ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือ สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ตลอดจนกรอบหลักเกณฑ์การจัดทำข้อตกลงการแบ่งปัน ผลประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจดังกล่าว เพื่อให้การศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนเป็นไปทางเดียวกั น ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรชีวภาพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ชุมชนได้รับส่วนแบ่งจาก การนำทรัพยากรชีวภาพในป่าชุมชนไปหาผลประโยชน์ทางการค้า อาศัยอานาจตามความในมาตรา 16 (4) และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 และมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ และคาสั่งอื่นใดในส่วนที่กาหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพ ” หมายความว่า การดาเนินการใด ๆ อย่างมีระบบ ระเบียบ และมีจุดมุ่งหมาย โดยมีเหตุมีผลเป็นไปตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ ได้มาซึ่งข้อมูล องค์ความรู้ ข้อเท็ จจริงที่เชื่อถือได้ ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ตลอดจนองค์ประกอบทางเคมี ลักษณะทางพันธุกรรม หรือระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต และให้หมายความรวมถึงการนาข้อมูล องค์ความรู้ และข้อเท็จ จริง ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์หรือพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตผล สารตั้งต้น หรือบริการ ไม่ว่าจะมีการนาทรัพยากรชีวภาพ ออกจากป่าชุมชนด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ไม่หมายความรวมถึงกรณี ดังต่อไปนี้ (1) การสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนโดยคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน สมาชิกป่าชุมชน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ป่าชุมชน เพื่อประโยชน์ในการจัดทาแผนจัดการ ป่าชุมชนให้เหมาะสมกับสภาพของป่าชุมชน หรือสนับสนุนการดำเนินการตามกิจกรรมของ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน (2) การเก็บซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ หรือส่วนประกอบของสิ่งมี ชีวิตใด โดยสมาชิกป่าชุมชน หรือบุคคลที่มิใช่สมาชิกป่าชุมชน เพื่อทำปุ๋ยชีวภาพสำหรับใช้ในครัวเรือนหรือในวิสาหกิจชุมชน ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
(3) การเก็บเมล็ดพันธุ์ ดอก ผล หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช โดยสมาชิกป่าชุมชนหรือบุคคล ที่มิใช่สมาชิกป่าชุมชนเพื่อเพาะพันธุ์หรือขยายพันธุ์ โดยมิได้มีการปรับปรุงพันธุ์หรือพัฒนาพันธุ์ ด้วยวิธีการตัดแต่งทางพันธุกรรม ( 4 ) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดาเนินโครงการหรือกิจการ “ ทรัพยากรชีวภาพ ” หมายความว่า สิ่งมีชีวิต ส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งมีชีวิต รหัสทางพันธุกรรม และองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมนุษย์สามารถนาไปใช้ประโยชน์เชิงพัฒนาหรือเชิงการค้าได้ “ คาขออนุญาต ” หมายความว่า คาขออนุญาตเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจ ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน “ หนังสืออนุญาต ” หมายความว่า หนังสืออนุญาตให้ศึกษา ค้ นคว้า วิจัย หรือสารวจ ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน “ ข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ ” หมายความว่า ข้อตกลงการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและ การแบ่งปันผลประโยชน์จากศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน “ คณะทำงานกลั่นกรอง ” หมายความว่า คณะทางานกลั่นกรองโครงการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน “ เจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่หรือเจ้าหน้าที่ กรมป่าไม้ซึ่งอธิบดีกรมป่าไม้มอบหมาย “ หน่วย งานของรัฐ ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีกฎหมายจัดตั้ง “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมป่าไม้ ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการนโ ยบายป่าชุมชนรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอานาจ ออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด หมวด 1 การขออนุญาตเ ข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ข้อ 6 บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนใด ให้ยื่นคาขออนุญาตเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด แห่งท้องที่ที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
กรณีการเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน มากกว่าหนึ่งแห่งในท้ องที่จังหวัดเดียวกัน ให้ยื่นคำขออนุญาตมาในคราวเดียวกันได้ ข้อ 7 ผู้ยื่นคาขออนุญาตซึ่งมีความประสงค์จะขออนุญาตนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน ให้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ในคำขออนุญาตด้วย การขออนุญาตนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน ให้ระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้อ งอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) ชนิดพันธุ์ ( species ) สายพันธุ์ ( cultivars / varieties ) สกุล ( genus ) วงศ์ ( family ) ของทรัพยากรชีวภาพที่จะเก็บตัวอย่างเท่าที่สามารถระบุได้ จานวน ขนาด ปริมาณ และวิธีการเก็บตัวอย่าง ตลอดจนเหตุผลและความจำเป็นของการเก็บตั วอย่างทรัพยากรชีวภาพ (2) กาหนดวิธีการจัดการส่วนของตัวอย่างที่เหลือจากการศึกษาหรือวิจัย หากต้องนาตัวอย่าง ทรัพยากรชีวภาพออกนอกราชอาณาจักร ต้องบรรยายเหตุผล ความจาเป็น และสถานที่ที่จะนาไป ศึกษาหรือวิจัยโดยละเอียดด้วย ข้อ 8 การยื่นคำขออนุญาตตามข้อ 6 ให้ยื่น ณ สถานที่และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบพื้นที่ป่าชุมชนที่ผู้ขออนุญาตจะเข้าไป ศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ (2) ศูนย์ป่าไม้แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบพื้นที่ป่าชุมชนที่ผู้ขออนุญาตจ ะเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ (3) ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกาหนด (4) สถานที่อื่นหรือโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกาหนด ข้อ 9 การอนุญาตให้บุคคลตามข้อ 6 นอกจากหน่วยงานของรัฐ เข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีบุคคลธรรมดา (ก) มีอายุไม่ต่ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย (ข) มีสัญชาติไทย (ค) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (ง) กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (ข) จะต้องเป็นนักวิจัยที่สานักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติหรือกระทรวงการต่างประเทศรับรอง มีสิทธิขออนุญาตร่วมกับนักวิจัยสัญชาติไทยที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้านที่จะขออนุญาตทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจนั้นได้ (2) กรณีคณะบุคคลนั้ นต้องประกอบด้วยบุคคลตาม (1) (3) กรณีเป็นนิติบุคคลซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลนั้นต้องจดทะเบียนในประเทศไทย และต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าวโดยเฉพาะหรือเป็นส่วนใหญ่ ในกรณีที่นิติบุคคลนั้น มีผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้ นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องมีสัญชาติไทยเกินสองในสาม ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ของจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนโดยต้องถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมดและผู้มีอำนาจ ลงนามแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (1) ข้อ 10 เมื่อได้รับคาขออนุญาตแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอตรวจสอบคาขอและเอกสาร หลักฐาน หากเห็นว่าคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานใด ให้แจ้งผู้ขออนุญาตทราบทันที ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งผู้ขออนุญาตดำเนินการแก้ไขหรือ ยื่ นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้เจ้าหน้าที่บันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลา ที่กาหนด เป็นหนังสือเพื่อให้ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนและถูกต้องภายใ นเวลาที่เจ้าหน้าที่ ผู้รับคาขอกาหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้ผู้ขออนุญาตลงนามไว้ในบันทึกนั้น หากผู้ขออนุญาตไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าคำขอนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่ พ้นกาหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้เจ้าห น้าที่ผู้รับคาขอแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตทราบ ภายในสิบวันนับแต่วันที่คาขอ และเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่ เสนอเรื่องต่อคณะทำงานกลั่นกรองเพื่อพิจารณา ข้อ 11 ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองโครงการศึ กษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ประกอบด้วยข้าราชการของกรมป่าไม้ จานวนสองคน และผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการศึกษาหรือวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวนไม่เกินสามคน ให้คณะทำงานกลั่นกรอง มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาตรวจสอบโครงการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่าชุมชนที่ขออนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งต้องไม่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ รวมถึงชุมชนท้องถิ่นที่เ กี่ยวข้อง และต้องไม่มีการกระทาใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน (2) พิจารณาเหตุผลความจาเป็นในการขอเก็บตัวอย่างทรัพยากรชีวภาพในป่าชุมชนหรือ การนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนเพื่อนำไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือใช้ประโยชน์ ( 3 ) พิจารณาข้อคิดเห็นของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน รวมทั้งขอให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง มา ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือจัดส่งข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาทำความเห็นตาม (4) ( 4 ) จัดทาบันทึกความเห็นเสนอคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดภายในสี่สิบวันนับแต่ วั นที่ได้รับเรื่องจากเจ้าหน้าที่ตามข้อ 10 วรรคสอง ข้อ 12 การจัดทาบันทึกความเห็นเสนอคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดของคณะทางาน กลั่นกรองอย่างน้อยต้องประกอบด้วยหัวข้อ ดังต่อไปนี้ (1) ผลกระทบของโครงการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่าชุมชนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศของป่าชุมชน ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ เช่น ประโยชน์ในเชิงการพัฒนาองค์ความรู้ ของมนุษยชาติ การแบ่งปันข้อมูลแก่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนเพื่อพัฒนาวิธีการจัดการป่าชุมชน (3) ความเป็นไปได้ในการนำผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจ ไปพัฒนาต่อยอด เพื่อทำรายได้ และประเภทธุรกิจอันเป็นที่มาของรายได้นั้น (4) ความเป็นไปได้ในการนาผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจไปจดทะเบียนทรัพย์สิน ทางปัญญา (5) ร้อยละการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้วิจัย คณะกรรมการจัดการ ป่าชุมชนเพื่อเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของป่าชุมชนแห่งนั้น และหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ปกครองดูแล พื้นที่ป่าหรือพื้นที่อื่นของรัฐที่จัดตั้งป่าชุมชน ข้อ 13 เมื่อคณะทางานกลั่นกรองจัดทาบั นทึกความเห็นตามข้อ 11 แล้วเสร็จให้เจ้าหน้าที่ เสนอคำขออนุญาต รายละเอียดโครงการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่าชุมชน ข้อคิดเห็นของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน บันทึกความเห็นของคณะทางานกลั่นกรอง และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ต่อคณะกรรมกำรป่าชุมชนประจำจังหวัดเพื่อพิจารณาโดยเร็วต่อไป ข้อ 14 ให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดพิจารณาคาขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากเจ้าหน้าที่ตามข้อ 13 และต้องพิจารณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) โครงการศึกษา ค้นคว้ำ วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศของป่าชุมชน (2) วัตถุประสงค์ของโครงการต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี (3) ไม่มีการปล่อยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมออกสู่ธรรมชาติ (4) ในกรณี ที่มีความเป็นไปได้ในการนำผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจ ความหลากหลายทางชีวภาพหรือลักษณะทางพันธุกรรมของทรัพยากรชีวภาพในป่าชุมชนไปจดทะเบียน ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตเป็นอุตสาหกรรม หาประโยชน์ทางการค้า หรือ พิมพ์ผลงานเพื่อจำห น่าย ให้คานึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งในระดับมหภาค และในระดับจุลภาค คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดอาจกาหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติ ตามกาหนดให้มีการจัดทาข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ป่าชุมชน และหน่วยงานของรั ฐที่เป็น ผู้ปกครองดูแลพื้นที่ป่าหรือพื้นที่อื่นของรัฐที่จัดตั้งป่าชุมชน หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อเสนอการแบ่งปัน ผลประโยชน์ ให้เกิดความเหมาะสม รวมทั้งอาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนลงพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อกำกับดูแลการดาเนินการตามโครงการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่าชุมชนด้วยก็ได้ ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ข้อ 15 ในกรณีที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดมีมติอนุญาต ให้ผู้ขออนุญาตเข้าไป ศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ให้ออกหนังสืออนุญาตให้เข้า ไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ให้แก่ผู้ขออนุญาตภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดมีมติอนุญาต เว้นแต่กรณีที่จะต้องมีการทา ข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ตามข้อ 16 เมื่อมีการทาข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์แล้วเสร็จ ให้ออกหนังสื ออนุญาตให้ผู้ขออนุญาตภายในเจ็ดวัน