ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขการกาหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดี สาหรับการผลิตรังไหม ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ให้เหมาะสมกับ สภาวการณ์ปัจจุบัน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 16 แห่งพระราชบั ญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ จึงได้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ 1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กาหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตรังไหม ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555 2. กาหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน มาตรฐานเลขที่ มกษ. 8201 - 2566 ไว้เป็นมาตรฐานทั่วไป ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ 3. บรรดาใบรับรองที่ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานได้ออกตามประกาศกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตรังไหม ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ที่ยังมีอายุอยู่ในวันก่อนที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบรับรองนั้นจะสิ้นอายุ หรือถูกเพิกถอน หรือมีการขอยกเลิก 4. ในการขอรับการตรวจสอบรับรองและการขอต่ออายุใบรับรอง สาหรับผู้ประกอบการ ที่ยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ ออกตามประกาศนี้ ให้นามาตรฐานสินค้าเกษตร ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับ การผลิตรังไหม ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555 มาใช้บังคับไปพลางก่อน เป็นระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้ งนี้ ใบรับรองให้มีอายุไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 25 6 6 ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 171 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กรกฎาคม 2566
มกษ . 8201-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มไหม ชนิดกินใบหม่อน 1. ขอบข่าย มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ ครอบคลุมข้อกําหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับ ฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน ของผีเสื้อที่มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Bombyx mori Linnaeus วงศ์ Bombycidae ตั้งแต่การจัดการสถานที่เลี้ยงหนอนไหมจนถึงการบรรจุ เพื่อให้ได้ หนอนไหมวัยอ่อนที่มีคุณภาพเหมาะสําหรับนําไปเลี้ยงต่อ หนอนไหมวัยแก่และดักแด้มีชีวิต ที่ปลอดภัยสําหรับนําไปแปรรูปเพื่อการบริโภค หรือได้รังไหมสดที่มีคุณภาพสําหรับนําไปแปรรูป 2. นิยาม ความหมายของคําที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ มีดังต่อไปนี้ 2.1 ฟาร์มไหม (silkworm farm) หมายถึง สถานที่เลี้ยงหนอนไหมเพื่อการค้า ซึ่งครอบคลุมบริเวณ เลี้ยงหนอนไหม บริเวณให้หนอนไหมทํารัง และบริเวณต่างๆ ซึ่งได้แก่ บริเวณทําความสะอาด อุปกรณ์ เก็บวัสดุอุปกรณ์ เตรียมอาหาร เตรียมผลิตผลเพื่อจําหน่าย รวบรวมขยะและกําจัดซาก 2.2 หนอนไหมวัยอ่อน (young larva or young stage silkworm) หมายถึง หนอนไหมนับตั้งแต่ แรกฟักออกจากไข่จนถึงหนอนไหมวัย 3 ที่เจริญเติบโตเต็มที่ ( หนอนไหมนอนครั้งที่ 3) ได้แก่ 1 ) หนอนไหมวัย 1 (first instar larva) หมายถึง หนอนไหมตั้งแต่แรกฟักออกจากไข่จนถึง ก่อนลอกคราบครั้งที่ 1 ระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนประมาณ 3 วัน ถึง 4 วัน ขึ้นอยู่กับ พันธุ์และสภาพแวดล้อม หลังจากนั้นจะหยุดกินใบหม่อนแล้วลอกคราบ 2) หนอนไหมวัย 2 (second instar larva) หมายถึง หนอนไหมหลังจากลอกคราบครั้งที่ 1 จนถึงก่อนลอกคราบครั้งที่ 2 ระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนประมาณ 2 วัน ถึง 3 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม แล้วลอกคราบ 3) หนอนไหมวัย 3 (third instar larva) หมายถึง หนอนไหมหลังจากลอกคราบครั้งที่ 2 จนถึง ก่อนลอกคราบครั้งที่ 3 ระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนประมาณ 3 วัน ถึง 4 วัน ขึ้นอยู่กับ พันธุ์และสภาพแวดล้อม แล้วลอกคราบ ตัวอย่างหนอนไหมวัย 1 ถึง หนอนไหมวัย 3 แสดงในภาพที่ ก .1 และภาพที่ ก .2 ( ร่าง )
