Wed Jul 19 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 25 ว่าด้วยคุณสมบัติและสิทธิทำการของผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจำหน้าที่นายช่างภาคพื้นดิน


ข้อบังคับของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 25 ว่าด้วยคุณสมบัติและสิทธิทำการของผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจำหน้าที่นายช่างภาคพื้นดิน

ข้อบังคับของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 25 ว่าด้วยคุณสมบัติและสิทธิทําการของผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 / 1 มาตรา 15 ( 7 ) มาตรา 44 ( 3 ) และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ . ศ . 2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ . ศ . 2497 พ . ศ . 2558 ประกอบกับมติคณะกรรมการการบินพลเรือน ในคราวประชุมครั้งที่ 2 / 2566 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ผู้อํานวยการสํานักงานการบินพลเรือน แห่งประเทศไทย จึงออกข้อบังคับเพื่อให้สอดคล้องตามภาคผนวก 1 และบทแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก 1 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค . ศ . 1944 และ EASA Part-66 Aircraft Maintenance License (AML) เกี่ยวกับคุณสมบัติและสิทธิทําการของผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่ นายช่างภาคพื้นดินไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับฉบับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 25 ว่าด้วยคุณสมบัติและสิทธิทําการของผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดิน ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ . ศ . 2566 เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 77 ว่าด้วยคุณสมบัติ และสิทธิทําการของผู้ขออนุญาตเป็นนายช่างภาคพื้นดิน ลงวันที่ 4 มกราคม พ . ศ . 2551 ข้อ 4 ในข้อบังคับฉบับนี้ “ การบํารุงรักษา ” (Maintenance) หมายความว่า งานที่ต้องทําเพื่อให้อากาศยานคงความต่อเนื่อง ของความสมควรเดินอากาศ รวมทั้งการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างกับอากาศยาน ส่วนประกอบสําคัญของอากาศยาน ชิ้นส่วนของอากาศยานและบริภัณฑ์ ที่เกี่ยวกับการซ่อมใหญ่ (Overhaul) การตรวจพินิจ (Inspection) การถอดเปลี่ยน (Replacement) การแก้ไขข้อบกพร่อง (Defect rectification) และการดัดแปลง (Modification) หรือการซ่อมแซมต่าง ๆ (Repair) แต่ไม่รวมถึง การตรวจพินิจเบื้องต้นก่อนทําการบิน (Pre-flight inspection) “ การบํารุงรักษาอากาศยานระดับสถานีหลัก ” (Base Maintenance) หมายความว่า งานใด ๆ ที่ไม่ใช่การบํารุงรักษาอากาศยานระดับสถานีย่อยและลานจอดอากาศยาน (Line Maintenance) “ การบํารุงรักษาอากาศยานระดับสถานีย่อยและลานจอดอากาศยาน ” (Line Maintenance) หมายความว่า การบํารุงรักษาใด ๆ ที่ดําเนินการก่อนที่อากาศยานจะปฏิบัติการบินเพื่อให้มั่นใจได้ว่า อากาศยานมีความปลอดภัยและเหมาะสมสําหรับปฏิบัติการบิน “ อากาศยานที่มีความซับซ้อน ” (Complex motor-powered aircraft) หมายความว่า อากาศยานใด ๆ ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

(1) เครื่องบินที่มีมวลรวมวิ่งขึ้นสูงสุดมากกว่า 5,700 กิโลกรัม หรือบรรทุกผู้โดยสารมากกว่า 19 ที่นั่ง หรือปฏิบัติการบินโดยใช้นักบินไม่น้อยกว่า 2 คน หรือใช้เครื่องยนต์กังหันก๊าซ (Turbojet) หนึ่งเครื่องยนต์หรือมากกว่า หรือเครื่องยนต์กังหันก๊าซใบพัด (Turboprop) หลายเครื่องยนต์ หรือ (2) เฮลิคอปเตอร์ที่ได้รับการรับรองตามใบรับรองแบบ (Type Certificate) ว่ามีมวลรวม วิ่งขึ้นสูงสุดมากกว่า 3,175 กิโลกรัม หรือบรรทุกผู้โดยสารมากกว่า 9 ที่นั่ง หรือปฏิบัติการบิน โดยใช้นักบินตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือ (3) อากาศยานที่สามารถปฏิบัติการบินโดยขึ้นลงทางดิ่ง (Tilt rotor aircraft) “ อากาศยานเบา LA1 ” ( LA1 aircraft) หมายความว่า อากาศยานที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เครื่องบินที่ใบรับรองแบบ (Type Certificate) ระบุว่ามีมวลรวมวิ่งขึ้นสูงสุดไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม และไม่ใช่อากาศยานที่มีความซับซ้อน (Complex motor-powered aircraft) (2) เครื่องร่อนหรือเครื่องร่อนที่มีกําลังขับเคลื่อน ซึ่งใบรับรองแบบ (Type Certificate) ระบุว่ามีมวลรวมวิ่งขึ้นสูงสุดไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม (3) บัลลูนที่ใช้แก๊สหรืออากาศร้อน ซึ่งมีปริมาณสูงสุดไม่เกิน 3,400 ลูกบาศก์เมตร ( m 3 ) สําหรับบัลลูนที่ใช้อากาศร้อน (Hot-air Balloon) หรือ 1,050 ลูกบาศก์เมตร (m 3 ) สําหรับบัลลูน ที่ใช้แก๊ส (Gas balloons) และ 300 ลูกบาศก์เมตร (m 3 ) สําหรับบัลลูนล่าม (Tethered gas balloons) (4) นาวาอากาศ ที่มีที่นั่งไม่เกิน 4 ที่นั่งและใช้แก๊สหรือความร้อนในการยกตัวขึ้น โดยมีขนาด ไม่เกิน 3,400 ลูกบาศก์เมตร ( m 3 ) สําหรับ นาวาอากาศที่ใช้อากาศร้อน (Hot air airships) และ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ( m 3 ) สําหรับ นาวาอากาศที่ใช้แก๊ส (Gas airships) “ อากาศยานเบา LA2 ” ( LA2 aircraft) หมายความว่า อากาศยานที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เครื่องบินที่ใบรับรองแบบ (Type Certificate) ระบุว่ามีมวลรวมวิ่งขึ้นสูงสุดไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม และไม่ใช่อากาศยานที่มีความซับซ้อน (Complex motor-powered aircraft) (2) เครื่องร่อนหรือเครื่องร่อนที่มีกําลังขับเคลื่อน ซึ่งใบรับรองแบบ (Type Certificate) ระบุว่ามีมวลรวมวิ่งขึ้นสูงสุดไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม (3) บัลลูน (4) นาวาอากาศที่ใช้อากาศร้อน (Hot air airships) (5) นาวาอากาศที่ใช้แก๊ส (Gas airships) ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้ ( ก ) มีน้ําหนักคงที่สูงสุดร้อยละ 3 ( 3% Maximum static heaviness) ( ข ) แรงขับเคลื่อนไม่สามารถปรับทิศทางได้ (Non-vectored thrust) เว้นแต่มีระบบ แรงขับเคลื่อนย้อนกลับ (Reverse thrust) ( ค ) มีโครงสร้างระบบการควบคุมและระบบของนาวาอากาศที่มีการออกแบบเรียบง่าย และ ( ง ) ไม่มีระบบเพิ่มแรงในการควบคุมการบิน (non-power assisted controls) ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

(6) อากาศยานปีกหมุน (Very Light Rotorcraft) “ พนักงานสนับสนุน ” (Support Staff) หมายความว่า พนักงานที่ถือใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่ นายช่างภาคพื้นดินประเภท B1, B2, B2L, B3 หรือ L ตามที่กําหนดในข้อบังคับนี้ ที่ปฏิบัติงาน การบํารุงรักษาอากาศยานระดับสถานีหลักโดยไม่จําเป็นต้องมีสิทธิทําการในฐานะพนักงานผู้ทําหน้าที่รับรอง (Certifying Staff) “ พนักงานผู้ทําหน้าที่รับรอง ” (Certifying Staff) หมายความว่า พนักงานที่ถือใบอนุญาต ผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินประเภท A, B1, B2, B3 , L หรือ C ตามที่กําหนดในข้อบังคับนี้ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบลงนามรับรองอากาศยานภายหลังจากการบํารุงรักษาอากาศยาน ระดับสถานีหลัก การบํารุงรักษาอากาศยานระดับสถานีย่อยและลานจอดอากาศยาน แล้วแต่กรณี “ สถาบัน ” หมายความว่า สถาบันฝึกอบรมนายช่างภาคพื้นดินที่ได้รับใบรับรองสถาบันฝึกอบรม นายช่างภาคพื้นดินและได้รับการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมจากผู้อํานวยการ “ ผู้อํานวยการ ” หมายความว่า ผู้อํานวยการสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ข้อ 5 ใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ (1) ใบอนุญาตประเภท A ออกให้สําหรับการบํารุงรักษาเบื้องต้น (Minor) สําหรับเครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์ โดยแบ่งตามประเภทของเครื่องยนต์กังหันก๊าซ และเครื่องยนต์ลูกสูบ ซึ่งแบ่งออกเป็น ประเภทย่อย ได้ดังนี้ ( ก ) ประเภท A1 สําหรับการบํารุงรักษาเครื่องบินเครื่องยนต์กังหันก๊าซ ( ข ) ประเภท A2 สําหรับการบํารุงรักษาเครื่องบินเครื่องยนต์ลูกสูบ ( ค ) ประเภท A3 สําหรับการบํารุงรักษาเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์กังหันก๊าซ ( ง ) ประเภท A4 สําหรับการบํารุงรักษาเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์ลูกสูบ (2) ใบอนุญาตประเภท B1 ออกให้สําหรับการบํารุงรักษาระดับที่มีความยุ่งยากซับซ้อน สําหรับเครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์ โดยแบ่งตามประเภทของเครื่องยนต์กังหันก๊าซ และเครื่องยนต์ลูกสูบ ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ได้ดังนี้ ( ก ) ประเภท B1.1 สําหรับการบํารุงรักษาเครื่องบินเครื่องยนต์กังหันก๊าซ ( ข ) ประเภท B1.2 สําหรับการบํารุงรักษาเครื่องบินเครื่องยนต์ลูกสูบ ( ค ) ประเภท B1.3 สําหรับการบํารุงรักษาเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์กังหันก๊าซ ( ง ) ประเภท B1.4 สําหรับการบํารุงรักษาเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์ลูกสูบ (3) ใบอนุญาตประเภท B2 ออกให้สําหรับการบํารุงรักษาระบบเอวิโอนิกส์ (Avionics System) ( 4 ) ใบอนุญาตประเภท B2L ออกให้สําหรับการบํารุงรักษาอากาศยานที่ไม่ใช่อากาศยาน อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ( ก ) อากาศยานที่มีความซับซ้อน (Complex motor-powered aircraft) ( ข ) เฮลิคอปเตอร์ที่มีหลายเครื่องยนต์ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

( ค ) เครื่องบินที่สามารถปฏิบัติการบินได้สูงกว่าระดับ 29,000 ฟุต ( ง ) อากาศยานที่ติดตั้งระบบควบคุมการบินผ่านสายสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงกลไก ควบคุมบังคับต่าง ๆ (fly by wire) ( จ ) อากาศยานอื่นที่ผู้อํานวยการกําหนดศักยทําการเฉพาะแบบ ทั้งนี้ จะต้องมีสิทธิทําการของระบบ (System Rating) ดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ระบบ ได้แก่ ระบบการสื่อสารและการนําทาง (Communication/Navigation System) ระบบเครื่องวัดประกอบ การบิน (Instruments System) ระบบการบินโดยอัตโนมัติ (Autoflight System) ระบบติดตามอากาศยาน (Surveillance System) หรือระบบลําตัวเครื่องบิน (Airframe Systems) ( 5 ) ใบอนุญาตประเภท B3 ออกให้สําหรับการบํารุงรักษาเครื่องบินที่ไม่มีระบบปรับแรงดันอากาศ แบบเครื่องยนต์ลูกสูบที่มีมวลรวมวิ่งขึ้นสูงสุดไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม ( 6 ) ใบอนุญาตประเภท L ออกให้สําหรับการบํารุงรักษาอากาศยาน 9 ประเภทย่อย ดังนี้ ( ก ) ประเภท L1C เครื่องร่อนทําจากคอมโพสิต ( วัสดุขึ้นรูป ) ( ข ) ประเภท L1 เครื่องร่อน ( ค ) ประเภท L2C เครื่องร่อนที่ทําจากคอมโพสิต ( วัสดุขึ้นรูป ) แบบมีเครื่องยนต์และ เครื่องบินที่จัดอยู่ในอากาศยานประเภทอากาศยานเบา LA1 คอมโพสิต (Composite powered sailplanes and Composite LA1 aeroplanes) ( ง ) ประเภท L2 เครื่องร่อนแบบมีเครื่องยนต์และเครื่องบินประเภทอากาศยานเบา LA1 (powered sailplanes and LA1 aeroplanes) ( จ ) ประเภท L3H บัลลูนที่ใช้อากาศร้อน (Hot-air balloons) ( ฉ ) ประเภท L3G บัลลูนที่ใช้แก๊ส (Gas balloons) ( ช ) ประเภท L4H นาวาอากาศที่ใช้อากาศร้อน (Hot-air airships) ( ซ ) ประเภท L4G นาวาอากาศประเภทอากาศยานเบา LA2 (Gas airships) ( ฌ ) ประเภท L5 นาวาอากาศที่ใช้แก๊สอื่นนอกจาก ( ซ ) ( 7 ) ใบอนุญาตประเภท C ออกให้สําหรับการบํารุงอากาศยานระดับสถานีหลัก ข้อ 6 ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า 18 ปีบริบูรณ์ ข้อ 7 ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินต้องมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ เหมาะสมกับหน้าที่ที่จะปฏิบัติ ข้อ 8 ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินต้องมีความรู้ในเรื่อง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กฎหมายการบินและข้อกําหนดว่าด้วยความสมควรเดินอากาศ (Air Law and Airworthiness Requirements) ( 2 ) กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับผู้ถือใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดิน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

( 3 ) ข้อกําหนดว่าด้วยความสมควรเดินอากาศของอากาศยานที่ใช้กับการรับรองความสมควร เดินอากาศ การคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศ และการรับรองหน่วยซ่อม ( 4 ) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอากาศยาน (Natural Science and Aircraft General Knowledge) ในเรื่อง ( ก ) คณิตศาสตร์เบื้องต้น ( ข ) หน่วยมิติในการวัด ( ค ) หลักการและทฤษฎีพื้นฐานทางฟิสิกส์และเคมีที่ใช้ในการบํารุงรักษาอากาศยาน ( 5 ) วิศวกรรมอากาศยาน (Aircraft Engineering) ในเรื่อง ( ก ) คุณลักษณะและการใช้วัสดุในการสร้างอากาศยาน ( ข ) หลักการสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างอากาศยาน ( ค ) เทคนิคในการยึดวัสดุ ( ง ) ระบบเครื่องยนต์และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง ( จ ) ต้นกําลังทางเครื่องกล ของไหล (Fluid) ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ( ฉ ) เครื่องวัดประกอบการบินและระบบแสดงผล ( ช ) ระบบควบคุมอากาศยาน ( ซ ) ระบบช่วยการเดินอากาศที่ติดตั้งบนอากาศยาน และระบบติดต่อสื่อสาร (6) การบํารุงรักษาอากาศยาน (Aircraft Maintenance) ในเรื่อง ( ก ) งานที่ต้องปฏิบัติเพื่อคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศของอากาศยานหรือ ชิ้นส่วนของอากาศยาน ( ข ) วิธีและขั้นตอนการทํางานสําหรับการซ่อม ซ่อมใหญ่ การตรวจพินิจ ถอดเปลี่ยน ดัดแปลง หรือการแก้ไขข้อบกพร่องแก่โครงสร้างอากาศยาน ชิ้นส่วนและระบบ ตามวิธีที่ระบุไว้ในคู่มือ การบํารุงรักษาอากาศยาน ( ค ) ข้อกําหนดความสมควรเดินอากาศอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 7 ) สมรรถนะบุคคล (Human Performance) ที่เกี่ยวข้องกับนายช่างภาคพื้นดิน ข้อ 9 ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินต้องมีความชํานาญโดยสําเร็จ การศึกษาตามหลักสูตรนายช่างภาคพื้นดินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ผู้อํานวยการรับรองจากสถาบัน ที่ผู้อํานวยการรับรอง และต้องมีความชํานาญในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานหรือ ส่วนประกอบของอากาศยานตามประเภทของใบอนุญาต ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ใบอนุญาตประเภท A ประเภท B1.2 ประเภท B1.4 และประเภท B.3 จะต้องมี ความชํานาญในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานโดยปฏิบัติงานกับอากาศยานที่ยังคง ปฏิบัติการบินจริงมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

