ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับโกโก้ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับโกโก้ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับโกโก้ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ด้วยคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นสมควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับโกโก้ เป็นมาตรฐานทั่วไป ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ประกอบมติคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในการประชุม ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงออกประกาศกาหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดีสาหรับโกโก้ มาตรฐาน เลขที่ มกษ. 5912 - 2566 ไว้เป็นมาตรฐานทั่วไป ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 25 6 6 ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 171 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กรกฎาคม 2566
มกษ . 5912- 25 66 มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับโกโก้ 1 . ขอบข่าย มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ครอบคลุมข้อกําหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับการผลิตโกโก้ ในทุกขั้นตอนการผลิตรวมถึงการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง เพื่อให้ได้ ผลโกโก้หรือเมล็ดโกโก้แห้งที่ผ่านการหมักมีคุณภาพเหมาะสมสําหรับเป็นวัตถุดิบในการแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อการบริโภค โดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน 2 . นิยาม ความหมายของคําที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ มีดังต่อไปนี้ 2.1 ผลโกโก้ (cocoa pod) หมายถึง ผลจากต้นโกโก้ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Theobroma cacao L. ประกอบด้วยผนังผล (pericarp) เนื้อเยื่อที่เกิดจากผนังรังไข่ที่สุกแล้วของผล และรังไข่ ซึ่งภายในรังไข่ประกอบด้วยออวุล (ovule) ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเมล็ด (seed) จํานวนมาก ฝังอยู่ในเมือก (mucilage) 2.2 เมล็ดโกโก้ (cocoa bean) หมายถึง เมล็ดของผลโกโก้ประกอบด้วยเอพิสเปิร์ม (episperm) หรือผนังชั้นนอกของออวุล (outer integument) เอ็มบริโอ (embryo) และใบเลี้ยง (cotyledon) หรือเนื้อในเมล็ด (kernel) 2.3 เมือกของเมล็ดโกโก้ (mucilage) หมายถึง ส่วนที่เป็นนํ้าเมือก มีสภาพเป็นกรด และมีเมล็ดฝังอยู่ในนั้น 2.4 เมล็ดโกโก้แห้ง (dry cocoa bean) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่ผ่านการหมัก ก่อนทําให้แห้งอย่างสมํ่าเสมอ โดยมีปริมาณความชื้นสอดคล้องตามที่มาตรฐานกําหนด 2.5 การหมัก (fermentation) หมายถึง กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อย่อยเมือกของเมล็ดโกโก้ และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของเนื้อในเมล็ด โดยเอนไซม์ที่มีอยู่ในเมล็ด และจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อม หรือการเติมจุลินทรีย์ 2.6 กระบวนการทําแห้ง (drying process) หมายถึง การทําให้เมล็ดโกโก้แห้งโดยการตากแดด เครื่องอบแห้ง หรือเครื่องอบพลังงานแสงอาทิตย์ หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม เพื่อลดปริมาณ ความชื้นให้คงที่สําหรับการเก็บรักษา
มกษ . 5912- 25 66 2 2.7 อันตราย (hazard) หมายถึง สารชีวภาพ สารเคมี หรือสิ่งทางกายภาพในอาหาร หรือสภาวะ ของอาหารที่มีโอกาสก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ 2.8 วัตถุอันตรายทางการเกษตร (pesticide) หมายถึง สารที่มีจุดมุ่งหมายใช้เพื่อป้องกัน ทําลาย ดึงดูด ขับไล่ หรือควบคุม ศัตรูพืชและสัตว์ รวมถึงพืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ระหว่างการเพาะปลูก การเก็บรักษา การขนส่ง การจําหน่าย หรือระหว่างกระบวนการผลิต สินค้าเกษตร อาหาร หรืออาหารสัตว์ หรือเป็นสารที่อาจใช้กับสัตว์เพื่อควบคุมปรสิตภายนอก (ectoparasites) และให้หมายความรวมถึงสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สารทําให้ใบร่วง สารทําให้ผลร่วง สารยับยั้งการแตกยอดอ่อน และสารที่ใช้กับพืชผลก่อนหรือหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันการเสื่อมเสียระหว่างการเก็บรักษาและการขนส่ง แต่ไม่รวมถึงปุ๋ย สารอาหารของ พืชและสัตว์ วัตถุเจือปนอาหาร วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ (feed additive) และยาสําหรับสัตว์ 2.9 สารพิษตกค้าง (pesticide residue) หมายถึง สารตกค้างในสินค้าเกษตรที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตราย ทางการเกษตร และให้หมายความรวมถึงกลุ่มอนุพันธ์ของวัตถุอันตรายทางการเกษตรนั้น ได้แก่ สารจากกระบวนการเปลี่ยนแปลง (conversion products) สารจากกระบวนการสร้าง และสลาย (metabolites) สารจากการทําปฏิกิริยา (reaction products) และสารที่ปนอยู่ใน วัตถุอันตรายทางการเกษตร (impurities) ที่มีความเป็นพิษอย่างมีนัยสําคัญ 2.10 ศัตรูพืช (pest) หมายถึง สิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นอันตรายแก่พืชที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ได้แก่ โรคพืช แมลง สัตว์ และวัชพืช 2.11 แผนควบคุมการผลิต (control plan) หมายถึง แผนการ โปรแกรม วิธีการที่จัดทําขึ้น เพื่อกําหนดมาตรการควบคุมในแต่ละขั้นตอนที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของ ผู้บริโภค คุณภาพของผลิตผลแต่ละช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงานหรืออย่างหนึ่งอย่างใด 2.12 การปนเปื้อน (contamination) หมายถึง การนําสิ่งปนเปื้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตโกโก้หรือ สิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิตโกโก้ หรือการเกิดสิ่งปนเปื้อนในกระบวนการผลิตโกโก้หรือ สภาพแวดล้อมของกระบวนการผลิตโกโก้ 2.13 โอคราทอกซิน เอ (ochratoxin A;OTA) หมายถึง สารพิษที่สร้างโดยราสกุล Aspergillus และ Penicillium เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีวอเตอร์แอ็กทิวิตี (water activity) สารอาหาร และอุณหภูมิ ที่เหมาะสมสําหรับการเจริญของรา และการสร้างสาร OTA 1 1 / ในการผลิตเมล็ดโกโก้จะพบรา สกุล Aspergillus ชนิดต่างๆ เช่น A. carbonarius, A. ochraceus, A. niger, A. westerdijkiae, A. melleus ที่สร้าง OTA 1/ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer) จัดให้สารโอคราทอกซิน เอ เป็นสารก่อมะเร็ง ( กลุ่ม 2 B) The Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA) กําหนด ค่าปริมาณสารที่ร่างกายสามารถทนรับได้ต่อสัปดาห์ตลอดชีวิต แล้วไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (Provisional Tolerable Weekly Intake: PTWI) สําหรับ OTA ที่ 100 ng/kg นํ้าหนักตัว
3 มกษ . 5912- 25 66 2.14 การตามสอบ (traceability/product tracing) หมายถึง การติดตามที่มาและที่หมายต่อไป ของสินค้าเกษตรและอาหาร ตามขั้นตอนการผลิต การจัดการ การแปรรูป และการจําหน่าย ที่กําหนดหนึ่งหรือหลายขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน 2.15 ปุ๋ย (fertilizer) หมายถึง สารอินทรีย์ อินทรีย์สังเคราะห์ อนินทรีย์ หรือจุลินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้น โดยธรรมชาติหรือทําขึ้นก็ตาม สําหรับใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทําให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ หรือชีวภาพในดิน เพื่อบํารุงความเติบโตแก่พืช ตาม พ . ร . บ . ปุ๋ย พ . ศ . 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แบ่งปุ๋ยออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ 1) ปุ๋ยอินทรีย์ 2) ปุ๋ยเคมี 3) ปุ๋ยชีวภาพ 4) ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 3. ข้อกําหนด ข้อกําหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับโกโก้ 2/ มีดังนี้ 3. 1 พื้นที่ปลูก เลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของโกโก้ ไม่ทําให้เกิดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน ในผลิตผลโกโก้และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.1.1 ควรมีประวัติการใช้ที่ดินย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี ก่อนการปลูกโกโก้ เช่น การใช้ประโยชน์ ทางการเกษตร ที่อุตสาหกรรม ที่ทิ้งขยะ ชนิดพืชที่ปลูก การระบาดของศัตรูพืช 3.1.2 พื้นที่ปลูกไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนโลหะหนัก 3/ ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค 3.1.3 พื้นที่ปลูกต้องไม่เป็นพื้นที่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง หรือหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ส่วนราชการกําหนด 3.1.4 ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 8% (20 องศา ) หากต้องปลูกในพื้นที่ ดังกล่าว ควรมีวิธีป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของดิน 3.1.5 การปลูกโกโก้เป็นพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่เปิดโล่ง ควรมีร่มเงาให้ต้นโกโก้ในปีแรก 3.1.6 ควรดูแลปรับปรุงบํารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอด้วยอินทรียวัตถุ 2/ ข้อแนะนําการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับโกโก้ในภาคผนวก ก 3/ การปนเปื้อนโลหะหนักในดินสามารถตรวจสอบได้ ดังนี้ 1 . หากนําโกโก้ไปผลิตผลิตภัณฑ์ ปริมาณโลหะหนักในผลิตภัณฑ์จากโกโก้ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข หรือมาตรฐานของโคเด็กซ์ฉบับที่เกี่ยวข้อง 2 . ผลการวิเคราะห์ดินพิจารณาตามมาตรฐานคุณภาพดิน ในภาคผนวก ข
มกษ . 5912- 25 66 4 3. 2 ต้นพันธุ์ ควรเป็นพันธุ์จากแหล่งที่สามารถตรวจสอบหรือแสดงที่มาของต้นพันธุ์ โดยเลือกพันธุ์ปลูก ที่ตรงตามพันธุ์ ตรงตามความต้องการของตลาด และเลือกต้นกล้าที่มีคุณภาพดี ตรงตาม มาตรฐานพันธุ์ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างเพิ่มเติมในภาคผนวก ง ข้อ 1 และตัวอย่างภาพ ของโกโก้พันธุ์ต่างๆ ดังในภาคผนวก จ 3.3 ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน มีการจัดการที่ดีในการใช้ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน เพื่อให้ผลิตผลมีคุณภาพปลอดภัย และไม่ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.3.1 ใช้ปุ๋ยที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากเกษตรกรทําปุ๋ย อินทรีย์ใช้เองในฟาร์ม ต้องผ่านกระบวนการหมักหรือย่อยสลายโดยสมบูรณ์ และบันทึกข้อมูล ที่ระบุวิธีการ วันที่ และช่วงเวลาทําปุ๋ยอินทรีย์ 3.3.2 ไม่ใช้มูลสัตว์สดหรือสิ่งขับถ่ายของมนุษย์มาเป็นปุ๋ย 3.3.3 ใช้ชนิดปุ๋ย อัตรา และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของโกโก้ ควรใช้ตามคําแนะนํา ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ใส่ปุ๋ยเคมีทางดินสูตร 12-12-17 ต้นละ 1 kg แบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้นและกลางฤดูฝนเพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อนและการพัฒนาการของใบอ่อน ตัวอย่างเพิ่มเติมในภาคผนวก ง ข้อ 2.1 3.3.4 ต้องแยกพื้นที่เก็บรักษา ผสม หรือการขนย้าย ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน หรือพื้นที่สําหรับหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ออกเป็นสัดส่วนและอยู่ในบริเวณที่ไม่เกิดการปนเปื้อนสู่พื้นที่ปลูกและแหล่งนํ้า 3.3.5 ควรมีการบันทึกข้อมูลการใช้ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน เช่น แหล่งที่มาและส่วนประกอบของปุ๋ยอินทรีย์ วันที่ ความถี่ และบริเวณให้ปุ๋ย หากวิเคราะห์โลหะหนักในปุ๋ยควรเก็บหลักฐานผลการวิเคราะห์ไว้ 3.3.6 หากเกษตรกรใช้เปลือกโกโก้ในฟาร์มมาใช้ทําปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า เปลือกโกโก้เหล่านี้มีการหมักอย่างสมบูรณ์ก่อนใช้ 3.4 นํ้า นํ้าที่ใช้ต้องไม่ทําให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตผลโกโก้ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลิตผลโกโก้ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ 3.4.1 นํ้าที่ใช้ไม่ควรมาจากแหล่งนํ้าที่เกิดจากการทําลายสิ่งแวดล้อม
5 มกษ . 5912- 25 66 3.4.2 นํ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิต ต้องมาจากแหล่งนํ้าที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อน 4/ อันตรายต่อผลิตผล 3.4.3 ไม่ใช้นํ้าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมอื่นๆ เช่น แหล่งชุมชน สถานที่ที่ก่อให้เกิด การปนเปื้อนอันตราย กรณีจําเป็นต้องใช้ ต้องมีหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่านํ้านั้นได้ผ่าน การบําบัดนํ้าเสียมาแล้ว และสามารถนํามาใช้ในกระบวนการผลิตได้ 3.4.4 มีการจัดการนํ้าเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน และนํ้าที่มีการปนเปื้อน เพื่อลดความเสี่ยง ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ปลูกและพื้นที่โดยรอบ 3. 5 การจัดการศัตรูพืชและโรคพืช ควรใช้ระบบการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้วัตถุอันตราย ทางการเกษตร เช่น การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรในการฉีดพ่นร่วมกับการวางกับดัก การตัดกิ่งที่เล็ก หัก หรือไม่ให้ผลผลิตในทรงพุ่ม และตัดผลที่เป็นโรค หรือถูกแมลงทําลาย ตัวอย่างเพิ่มเติมในภาคผนวก ง ข้อ 2.3 ถึงข้อ 2.5, ข้อ 2.7 และข้อ 3 3.6 วัตถุอันตรายทางการเกษตร การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ต้องมีวิธีการใช้ที่ถูกต้องเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตผลที่ได้ มีความปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึง สิ่งแวดล้อม 3.6.1 หากใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรต้องใช้ตามคําแนะนําหรืออ้างอิงคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือตามคําแนะนําในฉลากที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร หยุดใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรก่อนการเก็บเกี่ยวตามช่วงเวลาที่ระบุไว้ในฉลากกํากับ การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรแต่ละชนิดหรือให้เป็นไปตามคําแนะนําของหน่วยงานราชการ กรณีที่มีหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรไม่ตรง ตามคําแนะนํา ให้วิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลิตผลโดยห้องปฏิบัติการของทางราชการ หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพเพื่อวิเคราะห์สารพิษตกค้าง และเก็บ ผลการวิเคราะห์ไว้เป็นหลักฐาน กรณีผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างมีค่าเกินมาตรฐานปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาและดําเนินการแก้ไขหรือป้องกัน รวมทั้งบันทึกข้อมูลสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขหรือป้องกันไว้ 4/ การปนเปื้อนโลหะหนักในนํ้าสามารถตรวจสอบได้ ดังนี้ 1. หากนําโกโก้ไปผลิตผลิตภัณฑ์ ปริมาณโลหะหนักในผลิตภัณฑ์จากโกโก้ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข หรือมาตรฐานของโคเด็กซ์ฉบับที่เกี่ยวข้อง 2. ผลการวิเคราะห์นํ้าพิจารณาตามมาตรฐานคุณภาพนํ้าในภาคผนวก ค
มกษ . 5912- 25 66 6 3.6.2 ห้ามใช้หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3.6.3 กรณีผลิตเพื่อส่งออก ห้ามใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ประเทศคู่ค้าห้ามใช้หรือให้ใช้ ตามชนิดวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ประเทศคู่ค้ามีข้อกําหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด 3.6.4 ต้องกําจัดสารเคมีที่เหลือจากการผสมหรือไม่ใช้แล้วในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน สู่ผลิตผลและสิ่งแวดล้อม 3.6.5 วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ยังคงเหลืออยู่ในภาชนะบรรจุซึ่งใช้ไม่หมดในคราวเดียว ต้องให้ปิด ให้สนิทและเก็บในสถานที่เก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตร หากมีการเปลี่ยนถ่ายภาชนะบรรจุ ต้องระบุข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้อง 3.6.6 ต้องจัดเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรและสารเคมีชนิดต่างๆ เป็นสัดส่วนในสถานที่เก็บ ที่มีโครงสร้างเหมาะสมและมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารแต่ละชนิดและสามารถ ควบคุมการหยิบใช้ได้ ไม่ทําให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผลและไม่เกิดอันตรายต่อบุคคล 3.6.7 ไม่ควรเก็บสารเคมีชนิดเหลวอยู่บนชั้นที่เหนือกว่าสารเคมีชนิดผงหรือมีลักษณะเป็นผง 3.6.8 สารเคมีอื่น เช่น นํ้ามันเชื้อเพลิง สารทําความสะอาด สารอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ทางการเกษตร ต้องใช้ เก็บ และกําจัดด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่ผลิตผลและสิ่งแวดล้อม 3.6.9 ต้องทําความสะอาดเครื่องพ่นสารเคมีและอุปกรณ์ภายหลังการใช้ทุกครั้งและกําจัดนํ้าล้างด้วยวิธี ที่ไม่ทําให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผลและสิ่งแวดล้อม 3.6.10 ต้องทําลายภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายทางการเกษตรหรือภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมด หรือไม่ใช้แล้ว เพื่อป้องกันการนํากลับมาใช้หรือกําจัดด้วยวิธีที่ถูกต้องตามข้อกําหนด หรือข้อแนะนําของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.6.11 วัตถุอันตรายทางการเกษตรและสารเคมีที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ต้องเก็บในสถานที่เฉพาะ และทําลายเพื่อป้องกันการนํากลับมาใช้ หรือกําจัดด้วยวิธีที่ถูกต้องตามข้อกําหนดหรือข้อแนะนํา ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.6.12 บันทึกหรือจัดทําบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายทางการเกษตรและสารเคมีที่เก็บไว้ในสถานที่เก็บ โดยควรมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ ชื่อสารเคมี วันเดือนปีและจํานวนที่เก็บรักษา วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ วันเดือนปีที่ใช้หมด กําจัด หรือทําลาย 3.6.13 ผู้ปฏิบัติงานและผู้ควบคุมควรมีความรู้ในการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ถูกต้อง โดยต้อง รู้จักศัตรูพืช การเลือกชนิดและอัตราการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การเลือกใช้เครื่องพ่น สารเคมีและอุปกรณ์ และต้องมีคุณสมบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 3.6.14 ผู้ปฏิบัติงานและผู้ควบคุมต้องมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการใช้วัตถุอันตราย ทางการเกษตรหรือสารเคมี และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
7 มกษ . 5912- 25 66 3.6.15 ขณะปฏิบัติงานผู้ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ต้องสวมเสื้อผ้าและรองเท้าอย่างมิดชิด และใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ชุดป้องกันสารเคมี หน้ากาก ถุงมือ หมวก และแว่นตาป้องกัน 3.6.16 ผู้พ่นวัตถุอันตรายทางการเกษตรต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา ระวังละอองฟุ้งกระจายสู่ตนเอง และไปปนเปื้อนแปลงใกล้เคียง และสิ่งแวดล้อม 3.6.17 หลังการพ่นวัตถุอันตรายทางการเกษตร ผู้พ่นวัตถุอันตรายทางการเกษตรต้องอาบนํ้าสระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า เสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะพ่นต้องนําไปซักให้สะอาดทุกครั้ง โดยซักแยกจาก เสื้อผ้าที่ใช้ปกติ 3.6.18 ควรมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลและอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุอย่างครบถ้วน เช่น นํ้ายาล้างตา นํ้าสะอาด ทราย 3.6.19 ควรสลับใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความต้านทานและการดื้อยา ของศัตรูพืช 3.7 การเก็บเกี่ยวผลโกโก้สด ( จําหน่ายในรูปแบบผลสด ) การเก็บเกี่ยวมีวิธีที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัย และมีคุณภาพเหมาะสมกับการบริโภค และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.7.1 ต้องเก็บเกี่ยวผลโกโก้ที่เริ่มสุก พิจารณาจากการเปลี่ยนสีของผลโกโก้ตรงบริเวณร่องผล ซึ่งจะแตกต่างตามพันธุ์ เช่น ผลโกโก้ที่มีสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลโกโก้ที่มีสีแดงหรือ สีชมพู จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม หรือใช้วิธีตรวจความสุกโดยใช้วิธีการเขย่า หากเนื้อในคลอนแสดงว่า ผลเริ่มสุก 3.7.2 ต้องเก็บเกี่ยวผลโกโก้ด้วยเครื่องมือที่สะอาดและเหมาะสม ด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ ตาดอกของโกโก้เสียหาย และระมัดระวังไม่ให้ผลโกโก้มีบาดแผลซึ่งอาจนําไปสู่การเกิดเชื้อรา ที่ผลิตสารโอคราทอกซิน เอ ในเมล็ดโกโก้ 3.7.3 ต้องคัดแยกผลิตผลผลโกโก้ที่ไม่ได้คุณภาพตามชั้นมาตรฐานของผู้ซื้อออก เช่น ผลแตก ผลเน่าจากโรค ผลไม่สุก ผลที่มีเมล็ดงอกภายในผล ผลที่ถูกทําลายจากสัตว์ฟันแทะ ผลแข็ง ผลเหี่ยว ผลที่เนื้อในเมล็ดแข็งทั้งผล ( มัมมี่ ) ( ภาพตัวอย่างผลโกโก้ที่ไม่ได้คุณภาพ ดังภาคผนวก ฉ ) 3.7.4 อุปกรณ์ ภาชนะ และวัสดุที่ใช้ ควรทําความสะอาดทั้งก่อนและหลังการใช้งาน 3.7.5 ภาชนะบรรจุสําหรับการเก็บเกี่ยวต้องเก็บในสถานที่ที่เหมาะสม
