ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (เล่มที่ 1)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนาเสนองบการเงิน อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กาหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอานาจหน้าที่ในการกาหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐาน การบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และป ระกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ 72 (2/2566) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้ งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 25/2563 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ข้อ 3 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนาเสนองบการเงิน ตามที่กาหนด ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 วรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ้ หนา 1 (เล่มที่ 1) ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 188 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 สิงหาคม 2566
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน คํานํา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน ฉบับรวมเล่มปี 2566 (IAS 1: Presentation of Financial Statements (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ( ใช้อ้างอิงเฉพาะสําหรับประเทศไทยเท่านั้น ) ฉบับแก้ไข เพิ่มเติมปี การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปีก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื่องมาจาก 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7 10 54 82 114 117 122 และ 139 ต เพิ่มย่อหน้าที่ 117 ก ถึง 117 จ และ 139 ธ ถึง 139 บ และตัดย่อหน้าที่ 118 119 และ 121 • การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการ บัญชี • มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย 2565 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2564 ไ ม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ จากฉบับปีก่อน หน้า - 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7 15 19 ถึง 20 23 ถึง 24 28 และ 89 และเพิ่มย่อหน้าที่ 139 ถ และ 139 ท • การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิง กรอบแนวคิดในมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน • คํานิยามของความมีสาระสําคัญ 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 123 และ 139 ด และแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ** คํานํานี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ **
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 2 สารบัญ จากย่อหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 คํานิยาม 7 งบการเงิน 9 จุดมุ่งหมายของงบการเงิน 9 งบการเงินฉบับสมบูรณ์ 10 ข้อพิจารณาโดยทั่วไป 15 โ ครงสร้างและเนื้อหา 47 ความนํา 47 การระบุชื่องบการเงิน 49 งบฐานะการเงิน 54 งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 81 ก งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ 106 งบกระแสเงินสด 111 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 112 การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านและวันถือปฏิบัติ 139 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 140
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 140 ทุกย่อหน้า มีความสําคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องอ่านโดยคํานึงถึงข้อกําหนดของ กรอบแนวคิด สําหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ให้แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชี ให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดเกณฑ์การนําเสนองบการเงินที่จัดทําขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อให้มั่นใจว่างบการเงินดังกล่าวจะสามารถเปรียบเทียบได้กับงบการเงินในรอบระยะเวลา ก่อนๆ ของกิจการและงบการเงินของกิจการอื่น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ครอบคลุมถึง ข้อกําหนดโดยรวมของการนําเสนองบการเงิน แนวปฏิบัติเกี่ยวกับโครงสร้างและข้อกําหนด ขั้นตํ่าสําหรับเนื้อหาที่ต้องแสดงในงบการเงิน ขอบเขต 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ต้องถือปฏิบัติกับการจัดทําและนําเสนองบการเงินที่จัดทําขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 3 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงข้อกําหนดในการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และ การเปิดเผยสําหรับรายการที่มีลักษณะเฉพาะและเหตุการณ์อื่น เนื่องจากข้อกําหนดดังกล่าว ได้กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น 4 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ถือปฏิบัติกับโครงสร้างและเนื้อหาของงบการเงินระหว่างกาล แบบย่อที่จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล อย่างไรก็ตาม งบการเงินระหว่างกาลดังกล่าวยังคงต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 15 ถึง 35 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินของ ทุกกิจการโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจการซึ่งจําเป็นต้องนําเสนองบการเงินรวมตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ 5 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้นิยามที่เหมาะสมสําหรับกิจการซึ่งแสวงหากําไรทั้งของภาครัฐและ ภาคธุรกิจ หากกิจการซึ่งมีกิจกรรมที่ไม่แสวงหากําไรในภาคธุรกิจหรือภาครัฐ นํามาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ไปใช้ กิจการดังกล่าวอาจจําเป็นต้องดัดแปลงคําอธิบายที่ใช้สําหรับรายการบางบรรทัด ในงบการเงิน ตลอดจนงบการเงินเหล่านั้นด้วย
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4 6 ในทํานองเดียวกัน กิจการซึ่งไม่มีส่วนของเจ้าของตามคํานิยามในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ( เช่น กองทุนรวม ) และกิจการซึ่งทุนที่นํามาลงทุน ร่วมกันไม่ถือเป็นส่วนของเจ้าของ ( เช่น สหกรณ์ ) อาจจําเป็นต้องดัดแปลงการนําเสนอส่วนได้เสีย ของสมาชิกหรือหน่วยลงทุนในงบการเงิน คํานิยาม 7 คํานิยามที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้ นโยบายการบัญชี หมายถึง นิยามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 5 ของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบาย การบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการ ทางบัญชีและข้อผิดพลาด และใช้ใน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ด้วยความหมาย เดียวกัน งบการเงินที่จัดทําขึ้นเพื่อ วัตถุประสงค์ทั่วไป ( ในที่นี้ หมายถึง งบการเงิน ) หมายถึง งบการเงินที่จัดทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการ ของผู้ใช้งบการเงินซึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะ เรี ยกร้ องให้ กิ จการจั ดทํำรายงานที่ มี การดัดแปลงตามความต้องการข้อมูลที่ เฉพาะเจาะจง ไม่สามารถทําได้ ในทางปฏิบัติ หมายถึง ไม่สามารถนําไปถือปฏิบัติแม้ว่ากิจการได้ใช้ ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลทุกทาง ที่จะนําไปปฏิบัติ มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน หมายถึง มาตรฐานและการตี ความที่ ออกโดย คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบด้วย 1) 2) 3) 4) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี การตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน และ การตีความมาตรฐานการบัญชี
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 5 ความมีสาระสําคัญ หมายถึง ข้อมูลมีสาระสําคัญ หากการละเว้นการแสดง ข้อมูล การแสดงข้อมูลที่ขัดต่ออเท็จจริง หรือการแสดงข้อมูลแบบไม่ชัดเจนนั้น สามารถคาดได้อย่างสมเหตุสมผลว่ำ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบนข้อมูลของ งบการเงินของผู้ใช้หลักของงบการเงินเพื่อ วัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งให้ข้อมูลการเงิน เกี่ยวกับกิจการที่เสนอรายงาน ความมีสาระสําคัญขึ้นอยู่กับธรรมชาติหรือ ขนาดของข้อมูล หรือทั้งสองอย่าง ในการประเมิน ว่าข้อมูลมีสาระสําคัญหรือไม่ ไม่ว่าด้วยตัว ข้อมูลนั้นเอง หรือร่วมกับข้อมูลอื่นให้พิจารณา ในบริบทของงบการเงินในภาพโดยรวม ข้อมูลมีความไม่ชัดเจนหากข้อมูลนั้นสื่อสาร ในลักษณะที่ทําให้เกิดผลกระทบที่คล้ายคลึงกัน ในการที่ละเว้นรายการ หรือการแสดงข้อมูลที่ ขัดต่อข้อเท็จจริงนั้นให้กับผู้ใช้งบการเงินหลัก สภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่อาจ ทําให้ข้อมูลมีความไม่ชัดเจนอย่างมีสาระสําคัญ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับรายการ รายการค้า หรือ เหตุการณ์อื่นที่มีสาระสําคัญซึ่งเปิดเผย ในงบการเงิน แต่การเปิดเผยนั้นใช้ภาษา ที่คลุมเครือหรือไม่ชัดเจน 2) ข้อมูลเกี่ยวกับรายการ รายการค้า หรือ เหตุการณ์อื่นที่มีสาระสําคัญ แสดงอย่าง กระจัดกระจายในงบการเงิน 3) การรวมแสดงรายการ รายการค้า หรือ เหตุการณ์อื่นที่ไม่คล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน อย่างไม่เหมาะสม 4) การแยกแสดงรายการ รายการค้า หรือ เหตุการณ์อื่นที่คล้ายคลึงกันออกจากกัน อย่างไม่เหมาะสม และ 5) ความเข้าใจได้ของงบการเงินลดลงซึ่ง เป็นผลจากข้อมูลที่มีสาระสําคัญถูก
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 6 ปิดบังโดยข้อมูลที่ไม่มีสาระสําคัญ จนทํา ให้ผู้ใช้หลักไม่สามารถพิจารณาได้ว่า ข้อมูลอะไรที่มีสาระสําคัญ ในการประเมินว่าข้อมูลสามารถคาดได้อย่าง สมเหตุสมผลว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้หลักของงบการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ ทั่วไปของกิจการที่เสนอรายงาน กิจการต้อง พิจารณาจากลักษณะต่างๆ ของผู้ใช้งบการเงิน ในขณะที่ต้องพิจารณาสภาพการณ์ของกิจการ เองด้วย นักลงทุน ผู้ให้กู้และเจ้าหนี้อื่นทั้งในปัจจุบัน และที่อาจจะเป็นในอนาคตจํานวนมากไม่สามารถ กําหนดให้กิจการที่เสนอรายงานเสนอข้อมูล โดยตรงต่อพวกเขาได้และต้องเชื่อถืองบการเงิน ที่จัดทําขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อให้ได้ ข้อมูลทางการเงินส่วนใหญ่ที่พวกเขาต้องการ ดังนั้น บุคคลเหล่านี้จึงเป็นผู้ใช้หลักของ งบการเงินที่จัดทําขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป โดยตรง งบการเงินจัดทําเพื่อผู้ใช้ที่มีความรู้ เกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจและกิจกรรมเชิง เศรษฐกิจอย่างสมเหตุสมผลและผู้ใช้ที่สอบ ทานและวิเคราะห์ข้อมูลนั้นด้วยความหมั่น เพียร บางครั้งแม้ผู้ใช้ที่หมั่นเพียรและได้ รับทราบข้อมูลอย่างดีอาจจําเป็นต้องขอความ ช่วยเหลือของที่ปรึกษาเพื่อทําความเข้าใจ ข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่ ซับซ้อน หมายเหตุประกอบ งบการเงิน ประกอบด้วย ข้อมูลที่แสดงเพิ่มเติมจากข้อมูลที่แสดงใน งบฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบกําไรขาดทุน ที่แสดงแยกต่างหาก ( ถ้ามีการนําเสนอ ) งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และ งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 7 งบการเงินเป็นการอธิบายหรือการแยกแสดง ของรายการที่นําเสนอในงบการเงินดังกล่าว และข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่มีคุณสมบัติ ไม่เพียงพอที่จะรับรู้ในงบการเงินที่นําเสนอ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ประกอบด้วย รายการรายได้และค่าใช้จ่าย ( รวมถึง การปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ) ซึ่งไม่อนุญาตให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่น องค์ประกอบของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ประกอบด้วย 1) การเปลี่ยนแปลงในส่วนเกินทุนจาก การตีราคาสินทรัพย์ ( ดูในมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ) 2) การวัดมูลค่าใหม่ของโครงการผลประโยชน์ ที่กําหนดไว้ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของ พนักงาน ) 3) ผลกําไรและขาดทุนจากการแปลงค่า ง บ การเงินของหน่วยงานต่างประเทศ ( ดู มาตรฐานกำ ร บั ญ ชี ฉ บั บ ที่ 21 เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ) 4) ผลกําไรและขาดทุนจากเงินลงทุนใน ตราสารทุนที่เลือกกําหนดให้วัดมูลค่า ด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน 4 ก ) ผลกําไรและขาดทุนจากสินทรัพย์ทาง การเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามที่ กํำ ห น ด ใ น ย่อ ห น้าที่ 4. 1. 2 ก ข อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 8 5) ส่ ว น ข อ ง ผ ล กํำ ไ ร แ ล ะ ขำ ด ทุ น ที่ มี ประสิทธิผลจากเครื่องมือที่ใช้ป้องกัน ความเสี่ยงในการป้องกันความเสี่ยงใน กระแสเงินสด และผลกําไรและขาดทุน จากเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงใน การป้องกันความเสี่ยงเงินลงทุนใน ตราสารทุนที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตามที่ กําหนดในย่อหน้าที่ 5.7.5 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ( ดูบทที่ 6 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) 6) สําหรับรายการหนี้สินบางรายการที่เลือก กําหนดให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกําไรหรือขาดทุน จํานวนของการ เปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมที่เป็นผล จากการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงด้าน เครดิตของหนี้สิน ( ดูย่อหน้าที่ 5.7.7 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) 7) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าในมูลค่าตาม เวลาของสิทธิเลือก เมื่อแยกมูลค่าที่ แท้จริงและมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือก และเลือกกําหนดให้เฉพาะการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่าที่แท้จริงของสิทธิเลือกเป็น เครื่ องมื อที่ ใช้ ป้ องกั นความเสี่ ยง ( ดูบทที่ 6 ของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9) 8) การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าขององค์ประกอบ ราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ด เมื่อแยกส่วนขององค์ประกอบราคา ล่วงหน้าและองค์ประกอบราคาปัจจุบัน ของสัญญาฟอร์เวิร์ดออกจากกันและ เลือกกําหนดให้เฉพาะการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่าขององค์ประกอบราคาปัจจุบัน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 9 ของสัญญาฟอร์เวิร์ดเป็นเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยง และการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่าของส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงิน เมื่อไม่นําส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศไปรวมในการเลือกกําหนด เครื่องมือทางการเงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ ป้องกันความเสี่ยง ( ดูบทที่ 6 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) 9) รายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการ ประกันภัยจากสัญญาที่ออกภายใน ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทาง การเงินฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่แยกออกจากกําไรหรือขาดทุนเมื่อรายได้ หรือค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการประกันภัย ทั้งหมดถูกแตกยอดเพื่อรวมในกําไรหรือ ขาดทุนสําหรับจํานวนเงินที่กําหนดโดย การปันส่วนอย่างเป็นระบบที่ถือปฏิบัติ ตามย่ อหน้ำที่ 88.2 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 หรือ สํำหรั บจํำนวนเงิ นที่ ขจั ดการจั บคู่ อย่างไม่เหมาะสมทางการบัญชีของรายได้ หรือค่าใช้จ่ายทางการเงินที่เกิดขึ้นของ รายการอ้างอิงที่ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 89.2 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 และ 10) รายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินจากสัญญา ประกันภัยต่อที่ถือไว้ที่แยกออกจากกําไร หรือขาดทุนเมื่อรายได้หรือค่าใช้จ่าย