Tue Jul 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชน พ.ศ. 2566


ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชน พ.ศ. 2566

ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชน พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้ประโยชน์จากผลผลิต และบริการป่าชุมชน เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากผลผลิตและบริการป่าชุมชนเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืน ไม่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในป่าชุมชน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 16 (4) และมาตรา 50 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 และมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการใช้ประโยชน์ จากผลผลิตและบริการป่าชุมชน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ และคาสั่งอื่นใดในส่วนที่กาหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเ บียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ ผลผลิตป่าชุมชน ” หมายความว่า ของป่า ไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นที่มีอยู่หรือเกิดขึ้น ในป่าชุมชน “ บริการป่าชุมชน ” หมายความว่า การใช้ประโยชน์พึงได้จากการมีอยู่ซึ่งป่าชุมชน เช่น การเป็น แหล่งพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาธรรมชาติ การกักเก็บน้ำในดินและเป็นแหล่งต้นน้ำ การกักเก็บก๊าซเรือนกระจก คุณค่าระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ “ ของป่าหวงห้าม ” หมายความว่า ของป่าที่มีชนิดตรงกับของป่าหวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ “ ล้มไม้ ” หมายความว่า การตัด ฟัน โค่น กาน ทอน ขุด หรือกระทาการใด ๆ ต่อลาต้น ที่ส่งผลให้ต้นไม้นั้นไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ “ แผนจัดการป่าชุมชน ” หมายความว่า แผนจัดการป่าชุมชนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการป่าชุมชน ประจำจังหวัด “ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน ” หมายความว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน ที่ออกตามความในมาตรา 44 (2) “ กิจกรรมสาธารณะภายในชุมชน ” หมายความว่า กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ภายในชุมชน และให้หมายความรวมถึงการใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูกขึ้นในป่าชุมชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เสีย หายอันเนื่องมาจากประสบเหตุภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจาเป็นเพื่อช่วยเหลือราษฎรเป็นกรณีพิเศษ ภายในจังหวัดอันเป็นที่ตั้งของป่าชุมชนด้วย ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

“ เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการป่าชุมชน ประจำจังหวัดให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้รั บคำขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชุมชน “ โครงการ T - VER ” หมายความว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐาน ของประเทศไทย ( Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T - VER ) “ อบก. ” หมายความว่า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) “ คาร์บอนเครดิต ” หมายความว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากการดาเนิน โครงการ T - VER และได้รับการรับรองจาก อบก. โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ( tCO 2 eq ) “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมป่าไม้ ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการนโยบายป่าชุมชนรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอานาจออก ประกาศหรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด หมว ด 1 การใช้ประโยชน์จากของป่า ข้อ 6 การเก็บหาของป่าในป่าชุมชนต้องสอดคล้องกับแผนจัดการป่าชุมชน ข้อบังคับเกี่ยวกับ การจัดการป่าชุมชน รวมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ภายในป่าชุมชน สมาชิกป่าชุมชนและบุคคลที่ มิใช่สมาชิกป่าชุมชนสามารถเก็บหาของป่าได้ ทั้งในบริเวณเพื่อการอนุรักษ์และในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์ เพื่อให้การเก็บหาของป่าเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืน คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนอาจออก ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนจากัดพื้นที่ในบริเวณเพื่อการอนุรักษ์และในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์ ที่ให้เก็บหาของป่า จากัดช่วงเวลาเก็บหาของป่า ระยะเวลาในการเก็บหาของป่า กาหนดปริมาณของป่า ที่ให้สมาชิกป่าชุมชนและบุคคลที่มิใช่สมาชิกป่าชุมชนเก็บหาได้ต่อ คนต่อวัน รวมทั้งกำหนดเงื่อนไข การเก็บหาของป่าสาหรับบุคคลที่มิใช่สมาชิกป่าชุมชนให้แตกต่างไปจากเงื่อนไขการเก็บหาของป่าสาหรับ สมาชิกป่าชุมชนก็ได้ เมื่อพิจารณาหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาป่าชุมชนของสมาชิกป่าชุมชนแต่ละประเภท หรือแต่ละราย การปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน และแผนจัดการป่าชุมชน รวมทั้งเหตุผลความจาเป็นในแต่ละกรณีประกอบกันแล้ว คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนอาจมีมติให้จัดสรร การเก็บหาของป่าแก่สมาชิกป่าชุมชนประเภทต่าง ๆ หรือสมาชิกรายหนึ่งรายใดแตกต่างกันก็ได้ คณะกรรมกา รจัดการป่าชุมชนจะกำหนดห้ามมิให้บุคคลใดเก็บหาของป่าโดยสิ้นเชิงมิได้ ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

ข้อ 7 เพื่อทราบชนิดและปริมาณของป่าที่มีการเก็บหาจากป่าชุมชน อันนามาซึ่งการบารุงรักษา และฟื้นฟูป่าชุมชนได้อย่างยั่งยืน คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนควรจัดให้มีจุดรับแจ้งการเก็บหาของป่า ในป่าชุมชน และจัดทำทะเบียนควบคุมการเก็บหาของป่าในป่าชุมชน ทะเบียนควบคุมการเก็บหาของป่าตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ชื่อ สกุล ที่อยู่ปัจจุบัน และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้เก็บหาของป่า ( 2 ) วันที่เก็บหาของป่า ( 3 ) ชนิดและปริมาณ ของป่าที่เก็บหาได้ ข้อ 8 การเก็บหาของป่าหวงห้ามในป่าชุมชนแห่งใดให้เป็นสิทธิของสมาชิกป่าชุมชน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจำป่าชุมชนแห่งนั้นก่อน ให้สมาชิกป่าชุมชนที่ประสงค์เก็บหาของป่าหวงห้าม ยื่นขอความเห็นชอบเก็บหาของป่าหวงห้าม ต่อคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน กรณีที่สมาชิกป่าชุมชนรายใดขอเก็บหาของป่าหวงห้ามเมื่อรวมกันทั้งปีเกินปริมาณที่กำหนด ในบัญชีที่อธิบดีประกาศกาหนด ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนมอบหมายกรรมการจัดการป่าชุมชน อย่างน้อยหนึ่งคน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่ำไม้ และสมาชิกป่าชุมชนผู้ยื่นคาขอ ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณที่จะเก็บหาของป่าหวงห้ามภายในสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคาขอ เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่ามีของป่าหวงห้ามดังกล่าวเพียงพอที่จะเก็บหาได้โดยไม่ทาลายความหลากหลายทางชีวภาพ หรือส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมในป่าชุมชน ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้และกรรมการจัดการป่าชุมชน ที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนมอบหมายจัดทาบันทึกการตรวจสอบของป่าหวงห้ามเสนอต่อคณะกรรมการ จัดการป่าชุมชน ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนแจ้งผลการพิจารณาให้สมาชิกป่าชุมชนผู้ยื่นคาขอทราบภายใน สิบวันนั บแต่วันที่ได้รับคาขอหรือวันที่ได้รับบันทึกการตรวจสอบของป่าหวงห้ามตามวรรคสาม แล้วแต่กรณี ให้สมาชิกป่าชุมชนที่ได้รับความเห็นชอบ เก็บหาของป่าหวงห้ามนั้นเป็นของตนได้ จากนั้นให้แจ้งการเก็บ หาของป่าหวงห้ามในป่าชุมชน ณ จุดรับแจ้งการเก็บหาของป่าในป่าชุมชน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเก็บหาของป่าหวงห้ามได้ของป่าหวงห้ามจากป่าชุมชนโดยชอบด้วยกฎหมาย ในการรับแจ้งการเก็บหาของป่าหวงห้ามตามวรรคสี่ ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนจัดให้มี จุดรับแจ้งการเก็บหาของป่าในป่าชุมชน และจัดทาทะเบียนควบคุมการเก็บ หาของป่าในป่าชุมชนตามข้อ 7 วรรคสอง คาขอความเห็นชอบเก็บหาของป่าหวงห้าม และบันทึกการตรวจสอบของป่าหวงห้ามให้เป็นไปตาม แบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ 9 ของป่าที่เก็บได้ให้ตกเป็นสิทธิของผู้ที่เก็บได้ ข้อ 10 ห้ามเก็บหาของป่าโดยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายแก่ต้นไม้หรือทำให้ไม้ล้มเป็นอันขาด ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

