ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 20 (1) และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติกำรบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ได้ดาเนินการกู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ด้วยการจาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ของกระทรวงการคลัง ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีประกาศ เรื่อง การออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน 2566 ขณะนี้ พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นดังกล่าวได้จำหน่ายเสร็ จสิ้นแล้ว โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ 1 . การจาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้เปิดให้แก่บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยจองซื้อ ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤษภาคม 2566 และจาหน่ายให้แก่ สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และนิติบุคคลอื่นที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากาไร ระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2566 โดยทารายการซื้อพันธบัตรผ่ำนระบบอินเทอร์เน็ต Mobile Application และเคาน์เตอร์ทุกสาขา ของธนาคารผู้จัดจำหน่าย 4 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จากัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน) โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรและจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ตามระเบียบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด 2 . ผลการจาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ . 2566 จำหน่ายได้จำนวนรวม 16,618,040,000 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันหกร้อยสิบแปดล้าน สี่หมื่นบาทถ้วน) แบ่งเป็น 2 รุ่นอายุ ดังนี้ 2.1 พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นอายุ 7 ปี ( SB 305 B ) จานวน 14,023,514,000 บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันยี่สิบสามล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นสี่พันบาทถ้วน) อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 2.70 ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 18 พฤษภาคม 2573 ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566
2.2 พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นอายุ 10 ปี ( SB 335 A ) จานวน 2,594,526,000 บาท (สองพันห้าร้อยเก้าสิบสี่ล้านห้าแสนสองหมื่นหกพันบาทถ้วน) อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 2.60 ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 22 พฤษภาคม 2576 3 . พันธบัตรออมทรัพย์ข้างต้นมีรายละเอียดการจ่ายดอกเบี้ย ดังนี้ 3.1 พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นอายุ 7 ปี ( SB 305 B ) มีการจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ในวันที่ 18 ของเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน ของทุกปี จนกว่าพันธบัตร จะครบกำหนดไถ่ถอน โดยจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 3.2 พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นอายุ 10 ปี ( SB 335 A ) มีการจ่ายดอ กเบี้ยทุก 6 เดือน ในวันที่ 22 ของเดือนพฤษภาคม และพฤศจิกายน ของทุกปี จนกว่าพันธบัตรจะครบกาหนดไถ่ถอน โดยจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 การคำนวณดอกเบี้ยคำนวณจากมูลค่าตามราคาตราของพันธบัตร โดยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปี มี 365 วันและนับตามจานวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง หากวันครบกาหนด จ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปจ่ายในวันทาการถัดไป โดยไม่นับวันหยุด ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเข้ารวมเพื่อคานวณดอกเบี้ยในงวดที่ถึงกาหนดจ่า ยดอกเบี้ย ยกเว้นการจ่ายดอกเบี้ยงวดสุดท้ายให้คานวณดอกเบี้ยจนถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรที่เลื่อนออกไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้รับ หลักประกันตามที่ตกลงกัน หรือผู้รับตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกาหนด (ยกเว้ นบัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจา) ทั้งนี้ เป็นรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จากัด (กรณีไร้ใบตราสาร) และตามรายชื่อทางทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย (กรณีมีใบตราสาร) ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทาการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ย ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด 4 . การจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรจะดาเนินการในวันครบกาหนดไถ่ถอน หากวันครบกาหนด ไถ่ถอนตรงกับวันหยุดของธนาคารแห่งประเทศไทย จะเลื่อนวันครบกำหนดไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้รับหลักประกัน ตามที่ตกลงกัน หรือผู้รับตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกาหนด (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ และบัญชีเงินฝากประจา) ทั้งนี้ เป็นรายชื่อตามที่ได้รับแจ้งจากศูนย์รับฝาก (กรณีไร้ใบตราสาร) และตามรายชื่อทางทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย (กรณีมีใบตราสาร) ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทาการ สุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด กรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร ผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ต้องนาใบตราสารมาเวนคืน เว้นแต่กรณี มีเหตุจำเป็นหรือมีข้อสงสัยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจขอเวนคืนใบตราสารเพื่อตรวจสอบก็ได้ อาทิเช่น การใช้พันธบัตรเป็นหลักประกัน ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566
5 . การจำหน่ายพันธบัตรในครั้งนี้ 5.1 ธนาคารผู้จัดจาหน่ายคิดค่าธรรมเนียมในการจา หน่ายพันธบัตรในอัตราร้อยละ 0.03 (ศูนย์จุดศูนย์สาม) ของวงเงินที่จาหน่ายได้ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานของ Custodian แล้ว) ทั้งนี้ ธนาคารผู้จัดจาหน่ายจะจ่ายค่าธรรมเนียมการฝากพันธบัตรให้กับบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จากัด เพื่อเป็นการนาฝากพันธบัตรออมทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตร แบบไร้ใบตราสาร ( Scripless ) โดยคำนวณตามมูลค่าพันธบัตรคงเหลือในอัตราล้านละ 0.60 (ศูนย์จุดหกศูนย์) บาทต่อเดือน โดยราคาที่ใช้ในการคานวณมูลค่าพันธบัตรคงเหลือให้ใช้ตามราคา ตราของพันธบั ตร 5.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการดาเนินการเกี่ยวกับพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ( 1 ) ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรในอัตรา ร้อยละ 0.03 (ศูนย์จุดศูนย์สาม) ของดอกเบี้ยที่จ่ายและเงินต้นพันธบัตรที่จ่ายคืน ( 2 ) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แบบพิมพ์พันธบัตรตามที่จ่ายจริง ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 256 6 บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566