ทางการเงินจากการประกันภัยต่อทั้งหมด ถูกแตกยอดเพื่อรวมในกําไรหรือขาดทุน สํำ ห รั บ จํำ น ว น เ งิ น ที่ กํำ ห น ด โ ด ย การปันส่วนอย่างเป็นระบบที่ถือปฏิบัติ ตามย่ อหน้ำที่ 88.2 ของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 10 เจ้าของ หมายถึง ผู้ถือตราสารที่จัดประเภทเป็นส่วนของ เจ้าของ กําไรหรือขาดทุน หมายถึง ผลรวมของรายได้หักค่าใช้จ่าย แต่ไม่รวม องค์ประกอบของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น การปรับปรุงการจัดประเภท รายการใหม่ หมายถึง จํานวนที่เคยรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ในรอบระยะเวลาปัจจุบันหรือรอบระยะเวลา ก่อนๆ ซึ่งถูกจัดประเภทรายการใหม่เข้าไป ไว้ในกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลา ปัจจุบัน กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของระหว่าง รอบระยะเวลา เป็นผลมาจากรายการและ เหตุการณ์อื่นๆ นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่ เป็นผลมาจากรายการกับเจ้าของจาก ความสามารถในฐานะที่เป็นเจ้าของ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม ประกอบด้วย องค์ประกอบทั้งหมดของกําไรหรือขาดทุน และกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 8 แม้ว่ามาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จะกําหนดให้ใช้คําว่ากําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไรหรือขาดทุน และกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม แต่กิจการอาจใช้คําอื่นเพื่ออธิบายแทนได้ หากคําดังกล่าว มีความหมายที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น กิจการอาจใช้คําว่ากําไรสุทธิเพื่ออธิบายคําว่ากําไรหรือขาดทุน 8 ก คําจํากัดความดังต่อไปนี้ได้อธิบายไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการ เครื่องมือทางการเงิน และได้นํามาใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในความหมายเฉพาะ ดังต่อไปนี้ 8 ก .1 เครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิขายคืน ที่จัดประเภทเป็นตราสารทุน ( อธิบายไว้ใน ย่อหน้าที่ 16 ก และ 16 ข ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32) 8 ก .2 เครื่องมือทางการเงินที่กําหนดให้กิจการมีภาระผูกพันที่จะนําส่งสินทรัพย์สุทธิ ตามสัดส่วนให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายเมื่อครบกําหนดชําระและถูกจัดประเภทเป็น ตราสารทุน ( อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ 16 ค และ 16 ง ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 11 งบการเงิน จุดมุ่งหมายของงบการเงิน 9 งบการเงินเป็นการนําเสนอฐานะการเงินและผลการดําเนินงานการเงินของกิจการอย่างมี แบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานการเงิน และ กระแสเงินสดของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินกลุ่ม ต่างๆ นอกจากนี้งบการเงินยังแสดงถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารซึ่งได้รับมอบหมายให้ ดูแลทรัพยากรของกิจการ เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว งบการเงินให้ข้อมูลทุกข้อ ดังต่อไปนี้เกี่ยวกับกิจการ 9.1 สินทรัพย์ 9.2 หนี้สิน 9.3 ส่วนของเจ้าของ 9.4 รายได้และค่าใช้จ่าย รวมถึงผลกําไรและขาดทุน 9.5 เงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็น เจ้าของ และ 9.6 กระแสเงินสด ข้อมูลเหล่านี้และข้อมูลอื่นที่เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินช่วยผู้ใช้งบการเงิน ในการคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะเวลาและความแน่นอนที่กิจการจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดใน อนาคตของกิจการ งบการเงินฉบับสมบูรณ์ 10 งบการเงินฉบับสมบูรณ์ประกอบด้วย 10.1 งบฐานะการเงิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา 10.2 งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับรอบระยะเวลา 10.3 งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสําหรับรอบระยะเวลา 10.4 งบกระแสเงินสดสําหรับรอบระยะเวลา 10.5 หมายเหตุประกอบงบการเงินซึ่งประกอบด้วยข้อมูลนโยบายการบัญชีและข้อมูลที่ ให้คําอธิบายอื่นที่มีสาระสําคัญ 10.5 ก ข้อมูลเปรียบเทียบของรอบระยะเวลาก่อนตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 38 และ 38 ก และ 10.6 งบฐานะการเงิน ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาก่อน เมื่อกิจการได้นํานโยบายการบัญชี ใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการปรับย้อนหลังรายการในงบการเงิน หรือเมื่อ กิจการมีการจัดประเภทรายการใหม่ในงบการเงินตามย่อหน้าที่ 40 ก ถึง 40 ง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 12 กิจการอาจจะใช้ชื่ออื่นสําหรับงบการเงิน นอกเหนือจากที่ระบุในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ตัวอย่างเช่น กิจการอาจจะใช้ชื่อ “ งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ” แทน “ งบกําไรขาดทุนและ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ” 10 ก กิจการอาจแสดงงบเดียวที่รวมงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือแสดงกําไร หรือขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นแยกออกเป็นสองส่วน โดยต้องนําเสนอส่วนของ กําไรหรือขาดทุนก่อนและตามด้วยส่วนของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กิจการอาจแสดงส่วน ของกําไรหรือขาดทุนไว้ในงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก โดยหากเป็นเช่นนั้น งบกําไร ขาดทุนที่แสดงแยกต่างหากต้องแสดงทันทีก่อนงบที่นําเสนอกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จซึ่งต้อง ตั้งต้นด้วยกําไรหรือขาดทุน 11 กิจการต้องนําเสนองบการเงินทั้งหมดในงบการเงินฉบับสมบูรณ์โดยให้ความสําคัญ อย่างเท่าเทียมกัน 12 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 13 กิจการหลายแห่งได้มีการนําเสนอการทบทวนทางด้านการเงินของฝ่ายบริหารเพิ่มเติม ซึ่งนอกเหนือจากงบการเงิน เพื่อพรรณนาและอธิบายถึงองค์ประกอบหลักของผลการดําเนินงาน การเงิน ฐานะการเงินของกิจการ และความไม่แน่นอนที่สําคัญซึ่งกิจการเผชิญอยู่ รายงาน ดังกล่าวอาจรวมถึงการทบทวนเกี่ยวกับ 13.1 ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่มีผลต่อผลการดําเนินงานการเงิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงใน สภาวะแวดล้อมที่กิจการดําเนินงานอยู่ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและ ผลกระทบ นโยบายการลงทุนของกิจการเพื่อดํารงและส่งเสริมผลการดําเนินงาน การเงิน รวมถึงนโยบายการจ่ายปันผล 13.2 แหล่งเงินทุนของกิจการ และอัตราส่วนระหว่างหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของตามที่ ตั้งเป้าหมายไว้ และ 13.3 ทรัพยากรของกิจการซึ่งไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้ในงบฐานะการเงินตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน 14 กิจการหลายแห่งยังนําเสนอรายงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากงบการเงิน เช่น รายงานเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม และงบมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมซึ่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มีสาระสําคัญ และเมื่อพิจารณาว่าพนักงานเป็นกลุ่มผู้ใช้งบการเงินที่สําคัญ รายงานที่นําเสนอ นอกเหนือจากงบการเงินอยู่นอกขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 13 ข้อพิจารณาโดยทั่วไป การนําเสนองบการเงินโดยถูกต้องตามที่ควรและเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 15 งบการเงินต้องแสดงฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานการเงิน และกระแสเงินสดของกิจการ โดยถูกต้องตามที่ควร การแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรคือการเป็นตัวแทน อันเที่ยงธรรมของผลกระทบของรายการ เหตุการณ์อื่นๆ และสถานการณ์ต่างๆ ตามคํานิยาม และเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ที่กําหนดไว้ใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน การปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินและเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมให้เหมาะสมแก่กรณีถือว่างบการเงินนั้นนําเสนอ ข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควร 16 งบการเงินที่จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ต้องเปิดเผยถึงการถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างชัดเจนโดยไม่มีเงื่อนไข กิจการต้องไม่อธิบายว่างบการเงินได้จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ถ้างบการเงินดังกล่าวไม่ได้จัดทําขึ้นตามข้อกําหนดทั้งหมดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน 17 ในสถานการณ์เกือบทั้งหมด งบการเงินแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อเมื่องบการเงินนั้น ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและกิจการยังต้องถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 17.1 เลือกและนํานโยบายการบัญชีไปถือปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ซึ่งได้ กําหนดลําดับชั้นของแนวทางปฏิบัติที่บังคับใช้ในการพิจารณาเลือกใช้นโยบาย การบัญชีของฝ่ายบริหารในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดไว้เป็น การเฉพาะสําหรับรายการนั้นๆ 17.2 นําเสนอข้อมูลตลอดจนนโยบายการบัญชีในลักษณะที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เชื่อถือได้ เปรียบเทียบกันได้ และเข้าใจได้ 17.3 เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่การปฏิบัติตามข้อกําหนดเฉพาะของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินไม่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงผลกระทบของรายการ เหตุการณ์อื่นๆ และสถานการณ์ต่างๆ ที่มีผลต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน การเงินของกิจการ 18 การเปิดเผยนโยบายการบัญชี การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือ การจัดทําคําอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่ไม่เหมาะสมที่กิจการใช้ ไม่ทําให้นโยบาย การบัญชีนั้นเหมาะสมขึ้นมาได้ 19 ในสถานการณ์ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้น หากฝ่ายบริหารของกิจการมีข้อสรุปว่าการปฏิบัติตาม ข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะทําให้ผู้ใช้งบการเงิน เกิดความเข้าใจผิดอย่างมากจนเป็นเหตุให้งบการเงินขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 14 งบการเงินตามที่กําหนดใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน กิจการต้องไม่ ปฏิบัติตามข้อกําหนดนั้น และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดที่ระบุในย่อหน้าที่ 20 ในกรณีที่ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ที่บังคับใช้ที่เกี่ยวข้องกําหนดหรือไม่มีข้อห้าม การไม่ปฏิบัติตามดังกล่าว 20 ในกรณีที่กิจการไม่ปฏิบัติตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนด ตามที่ระบุไว้ใน ย่อหน้าที่ 19 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้ 20.1 ข้อสรุปของฝ่ายบริหารที่ว่า งบการเงินได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน การเงิน และกระแสเงินสดโดยถูกต้องตามที่ควร 20.2 ข้อความที่แสดงว่ากิจการได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มี การถือปฏิบัติ ยกเว้นเรื่องที่กิจการจําต้องไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน เพื่อให้งบการเงินแสดงข้อมูลถูกต้องตามที่ควร 20.3 ชื่อของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่กิจการไม่ปฏิบัติตาม ธรรมชาติ ของการไม่ถือปฏิบัติ รวมถึงการปฏิบัติที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนด สําหรับการไม่ปฏิบัติตาม เหตุผลที่หากปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังกล่าวแล้วจะทําให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมากในสถานการณ์ต่างๆ จนเป็นเหตุ ให้งบการเงินขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ที่กําหนดใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงาน ทางการเงิน และวิธีปฏิบัติที่กิจการเลือกใช้ และ 20.4 ผลกระทบทางการเงินของการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีต่อ รายการแต่ละรายการในงบการเงินของกิจการ หากกิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนด ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับแต่ละรอบระยะเวลาที่มีการนําเสนอนั้น 21 กรณีที่กิจการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่องใด ในรอบระยะเวลาก่อนแล้วส่งผลต่อจํานวนเงินที่รับรู้ในงบการเงินรอบระยะเวลาปัจจุบัน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 20.3 และ 20.4 22 ตัวอย่างของการใช้ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 21 ได้แก่ กิจการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินในรอบระยะเวลาก่อนในการวัดมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สิน ซึ่งส่งผล กระทบต่อการวัดการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่รับรู้ในงบการเงินรอบระยะเวลา ปัจจุบัน 23 ในสถานการณ์ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้น หากฝ่ายบริหารของกิจการมีข้อสรุปว่าการปฏิบัติตาม ข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะทําให้ผู้ใช้งบการเงิน เกิดความเข้าใจผิดอย่างมากจนเป็นเหตุให้งบการเงินขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของ งบการเงินตามที่กําหนดใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน แต่กรอบแนวคิด สําหรับการรายงานทางการเงิน ที่บังคับใช้ที่เกี่ยวข้องไม่อนุญาตให้มีการไม่ถือปฏิบัติตาม ข้อกําหนดดังกล่าว ถ้าเป็นเช่นนั้น กิจการต้องใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อลดความ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 15 เข้าใจผิดซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินนั้นโดยการเปิดเผย ข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ 23.1 ชื่อของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่มีปัญหา ธรรมชาติของข้อกําหนด ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และเหตุผลที่ฝ่ายบริหารของกิจการเห็นว่า การปฏิบัติตามข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินจะทําให้เกิดความ เข้าใจผิดอย่างมาก จนเป็นเหตุให้งบการเงินขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของงบ การเงินตามที่กําหนดใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน และ 23.2 การปรับปรุงแต่ละรายการในงบการเงินสําหรับแต่ละรอบระยะเวลาที่มีการ นําเสนอซึ่งฝ่ายบริหารของกิจการเห็นว่าจําเป็นเพื่อให้งบการเงินนําเสนอข้อมูล ถูกต้องตามที่ควร 24 เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของย่อหน้าที่ 19 ถึง 23 การแสดงข้อมูลในงบการเงินจะถือว่า ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของงบการเงินเมื่อข้อมูลที่แสดงนั้นมิได้เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของ รายการ เหตุการณ์อื่นๆ และสภาพการณ์อื่นที่ข้อมูลนั้นนําเสนอหรือคาดได้อย่างสมเหตุสมผลว่า จะนําเสนอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน ในการพิจารณาว่า การปฏิบัติตามข้อกําหนดเรื่องใดเรื่องหนึ่งในมาตรฐานการรายงานทางการเงินจะทําให้ผู้ใช้ งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดอย่างมากจนเป็นเหตุให้งบการเงินขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ ของงบการเงินที่กําหนดไว้ใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ฝ่ายบริหารของกิจการ พิจารณาทุกเรื่องดังต่อไปนี้ 24.1 สาเหตุที่กิจการไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงบการเงินได้ภายใต้สถานการณ์นั้นๆ และ 24.2 สถานการณ์ของกิจการมีความแตกต่างอย่างไรจากสถานการณ์ของกิจการอื่นที่สามารถ ปฏิบัติตามข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินนั้นได้ หากกิจการอื่นซึ่งอยู่ ภายใต้สถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับสถานการณ์ของกิจการสามารถปฏิบัติตามข้อกําหนด ดังกล่าวได้ มีข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าการที่กิจการถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐาน การรายงานทางการเงินย่อมจะไม่ทําให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดมากจนเป็น เหตุให้การปฏิบัติตามข้อกําหนดตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินขัดแย้งกับ วัตถุประสงค์ของงบการเงินตามที่กําหนดใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงาน ทางการเงิน การดําเนินงานต่อเนื่อง 25 ในการจัดทํางบการเงิน ฝ่ายบริหารต้องประเมินความสามารถของกิจการในการดําเนินงาน อย่างต่อเนื่องของกิจการ งบการเงินต้องจัดทําขึ้นตามเกณฑ์การดําเนินงานต่อเนื่อง เว้นแต่ฝ่ายบริหารมีความตั้งใจที่จะชําระบัญชี หรือหยุดประกอบธุรกิจ หรือไม่มีทางเลือก ที่เป็นไปได้จริงอื่นใดนอกเหนือจากชําระบัญชีหรือหยุดประกอบธุรกิจ หากจากการประเมิน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 16 ความสามารถของกิจการในการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทําให้ฝ่ายบริหารตระหนักว่ามี ความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสําคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ใดที่อาจทําให้เกิด ความสงสัยอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องของ กิจการ กิจการต้องเปิดเผยให้ทราบถึงความไม่แน่นอนดังกล่าว ในกรณีที่งบการเงินมิได้ จัดทําขึ้นตามหลักการดําเนินงานต่อเนื่อง กิจการต้องเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงนี้ พร้อมทั้งเกณฑ์ ที่ใช้ในการจัดทํางบการเงินนั้น และเหตุผลที่ไม่อาจถือได้ว่ากิจการเป็นกิจการที่จะ ดําเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ 26 ในการประเมินความเหมาะสมของข้อสมมติเกี่ยวกับการดําเนินงานต่อเนื่องของกิจการ ฝ่ายบริหารพิจารณาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับอนาคตเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับตั้งแต่ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ระดับของการพิจารณาขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ในกรณี ที่กิจการมีการดําเนินงานที่มีกําไรในอดีตและมีความพร้อมที่จะหาแหล่งเงินทุนรองรับ กิจการ อาจสรุปได้ว่าการใช้หลักการดําเนินงานต่อเนื่องในการนําเสนองบการเงินมีความเหมาะสมแล้ว โดยที่ไม่จําเป็นต้องวิเคราะห์ในรายละเอียด ในกรณีอื่นฝ่ายบริหารอาจต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับความสามารถในการทํากําไรทั้งในปัจจุบันและจากการคาดหวังในอนาคต กําหนดการชําระ คืนหนี้และแหล่งเงินทุนทดแทนที่เป็นไปได้ ก่อนที่จะสามารถสรุปได้ว่าการใช้เกณฑ์การดําเนินงาน ต่อเนื่องในการนําเสนองบการเงินนั้นมีความเหมาะสม เกณฑ์คงค้าง 27 กิจการต้องจัดทํางบการเงินตามเกณฑ์คงค้าง เว้นแต่เป็นข้อมูลกระแสเงินสด 28 เมื่อใช้เกณฑ์คงค้างในการจัดทํางบการเงิน กิจการรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของ เจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย ( องค์ประกอบของงบการเงิน ) เมื่อรายการเหล่านั้นเป็นไปตาม คํานิยามและเกณฑ์การรับรู้รายการตามที่กําหนดไว้ใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงาน ทางการเงิน ความมีสาระสําคัญและการนําเสนอด้วยยอดรวม 29 กิจการต้องแสดงรายการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่ละประเภทที่มีสาระสําคัญแยกจากกัน ในงบการเงิน นอกจากนี้กิจการต้องแสดงรายการที่มีธรรมชาติหรือหน้าที่ไม่คล้ายคลึงกัน แต่ละรายการแยกจากกันในงบการเงิน เว้นแต่รายการเหล่านั้นไม่มีสาระสําคัญ 30 งบการเงินเป็นผลของการประมวลรายการหรือเหตุการณ์อื่นจํานวนมากที่ได้รวมเป็นประเภท ตามธรรมชาติหรือหน้าที่ของรายการนั้นๆ ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการรวบรวมและ จัดประเภทรายการค้าคือ การนําเสนอข้อมูลที่ได้สรุปและจัดประเภทแล้ว ซึ่งปรากฏอยู่ใน แต่ละรายการในงบการเงิน รายการแต่ละรายการที่ไม่มีสาระสําคัญให้นําไปรวมกับรายการอื่น เพื่อนําเสนอในงบการเงินหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน อย่างไรก็ตาม รายการที่ไม่มี สาระสําคัญพอที่จะแยกแสดงต่างหากในงบการเงิน อาจมีสาระสําคัญเพียงพอที่จะแยกแสดง ต่างหากในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 17 30 ก เมื่อปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น กิจการ ต้องตัดสินใจ โดยพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ว่ากิจการรวมข้อมูลในงบการเงินอย่างไร ซึ่งรวมถึงหมายเหตุประกอบงบการเงิน กิจการต้องไม่ ทําให้ความเข้าใจได้ของงบการเงินลดลงโดยการลดความชัดเจนของข้อมูลที่มีสาระสําคัญด้วย ข้อมูลที่ไม่มีสาระสําคัญ หรือโดยการรวมรายการที่มีสาระสําคัญที่มีธรรมชาติหรือหน้าที่ที่ แตกต่างกันไว้ด้วยกัน 31 มาตรฐานการรายงานทางการเงินบางฉบับกําหนดข้อมูลเฉพาะเจาะจงที่ต้องรวมอยู่ใน งบการเงิน ซึ่งรวมถึงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน อย่างไรก็ดี กิจการไม่จําเป็นต้องเปิดเผย ข้อมูลเฉพาะเจาะจงตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินหากข้อมูลที่เกิดจาก การเปิดเผยข้อมูลนั้นไม่มีสาระสําคัญ โดยรวมถึงกรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินระบุ รายละเอียดของข้อกําหนดเฉพาะเจาะจงหรืออธิบายว่าเป็นข้อกําหนดขั้นตํ่า นอกจากนี้ กิจการ ต้องพิจารณาว่าต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ ในกรณีที่การปฏิบัติตามข้อกําหนดเฉพาะของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินไม่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงผลกระทบของ รายการ เหตุการณ์อื่นๆ และสถานการณ์ต่างๆ ที่มีผลต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน การเงินของกิจการ การหักกลบ 32 กิจการต้องไม่นําสินทรัพย์และหนี้สิน หรือรายได้และค่าใช้จ่าย มาหักกลบกัน นอกจาก มาตรฐานการรายงานทางการเงินมีข้อกําหนดหรืออนุญาตให้หักกลบได้ 33 กิจการรายงานสินทรัพย์และหนี้สิน และรายได้และค่าใช้จ่าย แยกจากกัน การหักกลบรายการ ในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรืองบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก หรือ งบฐานะการเงิน จะทําให้ลดความสามารถของผู้ใช้งบการเงินในการเข้าใจรายการ เหตุการณ์อื่นๆ หรือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและในการประเมินกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ เว้นแต่ การหักกลบนั้นจะสะท้อนถึงสาระของรายการหรือสภาพการณ์นั้น การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ ซึ่งแสดงสุทธิจากบัญชีปรับมูลค่าไม่ถือเป็นการหักกลบรายการ เช่น การแสดงสินค้าคงเหลือสุทธิ จากค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย และลูกหนี้สุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น 34 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า กําหนดให้ กิจการวัดมูลค่ารายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้าด้วยจํานวนเงินของสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะ มีสิทธิได้รับจากการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการนั้นๆ ตัวอย่างเช่น จํานวนของรายได้ที่รับรู้ หักด้วยส่วนลดการค้าและส่วนลดตามปริมาณซื้อจ่ายคืนภายหลังที่กิจการอนุญาตให้มี กิจการ อาจมีรายการอื่นๆ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้จากการดําเนินงานตามปกติธุรกิจ แต่เป็นรายการที่มักเกิดขึ้นควบคู่ไปกับกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ กิจการแสดงผลของ รายการเหล่านั้นโดยการหักกลบรายได้กับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นจากรายการเดียวกัน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 18 หากการแสดงยอดสุทธิในลักษณะนี้จะช่วยสะท้อนให้เห็นเนื้อหาสาระของรายการหรือเหตุการณ์ อื่นที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น 34.1 กิจการแสดงผลกําไรและขาดทุนจากการจําหน่ายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมถึง เงินลงทุนและสินทรัพย์ดําเนินงาน โดยนํามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการจําหน่ายหักจากจํานวนสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการจําหน่าย และ 34.2 รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับประมาณการหนี้สิน ซึ่งมีการรับรู้ตามข้อกําหนดในมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจ เกิดขึ้น และกิจการคาดว่าจะได้รับชดเชยจากบุคคลที่สามภายใต้ข้อตกลงตามสัญญา ( เช่น ข้อตกลงในการรับประกันจากผู้ขาย ) อาจแสดงสุทธิจากเงินชดเชยที่เกี่ยวข้อง 35 นอกจากนี้ ให้กิจการแสดงผลกําไรและขาดทุนที่เกิดจากกลุ่มของรายการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ตามเกณฑ์สุทธิ เช่น ผลกําไรและขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือผลกําไรและ ขาดทุนที่เกิดจากการถือครองเครื่องมือทางการเงินเพื่อค้า อย่างไรก็ตาม หากผลกําไรและ ขาดทุนดังกล่าวมีสาระสําคัญให้กิจการแสดงเป็นรายการแยกต่างหาก ความถี่ในการรายงาน 36 กิจการต้องนําเสนองบการเงินฉบับสมบูรณ์ ( รวมทั้งข้อมูลเปรียบเทียบ ) อย่างน้อยปีละครั้ง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานและเป็นเหตุให้กิจการนําเสนอ งบการเงินซึ่งมีรอบระยะเวลายาวกว่าหรือสั้นกว่าหนึ่งปี กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม สําหรับแต่ละรอบระยะเวลาในงบการเงินดังต่อไปนี้ 36.1 เหตุผลในการใช้รอบระยะเวลาที่ยาวกว่าหรือสั้นกว่าหนึ่งปี และ 36.2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจํานวนเงินเปรียบเทียบที่แสดงในงบการเงินไม่สามารถนํามา เปรียบเทียบกันได้ทั้งหมด 37 โดยปกติ กิจการจะจัดทํางบการเงินขึ้นอย่างสมํ่าเสมอสําหรับรอบระยะเวลาหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติกิจการบางแห่งเลือกที่จะจัดทํางบการเงินสําหรับรอบระยะเวลา 52 สัปดาห์ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มิได้ห้ามการปฏิบัติดังกล่าว ข้อมูลเปรียบเทียบ ข้อมูลเปรียบเทียบขั้นตํ่า 38 หากมาตรฐานการรายงานทางการเงินมิได้อนุญาตหรือกําหนดเป็นอย่างอื่น กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลเปรียบเทียบของรอบระยะเวลาก่อนสําหรับทุกรายการที่แสดงจํานวนเงินใน งบการเงินรอบระยะเวลาปัจจุบัน กิจการต้องรวมข้อมูลเปรียบเทียบที่เป็นข้อมูลเชิงบรรยาย และพรรณนา หากข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจงบการเงินของรอบระยะเวลา ปัจจุบัน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 19 38 ก กิจการต้องเเสดงงบฐานะการเงินอย่างน้อยสองงบ งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นอย่างน้อยสองงบ งบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหากอย่างน้อยสองงบ ( ถ้ามีการนําเสนอ ) งบกระแสเงินสดอย่างน้อยสองงบ งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ อย่างน้อยสองงบ และหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เกี่ยวข้อง 38 ข ในบางกรณี ข้อมูลเชิงพรรรนาในงบการเงินรอบระยะเวลาก่อนๆ ยังต่อเนื่องเกี่ยวข้องกับ รอบระยะเวลาปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น กิจการเปิดเผยรายละเอียดของข้อพิพาททางกฎหมายใน รอบระยะเวลาปัจจุบัน โดยที่ผลของคดียังมีความไม่แน่นอน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาก่อนและ ผลของคดียังไม่สิ้นสุดในขณะนี้ ผู้ใช้งบการเงินได้รับประโยชน์จากการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ความไม่แน่นอนที่มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาก่อนและจากการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนที่ ได้ดําเนินการในระหว่างรอบระยะเวลาเพื่อให้ความไม่แน่นอนนั้นหมดไป ข้อมูลเปรียบเทียบเพิ่มเติม 38 ค กิจการอาจแสดงข้อมูลเปรียบเทียบเพิ่มเติมจากข้อมูลเปรียบเทียบขั้นตํ่าตามที่กําหนดใน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ตราบเท่าที่ข้อมูลได้รับการจัดทําให้เป็นไปตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ข้อมูลเปรียบเทียบนี้อาจประกอบด้วยงบการเงินจํานวนหนึ่งหรือ มากกว่าตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 10 แต่ไม่จําเป็นต้องประกอบด้วยชุดของงบการเงินฉบับสมบูรณ์ เมื่อเป็นไปตามกรณีเช่นว่านี้ กิจการต้องแสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับ งบเพิ่มเติมเหล่านั้น 38 ง ตัวอย่างเช่น กิจการอาจนําเสนองบรอบระยะเวลาที่สามของงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ( โดยนําเสนอรอบระยะเวลาปัจจุบัน รอบระยะเวลาก่อน และรอบระยะเวลาที่จะ เปรียบเทียบเพิ่มเติมอีกหนึ่งรอบระยะเวลา ) อย่างไรก็ตาม กิจการไม่จําเป็นต้องนําเสนองบรอบ ระยะเวลาที่สามของงบฐานะการเงิน งบกระแสเงินสดหรืองบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เปรียบเทียบ ( เช่น งบการเงินเปรียบเทียบเพิ่มเติม ) ทั้งนี้ กิจการต้องแสดงหมายเหตุประกอบ งบการเงินสําหรับข้อมูลเปรียบเทียบที่เกี่ยวข้องกับงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่ นําเสนอเพิ่มเติม 39–40 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การปรับงบการเงินย้อนหลัง หรือการจัดประเภทรายการใหม่ 40 ก กิจการต้องนําเสนองบฐานะการเงิน ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาก่อนเพิ่มเติมจาก งบการเงินเปรียบเทียบขั้นตํ่าตามย่อหน้าที่ 38 ก ถ้า 40 ก .1 กิจการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง ปรับย้อนหลังรายการใน งบการเงิน หรือจัดประเภทรายการใหม่ในงบการเงิน และ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 20 40 ก .2 การนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง การปรับงบการเงินย้อนหลัง หรือการจัดประเภทรายการใหม่มีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญต่อข้อมูลใน งบฐานะการเงิน ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาก่อน 40 ข ตามที่ได้อธิบายไว้ในย่อหน้าที่ 40 ก กิจการต้องแสดงงบฐานะการเงินจํานวนสามงบ ณ วันที่ 40 ข .1 สิ้นรอบระยะเวลาปัจจุบัน 40 ข .2 สิ้นรอบระยะเวลาก่อน และ 40 ข .3 เริ่มต้นของรอบระยะเวลาก่อน 40 ค เมื่อกิจการต้องนําเสนองบฐานะการเงินเพิ่มเติมตามย่อหน้าที่ 40 ก กิจการต้องเปิดเผยข้อมูล ตามย่อหน้าที่ 41 ถึง 44 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 อย่างไรก็ตาม กิจการไม่จําเป็นต้อง แสดงหมายเหตุประกอบการเงินที่เกี่ยวข้องกับยอดยกมาในงบฐานะการเงิน ณ วันเริ่มต้น ของรอบระยะเวลาก่อน 40 ง วันที่ของยอดยกมาในงบฐานะการเงินต้องเป็นวันที่ ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาก่อน โดยไม่ คํานึงถึงว่างบการเงินของกิจการจะแสดงข้อมูลเปรียบเทียบสําหรับรอบระยะเวลาก่อนๆ หรือไม่ ( ตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 38 ค ) 41 หากกิจการมีการแก้ไขการนําเสนอหรือจัดประเภทรายการในงบการเงิน กิจการต้อง จัดประเภทรายการของจํานวนที่นํามาเปรียบเทียบใหม่ด้วย เว้นแต่การจัดประเภทใหม่ ไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติ เมื่อมีการจัดประเภทรายการของจํานวนที่นํามาเปรียบเทียบใหม่ กิจการต้องเปิดเผยทุกข้อดังต่อไปนี้ ( รวมถึงยอด ณ วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาก่อน ) 41.1 ธรรมชาติของการจัดประเภทใหม่ 41.2 จํานวนเงินของแต่ละรายการหรือแต่ละประเภทที่ถูกจัดประเภทใหม่ และ 41.3 เหตุผลในการจัดประเภทใหม่ 42 หากกิจการไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติที่จะจัดประเภทรายการของจํานวนที่นํามา เปรียบเทียบใหม่ได้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้ 42.1 เหตุผลที่ไม่สามารถจัดประเภทรายการใหม่ของจํานวนดังกล่าวได้ และ 42.2 ธรรมชาติของรายการปรับปรุงหากมีการจัดประเภทรายการใหม่ 43 การทําให้ข้อมูลในงบการเงินแต่ละรอบระยะเวลาเปรียบเทียบกันได้ดียิ่งขึ้นจะมีประโยชน์ ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประเมินแนวโน้มของ ข้อมูลทางการเงินเพื่อการคาดการณ์ ในบางสถานการณ์กิจการไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติที่จะ นําข้อมูลรอบระยะเวลาก่อนมาจัดประเภทใหม่เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในรอบระยะเวลา ปัจจุบันได้ ตัวอย่างเช่น กิจการอาจไม่ได้เก็บข้อมูลในรอบระยะเวลาก่อนในลักษณะที่ทําให้กิจการ สามารถจัดประเภทรายการใหม่ได้ และอาจไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติที่จะสร้างตัวเลขขึ้นมา ใหม่ได้ 44 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ได้กําหนดวิธีการปรับปรุงข้อมูลเปรียบเทียบเมื่อกิจการเปลี่ยน นโยบายการบัญชี หรือแก้ไขข้อผิดพลาด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 21 ความสมํ่าเสมอในการนําเสนอ 45 กิจการต้องนําเสนอและจัดประเภทรายการในงบการเงินในลักษณะเดียวกันในทุกรอบ ระยะเวลายกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ 45.1 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญในธรรมชาติการดําเนินงานของกิจการ หรือการทบทวนงบการเงินแล้วเป็นที่ชัดเจนว่าการนําเสนอและการจัดประเภท รายการในงบการเงินแบบใหม่จะทําให้การนําเสนองบการเงินมีความเหมาะสม ยิ่งขึ้นโดยคํานึงถึงเกณฑ์การเลือกใช้และการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชี ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 หรือ 45.