Wed Jul 19 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับสภาการสัตวบาล ว่าด้วยการเลือกตั้งกรรมการสภาการสัตวบาลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566


ข้อบังคับสภาการสัตวบาล ว่าด้วยการเลือกตั้งกรรมการสภาการสัตวบาลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566

ข้อบังคับสภาการสัตวบาล ว่าด้วยการเลือกตั้งกรรมการสภาการสัตวบาลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 โดยเป็นการสมควรให้มีการได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาการสัตวบาลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) ประกอบมาตรา 62 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 62 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ ตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 คณะกรรมการ สภาการสัตวบาล จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาการสัตวบาลว่าด้วยการเลือกตั้งกรรมการสภา การสัตวบาลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาการสัตวบาล “ กรรมการ ” หมายความว่า กรรมการสภาการสัตวบาล “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการสภาการสัตวบาล “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการสภาการสัตวบาล ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพร ะราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 ตามข้อบังคับนี้ “ ประธานอนุกรรมการ ” หมายความว่า ประธานคณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการสภา การสัตวบาล ตามข้อบังคับนี้ “ การเลือกตั้ง ” หมายความว่า การเลือกตั้งกรรมการสภาการสัตวบาลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 ตามข้อบังคับนี้ “ วันเลือกตั้ง ” หมายความว่า วันที่สมาชิกลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการ หรือวันนับคะแนน จากการลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการ เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการสภาการสัตวบาลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 ตามข้อบังคับนี้ “ การลงคะแนน ” หมายความว่า การหย่อนบัตรลงคะแนนลงในหีบบัตรลงคะแนน หรือ การส่งบัตรลงคะแนนทางไปรษณีย์ หรือด้วยวิธีการอื่นใดตามที่คณะกรรมการสภาการสัตวบาลกาหนด “ บัตรลงคะแนน ” หมายความว่า บัตรล งคะแนนเลือกตั้ง ที่คณะอนุกรรมการทำขึ้น เพื่อการเลือกตั้ง หรือสิ่งอื่นใดตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดเพื่อใช้ในการเลือกตั้ง ตามข้อบังคับนี้ ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

“ สมาชิก ” หมายความว่า สมาชิกสภาการสัตวบาล ข้อ 4 ข้อบังคับนี้ให้ใช้กับการเลือกตั้งกรรมการในวาระเริ่มแรกตามมาตรา 63 แ ห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 ข้อ 5 ให้คณะกรรมการประกาศกาหนดวันเลือกตั้ง และจานวนกรรมการตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 ข้อ 6 ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดวิธีการเลือกตั้ง ตามวิธีใดวิธีหนึ่งในข้อ 2 0 หมวด 1 คณะอนุกรรมการ ข้อ 7 ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ โดยให้แต่งตั้งกรรมการตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) เป็นประธานคณะอนุกรรมการหนึ่งคน และแต่งตั้งกรรมการ หรือสมาชิก เป็นอนุกรรมการอีกแปดคน ข้อ 8 ให้คณะอนุกรรมการ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการเลือกตั้งกรรมการตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 