Thu Jul 13 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2566


ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2566

ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2566 ตามข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพ การสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2564 ได้ประกาศกาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบ หลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนนั้น บัดนี้ เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับดังกล่าว ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อา ศัยอานาจตามความในมาตรา 22 (4) (ค) (ณ) และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 สภาการสาธารณสุขชุมชน จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบ หลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเ ห็นชอบหลักสูตร การศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2564 ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้ “ สถาบันการศึกษา ” หมายความว่า คณะ สานักวิชา วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่อ อย่างอื่นซึ่งทาการสอนตามหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน เพื่อให้ผู้สาเร็จการศึกษา ขอ ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วย วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน “ หลักสูตร ” หมายความว่า หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน “ คณะอนุกรรมการ ” หมายควำมว่า คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้ง “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการสภาการสาธารณสุขชุมชน “ ผู้ดำเนินการ ” หมายความว่า ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหรือผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน “ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ” หมายความว่า คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ หรือหัวหน้า หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ที่ผลิตบัณฑิตด้านการสาธารณสุขในสถาบัน การอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน “ อาจารย์ประจำ ” หมายความว่า บุคคลที่ดำรงตาแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ และตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าในสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นตามที่ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566

สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด หรือบุคคลในองค์กรภายนอกที่มีการตกลงร่วมผลิต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ตามพันธกิจขอ งการอุดมศึกษา และมีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาหรับอาจารย์ประจาที่สถาบันอุดมศึกษารับเข้าใหม่ ต้องมีคะแนนทดสอบความสามารถ ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อ 5 หลักสูตรที่สภาการสาธารณสุขชุมชนจะให้ความเห็นชอบต้องดาเนินการ ตามข้อบังคับนี้ ข้อ 6 หลักสูตรที่จัดการศึกษา ให้ใช้ระบบทวิภาค เว้นแต่กรณีที่มีความจาเป็นต้องจัด การศึกษาในระบบอื่นที่แตกต่างจากข้อบังคับนี้ สภาการสาธารณสุขชุมชนอาจให้ความเห็นชอบ ให้ดาเนินการตามข้อบังคับนี้โดยอนุโลม หมวด 1 หลักสูตร ข้อ 7 หลักสูตรตามข้อบังคับนี้ เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ โดยหลักสูตรดังกล่าว ต้องมีปรัชญาและวัตถุประสงค์ที่มุ่งให้การผลิตบัณฑิตมีความรอบรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เน้นความรู้ สมรรถนะและทักษะด้านวิชาการและวิชาชีพหรือด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์ สา ขาวิชานั้น ๆ โดยผ่านการปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ ข้อ 8 หลักสูตรต้องมีจานวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 12 0 หน่วยกิต โดยมีสัดส่วน จำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชา ดังนี้ 8.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีจำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิ ต 8.2 หมวดวิชาเฉพาะ ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต จำแนกเป็นวิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพ ดังนี้ 8.2.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ประกอบด้วย ( ก) วิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ( ข) วิชาสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต 8.2.2 วิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ประกอบด้วย ( ก) การเรียนการสอน การเรียนในห้องปฏิบัติการ และการฝึก ภาคปฏิบัติในรายวิชา ไม่น้อยกว่า 50 หน่วยกิต ซึ่งประกอบด้วย 5 กลุ่มวิชา แต่ละกลุ่มวิชาไม่น้อยก ว่า 9 หน่วยกิต (แต่ละกลุ่มวิชาอาจปรับเนื้อหาเป็น ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิตได้ เมื่อรวมทุกกลุ่มวิชา ต้องไม่น้อยกว่า 50 หน่วยกิต) โดยมีชั่วโมงการฝึกปฏิบัติในรายวิชา ไม่น้อยกว่า 1,050 ชั่วโมง ( ข) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบบูรณาการ ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต โดยฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566

