทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในการเปรียบเทียบกันได้ ของผลการดําเนินงานที่รายงานโดยกิจการที่แตกต่างกันได้ เนื่องจากได้ตัดผลกระทบที่เกิดจาก การใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีที่แตกต่างกันสําหรับรายการและเหตุการณ์ที่เหมือนกันออกไปแล้ว 5 ข้อมูลในอดีตของกระแสเงินสด มักใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงจํานวนเงิน จังหวะเวลา และความแน่นอนของ กระแสเงินสดอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในการใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการประเมิน กระแสเงินสดอนาคตที่ได้จัดทําในอดีต และใช้ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถ ในการทํากําไร และกระแสเงินสดสุทธิ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระดับราคา คํานิยาม 6 คําศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะดังต่อไปนี้ เงินสด ประกอบด้วย เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืน เมื่อทวงถาม รายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมที่ จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจํานวนที่ทราบได้ และมี ความเสี่ยงที่ไม่มีนัยสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงใน มูลค่า กระแสเงินสด หมายถึง การเข้าและออกของเงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสด กิจกรรมดําเนินงาน หมายถึง กิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ และ กิจกรรมอื่นที่มิใช่กิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรม จัดหาเงิน กิจกรรมลงทุน หมายถึง การได้มาและการจําหน่ายสินทรัพย์ระยะยาว
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 และเงินลงทุ นอื่นซึ่ งไม่ รวมอยู่ในรายการ เทียบเท่าเงินสด กิจกรรมจัดหาเงิน หมายถึง กิจกรรมที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาด และองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของและส่วน ของการกู้ยืมของกิจการ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 7 รายการเทียบเท่าเงินสด เป็นรายการที่กิจการถือไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจ่ายชําระข้อผูกมัด ระยะสั้นมากกว่าเพื่อการลงทุนหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เงินลงทุนที่จะถือได้ว่าเป็นรายการ เทียบเท่าเงินสดต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจํานวนที่ทราบได้ และต้องมีความเสี่ยงที่ไม่ มีนัยสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ดังนั้น โดยปกติเงินลงทุนจะถือเป็นรายการเทียบเท่าเงิน สดได้ก็ต่อเมื่อเงินลงทุนนั้นมีวันครบกําหนดในระยะสั้น กล่าวคือ 3 เดือน หรือน้อยกว่านับจาก วันที่ได้มา เงินลงทุนในตราสารทุนไม่ถือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด เว้นแต่โดยเนื้อหาสาระแล้ว เงินลงทุนนั้นเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด เช่น ในกรณีของหุ้นบุริมสิทธิที่ซื้อเมื่อหุ้นนั้นใกล้วัน ครบกําหนด และมีการระบุวันที่ไถ่ถอนไว้อย่างแน่ชัด 8 เงินกู้ยืมจากธนาคาร ตามปกติจะพิจารณาว่าเป็นกิจกรรมจัดหาเงิน แต่สําหรับในบางประเทศ เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารที่มีลักษณะจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ถือเป็นส่วนเสริมที่จําเป็นของการ บริหารเงินสดของกิจการ ในกรณีเช่นนี้ เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารจะถือรวมเป็นองค์ประกอบของ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งข้อตกลงกับธนาคารในลักษณะนี้จะเห็นได้จากการที่ยอด คงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคารมักจะมีความผันผวนจากยอดบวกเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชี 9 กระแสเงินสดไม่รวมการเคลื่อนไหวของรายการที่ประกอบกันขึ้นเป็นเงินสดหรือรายการ เทียบเท่าเงินสด เนื่องจากองค์ประกอบดังกล่าวเป็นส่วนของการบริหารเงินสดของกิจการ มากกว่าเป็นส่วนของกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมจัดหาเงิน การบริหาร เงินสดรวมถึงการนําเงินสดส่วนเกินไปลงทุนในรายการเทียบเท่าเงินสด การนําเสนองบกระแสเงินสด 10 งบกระแสเงินสดต้องแสดงกระแสเงินสดในระหว่างรอบระยะเวลา โดยจําแนกเป็นกระแสเงินสด จากกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน 11 กิจการต้องนําเสนอกระแสเงินสดของกิจการที่เกิดจากกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน และ กิจกรรมจัดหาเงินในลักษณะที่เหมาะสมกับธุรกิจของกิจการมากที่สุด การจําแนกตามกิจกรรม จะให้ข้อมูลที่ทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินผลกระทบของกิจกรรมเหล่านั้น ที่มีต่อฐานะการเงินของกิจการ และจํานวนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการได้ ข้อมูลนี้ยังอาจใช้เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมเหล่านั้นได้ด้วย
