ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : เมล็ดโกโก้ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : เมล็ดโกโก้ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : เมล็ดโกโก้ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ด้วยคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นสมควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เมล็ดโกโก้ เป็นมาตรฐานทั่วไป ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 16 แห่งพระราชบั ญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ประกอบมติคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในการประชุม ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงออกประกาศกาหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : เมล็ดโกโก้ มาตรฐานเลขที่ มกษ. 5708 - 256 6 ไว้เป็นมาตรฐานทั่วไป ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 25 6 6 ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 171 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กรกฎาคม 2566
มกษ . 5708-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตร เมล็ดโกโก้ 1. ขอบข่าย มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ ใช้กับเมล็ดโกโก้ (cocoa beans) ตามนิยามผลิตภัณฑ์ข้อ 2.1 ที่บรรจุในภาชนะบรรจุเพื่อจําหน่ายแก่ผู้บริโภคหรือนําไปแปรรูปในอุตสาหกรรม 2. คําอธิบายสินค้า 2.1 นิยามผลิตภัณฑ์ เมล็ดโกโก้ในมาตรฐานนี้ได้มาจากผลของต้นโกโก้ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Theobroma cacao L. อยู่ในวงศ์ Malvaceae เป็นเมล็ดโกโก้เต็มเมล็ดผ่านการหมักและทําให้แห้งอย่างสมํ่าเสมอ โดยไม่ผ่านการคั่วและกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ด ( ตัวอย่างดังภาพที่ ก .1) ก่อนบรรจุในภาชนะ บรรจุที่ป้องกันการปนเปื้อนและความชื้นจากภายนอกเข้าสู่ภาชนะบรรจุ 2.2 นิยามข้อบกพร่อง 2.2.1 เมล็ดขึ้นรา (mouldy bean) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่สามารถมองเห็นราภายนอกเมล็ดได้ด้วยตาเปล่า หรือเมื่อผ่าเมล็ดพบราขึ้นภายในเมล็ด ( ภาพที่ ก .2) 2.2.2 เมล็ดที่มีสีเทาหินชนวน (slaty bean) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่มีสีเทาหินชนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง ของพื้นที่ผิวหน้าตัดของเนื้อในเมล็ด ที่ผ่าตามยาวด้านกว้างผ่านกลางเมล็ด (cut test) ( ภาพที่ ก .3) 2.2.3 เมล็ดเสียหายจากแมลง (insect damaged bean) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่มีร่องรอยการเข้าทําลาย จากแมลง ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ภายในเมล็ดอาจพบแมลงไม่ว่าจะอยู่ในระยะใด ของการเจริญเติบโต ( ภาพที่ ก .4) 2.2.4 เมล็ดงอก (germinated bean) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่เปลือกเริ่มปริแตกจากการเจริญของราก ต้นอ่อน ( ภาพที่ ก .5) 2.2.5 เมล็ดลีบ (flat bean) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่มีลักษณะบางมาก ซึ่งเมื่อผ่าเมล็ดตามยาวจะไม่เห็น เนื้อในเมล็ด ( ภาพที่ ก .6)