มกษ . 8201-2566 2 2.3 หนอนไหมวัยแก่ (grown larva or grown stage silkworm) หมายถึง หนอนไหมวัย 4 ถึง หนอนไหมวัย 5 ได้แก่ 1 ) หนอนไหมวัย 4 (fourth instar larva ) หมายถึง หนอนไหมหลังจากลอกคราบครั้งที่ 3 จนถึงก่อนลอกคราบครั้งที่ 4 ระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนประมาณ 4 วัน ถึง 5 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม แล้วลอกคราบ 2) หนอนไหมวัย 5 (fifth instar larva) หมายถึง หนอนไหมหลังจากลอกคราบครั้งที่ 4 จนถึงหนอนไหมสุก ระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนประมาณ 5 วัน ถึง 7 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ และสภาพแวดล้อม ตัวอย่างหนอนไหมวัย 4 และหนอนไหมวัย 5 แสดงในภาพที่ ก .1 และภาพที่ ก .2 2.4 หนอนไหมนอน (pre-moulting silkworm) หมายถึง หนอนไหมที่เจริญเติบโตเต็มที่ในแต่ละวัย ไม่กินอาหาร หยุดนิ่ง ผนังลําตัวเป็นมัน และพร้อมจะลอกคราบเพื่อเปลี่ยนวัย สังเกตได้จาก ส่วนต่อระหว่างหัว (head) กับอก (thorax) ( ภาพที่ ก .3) มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ( ภาพที่ ก .3 และ ก .4) 2.5 หนอนไหมตื่น (post-moulting silkworm) หมายถึง หนอนไหมหลังจากที่ลอกคราบในแต่ละ วัยแล้วและเริ่มกินอาหาร สังเกตได้จากหัวจะมีขนาดใหญ่และสีจางกว่าหัวของหนอนไหมนอน ผนังลําตัวย่น ( ภาพที่ ก .5) 2.6 หนอนไหมสุก หรือหนอนไหมที่เจริญเต็มที่ (mature silkworm) หมายถึง หนอนไหมวัย 5 ที่พร้อมพ่นเส้นใยเพื่อสร้างรังไหม สังเกตได้จากลําตัวโปร่งแสง ชูหัวส่ายไปมา ( ภาพที่ ก .6) 2.7 รังไหม (cocoon) หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหนอนไหมที่สร้างขึ้นโดยหนอนไหมพ่นเส้นใยเพื่อห่อหุ้ม ตัวเองก่อนลอกคราบกลายเป็นดักแด้ โดยปกติรังไหมประกอบด้วย เปลือกรัง ดักแด้ คราบของหนอนไหม และปุยไหม ( ภาพที่ ข .1) 2.8 รังไหมสด (fresh cocoon) หมายถึง รังไหมที่ดักแด้ยังมีชีวิต ( ภาพที่ ข .1) 2.9 ดักแด้ (pupa) หมายถึง ระยะของไหมก่อนเปลี่ยนรูปร่างเป็นผีเสื้อ ( ตัวเต็มวัย ) อยู่กับที่ ไม่กินอาหาร ( ภาพที่ ก .1 และภาพที่ ข .1) 2.10 รังดี (good cocoon or normal cocoon) หมายถึง รังไหมที่มีรูปร่างตามลักษณะของพันธุ์ เปลือกรังไม่เปื้อนและไม่ด้าน ดักแด้ไม่ตาย และเส้นใยไหมเกาะรวมตัวกันดี
มกษ . 8201-2566 3 2.11 รังบกพร่อง (defective cocoon) หมายถึง รังไหมที่มีรูปร่างผิดปกติไปจากลักษณะของพันธุ์ หรือมีลักษณะผิดปกติ ได้แก่ รังแฝด ( ภาพที่ ค .1) รังเจาะ ( ภาพที่ ค .2) รังเปื้อนภายใน ( ภาพที่ ค .3) รังเปื้อนภายนอก ( ภาพที่ ค .4) รังบาง ( ภาพที่ ค .5) รังหลวม ( ภาพที่ ค .6) รังบางหัวท้าย ( ภาพที่ ค .7) รังผิดรูปร่าง ( ภาพที่ ค .8) รังติดข้างจ่อ ( ภาพที่ ค .9) รังบุบ ( ภาพที่ ค .10) และรังขึ้นรา ( ภาพที่ ค .11) 2.12 จ่อ (mounting frame or cocooning frame or mountage) หมายถึง อุปกรณ์สําหรับให้หนอนไหม อาศัยเพื่อสร้างรังไหม 2.13 โรคเพบริน (pebrine disease) หมายถึง โรคของหนอนไหมที่เกิดจากโพรโทซัว (protozoa) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nosema bombycis Naegeli ซึ่งสามารถถ่ายทอดผ่านทางไข่ไหมได้ และเป็นศัตรูพืชที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กําหนด ศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ . ศ . 2507 ( ฉบับที่ 6) พ . ศ . 2550 3. ข้อกําหนด ข้อกําหนดของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน มีดังนี้ 3.1 สถานที่เลี้ยงหนอนไหม สถานที่เลี้ยงหนอนไหมต้องไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนอันตรายที่มีผลกระทบต่อหนอนไหม สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีพื้นที่เพียงพอ สามารถป้องกันแสงแดด ฝน พาหะนําโรค และสัตว์ที่เป็นศัตรูของหนอนไหมและรังไหม เพื่อให้หนอนไหมมีความแข็งแรงและได้รังไหม ที่มีคุณภาพ 3.1.1 ต้องอยู่ห่างจากบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อความแข็งแรงของหนอนไหม เช่น พื้นที่ ที่มีการใช้สารป้องกันกําจัดศัตรูพืช แหล่งที่มีมลพิษทางอากาศ หากอยู่ใกล้บริเวณที่เสี่ยงต้องมี มาตรการในการป้องกัน 3.1.2 ต้องสะอาด ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของหนอนไหม 3.1.3 ต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก 3.1.4 ต้องมีพื้นที่เพียงพอสําหรับรองรับหนอนไหมที่เลี้ยง 3.1.5 ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องโดนหนอนไหมโดยตรง 3.1.6 ต้องมีมาตรการป้องกันฝน 3.1.7 ต้องมีมาตรการป้องกันพาหะนําโรค 3.1.8 ต้องมีมาตรการป้องกันสัตว์ที่เป็นศัตรูของหนอนไหมและรังไหม เช่น แมลงวันก้นขน ( Exorista bombycis Louis) แมงมุม มด จิ้งจก ตุ๊กแก หนู
มกษ . 8201-2566 4 3.2 ปัจจัยการผลิต ไข่ไหมต้องมีหลักฐานแสดงแหล่งที่ผลิต รวมถึงหลักฐานการตรวจและรับรองว่าปลอดโรคเพบริน กรณีรับหนอนไหมวัยอ่อนมาเลี้ยงต้องมีหลักฐานแสดงว่าได้รับการรับรองตามมาตรฐานนี้ ใบหม่อนต้องมาจากแปลงที่ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนและมีปริมาณเพียงพอสําหรับเลี้ยงหนอนไหม ต้องมีสารและวัสดุดูดความชื้นได้ดี รวมทั้งสารทําความสะอาดและสารฆ่าเชื้อที่กรมหม่อนไหม แนะนํา วัสดุอุปกรณ์สําหรับเลี้ยงหนอนไหมและให้หนอนไหมใช้ทํารังต้องมีคุณสมบัติ เหมาะสมสําหรับการผลิตผลิตผลที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยด้านอาหาร รวมถึงใช้ภาชนะ บรรจุที่ไม่ทําให้ผลิตผลเสียหาย เพื่อให้ได้หนอนไหมที่แข็งแรง ปลอดภัย และได้รังไหมที่มีคุณภาพ 3.2.1 ไข่ไหม 3.2.1.1 ต้องมีหลักฐานแสดงแหล่งที่ผลิตไข่ไหม 3.2.1.2 ต้องมีหลักฐานแสดงการตรวจและรับรองว่าปลอดโรคเพบริน 3.2.1.3 ต้องบันทึกหรือมีหลักฐานแสดงข้อมูลวัน เดือน ปี ที่ผลิตไข่ไหม 3.2.2 หนอนไหมวัยอ่อน ( กรณีรับหนอนไหมวัยอ่อนมาเลี้ยง ) ต้องมาจากฟาร์มไหมที่ได้รับการตรวจและรับรองตามมาตรฐานนี้ 3.2.3 ใบหม่อน 3.2.3.1 ต้องมาจากแปลงหม่อนที่อยู่ห่างจากพื้นที่ปลูกพืชที่มีการใช้สารป้องกันกําจัดศัตรูพืช หรือแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศ หากแปลงหม่อนอยู่ใกล้พื้นที่เสี่ยงหรือใกล้แหล่งมลพิษ ต้องมี มาตรการป้องกัน หรือขจัดสารตกค้างบนใบหม่อนก่อนนําไปเลี้ยงหนอนไหม 3.2.3.2 ต้องมีปริมาณเพียงพอสําหรับการเลี้ยงหนอนไหมในแต่ละรุ่น 3.2.3.3 ควรสด สะอาด และไม่ควรมีลักษณะผิดปกติจากการเข้าทําลายของโรคและแมลงที่ส่งผลกระทบ ต่อความแข็งแรงของหนอนไหม 3.2.4 สารและวัสดุดูดความชื้น ต้องมีสารและวัสดุดูดความชื้นได้ดี เช่น ปูนขาวแห้ง แกลบเผา 1/ เพื่อใช้ในกรณีที่ต้องดูดความชื้น จากใบหม่อนที่เหลือตกค้างในภาชนะหรือชั้นหรือพื้นที่เลี้ยงช่วงถ่ายมูลและช่วงหนอนไหมนอน 3.2.5 สารทําความสะอาดและสารฆ่าเชื้อ ต้องมีสารเคมีทําความสะอาดและสารฆ่าเชื้อที่กรมหม่อนไหมแนะนํา ใช้กับอุปกรณ์และสถานที่ เลี้ยงหนอนไหม เพื่อกําจัดรา แบคทีเรีย ไวรัส หรือโพรโทซัว 1/ แกลบเผา หมายถึง แกลบดิบที่นํามาเผาแล้วยังมีสภาพรูปร่างคงเดิม ไม่ละเอียดเป็นผง
มกษ . 8201-2566 5 3.2.6 วัสดุอุปกรณ์ 3.2.6.1 ต้องมีวัสดุอุปกรณ์สําหรับการเลี้ยงหนอนไหม การทํารัง และการเก็บรักษาใบหม่อนที่สะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อ เช่น ขนไก่ กระบะหรือกระด้งเลี้ยงหนอนไหม มีด เขียง จ่อ ภาชนะใส่ใบหม่อน 3.2.6.2 ต้องมีอุปกรณ์การวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ 3.2.6.3 ต้องมีตาข่ายหรือวัสดุที่ช่วยแยกมูลของหนอนไหม ที่เหมาะสมกับวัยของหนอนไหม 3.2.6.4 ควรมีวัสดุคลุมกระบะ หรือภาชนะ หรือชั้นที่ใช้เลี้ยงหนอนไหม ที่สะอาด รักษาความชื้น และ ถ่ายเทอากาศได้ 3.2.6.5 ต้องมีจ่อที่ถ่ายเทอากาศได้ดี และไม่ทําให้เกิดปัญหาการหมักหมมของสิ่งปฏิกูลจากหนอนไหม ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของรังไหม 3.2.6.6 ต้องมีภาชนะบรรจุหนอนไหม ดักแด้ และรังไหม ที่สะอาด โปร่ง และระบายอากาศได้ 3.3 การจัดการและการเลี้ยงหนอนไหม ต้องมีการจัดการที่ดีในขั้นตอนการเลี้ยงหนอนไหมแต่ละวัย เพื่อให้ได้หนอนไหม ดักแด้ หรือรังไหม ที่มีคุณภาพ 3.3.1 การจัดการทั่วไป 3.3.1.1 ต้องขยายพื้นที่เลี้ยงหนอนไหมให้สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของหนอนไหมแต่ละวัย 