จำนวนชั่วโมงการเรียนในห้องปฏิบัติการ การฝึกปฏิบัติในรายวิชา ตาม 8.2.2 (ก) ให้ปรับลดจำนวนชั่วโมงได้ แต่รวมจำนวนชั่วโมงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบบูรณาการ ตาม 8 .2.2 (ข) แล้ว ต้องไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมง 8.3 หมวดวิชาเลือกเสรี ให้มีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ข้อ 9 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ ต้องมีสมรรถนะและทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิค ในวิชานั้น ๆ โดยผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการและในหน่วยงานต่ำง ๆ และต้องมีสมรรถนะ และทักษะด้านวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพที่สภาการสาธารณสุขชุมชนประกาศกาหนด ข้อ 10 โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วย 10.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง หมวดวิชาที่ผสมผสานเนื้อหาวิชา ที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษาแ ละกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กับคณิตศาสตร์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 10.2 หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพ ที่มุ่งหมายให้ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในวิชาชีพและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ จำแน กได้ ดังนี้ 10.2.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ คือ วิชาบังคับพื้นฐานเฉพาะรายวิชาที่สัมพันธ์ กับวิชาชีพและรายวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ครอบคลุมวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 10.2.2 วิชาชีพ คือ วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ดังนี้ (ก) ภาคทฤษฎี คือ การเรียนการสอนที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุม การสาธารณสุข และการฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชา โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มวิชา ดังนี้ 1) กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน มีเนื้อหา ครอบคลุมด้านสุขศึกษา การสื่อสาร การมีส่วนร่วมของชุมชน การวิเคราะห์พฤติ กรรมสุขภาพ การวางแผนและประเมินสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การให้คาปรึกษา การวิเคราะห์ สถานการณ์และการวินิจฉัยสุขภาพชุมชน การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน การปฏิบัติตามแผน การติดตามและการประเมินผลอนามัยชุมชน เช่น รายวิชาเกี่ยวกับ อนามัยชุมชน การ สร้างเสริมสุขภาพ องค์รวม ระบบสุขภาพชุมชน การวินิจฉัยชุมชน การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน สุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ การสื่อสารระบบสุขภาพปฐมภูมิ เป็นต้น 2) กลุ่มป้องกันโรค ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัย ทางด้านสาธารณสุข มีเนื้อหาครอบคลุมโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคอุบัติซ้ำและโรคอุบัติใหม่ อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ปัจจัยที่ทาให้เกิดโรค การสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค และภาวะคุกคามด้านสุขภาพ ระบาดวิทยา แนวคิดพื้นฐานทาง ระบาดวิทยา การเกิดโรค และปัญหาชุมชน ประโยชน์และความสาคัญของวิทยาการระบาด การศึกษาเกี่ยวกับการกระจาย ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566

และปัจจัยกาหนดของสถานะสุขภาพ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประชากรที่กาหนดและ นาผลของการศึกษาไปใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกัน และควบคุมปัญหาสุขภาพแล ะการจัดการภัยพิบัติ หลักสถิติเบื้องต้น การแจกแจงค่าสถิติ การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวน การวิจัยทางด้านสาธารณสุข การเขียนรายงานวิจัย และการนาเสนอผลงานวิจัย เช่น รายวิชาเกี่ยวกับ โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคอุบัติซ้ำและโรค อุบัติใหม่ การจัดการอุบัติเหตุ ระบาดวิทยาสาธารณสุข ระบาดวิทยาเชิงวัฒนธรรม การป้องกันและควบคุมโรคทางสาธารณสุข การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข สถิติด้านสาธารณสุข ระเบียบวิธีวิจัยด้านสาธารณสุข การวิจัยเบื้องต้น ทางสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสาธารณสุ ข เป็นต้น 3) กลุ่มตรวจประเมินและการบาบัดโรคเบื้องต้น การดูแล ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การวางแผนครอบครัว การตรวจประเมินอาการ เจ็บป่วยและการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อการส่งต่อ มีเนื้อหาครอบคลุม การตรวจประเมิน การบาบัดโรค เบื้ องต้น การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อการส่งต่อ และการฟื้นฟูสภาพ การช่วยฟื้นคืนชีพ การสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค และติดตามอาการ การดูแลสุขภาพครอบครัว อนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การปฐมพยาบาล เช่น รายวิชาเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพ การวาง แผนครอบครัว อนามัยครอบครัว สร้างเสริมอนามัยครอบครัว เภสัชสาธารณสุข การใช้ยาในการบาบัดโรคเบื้องต้น การปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพ การบาบัดโรคเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพร่างกาย การสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค การส่งต่อผู้ป่วย เป็นต้น 4) กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมมีเนื้อหาครอบคลุม การดูแลภาวะสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพให้มีสภาวะที่สมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจและสามารถ ดารงชีพอยู่ในสังคมได้ มีความปลอดภัยจากภาวะคุกคามและอันตรายต่าง ๆ อันเนื่องจากการทางาน หรือเกี่ยวเนื่องจากการทางานใ นกิจการหรือสถานประกอบการ การป้องกันและการควบคุมเหตุปัจจัย ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ การดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน การใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ พฤติกรรมหรือ แบบแผนการดาเนินชีวิตที่เอื้อให้ มีสุขภาพดี การควบคุมมลพิษ รวมถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เช่น รายวิชาเกี่ยวกับการดาเนินงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยในชุมชน โดยการตรวจสอบ ประเมิน เฝ้าระวัง วิเคราะห์ความเสี่ยง ด้านสุขภาพและอันตรายจากการประกอบอาชีพ การวางแผนป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ และการจัดการภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพ การเสนอแนวทางในการควบคุม ป้องกัน กำกับและเฝ้าระวังด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อดำเ นินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพและการเจ็บป่วย ต่อผู้ประกอบอาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการในการประกอบกิจการ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบ การควบคุม กำกับและเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566

