ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : หลักปฏิบัติสำหรับการป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษจากราในธัญพืช ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : หลักปฏิบัติสำหรับการป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษจากราในธัญพืช ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : หลักปฏิบัติสำหรับการป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษจากราในธัญพืช ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ด้วยคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นสมควรกาหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติ สำหรับการป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษจากราในธัญพืช เป็นมาตรฐานทั่วไป ตามพระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ประกอบมติคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในการประชุม ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกร ณ์ จึงออกประกาศกาหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : หลักปฏิบัติสาหรับการป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษ จากราในธัญพืช มาตรฐานเลขที่ มกษ. 4409 - 2566 ไว้เป็นมาตรฐานทั่วไป ดังมีรายละเอียด แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 25 6 6 ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 171 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กรกฎาคม 2566
มกษ . 4409-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตร หลักปฏิบัติสําหรับการป ้ องกันและลดการปนเปื ้ อน สารพิษจากราในธัญพืช บทนํา ราที่สร้างสารพิษในธัญพืชมีชนิด (species) และสายพันธุ์ (strains) แตกต่างกันตามภูมิภาค ที่ผลิตธัญพืชนั้นๆ พบได้ทั้งในดิน ในพืชอาศัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในสิ่งตกค้าง จากพืชที่เก็บเกี่ยวและเมล็ดพืช ในฝุ่นจากการลดความชื้นและในสถานที่เก็บรักษา ซึ่งการปนเปื้อน สารพิษจากราเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ก่อนการเก็บเกี่ยว จนถึงหลังการเก็บเกี่ยวธัญพืช หลักปฏิบัติสําหรับการป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษจากราจากธัญพืชนี้ ได้รวมข้อกําหนด ความปลอดภัยของอาหารและอาหารสัตว์ที่อาศัยพื้นฐานจากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices; GAP) การปฏิบัติที่ดีสําหรับการผลิต (Good Manufacturing Practices; GMP) และสอดคล้องกับหลักการการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point; HACCP) การนําหลักการ HACCP ไปใช้ จะช่วยลดการปนเปื้อนสารพิษจากราผ่านมาตรการป้องกันในขั้นตอนการผลิตเท่าที่จะปฏิบัติได้ การตรวจสอบรับรอง GAP, GMP และ HACCP สําหรับการผลิตธัญพืช ควรนําหลักปฏิบัตินี้ ไปพิจารณาประกอบเพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารและอาหารสัตว์ 1. ขอบข่าย มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ กําหนดหลักปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและ การปฏิบัติที่ดีสําหรับการผลิตธัญพืชและผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นอาหารและอาหารสัตว์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนการเก็บเกี่ยว ระหว่างการเก็บเกี่ยว หลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง การแปรรูป และการกระจายสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษจากรา
มกษ . 4409-2566 2 2. นิยาม ความหมายของคําที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ มีดังต่อไปนี้ 2.1 รา (mould) หมายถึง จุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่มรา (fungi) ซึ่งเจริญเป็นเส้นใยหลายเซลล์ (multicellular filamentous) ส่วนมากแพร่พันธุ์โดยสปอร์ มีทั้งราที่สร้างสารพิษและที่ไม่สร้าง สารพิษ เช่น ราสกุล Aspergillus , Penicillium , Fusarium 2.2 ธัญพืช (cereal) หมายถึง พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุล ที่มนุษย์เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ด เป็นอาหารหลัก มักหมายถึงพืชในวงศ์ Gramineae และวงศ์ Poaceae เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง 2.3 โมเดลคาดการณ์ (predictive model) หมายถึง แบบจําลองหรือระบบข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ ของปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพอากาศ พื้นที่ปลูก พันธุ์ เพื่อใช้คะเนเหตุการณ์เกี่ยวกับการผลิต ล่วงหน้า 2.4 วอเตอร์แอกทิวิตี (water activity; a w ) หมายถึง อัตราส่วนของความดันไอนํ้าของผลิตภัณฑ์ ต่อความดันไอของนํ้าบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิเดียวกัน ในที่นี้หมายถึง ปริมาณนํ้าอิสระในเมล็ดธัญพืชและผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการเจริญของ แบคทีเรีย ยีสต์ และรา 3. หลักปฏิบัติที่มีพื้นฐานจากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและการปฏิบัติ ที่ดีสําหรับการผลิต 3.1 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3.1.1 การปลูกพืชและพืชหมุนเวียน 3.1.1.1 หลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดเดียวกันในแปลงเดียวกันสองฤดูการผลิตติดต่อกัน โดยปลูกพืช หมุนเวียนเพื่อช่วยลดปริมาณรา ที่อาจติดมากับเศษซากพืชจากการเก็บเกี่ยวในฤดูก่อนหน้า ซึ่งอาจเป็นแหล่งสปอร์ของราที่สร้างสารพิษ 3.1.1.2 เลือกพืชหมุนเวียนที่เหมาะสม เช่น พืชตระกูลถั่ว ( ยกเว้นถั่วลิสง ) พืชนํ้ามัน (oilseed) และพืชอาหารสัตว์ โดยไม่เลือกพืชที่อ่อนแอต่อราที่สร้างสารพิษชนิดเดียวกันกับพืชฤดูก่อนหน้า เพื่อช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงจากการเข้าทําลายของราในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว พืชหมุนเวียนที่อ่อนแอต่อการเข้าทําลายของราที่สร้างสารพิษอยู่ในตารางที่ ก .1 ( ภาคผนวก ก )
3 มกษ . 4409-2566 3.1.2 การเตรียมดินและเมล็ดพันธุ์ และการปลูก 3.1.2.1 ควรเตรียมดินโดยการไถกลบ (plowing under) ซึ่งจะช่วยทําลายหรือกําจัดต้น ตอ และเศษซากพืช ที่อาจเป็นแหล่งของราที่สร้างสารพิษ และช่วยเก็บรักษาความชื้นและอินทรียวัตถุในดิน 3.1.2.2 ใช้ประโยชน์จากผลการวิเคราะห์ดินเพื่อพิจารณาว่าควรให้ปุ๋ย หรือสารปรับปรุงสภาพดิน หรือทั้งสองอย่าง เพื่อทําให้มั่นใจว่าดินมีพีเอช (pH) ที่เหมาะสม และมีธาตุอาหารที่เพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความเครียดในพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะการพัฒนาเมล็ด (seed development stage) 3.1.2.3 เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐานตามข้อกําหนดของกฎระเบียบที่ เกี่ยวข้องภายใต้ พ . ร . บ . พันธุ์พืช พ . ศ . 2518 เช่น ความบริสุทธิ์ของเมล็ด ปริมาณเมล็ดวัชพืช เปอร์เซ็นต์ความงอก การจัดเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัย และมีการป้องกันรา และถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกใช้พันธุ์พืชที่มีความต้านทานต่อราที่สร้างและไม่สร้างสารพิษ ต้านทานต่อแมลง ศัตรูพืช และเหมาะสมกับพื้นที่ 3.1.2.4 ควรเลือกช่วงเวลาปลูกเท่าที่จะปฏิบัติได้ เพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิสูงและการขาดนํ้าในระยะออกดอก และพัฒนาเมล็ด หรืออาจใช้โมเดลคาดการณ์ช่วงเวลาปลูกเป็นเครื่องมือในการเลือกช่วงเวลา ที่ดีที่สุดในการปลูก 3.1.2.5 ควรใช้ระยะระหว่างแถว และระยะระหว่างต้นที่เหมาะสมสําหรับพันธุ์ (varieties) และชนิด (species) ที่ปลูก ข้อมูลเกี่ยวกับระยะปลูกที่เหมาะสมอาจมาจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ หน่วยงาน ที่มีอํานาจหน้าที่ หรือหน่วยส่งเสริมต่างๆ 3.1.3 การปฏิบัติก่อนการเก็บเกี่ยว 3.1.3.1 ควรลดการทําลายของแมลงและราโดยใช้สารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ กรมวิชาการเกษตร และการปฏิบัติอื่นๆ ที่เหมาะสมภายใต้โปรแกรมการจัดการศัตรูพืช แบบผสมผสาน (integrated pest management programme) และควรใช้โมเดลคาดการณ์สภาพ อากาศเพื่อช่วยวางแผนช่วงเวลาและรูปแบบการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างเหมาะสม 3.1.3.2 วัชพืชบางชนิดซึ่งเป็นที่อาศัยของราที่สร้างสารพิษ ทําให้พืชปลูกเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นจาก การแข่งขันกับวัชพืชในระหว่างการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงควรควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล สารกําจัด วัชพืชที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร หรือการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อกําจัดวัชพืชโดยใช้ โปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 3.1.3.3 ลดความเสียหายของพืชจากการใช้เครื่องมือทางการเกษตรระหว่างการปลูก การให้นํ้า และการจัดการ ศัตรูพืช ป้องกันการล้มของพืชเพื่อไม่ให้ส่วนบนของพืชสัมผัสกับดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงออกดอก เนื่องจากดินและเลนเป็นแหล่งของรา ( สปอร์ ) ชนิดที่สร้างสารพิษ 3.1.3.4 หากมีระบบการให้นํ้า ควรให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอ และเพียงพอสําหรับพืชทั่วทั้งแปลง กรณีนํ้าฝน ที่มากเกินไปในระยะออกดอก (anthesis) และช่วงแก่ - สุกของพืช จะทําให้เกิดสภาวะที่เหมาะ
