ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย พ.ศ. 2566
ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย พ.ศ. 2566
ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย พ.ศ. 2566 ตามที่ได้มีประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง เปิดการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2565 และประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง ให้เรียกเก็บหลักประกันกา รชาระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในระหว่างการพิจารณาทบทวนความจาเป็น ในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กรก ฎาคม 2565 เพื่อเปิดการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป และกาหนดให้เรียกเก็บหลักประกันการชาระอากรในระหว่างการพิจารณาทบทวน และต่อมาคณะกรรมการ พิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนได้มีคาวินิจฉัยว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลา ด จะทาให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก จึงให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จากการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และมาเลเซียต่อไป ในอัตราเดิม เป็นระยะเวลาห้าปี ตามประกาศ คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด และการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐ ประชาชนจีน และมาเลเซีย พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 นั้น เพื่อให้เป็นไปตามความในข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 8 ของกฎกระทรวง การแสดงข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนและการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุน พ.ศ. 256 3 ออกตามความในพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ้ หนา 62 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 176 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กรกฎาคม 2566
จึงออกประกาศแ สดงรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสาคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการ วินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 ไว้ ดังเอกสารท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 256 6 รณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ้ หนา 63 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 176 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กรกฎาคม 2566
-
1 - เอกสารท้ายประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญ ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐ ประชาชนจีนและมาเลเซีย พ . ศ . 25 66 ข้อ 1 ความเป็นมา 1.1 คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน ( คณะกรรมการ ทตอ .) ซึ่งเป็น คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ . ศ . 2542 ( พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ) ได้ออกประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด และการอุดหนุน เรื่อง การตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศมาเลเซีย ( ฉบับที่ 3) พ . ศ . 2554 มีผลใช้บังคับ เป็นระยะเวลาห้าปี ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2554 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2559 กําหนดให้เรียกเก็บอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีความหนา 0.9 – 100 มิลลิเมตร และความกว้าง 100 – 3,200 มิลลิเมตร ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และมาเลเซีย ในอัตราร้อยละ 23.57 – 42.51 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . และให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จากการนําเข้าสินค้าดังกล่าวในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . ในกรณี ดังนี้ 1.1.1 การนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน เพื่อนําไปใช้ใน อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ในปริมาณรวมไม่เกิน 1,000 เมตริกตันต่อปี 1.1.2 การนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อน JIS G 4051 เกรด S45C หรือมาตรฐานอื่น ที่เทียบเท่า พิกัดศุลกากรและรหัสสถิติ 7208.51.00.033 7208.51.00.053 และ 7211.14.90.090 เพื่อนําไปใช้ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ในปริมาณรวมไม่เกิน 1,000 เมตริกตันต่อปี 1.1.3 กรณีที่นําเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก ดังนี้ (1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบพาณิชยกรรมนําสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และนําเข้าไปในประกอบการเสรี เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรมเพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2) ผู้ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนนําสินค้าเข้ามาผลิต เพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (3) การนําสินค้าเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยศุลกากร 1.2 ต่อมาคณะกรรมการ ทตอ . ได้ออกประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วน และไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศมาเลเซียต่อไป พ . ศ . 2560 กําหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซียในอัตราเดิม มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลาห้าปี ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2565
-
2 - ข้อ 2 การเปิดทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกประกาศ เรื่อง เปิดการทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย พ . ศ . 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2565 โดยได้เผยแพร่ประกาศดังกล่าวลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เพื่อให้สาธารณชนรับรู้และผู้มีส่วนได้เสีย สามารถดําเนินการตามที่กฎหมายและกฎระเบียบกําหนดด้วยความถูกต้องครบถ้วน ข้อ 3 การพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 การพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 ตามหลักเกณฑ์ภายใต้พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ . ศ . 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ ( ฉบับที่ 2) พ . ศ . 2562 ( พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ) มีรายละเอียดข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณา ดังนี้ 3 . 1 สินค้าที่ถูกพิจารณา ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีความหนา 0.9 – 100 มิลลิเมตร และความกว้าง 100 – 3,200 มิลลิเมตร ภายใต้พิกัดศุลกากร ตามพระราชกําหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ . ศ . 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร ( ฉบับที่ 7) พ . ศ . 2564 และรหัสสถิติ ตามรหัสสถิติสินค้าที่แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม ฉบับปี พ . ศ . 