Fri Jul 07 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจบนวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจบนวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจบนวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 20 (1) และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ได้ดาเนินการกู้เงิน เพื่อชด เชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ด้วยการจาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ของกระทรวงการคลัง ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีประกาศ เรื่อง การออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ บนวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน 2566 ขณะนี้พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นดังกล่าวได้จำหน่ายเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ 1 . กระทรวงการคลังได้ดาเนินการจาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจบนวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 10,000, 000,000 บาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) รุ่นอายุ 7 ปี ( SB 305 A ) อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 2.70 ต่อปี ครบกาหนดไถ่ถอนในวันที่ 10 พฤษภาคม 2573 ซึ่งจาหน่ายให้แก่บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย ที่มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ระหว่างวันที่ 10 - 23 พ ฤษภาคม 2566 โดยทำรายการซื้อพันธบัตร ผ่านวอลเล็ตสะสมบอนด์มั่งคั่ง (วอลเล็ต สบม.) บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง 2 . พันธบัตรออมทรัพย์ข้างต้นมีการจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน คือในวันที่ 10 ของเดือน กุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน ของทุกปี จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนด โดยจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 การคานวณดอกเบี้ยคานวณจากมูลค่าตามราคาตราของพันธบัตร โดยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปี มี 365 วันและนับตามจานวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษข องหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง หากวันครบกาหนด จ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปจ่ายในวันทาการถัดไป โดยไม่นับวันหยุด ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเข้ารวมเพื่อคานวณดอกเบี้ยในงวดที่ถึงกาหนดจ่ายดอกเบี้ย ยกเว้นการจ่ายดอกเบี้ยงวดสุดท้ำยให้คานวณดอกเบี้ยจนถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรที่เลื่อนออกไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนดอกเบี้ยเข้าวอลเล็ต สบม. ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามรายชื่อ ที่ได้รับแจ้งจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จากัด ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทาการ สุดท้ายก่อน วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ยตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566

3 . การจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรจะดาเนินการในวันครบกาหนดไถ่ถอน หากวันครบกาหนด ไถ่ถอนตรงกับวันหยุดของธนาคารแห่งประเทศไทย จะเลื่อนวันครบกำหนดไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจ่ำยคืนเงินต้นพันธบัตรโดยโอนเงินต้นเข้าวอลเล็ต สบม. ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จากัด ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทำการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ธนาคาร แห่งประเทศ ไทยประกาศกาหนด 4 . การจำหน่ายพันธบัตรในครั้งนี้ 4.1 ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ในฐานะผู้พัฒนาและดูแลระบบการจาหน่าย ผ่านวอลเล็ต และผู้รับฝากพันธบัตรจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร ( Custodian ) จะจ่ายค่าธรรมเนียม การฝากพันธบัตรให้กับบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จากัด เพื่อเป็นการนาฝาก พันธบัตรออมทรัพย์ซึ่งเป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร ( Scripless ) โดยคานวณตามมูลค่าพันธบัตร คงเหลือในอัตราล้านละ 0.60 (ศูนย์จุดหกศูนย์) บาทต่อเดือน โดยราคาที่ใช้ในการคานวณมูลค่าพันธบัตร คงเหลือให้ใช้ตามราคาตราของพันธบัตร 4.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดค่าธรรมเนียมในการเป็นนายทะเบียน และตัวแทน การจ่ายเงินเกี่ยวกับพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจบนวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในอัตราร้อยละ 0.03 (ศูนย์จุดศูนย์สำม) ของดอกเบี้ยที่จ่ายและ เงินต้นพันธบัตรที่จ่ายคืน ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 256 6 บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 163 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 กรกฎาคม 2566