Fri Jun 30 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำลายหรือจัดการของกลาง พ.ศ. 2566


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำลายหรือจัดการของกลาง พ.ศ. 2566

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทําลายหรือจัดการของกลาง พ . ศ . 2566 โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทําลายหรือจัดการสิ่งของ ที่ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ . ศ . 2562 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 121 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ . ศ . 25 62 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทําลายหรือจัดการของกลาง พ . ศ . 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา “ ของกลาง ” หมายความว่า สิ่งของที่ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ตามมาตรา 121 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ . ศ . 2562 “ คณะกรรมการส่วนกลาง ” หมายความว่า คณะกรรมการที่มีหน้าที่และอํานาจรับผิดชอบ เกี่ยวกับของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรรมการอาหารและยา ในกรุงเทพมหานคร “ คณะกรรมการระดับจังหวัด ” หมายความว่า คณะกรรมการที่มีหน้าที่และอํานาจรับผิดชอบ เกี่ยวกับของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัด นอกจากกรุงเทพมหานคร ข้อ 4 ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ และให้มีอํานาจวินิจฉัย ชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หมวด 1 คณะกรรมการ ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการส่วนกลาง ประกอบด้วย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเลขาธิการมอบหมายให้กํากับดูแลกองผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นประธานกรรมการ ผู้อํานวยการกอง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผู้อํานวยการกองกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นกรรมการ และให้หัวหน้ากลุ่มกํากับดูแลหลังออกสู่ตลาด กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นกรรมการและเลขานุการ และเภสัชกรที่ผู้อํานวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย จํานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 156 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

ข้อ 6 ให้คณะกรรมการส่วนกลาง มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) พิจารณาและกํากับการตรวจรับ เก็บรักษา การนําไปใช้ประโยชน์ การจําหน่าย และทําลายของกลาง ( 2 ) การอื่นที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย ข้อ 7 ให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดในแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดเป็นประธานกรรมการ หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สํานักงาน สาธารณสุขจังหวัด และหัวหน้ากลุ่มกฎหมาย สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นกรรมการ และให้หัวหน้า กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และเภสัชสาธารณสุข สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นกรรมการและ เลขานุการ และเภสัชกรที่หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด มอบหมาย จํานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ 8 ให้คณะกรรมการระดับจังหวัด มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) พิจารณาและกํากับการตรวจรับ เก็บรักษา การนําไปใช้ประโยชน์ การจําหน่าย และ ทําลายของกลาง ( 2 ) การอื่นที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย ข้อ 9 การประชุมของคณะกรรมการส่วนกลางหรือคณะกรรมการระดับจังหวัดต้องมีกรรมการ มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการ ไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ 10 คณะกรรมการส่วนกลางหรือคณะกรรมการระดับจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะกรรมการส่วนกลางหรือ คณะกรรมการระดับจังหวัดมอบหมาย การประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานให้นําความในข้อ 9 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม หมวด 2 การรับและเก็บรักษาของกลาง ข้อ 11 ให้มีคณะทํางานตรวจรับและเก็บรักษาของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงาน คณะกรรรมการอาหารและยา ประกอบด้วย ผู้ซึ่งคณะกรรมการส่วนกลางแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสามคน เป็นกรรมการ ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 156 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