2565 ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 194/2564 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติสินค้า ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2564 จํานวน 162 รายการ ได้แก่ 7208.10.00.020 7208.10.00.030 7208.10.00.040 7208.10.00.090 7208.25.00.021 7208.25.00.022 7208.25.00.023 7208.25.00.031 7208.25.00.032 7208.25.00.033 7208.25.00.090 7208.26.00.011 7208.26.00.012 7208.26.00.013 7208.26.00.021 7208.26.00.022 7208.26.00.023 7208.26.00.090 7208.27.19.011 7208.27.19.012 7208.27.19.013 7208.27.19.090 7208.27.99.011 7208.27.99.012 7208.27.99.013 7208.27.99.090 7208.36.00.011 7208.36.00.012 7208.36.00.013 7208.36.00.021 7208.36.00.022 7208.36.00.023 7208.36.00.031 7208.36.00.032 7208.36.00.033 7208.36.00.041 7208.36.00.042 7208.36.00.043 7208.36.00.090 7208.37.00.022 7208.37.00.023 7208.37.00.024 7208.37.00.025 7208.37.00.041 7208.37.00.042 7208.37.00.043 7208.37.00.051 7208.37.00.052 7208.37.00.053 7208.37.00.071 7208.37.00.072 7208.37.00.073 7208.37.00.090 7208.38.00.022 7208.38.00.023 7208.38.00.024 7208.38.00.025 7208.38.00.032 7208.38.00.033 7208.38.00.034 7208.38.00.035 7208.38.00.041 7208.38.00.042 7208.38.00.043 7208.38.00.051 7208.38.00.052 7208.38.00.053 7208.38.00.071 7208.38.00.072 7208.38.00.073 7208.38.00.090 7208.39.20.032 7208.39.20.033 7208.39.20.034 7208.39.20.035 7208.39.20.041 7208.39.20.042 7208.39.20.043 7208.39.20.071 7208.39.20.072 7208.39.20.073 7208.39.20.081 7208.39.20.082 7208.39.20.083 7208.39.20.090 7208.39.90.022 7208.39.90.023 7208.39.90.024 7208.39.90.025 7208.39.90.032 7208.39.90.033 7208.39.90.034 7208.39.90.035 7208.39.90.041 7208.39.90.042 7208.39.90.043 7208.39.90.051 7208.39.90.052 7208.39.90.053 7208.39.90.071 7208.39.90.072 7208.39.90.073 7208.39.90.090 7208.40.00.020 7208.40.00.030
-
3 - 7208.40.00.040 7208.40.00.090 7208.51.00.031 7208.51.00.032 7208.51.00.033 7208.51.00.051 7208.51.00.052 7208.51.00.053 7208.52.00.021 7208.52.00.022 7208.52.00.023 7208.52.00.031 7208.52.00.032 7208.52.00.033 7208.53.00.011 7208.53.00.012 7208.53.00.013 7208.53.00.021 7208.53.00.022 7208.53.00.023 7208.53.00.090 7208.54.90.011 7208.54.90.012 7208.54.90.013 7208.54.90.021 7208.54.90.022 7208.54.90.023 7208.54.90.041 7208.54.90.042 7208.54.90.043 7208.54.90.051 7208.54.90.052 7208.54.90.053 7208.54.90.090 7208.90.90.010 7208.90.90.090 7211.13.13.000 7211.13.19.000 7211.14.15.010 7211.14.15.090 7211.14.16.010 7211.14.16.020 7211.14.16.030 7211.14.16.090 7211.14.19.010 7211.14.19.020 7211.14.19.030 7211.14.19.090 7211.19.13.010 7211.19.13.020 7211.19.13.030 7211.19.13.090 7211.19.19.010 7211.19.19.020 7211.19.19.030 7211.19.19.040 และ 7211.19.19.090 ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย 3.2 ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทบทวน 3.2.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ ดังนี้ 1) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จํากัด ( มหาชน ) 2) บริษัท จี สตีล จํากัด ( มหาชน ) 3) บริษัท จี เจ สตีล จํากัด ( มหาชน ) 4) บริษัท สหวิริยาเพลทมิล จํากัด ( มหาชน ) 5) บริษัท แอล พี เอ็น เพลทมิล จํากัด ( มหาชน ) 3.2.2 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากต่างประเทศ 1) สาธารณรัฐประชาชนจีน (1) Angang Steel Company Limited (2) Anshan Iron and Steel Group Corporation (3) Anyang Iron & Steel Group Co., Ltd. (4) Baoshan Iron & Steel Co., Ltd. (5) Baotou Iron & Steel (Group) Co., Ltd. (6) Beijing Heng Yang Tong Ye Iron & Steel Trade Co., Ltd. (7) Benxi Iron & Steel (Group) Co., Ltd. (8) Guangzhou Iron & Steel Enterprises Group (9) Jingsu Shangang Group Co., Ltd. (10) Jinan Iron & Steel Co., Ltd. (11) Jiuquan Iron & Steel (Group) Co., Ltd. (12) Maanshan Iron & Steel Co., Ltd. (MASTEEL) (13) Rizhao Steel Co., Ltd. (14) Shanghai Baosteel Group Corp (15) Tianjin Tiangang Steel Group Co., Ltd. (16) Wuhan Iron & Steel (Group) Corp (17) Hunan Valin Lian Gang Import and Export Co., Ltd.
-
4 - 2) มาเลเซีย (1) Lion Steel Sdn. Bhd. ( ชื่อเดิม คือ Megasteel Sdn. Bhd.) (2) Ji Kang Dimensi Sdn. Bhd. 3.2.3 ผู้นําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน 1) บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จํากัด ( มหาชน ) 2) บริษัท สตาร์คอร์ จํากัด 3) บริษัท เอเบิล อินดัสตรีส์ จํากัด 4) บริษัท สหมิตร เครื่องกล จํากัด ( มหาชน ) 5) บริษัท จุฑาวรรณ จํากัด 6) บริษัท กรุงเทพเหล็กกล้า จํากัด 7) บริษัท สามมิตร โอโตพาร์ท จํากัด 8) บริษัท ดานิลี่ จํากัด 9) บริษัท บีเจซี เฮฟวี่ อินดัสทรี จํากัด ( มหาชน ) 10) บริษัท ทวีโชค พาณิช จํากัด 11) บริษัท ซูมิโช เมทัล ( ประเทศไทย ) จํากัด 12) บริษัท สเปเชียลสตีล แอนด์ เซอร์วิสซีส จํากัด 13) บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จํากัด 14) บริษัท เจตาแบค จํากัด ( มหาชน ) 15) บริษัท เดลต้า ไฮดรอลิกส์ ( ประเทศไทย ) จํากัด 16) บริษัท ลีออง จิน สเปเชียล สตีล ( ประเทศไทย ) จํากัด 17) บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จํากัด 18) บริษัท เกษร อินเตอร์พาร์ท จํากัด 19) บริษัท อินเตอร์ทูล เทคโนโลยี จํากัด 20) บริษัท บลูม่าห์เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด 21) บริษัท เอ็มซี เมทัล เซอร์วิส เอเชีย ( ประเทศไทย ) จํากัด 22) บริษัท เฟมโตบิท สตีล จํากัด 23) บริษัท เจเอชเอ็ม คอนโทรลส์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จํากัด 24) บริษัท โลหะกิจ เม็ททอล จํากัด ( มหาชน ) 25) บริษัท ซิวปรีมแมชีนเนอร์รี่แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด 26) บริษัท ซีเอชสตีลเวอคส์ จํากัด 3.2.4 สมาคมในทางการค้าและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 1) กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2) สมาคมเหล็กแผ่นรีดเย็นไทย 3) สมาคมการค้า ผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี 4) สมาคมผู้ผลิตท่อโลหะและแปรรูปเหล็กแผ่น 5) สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย 6) สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย
-