มกษ . 5708-2566 2 2.2.6 เมล็ดเกาะกัน (bean cluster) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่เกาะติดกันเป็นก้อน ตั้งแต่สองเมล็ดขึ้นไป ( ภาพที่ ก .7) 2.2.7 เมล็ดสีม่วง (violet or purple bean) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่ทํา cut test แล้ว จะเห็นผิวหน้าตัด ของเนื้อในเมล็ด ( ไม่รวมเอ็มบริโอ ) มีสีม่วงแกมนํ้าเงิน (violet) หรือสีม่วงแกมแดง (purple) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ( ภาพที่ ก .8) 2.2.8 เมล็ดแตก (broken bean) หมายถึง เมล็ดโกโก้ที่มีชิ้นส่วนขาดหายไป โดยส่วนที่หายไปมีขนาด เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของเมล็ด ( ภาพที่ ก .9) 2.2.9 ชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ (fragment) หมายถึง ชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ที่มีขนาดเท่ากับหรือเล็กกว่า ครึ่งหนึ่งของเมล็ด ( ภาพที่ ก .10) 2.2.10 การผ่าตามยาวด้านกว้างผ่านกลางเมล็ด (cut test) หมายถึง กระบวนการที่แสดงเนื้อในเมล็ดโกโก้ เพื่อพิจารณาข้อบกพร่อง เมล็ดที่มีสีเทาหินชนวน เมล็ดสีม่วง และการปนเปื้อนภายในตัวอย่าง เมล็ดโกโก้ 3. ส่วนประกอบสําคัญและปัจจัยคุณภาพ 3.1 ส่วนประกอบสําคัญ เมล็ดโกโก้ตามนิยามผลิตภัณฑ์ข้อ 2.1 ไม่อนุญาตให้มีหรือเติมส่วนประกอบอื่น 3.2 เกณฑ์คุณภาพ 3.2.1 ข้อกําหนดทั ่วไป เมล็ดโกโก้ทุกชั้นคุณภาพต้องเป็นไปตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีข้อกําหนดเฉพาะ ของแต่ละชั้นคุณภาพ และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้มีได้ตามที่ระบุไว้ 1) พบเมล็ดลีบไม่เกิน 1.5% โดยมวล 2) พบเมล็ดเกาะกัน เมล็ดแตก และชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ รวมกันไม่เกิน 3.5% โดยมวล 3) ไม่มีกลิ่นผิดปกติ เช่น กลิ่นบูด กลิ่นรา หรือกลิ่นแปลกปลอมอื่นๆ เช่น กลิ่นปุ๋ย กลิ่นสารเคมี กลิ่นดิน กลิ่นควัน 4) ไม่พบแมลงและไรมีชีวิตทุกระยะการเจริญเติบโต 5) มีความชื้นไม่เกิน 7.5% โดยมวล 6) พบสิ่งแปลกปลอมจากวัตถุอย่างอื่นที่ไม่ใช่เมล็ดโกโก้ ( ภาพที่ ก .11) ซึ่งรวมถึงเปลือก ของผล (husk) และรก (placenta) ไม่เกิน 0.75% โดยมวล
มกษ . 5708-2566 3 3.2.2 ชั้นคุณภาพ ชั้นคุณภาพของเมล็ดโกโก้ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ แบ่งตามคุณภาพเมล็ดโกโก้ตามข้อ 3.2.2.1 หรือใช้ร่วมกับการแบ่งตามคุณภาพการหมักตามข้อ 3.2.2.2 3.2.2.1 เมล็ดโกโก้ตามมาตรฐานนี้ แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ดังนี้ 1) ชั้นพิเศษ (Extra class) เมล็ดโกโก้ในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดีที่สุด และมีข้อบกพร่องได้ไม่เกินเกณฑ์การยอมรับ ที่กําหนดในตารางที่ 1 2) ชั้นหนึ่ง (Class