ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการปกครอง ดูแลบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากไม้ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการปกครอง ดูแลบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากไม้ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการปกครอง ดูแลบารุงรักษา ใช้ประโยชน์จากไม้ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน พ.ศ. 2566 โดยที่มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 กาหนดให้การจัดตั้งป่าชุมชน ในพื้นที่ป่าหรือพื้นที่อื่นของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตหรือเพิกถอนพื้นที่ป่า หรือเปลี่ยนแปลงสถานะหรือถอนสภาพพื้นที่อื่นของรัฐที่นำมาจัดตั้งเป็นป่าชุมชน และมิให้นากฎหมาย ว่าด้วยป่าไม้และกฎหมายว่าด้วยป่าสง วนแห่งชาติมาใช้บังคับเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการเพิกถอน ป่าชุมชน โดยให้ใช้ระเบียบที่คณะกรรมการนโยบายกาหนดตามมาตรา 18 แทน และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 กาหนดให้คณะกรรมการนโยบายกาหนดระเบียบว่าด้วย การปกครอง ดูแลบารุงรักษา ใช้ประโ ยชน์จากไม้ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน โดยต้องคานึงถึง กฎหมายว่าด้วยป่าไม้และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติด้วย จึงเป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์ ว่าด้วยการปกครอง ดูแลบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากไม้ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนขึ้นใช้บังคับ อาศัยอานาจตำมความในมาตรา 16 (4) และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 และมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการปกครอง ดูแลบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากไม้ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ และคำ สั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้ว ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ พื้นที่ป่าชุมชน ” หมายความว่า พื้นที่ภายในแนวเขตป่าชุมชนแต่ละแห่งที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 “ ทาง ” หมายความว่า ทางทุกประเภทในพื้นที่ป่าชุมชนแต่ไม่รวมถึงทางตามกฎหมาย ว่าด้วยทางหลวง “ แปรรูป ” หมายความว่า การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ไม้ ดังต่อไปนี้ (1) เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทาด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิม แต่ไม่รวมถึงการลอกเปลือกหรือตบแต่งอันจำเป็นแก่การชักลาก (2) เผา อบ บด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนแปรสภาพไปจากเดิม เพื่อถือเอาวัตถุธาตุหรือผลพลอยได้จากไม้นั้น ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
“ ไม้แปรรูป ” หมายความว่า ไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว และหมายความรวมถึงไม้ที่อยู่ในสภาพพราง ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรืออยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่ว ๆ ไป หรือที่ผิดปกติวิสัย หรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้น หรือที่ผิ ดปกติวิสัย “ โรงค้าไม้แปรรูป ” หมายความว่า สถานที่ที่ค้าไม้แปรรูปหรือที่มีไม้แปรรูปไว้เพื่อการค้า รวมถึงบริเวณสถานที่นั้น ๆ ด้วย “ ไม้หวงห้าม ” หมายความว่า ไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ “ ชักลาก ” หมายความว่า การนาไม้หรือของป่าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ งด้วยกำลังแรงงาน “ แผนจัดการป่าชุมชน ” หมายความว่า แผนจัดการป่าชุมชนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ป่าชุมชนประจำจังหวัด “ แหล่งซากดึกดาบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน ” หมายความว่า แหล่งซากดึกดาบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองซากดึกดาบรรพ์ “ เจ้าหน้าที่ผู้ รับคำขอ ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีให้เป็นเจ้าหน้าที่ ผู้รับคาขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป่าชุมชนประจาจังหวัดให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับคาขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อก่อสร้า งสิ่งปลูกสร้าง ของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน แล้วแต่กรณี “ หน่วยตรวจสภาพป่า ” หมายความว่า สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่หรือหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดี “ เจ้าหน้าที่ตรวจป่า ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากหน่วยตรวจสภาพป่า ให้เป็นเจ้ำหน้าที่ตรวจป่า “ โครงการ T - VER ” หมายความว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐาน ของประเทศไทย ( Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T - VER ) “ อบก. ” หมายความว่า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) “ คาร์บอนเครดิต ” หมายความว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากการดาเนิน โครงการ T - VER และได้รับการรับรองจาก อบก. โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ( tCO 2 eq ) “ ผู้ยื่นคาขอ ” หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐที่ยื่น คาขอ เข้าร่วมโครงการ T - VER กับกรมป่าไม้ “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมป่าไม้ ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการนโยบายป่าชุมชนรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอานาจ ออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบีย บนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด หมวด 1 การปกครองและดูแลบารุงรักษาป่าชุมชน ข้อ 6 กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้หรือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แล้วแต่กรณี มีความจาเป็นต้องทำการก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่าในพื้นที่ป่าชุมชน หรือกระทำการ ด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าชุมชนแห่งใด เพื่อประโยชน์ในการบารุงรักษา และป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายแก่ป่าชุมชนตามมาตรา 63 (2) จะต้องแจ้งแผนงานหรือ โครงการที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรืออ ธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหนังสือ ให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดแห่งท้องที่ที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่ ก่อนเข้าดาเนินการตามแผนงาน หรือโครงการดังกล่าว