5 - 3 . 2 .5 สถานเอกอัครราชทูตในฐานะรัฐบาลของประเทศแหล่งกําเนิดหรือประเทศผู้ส่งออก สินค้าที่ถูกพิจารณา ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทยและสถานเอกอัครราชทูต มาเลเซียประจําประเทศไทย 3.3 ช่วงเวลาของข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาทบทวน 1) การพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดต่อไป หรือฟื้นคืนมาอีก ใช้ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ( ช่วงระยะเวลาการทบทวน หรือ Period of Review: POR) 2) การพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีความเสียหายต่อไป หรือฟื้นคืนมาอีก ใช้ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 3.4 การส่งแบบสอบถามเพื่อรับฟังข้อเท็จจริงและความเห็นต่อการเปิดทบทวน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏรายชื่อตามข้อ 3.2 ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวง การดําเนินการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ ของผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการไต่สวนการทุ่มตลาด การอุดหนุน และการหลบเลี่ยงมาตรการ ตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ . ศ . 2563 เพื่อให้แจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นสําหรับใช้ประกอบ การพิจารณาทบทวน โดยมีผู้แจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นภายในระยะเวลาที่กําหนด ดังนี้ 3.4.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ ตามข้อ 3 . 2 . 1 จํานวน 4 ราย ดังนี้ 1) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จํากัด ( มหาชน ) 2) บริษัท จี สตีล จํากัด ( มหาชน ) 3) บริษัท จี เจ สตีล จํากัด ( มหาชน ) 4) บริษัท สหวิริยาเพลทมิล จํากัด ( มหาชน ) 3.4.2 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากมาเลเซีย ตามข้อ 3 . 2 .2 จํานวน 2 ราย ดังนี้ 1) Lion Steel Sdn. Bhd. ( ชื่อเดิม Megasteel Sdn. Bhd.) 2) Ji Kang Dimensi Sdn. Bhd. ทั้งสองรายแจ้งว่าไม่มีการส่งออกสินค้ามายังประเทศไทยในช่วงระยะเวลาการทบทวน 3.4.3 ผู้นําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามข้อ 3.2.3 จํานวน 1 ราย ได้แก่ บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จํากัด ( มหาชน ) 3.5 ข้อเท็จจริงและความเห็นที่ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งตามแบบสอบถาม ผู้นําเข้าให้ความเห็นว่าไม่ควรมีการใช้บังคับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด เนื่องจากได้รับ ผลกระทบจากการใช้บังคับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดมาเป็นเวลานานจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต และผู้ผลิตภายในประเทศมีกําลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้นําเข้า ข้อชี้แจง แม้จะมีการใช้บังคับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อรักษาความเป็นธรรม ทางการค้าและเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเท่าเทียมตามหลักการขององค์การการค้าโลก (WTO) แต่ผู้นําเข้า ยังคงสามารถพิจารณาเลือกใช้สินค้าจากผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ภายในประเทศได้ โดยปัจจุบันผู้ผลิต ภายในประเทศทั้งสี่รายยังคงมีกําลังการผลิตเหลือเพียงพอที่จะผลิตสินค้าที่ถูกพิจารณา นอกจากนี้ ผู้นําเข้า อาจพิจารณาสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่นหรือนําเข้าสินค้าจากประเทศที่ไม่ถูกบังคับใช้มาตรการฯ ก็ได้
-
6 - 3.6 การตรวจสอบความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณา ทบทวน กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลและเอกสาร ที่อุตสาหกรรมภายในแจ้งตามแบบสอบถาม ณ ที่ทําการของบริษัท จี เจ สตีล จํากัด ( มหาชน ) บริษัท สหวิริยา เพลทมิล จํากัด ( มหาชน ) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จํากัด ( มหาชน ) และบริษัท จี สตีล จํากัด ( มหาชน ) ระหว่างวันที่ 14 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดยพบว่าข้อมูลที่ได้รับตามแบบสอบถามและเอกสารหลักฐาน ทางบัญชีที่ผ่านการรับรองแล้วของทุกบริษัท สามารถตรวจสอบได้ตรงกับเอกสารหลักฐานต้นฉบับ จึงมีความน่าเชื่อถือ และสามารถยอมรับได้ 3.7 การแจ้งข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนเพื่อรับฟัง ข้อโต้แย้งของผู้มีส่วนได้เสีย 3.7.1 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 กรมการค้าต่างประเทศได้จัดส่งรายละเอียดข้อมูล และข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ที่คณะกรรมการ ทตอ . ได้มีมติเห็นชอบแล้ว ไปยังผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้โอกาสยื่นข้อโต้แย้งตามที่มาตรา 30 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกําหนด และได้จัดการประชุมเพื่อรับฟังข้อโต้แย้งและข้อคิดเห็นด้วยวาจาผ่านระบบ การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ 1) ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ สมาคมในทางการค้าและกลุ่มอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าไม่ควรยุติการใช้บังคับมาตรการฯ เนื่องจาก (1) ในปี 2560 ถึงปี 2564 และช่วง POR ปริมาณการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่น รีดร้อนฯ จากประเทศที่ถูกพิจารณาทั้งสองประเทศมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2564 จึงไม่มีเหตุให้ยุติการใช้บังคับมาตรการฯ อีกทั้งหลายประเทศ ยังคงมีการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดกับทั้งสองประเทศ และสินค้าที่นําเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการหลบเลี่ยงการถูกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด โดยเปลี่ยนเป็นการนําเข้าสินค้าเหล็กที่เจือโลหะอื่น จึงทําให้มีปริมาณการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ น้อยลง ประกอบกับสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงมี การส่งออกสินค้าดังกล่าวมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยในปี 256 4 เพิ่มขึ้นจากปี 2560 คิดเป็นร้อยละ 276.66 และในช่วง POR เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 244.25 จากช่วงระยะเวลาก่อนการทบทวน (PPR) ซึ่งส่งผลกระทบ โดยตรงต่อปริมาณขายและส่วนแบ่งตลาดของอุตสาหกรรมภายใน นอกจากนี้ อุตสาหกรรมภายในยังคงได้รับ แรงกดดันจากราคานําเข้าสินค้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่หลบเลี่ยงมาตรการฯ (2) จากภาพรวมการใช้บังคับมาตรการฯ พบว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ยังคงมีพฤติกรรมทุ่มตลาด และหลายประเทศทั่วโลกยังมีการใช้บังคับมาตรการฯ กับประเทศที่ถูกพิจารณา ทั้งสองประเทศ โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ถูกบังคับใช้มาตรการฯ จากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหรัฐเม็กซิโก สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้บังคับใช้มาตรการฯ กับสาธารณรัฐ ประชาชนจีนอย่างต่อเนื่องยาวนานสูงสุดถึง 21 ปี ส่วนประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่บังคับใช้มาตรการฯ กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (3) ในปี 2564 สาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซียมีปริมาณการผลิต และอัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากเมื่อสถานการณ์โควิด – 19 คลี่คลายลง ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเหล็กปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเมื่อพิจารณากําลังการผลิตส่วนเหลือที่มีถึง 175.28 ล้านตันต่อปี ( ประเทศไทยมีความต้องการบริโภคเหล็กประมาณ 6 ล้านตันต่อปี ) แสดงให้เห็นว่า
-