I) เมล็ดโกโก้ในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดี และมีข้อบกพร่องได้ไม่เกินเกณฑ์การยอมรับที่กําหนด ในตารางที่ 1 3) ชั้นสอง (Class II) เมล็ดโกโก้ในชั้นนี้รวมเมล็ดโกโก้ที่มีคุณภาพไม่เข้าชั้นที่สูงกว่า แต่ต้องมีคุณภาพตามข้อกําหนด ทั่วไปที่กําหนดในข้อ 3.2.1 และมีข้อบกพร่องได้ไม่เกินเกณฑ์การยอมรับที่กําหนดในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ข้อบกพร่องและเกณฑ์การยอมรับของเมล็ดโกโก้จําแนกตามชั้นคุณภาพ ข้อบกพร่อง เกณฑ์สูงสุดที่ยอมให้มีได้ (% โดยจํานวน ) ชั้นพิเศษ ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง เมล็ดขึ้นรา <3 <3 <4 เมล็ดที่มีสีเทาหินชนวน หรือเมล็ดสีม่วง หรือทั้งสองอย่าง <3 <5 <8 เมล็ดเสียหายจากแมลง หรือเมล็ดงอก หรือทั้งสองอย่าง <2.5 <3 <5 3.2.2.2 คุณภาพการหมักแบ่งเป็น 2 ชั้นคุณภาพ ดังนี้ 1) ชั้นการหมักดี เมล็ดโกโก้ในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพการหมักดี และมีข้อบกพร่องได้ไม่เกินเกณฑ์การยอมรับ ที่กําหนดในตารางที่ 2
มกษ . 5708-2566 4 2) ชั้นการหมักพอใช้ เมล็ดโกโก้ในชั้นนี้รวมเมล็ดโกโก้ที่มีคุณภาพการหมักไม่เข้าชั้นที่สูงกว่า และมีข้อบกพร่องได้ ไม่เกินเกณฑ์การยอมรับที่กําหนดในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ข้อบกพร่องและเกณฑ์การยอมรับของเมล็ดโกโก้ตามคุณภาพการหมัก ข้อบกพร่อง เกณฑ์สูงสุดที่ยอมให้มีได้ (% โดยจํานวน ) ชั้นการหมักดี ชั้นการหมักพอใช้ เมล็ดที่มีสีเทาหินชนวน 5 10 เมล็ดสีม่วง 3 5 เมล็ดขึ้นรา หรือเมล็ดเสียหายจากแมลง หรือทั้งสองอย่าง 5 10 3.3 การจัดขนาด การจัดขนาดของเมล็ดโกโก้ ให้พิจารณาจากการนับจํานวนเมล็ดโกโก้ทั้งหมดต่อ 100 g ตามตารางที่ 3 ตารางที่ 3 การจัดขนาดของเมล็ดโกโก้ รหัสขนาด จํานวนเมล็ดโกโก้ทั้งหมดต่อ 100 g 1 100 2 101 ถึง 110 3 111 ถึง 120 4 > 120 หมายเหตุ การจัดขนาด ( ข้อ 3.3) ในมาตรฐานนี้ใช้ในการพิจารณาทางการค้า ซึ่งคู่ค้าอาจมี การเรียกชื่อรหัสขนาดที่แตกต่างกัน ขึ้นกับข้อตกลงของคู่ค้า
มกษ . 5708-2566 5 3.4 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องขนาด เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องขนาดที่ยอมให้มีได้ในแต่ละหีบห่อหรือรุ่นที่ส่งมอบสําหรับ เมล็ดโกโก้ที่แบ่งชั้นตามคุณภาพเมล็ดโกโก้ ที่ ไม่เป็นไปตามขนาดที่ระบุไว้ มีดังนี้ 1) สําหรับเมล็ดโกโก้ชั้นพิเศษ มีเมล็ดโกโก้ที่มีรหัสขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ารหัสขนาดถัดไป หนึ่งรหัสปนมาได้ไม่เกิน 5% โดยจํานวนของเมล็ดโกโก้ 2) สําหรับเมล็ดโกโก้ชั้นหนึ่งและชั้นสอง มีเมล็ดโกโก้ที่มีรหัสขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ารหัสขนาด ถัดไปหนึ่งรหัสปนมาได้ไม่เกิน 10% โดยจํานวนของเมล็ดโกโก้ 4. สารปนเปื ้ อน ปริมาณสูงสุดของสารปนเปื้อนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องมาตรฐาน อาหารที่มีสารปนเปื้อน และข้อกําหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับสารปนเปื้อน 5. สารพิษตกค้าง ปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และ มกษ . 