3.3.1.2 ต้องกระจายหนอนไหมไม่ให้อยู่หนาแน่นเกินไป จนเกิดความร้อนและได้รับอาหารไม่เพียงพอ 3.3.1.3 ต้องเก็บแยกหนอนไหมที่ตื่นช้าหรือเจริญเติบโตช้ากว่าหนอนไหมวัยเดียวกันไปเลี้ยงในภาชนะ แยกต่างหาก 3.3.1.4 ต้องเก็บแยกหนอนไหมที่ผิดปกติ อ่อนแอ แคระแกร็น เป็นโรค หรือตาย ไปกําจัดหรือทําลาย อย่างถูกวิธี 3.3.1.5 ต้องเลือกใบหม่อนให้มีความอ่อนแก่เหมาะสมกับวัยของหนอนไหมที่จะทําให้หนอนไหมได้รับ สารอาหารเพียงพอ 3.3.1.6 การให้ใบหม่อนแต่ละครั้ง ต้องมีปริมาณเพียงพอ โดยยังคงความสดของใบหม่อนไว้ได้ แต่ต้อง มีปริมาณเหลือไม่มากจนระบายอากาศไม่ดี ทําให้เกิดความร้อนและความชื้นสะสม ซึ่งจะเป็น สาเหตุการเกิดโรคของหนอนไหม 3.3.1.7 ต้องแยกมูลของหนอนไหมและใบหม่อนที่เหลือจากการกินออกจากสถานที่เลี้ยงหนอนไหม ก่อนหนอนไหมนอน เพื่อลดความชื้นในพื้นที่เลี้ยงหนอนไหม 3.3.1.8 ต้องมีการป้องกันและฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับหนอนไหม หลังจากหนอนไหมตื่นและก่อนการให้ อาหารครั้งแรกในแต่ละวัย โดยต้องใช้สารฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องตามคําแนะนําของกรมหม่อนไหม
มกษ . 8201-2566 6 3.3.1.9 ต้องมีมาตรการป้องกันโรคที่เป็นอันตรายต่อหนอนไหมที่อาจติดมากับบุคคลที่จะเข้าไป ในสถานที่เลี้ยงหนอนไหม 3.3.2 การเลี้ยงหนอนไหมวัยอ่อน 3.3.2.1 ต้องใช้วัสดุที่สะอาดรองพื้นภายในภาชนะที่ใช้เลี้ยง 3.3.2.2 ต้องใช้สารฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องตามคําแนะนําของกรมหม่อนไหม เพื่อป้องกันและกําจัดรา แบคทีเรีย หรือไวรัส ที่อาจติดมากับหนอนไหม 3.3.2.3 ควรหั่นใบหม่อนให้มีรูปทรงและขนาดเหมาะสมวัยหนอนไหม เพื่อให้หนอนไหมกินใบหม่อนสด ได้อย่างทั่วถึง 3.3.2.4 การย้ายหนอนไหมจากแผ่นไข่ไหม ต้องทําด้วยความระมัดระวัง เช่น การใช้ขนไก่ช่วยปัด เพื่อไม่ให้มีผลกระทบหรือเกิดอันตรายต่อหนอนไหม 3.3.2.5 กรณีรับหนอนไหมวัยอ่อนจากแหล่งผลิตมาเลี้ยง ต้องขนส่งด้วยความระมัดระวังไม่ให้หนอน ไหมทับกันหนาแน่นและป้องกันไม่ให้หนอนไหมโดนแสงแดด 3.3.2.6 บริเวณที่วางภาชนะหรือชั้นหรือพื้นที่เลี้ยงหนอนไหม ควรมีอุณหภูมิประมาณ 25 o C 2/ ± 5 o C และควรมีความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 80% ± 10% 3.3.3 การเลี้ยงหนอนไหมวัยแก่ 3.3.3.1 ควรมีวิธีจัดการสถานที่เลี้ยงหนอนไหมให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก 3.3.3.2 บริเวณที่วางภาชนะหรือชั้นหรือพื้นที่เลี้ยงหนอนไหม ควรมีอุณหภูมิประมาณ 25 o C ± 5 o C และควรมีความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ 75% ± 5% 3.4 การจัดการหนอนไหมสุก ต้องมีการจัดการที่ดีในขั้นตอนการนําหนอนไหมสุกเข้าจ่อ เพื่อให้ได้ดักแด้ และรังไหมที่มี คุณภาพ 3.4.1 หนอนไหมที่จะนําไปเข้าจ่อ ต้องเป็นหนอนไหมสุก 3.4.2 ปริมาณหนอนไหมต้องเหมาะสมกับชนิดและขนาดของจ่อ เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสําหรับให้ หนอนไหมทํารัง และมีอากาศถ่ายเทได้ดี 3.4.3 ควรจัดวางจ่อที่หนอนไหมกําลังทํารัง ในบริเวณที่มีความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 65% ถึง 70% 3.4.4 ต้องเก็บแยกหนอนไหมที่ตายหรือไม่ทํารังไปทําลายอย่างถูกวิธี 2/ o C เป็นสัญลักษณ์สําหรับหน่วยอนุพัทธ์ (derived units) ในระบบ SI ที่ใช้แทนคําว่า “ องศาเซลเซียส (degree Celsius)”
มกษ . 8201-2566 7 3.5 การเก็บเกี่ยวและการคัดคุณภาพ ต้องเก็บเกี่ยวหนอนไหม ดักแด้ และรังไหมอย่างถูกสุขลักษณะในระยะที่เหมาะสม และระมัดระวัง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตผล และต้องคัดคุณภาพผลิตผลก่อนจําหน่าย เพื่อให้ได้หนอนไหม ดักแด้ และรังไหมที่มีคุณภาพ 3.5.1 กรณีหนอนไหมวัยอ่อน 3.5.1.1 ต้องกระจายหนอนไหมวัยอ่อนไม่ให้ทับกันหนาแน่น ทําให้เกิดการสะสมความร้อนซึ่งมีผลต่อ คุณภาพและความแข็งแรงของหนอนไหม 3.5.1.2 การขนส่ง ต้องทําด้วยความระมัดระวังไม่ให้หนอนไหมทับกันหนาแน่นและป้องกันไม่ให้ หนอนไหมโดนแสงแดด 3.5.2 กรณีหนอนไหมวัยแก่และดักแด้ ที่จะนําไปแปรรูปเพื่อการบริโภค 3.5.2.1 ต้องคัดแยกหนอนไหมหรือดักแด้ที่ตายหรือเป็นโรคออก 3.5.2.2 