ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง การอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนสำหรับช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง การอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนสำหรับช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง การอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนสาหรับช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงิน และทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ ในปัจจุบัน อาศัยอานาจตามความในข้อ 11 ของระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2552 ประกอบกับข้อ 6 ของระเบียบ คณะกรรมการประสานและกำกับการดาเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2552 และมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานและกากับการดาเนินงานป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 เห็นชอบให้กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ ประกาศกาหนดรายการค่าใช้จ่าย ตลอดหลักเกณฑ์เงื่อนไขอื่นโดยขอให้ยึดประโยชน์สูงสุด ของผู้เสียหายและเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เป็น สำคัญ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง การอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนสาหรับช่วยเหลือ และคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและป ราบปรามการค้ามนุษย์ ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ เรื่อง การอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบป ราม การค้ามนุษย์สำหรับช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ลงวันที่ 1 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ กองทุน ” หมายความว่า กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ “ สถำนคุ้มครอง ” หมายความว่า สถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ สถานคุ้มครองเอกชนเพื่อการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และสถานแรกรับ เด็กชายปากเกร็ด (บ้านภูมิเวท) ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 167 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 กรกฎาคม 2566
“ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันแ ละปราบปราม การค้ามนุษย์ “ ผู้เสียหาย ” หมายความว่า ผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ “ ปลัดกระทรวง ” หมายความว่า ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อ 5 การใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) การช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (1.1) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ระหว่างเดินทางเพื่อการรักษาพยาบาล การบาบัดฟื้นฟู ร่างกายและจิ ตใจ การดาเนินคดี และการส่งกลับ เป็นต้น ให้จ่ายได้ไม่เกินรายละแปดสิบบาทต่อมื้อ แต่ไม่เกินสองร้อยสี่สิบบาทต่อวัน ( 1.2 ) ค่าที่พักชั่วคราว หากมีความจาเป็นให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละแปดร้อยบาท แต่ไม่เกินเจ็ดวัน ( 1.3 ) ค่าการรักษาพยาบาล ให้จ่าย เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยอ้างอิงจากหลักฐานทางการแพทย์ รวมถึงค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้ด้วย (ก) ค่าตรวจสุขภาพและค่าประกันสุขภาพ เพื่อนำไปขออนุญาตทำงาน ( Work Permit ) (ข) ค่าตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคติดต่อ ก่อนเข้ารับการคุ้มครองตาม คำวินิจฉัยของแพทย์ (ค) ค่าวัคซีนป้องกันโรค ตามคาวินิจฉัยของแพทย์ (ง) ค่าพาหนะระหว่างเดินทางเพื่อการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน ครั้งละสองพันบาท (จ) ค่าตรวจร่างกาย เก็บตัวอย่างเลือด สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือ ดาเนินการอื่นใด เพื่อตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง (ฉ) ค่าบริการทางการแพทย์อื่น ๆ ตามคาวินิจฉัยของแพทย์ ( 1.4 ) ค่าการบาบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง ตามความจาเป็น และเหมาะสม โดยอ้างอิงจากหลักฐานทางการแพทย์ รวมถึง ค่าพาหนะระหว่างเดินทางเพื่อการบำบัด ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละสองพันบาท ( 1.5 ) ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จาเป็นในการดารงชีพระหว่างการศึกษา เป็นต้น ให้จ่ายได้ไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี และไม่เคยศึกษาในระดับนั้น ๆ มาก่อน ค่าเล่าเรียนตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายได้ไม่เกินกว่าค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของทางราชการ ตามอัตราที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนด ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 167 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 กรกฎาคม 2566