มกษ . 4409-2566 4 สําหรับการแพร่กระจายและเข้าทําลายโดย Fusarium spp. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ และข้าวโพด กรณีแล้งหรือฝนทิ้งช่วง อาจทําให้เกิดการเข้าทําลายของ Aspergillus spp. ในธัญพืช เช่น ข้าวโพด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเศษซากพืชที่ตกค้างในดิน 3.1.3.5 วางแผนการเก็บเกี่ยวขณะที่เมล็ดธัญพืชมีความชื้นตํ่าและเมล็ดแก่เต็มที่ หรือมีอายุเก็บเกี่ยว ที่เหมาะสมของธัญพืชแต่ละชนิด ทั้งนี้ อาจเก็บเกี่ยวก่อนระยะที่เมล็ดธัญพืชแก่เต็มที่ได้ 1) หากการรอให้เมล็ดธัญพืชแก่เต็มที่จะทําให้เผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ช่วงอากาศร้อนรุนแรง ฝนตกชุก หรือแห้งแล้ง 2) หากมีการเข้าทําลายของ Fusarium spp. แล้ว เนื่องจากการชะลอการเก็บเกี่ยวธัญพืชอาจ ทําให้ปริมาณสารพิษจากราเพิ่มขึ้น 3) อาจเก็บเกี่ยวธัญพืชได้เร็วขึ้น หากมีเครื่องลดความชื้น ซึ่งจะเป็นการจํากัดการสร้างสารพิษ จากราที่ติดมากับเมล็ดธัญพืชในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ อาจใช้โมเดลในการคาดการณ์การเกิดสารพิษจากรา โดยอาศัยข้อมูลสภาวะแวดล้อม เช่น สภาพภูมิอากาศ และสภาพการผลิตทางการเกษตร ในการตรวจเฝ้าระวังและสํารวจระดับ สารพิษจากรา 3.1.3.6 ก่อนการเก็บเกี่ยวควรมั่นใจว่าอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้สําหรับเก็บเกี่ยว ลดความชื้น ทําความสะอาด และเก็บรักษา อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และกําจัดเศษพืช ธัญพืช และฝุ่น ออกมากที่สุดเท่าที่ จะเป็นไปได้ หากเครื่องมือชํารุดอาจทําให้เมล็ดธัญพืชแตกหักเสียหาย และง่ายต่อการเข้าทําลาย ของราที่สร้างสารพิษ ควรมีอะไหล่ที่สําคัญสํารองไว้เพื่อไม่ให้เสียเวลาซ่อมแซม และมีเครื่องมือ วัดความชื้นที่จําเป็นและมีการสอบเทียบ 3.1.4 การเก็บเกี่ยว 3.1.4.1 ภาชนะบรรจุและพาหนะ ( เช่น กระสอบ รถบรรทุก ) ที่ใช้ในการรวบรวมและขนย้ายธัญพืช จากแปลงปลูกไปสถานที่ลดความชื้น และสถานที่เก็บรักษาหลังจากลดความชื้น ก่อนนําไปใช้ และใช้ซํ้า ต้องสะอาด แห้ง และไม่มีเศษพืช เมล็ดธัญพืชตกค้าง ฝุ่น แมลง และราที่มองเห็นได้ 3.1.4.2 ใช้วิธีการและเครื่องมือเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการทําให้เมล็ดธัญพืชแตกหักเสียหาย และไม่ให้ธัญพืชที่เก็บเกี่ยวแล้วกองบนดินก่อนที่จะนวด เนื่องจากทําให้ส่วนของธัญพืชสัมผัส กับดินและสปอร์ของรา ควรมีขั้นตอนที่ลดการกระจายของเศษพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ที่อาจมีราเข้าทําลายลงสู่ดินและเป็นแหล่งสะสมของราที่สร้างสารพิษ การเก็บเกี่ยวโดยใช้ เครื่องจักรกล เช่น การใช้รถเกี่ยวนวด ส่งผลให้มีเศษวัสดุจํานวนมากหลงเหลืออยู่ในแปลง ให้ไถกลบเศษวัสดุที่หลงเหลือดังกล่าว ก่อนจะปลูกพืชในฤดูถัดไป 3.1.4.3 ควรประเมินความชื้นของเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวโพด จากหลายๆ จุดของแปลงเพื่อพิจารณา ความเหมาะสมในการเก็บเกี่ยว หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวธัญพืชที่มีความชื้นสูงซึ่งอาจมีสาเหตุจากฝน นํ้าค้าง หรือการเก็บเกี่ยวช่วงใกล้คํ่า เท่าที่จะทําได้ เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการลดความชื้น
5 มกษ . 4409-2566 3.1.5 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 3.1.5.1 หลีกเลี่ยงการนําธัญพืชที่เก็บเกี่ยวใหม่มากอง ใส่ถังหรือภาชนะที่ชื้น เป็นเวลานานก่อนการนวด หรือสี ควรผึ่งเมล็ดธัญพืชเพื่อระบายความชื้นออกจากเมล็ด และลดความเสี่ยงจากการเจริญ ของรา 3.1.5.2 ไม่ควรเก็บเมล็ดธัญพืชที่เก็บเกี่ยวแล้วและยังไม่ได้ลดความชื้นไว้ในภาชนะบรรจุหรือพาหนะ ขนส่งเป็นเวลานาน หากจําเป็นอาจเปิดภาชนะบรรจุหรือวัสดุคลุมส่วนบรรทุกของพาหนะขนส่ง เพื่อระบายอากาศและลดการควบแน่น 3.2 การปฏิบัติที่ดีสําหรับการผลิต 3.2.1 การลดความชื้นและการทําความสะอาดก่อนการเก็บรักษา 3.2.1.1 หลีกเลี่ยงการนําเมล็ดธัญพืชที่รับมาและยังไม่ได้ลดความชื้นกองหรือใส่ถังหรือภาชนะที่ชื้น เป็นเวลานาน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดรา หากไม่สามารถลดความชื้นได้ทันที ให้ผึ่งเมล็ด ธัญพืชไว้และเพิ่มการหมุนเวียนอากาศ 3.2.1.2 หากจําเป็นควรทําความสะอาด 1/ เมล็ดธัญพืชก่อนการลดความชื้นเพื่อกําจัดฟางหรือส่วนของ พืชอื่นที่เป็นพาหะของราและสปอร์ของรา โดยการฝัดหรือร่อนและคัดแยก ทั้งนี้ หากใช้ เครื่องจักร จะช่วยกําจัดสิ่งแปลกปลอม เมล็ดพืชอื่น และเศษพืชได้ดีกว่า ทั้งนี้ควรระมัดระวัง ไม่ให้เมล็ดธัญพืชเกิดความเสียหายในระหว่างขั้นตอนการดําเนินการ 3.2.1.3 ควรลดความชื้นให้อยู่ในระดับไม่เกิน 15% และควรนําไปใช้โดยเร็ว เพื่อป้องกันการเน่าเสีย การเจริญของรา และการงอกของสปอร์ราที่สร้างสารพิษ หากต้องการเก็บรักษานานกว่า 3 เดือน ควรลดความชื้นให้อยู่ในระดับไม่เกิน 14% 3.2.1.4 ควรลดความชื้นเมล็ดธัญพืชที่เก็บเกี่ยวใหม่ทันทีในลักษณะที่ทําให้เกิดความเสียหายต่อเมล็ดธัญพืช น้อยที่สุด ดังนี้ 1) ความชื้นของเมล็ดธัญพืชอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ( ตารางที่ ข .1 ตัวอย่างความชื้นของ เมล็ดธัญพืชบางชนิดที่ a w ต่างๆ ที่ 25 o C) 2) หากไม่สามารถลดความชื้นได้ทันที ให้ระบายอากาศโดยการใช้พัดลมแรงดันสูง (forced air circulation) หรือวิธีการอื่นใด เช่น การกลับกอง และให้ระยะเวลาก่อนการลดความชื้น สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 3) ควรใช้เครื่องลดความชื้น เช่น เครื่องลดความชื้นแบบกระบะ (flat bed) และแบบหมุนเวียน เป็นรอบ (re-circulating batch) ซึ่งเหมาะสําหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก ในขณะที่ 1/ ใช้การทําความสะอาดแบบแห้ง (dry cleaning) เพื่อกําจัดดิน เศษหิน สิ่งสกปรก ชิ้นส่วนพืช หรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การร่อน ลมเป่า ดูดฝุ่น
มกษ . 4409-2566 6 เครื่องลดความชื้นแบบไหลต่อเนื่อง (continuous flow dryer) จะเหมาะสําหรับสถานประกอบการ ขนาดใหญ่ก่อนการเก็บรักษาเป็นเวลานาน 4) ไม่ควรลดความชื้นให้เมล็ดธัญพืชแห้งมากเกินไปหรือใช้อุณหภูมิสูงเกินไป 2/ เพื่อรักษา คุณค่าทางโภชนาการ และความเหมาะสมสําหรับการสี กะเทาะ หรือกระบวนการอื่น 5) ในกระบวนการลดความชื้น ควรหลีกเลี่ยงการบรรจุเมล็ดธัญพืชมากเกินไปในถังพักของ เครื่องลดความชื้น (pre-drier storage หรือ wet tank) เพื่อลดการสะสมของความร้อน ที่ติดมากับเมล็ดธัญพืชจากแปลง 3.2.1.5 กรณีไม่ใช้วิธีกลในการลดความชื้น การใช้แสงอาทิตย์และการปล่อยให้อากาศถ่ายเทเพื่อลด ความชื้นควรทําบนพื้นผิวที่สะอาดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรป้องกันเมล็ดธัญพืชจากนํ้าฝน นํ้าค้าง มูลนก และแหล่งปนเปื้อนอื่นในระหว่างกระบวนการ หากต้องการลดความชื้นให้รวดเร็ว และเมล็ดแห้งสมํ่าเสมอ ให้เกลี่ยเมล็ดธัญพืชบ่อยๆ ให้ทั่วกันเป็นชั้นบาง 3.2.1.6 หลังการลดความชื้น ควรทําความสะอาดเพื่อแยกเมล็ดธัญพืชที่เสียหาย เมล็ดอ่อน และสิ่งแปลกปลอมออก บางกรณีเมล็ดที่ราเข้าทําลายแต่ไม่ได้รับความเสียหายไม่สามารถแยก โดยใช้วิธีทั่วไปได้ วิธีอื่น เช่น เครื่องคัดแยกโดยความโน้มถ่วง (gravity table) หรือเครื่องคัดแยก ด้วยแสง (optical sorting) อาจใช้เพื่อคัดแยกเมล็ดแตกหักที่อ่อนแอต่อการเข้าทําลายของรา 3.2.2 การเก็บรักษาหลังการลดความชื้นและการทําความสะอาด 3.2.2.1 ถัง ไซโล เพิง และอาคารต่างๆ ที่ใช้เพื่อเก็บรักษาเมล็ดธัญพืชจําเป็นต้องแห้ง อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันนํ้าฝน