9002 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดและที่แก้ไขเพิ่มเติม และ มกษ . 9003 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่ปนเปื้อนจากสาเหตุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 6. สุขลักษณะ 6.1 การผลิตและการปฏิบัติทุกขั้นตอนในการปลูก รวมถึงการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การหมัก การทําแห้ง การบรรจุ การเก็บรักษา และการขนส่ง เพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้ที่มีคุณภาพเหมาะสม สําหรับเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ต้องปฏิบัติ อย่างถูกสุขลักษณะ หรือได้รับการรับรองตาม มกษ . 5912 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดีสําหรับโกโก้ หรือมาตรฐานที่เทียบเท่า 6.2 กรณีที่ผู้ประกอบการที่ดําเนินการเฉพาะขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การหมัก การทําแห้ง การบรรจุ การเก็บรักษา การขนส่ง ต้องปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อน ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค หรือได้รับการรับรองตาม มกษ . 9023 หลักการทั่วไป ด้านสุขลักษณะอาหาร : การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีหรือมาตรฐานที่เทียบเท่า 6.3 การดําเนินการในข้อ 6.1 และ 6.2 ให้เป็นไปตาม มกษ . 9064 หลักปฏิบัติสําหรับการป้องกัน และลดการปนเปื้อนโอคราท็อกซินเอในเมล็ดโกโก้ หรือ Code of practice for the prevention and reduction of ochratoxin A contamination in cocoa beans (CXC 72-2013) ด้วย
มกษ . 5708-2566 6 7. เกณฑ์การบรรจุและการวัด เมล็ดโกโก้ที่บรรจุในแต่ละหีบห่อ ต้องมีมวลสุทธิไม่น้อยกว่าที่ระบุในฉลากหรือในเอกสารกํากับ 8. การแสดงฉลาก การแสดงฉลากให้เป็นไปตามข้อ 3 ของ มกษ . 9060 การแสดงฉลากสินค้าเกษตร และมีรายละเอียด ข้อกําหนดการแสดงฉลากสําหรับหีบห่อสําหรับผู้บริโภค และภาชนะบรรจุที่ไม่ได้จําหน่าย ตรงต่อผู้บริโภค ดังต่อไปนี้ 8.1 หีบห่อสําหรับผู้บริโภค อย่างน้อยต้องมีรายการดังนี้ 1) ชื่อสินค้าเกษตร เช่น “ เมล็ดโกโก้ ” หากมองไม่เห็นจากภายนอก 2) ชั้นคุณภาพ ( ถ้ามี ) 3) ชั้นการหมัก ( ถ้ามี ) 4) ขนาด หรือรหัสขนาด ( ถ้ามี ) 5) นํ้าหนักสุทธิ ให้ใช้ระบบเมตริก 6) ชื่อและที่อยู่ ของผู้ผลิต หรือผู้บรรจุ หรือผู้นําเข้า หรือผู้ส่งออก 7) ประเทศถิ่นกําเนิด อาจแสดงเขตที่ปลูกหรือภูมิภาคหรือชื่อท้องถิ่นของสถานที่เพิ่มเติม 8) การระบุรุ่น 9) การแสดงวันที่ แสดงวันที่ผลิต หรือวันที่บรรจุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน หรือวันหมดอายุ 10) คําแนะนําในการเก็บรักษา ( ถ้ามี )