ข้อ 11 ห้ามมิให้บุคคลใดนำออกจากป่าชุมชนซึ่งดิน หิน กรวด ทราย ที่ไม่ใช่แร่ตามกฎหมาย ว่าด้วยแร่ เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การนาออกไปซึ่งดิน หิน กรวด ทราย ในปริมาณเล็กน้อ ย เพื่อศึกษาวิจัยตามระเบียบ คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชนที่ออกตามความในมาตรา 66 ( 2 ) การนำออกไปซึ่งดิน หิน กรวด ทราย ที่ไม่ทาให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ป่าชุมชน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า และไม่เกินปริมาณที่กาหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน ตามข้อ 6 วรรคสาม ข้อ 12 การเจาะเผาต้นตะเคียนทาชัน ให้เจาะได้เฉพาะต้นที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน ทาเครื่องหมายไว้ว่าอนุญาตให้กระทาได้ โดยคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนสามารถอนุญาตให้เจาะเผา ต้นต ะเคียนทำชันได้เป็นจำนวนไม่เกินร้อยละห้าสิบของจำนวนต้นตะเคียนที่มีอยู่ในพื้นที่ป่าชุมชน ห้ามมิให้เจาะเผาต้นตะเคียนที่วัดรอบลาต้นไม่ถึง 200 เซนติเมตร และให้เจาะเผาได้เฉพาะ ตั้งแต่โคนต้นวัดแต่พื้นดินสูงขึ้นไปเพียง 2 เมตร ห้ามมิให้เจาะเผาสูงขึ้นไปกว่าที่กา หนดไว้นี้เป็นอันขาด การเจาะเผาครั้งแรก หลุมต้องมีความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 เซนติเมตร ลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตร และให้เว้นระยะจากขอบหลุมหนึ่งถึงขอบหลุมอื่นห่างกันไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และต้องระวังไม่ให้ ต้นตะเคียนเป็นอันตราย ข้อ 13 การเจาะเผาทาน้ำมันยาง ให้เจาะได้เฉพาะต้นยางที่มีอยู่ในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์ เฉพาะต้นที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนทาเครื่องหมายไว้ว่าอนุญาตให้กระทาได้ และต้องไม่กระทาให้ ต้นยางต้นหนึ่งต้นใดเสียหายหรือล้มลงเป็นอันขาด ห้ามมิให้เจาะเผาต้นยางที่มีความยาวเส้ นรอบวงเพียงอกไม่ถึง 200 เซนติเมตร โดยกาหนด จำนวนหลุมน้ำมันยางที่เจาะได้ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ต้นยางมีขนาดตั้งแต่ 200 เซนติเมตร ถึง 250 เซนติเมตร ให้เจาะเผาได้ ไม่เกิน 1 หลุม ( 2 ) ในกรณีที่ต้นยางมีขนาดตั้งแต่ 250 เซนติเมตรขึ้นไป ให้เจาะเผาได้ไม่ เกิน 2 หลุม หลุมตามวรรคสองต้องมีขนาดไม่เกิน 30 เซนติเมตร ข้อ 14 ในกรณีที่ป่าชุมชนเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย ว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนจากัดปริมาณการเก็บหาของป่า ไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนเพื่อระมัดระวังมิให้การเก็บหาของป่าส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหาร และปริมาณอาหารของสัตว์ป่านั้นด้วย ข้อ 15 การเก็บหาฟืน ให้เก็บเศษไม้ ปลายไม้ หรือไม้ล้มขอนนอนไพรตามธรรมชาติ อันมีลักษณะและคุณภาพเหมาะสมที่จะใช้เป็นเชื้อเพ ลิงยิ่งกว่าใช้ประโยชน์อย่างอื่นไปทำเป็นฟืนได้ ห้ามมิให้ผู้ใดเผาฟืนเพื่อแปลงสภาพให้เป็นถ่านในพื้นที่ป่าชุมชน ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

หมวด 2 การใช้ประโยชน์จากไม้ ข้อ 16 การใช้ประโยชน์จากไม้ให้ทำได้ในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์ในป่าชุมชน ตามความจำเป็น เพียงเฉพาะเพื่อใช้สอยในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน หรือใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชนนั้น โดยต้องไม่ใช้ประโยชน์จากไม้ทรงคุณค่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การใช้ประโยชน์จากไม้ในป่าชุมชนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืน ไม่ทาลาย ความหลากหลายทางชีวภาพหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในป่าชุมชน ข้อ 17 คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนจะเห็นชอบให้สมาชิกป่าชุมชนใช้ประโยชน์จากไม้ ในป่าชุมชนได้ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดได้มีมติอนุมัติแผนจัดการป่าชุมช นที่มีการระบุเนื้อที่ และแนวเขตของบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์ในป่าชุมชน ( 2 ) คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดได้มีมติอนุมัติแผนจัดการป่าชุมชนกรณีการใช้ ประโยชน์จากไม้เพื่อใช้สอยในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชนหรือใช้ในกิจกรรมสาธารณะของชุมชน ในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์ ( 3 ) คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดได้ให้ความเห็นชอบแผนการใช้ประโยชน์จากไม้ ในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์ในป่าชุมชนที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนจัดทาขึ้นตามแบบที่อธิบดี