กรณีที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดมีมติอนุญาต ให้แจ้งผู้ขออนุญาตชำระค่าธรรมเนียม แก่ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจำป่าชุมชนที่มีการขออนุญาตเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจ ความหลากหลายทางชีวภาพ (ถ้ามี) และแจ้งมติอนุ ญาตให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนแห่งนั้นทราบ กรณีที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดมีมติไม่อนุญาต ให้แจ้งมติไม่อนุญาตเป็นหนังสือ ให้ผู้ขออนุญาตทราบ โดยไม่ชักช้า ข้อ 16 ในกรณีที่มีการอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตนาออกไปซึ่งทรัพยากรชีวภาพตามที่ระบุไว้ใน คาขออนุญาต ให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดจัดให้มีการทาข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ ให้แก่ป่าชุมชน และหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ปกครองดูแลพื้นที่ป่าหรือพื้นที่อื่นของรัฐที่จัดตั้งป่าชุมชน เป็นเงื่อนไขการอนุญาตด้วย เว้นแต่กรณีที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นหนังสือรับรองจากสถาบั นการศึกษาหรือ หน่วยงานของรัฐว่าการนาออกไปซึ่งทรัพยากรชีวภาพดังกล่าวเป็นไปเพื่อการศึกษา วิจัย หรือทดลอง ทางวิชาการตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษาหรือตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ และไม่ได้มี วัตถุประสงค์เพื่อหาผลประโยชน์ทางการค้ามาพร้อมกับคำขออนุญาต คณะกรรมการป่ำชุมชนประจำจังหวัด จะไม่ทำข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ก็ได้ ข้อ 17 ข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายการ ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของผู้ได้รับอนุญาต และผู้ที่จะทำการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพทั้งที่เป็น บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เช่น ชื่ อ ที่อยู่ อาชีพ อายุ ภูมิลำเนา (2) รายละเอียดของผู้ได้รับผลประโยชน์ ได้แก่ ป่าชุมชนที่ผู้ได้รับอนุญาตได้นาทรัพยากร ชีวภาพออกจากป่าชุมชนนั้น และหน่วยงานของรัฐที่ปกครองดูแลพื้นที่ป่าชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่อื่นของรัฐ ทั้งนี้ ให้ค่าตอบแทนการแบ่งปันผลป ระโยชน์ตกเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของป่าชุมชนนั้น (3) ระบุรายชื่อชนิดพันธุ์ ( species ) สายพันธุ์ ( cultivars / varieties ) สกุล ( genus ) วงศ์ ( family ) ของทรัพยากรชีวภาพแต่ละชนิดตามที่สามารถระบุได้ และปริมาณที่ประสงค์จะนาออกไป (4) วัตถุประสงค์ในการนาทรัพยากร ชีวภาพไปใช้ประโยชน์ (5) การให้ความยินยอมแก่กรมป่าไม้ เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน และกรรมการจัดการป่าชุมชน ในการตรวจสอบการนาออกไปซึ่งทรัพยากรชีวภาพ และการเข้าถึงข้อมูลที่ได้รับหรือที่พัฒนาได้จาก การนำออกไปซึ่งทรัพยากรชีวภาพนั้น ้ หนา 44 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
(6) ผู้ได้รับอนุญาต ผู้ที่จะทากำรเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ และผู้รับผลประโยชน์ จะให้บุคคลอื่น เข้าถึงหรือรับผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพนั้นไม่ได้ และจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่นไม่ได้ หากจะมี การโอนข้อมูลให้แก่บุคคลอื่นเพื่อนาไปพัฒนาต่อยอด หรือโอนสิทธิให้แก่บุคคลอื่น ต้องปรับปรุงแก้ไข ข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์กับคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดเสียก่อน (7) กาหนดเงื่อนไขการดาเนินการในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการแบ่งปัน ผลประโยชน์ (8) การกำหนดให้ข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายไทยและ ให้ข้ อพิพาทตามข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์อยู่ในอำนาจของศาลไทย (9) สิทธิและประโยชน์ตอบแทนในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพไม่ว่าจะคานวณเป็นเงินได้ หรือไม่ ที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน หน่วยงานของรัฐที่ปกครองดูแลพื้นที่ป่าชุมชน และผู้ได้รับ อนุญาตพึงจะได้รับ รวมถึงค่ำใช้จ่าย ค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามกฎหมาย ข้อ 18 กรณีที่การศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลประโยชน์ทางการค้า ข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์นอกจากจะต้องมีรายการ ตามข้อ 17 แล้ว ให้มีรายการดัง ต่อไปนี้ด้วย (1) การจัดการสิทธิหรือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอันเกิดจากการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ (2) ร้อยละการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ผู้ได้รับอนุญาตได้รับจากการใช้ประโยชน์ส่วนหนึ่งส่วนใด ของทรัพยากรชีวภาพหรือข้อมูลพันธุกรรมของทรัพยากรชีวภาพที่นาออกไปจากป่าชุมชน