มกษ . 5708-2566 7 8.2 ภาชนะบรรจุที่ไม่ได้จําหน่ายตรงต่อผู้บริโภค ต้องแสดงรายการดังนี้บนฉลาก ยกเว้นรายการที่มีเครื่องหมาย * กํากับ สามารถแสดง ในเอกสารกํากับหรือวิธีอื่นได้ 1) ชื่อสินค้าเกษตร เช่น “ เมล็ดโกโก้ ” 2) ชั้นคุณภาพ ( ถ้ามี )* 3) ชั้นการหมัก ( ถ้ามี )* 4) ขนาด หรือรหัสขนาด ( ถ้ามี )* 5) นํ้าหนักสุทธิ ให้ใช้ระบบเมตริก * 6) ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต หรือผู้บรรจุ หรือผู้นําเข้า หรือผู้ส่งออก * 7) ประเทศถิ่นกําเนิด * อาจแสดงเขตที่ปลูกหรือ ภูมิภาคหรือชื่อท้องถิ่นของสถานที่เพิ่มเติม 8) การระบุรุ่น 9) การแสดงวันที่ * แสดงวันที่ผลิต หรือวันที่บรรจุ หรือวันที่เก็บเกี่ยว หรือวันที่ควรบริโภคก่อน หรือวันหมดอายุ 10) คําแนะนําในการเก็บรักษา ( ถ้ามี )* 9. วิธีวิเคราะห์และชักตัวอย่าง 9.1 วิธีวิเคราะห์ ให้เป็นไปตามวิธีที่กําหนดในตารางที่ 4 ดังนี้
มกษ . 5708-2566 8 ตารางที่ 4 วิธีวิเคราะห์เมล็ดโกโก้ ข้อกําหนด วิธีวิเคราะห์ 1/ หลักการ 1 . สี ( ข้อ 3.2.2.1) และ ข้อบกพร่อง ( ข้อ 3.2.2.1) cut test ( ภาคผนวก ข ข้อ ข .4) การตรวจพินิจ 2. กลิ่น ( ข้อ 3.2.1) ตรวจโดยวิธีทางประสาทสัมผัส ประเมินทางประสาทสัมผัส 3. ปริมาณความชื้น ( ข้อ 3.2.1) ภาคผนวก ข ข้อ ข .1 Gravimetry 4. เมล็ดเกาะกัน เมล็ดแตก ชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ เมล็ดลีบ และสิ่งแปลกปลอม ( ข้อ 3.2.1) ภาคผนวก ข ข้อ ข .2 Gravimetry 5. การจัดขนาด ( ข้อ 3.3) ภาคผนวก ข ข้อ ข .3 Bean count 1/ กรณีไม่สามารถใช้วิธีวิเคราะห์ตามตารางที่ 4 ให้เลือกวิธีอื่นที่พิจารณาแล้วว่าเป็นวิธีวิเคราะห์ที่มีคุณสมบัติการใช้งาน (performance characteristics) เหมาะสมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่ประกาศโดยองค์การแห่งชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศด้านมาตรฐาน หรือตีพิมพ์ ในเอกสารคู่มือ หรือสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล 2) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่มีผลการประเมินความใช้ได้ (validation) ของผลการทดสอบว่ามีความถูกต้องและเหมาะสม โดยห้องปฏิบัติการที่มีการร่วมศึกษากับเครือข่าย (collaborative study) ตามหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับองค์การนานาชาติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป 3) กรณีไม่มีวิธีวิเคราะห์ตามข้อ 1) หรือ 2) ให้ใช้วิธีวิเคราะห์ที่ได้ประเมินความใช้ได้ของผลการทดสอบว่ามีความถูกต้อง และเหมาะสมโดยห้องปฏิบัติการแห่งเดียวที่มีระบบคุณภาพ (single laboratory validation) ตามหลักเกณฑ์ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล 9.2 วิธีชักตัวอย่าง การชักตัวอย่างเมล็ดโกโก้ให้เป็นไปตาม ISO 2292 หรือภาคผนวก ค 9.3 เกณฑ์การตัดสินใจ รุ่น (lot) ของเมล็ดโกโก้จะยอมรับได้เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กําหนดตามข้อ 3 ถึงข้อ 8