และเมื่อแจ้งแล้วให้ดำเนินการได้ โดยต้องดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมกับ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้ำหน้าที่ป่าชุมชน และสมาชิกป่าชุมชน เว้นแต่กรณีมีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจาเป็นเร่งด่วน เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ป่าชุมชน พนักงานเจ้าหน้าที่ จะทาการก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่าในพื้นที่ป่าชุมชน หรือกระทาการด้วยประการใด ๆ อันเป็น การเสื่อมเสียแก่สภาพป่าชุมชน แล้วรายงานคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดทราบในภายหลัง โดยไม่ชักช้าก็ได้ ข้อ 7 กรณีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ มีความประสงค์สนับสนุน การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 6 ให้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่ วยงานของรัฐนั้น แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือพร้อมแผนงานหรือโครงการและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่ออธิบดีหรืออธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้หรือกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งพิจารณาเสนออธิบดีหรืออธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชา ยฝั่งอนุมัติ ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้หรือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นผู้รับผิดชอบแผนงานหรือโครงการ แล้วแต่กรณี และบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ร่วมโครงการ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแผนงานหรือโครงการจะต้องแจ้งแผนงานหรือโครงการที่ได้รับ อนุมัติเป็นหนังสือให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดแห่งท้องที่ที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่ก่อนเข้า ดาเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว และเมื่อแจ้งแล้วให้ดาเนินการได้ ข้อ 8 ผู้ ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งกรมป่าไม้สร้างการมีส่วนร่วมโดยให้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐร่วมสนับสนุนป่าชุมชนที่ได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ หรือ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าชุมชนที่ได้จัดตั้งโดยการสนับสนุนของกรมป่า ไม้และอยู่ในพื้นที่อื่น ของรัฐ ซึ่งเป็นป่าชุมชนตามมาตรา 99 และมาตรา 100 ก่อนระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ โดยประสงค์ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ให้การสนับสนุนป่าชุมชนแห่งเดิมเพิ่มเติมเป็นการต่อเนื่อง ให้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือต่ออธิบดี และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้พิจารณำเสนออธิบดีอนุมัติ และพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องแจ้ง แผนงานหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีเป็นหนังสือให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด แห่งท้องที่ที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่ก่อนเข้าดาเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว และเมื่อแจ้งแล้ว ให้ดาเนินการได้ ข้อ 9 การแจ้งความประสงค์ตามข้อ 7 และข้อ 8 ให้แจ้งเป็นหนังสือ ณ สถานที่หรือวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ที่ประสงค์จะดาเนินโครงการ (2) กรมป่าไม้ (3) ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกาหนด (4) สถานที่อื่นหรือโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกาหนด กรณีที่เป็นแผนงานหรือโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่ป่าชุมชนที่เป็นป่าชายเลน ให้แจ้งเป็นหนังสือ ณ สถานที่หรือวิธีการ ตามที่อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประกาศกำหนด ข้อ 10 คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนอา จจัดให้มีการควบคุมการเข้าไป การใช้พื้นที่ป่าชุมชน เป็นทางผ่าน หรือทางเข้า - ออก เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อป่าชุมชนก็ได้ โดยกำหนดเส้นทางให้เข้าไป หรือผ่าน หรือใช้ทางได้ภายในพื้นที่ป่าชุมชน โดยปิดประกาศไว้ในที่ใกล้เคียงกับหลักเขต ป้าย หรือเครื่องหมำยอื่นที่ใช้แสดงแนวเขตป่าชุมชนนั้น ข้อ 11 การใช้พื้นที่ป่าชุมชนเป็นทางผ่านตามข้อ 10 ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ต้องเข้าไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้เท่านั้น (2) ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนกาหนดขึ้น ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดตามมาตรา 44 (2) ข้อ 12 เพื่อประโยชน์ในการมีหลักฐานการได้มาซึ่งของป่าที่ได้จากป่าชุมชน ให้สามารถ ขอหนังสือรับรองตามระเบียบนี้ได้ การขอหนังสือรับรองให้ยื่นคาขอต่อคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนแห่งนั้น เมื่อ ตรวจสอบ เอกสารหลักฐานหรือสอบถามพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องแล้วเป็นที่เชื่อได้ว่าได้มาซึ่งของป่าจากป่าชุมชน ตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนหรือกรรมการ จัดการป่าชุมชนที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนมอบหมายออกหนังสือรับรองให้แก่ ผู้ขอภายในสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ คำขอหนังสือรับรอง และหนังสือรับรอง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกาหนด หมวด 2 การใช้ประโยชน์จากไม้ในป่าชุมชน ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ส่วนที่ 1 การควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อ 13 ภายในพื้นที่ป่าชุมชน ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้ทุกชนิด ไม่ว่าจะกระทาต่อไม้หวงห้าม รวมถึงไม้ที่นาเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจานวนเท่าใด หรือนาเครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่ใช้ตัดหรือ แปรรูปไม้ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล เข้าไปในพื้นที่ป่าชุมชน เว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการแปรรูปไม้ของคณะกรรมการจั ดการป่าชุมชนหรือสมาชิกป่าชุมชน โดยเป็นไป ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการใช้ประโยชน์จากไม้ตามมาตรา 50 (2) หรือมาตรา 52 โดยกระทำเพียง เลื่อย ตัด ลิด ขุด หรือถากซ้อมไม้ เพื่อทาเป็นซุงท่อน ไม้เหลี่ยมโกลน มาดเรือโกลน เสาถาก หรือหมอนรถ หรื อเพื่อทาไม้ฟืน หรือทาไม้เผาถ่าน หรือเลื่อยผ่าเพียงเพื่อความจาเป็นในการชักลาก ก่อนนำไม้เคลื่อนที่จากบริเวณตอไม้ (ข) เป็นการแปรรูปไม้ เพื่อนำไปใช้สอยในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน หรือใช้ ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชน ตามมาตรา 50 (2) หรือเพื่อบรรเทาควา มเดือดร้อนเสียหาย อันเนื่องมาจากประสบเหตุภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจาเป็นเพื่อช่วยเหลือราษฎรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรา 52 หรือก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่จาเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ จัดการป่าชุมชนตามมาตรา 63 (4) (ค) ก่อนการแปรรูปไม้ตา ม (ข) ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนหรือสมาชิกป่าชุมชน ผู้ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากไม้แจ้งเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนทราบวัน เวลา และสถานที่แปรรูปไม้ เพื่อมาตรวจสอบ การดาเนินการดังกล่าวในพื้นที่ป่าชุมชน โดยคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนหรือสมาชิกป่าชุมชน ผู้ซึ่งได้ใช้ประ โยชน์จากไม้ต้องบันทึกวัน เวลา สถานที่ จำนวนหรือปริมาณไม้ที่ทำการแปรรูป รวมทั้ง ถ่ายภาพก่อน ระหว่าง และหลังแปรรูปไม้ โดยมีเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนแห่งนั้นลงชื่อเป็นพยาน และเก็บไว้ เป็นหลักฐานแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรือบุคคลที่เกี่ ยวข้อง (2) เป็นการแปรรูปไม้ของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ที่กาหนดตามข้อ 26 โดยเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการแปรรูปไม้เพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นต่อการดาเนินการให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาต (ข) ไม้ที่นำมาแปรรูปตาม (ก) ต้องมิใช่ไม้ที่ขึ้นหรือปลูกในพื้นที่ป่าชุมชนและต้องมี หลักฐานแสดงการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม้นั้น (ค) กรณีเป็นไม้ท่อน ก่อนทาการแปรรูปไม้ ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน หรือผู้รับมอบอานาจต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนแห่งนั้นทราบวัน เวลา และสถานที่ ที่จะทำการแปรรูปไม้ เพื่อมาตรวจตราดูแลการแปรรูปไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน และผู้ได้รับอนุญาต ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนต้องบันทึกวัน เวลา สถานที่ จานวนหรือปริมำณไม้ที่ทาการแปรรูป รวมทั้งถ่ายภาพก่อน ระหว่าง และหลังแปรรูปไม้เก็บไว้เป็นหลักฐานแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง (3) เป็นการกระทาของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการบารุงรักษาและป้องกันหรือ บรรเทาความเสียหายแก่ป่ำชุมชนตามมาตรา 63 (2) ข้อ 14 ภายในพื้นที่ป่าชุมชน ห้ามผู้ใดมีไม้แปรรูปทุกชนิด รวมถึงไม้ที่นาเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง เว้นแต่มีหลักฐานแสดงการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม้แปรรูปนั้น ส่วนที่ 2 เครื่องใช้ สิ่งประดิษฐ์ ข้อ 15 ห้ามมิให้ผู้ใดค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทาด้วยไม้ที่ได้มาจากป่าชุมชน เว้นแต่เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึกที่ทาจากไม้ที่พ้นสภาพ ความเป็นไม้แปรรูป ที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ตามมาตรา 50 (2) และมา ตรา 52 ซึ่งมีไว้ ในครอบครองเพื่อการจำหน่ายในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชน ตลอดจนราก ปุ่ม ตอ เศษ ปลาย และกิ่งของสิ่งนั้น ๆ ที่มิใช่ไม้ทรงคุณค่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยสมาชิกป่าชุมชน หมวด 3 การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ส่วนที่ 1 การขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนของพนักงานเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน และสมาชิกป่าชุมชน ข้อ 16 การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนตามแผนงานหรือโครงการของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่มิใช่แผนงานหรือโครงการของกรมป่าไม้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องทำการก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่าในพื้นที่ป่าชุมชน หรือกระทาการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพ ป่าชุมชนแห่งใด เพื่อประโยชน์ในการบารุงรักษาและป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายแก่ป่าชุมชน ตามมาตรา 63 (2) จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้อธิบดีพร้อมแผนงานหรือโครงการที่ได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ก่อนเข้าดาเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว เมื่อดาเนินการแล้วเสร็จให้แจ้งกรมป่าไม้ด้วย ข้ อ 17 ในกรณีที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน หรือสมาชิกป่าชุมชน มี ความจาเป็นต้องทาการก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่าในพื้นที่ป่าชุมชน หรือกระทาการด้วยประการใด ๆ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าชุมชนแห่งใดตามมาตรา 63 (2) ให้สามารถกระทำได้ หากการกระทา ดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดาเนินกิจกรรมตามที่กาหนดไว้ในแผนจัดการป่าชุมชน ข้อ 18 ในกรณีที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนของป่าชุมชนแห่งใดมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ ป่าชุมชนแห่งนั้นทำการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการ จัดการป่าชุมชนตามมาตรา 44 (3) เช่น การสร้างหอดูไฟป่า ฝายชะลอน้า ที่พักลาดตระเวน หรือศาลาเรียนรู้ ตามมาตรา 63 (4) ให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนยื่นคาขออนุญาตใช้พื้นที่ ป่าชุมชนเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวั ดแห่งท้องที่ที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ เมื่อได้รับคาขอตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอออกใบรับคาขอให้แก่คณะกรรมการ จัดการป่าชุมชนไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 19 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบคาขอและเอกสารหลักฐานตามข้ อ 18 หากเห็นว่า คาขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานใด ให้แจ้งคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนทราบทันที ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนดาเนินการ แก้ไขหรือยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ถ้าเป็นก รณีที่ไม่สามารถดาเนินการได้ในขณะนั้น ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมภายใน ระยะเวลาที่กาหนด