ข้อบังคับสภาการสัตวบาลที่เกี่ยวข้อง และตามที่คณะกรรมการกาหนด ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุจริต โปร่งใส และเป็นธรรม (2) ตรวจสอบคุณสมบัติและจานวนส มาชิกที่มีสิทธิเลือกตั้ง ประกาศบัญชีรายชื่อสมาชิก ผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเปิดเผย ณ ที่ทาการสภาการสัตวบาล และสถานที่อื่น หรือโดยวิธีอื่นตามที่ คณะอนุกรรมการเห็นสมควร ทั้งนี้ ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันเลือกตั้ง ให้คณะอนุกรรมการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจั ดทำบัญชีรายชื่อสมาชิกผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยเทียบกับทะเบียนสมาชิกที่อยู่ในความดูแลของเลขาธิการ รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่องบัญชีรายชื่อ สมาชิกผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้ ให้อยู่ในการกากับดูแลของคณะอนุกรรมการอย่างใกล้ชิด (3) ประกาศกาหนดวันสมัครรับเลือกตั้ง รับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้สมัครทาบัญชีรายชื่อและกาหนดหมายเลขประจาตัวผู้สมัคร ประกาศรายชื่อผู้สมัครพร้อมหมายเลข ประจาตัว เพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนของสมาชิก ทั้งนี้ ให้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทาการ สภาการสัตวบาล และสถานที่อื่น หรื อโดยวิธีอื่น ตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร ให้คณะอนุกรรมการแต่งตั้งคณะทางานเพื่อดาเนินการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งตรวจสอบ คุณสมบัติผู้สมัคร ทาบัญชีรายชื่อและกาหนดหมายเลขประจาตัวผู้สมัคร ทั้งนี้ ให้อยู่ภายใต้การกากับดูแล ของคณะอนุกรรมการอย่างใกล้ชิด (4) กำหนดและจัดทำ บัตรลงคะแนน หีบรับบัตรลงคะแนน กำหนดวิธีการส่ง หรือ การขนส่งบัตรลงคะแนน การรวบรวมและเก็บรักษาบัตรลงคะแนนทั้งก่อนและหลังการลงคะแนน แล้วแต่กรณี รวมถึงกากับการนับคะแนน ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และสุจริต ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

(5) กำหนดสถานที่และกำกับดูแลสถานที่ลงคะแนน รวมถึงการดำเนินงานระหว่าง การลงคะแนน ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเรียบร้อย (6) แต่งตั้งสมาชิกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้สมัคร เป็นคณะทางานเพื่อดาเนินงาน ตามความจาเป็น หรือแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มีความ รู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อดาเนินงาน ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งตามที่คณะอนุกรรมการกาหนด และให้หัวหน้าคณะทางานทุกคณะรายงาน การปฏิบัติงานต่อคณะอนุกรรมการ (7) ดาเนินงานอื่นใดที่จาเป็นเพื่อประโยชน์ต่อการเลือกตั้ง และเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไป ด้วยความเรียบร้ อย (8) ประธานคณะอนุกรรมการมีอานาจเรียกประชุมคณะอนุกรรมการ และหัวหน้าคณะทางาน ตามที่เห็นสมควร (9) ประธานคณะอนุกรรมการ หรือผู้ที่ประธานคณะอนุกรรมการมอบหมาย เป็นผู้มีอานาจ ประกาศผลการเลือกตั้ง ข้อ 9 ให้ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำงบประมาณการดำเนินงานเพื่อการเลื อกตั้ง เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและอนุมัติ ข้อ 10 ให้ประธานคณะอนุกรรมการรายงานการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด 2 คุณสมบัติและหน้าที่ของสมาชิก ข้อ 11 สมาชิกเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565 ข้อ 12 สมาชิกมีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีรายชื่อสมาชิกผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตามประกาศ คณะอนุกรรมการต้องขอแก้ไขรายชื่อของตนที่ตกหล่นจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และต้องดาเนินการ แก้ไขให้เสร็จสิ้นในสิบวันก่อนวันเลือกตั้ง ข้อ 13 การขอแก้ไขรายชื่อตามข้อ 12 ให้ทาเป็ นคาร้องพร้อมหลักฐาน และเอกสารยื่น ต่อประธานคณะอนุกรรมการ หากพ้นกำหนดเวลาแล้วให้ถือว่าสมาชิกผู้นั้นสละสิทธิการเลือกตั้ง หมวด 3 คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งและการรับสมัครเลือกตั้ง ข้อ 14 สมาชิกผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) มีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นสมาชิกสภาการสัตวบาล ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

(2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ข้อ 15 ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งด้วยตนเอง ณ สถานที่ วัน และเวลา ตามที่คณะอนุกรรมการประกาศกาหนด และให้ยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารและภาพถ่าย ดังต่อไปนี้ (1) บัตรประจาตัวประชาชน หรือบัตรประจาตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมสาเนา จำนวน 1 ฉบับ (2) ภาพถ่ายตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด ให้การรับสมัครผู้สมัครรับเลื อกตั้ง ทำได้ด้วยวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ 16 กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งถูกปฏิเสธการรับสมัครและไม่เห็นชอบกับการนั้นให้ยื่นคำร้อง พร้อมหลักฐานและเหตุผล ต่อคณะอนุกรรมการในห้าวันทาการนับแต่วันที่ถูกคณะทางานปฏิเสธ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยโ ดยไม่ชักช้า หากผลการวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการยังไม่เป็น ที่พอใจ ให้ยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย ของคณะอนุกรรมการ ให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า และให้คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด ข้อ 17 การกา หนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคน ให้เป็นไปตามลำดับเวลา การยื่นใบสมัครต่อคณะทางานนับตั้งแต่เวลาเปิดให้ยื่นใบสมัคร กรณีผู้สมัครมาถึงสถานที่รับสมัคร ก่อนเวลากาหนด และแสดงตนโดยการยื่นใบสมัคร ให้ถือว่าผู้สมัครดังกล่าวมาถึงสถานที่รับสมัคร พร้อมกั นให้ผู้สมัครตกลงกันว่าจะให้ผู้สมัครคนใดยื่นใบสมัครในลาดับก่อนหรือหลัง หรือโดยวิธีอื่น ตามที่ตกลงกันระหว่างผู้สมัครและคณะทางาน กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ ให้คณะทางานรับสมัคร ใช้วิธีจับฉลากกำหนดลำดับการยื่นใบสมัครเป็นรายบุคคล ข้อ 18 ให้ใช้หมายเลขประจาตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่คณะอนุกรรมการประกาศตามข้อ 8 (3) เป็นหมายเลขที่ใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้ง หมวด 4 วิธีการเลือกตั้ง ข้อ 19 การลงคะแนนเลือกตั้งเป็นสิทธิเฉพาะตน ให้ใช้วิธีเลือกตั้งแบบปิดลับ สมาชิกหนึ่งคน มีหนึ่งเสียง และเลือกกรรมการได้เท่าจำนวนกรรมการที่เลือกตั้งตามข้อ 5 ข้อ 20 ให้คณะกรรมการเลือกวิธีการเลือกตั้ง ตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) วิธีการลงคะแนนแบบหย่อนบัตรลงคะแนนในหีบบัตรลงคะแนน ให้กระทา ณ สถานที่ ที่เป็นคูหาตามที่คณะอนุกรรมการกาหนดในวันเลือกตั้ง ซึ่งอาจมีหลายแห่งก็ได้ กรณีนี้ ให้มีคณะทำงาน กำกับดูแลสถานที่ที่เป็นคูหาเลือกตั้ง คณะทำงานดูแลหีบบัตรลงคะแนนและการขนส่งหีบบัตรลงคะแนน คณะทำงานนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ณ สถานที่นับคะแนนซึ่งเป็นสถานที่ที่สมาชิกและผู้สมัคร รับเลือกตั้งสามารถสังเกตการนับค ะแนนได้ อาจมีสถานที่นับคะแนนมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้ คณะทำงาน ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

