Thu Aug 03 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2566


ระเบียบคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2566

ระเบียบคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติพลังงาน นิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติว่าด้วยการอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2560 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งคณะกรรมการ พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติแต่งตั้ งตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 หมวด 1 การยื่นอุทธรณ์ ข้อ 5 ผู้อุทธรณ์จะต้องเป็นผู้มีสิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติพลังงาน นิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 โดยต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับคำสั่งของเลขาธิการหรือคำสั่งของอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วแต่กรณี ข้อ 6 การอุทธรณ์ต้องทำคำอุทธรณ์เป็นหนังสือ และอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นอุทธรณ์ (2) ชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ที่สามารถติดต่อได้ (3) คาสั่งอันเป็นเหตุให้อุทธรณ์ พร้อมทั้งข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้งหรือข้อกฎหมายและเหตุผล ที่ยกขึ้นอ้างอิงในคาอุทธรณ์โดยชัดแจ้ง (4) ความประสงค์หรือคาขอของผู้อุทธรณ์ (5) ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ ประสงค์จะยื่นเอกสารหรือหลักฐานประกอบการพิจารณาอุทธรณ์ ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นพร้อมคำอุทธรณ์ ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 184 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 สิงหาคม 2566

ข้อ 7 ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามข้อ 5 ผู้อุทธรณ์อาจขอแก้ไขเพิ่มเติม คาอุทธรณ์ได้ โดยทาเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ พร้อมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผล ของการแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 8 ในการยื่นคำอุทธรณ์หรือคำอุทธรณ์แก้ไขเพิ่มเติมให้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีอุทธรณ์คาสั่งของเลขาธิการให้ยื่น ณ สานักงาน หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ตอบรับ หรือยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามช่องทางที่สำนักงานป ระกาศกำหนด (2) กรณีอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ยื่น ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามช่องทาง ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศกำหนด ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเว ลาอุทธรณ์ ให้ถือว่าวันที่ยื่นอุทธรณ์ต่อสานักงานหรือ ต่อกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือวันที่ทาการไปรษณีย์ต้นทางรับหนังสืออุทธรณ์ หรือนับแต่เวลา ที่คำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามวรรคหนึ่งแล้วแต่กรณี เป็นวันที่ยื่นอุทธรณ์ หมวด 2 การรับอุทธรณ์ ข้อ 9 ให้สำนักงานหรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วแต่กรณี ตรวจคำอุทธรณ์ ในเบื้องต้น หากเห็นว่าคำอุทธรณ์มีรายการครบถ้วนตามข้อ 6 ให้ลงทะเบียนรับเรื่องอุทธรณ์ และให้ถือว่าวันที่ลงทะเบียนเป็นวันรับเรื่องอุทธรณ์ พร้อมทั้งให้ออกใบรับอุทธรณ์ และให้เสนอ คำอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่องอุทธรณ์ ในกรณีที่คำอุทธรณ์มีรายการไม่ครบถ้วนตามข้อ 6 ให้สำนักงานหรือกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์แล้วแต่กรณี มีหนังสือแจ้งต่อผู้อุทธรณ์ให้แก้ไขอุทธรณ์ให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่แก้ไขภายในระยะเวลาที่กาหนดให้บันทึกไว้ในใบรับอุทธรณ์ และนาเสนอต่อคณะอนุกรรมการต่อไป ทั้งนี้ เมื่อสานักงานหรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วแต่กรณี ได้ออกใบรับอุทธรณ์ แล้วให้แจ้งการรับเรื่องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทราบด้วย ข้อ 10 สาหรับอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้โดยถูกต้องครบถ้วนแล้วตามเงื่อนไขที่กาหนดให้เจ้าหน้าที่ ของสานักงานหรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วแต่กรณี จัดทาบันทึกสรุปนาเสนอต่อคณะอนุ กรรมการ ต่อไป บันทึกสรุปต้องประกอบด้วย (1) สรุปประเด็นข้ออุทธรณ์ หรือข้อโต้แย้งที่ต้องพิจารณาวินิจฉัย และประเด็นที่เป็นเนื้อหา ของอุทธรณ์ ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 184 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 สิงหาคม 2566

(2) สรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน (3) สรุปข้อกฎหมายที่ต้องใช้ในการพิจารณาอุทธรณ์ หมวด 3 การพิจารณาอุทธรณ์ ข้อ 11 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการอาจขอให้ ผู้อุทธรณ์มาให้ถ้อยคาหรือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการ พิจารณาเพิ่มเติมก็ได้ ข้อ 12 เมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐา นทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องเพียงพอแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์แล้ว ให้ทำบันทึกสรุปผลการพิจารณา พร้อมความเห็น เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันรับเรื่องอุทธรณ์ตามข้อ 9 ข้อ 13 เมื่อคณะกรรมการได้รับบันทึกสรุปผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ ประกอบความเห็นของคณะอนุกรรมการ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบันทึกสรุปผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ให้สำนักงานหรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัยพร้อมเหตุผล ให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวันทาการนับแต่วันที่ได้รับคาวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการ ทั้งนี้ หากคณะกรรมการวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์หรือวินิจฉัยให้ไม่เต็มตามคำขออุทธรณ์ ให้สำนักงาน หรือก รมวิทยาศาสตร์การแพทย์แจ้งสิทธิ วิธีการยื่นคาฟ้องและระยะเวลาในการฟ้องคดีให้ผู้อุทธรณ์ ทราบไปพร้อมกันด้วย ข้อ 14 คาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้ทาเป็นหนังสือ และอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (2) ข้อเท็จจริงที่ นำมาใช้ประกอบคาวินิจฉัย (3) ข้อกฎหมายและเหตุผลในการวินิจฉัย ข้อ 15 ผู้อุทธรณ์อาจขอถอนคาอุทธรณ์ในเวลาใด ๆ ก่อนที่คณะกรรมการจะมีคาวินิจฉัยก็ได้ โดยให้ทาเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ยื่นต่อสานักงานหรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วแต่กรณี เมื่อมี การถอนคำอุทธรณ์แล้ว ให้การพิจารณาอุทธรณ์เป็นอันระงับ และให้สำนักงาน หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วแต่กรณี จาหน่ายคาอุทธรณ์นั้นเสีย พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ ผู้อุทธรณ์ทราบ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 184 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 สิงหาคม 2566

ข้อ 16 เรื่องใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชก ำร ทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ 2 3 มิ ถุนายน พ.ศ. 25 6 6 ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 184 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 สิงหาคม 2566