ต้องเก็บเกี่ยวอย่างถูกสุขลักษณะและผู้ปฏิบัติงานต้องดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล 3.5.2.3 ควรเก็บเกี่ยวหนอนไหมวัยแก่ในวันที่จะนําไปจําหน่าย 3.5.2.4 ต้องเก็บเกี่ยวดักแด้ก่อนที่ผนังลําตัวจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น ( ประมาณ 5 วัน ถึง 6 วัน นับจาก วันที่หนอนไหมเริ่มทํารัง ) ซึ่งทําให้ผนังลําตัวดักแด้แข็ง ไม่เสียหายในขณะขนส่ง 3.5.3 กรณีรังไหม 3.5.3.1 ต้องคัดแยกหนอนไหมที่ไม่ทํารัง หรือหนอนไหมที่ตายขณะทํารังออกจากจ่อ ก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 3.5.3.2 ต้องเก็บเกี่ยวรังไหมหลังจากที่หนอนไหมกลายเป็นดักแด้อย่างสมบูรณ์ ( ประมาณ 5 วัน ถึง 6 วัน นับจากวันที่หนอนไหมเริ่มทํารัง ) 3.5.3.3 ต้องเก็บเกี่ยวรังไหมด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้รังไหมเสียหาย 3.5.3.4 ต้องคัดแยกรังบกพร่องออกจากรังดี 3.5.3.5 ต้องกระจายรังไหมที่เก็บเกี่ยวแล้วไม่ให้ทับกันหนาแน่น ซึ่งจะทําให้เกิดการสะสมความร้อน และความชื้น มีผลต่อคุณภาพของรังไหม
มกษ . 8201-2566 8 3.6 การบรรจุ ต้องบรรจุหนอนไหม ดักแด้ และรังไหมอย่างถูกสุขลักษณะและไม่ทําให้เกิดผลกระทบ ต่อคุณภาพของผลิตผล เพื่อให้ได้หนอนไหม ดักแด้ และรังไหมที่มีคุณภาพ 3.6.1 กรณีหนอนไหมวัยแก่หรือดักแด้ ที่จะนําไปแปรรูปเพื่อการบริโภค 3.6.1.1 ต้องบรรจุอย่างถูกสุขลักษณะและผู้ปฏิบัติงานต้องดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล 3.6.1.2 ต้องบรรจุในภาชนะบรรจุที่สะอาด โปร่ง และระบายอากาศได้ 3.6.1.3 ต้องกระจายหนอนไหมหรือดักแด้ไม่ให้ทับกันหนาแน่นซึ่งจะทําให้เกิดการสะสมความร้อน อาจทําให้อ่อนแอและตายได้ 3.6.2 กรณีรังไหม 3.6.2.1 ต้องบรรจุในภาชนะบรรจุที่สะอาด โปร่ง และระบายอากาศได้ 3.6.2.2 ต้องบรรจุรังไหมไม่อัดแน่นและมีนํ้าหนักมากเกิน จนทําให้รังไหมเสียหาย 3.6.2.3 ระหว่างรอการขนส่งเพื่อจําหน่าย ต้องป้องกันไม่ให้รังไหมเสียหายเนื่องจากการสะสมความร้อน และความชื้นซึ่งมีผลต่อคุณภาพของรังไหม โดยจัดการให้มีการระบายอากาศ 3.7 การทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ ต้องทําความสะอาดสถานที่เลี้ยงหนอนไหมและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ในกรณีที่เกิดการระบาดของโรค ต้องฆ่าเชื้อในบริเวณสถานที่เลี้ยงหนอนไหมและวัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ผลกระทบต่อความแข็งแรงของหนอนไหม ดักแด้ และคุณภาพของรังไหม 3.7.1 ต้องทําความสะอาดสถานที่เลี้ยงหนอนไหมและบริเวณโดยรอบอย่างสมํ่าเสมอ ในกรณีจําเป็น ต้องฆ่าเชื้อให้ใช้สารฆ่าเชื้อตามที่กรมหม่อนไหมแนะนํา 3.7.2 ต้องทําความสะอาดวัสดุอุปกรณ์สําหรับการเลี้ยงหนอนไหม การทํารัง การเก็บรักษาใบหม่อน และภาชนะบรรจุหนอนไหมวัยแก่และดักแด้ก่อนนํามาใช้ ในกรณีจําเป็นต้องฆ่าเชื้อให้ใช้ สารฆ่าเชื้อตามที่กรมหม่อนไหมแนะนํา หรือตากแดด 3.7.3 กรณีที่เกิดการระบาดของโรคในสถานที่เลี้ยงหนอนไหม ต้องฆ่าเชื้อบริเวณสถานที่เลี้ยงหนอนไหม และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนนําออกไปทําความสะอาด โดยใช้สารฆ่าเชื้อที่กรมหม่อนไหมแนะนํา ส่วนเศษวัสดุเหลือใช้และมูลของหนอนไหม ต้องกําจัดและทําลายอย่างถูกวิธีในบริเวณที่กําหนด 3.7.4 ต้องกําจัดขยะที่เกิดขึ้นหลังการเลี้ยงหนอนไหมแต่ละรุ่น เช่น มูลของหนอนไหม กิ่งหม่อน และใบหม่อน ทั้งในบริเวณและรอบบริเวณสถานที่เลี้ยงหนอนไหม เพื่อป้องกันการระบาดของโรค 3.7.5 ต้องทําความสะอาดหรือฆ่าเชื้อพาหนะขนส่งในส่วนที่บรรทุกของที่บรรทุกไข่ไหมหรือหนอนไหม วัยอ่อน