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ได้แก่ ค่าหนัง สือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่มิใช่ค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษา เรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษาตามระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ให้จ่าย ตามความจำเป็นและเหมาะสม ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพระหว่างการศึกษา ได้แก่ ค่าที่พัก ค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจำวัน ให้จ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม ( 1.6 ) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เพื่อการพัฒนาทักษะของผู้เสียหายให้มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน เพื่อประโยชน์ใ นการประกอบอาชีพ หรือการดารงชีวิต เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินห้าหมื่นบาท รวมทั้งค่าอุปกรณ์การฝึกอบรมไม่เกินห้าร้อยบาท ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจาวันไม่เกินหนึ่งร้อยบาทต่อวัน ค่าที่พักระหว่างการฝึกอบรมไม่เกินสามพันบาทต่อเดือน ( 1.7 ) ค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วย เหลือทางกฎหมาย ให้จ่าย ดังนี้ (1) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าที่พัก ให้จ่ายตามข้อ (1.1) หรือ (1.2) แล้วแต่กรณี (2) ค่าพาหนะ ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินครั้งละสองพันบาท ( 1.8 ) ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับไปยังประเทศเดิมหรือภูมิลาเนาของผู้เสียหาย ให้จ่าย ดังนี้ (1) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าที่พัก ให้จ่ายตามข้อ (1.1) หรือ (1.2) แล้วแต่กรณี (2) ค่าพาหนะเดินทาง ได้แก่ (ก) ค่าจ้างเหมารถตู้โดยสาร ไม่เกินสองพันห้าร้อยบาทต่อวัน (ข) ค่ารถโดยสารประจาทางหรือค่าพาหนะรับจ้าง ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินครั้งละสองพันบาท (ค) กรณีจำเป็นต้องโดยสารเครื่องบิน เนื่องจากไม่สามารถเดินทาง โดยพาหนะอื่นได้ ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด (3) ค่าน้ามันเชื้อเพลิงหรือพลังงาน ตามระยะทางเท่าที่จ่ายจริง (4) ค่ากระเป๋าสำหรับใ ส่สัมภาระ รายละไม่เกินสามร้อยบาท (5) ค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งร่วมเดินทางเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ระหว่างการเดินทาง ให้จ่ายได้ตามอัตราที่กาหนดไว้ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปราชการ (2) ค่าใช้จ่ายเพื่อการคุ้มครองความปลอดภัยให้แ ก่ผู้เสียหายและบุคคลในครอบครัว ของผู้เสียหายนอกเหนือจากการคุ้มครองพยานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณี ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 167 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 กรกฎาคม 2566
(3) ค่าใช้จ่ายเพื่อการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายในต่างประเทศให้เดินทาง กลับเข้ามาในราชอาณาจักร หรือถิ่นที่อยู่ ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสม ( 4 ) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพเพื่อการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ ซึ่งจ่ายให้กับผู้เสียหายได้ ดังนี้ ( 4.1 ) ค่าครองชีพระหว่างการหางานทา ไม่เกินครั้งละสามพันบาท และช่วยเหลือได้ ไม่เกินสามครั้งต่อรายต่อปีงบประมาณ ( 4.2 ) ค่าขาดรายได้จากการทำงานเพื่อเป็นการเยียวยาผู้เสียหายและครอบครัว ในระหว่างที่เข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ ให้จ่ายไม่เกินวันละสามร้อ ยบาท เป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ( 4.3 ) ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค สำหรับผู้เสียหายที่ไม่ประสงค์ เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองเพื่อเป็นการเยียวยาผู้เสียหายและครอบครัว ไม่เกินครั้งละ สำมพันบาทและช่วยเหลือได้ไม่เกินสามครั้งต่อรายต่อปีงบประมาณ ( 4.4 ) ค่าใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนการทางานของผู้เสียหายในสถานคุ้มครอง เพื่อส่งเสริม การประกอบอาชีพ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ก) ผู้เสียหายอยู่ในสถานคุ้มครอง และมีความประสงค์จะทำงานในสถานคุ้มครอง ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป (2) มีคุณสมบัติตามตาแหน่งงานที่สถานคุ้มครองกาหนด ทั้งนี้ ให้คานึงถึง ความพร้อมของผู้เสียหาย การแจ้งความประสงค์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เสียหายยื่นแบบแสดงความประสงค์ ณ สถานคุ้มครองที่ผู้เสีย หายเข้ารับการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพ (ข) ให้สถานคุ้มครอง แต่งตั้งคณะกรรมการของสถานคุ้มครองคณะหนึ่ง จำนวน ไม่เกินห้าคน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครอง และผู้แทนจากหน่วยงานภายนอกสถานคุ้มครอง จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคนเป็นกรรมการ โดยให้มีห น้าที่และอำนาจ ดังนี้ (1) พิจารณาคัดเลือกผู้เสียหายที่มีความประสงค์จะทางานจากคุณสมบัติ และความเหมาะสมของผู้เสียหายตามตาแหน่งงาน (2) กำหนดเงื่อนไขการทำงานตามตำแหน่งงาน เช่น วันหยุดงาน จำนวนชั่วโมงในการทำงานต่อวัน การหมุนเวียนการทำงานของผู้เสียหาย เป็นต้น (ค) ให้จ่ายค่าตอบแทนการทำงานของผู้เสียหายในสถานคุ้มครอง ดังนี้ ( 1 ) งานตามที่สถานคุ้มครองกำหนด ให้จ่ายชั่วโมงละยี่สิบห้าบาท แต่ไม่เกิน แปดชั่วโมงต่อวัน ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 167 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 กรกฎาคม 2566