ประกาศกำหนด ข้อ 18 แผนการใช้ประโยชน์จากไม้ให้จัดทำขึ้นโดยเจ้าหน้า ที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้ และกรรมการจัดการป่าชุมชนอย่างน้อยสามคน ร่วมกันจัดทารายละเอียดของแผนการใช้ประโยชน์จากไม้ และแผนปลูกต้นไม้ทดแทนเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด โดยอย่างน้อย ต้องประกอบด้วยรายการที่สำรวจพบในบริเวณเพื่อการใช้ป ระโยชน์ในป่าชุมชน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ชนิดและจำนวนไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ไม่ใช่ไม้ทรงคุณค่าที่ประสงค์จะให้ล้มไม้ได้ ( 2 ) ชนิดและจำนวนไม้ที่ปลูกขึ้นที่ประสงค์จะให้ล้มไม้ได้ ( 3 ) ชนิดและจำนวนไม้ที่จะปลูกใหม่หรือไม้ที่จะปลูกทดแทน ข้อ 19 ในกรณีที่เป็นการขอใช้ป ระโยชน์จากไม้เพื่อใช้สอยในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน โดยมิได้ใช้วิธีการล้มไม้ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามความเหมาะสม หรืออาจกำหนดวิธีการใช้ประโยชน์จากไม้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนก็ได้ ข้อ 20 ในกรณีที่เป็นการขอใช้ประ โยชน์จากไม้เพื่อใช้สอยในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน โดยวิธีการล้มไม้ ให้สมาชิกป่าชุมชนยื่นคาขอความเห็นชอบในการใช้ประโยชน์จากไม้ตามแบบที่อธิบดี ประกาศกำหนดต่อคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน และให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนพิจารณา ให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

( 1 ) วัตถุประสงค์ในการใช้ไม้และปริมาตรไม้ตามคาขอเข้าลักษณะเป็นการใช้สอยในครัวเรือน ตามความจำเป็น และมีความจำเป็นต้องล้มไม้เพื่อการนั้น ( 2 ) ผู้ยื่นคาขอได้ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกป่าชุมชนที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลรักษา ฟื้นฟู หรือพัฒนาป่า ชุมชน ( 3 ) ผู้ยื่นคาขอหรือสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคาขอไม่เคยได้รับความเห็นชอบให้ใช้ประโยชน์ จากไม้โดยวิธีการล้มไม้มาก่อนในช่วงระยะเวลาสองปีก่อนที่จะยื่นคาขอ ยกเว้นกรณีมีเหตุผลความจาเป็น อย่างยิ่งโดยเป็นมติของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนและสมาชิกป่าชุมชนแห่งนั้ น ( 4 ) ในกรณีที่ผู้ยื่นคาขอหรือสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคาขอเคยได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ จากไม้โดยวิธีการล้มไม้มาก่อน ต้องมีการปลูกไม้ทดแทนในป่าชุมชนจริงตามข้อ 25 และต้นไม้ที่ปลูก ทดแทนนั้นมีอัตราการรอดตายอย่างน้อยสองในสาม เมื่อคณะกรรมการจัดการป่าชุม ชนหรือคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนและสมาชิกป่าชุมชน แล้วแต่กรณี มีมติมากกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุมเห็นชอบให้ผู้ยื่นคาขอใช้ประโยชน์จากไม้ได้ ให้คณะกรรมการ จัดการป่าชุมชนกาหนดวันล้มไม้และปิดประกาศบริเวณทางเข้าป่าชุมชน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้สมาชิก ป่าชุมชนทราบ ข้อ 21 การพิจารณาเห็นชอบให้สมาชิกป่าชุมชนที่ขอใช้ประโยชน์จากไม้จะต้องไม่เกินจานวน ที่กาหนดในแผนการใช้ประโยชน์จากไม้ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด ตามข้อ 18 ข้อ 22 การขอใช้ประโยชน์จากไม้เพื่อนาไปใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชนให้กระทา โดย มติคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนร่วมกับสมาชิกป่าชุมชนแห่งนั้น โดยให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์จากไม้และปริมาตรไม้ตามคาขอเข้าลักษณะการนาไม้มาใช้ เพื่อประโยชน์สาธารณะภายในชุมชนไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของสมาชิกป่าชุมชนกลุ่ มใดกลุ่มหนึ่ง และมีความจาเป็น ต้อง ล้มไม้เพื่อการนั้น ( 2 ) การใช้ประโยชน์จากไม้ จะต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดในแผนการใช้ประโยชน์จากไม้ที่ได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด ( 3 ) ในกรณีการใช้ประโยชน์จากไม้โดยมิได้ใช้วิธีการล้มไม้หรือใช้ประโยชน์จำกไม้ล้มขอนนอนไพร ที่มิใช่ไม้ทรงคุณค่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์ ให้นาไม้มาใช้ได้ตามความเหมาะสม การนำไม้มาใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะภายในชุมชนที่ต้องไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของสมาชิกป่าชุมชน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้นตาม (1) ไม่นำมาใช้บังคับแก่กรณีการใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูกขึ้นในป่าชุมชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากประสบเหตุภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็น เพื่อช่วยเหลือราษฎรเป็นกรณีพิเศษภายในจังหวัดอันเป็นที่ตั้งของป่าชุมชน ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