ปิดผนึกหีบบัตรลงคะแนน เก็บรักษาหีบบัตรลงคะแนน และทาลายบัตรลงคะแนนเมื่อคณะกรรมการ สั่งให้ทำลายตามวิธีที่กำหนด และอาจมีคณะทำงานอื่นตามความจำเป็นอีกก็ได้ (2) วิธีการลงคะแนนแบบส่งบัตรลงคะแนนผ่านทาง ไปรษณีย์ ให้ใช้บัตรลงคะแนนแบบปิดผนึก และใช้ตราประทับไปรษณีย์เป็นวันเวลาที่สมาชิกทำการลงคะแนน ให้สมาชิกเริ่มลงคะแนนเสียง ก่อนกำหนดวันเลือกตั้งเจ็ดวันและปิดรับการลงคะแนนเสียงก่อนกำหนดวันเลือกตั้งยี่สิบสี่ชั่วโมง กรณีนี้ให้มีคณะทางานประสานงานการไปรษณีย์เพื่ อเช่าตู้ไปรษณีย์ให้เป็นเสมือนหีบบัตรลงคะแนน และเคลื่อนย้ายบัตรลงคะแนนไปยังสถานที่นับคะแนนในวันเลือกตั้ง คณะทางานกากับดูแลสถานที่ นับคะแนนซึ่งเป็นสถานที่ที่สมาชิกและผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถสังเกตการนับคะแนนได้ คณะทางาน ตรวจสอบความถูกต้องของบัตรลงคะแนนแล ะนับคะแนน คณะทางานบรรจุบัตรลงคะแนนลงกล่อง ปิดผนึก เก็บรักษา และทำลายบัตรลงคะแนนเมื่อคณะกรรมการสั่งให้ทาลาย ตามวิธีที่กาหนด และอาจมีคณะทำงานอื่นตามความจำเป็นอีกก็ได้ (3) วิธีการลงคะแนนแบบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และแอปพลิเคชันของสภาการสัตวบาล ให้คณะอนุ กรรมการทำการประชาสัมพันธ์ถึงการเลือกตั้งกรรมการ วิธีการเลือกตั้งกรรมการ และช่องทางที่สมาชิกสามารถติดต่อขอข้อมูลและวิธีการลงคะแนนจากเจ้าหน้าที่สภาการสัตวบาล และให้สมาชิกลงคะแนนเสียงในวันเลือกตั้ง กรณีนี้ ให้มีคณะทางานควบคุมระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ ใน การลงคะแนนให้เป็นไปตามกฎหมายและประกาศของทางราชการที่เกี่ยวกับมาตรฐานความมั่นคง และปลอดภัยของการทาธุรกรรมผ่านเครือข่ายระบบอิเล็กทรอนิกส์ และให้มีหน้าที่ตรวจสอบตัวตน ของสมาชิกผู้ใช้สิทธิลงคะแนน ความถูกต้องของการลงคะแนน การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลและ การลง คะแนนไว้เป็นความลับและให้มีหน้าที่ลบข้อมูลส่วนบุคคลและการลงคะแนนเมื่อคณะกรรมการ สั่งให้ลบข้อมูลออกจากหน่วยความจาของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการลงคะแนนเสียง และอาจมี คณะทำงานอื่นตามความจำเป็นอีกก็ได้ (4) วิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด 5 การตัดสินและประกาศผลการเลือกตั้ง ข้อ 21 เมื่อการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ ให้จัดทาบัญชีรายชื่อผู้สมัคร รับเลือกตั้งเรียงตามลาดับคะแนนที่ได้จากการลงคะแนน จากมากไปหาน้อย ให้ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุด และผู้ที่ได้คะแนนลดหลั่นกันลงมาได้เป็นกร รมการ ทั้งนี้ ให้ได้กรรมการครบจำนวนตามข้อ 5 กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้คะแนนเสียงเท่ากันสำหรับตำแหน่งกรรมการในลำดับสุดท้าย หรือลาดับรองสุดท้าย ซึ่งมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเท่ากัน ให้คณะอนุกรรมการตัดสินเลือกผู้สมัครที่มีคะแนนเท่ากัน ด้วยวิธีจับฉลาก เพื่ อให้ได้กรรมการครบจำนวนตามข้อ 5 ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