มกษ . 8201-2566 9 3.8 เอกสารและการบันทึกข้อมูล ต้องบันทึกข้อมูลการเลี้ยงหนอนไหมที่สําคัญ รวบรวมเอกสารหลักฐานที่จําเป็น และเก็บรักษา ไว้เพื่อการตามสอบ 3.8.1 ต้องบันทึกข้อมูลการเลี้ยงหนอนไหมในแต่ละรุ่น ได้แก่ 1) อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ของสถานที่เลี้ยงหนอนไหมทุกวัน 2) วัน เดือน ปี ที่เริ่มกกไข่ไหม ( กรณีที่เกษตรกรดําเนินการเอง ) 3) วัน เดือน ปี ของวันแรกฟัก 4) วัน เดือน ปี ที่รับหนอนไหมมาเลี้ยง และวัยของหนอนไหม ( กรณีรับหนอนไหมวัยอ่อนมาเลี้ยง ) 5) วัน เดือน ปี ที่หนอนไหมเข้าจ่อทํารัง 6) วัน เดือน ปี ที่เก็บเกี่ยวรังไหมสด 3.8.2 รวบรวมเอกสารหลักฐานที่จําเป็น ได้แก่ 1) แหล่งที่ผลิตไข่ไหม 2) การตรวจและรับรองว่าไข่ไหมปลอดโรคเพบริน 3.8.3 ต้องเก็บรักษาบันทึกข้อมูลและเอกสารหลักฐานไม่น้อยกว่าอายุของใบรับรอง 4. ข้อแนะนําการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน ข้อแนะนําการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อนนี้ มีไว้เพื่อใช้แนะนํา เกษตรกรให้มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตไหมชนิดกินใบหม่อน ที่ดําเนินการ ในระดับฟาร์ม เพื่อให้ได้หนอนไหมวัยอ่อนที่มีคุณภาพเหมาะสําหรับนําไปเลี้ยงต่อ ได้หนอนไหม วัยแก่และดักแด้มีชีวิตที่ปลอดภัยสําหรับนําไปแปรรูปเพื่อการบริโภค และได้รังไหมสด ที่มีคุณภาพสําหรับนําไปแปรรูป ซึ่งมีรายละเอียดอธิบายไว้ในภาคผนวก ง
มกษ . 8201-2566 10 ภาคผนวก ก ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ภาพแสดงตัวอย่างหนอนไหม ภาพที่ ก .1 วงจรชีวิตของไหมชนิดกินใบหม่อน
มกษ . 8201-2566 11 ภาพที่ ก .2 หนอนไหมวัย 1 ถึง หนอนไหมวัย 5 ภาพที่ ก .3 หนอนไหม หัว อก ปาก
มกษ . 8201-2566 12 ภาพที่ ก .4 หนอนไหมนอน สังเกตได้จากส่วนต่อระหว่างหัวกับอก จะเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่มา : กรมหม่อนไหม ภาพที่ ก .5 หนอนไหมตื่น สังเกตได้จากหัวมีขนาดใหญ่และสีจางกว่าหัวของหนอนไหมนอน ผนังลําตัวย่น และเริ่มกินอาหาร ที่มา : กรมหม่อนไหม 1) หนอนไหมสุกที่สร้างรังไหมสีเหลือง 2) หนอนไหมสุกที่สร้างรังไหมสีขาว ภาพที่ ก .6 หนอนไหมสุก สังเกตได้จากลําตัวโปร่งแสง ชูหัวส่ายไปมา พร้อมพ่นเส้นใยเพื่อสร้างรังไหม ที่มา : บริษัท จุลไหมไทย จํากัด ( ภาพที่ ก .6 2)) ผนังลําตัวย่น หัวมีขนาดใหญ่และสีจางกว่า หัวของหนอนไหมนอน
มกษ . 8201-2566 13 ภาคผนวก ข ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ภาพแสดงตัวอย่างรังไหมและดักแด้ ภาพที่ ข .1 ส่วนประกอบของรังไหม ประกอบด้วย ปุยไหม เปลือกรัง ดักแด้ และคราบของหนอนไหม เปลือกรัง ปุยไหม ดักแด้ คราบของหนอนไหม
มกษ . 8201-2566 14 ภาคผนวก ค ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ภาพแสดงตัวอย่างรังบกพร่อง 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .1 รังแฝด รังแฝด (double cocoon) คือ รังไหมที่เกิดจากหนอนไหมตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปทํารังร่วมกัน ซึ่งรัง ประเภทนี้เมื่อนํามาสาวทําให้เส้นไหมขาดบ่อย เนื่องจากการพันกันของเส้นไหมในรังแฝดมีมากกว่า หนึ่งเส้น ทําให้สาวยาก เส้นไหมไม่เรียบ และประสิทธิภาพการสาวไหมลดลง การเกิดรังแฝด อาจเกิดจาก หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ลักษณะของพันธุ์ไหม จํานวนหนอนไหมต่อจ่อมากเกินไป ลักษณะจ่อไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมกับหนอนไหม รังแฝด ใช้เป็นวัตถุดิบในการสาวเส้นไหมดูเปี้ยน (dupion) 3/ 1) รังไหมสีเหลือง 2 ) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .2 รังเจาะ รังเจาะ (pierced cocoon) คือ รังไหมที่ถูกหนอนแมลงวันก้นขนหรือผีเสื้อไหมเจาะรังออกมา หรือจากมดหรือสัตว์อื่นกัด ทําให้รังไหมเป็นรู เมื่อนําไปสาวทําให้เส้นไหมขาด ประสิทธิภาพในการสาว ค่อนข้างตํ่า 3/ ไหมดูเปี้ยน (dupion) หมายถึง เส้นไหมที่สาวได้จากรังบกพร่อง ลักษณะเส้นไหมขนาดใหญ่ สําหรับนําไปใช้ทําเส้นพุ่ง ในการทอผ้า
มกษ . 8201-2566 15 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .3 รังเปื ้ อนภายใน รังเปื้อนภายใน (inside stained cocoon) คือ รังไหมที่ดักแด้ตายในรัง หรือหนอนไหมเป็นโรค แต่ทํารังได้ เมื่อทํารังแล้วหนอนไหมหรือดักแด้จะตายอยู่ภายในรัง ทําให้รังไหมสกปรก เมื่อนําไปสาว จะได้เส้นไหมที่ไม่มีคุณภาพ 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .4 รังเปื ้ อนภายนอก รังเปื้อนภายนอก (outside stained cocoon) คือ รังไหมที่เปื้อนสิ่งขับถ่าย ที่หนอนไหมตัวอื่นขับถ่าย ออกมาก่อนทํารัง หรือการแตกของหนอนไหมที่เป็นโรค เมื่อนําไปสาวทําให้ดึงเส้นไหมได้ยาก 1 ) รังไหมสีเหลือง 2 ) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค . 5 รังบาง รังบาง (thin-shelled cocoon) คือ รังไหมที่ได้จากหนอนไหมที่ไม่แข็งแรงจึงพ่นเส้นใยได้น้อย ทําให้ รังไหมบางผิดปกติ หรือเกิดจากการนําหนอนไหมเข้าจ่อช้าเกินไป หนอนไหมจึงพ่นเส้นใยตามขอบ กระด้งหรือมุมของโต๊ะเลี้ยงไหม