มกษ . 5912- 25 66 8 3.8 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ขั้นตอนการทําเมล็ดโกโก้แห้ง ควรมีการจัดการที่ดี ตั้งแต่การรวบรวมผลโกโก้ การแกะผลโกโก้ การหมัก และการทําแห้ง ตัวอย่างกระบวนการผลิตเมล็ดโกโก้แห้ง ดังภาคผนวก ช เพื่อให้ได้ ผลิตผลที่ปลอดภัย และมีคุณภาพ เหมาะสมกับการบริโภค และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.8. 1 การรวบรวมและการแกะผลโกโก้ 3.8.1.1 แกะผลและแยกเมล็ดโกโก้ออกจากผล โดยใช้ไม้หรือมีดหรือเครื่องมือผ่าผลโกโก้ และแกะ เมล็ดโกโก้ออกจากผล ต้องระมัดระวังไม่ให้เมล็ดเสียหายระหว่างการผ่าผลโกโก้ แนะนําให้ แกะผลหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วให้เร็วที่สุด หรือภายใน 7 วัน เพื่อรักษาคุณภาพ โดยต้อง ทําความสะอาดเครื่องมือที่ใช้ในการแกะผลโกโก้และทําให้คมอย่างสมํ่าเสมอ ตามความเหมาะสม และดูแลรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลในระดับที่เหมาะสมระหว่างการแกะผลโกโก้ 3.8.1.2 ระหว่างการแกะผลโกโก้ หากพบเมล็ดที่มีตําหนิ เช่น เมล็ดขึ้นรา เมล็ดที่เป็นโรคและเมล็ด ที่เสียหาย ต้องแยกออกและกําจัดอย่างเหมาะสม ต้องบรรจุเมล็ดคุณภาพดีในภาชนะบรรจุ ที่สะอาดและถูกสุขลักษณะ การขนย้ายหรือการขนส่งเมล็ดสดจากบริเวณการแกะผลโกโก้ ไปยังบริเวณที่หมักเมล็ดโกโก้ ต้องดําเนินการภายใต้สภาวะที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนได้ เช่น ต้องไม่นําเมล็ดเปื้อนดินไปหมัก 3.8. 2 การหมักเมล็ดโกโก้ 3.8.2.1 บรรจุเมล็ดโกโก้ที่มีเมือกในภาชนะที่ทนต่อการกัดกร่อน รักษาอุณหภูมิที่หมักไม่ให้สูญเสีย ไปกับสภาพแวดล้อม เช่น ลังไม้ เข่ง ตะกร้า กล่อง ถาด เพื่อให้จุลินทรีย์สามารถเจริญ และเริ่มต้นกระบวนการหมักได้ ภาชนะที่ใช้สําหรับการหมักดังกล่าวควรเหมาะสม สะอาด แห้ง และระหว่างการหมักต้องระมัดระวังไม่ให้เมล็ดโกโก้สัมผัสนํ้า 3.8.2.2 พลิกกลับเมล็ดโกโก้เพื่อให้เกิดความสมํ่าเสมอของการทําปฏิกิริยาจากจุลินทรีย์ การสัมผัส อากาศ และไม่ให้เมล็ดโกโก้จับตัวเป็นก้อน เพื่อให้เกิดการหมักที่สมบูรณ์ โดยความถี่ขึ้นอยู่กับ เทคนิคการหมัก 3.8.2.3 โดยปกติการหมักต้องใช้ระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ขึ้นอยู่กับเทคนิคการหมัก สายพันธุ์โกโก้ หรือวัตถุประสงค์การนําไปใช้ เพื่อคุณภาพของเมล็ดโกโก้แห้งที่ดี 3.8.3 การทําแห้ง 3.8.3.1 กระบวนการทําแห้งสามารถใช้แสงแดดโดยตรงหรือใช้เครื่องอบแห้ง หรือใช้ร่วมกัน ต้องมี ปริมาณความชื้นในเมล็ดโกโก้ตํ่ากว่า 8% โดยมวล เป็นปริมาณที่เหมาะสมที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยง การเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์และเพื่อการเก็บรักษาที่ดี 3.8.3.2 บริเวณการทําแห้งต้องอยู่ห่างจากแหล่งปนเปื้อน ได้รับแสงแดดมากที่สุดและอากาศถ่ายเท ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของวันเพื่อเร่งกระบวนการทําแห้งของเมล็ดโกโก้
9 มกษ . 5912- 25 66 3.8.3.3 ในพื้นที่ที่มีฝนหรือชื้น ต้องป้องกันฝน และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นที่ที่ตาก สะอาด และอยู่ห่างจากแหล่งปนเปื้อน เพื่อป้องกันเมล็ดโกโก้ที่อยู่ระหว่างการทําแห้งกลับมาชื้นอีก เนื่องจากเมล็ดโกโก้ที่มีปริมาณความชื้นสูงกว่า 8 % โดยมวล จะทําให้เกิดการเจริญของเส้นใยรา (mycelium) อย่างรวดเร็วและมีโอกาสในการสร้าง OTA 3.8.3.4 ในการตาก ควรเกลี่ยเมล็ดโกโก้ให้มีความหนาไม่เกิน 5 cm ซึ่งเท่ากับเมล็ดโกโก้สด 38 kg ถึง 40 kg ต่อพื้นที่ตาก 1 m 2 เพื่อหลีกเลี่ยงการแห้งช้าหรือแห้งไม่เพียงพอที่อาจนําไปสู่ การเจริญของรา 3.8.3.5 ในการตากแดดระหว่างวัน ต้องพลิกกลับเมล็ดโกโก้ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่า เมล็ดโกโก้แห้งสมํ่าเสมอ เพื่อให้แห้งเร็วขึ้น และลดความเสี่ยงของการเจริญของรา 3.8.3.6 ต้องป้องกันเมล็ดโกโก้ที่อยู่ในระหว่างการทําแห้งจากสัตว์เลี้ยง เนื่องจากเป็นแหล่งของ การปนเปื้อน ทางกายภาพและชีวภาพ 3. 9 การจัดการ การพักผลผลิต การเก็บรักษา มีการจัดการ การพักผลิตผล และการเก็บรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัย และมีคุณภาพ เหมาะสมกับการบริโภค เช่น เก็บรักษาเมล็ดโกโก้ในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด แข็งแรง ป้องกันความชื้นได้ จัดวางถุงที่บรรจุเมล็ดโกโก้บนพาเลท และห่างจากผนัง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี รวมทั้งหมั่นตรวจสอบระวังการเข้าทําลายของแมลง ตัวอย่างเพิ่มเติม ในภาคผนวก ง ข้อ 4 . 3 3. 9 . 1 ผลโกโก้ 3.9.1.1 ควรใช้วัสดุปูรองพื้นหรือภาชนะบรรจุผลผลิตในบริเวณพักผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้วในแปลงปลูก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งปฏิกูล เศษดิน และสิ่งสกปรก หรือสิ่งที่เป็นอันตรายอื่นๆ จากพื้นดิน และภาชนะบรรจุสําหรับขนส่งผลสดต้องถูกสุขลักษณะ เช่น กระสอบ ที่สะอาด และปราศจากกลิ่นไม่พึงประสงค์ ป้องกันการเกิดอันตรายจากการปนเปื้อนจากสารเคมี สิ่งแปลกปลอมและสัตว์พาหนะนําเชื้อ เช่น หนู แมลง นก รวมทั้งสัตว์เลี้ยงอันจะทําให้เกิด อันตรายและไม่เหมาะสมต่อการบริโภค 3.9.1.2 การรวบรวมผลโกโก้เพื่อให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมและการเก็บรักษาผลโกโก้ก่อนการแกะ ผลโกโก้ จะต้องเก็บในสถานที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถหลีกเลี่ยง การเข้าถึงและการอยู่อาศัยของสัตว์พาหะนําเชื้อ และมีวัสดุรองผลโกโก้โดยไม่ให้ผลโกโก้ สัมผัสพื้นโดยตรง 3. 9 . 2 เมล็ดโกโก้แห้ง 3.9.2.1 ต้องเก็บเมล็ดโกโก้ในภาชนะปิดที่ป้องกันความชื้นได้ สะอาดและปราศจากกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันเมล็ดโกโก้จากการเปียกนํ้า ป้องกันการเกิดอันตรายจากการปนเปื้อนจากสารเคมี
มกษ . 5912- 25 66 10 สิ่งแปลกปลอม สารก่อภูมิแพ้ และสัตว์พาหนะนําเชื้อ เช่น หนู แมลง นก รวมทั้งสัตว์เลี้ยง อันจะทําให้เกิดอันตรายและไม่เหมาะสมต่อการบริโภค 3.9.2.2 สถานที่เก็บเมล็ดโกโก้ควรมีหลังคา แข็งแรง ทนทาน อากาศถ่ายเทได้สะดวก สะอาด ไม่เปียกชื้น ปราศจากแมลงและสัตว์พาหะนําเชื้อ รวมทั้งห่างจากควันและวัสดุที่มีกลิ่นอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อน เมล็ดโกโก้ได้ 3.9.2.3 ต้องระบุรายละเอียดสิ่งชี้บ่งหรือรหัสของเมล็ดโกโก้แต่ละรุ่น 3.9.2.4 ต้องไม่เก็บเมล็ดโกโก้รวมกับสินค้าที่มีกลิ่น เช่น พริก พริกไทย ยางพารา 3.9.2.5 ห้ามเก็บสารเคมีรวมกับเมล็ดโกโก้ 3. 1 0 การกําจัดของเสียและของที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต มีวิธีการกําจัดของเสียหรือขยะที่เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม 3.10.1 ควรกําจัดส่วนของพืชที่มีศัตรูพืชเข้าทําลายด้วยวิธีและในสถานที่ที่เหมาะสม หรือตามคําแนะนํา ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดยคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.10.2 ควรแยกของเสียและสิ่งของที่ไม่ใช้หรือไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตให้ชัดเจน รวมทั้งมีที่ทิ้งขยะ ให้เพียงพอ หรือระบุจุดทิ้งขยะให้ชัดเจน รวมถึงมีการลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เช่น การนําไปใช้ซํ้า รีไซเคิล หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น 3. 11 ความหลากหลายทางชีวภาพ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่าของภูมิภาค เพื่อให้สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติดํารงอยู่อย่างสมดุลกับการดําเนินกิจการสวนโกโก้ 3.11.1 กิจกรรมที่ปฏิบัติในสวนโกโก้ควรเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ ครอบคลุมพันธุ์พืชและสัตว์ ที่ได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้แน่ใจว่าชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองไม่ใกล้สูญพันธุ์ 3.11.2 มีการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและสัตว์ป่า โดยการเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยและเพิ่ม ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร 3. 12 การขนส่ง การขนส่งต้องรักษาความสะอาดและทําด้วยความระมัดระวัง รวมทั้วควรคํานึงถึงความเหมาะสม ของระยะทางและระยะเวลาในการขนส่ง เพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพและมาตรฐานของ ผลผลิต เพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพเหมาะสมกับการแปรรูปเพื่อการบริโภค 3.12.1 การขนส่งผลิตผลจากแปลงปลูกควรปฏิบัติด้วยความระมัดระวังและป้องกันการปนเปื้อน ที่เป็นอันตรายต่อการบริโภคได้
11 มกษ . 5912- 25 66 3.12.2 ต้องทําความสะอาดพาหนะสําหรับการขนส่งทุกครั้งก่อนใช้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ต่อผลิตผล 3. 1 3 บุคลากร ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจด้านการผลิตและสุขลักษณะที่ดี เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ต่อผลิตผลและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงมีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน 3.13.1 ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจ หรือได้รับการฝึกอบรมสุขลักษณะส่วนบุคคลเพื่อให้ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกสุขลักษณะ 3.13.2 ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้หรือได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ 3.13.3 ผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้หรือได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดี 3.13.4 ผู้ที่สัมผัสกับผลิตผลโดยตรงโดยเฉพาะหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน ต้องมีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลและมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผล 3.13.5 ต้องมีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เพียงพอ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 3.13.6 ต้องจัดให้มีสิ่งอํานวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น นํ้าดื่ม ที่พักระหว่างปฏิบัติงานที่เหมาะสมแก่ ผู้ปฏิบัติงาน 3. 1 4 เอกสาร บันทึกข้อมูลและการตามสอบ บันทึกข้อมูลและเก็บรักษาบันทึกต่างๆที่สําคัญ ในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อใช้เป็นแนวทาง การปรับปรุงและพัฒนาการผลิต รวมถึงมีเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการตามสอบได้ 3.14.1 บันทึกข้อมูลและการรวบรวมเอกสารหลักฐานควรให้ครบถ้วนสําหรับการผลิตในปีการผลิตนั้นๆ และลงชื่อผู้ปฏิบัติงาน ตัวอย่างเอกสารและบันทึกข้อมูลดังในภาคผนวก ซ โดยข้อมูล ที่ควรบันทึก ได้แก่ 1 ) มีบันทึกข้อมูลผลการตรวจสอบการปนเปื้อนในดินและนํ้า กรณีที่มีความเสี่ยง 2 ) การเข้าทําลายของโรคและแมลง ศัตรูพืช ในแปลงปลูก และวิธีป้องกันกําจัด 3 ) แหล่งที่มาของต้นพันธุ์ 4 ) ปุ๋ย ( ชนิด / สูตร / ปริมาณ และวันที่ใช้ ) 5 ) แผนการผลิต 6 ) ปริมาณผลโกโก้ที่เก็บเกี่ยว 7) ปริมาณเมล็ดโกโก้แห้ง 8) สถานที่จําหน่าย