ให้มีคณะทํางานตรวจรับและเก็บรักษาของกลางในแต่ละจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัด นอกจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้ซึ่งคณะกรรมการระดับจังหวัดแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสามคน เป็นกรรมการ ข้อ 12 ให้คณะทํางานตรวจรับและเก็บรักษาของกลาง มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ตรวจรับและเก็บรักษาของกลาง ( 2 ) จัดทําบัญชีแสดงรายละเอียดการตรวจรับของกลาง ( 3 ) การอื่นตามที่คณะกรรมการส่วนกลางหรือคณะกรรมการระดับจังหวัดมอบหมาย แล้วแต่กรณี ข้อ 13 ในส่วนกลางให้เก็บรักษาของกลางไว้ ณ สถานที่ที่คณะกรรมการส่วนกลางกําหนด ในระดับจังหวัดให้เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ที่คณะกรรมการระดับจังหวัดกําหนด หมวด 3 การใช้ประโยชน์ ข้อ 14 ของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในราชการได้ ให้คณะทํางานตรวจรับและเก็บรักษาของกลางตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง เสนอคณะกรรมการส่วนกลางพิจารณาอนุมัติเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการตามที่เห็นสมควร ข้อ 15 ของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในราชการได้ ให้คณะทํางานตรวจรับและเก็บรักษาของกลางตามข้อ 11 วรรคสอง เสนอคณะกรรมการระดับจังหวัด พิจารณาอนุมัติเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการตามที่เห็นสมควร ข้อ 16 ของกลางที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ประโยชน์ในราชการแล้ว ให้ดําเนินการบริหารพัสดุ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ หมวด 4 การจําหน่าย ข้อ 17 ของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ไม่สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในราชการได้ แต่ยังสามารถนําไปจําหน่ายได้ให้คณะทํางานตรวจรับและเก็บรักษาของกลาง ตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง เสนอคณะกรรมการส่วนกลางอนุมัติเพื่อจําหน่ายตามที่เห็นสมควร ข้อ 18 ของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดที่ไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในราชการได้ แต่ยังสามารถนําไปจําหน่ายได้ให้คณะทํางานตรวจรับและเก็บรักษาของกลางตามข้อ 11 วรรคสอง เสนอคณะกรรมการระดับจังหวัดอนุมัติเพื่อจําหน่ายตามที่เห็นสมควร ข้อ 19 ของกลางที่ได้รับอนุมัติให้จําหน่ายแล้ว ให้ดําเนินการบริหารพัสดุตามกฎหมายว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริการพัสดุภาครัฐ เงินรายได้ตามข้อ 17 และข้อ 18 ให้นําส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 156 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

หมวด 5 การทําลาย ข้อ 20 ของกลางที่ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในราชการ หรือไม่สามารถจําหน่ายได้ ให้ดําเนินการทําลายเป็นครั้งคราว ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้คณะกรรมการ ส่วนกลางแต่งตั้งคณะทํางานทําลายไม่น้อยกว่าสามคน เป็นคณะทํางานเพื่อทําลายตามวิธีการและเงื่อนไข ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่วนกลาง ( 2 ) ของกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัด ให้คณะกรรมการระดับจังหวัดแต่งตั้ง คณะทํางานทําลายไม่น้อยกว่าสามคน เป็นคณะทํางานเพื่อทําลายตามวิธีการและเงื่อนไขที่ได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการระดับจังหวัด หมวด 6 การคืนของกลาง ข้อ 21 ของกลางที่ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว เมื่อปรากฏมีผู้อ้างว่าตนเป็นเจ้าของ ที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทําความผิด และได้ยื่นคําขอต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่เปรียบเทียบและถือว่า คดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากของกลางที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ ยังคงอยู่ ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องแต่งตั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการ มอบหมาย หรือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสั่งให้คืนของกลางแก่ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงได้ ในกรณีผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงตามวรรคหนึ่งจะรับของกลางคืน ให้ผู้รับของกลางลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งวัน เดือน ปี ที่รับของกลางไว้ในใบรับของกลาง แล้วติดไว้กับสํานวนคดีและบัญชีของกลางนั้นด้วย หมวด 7 การรายงาน ข้อ 22 เมื่อมีการทําลายของกลางตามข้อ 20 เสร็จแล้ว ให้รายงานผลการดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในส่วนกลาง ให้คณะทํางานทําลายตามข้อ 20 ( 1 ) รายงานผลการทําลาย ให้คณะกรรมการส่วนกลางและเลขาธิการทราบ ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 156 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

( 2 ) ในระดับจังหวัด ให้คณะทํางานทําลายตามข้อ 20 ( 2 ) รายงานผลการทําลาย ให้คณะกรรมการระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และเลขาธิการทราบ ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ . ศ . 256 6 สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 156 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566