เป็นหนังสือเพื่อให้ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนและถูกต้องภายในเวลา ที่เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอกาหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้คณะกรรมการ จัดการป่าชุมชนลงนามไว้ในบันทึกนั้น หากคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายใน เวลาที่กำหนด ให้ถือว่าคำขอนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดั งกล่าว และให้ เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอแจ้งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนทราบ กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้องให้ส่ง สาเนาคาขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องแจ้งเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้ภายในเจ็ดวันนับแต่ วันที่ ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้อง ข้อ 20 ในการตรวจสภาพป่า ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้เป็นผู้นัดวันและเวลา ที่จะตรวจสภาพป่าพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้งตามข้อ 19 วรรคสอง และให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนนาเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสภาพป่า ตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสภาพป่าตามกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้กาหนดวันและเวลาในการตรวจสภาพป่าใหม่โดยแจ้งเป็นหนังสือ ให้คณะกรรมการจั ดการป่าชุมชนทราบ หากคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนไม่นาเจ้าหน้าที่เข้าตรวจ สภาพป่าตามกาหนดเวลาดังกล่าวอีก ให้ถือว่าคำขอนั้นเป็นอันสิ้นผล และให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัด กรมป่าไม้แจ้งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนทราบ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ข้อ 21 ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สั งกัดกรมป่าไม้ตรวจสภาพป่าให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เข้าตรวจสภาพป่าตามข้อ 20 เว้นแต่มีเหตุจาเป็นไม่อาจตรวจสภาพป่าให้แล้วเสร็จภายใน ระยะเวลาดังกล่าว ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้แจ้งเหตุผลและความจาเป็น ในการขยายระยะเวลาเป็นหนั งสือให้ประธานกรรมการจัดการป่าชุมชนทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสภาพป่าตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้รายงาน ผลการตรวจสภาพป่าและจัดทาความเห็นเสนอคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตรวจสภาพป่า แล้วเสร็จ ข้อ 22 การพิจารณาอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างของคณะกรรมการ ป่าชุมชนประจำจังหวัดให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลความจำเป็นในการใช้พื้นที่ป่าชุมชนประกอบกับรายงานการตรวจสภาพป่า (2) การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ป่าชุมชนนั้นเป็นสิ่งจาเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนตามมาตรา 44 (3) และสอดคล้องกับแผนจัดการป่าชุมชน (3) สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวมีลักษณะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ไม่เป็นการทาลายสภาพ ธรรมชาติเดิ ม (4) บริเวณตาแหน่งพื้นที่และขนาดเนื้อที่ที่ขออนุญาตมีความเหมาะสมกับการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง กรณีที่มีความจาเป็นและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต้องใช้ประโยชน์จากไม้และนาไม้ออกจากพื้นที่ ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกั ดกรมป่าไม้ตามข้อ 21 เพื่อมาตรวจตราการดาเนินการดังกล่าว เมื่อดาเนินการเสร็จแล้วให้รายงานผลต่อคณะกรรมการป่าชุมชน ประจาจังหวัดทราบ และให้ไม้ที่ได้มานั้นตกเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของป่าชุมชนเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม สาธารณะภายในชุมชนนั้นต่อไป ข้อ 23 ในกรณีที่หนังสืออนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ชำรุด สูญหาย หรือถูกทาลาย ให้ประธานกรรมการจัดการป่าชุมชนผู้ได้รับหนังสืออนุญาตยื่นคาขอรับใบแทนหนังสือ อนุญาตต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด โดยให้ส่งคืนหนังสืออนุญาตฉบับเดิมที่ชารุ ด หรือ ยื่นหลักฐานการแจ้งความกรณีสูญหายหรือถูกทำลาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอตรวจสอบและเสนอให้ ประธานกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาตต่อไป การออกใบแทนหนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบหนังสืออนุญาตเดิม โดยเขียนหรือ ประทับตราคาว่า “ ใบแทน ” ด้วยหมึกสีแดงไว้ด้านบนของหนังสืออนุญาต และให้ระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนหนังสืออนุญาต พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้ออกใบแทนหนังสืออนุญาตกำกับไว้ด้วย ข้ อ 24 ให้ประธานกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัดพิจารณาออกใบแทนหนังสืออนุญาต ให้ใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอตามข้อ 23 ข้อ 25 การยื่นคำขอ และการรายงาน ต่อคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดตามข้อ 1 6 ข้อ 1 8 ข้อ 21 และข้อ 23 ให้ยื่นคำขอ และรายงาน ณ สถานที่หรือวิธีการ ดังต่อไปนี้ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
(1) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบ (2) ศูนย์ป่าไม้แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบ (3) ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด ประกาศกา หนด (4) สถานที่อื่นหรือโดยวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดประกาศกาหนด คาขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ใบรับคาขอ รายงานผลการตรวจสภาพป่า หนังสืออนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าชุมชนเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง และคาขอรับใบแทนหนั งสืออนุญาต ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกาหนด ส่วนที่ 2 การขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ ข้อ 26 การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนของบุคคลนอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในมาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 63 (2) และ (3) และมาตรา 66 แล้ว การขออนุญาตใช้ ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐใดจะกระทามิได้ เว้นแต่ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ และต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (1) เพื่อการศึก