7 - ประเทศที่ถูกพิจารณาทั้งสองประเทศมีศักยภาพในการผลิตเพื่อส่งออกในระดับที่สูงมาก และประเทศในภูมิภาค อาเซียนยังเป็นเป้าหมายหลักในการส่งออกของสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย โดยมีการส่งออกมากกว่า 1.68 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.16 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด และยังมีการส่งออกไปทั่วโลก เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการส่งออกในช่วง POR กับช่วง PPR เป็นรายประเทศและภาพรวม ของทั้งสองประเทศ พบว่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1,790 และร้อยละ 1,380 ตามลําดับ ส่งผลให้เกิดความเสียหาย ต่ออุตสาหกรรมภายในและเกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาของผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ภายในประเทศและผู้ผลิต สินค้าต่อเนื่อง (4) การที่อุตสาหกรรมภายในมีสถานภาพดีขึ้นในปี 2564 เนื่องจากเป็นช่วงที่ ภาวะตลาดไม่ปกติจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และสถานการณ์รัสเซีย – ยูเครน ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้าเหล็กในตลาดโลกและมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าจึงสูงขึ้น และทําให้อุตสาหกรรมภายในมียอดขายเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบช่วงครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลัง ของปี 2565 พบว่าสถานภาพของอุตสาหกรรมภายในแย่ลงจากสถานการณ์เหล็กทั่วโลกที่มีกําลังการผลิต มากกว่าความต้องการใช้ ทําให้มีการส่งออกในลักษณะทุ่มตลาดและหลบเลี่ยงการใช้มาตรการฯ มากขึ้น ดังนั้น การที่คณะกรรมการ ทตอ . พิจารณาว่าในปี 2564 และช่วง POR ผลประกอบการของอุตสาหกรรมภายในดีขึ้น จึงไม่มีการทุ่มตลาดและความเสียหายฟื้นกลับคืนมาอีกนั้น ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามสถานการณ์ ปัจจุบันและไม่สามารถนํามาพิจารณาเป็นเหตุในการยุติการใช้บังคับมาตรการฯ ได้ (5) การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะส่งผลกระทบในทางลบ ต่อประโยชน์สาธารณะและทําให้อุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศไม่สามารถสนับสนุนเศรษฐกิจไทยต่อไปได้ โดยการคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยในหลายแง่มุม เช่น ทําให้อุปทานของสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ มีอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องพึ่งพาการนําเข้า ส่งเสริมการจ้างงาน ภายในประเทศ มีส่วนช่วยในระบบหมุนเวียนในการรีไซเคิลเศษเหล็กเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศษเหล็ก และการผลิตสินค้าของผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น จึงเห็นว่าในการพิจารณาทบทวนฯ ควรมีการนําเหตุผลความจําเป็นดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณา ตามมาตรา 7 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วย (6) ไม่ควรนําหลักเกณฑ์ปริมาณการนําเข้าที่น้อยกว่าร้อยละ 3 ตาม Article 5.8 ของความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้ข้อ 6 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (The WTO Agreement on Implementation of Article VI of the GATT 1994 หรือ Anti-Dumping Agreement: ADA) ของ WTO มาใช้บังคับกับการพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป (7) ตาม Article 11.3 ของความตกลง ADA กําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า “ หากไม่ต่ออายุมาตรการจะส่งผลให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายฟื้นคืนมาอีกหรือไม่ ” ซึ่งเป็นการพิจารณา แนวโน้มที่การนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก แต่ไม่จําเป็นต้องพบการทุ่มตลาดและความเสียหาย ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติสากลที่ประเทศสมาชิก WTO ใช้ในการพิจารณาทบทวน นอกจากนี้ มาตรา 60 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้นําบทบัญญัติในหมวด 2 การทุ่มตลาด หมวด 3 ความเสียหาย และหมวด 4 อุตสาหกรรมภายใน มาใช้บังคับกับการทบทวนตามมาตรา 57 โดยอนุโลม จึงไม่ขัดกับเจตนารมณ์และบทบัญญัติของกฎหมาย ดังนั้น การพิจารณาเฉพาะข้อมูลผลประกอบการในปัจจุบันจะขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและคําชี้แจง ต่อสาธารณะของกรมการค้าต่างประเทศ
-
8 - (8) การยุติการใช้บังคับมาตรการฯ จะส่งผลให้เกิดความเสียหายและเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาของผู้ผลิตสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ภายในประเทศ เนื่องจากสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ เป็นวัตถุดิบในการผลิตต่อเนื่องในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และก่อสร้าง ดังนั้น หากยุติการใช้บังคับ มาตรการฯ จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ใช้ในประเทศ และเศรษฐกิจของประเทศ 2) สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย China Iron And Steel Association (CISA) สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจําประเทศไทย และสมาคมในทางการค้า ที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าควรยุติการใช้บังคับมาตรการฯ เนื่องจาก (1) ประเทศไทยมีการใช้บังคับมาตรการฯ กับการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ จากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซียมานานกว่า 11 ปี และปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังมีการใช้บังคับมาตรการฯ กับการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ จากประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ รวม 20 ประเทศ เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สาธารณรัฐตุรกี สาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น โดยในบางกรณีมีการใช้บังคับต่อเนื่องนานกว่า 2 ทศวรรษ ซึ่งผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ของไทยในปัจจุบัน ควรมีการพัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งนี้ การพึ่งพามาตรการเยียวยาทางการค้ามากจนเกินไปจะทําให้ไม่เกิด การแข่งขันเสรีและจะทําให้อุตสาหกรรมภายในขาดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก รวมทั้งจะไม่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะยาว (2) อุตสาหกรรมเหล็กของสาธารณรัฐประชาชนจีนเน้นการตอบสนองอุปสงค์ ภายในประเทศเป็นหลักและไม่สนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กปริมาณมากเพื่อยับยั้งการส่งออกผลิตภัณฑ์ เหล็กคุณภาพต่ํา ประกอบกับสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ยกเลิกนโยบายการคืนภาษีส่งออกและมีการจัดเก็บ ภาษีส่งออกเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การค้าเหล็กทั่วโลกมีเสถียรภาพและความยั่งยืน นอกจากนี้ ประเทศไทย มีการใช้ระบบการรับรอง TISI สําหรับผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ที่นําเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลไก ที่สามารถใช้ควบคุมการนําเข้าได้ ดังนั้น การยกเลิกการใช้บังคับมาตรการฯ จะไม่ทําให้เกิดการทะลักของสินค้า ที่ถูกพิจารณาเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งในกรณีที่ปริมาณการนําเข้าเพิ่มขึ้นจะเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าที่ส่งออก