มกษ . 5708-2566 9 ภาคผนวก ก ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) ภาพตัวอย่าง 1) เมล็ดโกโก้ภายนอก 2) เมล็ดโกโก้ภายในที่ผ่าตามยาว ของเมล็ด (cut test) ภาพที่ ก .1 เมล็ดโกโก้ที่ยังไม่กะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ด 1) เมล็ดขึ้นราภายนอก 2) เมล็ดขึ้นราภายในที่ผ่าตามยาว ของเมล็ด (cut test) ภาพที่ ก .2 เมล็ดขึ้นรา ภาพที่ ก .3 เมล็ดที่มีสีเทาหินชนวน
มกษ . 5708-2566 10 1) เมล็ดเสียหายจากแมลงภายนอก 2) เมล็ดเสียหายจากแมลงภายใน ที่ผ่าตามยาวของเมล็ด (cut test) ภาพที่ ก .4 เมล็ดเสียหายจากแมลง ภาพที่ ก .5 เมล็ดงอก 1) เมล็ดลีบภายนอก 2) เมล็ดลีบภายในที่ผ่าตามยาวของเมล็ด (cut test) ภาพที่ ก .6 เมล็ดลีบ
มกษ . 5708-2566 11 ภาพที่ ก .7 เมล็ดเกาะกัน 1) เมล็ดสีม่วงแกมนํ้าเงิน (violet) 2 ) เมล็ดสีม่วงแกมแดง (purple) ภาพที่ ก .8 เมล็ดสีม่วง ภาพที่ ก .9 เมล็ดแตก
มกษ . 5708-2566 12 ภาพที่ ก .10 ชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ ภาพที่ ก .11 สิ่งแปลกปลอม ที่มา : ได้รับความอนุเคราะห์ภาพจากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร และนายชัยวัฒน์ เพียรการ
มกษ . 5708-2566 13 ภาคผนวก ข ( เป็นส่วนหนึ่งของข้อกําหนด ) วิธีวิเคราะห์ ข .1 วิธีวิเคราะห์ปริมาณความชื้น ข .1.1 เปิดฝากล่องอะลูมิเนียม โดยเอาฝาซ้อนไว้ใต้กล่องหรือวางข้างๆ แล้วนําไปอบในตู้อบ ที่อุณหภูมิ 103 °C ± 2°C เวลา 1 h ทิ้งไว้ให้เย็นในโถหรือตู้ดูดความชื้น (desiccator) จนกว่า นํ้าหนักคงที่ แล้วนําไปชั่ง ข .1.2 ตักตัวอย่างเมล็ดโกโก้ที่บดแล้ว 10 g ใส่ในกล่องอะลูมิเนียม ชั่งตัวอย่างพร้อมกล่อง อะลูมิเนียมด้วยเครื่องชั่งที่มีความละเอียดถึง 0.001 g อบกล่องเมล็ดโกโก้ที่ใส่ตัวอย่างในตู้อบ ที่อุณหภูมิ 103°C ± 2°C โดยเปิดฝาและเอาฝาซ้อนไว้ใต้กล่องหรือวางข้างๆ เป็นเวลา 16 h ± 1 h แล้วปิดฝาทิ้งไว้ให้ตัวอย่างเย็นในโถหรือตู้ดูดความชื้น (desiccator) แล้วนําไปชั่ง ข .1.3 ทําตามข้อ ข .1.1 และข้อ ข .1.2 อย่างน้อย 2 ซํ้า ข .1.4 คํานวณหาปริมาณความชื้นของการทดสอบแต่ละซํ้า จากสูตร M = (B – C) x 100 (B – A) เมื่อ M = เปอร์เซ็นต์ความชื้น A = มวลของกล่องอะลูมิเนียมพร้อมฝา ( กรัม ) B = มวลของกล่องอลูมิเนียมพร้อมฝาและเมล็ดโกโก้ที่บดแล้วก่อนอบ ( กรัม ) C = มวลของกล่องอลูมิเนียมพร้อมฝาและเมล็ดโกโก้ที่บดแล้วหลังอบ ( กรัม ) และนําผลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยปริมาณความชื้น หมายเหตุ กรณีที่มีการวิเคราะห์ปริมาณความชื้นโดยใช้วิธีอื่น เช่น การใช้เครื่องวัดความชื้น ต้องมีการทวนสอบ ความถูกต้องของเครื่องมือเปรียบเทียบกับวิธีการอบในตู้อบลมร้อน ความถี่ในการทวนสอบขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความถี่ในการวัด ปริมาณตัวอย่างที่วัด ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัด ข .2 การวิเคราะห์เมล็ดเกาะกัน เมล็ดแตก เมล็ดลีบ ชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ และ สิ่งแปลกปลอม ข .2.1 ชั่งนํ้าหนักตัวอย่างตามที่ระบุไว้ในมาตรฐาน ISO 2451