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงการนําเสนอ งบการเงิน 46 ตัวอย่างเช่น การซื้อหรือขายกิจการที่มีนัยสําคัญหรือการทบทวนการนําเสนองบการเงินของกิจการ อาจชี้ให้เห็นว่างบการเงินนั้นจําเป็นต้องแสดงรายการแตกต่างไปจากเดิม กิจการเปลี่ยนแปลง การนําเสนองบการเงินได้ก็ต่อเมื่อการนําเสนอที่เปลี่ยนไปนั้นให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และ มีความเกี่ยวข้องมากขึ้นกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน และการนําเสนอในรูปแบบใหม่นั้นยังคง ใช้ต่อไปเพื่อให้งบการเงินสามารถนํามาเปรียบเทียบกันได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการนําเสนอ งบการเงิน กิจการจัดประเภทข้อมูลที่นํามาเปรียบเทียบใหม่ตามย่อหน้าที่ 41 และ 42 โครงสร้างและเนื้อหา ความนํา 47 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลบางรายการในงบฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุน และกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก ( ถ้ามีการนําเสนอ ) และ งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และกําหนดให้เปิดเผยข้อมูลรายการอื่นๆ ในงบการเงิน ดังกล่าวหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด ได้กําหนดเรื่องเกี่ยวกับการนําเสนอข้อมูลกระแสเงินสด 48 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้บางครั้งใช้คําว่า “ การเปิดเผย ” ในความหมายกว้าง โดยมีความหมาย ครอบคลุมถึงรายการที่นําเสนอในงบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลยังได้มีการกําหนดไว้ใน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ เว้นแต่มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้หรือมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ มีข้อกําหนดเฉพาะไว้เป็นอย่างอื่น การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว อาจจะทําไว้ในงบการเงิน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 22 การระบุชื่องบการเงิน 49 กิจการต้องระบุชื่องบการเงินไว้อย่างชัดเจนและแยกออกจากข้อมูลอื่นที่นําเสนออยู่ใน เอกสารเผยแพร่ชุดเดียวกัน 50 มาตรฐานการรายงานทางการเงินจะถือปฏิบัติกับงบการเงินเท่านั้น โดยไม่ถือปฏิบัติกับข้อมูลอื่น ที่นําเสนอในรายงานประจําปี เอกสารที่ยื่นตามข้อบังคับหรือเอกสารอื่น ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสําคัญ ที่ผู้ใช้งบการเงินสามารถแยกข้อมูลที่จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินออกจากข้อมูล อื่นที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินแต่ไม่ได้จัดทําขึ้นตามข้อกําหนดเหล่านั้น 51 กิจการต้องระบุชื่อส่วนประกอบของงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินแต่ละส่วน อย่างชัดเจน และยังต้องแสดงข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้อย่างเด่นชัด ซึ่งจะแสดงซํ้ากันได้ ถ้าการแสดงซํ้านั้นทําให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง 51.1 ชื่อของกิจการที่เสนอรายงานหรือวิธีการอื่นที่เป็นการระบุและการเปลี่ยนแปลงใน ข้อมูลดังกล่าวจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานก่อน 51.2 การระบุว่างบการเงินนั้นเป็นงบการเงินเฉพาะกิจการหรือเป็นงบการเงินของ กลุ่มกิจการ 51.3 วันที่สิ้นรอบระยะเวลารายงานหรือรอบระยะเวลาที่ครอบคลุมงบการเงินหรือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน 51.4 สกุลเงินที่ใช้นําเสนองบการเงินตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 และ 51.5 จํานวนหลักที่ใช้ในการแสดงจํานวนเงินในงบการเงิน 52 ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 51 สามารถปฏิบัติได้โดยการแสดงหัวเรื่องของหน้างบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน หัวเรื่องย่อของสดมภ์ และอย่างอื่นที่คล้ายคลึงกัน กิจการต้องใช้ วิจารณญาณในการตัดสินใจว่าวิธีการใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะนําเสนอข้อมูลดังกล่าว ตัวอย่างเช่น งบการเงินที่นําเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์มักไม่แสดงข้อมูลแยกเป็นแต่ละหน้า ดังนั้น กิจการ จึงแสดงรายการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่รวมอยู่ในงบการเงินสามารถเข้าใจได้ 53 กิจการมักแสดงจํานวนเงินไว้เป็นหลักพันหรือหลักล้านตามสกุลเงินที่ใช้นําเสนองบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจงบการเงินได้ดีขึ้น กิจการสามารถทําเช่นนั้นได้ตราบใดที่ กิจการได้เปิดเผยถึงระดับของการปัดเศษและการปัดเศษดังกล่าวไม่เป็นการตัดทอนข้อมูลที่มี สาระสําคัญ งบฐานะการเงิน ข้อมูลที่ต้องนําเสนอในงบฐานะการเงิน 54 งบฐานะการเงินต้องมีรายการที่แสดงจํานวนเงินทุกข้อดังต่อไปนี้ 54.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 23 54.2 ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น 54.3 สินค้าคงเหลือ 54.4 สินทรัพย์ชีวภาพ ภายในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 เรื่อง เกษตรกรรม 54.5 เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย 54.5 ก พอร์ตโฟลิโอของสัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่เป็นสินทรัพย์ซึ่งแตกยอดตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 78 ของ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 54.6 สินทรัพย์ทางการเงิน ( ไม่รวมจํานวนเงินที่แสดงในข้อ 54.1 54.2 และ 54.5) 54.7 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 54.8 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 54.9 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 54.10 ยอดรวมของสินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายและสินทรัพย์ที่ รวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายซึ่งจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้ เพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก 54.11 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 54.12 ประมาณการหนี้สิน 54.12 ก พอร์ตโฟลิโอของสัญญาภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่เป็นหนี้สินซึ่งแตกยอดตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 78 ของ มาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 54.13 หนี้สินทางการเงิน ( ไม่รวมจํานวนเงินที่แสดงในข้อ 54.11 และ 54.12) 54.14 หนี้สินและสินทรัพย์ภาษีเงินได้สําหรับงวดปัจจุบันตามที่กําหนดในมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ 54.15 หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามที่ กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 54.16 หนี้สินที่รวมในกลุ่มสินทรัพย์ที่จะจําหน่ายที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 54.17 ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมที่แสดงในส่วนของเจ้าของ และ 54.18 ทุนที่ออกจําหน่าย และสํารองต่างๆ ที่จัดสรรให้แก่ผู้เป็นเจ้าของของบริษัทใหญ่ 55 กิจการต้องแสดงรายการแต่ละรายการ ( รวมถึงการแยกแสดงรายการที่ระบุในย่อหน้าที่ 54) หัวข้อเรื่อง และยอดรวมย่อยในงบฐานะการเงินเพิ่มเติม ถ้าหากการแสดงรายการ ในลักษณะดังกล่าวช่วยให้เกิดความเข้าใจในฐานะการเงินของกิจการ 55 ก เมื่อกิจการแสดงยอดรวมย่อยตามย่อหน้าที่ 55 ยอดรวมย่อยดังกล่าวต้อง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 24 55 ก .1 ประกอบด้วยรายการที่เป็นจํานวนเงินที่รับรู้และวัดมูลค่าเป็นไปตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน 55 ก .2 แสดงและกําหนดชื่อในลักษณะที่ทําให้รายการที่เป็นยอดรวมย่อยดังกล่าว มีความชัดเจนและสามารถเข้าใจได้ 55 ก .3 มีความสมํ่าเสมอกันในแต่ละรอบระยะเวลาที่รายงานเป็นไปตามย่อหน้าที่ 45 และ 55 ก .4 ไม่แสดงให้เด่นชัดไปกว่ายอดรวมย่อยและยอดรวมที่กําหนดโดยมาตรฐาน การรายงานทางการเงินสําหรับงบฐานะการเงิน 56 เมื่อกิจการแยกแสดงการจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินในงบฐานะการเงินเป็นรายการ หมุนเวียนและไม่หมุนเวียน กิจการต้องไม่จัดประเภทรายการสินทรัพย์ ( หนี้สิน ) ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีเป็นสินทรัพย์ ( หนี้สิน ) หมุนเวียน 57 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้กําหนดลําดับหรือรูปแบบของการแสดงรายการ รายการต่างๆ ตามย่อหน้าที่ 54 เป็นเพียงการกําหนดไว้อย่างง่ายตามธรรมชาติและหน้าที่ที่มีความแตกต่าง เพียงพอที่จะรองรับการแยกแสดงแต่ละรายการในงบฐานะการเงิน นอกจากนี้ 57.1 รายการแต่ละบรรทัดควรมีการแยกแสดง หากขนาด ธรรมชาติ หรือหน้าที่ของ แต่ละรายการหรือผลรวมของรายการที่คล้ายคลึงกันนั้น มีประโยชน์ต่อความเข้าใจ เกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการ และ 57.2 คําอธิบายและการเรียงลําดับการแสดงรายการหรือผลรวมของรายการที่คล้ายคลึงกัน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามธรรมชาติและรายการของกิจการ เพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ความเข้าใจในฐานะการเงินของกิจการ ตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินอาจเปลี่ยนแปลง คําอธิบายรายการข้างต้นเพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันการเงิน 58 การใช้วิจารณญาณว่ารายการใดที่แยกแสดงเพิ่มเติมให้พิจารณาโดยถือเกณฑ์ดังนี้ 58.1 ธรรมชาติและสภาพคล่องของสินทรัพย์ 58.2 การใช้งานของสินทรัพย์ภายในกิจการ และ 58.3 จํานวนเงิน ธรรมชาติ และจังหวะเวลาของหนี้สิน 59 การใช้เกณฑ์วัดมูลค่าที่ต่างกันสําหรับสินทรัพย์ต่างประเภทกันเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าสินทรัพย์นั้น มีธรรมชาติและหน้าที่ต่างกัน ดังนั้น กิจการจึงแสดงสินทรัพย์แต่ละรายการนั้นแยกจากกัน ตัวอย่างเช่น สินทรัพย์แต่ละประเภทในกลุ่มที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สามารถแสดงในราคาทุน หรือราคาที่ตีใหม่ตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ความแตกต่างระหว่างรายการหมุนเวียนกับรายการไม่หมุนเวียน 60 กิจการต้องแยกแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนใน งบฐานะการเงินตามข้อกําหนดของย่อหน้าที่ 66 ถึง 76 เว้นแต่การแสดงรายการตามสภาพคล่อง จะมีความน่าเชื่อถือและมีความเกี่ยวข้องมาก หากกิจการปฏิบัติตามข้อยกเว้นนี้ สินทรัพย์และ หนี้สินทั้งหมดต้องแสดงตามลําดับของสภาพคล่อง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 25 61 ไม่ว่าสินทรัพย์และหนี้สินจะนําเสนอไว้ด้วยวิธีใดก็ตาม กิจการต้องเปิดเผยจํานวนที่คาดว่า จะได้รับคืนหรือจ่ายชําระในระยะเวลาเกินกว่า 12 เดือน สําหรับรายการสินทรัพย์และ หนี้สิน แต่ละบรรทัดซึ่งได้รวมยอดคงเหลือส่วนที่คาดว่าจะได้รับคืนหรือจ่ายชําระดังนี้ 61.1 ไม่เกิน 12 เดือน นับจากรอบระยะเวลารายงาน และ 61.2 เกินกว่า 12 เดือน นับจากรอบระยะเวลารายงาน 62 หากกิจการขายสินค้าหรือบริการซึ่งมีรอบระยะเวลาการดําเนินงานที่ระบุได้อย่างชัดเจน การจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินออกเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนไว้ในงบฐานะ การเงินจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยการแยกสินทรัพย์สุทธิที่กิจการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน อย่างต่อเนื่องออกจากสินทรัพย์สุทธิที่กิจการใช้ในการดําเนินงานระยะยาว การจัดประเภทใน ลักษณะนี้ทําให้สินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในรอบระยะเวลาการดําเนินงานปัจจุบัน และ หนี้สินที่จะถึงกําหนดชําระภายในช่วงเวลาเดียวกันนั้นแสดงไว้อย่างเด่นชัด 63 กิจการบางประเภท เช่น สถาบันการเงิน การแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามลําดับสภาพคล่อง ของแต่ละรายการไม่ว่าจะเรียงจากมากไปหาน้อยหรือน้อยไปหามาก จะให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและ เกี่ยวข้องได้ดีกว่าการแสดงเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน เนื่องจากกิจการดังกล่าว ไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการภายในรอบระยะเวลาการดําเนินงานที่ระบุได้อย่างชัดเจน 64 ข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 60 อนุญาตให้กิจการที่มีการประกอบกิจการหลากหลายสามารถแสดง สินทรัพย์และหนี้สินบางส่วนโดยใช้เกณฑ์รายการหมุนเวียนและรายการไม่หมุนเวียนควบคู่กับ เกณฑ์การแสดงอื่นตามลําดับสภาพคล่องก็ได้ หากการแสดงควบคู่นั้นให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและ มีความเกี่ยวข้องมากกว่า 65 ข้อมูลเกี่ยวกับวันที่คาดว่ากิจการจะได้รับชําระจากสินทรัพย์และจะชําระคืนหนี้สินเป็นประโยชน์ ในการประเมินสภาพคล่องและความสามารถในการชําระหนี้ของกิจการ มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน กําหนดให้กิจการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับวันครบกําหนดของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน สินทรัพย์ทาง การเงิน รวมถึงลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น และหนี้สินทางการเงินรวมถึง เจ้าหนี้การค้าและ เจ้าหนี้อื่น ข้อมูลเกี่ยวกับวันที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินเช่น สินค้าคงเหลือ หรือวันที่กิจการจะชําระหนี้สิน เช่น ประมาณการหนี้สิน ถือเป็นข้อมูลที่มี ประโยชน์ไม่ว่าสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้นจะแสดงเป็นรายการหมุนเวียนหรือรายการไม่หมุนเวียนก็ ตาม ตัวอย่างเช่น กิจการเปิดเผยข้อมูลของมูลค่าของสินค้าคงเหลือส่วนที่คาดว่าจะได้รับ ประโยชน์ในระยะเวลาเกินกว่า 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน สินทรัพย์หมุนเวียน 66 กิจการต้องจัดประเภทสินทรัพย์เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อสินทรัพย์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 66.1 คาดว่าจะได้รับประโยชน์ หรือตั้งใจสําหรับขายหรือใช้ภายในรอบระยะเวลา การดําเนินงานตามปกติของกิจการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 26 66.2 ถือสินทรัพย์โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ถือไว้เพื่อค้า 66.3 คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ภายใน 12 เดือนหลังจากรอบระยะเวลา รายงาน หรือ 66.4 สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ( ตามที่ได้นิยามไว้ในมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 7) และไม่มีข้อจํากัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ชําระหนี้สิน ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนหลังจากรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องจัดประเภทสินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 67 