ไปยังประเทศอื่น ๆ ผ่านคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยไม่ได้เข้าสู่ตลาดภายในประเทศ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาด เหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ของประเทศไทย (3) ผลิตภัณฑ์เหล็กรวมถึงเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีคุณภาพและราคาสูง สามารถนําไปใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของไทยและส่งเสริม อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การก่อสร้าง รถยนต์ เครื่องจักร และการผลิตภาชนะ รับความดัน รวมทั้งยังมีบทบาทสําคัญในการยับยั้งเงินเฟ้อ ส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย และผลักดัน ให้ราคาของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องและการพัฒนา เศรษฐกิจของไทยโดยรวมด้วย (4) เศรษฐกิจโลกยังอยู่ระหว่างการฟื้นตัว ซึ่งยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน และความท้าทายเป็นอย่างมาก ฝ่ายจีนจึงสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศไทยมีการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกัน โดยเฉพาะสมาคมเหล็กกล้าของทั้งสองฝ่าย เพื่อรับมือ กับความท้าทายและส่งเสริมความร่วมมือด้านการผลิตเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน ผ่านโครงการ “Belt and Road” ( 5 ) ตั้งแต่ปี 2560 ถึงปี 2564 ประเทศไทยมีการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ จากมาเลเซียในปริมาณน้อย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.00002 ถึง 0.003 และในช่วง POR มีการนําเข้า เพียงร้อยละ 0.0001 ซึ่งเป็นไปตาม Article 5.8 ของความตกลง ADA ของ WTO
-
9 - (6) Megasteel Sdn. Bhd. ซึ่งเป็นผู้ผลิตของมาเลเซียได้ยุติการผลิตสินค้า เหล็กแผ่นรีดร้อนฯ แล้ว จึงไม่มีมูลที่จะเชื่อได้ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มี การทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก (7) ปัจจุบันตลาดโลกมีกําลังการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ลดลง และอยู่ในสภาวะ ขาดแคลนเหล็กโดยไม่มีการทุ่มตลาด ซึ่งการใช้บังคับมาตรการฯ จะส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นและมีผลกระทบ ต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ซึ่งอาจขัดต่อมาตรา 75 และ 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ . ศ . 2560 ที่กําหนดให้ยึดหลักระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมและให้ยกเลิก หรือปรับปรุงกฎหมายที่ไม่จําเป็นที่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินชีวิตหรือประกอบวิชาชีพ 3.7.2 ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 กรมการค้าต่างประเทศได้จัดส่งรายละเอียด ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ที่คณะกรรมการ ทตอ . มีมติเห็นชอบแล้ว เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีโอกาสยื่นข้อโต้แย้งเป็นหนังสืออีกครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนด สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ 1) ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ สมาคมในทางการค้าและกลุ่มอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง เห็นด้วยกับการต่ออายุการใช้บังคับมาตรการฯ เนื่องจาก (1) ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากประเทศที่ถูกพิจารณาทั้งสองประเทศยังคงมีพฤติกรรม การทุ่มตลาด ซึ่งพิจารณาได้จากการที่ยังคงถูกใช้บังคับมาตรการฯ จากหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สหภาพยุโรป สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหรัฐเม็กซิโก สาธารณรัฐตุรกี และประเทศไทย นอกจากนี้ ยังคงพบส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และมาเลเซียในอัตราร้อยละ 17.86 และร้อยละ 4.72 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . ตามลําดับ รวมทั้งยังพบการกดราคา และยับยั้งการขึ้นราคาในปี 2562 และปี 2563 ด้วย (2) ในช่วง POR ปริมาณการส่งออกจากประเทศที่ถูกพิจารณาทั้งสองประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง PPR และยังมีกําลังการผลิตคงเหลือรวมสูงถึง 175 ล้านตันต่อปี ซึ่งในปี 2565 ภาพรวมการส่งออกของประเทศที่ถูกพิจารณาทั้งสองประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยมีตลาดอาเซียนเป็นเป้าหมายหลักในการส่งออก อีกทั้งการที่ประเทศที่ถูกพิจารณาทั้งสองประเทศ มีกําลังการผลิตคงเหลือมากแสดงให้เห็นว่ายังคงมีศักยภาพในการผลิตเพื่อส่งออกในระดับที่สูง (3) อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนภายในประเทศมีกําลังการผลิตประมาณ 9 ล้านตันต่อปี โดยผู้ยื่นคําขอมีกําลังการผลิตรวม 7.92 ล้านตันต่อปี แต่ปัจจุบันมีการผลิตจริงเพียง 2.5 ล้านตัน ต่อปี คิดเป็นอัตราการใช้กําลังการผลิตเพียงร้อยละ 32 ประกอบกับในปี 2564 และช่วง POR เป็นช่วงที่ ตลาดอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ โดยเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวส่งผลให้ความต้องการบริโภคเพิ่มสูงขึ้นและทําให้เกิด สภาวะสินค้าขาดตลาดซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมภายในมีผลประกอบการดีขึ้น แต่ในปี 2565 เมื่อสถานการณ์ กลับสู่สภาวะปกติ ทําให้ปริมาณการผลิต ปริมาณขาย และส่วนแบ่งตลาดลดลง รวมทั้งอุตสาหกรรมภายใน ประสบกับภาวะขาดทุนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ดังนั้น จึงมีความจําเป็นที่อุตสาหกรรม ภายในต้องได้รับการปกป้องจากการค้าที่ไม่เป็นธรรมด้วยการใช้บังคับมาตรการฯ ต่อไปเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย หรือมีการทุ่มตลาดฟื้นคืนมาอีก (4) อุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ของเศรษฐกิจไทยในด้านต่าง ๆ เช่น ทําให้ห่วงโซ่อุปทานของหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีความมั่นคง มีการจ้างพนักงานหลายพันคน มีส่วนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุรีไซเคิลเศษเหล็กภายในประเทศไทย มากกว่า 1.1 ล้านตันต่อปี รวมทั้งมีระบบเตาหลอมเศษเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
-