มกษ . 8201-2566 16 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .6 รังหลวม รังหลวม (loose-shelled cocoon) คือ รังไหมที่เกิดจากการทํารังของหนอนไหมในสภาพแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสมรังไหมจึงแยกเป็นชั้นๆ หากนําไปสาวเส้นไหมจะขาดบ่อย 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค . 7 รังบางหัวท้าย รังบางหัวท้าย (thin-ended cocoon) คือ รังไหมที่มีลักษณะตามสายพันธุ์ไหมที่ไม่เหมาะสม หรือเกิด จากอุณหภูมิสูงในช่วงกกไข่ บางครั้งเกิดจากอุณหภูมิตํ่าระหว่างที่หนอนไหมทํารัง รังไหมชนิดนี้ จะมีส่วนหัวแหลมผิดปกติ เมื่อนําไปต้มบริเวณส่วนแหลมจะเละก่อน และถ้านําไปสาวเส้นใยไหม จะสาวยาก ทําให้บริเวณส่วนแหลมขาด 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .8 รังผิดรูปร่าง รังผิดรูปร่าง (malformed cocoon) คือ รังไหมที่เกิดจากการทํารังของหนอนไหมในจ่อที่ไม่เหมาะสม หรือเกิดจากหนอนไหมที่ไม่แข็งแรง ทํารังได้ไม่สมบูรณ์ ลักษณะรังไหมชนิดนี้จะบิดเบี้ยวและไม่มี ความสมํ่าเสมอ เมื่อนําไปต้มรวมกับรังดีมักจะเละก่อน หรือบางทีก็แข็ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะ ที่ผิดปกติของรัง
มกษ . 8201-2566 17 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .9 รังติดข้างจ่อ รังติดข้างจ่อ (printed cocoon หรือ cocoon with prints of cocoon frame) คือ รังไหมที่เกิดจาก การทํารังของหนอนไหมติดข้างจ่อ หรือติดกับกระดาษรองจ่อ หรืออาจเกิดจากการใช้จ่อไม่เหมาะสม ลักษณะรังแบนผิดปกติและหนาเป็นบางส่วน ซึ่งเกิดจากการให้หนอนไหมเข้าจ่อแน่นเกินไป ทําให้ หนอนไหมมีพื้นที่ทํารังไม่เพียงพอ 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .10 รังบุบ รังบุบ (crushed cocoon) คือ รังไหมที่เกิดจากการซ้อนทับกัน บรรจุแน่นเกินไป หรือเกิดจาก การจัดการขนส่งหรือจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม จนทําให้รังไหมยุบตัว 1) รังไหมสีเหลือง 2) รังไหมสีขาว ภาพที่ ค .11 รังขึ้นรา รังขึ้นรา (moldy cocoon) คือ รังไหมที่เก็บรักษาในที่ระบายอากาศไม่เหมาะสม ทําให้เกิดความชื้น ในภาชนะหรือห้องเก็บรังไหม จึงมีเชื้อราเกิดขึ้นที่เปลือกรังไหม
มกษ . 8201-2566 18 ภาคผนวก ง ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ข้อแนะนําการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มไหม ชนิดกินใบหม่อน ข้อแนะนําการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อนนี้ เป็นข้อแนะนําเพิ่มเติมจาก ข้อกําหนดของมาตรฐานใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ได้หนอนไหมวัยอ่อนที่มีคุณภาพเหมาะสําหรับนําไปเลี้ยงต่อ หนอนไหมวัยแก่และดักแด้มีชีวิต ที่ปลอดภัยสําหรับนําไปแปรรูปเพื่อการบริโภค หรือได้รังไหมสดที่มีคุณภาพสําหรับนําไปแปรรูป ง .1 สถานที่เลี้ยงหนอนไหม ควรจัดให้มีสถานที่กําจัดหรือทําลายหนอนไหมที่ผิดปกติ เป็นโรค ตาย หรือไม่ทํารัง รังบกพร่อง ที่ติดเชื้อ เช่น รังเปื้อนภายใน รังเปื้อนภายนอก รังขึ้นรา หรือขยะที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงอย่าง ถูกวิธี เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดสู่พื้นที่ข้างเคียงและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ง .2 ปัจจัยการผลิต ง .2.1 ไข่ไหม ง .2.1.1 ควรมาจากแหล่งที่มีการยืนยันเปอร์เซ็นต์การฟักออกไม่ตํ่ากว่า 95% ( ต่อไข่ไหม 1 แผ่นหรือ กล่อง ) และฟักออกภายใน 1 วัน ถึง 2 วัน เพื่อให้เกษตรกรจัดการการเลี้ยงหนอนไหมได้ง่าย และได้รับผลตอบแทนที่คุ้มทุน ง .2.1.2 ควรมาจากแหล่งที่มีการจัดการขนส่งที่ดี มีอุณหภูมิไม่สูงกว่า 25 o C เช่น ขนส่งตอนหัวคํ่าหรือ กลางคืน ใช้รถห้องเย็นหรือถังนํ้าแข็งช่วยลดอุณหภูมิ รวมทั้งมีการจัดการความชื้นสัมพัทธ์ให้ ไม่ตํ่ากว่า 80% เช่น ใช้ผ้าสะอาดชุบนํ้าปิดคลุมภาชนะบรรจุไข่ไหม ฉีดพ่นละอองนํ้าที่ผ้าปิด คลุมเป็นระยะ และมีการป้องกันไม่ให้ไข่ไหมโดนแสงสว่างและแสงแดด เนื่องจากอุณหภูมิ ความชื้น และแสง มีผลต่ออัตราการฟักออกของไข่ไหมและความแข็งแรงของหนอนไหม ง .2.2 หนอนไหมวัยอ่อน ( กรณีรับหนอนไหมวัยอ่อนมาเลี้ยง ) ควรมาจากแหล่งที่มีการจัดการขนส่งที่ดี มีอุณหภูมิไม่สูงกว่า 27 o C ความชื้นสัมพัทธ์ 75% ถึง 85% และมีการป้องกันศัตรูของหนอนไหม