นํ้าผิวดิน ความชื้นจากการควบแน่นของไอนํ้า และไม่เป็นที่อยู่ของศัตรู ในโรงเก็บต่างๆ เช่น หนู นก แมลง ที่ทําให้ธัญพืชปนเปื้อน และเกิดความเสียหายที่ทําให้ การเข้าทําลายของราง่ายขึ้น ควรออกแบบสถานที่เก็บรักษาเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้สมํ่าเสมอ 3.2.2.2 ควรทําความสะอาดอุปกรณ์และสถานที่เก็บรักษาก่อนนําเมล็ดธัญพืชเข้ามาเพื่อกําจัดฝุ่น สปอร์ของรา เมล็ดธัญพืชที่หลงเหลืออยู่ เศษพืช มูลสัตว์ ดิน แมลง สิ่งแปลกปลอม เช่น หิน โลหะ เศษแก้ว และแหล่งอื่นที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน 3.2.2.3 สําหรับเมล็ดธัญพืชที่จัดเก็บในถุงหรือกระสอบ ควรมั่นใจว่าถุงหรือกระสอบแห้ง สะอาด และปราศจากแมลงศัตรูโรงเก็บ หรือใช้ถุง / กระสอบใหม่ และวางบนแพลเล็ตเพื่อป้องกันการถ่ายเท ความชื้นระหว่างพื้นและถุงหรือกระสอบนั้นและห่างจากผนัง ถุงหรือกระสอบควรถ่ายเทอากาศ ได้ดีและทําจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษสําหรับบรรจุอาหาร และแข็งแรงเพียงพอสําหรับการเก็บรักษา ระยะยาว 2/ การปฏิบัติสําหรับการลดความชื้นที่ดีมีความสําคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารปนเปื้อน เช่น โพลิไซคลิก แอโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons; PAH) และไดอ็อกซินส์ (dioxins) โดยอ้างอิงได้จาก Code of Practice for the Reduction of Contamination of Food with Polycyclic Aromatic Hydrocarbons ( PAH) from Smoking and Direct Drying Processes (CXC 68-2009) และ Code of Practice for the Prevention and Reduction of Dioxin and Dioxin-like PCB Contamination in Food and Feeds (CXC 62-2006)
7 มกษ . 4409-2566 3.2.2.4 วัดความชื้นของเมล็ดธัญพืชในรุ่น หากมีความชื้นเกินกว่าระดับที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษา เมล็ดธัญพืชแต่ละชนิด ให้ลดความชื้นลงสู่ระดับที่เหมาะสมสําหรับการเก็บรักษา ทั้งนี้ ความชื้น ที่เหมาะสมสําหรับการเจริญของราในเมล็ดธัญพืชต่างๆ แตกต่างกัน แต่การเจริญของรา ในเมล็ดธัญพืชสัมพันธ์กับ a w โดยทั่วไป a w น้อยกว่า 0.70 จะยับยั้งการเจริญของราได้ ตัวอย่างความชื้นที่แนะนําสําหรับการเก็บรักษาเมล็ดธัญพืชบางชนิดแสดงไว้ในตารางที่ ข .1 ตัวอย่างความชื้นของเมล็ดธัญพืชบางชนิดที่ a w ต่างๆ ที่ 25 o C นอกจากนี้ ระดับความชื้นที่เหมาะสม ของเมล็ดธัญพืชแต่ละชนิดอาจเปลี่ยนแปลงไปตาม ขนาดของเมล็ด คุณภาพ ระยะเวลา การเก็บรักษา และสภาวะในการเก็บรักษา เช่น อุณหภูมิ 3.2.2.5 ควรตรวจเฝ้าระวังสภาพของเมล็ดธัญพืชในระหว่างการเก็บรักษาโดย 1) วัดอุณหภูมิและความชื้นของสถานที่เก็บรักษาและเมล็ดธัญพืชอย่างสมํ่าเสมอเพื่อให้มั่นใจ ว่าได้เก็บรักษาที่อุณหภูมิและระดับความชื้นที่ยอมรับได้ ( ตารางที่ ข .1 ตัวอย่างความชื้น ของเมล็ดธัญพืชบางชนิดที่ a w ต่างๆ ที่ 25 o C) 2) ตรวจสภาพของเมล็ดและร่องรอยการเข้าทําลายของศัตรูโรงเก็บ เช่น หนู มอด ด้วง และไร 3) หากปฏิบัติได้ ควรวัดปริมาณสารพิษจากราขณะรับเข้าและนําออกจากสถานที่เก็บรักษา โดยใช้โปรแกรมการชักตัวอย่างและการทดสอบที่เหมาะสม 3.2.2.6 หากผลการตรวจเฝ้าระวังสภาพของเมล็ดธัญพืชพบอุณหภูมิหรือความชื้นสูงขึ้นผิดปกติ ให้ปฏิบัติการแก้ไขดังต่อไปนี้ 1) ให้อากาศถ่ายเทผ่านเมล็ดธัญพืชโดยหมุนเวียนอากาศผ่านบริเวณเก็บรักษา เพื่อรักษา ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมและสมํ่าเสมอ 2) ถ้าเป็นไปได้ในช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศตํ่า ให้เพิ่มอัตราการถ่ายเทอากาศโดยใช้ การเป่าลมเข้าสู่กองเมล็ดธัญพืชโดยตรง ทั้งนี้หากเป่าลมเข้าสู่เมล็ดธัญพืชในขณะที่ความชื้น สัมพัทธ์ของอากาศสูงและอุณหภูมิการเก็บรักษาธัญพืชตํ่ากว่าอุณหภูมิโดยรอบ จะทําให้ เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดนํ้า และ a w เพิ่มสูงขึ้น 3) ย้ายเมล็ดธัญพืชจากภาชนะบรรจุหนึ่งไปยังภาชนะอื่น เพื่อให้เกิดการถ่ายเทอากาศ และลดตําแหน่งที่เกิดการสะสมความร้อน (hot spot) ที่ส่งเสริมการเจริญของราระหว่าง การเก็บรักษา 3.2.2.7 หากผลการตรวจเฝ้าระวังสภาพของเมล็ดธัญพืชพบการเน่าเสียหรือการเจริญของรา ให้ปฏิบัติการแก้ไขดังต่อไปนี้ 1) ให้แยกส่วนของเมล็ดธัญพืชที่เน่าเสียหรือพบการเจริญของราออกและเก็บตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารพิษจากราโดยใช้แผนการชักตัวอย่างที่เหมาะสม 2) เมื่อแยกเมล็ดธัญพืชที่เน่าเสียออกแล้ว ต้องระวังการปะปนระหว่างเมล็ดธัญพืชที่เน่าเสีย และที่ยังอยู่ในสภาพดี เนื่องจากปริมาณเล็กน้อยของเมล็ดธัญพืชที่ปนเปื้อนทําให้ระดับ สารพิษจากราในเมล็ดธัญพืชที่อยู่ในสภาพดีเพิ่มสูงขึ้นมาก
มกษ . 4409-2566 8 3) ผึ่งเมล็ดธัญพืชที่เหลือจากการแยกเมล็ดที่เน่าเสียออกแล้ว เพื่อลดอุณหภูมิและความชื้น ลงสู่ระดับที่ยอมรับได้ ( ตารางที่ ข .1 ตัวอย่างความชื้นของเมล็ดธัญพืชบางชนิดที่ a w ต่างๆ ที่ 25 o C) 3.2.2.8 ให้ใช้ขั้นตอนการดําเนินการด้านสุขลักษณะที่เหมาะสมเพื่อลด หนู แมลง และรา ในสถานที่ เก็บรักษา ซึ่งรวมถึงการใช้สารป้องกันกําจัดศัตรูพืชและศัตรูในโรงเก็บที่เหมาะสมและขึ้น ทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร หรือวิธีการอื่นภายใต้โปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบ ผสมผสาน และควรระมัดระวังในการเลือกใช้สารเพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัย โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การนําเมล็ดธัญพืชไปใช้ และระดับสูงสุดของสารพิษตกค้างตาม กฎระเบียบหรือข้อกําหนดของคู่ค้า 3.2.2.9 บันทึกขั้นตอนการเก็บเกี่ยว การลดความชื้น การทําความสะอาด และการเก็บรักษาที่ได้ ดําเนินการในทุกฤดูปลูกโดยจดข้อมูลที่ได้จากการวัด เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และความคลาดเคลื่อน หรือการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิม ข้อมูลนี้อาจเป็นประโยชน์ในการอธิบาย สาเหตุของการเจริญของราและสารพิษจากราในช่วงฤดูปลูก และช่วยให้หลีกเลี่ยงการเกิดซํ้า ในอนาคต มาตรการจัดการที่มีพื้นฐานจากการใช้ประโยชน์จากโมเดลคาดการณ์ที่ผ่านการพิสูจน์ ยืนยันความใช้ได้ (validated predictive model) แล้ว ( หากมี ) จะช่วยให้ควบคุมการเจริญของรา และการสร้างสารพิษจากราในขั้นตอนการดําเนินการต่างๆ 3.2.3 การขนส่งจากสถานที่เก็บรักษา 3.2.3.1 พาหนะและภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งควรสะอาด แห้ง ไม่มีเมล็ดธัญพืชที่สะสมอยู่เดิม ราที่มองเห็นได้ กลิ่นอับ แมลง และเศษวัสดุต่างๆ ที่ปนเปื้อน ที่ส่งผลต่อระดับสารพิษจากราในรุ่นของธัญพืชนั้น หากใช้สารเคมีในการทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ ต้องไม่ก่อให้เกิดกลิ่นและรสผิดปกติ หรือปนเปื้อนเมล็ดธัญพืช การใช้สารกําจัดแมลงที่ขึ้นทะเบียนแล้วก่อนและหลังการใช้พาหนะ อาจเป็นประโยชน์ 3.2.3.2 ระหว่างการขนส่งอาจใช้สารเคมีในการไล่แมลงและสัตว์ฟันแทะ หากเหมาะสมสําหรับ วัตถุประสงค์สุดท้ายในการนําเมล็ดธัญพืชนั้นไปใช้ 3.2.3.3 ในการขนส่งควรป้องกันเมล็ดธัญพืชไม่ให้มีความชื้นที่เพิ่มสูงขึ้น โดยใช้ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หรือคลุมด้วยผ้าใบ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง นํ้าฝน และนํ้าค้าง ซึ่งอาจนําไปสู่ความชื้นสะสม เฉพาะจุด การเจริญของรา และสร้างสารพิษจากรา 3.2.4 การแปรรูปและการทําความสะอาดหลังการเก็บรักษา 3.2.4.1 การคัดแยกและทําความสะอาดเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผลในการกําจัดเมล็ดธัญพืช ที่ปนเปื้อนและลดปริมาณสารพิษจากรา ควรกําจัดเมล็ดธัญพืชที่มีราที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือเมล็ดธัญพืชที่เสียหาย เพื่อป้องกันการเข้าสู่โซ่อุปทานของอาหารและอาหารสัตว์ ซึ่งกระบวนการนี้ สําคัญมากหากเมล็ดธัญพืชนั้นใช้เพื่อการบริโภคโดยตรง