ษาหรือวิจัยทางวิชาการที่มิใช่กรณีตามมาตรา 66 ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อ สภาพพื้นที่ป่าและการอยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น เพื่อการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น จากการดาเนินโครงการหรือกิจการ (2) เพื่อการขุดค้นหรือเก็บตัวอย่างแหล่งซากดึกดาบรรพ์หรือซากดึกดา บรรพ์ภายในเขต สารวจและศึกษาวิจัย หรือการซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน ต่อเติม หรือทาลายแหล่ง ซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน หรือซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองซากดึกดาบรรพ์ (3) เพื่อกิจการสาธารณูปโภ คขั้นพื้นฐาน (4) เพื่อประโยชน์สาธารณะ (5) เพื่อประโยชน์ในทางราชการ ซึ่งกระทำโดยหน่วยงานของรัฐ ข้อ 27 ผู้ใดมีความจาเป็นและประสงค์ขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ให้ยื่นคาขอ อนุญาตต่ออธิบดี โดยต้องระบุวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุ มชนให้ชัดเจน พร้อมด้วยความเห็นของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนที่จะขอใช้ประโยชน์และเอกสาร หลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ เมื่อได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขออนุญาต ไว้เป็นหลักฐาน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ข้อ 28 ผู้ขออนุญาตใช้ประโยชน์ใ นพื้นที่ป่าชุมชนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) กรณีบุคคลธรรมดา (ก) มีอายุไม่ต่ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย (ข) มีสัญชาติไทย (ค) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) กรณีเป็นนิติบุคคลซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลนั้นต้องจดทะเบียนในประเทศไทย และต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าวโดยเฉพาะหรือเป็นส่วนใหญ่ ในกรณีที่นิติบุคคลนั้น มีผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคล นั้นต้องมีสัญชาติไทยเกินสองในสาม ของจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนโดยต้องถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมดและผู้มีอำนาจ ลงนามแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (1) ข้อ 29 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบคาขอและเอกสารหลักฐานตำมข้อ 27 หากเห็นว่า คาขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานใด ให้แจ้งผู้ขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ทราบทันที ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งผู้ขออนุญาตดาเนินการแก้ไข หรือยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ถ้า เป็นกรณีที่ไม่สามารถดาเนินการได้ในขณะนั้น ให้เจ้าหน้าที่บันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลา ที่กาหนด เป็นหนังสือเพื่อให้ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนและถูกต้องภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่ ผู้รับคาขอกาหนดแต่ต้อง ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้ผู้ขออนุญาตลงนามไว้ในบันทึกนั้น หากผู้ขออนุญาตไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าคำขอนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่ พ้นกาหนดระยะเวลาดังกล่าวและให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตทราบ กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้อ งให้ส่ง สำเนาคำขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้หน่วยตรวจสภาพป่าภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคาขอ และเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้อง ข้อ 30 ในการตรวจสภาพป่าให้หน่วยตรวจสภาพป่ามอบหมายเจ้าหน้าที่ตรวจป่าเป็นผู้นัดวัน และเวลาที่จะตรวจสภาพป่าพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนและ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนทราบ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งตามข้อ 29 วรรคสอง และให้ ผู้ขออนุญาตร่วมกับคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนที่จะขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนนั้น นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสภาพป่าตามวันและเวลาที่กาหนด หากไม่นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสภาพป่า ตามกาหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่ตรวจป่ากาหนดวันและเวลาในการตรวจสภาพป่ำใหม่ โดยแจ้ง เป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตและคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนแห่งนั้นทราบ หากผู้ขออนุญาต ไม่นาเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสภาพป่าตามกาหนดเวลาดังกล่าวอีก ให้ถือว่าคาขอนั้นเป็นอันสิ้นผล และให้ เจ้าหน้าที่ตรวจป่าแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตทราบ ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ข้ อ 31 ให้เจ้าหน้าที่ตรวจป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าชุมชนที่สังกัดกรมป่าไม้หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ ร่วมกันตรวจสภาพป่าให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้าตรวจสภาพป่าตามข้อ 30 เว้นแต่มีเหตุจาเป็นไม่อาจตรวจสภาพป่าให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ขยา ยระยะเวลา ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้แจ้งเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาต ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสภาพป่าตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ตรวจป่ารายงานผลการตรวจสภาพป่า ให้หน่วยตรวจสภาพป่าทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตรวจสภาพป่าแล้วเสร็จ ให้หน่วยตรวจสภาพป่าพิจารณาและจัดทาความเห็นเสนอประธานกรรมการป่าชุมชนประจา จังหวัด เพื่อเสนอความเห็นประกอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสภาพป่า ก่อนเสนออธิบดีเพื่อพิจาร ณาต่อไป ข้อ 32 พื้นที่ป่าชุมชนตามข้อ 26 ที่อธิบดีจะพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ต้องอยู่ใน หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นพื้นที่ป่าที่มีสภาพป่าไม้สมบูรณ์ (2) ไม่เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อ ม เว้นแต่เป็นการดาเนินการที่ไม่ขัดกับมาตรการคุ้มครองพื้นที่ดังกล่าว (3) ไม่เป็นพื้นที่ที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้าระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือพื้นที่แกนกลาง ( Core Area ) ของพื้นที่สงวนชีวมณฑล เว้นแต่เป็นการดาเนินการที่ไม่ขัดกับมาตราการคุ้มครองพื้นที่ดังกล่าว (4) ไม่เป็นพื้นที่ที่มีมติคณะรัฐมนตรีกาหนดหลักเกณฑ์ห้ามใช้ประโยชน์ไว้เป็นการเฉพาะ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะมีมติยกเว้นหรือผ่อนผันให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวได้ กรณีกำรขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนที่มีความจาเป็นต้องกระทาการก่นสร้าง แผ้วถาง ใช้ประโยชน์จากไม้ หรือก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในบริเวณพื้นที่ป่าชุมชน ให้พิจารณาอนุญาต ให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์เป็นลำดับแรก หลักเกณฑ์ตามวร รคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่กรณีการอนุญาตตามข้อ 26 (1) ข้อ 33 การพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อการศึกษาหรือวิจัย ทางวิชาการที่มิใช่กรณีตามมาตรา 66 ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพพื้นที่ป่าและการอยู่อาศัยของสัตว์ป่า ตามข้อ 2 6 (1) ให้พิจารณาอนุญา ตได้ในจานวนพื้นที่ตามความจาเป็นและเหมาะสม และมีกาหนด ระยะเวลาคราวละไม่เกินสองปี ข้อ 34 การพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อการขุดค้นหรือเก็บตัวอย่าง แหล่งซากดึกดาบรรพ์หรือซากดึกดาบรรพ์ภายในเขตสารวจและศึกษาวิจัย หรือการซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ย นแปลง รื้อถอน ต่อเติม หรือทาลายแหล่งซากดึกดาบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน หรือซากดึกดาบรรพ์ ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ที่อยู่ในแหล่งซากดึกดาบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียนตามข้อ 2 6 (2) ให้พิจารณาอนุญาตในจำนวนพื้นที่ ตามความจำเป็นและเหมาะสมแก่กิจการที่ขออนุญาต และมีกาหนดระยะเวลาคราวละไม่เกินห้าปี ข้อ 35 การพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อกิจการสาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐานตามข้อ 2 6 (3) ให้พิจารณาอนุญาตในจานวนพื้นที่ตามความจาเป็นและเหมาะสม พื้นที่ ที่ขออนุญาตต้องรวมพื้นที่ถนนที่จะเข้าสู่พื้นที่โครงการด้วย และมีกำหนดระยะเวลาคราวละ ไม่ เกินสามสิบปี ข้อ 36 การพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ และ เพื่อประโยชน์ในทางราชการ ซึ่งกระทำโดยหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2 6 (4) และ (5) ต้องไม่เป็น กิจการที่จะส่งผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการจัดการป่าชุมชนและการใช้ประโยช น์จากป่าชุมชน แห่งนั้นจนไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งป่าชุมชนและตามแผนจัดการป่าชุมชน ของป่าชุมชนแห่งนั้นได้ และให้พิจารณาในจานวนพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสมแก่กิจการ ที่ขออนุญาต และมีกาหนดระยะเวลาคราวละไม่เกินสามสิบปี ข้อ 37 ในการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนให้อธิบดีพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสภาพป่าตามข้อ 31 เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นไม่อาจ พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดย ให้ อธิบดีแจ้งเหตุผลและความจาเป็นในการขยายระยะเวลาเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนครบ กำหนดเวลาดังกล่าว การพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนซึ่งเป็นเขตป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้ เป็นสมบัติของชาติ ให้อธิบดีรายงานความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกร ะทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสภาพป่า ตามข้อ 31 และให้อธิบดีพิจารณาอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบ การพิจารณาอ นุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนสาหรับโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทา รายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับทราบผลการพิจารณารายงานข้อมูล ด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว กรณีเป็นการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนที่อยู่ในพื้นที่อื่นของรัฐ ให้คานึงถึง กฎหมายและระเบียบของพื้นที่แห่งนั้น และผู้ได้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ 38 ในกรณีที่ปรากฏข้อมูลว่า โครงการหรือกิจการที่จะอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ป่าชุมชนนั้นมีเหตุผลความจาเป็นทางด้านกิจการเพื่ อความมั่นคงของประเทศที่ต้องใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ป่าชุมชนนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อดาเนินโครงการหรือกิจการดังกล่าวอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอานาจ พิจารณาสั่งเพิกถอนป่าชุมชนทั้งหม ดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 78 (4) ข้อ 39 กรณีที่อธิบดีอนุญาต ให้แจ้งผู้ขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนชาระค่าธรรมเนียม ให้แก่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจำป่าชุมชนแห่งนั้น (ถ้ามี) และแจ้งความเห็นให้คณะกรรมการ ป่าชุมชนประจำจังหวัดและคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจำป่าชุมชนแห่งนั้นทราบ กรณีที่อธิบดีไม่อนุญาต ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนทราบ โดยไม่ชักช้า ข้อ 40 ให้นำบทบัญญัติในข้อ 23 และข้อ 24 มาใช้บัง คับแก่การยื่นคาขอรับใบแทน หนังสืออนุญาตต่ออธิบดี และการออกใบแทนหนังสืออนุญาตของอธิบดีโดยอนุโลม ข้อ 41 การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ต้องไม่กระทาการใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน เว้นแต่มีความจาเป็นต้ องกระทาการก่นสร้าง แผ้วถาง ใช้ประโยชน์จากไม้ หรือก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในบริเวณพื้นที่ป่าชุมชนที่ได้รับอนุญาต เพื่อให้ สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาตได้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าการก่นสร้าง แผ้วถาง ใ ช้ประโยชน์จากไม้ หรือก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างนั้น เป็นการกระทา ที่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน (1) กรณีที่ต้องทาการก่นสร้างหรือแผ้วถางพื้นที่ป่าชุมชน ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ป่าชุมชนแจ้งเป็นหนังสือต่อหน่วยตรวจสภาพป่าเพื่อมาตรวจตราการดำเนิน การดังกล่าว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องทาในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ และทาให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ ป่าชุมชนในบริเวณนั้นให้น้อยที่สุด รวมทั้งต้องปลูกไม้ทดแทนโดยเป็นชนิดไม้ที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจำป่าชุมชนแห่งนั้น เพื่ อฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณดังกล่าวด้วย (2) กรณีที่มีความจาเป็นและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต้องใช้ประโยชน์จากไม้และนาไม้ออกจาก พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งเป็นหนังสือต่อหน่วยตรวจสภาพป่าเพื่อมา ตรวจตราการดำเนินการดังกล่าว และให้ไม้ที่ไ ด้มานั้นตกเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของป่าชุมชน เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชนนั้นต่อไป (3) กรณีที่มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ต้องเป็นการ ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเท่าที่จาเป็นต่อการดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ไ ด้รับอนุญาต ซึ่งได้ระบุ เรื่องการก่อสร้า ง สิ่งปลูกสร้างไว้ในคาขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน และอธิบดีได้อนุญาต การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างนั้นแล้ว ทั้งนี้ สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีลักษณะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ไม่เป็นการทำลายสภาพธรรมชาติเดิม ข้อ 42 ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนมีสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนได้ จนกว่าหนังสืออนุญาตจะสิ้นอายุ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
เมื่อหนังสืออนุญาตสิ้นอายุ ผู้ได้รับอนุญาตอาจยื่นคาขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ในบริเวณพื้นที่ที่เคยได้รับอนุญาตนั้นได้อีก หากกา รใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนที่ผ่านมาไม่ได้ทาให้ ป่าชุมชนเสื่อมสภาพมากขึ้น ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในหนังสืออนุญาตครบถ้วน และไม่มีการ กระทาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชนในระหว่างระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การขออนุญาต ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่ำชุมชน และการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ให้นาบทบัญญัติ ในส่วนที่ 2 ของหมวด 3 แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับ ข้อ 43 การยื่นคาขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน และคาขอรับใบแทนหนังสืออนุญาต ให้ยื่น ณ สถานที่หรือวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยตรวจสภาพป่า (2) ศูนย์ป่าไม้แห่งท้องที่ที่รับผิดชอบ (3) ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกาหนด (4) สถานที่อื่นหรือโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกาหนด คำขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่ วยงานของรัฐ ใบรับคำขอ หนังสืออนุญาต และคำขอรับใบแทนหนังสืออนุญาตให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ 44 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอำนาจตรวจสอบและติดตามการดำเนินการ ของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบี ยบนี้ และให้เป็นไป ตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขท้ายหนังสืออนุญาต ข้อ 45 กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนมีคนงานหรือผู้รับจ้าง ให้จัดทา บัญชีรายชื่อคนงานหรือผู้รับจ้างเพื่อไว้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ข้อ 46 ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อกาหนด หรือเงื่อนไขการอนุญาต กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจสั่งให้ผู้ได้รับ อนุญาตหยุดกระทาการดังกล่าว และแก้ไขให้ถูกต้อง หากเห็นว่าผู้ได้รับอนุญาตไม่หยุดกระทาการหรือไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ให้รายงานอธิบดี เพื่อพิจารณาเพิกถอนการอนุญาตต่อไป ส่วนที่ 3 การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ข้อ 47 ผู้ยื่นคำข อหรือผู้มีสิทธิในการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ต้องเป็นผู้ได้รับอนุมัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ โดยให้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ เข้ามาสนับสนุนการดาเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้หรือกรมทรัพยากรทางทะเล ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
และชายฝั่งตามข้อ 7 โดยกิจกรรมที่ดาเนินการต้องเป็นกิจกรรมประเภทการปลูกและบารุงป่าชุมชน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู หรือการจัดการป่าชุมชน (2) ผู้ได้รับอนุมัติใ ห้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งกรมป่าไม้สร้างการมีส่วนร่วม โดยให้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ เข้ามาสนับสนุนป่าชุมชนตามข้อ 8 โดยกิจกรรมที่ดาเนินการต้องเป็น กิจกรรมประเภทการปลูกและบารุงป่าชุมชน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู หรือการจัดการป่าชุมชน ข้อ 48 ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมดาเนินโครงการ T - VER กับกรมป่าไม้ ให้ยื่นคำขอผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์หรือยื่นคาขอพร้อมเอกสารหรือหลักฐานที่ระบุไว้ในแบบคาขอต่ออธิบดี ณ สานักจัดการ ป่าชุมชน กรมป่าไม้ หรือหน่วยงานที่อธิบดีประกาศกาหนด คาขอตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทาเอกสา รข้อเสนอโครงการ T - VER ตามหลักเกณฑ์ของ อบก. พร้อมเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องให้อธิบดีเห็นชอบก่อนการขอขึ้นทะเบียนโครงการ T - VER ผู้ยื่นคาขอที่ได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการตามข้อ 47 ให้ระบุกรมป่าไม้เป็นเจ้าของ โครงการ T - VER และผู้พัฒนาโครงการ คณะกรรมการจั ดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนแห่งนั้นและ ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้พัฒนาโครงการ กรณีพื้นที่ป่าชุมชนที่เป็นป่าชายเลน ให้ระบุกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นเจ้าของ โครงการร่วมและผู้พัฒนาโครงการ เจ้าของโครงการ เจ้าของโครงการร่วม หรือผู้ยื่นคาขอ อาจเสนอชื่อบุคคลธรรมดำ นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้พัฒนาโครงการร่วม เพิ่มเติมก็ได้ ทั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการร่วมดังกล่าว จะไม่ได้รับสิทธิในการขอแบ่งปันคาร์บอนเครดิตตามระเบียบนี้ คำขอเข้าร่วมโครงการ T - VER กับกรมป่าไม้ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกาหนด ข้อ 49 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอเข้าร่วมโครงการ T - VER ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐาน หากเห็นว่าคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานใด ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบทันที ถ้าเป็นกรณี ที่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดาเนินการแก้ไขหรือยื่นเอก สารหรือหลักฐาน เพิ่มเติมให้ครบถ้วน ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถดาเนินการได้ในขณะนั้น ให้เจ้าหน้าที่บันทึกความบกพร่อง และรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กาหนด เป็นหนังสือเพื่อให้ส่ง เอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนและถูกต้องภายในเวลา ที่เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอกาหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้ผู้ยื่นคาขอลงนามไว้ในบันทึกนั้น หากผู้ยื่นคาขอไม่ส่งเอกสาร หลักฐานภายในเวลาที่กาหนด ให้ถือว่าคาขอนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกาหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับคาขอเข้าร่วมโครงการ T - VER แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอเข้าร่วมโครงการ T - VER ตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารหลักฐาน ครบถ้วนและถูกต้องให้ส่งคาขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องเสนอต่อผู้อานวยการสานักจัดการป่าชุมชน ภายในเจ็ดวันนั บแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้อง ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
ให้ผู้อานวยการสานักจัดการป่าชุมชน เสนอคาขอและเอกสารตามข้อ 48 พร้อมความเห็น เสนออธิบดีเพื่อพิจารณาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารตามวรรคสอง ข้อ 50 ผู้ยื่นคาขอที่ได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการตาม ข้อ 47 หากไม่สามารถดาเนิน กิจกรรมตามแผนงานหรือโครงการที่กาหนดไว้ กรมป่าไม้จะแจ้งให้ อบก. ทราบ เพื่อขอเปลี่ยนแปลง รายละเอียดโครงการ T - VER หรือยกเลิกการเป็นผู้พัฒนาโครงการของผู้ยื่นคาขอ ทั้งนี้ กรมป่าไม้สงวนสิทธิ การพิจารณาสิทธิในการแบ่งปันคาร์บอนเค รดิตตามที่เห็นสมควร ข้อ 51 การดำเนินการใด ๆ นอกเหนือจากเอกสารข้อเสนอโครงการ T - VER ที่ขอขึ้น ทะเบียนต่อ อบก. การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ T - VER หลังขึ้นทะเบียน การยื่นขอรับรอง คาร์บอนเครดิต และการขอต่ออายุโครงการ T - VER ผู้พัฒนาโครงการหรือผู้พัฒนาโครงการร่วม ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้ก่อน ผู้พัฒนาโครงการหรือผู้พัฒนาโครงการร่วมที่ได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการตามข้อ 47 ที่ประสงค์จะขอต่ออายุโครงการ T - VER จะต้องได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการตามช่วงระยะเวลา ที่ขอต่ ออายุด้วย ข้อ 52 การดาเนินการใด ๆ นอกจากที่กาหนดไว้ตามข้อ 51 และที่กาหนดไว้ในระเบียบนี้ ก่อนดาเนินการ ให้ผู้พัฒนาโครงการหรือผู้พัฒนาโครงการร่วมแจ้งเป็นหนังสือ ระบุกิจกรรมและกำหนด ระยะเวลาให้กรมป่าไม้ทราบและเมื่อดาเนินการดังกล่าวเสร็จแล้วให้รายงานผลให้ กรมป่าไม้ทราบภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ดาเนินการนั้นเสร็จสิ้น ข้อ 53 ผู้พัฒนาโครงการหรือผู้พัฒนาโครงการร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาก การพัฒนาโครงการ T - VER การขอขึ้นทะเบียนโครงการ T - VER การขอรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โครงการ T - VER และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หรือตามที่ตกลงกัน ข้อ 54 กรมป่าไม้กำหนดสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ดังนี้ (1) ผู้ยื่นคาขอที่ได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการตามข้อ 47 กิจกรรมประเภทการปลูก และบารุงป่าชุมชน (ก) กรณีเป็นพื้นที่ป่าชุมชนในควำมรับผิดชอบของกรมป่าไม้ กาหนดสัดส่วนร้อยละเก้าสิบ สาหรับผู้ยื่นคาขอ ร้อยละห้าสาหรับคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนที่ขึ้นทะเบียน และร้อยละห้าสำหรับกรมป่าไม้ (ข) กรณีเป็นพื้นที่ป่าชุมชนที่เป็นป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ ง หรือป่าชุมชนที่อยู่ในพื้นที่อื่นของรัฐ ให้กาหนดสัดส่วนร้อยละเก้าสิบสาหรับผู้ยื่นคำขอ ร้อยละห้าสาหรับคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนที่ขึ้นทะเบียน และร้อยละห้าสาหรับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือหน่วยงานที่ปกครองดูแลพื้นที่ที่นามาจัดตั้งป่าชุมชนแห่งนั้น (2) ผู้ยื่นคาขอที่ได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการตามข้อ 47 กิจกรรมประเภทการอนุรักษ์ การฟื้นฟู หรือการจัดการป่าชุมชน เช่น การปลูกเสริมป่า การป้องกันไฟป่า ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566
(ก) กรณีเป็นพื้นที่ป่าชุมชนในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ กาหนดสัดส่วนร้อยละห้าสิบ สาหรับผู้ยื่นคาขอ ร้อยละสี่สิบสาหรับคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนประจาป่าชุมชนที่ ขึ้นทะเบียน และร้อยละสิบสำหรับกรมป่าไม้ (ข) กรณีเป็นพื้นที่ป่าชุมชนที่เป็นป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง หรือป่าชุมชนที่อยู่ในพื้นที่อื่นของรัฐ ให้กาหนดสัดส่วน ร้อยละห้าสิบสาหรับ ผู้ยื่นคาขอ ร้อยละสี่สิบสาหรับคณะกรรมการจัด การป่าชุมชนประจาป่าชุมชนที่ขึ้นทะเบียน และร้อยละสิบ สำหรับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือหน่วยงานที่ปกครองดูแลพื้นที่ที่นำมาจัดตั้งป่าชุมชนแห่งนั้น ข้อ 55 ให้ผู้ได้รับอนุมัติตามข้อ 47 ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ T - VER ก่อนที่ระเบียบนี้ ใช้บังคับ มี สิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตได้ โดยให้ดาเนินการให้ เป็นไปตามข้อ 48 ข้อ 51 ข้อ 52 และข้อ 53 โดยให้กาหนดสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ตามข้อ 54 หมวด 4 เบ็ดเตล็ด ข้อ 56 ค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่ป่าชุมชนเป็นทางผ่านและการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน ให้เรียกเก็บตามอัตราที่กาหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชนที่ออกตามความในมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ประกาศ ณ วันที่ 3 1 พฤษภาคม พ.ศ. 25 6 6 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการนโยบายป่าชุมชน ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 174 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566