มกษ . 5708-2566 14 ข .2.2 แยกเมล็ดเกาะกัน เมล็ดแตก เมล็ดลีบ ชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ และสิ่งแปลกปลอม ออกจากตัวอย่าง และชั่งนํ้าหนักบันทึกไว้ ข .2.3 คํานวณหาเปอร์เซ็นต์ของเมล็ดเกาะกัน เมล็ดแตก เมล็ดลีบ ชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ และสิ่งแปลกปลอม จากสูตร P QUALITY = m x 100 m TOTAL เมื่อ P QUALITY = เปอร์เซ็นต์โดยมวล m = มวลของเมล็ดแตกและชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ หรือเมล็ดลีบ หรือสิ่งแปลกปลอม ( กรัม ) m TOTAL = มวลของตัวอย่าง ( กรัม ) ข .3 การวิเคราะห์ Bean count ข .3.1 นําตัวอย่างไม่น้อยกว่า 600 g จากตัวอย่างที่ผ่านการคัดแยกเมล็ดเกาะกัน เมล็ดแตก ชิ้นส่วน เมล็ดโกโก้ เมล็ดลีบ และสิ่งแปลกปลอม ในข้อ ข .2 โดยตักเมล็ดโกโก้ส่วนที่อยู่ตรงกลาง ภาชนะมาชั่งนํ้าหนักและนับจํานวนเมล็ดโกโก้ ข .3.2 คํานวณหาจํานวนเมล็ดโกโก้ต่อ 100 g จากสูตร n BEAN = n WHOLE x 100 m WHOLE เมื่อ n BEAN = จํานวนเมล็ดโกโก้ n WHOLE = จํานวนเมล็ดโกโก้ทั้งหมด m WHOLE = มวลของเมล็ดโกโก้ทั้งหมด ( กรัม ) ข .4 การวิเคราะห์ Cut test ข .4.1 สุ่มเมล็ดโกโก้จํานวน 300 เมล็ดโดยไม่คํานึงถึงขนาด รูปร่าง จากตัวอย่างข้อ ข .3 มาผ่าตามแนวยาว เพื่อให้เห็นพื้นผิวหน้าตัดของใบเลี้ยง ข .4.2 สังเกตลักษณะและสีของเมล็ด ข .4.3 นับจํานวนเมล็ดที่พบข้อบกพร่องตามข้อ 3.2.2.1 และคํานวณเป็นเปอร์เซ็นต์จาก 300 เมล็ด
มกษ . 5708-2566 15 ภาคผนวก ค ( เป็นส่วนหนึ่งของข้อกําหนด ) การชักตัวอย่าง ค .1 นิยาม ค .1.1 รุ่น (lot) หมายถึง ปริมาณที่แน่นอนของสินค้าที่ผลิตแบบอุตสาหกรรม (manufactured) หรือ ผลิตภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่สันนิษฐานว่ากระบวนการผลิตมีความสมํ่าเสมอ (uniform of process) ในที่นี้หมายถึงปริมาณเมล็ดโกโก้ในกระสอบหรือถุง ที่ผลิตจากกระบวนการเดียวกัน ซึ่งอาจมา จากแหล่งผลิตเดียวกัน หรือผลิตในช่วงเวลาเดียวกัน ค .1.2 ตัวอย่างขั้นต้น (primary sample) หมายถึง ปริมาณเมล็ดโกโก้ที่ดึงมาจากตําแหน่งเดียว โดยการสุ่มจากกระสอบหรือถุงที่ไม่เสียหายจากการขนส่งหรือการจัดเก็บ ค .1.3 ตัวอย่างแบบผสมรวม (composite sample) หมายถึง ตัวอย่างแบบผสมจากตัวอย่างขั้นต้น ที่ได้ชักตัวอย่างมาจากรุ่น อย่างเหมาะสม ค .1.4 ตัวอย่างอ้างอิง (reference sample) หมายถึงตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่แบ่งจากตัวอย่างแบบผสมรวม โดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น เครื่องแบ่งตัวอย่างแบบกรวย (conical divider) ให้ได้ปริมาณสุทธิขั้นตํ่า 2 kg ค . 2 ขั้นตอนการชักตัวอย่าง ขั้นตอนในการชักตัวอย่างเมล็ดโกโก้จากกระสอบหรือถุง เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน สําหรับการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามภาพที่ ค .1