มกษ . 5912- 25 66 12 3.14.2 ในกรณีมีการจําหน่ายผลิตผล ควรบันทึกข้อมูลผู้รับซื้อผลิตผล หรือแหล่งที่นําผลิตผล ไปจําหน่ายรวมถึงปริมาณที่จําหน่าย 3.14.3 ควรเก็บรักษาบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานและเอกสารสําคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไว้ อย่างน้อย 2 ปี ติดต่อกัน หรือตามที่ผู้ประกอบการหรือประเทศคู่ค้าต้องการ เพื่อให้สามารถ ตามสอบและเรียกคืนสินค้าเมื่อเกิดปัญหาได้ 3.14.4 กรณีพบผลิตผลมีการปนเปื้อนหรืออาจมีโอกาสการปนเปื้อน จนผลิตผลเสียคุณภาพ ไม่สามารถยอมรับได้ให้แยกผลิตผลพร้อมบันทึกปริมาณที่สูญเสียและป้องกันไม่ให้มีการนําไป จําหน่าย 3.14.5 กรณีผลิตผลมีการปนเปื้อน ให้สืบหาสาเหตุ หาแนวทางแก้ปัญหา และมีมาตรการป้องกัน ไม่ให้เกิดซํ้าและให้มีการบันทึกข้อมูล
13 มกษ . 5912- 25 66 ภาคผนวก ก ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ข้อแนะนําการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับโกโก้ ข้อแนะนําการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับโกโก้นี้ เป็นข้อแนะนําเพิ่มเติมจากข้อกําหนด ของมาตรฐาน เพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ได้ ผลิตผลที่ปลอดภัย มีคุณภาพเหมาะสมในการบริโภค โดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน ก . 1 ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน ก .1.1 มีการจัดการที่ดีในการใช้ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด โดยการให้ปุ๋ยขึ้นอยู่กับ ลักษณะของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในช่วง 5 ปีแรก ต้นโกโก้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ธาตุอาหารที่ใช้ในปริมาณมาก คือ โพแทสเซียม รองลงมาคือไนโตรเจน แคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ตามลําดับ หลังจากนั้นเมื่อเก็บผลโกโก้จะสูญเสียธาตุอาหารไปกับผลผลิต ดังนั้นปริมาณปุ๋ยที่ต้องการจะเพิ่มขึ้น ก .1.2 หากเกษตรกรทําปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในฟาร์ม ปุ๋ยอินทรีย์ต้องผ่านกระบวนการหมักหรือย่อยสลาย โดยสมบูรณ์ และบันทึกข้อมูลที่ระบุวิธีการ วันที่ และช่วงเวลาทําปุ๋ยอินทรีย์ ก .1.3 ควรบํารุงรักษาและเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ใส่ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน ไว้ในพื้นที่จัดเก็บที่เหมาะสม ก .1.4 ควรเก็บปุ๋ยและปุ๋ยที่เหลือใช้และสารปรับปรุงดินไว้ในบริเวณปลอดภัย เก็บให้พ้นมือเด็ก และห่างจากเครื่องมือและอาหาร ก . 2 นํ้า ก .2.1 หลีกเลี่ยงการให้นํ้าแบบพ่นฝอยในระยะการออกดอกและระยะติดผล เนื่องจากอาจจะทําให้ เพิ่มอัตราการแพร่กระจายของสปอร์และเพิ่มโอกาสการเข้าทําลายของราที่สร้าง OTA ในเมล็ดโกโก้ ก .2.2 นํ้าที่ใช้สําหรับละลายปุ๋ยและวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ใช้ในการผลิตโกโก้ ควรมีคุณภาพ ที่ไม่ทําให้ประสิทธิภาพในการละลายปุ๋ยและวัตถุอันตรายทางการเกษตรลดลง ก .2.3 ควรมีการบํารุงรักษาระบบการให้นํ้าและดูแลให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ เพื่อเป็นการลดการสูญเสีย นํ้า และต้นโกโก้ได้รับนํ้าเพียงพอ ก .2.4 ควรมีการอนุรักษ์แหล่งนํ้าและสภาพแวดล้อม เช่น ปล่อยให้มีพืชท้องถิ่น หรือพืชที่ช่วยป้องกัน การพังทลายของดิน ซึ่งขึ้นตามแนวตลิ่งของลํานํ้า ( ระยะอย่างน้อย 5 m) ซึ่งช่วยไม่ให้เกิด การพังทลายของดินริมตลิ่ง กรองสารเคมีทางการเกษตร และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นํ้า
มกษ . 5912- 25 66 14 ก .2.5 ควรมีวิธีการให้นํ้าที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตามความต้องการของพืชและความชื้นของดิน เพื่อลดการสูญเสียนํ้าและลดความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ปลูกและพื้นที่ โดยรอบ ก .2.6 เลือกแหล่งปลูกที่มีปริมาณนํ้าเพียงพอที่จะใช้ในการผลิตพืชให้มีคุณภาพ ก .3 การจัดการศัตรูพืชและโรคพืช ก .3.1 การตัดแต่งกิ่งอย่างสมํ่าเสมอ นอกจากช่วยให้ต้นโกโก้มีทรงพุ่มที่เหมาะสม ต้นมีความสมบูรณ์ ยังช่วยป้องกันและลดการระบาดของศัตรูพืชและโรค โดยเฉพาะแมลงทําลายผลโกโก้ และผลเน่าดํา โดยเกษตรกรควรตัดกิ่งที่เป็นโรค - แมลงทําลาย รวมถึงตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์ หรือผลที่ถูกทําลาย จากโรค - แมลงซึ่งแห้งติดต้นออก เพื่อขจัดแหล่งเพาะขยายพันธุ์ของโรค - แมลง ก .3.2 ควรทําความสะอาดและฆ่าเชื้อเครื่องมือที่ใช้ตัดแต่งกิ่งก่อนใช้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน และดูแล ให้มีความคมอยู่เสมอ ก .3.3 มีการดูแลรักษาความสะอาดในสวน มีการกําจัดผลโกโก้ กิ่ง และต้นพืชอื่นที่เป็นโรคอย่างสมํ่าเสมอ ก .3.4 เมื่อต้นโกโก้แก่แล้วหรือให้ผลผลิตน้อยลง ควรฟื้นฟูโดยการติดตาจากพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง หรือปลูกใหม่ทดแทน ก .4 วัตถุอันตรายทางการเกษตร ก .4.1 เลือกใช้เครื่องพ่นสารเคมีและอุปกรณ์รวมทั้งวิธีการพ่นสารเคมีที่ถูกต้อง โดยตรวจสอบ เครื่องพ่นสารเคมีให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ปฏิบัติ ตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร ก .4.2 มีเอกสารคําแนะนําการปฏิบัติกรณีที่มีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินแสดงไว้ให้เห็นชัดเจน ในบริเวณเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรและสารเคมี ก .4.3 กรณีที่มีการฉีดพ่นวัตถุอันตรายทางการเกษตรในที่สาธารณะ ควรจัดทําเครื่องหมายเตือน เพื่อให้ผู้สัญจรผ่านทราบว่าบริเวณดังกล่าวมีการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เพื่อป้องกัน อันตรายจากการได้รับสัมผัส ก . 5 การเก็บเกี่ยว ก .5.1 จัดให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่เหมาะสมและเพียงพอในการเก็บเกี่ยว ก .5.2 ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและ อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ก .5.3 หากผลโกโก้ที่เก็บยังไม่สุก จะทําให้การแยกเมล็ดโกโก้ออกจากผลทําได้ยาก ทําให้การหมัก ไม่สมบูรณ์และเกิดข้อบกพร่อง เช่น เมล็ดสีเทาหินชนวน
15 มกษ . 5912- 25 66 ก .6 การจัดการ การพักผลผลิต การเก็บรักษา ก .6.1 ใช้วัสดุที่สามาถป้องกันความชื้นได้ปูรองพื้นก่อนวางกระสอบ และจัดเรียงให้ห่างจากผนัง เพียงพอเพื่อเกิดการระบายอากาศได้ดี และสะดวกต่อการเข้าทําความสะอาด และตรวจสอบ ความเรียบร้อย หากเป็นไปได้ควรวางกระสอบบนชั้นที่ห่างจากพื้นไม่น้อยกว่า 15 cm ห่างจาก ฝาหนังไม่น้อยกว่า 50 cm และห่างจากหลังคาไม่น้อยกว่า 100 cm ก .7 การกําจัดของเสียและของที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ก .7.1 หลีกเลี่ยงการทิ้งของเสียอินทรีย์ที่ยังไม่ย่อยสลายในสวนหรือบริเวณรอบสวน กรณีที่ต้องการหมัก ทําเป็นปุ๋ย ให้จัดพื้นที่ดําเนินการโดยเฉพาะสําหรับการหมัก ก .8 บุคลากร ก .8.1 กรณีผู้ปฏิบัติงานเจ็บป่วยควรรายงานให้หัวหน้างานทราบเพื่อตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ก . 9 เอกสาร บันทึกข้อมูล และการตามสอบ ก .9.1 มีการจัดเก็บเอกสารและบันทึกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบและนํามาใช้ และมีการทบทวนการปฏิบัติงานด้านการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ก .9.2 จัดทําบัญชีรายชื่อและบันทึกข้อมูลปัจจัยการผลิต แหล่งที่มา และรายละเอียดเฉพาะของปัจจัย การผลิตที่สําคัญ เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ธาตุอาหารเสริม วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ใช้ใน กระบวนการผลิต พร้อมทั้งระบุรายการ . ปริมาณ วันเดือนปีที่จัดซื้อ
มกษ . 5912- 25 66 16 ภาคผนวก ข ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ตัวอย่างมาตรฐานคุณภาพดิน ตารางที่ ข . 1 มาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการค้าขาย เกษตรกรรม และกิจการอื่นๆ ดัชนีคุณภาพดิน หน่วย ค่ามาตรฐาน 1 . โลหะหนัก (Heavy metals) ก ) สารหนู (Arsenic) mg/kg ต้องไม่เกิน 25 ข ) แคดเมียม (Cadmium) mg/kg ต้องไม่เกิน 762 ค ) โครเมียม ชนิดเฮ็กซาวาเลนท์ (Hexavalent Chromium) mg/kg ต้องไม่เกิน 212 ง ) ทองแดง (Copper) mg/kg ต้องไม่เกิน 25,040 จ ) ตะกั่ว (Lead) mg/kg ต้องไม่เกิน 800 ฉ ) แมงกานีส (Manganese) mg/kg ต้องไม่เกิน 19,640 ช ) ปรอท (Mercury) mg/kg ต้องไม่เกิน 263 ซ) นิกเกิล (Nickel) mg/kg ต้องไม่เกิน 5,205 ฌ ) ซีลีเนียม (Selenium) mg/kg ต้องไม่เกิน 4,380 2 . สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds) ก ) เบนซีน (Benzene) mg/kg ต้องไม่เกิน 5 ข ) คาร์บอน เตตระคลอไรด์ (Carbon Tetrachloride) mg/kg ต้องไม่เกิน 30 ค ) 1,2- ไ ดคลอโรอีเทน (1,2-Dichloroethane) mg/kg ต้องไม่เกิน 21 ง ) 1,1- ไ ดคลอโรเอทธิลีน (1,1-Dichloroethylene) mg/kg ต้องไม่เกิน 993 จ ) ซิส -1,2- ไ ดคลอโรเอทธิลีน (cis-1,2-Dichloroethylene) mg/kg ต้องไม่เกิน 1,750 ฉ ) ทรานส์ -1,2- ไ ดคลอโรเอทธิลีน (trans-1,2-Dichloroethylene) mg/kg ต้องไม่เกิน 17,500 ช ) ไ ดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) คุณภาพดิน mg/kg ต้องไม่เกิน 2,750 ซ ) เอทธิลเบนซีน (Ethylbenzene) mg/kg ต้องไม่เกิน 19,350 ฌ ) สไตรีน (Styrene) mg/kg ต้องไม่เกิน 33,190 ญ ) เตตระคลอโรเอทธิลีน (Tetrachloroethylene) mg/kg ต้องไม่เกิน 382 ฎ ) โทลูอีน (Toluene) mg/kg ต้องไม่เกิน 40,140 ฏ ) ไ ตรคลอโรเอทธิลีน (Trichloroethylene) mg/kg ต้องไม่เกิน 6
17 มกษ . 5912- 25 66 ตารางที่ ข . 1 มาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการค้าขาย เกษตรกรรม และกิจการอื่นๆ ( ต่อ ) ดัชนีคุณภาพดิน หน่วย ค่ามาตรฐาน ฐ ) 1,1,1- ไ ตรคลอโรอีเทน (1,1,1-Trichloroethane) mg/kg ต้องไม่เกิน 35,400 ฑ ) 1,1,2- ไ ตรคลอโรอีเทน (1,1,2-Trichloroethane) mg/kg ต้องไม่เกิน 6 ฒ ) ไ วนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride) mg/kg ต้องไม่เกิน 1.6 ณ ) ไ ซลีนทั้งหมด (Total Xylenes) mg/kg ต้องไม่เกิน 2,478 3. สารป ้ องกันกําจัดศัตรูพืชและสัตว์ (Pesticides) ก ) อะทราซีน (Atrazine) mg/kg ต้องไม่เกิน 22,955 ข ) คลอเดน (Chlordane) mg/kg ต้องไม่เกิน 64 ค ) คลอไพรีฟอส (Chlorpyrifos) mg/kg ต้องไม่เกิน 819 ง ) 2,4- ดี (2,4-D) mg/kg ต้องไม่เกิน 7,500 จ ) ดีดีที (DDT) mg/kg ต้องไม่เกิน 70 ฉ ) ดีลดริน (Dieldrin) mg/kg ต้องไม่เกิน 1 ช ) ไ กลโฟเสต (Glyphosate) mg/kg ต้องไม่เกิน 65,590 ซ ) เฮปตาคลอร์ (Heptachlor) mg/kg ต้องไม่เกิน 5 ฌ ) เฮปตาคลอร์ อีพ็อกไซด์ (Heptachlor Epoxide) mg/kg ต้องไม่เกิน 3 ญ ) ลินเดน (Lindane) mg/kg ต้องไม่เกิน 21 ฎ ) พาราควอต ไดคลอไรด์ (Paraquat Dichloride) mg/kg ต้องไม่เกิน 2,950 ฏ ) เพนตะคลอโรฟีนอล (Pentachlorophenol) mg/kg ต้องไม่เกิน 36 4. สารอันตรายอื่นๆ ก ) เบนโซ ( เอ ) ไพรีน (Benzo (a) pyrene) mg/kg ต้องไม่เกิน 1.8 ข ) ไ ซยาไนด์ (Cyanide) mg/kg ต้องไม่เกิน 138 ค ) พีซีบี - 126 (PCB - 126) μg/kg ต้องไม่เกิน 1 ง ) 2,3,7,8 - ทีซีดีดี (2,3,7,8 - TCDD) ng/kg ต้องไม่เกิน 20 หมายเหตุ : 1. วิธีการเก็บตัวอย่างดิน ให้เก็บด้วยเครื่องมือเก็บตัวอย่างทําจากวัสดุสังเคราะห์หรือโลหะปลอดสนิม ที่บริเวณพื้นผิวดินและระดับความลึกต่างๆ ที่ต้องการประเมินการปนเปื้อน และรักษาสภาพตัวอย่างให้ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวกท้า ยประกาศฯ 2. การตรวจสอบคุณภาพดิน ให้ใช้วิธีการวิเคราะห์ตาม Test Methods of Evaluating Solid Waste, Physical/Chemical Methods (SW-846) ขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Environmental Protection Agency) หรือวิธีที่กําหนดไว้ในภาคผนวกท้ายประกาศฯ ( ที่มา : ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กําหนดมาตรฐานคุณภาพดิน ตีพิมพ์ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 54 ง ลงวันที่ 11 มีนาคม 2564 สามารถดาวน์โหลดได้ ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/054/T_0020.PDF)