( 2 ) ใบอนุญาตประเภท B1.1 ประเภท B1.3 ประเภท B2 จะต้องมีความชํานาญในการทํางาน เกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานโดยปฏิบัติงานกับอากาศยานที่ยังคงปฏิบัติการบินจริงมาไม่น้อยกว่า 2 ปี ( 3 ) ใบอนุญาตประเภท B2L จะต้องมีความชํานาญในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยาน โดยปฏิบัติงานกับอากาศยานที่ยังคงปฏิบัติการบินจริงมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งรวมถึงศักยทําการของระบบใด ระบบหนึ่งตามข้อ 5 ( 4 ) และกรณีการขอเพิ่มศักยทําการของระบบใหม่ ต้องมีความชํานาญในการทํางาน เกี่ยวกับการบํารุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับศักยทําการระบบใหม่ที่ขอเพิ่มมาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ( 4 ) ใบอนุญาตประเภท L จะต้องมีความชํานาญในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยาน โดยปฏิบัติงานกับอากาศยานที่ยังคงปฏิบัติการบินจริงมาไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการ บํารุงรักษาในประเภทย่อยอื่น กรณีขอใบอนุญาตประเภท L รวมกันหลายประเภทย่อย ต้องมีความชํานาญ ในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินประเภท L1C ประเภท L1 ประเภท L2C และประเภท L2 ซึ่งเป็นผู้ถือใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินประเภท B1.2 หรือประเภท B3 อยู่แล้ว ให้ถือว่ามีความชํานาญในการทํางานสําหรับการขอใบอนุญาตประเภท L1C ประเภท L1 ประเภท L2C และประเภท L2 ( 5 ) ใบอนุญาตประเภท C ที่ออกให้สําหรับการบํารุงรักษาอากาศยานระดับสถานีหลักที่เป็น อากาศยานที่มีความซับซ้อน (Complex motor-powered aircraft) จะต้อง ( ก ) มีความชํานาญในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานที่ยังคงปฏิบัติการบินจริง ตามสิทธิทําการใบอนุญาตประเภท B1.1 ประเภท B1.3 หรือประเภท B2 กับอากาศยานที่มีความซับซ้อน (Complex motor-powered aircraft) มาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือทําหน้าที่เป็นพนักงานสนับสนุน (Support Staff) กับหน่วยซ่อมที่ผู้อํานวยการรับรอง หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน หรือ ( ข ) มีความชํานาญในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานที่ยังคงปฏิบัติการบินจริง ตามสิทธิทําการใบอนุญาตประเภท B1.2 หรือประเภท B1.4 กับอากาศยานที่มีความซับซ้อน (Complex motor-powered aircraft) มาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือทําหน้าที่เป็นพนักงานสนับสนุน (Support Staff) กับหน่วยซ่อมที่ผู้อํานวยการรับรองหรือทั้งสองอย่างร่วมกัน ( 6 ) ใบอนุญาตประเภท C ที่ออกให้สําหรับการบํารุงรักษาอากาศยานที่ไม่ใช่อากาศยาน ที่มีความซับซ้อน ต้องมีความชํานาญในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานที่ยังคงปฏิบัติการบินจริง ตามสิทธิทําการใบอนุญาตประเภท B1 หรือประเภท B2 กับอากาศยานประเภทอื่นนอกจากอากาศยาน ที่มีความซับซ้อน (Complex motor-powered aircraft) มาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือทําหน้าที่เป็นพนักงาน สนับสนุน (Support Staff) กับหน่วยซ่อมที่ผู้อํานวยการรับรองหรือทั้งสองอย่างร่วมกัน ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

กรณีขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินครั้งแรก ผู้ขอต้องมีความชํานาญในการทํางาน เกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานตามระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับใบอนุญาตแต่ละประเภทตาม ( 1 ) - ( 6 ) โดยในระยะเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นประสบการณ์ล่าสุด (Recent Maintenance Experience) ไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนวันที่ยื่นคําขอ กรณีขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินประเภทอื่นเพิ่มเติม ผู้ขอต้องมีความชํานาญ ในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานตามระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับใบอนุญาตแต่ละประเภท ที่ขอเพิ่มเติมตาม ( 1 ) - ( 6 ) โดยในระยะเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นประสบการณ์ล่าสุด (Recent Maintenance