ก่อนหักรายจ่าย นับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพดังกล่าว ทั้งนี้ ตราบเท่าที่ผู้ได้รับอนุญาตยังได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพนั้น ข้อ 19 ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลาก หลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) แจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดและประธานกรรมการจัดการ ป่าชุมชนทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวันก่อนเข้าไปดาเนินการในป่าชุมชนแห่งใด (2) ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ แผนงาน และวิธีการ ที่ระบุไว้ในโครงการหรือกิจกรรมการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น (3) ปฏิบัติตามคาแนะนาและคาสั่งของคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด พนักงานเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ป่ำชุมชน (4) ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับเกี่ยวกับ การจัดการป่าชุมชน ตลอดจนปฏิบัติตามระเบียบ ข้อกาหนด ประกาศ และเงื่อนไขที่กาหนดไว้ใน หนังสืออนุญาต (5) กรณีที่มีการนาผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลา กหลายทางชีวภาพ ในป่าชุมชน หรือลักษณะทางพันธุกรรมของทรัพยากรชีวภาพที่ได้จากป่าชุมชน ไปจดทะเบียนทรัพย์สิน ้ หนา 45 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ การให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือทะเบียนอื่นใดตามกฎหมาย ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวั ดก่อน (6) เมื่อการดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่าชุมชนแล้วเสร็จ ให้รายงานผลการศึกษาวิจัยโดยสรุปต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด รวมทั้งส่งรายงานผลการศึกษาวิจัยโดยสรุปหรือบทคัดย่อและแหล่งที่พิมพ์ต่อกรมป่าไม้ด้วย ข้อ 20 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คาสั่ง หรือทาให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อพื้นที่ป่าชุมชนและสภาพแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ในป่าชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดอาจระงับการอนุญา ต และดาเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ 21 หนังสืออนุญาตให้ใช้ได้จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการดาเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนตามที่ระบุไว้ในคำขออนุญาตแต่ต้องไม่เกินสามปี เมื่อหนังสืออนุญาตสิ้นอายุ ผู้ได้รับอนุญาตอาจยื่นคาขออนุญาตได้อีก หากการเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพ ความอุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศของป่าชุมชน ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในหนังสืออนุญาต ครบถ้วน และไม่มีการกระ ทาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชนในระหว่างระยะเวลาที่ได้รับหนังสือ อนุญาต ข้อ 22 ในกรณีที่หนังสืออนุญาตชารุด สูญหาย หรือถูกทาลาย ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาต ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด โดยให้ส่งคืนหนังสืออนุญาต ฉบับเดิมที่ ชารุด หรือยื่นหลักฐานการแจ้งความกรณีสูญหายหรือถูกทาลาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ ตรวจสอบและเสนอให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาตต่อไป การออกใบแทนหนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบหนังสืออนุญาตเดิม โดยเขียนหรือ ประทับตรา คาว่า “ ใบแทน ” ด้วยหมึกสีแดงไว้ด้านบนของหนังสืออนุญาต และให้ระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนหนังสืออนุญาต พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้ออกใบแทนหนังสืออนุญาตกำกับไว้ด้วย ให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ข้อ 23 ในกรณีที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดได้มีมติอนุญาต ให้ผู้ได้รับอนุญาต เข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน และได้อนุญาตให้นา ทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนไว้ในหนังสืออนุญาตด้วยแล้ว แต่ผู้ไ ด้รับอนุญาตมีความประสงค์ จะนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนเพิ่มเติมไปจากที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาต ยื่นคำขออนุญาตนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด เพื่อพิจารณาอนุญาต ้ หนา 46 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ในกรณีที่มิได้ยื่นคาขออนุญาตนำทรัพยากรชีวภาพอ อกจากป่าชุมชนไปพร้อมกับคำขออนุญาต เข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนให้ยื่นคาขออนุญาต นำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด คาขออนุญาตนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ระบุ ร