ที่เกิดโรคและภัยสุขภาพต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อมิให้เกิดโรคและภัยต่อสุขภาพ เป็นต้น 5) กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุขมีเนื้อหา ครอบคลุม การสาธารณสุขทั่วไป การจัดการระบบสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุข หลักประกัน สุขภาพ กา รบริหารทรัพยากรด้านสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การวางแผนและนโยบาย ด้านสุขภาพ การประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพทางสาธารณสุข การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ทางสาธารณสุข การจัดการระบบสารสนเทศและการสื่อสารด้านสาธารณสุข การจัดการปัญญาประดิษฐ์ในงำนสุขภาพ มาตรฐานการประกอบวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น รายวิชาเกี่ยวกับ การสาธารณสุขทั่วไป การบริหารงานสาธารณสุข การจัดการระบบสุขภาพ การบริหารทรัพยากรสาธารณสุข เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หลักประกันสุขภาพ การวางแผน และนโยบายด้านสาธารณสุข การประเมินผ ลด้านสาธารณสุข การพัฒนาคุณภาพทางสาธารณสุข การจัดการระบบสารสนเทศด้านสาธารณสุข กฎหมายสาธารณสุข จรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุข เป็นต้น (ข) ภาคปฏิบัติ คือ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบบูรณาการ โดยมีการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ การฝึกปฏิบั ติในห้องปฏิบัติการ การฝึกปฏิบัติในรายวิชา เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ หมวดวิชาเฉพาะต้องเรียนวิชาทางปฏิบัติการตามมาตรฐานวิชาชีพ ที่สภาการสาธารณสุขชุมชนประกาศกาหนด 10.3 หมวดวิชาเลือกเสรี หมายถึง วิชาที่เปิดโอกาสใ ห้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ข้อ 11 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพต้องมีจานวน คุณวุฒิและคุณสมบัติของอาจารย์ ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ดังนี้ 11.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร 11.1.1 เป็นอาจารย์ประจำ 11.1.2 มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทด้านสาธารณสุขหรือเทียบเท่า หรือมีตาแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือเทียบเท่า และ 11.1.3 มีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ของตนและเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ ตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในการพิจารณาแต่งตั้ง ให้บุคคลดำรงตาแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง 11.1.4 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพที่เน้นทักษะด้านวิชาชีพ อาจารย์ ประจำหลักสูตรต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานวิชาชีพที่สภาการสาธารณสุขชุ มชน ประกาศกาหนด ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566