9 มกษ . 4409-2566 3.2.4.2 การวิเคราะห์ทดสอบเป็นเครื่องมือหนึ่งในการตรวจเฝ้าระวังปริมาณการปนเปื้อนสารพิษจากรา ในเมล็ดธัญพืชตลอดโซ่อุปทาน ( ตารางที่ ค . 1 ปริมาณสูงสุดของสารพิษจากราในธัญพืช ที่ใช้เป็นอาหาร และตารางที่ ค . 2 ปริมาณสูงสุดของสารพิษจากราในธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ ประเภทวัตถุดิบ ) สิ่งสําคัญคือต้องนําแผนการชักตัวอย่าง ( ภาคผนวก ง การชักตัวอย่าง ) และวิธีวิเคราะห์ทั้งในห้องปฏิบัติการและการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ ได้ผลวิเคราะห์ที่ถูกต้อง และเป็นตัวแทนรุ่น 3.2.4.3 ควรตรวจสอบการปนเปื้อนของสารพิษจากราขณะนําเมล็ดธัญพืชเข้าหรือออกจากสถานที่ เก็บรักษา ก่อนที่จะนําไปยังสถานประกอบการแปรรูป ในบางกรณีผู้ประกอบการอาจประเมิน การปนเปื้อนสารพิษจากราเบื้องต้น เช่น 1) การใช้ UV lamp เพื่อหาการปนเปื้อนของแอฟลาท็อกซินส์ หากพบการเรืองแสง ให้ส่งวิเคราะห์ หาปริมาณสารพิษจากรา 2) การนับจํานวนเมล็ดที่ขึ้นราหรือแตกหักจากตัวอย่างที่เป็นตัวแทนรุ่น 3.2.4.4 รุ่นที่มีปริมาณสารพิษจากราสูง ควรคัดแยกและนําไปทําความสะอาด โดยผ่านกระบวนการ ที่ทําให้ปริมาณสารพิษจากราลดลงอย่างมีนัยสําคัญสู่ระดับที่ยอมรับได้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ ปลอดภัยสําหรับผู้บริโภค 3.2.4.5 การกะเทาะหรือขัดสีเพื่อนําเปลือกและรําออก สามารถช่วยลดปริมาณสารพิษจากราในส่วน เอนโดสเปิร์ม (endosperm) ที่ผ่านการขัดสีแล้ว เนื่องจากส่วนนอกของเมล็ดธัญพืชส่วนใหญ่ มีปริมาณสารพิษจากราที่ปนเปื้อนสูงกว่า หากนําเปลือกหรือรํามาใช้เป็นอาหารหรืออาหารสัตว์ ควรมีความระมัดระวังและมีขั้นตอนการดําเนินการที่เหมาะสม 3.2.4.6 การบดเมล็ดธัญพืชแบบแห้ง (dry milling) เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จากธัญพืชเต็มเมล็ด 3/ (whole grain) ไม่ช่วยลดระดับการปนเปื้อนสารพิษจากราเมื่อเทียบกับเมล็ดธัญพืชที่ไม่ผ่านการแปรรูป แต่การบดเมล็ดธัญพืชแบบแห้งที่มีการแยกเปลือกและรําออก สามารถลดปริมาณสารพิษจากรา ในผลิตภัณฑ์จากสตาร์ชที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารลงอย่างมีนัยสําคัญ การบดเมล็ดธัญพืช แบบเปียก (wet milling) เช่น เมล็ดข้าวโพด สามารถลดสารพิษจากราออกจากส่วนของสตาร์ช ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารได้ 3.2.4.7 ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดธัญพืชที่บดแล้วและเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน ทําให้เกิดการเจริญของรา และปริมาณสารพิษจากราเพิ่มขึ้นได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องหลีกเลี่ยงการเก็บรักษาแป้งและ ผลิตภัณฑ์ที่บดแล้วเป็นเวลานาน ทั้งนี้หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรเก็บรักษาในภาชนะบรรจุ ที่เหมาะสมและรักษาระดับความชื้นที่ปลอดภัยไว้โดยมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้อยที่สุด ภาชนะบรรจุดังกล่าวควรป้องกันการเข้าอยู่อาศัยของแมลงและสัตว์ฟันแทะได้ และควรมี มาตรการควบคุมศัตรูพืชแบบผสมผสาน 3/ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของธัญพืช ทั้งเยื่อหุ้มเมล็ด เนื้อเมล็ด และจมูกข้าว ไม่รวมเปลือก
มกษ . 4409-2566 10 3.2.4.8 การใช้วัตถุกันเสีย เช่น กรดอินทรีย์ ( เช่น กรดโพรพิโอนิก ) ที่เหมาะสมและได้รับอนุญาตอาจ เกิดประโยชน์ กรดเหล่านี้มีประโยชน์ในการกําจัดราและให้ผลในการป้องกันการเกิดสารพิษ จากราในเมล็ดธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ การใช้เกลือของกรดมักให้ประสิทธิผลมากกว่าการใช้กรด ในการเก็บรักษาระยะยาว ควรใช้สารเหล่านี้อย่างระมัดระวังเนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อ รสชาติและกลิ่นของเมล็ดธัญพืช 3.2.4.9 การแปรรูป รวมถึงการเก็บรักษา การขนส่ง และการกระจายสินค้าของเมล็ดธัญพืช ควรปฏิบัติ ตามการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีและการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เช่น มกษ . 9023 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร : การปฏิบัติ ทางสุขลักษณะที่ดี มกษ . 9024 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ระบบการวิเคราะห์อันตรายและ จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางการนําไปใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง 3.3 การป ้ องกันและลดการปนเปื ้ อนสารพิษจากราเฉพาะชนิด การป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษจากราเฉพาะชนิดในการผลิตและแปรรูปธัญพืช ควรปฏิบัติตามหลักปฏิบัติในข้อ 3.1 และข้อ 3.2 และเพิ่มเติมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ตามภาคผนวก จ
11 มกษ . 4409-2566 ภาคผนวก ก ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) พืชหมุนเวียนที่อ่อนแอต่อการเข้าทําลาย ของราที่สร้างสารพิษ พืชบางชนิดที่แสดงใน ตารางที่ ก . 1 เป็นพืชที่อ่อนแอต่อการเข้าทําลายของราที่สร้างสารพิษบางชนิด ซึ่งอาจปนเปื้อนราหลังเก็บเกี่ยวและทําให้เมล็ดปนเปื้อนสปอร์ของราที่สร้างสารพิษได้ ดังนั้น การเลือกพืชหมุนเวียน ควรพิจารณาเลือกชนิดพืชที่อ่อนแอต่อราที่สร้างสารพิษต่างชนิดกันกับ พืชที่ปลูกฤดูก่อนหน้า ตารางที่ ก .1 ตัวอย่างพืชหมุนเวียนที่อ่อนแอต่อการเข้าทําลายของราที่สร้างสารพิษ พืช รา สารพิษจากราที่อาจพบได้ ข้าวบาร์เลย์ 1/ Fusarium graminearum F. culmorum F. asiaticum ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol), นิวาลีนอล (nivalenol) และเซียราลีโนน (zearalenone) ข้าวโพด 1/ Aspergillus flavus A. parasiticus และสปีชีส์อื่นที่ เกี่ยวข้อง แอฟลาท็อกซินส์ (aflatoxins) F. verticillioides F. proliferatum ฟูโมนิซินส์ (fumonisins) F. graminearum F. culmorum ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol), นิวาลีนอล (nivalenol) และเซียราลีโนน (zearalenone)
มกษ . 4409-2566 12 ตารางที่ ก .1 ตัวอย่างพืชหมุนเวียนที่อ่อนแอต่อการเข้าทําลายของราที่สร้างสารพิษ ( ต่อ ) พืช รา สารพิษจากราที่อาจพบได้ ข้าวฟ่าง 1/ A. flavus A. parasiticus A. section Flavi แอฟลาท็อกซินส์ (afltoxins) F. verticillioides F. proliferatum ฟูโมนิซินส์ (fumonisins) P enicillium verrucosum A. ochraceus และสปีชีส์ที่เกี่ยวข้อง A. carbonarius A. niger โอคราท็อกซินเอ (ochratoxin A) F. graminearum Fusarium spp. ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol), นิวาลีนอล (nivalenol) เซียราลีโนน (zearalenone) และไดอะเซท็อกซีส เกอร์พีนอล (diacetoxyscirpenol) Alternaria spp. อัลเทอร์นาริโอล (alternariol), อัลเทอร์ นำ ริ โ อ ล เ ม ทิ ล อี เ ท อ ร์ ( alternariol methyl ether) , เ ท นั ว โ ซ นิ ก แ อ ซิ ด ( tenuazonic acid) แ ล ะ อั ล เ ท นู อี น (altenuene) Claviceps purpurea C. africana C. sorghi และสปีชีส์ที่เกี่ยวข้อง เออร์ก็อตแอลคาลอยด์ (ergot alkaloids) A. versicolor สเตอริกมาโทซิสทิน (sterigmatocystin) ข้าวไรย์ 1/ F. graminearum C. purpurea ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol) และเออร์ก็อตแอลคาลอยด์ (ergot alkaloids)
13 มกษ . 4409-2566 ตารางที่ ก .1 ตัวอย่างพืชหมุนเวียนที่อ่อนแอต่อการเข้าทําลายของราที่สร้างสารพิษ ( ต่อ ) พืช รา สารพิษจากราที่อาจพบได้ ข้าวสาลี 1/ F. graminearum F. culmorum F. asiaticum ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol), นิวาลีนอล (nivalenol) และเซียราลีโนน (zearalenone) Alternaria spp. อัลเทอร์นาริโอล (alternariol), อัลเทอร์ นำ ริ โ อ ล เ ม ทิ ล อี เ ท อ ร์ ( alternariol methyl ether) , เ ท นั ว โ ซ นิ ก แ อ ซิ ด (tenuazonic acid) ข้าวโอ๊ต 1/ F. graminearum F. culmorum F. langsethiae ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol), นิวาลีนอล (nivalenol) เซียราลีโนน (zearalenone), T-2 toxin และ HT-2 toxin ถั่วแขก ( เมล็ดแห้ง ) 2/ Aspergillus spp. แอฟลาท็อกซินส์ (afltoxins) โอคราท็อกซินเอ (ochratoxin A) ถั่วลิสง 1/ A. flavus A. parasiticus A. nomius และสปีชีส์อื่นที่ เกี่ยวข้อง แอฟลาท็อกซินส์ (aflatoxins) ทานตะวัน 3/ A. flavus A. parasiticus แอฟลาท็อกซินส์ (afltoxins) 1/ Code of Practice for the Prevention and Reduction of Mycotoxin Contamination in Cereals (CXC 51 – 2003) 2/ Léa Luzia Freitas Costa, and Vildes Maria Scussel. 2002. Toxigenic fungi in beans ( Phaseolus vulgaris L.) classes black and color cultivated in the State of Santa Catarina, Brazil. Brazilian Journal of Microbiology 33: 138-144. 3/ Juma A. Mmongoyo, Felicia Wu, John E. Linz, Muraleedharan G. Nair, Jovin K. Mugula, Robert J. Tempelman, and Gale M. Strasburg. 2017. Aflatoxin levels in sunflower seeds and cakes collected from micro- and small-scale sunflower oil processors in Tanzania. PLoS ONE 12(4): e0175801.