ข้อ 22 ให้ประธานคณะอนุกรรมการ หรือผู้ที่ประธานคณะอนุกรรมการมอบหมาย ประกาศผลการเลือกตั้ง โดยประกาศเรียงลาดับจากผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดและผู้ที่ได้คะแนนลดหลั่น กันลงมา จนได้จำนวนกรรมการครบตามข้อ 5 หมวด 6 การคัดค้านผลการเลือกตั้ง ข้อ 23 ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น เป็นผู้มีสิทธิทาคาร้องคัดค้านการเลือกตั้ง โดยระบุ สาเหตุแห่งคาร้อง และชื่อบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนที่สามารถนาไปสู่การสอบสวนได้ เสนอต่อคณะกรรมการภายในเจ็ดวันทาการนับแต่วั นประกาศผลการเลือกตั้งพร้อมพยานหลักฐาน และเหตุผล ข้อ 24 ให้คณะกรรมการพิจารณาในเบื้องต้น ดังนี้ (1) คาร้องคัดค้านว่า มีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการตามข้อ 22 มีการกระทาทุจริต หรือทาการอันขัดต่อกฎหมาย หรือข้อบังคับสภาการสัตวบำล เมื่อคณะกรรมการ พิจารณาในเบื้องต้นแล้วเห็นว่าคาร้องนั้นไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่มีมูล ให้ส่งคืนคาร้องพร้อม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ กรณีคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าคาร้องนั้นมีมูลให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สอบสวนคาร้องคัดค้าน เพื่อดำเนินการสอบ สวนตามคำร้องนั้น กรณีมีคาร้องคัดค้านหลายฉบับ คณะกรรมการอาจรวมคาร้องคัดค้านที่มีมูลเหตุและคาร้องคล้ายกันจากผู้ร้องหลายคนเพื่อพิจารณา ไปพร้อมกันก็ได้ หรือให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนคาร้องคัดค้านหลายคณะ เพื่อให้การสอบสวนคาร้องที่มีมูลเหตุ และ คาร้องต่างกันก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาคำร้องเป็นไปด้วย ความรวดเร็วและเป็นธรรม (2) คำร้องคัดค้าน กรณีการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งคลาดเคลื่อน ให้คณะกรรมการพิจารณา ในเบื้องต้นว่าคะแนนเสียงที่อาจเปลี่ยนไปตามคาร้องนั้นทาให้ผลการเลือกตั้งกรรมการเปลี่ยนไปหรือไม่ กรณีไม่อาจทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนไป ให้ส่งคืนคำร้องพร้อมคาวินิจฉัยของคณะกรรมการ กรณีที่อาจทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนไปตามคำร้อง ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ตรวจสอบคะแนนเสียงเพื่อดำเนินการนับคะแนนเสียงใหม่ตามคาร้องนั้น ข้อ 25 การพิจารณาคาร้องตามข้อ 24 (1) ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สอบสวนคำร้องคัดค้าน ประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) เป็นประธานคณะอนุกรรมการสอบสวนคำร้องคัดค้านหนึ่งคน และให้กรรมการ หรือสมาชิก เป็นคณะอนุกรรมการสอบสวนคาร้องคั ดค้านอีกสี่คน ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนคาร้องคัดค้าน ดาเนินการตามคาสั่งคณะกรรมการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทาการ โดยให้สอบสวนข้อเท็จจริง และส่งรายงานการสอบสวนพร้อมความคิดเห็นให้คณะกรรมการ เพื่อการพิจารณาและวินิจฉัย ดังนี้ ้ หนา 44 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

(1) กรณีได้ข้อเท็จจริงว่าผู้สมัคร รับเลือกตั้ง ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการตามข้อ 22 มิได้กระทาทุจริตหรือกระทาการอันขัดต่อกฎหมาย หรือข้อบังคับสภาการสัตวบาล ให้คณะกรรมการ มีมติและคำวินิจฉัย ให้ยกคาร้องนั้น (2) กรณีได้ข้อเท็จจริงว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการตาม ข้อ 22 กระทาทุจริตหรือกระทาการอันขัดต่อกฎหมาย หรือข้อบังคับสภาการสัตวบาลตามคาร้องคัดค้าน ให้คณะกรรมการมีมติและคำวินิจฉัย ให้การเป็นกรรมการที่ประกาศตามข้อ 22 นั้นเป็นโมฆะเฉพาะตัว ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการประกาศเลื่อนผู้สมัครที่ได้คะแนน