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้คําว่า “ ไม่หมุนเวียน ” ให้หมายรวมถึง สินทรัพย์มีตัวตน สินทรัพย์ ไม่มีตัวตน และสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งมีธรรมชาติที่เป็นระยะยาว และมิได้มีข้อห้ามในการใช้ คําอธิบายอื่นหากคําที่เลือกใช้แทนนั้นยังคงมีความหมายชัดเจน 68 รอบระยะเวลาการดําเนินงานของกิจการ หมายถึง ระยะเวลาที่เริ่มตั้งแต่ซื้อสินทรัพย์มาเพื่อใช้ใน การดําเนินงาน จนกระทั่งได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด หากไม่สามารถระบุรอบ ระยะเวลาการดําเนินงานของกิจการได้อย่างชัดเจนให้ถือว่ารอบระยะเวลาการดําเนินงานมี ระยะเวลา 12 เดือน สินทรัพย์หมุนเวียนหมายรวมถึง สินทรัพย์ต่างๆ ( เช่น สินค้าคงเหลือ และ ลูกหนี้การค้า ) ที่ขาย ใช้ไป หรือให้ประโยชน์ภายในรอบระยะเวลาการดําเนินงานตามปกติ ถึงแม้กิจการไม่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้นภายใน 12 เดือนนับจาก รอบ ระยะเวลารายงานก็ตาม สินทรัพย์หมุนเวียนยังรวมถึงสินทรัพย์ที่ถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์ เบื้องต้นเพื่อมีไว้เพื่อค้า ( ตัวอย่างรวมถึงสินทรัพย์ทางการเงินบางรายการที่เป็นไปตามคํานิยาม ของการถือไว้เพื่อค้า ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) และส่วนของสินทรัพย์ ทางการเงินที่ไม่หมุนเวียนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี หนี้สินหมุนเวียน 69 หนี้สินจะจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนเมื่อหนี้สินนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ 69.1 คาดว่าจะมีการชําระภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติของกิจการ 69.2 ถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือมีไว้เพื่อค้า 69.3 ถึงกําหนดชําระภายใน 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน หรือ 69.4 กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชําระหนี้ออกไปอีกเป็นเวลาไม่ น้อยกว่า 12 เดือน นับจากรอบระยะเวลารายงาน ( ดูย่อหน้าที่ 73) หากคู่สัญญามี ทางเลือกให้จ่ายชําระหนี้โดยการออกตราสารทุน ระยะเวลาการชําระหนี้ไม่มี ผลกระทบต่อการจัดประเภทรายการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 27 กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน 70 หนี้สินหมุนเวียนบางประเภท เช่น เจ้าหนี้การค้า รายการคงค้างบางรายการที่เกี่ยวกับพนักงาน และต้นทุนดําเนินงานอื่น เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในรอบระยะเวลา การดําเนินงานตามปกติของกิจการ กิจการจัดประเภทรายการดังกล่าวเป็นหนี้สินหมุนเวียน แม้ว่าจะครบกําหนดชําระเกินกว่า 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน รอบระยะเวลา การดําเนินงานตามปกตินี้ให้ถือปฏิบัติเหมือนกันกับการจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินของ กิจการ สําหรับกรณีที่กิจการไม่สามารถระบุรอบระยะเวลาการดําเนินงานตามปกติได้อย่าง ชัดเจนให้ถือว่ารอบระยะเวลาการดําเนินงานมีระยะเวลา 12 เดือน 71 หนี้สินหมุนเวียนอื่น เป็นหนี้สินที่การชําระไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรอบระยะเวลาการดําเนินงาน ตามปกติ แต่มีกําหนดชําระภายใน 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน หรือถือไว้โดยมี วัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อมีไว้เพื่อค้า ตัวอย่างเช่น หนี้สินทางการเงินบางประเภทที่เป็นไปตามคํา นิยามของการถือไว้เพื่อค้า ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เงินเบิกเกินบัญชี ธนาคาร และส่วนของหนี้สินทางการเงินไม่หมุนเวียนที่ถึงกําหนดชําระในหนึ่งปี เงินปันผลค้าง จ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย และเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า สําหรับหนี้สินทางการเงินซึ่งกิจการ ใช้เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาว ( นั่นคือมิได้เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในรอบ ระยะเวลาการดําเนินงานตามปกติของกิจการ ) และยังไม่ครบกําหนดชําระภายใน 12 เดือนนับจาก รอบระยะเวลารายงานให้ถือเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนที่ต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 74 และ 75 72 กิจการจัดประเภทหนี้สินทางการเงินที่จะครบกําหนดชําระภายใน 12 เดือนนับจาก รอบระยะเวลารายงานเป็นหนี้สินหมุนเวียน ถึงแม้ว่าหนี้สินนั้นเป็นไปตามข้อกําหนดทุกข้อ ดังต่อไปนี้ 72.1 เงื่อนไขเดิมในการชําระหนี้สินจะมีระยะเวลาเกินกว่า 12 เดือน และ 72.2 มีข้อตกลงที่จะชําระหนี้โดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่หรือวางกําหนดเวลา การจ่ายเงินใหม่ให้เป็นหนี้สินระยะยาว ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจัดทําเสร็จสมบูรณ์ ภายหลังรอบระยะเวลารายงานและก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน 72 ก ถึง 72 ข ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 73 ภายใต้เงื่อนไขการกู้ยืมในปัจจุบัน หากกิจการคาดหวังและมีสิทธิในการดําเนินการที่จะชําระ ภาระผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สินใหม่ที่มีอายุอย่างน้อย 12 เดือน หรือต่ออายุภาระผูกพันเดิม ออกไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน ภาระผูกพันนั้นจัด ประเภทเป็นไม่หมุนเวียนแม้ว่าภาระผูกพันเดิมนั้นมีกําหนดชําระภายในระยะเวลาสั้นกว่า 12 เดือน อย่างไรก็ตาม หากกิจการไม่มีสิทธิในการดําเนินการที่ชําระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สิน ใหม่หรือต่ออายุภาระผูกพันเดิม ( เช่น ไม่มีข้อตกลงในการชําระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สิน ใหม่ ) ทั้งนี้โดยไม่พิจารณาความสามารถของกิจการในการชําระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อ หนี้สินใหม่ และภาระผูกพันนั้นจัดประเภทเป็นหมุนเวียน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 28 74 หากก่อนหรือ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการละเมิดเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาว ซึ่งเป็นผลให้หนี้สินนั้นกลายเป็นหนี้สินที่จ่ายคืนเมื่อทวงถาม กิจการจัดประเภทหนี้สินนั้นเป็น หนี้สินหมุนเวียน แม้ว่าภายหลังรอบระยะเวลารายงานและก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ออก งบการเงิน เจ้าหนี้ตกลงที่จะไม่เรียกคืนหนี้นั้นทั้งที่ได้มีการละเมิดเงื่อนไขในสัญญาเงินกู้ กิจการ จัดประเภทหนี้สินนี้เป็นหนี้สินหมุนเวียน เนื่องจาก ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการไม่มี สิทธิอันปราศจากเงื่อนไขที่จะเลื่อนการชําระหนี้ออกไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจาก วันที่ดังกล่าว 75 อย่างไรก็ตาม หากภายในวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานผู้ให้กู้ตกลงที่จะผ่อนผันหนี้ให้เป็นเวลา อย่างน้อย 12 เดือนนับจากสิ้นรอบระยะเวลารายงาน เพื่อให้กิจการดําเนินการแก้ไขการละเมิด เงื่อนไข ซึ่งภายในช่วงระยะเวลาดังกล่าวผู้ให้กู้จะไม่สามารถเรียกร้องให้จ่ายชําระหนี้คืนในทันที กิจการจัดประเภทหนี้สินนี้เป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน 75 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 76 ในส่วนของเงินกู้ยืมที่จัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน หากมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นระหว่างวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานและวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน เหตุการณ์ดังกล่าวถือว่าเข้าเงื่อนไขที่ไม่ต้องปรับปรุงงบการเงิน แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลตาม ข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน 76.1 มีการชําระเงินกู้ยืมเดิมโดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่ 76.2 มีการแก้ไขการละเมิดเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาว และ 76.3 เจ้าหนี้ผ่อนผันหนี้ให้เป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากสิ้นรอบระยะเวลารายงาน เพื่อให้กิจการดําเนินการแก้ไขการละเมิดเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาว 76 ก ถึง 76 ข ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) ข้อมูลที่ต้องนําเสนอในงบฐานะการเงินหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 77 กิจการต้องเปิดเผยการจัดประเภทรายการย่อยในงบฐานะการเงินหรือในหมายเหตุประกอบ งบการเงินของรายการที่นําเสนอในงบการเงิน โดยจัดประเภทให้เหมาะสมกับการดําเนินงาน ของกิจการ 78 รายละเอียดที่แสดงในการจัดประเภทย่อยขึ้นอยู่กับข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ขนาด ธรรมชาติ และหน้าที่ของจํานวนที่เกี่ยวข้องนั้น กิจการยังใช้ปัจจัยที่กําหนดไว้ ในย่อหน้าที่ 58 ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดประเภทย่อย ซึ่งการเปิดเผยรายการ แต่ละรายการจะมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น 78.1 รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ให้แยกแสดงแต่ละประเภทตามข้อกําหนดของ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 78.2 ลูกหนี้ ให้แยกแสดงเป็นลูกหนี้การค้า ลูกหนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ค่าใช้จ่าย จ่ายล่วงหน้า และลูกหนี้อื่น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 29 78.3 สินค้าคงเหลือ ให้แยกแสดงแต่ละประเภทตามข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ เช่น สินค้าซื้อมาเพื่อขาย วัสดุการผลิต วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสําเร็จรูป 78.4 ประมาณการหนี้สิน ให้แยกแสดงเป็นประมาณการหนี้สินเกี่ยวกับผลประโยชน์ของ พนักงาน และประมาณการหนี้สินอื่น และ 78.5 ส่วนทุนของเจ้าของ และสํารองต่างๆ ให้แยกแสดงเป็นแต่ละรายการ เช่น ทุนที่ชําระแล้ว ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และสํารองต่างๆ 79 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในงบฐานะการเงิน งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของหรือใน หมายเหตุประกอบงบการเงิน 79.1 สําหรับหุ้นทุนแต่ละประเภท 79.1.1 จํานวนหุ้นที่จดทะเบียน 79.1.2 จํานวนหุ้นที่ออกจําหน่ายและชําระเต็มมูลค่า และจํานวนหุ้นที่ออก จําหน่ายแต่ยังชําระไม่เต็มมูลค่า 79.1.3 ราคาที่ตราไว้ต่อหุ้น หรือเปิดเผยว่าหุ้นไม่มีราคาตราไว้ 79.1.4 รายการกระทบยอดของจํานวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลภายนอก ณ วันเริ่มต้น และวันสิ้นรอบระยะเวลา 79.1.5 สิทธิ บุริมสิทธิ และข้อจํากัดของหุ้นทุนแต่ละประเภท ซึ่งรวมถึงข้อจํากัด ในการจ่ายปันผลและการจ่ายคืนทุน 79.1.6 หุ้นของกิจการที่ถือโดยกิจการหรือบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของกิจการ และ 79.1.7 หุ้นที่สํารองไว้เพื่อออกให้ตามสิทธิหรือตามสัญญาการขายหุ้น พร้อม เงื่อนไขและจํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง และ 79.2 คําอธิบายถึงธรรมชาติและวัตถุประสงค์ของสํารองแต่ละประเภทในส่วนของ เจ้าของ 80 กิจการที่ไม่มีหุ้นทุน เช่น ห้างหุ้นส่วน หรือทรัสต์ ต้องเปิดเผยข้อมูลซึ่งเทียบเท่ากับข้อมูล ที่กําหนดในย่อหน้าที่ 79.1 โดยให้แสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลา สําหรับแต่ละรายการในส่วนของเจ้าของ ตลอดจนสิทธิ บุริมสิทธิ และข้อจํากัดของส่วนได้ เสียของเจ้าของ แต่ละประเภท 80 ก ถ้ากิจการมีการจัดประเภทรายการใหม่ของรายการดังต่อไปนี้ 80 ก .1 เครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิขายคืนจัดประเภทเป็นตราสารทุน หรือ 80 ก .2 เครื่องมือทางการเงินที่เพิ่มภาระผูกพันให้แก่กิจการในการที่จะส่งมอบสินทรัพย์สุทธิ ของกิจการตามสัดส่วนของหุ้น เฉพาะส่วนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ จัดประเภทเป็น ตราสารทุน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 30 โดยจัดประเภทระหว่างหนี้สินทางการเงินและส่วนของเจ้าของ กิจการต้องเปิดเผยจํานวน การจัดประเภทรายการใหม่ทั้งการจัดเข้าและการย้ายออกจากแต่ละประเภท ( หนี้สิน ทางการเงินหรือส่วนของผู้ถือหุ้น ) จังหวะเวลาและเหตุผลการจัดประเภทรายการใหม่นั้น งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 81 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 81 ก งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ) ต้องแสดงรายการ เพิ่มเติมจากส่วนของกําไรหรือขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ดังนี้ 81 ก .1 กําไรหรือขาดทุน 81 ก .2 กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นรวม 81 ก .3 กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับรอบระยะเวลา ซึ่งเป็นยอดรวมของกําไรหรือขาดทุน และกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ถ้ากิจการแสดงงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก ส่วนของกําไรหรือขาดทุนต้องไม่แสดง ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 81 ข กิจการต้องแสดงรายการต่อไปนี้ เพิ่มเติมจากส่วนของกําไรหรือขาดทุนและกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น เพื่อเป็นการจัดสรรส่วนของกําไรหรือขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น สําหรับรอบระยะเวลา 81 ข .1 กําไรหรือขาดทุนสําหรับรอบระยะเวลาที่เป็นของ 81 ข .1.1 ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม และ 81 ข .1.2 ส่วนของผู้เป็นเจ้าของของบริษัทใหญ่ 81 ข .2 กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับรอบระยะเวลาที่เป็นของ 81 ข .2.1 ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม และ 81 ข .2.2 ส่วนของผู้เป็นเจ้าของของบริษัทใหญ่ ถ้ากิจการแสดงกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนที่แสดงแยกต่างหาก กิจการต้องนําเสนอ ข้อมูลตามย่อหน้า 81 ข .1 ในงบดังกล่าว ข้อมูลที่ต้องนําเสนอในส่วนของกําไรหรือขาดทุนหรือในงบกําไรขาดทุน 82 นอกเหนือจากรายการที่ต้องแสดงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ส่วนของ กําไรหรือขาดทุนหรืองบกําไรขาดทุนต้องแสดงรายการแต่ละบรรทัดพร้อมจํานวนเงิน สําหรับรอบระยะเวลา สําหรับรายการดังต่อไปนี้ 82.1 รายได้ โดยแยกแสดง 82.1.1 ดอกเบี้ยรับที่คํานวณโดยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง และ 82.1.2 รายได้จากการประกันภัย ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 31 82.1 ก ผลกําไรและขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการเลิกรับรู้รายการสินทรัพย์ทางการเงิน ที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่าย 82.1 ข ค่าใช้จ่ายในการบริการประกันภัยจากสัญญาที่ออกภายในขอบเขตของมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17) 82.1 ค รายได้หรือค่าใช้จ่ายจากสัญญาประกันภัยต่อที่ถือไว้ ( ดูมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17) 82.2 ต้นทุนทางการเงิน 82.2 ก ผลขาดทุนจากการด้อยค่า ( รวมถึงการกลับรายการผลกําไรหรือขาดทุนจาก การด้อยค่า ) ตามที่กําหนดในหมวดที่ 5.