Fri Jul 14 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551


ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ด้วยคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นสมควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน ตามพระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ประกอบมติคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ จึงออก ประกาศกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเล จากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน มาตรฐานเลขที่ มกษ. 9066 - 2566 ไว้เป็นมาตรฐานทั่วไป ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 25 6 6 ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 171 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กรกฎาคม 2566

มกษ . 9066-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตร ห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเล จากการเพาะเลี้ยงอย่างยั ่งยืน 1. ขอบข่าย 1.1 มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ ครอบคลุมข้อกําหนดห่วงโซ่การคุ้มครองผลิตภัณฑ์กุ้งทะเล จากกุ้งที่มาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทาง การเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าที่ดีสําหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ( มกษ . 7401) หรือมาตรฐานที่เทียบเท่า 1 / ซึ่งมาตรฐานนี้ ประกอบด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน ผู้รับจ้างช่วง ในห่วงโซ่อุปทาน การแยกผลิตภัณฑ์ บุคลากร เอกสารและบันทึกข้อมูลสําหรับการตามสอบ การแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง การเก็บรักษาบันทึกข้อมูล เพื่อให้สามารถกล่าวอ้างและสร้าง ความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาจากระบบการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน 1.2 ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเล (marine shrimp product) ตามมาตรฐานนี้ครอบคลุมกุ้งทะเลทั้งที่ผ่าน และไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป 2. นิยาม ความหมายของคําที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ มีดังต่อไปนี้ 2.1 ห่วงโซ่การคุ้มครอง (chain of custody) หมายถึง มาตรการต่างๆ ที่ใช้ทวนสอบว่าผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการรับรองมาจากห่วงโซ่การผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ได้รับการรับรอง และไม่มี การปะปนกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง มาตรการในการทวนสอบห่วงโซ่การคุ้มครอง ผลิตภัณฑ์ควรครอบคลุมการติดตามและการตามสอบผลิตภัณฑ์ ตลอดห่วงโซ่การผลิต กระบวนการแปรรูป การกระจายสินค้า และการตลาด รวมถึงการติดตามเอกสารและปริมาณ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 1/ มาตรฐานที่เทียบเท่า รวมถึง : - มาตรฐานที่ Global Sustainable Seafood Initiative (GSSI) ให้การยอมรับ หรือ - มาตรฐานที่สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ( มกอช .) ประกาศกําหนด

มกษ . 9066-2566 2 2.2 ผู้ประกอบการ (entity) หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคล ( รวมถึงที่มีการดําเนินธุรกิจหลายสาขา หรือหลายพื้นที่ ) ในห่วงโซ่อุปทานที่เป็นเจ้าของหรือมีการปฏิบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการรับรองตามขอบข่ายของมาตรฐานนี้ และดําเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยมีการอ้างถึงการได้รับการรับรอง การแปรรูปการแสดง ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อกล่าวอ้าง การนําไปบรรจุใหม่ การแสดงฉลากใหม่ 2.3 ผู้รับจ้างช่วง (subcontractor) หมายถึง องค์กร บริษัท หรือบุคคลที่ดําเนินการกับผลิตภัณฑ์ ในนามของสถานที่ที่ถูกตรวจประเมิน และอยู่ภายใต้การทําสัญญาหรือข้อตกลงเป็นลายลักษณ์ อักษรไว้ 2.4 การปฏิบัติทางกายภาพ (physical handling) หมายถึง การปฏิบัติใดๆ กับผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการปะปนกันของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองและไม่ได้รับการรับรอง เช่น การคัดแยก การแปรรูป การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา การขนส่ง การกระจายสินค้า 3. ข้อกําหนด ห่วงโซ่การคุ้มครองมีเป้าหมายเพื่อคงความเป็นผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน ตามที่มีการกล่าวอ้าง ห่วงโซ่การคุ้มครองจะเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ และผู้รับจ้างช่วง ดังนั้น ผู้ดําเนินกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานและต้องการขอการรับรอง ตามมาตรฐานนี้ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 3.1 ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน ผู้ที่ประสงค์ขอการรับรองต้องมีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการและผู้รับจ้างช่วงรายใดบ้าง ที่มีบทบาทและความเกี่ยวข้องกันในห่วงโซ่อุปทาน ผู้ประกอบการและผู้รับจ้างช่วงที่เกี่ยวข้องนั้น ต้องได้รับการตรวจประเมินตามข้อกําหนดที่กําหนดในมาตรฐานนี้ เพื่อดูแลจัดการห่วงโซ่ การคุ้มครองไม่ให้ขาดตอน และหลีกเลี่ยงการปะปนของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองกับผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ได้รับการรับรองในห่วงโซ่การคุ้มครอง สําหรับผู้ประกอบการที่มีการปฏิบัติทางกายภาพโดยไม่มีโอกาสทําให้เกิดการปะปน เช่น ปฏิบัติเฉพาะการจัดเก็บและการกระจายสินค้าในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันการเปิด หรือปลอมแปลงได้ ไม่จําเป็นต้องได้รับการตรวจประเมิน