Experience) ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันที่ยื่นคําขอ ซึ่งประสบการณ์ล่าสุดที่กําหนดจะขึ้นอยู่กับ ความแตกต่างระหว่างประเภทของใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินที่ถืออยู่กับประเภทของ ใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินที่ขอเพิ่มเติม และประสบการณ์ล่าสุดดังกล่าวจะต้องเป็นไปตาม มาตรฐานของใบอนุญาตประเภทที่ขอเพิ่มเติม ข้อ 10 ผู้ถือใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินที่จะขอมีศักยทําการอากาศยาน เฉพาะแบบ (Type Rating) ต้องมีความชํานาญโดยสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรศักยทําการอากาศยาน เฉพาะแบบที่ผู้อํานวยการรับรองจากสถาบันที่ผู้อํานวยการรับรอง หรือหลักสูตรศักยทําการอากาศยาน เฉพาะแบบที่ผู้อํานวยการรับรองแล้วแต่กรณี ตามที่ผู้อํานวยการกําหนด หรือมีความชํานาญในการทํางาน เกี่ยวกับบํารุงรักษาตามประเภทของใบอนุญาตตามที่ผู้อํานวยการกําหนด ข้อ 11 ผู้ขอใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินและผู้ขอมีศักยทําการอากาศยาน เฉพาะแบบ (Type Rating) จะต้องแสดงให้เห็นได้ว่ามีความชํานาญตามประเภทของใบอนุญาตหรือ ศักยทําการที่ขอในการปฏิบัติหน้าที่ตามสิทธิทําการที่จะได้รับโดยผ่านการทดสอบภาคปฎิบัติ (Skill test) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อํานวยการกําหนด ข้อ 12 ผู้ถือใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินมีสิทธิทําการตามประเภทของใบอนุญาต ดังนี้ ( 1 ) ประเภท A มีสิทธิลงนามรับรองการบํารุงรักษารายย่อยตามตารางเวลาการบํารุงรักษา อากาศยานระดับสถานีย่อยและลานจอดอากาศยาน (Line maintenance) และการแก้ไขข้อบกพร่อง (Defect rectification) ภายใต้ขอบเขตของงานที่รับรองโดยเฉพาะ (Specifically endorsed) ตามข้อกําหนดของหน่วยซ่อมที่ผู้อํานวยการรับรอง สิทธิการรับรองเช่นว่านั้นจะถูกจํากัดสําหรับการทํางาน ที่ผู้ถือใบอนุญาตได้ดําเนินการเป็นการส่วนบุคคลภายใต้หน่วยซ่อมที่ดําเนินการออกหนังสือรับรอง ให้ดําเนินการเช่นว่านั้น ( 2 ) ประเภท B1 มีสิทธิลงนามรับรองการบํารุงรักษาและทําหน้าที่เป็นพนักงานสนับสนุน (Support Staff) เกี่ยวกับ ( ก ) การบํารุงรักษาโครงสร้างอากาศยาน ระบบเครื่องยนต์ (Powerplant) ระบบกลไก (Mechanical) และระบบไฟฟ้า (Electrical) ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

( ข ) งานระบบเอวิโอนิกส์ (Avionic) ที่ต้องการการทดสอบอย่างง่าย (Simple tests) เพื่อยืนยันว่าระบบสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องโดยไม่จําเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ใบอนุญาตประเภท B1 จะมีสิทธิทําการตามใบอนุญาตประเภทย่อย A ที่เกี่ยวข้องด้วย ( 3 ) ประเภท B2 มีสิทธิทําการ ดังนี้ ( ก ) ลงนามรับรองการบํารุงรักษาและทําหน้าที่เป็นพนักงานสนับสนุน (Support Staff) เกี่ยวกับ 1) การบํารุงรักษาระบบเอวิโอนิกส์และระบบไฟฟ้า (Avionic and Electrical Systems) และ 2) งานไฟฟ้าและระบบเอวิโอนิกส์ (Avionic) ภายในระบบเครื่องยนต์ (Powerplant) ระบบกลไก (Mechanical) ที่ต้องการการทดสอบอย่างง่าย (Simple tests) เพื่อยืนยันว่าระบบสามารถ ทํางานได้อย่างถูกต้อง ( ข ) ลงนามรับรองการบํารุงรักษารายย่อยตามตารางเวลาการบํารุงรักษาอากาศยานระดับ สถานีย่อยและลานจอดอากาศยาน (Line maintenance) และการแก้ไขข้อบกพร่อง (Defect rectification) ภายใต้ขอบเขตของงานที่รับรองโดยเฉพาะ (Specifically endorsed) ตามข้อกําหนดของหน่วยซ่อม ที่ผู้อํานวยการรับรอง สิทธิการรับรองเช่นว่านั้นจะถูกจํากัดสําหรับการทํางานที่ผู้ถือใบอนุญาตได้ดําเนินการ เป็นการส่วนบุคคลภายใต้หน่วยซ่อมที่ดําเนินการออกหนังสือรับรองให้ดําเนินการเช่นว่านั้น และเป็นไปตาม