ประกาสธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกช. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 3)
ประกาสธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกช. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 3)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกช. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต การประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกากับ (ฉบับที่ 3) 1 . เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกำกับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 กันยายน 2561 เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลระบบการชำระเงินให้มี ความมั่นคงปลอดภัย มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สามารถให้บริการ ได้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน รวมถึงดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ตลอดจนให้มีการคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม นั้น เพื่อส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจระบบการชา ระเงินภายใต้การกากับมีการดาเนินงานที่โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและหลักธรรมาภิบาลที่ดี คานึงถึงผู้มีส่วนได้เสียและความเสี่ยงอย่างรอบด้าน อันจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรกาหนด ลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกากับ กรรมการ และผู้ซึ่งมีอานาจจัดการ ของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเพิ่มเติม 2 . อำนาจตามกฎหมาย อาศัยอานาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชาระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาต การประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ ตามความในประกาศฉบับนี้ 3 . ประกาศที่แก้ไข ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกากับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกา กับ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 กันยายน 2561 ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566
4 . ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกากับ และผู้ประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน 5 . เนื้อหา 5.1 ให้เพิ่มคำนิยาม “ ธุรกิจทางการเงิน ” ระหว่างคำว่า “ ผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการ ” และ “ ธปท. ” ในข้อ 4.1 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกากับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561 ““ ธุรกิจทางการเงิน ” หมายความว่า ( 1 ) ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่ำด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ( 2 ) ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกากับ ธุรกิจระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่ำงบุคคลกับบุคคล ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ตามกฎหมาย ( 3 ) ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ( 4 ) ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ( 5 ) ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมาย ว่าด้วยประกันวินาศภัย ( 6 ) ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน และธุรกิจให้บริการ ระบบคราวด์ฟันดิง ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( 7 ) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสั ญญาซื้อขายล่วงหน้า ( 8 ) ธุรกิจทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ( 9 ) ธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ( 10 ) ธุรกิจอื่นที่ ธปท. ประกาศกำหนด ” 5.2 ให้ยกเลิกความใน (1.4) (1.5) (1.6) ของข้อ 4.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบ การชาระเงินภายใต้การกากับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทย ที่ สนช. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต การประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกากับ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 กันยายน 2561 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566
“( 1.4 ) ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งระงับการดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือไม่เคย ถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจทางการเงิน หรือธุรกิจระบบ การชาระเงินภายใต้การกากับ หรือธุรกิจบริการการชาระเงินภายใต้การกากับ ตามกฎหมายว่าด้วย ระบ บการชำระเงิน ( 1.5 ) ไม่เคยต้องคาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือไม่เคย ต้องคาพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทาความผิดฐานฟอกเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทำอันเป็ นการก่อการร้ายหรือ การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูง หรือไม่เคยต้องคาพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทาความผิดฐาน สนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูง ตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ( 1.5/1 ) ไม่เคยเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน หรือธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้ การกำกับ หรือธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ โดยไม่ได้รับอนุ ญาตหรือขึ้นทะเบียน ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ( 1.5/1.1 ) มีการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ( 1.5/1.2 ) มีการกระทำที่แสดงถึงการหลีกเลี่ยงหรือสนับสนุนการหลีกเลี่ยง การขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปร ะกอบธุรกิจทางการเงิน หรือธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้ การกำกับ หรือธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ หรือ ( 1.5/1.3 ) มีการกระทาหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการ กระทำอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือส่งผลกระทบต่อระบบการชำระเ งินโดยรวม ( 1.6 ) มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการซึ่งมีลักษณะ ดังนี้ ( 1.6.1 ) มีอายุไม่ต่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ ( 1.6.2 ) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 ( 1.6.3 ) ไม่เคยเป็นกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้มีอานาจในการจัดการของ ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินในขณะที่ถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจหรือเพิกถอนการจดทะเบียน ประกอบธุรกิจ โดยผู้นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบในการถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือถูกเพิกถอน การจดทะเบียน ( 1.6.4 ) ไม่เ คยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุกในความผิดเกี่ยวกับ การประกอบธุรกิจทางการเงิน หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566
( 1.6.5 ) ไม่เคยต้องคาพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือไม่เคยต้องคาพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทาความผิดฐานฟอกเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกาหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทาอันเป็นการก่อการร้าย หรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูง หรือไม่เคยต้องคาพิพากษาถึงที่ สุดว่ากระทาความผิด ฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูง ตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ( 1.6.6 ) ไม่เคยถูกถอดถอนจากการเป็ นกรรมการหรือผู้มีอานาจในการจัดการของ สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือไม่เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ หรือผู้มีอานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือไม่เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการหรือผู้ มีอานาจในการจัดการของบริษัทประกันชีวิตตามกฎหมาย ว่าด้วยประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย เว้นแต่การถอดถอนนั้น ไม่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตหรือทุจริตต่อหน้าที่ ( 1.6.7 ) ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ องค์การ หรือหน่วยงาน ของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่ ( 1.6.8 ) ไม่เคยถูก ธปท. สานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สานักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐทั้งในและ ต่างประเทศ กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกำลังถูกดาเนินคดีในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริต เว้นแต่ปรากฏว่า คดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด ( 1.6.9 ) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทำหรือเคยกระทำการอันเป็นการหรือก่อให้เกิด การฉ้อโกง หรือฉ้อโกงประชาชน หรือเป็นการปฏิบัติต่อผู้บริโภคโดยไม่สุจริต หรือไม่ เป็นธรรม ( 1.6.10 ) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทำหรือเคยกระทำการอันเป็นการหรือก่อให้เกิด การเลือกปฏิบัติหรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใด อันอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ( Conflict of Interest ) หรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีพฤติกรรม ที่แสดงถึงการกระทำอันส่อไปในทางไม่สุจริต สาหรับนิติบุคคลตามข้อ (1.1.1) ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือ ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดู แล ของ ธปท. และนิติบุคคลตามข้อ (1.1.2) - (1.1.5) ซึ่งมีกฎหมายกาหนดเกี่ยวกับลักษณะต้องห้าม หรือคุณสมบัติของกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว และนิติบุคคลตามข้อ (1.1.6) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ (1 .6.3) (1.6.4) และข้อ (1.6.6) - (1.6.10)” ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566
5.3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกำกับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “(2) ให้ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกากับยื่นแบบการขออนุญาต พร้อมเอกสารหลักฐานตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 1) ต่อ ธปท. และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ถือหุ้นของตนที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยให้นับรวมหุ้นของ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวต่อ ธปท. ตามแบบที่กำหนดในคู่มือสำหรับประชาชน สำหรับนิติบุคคลตามข้อ (1.1.1) ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจ ที่มิใช่สถาบันการเงินตำมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ซึ่งอยู่ภายใต้การกากับดูแลของ ธปท. และนิติบุคคลตามข้อ (1.1.2) ที่มิได้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ซึ่งมีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามหรือคุณสมบัติของผู้ถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวไว้ เป็น การเฉพาะแล้ว และนิติบุคคลตามข้อ (1.1.3) - (1.1.6) รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เป็นคู่สมรส ( 2 ) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ ( 3 ) เป็นตัวการ ตัวแทน ทั้งนี้ กรณีที่ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับมากกว่า 1 ประเภทธุรกิจ สามารถยื่ นแบบการขออนุญาต พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในคราวเดียวกันได้ ” 6 . วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 9 มิถุนายน พ.ศ. 256 6 เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566