มกษ . 8201-2566 19 ง .2.3 วัสดุอุปกรณ์ ง .2.3.1 ควรวางอุปกรณ์การวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ในจุดที่เหมาะสม เช่น บริเวณกลางห้อง เพื่อให้อ่านค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยํา และสามารถปรับ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ให้มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของหนอนไหมแต่ละวัย ง .2.3.2 ควรมีตะแกรงร่อนสารดูดความชื้นและสารฆ่าเชื้อ เพื่อช่วยให้สารดังกล่าวกระจายตัวได้อย่าง ทั่วถึงและสมํ่าเสมอ ส่งผลให้การดูดความชื้นและการฆ่าเชื้อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ง .2.3.3 ควรมีเครื่องชั่งขนาดที่เหมาะสม สําหรับชั่งนํ้าหนักใบหม่อนก่อนที่จะนําไปเลี้ยงหนอนไหม ในแต่ละมื้อ เพื่อให้มีปริมาณใบหม่อนเพียงพอสําหรับหนอนไหมในแต่ละวัย ง .3 การจัดการและการเลี้ยงหนอนไหม ง .3.1 การจัดการทั่วไป ก่อนแยกมูลของหนอนไหม ควรใช้สารหรือวัสดุดูดความชื้นเพื่อทําให้ใบหม่อนแห้ง และ ป้องกันการสูญเสียหนอนไหมที่ติดไปกับใบหม่อนที่เหลือจากการกินของหนอนไหม และลด อัตราการเกิดโรคในหนอนไหม ง .3.2 การกกไข่ไหมและการฟักไข่ไหม ( กรณีที่เกษตรกรดําเนินการเอง ) ควรควบคุมอุณหภูมิการกกไข่ไหมประมาณ 25 o C ถึง 26 o C ความชื้นสัมพัทธ์ 80% ถึง 85% และมีการจัดการด้านแสงสว่าง เพื่อให้ตัวอ่อนในไข่ไหมแข็งแรง และไข่ไหมฟักออกพร้อมกัน ได้ตามกําหนด ง .3.3 การเลี้ยงหนอนไหมวัยอ่อน อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมในการเลี้ยงหนอนไหมวัยอ่อนแต่ละวัย มีดังนี้ 1) หนอนไหมวัย 1 ควรมีอุณหภูมิประมาณ 27 o C ถึง 28 o C ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ตํ่ากว่า 90% 2) หนอนไหมวัย 2 ถึงหนอนไหมวัย 3 ควรมีอุณหภูมิประมาณ 26 o C ถึง 28 o C ความชื้น สัมพัทธ์ไม่ตํ่ากว่า 80% ยกเว้นในช่วงก่อนหนอนไหมนอนและหนอนไหมนอน ควรลด ความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ประมาณ 70% ง .3.4 การเลี้ยงหนอนไหมวัยแก่ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมในการเลี้ยงหนอนไหมวัยแก่ ควรมีอุณหภูมิประมาณ 24 o C ถึง 25 o C ความชื้นสัมพัทธ์ 70% ถึง 75% ยกเว้นในช่วงก่อนหนอนไหมนอนและ หนอนไหมนอน ควรลดความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ประมาณ 70% ง .4 การจัดการหนอนไหมสุก ควรจัดวางจ่อที่หนอนไหมกําลังทํารังในบริเวณที่มีอุณหภูมิประมาณ 24 o C ถึง 25 o C และ ถ่ายเทอากาศได้ดี เนื่องจากสภาพแวดล้อมจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของรังไหม
มกษ . 8201-2566 20 ง .5 การทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ ควรบําบัดนํ้าเสียที่เกิดจากการทําความสะอาดสถานที่เลี้ยงหนอนไหมและวัสดุอุปกรณ์ เช่น การทําบ่อพักนํ้า การทําบ่อบําบัดนํ้าเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งนํ้าสาธารณะ เพื่อลดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมจากการเลี้ยงหนอนไหม ง .6 การบันทึกข้อมูล ควรบันทึกข้อมูลการเลี้ยงหนอนไหมในแต่ละรุ่นเพิ่มเติม เช่น 1) วัน เวลา ที่หนอนไหมนอนและหนอนไหมตื่น 2) ลักษณะอาการของหนอนไหมที่ผิดปกติ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการป้องกันกําจัดโรค ในการเลี้ยงไหมรุ่นต่อไป 3) การใช้สารและวัสดุดูดความชื้น และสารทําความสะอาดและสารฆ่าเชื้อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ว่าเกษตรกรใช้สารและวัสดุดูดความชื้น และสารทําความสะอาดและสารฆ่าเชื้อได้ตามที่ กรมหม่อนไหมแนะนํา 4) ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงหนอนไหมแต่ละรุ่น เพื่อนํามาปรับปรุงและพัฒนาการเลี้ยงไหม ให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้นในรุ่นต่อไป