มกษ . 5708-2566 16 ตัวอย่างขั้นต้น ตัวอย่างแบบผสมรวม ตัวอย่างอ้างอิง ตัวอย่างสําหรับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ภาพที่ ค .1 แผนภูมิตัวอย่างต่างๆ จากการชักตัวอย่างจากกระสอบหรือถุง วิธีการชักตัวอย่างจากกระสอบหรือถุงขึ้นอยู่กับขนาดรุ่น ดังนี้ ค .2.1 การชักตัวอย่างขั้นต้น ชักตัวอย่างขั้นต้นจากแต่ละกระสอบหรือถุง ตําแหน่งการชักตัวอย่างให้ทําแบบสุ่มเพื่อให้มี การกระจายตัวอย่างเท่าเทียมกัน โดยชักตัวอย่างจากหัวกระสอบ กลางกระสอบ หรือท้ายกระสอบ ที่จะให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของรุ่นได้ ค .2.1.1 การชักตัวอย่างจากขนาดรุ่นตั้งแต่ 1 t ขึ้นไป ชักตัวอย่างจากกระสอบหรือถุง โดยชักตัวอย่างจากอย่างน้อย 30% ของจํานวนกระสอบหรือถุง และต้องได้ปริมาณตัวอย่างอย่างน้อย 300 เมล็ดต่อ t ค .2.1.2 การชักตัวอย่างจากขนาดรุ่นที่น้อยกว่า 1 t ชักตัวอย่างจากกระสอบหรือถุง โดยชักตัวอย่างจากทุกๆ กระสอบหรือถุง และต้องได้ปริมาณ ตัวอย่างตามข้อตกลงของผู้ซื้อหรืออย่างน้อย 1 kg ค .2.2 การเตรียมตัวอย่างแบบผสมรวม ตรวจสอบตัวอย่างขั้นต้น หากมีคุณภาพสมํ่าเสมอ ให้นําตัวอย่างขั้นต้นมารวมและผสมให้เข้ากัน เป็นอย่างดีเพื่อให้ได้ตัวอย่างแบบผสมรวม ทั้งนี้ต้องไม่นําตัวอย่างขั้นต้นที่มีคุณภาพแตกต่าง จากตัวอย่างขั้นต้นอื่นๆ มารวมเป็นตัวอย่างแบบผสมรวม ให้บันทึกสภาพที่ตรวจพบและ ดําเนินการวิเคราะห์แยก ค .2.3 การเตรียมตัวอย่างอ้างอิง จัดเตรียมตัวอย่างอ้างอิงโดยแบ่งจากตัวอย่างแบบผสมรวม ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น เครื่องแบ่งตัวอย่างแบบกรวย (conical divider) ให้เลือกปริมาณสุทธิขั้นตํ่า 2 kg
มกษ . 5708-2566 17 ค .2.4 การเตรียมตัวอย่างวิเคราะห์สําหรับห้องปฏิบัติการ ค .2.4.1 แบ่งตัวอย่างจากตัวอย่างอ้างอิงให้เพียงพอต่อการวิเคราะห์แต่ละรายการ ดังนี้ 1) การวัดปริมาณความชื้น 2) การวิเคราะห์ชิ้นส่วนเมล็ดโกโก้ 3) การวิเคราะห์ขนาด Bean count 4) การวิเคราะห์ Cut test ค .2.4.2 บรรจุตัวอย่างวิเคราะห์สําหรับห้องปฏิบัติการลงในภาชนะและติดฉลาก โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ชื่อพาหนะขนส่ง (vessel) 2) ประเทศถิ่นกําเนิด (country of origin) 3) เมืองท่าต้นทาง (port of shipment) 4) เมืองท่าปลายทาง (port of discharge) และสถานที่ขนส่งสุดท้าย 5) รหัสตัวอย่างและรุ่น 6) จํานวนถุง 7) วันที่ชักตัวอย่าง 8) วันที่ถึงท่าเรือปลายทาง หรือวันที่ปล่อยสินค้า ณ สถานที่ส่งสินค้าสุดท้าย 9) วันที่และเลขที่ใบตราส่งสินค้า (bill of landing) 10) ชื่อคลังสินค้า 11) ชื่อผู้ชักตัวอย่าง
มกษ . 5708-2566 18 ภาคผนวก ง ( ให้ไว้เป็นข้อมูล ) หน่วย หน่วยและสัญลักษณ์ที่ใช้ในมาตรฐานนี้ และหน่วยที่ SI (International System of Units หรือ Le Système International d’ Unités ) ยอมรับให้ใช้ ได้ มีดังนี้ รายการ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์หน่วย มวล กรัม (gram) g กิโลกรัม (kilogram) kg ตัน (tonne) t ความยาว เซนติเมตร (centimetre) cm อุณหภูมิ องศาเซลเซียส (degree Celsius) °C เวลา ชั่วโมง (hour) h