3 มกษ . 9066-2566 3.2 ผู้รับจ้างช่วงในห่วงโซ่อุปทาน ผู้ประกอบการที่ใช้บริการผู้รับจ้างช่วงต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยสมบูรณ์ว่า ผู้รับจ้างช่วงทุกราย ปฏิบัติตามข้อกําหนดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถชี้บ่ง และแยกผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองตามขอบข่ายของมาตรฐานนี้ ออกจากผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ได้รับการรับรองในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งต้องมีเอกสารหลักฐาน ดังนี้ 1) หนังสือสัญญาหรือข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรการจ้างช่วงที่แสดงว่าผู้รับจ้างช่วงจะต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ 2) รายงานการตรวจประเมินหรือบันทึกข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีการประเมินการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้างช่วงว่าสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานนี้ 3) เอกสารขั้นตอนการดําเนินการที่ทําให้มั่นใจว่าการบริการใดๆ ที่ดําเนินการโดยผู้รับจ้างช่วง ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ 3.3 การแยกผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการและผู้รับจ้างช่วงที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ต้องสามารถชี้บ่งและแยกผลิตภัณฑ์ กุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองตามขอบข่ายของมาตรฐานนี้ออกจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน 3.3.1 ต้องมีการชี้บ่งผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลทั้งหมดที่ได้รับการรับรองตามขอบข่ายของมาตรฐานนี้ ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การแปรรูป การปฏิบัติ ต่อผลิตภัณฑ์จนถึงการบรรจุหีบห่อ รวมถึงการเก็บรักษา การขนส่ง การกระจายสินค้า และการตลาด 3.3.2 ต้องมีการแยกผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลทั้งหมดที่ได้รับการรับรองตามขอบข่ายของมาตรฐานนี้ ออกจากผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ได้รับการรับรองอย่างชัดเจนตลอดเวลาในทุกช่วงของการผลิต เช่น การแยกพื้นที่การผลิต การแยกช่วงเวลาการผลิต 3.3.3 กรณีที่มีการขนส่งผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองตามขอบข่ายของมาตรฐานนี้ พร้อมกับ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง หรือการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองร่วมกับผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ได้รับการรับรอง ต้องมีการชี้บ่งและแยกผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน 3.4 บุคลากร บุคลากรของผู้ประกอบการและผู้รับจ้างช่วงในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ควรมีคุณสมบัติเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อกําหนดของมาตรฐานนี้ ดังต่อไปนี้ 1) มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน 2) ได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ และมีการเก็บบันทึกประวัติ การฝึกอบรมของบุคลากร

มกษ . 9066-2566 4 3.5 เอกสารและบันทึกข้อมูลสําหรับการตามสอบ 3.5.1 ผู้ประกอบการและผู้รับจ้างช่วงในห่วงโซ่อุปทาน ควรมีเอกสารขั้นตอนการดําเนินการเกี่ยวกับ การแยกผลิตภัณฑ์และการตามสอบที่เป็นปัจจุบันและสามารถเข้าถึงได้ 3.5.2 การบันทึกข้อมูล ผู้ประกอบการและผู้รับจ้างช่วงในห่วงโซ่อุปทาน ต้องปฏิบัติดังนี้ 1) บันทึกข้อมูลหรือมีหลักฐานแสดงแหล่งที่มา การเคลื่อนย้าย การแปรรูป การปฏิบัติ ต่อผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บ การกระจายสินค้า การขนส่ง รวมถึงปริมาณวัตถุดิบกุ้งทะเล และกุ้งทะเลที่เป็นผลิตภัณฑ์สําหรับการประเมินสมดุลมวล (mass balance) 2) บันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องและอ่านได้ชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เพื่อให้ตามสอบ ผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์แต่ละชุดการผลิต (batch) ที่ได้รับการรับรองได้ทุกขั้นตอน 3) การใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งที่ไม่ใช่ผู้รับจ้างช่วง จําเป็นต้องบันทึกข้อมูลหรือเก็บหลักฐาน เพื่อให้สามารถตามสอบผลิตภัณฑ์ได้ 3.6 การแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง ต้องมีการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองอย่างชัดเจนและมีการกล่าวอ้างที่ถูกต้อง ไม่ทําให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด 3.6.1 การแสดงฉลากต้องเป็นไปตามข้อ 3 “ ข้อกําหนดการแสดงฉลากสินค้าเกษตร ” ของมาตรฐาน สินค้าเกษตร เรื่อง การแสดงฉลากสินค้าเกษตร ( มกษ . 9060) 3.6.2 การแสดงฉลากหรือกล่าวอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลที่ได้รับการรับรอง กระทําได้ต่อเมื่อ กุ้งทะเลทั้งหมดต้องมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองตามขอบข่ายของมาตรฐานนี้ 3.7 การเก็บรักษาบันทึกข้อมูล ต้องเก็บรักษาบันทึกข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ครบถ้วน และเข้าถึงได้ เป็นระยะเวลามากกว่าอายุ ของผลิตภัณฑ์และอายุของใบรับรอง