เมื่อคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนและสมาชิกป่าชุมชนมีมติตามวรรคหนึ่งให้ใช้ประโยชน์จากไม้ได้ ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนกำหนดวันล้มไม้และปิดประกาศบริเวณทางเข้าป่าชุมชน รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกป่าชุมชนทราบ ข้อ 23 การล้มไม้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีกา ร ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบให้ใช้ประโยชน์จากไม้ทำการล้มไม้ได้ภายใต้การกำกับดูแล ของเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้ กรรมการจัดการป่าชุมชนอย่างน้อยหนึ่งคน และสมาชิกป่าชุมชน อย่างน้อยหนึ่งคน ทั้งนี้ อาจขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มีทักษะหรือประสบการณ์เป็นผู้กระทำการล้มต้นไม้นั้น ให้แทนก็ได้ ( 2 ) ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้แนะนาการล้มไม้ตามหลักวิชาการโดยคำนึงถึง ความสมดุลและยั่งยืนของป่าชุมชน ( 3 ) ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้ ถ่ายภา พต้นไม้ก่อนที่จะล้มไม้ การล้มไม้นั้น ตอไม้ ไม้ที่ล้มแล้ว และไม้ที่ตัดเป็นท่อน และจัดทาบันทึกการล้มไม้ตามแบบที่อธิบดีประกาศกาหนดเสนอต่อ คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดเพื่อทราบ พร้อมทั้งส่งต่อให้สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ เก็บเข้าฐานข้อมูลการใ ช้ประโยชน์จากไม้ในป่าชุมชนต่อไป ให้บันทึกการล้มไม้ รวมทั้งสาเนาหรือภาพถ่ายบันทึกดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ได้รับ ความเห็นชอบให้ใช้ประโยชน์จากไม้ได้ไม้มาจากป่าชุมชนโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อ 24 ให้สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่จัดทาฐานข้อมูลการใช้ประ โยชน์จากไม้ ของป่าชุมชนแต่ละแห่งที่ตั้งอยู่ในท้องที่ความรับผิดชอบ ในกรณีที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากไม้ ในป่าชุมชนใด ให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดแจ้งข้อสังเกตดังกล่าวต่อคณะกรรมการจัดการ ป่าชุมชนและเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้ประจำป่าชุมชนแห่งนั้นเพื่อปรับปรุงวิธีปฏิบัติต่อไป ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนและเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้ปฏิบัติตามข้อสังเกต ของคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดตามวรรคสอง ข้อ 25 สมาชิกป่าชุมชนผู้ได้ รับความเห็นชอบให้ใช้ประโยชน์จากไม้ต้องปลูกต้นไม้ทดแทน อย่างน้อยสิบต้นต่อต้นไม้ที่ได้ล้มไปหนึ่งต้น และมีหน้าที่ดูแลให้ต้นไม้นั้นเจริญเติบโต ในกรณีที่เป็นการล้มไม้เพื่อนาไปใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชน ให้คณะกรรมการจัดการ ป่าชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบจัดให้สมา ชิกป่าชุมชนร่วมกันปลูกต้นไม้ทดแทนและร่วมกันดูแลต้นไม้ ให้เจริญเติบโต โดยจะต้องปลูกต้นไม้ทดแทนอย่างน้อยสิบต้นต่อต้นไม้ที่ได้ล้มไปหนึ่งต้น และให้ควบคุมดูแล ให้เป็นไปตามแผนปลูกต้นไม้ทดแทน ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้แนะนาตาแหน่งที่ควรจะปลูก ชนิ ดไม้ และวิธีปลูก โดยคานึงถึงหลักวิชาการในการพัฒนาและฟื้นฟูป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศของ ป่าชุมชน และตรวจสอบว่าได้มีการปลูกไม้ทดแทนและทำนุบารุงต้นไม้นั้นอย่างสม่ำเสมอ ต้นไม้ที่ปลูกทดแทนให้ตกเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของป่าชุมชน ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