เสียงลำดับถัดไป ให้ดารงตาแหน่งกรรมการ หากผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงในลาดับถัดไปมีคะแนนเสียงเท่ากันตั้งแต่สองคน ขึ้นไป ให้ตัดสินชี้ขาดโดยการจับฉลาก และให้ลงโทษผู้สมัครที่กระทาผิดตามคาร้องคัดค้าน โดยให้ ตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการของผู้นั้นเ ป็นเวลาสิบปี และให้เลขาธิการลงบันทึกประวัติ ของผู้นั้นในทะเบียนสมาชิก หากการสอบสวนไม่แล้วเสร็จตามกาหนดเวลาในวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการชี้แจงเหตุผล ต่อคณะกรรมการเพื่อขอขยายเวลาได้อีกครั้งละสิบห้าวันทำการ แต่ต้องไม่เกินสองครั้ง ข้อ 26 การพิจารณาคาร้องตามข้อ 24 (2) ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ตรวจสอบคะแนนเสียง ประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) เป็นประธาน คณะอนุกรรมการตรวจสอบคะแนนเสียงหนึ่งคน และให้กรรมการ หรือสมาชิก เป็นคณะอนุกรรมการ ตรวจสอบคะแนนเสียงอี กสี่คน และให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคะแนนเสียง ดาเนินการตามคาสั่ง คณะกรรมการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทาการ โดยให้ตรวจสอบบัตรลงคะแนนและนับคะแนนจาก บัตรลงคะแนนที่เก็บในวันเลือกตั้ง และส่งรายงานการตรวจสอบคะแนนเสียงใหม่ พร้อมจัดทาบัญชีรายชื่อ ตามข้อ 21 ให ม่ และส่งให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาและวินิจฉัย ดังนี้ (1) กรณีได้ข้อเท็จจริงว่า การตรวจนับคะแนนเสียงใหม่ ได้ผลคะแนนเสียงเท่ากับคะแนนเสียง ในวันเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการมีมติและคำวินิจฉัย ให้ยกคาร้องนั้น (2) กรณีได้ข้อเท็จจริงว่า การตรวจนับคะแนนเสียงใหม่ แล้ว ได้ผลคะแนนเสียงต่างจาก คะแนนเสียงเดิมที่นับในวันเลือกตั้ง แต่เมื่อจัดเรียงลำดับรายชื่อตามคะแนนที่ผู้สมัครได้รับ แล้วไม่ทำให้ รายชื่อกรรมการที่ประกาศตามข้อ 22 เปลี่ยนแปลงไป ให้กรรมการมีมติและคาวินิจฉัยยืนตาม ประกาศในข้อ 22 (3) กรณีผลการตรวจนับคะแน นเสียงใหม่ต่างจากคะแนนเสียงเดิมที่นับในวันเลือกตั้งและ ทาให้ลาดับรายชื่อตามคะแนนเสียงใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากประกาศตามข้อ 22 ให้กรรมการมีมติและ คาวินิจฉัยให้รายชื่อกรรมการที่ประกาศตามข้อ 22 นั้นเป็นโมฆะ และประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง เป็นกรรมการใหม่ โด ยเรียงลำดับจากผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดและผู้ที่ได้คะแนนลดหลั่นกันลงมา จนได้จานวนกรรมการครบตามข้อ 5 หากผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงลาดับสุดท้าย หรือรองสุดท้าย มีคะแนนเสียงเท่ากันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ให้ตัดสินชี้ขาดโดยการจับฉลาก ้ หนา 45 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

หากการตรวจสอบคะแนนไม่แล้วเสร็ จในเวลาที่กาหนดตามวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการ ชี้แจงเหตุผลต่อคณะกรรมการเพื่อขอขยายเวลาได้อีกครั้งละสิบห้าวันทำการ แต่ต้องไม่เกินสองครั้ง ข้อ 27 ให้มติและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามข้อ 25 และข้อ 26 เป็นที่สุด ให้ประกาศมติ และคาวินิจฉัยโดยเปิดเผย ณ ที่ ทาการสภาการสัตวบาล และสถานที่อื่น หรือโดยวิธีอื่น ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 ประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกสภาการสัตวบาล ้ หนา 46 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566