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 82.2 ข รายได้หรือค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการประกันภัยจากสัญญาที่ออกภายใน ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ( ดูมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17) 82.2 ค รายได้หรือค่าใช้จ่ายทางการเงินจากสัญญาประกันภัยต่อที่ถือไว้ ( ดูมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17) 82.3 ส่วนแบ่งกําไรหรือขาดทุนของบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่ใช้วิธีส่วนได้เสีย 82.3 ก ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างราคาทุนตัดจําหน่ายของ สินทรัพย์ทางการเงินที่เคยบันทึกไว้กับมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่จัดประเภทรายการ ใหม่ หากสินทรัพย์ทางการเงินถูกจัดประเภทรายการใหม่โดยเปลี่ยนประเภทจาก การวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายเป็นการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่าน กําไรหรือขาดทุน ( ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9) 82.3 ข ผลกําไรหรือขาดทุนสะสมที่เคยบันทึกในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นซึ่งถูกจัด ประเภทใหม่ไปยังกําไรหรือขาดทุน หากสินทรัพย์ทางการเงินถูกจัดประเภทใหม่ โดยเปลี่ยนประเภทจากการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อื่นเป็นการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน 82.4 ค่าใช้จ่ายภาษี 82.5 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 82.5 ก ยอดรวมของการดําเนินงานที่ยกเลิกซึ่งแสดงเป็นจํานวนเดียว ( ดูมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5) 82.6–82.9 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) ข้อมูลที่ต้องนําเสนอในส่วนของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 82 ก กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นต้องแสดงรายการรายบรรทัดสําหรับจํานวนเงินสําหรับรอบ ระยะเวลา ดังต่อไปนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 32 82 ก .1 รายการของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( ไม่รวมจํานวนเงินที่แสดงในย่อหน้าที่ 82 ก .2) โดยจัดประเภทตามธรรมชาติของรายการ และตามการจัดกลุ่มซึ่งมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น กําหนดไว้ว่า 82 ก .1.1 จะไม่มีการจัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกําไรหรือขาดทุนใน ภายหลัง และ 82 ก .1.2 จะมีการจัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกําไรหรือขาดทุนใน ภายหลังเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง 82 ก .2 ส่วนแบ่งกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทร่วมและการร่วมค้าตามวิธีส่วนได้เสีย โดยแบ่งเป็นกลุ่มของรายการที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น กําหนด ไว้ว่า 82 ก .2.1 จะไม่มีการจัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกําไรหรือขาดทุนใน ภายหลัง และ 82 ก .2.2 จะมีการจัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกําไรหรือขาดทุนใน ภายหลังเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง 83 – 84 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 85 กิจการต้องแสดงรายการเพิ่มเติม ( รวมถึงการแยกแสดงรายการที่ระบุในย่อหน้าที่ 82) หัวข้อเรื่อง และยอดรวมย่อยในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ถ้าการแสดง รายการเหล่านั้นทําให้มีประโยชน์ต่อความเข้าใจเกี่ยวกับผลการดําเนินงานการเงินของ กิจการ 85 ก เมื่อกิจการแสดงยอดรวมย่อยตามย่อหน้าที่ 85 ยอดรวมย่อยดังกล่าวต้อง 85 ก .1 ประกอบด้วยรายการที่เป็นจํานวนเงินที่รับรู้และวัดมูลค่าเป็นไปตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน 85 ก .2 แสดงและกําหนดชื่อในลักษณะที่ทําให้รายการที่เป็นยอดรวมย่อยดังกล่าว มีความชัดเจนและสามารถเข้าใจได้ 85 ก .3 มีความสมํ่าเสมอกันในแต่ละรอบระยะเวลาที่รายงานเป็นไปตามย่อหน้าที่ 45 และ 85 ก .4 ไม่แสดงให้เด่นชัดไปกว่ายอดรวมย่อยและยอดรวมที่กําหนดโดยมาตรฐาน การรายงานทางการเงินสําหรับการแสดงกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 85 ข กิจการต้องแสดงรายการในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ที่เป็นการกระทบยอด สําหรับยอดรวมย่อยตามย่อหน้าที่ 85 กับยอดรวมย่อยหรือยอดรวมที่กําหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินสําหรับงบดังกล่าว 86 เนื่องจากผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ รายการ และเหตุการณ์อื่นๆ ของกิจการ มีความแตกต่าง ในเรื่องของความถี่ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลกําไรหรือขาดทุน และความสามารถคาดการณ์ได้ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของผลการดําเนินงานการเงินจะช่วยให้ผู้ใช้ งบการเงินเกิดความเข้าใจผลการดําเนินงานการเงินที่เกิดขึ้นและยังช่วยในการคาดหมาย ผลการดําเนินงานการเงินในอนาคตของกิจการ กิจการมีการแสดงรายการแต่ละบรรทัดเพิ่มเติม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 33 ในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และการแก้ไขคําอธิบายที่ใช้และจัดเรียงลําดับ รายการใหม่ หากการกระทําดังกล่าวจําเป็นต่อการอธิบายองค์ประกอบของผลการดําเนินงาน การเงิน โดยปัจจัยที่นํามาพิจารณารวมถึง ความมีสาระสําคัญ ธรรมชาติ และหน้าที่ของแต่ละ รายการของรายได้และค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินอาจมีการแก้ไขคําอธิบายเพื่อให้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ รายการรายได้และค่าใช้จ่าย จะนํามาหักกลบกันไม่ได้ ยกเว้นจะเข้าตามเกณฑ์ในย่อหน้าที่ 32 87 กิจการต้องไม่แสดงรายการรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษ ไม่ว่าจะแสดงใน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน กําไรหรือขาดทุนสําหรับรอบระยะเวลา 88 กิจการต้องรับรู้รายการรายได้และค่าใช้จ่ายทุกรายการสําหรับรอบระยะเวลาในกําไรหรือ ขาดทุนเว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินจะกําหนดหรืออนุญาตไว้เป็นอย่างอื่น 89 มาตรฐานการรายงานทางการเงินบางฉบับระบุสถานการณ์ที่กิจการสามารถรับรู้รายการ นอกกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาปัจจุบัน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ระบุสถานการณ์ 2 สถานการณ์ คือ การแก้ไขข้อผิดพลาด และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ กําหนดหรืออนุญาตให้องค์ประกอบของกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นที่เข้าเกณฑ์ตามคํานิยามของรายได้หรือค่าใช้จ่ายใน กรอบแนวคิดสําหรับการรายงาน ทางการเงิน แยกออกจากกําไรหรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 7) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับรอบระยะเวลา 90 กิจการต้องเปิดเผยจํานวนของภาษีเงินได้ที่เกี่ยวกับแต่ละองค์ประกอบของกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น รวมถึงการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในงบกําไรขาดทุน และกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 91 กิจการอาจแสดงรายการกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 91.1 แสดงยอดสุทธิจากผลกระทบทางภาษีที่เกี่ยวข้อง หรือ 91.2 แสดงยอดก่อนหักผลกระทบทางภาษีที่เกี่ยวข้อง พร้อมแสดงยอดที่เป็นยอดรวม ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับรายการนั้น ถ้ากิจการเลือกที่จะปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 91.2 กิจการต้องปันส่วนภาษีระหว่างรายการที่อาจถูก จัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกําไรหรือขาดทุนในภายหลัง และรายการที่จะไม่ถูก จัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกําไรหรือขาดทุนในภายหลัง 92 กิจการต้องเปิดเผยการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 93 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ ระบุว่าเมื่อใดจํานวนที่เคยรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น จะจัดประเภทใหม่เข้าไปไว้ในกําไรหรือขาดทุน และการจัดประเภทดังกล่าวจะทําได้หรือไม่
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 34 การจัดประเภทดังกล่าวได้ถูกอ้างอิงไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ว่าเป็นการปรับปรุง การจัดประเภทรายการใหม่ โดยการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ รวมถึงองค์ประกอบ ของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในรอบระยะเวลาที่เกี่ยวข้องซึ่งมีการจัดประเภทใหม่เข้าไปในกําไร หรือขาดทุน ซึ่งจํานวนดังกล่าวอาจถูกรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น เป็นกําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นใน รอบระยะเวลาปัจจุบันหรือรอบระยะเวลาก่อน โดยกําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้นต้องหักออกจากกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในรอบระยะเวลาที่กําไรที่เกิดขึ้นจริงถูกจัดประเภทใหม่เข้าไปในกําไรหรือ ขาดทุน เพื่อหลีกเลี่ยงการรวมรายการดังกล่าวซํ้าในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม 94 กิจการอาจแสดงการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น หรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในการแสดงการปรับปรุงการจัดประเภท รายการใหม่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน กิจการต้องแสดงรายการของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หลังจากการปรับปรุงการจัดประเภทใหม่ที่เกี่ยวข้อง 95 ตัวอย่างการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ เช่น การปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ ที่เกิดขึ้นจากการขายหน่วยงานต่างประเทศ ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21) และเมื่อการ ป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดที่คาดการณ์ไว้บางรายการส่งผลกระทบต่อกําไรหรือขาดทุน ( ดูย่อหน้าที่ 6.5.11.4 ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับการ ป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ) 96 การปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนเกินทุนจาก การตีราคาสินทรัพย์ที่รับรู้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 หรือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 หรือการวัดมูลค่าใหม่ของโครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ของพนักงานที่รับรู้ตามมาตรฐานการ บัญชี ฉบับที่ 19 องค์ประกอบเหล่านี้จะรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและไม่จัดประเภทใหม่ ในกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาต่อมา การเปลี่ยนแปลงในส่วนเกินทุนจากการตีราคา สินทรัพย์อาจโอนเข้ากําไรสะสมในรอบระยะเวลาต่อมา เมื่อกิจการใช้สินทรัพย์หรือตัดสินทรัพย์ ออกจากบัญชี ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38) ตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 การปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่จะไม่เกิดขึ้น หากการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดหรือการบัญชีสําหรับมูลค่าตามเวลาของสิทธิเลือก ( หรือองค์ประกอบราคาล่วงหน้าของสัญญาฟอร์เวิร์ด หรือส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงิน ) ส่งผลต่อจํานวนที่เคยได้รับการตัดออกจากเงินสํารอง การป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสดหรือจากองค์ประกอบที่แสดงแยกต่างหากในส่วนของ เจ้าของ ตามลําดับ แล้วนําไปรวมกับส่วนที่เป็นราคาทุนเริ่มแรกหรือมูลค่าตามบัญชีอื่นของ สินทรัพย์หรือหนี้สินนั้น จํานวนดังกล่าวจะโอนไปยังสินทรัพย์หรือหนี้สินโดยตรง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 35 ข้อมูลที่ต้องนําเสนอในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรือในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน 97 สําหรับรายการรายได้และค่าใช้จ่ายที่มีสาระสําคัญ กิจการต้องเปิดเผยธรรมชาติและ จํานวนแยกสําหรับแต่ละรายการ 98 สถานการณ์ที่ทําให้กิจการมีการเปิดเผยรายการรายได้และค่าใช้จ่ายแยกแต่ละรายการ รวมถึง 98.1 การลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หรือการลดมูลค่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ให้เป็นมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน รวมทั้งการกลับรายการลดมูลค่า ดังกล่าว 98.2 การปรับโครงสร้างกิจกรรมของกิจการ รวมทั้งการกลับรายการประมาณการหนี้สินที่ได้ ตั้งไว้สําหรับต้นทุนในการปรับโครงสร้างดังกล่าว 98.3 การจําหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 98.4 การจําหน่ายเงินลงทุน 98.5 การดําเนินงานที่ยกเลิก 98.6 การยุติของคดีทางกฎหมาย และ 98.7 การกลับรายการประมาณการหนี้สิน 99 กิจการต้องนําเสนอการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนโดยใช้การจัดประเภท ตามธรรมชาติหรือตามหน้าที่ของค่าใช้จ่ายภายในกิจการที่ให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และ มีความเกี่ยวข้องมากกว่า 100 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุนให้กิจการนําเสนอการวิเคราะห์ตามย่อหน้าที่ 99 ในงบกําไร ขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 101 กิจการจัดประเภทย่อยค่าใช้จ่ายเพื่อเน้นให้เห็นถึงองค์ประกอบต่างๆ ของผลการดําเนินงาน การเงินซึ่งอาจแตกต่างกันในด้านความถี่ของการเกิดรายการ โอกาสและการคาดคะเน ผลกําไรหรือขาดทุน รายละเอียดดังกล่าวกิจการเลือกนําเสนอการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ หรือตามหน้าที่ก็ได้ 102 รูปแบบแรกของการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายคือ วิธีธรรมชาติค่าใช้จ่าย กิจการรวมค่าใช้จ่ายตาม ธรรมชาติของค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุน ( เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ผลประโยชน์ของพนักงาน และค่าโฆษณา ) โดยไม่มีการปันส่วนระหว่างหน่วยงานภายในกิจการ การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามวิธีนี้อาจง่ายต่อการปฏิบัติ เนื่องจากไม่จําเป็นต้องปันส่วนค่าใช้จ่าย ตามหน้าที่ของค่าใช้จ่ายนั้น ตัวอย่างการจัดประเภทค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติของค่าใช้จ่ายเป็น ดังนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 36 รายได้ X รายได้อื่น X การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสําเร็จรูปและงานระหว่างทํา X วัตถุดิบและวัตถุสิ้นเปลืองที่ใช้ไป X ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน X ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย X ค่าใช้จ่ายอื่น X รวมค่าใช้จ่าย (X) กําไรก่อนภาษี X 103 รูปแบบที่สองของการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายคือ วิธีหน้าที่ค่าใช้จ่าย หรือ วิธีต้นทุนขาย และ จัดประเภทค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ของค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย เช่น ต้นทุนของ กิจกรรมการกระจายสินค้าหรือกิจกรรมการบริหาร ตามวิธีนี้กิจการต้องเปิดเผยต้นทุนขาย แยกจากค่าใช้จ่ายอื่นเป็นอย่างน้อย การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามวิธีนี้ให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้อง แก่ผู้ใช้งบการเงินมากกว่าการจัดประเภทค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ แต่การปันส่วนต้นทุนแก่หน่วยงาน ต่างๆ อาจต้องอาศัยการปันส่วนที่ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนและใช้วิจารณญาณอย่างมาก ตัวอย่าง การจัดประเภทค่าใช้จ่ายตามหน้าที่เป็นดังนี้ รายได้ X ต้นทุนขาย (X) กําไรขั้นต้น X รายได้อื่น X ต้นทุนในการจัดจําหน่าย (X) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (X) ค่าใช้จ่ายอื่น (X) กําไรก่อนภาษี X 104 กิจการที่แสดงค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธรรมชาติของ ค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมถึงค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย และค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของ พนักงาน 105 การเลือกระหว่างวิธีหน้าที่ค่าใช้จ่ายและวิธีธรรมชาติค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยในอดีตและปัจจัย ของ อุตสาหกรรมรวมทั้งธรรมชาติของกิจการ ทั้งสองวิธีชี้ให้เห็นว่าต้นทุนเหล่านั้นอาจผันแปรกับ ปริมาณการขายหรือการผลิตโดยตรงหรือโดยอ้อมของกิจการ เนื่องจากการนําเสนอแต่ละวิธี มี ข้อดีสําหรับประเภทของกิจการที่แตกต่างกัน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงกําหนดให้ฝ่ายบริหาร