มกษ . 5912- 25 66 18 ภาคผนวก ค ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ตัวอย่างมาตรฐานคุณภาพนํ้า มาตรฐานคุณภาพนํ้า แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1 . คุณภาพนํ้าผิวดิน ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ . ศ . 2537) ระบุว่า “ แหล่งนํ้าผิวดิน ” หมายถึง แม่นํ้า ลําคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บนํ้า และแหล่งนํ้า สาธารณะอื่นๆ ที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน ซึ่งหมายความรวมถึงแหล่งนํ้าสาธารณะที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน บนเกาะด้วย แต่ไม่รวมถึงนํ้าบาดาลและในกรณีที่แหล่งนํ้านั้นอยู่ติดกับทะเลให้หมายความถึงแหล่งนํ้า ที่อยู่ภายในปากแม่นํ้าหรือปากทะเลสาบ โดยปากแม่นํ้าและปากทะเลสาบให้ถือแนวเขตตามที่กรมเจ้าท่ากําหนด 2 . คุณภาพนํ้าใต้ดิน ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 20 ( พ . ศ . 2543) ระบุว่า “ นํ้าใต้ดิน ” หมายความว่า นํ้าที่อยู่ใต้ดิน และให้หมายความรวมถึง นํ้าบาดาลตามกฎหมาย ว่าด้วยนํ้าบาดาล มาตรฐานคุณภาพนํ้าผิวดิน การกําหนดประเภทแหล่งนํ้าผิวดินมี 5 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 ได้แก่ แหล่งนํ้าที่คุณภาพนํ้ามีสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากนํ้าทิ้งจากกิจกรรม ทุกประเภทและสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ 1) การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน 2) การขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตระดับพื้นฐาน 3) การอนุรักษ์ระบบนิเวศของแหล่งนํ้า ประเภทที่ 2 ได้แก่ แหล่งนํ้าที่ได้รับนํ้าทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ 1) การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ นํ้าทั่วไปก่อน 2) การอนุรักษ์สัตว์นํ้า 3) การประมง 4) การว่ายนํ้าและกีฬาทางนํ้า
19 มกษ . 5912- 25 66 ประเภทที่ 3 ได้แก่ แหล่งนํ้าที่ได้รับนํ้าทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ 1) การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพนํ้า ทั่วไปก่อน 2) การเกษตร ประเภทที่ 4 ได้แก่ แหล่งนํ้าที่ได้รับนํ้าทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ 1) การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพนํ้า เป็นพิเศษก่อน 2) การอุตสาหกรรม ประเภทที่ 5 ได้แก่ แหล่งนํ้าที่ได้รับนํ้าทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ การคมนาคม ตารางที่ ค . 1 มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่า ทาง สถิติ เกณฑ์กําหนดสูงสุด 1/ ตามการแบ่งประเภท คุณภาพนํ้าตามการใช้ประโยชน์ วิธีการตรวจสอบ ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 ประเภท 4 ประเภท 5 1. สี กลิ่น และรส (colour, odour and taste) - - ธ ธ ’ ธ ’ ธ ’ - - 2. อุณหภูมิ (temperature) O C - ธ ธ ’ ธ ’ ธ ’ - เครื่องวัดอุณหภูมิ (thermometer) วัดขณะทําการเก็บ ตัวอย่าง 3. ความเป็นกรด - เบส (pH) - - ธ 5-9 5-9 5-9 - เครื่องวัดความ เป็นกรด - เบส ของนํ้า (pH meter) ตามวิธี หาค่าแบบ Electrometric 4. ออกซิเจนละลาย (DO) 2/ mg/L P20 ธ 6.0 4.0 20 - Azide Modification
มกษ . 5912- 25 66 20 ตารางที่ ค . 1 มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ( ต่อ ) มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่า ทาง สถิติ เกณฑ์กําหนดสูงสุด 1/ ตามการแบ่งประเภท คุณภาพนํ้าตามการใช้ประโยชน์ วิธีการตรวจสอบ ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 ประเภท 4 ประเภท 5 5. บีโอดี (BOD) mg/L P80 ธ 1.5 2.0 4.0 - Azide Modification ที่อุณหภูมิ 20 O C เป็นเวลา 5 วัน ติดต่อกัน 6. แบคทีเรียกลุ่ม โคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria) MPN /100 ml P80 ธ 5,000 20,000 - - Multiple Tube Fermentation Technique 7. แบคทีเรียกลุ่ม ฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria) MPN /100 ml P80 ธ 1,000 4,000 Multiple Tube Fermentation Technique 8. ไนเตรต (NO 3 ) ในหน่วยไนโตรเจน mg/L - ธ 5.0 - - Cadmium Reduction 9. แอมโมเนีย (NH 3 ) ในหน่วย ไนโตรเจน mg/L - ธ 0.5 - Distillation Nesslerization 10. ฟีนอล (Phenols) mg/L - ธ 0.005 - Distillation, 4-Amino antipyrene 11. ทองแดง (Cu) mg/L - ธ 0.1 - Atomic Absorption- Direct Aspiration
21 มกษ . 5912- 25 66 ตารางที่ ค . 1 มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ( ต่อ ) มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่า ทาง สถิติ เกณฑ์กําหนดสูงสุด 1/ ตามการแบ่งประเภท คุณภาพนํ้าตามการใช้ประโยชน์ วิธีการตรวจสอบ ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 ประเภท 4 ประเภท 5 12. นิคเกิล (Ni ) mg/L - ธ 0.1 - Atomic Absorption - Direct Aspiration 13. แมงกานีส (Mn) mg/L - ธ 1.0 - Atomic Absorption - Direct Aspiration 14. สังกะสี (Zn) mg/L - ธ 1.0 - Atomic Absorption - Direct Aspiration 15. แคดเมียม (Cd) mg/L - ธ 0.005* 0.05** - Atomic Absorption - Direct Aspiration 16. โครเมียมชนิด เฮ็กซาวาเล้นท์ (Cr Hexavalent) mg/L - ธ 0.05 - Atomic Absorption - Direct Aspiration 17. ตะกั่ว (Pb) mg/L - ธ 0.05 - Atomic Absorption - Direct Aspiration 18. ปรอททั้งหมด (Total Hg) mg/L - ธ 0.002 - Atomic Absorption-Cold Vapour Technique
มกษ . 5912- 25 66 22 ตารางที่ ค . 1 มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ( ต่อ ) มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่า ทาง สถิติ เกณฑ์กําหนดสูงสุด 1/ ตามการแบ่งประเภท คุณภาพนํ้าตามการใช้ประโยชน์ วิธีการตรวจสอบ ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 ประเภท 4 ประเภท 5 19. สารหนู (As) mg/L - ธ 0.01 - Atomic Absorption - Direct Aspiration 20. ไซยาไนด์ (Cyanide) mg/L - ธ 0.005 - Pyridine- Barbituric Acid 21. กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) - ค่ารังสีแอลฟา (Alpha) - ค่ารังสีเบตา (Beta) Beq/L - ธ 0.1 1.0 - Low Background Proportional Counter 22. สารฆ่าศัตรูพืช และสัตว์ชนิด ที่มีคลอรีนทั้งหมด (Total Organochlorine Pesticides) mg/L - ธ 0.05 - Gas-Chromatography 23. ดีดีที (DDT) μg/L - ธ 1.0 - Gas-Chromatography 24. บีเอชซีชนิด แอลฟ่า (Alpha- BHC) μg/L - ธ 0.02 - Gas-Chromatography 25. ดิลดริน (Dieldrin) μg/L - ธ 0.1 - Gas-Chromatography 26. อัลดริน (Aldrin) μg/L - ธ 0.1 - Gas-Chromatography
23 มกษ . 5912- 25 66 ตารางที่ ค . 1 มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ( ต่อ ) มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่า ทาง สถิติ เกณฑ์กําหนดสูงสุด 1/ ตามการแบ่งประเภท คุณภาพนํ้าตามการใช้ประโยชน์ วิธีการตรวจสอบ ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 ประเภท 4 ประเภท 5 27. เฮปตาคลอร์ และเฮปตาคลอ อีปอกไซด์ (Heptachor & Heptachlorepoxide) μg/L - ธ 0.2 - Gas-Chromatography 28. เอนดริน (Endrin) μg/L - ธ ไม่สามารถตรวจพบได้ตาม วิธีการตรวจสอบที่กําหนด - Gas-Chromatography หมายเหตุ : 1/ กําหนดค่ามาตรฐานเฉพาะในแหล่งนํ้าประเภทที่ 2-4 สําหรับแหล่งนํ้าประเภทที่ 1 ให้เป็นไปตามธรรมชาติ และแหล่งนํ้าประเภทที่ 5 ไม่กําหนดค่า 2/ ค่า DO เป็นเกณฑ์มาตรฐานตํ่าสุด ธ เป็นไปตามธรรมชาติ ธ ’ อุณหภูมิของนํ้าจะต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิตามธรรมชาติเกิน 3 O C * นํ้าที่มีความกระด้างในรูปของ CaCO 3 ไม่เกินกว่า 100 mg/L ** นํ้าที่มีความกระด้างในรูปของ CaCO 3 เกินกว่า 100 mg/L O C องศาเซลเซียส P20 ค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20 จากจํานวนตัวอย่างนํ้าทั้งหมดที่เก็บมาตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง P80 ค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 จากจํานวนตัวอย่างนํ้าทั้งหมดที่เก็บมาตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง mg/L มิลลิกรัมต่อลิตร MPN เอ็ม . พี . เอ็น หรือ Most Probable Number วิธีการตรวจสอบเป็นไปตามวิธีการมาตรฐานสําหรับการวิเคราะห์นํ้าและนํ้าเสีย (Standard Methods for Examination of Water and Wastewater) ซึ่ ง American Public Health Association ( APHA) American Water Works Association (AWWA) และ Water Pollution Control Federation (WPCF) ของสหรัฐอเมริกา ร่วมกันกําหนด ( ที่มา : ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ . ศ . 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ . ศ . 2535 เรื่อง กําหนดมาตรฐานคุณภาพนํ้า ในแหล่งนํ้าผิวดิน ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://pcd.go.th/info_serv/reg_std_water.html)