ะยะเวลาแล้วเสร็จในการนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนแต่ต้องไม่เกินระยะเวลาอนุญาต ที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตตามข้อ 15 และให้นาความในข้อ 7 วรรคสอง และข้อ 8 มาใช้บังคับ แก่การระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน และการยื่นคาขออนุญาต นำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนด้วยโดยอนุโลม ข้อ 24 ให้เจ้าหน้าที่ส่งคาขออนุญาตนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนตามข้อ 23 ให้คณะทางานกลั่นกรองที่รับผิดชอบพื้นที่ป่าชุมชนที่จะมีการนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน พิจารณา และให้นำความในข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 มาใช้บังคับแก่ การพิจารณาของคณะทำงานกลั่นกรองและคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดด้วยโดยอนุโลม ข้อ 25 ผู้ได้รับอนุญาตจะนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนไม่ได้จนกว่าจะได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด ข้อ 26 ให้นาความในข้อ 22 มาใช้บังคับแก่การขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตให้นาทรัพยากร ชีวภาพ ออกจากป่าชุมชนด้วยโดยอนุโลม ข้อ 27 ในกรณีที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดได้มีมติอนุญาตให้ผู้ขออนุญาต นาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน ให้สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ ทรัพยากรชีวภาพที่จะนาออกจากป่าชุมชนไว้ในสารบบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบติดตามต่อไป หมวด 2 การแจ้งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพภายในป่าชุมชน ข้อ 2 8 ในกรณีที่กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คณะกรรมการจัดการ ป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีความประสงค์จะเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนใด ให้ยื่นหนังสือแจ้งการขอเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนต่อค ณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด แห่งท้องที่ที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานประกอบการแจ้งก่อนที่จะเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนนั้น กรณีที่กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ประสงค์จะเข้าไป ศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนหลายแห่งที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ให้ยื่นหนังสือแจ้งมาในคราวเดียวกันได้ โดยต้องระบุวันที่จะเข้าดาเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนแต่ละแห่งอย่างชัดเจน ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
การดาเนินการตามวรรคสอง ให้คานึงถึงการดาเนินงานอย่างมีส่วนร่วมกับคณะกรรมการ จัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน และสมาชิกป่าชุมชนด้วย ให้นาความในข้อ 8 มาใช้บังคับแก่สถานที่และวิธีการยื่นหนังสื อแจ้งตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม ข้อ 29 ให้สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ออกใบรับแจ้งการเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนแก่กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรื อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเสนอหนังสือแจ้งพร้อมเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 28 ต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดเพื่อทราบต่อไปโดยไม่ชักช้า คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดอาจพิจารณาให้คาแนะนาเพิ่มเติ มหรือกาหนดเงื่อนไข ให้กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องปฏิบัติในการดาเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลาย ทางชีวภาพในป่าชุมชนได้ ข้อ 3 0 ในกรณีที่กรมป่าไม้หรือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีความประสงค์จะนา ทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน ให้กรมป่าไม้หรือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแจ้งเรื่อง ดังกล่าวให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดทราบพร้อมกับการยื่นหนังสือแจ้งตามข้อ 28 ในกรณีที่มิได้แจ้งเรื่องการนาทรัพยากรชีวภาพ ออกจากป่าชุมชนพร้อมกับหนังสือแจ้งตามข้อ 28 หรือมีความประสงค์จะเก็บตัวอย่างทรัพยากรชีวภาพเพิ่มเติมจากที่ได้แจ้งไว้แล้ว ให้กรมป่าไม้หรือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีหนังสือแจ้งขอนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน ให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดทราบก่อนที่จะมีการนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน การแจ้งขอนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องระบุ ระยะเวลาแล้วเสร็จในการนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน และให้นำความในข้อ 7 มาใช้บังคับ แก่การระบุรายล ะเอียดในการแจ้งขอนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนด้วยโดยอนุโลม ให้สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ออกใบรับแจ้งการนาทรัพยากรชีวภาพออกจาก ป่าชุมชนแก่กรมป่าไม้หรือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเสนอหนังสือแจ้งขอนาทรัพยาก รชีวภาพออกจากป่าชุมชนพร้อมเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดเพื่อทราบต่อไปโดยไม่ชักช้า ข้อ 3 1 ในกรณีที่การศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่าชุมชนของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรือพ นักงานเจ้าหน้าที่ มีความจาเป็นต้องนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน ให้ยื่นคาขออนุญาตนาทรัพยากรชีวภาพ ออกจากป่าชุมชนต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดไปพร้อมกับหนังสือแจ้งการเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ในกรณีที่มิ ได้ยื่นคาขออนุญาตนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนไปพร้อมกับหนังสือแจ้ง ตามวรรคหนึ่ง หรือมีความประสงค์จะเก็บตัวอย่างทรัพยากรชีวภาพเพิ่มเติมจากที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำขออนุญาต นำทรัพ ยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน ต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ จะนำทรัพยากรชีวภาพ ออกจากป่าชุมชนไม่ได้จนกว่าจะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด คาขออนุญาตนำทรัพยากรชี วภาพออกจากป่าชุมชนตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุระยะเวลาแล้วเสร็จ ในการนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน และให้นาความในข้อ 7 วรรคสอง ข้อ 8 และข้อ 27 มาใช้บังคับแก่การระบุรายละเอียดเกี่ยวกับนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน การยื่นคำขออนุญาต นาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่ำชุมชน และการบันทึกข้อมูลการนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน ไว้ในสารบบด้วยโดยอนุโลม ข้อ 3 2 ให้เจ้าหน้าที่ส่งคาขออนุญาตนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนตามข้อ 3 1 ให้คณะทางานกลั่นกรองที่รับผิดชอบพื้นที่ป่าชุมชนที่จะมีการนาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชน พิจารณา และให้นำความในข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 มาใช้บังคับแก่ การพิจารณาของคณะทำงานกลั่นกรองและคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดด้วยโดยอนุโลม ข้อ 3 3 ในกรณีที่การนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนของคณะกรรมการจัดการ ป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ ป่าชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลประโยชน์ทางการค้า ให้คณะกรรมการป่าชุมชน ประจาจังหวัดจัดให้มีการทาข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ป่าชุมชน และหน่วยงานของรัฐ ที่เป็นผู้ปกครองดูแลพื้นที่ป่าหรือพื้นที่อื่นของรัฐที่จัดตั้งป่าชุมชนเป็นเงื่อนไขการอนุญาตด้วย ให้นำความในข้อ 17 และข้อ 18 มาใช้บังคับแก่การจัดทำข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ ด้วยโดยอนุโลม ข้อ 3 4 หนังสืออนุญาตให้นาทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนตามข้อ 31 วรรคสาม ให้ใช้ได้จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการนำทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนตามที่ระบุไว้ในคาขอ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองปี ข้อ 3 5 ให้นำความในข้อ 19 (2) ถึง (6) ข้อ 20 และข้อ 22 มาใช้บังคับแก่การศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนของกรมป่าไม้ กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่ำชุมชน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ ได้มีการแจ้งต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด และการขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตให้นา ทรัพยากรชีวภาพออกจากป่าชุมชนด้วยโดยอนุโลม ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
หมวด 3 เบ็ดเตล็ด ข้อ 36 คาขออนุญาต หนังสืออนุญาต คาขอรับใบแทน หนังสือแจ้ง ใบรับแจ้ง ให้เป็นไป ตามแบบที่อธิบดีประกาศกาหนด ข้อ 3 7 ค่าธรรมเนียมการเข้าไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือสารวจความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดให้เรียกเก็บตามอัตราที่กาหนดไว้ ในระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชนที่ออกตามความในมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ประกาศ ณ วันที่ 3 1 พฤษภาคม พ.ศ. 25 6 6 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการนโยบายป่าชุมชน ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566