( 2 ) งานผู้ช่วยด้านภาษา ให้จ่ายชั่วโมงละหนึ่งร้อยบาท แต่ไม่เกิน แปดชั่วโมงต่อวั น (ง) ให้สถานคุ้มครองจัดทำรายงานผลการทำงานของผู้เสียหาย พร้อมแนบ แบบแสดงความประสงค์ที่จะทำงานตาม (ก) วรรคสอง รายงานผลการคัดเลือกของคณะกรรมการของ สถานคุ้มครอง ตาม (ข) (1) และแบบคาขอรับความช่วยเหลือเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ ในการอนุมัติ จ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนการทำงานของผู้เสียหายในสถานคุ้มครอง (จ) การจ่ายค่าตอบแทนการทางานของผู้เสียหายในสถานคุ้มครองให้สิ้นสุดลงเมื่อ (1) ผู้เสียหายทำงานครบตามระยะเวลาตามที่กำหนดในเงื่อนไขการทำงานแล้ว (2) ผู้เสียหายทำงานไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดตามตาแหน่งงาน (3) ผู้เสียหายไม่ประสงค์ทำงาน (4) ผู้เสียหายฝ่าฝืนข้อตกลงของสถานคุ้มครอง (5) สิ้นสุดกระบวนการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย (6) กรณีอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการของสถานคุ้มครองกำ หนด ( 4.5 ) ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือภายหลังการคืนสู่สังคม เป็นเงินทุนเริ่มต้นชีวิตใหม่ เพื่อป้องกันมิให้กลับเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์อีก ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ก) ผู้เสียหายซึ่งประสงค์จะขอรับการช่วยเหลือ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ( 1 ) มีสัญชาติไทย ( 2 ) มีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไป เว้นแต่ประกอบอาชีพบางประเภท ที่ผู้เสียหายอายุสิบห้าปีขึ้นไปสามารถทำได้ ( 3 ) มีความสามารถในการประกอบอาชีพ หรือเคยผ่านการฝึกอาชีพ (ข) ให้ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ขอรับการช่วยเหลือพร้อมแนบรายละเอียด โครงการที่ขอรับเงินทุ นเริ่มต้นชีวิตใหม่ ให้ยื่นความประสงค์ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีเอกสาร ทางราชการระบุว่าเป็นผู้เสียหาย หรือนับแต่พ้นการคุ้มครองในสถานคุ้มครอง หรือพ้นจากการคุ้มครองพยาน ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับแบบคำขอรับความช่วยเหลือ ให้การช่วยเหลือ แนะนา ให้คา ปรึกษาแก่ผู้เสียหายในการจัดทารายละเอียดโครงการ และให้ความเห็นเพื่อประกอบการ พิจารณาอนุมัติเป็นการเฉพาะราย (ค) ให้จ่ายเงินไม่เกินโครงการละห้าหมื่นบาท และสามารถขอรับความช่วยเหลือ ได้หนึ่งครั้ง ทั้งนี้ หากเกินกว่าจำนวนเงินดังกล่าวให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณี (ง) ให้กองต่อต้านการค้ามนุษย์ สานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือสถานคุ้มครอง ติดตามผลการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เมื่อครบหนึ่งเดือน สามเดือน และหกเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหาย ได้รับเงินทุนเริ่มต้นชีวิตใหม่ และรายงานให้คณะกรรมการทราบด้วย ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 167 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 กรกฎาคม 2566
( 4.6 ) ค่าใช้จ่ายในกรณีอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร ข้อ 6 การยื่นคำขอรับความช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพให้ยื่นได้ ณ สถานที่ ดังนี้ (1) กรณีผู้เสียหายมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอ ณ กองต่อต้านการค้ามนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2) กรณีผู้เสียหายมีภูมิลาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคาขอ ณ สานักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งผู้เสียหายมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ( 3 ) กรณีผู้เสียหายอยู่ในสถานคุ้มครองให้ยื่นคำขอ ณ สถานคุ้มครองนั้น แบบคำขอรับความช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ให้หน่วยงานซึ่งรับคาขอตามวรรคหนึ่ง ยื่ นผ่านระบบสารสนเทศบริหารงานกองทุนเพื่อการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้ผู้เสียหายยื่นคำขอภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งสิทธิการขอรับความช่วยเหลือ ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้เสียหายได้ยื่นคาขอรับความช่วยเหลือไว้ก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนิน การให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพต่อไป ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง การอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ สาหรับช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการกระทา ค วามผิดฐานค้ามนุษย์และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จนเสร็จการ ข้อ 8 ให้คณะกรรมการมีอานาจหน้าที่พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินช่วยเหลือและคุ้มครอง สวัสดิภาพผู้เสียหายให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ 9 ในกรณีที่มีปัญหาหรือ ข้อโต้แย้งสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้หรือการอื่นใด ที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ประกาศ ณ วันที่ 7 มิ ถุนายน พ.ศ. 25 6 6 อนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 167 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 กรกฎาคม 2566