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 12 รายการค้ารายการหนึ่งอาจรวมกระแสเงินสดจากหลายกิจกรรมที่จัดประเภทแตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เงินสดที่ใช้ในการจ่ายชําระเงินกู้ที่รวมทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น ส่วนที่เป็น ดอกเบี้ยอาจจัดประเภทเป็นกิจกรรมดําเนินงาน และส่วนที่เป็นเงินต้นจัดประเภทเป็นกิจกรรม จัดหาเงิน กิจกรรมดําเนินงาน 13 จํานวนเงินของกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดําเนินงานจะเป็นข้อบ่งชี้ที่สําคัญที่แสดงถึง ความสามารถในการดําเนินงานของกิจการในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่เพียงพอเพื่อจ่ายชําระ เงินกู้ยืม เพื่อการดําเนินงานของกิจการ เพื่อจ่ายเงินปันผล และเพื่อการลงทุนใหม่ๆ โดย ไม่พึ่งพาการจัดหาเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอก ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบแต่ละรายการ ของกระแสเงินสดจากการดําเนินงานที่เกิดขึ้นในอดีตจะเป็นประโยชน์เมื่อพิจารณาประกอบกับ ข้อมูลอื่นในการพยากรณ์กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงานในอนาคต 14 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงานโดยพื้นฐานแล้วจะเกิดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ ของกิจการ ดังนั้น โดยทั่วไปจะเป็นผลมาจากรายการต่างๆ และเหตุการณ์อื่นที่เกิดขึ้น ในการคํานวณกําไรหรือขาดทุน ตัวอย่างของกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน คือ 14.1 เงินสดรับจากการขายสินค้าและการให้บริการ 14.2 เงินสดรับจากรายได้ค่าสิทธิ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า และรายได้อื่น 14.3 การจ่ายชําระเงินสดให้แก่ผู้ขายสินค้าและผู้ให้บริการ 14.4 การจ่ายชําระเงินสดให้แก่พนักงานและจ่ายแทนพนักงาน 14.5 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 14.6 การจ่ายชําระเงินสดหรือการได้รับคืนค่าภาษีเงินได้ ยกเว้นหากรายการดังกล่าวสามารถ ระบุเจาะจงได้กับกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน และ 14.7 เงินสดรับและการจ่ายชําระเงินสดจากสัญญาที่ถือไว้เพื่อซื้อขายหรือเพื่อค้า รายการบางรายการ เช่น การขายโรงงาน อาจทําให้เกิดผลกําไรหรือขาดทุนซึ่งจะรวมอยู่ในกําไร หรือขาดทุนที่รับรู้กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับรายการดังกล่าวเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรม ลงทุน อย่างไรก็ตาม การจ่ายชําระเงินสดเพื่อผลิตหรือเพื่อซื้อสินทรัพย์ซึ่งถือไว้เพื่อให้ผู้อื่นเช่า และต่อมาถือไว้เพื่อขาย ตามที่อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ 68 ก ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ถือเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน เงินสดรับจากค่าเช่า และการขายสินทรัพย์ในเวลาต่อมา ถือเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงานเช่นเดียวกัน 15 กิจการอาจถือหลักทรัพย์และเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อขายหรือเพื่อค้า ในกรณีเช่นนั้น หลักทรัพย์ เหล่านั้นจะมีลักษณะคล้ายกับสินค้าคงเหลือที่ซื้อมาเพื่อขายต่อ ดังนั้น กระแสเงินสดที่เกิดจาก การซื้อและขายหลักทรัพย์เพื่อซื้อขายหรือเพื่อค้าจะจัดประเภทเป็นกิจกรรมดําเนินงาน ในทํานอง เดียวกัน เงินสดจ่ายล่วงหน้าและเงินให้กู้ยืมโดยสถาบันการเงิน ตามปกติจะจัดประเภทเป็น กิจกรรมดําเนินงานเนื่องจากเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 กิจกรรมลงทุน 16 การเปิดเผยข้อมูลของกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมลงทุนแยกต่างหากมีความสําคัญ เนื่องจากกระแสเงินสดดังกล่าวแสดงให้เห็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดรายได้และกระแสเงินสดอนาคต เฉพาะรายจ่ายที่ส่งผลให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์ใน งบฐานะการเงินเท่านั้นที่สามารถจัดประเภทเป็นกิจกรรมลงทุน ตัวอย่างของกระแสเงินสดที่เกิด จากกิจกรรมลงทุน