ข้อ 26 คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนสามารถกำหนดมิให้ล้มต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือห้ามมิให้ ล้มต้นไม้โดยสิ้นเชิงในช่วงปีใด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสภาพป่าหรือการรักษาไว้ ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ หมวด 3 การใช้ประโยชน์จากบริการป่าชุมชน ข้อ 27 สมาชิกป่าชุมชนสามารถนาสัตว์เลี้ยงหรือนาปศุสัตว์เข้าไปหาอาหารในป่าชุมชนได้ โดยต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน แต่จะนาสัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์ไปปล่อยทิ้งในป่าชุมชน หรือปล่อยให้อยู่อาศัยในป่าชุมชนเลยมิได้ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมช นตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องกาหนดเงื่อนไขการนำสัตว์เลี้ยง และปศุสัตว์เข้าไปในป่าชุมชน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สภาพป่าและระบบนิเวศภายในป่าชุมชน โดยคานึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละป่าชุมชนด้วย เช่น ช่วงเวลา ชนิด และจานวนของสัตว์เลี้ยงและ ปศุสัตว์ที่ให้นาเข้าไป การเฝ้าหรือดูแลสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์บางชนิดในระหว่างที่สัตว์นั้นอยู่ในป่าชุมชน ในกรณีที่มีความจาเป็นเพื่อป้องกันการรบกวนสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าชุมชน หรือเพื่อประโยชน์ ในการดูแลรักษาป่าหรือประโยชน์อื่นใดของชุมชน คณะกรรมการจัดการ ป่าชุมชนจะกาหนดห้ามมิให้ นาสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเข้าไปในพื้นที่ป่าชุมชน หรือจะห้ามมิให้นาสัตว์ทั้งปวงเข้าไปในป่าชุมชนโดยสิ้นเชิง ก็ได้ ข้อ 28 สมาชิกป่าชุมชนมีสิทธิใช้ประโยชน์จากบริการป่าชุมชน ด้านการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ โดยประโยชน์ที่ได้จากคาร์บอนเค รดิตของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนให้ตกเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง เพื่อใช้ในการจัดการป่าชุมชน ข้อ 29 ป่าชุมชนแห่งใดประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ T - VER กับกรมป่าไม้ ให้คณะกรรมการ จัดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนแห่งนั้นยื่นคาขอตามแบบที่อธิบดีประกาศกาหนด ผ่านระบบอิเล็กท รอนิกส์ หรือยื่นคาขอพร้อมเอกสารหรือหลักฐานที่ระบุไว้ในแบบคาขอต่ออธิบดี ณ สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบ ศูนย์ป่าไม้แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบ สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ หรือสถานที่อื่น หรือโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด คาขอตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทาเอกสารข้อเสนอโครงการ T - VER ตามหลักเกณฑ์ของ อบก. พร้อมเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องให้อธิบดีเห็นชอบก่อนการขอขึ้นทะเบียนโครงการ T - VER ให้ระบุกรมป่าไม้เป็นเจ้าของโครงการ T - VER และผู้พัฒนาโครงการ คณะกรรมการจัดการ ป่าชุมชนเป็นผู้พัฒนาโครงการ กรณีพื้นที่ป่าชุมชนที่เป็นป่าชายเลนให้ระบุกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งเป็นเจ้าของโครงการร่วม และผู้พัฒนาโครงการ ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

เจ้าของโครงการหรือเจ้าของโครงการร่วมอาจเสนอชื่อบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงาน ของรัฐเป็นผู้พัฒนาโครงการร่วมเพิ่มเติ มก็ได้ ทั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการร่วมดังกล่าวจะไม่ได้รับสิทธิในการ ขอแบ่งปันคาร์บอนเครดิตตามระเบียบนี้ ข้อ 30 ให้ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน เสนอคำขอและเอกสารตามข้อ 29 พร้อมความเห็นเสนออธิบดีเพื่อพิจารณาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน ข้อ 31 การดาเนินการใด ๆ นอกเหนือจากเอกสารข้อเสนอโครงการ T - VER ที่ขอขึ้นทะเบียน ต่อ อบก. การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ T - VER หลังขึ้นทะเบียน การยื่นขอรับรองคาร์บอนเครดิต และการขอต่ออายุโครงการ T - VER ผู้พัฒนาโครงการหรือผู้พัฒนาโครงการร่วม ต้องได้รับความเห็นชอบ จากกรมป่าไม้ก่อน ข้อ 32 การดาเนินการใด ๆ นอกจากที่กาหนดไว้ตามข้อ 31 และที่กาหนดไว้ในระเบียบนี้ ก่อนดำเนินการ ให้ผู้พัฒนาโครงการหรือผู้พัฒนาโครงการร่วม แจ้งเป็นหนังสือ ระบุกิจกรรมและ กาหนดระยะเวลาให้กรมป่าไม้ทราบ และเมื่อดาเนิ นการดังกล่าวแล้วเสร็จให้รายงานผลให้กรมป่าไม้ทราบ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ดำเนินการนั้นเสร็จสิ้น การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตให้เป็นสิทธิของผู้พัฒนาโครงการ ข้อ 33 ผู้พัฒนาโครงการหรือผู้พัฒนาโครงการร่วม ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาก การพัฒนาโค รงการ T - VER การขอขึ้นทะเบียนโครงการ T - VER การขอรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โครงการ T - VER และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หรือตามที่ตกลงกัน ข้อ 34 กรมป่าไม้กาหนดสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต โดยกาหนดสัดส่วนร้อยละเก้าสิบ สำหรับคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจำป่าชุมชนที่ขึ้นทะเบียน และร้อยละสิบสำหรับกรมป่าไม้ กรณีป่าชุมชนที่เป็นป่าชายเลนในพื้นที่รับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือป่าชุมชนที่อยู่ในพื้นที่อื่นของรัฐ ให้กำหนดสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตร้อยละเก้าสิ บ สาหรับคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนที่ขึ้นทะเบียน และร้อยละสิบสาหรับกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งหรือหน่วยงานที่ปกครองดูแลพื้นที่ที่นำมาจัดตั้งป่าชุมชนแห่งนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ 35 ให้ป่าชุมชนที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ T - VER ก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ มีสิทธิ ใช้ประโยชน์จากบริการป่าชุมชน ด้านการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ โดยให้ดำเนินการให้เป็นไป ตามข้อ 29 ข้อ 31 ข้อ 32 และข้อ 33 โดยให้กำหนดสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ตามข้อ 34 ข้อ 36 ในกรณีมีความจาเป็นต้องขุดเจาะบ่ อน้า สร้างบ่อพักน้า ถังเก็บน้า วางท่อหรือระบบ ส่งน้าในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อนาทรัพยากรน้าสาธารณะในป่าชุมชนมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ของสมาชิกป่าชุมชนหรือใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชน ให้กระทาโดยมติของคณะกรรมการจัดการ ป่าชุมชนร่วมกับสมาชิกป่าชุ มชนแห่งนั้น โดยให้จัดทาบันทึกการประชุมไว้เป็นหลักฐาน จากนั้นให้ยื่น ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

คาขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อขุดเจาะบ่อน้า สร้างบ่อพักน้า ถังเก็บน้า วางท่อหรือระบบส่งน้า ตามแบบที่อธิบดีประกาศกาหนดต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดแห่งท้องที่ที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ เมื่อได้รับคาขอตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอออกใบรับคาขอตามแบบที่อธิบดีประกาศ กำหนดให้แก่ผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 37 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอตรวจสอบคาขอและเอกสารหลักฐานตามข้อ 36 หากเห็นว่า เอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนและถูกต้อง ให้แจ้งผู้ยื่นคาขออนุญาตเป็นหนังสือเพื่อให้ส่ง เอกสารหลักฐาน เพิ่มเติมให้ครบถ้วนและถูกต้องภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอกาหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้ง หากผู้ยื่นคาขออนุญาตไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในเวลาที่กาหนด ให้ถือว่าคาขอนั้น เป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกาหนดระยะเวลาดังกล่า ว และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอแจ้งเป็นหนังสือ ให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตทราบ กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้องให้ส่งสาเนา คำขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องเสนอคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคาขอ และเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้อง ข้อ 38 ให้ประธานกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดมอบหมายเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัด กรมป่าไม้ออกไปทาการตรวจสภาพป่าภายในสิบห้าวันทาการนับแต่วันที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้องตามข้อ 3 7 วรรคสอง ข้อ 39 ในการตรวจสภาพป่า ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้เป็นผู้นัดวันและเวลา ที่จะตรวจสภาพป่าพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตทราบ และให้ผู้ยื่นคำขออนุญาต นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสภาพป่าตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่นำเจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสภาพป่า ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้กำหนดวันและเวลาในการตรวจสภาพป่าใหม่ โดยแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคาขออนุญาตทราบ หากผู้ยื่นคาขออนุญาตไม่นาเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสภาพป่า ตามกาหนดเวลาดังกล่าวอีก ให้ถือว่าคาขอนั้นเป็ นอันสิ้นผล และให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้ แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตทราบ ข้อ 40 ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้ตรวจสภาพป่าให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เข้าตรวจสภาพป่าตามข้อ 3 9 เว้นแต่มีเหตุจาเป็นไม่อาจตรวจสภาพป่าให้แล้วเสร็จภายใน ระยะเวลาดังกล่าว ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้แจ้งเหตุผลและความจาเป็น ในการขยายระยะเวลาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสภาพป่าตามวรรคหนึ่งเสร็จ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้รายงานผล การตรวจสภาพป่า และจัดทาความเห็นเสนอคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดภายในสิบห้าวันนับแต่ วันที่ตรวจสภาพป่าแล้วเสร็จ รายงานผลการตรวจสภาพป่าตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

ข้อ 41 การพิจารณา อนุญาตใช้พื้นที่ป่าชุมชนของคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด ตามข้อ 3 6 ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) มีเหตุผลและความจาเป็นต้องนำทรัพยากรน้ำสาธารณะในป่าชุมชนมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน หรือใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชน ( 2 ) ไม่มีวิธีการอื่นที่เหมาะสมไปกว่าการขุดเจาะบ่อน้า สร้างบ่อพักน้า ถังเก็บน้า วางท่อ หรือระบบส่งน้ำในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อนำทรัพยากรน้ำสาธารณะในป่าชุมชนมาใช้ ( 3 ) บริเวณตาแหน่งพื้นที่และขนาดเนื้อที่ที่ขอใช้มีความเหมาะสมกับวิธีการขุดเจาะบ่อน้ำ สร้างบ่อพั กน้ำ ถังเก็บน้ำ วางท่อหรือระบบส่งน้ำ ( 4 ) การขุดเจาะบ่อน้า สร้างบ่อพักน้า ถังเก็บน้า วางท่อหรือระบบส่งน้าในพื้นที่ป่าชุมชน ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าชุมชนอย่างมีนัยสำคัญ หนังสืออนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อขุดเจาะบ่อน้ำ สร้างบ่อพักน้ำ ถังเก็ บน้ำ วางท่อ หรือระบบส่งน้ำ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดาเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยน้าบาดาลและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ 42 ในกรณีที่หนังสืออนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อขุดเจาะบ่อน้ำ สร้างบ่อพักน้ำ ถังเก็บน้ำ วางท่อ หรือระบบส่งน้ำ ชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตยื่นคำขอรับ ใบแทนหนังสืออนุญาตตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด โดยให้ส่งคืนหนังสืออนุญาตฉบับเดิมที่ชารุด หรือยื่นหลักฐานการแจ้งความกรณีสู ญหายหรือถูกทาลาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบและเสนอให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดพิจารณา ออกใบแทนหนังสืออนุญาตต่อไป การออกใบแทนหนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบหนังสืออนุญาตเดิม โดยเขียนหรือ ประทับตราคาว่า “ ใบแทน ” ด้วยหมึกสีแดงไว้ด้านบนข องหนังสืออนุญาต และให้ระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนหนังสืออนุญาต พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้ออกใบแทนหนังสืออนุญาตกำกับไว้ด้วย ข้อ 43 ให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้ใช้พื้นที่ ป่าชุมชนเพื่อขุดเจาะบ่อน้า สร้างบ่อพักน้า ถังเก็บน้า วางท่อหรือระบบส่งน้า ภายในสิบห้าวันนับแต่ วันที่ได้รับคำขอตามข้อ 42 ข้อ 44 การยื่นคำขอต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดตามข้อ 36 และข้อ 42 ให้ยื่น ณ สถานที่หรือวิธีการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบ ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

( 2 ) ศูนย์ป่าไม้แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบ ( 3 ) ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด ( 4 ) สถานที่อื่นหรือโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 256 6 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการนโยบายป่าชุม ชน ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566