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 37 เลือกการนําเสนอที่น่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องมากกว่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับ ธรรมชาติค่าใช้จ่าย มีประโยชน์ต่อการคาดคะเนกระแสเงินสดในอนาคต หากกิจการจัดประเภท ค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามลักษณะตามย่อ หน้าที่ 104 คําว่า “ ผลประโยชน์ของพนักงาน ” มีความหมายเดียวกับคํานิยามที่ใช้ในมาตรฐานการ บัญชี ฉบับที่ 19 งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ ข้อมูลที่ต้องนําเสนอในงบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ 106 กิจการต้องนําเสนองบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของตามที่กําหนดไว้ในย่อหน้าที่ 10 ซึ่งประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ 106.1 กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับรอบระยะเวลา ซึ่งแสดงจํานวนรวมที่จัดสรรให้แก่ ส่วนของผู้เป็นเจ้าของซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมแยก ออกจากกัน 106.2 สําหรับแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ ผลกระทบของการนํานโยบาย การบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังหรือการปรับงบการเงินย้อนหลังตามข้อกําหนด ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 และ 106.3 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 106.4 สําหรับองค์ประกอบแต่ละรายการของส่วนของเจ้าของ การกระทบยอดระหว่าง ยอดยกมา ณ วันเริ่มต้นและวันสิ้นรอบระยะเวลา ให้เปิดเผยแยกต่างหากสําหรับ การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลจาก ( เป็นอย่างน้อย ) 106.4.1 กําไรหรือขาดทุน 106.4.2 กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และ 106.4.3 รายการกับผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและ การเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อย ที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม ข้อมูลที่ต้องนําเสนอในงบการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของหรือในหมายเหตุประกอบงบ การเงิน 106 ก สําหรับแต่ละรายการของส่วนของเจ้าของ กิจการต้องแสดงการวิเคราะห์กําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่นในแต่ละรายการไม่ว่าจะเป็นรายการในงบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของหรือใน หมายเหตุประกอบงบการเงิน ( ดูย่อหน้าที่ 106.4.2)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 38 107 กิจการต้องแสดงจํานวนเงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของในระหว่างรอบระยะเวลาในงบ การเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ หรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน พร้อมทั้งแสดง จํานวนเงินปันผลต่อหุ้นที่เกี่ยวข้อง 108 ในย่อหน้าที่ 106 องค์ประกอบของส่วนของเจ้าของรวมถึงแต่ละประเภทของการจัดสรร ส่วนของเจ้าของ ยอดสะสมของแต่ละประเภทของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและกําไรสะสม 109 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของของกิจการระหว่างวันเริ่มต้นของกับวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน สะท้อนให้เห็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์สุทธิของกิจการในระหว่างรอบระยะเวลา และ ต้นทุนของรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายการดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงโดยรวมในส่วนของ เจ้าของในระหว่างรอบระยะเวลาที่เป็นตัวแทนของจํานวนรวมของรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงผลกําไรและขาดทุนที่เกิดจากกิจกรรมของกิจการในระหว่างรอบระยะเวลา ทั้งนี้ ไม่ รวมถึงรายการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากรายการกับผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นเจ้าของ ( เช่น การลงทุนเพิ่ม การซื้อคืนหุ้นทุนของกิจการ และการจ่ายปันผล ) 110 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กําหนดให้การปรับย้อนหลังเป็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชี ด้วยวิธีปรับย้อนหลังหากทําได้ในทางปฏิบัติ ยกเว้นในการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยน ผ่านในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นกําหนดให้ใช้วิธีอื่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ยังได้กําหนดให้การแก้ไขงบการเงินเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด ทําการปรับย้อนหลัง หากทําได้ในทาง ปฏิบัติ โดยการปรับย้อนหลังและการปรับงบการเงินย้อนหลังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในส่วน ของเจ้าของ แต่เป็นการปรับปรุงกําไรสะสมยกมา ยกเว้นว่ามาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นๆ จะกําหนดให้เป็นการปรับย้อนหลังขององค์ประกอบอื่นในส่วนของเจ้าของ ย่อหน้าที่ 106.2 กําหนดให้กิจการเปิดเผยการปรับปรุงรวมของแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของซึ่งเป็นผลจาก การเปลี่ยนแปลงในนโยบายการบัญชี แยกออกจากการแก้ไขข้อผิดพลาดในงบการเปลี่ยนแปลงส่วน ของเจ้าของ โดยกิจการต้องเปิดเผยยอดปรับปรุงข้างต้นสําหรับแต่ละรอบระยะเวลาของรอบ ระยะเวลาก่อนและวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลา งบกระแสเงินสด 111 ข้อมูลกระแสเงินสดช่วยให้เกณฑ์ในการประเมินความสามารถของกิจการในการก่อให้เกิด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด และความต้องการใช้กระแสเงินสดของกิจการแก่ผู้ใช้ งบการเงิน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 กําหนดข้อบังคับในการนําเสนอและการเปิดเผยข้อมูล กระแสเงินสด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 39 หมายเหตุประกอบงบการเงิน โครงสร้าง 112 หมายเหตุประกอบงบการเงินต้อง 112.1 แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทํางบการเงินและนโยบายการบัญชีเฉพาะ ที่กิจการใช้ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 117 ถึง 124 112.2 เปิดเผยข้อมูลที่กําหนดโดยมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ไม่ได้นําเสนอไว้ ที่ใดในงบการเงิน และ 112.3 ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมที่ไม่ได้นําเสนอไว้ที่ใดในงบการเงิน แต่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ต่อการทําความเข้าใจงบการเงินเหล่านั้น 113 กิจการต้องแสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินในลักษณะที่เป็นระบบให้มากที่สุดเท่าที่จะ ทําได้ในทางปฏิบัติ โดยในการกําหนดลักษณะที่เป็นระบบนั้น กิจการต้องพิจารณาถึง ผลกระทบต่อความเข้าใจได้และการเปรียบเทียบกันได้ของงบการเงิน โดยแต่ละรายการ ที่ปรากฏในงบฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบการเปลี่ยนแปลง ส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสด กิจการต้องมีการอ้างอิงถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 114 ตัวอย่างของการเรียงลําดับอย่างเป็นระบบหรือการจัดกลุ่มของหมายเหตุประกอบงบการเงิน รวมถึง 114.1 การให้ความสําคัญกับขอบเขตของกิจกรรมที่กิจการพิจารณาว่าเกี่ยวข้องกับความเข้าใจได้ ของผลการดําเนินงานการเงินและฐานะการเงินของกิจการมากที่สุด เช่น การจัดกลุ่ม ข้อมูลกิจกรรมดําเนินงานบางกิจกรรมเข้าด้วยกัน 114.2 การจัดกลุ่มข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่วัดมูลค่าคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน เช่น สินทรัพย์ ที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรม หรือ 114.3 การจัดลําดับตามลําดับการแสดงรายการในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และงบฐานะการเงิน เช่น 114.3.1 ข้อความที่ระบุว่างบการเงินได้จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ( ดูย่อหน้าที่ 16) 114.3.2 ข้อมูลนโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญ ( ดูย่อหน้าที่ 117) 114.3.3 ข้อมูลประกอบสําหรับรายการที่แสดงในงบฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุน และกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และ งบกระแสเงินสด โดยจัดเรียงลําดับตามงบการเงินและตามลําดับของ แต่ละรายการที่นําเสนอในงบการเงินนั้น และ 114.3.4 การเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ซึ่งรวมถึง 114.3.4.1 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ( ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37) และ ข้อผูกมัดตามสัญญาซึ่งยังไม่ได้รับรู้ และ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 40 114.3.4.2 การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น วัตถุประสงค์ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ ( ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7) 115 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 116 กิจการอาจแสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทํางบการเงิน และนโยบายการบัญชีเฉพาะที่กิจการเลือกใช้ แยกไว้เป็นอีกส่วนหนึ่งของงบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชี 117 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญ ( ดูย่อหน้าที่ 7) ข้อมูลนโยบาย การบัญชีจะมีสาระสําคัญหากเมื่อพิจารณาร่วมกันกับข้อมูลอื่นๆ ที่รวมอยู่ในงบการเงินของ กิจการ ข้อมูลนั้นสามารถคาดได้อย่างสมเหตุสมผลว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบนข้อมูล ของงบการเงินของผู้ใช้หลักของงบการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป 117 ก ข้อมูลนโยบายการบัญชีที่เกี่ยวกับรายการ เหตุการณ์อื่นหรือสถานการณ์ที่ไม่มีสาระสําคัญ ถือว่า ไม่มีสาระสําคัญและไม่จําเป็นต้องเปิดเผย อย่างไรก็ดีข้อมูลนโยบายการบัญชีอาจมีสาระสําคัญ ด้วยเหตุจากธรรมชาติของรายการที่เกี่ยวข้องกัน เหตุการณ์อื่นหรือสถานการณ์อื่นแม้ว่าจํานวนเงิน จะไม่เป็นสาระสําคัญ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าข้อมูลนโยบายการบัญชีทั้งหมดที่เกี่ยวกับรายการ เหตุการณ์อื่นหรือสถานการณ์อื่นที่มีสาระสําคัญจะถือว่ามีสาระสําคัญด้วยตนเอง 117 ข ข้อมูลนโยบายการบัญชีคาดว่าจะมีสาระสําคัญ หากผู้ใช้งบการเงินของกิจการต้องการข้อมูล ดังกล่าวเพื่อเข้าใจข้อมูลที่มีสาระสําคัญอื่นในงบการเงิน เช่น กิจการมีแนวโน้มที่จะถือว่าข้อมูล นโยบายการบัญชีมีสาระสําคัญต่องบการเงิน หากข้อมูลนั้นเกี่ยวกับรายการ เหตุการณ์อื่นหรือ สถานการณ์ที่มีสาระสําคัญ และ 117 ข .1 กิจการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีในระหว่างรอบระยะเวลารายงาน และ การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีสาระสําคัญต่อข้อมูลในงบการเงิน 117 ข .2 กิจการเลือกใช้นโยบายการบัญชีจากทางเลือกหนึ่งหรือหลายทางเลือกที่มาตรฐาน การรายงานการเงินอนุญาต กล่าวคือ สถานการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ หากกิจการ เลือกวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยต้นทุนเดิมแทนมูลค่ายุติธรรม 117 ข .3 นโยบายการบัญชีที่พัฒนาขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐาน การรายงานทางการเงินให้ถือปฏิบัติเป็นการเฉพาะ 117 ข .4 นโยบายการบัญชีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กิจการถูกกําหนดให้ใช้วิจารณญาณหรือข้อสมมติที่มี นัยสําคัญในการนํานโยบายการบัญชีมาปฏิบัติ และกิจการเปิดเผยวิจารณญาณหรือ ข้อสมมติเหล่านั้นตามที่กําหนดในย่อหน้าที่ 122 และ 125 หรือ 117 ข .5 ข้อกําหนดทางการบัญชีมีความซับซ้อนและมิเช่นนั้นผู้ใช้งบการเงินของกิจการ จะไม่เข้าใจรายการ เหตุการณ์อื่นหรือสถานการณ์ที่มีสาระสําคัญ กล่าวคือ สถานการณ์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 41 ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นหากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มากกว่าหนึ่งฉบับกับรายการที่มีสาระสําคัญหนึ่งประเภท 117 ค ข้อมูลนโยบายการบัญชีที่เน้นวิธีการที่กิจการได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินต่อสภาพแวดล้อมของกิจการเองนั้น เป็นการให้ข้อมูลเฉพาะกิจการที่มีประโยชน์ต่อ ผู้ใช้งบการเงินมากกว่าข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน หรือข้อมูลที่เป็นเพียงการนําข้อกําหนดของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินมาเปิดเผยซํ้าหรือโดยสรุป 117 ง หากกิจการเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชีที่ไม่มีสาระสําคัญ ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่บดบังข้อมูล นโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญ 117 จ ข้อสรุปของกิจการที่ว่าข้อมูลนโยบายการบัญชีไม่มีสาระสําคัญ ไม่ส่งผลกระทบต่อข้อกําหนด การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่น 118-121 ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 122 นอกเหนือจากการเปิดเผยประมาณการที่เกี่ยวข้องแล้ว ( ดูย่อหน้าที่ 125) กิจการต้อง เปิดเผยการใช้วิจารณญาณของฝ่ายบริหารในกระบวนการนํานโยบายการบัญชีของกิจการ ไปถือปฏิบัติและมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อจํานวนเงินที่รับรู้ในงบการเงิน พร้อมไปกับ ข้อมูลนโยบายการบัญชีที่มีสาระสําคัญหรือหมายเหตุประกอบงบการเงินอื่น 123 ในกระบวนการในการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชีของกิจการ ฝ่ายบริหารของกิจการต้องใช้ วิจารณญาณหลายอย่างที่แตกต่างจากประมาณการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถมีผลกระทบอย่างมี นัยสําคัญต่อจํานวนเงินที่รับรู้ในงบการเงิน ( นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับประมาณการ ทางบัญชี ) ตัวอย่างของการใช้วิจารณญาณของฝ่ายบริหาร ได้แก่ 123.1 ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 123.2 ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสําคัญเกือบทั้งหมดของความเป็นเจ้าของ ของสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าด้านผู้ให้เช่าโอนไปให้แก่ กิจการอื่นเมื่อใด 123.3 โดยเนื้อหาของรายการแล้ว การขายสินค้าบางรายการถือเป็นข้อตกลงทางการเงิน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการขายหรือไม่ และ 123.4 ข้อกําหนดตามสัญญาซึ่งทําให้เกิดกระแสเงินสดซึ่งเป็นการจ่ายเพียงเงินต้นและ ดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือของเงินต้นในวันที่กําหนดไว้หรือไม่ 1 24 การเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้าที่ 122 เป็นข้อกําหนดตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่น ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลส่วนได้เสีย ในกิจการอื่น กําหนดให้กิจการเปิดเผยวิจารณญาณที่ใช้ในการพิจารณาว่ากิจการมีอํานาจควบคุม กิจการอื่นหรือไม่ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน กําหนดว่าใน กรณีที่การจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์จัดทําได้ยาก กิจการต้องเปิดเผยเกณฑ์ที่กิจการพัฒนาขึ้นเอง เพื่อใช้ในการแยกประเภทอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่มีไว้ใช้งานออกจากสินทรัพย์ที่ถือไว้ เพื่อขายตามปกติธุรกิจ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 42 แหล่งข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการประมาณการ 125 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อสมมติที่ใช้เกี่ยวกับอนาคตและแหล่งที่มาที่สําคัญอื่น ของความไม่แน่นอนในการประมาณการที่มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ซึ่งมีความเสี่ยง อย่างมีนัยสําคัญที่จะส่งผลให้มีการปรับปรุงที่มีสาระสําคัญในมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ และหนี้สินภายในปีบัญชีถัดไป ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินซึ่งรวมถึงรายละเอียดทุกข้อ ดังนี้ 125.1 ธรรมชาติของสินทรัพย์และหนี้สิน และ 125.2 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 126 ในการกําหนดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินบางประเภท กิจการต้องใช้การประมาณการ ผลกระทบของเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคตที่จะมีต่อสินทรัพย์และหนี้สินเหล่านั้น ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ตัวอย่างเช่น กรณีที่ไม่มีราคาตลาดที่อ้างอิงได้เพื่อใช้ใน