มกษ . 4409-2566 14 ภาคผนวก ข ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ความชื้นของเมล็ดธัญพืชบางชนิด ความชื้นของเมล็ดธัญพืชบางชนิดที่แสดงในตาราง ข .1 เป็นเปอร์เซ็นต์ความชื้นของเมล็ด ธัญพืชที่สัมพันธ์กับค่าวอเตอร์แอกทิวิตี (a w ) ต่างๆ ที่ 25 o C ซึ่งการเก็บรักษาเมล็ดธัญพืช แนะนําให้เลือกเก็บรักษาเมล็ดธัญพืชที่มีเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่สัมพันธ์กับค่า a w ที่น้อยกว่า 0.7 หากต้องการเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลานาน ตารางที่ ข .1 ตัวอย่างความชื้นของเมล็ดธัญพืชบางชนิดที่ a w ต่างๆ ที่ 25 o C ธัญพืช ความชื้น (%) ที่ a w ต่างๆ 0.60 0.65 0.70 0.75 ข้าว 13.2 13.8 14.2 15.0 ข้าวโอ๊ต 11.2 12.2 13.0 14.0 ข้าวไรย์ 12.2 12.8 13.6 14.6 ข้าวบาร์เลย์ 12.2 13.0 14.0 15.0 ข้าวโพด 12.8 13.4 14.2 15.2 ข้าวฟ่าง 12.0 13.0 13.8 14.8 ข้าวสาลี 13.0 13.6 14.6 15.8 ที่มา : ดัดแปลงจาก Code of Practice for the Prevention and Reduction of Mycotoxin Contamination in Cereals (CXC 51 – 2003)
15 มกษ . 4409-2566 ภาคผนวก ค ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ปริมาณสูงสุดของสารพิษจากราในธัญพืชที่ใช้เป็นอาหาร และอาหารสัตว์ ในการตรวจเฝ้าระวังปริมาณการปนเปื้อนสารพิษจากราในเมล็ดธัญพืช ต้องคํานึงถึงข้อกําหนด ปริมาณสูงสุดที่กําหนดไว้ในกฎหมายของประเทศหรือประเทศคู่ค้า ตารางที่ ค .1 แสดง ข้อกําหนดปริมาณสูงสุดของสารพิษจากราในธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขเรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน และตารางที่ ค .2 แสดงปริมาณสูงสุดของ สารพิษจากราในธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ประเภทวัตถุดิบตามประกาศกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เรื่อง กําหนดลักษณะของอาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพ และข้อกําหนดของสหภาพยุโรป ตารางที่ ค .1 ปริมาณสูงสุดของสารพิษจากราในธัญพืชที่ใช้เป็นอาหาร ธัญพืช สารพิษจากรา ปริมาณสูงสุด ( μg/kg ) ธัญพืชที่ใช้เป็นอาหาร 1/ แอฟลาท็อกซินส์ทั้งหมด (total afltoxins) 20 เมล็ดข้าวโพดดิบ 1/, 2/ ฟูโมนิซินบี 1 และบี 2 (fumonisin B1+ B2) 4,000 แป้งข้าวโพด 1/, 2/ ฟูโมนิซินบี 1 และบี 2 (fumonisin B1+ B2) 2,000 ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคที่มีข้าวโพด หรือแป้งข้าวโพดเป็นส่วนประกอบ 1/ ฟูโมนิซินบี 1 และบี 2 (fumonisin B1+ B2) 2,000 เมล็ดข้าวบาร์เลย์ 1/, 2/ โอคราท็อกซินเอ (ochratoxin A) 5 เมล็ดข้าวไรย์ 1/, 2/ โอคราท็อกซินเอ (ochratoxin A) 5 เมล็ดข้าวสาลี รวมทั้ง ดูรัมวีตสเปลต์ และเอ็มเมอร์ 1/, 2/ โอคราท็อกซินเอ (ochratoxin A) 5 ธัญพืชจําพวกข้าวสาลี ข้าวโพด หรือข้าว บาร์เลย์ทั้งเมล็ด ซึ่งยังต้องผ่านกระบวนการ คัดหรือทําความสะอาด 1/, 2/ ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol) 2,000
มกษ . 4409-2566 16 ตารางที่ ค .1 ปริมาณสูงสุดของสารพิษจากราในธัญพืชที่ใช้เป็นอาหาร ( ต่อ ) ธัญพืช สารพิษจากรา ปริมาณสูงสุด ( μg/kg ) แป้งจากเมล็ดและเกล็ดของข้าวสาลี ข้าวโพด หรือบาร์เลย์ 1/, 2/ ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol) 1,000 อาหารสําหรับทารกและเด็กเล็กที่มีธัญพืช เป็นส่วนประกอบในลักษณะแห้ง พร้อม บริโภค 1/, 2/ ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol) 200 1/ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ( ฉบับที่ 414) พ . ศ . 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ . ศ . 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน 2/ General Standard for Contaminants and Toxins in Food and Feed (CXS 193-1995) ตารางที่ ค .2 ปริมาณสูงสุดของสารพิษจากราในธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ประเภทวัตถุดิบ ธัญพืช สารพิษจากรา ปริมาณสูงสุด ( μg/kg ) รําข้าว ได้แก่ รําละเอียด รํา หยาบ รําสกัดนํ้ามัน 1/ แอฟลาท็อกซินส์ทั้งหมด (total afltoxins) 50 ข้าวโพดป่น 1/ แอฟลาท็อกซินส์ทั้งหมด (total aflatoxins) 50 ข้าวโพดเมล็ด 1/ แอฟลาท็อกซินส์ทั้งหมด (total aflatoxins) 50 ธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ 2/ แอฟลาท็อกซินบี 1 (aflatoxin B1) 20 ข้าวโพดเมล็ดและผลิตภัณฑ์ 3/ ฟูโมนิซินบี 1 และบี 2 (fumonisin B1+ B2) 60,000 ธัญพืชและผลิตภัณฑ์ 3/ โอคราท็อกซินเอ (ochratoxin A) 250 ธัญพืชและผลิตภัณฑ์ 3/ ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol) 8,000 ธัญพืชและผลิตภัณฑ์ 3/ เซียราลีโนน (zearalenone) 2,000 1/ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กําหนดลักษณะของอาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพ ( ฉบับที่ 2) พ . ศ . 2563 2/ Directive 2002/ 32/ EC of the European Parliament and of the Council of 7 May 2002 on Undesirable Substances in Animal Feed 3/ Annex on Guidance Values according to the Commission Recommendation (EU) 2016/1319 of 29 July 2016 Amending Recommendation 2006/576/EC as Regards Deoxynivalenol, Zearalenone and Ochratoxin A in Pet Food
17 มกษ . 4409-2566 ภาคผนวก ง ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) การชักตัวอย่าง ง .1 นิยาม ง .1.1 รุ่น (lot) หมายถึง ปริมาณที่แน่นอนของสินค้าที่ผลิตแบบอุตสาหกรรม (manufactured) หรือผลิต ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่สันนิษฐานว่ากระบวนการผลิตมีความสมํ่าเสมอ (uniform of process) ในที่นี้หมายถึง ปริมาณที่แน่นอนของธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ที่ตัวอย่างถูกดึงออกมา และควบคุมไว้เพื่อหาลักษณะเฉพาะลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะ ง .1.2 อินคริเมนต์ (increment) หมายถึง ปริมาณของสิ่งของที่ดึงมาในแต่ละครั้งเพื่อรวมเป็นตัวอย่าง ในที่นี้หมายถึง ปริมาณของธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์จากธัญพืชที่ดึงมาในแต่ละครั้งจากแต่ละจุด ตลอดทั้งรุ่น ง .1.3 ตัวอย่างแบบผสมรวม (aggregate sample หรือ composite sample) หมายถึง การรวมอินคริเมนต์ ตั้งแต่สองอินคริเมนต์หรือมากกว่าที่ได้จากการชักตัวอย่างตลอดทั้งรุ่นโดยผสมและทําให้เป็น เนื้อเดียวกัน ง .1.4 ตัวอย่างสําหรับห้องปฏิบัติการ (laboratory sample) หมายถึง ตัวอย่างที่เตรียมจากการทําให้ เป็นเนื้อเดียวกันและแบ่งตัวอย่างแบบผสมรวมสําหรับส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อวัตถุประสงค์ ในการตรวจหรือทดสอบ ง .2 การชักตัวอย่าง การชักตัวอย่างธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ควรเป็นไปตามข้อกําหนด มาตรฐาน หรือ กฎระเบียบของหน่วยงานภายในประเทศ เช่น 1) คู่มือการให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ( ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 พ . ศ . 2560) ของกรมวิชาการเกษตร 2) ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์เป็นตัวอย่างเพื่อทดสอบ ตรวจ หรือวิเคราะห์คุณภาพ และการดําเนินการเมื่อผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารสัตว์ ไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ . ศ . 2564 3) ขั้นตอนการปฏิบัติในภาคผนวกนี้ ในการส่งออกให้คํานึงถึงข้อกําหนดของประเทศคู่ค้า