มกษ . 5912- 25 66 24 ตารางที่ ค .2 มาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน มาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่ามาตรฐาน วิธีการตรวจวัด 1 . สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound) ก ) เบนซีน (Benzene) μg/L ต้องไม่เกิน 5 วิธี Purge and Trap Gas Chromatography หรือ วิธี Purge and Trap Gas Chromatography/Mass Spectrometry หรือวิธีอื่น ที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ข ) คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (Carbon Tetrachloride) μg/L ต้องไม่เกิน 5 ค ) 1,2 - คลอโรอีเทน (1,2-Dichloroethane) μg/L ต้องไม่เกิน 5 ง ) 1,1- ไ ดคลอโรเอทธิลีน (1,1-Dichloroethylene) μg/L ต้องไม่เกิน 7 จ ) ซิส -1,2– ไ ดคลอโรเอทธิลีน (cis-1,2-Dichloroethylene) μg/L ต้องไม่เกิน 70 ฉ ) ทรานส์ -1,2- ไ ดคลอโรเอทธิลีน (trans-1,2-Dichloroethylene) μg/L ต้องไม่เกิน 100 ช ) ไ ดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) μg/L ต้องไม่เกิน 5 ซ ) เอทธิลเบนซีน (Ethylbenzene) μg/L ต้องไม่เกิน 700 วิธี Purge and Trap Gas Chromatography หรือ วิธี Purge and Trap Gas Chromatography/Mass Spectrometry หรือวิธีอื่น ที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ฌ ) สไตรีน (Styrene) μg/L ต้องไม่เกิน 100 ญ ) เตตระคลอโรเอทธิลีน (Tetrachoroethylene) μg/L ต้องไม่เกิน 5 ฎ ) โทลูอีน (Toluene) μg/L ต้องไม่เกิน 1,000 ฏ ) ไตรคลอโรเอทธิลีน (Trichloroethylene) μg/L ต้องไม่เกิน 5 ฐ ) 1,1,1- ไ ตรคลอโรอีเทน (1,1,1-Trichloroethane) μg/L ต้องไม่เกิน 200 ฑ ) 1,1,2- ไ ตรคลอโรอีเทน (1,1,2-Trichloroethane) μg/L ต้องไม่เกิน 5 ฒ ) ไซลีนทั้งหมด (Total Xylenes) μg/L ต้องไม่เกิน 10,000
25 มกษ . 5912- 25 66 ตารางที่ ค .2 มาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน ( ต่อ ) มาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่ามาตรฐาน วิธีการตรวจวัด 2 . โลหะหนัก (Heavy metals) ก ) แคดเมียม (Cadmium) mg/L ต้องไม่เกิน 0.003 วิธี Direct Aspiration/ Atomic Absorption Spectrometry หรือ วิธี Inductively Coupled Plasma/Plasma Emission Spectroscopy หรือวิธีอื่น ที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ข ) โครเมียมชนิดเฮ็กซาวาเล้นท์ (Hexavalent Chromium) mg/L ต้องไม่เกิน 0.05 ค ) ทองแดง (Copper) mg/L ต้องไม่เกิน 1.0 ง ) ตะกั่ว (Lead) mg/L ต้องไม่เกิน 0.01 จ ) แมงกานีส (Manganese) mg/L ต้องไม่เกิน 0.5 ฉ ) นิกเกิล (Nickel) mg/L ต้องไม่เกิน 0.02 ช ) สังกะสี (Zinc) mg/L ต้องไม่เกิน 5.0 ซ ) สารหนู (Arsenic) mg/L ต้องไม่เกิน 0.01 วิธี Hydride Generation/ Atomic Absorption Spectrometry หรือ วิธี Inductively Coupled Plasma/Plasma Emission Spectroscopy หรือวิธีอื่น ที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ฌ ) ซีลีเนียม (Selenium) mg/L ต้องไม่เกิน 0.01 วิธี Hydride Generation/ Atomic Absorption Spectrometry หรือวิธี Inductively Coupled Plasma/Plasma Emission Spectroscopy หรือวิธีอื่น ที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ญ ) ปรอท (Mercury) mg/L ต้องไม่เกิน 0.001 วิธี Cold-Vapor Atomic Absorption Spectrometry/ Plasma Emission Spectroscopy หรือวิธีอื่น ที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ
มกษ . 5912- 25 66 26 ตารางที่ ค .2 มาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน ( ต่อ ) มาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่ามาตรฐาน วิธีการตรวจวัด 3. สารป ้ องกันกําจัดศัตรูพืชและสัตว์ (Pesticides) ก ) คลอเดน (Chlordane) μg/L ต้องไม่เกิน 0.2 วิธี Liquid - Liquid Extraction Gas Chromtography/Mass Spectrometry หรือวิธี Liquid - Liquid Extraction Gas Chromatography (Method I) หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ข ) ดิลดริน (Dieldrin) μg/L ต้องไม่เกิน 0.03 ค ) เฮปตาคลอร์ (Heptachlor) μg/L ต้องไม่เกิน 0.4 ง ) เฮปตาคลอร์ อีพอกไซด์ (Heptachlor Epoxide) μg/L ต้องไม่เกิน 0.2 จ ) ดีดีที (DDT) μg/L ต้องไม่เกิน 2 ฉ ) 2,4- ดี (2,4-D) μg/L ต้องไม่เกิน 30 วิธี Liquid-Liquid Extraction Gas Chromatography หรือวิธีอื่นที่ กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ช ) อะทราซีน (Atrazine) μg/L ต้องไม่เกิน 3 ซ ) ลินเดน (Lindane) μg/L ต้องไม่เกิน 0.2 วิธี Liquid-Liquid Extraction Gas Chromatography (Method I) หรือ วิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ฌ ) เพนตะคลอโรฟีนอล (Pentachlorophenol) μg/L ต้องไม่เกิน 1 วิธี Liquid - Liquid Extraction Chromatography หรือวิธี Liquid - Liquid Extraction Gas 4. สารพิษอื่น ๆ ก ) เบนโซ ( เอ ) ไพรีน (Benzo (a) pyrene) μg/L ต้องไม่เกิน 0.2 วิธี Liquid - Liquid Extraction Chromatography หรือวิธี Liquid- Liquid Extraction Gas Chromatography/Mass Spectrometry หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ข ) ไ ซยาไนด์ (Cyanide) μg/L ต้องไม่เกิน 200 วิธี Pyridine Barbituric Acid หรือ วิธี Colorimetry หรือวิธี Ion Chromatography หรือวิธีอื่น ที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ค ) พีซีบี (PCBs) μg/L ต้องไม่เกิน 0.5 วิธี Liquid - Liquid Extraction Gas Chromatography (Method II) หรือ วิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ
27 มกษ . 5912- 25 66 ตารางที่ ค .2 มาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน ( ต่อ ) มาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน ดัชนีคุณภาพนํ้า หน่วย ค่ามาตรฐาน วิธีการตรวจวัด ง ) ไ วนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride) μg/L ต้องไม่เกิน 2 วิธี Purge and Trap Gas Chromatography หรือวิธี Purge and Trap Gas Chromatography Mass Spectrometry หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ หมายเหตุ : 1. วิธีการตรวจสอบเป็นไปตามวิธีการมาตรฐานสําหรับการวิเคราะห์นํ้าและนํ้าเสีย (Standard Methods for Examination of Water and Wastewater) ซึ่ ง American Public Health Association ( APHA) American Water Works Association (AWWA) และ Water Pollution Control Federation (WPCF) ของสหรัฐอเมริกา ร่วมกันกําหนด หรือตามคู่มือวิเคราะห์นํ้าและนํ้าเสียของสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย 2. วิธีการเก็บและรักษาตัวอย่างนํ้าใต้ดินให้เป็นไปตามที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา ( ที่มา : ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 20 ( พ . ศ . 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ . ศ . 2535 เรื่อง กําหนดมาตรฐานคุณภาพนํ้าใต้ดิน ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 95 ง ลงวันที่ 15 กันยายน 2543 สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ http://pcd.go.th/info_serv/reg_std_water.html)
มกษ . 5912- 25 66 28 ภาคผนวก ง ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ข้อมูลส่วนนี้ให้ไว้เป็นแนวทางให้เกษตรกรใช้ในการควบคุมการผลิตโกโก้ จากเอกสารแผนควบคุมการผลิตโกโก้ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แผนควบคุมการผลิต ประกอบด้วย การเลือกพันธุ์และต้นกล้า การจัดการเพื่อเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดิน การจัดการเพื่อผลิตโกโก้ที่ปลอดภัยจากสารพิษ ตกค้าง การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว โดยการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีควรมีแผนควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้หลักการ ปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือใช้ข้อมูลจากงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับหรือข้อมูลจากทางราชการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านโกโก้ หรือข้อมูลจากคู่ค้า เพื่อกําหนดมาตรการ ควบคุมในแต่ละขั้นตอนที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตผล แผน ขั้นตอนการ ผลิต อันตราย มาตรการควบคุม CP/ CCP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้อง บันทึก 1. การเลือกพันธุ์ และต้นกล้า ต้นอ่อนแอ ผลผลิตตํ่า พันธุ์ปลูกและต้นกล้า ต้องมาจากแหล่งที่ เชื่อถือได้ CP ตรงตามพันธุ์และตามความต้องการ ของตลาด ต้นกล้ามีอายุ 4-6 เดือนหลัง เพาะเมล็ด หรือมีใบจริงไม่น้อยกว่า 2-3 คู่ หรือมีความสูงไม่น้อยกว่า 40 cm ตรวจสอบแหล่งที่มา และประวัติของต้นกล้า เลือกพันธุ์ปลูกที่ตรงตามความต้องการ ของตลาด เลือกต้นกล้าที่มีคุณภาพดี ตรงตาม มาตรฐานพันธุ์จากแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้ พันธุ์และ แหล่งที่มา ของต้นกล้า
29 มกษ . 5912- 25 66 แผน ขั้นตอนการ ผลิต อันตราย มาตรการควบคุม CP/ CCP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้อง บันทึก 2. การจัดการ เพื่อเสริม ความสมบูรณ์ ของต้น 2.1 การใส่ปุ๋ย เพื่อเสริมความ สมบูรณ์ต้น ความสมบูรณ์ ต้นตํ่า ผลผลิตตํ่า และด้อย คุณภาพ ใส่ปุ๋ยตามคําแนะนํา CP ต้นมีความสมบูรณ์น้อยกว่า 50% ต้นโกโก้มีใบน้อย ใบด้าน ไม่แตกยอดใหม่ ไม่สมบูรณ์ แสดงอาการขาดธาตุ กิ่งเสียหายจากศัตรูโกโก้ มากกว่า 20% ของพื้นที่ ใบทั้งต้นและจํานวนกิ่ง ทั้งต้นตามลําดับ ใส่ปุ๋ยเคมีทางดินสูตร 12-12-17 ต้นละ 1 kg แบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้นและ กลางฤดูฝนเพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อน และการพัฒนาการของใบอ่อน ชนิด อัตรา และปริมาณ การใส่ปุ๋ยทาง ดิน 2.2 การให้นํ้า ในช่วงแล้ง ความสมบูรณ์ ต้นตํ่าและ ผลผลิตด้อย คุณภาพ ให้นํ้าในช่วงแล้ง ร่วมกับการใช้วัสดุคลุม โคน CP ต้นโทรม มีอาการใบเหลืองและ ทิ้งใบ ฝนทิ้งช่วงติดต่อกัน นานกว่า 3 เดือน ติดต่อกัน ให้นํ้า ใช้วัสดุคลุมโคนต้น เช่น ฟางข้าว เดือนที่มี การให้นํ้า 2.3 การ ป้องกันกําจัด แมลงศัตรูพืชที่ สําคัญ ต้นโทรม และผลผลิต ลดลง ป้องกันกําจัดตาม คําแนะนํา CP สํารวจพบการทําลายของแมลงศัตรู โกโก้ เช่น มวนโกโก้ ด้วงกินใบ หนอนเจาะลําต้น หนอนเจาะผล เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน บนใบ กิ่ง ลําต้น และผลโกโก้ มากกว่า 20% ของส่วนของพืชที่สํารวจ มวนโกโก้ : ดูดกิน นํ้าเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ผลอ่อนและผลโกโก้ เมื่อผลโกโก้ในแปลง มีขนาดเล็กกว่า 5 - 7 cm ประมาณ 70% ควรพ่น สารเคมีป้องกันกําจัดมวน โกโก้ เพราะเป็นขนาดที่ พ่นด้วย คาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นด้วย แลมบ์ดา - ไซฮาโลทริน (lambda cyhalothrin) 2.5% EC อัตรา 10 มล . ต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นด้วย ไตรอะโซฟอส (triazophos) 40% EC อัตรา 20 มล . ต่อนํ้า 20 ลิตร ชนิด อัตรา และปริมาณ สารเคมีที่ใช้ วิธีการ ป้องกันกําจัด นอกเหนือ จากการใช้ สารเคมี