11.1.5 ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรในอัตราส่วนอาจารย์ 1 คน ต่อนักศึกษา 12 คน หรือตามที่สภาการสาธารณสุขชุมชนประกาศกาหนด 11.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 11.2.1 มีคุณวุฒิและคุณสมบัติเช่นเดียวกับอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวนอย่างน้อย 5 คน 11.2.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจำนวน 3 คนใน 5 คนต้องมี ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนที่ยังไม่หมดอายุ 11.2.3 ต้องอยู่ประจำหลักสูตรนั้นตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษา 11.2.4 ในกรณีที่เน้นทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในสาขาวิชานั้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านปฏิบัติการโดยอาจ เป็นอาจารย์ประจาของสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นบุคลากรของหน่วยงานที่ไม่ใช่สถาบันของอุดมศึกษา ซึ่งมีข้อตกลงในการผ ลิตบัณฑิตของหลักสูตรนั้นร่วมกัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 2 คน 11.2.5 กรณีร่วมผลิตหลักสูตรกับองค์กรภายนอกที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา ต้องมีอาจารย์ประจาหลักสูตรจากสถาบันอุดมศึกษาเจ้าของหลักสูตรนั้น เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบ หลักสูตรนั้น อย่างน้อย 3 คน 11.2.6 กรณีที่หลักสูตรจัดให้มีวิชาเอกมากกว่า 1 วิชาเอก ให้จัดอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิและคุณสมบัติตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนไม่น้อยกว่า วิชาเอกละ 3 คน และต้องมีสัดส่วนอาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการ 1 ใน 3 กรณีมีความจา เป็นอย่างยิ่งสาหรับสาขาวิชาที่ไม่สามารถสรรหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ครบตามจานวน สถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอจานวนและคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนั้น ให้คณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณี 11.3 อาจารย์ผู้สอน 11.3.1 อาจารย์ผู้สอน อาจเป็นอาจารย์ประจำ หรืออาจารย์พิเศษ ที่มีคุณวุฒิขั้นต่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน ในกรณีเป็นอาจารย์ประจาที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและทาหน้าที่ อาจารย์ ผู้สอน ก่อนที่เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 จะประกาศใช้ให้สามารถทาหน้าที่ อาจารย์ผู้สอนต่อไปได้ ในกรณีเป็นอาจารย์พิเศษ ที่ไม่มีคุณวุฒิตามที่กำหนดต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ และประสบการณ์ เป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับวิชาที่สอน โดยผ่านความเห็นชอบจาก สถาบันการศึกษาแห่งนั้น ทั้งนี้ หากรายวิชาใดมีความจาเป็นต้องใช้อาจารย์พิเศษต้องมีอาจารย์ประจำ ร่วมรับผิดชอบกระบวนการเรียนการสอน และพัฒนานักศึกษาตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียน ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566

การสอนรายวิชานั้น ๆ ด้วย อาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโท แต่ทั้งนี้ ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่า ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นผู้รับผิดชอบ วิชานั้น 11.3.2 กรณีร่วมผลิตหลัก สูตรกับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา บุคลากรที่มาจากหน่วยงานนั้น อาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโทและมีผลงานทางวิชาการ แต่ทั้งนี้ ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและมีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานนั้นมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 ปี 11.3.3 หลั กสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพที่เน้นทักษะด้านวิชาชีพตามข้อกาหนด ของมาตรฐานวิชาชีพ อาจารย์ผู้สอนต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่สภาการสาธารณสุขชุมชน ประกาศกาหนด หมวด 2 การขอความเห็นชอบหลักสูตร ข้อ 12 สถาบันการศึกษาต้องเสนอหลักสูตรต่อสภาการสาธารณสุขชุมชน เพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบหลักสูตรก่อนเปิดรับนักศึกษาไม่น้อยกว่า 180 วัน ข้อ 13 ให้ผู้ดาเนินการยื่นคาขอความเห็นชอบหลักสูตรต่อเลขาธิการตามแบบที่สภาการสาธารณสุข ชุมชนประกาศกาหนด พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ 13.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดาเนินการที่ยื่นคำขอ 13.2 เอกสารแสดงการเป็นผู้ดำเนินการ 13.3 หลักสูตร จำนวน 5 เล่ม พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล 13.4 หลักฐานอื่น ๆ ตามที่สภาการสาธารณสุขชุมชนประกาศกาหนด ข้อ 14 ให้เลขาธิการตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามข้อ 13 หากเห็นว่าถูกต้อง ครบถ้วน ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาและมีมติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 14.1 เห็นชอบหลักสูตรโดยมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ สภาการสาธารณสุขชุมชนให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติ เห็นชอบหลักสูตร ให้สภาการสาธารณสุขชุมชนแจ้งการให้ ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวไปยังสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้ดาเนินการทราบ 14.2 ไม่เห็นชอบหลักสูตร โดยมีเงื่อนไข ให้ผู้ดาเนินการปรับปรุงแก้ไขภายใน ระยะเวลาที่สภา การสาธารณสุขชุมชนกำหนด และให้เลขาธิการแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ดาเนินการทราบ ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566