มกษ . 4409-2566 18 ควรดําเนินการเพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของรุ่นมากที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้ โดยชักตัวอย่าง ตามความถี่ที่คํานวณได้ และพยายามให้ตําแหน่งกระจายทั่วถึงทั้งรุ่น นําอินคริเมนต์ที่ได้ทั้งหมด มารวมกัน ผสมให้เข้ากันดีเป็นตัวอย่างแบบผสมรวม และนําตัวอย่างแบบผสมรวมมาลดปริมาณลง จนเหลือนํ้าหนักสองเท่าของตัวอย่างสําหรับห้องปฏิบัติการที่กําหนด แบ่งตัวอย่างดังกล่าว เป็นสองส่วน บรรจุในถุงปิดสนิทเพื่อส่งห้องปฏิบัติการ และเก็บตัวอย่างอีกส่วนที่เหลือไว้ เพื่อใช้ในการทวนสอบ กรณีเกิดปัญหา ง .2.1 การชักตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่บดแล้วและผลิตภัณฑ์จากธัญพืชอื่นที่บรรจุในหีบห่อ การระบุความถี่ในการชักตัวอย่างจากสินค้าในรุ่นที่บรรจุในหีบห่อ ให้ใช้สูตรคํานวณเพื่อเป็น แนวทางในการกําหนดความถี่ในการชักตัวอย่างต่อรุ่น F (n) เมื่อ n คือ จํานวนของหน่วยบรรจุ ระหว่างอินคริเมนต์ ดังนี้ F (n) = m B m I m A m p F (n) คือ ความถี่ในการชักอินคริเมนต์ ทุกๆ n หน่วยบรรจุ m B คือ มวลของรุ่น (kg) m I คือ มวลของอินคริเมนต์ กําหนด 0 . 1 kg m A คือ มวลของตัวอย่างแบบผสมรวม (kg) โดยทั่วไปใช้ประมาณ 3 kg m p คือ มวลต่อหน่วยบรรจุ (kg)
19 มกษ . 4409-2566 ตารางที่ ง . 1 ตัวอย่างของความถี่ในการชักอินคริเมนต์ของสินค้าที่บรรจุในหีบห่อ เพื่อหาตัวแทนไปทดสอบในห้องปฏิบัติการ สําหรับตัวอย่างที่มีขนาดรุ่น 25 t, 50 t และ 100 t และ มวลอินคริเมนต์ 0 . 1 kg ขนาดรุ่น ( มวลของรุ่น ) (kg) มวลต่อหน่วยบรรจุ (kg) ความถี่ที่ได้จากการคํานวณในการชักอินคริเมนต์ต่อรุ่น ( F (n)) ( ตําแหน่งของหน่วยบรรจุ ที่ต้องชัก 1 อินคริเมนต์ ) 25,000 1 833 25,000 5 167 25,000 25 33 25,000 40 21 25,000 50 17 50,000 1 1,667 50,000 5 333 50,000 25 67 50,000 40 42 50,000 50 33 100,000 1 3,333 100,000 5 667 100,000 25 133 100,000 40 83 100,000 50 67 หมายเหตุ ในกรณีที่ตัวอย่างแบบผสมรวมมีมวลไม่เพียงพอหรือไม่ถึง 3 kg หรือไม่พอสําหรับการวิเคราะห์ หรือตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ ให้เพิ่มจํานวนอินคริเมนต์ ที่มา : ดัดแปลงจาก ISO 24333:2009, Cereals and cereal product-Sampling ง .2.2 การชักตัวอย่างเมล็ดธัญพืชแบบบัลก์ที่อยู่นิ่ง (static bulk) การตัดสินจํานวนตัวอย่างที่ชักเพื่อไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ จะอยู่ภายใต้ข้อตกลงระหว่าง ผู้เกี่ยวข้อง โดยปริมาณและขนาดของอินคริเมนต์แสดงในตารางที่ ง .2 โดยหากมวลของ ตัวอย่างสําหรับห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอ จํานวนของอินคริเมนต์จะเพิ่มขึ้น
มกษ . 4409-2566 20 ตารางที่ ง . 2 จํานวนจุดชักตัวอย่างสําหรับเมล็ดธัญพืชแบบบัลก์ที่อยู่นิ่ง ( เช่น รถบรรทุก เรือ ตู้รถไฟ โกดังสินค้า ) ขนาดรุ่นหรือรุ่น ย่อย (t) ช่วงของ มวลอินคริ เมนต์ (g) จํานวน อินคริเมนต์ ขั้นตํ่า ( จุด ) มวลขั้นตํ่าของตัวอย่าง สําหรับห้องปฏิบัติการ เพื่อการวิเคราะห์สาร ปนเปื ้ อน (kg) มวลขั้นตํ่าของตัวอย่าง สําหรับห้องปฏิบัติการ เพื่อการวิเคราะห์อื่นๆ (kg) < 15 400 ถึง 3,000 3 10 สําหรับโอคราท็อกซินเอ และแอฟลาท็อกซินส์ 1 สําหรับสารพิษตกค้าง โลหะหนัก และไดอ็อกซิน 3 สําหรับสารปนเปื้อนอื่น 1 ถึง 3 ตามข้อกําหนดใน การวิเคราะห์ >15-30 8 >30-45 11 >45-100 15 >100-300 18 >300-500 20 >500-1,500 25 ที่มา : ดัดแปลงจาก ISO 24333:2009, Cereals and Cereal Product-Sampling ง . 2 . 3 การใช้เครื่องมือชักตัวอย่าง วิธีชักตัวอย่าง และวิธีการลดปริมาณตัวอย่าง แบบผสมรวม รายละเอียดข้อแนะนําการใช้เครื่องมือชักตัวอย่าง วิธีชักตัวอย่าง และวิธีการลดปริมาณตัวอย่าง แบบผสมรวมเพื่อให้ได้ตัวอย่างสําหรับห้องปฏิบัติการ ให้ใช้แนวทางตาม ISO 24333:2009, Cereals and Cereal Product-Sampling
21 มกษ . 4409-2566 ภาคผนวก จ ( เป็นส่วนหนึ่งของข้อกําหนด ) การป ้ องกันและลดการปนเปื ้ อนสารพิษจากราเฉพาะชนิด การป้องกันและลดการปนเปื้อนสารพิษจากราเฉพาะชนิดในการผลิตและแปรรูปธัญพืช ควรปฏิบัติตามหลักปฏิบัติในข้อ 3.1 และข้อ 3.2 และเพิ่มเติมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ จ .1 แอฟลาท็อกซินส์ (aflatoxins) ราที่สร้างแอฟลาท็อกซินส์ ( ซึ่งส่วนใหญ่คือ Aspergillus flavus, A. parasiticus และ A. nomius) อาจเข้าทําลายและทําให้เกิดการปนเปื้อนแอฟลาท็อกซินส์ในธัญพืช ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง และการแปรรูป การปฏิบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้จะช่วย ป้องกันและลดการปนเปื้อนแอฟลาท็อกซินส์ จ .1.1 การปลูกพืชและพืชหมุนเวียน ( ข้อ 3.1.1) ควรนําวิธีทางชีวภาพมาใช้ หากมีและคุ้มค่ากับต้นทุน โดยใช้ A. flavus และ A. parasiticus สายพันธุ์ ที่ไม่สร้างแอฟลาท็อกซินส์ในสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรเพื่อยับยั้งการเจริญของราที่สร้าง แอฟลาท็อกซินส์ตามธรรมชาติ โดยดําเนินการตามคําแนะนําของภาครัฐหรือผู้ผลิต นอกจากนี้ อาจใช้วิธีทางชีวภาพอื่น เช่น สารชีวภัณฑ์กําจัดราและศัตรูพืช (biofungicides and biopesticides) จ .1.2 การปฏิบัติก่อนการเก็บเกี่ยว ( ข้อ 3.1.3) วิธีทางชีวภาพ เช่น การใช้จุลินทรีย์ หรือสารชีวภัณฑ์ต่างๆ ใช้ในการควบคุมราที่สร้างแอฟลาท็อกซินส์ได้ หากใช้สารชีวภัณฑ์ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร ปลอดภัย และคุ้มค่ากับ ต้นทุนสําหรับราที่สร้างสารพิษเป้าหมาย จ .1.3 การลดความชื้นและการทําความสะอาดก่อนการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.1) แอฟลาท็อกซินส์ในข้าวโพดเกิดขึ้นก่อนเก็บเกี่ยว เนื่องมาจากการเจริญของราที่สร้างสารพิษ ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าทําลายของแมลง ความเสียหายจากนกและสัตว์อื่น ความเครียดจาก การขาดนํ้า ความเสียหายจากลูกเห็บ หรือปัจจัยข้างต้นประกอบกัน แอฟลาท็อกซินส์มักไม่เกิด กับเมล็ดพืชขนาดเล็ก ยกเว้นข้าวฟ่าง ซึ่งมีสาเหตุจากการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม ควรปล่อย ธัญพืชให้แห้งที่สุดเท่าที่จะทําได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและ สภาพของพืชนั้นๆ หากต้องเก็บเกี่ยวธัญพืชก่อนที่ a w จะลดตํ่ากว่า 0.70 ให้ลดความชื้นเมล็ด ธัญพืชให้อยู่ในระดับตํ่ากว่า 15% สภาพของการเก็บรักษาชั่วคราวที่เหมาะสมอาจพิจารณา จากชนิดธัญพืช ขนาดและคุณภาพของเมล็ด รวมทั้งอุณหภูมิภายนอกโรงเก็บ
มกษ . 4409-2566 22 จ .1.4 การเก็บรักษาหลังการลดความชื้นและการทําความสะอาด ( ข้อ 3.2.2) ควรป้องกันการสร้างแอฟลาท็อกซินส์ในเมล็ดธัญพืชระหว่างการเก็บรักษาโดยลดช่วงเวลา ระหว่างการเก็บเกี่ยวและการลดความชื้นสําหรับการเก็บรักษาและการขนส่งให้เหลือน้อยที่สุด และรักษา a w ให้ตํ่ากว่า 0.70 จ .1.5 การแปรรูปและการทําความสะอาดหลังการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.4) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการต้มและแช่เมล็ดข้าวโพดในสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (calcium hydroxide) เพื่อนําเปลือกออก (nixtamalization) อาจช่วยลดปริมาณแอฟลาท็อกซินส์ ในเมล็ดข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ จ .2 ฟูโมนิซินส์ (fumonisins) Fusarium ( ซึ่งส่วนใหญ่คือ F. verticillioides และ F. proliferatum ) อาจเข้าทําลายและทําให้เกิด การปนเปื้อนฟูโมนิซินส์ในธัญพืช ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง และการแปรรูป การปฏิบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้จะช่วยป้องกันและลดการปนเปื้อน ฟูโมนิซินส์ จ .2.1 การเก็บเกี่ยว ( ข้อ 4.1.4) ควรวางแผนการเก็บเกี่ยวข้าวโพดอย่างระมัดระวัง ข้าวโพดที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ที่อากาศร้อนชื้นมักพบระดับฟูโมนิซินส์สูงกว่าข้าวโพดที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนที่อากาศเย็น ปัจจุบันมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวโดยพิจารณาจากพยากรณ์อากาศ ในอนาคตการใช้โมเดล คาดการณ์อาจมีประโยชน์ในการวางแผนเลือกช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเมล็ดธัญพืช ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ของการเข้าทําลายของ Fusarium ได้ จ .2.2 การแปรรูปและการทําความสะอาดหลังการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.4) กระบวนการต้มและแช่เมล็ดข้าวโพดในสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์เพื่อนําเปลือกออก อาจช่วยลดปริมาณฟูโมนิซินส์ในเมล็ดข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ได้ ข้าวโพดที่ผ่านการอัดรีด (extrusion) แล้ว สามารถลดปริมาณฟูโมนิซินส์ได้ทั้งในอาหารและ อาหารสัตว์ จ . 3 โอคราท็อกซินเอ (ochratoxin A; OTA) Aspergillus ( ซึ่งส่วนใหญ่คือ A. ochraceus และสปีชีส์ที่เกี่ยวข้อง A. carbonarius และ A. niger ) และ Penicillium ( ซึ่งส่วนใหญ่คือ P. verrucosum ) อาจเข้าทําลายและทําให้เกิดการปนเปื้อน OTA ในธัญพืช ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง และการแปรรูป การปฏิบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้จะช่วยป้องกันและลดการปนเปื้อน OTA
23 มกษ . 4409-2566 จ .3.1 การปลูกพืชและพืชหมุนเวียน ( ข้อ 3.1.1) ไม่ควรปลูกธัญพืชใกล้กับต้นโกโก้ กาแฟ หรือเถาองุ่น เนื่องจากพืชเหล่านี้ถูกทําลายโดยรา ที่ก่อให้เกิด OTA และปนเปื้อน OTA ได้ง่าย และอาจเป็นแหล่งขยายพันธุ์ราในดิน จ .3.2 การเก็บเกี่ยว ( ข้อ 3.1.4) ธัญพืชควรแห้งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม และสภาพของพืชนั้นๆ ไม่ควรวางธัญพืชทิ้งไว้ในแปลงในสภาวะที่มีความชื้น เนื่องจากจะส่งผล ให้เกิดการเจริญของราหลังการเก็บเกี่ยว ที่มีผลให้เกิด OTA ทั้งนี้ ความเสียหายจากความเย็น การมีราอื่นปนเปื้อนร่วม ปริมาณฝนมาก และความแห้งแล้ง เป็นตัวแปรในการปฏิบัติก่อนการเก็บเกี่ยวที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณ OTA ในธัญพืช ที่จะเก็บเกี่ยว จ .3.3 การลดความชื้นและการทําความสะอาดก่อนการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.1) OTA เกิดจากสภาพการลดความชื้นและการเก็บรักษาธัญพืชที่ไม่เหมาะสม สภาพการเก็บรักษา ชั่วคราวที่เหมาะสมอาจพิจารณาจากชนิดธัญพืช ขนาดและคุณภาพของเมล็ด รวมทั้งอุณหภูมิ ภายนอกโรงเก็บ หากต้องเก็บเกี่ยวธัญพืชก่อนที่ a w จะตํ่ากว่า 0.70 และขาดความสามารถ ในการลดความชื้น ต้องมั่นใจว่าความชื้นเมล็ดธัญพืชต้องตํ่ากว่า 15% จ .3.4 การแปรรูปและการทําความสะอาดหลังการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.4) OTA คงสภาพและไม่เสื่อมสลายในการแปรรูปเบื้องต้น ( เช่น การบดเพื่อทําแป้ง ) หรือการแปรรูป ขั้นต่อไป ( เช่น การอบขนมปัง ) การกระจายของ OTA ในเมล็ดที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปเป็นแบบ ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (heterogeneous) เนื่องจากสารพิษปริมาณมากจะพบในเมล็ดธัญพืช จํานวนเพียงเล็กน้อย เมื่อธัญพืชผ่านการแปรรูป OTA กระจายไปยังส่วนต่างๆ ที่ได้จากการบด ในส่วนของแป้งที่ได้จากเอนโดสเปิร์ม (endosperm flour) จะพบปริมาณ OTA ตํ่า แต่ในส่วนของรํา จะพบ OTA สูง เมื่อเทียบกับปริมาณที่พบในเมล็ดที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป จ .4 ไทรโคทีซีนส์ (trichothecenes) Fusarium spp. อาจเข้าทําลายและทําให้เกิดการปนเปื้อนไทรโคทีซีนส์ในธัญพืช ในช่วง เจริญเติบโตของพืช การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง และการแปรรูป และทําให้เกิดการปนเปื้อน ไทรโคทีซีนส์ เช่น ดีอ็อกซินิวาลีนอล (deoxynivalenol; DON) ( ซึ่งส่วนใหญ่สร้างโดย F. graminearum และ F. culmorum ), T-2 toxin และ HT-2 toxin ( ซึ่งส่วนใหญ่สร้างโดย F. sporotrichioides และ F. poae ), ไดอะเซท็อกซีสเกอร์พีนอล (diacetoxyscirpenol; DAS) ( ซึ่งส่วนใหญ่สร้างโดย F. equiseti, F. poae และ F. acuminatum ) และ นิวาลีนอล (nivalenol; NIV) ( ซึ่งส่วนใหญ่สร้างโดย F. asiaticum, F. poae, F. culmorum และ F. graminearum ) การปฏิบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ จะช่วยป้องกันและลดการปนเปื้อนไทรโคทีซีนส์
มกษ . 4409-2566 24 จ .4.1 การปฏิบัติก่อนการเก็บเกี่ยว ( ข้อ 3.1.3) ปัจจุบันมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวโดยพิจารณาจากพยากรณ์อากาศ ในอนาคตการใช้โมเดล คาดการณ์อาจช่วยเกษตรกรในการตัดสินใจเกี่ยวกับความจําเป็นและช่วงเวลาในการใช้ สารกําจัดรา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเข้าทําลายของ Fusarium ได้ ควรตรวจเฝ้าระวังการปนเปื้อนของ Fusarium ในช่วงออกดอก ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยการชักตัวอย่าง และตรวจหาการปนเปื้อนโดยวิธีมาตรฐานทางจุลชีววิทยา นอกจากนี้อาจหาปริมาณสารพิษ จากราในตัวอย่างก่อนการเก็บเกี่ยว จ .4.2 การเก็บเกี่ยว ( ข้อ 3.1.4) ไม่ควรให้เมล็ดธัญพืชที่สุกแก่เต็มที่แล้วอยู่ในแปลงเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสภาพอากาศเย็นและชื้น เพื่อป้องกันการเกิด T-2 toxin และ HT-2 toxin จ .4.3 การแปรรูปและการทําความสะอาดหลังการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.4) การอัดรีดธัญพืชอาจลดปริมาณไทรโคทีซีนส์ในผลิตภัณฑ์แปรรูปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DON เปลือกและรํา ที่แยกเป็นอาหารอาจมีปริมาณของ DON ที่สูงเกินกว่าค่าที่ยอมรับได้ และต้องตรวจหา ปริมาณ DON ก่อนนําไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค จ .5 เซียราลีโนน (zearalenone; ZEN) Fusarium ( ซึ่งส่วนใหญ่คือ F. graminearum และ F. culmorum ) อาจเข้าทําลายและทําให้เกิด การปนเปื้อน ZEN ในธัญพืชช่วงการเจริญเติบโตของพืช การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง และการแปรรูป ทั้งนี้ ZEN มักเกิดในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ การปฏิบัติ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้จะช่วยป้องกันและลดการปนเปื้อน ZEN จ .5.1 การปฏิบัติก่อนการเก็บเกี่ยว ( ข้อ 3.1.3) ก่อนการเก็บเกี่ยว ควรตรวจเฝ้าระวังการเข้าทําลายของ Fusarium ในช่วงออกดอกโดยการ ตรวจสอบ ชักตัวอย่าง และตรวจหาการปนเปื้อนของราโดยวิธีมาตรฐานทางจุลชีววิทยา นอกจากนี้อาจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษจากราในตัวอย่างเพิ่มเติม การนําธัญพืชไปใช้ ควรพิจารณาจากปริมาณการเข้าทําลาย (prevalence) และปริมาณสารพิษในธัญพืช ความเสี่ยงจาก ZEN เพิ่มขึ้นเมื่อมีปริมาณนํ้าฝนมากในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีการเก็บเกี่ยวที่ล่าช้าออกไป ปัจจุบันมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวโดยพิจารณาจากพยากรณ์ อากาศ ในอนาคตการใช้โมเดลคาดการณ์อาจมีประโยชน์ในการวางแผนเก็บเกี่ยวธัญพืชก่อนจะมี สภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเข้าทําลายของ Fusarium ได้
25 มกษ . 4409-2566 จ .5.2 การแปรรูปและการทําความสะอาดหลังการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.4) การบดแบบเปียกของข้าวสาลีและข้าวโพดส่งผลให้ระดับ ZEN ในส่วนของสตาร์ชสําหรับใช้เป็น อาหารลดลงอย่างมีนัยสําคัญ อย่างไรก็ตาม ZEN อาจกระจายต่อไปยังสิ่งที่เหลือจากการผลิต สตาร์ช กลูเทน และสารให้ความหวาน ซึ่งโดยทั่วไปใช้เป็นอาหารสัตว์ จ .6 เออร์ก็อต (ergot) และเออร์ก็อตแอลคาลอยด์ (ergot alkaloids) โดยหลักการคําแนะนําการปฏิบัติเกี่ยวข้องกับธัญพืชทุกชนิด แต่นําไปใช้เฉพาะเจาะจงกับพืช ที่ไวต่อการปนเปื้อนเออร์ก็อตสเกลอโรเทีย (ergot sclerotia) เช่น ข้าวไรย์ ทริทิเคลี (triticale) ข้าวฟ่าง และลูกเดือย นอกจากนี้ปริมาณการเข้าทําลายที่เพิ่มขึ้นของการเกิดเออร์ก็อตสเกลอโรเทีย ยังเป็นปัญหาอุบัติใหม่ในหลายประเทศ Claviceps ( ซึ่งส่วนใหญ่ คือ C. Purpurea ) อาจเข้าทําลายและทําให้เกิดการปนเปื้อนเออร์ก็อต แอลคาลอยด์ ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง และการแปรรูป การปฏิบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้จะช่วยควบคุม Claviceps จ .6.1 การเตรียมดินและเมล็ดพันธุ์ และการปลูก ( ข้อ 3.1.2) ควรวางแผนการปลูกเพื่อให้พืชออกดอกเร็วและพร้อมกัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา การเข้าทําลายของ Claviceps ข้อแนะนําต่อไปนี้ช่วยป้องกันการเข้าทําลายของ Claviceps ในธัญพืช : 1) ใช้วัสดุปลูกที่ปราศจากเออร์ก็อต และมีการจัดการที่ดี คือ อัตราเมล็ดพันธุ์ต่อพื้นที่ปลูก การให้ปุ๋ย และสารควบคุมการเจริญเติบโต ที่เหมาะสม รวมทั้งมีการระบายนํ้าที่ดี 2) มีการควบคุมหญ้าวัชพืช ( โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อาจเป็นพืชอาศัยของ Claviceps ) ในแปลงปลูก และบริเวณข้างเคียงโดยใช้วิธีทางเขตกรรมและวิธีทางเคมี มีการควบคุมหญ้าวัชพืช อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพบการปนเปื้อนเออร์ก็อตในแปลงแล้ว 3) ควรจัดผังแปลงปลูกให้มีทางที่กว้างพอเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เครื่องจักรกลการเกษตร ทําความเสียหายต่อต้นอ่อนธัญพืช ซึ่งทําให้เกิดความเสี่ยงของการเข้าทําลายของรามากขึ้น หากพบว่ามีการเข้าทําลายของเออร์ก็อตในพืชรุ่นที่ปลูกก่อนหน้า ( หรือหากพบการเข้าทําลาย ของเออร์ก็อตในหญ้าวัชพืชจํานวนมาก ) ให้ปฏิบัติดังนี้ 1) ในการเตรียมดินที่จะปลูกธัญพืชฤดูถัดไป ควรไถพรวนแบบพลิกดิน (inversion ploughing) และไม่ควรไถพรวนซํ้าในฤดูต่อๆ ไป เนื่องจากอาจทําให้เออร์ก็อตสเกลอโรเทียกลับมาสู่ ผิวดินได้ 2) ไม่ควรใช้แปลงปลูกสําหรับธัญพืชในปีถัดมา 3) หากไม่มีหรือมีการไถกลบพืชหมุนเวียนน้อย ควรให้ความสําคัญกับมาตรการควบคุม ในขั้นตอนอื่น ( มาตรการในขั้นตอนก่อนการเก็บเกี่ยว การลดความชื้นและการทําความสะอาด )
มกษ . 4409-2566 26 จ .6.2 การเก็บเกี่ยว ( ข้อ 3.1.4) เออร์ก็อตสเกลอโรเทียมักพบมากในส่วนที่อยู่ใกล้กับขอบแปลง ( มากกว่า 1 m) เมื่อเทียบกับ ผลผลิตที่อยู่ลึกเข้าไปในแปลง (30 m จากขอบแปลง ) ดังนั้นอาจพิจารณาเก็บเกี่ยวผลผลิต บางส่วน โดยแยกเก็บเกี่ยวผลิตผลที่อยู่ใกล้กับขอบแปลง (3 m ถึง 4 m) จะช่วยลดเออร์ก็อต สเกลอโรเทียในผลิตผลได้ ผลผลิตในส่วนที่พบเออร์ก็อตปนเปื้อนมากอาจนํามานวดต่างหาก ทั้งนี้ให้คํานึงถึงความปลอดภัยของคนและสัตว์ด้วย จ .6.3 การลดความชื้นและการทําความสะอาดก่อนการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.1) ควรทําความสะอาดโดยใช้ลม (air-stream cleaning) มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพื่อแยกเออร์ก็อต สเกลอโรเทียและฝุ่นออกจากเมล็ดธัญพืช เออร์ก็อตสเกลอโรเทียมีโครงสร้างที่อ่อนนุ่มและแตกออกง่ายกว่าเมล็ดธัญพืช 1) ดังนั้นส่วนที่เหนียวของเออร์ก็อตสเกลอโรเทียอาจติดไปกับเมล็ดธัญพืชได้ นอกจากนี้ ยังแตกออกได้ง่ายทําให้ฝุ่นละเอียดของเออร์ก็อตอาจติดไปกับผิวเมล็ดธัญพืช การกําจัด เออร์ก็อตสเกลอโรเทียออกจากเมล็ดธัญพืชโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้จึงมีความสําคัญ 2) ควรกําจัดเออร์ก็อตสเกลอโรเทียและฝุ่นมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ในแต่ละช่วงของกระบวนการผลิต เพื่อป้องกันการหลงเหลือไปยังขั้นตอนต่อไปในกระบวนการผลิต จ .6.4 การแปรรูปและการทําความสะอาดหลังการเก็บรักษา ( ข้อ 3.2.4) ควรพิจารณาเลือกใช้การคัดแยกโดยใช้สีซึ่งมีพื้นฐานจากความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสีของ เออร์ก็อตสเกลอโรเทียและเมล็ดธัญพืช เนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลในการแยกเออร์ก็อต สเกลอโรเทีย หรืออาจใช้วิธีการอื่น เช่น การแยกโดยนํ้าหนัก เครื่องคัดแยกโดยความโน้มถ่วง (gravity table) หรือตะแกรงหลุมกลม (trieur) นอกเหนือจากการใช้วิธีข้างต้น ควรพิจารณากระบวนการอื่นที่ช่วยปรับปรุงสภาพธัญพืช ได้แก่ ขัด แปรง ลอกเปลือก และขูด เพื่อกําจัดเออร์ก็อตที่อยู่บนผิวเมล็ด เพื่อป้องกันฝุ่นเออร์ก็อตสะสมในแป้งที่ผ่านการบดแล้ว ควรเปลี่ยนตะแกรงบดตามความเหมาะสม ควรกําจัดของเสียทั้งหมดเพื่อป้องกันการกลับมาในโซ่อุปทานของอาหารหรืออาหารสัตว์
27 มกษ . 4409-2566 ภาคผนวก ฉ ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) หน่วย หน่วยและสัญลักษณ์ที่ใช้ในมาตรฐานนี้ และหน่วยที่ SI (International System of units หรือ Le Système International d’ Unités ) ยอมรับให้ใช้ได้ มีดังนี้ รายการ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์หน่วย ความยาว เมตร (metre) m มวล ไมโครกรัม (microgram) กรัม (gram) กิโลกรัม (kilogram) ตัน (tonne) μg g kg t อุณหภูมิ องศาเซลเซียส (degree celcius) o C