มกษ . 5912- 25 66 30 แผน ขั้นตอน การผลิต อันตราย มาตรการควบคุม CP/ CCP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้อง บันทึก ผลโกโก้จะได้รับ ความเสียหายมากเมื่อถูก มวนโกโก้เข้าทําลาย และ ควรทําลายแหล่งที่อยู่ อาศัย โดยเก็บผลโกโก้ ที่ตกค้างในแปลงออก พ่นด้วย ไบเฟนทริน (bifenthrin) 2.5% EC อัตรา 20 มล . ต่อนํ้า 20 ลิตร แมลงกินใบโกโก้ : กัดกินใบอ่อนโกโก้ รองก้นหลุมด้วยไดโนทีฟูแรน (dinotefuran) 1% GR 2 กรัม ( ต้นปลูกใหม่ ) พ่นด้วยคาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 25-30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร เมื่อระบาดรุนแรง และใช้สารจับใบร่วมด้วย โดยพ่นบริเวณส่วนยอดตั้งแต่ใบที่ 1-5 หนอนเจาะลําต้น : เจาะทําลายต้นและ กิ่งโกโก้ ตั้งแต่บริเวณ โคนต้นถึงกลางต้น / กิ่ง ตัดกิ่งที่หนอนเจาะ นําไปทําลายนอกแปลง ถ้ามีการระบาดมาก พ่นด้วยคาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หนอนเจาะผลโกโก้ : เจาะทําลายผลโกโก้ที่มี อายุ 2 เดือนขึ้นไป เก็บผลที่ถูกหนอนเจาะ นําไปทําลายทิ้ง ห่อผลด้วยถุงพลาสติกที่ตัดปลายถุง เพื่อระบายนํ้า
31 มกษ . 5912- 25 66 แผน ขั้นตอนการ ผลิต อันตราย มาตรการควบคุม CP/ CCP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้อง บันทึก เพลี้ยแป ้ ง และเพลี้ยอ่อน : ดูดกินนํ้าเลี้ยงบริเวณ ยอดอ่อน ขั้วผล และบริเวณร่องผล เก็บส่วนที่พบเพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยอ่อน นําไปทําลายทิ้งนอกแปลงกําจัดมดโดย การใช้คาร์บาริล (carbaryl) 85% WP โรยตามต้นที่มีมดอยู่ 2.4 การป้องกัน กําจัดสัตว์ศัตรูที่ สําคัญ ผลผลิต ลดลง ป้องกันกําจัดตาม คําแนะนํา CP สํารวจและประเมิน ผลโกโก้ พบมี การทําลายเกิน 20% ของผลผลิต หนูท้องขาวบ้าน หรือ หนูท้องขาวสวน : กัดกินผลโกโก้ บริเวณ ใกล้ขั้วผลจนเป็นรูกลม วางกับดักตามพื้นดิน บนต้นไม้ที่มี หนูวิ่งผ่าน ใช้โปรโตซัว จํานวน 20-25 ก้อนต่อไร่ วาง 1-3 ก้อนต่อจุด ใช้โฟลคูมาเฟน จํานวน 50 ก้อนต่อไร่ ชนิด อัตรา และปริมาณ สารเคมีที่ใช้ วิธีการ ป้องกันกําจัด นอกเหนือ จากการใช้ สารเคมี 2.5 การป้องกัน กําจัดโรคโกโก้ที่ สําคัญ ต้นโทรม ผลผลิต ลดลง ป้องกันกําจัดตาม คําแนะนํา CP สังเกตพบอาการโรคกิ่งแห้ง โรค ผลเน่าดํา โรค Thread Blight สํารวจและประเมินอาการ ที่ใบ กิ่ง ผลโกโก้ และ ป้องกันกําจัดตามอาการ และความรุนแรงของโรคที่พบ โรคกิ่งแห้ง : ใบมีขนาด เล็กลง มีจุดกลมสีเขียว กระจายบนใบที่แสดง อาการเหลือง ใบหลุดร่วงง่าย ใบมีอาการแห้งตายระหว่าง เส้นใบและขอบใบ ไม่ควรนําต้นกล้าโกโก้จากแหล่งปลูก ที่เป็นโรคกิ่งแห้งไปปลูกในแหล่งปลูกใหม่ ที่ไม่เคยพบโรคนี้ ทําการตัดแต่งกิ่งอย่างน้อยเดือนละครั้ง เมื่อพบอาการของโรค ผ่ากิ่งดู
มกษ . 5912- 25 66 32 แผน ขั้นตอนการ ผลิต อันตราย มาตรการควบคุม CP/ CCP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้อง บันทึก เป็นสีนํ้าตาลอ่อนอย่าง รวดเร็ว เมื่อผ่าตามยาว ของกิ่งจะพบเส้นสีนํ้าตาล ในเนื้อพบรอยปุ่มเล็ก ๆ กระจายตามเปลือกไม้ หากลอกเปลือกของกิ่งที่ เป็นโรคออกจะพบว่า เปลือกด้านในของเนื้อไม้ จะเปลี่ยนสีไม้ เปลือกของ กิ่งที่เป็นโรคออกจะพบว่า เปลือกด้านในของเนื้อไม้ จะเปลี่ยนสีเป็นสีนํ้าตาล อ่อนอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่า ตามยาวของกิ่งจะพบเส้น สีนํ้าตาลในเนื้อไม้ ภายในท่อนํ้า และตัดกิ่งห่างจากจุด ที่สิ้นสุดอาการสีนํ้าตาลอย่างน้อย 30 cm โรคผลเน่าดํา : ผลโกโก้ เริ่มปรากฏอาการจุดฉํ่านํ้า ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล และกลายเป็นสีดํา การให้นํ้าโดยให้ที่โคนต้นหรือให้ตามท่อ หลีกเลี่ยงการใช้สปริงเกลอร์ เก็บผลที่เป็นโรคเผาทําลายนอกแปลง พ่นสารเมทาแลคซิล หรือ ฟอสอีทิล อลูมิเนียม สลับกับสารเคมีไม่ดูดซึม ที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์
33 มกษ . 5912- 25 66 แผน ขั้นตอนการ ผลิต อันตราย มาตรการควบคุม CP/ CCP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้อง บันทึก โรค Thread Blight : พบเส้นใยสีขาวคล้าย เส้นด้ายเจริญคลุมกิ่ง และใบที่ยังเขียวอยู่ และ จะลุกลามไปทั่วจนทําให้ ใบแห้ง ตายและสามารถ ตัดแต่งกิ่งให้แสงส่องทั่วถึงในทรงพุ่ม เพื่อลดความชื้นและเพิ่มการหมุนเวียน อากาศ ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคทันทีและตัดตํ่าลง มาอย่างน้อย 30 cm นําออกไปทําลายนอก แปลง ทําให้กิ่งโกโก้แห้งตายได้ เช่นกัน ในสภาพที่ เหมาะสมเชื้อราจะเจริญ รวมกลุ่มกันและสร้างเป็น ดอกเห็ดเล็ก ๆ ขึ้นตาม กิ่ง ใบโกโก้ ทําความสะอาดเครื่องมือก่อนนําไปใช้ ใหม่ทุกครั้ง กรณีระบาดมาก ใช้สารเคมีคอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์พ่นหลังการตัดแต่งกิ่ง 2.6 การจัดทรง พุ่มให้เหมาะสม ต้นมีการให้ ผลผลิตน้อย การจัดการ แปลงทําได้ ยาก จัดทรงพุ่มตาม คําแนะนํา CP สังเกตทรงพุ่มทึบ หรือมีการติด ผลน้อย ถ้าเป็นต้นโกโก้ที่ปลูก ด้วยเมล็ดควรมีลําต้น เดียว และมีการแตกคา คบที่ความสูง 80-120 cm ถ้าเป็นต้นที่ปลูกจากต้น เปลี่ยนยอด ควรมี 3-5 ลําต้นหลัก ถ้ามีหลายลําต้นควรตัดให้เหลือ ลําต้นเดียว ถ้ามีการแตกคาคบที่ตํ่ากว่า 80 cm ให้ตัดออกและรอให้แตกคาคบใหม่ ชนิด อัตรา และปริมาณ สารเคมีที่ใช้ วิธีการ ป้องกันกําจัด นอกเหนือ จากการใช้ สารเคมี
มกษ . 5912- 25 66 34 แผน ขั้นตอนการ ผลิต อันตราย มาตรการควบคุม CP/C CP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้อง บันทึก 2 . 7 การตัดแต่ง กิ่ง มีกิ่งหรือผล ที่เป็นโรคซึ่ง อาจเป็น ตัดแต่งกิ่งตาม คําแนะนํา CP สังเกตทรงพุ่มทึบ กิ่งหัก กิ่ง / ผล ที่เป็นโรคบนต้น ตัดแต่งกิ่งหลัง การเก็บเกี่ยวผลผลิตชุดใหญ่ หรือ ตัดแต่งกิ่งก่อนเข้าฤดูฝน 1 เดือน กิ่งที่เล็ก หัก หรือไม่ให้ ผลผลิตที่อยู่ในทรงพุ่ม ผลที่เป็นโรคหรือถูก แมลงทําลาย ตัดกิ่งที่เล็ก หัก หรือไม่ให้ผลผลิตที่ อยู่ในทรงพุ่มออก ตัดผลที่เป็นโรค หรือถูกแมลงทําลาย 3. การจัดการเพื่อ ผลิตโกโก้ที่ ปลอดภัยจาก สารพิษตกค้าง ผลผลิตด้อย คุณภาพ ไม่ สอดคล้องกับ แหล่งอาศัย ของแมลง ใ ช้สารเคมีตามที่ระบุไว้ ในการแก้ไขปัญหาใน แผนควบคุมการผลิต โกโก้ CCP ใ ช้สารเคมีเฉพาะที่ระบุไว้ในแผน ควบคุมการผลิตโกโก้ โดยใช้ใน อัตราและเวลาที่ระบุอย่างเคร่งครัด ติดตามการใช้และ ตรวจสอบ บันทึกชนิด อัตรา ปริมาณการใช้ และ ช่วงเวลาที่ใช้สารเคมี ปฏิบัติตามวิธีการแก้ปัญหาใน แผนควบคุมการผลิตโกโก้อย่างเคร่งครัด ชนิด อัตรา ปริมาณการใช้ และช่วงเวลา ที่ใช้สารเคมี ป้องกันกําจัด ศัตรูโกโก้ 4. การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติ หลังการเก็บ เกี่ยว วัตถุประสงค์ ด้านคุณภาพ ไม่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค ผลผลิต เสียหาย ไม่เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ ด้านคุณภาพ 4.1 การเก็บ เกี่ยวผลโกโก้ ผลโกโก้มีอายุเหมาะสม ตามความต้องการของ ตลาด เก็บเกี่ยวด้วย ความระมัดระวัง ไม่ให้ เกิดรอยตัดหรือ บาดแผลบนผลโกโก้ CCP ดูการเปลี่ยนสีของผิวผล การเปลี่ยนสีจะเปลี่ยนจากผลอ่อน สีเขียวเป็นสีเหลือง และจากผลอ่อน สีแดงเป็นสีส้มเหลือง ดูสีของผลโกโก้ ใช้ไม้เคาะผล ถ้าผลสุก เมล็ดจะไม่ติดเปลือก เวลาเคาะผลจะมีเสียงคลอน ไม่เก็บผลอ่อนที่ยังไม่สุก ไม่เก็บผลที่เป็นโรค / แมลงทําลาย เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีลักษณะตามความ ต้องการของตลาด เลือกใช้อุปกรณ์ที่สะอาดและอยู่ใน สภาพพร้อมใช้งาน จํานวน ผลิตผลที่เก็บ เกี่ยว จํานวน ผลิตผล คุณภาพ
35 มกษ . 5912- 25 66 แผน ขั้นตอนการ ผลิต อันตราย มาตรการควบคุม CP/ CCP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้องบันทึก 4.2 การปฏิบัติ หลังการเก็บ เกี่ยวโกโก้ เมล็ดโกโก้มี ความชื้นสูง ผลผลิต มีเศษดิน เศษหินและ สิ่งสกปรก ต่างๆ คละปน เมล็ดโกโก้มี สี กลิ่น ผิดปกติ มีเชื้อรา ไม่ ตรงตาม ความ ต้องการของ ตลาด คัดแยกผลที่มี คุณภาพ สุกพอดี ไม่มีโรคและแมลงทําลาย ทําการหมักทันที หรือสามารถรอได้ 3 - 7 วัน หลังเก็บเกี่ยว หากผลชํ้าหรือ เสียหายไม่ควรเก็บ นานเกิน 1 วัน หลัง เก็บเกี่ยว หมักในกล่อง ตะกร้า ถาด เข่ง หรือ ลังที่ใช้สําหรับหมักที่ สะอาด แห้ง และควร ระวังไม่ให้เมล็ดโกโก้ สัมผัสกับนํ้าใน ระหว่างการหมัก กลับเมล็ดโกโก้ ทุก 2 วัน หรือตาม ความต้องการของ ตลาด CCP เมล็ดโกโก้สมบูรณ์ ไม่มีรอยถูก ทําลาย ความชื้นเมล็ดโกโก้แห้งไม่เกิน 7 % ผลผลิตมีคุณภาพตรงตามความ ต้องการของตลาด ไม่มีการคละ ปนของผลผลิตด้อยคุณภาพ เศษดิน และเศษหิน การผ่าผลควรระวัง ไม่ให้เมล็ดมีรอยเฉือน เพราะอาจทําให้เชื้อราเข้า ทําลายเมล็ดได้ คัดเมล็ดที่สมบูรณ์ เพื่อใช้ในการหมัก ทดลองใช้นิ้วบีบเมล็ด โกโก้แห้ง เปลือกจะแยก ออกจากเมล็ดได้ง่าย อุปกรณ์ในการหมัก ควรอยู่ในสภาพพร้อมใช้ งานและสะอาด ลานตาก / ที่ตากเมล็ด อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และสะอาด ในการตากควรระวัง ป้องกันไม่ให้เมล็ดโกโก้มี การเปียกซํ้า การผ่าผลควรใช้ไม้ทุบ หากใช้วัตถุ มีคมต้องระวังไม่ให้เฉือนถูกเมล็ด เลือกแรงงานที่มีความชํานาญ / ประสบการณ์ในการแปรรูป เลือกใช้อุปกรณ์ที่สะอาดและอยู่ใน สภาพพร้อมใช้งาน นํ้าหนักเมล็ด สดที่ใช้ในการ หมัก นํ้าหนัก เมล็ดแห้งที่ได้ นํ้าหนักเมล็ดลีบ เสียหาย ไม่ได้ คุณภาพ จํานวนวันที่ ตากเมล็ดโกโก้ และสภาพ ภูมิอากาศ
มกษ . 5912- 25 66 36 แผน ขั้นตอนการ ผลิต อันตราย มาตรการ ควบคุม CP/ CCP ค่าควบคุม การเฝ้าระวัง การแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้อง บันทึก ตากเมล็ดโกโก้บน ลานตากที่สะอาดและ แห้ง ความหนาของ กองประมาณ 5 ซม . กลับเมล็ดโกโก้วันละ 3-5 ครั้ง 4.3 การเก็บรักษา เมล็ดโกโก้แห้ง เมล็ดโกโก้มี ความชื้นสูง มีเชื้อรา / แมลงทําลาย เก็บรักษาในโรงเก็บ ที่สะอาด ไม่เปียกชื้น มีการถ่ายเทอากาศดี CCP เมล็ดโกโก้มีความชื้นไม่เกิน 7% ไม่มีเชื้อราและแมลงทําลาย มีการวางแผนการทําความ สะอาดและบํารุงรักษา และ มีการตรวจสอบ ทําความ สะอาด ซ่อมแซมโรงเก็บ เป็นระยะๆ เก็บรักษาเมล็ดโกโก้ในบรรจุภัณฑ์ ที่สะอาด แข็งแรง ป้องกันความชื้นได้ จัดวางถุงที่บรรจุเมล็ดโกโก้บนพา เลทและห่างจากผนังเพื่อให้อากาศ ถ่ายเทได้ดี หมั่นตรวจสอบระวังการเข้า ทําลายของแมลง ความชื้นใน โรงเก็บ การพบแมลง หมายเหตุ : ตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร กําหนดให้ความชื้นที่ไม่เกิน 7% เพื่อเป็นค่าควบคุมสําหรับจุดวิกฤติ เพื่อให้ความชื้นสุดท้ายของเมล็ดโกโก้ตํ่ากว่า 8% โดยมวล
37 มกษ . 5912- 25 66 ภาคผนวก จ ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ลักษณะผล สีผล ลักษณะและขนาดผลโกโก้พันธุ์ต่างๆ ภาพที่ จ . 1 พันธุ์ลูกผสมชุมพร 1 ภาพที่ จ . 2 พันธุ์ ICS 6
มกษ . 5912- 25 66 38 ภาพที่ จ .3 พันธุ์ ICS 40 ภาพที่ จ .4 พันธุ์ ICS 95
39 มกษ . 5912- 25 66 ภาพที่ จ . 5 พันธุ์ UF676 ที่มา : ได้รับความอนุเคราะห์ภาพจากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร
มกษ . 5912- 25 66 40 ภาคผนวก ฉ ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ภาพแสดงผลโกโก้ที่ไม่ได้คุณภาพ ( ข้อ 3.7.3) ภาพที่ ฉ . 1 ผลโกโก้แตก ภาพที่ ฉ . 2 ผลโกโก้เน่าจากโรค ภาพที่ ฉ .3 ผลโกโก้ที่มีโรคเข้าทําลาย ภาพที่ ฉ .4 ผลโกโก้ไม่สุกแก่
41 มกษ . 5912- 25 66 ภาพที่ ฉ . 5 ผลโกโก้ที่มีเมล็ดงอก ภาพที่ ฉ .6 ผลโกโก้ถูกสัตว์ฟันแทะทําลาย ภาพที่ ฉ . 7 ผลโกโก้เหี่ยว