การวัดมูลค่า ประมาณการที่เกี่ยวข้องกับอนาคตเป็นสิ่งจําเป็นในการวัดมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละประเภท ผลกระทบจากความล้าสมัยของเทคโนโลยีที่มีต่อ สินค้าคงเหลือ ประมาณการหนี้สินซึ่งผลของคดีความในอนาคตเป็นผลจากคดีความที่ยังไม่ยุติ ในปัจจุบัน และหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานระยะยาว เช่น หนี้สินเงินบํานาญ การประมาณ เหล่านี้อาศัยข้อสมมติต่างๆ เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าความเสี่ยงของกระแสเงินสดหรืออัตราคิดลด การเปลี่ยนแปลงของเงินเดือนในอนาคต และการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาในอนาคต ซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นทุนอื่น 127 ข้อสมมติและที่มาของความไม่แน่นอนในการประมาณการอื่นที่เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 125 เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการซึ่งต้องใช้วิจารณญาณของฝ่ายบริหารที่ได้มาอย่าง ยากลําบากที่สุด ใช้ความเห็นส่วนตนมากที่สุด หรือมีความซับซ้อนที่สุด ยิ่งจํานวนของตัวแปร และข้อสมมติที่มีผลกระทบต่อการแก้ไขในอนาคตที่เป็นไปได้ของความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น เท่าใด การใช้วิจารณญาณของผู้บริหารจะยิ่งต้องใช้จิตสํานึกมากขึ้นและซับซ้อนขึ้นเท่านั้น ซึ่งมักทํา ให้โอกาสที่จะเกิดการปรับปรุงอย่างมีสาระสําคัญตามมาต่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และ หนี้สินมีมากยิ่งขึ้นด้วย 128 ข้อมูลที่เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 125 ไม่ได้กําหนดไว้สําหรับสินทรัพย์และหนี้สินที่มีความเสี่ยง ที่มีนัยสําคัญ ที่มูลค่าตามบัญชีอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสาระสําคัญในปีบัญชีถัดไป หาก ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน สินทรัพย์และหนี้สินนั้นถูกวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม โดยพิจารณาจากราคาเสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องสําหรับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่ระบุได้ มูลค่ายุติธรรมดังกล่าวอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสําคัญในปีบัญชีถัดไป แต่การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นจากข้อสมมติหรือที่มาของความไม่แน่นอนในการประมาณการ ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลารายงาน 129 ข้อมูลที่เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 125 นําเสนอในลักษณะที่จะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินมีความเข้าใจถึง การใช้วิจารณญาณของผู้บริหารเกี่ยวกับอนาคตและที่มาของความไม่แน่นอนของประมาณการที่ใช้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 43 ธรรมชาติและระดับของข้อมูลที่ให้จะแตกต่างกันตามธรรมชาติของข้อสมมติและสถานการณ์ อื่นๆ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างประเภทของการเปิดเผยที่กิจการจัดทํา 129.1 ธรรมชาติของข้อสมมติหรือความไม่แน่นอนของการประมาณการอื่น 129.2 ความอ่อนไหวของมูลค่าตามบัญชีต่อวิธีการ ข้อสมมติ และประมาณการที่ใช้ใน การคํานวณ รวมทั้งเหตุผลของความอ่อนไหวนั้น 129.3 การคลี่คลายที่คาดไว้ของความไม่แน่นอนและช่วงของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อย่างมี เหตุผลเกี่ยวกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินที่ได้รับผลกระทบในรอบ ระยะเวลาบัญชีถัดไป และ 129.4 คําอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงข้อสมมติที่ใช้ในอดีตเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สิน ดังกล่าวหากความไม่แน่นอนนั้นยังคงอยู่ 130 ในการเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้าที่ 125 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ได้กําหนดให้กิจการ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณหรือการพยากรณ์ต่างๆ 131 ในกรณีที่ไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติที่จะเปิดเผยระดับของผลกระทบที่เป็นไปได้ของ ข้อสมมติและที่มาของความไม่แน่นอนในการประมาณการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องเปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผลโดยใช้ความรู้เท่าที่มีอยู่ว่าผลลัพธ์ที่จะ เกิดขึ้นจริงในปีบัญชีหน้ามีความแตกต่างจากข้อสมมติที่ใช้ ซึ่งสามารถกําหนดการปรับปรุงอย่าง มีสาระสําคัญต่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่ถูกกระทบ และไม่ว่าในกรณีใด กิจการ ต้องเปิดเผยธรรมชาติและมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สินเฉพาะ ( หรือประเภทของ สินทรัพย์หรือหนี้สิน ) ที่กระทบโดยข้อสมมติที่กิจการใช้ 132 ข้อมูลที่เปิดเผยตามย่อหน้าที่ 122 เกี่ยวกับการใช้วิจารณญาณซึ่งฝ่ายบริหารจัดทําขึ้นตาม กระบวนการในการนํานโยบายการบัญชีของกิจการไปถือปฏิบัติไม่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล ของที่มาของประมาณการความไม่แน่นอนตามย่อหน้าที่ 125 133 มาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นๆ กําหนดให้เปิดเผยข้อสมมติบางประการที่ได้กําหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ 125 ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 กําหนดให้เปิดเผยข้อสมมติที่สําคัญ เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตที่อาจกระทบต่อประเภทของประมาณการหนี้สินภายใต้สถานการณ์ เฉพาะ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม กําหนดให้มีการ เปิดเผยข้อสมมติที่สําคัญ ( รวมทั้งเทคนิคการประเมินมูลค่าและข้อมูลที่นํามาใช้ ) ที่กิจการใช้ใน การวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม ส่วนทุน 134 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินวัตถุประสงค์ นโยบาย และกระบวนการจัดการส่วนทุนของกิจการ 135 เ พื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในย่อหน้าที่ 134 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 135.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ นโยบาย และกระบวนการจัดการส่วนทุนของ กิจการ ซึ่งรวมถึงรายการต่อไปนี้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 44 135.1.1 คําอธิบายสิ่งที่กิจการจัดการเป็นส่วนทุน 135.1.2 เมื่อกิจการปฏิบัติตามข้อกําหนดจากภายนอกกิจการในเรื่องเกี่ยวกับส่วนทุน กิจการต้องเปิดเผยธรรมชาติของข้อกําหนดนั้น และข้อกําหนดนั้นได้ รวมเข้าเป็นการจัดการส่วนทุนอย่างไร และ 135.1.3 กิจการได้บรรลุวัตถุประสงค์สําหรับการจัดการส่วนทุนอย่างไร 135.2 ข้อมูลสรุปเชิงปริมาณเกี่ยวกับสิ่งที่กิจการจัดการเป็นส่วนทุน กิจการบางแห่งถือว่า หนี้สินทางการเงินบางอย่าง ( เช่น หุ้นกู้ด้อยสิทธิบางประเภท ) เป็นส่วนหนึ่งของทุน กิจการบางแห่งถือว่าส่วนของทุนไม่รวมองค์ประกอบบางอย่างของส่วนของเจ้าของ ( เช่น องค์ประกอบที่เกิดจากการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ) 135.3 การเปลี่ยนแปลงจากรอบระยะเวลาก่อนของรายการตามย่อหน้าที่ 135.1 และ 135.2 135.4 ข้อเท็จจริงว่ากิจการได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในการรักษาระดับเงินทุนจากภายนอก กิจการหรือไม่ในระหว่างรอบระยะเวลา 135.5 เมื่อกิจการมิได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในการรักษาระดับเงินทุนจากภายนอกกิจการ กิจการต้องเปิดเผยผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดนั้น ข้อมูลที่เปิดเผยเหล่านี้เป็นข้อมูลที่รายงานให้ผู้บริหารสําคัญทราบเป็นการภายใน 136 กิจการอาจจัดการส่วนทุนได้หลายแนวทางและการจัดการนั้นขึ้นอยู่กับข้อกําหนดเกี่ยวกับ ส่วนทุนที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น กิจการในกลุ่มเดียวกันอาจรวมกิจการที่ดําเนินกิจกรรม การประกอบธุรกิจประกันภัยและกิจกรรมการประกอบธุรกิจธนาคาร และกิจการที่อาจ มีการดําเนินธุรกิจอยู่ในเขตการปกครองหลายเขต เมื่อการเปิดเผยโดยรวมถึงข้อกําหนด เกี่ยวกับส่วนทุนและการจัดการส่วนทุนในลักษณะรวมไม่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หรือ เป็นการบิดเบือนความเข้าใจของผู้ใช้งบการเงินเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนของกิจการ กิจการต้อง เปิดเผยข้อกําหนดเกี่ยวกับส่วนทุนแยกต่างหากสําหรับแต่ละข้อกําหนดเกี่ยวกับส่วนทุนที่กิจการ ถือปฏิบัติ เ ครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิขายคืนที่จัดประเภทเป็นส่วนของเจ้าของ 136 ก สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิขายคืนที่จัดประเภทเป็นตราสารทุน กิจการต้อง เปิดเผย ( ถ้าไม่ได้เปิดเผยไว้ที่อื่นใด ) ดังนี้ 136 ก .1 สรุปข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับจํานวนที่ถูกจัดประเภทเป็นส่วนของเจ้าของ 136 ก .2 วัตถุประสงค์ นโยบายและกระบวนการสําหรับการจัดการภาระผูกพันในการซื้อคืน หรือไถ่ถอนเครื่องมือทางการเงินเมื่อถูกกําหนดให้ทําโดยผู้ถือเครื่องมือ รวมถึง การเปลี่ยนแปลงจากรอบระยะเวลาก่อนหน้านี้ด้วย 136 ก .3 กระแสเงินสดที่มีการคาดการณ์ว่าจะออกไปเพื่อการไถ่ถอนหรือซื้อคืนเครื่องมือ ทางการเงินประเภทนั้นๆ และ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 45 136 ก .4 ข้อมูลที่เกี่ยวกับกระแสเงินสดที่มีการคาดการณ์ว่าจะออกไปเพื่อการไถ่ถอนหรือ ซื้อคืนเครื่องมือทางการเงินกําหนดไว้อย่างไร การเปิดเผยเรื่องอื่น 137 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 137.1 จํานวนเงินปันผลที่กิจการเสนอหรือประกาศจ่ายก่อนวันอนุมัติให้ออกงบการเงิน ซึ่งในระหว่างรอบระยะเวลานี้กิจการยังไม่ได้รับรู้เป็นรายการจัดสรรส่วนทุนให้แก่ ผู้ถือหุ้นทุน พร้อมทั้งจํานวนเงินปันผลต่อหุ้น และ 137.2 จํานวนเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมซึ่งไม่ได้รับรู้ในงบการเงิน 138 กิจการต้องเปิดเผยเรื่องต่อไปนี้หากยังมิได้เปิดเผยไว้ที่ใดในข้อมูลเผยแพร่พร้อมกับ งบการเงิน 138.1 ภูมิลําเนาและรูปแบบตามกฎหมายของกิจการ ประเทศที่ได้จดทะเบียนจัดตั้ง กิจการ และที่อยู่ตามที่จดทะเบียน ( หรือสถานที่หลักในการประกอบธุรกิจ หากแตกต่างไปจากที่อยู่จดทะเบียน ) 138.2 คําอธิบายธรรมชาติการดําเนินงานและกิจกรรมหลักของกิจการ 138.3 ชื่อของบริษัทใหญ่ และชื่อของบริษัทใหญ่ในลําดับสูงสุดของกลุ่มกิจการ และ 138.4 กิจการที่มีอายุจํากัด ต้องแจ้งให้ทราบถึงระยะเวลาของกิจการ การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านและวันถือปฏิบัติ 139 กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการ ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย 139 ก ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ข ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ค ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ง ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 จ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 139 ฉ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ช ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 139 ซ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ฌ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ญ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง )
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 46 139 ฎ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ฏ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ฐ ( ย่อหน้านี้ไม่ใช้ ) 139 ฑ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2557 ทําให้มีการ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 34 กิจการต้อง ถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 15 139 ฒ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2557 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2561 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7 68 71 82 93 95 96 106 และ 123 และตัดย่อหน้าที่ 139 จ 139 ช และ 139 ฐ กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 139 ณ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 ด มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐาน การบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือนมกราคมปี 2559 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ในปี 2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 123 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 139 ต มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2560 และ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 17 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือน มิถุนายนปี 2563 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไข เพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7 54 และ 82 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อกิจการ ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 139 ถ การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงกรอบแนวคิดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ออกโดย คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อปี 2561 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7 15 19 ถึง 20 23 ถึง 24 28 และ 89 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวัน บังคับใช้ เมื่อกิจการถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมที่เกิดจาก การแก้ไขเพิ่มเติมการอ้างอิงกรอบ แนวคิดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน กิจการต้องถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 โดยการปรับย้อนหลังตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด อย่างไรก็ตาม หากกิจการพิจารณาว่าการนํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังนั้นไม่ สามารถทําได้ในทางปฏิบัติหรือก่อให้เกิดการใช้ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป กิจการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 47 ต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 โดยอ้างอิงตามย่อหน้าที่ 23 ถึง 28 50 ถึง 53 และ 54 ฉ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 139 ท คํานิยามของความมีสาระสําคัญ ( ที่แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 8 ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเมื่อเดือน ตุลาคมปี 2561 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2563 โดยแก้ไข เพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และย่อหน้าที่ 5 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 และตัดย่อหน้าที่ 6 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการ แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตามการ แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง ดังกล่าวด้วย 139 ธ ( ย่อหน้าเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) 139 น การเปิดเผยข้อมูลนโยบายการบัญชี ที่ออกโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 ทําให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ในปี 2566 โดยแก้ไขเพิ่มเติมย่อหน้าที่ 7 10 114 117 และ 122 เพิ่มย่อหน้าที่ 117 ก ถึง 117 จ และ ตัดย่อหน้าที่ 118 119 และ 121 กิจการต้องถือปฏิบัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมของมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 1 สําหรับรอบระยะเวลารายงานประจําปีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้กิจการถือปฏิบัติได้ก่อนวันบังคับใช้ หากกิจการถือปฏิบัติตาม การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาก่อนวันบังคับใช้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง ดังกล่าวด้วย 139 บ ( ย่อหน้านี้ไม่เกี่ยวข้อง ) การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 140 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ( ปรับปรุง 2561) เรื่อง การ นําเสนองบ การเงิน