ข้อจํากัดของศักยทําการอากาศยานเฉพาะแบบตามที่บันทึกลงในใบอนุญาตประเภท B2 ทั้งนี้ ใบอนุญาตประเภท B2 ไม่รวมถึงสิทธิทําการตามใบอนุญาตประเภทย่อย A ( 4 ) ประเภท B2L มีสิทธิลงนามรับรองการบํารุงรักษาและทําหน้าที่เป็นพนักงานสนับสนุน (Support Staff) เกี่ยวกับ ( ก ) การบํารุงรักษาระบบไฟฟ้า (Electrical Systems) ( ข ) การบํารุงรักษาระบบเอวิโอนิกส์ (Avionics System) ภายในข้อจํากัดของศักยทําการ ภายใต้ขอบเขตของงานที่ระบุในใบอนุญาต ( 5 ) ประเภท B3 มีสิทธิลงนามรับรองการบํารุงรักษาและทําหน้าที่เป็นพนักงานสนับสนุน (Support Staff) เกี่ยวกับ ( ก ) การบํารุงรักษาโครงสร้างเครื่องบิน ระบบเครื่องยนต์ (Powerplant System) ระบบกลไก (Mechanical System) และระบบไฟฟ้า (Electrical System) ( ข ) การทํางานของระบบเอวิโอนิกส์ (Avionics System) ที่กําหนดให้ต้องมีการทดสอบ อย่างง่าย (Simple tests) เพื่อยืนยันว่าระบบสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องโดยไม่จําเป็นต้องได้รับ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ( 6 ) ประเภท L มีสิทธิลงนามรับรองการบํารุงรักษาและทําหน้าที่เป็นพนักงานสนับสนุน (Support Staff) เกี่ยวกับ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

( ก ) การบํารุงรักษาโครงสร้างเครื่องบิน ระบบเครื่องยนต์ (Powerplant System) ระบบกลไก (Mechanical System) และระบบไฟฟ้า (Electrical System) ( ข ) การทํางานกับวิทยุ อุปกรณ์วิทยุฉุกเฉิน (Emergency Locator Transmitter : ELT) และระบบรับส่งผ่านสัญญาณ (transponder systems) ( ค ) การทํางานกับระบบเอวิโอนิกส์อื่น (other avionics systems) ที่กําหนดให้ต้องมี การทดสอบอย่างง่าย (Simple tests) เพื่อยืนยันว่าระบบสามารถทํางานได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ใบอนุญาตประเภท L2 ให้มีสิทธิทําการตามใบอนุญาตประเภท L1 ด้วย โดยข้อจํากัดที่มีในใบอนุญาต ประเภทย่อย L2 ให้นํามาใช้บังคับกับใบอนุญาตประเภทย่อย L1 และใบอนุญาตประเภทย่อย L2C ให้มีสิทธิทําการตามใบอนุญาตประเภทย่อย L1C ด้วย ( 7 ) ประเภท C มีสิทธิลงนามรับรองการบํารุงรักษาอากาศยานระดับสถานีหลัก โดยมีสิทธิ ทําการกับอากาศยานทั้งลํา สิทธิทําการของผู้ถือใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินตามข้อนี้จะใช้ได้กับเฉพาะ อากาศยานเฉพาะแบบ (Type) ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ข้อ 13 ผู้ถือใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินจะสามารถใช้สิทธิทําการตามข้อ 12 ได้ก็ต่อเมื่อ ( 1 ) ปฏิบัติตามข้อกําหนดเพื่อดํารงไว้ซึ่งความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศและ ข้อกําหนดของหน่วยซ่อมที่ผู้อํานวยการรับรอง ( 2 ) ภายในกําหนดเวลา 24 เดือน ผู้ถือใบอนุญาตต้องมีประสบการณ์ในการบํารุงรักษาหรือ การบริการตามวาระกับอากาศยานหรือส่วนประกอบของอากาศยานตามสิทธิที่ได้รับเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือได้แสดงให้เห็นได้ว่ายังคงมีคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในการได้รับใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่ นายช่างภาคพื้นดิน ( 3 ) ผู้ถือใบอนุญาตจะต้องมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับรองการบํารุงรักษาตามแบบ อากาศยานที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) ผู้ถือใบอนุญาตต้องมีความสามารถในการอ่าน เขียน และสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับ ที่มีความเข้าใจด้านเอกสารอ้างอิงทางเทคนิคและกระบวนการขั้นตอนที่จําเป็นในการสนับสนุนสําหรับ การรับรองการบํารุงรักษาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ( 5 ) ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ถือใบอนุญาตต้องไม่ตกอยู่ภายใต้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ได้แก่ แอลกอฮอล์ ฝิ่น กัญชา ยากดประสาท ยานอนหลับ โคเคน สารกระตุ้นด้านจิตประสาทตัวอื่น สารที่ทําให้เกิดภาพหลอน และสารระเหย แต่ไม่รวมถึงกาแฟและบุหรี่ ข้อ 14 ให้ผู้อํานวยการมีอํานาจออกข้อกําหนดเพื่อกําหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติ และสิทธิทําการของผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับฉบับนี้ รวมถึงการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีและการทดสอบภาคปฏิบัติของผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดิน ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566

ข้อ 15 บรรดาข้อกําหนด ประกาศ และระเบียบ ตลอดจนคําสั่งของผู้อํานวยการที่ออกตามความ ในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 77 ว่าด้วยคุณสมบัติและสิทธิทําการของผู้ขออนุญาต เป็นนายช่างภาคพื้นดิน ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติของข้อบังคับนี้ จนกว่าจะมีข้อกําหนด ประกาศ และระเบียบ หรือคําสั่งในเรื่องนั้น ๆ ออกมาใช้บังคับ ข้อ 16 บรรดาผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับนี้ มีผลใช้บังคับให้มาทําการเทียบโอน (Conversion) คุณสมบัติให้เป็นไปตามคุณสมบัติในเรื่องความรู้และ ความชํานาญตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับนี้ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ข้อบังคับฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ การเทียบโอนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อํานวยการกําหนด ข้อ 17 ผู้ที่มีความชํานาญในการตรวจสอบบํารุงรักษาอากาศยานหรือส่วนประกอบสําคัญของ อากาศยานมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หรือผู้สําเร็จการศึกษา ในหลักสูตรที่ผู้อํานวยการรับรองและมีความชํานาญในการทํางานมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันที่ ข้อบังคับฉบับนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังไม่เคยได้รับใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินมาก่อน หากประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินต้องเข้ารับการทดสอบว่ามีคุณสมบัติ ในด้านความรู้และความชํานาญตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับนี้ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ข้อบังคับฉบับนี้ มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ การทดสอบให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อํานวยการกําหนด ข้อ 18 ผู้ที่กําลังศึกษาหรือฝึกอบรมในหลักสูตรนายช่างภาคพื้นดินที่ได้รับการรับรองจาก ผู้อํานวยการอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ หากหลักสูตรดังกล่าวได้รับการรับรองใหม่ (Re - Certify) จากผู้อํานวยการหลังจากวันที่ข้อบังคับฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และผู้นั้นได้สําเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรม ตามหลักสูตรดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติในเรื่องความรู้และความชํานาญตามข้อบังคับฉบับนี้ และจะต้องมีความชํานาญในการทํางานเกี่ยวกับการบํารุงรักษาอากาศยานตามระยะเวลาที่กําหนด ตามประเภทของใบอนุญาตที่กําหนดไว้ในข้อ 9 ก่อนจึงจะสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตผู้ประจําหน้าที่ นายช่างภาคพื้นดินตามข้อบังคับฉบับนี้ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ . ศ . 256 6 สุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อํานวยการสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 175 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 กรกฎาคม 2566