มกษ . 5912- 25 66 42 ภาพที่ ฉ .8 ผลมัมมี่ ที่มา : ได้รับความอนุเคราะห์ภาพจากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายปฐม มีแก้ว นายโชคดี ศรณ์วิโรจน์ และนายสมบูรณ์ พุ่มสง
43 มกษ . 5912- 25 66 ภาคผนวก ช ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ภาพกระบวนการการผลิตเมล็ดโกโก้แห้ง ภาพที่ ช . 1 คัดแยกผลผลิต ภาพที่ ช . 2 การหมัก
มกษ . 5912- 25 66 44 ภาพที่ ช .3 การทําแห้งโดยการตากเมล็ด ภาพที่ ช .4 เมล็ดโกโก้แห้ง ที่มา : ได้รับความอนุเคราะห์ภาพจากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนายปฐม มีแก้ว
45 มกษ . 5912- 25 66 ภาคผนวก ซ ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ตัวอย่างแบบบันทึก ข้อ 3 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 1 ข้อมูลทั่วไปของเจ้าของพื้นที่ปลูก ( หน้า 1 / 5 ) ข้อมูลประจําปี … ชื่อเกษตรกร ( นาย / นาง / นางสาว )… นามสกุล … หมายเลขประจําตัวเกษตรกร แปลงที่ … รหัสแปลงปลูก … ปีที่ปลูก … พื้นที่ … ไร่ ที่อยู่เกษตรกร ชื่อหมู่บ้าน … หมู่ที่ … เลขที่ … ถนน … ตรอก / ซอย … แขวง / ตําบล … เขต / อําเภอ … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … e-mail…website… ชื่อผู้ติดต่อหรือผู้แทน ( นาย / นาง / นางสาว )… นามสกุล … ที่อยู่ ชื่อหมู่บ้าน … หมู่ที่ … เลขที่ … ถนน … ตรอก / ซอย … แขวง / ตําบล … เขต / อําเภอ … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … e-mail…website… ลงชื่อเกษตรกร … (…) ลงชื่อผู้ติดต่อหรือผู้แทน … (…)
มกษ . 5912- 25 66 46 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 1 ข้อมูลทั่วไปของเจ้าของพื้นที่ปลูก ( หน้า 2 / 5 ) รหัสแปลงปลูก … จํานวน … ไร่ ที่ตั้งแปลงปลูก เลขที่ … หมู่ที่ … ตําบล … อําเภอ … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … พิกัด GPS… แผนผังที่ตั้งแปลงปลูก แสดงเส้นทางคมนาคม และสถานที่สําคัญในบริเวณใกล้เคียง เพื่ออํานวยความสะดวก ในการเดินทางไปยังแปลงปลูก N
47 มกษ . 5912- 25 66 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 1 ข้อมูลทั่วไปของเจ้าของพื้นที่ปลูก ( หน้า 3/ 5 ) 1 . ชนิดโกโก้ที่ปลูก 2. พันธุ์ที่ปลูก ( ถ้าทราบ ) … ระยะปลูก … จํานวนต้น … วันที่ปลูก / อายุต้น … แหล่งที่มาของพันธุ์และต้นกล้า เพาะพันธุ์เอง จัดซื้อจากแหล่งอื่น ( กรุณากรอกรายละเอียดในตาราง ) ชื่อพันธุ์ วัน เดือน ปี ที่จัดซื้อ ปริมาณที่จัดซื้อ ( ต้น ) แหล่งที่มาของต้นพันธุ์ * หมายเหตุ * ระบุชื่อหน่วยงาน บริษัท หรือห้างร้าน ที่ซื้อหรือได้ต้นพันธุ์มา 3 . นํ้า คุณภาพนํ้า มีผลวิเคราะห์นํ้า ไม่มีผลวิเคราะห์นํ้า ระบบนํ้าที่ใช้ นํ้าฝน บ่อบาดาล นํ้าชลประทาน สระ / บ่อขุด คลอง / แม่นํ้า / ลําธาร อื่นๆ … 4. ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีผลวิเคราะห์ดิน ไม่มีผลวิเคราะห์ดิน ประเภทดิน ดินร่วน ดินร่วนปนทราย อื่นๆ …
มกษ . 5912- 25 66 48 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 1 ข้อมูลทั่วไปของเจ้าของพื้นที่ปลูก ( หน้า 4 /5) 5. ประวัติการใช้พื้นที่การผลิต ก่อนปลูกพืชปัจจุบันย้อนหลัง 2 ปี พื้นที่ไม่เคยใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พื้นที่ใช้ประโยชนทางการเกษตร ชนิดของพืชที่เคยปลูกมาก่อน ปีที่ 1… ปีที่ 2 … พื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น อุตสาหกรรม หรือ ที่ทิ้งขยะ … 6 . ประวัติการแพร่ระบาดของศัตรูพืช และการกําจัด ชื่อ ศัตรูพืช … ปีที่ระบาด … พื้นที่ระบาด ร้อยละ … การกําจัด … ชื่อ ศัตรูพืช … ปีที่ระบาด … พื้นที่ระบาด ร้อยละ … การกําจัด … ชื่อ ศัตรูพืช … ปีที่ระบาด … พื้นที่ระบาด ร้อยละ … การกําจัด … ชื่อ ศัตรูพืช … ปีที่ระบาด … พื้นที่ระบาด ร้อยละ … การกําจัด … 7. ประวัติการใช้วัสดุปรับปรุงดินและปุ๋ย ( บันทึกข้อมูลในรอบการผลิตที่ผ่านมา อย่างน้อย 2 ปี ) ปุ๋ยเคมี สูตร … อัตรา … ช่วงเวลา … จํานวน … ครั้ง / ปี สูตร … อัตรา … ช่วงเวลา … จํานวน … ครั้ง / ปี สูตร … อัตรา … ช่วงเวลา … จํานวน … ครั้ง / ปี ปุ๋ยอินทรีย์ / นํ้าหมัก … … ครั้งที่ … อัตรา … ช่วงเวลา … ครั้งที่ … อัตรา … ช่วงเวลา … วัสดุปรับปรุงดิน และอื่นๆ … ชนิด … อัตรา … ช่วงเวลา … จํานวน … ครั้ง / ปี ชนิด … อัตรา … ช่วงเวลา … จํานวน … ครั้ง / ปี
49 มกษ . 5912- 25 66 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 1 ข้อมูลทั่วไปของเจ้าของพื้นที่ปลูก ( หน้า 5 / 5 ) 8. ข้อมูลอื่น ๆ … … … แผนผังภายในแปลงปลูก ( ระบุแปลงปลูก สถานที่เก็บและผสมสารเคมี สถานที่เก็บปัจจัยการผลิต แหล่งนํ้า อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ปรากฎภายในแปลงปลูก ) N
มกษ . 5912- 25 66 50 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 2 แบบบันทึกข้อมูลการสํารวจศัตรูพืชและการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ( หน้า 1/2) ชื่อเกษตรกร นาย / นาง / นางสาว … นามสกุล … หมายเลขประจําตัวเกษตรกร รหัสประจําแปลง … .. … ปีที่ปลูก … 1 . การสํารวจการเข้าทําลายของศัตรูพืชและการจัดการ ไม่พบศัตรูพืช พบศัตรูพืช ( โปรดกรอกรายละเอียดด้านล่าง ) 1.1 โรคโกโก้ โรคกิ่งแห้ง ความรุนแรง น้อย ปานกลาง มาก ป้องกันกําจัดโดย … โรคผลเน่าดํา ความรุนแรง น้อย ปานกลาง มาก ป้องกันกําจัดโดย … โรค thread blight ความรุนแรง น้อย ปานกลาง มาก ป้องกันกําจัดโดย … อื่นๆ … ความรุนแรง น้อย ปานกลาง มาก ป้องกันกําจัดโดย … 1.2 แมลง หนอนเจาะลําต้น ความรุนแรง น้อย ปานกลาง มาก ป้องกันกําจัดโดย … หนอนเจาะผล ความรุนแรง น้อย ปานกลาง มาก ป้องกันกําจัดโดย … มวนโกโก้ ความรุนแรง น้อย ปานกลาง มาก ป้องกันกําจัดโดย … อื่นๆ … ความรุนแรง น้อย ปานกลาง มาก ป้องกันกําจัดโดย …
51 มกษ . 5912- 25 66 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ .2 แบบบันทึกข้อมูลการสํารวจศัตรูพืชและการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ( หน้า 2/2) 2. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ขั้นตอนการผลิต การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การป้องกัน ด้วยวิธีอื่น ( ระบุ ) ชื่อผู้ปฏิบัติ วัน / เดือน / ปีที่ใช้ ชื่อสาร ร้อยละของสาร ออกฤทธิ์และสูตร ที่ใช้ อัตราการใช้ * ปริมาณสารที่ใช้ ทั้งแปลง เพาะปลูก * หมายเหตุ อัตราการใช้ให้ระบุตามลักษณะการใช้ เช่น กรัม / ต้น หรือ กรัม / ไร่ หรือ ซีซี ( มิลลิลิตร )/ นํ้า 20 ลิตร
มกษ . 5912- 25 66 52 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 3 แบบบันทึกรายการและรายละเอียดปัจจัยการผลิต ชื่อเกษตรกร นาย / นาง / นางสาว … นามสกุล … หมายเลขประจําตัวเกษตรกร รหัสแปลงปลูก … ปีที่ดําเนินการปลูก … … … ลําดับที่ รายการปัจจัยการผลิต วัน เดือน ปีที่ จัดซื้อ ปริมาณ แหล่งที่ได้มา ผู้บันทึก
53 มกษ . 5912-25 66 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 4 แบบบันทึกข้อมูลการใช้ปุ๋ย / วัสดุปรับปรุงดิน ชื่อเกษตรกร นาย / นาง / นางสาว … นามสกุล … หมายเลขประจําตัวเกษตรกร รหัสประจําแปลง … .. … ปีที่ปลูก … 1. ผลวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีผลวิเคราะห์ดิน ( ระบุรายละเอียด ) … … ไม่มีผลวิเคราะห์ดิน 2. การใช้ปุ๋ย / วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ … สูตร … อัตรา … ช่วงเวลา ( วัน เดือน ปี ) … สูตร … อัตรา … ช่วงเวลา ( วัน เดือน ปี ) … ครั้งที่ … สูตร … อัตรา … ช่วงเวลา ( วัน เดือน ปี ) … สูตร … อัตรา … ช่วงเวลา ( วัน เดือน ปี ) … ปุ๋ยอินทรีย์ / ชีวภาพ … ครั้งที่ … อัตรา … ช่วงเวลา ( วัน เดือน ปี ) … ครั้งที่ … อัตรา … ช่วงเวลา ( วัน เดือน ปี ) … วัสดุปรับปรุงดิน และอื่นๆ … ครั้งที่ … ชนิด … อัตรา … ช่วงเวลา ( วัน เดือน ปี ) … ครั้งที่ … ชนิด … อัตรา … ช่วงเวลา ( วัน เดือน ปี ) …
มกษ . 5912- 25 66 54 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ .5 แบบบันทึกการหมักและการทําแห้งเมล็ดโกโก้ ( หน้า 1/ 3 ) ชื่อเกษตรกร นาย / นาง / นางสาว … นามสกุล … หมายเลขประจําตัวเกษตรกร รหัสประจําแปลง … .. … ปีที่ปลูก … 1 . การเก็บเกี่ยว 1.1 ลักษณะผลโกโก้ที่เก็บเกี่ยว สีของผิวผลที่มีการเปลี่ยนสี เขย่าคลอน 1.2 ผลโกโก้ที่ได้ ขายสด … kg วันที่เก็บเกี่ยว … วันที่ขาย … .. ผู้รับซื้อ … � นําไปหมักเพื่อแปรรูปเป็นเมล็ดโกโก้แห้ง ( กรอกรายละเอียดในตาราง ) รุ่นที่ วัน เดือน ปี ที่เก็บเกี่ยว ผลโกโก้ที่เก็บเกี่ยวทั้งหมด (kg) ผลโกโก้ที่ผ่านการคัดแยก (kg) วัน เดือน ปี ที่เริ่มต้นหมักเมล็ด โกโก้ วัน เดือน ปี ที่เริ่มตาก / ทํา แห้งเมล็ด โกโก้ ผู้บันทึก
55 มกษ . 5912- 25 66 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ .5 แบบบันทึกการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ( หน้า 2/ 3 ) 2 . การลดความชื้นเมล็ดโกโก้ พื้นที่ลานตาก … ตารางเมตร รุ่นที่ … วันที่เริ่มตาก … วันที่ตากเสร็จ … รุ่นที่ … วันที่เริ่มตาก … วันที่ตากเสร็จ … ให้ทําเป็นตาราง รุ่นที่ วันที่ตาก นํ้าหนักเมล็ดดี เสีย รายการ ข้อสังเกตุ 1 . ลักษณะลานตาก แคร่ไม้ไผ่ อื่นๆ … ตากหนาน้อยกว่า 5 cm ตากหนาประมาณ 5 cm ตากหนามากกว่า 5 cm 2 . วัสดุรองพื้นตาก ไ ม่มี ตาข่าย / ผ้าลี่ / ผ้าแยงฟ้า ผ้าใบ / พลาสติก อื่นๆ … 3 . การทําความสะอาดลานตาก ไ ม่ปฏิบัติ กวาด วิธีอื่น … 4 . วิธีการตาก ตากกลางแจ้ง ตากในโรงเรือน
มกษ . 5912- 25 66 56 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ .5 แบบบันทึกการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ( หน้า 3 / 3 ) 2 . การลดความชื้นเมล็ดโกโก้ ( ต่อ ) รุ่นที่ วันที่ตาก ความหนาของชั้น เมล็ดโกโกที่ตาก (cm) จํานวนครั้งที่กลับ ( ครั้ง ) สภาพอากาศ นํ้าหนักเมล็ด โกโก้แห้ง (kg) ผู้บันทึก
57 มกษ . 5912- 25 66 ตัวอย่างแบบบันทึกที่ ซ . 6 แบบบันทึกการเก็บรักษา และการจําหน่ายผลิตผล ชื่อเกษตรกร นาย / นาง / นางสาว … นามสกุล … หมายเลขประจําตัวเกษตรกร รหัสประจําแปลง … .. … ปีที่ปลูก … การเก็บรักษา และการจําหน่ายเมล็ดโกโก้ รุ่นที่ ปริมาณผลผลิต (kg) ภาชนะบรรจุ สถานที่เก็บ ผู้รับซื้อผลิตผล
มกษ . 5912- 25 66 58 ภาคผนวก ฌ หน่วย หน่วยและสัญลักษณ์ที่ใช้ในมาตรฐานนี้ และหน่วย SI (International System of Units หรือ Le Système International d’ Unitès) ที่ยอมรับให้ใช้ได้ มีดังนี้ รายการ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์หน่วย มวล กิโลกรัม (kilogram) kg ความยาว เซนติเมตร (centimeter) cm เมตร (meter) m พื้นที่ ตารางเมตร (square meter) m 2 ความเข้มข้น นาโนกรัมต่อกิโลกรัม (nanogram/kilogram) ng/kg มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (milligram/kilogram) mg/kg ไมโครกรัมต่อลิตร (milligram/litre) μg/L