คือ 16.1 การจ่ายชําระเงินสดเพื่อซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนและสินทรัพย์ ระยะยาวอื่น รายจ่ายดังกล่าวให้รวมถึงเงินสดจ่ายที่เป็นต้นทุนในการพัฒนาสินทรัพย์ และเงินสดจ่ายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่กิจการสร้างขึ้นเอง 16.2 เงินสดรับจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน และสินทรัพย์ ระยะยาวอื่น 16.3 การจ่ายชําระเงินสดเพื่อได้มาซึ่งตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการอื่น และส่วนได้ เสียในการร่วมค้า ( นอกเหนือจากเงินสดที่จ่ายเพื่อได้มาซึ่งตราสารที่จัดเป็นรายการ เทียบเท่าเงินสดหรือที่ถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อขายหรือเพื่อค้า ) 16.4 เงินสดรับจากการขายตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการอื่น และส่วนได้เสีย ในการร่วมค้า ( นอกเหนือจากเงินสดรับจากการขายตราสารที่จัดเป็นรายการเทียบเท่า เงินสดหรือที่ถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อขายหรือเพื่อค้า ) 16.5 เงินสดจ่ายล่วงหน้าและเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลอื่น ( นอกเหนือจากเงินจ่ายล่วงหน้าและ เงินให้กู้ยืมโดยสถาบันการเงิน ) 16.6 เงินสดรับชําระคืนจากเงินจ่ายล่วงหน้าและเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลอื่น ( นอกเหนือจาก เงินจ่ายล่วงหน้าและเงินให้กู้ยืมโดยสถาบันการเงิน ) 16.7 การจ่ายชําระเงินสดเพื่อซื้อสัญญาฟิวเจอร์และสัญญาฟอร์เวิด สัญญาให้สิทธิเลือก และ สัญญาแลกเปลี่ยน ยกเว้นเมื่อสัญญาดังกล่าวนั้นถือไว้เพื่อซื้อขายหรือเพื่อค้า หรือเป็น การจ่ายที่จัดประเภทเป็นกิจกรรมจัดหาเงิน และ 16.8 เงินสดรับจากการขายสัญญาฟิวเจอร์และสัญญาฟอร์เวิด สัญญาให้สิทธิเลือก และสัญญา แลกเปลี่ยน ยกเว้นเมื่อสัญญาดังกล่าวนั้นถือไว้เพื่อซื้อขายหรือเพื่อค้า หรือเป็นการรับ ที่จัดประเภทเป็นกิจกรรมจัดหาเงิน ในกรณีที่สัญญานําไปใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของรายการที่สามารถระบุได้ กระแสเงินสด ที่เกิดจากสัญญาดังกล่าวให้จัดประเภทในลักษณะเดียวกับกระแสเงินสดของรายการที่ถูกป้องกัน ความเสี่ยง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 กิจกรรมจัดหาเงิน 17 การเปิดเผยข้อมูลของกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงินแยกต่างหากมีความสําคัญ เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ในการคาดคะเนสิทธิเรียกร้องในกระแสเงินสดอนาคตจาก ผู้ให้เงินทุนแก่กิจการ ตัวอย่างของกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงิน คือ 17.1 เงินสดรับจากการออกหุ้นหรือตราสารทุนอื่น 17.2 การจ่ายชําระเงินสดให้กับผู้เป็นเจ้าของเพื่อซื้อหรือไถ่ถอนหุ้นของกิจการนั้น 17.3 เงินสดรับจากการออกหุ้นกู้ เงินกู้ยืม ตั๋วเงิน พันธบัตร การจํานอง และเงินกู้ยืมระยะสั้น หรือระยะยาวอื่น 17.4 การจ่ายชําระเงินสดคืนเงินกู้ยืม และ 17.5 การจ่ายชําระเงินสดที่ผู้เช่าจ่ายเพื่อลดจํานวนคงเหลือของหนี้สินซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า การแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน 18 กิจการต้องแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงานโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ 18.1 วิธีทางตรง ซึ่งแสดงเงินสดรับและการจ่ายชําระเงินสดตามลักษณะของรายการ หลักที่สําคัญ หรือ 18.2 วิธีทางอ้อม ซึ่งแสดงด้วยยอดกําไรหรือขาดทุนปรับปรุงด้วยผลกระทบของรายการ ที่ไม่เกี่ยวกับเงินสด รายการค้างรับ หรือค้างจ่ายของเงินสดรับหรือเงินสดจ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานในอดีตหรือในอนาคต และรายการรายได้หรือค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสดจากการลงทุนหรือการจัดหาเงิน 19 กิจการควรแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงานโดยใช้วิธีทางตรง เนื่องจากเป็นวิธีที่ ให้ข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ในการประมาณการกระแสเงินสดอนาคต ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะไม่ได้รับ หากใช้วิธีทางอ้อม ภายใต้วิธีทางตรง ข้อมูลของรายการหลักต่างๆ ของเงินสดรับและการจ่ายชําระ เงินสดอาจทราบได้จาก 19.1 การบันทึกรายการบัญชีของกิจการ หรือ 19.2 โดยการปรับปรุงรายการขาย ต้นทุนขาย ( รายได้ดอกเบี้ยและรายได้ที่มีลักษณะ เดียวกัน และดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะเดียวกันของสถาบันการเงิน ) และ รายการอื่นในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับ 19.2.1 การเปลี่ยนแปลงในระหว่างรอบระยะเวลาของสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้และ เจ้าหนี้ที่เกิดจากการดําเนินงาน 19.2.2 รายการอื่นที่ไม่กระทบเงินสด และ 19.2.3 รายการอื่นซึ่งผลกระทบของเงินสดถือเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงิน 20 ภายใต้วิธีทางอ้อม กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดําเนินงานหาได้จากการปรับปรุงกําไรหรือ ขาดทุนด้วยผลกระทบของ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 20.1 การเปลี่ยนแปลงในระหว่างรอบระยะเวลาของสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่เกิด จากการดําเนินงาน 20.2 รายการที่ไม่กระทบเงินสด เช่น ค่าเสื่อมราคา ประมาณการหนี้สิน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ผลกําไรและขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ และกําไรที่ยัง ไม่ได้รับการจัดสรรจากบริษัทร่วม และ 20.3 รายการอื่นทั้งหมด ซึ่งผลกระทบของเงินสดถือเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงิน อีกวิธีหนึ่งก็คือ กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดําเนินงานอาจนําเสนอโดยวิธีทางอ้อมด้วย การแสดงรายการรายได้และค่าใช้จ่ายตามที่ปรากฏในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงในระหว่างรอบระยะเวลาของสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่เกิดจากการ ดําเนินงาน การแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน 21 กิจการต้องแยกแสดงเงินสดรับและการจ่ายชําระเงินสดตามลักษณะรายการที่สําคัญที่เกิด จากกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงินเว้นแต่เป็นกระแสเงินสดตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 22 และ 24 ให้แสดงด้วยยอดสุทธิ การแสดงกระแสเงินสดด้วยยอดสุทธิ 22 กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงินต่อไปนี้ อาจแสดงด้วยยอดสุทธิของ 22.1 เงินสดรับและการจ่ายชําระเงินสดแทนลูกค้าหากกระแสเงินสดสะท้อนถึงกิจกรรม ของลูกค้ามากกว่ากิจกรรมของกิจการ และ 22.2 เงินสดรับและการจ่ายชําระเงินสดของรายการที่หมุนเร็วจํานวนเงินมากและครบ กําหนดอายุในช่วงเวลาสั้น 23 ตัวอย่างของเงินสดรับและการจ่ายชําระเงินสดที่กล่าวตามย่อหน้าที่ 22.1 ได้แก่ 23.1 การรับเงินฝาก และการจ่ายคืนเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามของธนาคาร 23.2 กองทุนที่ถือไว้เพื่อลูกค้าโดยกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน และ 23.3 ค่าเช่าที่จัดเก็บแทน และจ่ายไปยังเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ 23 ก ตัวอย่างของเงินสดรับและการจ่ายชําระเงินสดที่กล่าวตามย่อหน้าที่ 22.2 ได้แก่ เงินล่วงหน้าที่จ่าย ไปเพื่อ และการจ่ายชําระคืนของ 23 ก .1 เงินต้นอันเกี่ยวข้องกับลูกค้าบัตรเครดิต 23 ก .2 การซื้อและขายเงินลงทุน และ 23 ก .3 เงินกู้ยืมระยะสั้นอื่น เช่น รายการที่ครบกําหนดภายใน 3 เดือนหรือน้อยกว่า
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 24 กระแสเงินสดที่เกิดจากแต่ละกิจกรรมต่อไปนี้ของสถาบันการเงิน อาจแสดงด้วยยอดสุทธิของ 24.1 เงินสดรับและการจ่ายชําระเงินสดสําหรับรายการรับเงินฝากและรายการจ่ายคืน เงินฝากที่ระบุวันครบกําหนดไว้แน่นอน 24.2 การนําเงินไปฝากและการถอนเงินฝากจากสถาบันการเงินอื่น และ 24.3 เงินสดจ่ายล่วงหน้าเพื่อลูกค้าและเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้า และการจ่ายคืนเงินล่วงหน้า และเงินให้กู้ยืมดังกล่าว กระแสเงินสดที่เป็นเงินตราต่างประเทศ 25 กระแสเงินสดจากรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศต้องบันทึกเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ใน การดําเนินงานของกิจการ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินหลักที่ใช้ในการดําเนินงาน และสกุลเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่เกิดกระแสเงินสด 26 กระแสเงินสดของบริษัทย่อยในต่างประเทศต้องแปลงค่าตามอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง สกุลเงินหลักที่ใช้ในการดําเนินงานและสกุลเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่เกิดกระแสเงินสด 27 กระแสเงินสดที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศให้แสดงตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งอนุญาตให้ใช้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ใกล้เคียงกับอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ถ่วงนํ้าหนักของรอบระยะเวลาเวลาหนึ่งอาจนํามาใช้บันทึกรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ หรือแปลงค่ากระแสเงินสดของบริษัทย่อยในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 ไม่อนุญาตให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานในการแปลง ค่ากระแสเงินสดของบริษัทย่อยในต่างประเทศ 28 ผลกําไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่ถือเป็นกระแสเงินสด อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนของ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่ถืออยู่หรือถึงกําหนดชําระด้วยสกุลเงินต่างประเทศ จะแสดงในงบกระแสเงินสด เพื่อเป็นการกระทบยอดของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันเริ่มต้นและสิ้นรอบระยะเวลา เงินจํานวนนี้ให้นําเสนอแยกต่างหากจากกระแสเงินสดจาก กิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน และรวมถึงผลต่าง ( ถ้ามี ) หาก กระแสเงินสดดังกล่าวแสดงในอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา 29 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 30 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ )
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 ดอกเบี้ยและเงินปันผล 31 กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดรับ และกระแสเงินสดจ่ายสําหรับดอกเบี้ยและเงินปันผล แยกเป็นรายการต่างหากและต้องจัดประเภทแต่ละรายการเข้าเป็นกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงินในแต่ละรอบระยะเวลาโดยสมํ่าเสมอ 32 จํานวนเงินของดอกเบี้ยที่จ่ายทั้งหมดในระหว่างรอบระยะเวลาจะถูกเปิดเผยในงบกระแสเงินสด ไม่ว่ารายการดังกล่าวได้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุน หรือตั้งขึ้นเป็นทุนของสินทรัพย์ ตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม 33 ดอกเบี้ยจ่าย และดอกเบี้ยรับ และเงินปันผลรับ มักจัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจาก การดําเนินงานของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อยุติในการจัดประเภทของกระแส เงินสดจากรายการดังกล่าวสําหรับกิจการประเภทอื่น ดอกเบี้ยจ่าย และดอกเบี้ยรับ และเงิน ปันผลรับ อาจจัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจากการดําเนินงาน เนื่องจากเป็นรายการที่นํามา คํานวณกําไรหรือขาดทุนหรืออีกวิธีหนึ่งเห็นว่าดอกเบี้ยจ่าย และดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ อาจจัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินและกระแสเงินสดจากการลงทุน ตามลําดับ เนื่องจากรายการดังกล่าวเป็นต้นทุนของการจัดหาทรัพยากรทางการเงิน หรือเป็นผลตอบแทน จากการลงทุน 34 เงินปันผลจ่ายอาจจัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน เนื่องจากเป็นต้นทุนของ การจัดหาทรัพยากรทางการเงิน อีกวิธีหนึ่งเห็นว่า เงินปันผลจ่ายอาจจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ของกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อช่วยผู้ใช้งบการเงินในการพิจารณา ความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผลจากกระแสเงินสดจากการดําเนินงาน ภาษีเงินได้ 35 กระแสเงินสดจากภาษีเงินได้ต้องได้รับการเปิดเผยเป็นรายการแยกต่างหาก และต้อง จัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน ยกเว้นในกรณีที่ระบุโดยเจาะจงได้ว่า เป็นกิจกรรมจัดหาเงินและกิจกรรมลงทุน 36 ภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นจากรายการที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่จัดประเภทเป็นกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงินในงบกระแสเงินสด ในขณะที่ค่าใช้จ่ายภาษีอาจระบุได้ โดยทันทีว่าเป็นกิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมจัดหาเงิน แต่กระแสเงินสดของภาษีที่เกี่ยวข้อง มักไม่สามารถระบุโดยเจาะจงได้ในทางปฏิบัติ และอาจเกิดขึ้นต่างรอบระยะเวลากับกระแส เงินสดของรายการอ้างอิง ดังนั้น ภาษีที่จ่ายมักจัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรม ดําเนินงาน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สามารถระบุได้ในทางปฏิบัติว่ากระแสเงินสดของภาษี เป็นของรายการที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่จัดประเภทเป็นกิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมจัดหาเงิน กระแสเงินสดของภาษีดังกล่าวจะถูกจัดประเภทเป็นกิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงิน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 ตามความเหมาะสม หากมีการปันส่วนกระแสเงินสดของภาษีไปสู่กิจกรรมมากกว่าหนึ่งประเภท ให้เปิดเผยค่าภาษีจ่ายทั้งจํานวนด้วย เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และการร่วมค้า 37 เมื่อมีการปฏิบัติกับเงินลงทุนในบริษัทร่วม การร่วมค้า หรือบริษัทย่อยโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย หรือ วิธีราคาทุน ผู้ลงทุนจะจํากัดการแสดงรายการในงบกระแสเงินสด โดยแสดงกระแสเงินสด ระหว่างกิจการกับผู้ได้รับการลงทุนเท่านั้น เช่น รายการเงินปันผลและเงินล่วงหน้า 38 กิจการที่รายงานส่วนได้เสียในบริษัทร่วม หรือการร่วมค้าโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย จะนํากระแสเงินสด ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า การจ่ายคืนทุน และการจ่ายหรือการรับอื่น ที่เกิดขึ้นระหว่างกิจการกับบริษัทร่วม หรือการร่วมค้า ต้องรวมไว้ในงบกระแสเงินสดของกิจการ การเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อย และธุรกิจอื่น 39 ยอดรวมของกระแสเงินสดที่เกิดจากการได้มาซึ่งและการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อย หรือธุรกิจอื่นต้องนําเสนอเป็นรายการแยกต่างหากและจัดประเภทเป็นกิจกรรมลงทุน 40 กิจการต้องเปิดเผยรายการที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งและการสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อย หรือธุรกิจอื่นที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลาด้วยจํานวนรวม ดังนี้ 40.1 ยอดรวมของสิ่งตอบแทนทั้งหมดที่จ่ายหรือได้รับ 40.2 สัดส่วนของสิ่งตอบแทนซึ่งประกอบด้วยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 40.3 จํานวนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในบริษัทย่อยหรือธุรกิจอื่นที่ได้มาซึ่ง การควบคุมหรือที่สูญเสียการควบคุมไป และ 40.4 จํานวนของสินทรัพย์และหนี้สินนอกเหนือจากเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ในบริษัทย่อยหรือธุรกิจอื่นที่ได้มาซึ่งการควบคุมหรือสูญเสียการควบคุมไป โดยสรุปแยกตามประเภทหลัก 40 ก กิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 40.3 หรือ 40.4 สําหรับ เงินลงทุนในบริษัทย่อย ซึ่งกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 41 การแยกนําเสนอผลกระทบของกระแสเงินสดอันเกิดจากการได้มาซึ่งหรือการสูญเสียการควบคุม ในบริษัทย่อยหรือธุรกิจอื่นเป็นรายการหนึ่งต่างหาก พร้อมกับแยกเปิดเผยจํานวนของสินทรัพย์และ หนี้สินที่ซื้อหรือจําหน่าย เป็นการช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างของกระแสเงินสดเหล่านั้นกับ กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงินอื่น ผลกระทบ ของกระแสเงินสดที่เกิดจากการสูญเสียการควบคุมไม่ให้นําไปแสดงหักจากผลกระทบ ของกระแสเงินสดที่เกิดจากการได้มาซึ่งการควบคุม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 42 ยอดรวมของเงินสดที่จ่ายไปหรือได้รับเป็นสิ่งตอบแทนอันเนื่องมาจากการได้มาซึ่งหรือ การสูญเสียการควบคุมในบริษัทย่อยหรือธุรกิจอื่นให้แสดงในงบกระแสเงินสดสุทธิจากเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดที่ได้มาหรือจ่ายไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายการ เหตุการณ์ หรือ การเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อมดังกล่าว 42 ก กระแสเงินสดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ ไม่ได้มีผลทําให้สูญเสียการควบคุมไป ต้องจัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ยกเว้น ในกรณีที่บริษัทย่อยถูกถือโดยกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน ตามที่กําหนดไว้ใน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 และมีการกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่าน กําไรหรือขาดทุน 42 ข การเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้มีผลทําให้สูญเสียการควบคุม เช่น การซื้อหรือขายตราสารทุนของบริษัทย่อยโดยบริษัทใหญ่ในภายหลัง ซึ่งถือเป็นรายการ ในส่วนของเจ้าของ ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10) ยกเว้นในกรณีที่บริษัทย่อยถูก ถือโดยกิจการที่ดําเนินธุรกิจด้านการลงทุน และมีการกําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่าน กําไรหรือขาดทุน ดังนั้น กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจะถูกจัดประเภทในทิศทางเดียวกันกับรายการที่มีกับ ผู้เป็นเจ้าของรายการอื่น ตามที่อธิบายในย่อหน้าที่ 17 รายการที่มิใช่เงินสด 43 รายการลงทุนและรายการจัดหาเงินที่มิได้มีการใช้เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ต้องไม่นํามารวมในงบกระแสเงินสด รายการดังกล่าวต้องเปิดเผยไว้ในส่วนอื่นของ งบการเงินเพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เกี่ยวกับกิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน เหล่านั้น 44 กิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงินหลายกิจกรรมไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อกระแสเงินสด ปัจจุบัน แม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างทุนและสินทรัพย์ของกิจการ ดังนั้น การไม่นํารายการที่มิใช่เงินสดมารวมในงบกระแสเงินสดเป็นการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ งบกระแสเงินสด เนื่องจากรายการเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสดในรอบระยะเวลาปัจจุบัน ตัวอย่างของรายการที่มิใช่เงินสด ได้แก่ 44.1 การซื้อสินทรัพย์ ทั้งโดยการก่อหนี้สินโดยตรงหรือโดยการทําสัญญาเช่า 44.2 การซื้อกิจการโดยการออกหุ้นทุน และ 44.3 การแปลงหนี้เป็นทุน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 44 ก กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงในหนี้สิน ที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากทั้งการเปลี่ยนแปลงในกระแส เงินสดและรายการที่ไม่ใช่เงินสด 44 ข ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าจําเป็นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 44 ก กิจการต้องเปิดเผย ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในหนี้สินที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ดังต่อไปนี้ 44 ข .1 การเปลี่ยนแปลงจากกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน 44 ข .2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการได้มาหรือการสูญเสียอํานาจการควบคุมในบริษัทย่อย หรือธุรกิจอื่น 44 ข .3 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 44 ข .4 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม และ 44 ข .5 การเปลี่ยนแปลงอื่น 44 ค หนี้สินที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงิน คือ หนี้สินซึ่งกระแสเงินสดหรือกระแสเงินสดอนาคตได้มีการจัด ประเภทในงบกระแสเงินสดเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน นอกจากนี้ข้อกําหนดการ เปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้าที่ 44 ก ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ทางการเงิน ( ตัวอย่างเช่น สินทรัพย์ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงของหนี้สินที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ) หากกระแสเงินสดจาก สินทรัพย์ทางการเงินหรือกระแสเงินสดอนาคตดังกล่าว รวมอยู่ในกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหา เงิน 44 ง ทางหนึ่งเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูลในย่อหน้าที่ 44 ก คือกิจการอาจแสดง รายการกระทบยอดระหว่างยอดยกมาและยอดยกไปในงบฐานะการเงินสําหรับหนี้สินที่เกิดจาก กิจกรรมจัดหาเงิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 44 ข เมื่อกิจการเปิดเผยรายการ กระทบยอดดังกล่าว กิจการต้องแสดงข้อมูลอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถ เชื่อมโยงรายการที่รวมอยู่ในรายการกระทบยอดไปยังงบฐานะการเงินและงบกระแสเงินสด 44 จ หากกิจการเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 44 ก โดยรวมการเปิดเผยข้อมูลของ การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์อื่นและหนี้สินอื่น กิจการต้องเปิดเผยการเปลี่ยนแปลงในหนี้สิน ที่เกิดจากกิจกรรมจัดหาเงินแยกต่างหากจากการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์อื่นและหนี้สินอื่น องค์ประกอบของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 45 กิจการต้องแสดงองค์ประกอบของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด และต้องนําเสนอ การกระทบยอดของจํานวนที่แสดงในงบกระแสเงินสดกับรายการเทียบเท่าตามที่แสดง ในงบฐานะการเงิน 46 เนื่องจากกิจการมีวิธีปฏิบัติในการบริหารเงินและมีข้อตกลงกับธนาคารที่แตกต่างกันไปทั่วโลก และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน ให้กิจการ เปิดเผยนโยบายที่ใช้ในการพิจารณาส่วนประกอบของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 47 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ใช้ในการพิจารณาส่วนประกอบของเงินสดและรายการ เทียบเท่าเงินสด ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงการจัดประเภทเครื่องมือทางการเงินซึ่งเดิม เคยจัดเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตโฟลิโอเงินลงทุนของกิจการ จะรายงานตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด การเปิดเผยอื่น 48 กิจการต้องเปิดเผยจํานวนของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่มีนัยสําคัญที่ถือโดย กิจการแต่ไม่อาจนําไปใช้โดยกลุ่มกิจการ โดยให้มีคําชี้แจงของฝ่ายบริหารประกอบด้วย 49 มีหลายสถานการณ์ที่เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่ถือโดยกิจการไม่อาจนําไปใช้ โดยกลุ่มกิจการได้ เช่น เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่ถือโดยบริษัทย่อยที่ดําเนินงาน อยู่ในประเทศที่มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือมีข้อจํากัดทางกฎหมายอื่น ซึ่งทําให้ บริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยอื่นไม่สามารถนําเงินที่มีอยู่นั้นไปใช้ตามปกติได้ 50 ข้อมูลเพิ่มเติมอาจเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งบการเงินในการทําความเข้าใจฐานะการเงินและสภาพคล่อง ของกิจการ การเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ พร้อมกับคําชี้แจงของฝ่ายบริหารเป็นสิ่งที่สนับสนุนและ อาจรวมถึง 50.1 จํานวนเงินที่ยังมิได้เบิกใช้ของวงเงินสินเชื่อที่อาจนํามาใช้เพื่อกิจกรรมดําเนินงาน ในอนาคต และเพื่อชําระข้อผูกมัดในส่วนทุน พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงข้อจํากัดใดๆ ที่ มีต่อการใช้วงเงินสินเชื่อดังกล่าว 50.2 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 50.3 จํานวนรวมของกระแสเงินสดที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการดําเนินงาน ซึ่งแยกต่างหากจากกระแสเงินสดที่ต้องมีเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการดําเนินงาน ตามปกติ และ 50.4 จํานวนกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรม จัดหาเงินของแต่ละส่วนงานที่เสนอรายงาน ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 เรื่อง ส่วนงานดําเนินงาน ) 51 การแยกเปิดเผยกระแสเงินสดที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการดําเนินงาน และกระแสเงินสดที่ต้องการเพื่อดํารงไว้ซึ่งความสามารถในการดําเนินงานเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถพิจารณาได้ว่ากิจการมีการลงทุนอย่างเพียงพอเพื่อดํารงไว้ซึ่ง ความสามารถในการดําเนินงานหรือไม่ กิจการที่มิได้มีการลงทุนอย่างเพียงพอเพื่อดํารงไว้ซึ่ง ความสามารถในการดําเนินงาน แต่ลงทุนเพียงเพื่อรักษาสภาพคล่องในปัจจุบันและการจ่ายคืนแก่ ผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความสามารถในการทํากําไรในอนาคต 52 การเปิดเผยกระแสเงินสดจําแนกตามส่วนงานจะทําให้ผู้ใช้งบการเงินมีความเข้าใจที่ดีขึ้น ในความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดของธุรกิจโดยรวม กับกระแสเงินสดของส่วนที่เป็น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 14/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 องค์ประกอบ รวมถึงความสามารถในการนําไปใช้ และความหลากหลายของกระแสเงินสด ที่จําแนกตามส่วนงาน วันถือปฏิบัติ 53 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือ หลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป 54 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 55 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 56 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 57 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 58 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 59 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ที่ออกโดยคณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 17 และ 44 กิจการต้องถือ ปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 60 ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 61 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่ออกโดยคณะกรรมการ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 14 กิจการต้องถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17