10 - (5) แม้ว่าจะอยู่ระหว่างการใช้บังคับมาตรการฯ แต่ปริมาณการนําเข้าเหล็กแผ่น รีดร้อนฯ จากสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2565 ประกอบกับในไตรมาสแรกของปี 2566 ปริมาณการนําเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ยอดขายของบริษัท จี สตีล จํากัด ( มหาชน ) และบริษัท จี เจ สตีล จํากัด ( มหาชน ) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และทําให้กระแสเงินสดของบริษัทฯ ติดลบ 2) สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจําประเทศไทย สมาคมในทางการค้าที่เกี่ยวข้อง และผู้นําเข้า ไม่เห็นด้วยกับการต่ออายุการใช้บังคับมาตรการฯ เนื่องจาก (1) ตั้งแต่ปี 2560 ถึงปี 2564 ประเทศไทยมีการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ จากมาเลเซียในปริมาณน้อย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.00002 ถึง 0.003 และในช่วง POR มีปริมาณการนําเข้า เพียงร้อยละ 0.0001 ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 3 ตามที่ Article 5.8 ของความตกลง ADA กําหนดไว้ ดังนั้น การนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจากมาเลเซียไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของไทย จึงควรยุติ การใช้บังคับมาตรการฯ ตามร่างผลการทบทวนฯ ครั้งที่ 1 นอกจากนี้ Megasteel Sdn. Bhd. ซึ่งเป็นผู้ผลิต ของมาเลเซียได้ยุติการผลิตสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ แล้ว จึงไม่มีมูลที่จะเชื่อได้ว่าการยุติการเรียกเก็บอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก ข้อชี้แจง กรณีนี้เป็นการพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากร ตอบโต้การทุ่มตลาด ตามมาตรา 57 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการ พิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไป หรือฟื้นคืนมาอีกหรือไม่ โดยในกรณีที่คณะกรรมการ ทตอ . มีคําวินิจฉัยว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก จะให้เรียกเก็บอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดต่อไปอีกเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียมีความประสงค์จะให้คณะกรรมการ ทตอ . พิจารณาทบทวนเพื่อยุติการเรียกเก็บหรือเปลี่ยนแปลงอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด สามารถยื่นคําขอ ให้ทบทวนได้ตามมาตรา 56 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ โดยจะต้องเสนอพยานหลักฐานเพียงพอ เกี่ยวกับปัญหาการทุ่มตลาดหรือความเสียหายที่สมควรให้มีการทบทวนการใช้บังคับอากรดังกล่าว (2) การต่ออายุการใช้บังคับมาตรการฯ จะทําให้ราคาเหล็กสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผล กระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากต้องแบกรับภาระต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้บริโภคสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ข้อชี้แจง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ในทางการค้าที่เป็นธรรม และเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมภายในอันเป็นผลมาจาก พฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากการทุ่มตลาด อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาใช้บังคับมาตรการฯ จะมีกระบวนการ พิจารณาประโยชน์ของอุตสาหกรรมภายใน ผู้บริโภค และประโยชน์สาธารณะอย่างรอบด้าน ตามมาตรา 7 แห่ง พ . ร . บ การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งในกรณีนี้มีการกําหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . สําหรับกรณี ดังนี้ (1) การนําเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และกฎหมาย ว่าด้วยศุลกากร (2) การนําเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ในปริมาณรวมไม่เกิน 1,000 เมตริกตันต่อปี และ (3) การนําเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ในปริมาณรวมไม่เกิน 1,000 เมตริกตันต่อปี โดยผู้นําเข้าสามารถใช้สิทธิชําระอากรในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . ดังกล่าวได้ หากการนําเข้า เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้
-
11 - (3) ผู้ผลิตภายในประเทศไม่สามารถผลิตเหล็กบางเกรดได้ ทําให้ต้องแข่งขันกับ สินค้านําเข้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า อย่างไรก็ตาม หากจะต่ออายุการใช้บังคับมาตรการฯ ขอให้พิจารณากําหนดมาตรการฯ กับสินค้าที่ผู้ผลิตภายในประเทศผลิตได้เท่านั้น เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมที่มีอยู่ได้รับความเสียหาย ข้อชี้แจง กรณีนี้เป็นการพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาว่า การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืน มาอีกหรือไม่ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือขอบเขตของสินค้า ซึ่งในกรณีที่ คณะกรรมการ ทตอ . มีคําวินิจฉัยว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาด และความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก จะให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไปอีกเป็นระยะเวลา ไม่เกินห้าปี ทั้งนี้ หากผู้ผลิตภายในประเทศไม่สามารถผลิตสินค้าบางเกรดได้ สามารถยื่นคําขอให้คณะกรรมการ ทตอ . พิจารณาทบทวนขอบเขตของสินค้าได้ตามมาตรา 56 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ 3.8 การวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรมการค้าต่างประเทศได้นําข้อมูลข้อเท็จจริง ความเห็น และข้อโต้แย้งจากผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับตามแบบสอบถามและช่องทางอื่นที่กฎหมายกําหนดซึ่งผ่านกระบวนการตรวจสอบ ความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดภายใต้ พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อจัดทําผลการทบทวนเสนอต่อคณะกรรมการ ทตอ . เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด โดยในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียปฏิเสธที่จะนําพยานหลักฐานมาแสดง หรือไม่นําพยานหลักฐานมาแสดงภายในเวลาที่กําหนด หรือไม่ให้ความร่วมมือเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน หรือขัดขวางกระบวนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด การพิจารณาจะรับฟังเพียงข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่ หรืออาจรับฟังไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้นั้น ตามที่มาตรา 27 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กําหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Best Information Available (BIA) ตาม Article 6.8 และ Annex II (1) ของ ADA ดังนี้ 3.8.1 การพิจารณาความเป็นไปได้ที่การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จะทําให้มีการทุ่มตลาดต่อไปหรือทําให้การทุ่มตลาดฟื้นคืนมาอีก การพิจารณาความเป็นไปได้ดังกล่าวจะคํานวณจากส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด ตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 14 มาตรา 15 และมาตรา 18 ประกอบมาตรา 60 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนด ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถาม กรมการค้าต่างประเทศจึงจําเป็นต้องใช้ข้อมูลตามคําขอให้เปิดการทบทวน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่ (BIA) ในการพิจารณา โดยยังคงปรากฏส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความเป็นไปได้ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก ดังนี้ 1) มูลค่าปกติ พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 15 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กําหนด โดยคํานวณจากราคาขายของสินค้าที่ถูกพิจารณาที่ขายในสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ดังนี้ (1) กรณีสาธารณรัฐประชาชนจีน อ้างอิงข้อมูลราคาขายจากเว็บไซต์ www. steelbb.com เป็นราคาขายในประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ระดับราคา ณ หน้าโรงงาน และหัก ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 13 เพื่อปรับทอนเป็นมูลค่าปกติ ณ หน้าโรงงาน (2) กรณีมาเลเซีย ใช้ข้อมูลราคาส่งออกจากมาเลเซียไปยังสาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐอินโดนีเซียจาก Global Trade Atlas เป็นราคาขาย ณ หน้าโรงงาน
