ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย พ.ศ. 2566
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย พ.ศ. 2566
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรรายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศต่อประชาชน เพื่อเป็นแนวทาง ในการบ่งชี้และเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ จึงประกาศใช้ดัชนีคุณภาพอากาศสาหรับการรายงานสถานการณ์ มลพิษทางอากาศ เป็นตัวแทนความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25 6 5 ซึ่งกาหนดให้กรมควบคุมมลพิษ มีหน้าที่และอานาจในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดทารายงานสถานการณ์มลพิษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จึงอาศัยอานาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศดัชนีคุณภา พอากาศของประเทศไทยไว้ ดังนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ ดัชนีคุณภาพอากาศ ” หมายความว่า ดัชนีที่ใช้เป็นตัวแทนของคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ( PM 2.5 ) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ( PM 10 ) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ( CO ) ก๊าซโอโซน ( O 3 ) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO 2 ) และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( SO 2 ) “ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ” หมายความว่า ประชาชนที่อาจเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ จากมลพิษทางอากาศมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เด็กเล็กอายุไม่เกิน 5 ปี หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น “ ประชาชนทั่วไป ” หมายความว่า ประชาชนนอกเหนือจากประชาชนกลุ่มเสี่ยง “ พื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ” หมายความว่า สถานที่หรือห้องที่จัดเตรียมไว้ที่ สถานที่สาธารณะหรือบ้านเรือน เพื่อลดการสัมผัสมลพิษทางอากาศ ลดผลกระทบต่อสุขภา พ สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ข้อ 3 ดัชนีคุณภาพอากาศ แบ่งเป็น 5 ระดับ การแจ้งเตือนโดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมีคะแนนตั้งแต่ 0 ถึงมากกว่า 200 โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 มีค่าเทียบเท่าค่ามาตรฐาน คุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่ำสูงเกินกว่า 100 แสดงว่า ค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน ระดับการแจ้งเตือนมี ดังนี้ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 157 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 กรกฎาคม 2566
ตารางที่ 1 เกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ดัชนีคุณภาพ อากาศ ความหมาย (ระดับคุณภาพ อากาศ) สี ข้อควรปฏิบัติ 0 - 25 ดีมาก ฟ้า ประชาชนทุกคนสามารถดาเนินชีวิตได้ตามปกติ 26 - 50 ดี เขียว ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจ ลาบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ หรือ วิงเวียนศีรษะ 5 1 - 1 0 0 ปานกลาง เหลือง ประชาชนทั่วไป : ลดระยะเวลาการทากิจกรรมหรือการออกกาลังกายกลางแจ้ง ที่ใช้แรงมาก ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : - ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2 . 5 ทุกครั้ง ที่ออก นอกอาคาร - ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก - หากมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ 1 0 1 - 200 เริ่มมีผลกระทบ ต่อสุขภาพ ส้ม ประชาชนทั่วไป : - ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2 . 5 ทุกครั้ง ที่ออก นอกอาคาร - จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้ง ที่ ใช้แรงมาก - ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลาบาก ระคายเคืองตา ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : - ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2 . 5 ทุกครั้ง ที่ออกนอกอาคาร - เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก - ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ 20 1 ขึ้นไป มีผลกระทบ ต่อสุขภาพ แดง ประชาชนทุกคน - งดกิจกรรมกลางแจ้ง - หากมีความจาเป็นต้องทากิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2 . 5 - หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ - ผู้ที่มีโรคประจาตัว ควร อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จาเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคาแนะนา ของแพทย์อย่างเคร่งครัด ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 157 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 กรกฎาคม 2566
ข้อ 4 การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ ใช้หลักการ ดังนี้ ( 4.1 ) ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษที่นำมาคำนวณเป็นดัชนีคุณภาพอากาศ ต้องแปลงให้เป็นค่าเฉลี่ยระยะเวลาและใช้หน่วย ดังนี้ (1) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง หน่วยไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ทศนิยม 1 ตาแหน่ง หากมีทศนิยมเกิน 1 ตาแหน่ง ให้ปัดเลขตามหลักสากล (2) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง หน่วยไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ไม่มีทศนิยม หากมีทศนิยม ให้ปัดเป็นจานวนเต็ม ตาม หลัก สากล (3) คาร์บอนมอนอกไซด์ ค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง หน่วยส่วนในล้านส่วน (พีพีเอ็ม) ทศนิยม 1 ตาแหน่ง หากมีทศนิยมเกิน 1 ตาแหน่ง ให้ปัดเลขตามหลักสากล (4) ก๊าซโอโซน ค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมงต่อเนื่อง หน่วย ส่วนในพันล้านส่วน (พีพีบี) ไม่มีทศนิยม หากมีทศนิยม ให้ปัดเลขเป็นจำนวนเต็มตามหลักสากล ( 4.2 ) ดัชนีคุณภาพอากาศ ประกอบด้วยดัชนีย่อยของสารมลพิษ 6 ชนิด ดัชนีย่อย ที่มีค่ามากที่สุด ให้ถือเป็นดัชนีคุณภาพอากาศ ณ เวลานั้น ( 4 .3) คานวณดัชนีย่อยคุณภาพอากาศจากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษ จากข้อมูล ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ โดยแต่ละระดับของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศเทียบเท่า กับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ระดับต่าง ๆ ดังตารางที่ 2 และมีสูตรการคานวณ ดังนี้ ในสมการนี้ I = ค่าดัชนีย่อยคุณภาพอากาศ X = ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากการตรวจวัด X i , X j = ค่าต่าสุด , สูงสุด ของช่วงความเข้มข้นสารมลพิษที่มี X I i , I j = ค่าต่าสุด , สูงสุด ของช่วงดัชนีคุณภาพอากาศแถวเดียวกันกับช่วงความเข้มข้น X ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 157 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 กรกฎาคม 2566
ตารางที่ 2 ตารางเทียบค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศสำหรับคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ ความเข้มข้นสารมลพิษ ( X ) ดัชนีคุณภาพ อากาศ ( I ) PM 2.5 (มคก./ลบ.ม.) PM 10 (มคก./ลบ.ม.) CO (พีพีเอ็ม) O 3 (พีพีบี) NO 2 (พีพีบี) SO 2 (พีพีบี) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 0 - 2 5 0 - 15 . 0 0 - 50 0 - 4.4 0 - 35 0 - 60 0 - 100 26 - 5 0 15 . 1 - 2 5 .0 51 - 8 0 4.5 - 6.4 36 - 5 0 61 - 1 06 101 - 2 00 5 1 - 10 0 25 . 1 - 37 . 5 8 1 - 12 0 6.5 - 9.0 5 1 - 7 0 1 07 - 17 0 2 01 - 30 0 1 0 1 - 200 37.6 - 75 . 0 12 1 - 18 0 9.1 - 30.0 7 1 - 1 2 0 17 1 - 34 0 30 1 - 40 0 2 01 ขึ้นไป 75.1 ขึ้นไป 18 1 ขึ้นไป 30.1 ขึ้นไป 121 ขึ้นไป 341 ขึ้นไป 401 ขึ้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 6 พฤษภาคม พ.ศ. 256 6 ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 157 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 กรกฎาคม 2566