ในกรณีที่ผู้ดาเนินการได้ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรตาม 14.2 เรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นคำขอความเห็นชอบ หลักสูตรดังกล่าวใหม่ต่อเลขาธิการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตร ภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ดาเนินการได้รับทราบการไม่เห็นชอบหลักสูตร ข้อ 15 หลักสูตรที่สภาการสาธารณสุขชุมชนเห็นชอบแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ซึ่งมีผลกระทบต่อปรัชญา วัตถุประสงค์ โครงสร้าง องค์ประกอบของหลักสูตรหรือระบบการจัดการศึกษา ของหลักสูตร ให้ผู้ดาเนิ นการยื่นคาขอความเห็นชอบหลักสูตรใหม่ต่อเลขาธิการ พร้อมด้วยเอกสาร หลักฐานตามแบบที่สภาการสาธารณสุขชุมชนกาหนด โดยให้นาหลักเกณฑ์การขอความเห็นชอบ หลักสูตรมาใช้บังคับโดยอนุโลม หรือให้เป็นไปตามที่สภาการสาธารณสุขชุมชนประกาศกาหนด หลักสูตรที่สภาการสาธารณสุขชุมชนเห็ นชอบแล้ว หากมีการปรับปรุงหลักสูตร ให้ผู้ดาเนินการยื่นคาขอความเห็นชอบหลักสูตรต่อเลขาธิการ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามแบบที่ สภาการสาธารณสุขชุมชนกาหนด โดยให้นาหลักเกณฑ์การขอความเห็นชอบหลักสูตรมาใช้บังคับ โดยอนุโลม หรือให้เป็นไปตามที่สภาการสาธารณสุขชุมชนป ระกาศกำหนด หมวด 3 การเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหลักสูตร ข้อ 17 หลักสูตรใดที่สภาการสาธารณสุขชุมชนให้ความเห็นชอบแล้ว อาจเพิกถอน การให้ความเห็นชอบหลักสูตรได้ในกรณี ดังนี้ 17.1 หลักฐานที่ยื่นขอความเห็นชอบหลักสูตรให้สภาการสาธารณสุขชุมชน พิจารณาเป็นเท็จหรือไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือเป็นหลักฐานปลอม 17.2 ไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงหลักสูตรหรือไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝืน หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่สภาการสาธารณสุขชุมชนได้กำหนดในการใ ห้ความเห็นชอบหลักสูตร 17.3 ดาเนินการผลิตบัณฑิต โดยมีมาตรฐานที่ต่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ที่สภาการสาธารณสุขชุมชนให้ความเห็นชอบ ข้อ 18 กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้เพิกถอนการให้ความเห็นชอบหลักสูตรใด ให้เลขาธิการแจ้งผลการเพิกถอนการให้ความเห็นชอ บหลักสูตรต่อสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและผู้ดาเนินการทราบ หมวด 4 ค่าธรรมเนียม ข้อ 19 ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้ความเห็นชอบหลักสูตร ดังนี้ 19.1 การพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบหลักสูตร หลักสูตรละ 40 , 000 บาท ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566

19.2 การพิจารณาการให้ความเห็นชอบการปรับปรุงหลักสูตร หลักสูตรละ 3 0 , 000 บาท 19.3 การพิจารณาการให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หลักสูตรละ 2 0 , 000 บาท บทเฉพาะกาล ข้อ 20 หลักสูตรใดที่สภาการสาธารณสุขชุมชนให้ความเห็นชอบและมีระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ตามข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพ การสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2564 ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดาเนินการตามหลักสูตร ดังก ล่าวได้ต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาที่สภาการสาธารณสุขชุมชนให้ความเห็นชอบหลักสูตรนั้น ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 25 6 6 ไพศาล บางชวด นายกสภาการสาธารณสุขชุมชน ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 168 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2566