-
12 - 2) ราคาส่งออก พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 14 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กําหนด โดยราคาส่งออกของสาธารณรัฐประชาชนจีนคํานวณจากราคาส่งออกของสินค้าที่ถูกพิจารณาที่ส่งมายัง ประเทศไทยที่มีการอ้างอิงตามข้อมูลสถิติการนําเข้าของกรมศุลกากร แล้วทอนเป็นราคา ณ หน้าโรงงาน และมาเลเซียอ้างอิงข้อมูลราคาส่งออกจาก Global Trade Atlas เป็นข้อมูลตัวแทนในการคํานวณ โดยเป็น ราคาส่งออกสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ของมาเลเซียไปยังไต้หวันและสาธารณรัฐอินเดีย โดยหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อปรับทอนให้เป็นราคา ณ หน้าโรงงาน 3) ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 18 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กําหนด โดยเปรียบเทียบมูลค่าปกติกับราคาส่งออกที่ขั้นตอนทางการค้าเดียวกันและในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นราคา ณ หน้าโรงงาน ซึ่งปรากฏส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ในอัตราร้อยละ 17.86 และร้อยละ 4.72 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . ตามลําดับ 3.8.2 การพิจารณาความเป็นไปได้ที่การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จะทําให้มีความเสียหายต่อไปหรือทําให้ความเสียหายฟื้นคืนมาอีก การพิจารณาความเป็นไปได้ดังกล่าวเป็นการพิจารณาความเสียหายอย่างสําคัญ จากการทุ่มตลาดที่เกิดแก่อุตสาหกรรมภายในและความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหาย ต่ออุตสาหกรรมภายใน ตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ประกอบมาตรา 60 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนด โดยพิจารณาจากข้อมูลปริมาณการนําเข้า สินค้าทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ และผลกระทบ จากสินค้านําเข้าที่ทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน ดังนี้ 1) ปริมาณของสินค้านําเข้าที่ทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคา ของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ (1) ปริมาณการนําเข้าสินค้าทุ่มตลาด จากข้อมูลสถิติการนําเข้าของกรมศุลกากรในช่วงเวลาที่มีการใช้บังคับอากร ตอบโต้การทุ่มตลาด พบว่าปริมาณการนําเข้าสินค้าทุ่มตลาดลดลงในปี 2561 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2562 ถึงช่วง POR (2) ผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ จากการเปรียบเทียบราคาของสินค้าทุ่มตลาดกับราคาขายของสินค้า ชนิดเดียวกันของอุตสาหกรรมภายในที่ขั้นตอนทางการค้าเดียวกันและในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่พบการตัดราคา ตั้งแต่ปี 2560 ถึงช่วง POR แต่พบว่ายังคงมีการกดราคาและยับยั้งการขึ้นราคาในปี 2562 และปี 2563 2) ผลกระทบของการทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน พิจารณาโดยประเมินจาก ปัจจัยและดัชนีทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อสภาวะของอุตสาหกรรมภายใน ดังนี้ (1) ยอดจําหน่าย ปริมาณการขาย และราคาขาย ในประเทศ ยอดจําหน่ายและราคาขายในประเทศของปี 2561 เพิ่มขึ้นจากปี 2560 แล้วลดลงในปี 2562 ถึงปี 2563 และกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2564 สําหรับปริมาณการขายในประเทศ ของปี 2561 เพิ่มขึ้นจากปี 2560 แล้วลดลงในปี 2562 ก่อนจะกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2563 ถึงปี 2564 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบช่วง PPR และ POR พบว่าแม้ยอดจําหน่ายเพิ่มขึ้นจากราคาขายในประเทศที่เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการขายค่อนข้างคงที่
-
13 - (2) กําไร / ขาดทุน จากการขายในประเทศ อุตสาหกรรมภายในมีผลประกอบการขาดทุนจากการขายสินค้าชนิดเดียวกัน ในประเทศในปี 2560 ถึงปี 2563 และช่วง PPR แต่มีกําไรในปี 2564 และช่วง POR (3) กําลังการผลิตและและอัตราการใช้กําลังการผลิต อุตสาหกรรมภายในมีกําลังการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันของปี 2560 ถึงสิ้นไตรมาส 1 ปี 2565 (POR) คงที่ แต่มีอัตราการใช้กําลังการผลิตผันผวน โดยเมื่อเปรียบเทียบช่วง PPR และ POR พบว่ามีอัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (4) ผลผลิต อุตสาหกรรมภายในมีผลผลิตเพิ่มขึ้นในปี 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 แต่ลดลงในปี 2562 และปี 2563 แล้วกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2564 สําหรับในช่วง POR เพิ่มขึ้นจาก ช่วง PPR (5) ผลิตภาพ อุตสาหกรรมภายในมีผลิตภาพค่อนข้างคงที่ (6) ส่วนแบ่งตลาด ส่วนแบ่งตลาดของอุตสาหกรรมภายในมีความผันผวน คือ ปี 2561 ถึงปี 2562 ลดลงจากปี 2560 แล้วเพิ่มขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาลดลงในปี 2564 โดยในช่วง POR มีส่วนแบ่งตลาดลดลงจากช่วง PPR (7) ผลตอบแทนการลงทุน (ROA) ผลตอบแทนการลงทุนของอุตสาหกรรมภายในเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2564 ถึงช่วง POR (8) กระแสเงินสดจากการดําเนินงาน กระแสเงินสดจากการดําเนินงานของอุตสาหกรรมภายในมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในปี 2561 ถึงปี 2564 และช่วง POR เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบช่วง PPR (9) สินค้าคงคลัง สินค้าคงคลังค่อนข้างผันผวนในช่วงปี 2560 ถึงปี 2564 แล้วกลับมาเพิ่มขึ้น ในช่วง POR เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง PPR (10) การจ้างงาน อุตสาหกรรมภายในมีการจ้างงานค่อนข้างคงที่ในปี 2560 ถึงช่วง POR (11) ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างแรงงาน ค่อนข้างผันผวนในช่วงปี 2561 ถึงปี 2564 แต่เพิ่มขึ้น ในช่วง POR เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง PPR (12) อัตราการเจริญเติบโต อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างผันผวนในช่วงปี 2561 ถึงปี 2564 และลดลงในช่วง POR เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง PPR (13) ความสามารถในการระดมทุนหรือการลงทุน สินทรัพย์ของอุตสาหกรรมภายในมีแนวโน้มลดลงแต่หนี้สินของกิจการ มีแนวโน้มลดลงมากกว่า
-
14 - (14) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าในประเทศ ไม่พบการตัดราคาปี 2560 ถึงช่วง POR แต่พบการกดราคาและการยับยั้ง การขึ้นราคาในปี 2562 และปี 2563 (15) ความมากน้อยของส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด เนื่องจากผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม จึงใช้ข้อมูลตามคําขอให้เปิดการทบทวนของอุตสาหกรรมภายใน ในการคํานวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด โดยพบส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อัตรา ร้อยละ 17.86 และมาเลเซียที่อัตราร้อยละ 4.72 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . 3.8.3 สรุปผลการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะมีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไป หรือฟื้นคืนมาอีก ตามมาตรา 57 ข้อมูลประกอบการพิจารณาดังกล่าวข้างต้นเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าการยุติการเรียกเก็บ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก เนื่องจากยังคงพบ ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซียที่อัตราร้อยละ 17.86 และร้อยละ 4.72 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . ตามลําดับ รวมทั้งพบการกดราคาและยับยั้งการขึ้นราคาในปี 2562 ถึงปี 2563 และในช่วง POR อุตสาหกรรมภายในยังคงได้รับผลกระทบจากการนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณา ได้แก่ มีส่วนแบ่งตลาด ลดลง มีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น และมีอัตราการเจริญเติบโตของกิจการลดลง นอกจากนี้ แม้การนําเข้าสินค้า ที่ทุ่มตลาดจากประเทศที่ถูกพิจารณาทั้งสองประเทศจะมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบการนําเข้าจากประเทศ อื่น ๆ แต่ปริมาณการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ จากสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณ 11,325.65 ตัน ในปี 2560 เป็น 42,916.35 ตัน ในปี 2564 โดยเมื่อเปรียบเทียบช่วง POR กับ PPR พบว่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 244.25 สําหรับมาเลเซีย ไม่มีการนําเข้าในปี 2561 ถึงปี 2562 แต่มีการนําเข้า เพียงเล็กน้อยในปี 2560 ปี 2563 และปี 2564 ในปริมาณระหว่าง 0.30 ถึง 68.22 ตัน โดยช่วง POR มีปริมาณนําเข้า 0.98 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 0.30 ตัน ในช่วง PPR หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 231.19 อีกทั้งในช่วง POR สาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ เป็นอันดับที่ 4 และ 41 ของโลก ตามลําดับ ซึ่งเป้าหมายหลักในการส่งออกของทั้งสองประเทศในปี 2564 และช่วง POR คือ ประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนมีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 26.24 และร้อยละ 31.13 ตามลําดับ ส่วนมาเลเซียอยู่ที่ร้อยละ 30.57 และร้อยละ 37.78 ตามลําดับ นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศ ยังคงมีกําลังการผลิตคงเหลือจํานวนมาก แสดงให้เห็นว่ายังคงมีศักยภาพในการผลิตเพื่อส่งออกในระดับที่สูง ประกอบกับสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการตอบโต้การอุดหนุน จากหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สหภาพยุโรป สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหรัฐเม็กซิโก สาธารณรัฐตุรกี และสหรัฐอเมริกา ส่วนมาเลเซียถูกใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนจากสหภาพยุโรป 1 กรณี ข้อ 4 คําวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน คณะกรรมการ ทตอ . ได้พิจารณาข้อมูลและพยานหลักฐานที่ได้รับในกระบวนการทบทวน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดภายใต้ พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และได้มีคําวินิจฉัย ในการประชุมครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก และได้ออกประกาศคณะกรรมการพิจารณา การทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐ ประชาชนจีนและมาเลเซีย พ . ศ . 2566 โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57 และมาตรา 73 (1)
-
15 - แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และมาเลเซีย ต่อไปในอัตราเดิม เป็นระยะเวลาห้าปี โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ 4. 1 ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วน และไม่เป็นม้วน ภายใต้พิกัดศุลกากร ตามพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ . ศ . 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร ( ฉบับที่ 7) พ . ศ . 2564 และรหัสสถิติ ตามรหัสสถิติสินค้าที่แก้ไขปรับปรุง เพิ่มเติม ฉบับปี พ . ศ . 2565 ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 194/2564 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติสินค้า ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2564 จํานวน 162 รายการ ตามบัญชีท้ายประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด และการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐ ประชาชนจีนและมาเลเซีย พ . ศ . 2566 ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ในอัตรา ดังต่อไปนี้ 1) สินค้าที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (1) สินค้าที่ผลิตจาก Angang Steel Company Limited ร้อยละ 30.91 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . (2) สินค้าที่ผลิตจาก Hunan Valin Lian Gang Import and Export Company Limited ร้อยละ 30.91 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . (3) สินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิตรายอื่น ร้อยละ 30.91 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . 2) สินค้าที่มีแหล่งกําเนิดจากมาเลเซีย (1) สินค้าที่ผลิตจาก Megasteel Sdn. Bhd. ร้อยละ 23.57 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . (2) สินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิตรายอื่น ร้อยละ 42.51 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . 4.2 ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วน และไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย ในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี . ไอ . เอฟ . ในกรณี ดังต่อไปนี้ 1) การนําเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ในปริมาณรวมไม่เกิน 1,000 เมตริกตันต่อปี 2) การนําเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ในปริมาณรวมไม่เกิน 1,000 เมตริกตันต่อปี เฉพาะสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน มาตรฐาน JIS G 4051 เกรด S45C หรือมาตรฐานอื่น ที่เทียบเท่า ภายใต้พิกัดศุลกากร และรหัสสถิติ 7208.51.00.033 7208.51.00.053 7211.14.16.090 และ 7211.14.19.090 3) การนําเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก ดังนี้ (1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบพาณิชยกรรมนําสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และนําเข้าไปในเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรมเพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2) ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนนําสินค้าเข้ามาผลิต เพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (3) การนําสินค้าเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยศุลกากร
-
16 - การนําเข้าในกรณี 1) และ 2) ผู้นําเข้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศประกาศกําหนด และการนําเข้าในกรณี 3) ผู้นําเข้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการยกเว้นการเรียกเก็บอากรขาเข้าสําหรับการนําเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออกภายใต้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง __________________